Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 31

1

การบรรยายคำฟ้ อง(คดีอาญา)

โครงสร้างคำฟ้ อง

ส่วนที่ ๑ ข้อความเบื้องต้น

ส่วนที่ ๒ สถานะของโจทก์และจำเลย

ส่วนที่ ๓ การกระทำผิดของจำเลย

ส่วนที่ ๔ สถานที่เกิดเหตุ

ส่วนที่ ๕ การร้องทุกข์

ส่วนที่ ๖ คำขอท้ายคำฟ้ อง
2

ส่วนที่ ๑ ความเบื้องต้น (ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕๘ (๑)-(๔


))
(๑) ชื่อศาลและวันเดือนปี

(๒) คดีระหว่างผูใ้ ดโจทก์ผู้ใดจำเลยและฐานความผิด

(๓) ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ และชาติบงั คับ ของโจทก์


และจำเลย

ส่วนที่ ๒ บรรยายสถานะของโจทก์
(๑) การเป็ นนิติบุคคลของโจทก์หรือจำเลย

(๒) การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
3

(๓) การดำเนินคดีของผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย (สามี


ภริยา ผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ ผู้ตาย นิติบุคคล ป.วิ.อ.มาตรา ๔, ๕)

(๔) การดำเนินคดีของโจทก์และจำเลยหลายคน

การเป็ นนิติบุคคลของโจทก์หรือจำเลย
(๑) โจทก์หรือจำเลยเป็ นนิติบุคคลประเภทใด

(๒) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการอย่างไร

(๓) ผู้ใดเป็ นผู้อำนาจกระทำการแทน /ลงลายมือชื่อให้มีผล


ผูกพันนิติบุคคล

หมายเหตุ กรณีที่เป็ นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อไม่มี


สภาพเป็ นนิติบุคคล การบรรยายคำฟ้ องมีลักษณะเป็ นเช่นเดียวกับการฟ้ อง
บุคคลธรรมดาเพียงแต่ต้องบรรยายให้เห็นสภาพของการดำเนินกิจการของ
ห้างหุ้นส่วนดังกล่าว
4

การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน

(๑) ผู้ใดเป็ นผู้มอบอำนาจ

(๒) ผู้ใดเป็ นผู้รับมอบอำนาจ (บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล)

(๓) ต้องมีถ้อยคำว่า “……ได้มอบอำนาจให้…..ฟ้ องร้องดำเนิน


คดี”

(๔) อาจแนบหนังสืออำนาจไปท้ายคำฟ้ องพร้อมทัง้ ปิ ดอากร


แสตมป์ และขีดฆ่าให้บริบูรณ์

หมายเหตุ การบรรยายฟ้ องในข้อเท็จจริงส่วนอื่นต้องบรรยาย


เสมือนหนึ่งผู้มอบอำนาจเป็ นผู้ฟ้องคดีเอง

การดำเนินคดีของผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย

(๑) ต้องบรรยายให้เห็นถึงมูลเหตุที่ทำให้โจทก์เป็ นผู้มีอำนาจ


จัดการแทนผู้เสียหาย

(๑.๑) ผู้เสียหายเป็ นภริยาซึ่งได้ให้ความยินยอมแล้วอันเป็ นเหตุ


ให้สามีมีอำนาจจัดการแทน (ป.วิ.อ.มาตรา ๔)

(๑.๒) ผู้เสียหายเป็ นผู้เยาว์อันเป็ นเหตุให้บิดามารดาหรือผู้


ปกครองผูเ้ ยาว์มีอำนาจจัดการแทน (ป.วิ.อ.มาตรา ๕ (๑))
5

(๑.๓) ผู้เสียหายเป็ นผู้ไร้ความสามารถเป็ นเหตุให้ผู้อนุบาลมี


อำนาจจัดการแทน (ป.วิ.อ. ๕ (๑))

(๑.๔) ผู้เสียหายซึ่งถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถ
จัดการแทนได้อันเป็ นผลโดยตรงมาจากการกระทำความผิดของจำเลยอัน
เป็ นเหตุให้ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยา มีอำนาจจัดการแทนได้ (
ป.วิ.อ.มาตรา ๕ (๒))

(๑.๕) ผู้เสียหายซึ่งเป็ นนิติบุคคลอันเป็ นเหตุให้ผู้จัดการหรือผู้


แทนนิติบุคคลมีอำนาจจัดการแทนได้ (ป.วิ.อ.มาตรา ๕ (๓))

การดำเนินคดีของโจทก์และจำเลยหลายคน
มูลเหตุที่ทำให้โจทก์และจำเลยเป็ นโจทก์หรือจำเลยร่วมกันได้
เช่น โจทก์หลายคนเป็ นเจ้าของกรรมสิทธิร์ วมในทรัพย์สินที่จำเลย
ประทุษร้าย หรือ จำเลยหลายคนเป็ นตัวการ ผู้ใช้ ผูส
้ นับสนุนในการกระ
ทำความผิด
6

ส่วนที่ ๓ การกระทำผิดของจำเลย
(๑) วัน เวลา ในการกระทำความผิด

(๒) การกระทำความผิด (องค์ประกอบความผิดอาญา)

(๓) บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

วัน เวลา ในการกระทำความผิด


(๑) วันในการกระทำความผิด

(๑.๑) ในบางกรณีจำเลยอาจใช้เวลาในการกระทำความผิด
มากกว่า ๑ วัน การบรรยายคำฟ้ องในส่วนนีจ
้ ึงต้องระบุวันในการกระ
ทำความผิดเป็ นช่วงเวลา โดยควรใช้ถ้อยคำว่า “ระหว่างวันที่.................ถึง
วันที่…………….”โดย

(๑.๒) ในบางกรณีโจทก์ไม่อาจทราบวันในการกระทำความผิด
้ วรใช้ถ้อยคำว่า “วัน
ของจำเลยได้อย่างแน่ชัด การบรรยายคำฟ้ องในส่วนนีค
ใดไม่ปรากฏชัด เดือนกันยายน ปี ๒๕๖๑” หรือ “วันเดือนใดไม่ปรากฏ
ชัด ปี ๒๕๖๑”

ข้อควรระวัง การกระทำความผิดบางฐานต้องระมัดระวังในการ
บรรยายวันเวลาในการกระทำความผิดอย่างมาก เช่น
7

(๑) ความผิดฐานยักยอก จะบรรยายวันที่ผู้กระทำความผิดเบียด


บังทรัพย์สิน ก่อนวันที่ผู้กระทำความผิดครอบครองทรัพย์สินไม่ได้

(๒) ความผิดฐานรับของโจร จะบรรยายวันที่ผู้กระทำความผิด


ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วย
ประการใด ๆ ก่อนวันที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก
รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอก
ทรัพย์ ไม่ได้

(๒) เวลาในการกระทำความผิด

เวลาในการกระทำความผิดนัน
้ นิยมแบ่งออกเป็ น ๓ ช่วงเวลา
คือ เวลากลางวัน เวลากลางคืน เวลากลางคืนหลังเที่ยง

หมายเหตุ ในคดีอาญาเวลากลางวันหรือกลางคืน ในเบื้องต้น


ต้องพิจารณาจากพระอาทิตย์ขน
ึ ้ หรือตกเป็ นหลักก่อน เมื่อได้ความว่าเป็ น
เวลากลางคืนแล้วจึงพิจารณาต่อไปว่าเป็ นเวลากลางคืนก่อนเที่ยงหรือหลัง
เที่ยงโดยใช้เวลาเที่ยงวันเป็ นหลักในการพิจารณา

(๑) เวลากลางวัน หมายถึง ตัง้ แต่พระอาทิตย์ขน


ึ ้ จนถึง
พระอาทิตย์ตก

(๒) เวลากลางคืน หมายถึง ตัง้ แต่พระอาทิตย์ตกจนถึงเวลาที่


พระพระอาทิตย์ตก
8

(๒.๑) เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนับตัง้ แต่ ๐๐.๐๑ นาฬิกา จนถึง


เวลาพระอาทิตย์ขน
ึ้

(๒.๒) เวลากลางคืนหลังเที่ยงนับตัง้ แต่พระอาทิตย์ตกดินจนถึง

๒๔.๐๐ นาฬิกา

(๓) ในบางกรณีโจทก์ไม่อาจทราบเวลาในการกระทำความผิด
ของจำเลยได้แน่ชัด การบรรยายคำฟ้ องควรใช้ถ้อยคำว่า “……เวลาใดไม่
ปรากฏชัด”

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

(๑) โจทก์อาจบรรยายคำฟ้ องโดยระบุเวลาแน่ชัด เช่น เวลา


๒๐.๐๐ นาฬิกา โดยไม่ต้องบรรยายแล้วว่าเป็ นเวลากลางวันหรือกลางคืน
แต่ไม่ค่อยเป็ นที่นิยม

(๒) หากโจทก์ไม่อาจทราบแน่ชัดได้ว่าจำเลยกระทำความผิดใน
วันและเวลาใด การบรรยายคำฟ้ องควรใช้ถ้อยคำว่า “วันเวลาใดไม่ปรากฎ
ชัด”

การกระทำความผิด
9

(๑) การบรรยายฟ้ องในส่วนการกระทำความผิดกล่าวอีกนัยหนึ่ง


คือ การบรรยายฟ้ องในส่วนขององค์ประกอบความผิดอาญา ประกอบไป
ด้วย

(๑.๑) องค์ประกอบภายนอก

(๑.๒) พฤติการณ์ประกอบกากระทำความผิด

(๑.๓) องค์ประกอบภายใน

(๒) การบรรยายคำฟ้ องในความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้อง


บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียน หรือสิง่ อื่นอัน
เกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทมาในคำฟ้ องหรือแนบเอกสารมาท้ายคำฟ้ อง

(๓) การบรรยายคำฟ้ องในส่วนการกระทำความผิดอาจกระทำได้


๒ รูปแบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี ้

รูปแบบที่ ๑ บรรยายคำฟ้ องโดยนำข้อเท็จจริงปรับเข้าข้อ


กฎหมายระคนกันไป

รูปแบบที่ ๒ บรรยายคำฟ้ องโดยบรรยายข้อเท็จจริงแล้วค่อยนำ


ข้อกฎหมายมาปรับในลักษณะแยกส่วนกัน

ตัวอย่าง
10

ข้อเท็จจริง จำเลยฆ่านาย ก. ตาย โดยใช้อาวุธมีดปลายแหลม


แทงบริเวณลำคอ ๔ ครัง้

(๑) การบรรยายฟ้ องในรูปแบบที่ ๑ “จำเลยใช้อาวุธมีดปลาย


แหลมแทง นาย ก. ผู้ตาย จำนวน ๔ ครัง้ ที่บริเวณลำคออันเป็ นอวัยวะ
สำคัญ โดยมีเจตนาฆ่า จนเป็ นเหตุให้นาย ก.ถึงแก่ความตายในทันทีสม
ดังเจตนาของจำเลย”

(๒) การบรรยายคำฟ้ องในรูปแบบที่ ๒ “จำเลยใช้อาวุธมีด


ปลายแหลงแทงไปที่บริเวณลำคอของนาย ก.จำนวน ๔ ครัง้ จนนาย
ก.ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็ นการฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
และผู้ตายถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย”

ข้อเท็จจริง จำเลยรื้อค้นกระเป๋าสะพายของนาย ก.แล้วขโมย


โทรศัพท์มือถือของนาย ก.ไป

(๑) การบรรยายฟ้ องในรูปแบบที่ ๑ “จำเลยบังอาจลักเอา


์ องนาย ก.ไปโดยทุจริต”
โทรศัพท์เคลื่อนที่อันเป็ นกรรมสิทธิข

(๒) การบรรยายคำฟ้ องในรูปแบบที่ ๒ “จำเลยรื้อค้นกระเป๋า


สะพายของนาย ก.แล้วขโมยโทรศัพท์มือถือของนาย ก.ไป การกระทำ
ของจำเลยจึงเป็ นการเอาทรัพย์ของผู้อ่ น
ื ไปโดยทุจริตอันเป็ นความผิดฐาน
ลักทรัพย์”

บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
11

(๑) “บุคคล” หมายถึง บุคคลทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องกับการกระ


ทำความผิด ไม่ว่าจะเป็ น โจทก์ จำเลย ผู้เสียหาย รวมทัง้ บุคคลอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทัง้ หมด อาจเป็ นเจ้าของสถานที่เกิดเหตุ ผู้
เสียหายรายอื่น ๆ ที่มิได้เป็ นโจทก์ เจ้าของกรรมสิทธิร์ วมในทรัพย์สินที่มิได้
เป็ นโจทก์

(๒) “สิ่งของ” หมายถึง วัตถุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระ


ทำความผิดของจำเลย ไม่ว่าจะเป็ น อาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิด ยาน
พาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิด ทรัพย์อ่ น
ื ๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิด
รวมทัง้ ทรัพย์ที่ถูกประทุษร้าย

หมายเหตุ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ต้องบรรยายคำฟ้ องถึงทรัพย์


ที่เป็ นวัตถุแห่งการกระทำความผิดด้วย เว้นแต่เป็ นการพยายามกระทำความ
ผิดอาจไม่ทราบถึงวัตถุแห่งการกระทำความผิด

ส่วนที่ ๔ สถานที่เกิดเหตุ
“สถานที่เกิดเหตุ” หมายถึง สถานที่ที่การกระทำความผิดเกิด
ขึน
้ โดยส่วนใหญ่จะบรรยายคำฟ้ องแต่เพียง ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต และ
จังหวัดเท่านัน

(๑) ในกรณีที่กระทำกระทำความผิดเกิดขึน
้ ท้องที่เดียวแต่โจทก์
ไม่อาจทราบสถานที่เกิดเหตุได้แน่ชัดว่าเกิดขึน
้ ในท้องที่ใด การบรรยาย
12

คำฟ้ องให้ใช้ถ้อยคำว่า “เหตุเกิดที่ตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอเมือง


เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่” หรือ “เหตุเกิดที่ตำบล อำเภอใดไม่ปรากฏ
ชัด จังหวัดเชียงใหม่” หรือ “เหตุเกิดที่ตำบล อำเภอ จังหวัดใดไม่ปรากฏ
ชัด”

(๒) ในกรณีที่การกระทำความผิดเกิดขึน
้ หลายท้องที่เกี่ยวพันกัน
การบรรยายคำฟ้ องให้ใช้ถ้อยคำว่า “เหตุเกิดระหว่างท้องที่
ตำบล…….อำเภอ…..จังหวัด……กับท้องที่ตำบล……อำเภอ……
จังหวัด……..เกี่ยวพันกัน” หรือ “เหตุเกิดระหว่างท้องที่
ตำบล…….อำเภอ…..จังหวัด……กับท้องที่ตำบล……อำเภอ……
จังหวัด……..เกี่ยวพันกัน”

ข้อควรรู้ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็ค สถานที่เกิดเหตุคือสถานที่


ที่ธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตัง้ อยู่ มิใช่สถานที่ที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็ค หรือที่
ตัง้ ของธนาคารเจ้าของเช็ค

ส่วนที่ ๕ การร้องทุกข์
“การร้องทุกข์” กล่าวคือ การบรรยายคำฟ้ องในส่วนการร้อง
ทุกข์นน
ั ้ โจทก์ต้องบรรยายคำฟ้ องให้เห็นข้อเท็จจริงว่าก่อนฟ้ องคดีนน
ั ้ โจทก์
ได้ร้องทุกข์ต่อพนังกานสอบสวนหรือไม่

(๑) กรณีร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก่อนฟ้ องการบรรยาย


คำฟ้ องให้ใช้ถ้อยคำว่า “โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
สถานีตำรวจ……แล้ว ปรากฏตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
13

เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข….แต่การดำเนินคดีล่าช้า โจทก์จึงประสงค์


จะดำเนินคดีเอง”

(๒) กรณีมิได้ร้องทุกข์ต่อพนังกานสอบสวนก่อนฟ้ องการบรรยาย


คำฟ้ องให้ใช้ถ้อยคำว่า “โจทก์มิได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง”

ส่วนที่ ๖ คำขอท้ายคำฟ้ อง
(๑) ชื่อกฎหมายและเลขมาตราที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำ
ความผิด

(๒) คำขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ นับโทษต่อจาก


คดีอ่ น
ื เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ

(๓) คำขอให้ริบของกลาง

ชื่อกฎหมายและเลขมาตราที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความ
ผิด
(๑) ชื่อกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติ
ต่าง ๆ ประกาศคณะปฏิวัติ และฯลฯ
14

(๒) เลขมาตรา กรณีที่มาตรานัน


้ ๆ มีหลายวรรคหรือหลาย
อนุมาตรา การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้ องไม่นิยมระบุวรรคหรืออนุมาตรา

(๓) กรณีที่กฎหมายมีการแก้ไขใหม่ การบรรยายคำขอท้าย


คำฟ้ องไม่นิยมบรรยายว่ากฎหมายมาตราดังกล่าวได้แก้ไขเมื่อใด โดยอาศัย
พระราชบัญญัติใด

(๔) กรณีที่บทบัญญัติห้ามตามกฎหมาย กับบทกำหนดโทษอยู่


คนละมาตรา ซึง่ จะพบได้บ่อยในความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ การ
บรรยายคำขอท้ายคำฟ้ องต้องบรรยายต้องบทห้ามและบทกำหนดโทษ

ตัวอย่าง

“ขอให้ลงโทษจำเลยทัง้ สองตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๕ ประกอบมาตรา ๘๓”

“ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้
โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕, ๖๖”

คำขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ นับโทษต่อจากคดีอ่ น

เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
15

(๑) ต้องบรรยายคำฟ้ องให้เห็นข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็ นบุคคล


คนเดียวกันกับคดีที่นำมาเป็ นเหตุให้บวกโทษ นับโทษต่อ หรือเพิ่มโทษ หรือ
ไม่ เช่น “จำเลยเป็ นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำ
ที่…….หมายเลขแดงที่………..ของศาลจังหวัดเชียงใหม่………….”

(๒) สำหรับคำขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้นน
ั ้ ต้องบรรยาย
คำฟ้ องให้เห็นข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำ
พิพากษาคดีก่อนหรือกระทำความผิดภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษ
(ป.อ.มาตรา ๕๖ ถึง ๕๘)

(๓) สำหรับคำขอให้นับโทษต่อจากคดีอ่ น
ื ต้องบรรยายคำฟ้ องให้
เห็นข้อเท็จจริงว่า จำเลยในคดีนี ้ กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ

(๔) สำหรับคำขอให้เพิ่มโทษ ต้องบรรยายคำฟ้ องให้เห็นข้อเท็จ


จริงว่า

(๔.๑) จำเลยเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดี
ก่อนมากี่ปี และจำเลยกระทำความผิดในระหว่างรับโทษอยู่ หรือกระทำ
ความผิดภายหลังพ้นโทษมาแล้วกี่ปี

(๔.๒) นับแต่เวลาที่จำเลยพ้นโทษจำคุกมาแล้วกี่ปี จำเลยกลับ


มากระทำความผิดซ้ำอีก

หมายเหตุ สำหรับการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลายนัน
้ ต้อง
พิจารณาด้วยว่าการกระทำความผิดในคดีก่อนที่จำเลยต้องโทษจำคุกนัน
้ เป็ น
16

ความผิดฐานใด และการกระทำความผิดครัง้ ใหม่ในคดีนเี ้ ป็ นความผิดฐานใด


เนื่องจากมีเกณฑ์อัตราการเพิ่มโทษไม่เท่ากัน (ป.อ.มาตรา ๙๒, ๙๓)

คำขอให้ริบของกลาง
“คำขอให้ริบของกลาง” กล่าวคือ ในส่วนเนื้อหาคำฟ้ อง
ต้องบรรยายคำฟ้ องให้เห็นข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงาน
ตำรวจยึดไว้เป็ นของกลางนัน
้ เป็ นทรัพย์สินประเภทใดตามที่บัญญัติ
ไว้ใน ป.อ.มาตรา ๓๓, ๓๔ เช่น ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้วา่ ผู้
ใดทำหรือมีไว้เป็ นความผิด หรือ ทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำ
ความผิด หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด

ตัวอย่างคำฟ้ อง
(๑) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานฆ่าผู้อ่ น
ื โดยเจตนา/โจทก์
เป็ นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
17

ข้อ ๑. โจทก์เป็ นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ก. ผู้ตาย


รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองทะเบียนการเกิดของผู้ตาย เอกสาร
ท้ายคำฟ้ องหมายเลข...จำเลยเป็ นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ก. ผู้
ตาย รายละเอียดปรากฏตาม สำเนาทะเบียนสำรสระหว่างผู้ตายกับจำเลย
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข...

ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางคืนหลังเที่ยง


จำเลยได้บังอาจใช้ปืนพกยี่ห้อรีวอลเวอร์ ขนาด .๓๘ เป็ นอาวุธปื นยิง นาย
ก. ผู้ตายหนึ่งนัดกระสุนเข้าขมับซ้ายทะลุขมับขวา โลหิตและสมองไหลนอง
นาย ก.ผู้ตายไม่สามารถทนพิษบาดแผลได้ถึงแก่ความตายในขณะนัน
้ สม
ดังเจตนาของจำเลย รายละเอียดปรากฏตามตามใบชันสูตรพลิกกศพ
เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข...

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ๓. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๘๘

(๒) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อ่ น


ื เป็ นเหตุ
ให้ได้รับอันตรายสาหัส
18

ข้อ.๑ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางคืนก่อนเที่ยง


จำเลยได้ใช้มีดปลายแหลมเป็ นอาวุธแทงและประทุษร้ายร่างกายถูกตาม
ร่างกายโจทก์หลายแห่ง จนเป็ นเหตุให้โจทก์ บาดเจ็บจนถึงขัน
้ ทุพพลภาพ
ด้วยอาการทุกขเวทนา จนกระทั่งประกอบธุรกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า
๒๐ วัน ปรากฏตามรายงานใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้ อง

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ๒. โจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูพิงค์
ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่พนักงานสอบสวนดำเนินการล่าช้า โจทก์เกรง
ว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้นำคดีมาฟ้ องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณา
พิพากษาลงโทษจำเลยต่อไป

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๗

(๓) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็ นเหตุให้ได้


รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยได้ใช้


ไม้ไผ่ ขนาด ๑ นิว
้ ยาวประมาณ ๒ เมตร เป็ นอาวุธ ทำร้ายร่างกายโจทก์
เป็ นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย ปรากฏบาดแผลตามภาพถ่าย
บาดแผลโจทก์และรายงานของแพทย์ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข...

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


19

ข้อ ๒. โจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูพิงค์
ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่พนักงานสอบสวนดำเนินการล่าช้า โจทก์เกรง
ว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้นำคดีมาฟ้ องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณา
พิพากษาลงโทษจำเลยต่อไป

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๕

(๔) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานลักทรัพย์/มีคำขอส่วนแพ่ง

ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยได้ลัก


รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า โคโรล่า หมายเลขทะเบียนที่กท.ส ๑๒๓ เลขเครื่อง
ที่...ขนาด ๑๒๐๐ ซีซี เป็ นมูลค่า ๖๕๐,๐๐๐.- บาท อันเป็ นทรัพย์ของโจทก์
ไปโดยทุจริต

เหตุเกิดที่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ ๒. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

คำขอท้ายฟ้ อง (๑) ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมาย


อาญา มาตรา ๓๓๔

(๒) ขอให้จำเลยคืนรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า โคโรล่า


หมายเลขทะเบียนที่กท.ส ๑๒๓ เลขเครื่องที่...ขนาด
20

๑๒๐๐ ซีซี แก่โจทก์ หรือ หากคืนไม่ได้ให้จำเลยชดใช้ราคา


รถยนต์แก่โจทก์เป็ นเงินจำนวย ๖๕๐,๐๐๐.-บาท

(๕) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานยักยอก/ผู้เสียหายเป็ นนิติ


บุคล/มอบอำนาจให้ฟ้องคดี/มีคำขอส่วนแพ่ง

ข้อ๑. โจทก์มีฐานะเป็ นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัดโดยใช้ช่ อ



ว่า “ บริษัท ก จำกัด ” ทะเบียนเลขที่.... มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจ ซื้อ
ขาย ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยมีกรรมการของบริษัท ๒ คน คือ นาย
ก.และ นาย ข. เป็ นกรรมการผู้จัดการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้
รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองบริษัทโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลข...

ในการฟ้ องคดีนโี ้ จทก์ได้มอบอำนาจให้นายชอบ ทำความดี เป็ น


ผูฟ
้ ้ องคดีแทนโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสาร
ท้ายคำฟ้ องหมายเลข...

จำเลยได้ทำงานเป็ นลูกจ้างในบริษัทของโจทก์โดยเป็ นกรรมการ


ผู้จัดการมีหน้าที่บริหารงานของโจทก์และดูแลการเงินของโจทก์ ตลอดจน
บัญชีค่าใช้จ่ายทัง้ ปวงของโจทก์

ข้อ๓. เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวันจำเลยได้


บังอาจเบียดบังนำเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐.บาทของโจทก์ซึ่งอยู่ในความ
ดูแลของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็ นของตนโดยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงิน
ฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ ธนาคารทหารไทย จำกัด มหาชนของตน
21

จำเลยและของผู้อ่ น
ื โดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยเป็ นเหตุให้โจทก์ได้
รับความเสียหาย

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ๓. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

คำขอท้ายฟ้ อง (๑) ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมาย


อาญา มาตรา ๓๕๒

(๒) ขอให้จำเลยคืนเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐.-


บาท แก่โจทก์

(๖) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานฉ้อโกง/มีคำขอส่วนแพ่ง

ข้อ.๑ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ จำเลยได้บังอาจทุจริต


หลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็ นเท็จและปกปิ ดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยจำเลยนำแหวนเพชร ๑ วงขนาด ๕ กะรัตมาแสดง
กับโจทก์โดยหลอกลวงโจทก์ว่าเป็ นแหวนเพชรของจำเลยและจำเลยมีความ
ประสงค์ที่จะขอยืมเงินจากโจทก์เป็ นเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาทโดยขอม
อบแหวนวงดังกล่าวให้แก่โจทก์ยึดถือไว้เป็ นประกันอันเป็ นความเท็จ เพราะ
ความจริงจำเลยไม่ใช่เจ้าของแหวนเพชรดังกล่าวหาก แต่แหวนเพชรดัง
22

กล่าวเป็ นของนาย ก. โจทก์หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลย จึงได้ให้


เงินจำเลยไป ๒๐๐,๐๐๐ บาทแล้วรับแหวนเพชรดังกล่าวไว้เป็ นประกัน

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ ๒. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

คำขอท้ายฟ้ อง (๑) ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมาย


อาญา มาตรา ๓๔๑

(๒) ขอให้จำเลยคืนเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท


แก่โจทก์

(๗) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร/มี


คำขอส่วนแพ่ง

ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยลักเอา


รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าหมายเลขทะเบียน กกก. ๑๒๓ เชียงใหม่ ของ
โจทก์ซึ่งมีราคา ๒๕,๐๐๐.บาทไปโดยทุจริตหรือมิฉะนัน
้ ตามวันเวลาที่เกิด
เหตุลก
ั ทรัพย์ถึงวันเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมรถ
จักรยานยนต์ของโจทก์(วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน) จำเลยมี
เจตนา ช่วยจำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการอื่นใด
ซึ่งรถจักรยานยนต์ของโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็ นทรัพย์ที่ได้มาจาก
23

การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ
ความเสียหาย

เหตุเกิดที่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ๓. โจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูพิงค์
ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย และประสงค์ที่จำดำเนินคดีเองด้วย

คำขอท้ายฟ้ อง (๑). ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมาย


อาญา มาตรา ๓๓๔ หรือ ๓๕๗

(๒) ขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า
หมายเลขทะเบียน กกก.๑๒๓ เชียงใหม่ แก่
โจทก์หรือชดใช้ราคาเป็ นจำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท แก่โจทก์

(๘) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานบุกรุก

ข้อ๑. เมื่อระหว่างวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑๔


กันยายน ๒๕๖๑ ทัง้ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยบุกรุก
เข้าไปปลูกที่อยู่อาศัยและปลูกต้นไม้ในโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๓ ตำบลแม่ริม
อำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๒ ไร่ อันเป็ นกรรมสิทธิข์ องโจทก์ ซึ่งการ
ปลูกที่อยู่อาศัยและปลูกต้นไม้ของจำเลยดังกล่าวเป็ นการเข้าไปใน
อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพื่อถือการครอบครองที่ดินทัง้ หมดหรือแต่บาง
ส่วน และเป็ นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติ
สุข
24

เหตุเกิดที่ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ๒. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๖๒

(๙) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

ข้อ ๑. โจทก์เป็ นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูก


ต้องตามกฎหมาย มีนายแดงเป็ นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจลงลายมือ
ชื่อพร้อมประทับตราสำคัญบริษัทของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ได้ โจทก์
ประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุปกรณ์ก่อสร้างปรากฏตามสำเนาหนังสือ
รับรองของสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทฯ เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑

ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยได้ใช้


สีน้ำมันสาดใส่ห้องทำงานของนายแดงกรรมการผู้จัดการของโจทก์ซึ่งห้องดัง
กล่าวเป็ นทรัพย์สินของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้
จ่ายในการทำความสะอาดและทาสีใหม่ เป็ นเงินจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท
การกระทำของจำเลยเป็ นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือ
ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของโจทก์

เหตุเกิดที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ ๓. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจาก


ประสงค์จะดำเนินคดีเอง
25

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๕๘

(๑๐) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็ น


เหตุให้ผู้อ่ น
ื ถึงแก่ความตาย/โจทก์เป็ นผู้มีอำนาจจัดการแทน

ข้อ ๑. โจทก์เป็ นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสอง ผู้ตาย ซึ่ง


เกิดกับนางสาม โจทก์และนางสามจดทะเบียนสมรสกันที่ว่าการอำเภอเมือง
เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๐ รายละเอียดปรากฏ
ตามสำเนาสูติบัตรและใบสำคัญการสมรสเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑
และ ๒

ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยขับ


รถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า คัมรี่ หมายเลขทะเบียน กต. ๑๐๐ กรุงเทพมหานคร
โดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยในภาวะเช่นนัน
้ จักต้องมี
ตามวิสัยและพฤติการณ์ โดยการขับรถด้วยความเร็วสูงถึง ๑๔๐ กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็ นความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในขณะฝนตกถนนลื่น
และขับขึน
้ ไปบนสะพานพระนั่งเกล้าซึ่งเป็ นทางโค้ง จำเลยอาจใช้ความ
ระมัดระวังเช่นว่านัน
้ ได้ โดยขับรถให้ช้าลงและค่อยค่อยเลีย
้ วเข้าทางโครงบน
สะพาน แต่จำเลยหาได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอไม่ ยังคงขับรถด้วย
ความเร็วสูงถึง ๑๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงต่อไป จนเป็ นเหตุให้รถยนต์เสียหลัก
ไปชนขอบสะพานพระนั่งเกล้า ทำให้นายสอง ซึ่งนัง่ มาในรถด้านข้างของ
26

จำเลยศีรษะกระแทกกระจกหน้ารถกะโหลกแตกถึงแก่ความตายราย
ละเอียดปรากฏตามสำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพและสำเนาใบมรณะ
บัตร เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒ และ ๓ การกระทำของจำเลยเป็ นการ
กระทำโดยประมาทเป็ นเหตุให้ผู้อ่ น
ื ถึงแก่ความตายอันเป็ นความผิดต่อ
กฎหมาย

เหตุเกิดที่ ตำบลไทรม้า อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี

ข้อ ๓. โจทก์ไปร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจ
นนทบุรีละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกประจำวันเอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลขสี่

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๑,๕๙

(๑๑) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็ นให้ผู้อ่ น



ได้รับอันตรายสาหัส/ผู้ใช้/ตัวการ

ข้อ๑. เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางวัน จำเลยที่ ๑


ก่อให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กระทำความผิด โดยการว่าจ้างให้จำเลยที่ ๒ และ
ที่ ๓ ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ และจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ได้กระทำ
การตามที่จำเลยที่ ๑ ว่าจ้าง โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได้เจตนาร่วมกันรุมชก
ต่อยใบหน้าและเตะเข้าที่หน้าท้องของโจทก์หลายครัง้ จนใบหน้าของโจทก์มี
บาดแผลคิว้ แตกและปากมีแผลฉีกขาดกระดูกซี่โครงหักสองซี่ ต้องนอน พัก
27

รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทุกขเวทนาเป็ นเวลา ๑ เดือน และต้อง


กลับมารักษาต่อที่บ้านอีกเป็ นเวลา ๑ เดือน จึงหายเป็ นปกติ โจทก์ได้รับ
อันตรายสาหัสจากการกระทำของจำเลยทัง้ สามรายละเอียดปรากฏตาม
สำเนารายการชันสูตรบาดแผล เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑

ข้อ๒. การกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็ นการจ้างวานให้จำเลยที่ ๒


และที่ ๓ ร่วมกันกระทำความผิดทำร้ายร่างกายโจทก์และจำเลยที่๒ กับที่๓
ได้ร่วมกันกระทำความผิดนัน
้ ตามที่จำเลยที่ ๑ ใช้จ้างวาน จนเป็ นเหตุให้
โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับโทษเสมือนเป็ นตัวการกับ
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓

เหตุเกิดที่ตำบลสุเทพอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

ข้อ ๓. โจทก์ไปร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภู
พิงค์ ปรากฏตามสำเนาบันทึกประจำวันเอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๒

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๕, ๒๙๗, ๘๓, ๘๔

(๑๐) ตัวอย่างคำฟ้ อง ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา/โจทก์


ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย

ข้อ ๑. โจทก์เป็ นมาดาของนางสาวสวย สุดยอด ผู้เยาว์อายุ ๑๗


ปี รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้ องหมายเลข ๑
28

ข้อ ๒. เมื่อระหว่างวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางคืนหลัง


เที่ยงจนถึงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๑ เวลากลางคืนก่อนเที่ยง วันเวลาใดไม่
ปรากฏชัด จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเรานางสาวสวย สุดยอด ผู้เสียหายซึ่ง
เป็ นบุตรสาวของโจทก์ จนสำเร็จความใคร่ ๑ ครัง้ โดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
โดยจำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการชกที่หน้าท้องผู้เสียหายหลายครัง้
จนผู้เสียหายหมดแรง อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้

เหตุเกิดที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้อ ๓. โจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูพิงค์
ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่พนักงานสอบสวนดำเนินการล่าช้า โจทก์เกรง
ว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้นำคดีมาฟ้ องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณา
พิพากษาลงโทษจำเลยต่อไป

คำขอท้ายฟ้ อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๗๖
29

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบรรยายคำฟ้ องตามแนวคำพิพากษาศาล
ฎีกา

(๑) การบรรยายที่เป็ นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบของความ


ผิดนัน
้ อาจไม่ต้องใช้ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย อาจใช้ถ้อยคำอื่นที่มี
30

ความหมายเช่นเดียวกันได้ เช่น คำว่า “บังอาจ” อาจใช้แทนคำว่า “โดย


ทุจริต” หรือ “ไม่มีเหตุอันสมควร” ฎ.๗๐๖/๒๕๑๖,
ฎ.๖๗๑๑/๒๕๓๙,ฎ.๓๐๖/๒๕๑๗

(๒) การบรรยายที่เป็ นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบของความ


ผิดนัน
้ อาจไม่ต้องใช้ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย อาจใช้ถ้อยคำอื่นที่อ่าน
โดยรวมแล้วความผิดพอให้เข้าใจว่าจำเลยกระทำครบองค์ประกอบความผิด
อาญาก็ได้ เช่น ความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์บรรยายฟ้ องว่า “…..จำเลยหลอก
ลวงโจทก์ว่า….จนโจทก์หลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้จำเลย…..” ฎ.๔๘๓๗/๒๕๔๗
หรือ ความผิดฐานยักยอกโจทก์บรรยายฟ้ องว่า “…..จำเลยเอาทรัพย์ที่ผู้อ่ น

ฝากไว้ไปเป็ นการยักยอกทรัพย์” ฎ.๒๗๒๒/๒๕๔๙ ย่อมถือว่าโจทก์บรรยาย
แล้วว่า จำเลยกระทำโดยมีเจตนาทุจริต

(๓) ความผิดอันยอมความได้ ไม่จำต้องบรรยายฟ้ องว่าผู้เสียหาย


ได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว ฎ.๕๑๕๕/๒๕๔๑

(๔) เอกสารท้ายคำฟ้ องย่อมถือเป็ นส่วนหนึ่งของคำฟ้ องที่นำมา


พิจารณาว่าโจทก์บรรยายคำฟ้ องโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ฎ.๗๑๓๕/๒๕๔๗ (ป)

(๕) ต้องบรรยายเวลาในการกระทำความผิดหลังวันยื่นคำฟ้ อง
ฏ.๔๙๗๔/๒๕๕๓ หรือ ทัง้ ก่อนยื่นคำฟ้ องต่อเนื่องไปจนถึงหลังยื่นคำฟ้ อง
ติดต่อกัน เป็ นคำฟ้ องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ
ศาลต้องพิพากษายกฟ้ อง ฎ.๙๘๕/๒๕๒๔
31

You might also like