สรุปสามก๊ก

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

สามก๊ก

ทีม่ าของเรื่อง
- สามก๊กเป็นยุคสมัยที่มีจริงในประวัติศาสตร์จีน

- มีจดหมายเหตุ (ไม่ละเอียดมาก) บันทึกเอาไว้

- มีคนเอาสามก๊กมาแต่งเป็นนิยายในยุคหลัง

- สรุป สามก๊กไม่ใช่บันทึกประวัติศาสตร์ แต่เป็นนิยายที่มีนักปราชญ์ชาวจีนหยิบเอาพงศาวดาร


จีนตอนหนึ่งมาแต่งเป็นนิยาย โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนได้ศึกษากลอุบาย การเมือง การปกครอง
การทำสงคราม

เมื่อสามก๊กเข้ามาสู่ประเทศไทย
- ผู้แปล = เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

- ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งความเรียงประเภทนิทาน

ยอดของวรรณคดี = หนังสือที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร
ประเภทลิลิต ได้แก่ ลิลิตพระลอ
ประเภทฉันท์ ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์
ประเภทกาพย์ ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์
ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
ประเภทบทละครรำ ได้แก่ อิเหนา
ประเภทบทละครร้อง ได้แก่ สาวเครือฟ้า
ประเภทบทละครพูด ได้แก่ หัวใจนักรบ
ประเภทบทละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ มัทนะพาธา
ประเภทความเรียงอธิบาย ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน
ประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ พระนลคำหลวง
ประเภทกาพย์เห้เรือ ได้แก่ กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
ประเภทนิราศ ได้แก่ นิราศนรินทร์
ประเภทกลอนนิทาน ได้แก่ พระอภัยมณี
อรรถาธิบายสามก๊ก
สามก๊กจี่ (ผวยชงจือ)
(ตันซิ่ว) แต่งอธิบายเพิ่มเติม
จดหมายเหตุ ใส่ความคิดเห็นส่วนตัว

สามก๊กเอี้ยนหงี ถูกดัดแปลงมาเรื่อย ๆ
(ล่อกวนตง) จนกลายเป็นนิยาย
นิทาน + จินตนาการ

สามก๊ก
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน))
แปลเป็นความเรียงร้อยแก้ว
เรื่องย่อสามก๊ก
1. จุดเริ่มต้น เกิดจากการบริหารงานของ “พระเจ้าเลนเต้” ไม่สนใจการบริหารบ้านเมือง
ซึ่งเป็นฮ่องเต้ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
2. “พระเจ้าเลนเต้” มอบอำนาจให้ “สิบขันที” (ฝ่ายใน) และบริหารงานผ่านขันที พระเจ้า
เลนเต้มีความไว้ใจขันทีเป็นอย่างมากจึงมอบอำนาจให้ขันทีเป็นผู้บริหารบ้านเมือง โดยตนเองไม่สนใจ
ปล่อยปะละเลยหน้าที่ของตน
3. “ขันที” ได้มีการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด คือระบบอุปถัมภ์ ซื้อขายตำแหน่งหน้าที่ทาง
ราชการ ใครที่จะมาดำรงตำแหน่งจะต้องผ่าน “สิบขันที” โดยมีการเก็บส่วยส่งส่วย ส่งผลให้ขุนนาง
ตามหัวเมืองต่าง ๆ ต้องรีดไถเงินจากประชาชน แล้วส่งให้สิบขันทีเพื่อจะได้ดำรงตำแหน่งต่อ
4. ขันทีบีบบังคับต้องจ่ายเงินส่งส่วย ขุนนางก็ ต้องไปรีดไถจากประชาชน เกิดการทุจริต
เป็นทอด ๆ เมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อนจึงเกิดการรวมตัวกัน ซึ่งมีบุคคลทั้งหมด 3 คน ตั้งตน
เป็นหัวหน้า เป็นการเรียกร้องแสดงถึงความไม่พอใจการบริหารงานของส่วนกลาง
5. การรวมตัวกันต่อต้านของประชาชนในครั้งนี้ ทางการเรียกว่า “กลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง” และ
เมื่อต่อต้านไปต่อต้านมาก็เกิดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน เริ่มใช้อำนาจในทาง
ไม่ดี คือไปปล้นประชาชนด้วยกันเอง เกิดความโกลาหลวุ่นวาย ทำให้เดือดร้อนไปถึงส่ วนกลาง
ที่จะต้องออกมาปราบ “กลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง”
6. “กลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง” ได้ยึดครองเมืองต่าง ๆ ทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายกันไปทั่ว
7. เมื่อคำนวณดูแ ล้ วจำนวนของ “กลุ่มโจรโพกผ้าเหลื อง” มีมากกว่ากำลัง ของทางการ
เมื่อกำลังทางทหารไม่เพียงพอ ทางการจึงได้ประกาศหาอาสาสมัครที่จะมาปราบ “กลุ่มโจรโพก
ผ้าเหลือง” เกิดวีรบุรุษที่สามารถปราบกลุ่มโจรได้
8. หลังจากนั้น “พระเจ้าเลนเต้” ตาย ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจจากลูกต่างแม่ ทำให้ราชสำนัก
เกิดความวุ่นวาย แผ่นดินก็แตกแยกเป็นสามก๊ก
พระเจ้าเลนเต้
พระเจ้าหองจูเปียน พระเจ้าหองจูเหียบ (พระเจ้าเหี้ยนเต้)
9. สามก๊กทำสงครามกันตลอดเวลา สู้รบกันยาวนานนับ 100 ปี แย่งชิงอำนาจกันเพื่อเป็นใหญ่
ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และสุดท้าย “พระเจ้าสุมาเอี๋ยน” รวมสามก๊กเป็นแผ่นดินใหญ่ได้อีกครั้ง
เป็นต้นกำเนิดของ “ราชวงศ์จิ้น”

วุย่ ก๊ก = (เมืองฮูโต๋) โจโฉ


จ๊กก๊ก = (เมืองชีจิ๋ว) เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย = เป็นพี่น้องร่วมสาบาน
ง่อก๊ก = (เมืองกังตัง๋ ) ซุนกวน

You might also like