Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 9

คู่มือแนวทางการทำ Abdominal Paracentesis เพื่อ

ระบายน้ำในช่องท้องหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
แนวทางการทำ Abdominal Paracentesis เพื่อ
ระบายน้ำในช่องท้องหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค

วัตถุประสงค์ของการเจาะท้อง
1. เพื่อการรักษา
1.1 จากการที่ผู้ป่วยมีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก ซึ่งอาจเกิดจาก
โรคหรือพยาธิสภาพอื่นๆ ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึน

มีผลต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่
- กระบังลม ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ หายใจตื้น
- กระเพาะอาหาร อาหารย่อยไม่ปกติ
- กระเพาะปั สสาวะ ถ่ายปั สสาวะบ่อย

ดังนัน
้ จึงต้องมีการลดความดันลง เพื่อบรรเทาอาการโดยการดูดน้ำออก
จากช่องท้อง การดูดแต่ละครัง้ จะดูดไม่เกิน 1-1.5 ลิตร เพื่อป้ องกันภาวะ
แทรกซ้อนจากการเอาน้ำในช่องท้องออกมาเกินไป

1.2 เพื่อทำ peritoneal dialysis

2. เพื่อการวินิจฉัยโดยการนำน้ำในช่องท้องไปตรวจ

ข้อห้ามในการเจาะท้อง

1. ผู้ป่วยที่มีภาวะ Bowel Distention


2. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
3. ผู้ป่วยที่มีแผลเป็ นมากหรือมีการดึงรัง้ ของผิวหนังบริเวณช่องท้อง

ขัน
้ ตอนปฏิบัติ
1. การเตรียมผู้ป่วย
 อธิบายให้เข้าใจถึงเหตุผลของการทำหัตถการ ภาวะแทรกซ้อนที่
อาจเกิดขึน
้ พร้อมทัง้ ให้ผู้ป่วยและญาติเซ็นใบยินยอมการทำ
หัตถการ โดยให้แพทย์เป็ นผู้ชแ
ี ้ จงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจาก
การเจาะน้ำในท้องด้วย
 แนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยก่อนทำ การจัดท่า การปฏิบัติตัว
ขณะทำการเจาะท้อง และหลังการเจาะท้อง
 ให้ผู้ป่วยถ่ายปั สสาวะก่อนการทำหัตถการ เพื่อป้ องกันอันตรายต่อ
กระเพาะปั สสาวะขณะเจาะท้อง
 วัดสัญญาณชีพก่อนการเจาะ
กำหนดจุดเจาะ ด้านล่างของ หน้าท้อง โดยเฉพาะด้านซ้ายล่าง และอยู่
ด้านนอกของแนวกล้ามเนื้อ rectus อย่างน้อย 1 ซม. ตำแหน่งที่
ปลอดภัยและเหมาะที่สุดสำหรับเจาะคือบริเวณ left lower quadrant
รองลงมาคือ right lower quadrant

รูปอุปกรณ์ในการเจาะท้อง
2. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเจาะระบายน้ำในช่องท้อง
 Sterile glove 1 คู่
 ผ้าสีเ่ หลี่ยมเจาะกลางปราศจากเชื้อ 1 ผืน
 Jelco No.18 จำนวน 1 อัน
 กระบอกฉีดยาขนาด 10 และ 50 มล. ชนิดละ 2 อัน
 2.5 ยาชาเฉพาะที่ (1 % ไซโลเคน) จำนวน 1 ขวด
 เข็มฉีดยา No.18,24 ชนิดละ 2 อัน
 2% Chlorhexidine in 70% alcohol จำนวน 1 ขวด
 ขวดเล็กสำหรับใส่สารน้ำ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
 ภาชนะสำหรับใส่สารน้ำที่เจาะได้ เช่น ขวดน้ำเกลือ หรือถุง
พลาสติก
 Set IV, Three way ชนิดละ 1 อัน
 ผ้าก๊อซ สำลี Fixomull
 Mask, Gap, Goggle สำหรับแพทย์ผู้ทำหัตถการ

3. ขัน
้ ตอนการช่วยแพทย์ในการทำหัตถการ
 ล้างมือ ใส่mask ถุงมือปราศจากเชื้อ
 ช่วยแพทย์ในการเตรียมอุปกรณ์ไว้ข้างเตียงผู้ป่วย
 จัดท่าผู้ป่วย ท่าที่ดีที่สุด คือท่านั่ง เพื่อให้แรงโน้มถ่วงของโลกและ
น้ำหนักของอวัยวะในช่องท้องช่วยกดให้น้ำในช่องท้องลงมาอยู่ด้าน
ข้างชิดกับผนังช่องท้อง
 จัดบริเวณเตียง ปิ ดม่านก่อนการทำหัตถการ
 ช่วยแพทย์ในการดึงยาชาเพื่อฉีดก่อนการเจาะน้ำในท้อง
 สำหรับการเจาะดูดสารน้ำ เพื่อลดปริมาณและความดันช่องท้องให้
ต่อเข็มเข้ากับ Set IV ลงในขวดปราศจากเชื้อแล้วใช้พลาสเตอร์ยึด
เข็มไว้กับหน้าท้องผู้ป่วย เพื่อกันเข็มเลื่อนเข้าออก สารน้ำจะค่อยๆ
ไหลลงขวดเองช้าๆ ปริมาณสารน้ำที่เจาะออกควรจะไม่มากนักใน
แต่ละครัง้ (ไม่ควรเกิน 2-4 ลิตร) โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.

4. การดูแลผู้ป่วยขณะทำการเจาะท้อง
 ดูแลตำแหน่งที่แทงเข็มให้อยู่นิ่ง เพื่อป้ องกันเข็มหลุดออกจาก
ตำแหน่ง
 ดูแลให้การไหลของน้ำในช่องท้องออกอย่างต่อเนื่อง
 สังเกตบริเวณที่เจาะ ตำแหน่ง สีของน้ำและปริมาณน้ำในช่องท้อง
ที่เจาะออกมาทุก 15 นาทีเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้น
 วัดสัญญาณชีพตาม Routine Post op care(คือการวัดสัญญาณ
ชีพทุก 15 นาที 4 ครัง้ ทุก 30 นาที 2 ครัง้ และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่า
จะทำหัตถการเสร็จ) เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด
 จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยขณะการระบายน้ำในช่องท้อง

5. การดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะระบายน้ำในช่องท้อง
 หลังได้ปริมาณน้ำช่องท้องครบแล้ว ดูแลเอาเข็มออกแล้วปิ ด
ตำแหน่งเข็มด้วยก๊อซ ทับด้วย Fixomull
 ติดตามสัญญาณชีพหลังการเจาะ ตาม Routine Post op care
เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด
 สังเกตบริเวณแผลที่เจาะว่ามีการรั่วซึมของน้ำในช่องท้องหรือไม่
ถ้ามีควรเปลี่ยนผ้าปิ ดแผลบ่อยๆและบันทึกลงในบันทึกทางการ
พยาบาล
 สังเกตภาวะแทรกซ้อนที่แจเกิดขึน
้ ภายหลังการเจาะท้อง ได้แก่
- ภาวะขาดน้ำและความดันโลหิตลดลง อาจเกิดจากการดูดน้ำ
ออกมาเร็วและมากเกินไป
ในการเจาะ
- ภาวะเลือดออก เกิดจากการแทงเข็มถูกอวัยวะภายในหรือ
กระเพาะปั สสาวะ อาจพบอาการ อึดอัดแน่นท้อง สีของปั สสาวะ
ผิดปกติ
- ภาวะติดเชื้อจากการปนเปื้ อนเชื้อโรคเข้าทางการเจาะน้ำ
- ภาวะขาดโปรตีน จากการดูดน้ำออกมากเกินไป
 บันทึกการทำหัตถการลงในบันทึกทางการพยาบาล โดยบันทึกสี
ลักษณะ จำนวนน้ำที่เจาะออกมาจากช่องท้อง เวลา และผลการ
ประเมินอาการของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง
ทิพาพร วงศ์หงส์กล
ุ .การพยาบาลผูป
้ ่ วยที่ได้รับการตรวจและรักษาโดย
การเจาะต่างๆ.วิธีการพยาบาลทางอายุรกรรม,พิมพ์ครัง้ ที4,(เชียงใหม่:ธน
บรรณการพิมพ์,2542),น.50-54.

You might also like