Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 46

ระบบโครงสรางของรางกาย

Science for Health


ระบบโครงกระดูก

รางกายของมนุษยประกอบดวยกระดูกทั้งหมด 206
ชิ้น แบงเปน
• กระดูกแกน 80 ชิ้น เชน กะโหลกศีรษะ กระดูกสัน
หลัง กระดูกกนกบ กระดูกซี่โครง
• กระดูกรยางค จํานวน 126 ชิ้น เชน กระดูกแขน
ขา สะบัก ไหปลารา เชิงกราน
ความสําคัญของกระดูก

โครงกระดูกมีหนาที่สําคัญอยู 3 ประการ คือ


- ทําหนาที่เปนโครงรางของรางกายใหรางกายคง
รูปอยูได
- ปองกันอันตรายใหแกอวัยวะที่สําคัญ เชน
สมอง ไขสันหลัง หัวใจ ปอด ตับ
- เปนที่ยึดของกลามเนื้อ การที่เราเคลื่อนไหวได
เปนผลมาจากการหดตัวและคลายตัวของกลามเนื้อที่
ยึดติดกับกระดูก
กระดูกของมนุษยแบงออกเปน 2 ชนิด คือ

1. กระดูกออน (Cartilage)
• เปนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งประกอบดวยเซลลกระดูก
ออน (Chondrocyte) สารระหวางเซลลและเสนใย
ชนิดตางๆ
• กระดูกออนจะไดรับอาหารโดยแทรกซึมผานสาร
ระหวางเซลล เนื่องจากไมมีหลอดเลือดฝอยมาหลอ
เลี้ยงกระดูกออน
กระดูกของมนุษยแบงออกเปน 2 ชนิด คือ

2. กระดูก (Bone)
• เปนโครงสรางที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Membrane
Bone) หรือกระดูกออน
• ประกอบดวยเซลลกระดูก (Osteocyte) เสนใยชนิดตางๆ และ
สารระหวางเซลล มาเสริมทําใหกระดูกมีความแข็งแรง
มากกวากระดูกออน
• อาหารไมสามารถซึมผานเขาไปเลี้ยงเซลลกระดูกไดบริเวณนี้
จึงมีหลอดเลือดแทรกเขาไปทางชองสารระหวางเซลล ซึ่ง
เรียกวา ชองวางฮารเวอรเซียน (Haversian Canal) โดยจะ
ทอดไปตามความยาวของกระดูก
กระดูกของมนุษย
• สวนตรงกลางของกระดูกนั้นจะ
มีลักษณะโปรงเปนโพรงคลาย
ฟองน้ํา (Spongy Bone) ซึ่งเปน
ที่อยูของไขกระดูก (Bone
Marrow) ที่ทําหนาที่สรางเม็ด
เลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
ใหแกรางกาย
การเคลื่อนไหวของกระดูก

• โครงกระดูกจะเชื่อมตอกันดวยขอตอซึ่งจะทําให
รางกายของมนุษยเคลื่อนไหวไดหลายทิศทาง
• ขอตอที่เชื่อมตอกระดูกแตละชิ้นในรางกายมนุษยแบง
ออกเปน 2 ประเภท คือ
1. ขอตอที่เคลื่อนไหวไมได (Immoveable Joint)
2. ขอตอที่เคลื่อนไหวได (Movable Joint)
ขอตอที่เชื่อมตอกระดูก
• ขอตอที่เคลื่อนไหวไมได (Immoveable Joint) เปนขอตอที่ทํา
หนาที่ยึดกระดูกเอาไวไมสามารถเคลื่อนไหวไดเลย เชน ขอตอ
กะโหลกศีรษะ
• ขอตอที่เคลื่อนไหวได (Movable Joint) เปนขอตอที่เชื่อมตอ
กระดูกแลวทําใหเคลื่อนไหวไดซึ่งมีอยูหลายรูปแบบ เชน
ขอตอที่เชื่อมตอกระดูก
• แบบบานพับ เชน นิ้วมือ นิ้วเทา
• แบบบอลลแอนดชอกเคท พบที่ขอ
ตอของหัวไหลและสะโพก
• ขอตอที่ขอมือนั้นก็หมุนไดหลาย
ทิศทางเชนกัน แตเปนขอตอแบบที่
เรียกกวา Gliding
• ขอตอที่ตน คอกับฐานของกะโหลก
ศีรษะนั้นเปนขอตอทีมเี ดือยสวม
ประกบกัน (Pivotal) ทําใหสามารถ
กมเงยและบิดไปซายขวาได
• ขอตอแบบอานมา พบที่โคนขอ
นิ้วหัวแมมือ และ โคนขอนิ้วหัวแม
เทา
การดูแลรักษาระบบโครงกระดูก
1. รับประทานอาหารที่สะอาดและมีสารอาหารที่เปนประโยชน
ตอการบํารุงและเสริมสรางกระดูก
2. ออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอยางรุนแรงบริเวณกระดูก
4. เคลื่อนไหวรางกายใหเหมาะสม มีการทรงตัวที่ดี ไมสะดุดหก
ลม หรือใหรางกายตกจากที่สูง
ระบบกลามเนื้อ

• กลามเนื้อเปนอวัยวะที่ใชในการเคลื่อนไหวสวนตางๆ ของ
รางกายมนุษย
• ประกอบดวยกลามเนื้อประมาณ 500 มัด แบงเปน 3 ชนิด
คือ
– กลามเนื้อลาย
– กลามเนื้อเรียบ
– กลามเนื้อหัวใจ
กลามเนื้อลาย

• กลามเนื้อลาย หรือ กลามเนื้อในอํานาจจิตใจ


• เปนกลามเนื้อทั่วๆไป หรือกลามเนื้อแดงของรางกาย
• กลามเนือ้ นี้มีประมาณ ๔๐% ของรางกาย และอยูใน
อํานาจจิตใจภายใตการควบคุมของระบบประสาท
สวนกลาง
• มีนิวเคลียสจํานวนมากอยูท่ขี อบของเซลล มีลายตาม
ขวาง สีเขมและสีจางสลับกัน
• คนที่ออกกําลังสม่ําเสมอเสนใยกลามเนื้อจะโตขึ้น
และหนาขึ้น แตจํานวนไมเพิ่มขึ้น
กลามเนื้อลาย
กลามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)

• เปนกลามเนื้อที่ประกอบดวยเซลลรูปรางเรียว หัวทาย
แหลมคลายกระสวย
• มี 1 นิวเคลียส อยูตรงกลางเซลลเห็นเดนชัด
• เปนกลามเนื้อที่อยูนอกอํานาจจิตใจ (Involuntary
Muscle) เราไมสามารถบังคับใหกลามเนื้อทําตามคําสั่ง
ของระบบประสาทสวนกลางได
• การหดและคลายตัวของกลามเนื้อชนิดนี้จะเกิดขึ้นชาๆ
พบที่ผนังของอวัยวะในระบบยอยอาหาร ระบบ
ขับถาย ระบบสืบพันธุ และหลอดเลือด
กลามเนื้อเรียบ
กลามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)

• ประกอบดวยเซลลที่มีหลายนิวเคลียสอยูตรงกลาง
โดยแตละเซลลมักจะแยกเปน 2 แฉก และแตละแฉก
จะเรียงติดตอกับแฉกของอีกเซลลหนึ่ง ทําใหเห็นการ
เรียงตัวของกลามเนื้อหัวใจติดตอกันคลายรางแห
• กลามเนื้อหัวใจจัดเปนกลามเนื้อที่อยูนอกอํานาจ
จิตใจ
• เปนกลามเนื้อที่มีการทํางานติดตอกันตลอดเวลา และ
พบเฉพาะที่หัวใจเทานั้น
กลามเนื้อหัวใจ
การทํางานของกลามเนื้อ
กลามเนื้อแตละมัดทํางานรวมกันแตจะทํางานตรงขามกัน เชน
• อาการงอ เรียกวา Flexsor กลามเนื้อไบเซ็ปสจะหดตัว ไทร
เซ็ปสจะคลายตัว เพื่อดึงแขนขึ้น
• อาการเหยียด เรียกวา Extensor กลามเนื้อไทรเซ็ปสก็จะหด
ตัว สวนไบเซ็ปสจะคลายตัวเพื่อยืดแขนออก
การทํางานของกลามเนื้อ

การทํางานของกลามเนื้อแบงออกเปน 2 แบบ คือ


1. การเคลื่อนไหวของรางกาย เกิดจากการทํางานรวมกัน
ของโครงกระดูก กลามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการ
หดตัวของกลามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทําใหกระดูก
และขอตอเกิดการเคลื่อนไหว
การทํางานของกลามเนื้อ

2. การหดตัวของกลามเนื้อ มีผลทําใหเกิดการเคลื่อน
เซลลของกลามเนื้อไดพฒ ั นาขึ้นมาเปนพิเศษเพื่อการหด
ตัวโดยเฉพาะกลามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวไดเร็วมาก
เชน การเคลื่อนไหวของนัยนตา การเคลื่อนไหวจะ
เกิดขึ้นเร็วหรือชาก็ตามกลามเนื้อจะทํางานโดยการหดตัว
และเมื่อหยุดทํางานกลามเนื้อจะคลายตัว
กลามเนื้อทํางานไดอยางไร

• กลามเนื้อเปนอวัยวะที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงาน
เคมีใหเปนพลังงานกล
• พลังงานเคมีที่กลามเนื้อสามารถนําไปใชในการหดตัวไดทน ั ที
เปนพลังงานที่อยูในรูปของสารพลังงานสูงตัวที่ชื่อ ATP
(adenosine triphosphate) ซึ่งไดมาจากการเผาผลาญอาหาร
พวกคารโบไฮเดรตและไขมันที่มีสะสมอยูในรางกาย
• สวนโปรตีนซึ่งหนวยโครงสรางของรางกาย จะไมถูกนํามาใช
เปนแหลงพลังงานในยามปกติ รางกายจะดึงโปรตีนออกมาใช
ในการสราง ATP ก็ตอ  เมื่อเราอดอาหารเปนเวลานานเทานั้น
เหตุใดกลามเนื้อหยุดทํางาน
• กลามเนื้อในบางครั้งก็เกิดหยุดชะงักขึ้นมาและหยุดทํางานเสีย
เฉยๆ อาจใชชื่อวา “ตะคริว”
“ตะคริว” หมายถึง การหดเกร็งตัวของกลามเนื้อบางมัด
อยางรวดเร็ว และไมสามารถควบคุมได จะเปนกลามเนื้อมัดไหน
ของรางกายก็ได ที่พบบอยๆ ไดแก กลามเนื้อนอง กลามเนื้อเทา
• อาการเกร็งตัวของกลามเนื้อนั้นๆ จะเกิดขึ้นอยางตอเนื่อง
อาจนานเปนวินาทีหรือหลายนาที โดยกลามเนื้อนั้นๆ จะมี
อาการแข็งตัวและปวดมาก ยิ่งถาพยายามขยับเขยื้อน
กลามเนื้อสวนนั้นๆ ก็จะยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น
เหตุใดกลามเนื้อหยุดทํางาน
• หากคลําดูจะรูสึกกวาแข็งเปนกอน และถาปลอยไวสักพัก
กลามเนื้อสวนนั้นจะคลายตัวไดเองทีละนอยจนหายเปนปกติ
• ตะคริวมักเกิดจากการที่เสนประสาทที่สั่งใหกลามเนื้อหดตัว
ทํางานมากผิดปกติ มีการปลอยสัญญาณความถี่ออกมาเพิ่ม
มากขึ้น จนกลามเนื้อมีอาการกระตุกหรือสั่นนํามากอน แลว
จึงเกิดการหดตัวซ้ําๆ แรงๆ อยางตอเนื่อง จนเกร็งคางไวเปน
ตะคริวในที่สุด
สิ่งที่เปนอันตรายตอกลามเนื้อ

• ความเจ็บไข
– ความเจ็บไขบางอยางมีผลกระทบตอระบบกลามเนื้อของ
รางกายอันอาจเปนสาเหตุใหลามไปสูอาการอัมพาต หรือ
อาการหดเกร็งของกลามเนื้อ
สิ่งที่เปนอันตรายตอกลามเนื้อ
– ในรายที่เปนโรคโปลิโออยางรายแรง เชื้อไวรัสโปลิโอจะเขา
ทํารายไขสันหลังและสมอง อันเปนผลใหบางสวนของ
ระบบกลามเนื้อไมสามารถรับสัญญาณจากสมองผาน
เสนประสาทได
สิ่งที่เปนอันตรายตอกลามเนื้อ
- บาดทะยักเปนอีกโรคหนึ่งที่ทําอันตรายตอระบบประสาท
สวนกลาง (สมองและไขสันหลัง) มันเกิดขึ้นโดยแบคทีเรียซึ่ง
สวนใหญอยูในเนื้อดิน หากมันหลุดเขาไปในบาดแผล ก็อาจจะ
ปลอยพิษที่เปนอันตรายตอระบบประสาทที่ควบคุมกลามเนื้อ
ทําใหกลามเนื้อบางมัดเกิดอาการเกร็ง (หดตัวอยูเปน
เวลานาน) และทําใหตายได
สิ่งที่เปนอันตรายตอกลามเนื้อ

• การบาดเจ็บ
– กลามเนื้อบาดเจ็บ (strain)
– การฉีกขาดของเอ็นกลามเนื้อ (tendon)
– อาการเคล็ดขัดยอก (sprain)
สิ่งที่เปนอันตรายตอกลามเนื้อ

การบาดเจ็บของกลามเนื้อแบงออกเปน 2 ชนิดคือ
1. ชนิดบาดเจ็บเฉียบพลัน เกิดจากมีแรงกดอยางหนักทํา
ใหกลามเนื้อฉีกขาด มีเลือดออก บวม เจ็บปวด สูญเสีย
ความแข็งแรง และไมสามารถทํางานได
2. ชนิดที่เกิดจากการใชงานกลามเนื้อมากเกินไป ทําให
กลามเนื้อยืดเนื่องจากมีแรงกดสะสมมานาน ทําใหมี
อาการปวด แตไมฉก ี ขาดและไมสญ
ู เสียความแข็งแรง
วิธก
ี ารรักษาการบาดเจ็บของกลามเนื้อ
• กลามเนื้อบาดเจ็บสวนใหญหายไดเมื่อดูแลรักษาดวยตัวเอง
แตก็ควรไปพบแพทยถา อาการไมดีขึ้นภายใน 3 – 4 วัน หรือ
ถามีอาการบวมมากหรือเดินไมได ใหรีบไปพบแพทยโดยเร็ว
ที่สุด
• การดูแลรักษาดวยตนเอง
วิธี RICE คือ
– การพักผอน (Rest)
– ใชนํา้ แข็งประคบ (Ice)
– พันผา (Compression)
– และยกสวนที่บาดเจ็บใหสงู (Elevation)
เปนวิธีรก
ั ษากลามเนื้อบาดเจ็บดวยตนเองที่ไดผล
วิธก
ี ารรักษาการบาดเจ็บของกลามเนื้อ
• กลามเนื้อบาดเจ็บตองหยุดใชอวัยวะที่บาดเจ็บทันที และ
ประคบน้ําแข็งนาน 10 นาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงในวันแรก
• ในการพันผาใหใชผายืดพันบริเวณที่บาดเจ็บ
• การยกใหสูงขึ้นอยูกับวาบาดเจ็บสวนไหน อาจใชวิธีแขวนผา
ใชหมอนหนุนหรือสิ่งรองรับอื่น ๆ
• หลังผานไป 24 – 30 ชั่วโมง อาจเปลี่ยนเปนประคบรอนโดย
ใชแผนรอนหรือกระเปาน้ํารอน ในระยะนี้อาจใหรับประทาน
ยาแกอักเสบ
• การนวดดวยขี้ผึ้ง น้ํายา หรือสารถูนวดอื่นๆ อาจชวยบรรเทา
อาการปวดโดยทําใหอุนและชา แตรักษาอาการกลามเนื้อฉีก
ไมคอยไดผลดีเทากับยาแกอักเสบ
ระบบหอหุมรางกาย

• ระบบหอหุมรางกายประกอบดวยเซลลที่ปกคลุม
รางกาย คือ ผิวหนัง ขน เล็บ รวมทั้งตอมน้ํามัน ตอม
เหงื่อ ระบบประสาทที่เกี่ยวของ เพื่อชวยใหระบบ
หอหุมรางกายทําหนาที่ไดสมบูรณ
หนาที่ของระบบหอหุมรางกาย
1. ปองกันอันตราย (Protection)
• โดยปกคลุมอยูชั้นนอก กันน้ําได
• เมื่อเกิดบาดแผลจะหายเปนปกติไดเอง
• ปองกันอวัยวะภายในไมใหรับอันตรายจากเชื้อโรค การ
บาดเจ็บ และแสงอัลตราไวโอเลต
• ทําหนาที่รว มกับระบบประสาท ที่เกี่ยวของเพื่อรับสัญญาณ
ความรูสึกและอันตรายจากภายนอกแลวสงไปยังสมอง
หนาที่ของระบบหอหุมรางกาย

2. ชวยปองกันน้ําไมใหระเหยออกจากรางกายมากเกินไป
• ปรับระดับความรอนในรางกายใหคงที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
• ตอมเหงื่อ เสนเลือดฝอยและขนที่ผวิ หนังจะชวยควบคุมอุณหภูมขิ อง
รางกาย
• ถาอุณหภูมิของรางกายสูงขึ้น ตอมเหงื่อจะขับน้ําออกมากขึ้นการระเหย
ของน้ําบนผิวหนังจะทําใหอณ ุ หภูมล
ิ ดลง
• หรือเมื่ออุณหภูมิรา งกายสูงขึ้น เสนเลือดฝอยจะขยายใหญ ทําใหมเี ลือด
ไหลผานผิวหนังมากขึ้น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับอากาศภายนอกสงผลให
อุณหภูมริ างกายต่ําลง เสนเลือดฝอยจะหดตัว ทําให เกิดอาการขนลุก
และรูสึกอบอุนขึ้น
หนาที่ของระบบหอหุมรางกาย
3. ตอมน้ํามันทําใหผวิ หนังชุมชื่น ชวยปองกันผิวหนังแตก
• ตอมเหงื่อชวยขับน้ําของเสียออกจากรางกาย
ผิวหนัง
• ผิวหนังของคนเปนเนื้อเยื่อที่อยูช้นั นอกสุด ที่หอ หุมรางกายเอาไว
• ผิวหนังของผูใหญคนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว
• ผิวหนังตามสวนตางๆของรางกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร
โครงสรางของผิวหนัง
ผิวหนังของคนเราแบงออกไดเปน 2 ชั้น คือ หนังกําพราและหนังแท
1. หนังกําพรา (Epidermis)
• เปนผิวหนังที่อยูช้น
ั บนสุด
• มีลักษณะบางมาก
• ประกอบไปดวยเชลลเรียงซอนกันเปนชั้นๆ โดยเริ่มตนจากเซลล
ชั้นในสุดติดกับหนังแท ซึ่งจะแบงตัวเติบโตขึ้นแลวคอยๆ เลื่อนมา
ทดแทนเซลลที่อยูชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แลวก็กลายเปนขี้ไคลหลุด
ออกไป
ชั้นหนังกําพรา
• ในชั้นหนังกําพรายังมีเซลล เรียกวา เมลานิน ปะปนอยูดวย
• เมลานินมีมากหรือนอยขึ้นอยูกับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทําใหสี
ผิวของคนแตกตางกันไป
• ในชั้นของหนังกําพราไมมีหลอดเลือด เสนประสาท และตอม
ตางๆ นอกจากเปนทางผานของรูเหงื่อ เสนขน และไขมัน
เทานั้น
โครงสรางของผิวหนัง
2.หนังแท (Dermis)
• เปนผิวหนังที่อยูชั้นลางถัดจากหนังกําพรา และหนากวาหนัง
กําพรามาก
• ผิวหนังชั้นนี้ประกอบไปดวยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen)
และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เสนประสาท
กลามเนื้อเกาะเสนขน ตอมไขมัน ตอมเหงื่อ และขุม ขน
กระจายอยูทั่วไป
ผิวหนังประกอบไปดวยชั้นตางๆ ซึ่งแตละชั้นก็มีหนาที่ที่แตกตาง
กันไป ดังนี้
ชั้นไขมันใตผวิ หนัง หรือ ชั้นรองรับผิวหนัง

• เปนชั้นที่อยูลกึ ที่สุด ชั้นนี้จะมีเครือขายเซลลไขมัน ชวยในการ


เก็บสะสมพลังงานความรอนไมใหสญู เสียออกนอกรางกาย
• ชวยปกปองรางกาย ดวยการดูดซับแรงกระแทกจากภายนอก
หนาที่ของผิวหนัง
1. ปองกันและปกปดอวัยวะภายในไมใหไดรับอันตราย
2. ปองกันเชื้อโรคไมใหเขาสูรา งกายโดยงาย
3. ขับของเสียออกจากรางกาย โดยตอมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา
4. ชวยรักษาอุณหภูมิของรางกายใหคงที่ โดย ระบบหลอด
เลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ
5. รับความรูสึกสัมผัส เชน รอนหนาว เจ็บ ฯลฯ
6. ชวยสรางวิตามินดีใหแกรางกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยน
ไขมันชนิดหนึ่งที่ผวิ หนังใหเปนวิตามินดีได
7. ขับไขมันออกมาหลอเลี้ยงเสนผม และขน ใหเปนเงางาม
อยูเสมอและไมแหง
การดูแลรักษาผิวหนัง
1. อาบน้ําชําระรางกายใหสะอาดอยูเสมอ โดย
1.1 อาบน้ําอยางนอยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเชาและเย็น เพื่อ
ชวยชําระลางคราบเหงื่อไคล และความสกปรกออกไป
1.2 ฟอกตัวดวยสบูที่มีฤทธิ์เปนดางออนๆ
1.3 ในขณะอาบน้ํา ควรใชนิ้วมือ หรือฝามือ ถูตัวแรงๆ
เพราะนอกจากชวยใหรางกายสะอาดแลว ยังชวยใหการ
หมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
1.4 เมี่ออาบน้ําเสร็จ ควรใชผาเช็ดตัวที่สะอาด เช็ดตัวใหแหง
แลวจึงคอยสวมเสื้อผา
การดูแลรักษาผิวหนัง
2. หลังอาบน้ําแลว ควรใสเสื้อผาที่สะอาด และเหมาะสมกับ
อากาศและงานที่ปฏิบัติ
3. กินอาหารใหถูกตองและครบถวนตามหลัก โภชนาการ
โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ เชน พวก น้ํามันตับปลา ตับสัตว
เนย นม ไขแดง เครื่องในสัตว มะเขือเทศ มะละกอ รวมทั้งพืชใบ
เขียวและใบเหลือง วิตามินเอ จะชวยใหผิวหนังชุมชื้น ไมเปน
สะเก็ด แหง ทําใหเล็บไมเปราะ และยังทําใหเสนผมไมรวงงายอีก
ดวย
4. ดื่มน้ํามากๆ เพื่อทําใหผิวหนังเปลงปลั่ง
การดูแลรักษาผิวหนัง
5. ออกกําลังกายสม่ําเสมอ เพื่อชวยใหการ หมุนเวียนของเลือดดีข้น

6. ควรใหผวิ หนังไดรับแสงแดดสม่ําเสมอ โดยเฉพาะเวลาเชาซึ่งแดดไมจัด
เกินไป และพยายามหลีก เลี่ยงการถูกแสงแดดจา เพราะจะทําใหผวิ หนัง
เกรียม และกรานดํา
7. ระมัดระวังโนการใชเครื่องสําอาง เพราะอาจเกิดอาการแพ หรือทําให
ผิวหนังอักเสบ เปน อันตรายตอผิวหนังได หากเกิดอาการแพตอ
 งเลิกใช
เครื่องสําอางชนิดนั้นทันที
8. เมื่อมีส่งิ ผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย

You might also like