Casemethod 101

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 66

CASE

METHOD
101 The first step
to Case Method Learning
คู่มือ Case Method 101
ISBN 978-616-202-162-6
เจ้าของโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2553
จำนวนพิมพ์ 3000 เล่ม
จัดทำโดย ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
(Thammasat Business Consulting Center : TBCC)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2 ถ.พระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 0-2613-2258
ผู้เขียน ผศ. ดร. การดี เลียวไพโรจน์
ผศ. ดร. ศากุน บุญอิต
อ. ดร. ศจี ศิริไกร
สาขาบริหารการปฏิบัติการ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิสูจน์อักษร น.ส. พิมพ์นภา อมฤตวรชัย
น.ส. ญาณิน สวัสดิ์ชัย
ประธานที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา
ที่ปรึกษา รศ. ดร. สิงหา เจียมศิริ นายอรรถการ ตฤษณารังสี
นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ นางอุไรวรรณ จันทรายุ
น.ส. กรองทอง กฤษณชาญดี น.ส. ณัชชา ญาณฐิตวัฒนา
นายอรรณพ วิริยะวิทย์ น.ส. นภัสสร กมลประเสริฐสุข

ออกแบบ-พิมพ์ท ี่ บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด
คำนำ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น
มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณี
ศึกษาด้วยวิธีการที่เป็นสากล และเป็นแนวทางการดำเนินงานในการผลัก
ดันให้เกิดระบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาอย่างยั่งยืน
สกอ.จึงขอเชิญชวนให้ผู้บริหารสถาบันการศึกษาสนับสนุนการจัดการ
เรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาด้วยวิธีดังกล่าวในบริบทของไทย ซึ่งขณะนี้
สกอ. กำลังส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างแพร่
หลาย ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การสัมมนา และการจัดฝึกอบรม
เพื่อถ่ายทอดทักษะความรู้ด้านนี้ในวงกว้าง คณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่าง
ยิ่งว่า คณาจารย์ในสถาบันของท่านจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการ
เหล่านี้อย่างทั่วถึง เพื่อร่วมกันพัฒนาให้สถาบันมีกระบวนการเรียนการ
สอนอันเป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียนได้อย่างมี
ประสิทธิผลต่อไป
สารบัญ
บทนำ
1. การเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา 11
กรณีศึกษาคืออะไร 11
กรณีศึกษา: CASE vs. CASE STUDY 13
ใครคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา 14
การสอนโดยใช้กรณีศึกษาแตกต่างจากการสอนแบบปกติอย่างไร 18
2. กรณีศึกษากับผู้เรียน 21
การเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 23
ทักษะสำคัญที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนด้วยกรณีศึกษา 24
การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนด้วยกรณีศึกษา 29
3. กรณีศึกษากับผู้สอน 31
พัฒนาความสามารถทางวิชาการของผู้สอน 32
ขั้นตอนการใช้กรณีศึกษาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน 34
การพัฒนากรณีศึกษา 34
โครงสร้างกรณีศึกษามีอะไรบ้าง 38
จะกำหนดมิติความยากง่ายของกรณีศึกษาอย่างไร 39
โครงสร้างคู่มือการสอน (Teaching Note) 42
การสอนกรณีศึกษา 42
ขนาดของชั้นเรียน 44
การจัดวางอุปกรณ์ในชั้นเรียน 44
4. กรณีศึกษากับภาคธุรกิจ 47
ภาคธุรกิจเกี่ยวข้องอย่างไรกับกรณีศึกษา 48
ประโยชน์ที่ภาคธุรกิจได้รับจากการจัดทำกรณีศึกษา 50
อยากเป็นกรณีศึกษาต้องทำอย่างไร 56
5. แผนที่นำทางเพื่อการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาอย่างยั่งยืน 61
แนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาอย่างยั่งยืน 62
ระยะสั้น 65
ระยะกลาง 71
ระยะยาว 75
แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา 77
บรรณานุกรม 82
บทนำ

กรณีศึกษาใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
คนทั่วไปเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากประสบการณ์ของตนเอง
แต่ผู้นำจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่น ทั้งความผิดพลาด
และความสำเร็จ เพื่อสร้างเส้นทางของตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งกว่า ทุกอย่าง
ที่มีอยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ข่าวสาร หนังสือ
ตำรา สามารถนำมาผลิตเป็นกรณีศึกษาได้ทั้งสิ้น
กรณีศึกษาที่ดีจะต้องช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความท้าทายใน
การแก้ปัญหา และมีโครงสร้างช่วยฝึกฝนวิธีคิดอย่างรอบด้านสำหรับนำ
ไปใช้พัฒนาตนเองและองค์กรได้ การเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาจึงได้
รับความนิยมมากในสถาบันการศึกษาด้านการจัดการธุรกิจชั้นนำในต่าง
ประเทศ เช่น Harvard Business School, Richard Ivey Business
School, Yale School of Management, INSEAD, Wharton, MIT,
Kellogg ซึ่งมีการผลิตงานเขียนกรณีศึกษาและสร้างผู้นำรุ่นใหม่และ
บุคลากรระดับหัวกะทิอย่างมากมาย
สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยก็ได้ให้ความสนใจและดำเนิน
การจัดการเรียนสอนในรูปแบบดังกล่าว เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ (SASIN) มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น
การเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาจึงเป็นทิศทางที่สถาบันอุดมศึกษาต้อง
ก้าวไปในอนาคต เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจในบริบทของ
ปัญหาที่ธุรกิจต้องเผชิญ ต้องตัดสินใจอย่างแท้จริง และพร้อมสำหรับการ
ทำงานภายใต้ความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้
จึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคการศึกษาและ
ภาคเอกชน เพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและการตัดสินใจอย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้บัณฑิตมีศักยภาพในการคิดเพื่อช่วยขับ
เคลื่อนองค์กรที่ตนอยู่ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
1
Case Method 101 11

1
การเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา
(CASE METHOD LEARNING)
กรณีศึกษาคืออะไร
จากการศึ ก ษาแนวทางการใช้ ก รณี ศึ ก ษาจากแหล่ ง ข้ อ มู ล ต่ า งๆ ของ
สถาบันการศึกษาในต่างประเทศ อาจสรุปความได้ว่า

กรณีศึกษา – CASE - ที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน มีลักษณะ
เป็นเรื่องสั้นที่เขียนขึ้นเพื่อบรรยายสภาพการณ์ของเหตุการณ์ใด
เหตุการณ์หนึ่ง บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสถานการณ์คับขัน
ที่ ส มควรได้ รั บ การแก้ ไข หรื อ ประเด็ น ปั ญ หาที่ ต้ อ งตั ด สิ น ใจ
ภายในช่วงเวลาที่กำหนด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ
12 Case Method 101

เนื้อเรื่องของกรณีศึกษามิได้สื่อถึงวิธีปฏิบัติที่ดี
หรื อ ไม่ ดี ข องหน่ ว ยงานใดๆ แต่ เป็ นการเปิ ด
ประเด็นเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล
ต่างๆ ตามที่ปรากฏในสถานการณ์ดังกล่าว
ลักษณะสำคัญของกรณีศึกษาเพื่อการเรียนการ
สอนคื อ การมี ป ระเด็ น เพื่ อ การพิ จ ารณาที่
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามที่ผู้
สอนกำหนด และมีขนาดความยาวของเรื่องที่
เอื้ อ ต่ อ การเตรี ย มตั ว เพื่ อ การเรี ย นการสอน
อย่างเหมาะสม
Case Method 101 13

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพความ
เป็นจริงของการดำเนินการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งที่มีความ
สำคัญในปัจจุบันสภาวะทางธุรกิจและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
เทคโนโลยี กฎระเบียบ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจ และสังคมล้วนเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการ
เรียนรู้ เพื่อบ่มเพาะให้บัณฑิตมีความพร้อม มีความรอบรู้ และทักษะในการ
ประกอบอาชีพตามศักยภาพของตนอย่างเหมาะสม การจัดการเรียนการ
สอนรูปแบบใหม่ๆ จึงได้รับความสนใจมากขึ้น อาทิ หลักสูตรสหกิจศึกษา
หลักสูตรทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นสื่อ
การเรียนรู้ (Case Method Learning) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยง
องค์ความรู้ระหว่างภาคทฤษฎีกับการปฏิบัติมากขึ้นในระหว่างการเรียน
กรณีศึกษา: CASE vs. CASE STUDY
เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างคำว่า CASE และ CASE STUDY
ซึ่งแปลว่ากรณีศึกษาทั้งคู่นั้น มีความหมายในการนำไปใช้แตกต่างกันดังนี้

CASE คือ กรณีศึกษาที่ใช้เพื่อการ CASE STUDY


เรียนการสอน มีลักษณะเป็นเรื่องสั้นที่เขียน คื อ กรณี ศึ ก ษาที่ ส ะท้ อ นถึ ง
ขึ้นเพื่อบรรยายสภาพการณ์ของเหตุการณ์ใด เรื่องราว ปัจจัยแห่งผลสำเร็จ
เหตุการณ์หนึ่ง บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ อุ ป สรรค หรื อ เรื่ อ งราวของ
สถานการณ์ คั บ ขั นที่ ส มควรได้ รั บ การแก้ ไข เหตุการณ์ที่ผ่านการวิเคราะห์
หรือประเด็นปัญหาที่ต้องตัดสินใจภายในช่วง มาอย่างรอบด้านและสรุปมา
เวลาที่กำหนด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการ เป็ น เรื่ อ งราวให้ ผู้ อ่ า นเข้ า ใจ
ตัดสินใจ ได้ง่าย
ดังนั้นในการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา จะ
หมายถึงการใช้กรณีศึกษาแบบ CASE เพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะอย่างรอบด้าน
14 Case Method 101

ใครคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา

เมื่ อ กรณี ศึ ก ษา คื อ การบอกเล่ า สภาพการณ์ ข องธุ ร กิ จ และ
สถานการณ์ที่ควรต้องตัดสินใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่เรียนรู้บทเรียนความ
สำเร็จและความผิดพลาดของธุรกิจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาระบบการคิด
วิ เคราะห์ อย่ า งรอบด้ า นโดยไม่ ก ระทบกั บ ความเสี่ ย งที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ใน
สถานการณ์จริงแล้ว กรณีศึกษาย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายส่วน ดังนี้

ธุรกจิ สร้า
อ งคก์ ร รุ กจิ งมา
ง ธ ตร
รู้ขอ ภาค ฐาน
ีเ น สำหรบั
ร ย ผลักด กา ร
าร ง้ าน ันให
้มีกา พัฒน
มใช

เรยี

รเข าท
ิตให าเพื่อ

นก ผสู้ อน า่ งกวา้ ง
ียน
้อ

ารส


ี่พร

กั ษ ศี กึ ษา
ารบ รณีศึก
ม่ท

อนด

รณ

ว้ ยก

ความ ต้องการ
ัณฑ

ารศกึ
อย
ถ่ายโอนความรู้เพื่อสร้างกรณีศึกษา
ต้องก
ความ

ษา
ขวาง

สร้างความรู้ในการพัฒนากำลังคนรุ่นใหม่
าพ
คดิ ว ะสทิ ธภิ

สร้างเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กร
มีคว

ะห ์
สร้า คิดเป


ิเครา

มีกา ับมือก
มพร

งวิส ็น

วน รทู้ มี่ ปี

ทศั

ัย


้อมร

ระบ ์
การ
ก าร
เรยี

สถ บ ื ่ อ ง มือ ร
ะบ
ับ

านก ร ึกก
งเค
ารณ
จ์ รงิ สร้า นการฝ

Case Method 101 15

ผู้เรียน การจัดการการเรียน
การสอนด้วยกรณีศึกษาจะเรียกว่า
ประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อได้เห็น
ผลสัมฤทธิ์ในตัวผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น
ทั ก ษะที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ในการวิ เ คราะห์
สังเคราะห์สถานการณ์อย่างมีวิสัย
ทั ศ น์ และสร้ า งทางเลื อ กอย่ า งมี
กลยุทธ์ เท่าทันความรู้และวิทยาการ
ในโลกธุรกิจ ซึ่งสุดท้ายการเรียนการ
สอนด้วยกรณีศึกษาที่ประสบความ
สำเร็จ จะผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ
พร้อมใช้งานเข้าสู่ตลาดแรงงานใน
ภาคธุรกิจต่อไป

ผู้สอน คือ ฟันเฟืองหลักใน


การผลิ ต กรณี ศึ ก ษาที่ ไ ด้ คุ ณ ภาพ
และถ่ายทอด แนวทางคิดวิเคราะห์
การใช้กรณีศึกษาให้เกิดประโยชน์
สูงสุดแก่ผู้เรียน
16 Case Method 101

สถาบั น การศึ ก ษาและผู้ ว าง


นโยบายการศึกษา
เป็ น ผู้ ว างนโยบายกรอบการดำเนิ นงาน
ผลักดัน สร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ใช้กรณี
ศึ ก ษาเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการสอน รวมถึ ง
การฝึกอบรมอาจารย์ให้สามารถผลิตกรณี
ศึกษา และจัดการเรียนการสอนด้วยกรณี
ศึกษาที่ได้มาตรฐาน

องค์ ก รต่ า งๆ ในภาคธุ ร กิ จ


ในฐานะที่ เป็ น ผู้ รั บ ผลประโยชน์ จ าก
ความรู้ความสามารถของคนที่พัฒนา
ขึ้ น โดยสถาบั น การศึ ก ษา และเป็ น
แหล่ ง ข้ อ มู ล สำคั ญ ในการจั ด ทำกรณี
ศึกษา
Case Method 101 17
18 Case Method 101

การสอนโดยใช้ ก รณี ศึ ก ษาแตกต่ า งจากการสอน


แบบปกติอย่างไร
การสอนแบบปกติ การสอนด้วยกรณีศึกษา
ขึ้ น อยู่ กั บ วิ ธี ก ารถ่ า ยทอดความรู้ ข อง ขึ้ น อยู่ กั บ วิ ธี ก ารจั ด การและเชื่ อ มต่ อ
อาจารย์ให้ชัดเจนและน่าสนใจ องค์ ค วามรู้ ให้ ค รบถ้ ว นเป็ น ระบบและ
มีประสิทธิภาพ

ผู้สอนเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้โดย ผู้เรียนจะเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้
เป็นผู้บรรยายหลัก และเป็นผู้นำเสนอ โดยมี ผู้ ส อนเป็ น ผู้ ค วบคุ ม ทิ ศ ทางการ
ข้อมูลและการวิเคราะห์ เรียนรู้

ผู้ เรี ย นมี ห น้ า ที่ จ ดบั นทึ ก อย่ า งรวดเร็ ว ผู้ เ รี ย นมี ห น้ า ที่ ตั้ ง คำถาม โต้ ต อบ คิ ด
เพื่อตามให้ทันที่ผู้สอนบรรยาย วิเคราะห์ตามและต่อยอดในแนวความคิด
จากเพื่อนร่วมชั้น

ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้จากการสื่อสาร ผู้เรียนจะได้รับการฝึกทักษะครบถ้วน ทั้ง
และบอกเล่าจากผู้สอนเพียงด้านเดียว การฟัง การคิดเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์
สถานการณ์ ทั ก ษะการสื่ อ สาร การใช้
ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา

เนื้ อ หาในการเรี ย นมี ค วามเจาะจงใน องค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับครอบคลุมองค์
รายวิชา ความรู้จากรายวิชาที่หลากหลายรวมถึง
ประสบการณ์ที่แตกต่าง
Case Method 101 19
2
Case Method 101 21

กรณีศึกษากับผู้เรียน

“การเรียนโดยใช้กรณีศึกษาทำให้รู้สึกสนุกกับการเรียนเพราะ
มันไม่น่าเบื่อรู้สึกเหมือนได้ทำงานจริงมีการร่วมประชุมและออก
ความเห็ น รู้ สึ ก ตั ว เองเป็ น ผู้ ให้ ด้ ว ยไม่ ใ ช่ ผู้ รั บ อย่ า งเดี ย วใน
ห้ อ งเรี ย น อี ก อย่ า งหนึ่ ง รู้ สึ ก ว่ า ได้ ฝึ ก ทั ก ษะการฟั ง การคิ ด
วิเคราะห์และการนำเสนอด้วย”
นักศึกษาปริญญาตรี สาขาการตลาด
22 Case Method 101


“การเรียนด้วยกรณีศึกษา
ทำให้ได้คิดมากขึ้น ได้เห็นว่าสิ่งที่เราเรียนใน
เชิงทฤษฎีสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงได้ ทำให้รู้สึก
อยากเรี ย นมากขึ้ นถึ ง แม้ จ ะต้ อ งค้ นคว้ า มากขึ้ น ในด้ า น
การเตรียมตัวก่อนมาเรียน อีกทั้งการใช้กรณีศึกษาทำให้
การเรี ย นรู้ เป็ นการเรี ย นรู้ จ ากตั ว เพื่ อ นด้ ว ยกั น ในห้ อ งใน
ลักษณะการต่อยอดการคิดวิเคราะห์แบบ Snowball”
นักศึกษาปริญญาตรี สาขาการเงิน


“Case ทำให้เห็นภาพ เข้าใจ
หลักการของหัวข้อที่เรียนมากขึ้น รวม
ทั้งได้แรงบันดาลใจอะไรหลายๆ อย่าง”
นักศึกษาปริญญาโท
โครงการ MBA/HRM รุ่นที่7
Case Method 101 23

การเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเป็นศูนยกลาง
การเรียนโดยใช้กรณีศึกษา จึงมีจุดเด่นคือการสร้างโอกาสและกระตุ้น
ให้ ผู้ เรี ย นมี ส่ ว นร่ ว มในกระบวนการเรี ย นรู้ ข องตนเองอย่ า งเข้ ม ข้ น
เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากเท่าไร โอกาสในการซึมซับ
ทำความเข้าใจกับความรู้นั้นก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น การเรียนการสอนโดยใช้
กรณีศึกษาจึงเป็นสื่อการเรียนรู้ (Case Method) ที่ได้รับการยอมรับว่า
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การใช้กรณีศึกษากระตุ้นให้ผู้เรียนได้
คิดสร้างสรรค ประยุกตใช้ความรู้เชิงทฤษฎี เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
ตามสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริงในกรณีต่างๆ
24 Case Method 101

ทั ก ษ ะ ส ำ คั ญ ที่ ผู้ เรี ย น ได้ รั บ จ า ก ก า ร เรี ย นด้ ว ย ก ร ณี ศึ ก ษ า

ความคิดสร้างสรรค

การคิดวิเคราะหทั้งเชิงคุณภาพ
และเชิงปริมาณ
การตัดสินใจ

การบริหารเวลา

ทักษะการเขียน

การสื่อสาร

การปรับใช้เครื่องมือ
การเข้าสังคมและ และองคความรู้ด้านต่างๆ
รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
Case Method 101 25

ก า ร คิ ด วิ เค ร า ะ ห ทั้ ง เชิ ง
คุ ณ ภาพและเชิ ง ปริ ม าณ
(Qualitative and Quantitative
Analytical Skills) เริ่มตั้งแต่การ
แยกแยะ กลั่ น กรองและจั ด ลำดั บ
ความสำคัญของปัญหา การวิเคราะห
และค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปจนถึง
การเลือกและปรับใช้เครื่องมือในการ
แก้ไขปัญหาต่างๆ

การตัดสินใจ
(Decision Making Skills) ซึ่ง
ครอบคลุมถึงการสร้างทางเลือก
ในการตั ด สิ น ใจ (Generating
Alternatives) การกำหนดปัจจัย
ในการตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือก
ที่ดีที่สุดในสถานการณนั้นๆ รวม
ไปถึงการวางแผนการปฏิบัติการ
ต่างๆ (Implementation Plan)
26 Case Method 101

ค ว า ม คิ ด ส ร้ า ง ส ร ร ค
(Creative Skills) ปัญหาที่เกิดใน
กรณีศึกษามีความแตกต่างขึ้นอยู่กับ
สถานการณ ช่วงเวลา และบทบาท
ของผู้ที่ต้องตัดสินใจ ผู้เรียนจะได้รับ
การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค
ในการวางกรอบปั ญ หาและการคิ ด
เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา

การปรับใช้เครื่องมือและ
อ ง ค ค ว า ม รู้ ด้ า นต่ า ง ๆ
(Application Skills) ในการแก้
ปัญหาหนึ่งปัญหาใดนั้น การเลือก
และปรั บ ใช้ เ ครื่ อ งมื อ ในการแก้
ปัญหาต่างๆ ให้เหมาะสมเป็นเรื่อง
สำคั ญ รวมไปถึ ง การนำเอาองค
ความรู้และประสบการณด้านอื่นๆ
มาผนวกและต่ อ ยอดจากองค
ความรู้ที่มีอยู่เดิม
Case Method 101 27

การสื่อสาร
(Communication Skills) การเรี ย นด้ ว ย
กรณีศึกษาต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารครบถ้วน
ทั้งการฟังเพื่อจับประเด็นสำคัญในการสนทนา
การโต้ตอบ พูดแสดงความคิดเห็นของตน เพื่อ
ให้ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นได้เข้าใจ

ทักษะการเขียน
(Writing Skills) การบันทึกย่อจากสิ่งที่ได้ฟัง
จากเพื่อนร่วมห้องไปจนถึงการจัดทำรายงาน
กรณีศึกษา (Case Report) เป็นการส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการเขียน
28 Case Method 101

การบริหารเวลา
(Time Management Skills)
กระบวนการเตรี ย มตั ว ก่ อ นการเรี ย น
กรณีศึกษาในแต่ละเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ
และกระบวนการนี้ต้องอาศัยทักษะการ
บริหารเวลาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพใน
การเตรียมพร้อมสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการ
เตรี ย มตั ว เดี่ ย ว หรื อ การอภิ ป รายใน
กลุ่มย่อย และการอภิปรายแนวความ
คิดในชั้นเรียน
การเข้าสังคมและรับฟังความคิด
เห็นผู้อื่น
(Social Skills) การเรี ย นด้ ว ย
กรณีศึกษาไม่จำเป็นต้องนำไปสู่คำตอบ
สุดท้ายที่ถูกต้องเพียงแบบเดียวเสมอ
ไป แต่เป็นการเปดกว้างให้กับแนวคิดที่
แตกต่างหลากหลาย การเห็นต่างจาก
เพื่อนร่วมชั้นหรือต่างจากผู้สอนจึงเป็น
เรื่องธรรมดา ผู้เรียนจึงได้รับการฝกให้
มีแนวความคิดที่เปดกว้าง ฟังความคิดเห็น
ผู้ อื่ น แบ่ ง รั บ แบ่ ง สู้ และการจั ด การ
กับข้อโต้แย้งต่างๆ
Case Method 101 29

การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนด้วยกรณีศึกษา
ก่อนเข้าห้องเรียน
รับกรณีศึกษา เตรียมตัวอ่านและวิเคราะหมาล่วงหน้า
เตรียมพร้อมด้วยการอ่านเดี่ยวและร่วมอภิปรายในกลุ่มย่อย
ระหว่างการเรียนการสอน
ถามคำถามเพิ่มเติม
ร่วมอภิปรายในชั้นเรียนโดยแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษา
ตั้งใจฟังความเห็นของผู้อื่น
คิดวิเคราะหสถานการณ พร้อมกับจดบันทึกข้อมูลสำคัญ
ต่อยอดความคิดเห็นของผู้ร่วมห้องไปสู่องคความรู้ที่ลึกซึ้งมากขึ้น หรือ
อภิปรายเพื่อให้เห็นแง่มุมที่แตกต่าง
หลังการเรียนการสอน
ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนที่เป็นผลสืบเนื่องจากกรณีศึกษา
จดบันทึกประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้
3
Case Method 101 31

กรณีศึกษากับผู้สอน



การเรียนด้วยกรณีศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนการสอน
โดยใช้กรณีศึกษาเป็นสื่อการสอนมีรากฐานมาจากความเชื่อเรื่อง
วิธีการเข้าถึงความรู้ด้วยการถาม การพูดคุยอภิปรายโต้ตอบด้วย
เหตุผล ทว่าการเรียนในรูปแบบดังกล่าวมีความแตกต่างจากการ
เรียนแบบท่องจำซึ่งผู้เรียนคุ้นชิน ดังนั้นผู้สอนจึงควรทำความ
เข้าใจกับผู้เรียนตั้งแต่เริ่มต้นถึงวิธีการเรียนการสอน สัดส่วนการ
บรรยายและการเรียนด้วยกรณีศึกษา รวมทั้งวิธีการประเมินผล
เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จใน
การบริหารจัดการรูปแบบการเรียนดังกล่าว
32 Case Method 101

พัฒนาความสามารถทางวิชาการ
ของผู้สอน
นอกเหนือจากประโยชน์โดยตรงต่อผู้
เรี ย นแล้ ว การใช้ ก รณี ศึ ก ษายั ง เป็ น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถ
ทางวิชาการของคณาจารย์เช่นเดียวกัน
เพราะการใช้ แ ละการพั ฒ นากรณี
ศึ ก ษา ช่ ว ยให้ ผู้ ส อนได้ ป ระมวล
สถานการณ์ จ ริ ง ในภาคธุ ร กิ จ เข้ า กั บ
องค์ความรู้ภาคทฤษฎีได้ดียิ่งขึ้น
Case Method 101 33

กรณีศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วย
ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาทั ก ษะในการ
เชื่ อ มโยงองค์ ค วามรู้ ภ าคทฤษฎี
เข้ากับการดำเนินงานจริงในภาค
ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งผู้
สอนสามารถนำไปใช้ ป ระกอบ
การเรียนการสอนในหลากหลาย
สาขาวิชา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การบริหารจัดการ การบริหารห่วงโซ่ การบัญชี


อุปทานและโลจิสติกส์
การตลาด การเงิน เศรษฐศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารวิศวกรรม การบริหารธุรกิจ
การบริหารองค์กร การต่างประเทศ จิตวิทยา
สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์
พยาบาลศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สื่อสารมวลชน
การจัดการระหว่าง การจัดการ ระบบ
ประเทศ อสังหาริมทรัพย์ สารสนเทศ
34 Case Method 101

ขั้ น ตอนการใช้ ก รณี ศึ ก ษาเป็ น


เครื่องมือในการเรียนการสอน
ขั้นตอนการใช้กรณีศึกษาเป็นเครื่องมือ
ในการเรียนการสอน ครอบคลุม
• การพัฒนากรณีศึกษา
• การสอนกรณีศึกษา
การพัฒนากรณีศึกษา
การเรียบเรียงเรื่องราวในกรณีศึกษาควรตั้ง
อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม
ผู้ เ ขี ย นกรณี ศึ ก ษาอาจเลื อ กใช้ ชื่ อ สมมติ
และดั ด แปลงข้ อ มู ล เชิ ง ตั ว เลขอย่ า งเป็ น
ระบบ เพื่อปกปองข้อมูลลับของหน่วยงาน
ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง แต่ ยั ง คงไว้ ซึ่ ง ความสั ม พั นธ์
และความสมเหตุสมผลของเรื่องทั้งหมด
โดยไม่ เ สี ย อรรถรส ผู้ เขี ย นยั ง อาจแสดง
ภาพ หรือตารางข้อมูลประกอบเนื้อเรื่อง
เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจกรณีศึกษาได้ง่าย
Case Method 101 35

ทั้งนี้ ผู้เขียนกรณีศึกษาจะยังไม่เปดเผยข้อสรุปต่อปัญหาของกรณีศึกษาไว้
ในเนื้อเรื่อง แต่จะอธิบายแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์นั้น พร้อมทั้ง
เชื่อมโยงข้อมูลในเรื่อง เข้ากับแนวคิดเชิงวิชาการไว้ในเอกสารคู่มือการ
สอน (Teaching Note) สำหรับกรณีศึกษาเรื่องนั้นๆ

ในกระบวนการการพัฒนากรณีศึกษามีขั้นตอนที่สำคัญ
แบงเปน 4 ชวงหลักคือ
• ช่วงที่ 1 การเลือกแหล่งข้อมูล
(Select Case Origin)
• ช่วงที่ 2 การเก็บข้อมูล
(Data Collection)
• ช่วงที่ 3 การเขียนกรณีศึกษาและจัดทำคู่มือการสอน
(Case Writing and Teaching Note)
• ช่วงที่ 4 การลงนามยินยอมจากแหล่งข้อมูล
(Case Release)
36 Case Method 101

ขั้นตอนการพัฒนากรณีศึกษาที่สำคัญในแต่ละช่วงคือ

ชวงที่ 1 การเลือกแหลงที่มา
(Select Case Origin)
1. เลือกสถานประกอบการ
2. ติดต่อเข้าพบผู้ที่รับผิดชอบดูแล
3. สัมภาษณ์เบื้องต้น
4. เลือกหัวข้อที่ตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในการเรียนรู้ในชั้นเรียน
5. จัดทำแผนการเขียนกรณีศึกษา (Case Plan) ครอบคลุมบุคลากรและ
หน่วยงานที่ต้องเข้าสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเชิงลึก
6. ทำการขออนุญาตในการเก็บข้อมูลเชิงลึก

ชวงที่ 2 การเก็บข้อมูล
(Data Collection)
7. สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
8. การเก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ในขณะนั้น
Case Method 101 37

ชวงที่ 3 การเขียนกรณีศึกษาและจัดทำ
คูมือการสอน
(Case Writing and Teaching Note)
9. ออกแบบโครงสร้างกรณีศึกษา
10. กำหนดมิติความยากง่ายของกรณีศึกษา
11. จัดทำร่างกรณีศึกษา
12. จัดทำคู่มือการสอน
(Teaching Note)

ชวงที่ 4 การลงนามยินยอมจากแหลงข้อมูล
(Case Release)
13. การลงนามยินยอมจากแหล่งข้อมูล เพื่ออนุญาตให้ใช้และเผยแพร่กรณี
ศึกษา ในกระบวนการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา
38 Case Method 101

โครงสร้างกรณีศึกษามีอะไรบ้าง
โครงสร้างกรณีศึกษาโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. ชื่อกรณีศึกษา (Case’s Name)
2. ย่อหน้านำ (Opening Paragraph)
3. ประวัติความเป็นมา (General Company Background)
4. จุดสนใจเฉพาะเจาะจง (Specific Area of Interest)
5. ปัญหาหรือการตัดสินใจ (Specific Problem or Decision)
6. ทางเลือกต่างๆ (Alternatives)
7. บทสรุป (Conclusion)
8. ข้อมูลและเอกสารประกอบ (Appendix)
Case Method 101 39

จะกำหนดมิติความยากงายของกรณีศึกษาอยางไร
มิ ติ ค วามยากง่ า ยของกรณี ศึ ก ษาแบบ Richard Ivey School of
Business, The University of Western Ontario แบ่งเป็น 3 มิติ คือ
1. มิติการวิเคราะห์ (Analytical)
2. มิติแนวคิดและทฤษฎี (Conceptual)
3. มิติการนำเสนอ (Presentation)
40 Case Method 101

ทั้ง 3 มิติสามารถแบ่งเป็นระดับความซับซ้อนได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

มิติการวิเคราะห์ (Analytical)
ในระดับ 1 ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีการกำหนดปัญหา
สิ่ ง ที่ ต้ อ งตั ด สิ น ใจ มี ก ารกำหนดทางเลื อ กในการแก้ ปั ญ หา
และมีการวิเคราะห์ทางเลือกเบื้องต้นไว้ให้แล้ว ส่วนในระดับ
2 ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นจะมีการกำหนดปัญหาและสิ่งที่
ต้องตัดสินใจไว้อย่างชัดเจนแต่ไม่ได้กำหนดทางเลือกไว้ให้
และในระดับ 3 ที่มีความซับซ้อนมากที่สุด จะไม่มีการระบุ
ปัญหาและตัวเลือกไว้เลย ผู้อ่านจึงต้องตัดสินใจเองทั้งหมดใน
การวางกรอบปัญหาต่างๆ

มีการกำหนด มีการกำหนด มีการวิเคราะห์


ปัญหา สิ่งที่ต้อง ทางเลือกในการ ทางเลือกให้
ตัดสินใจ แก้ปัญหา
ระดับ 1 √ √ √

ระดับ 2 √ O O

ระดับ 3 O O O
Case Method 101 41

มิติแนวคิดและทฤษฎี (Conceptual)
ระดับความยากง่ายของกรณีศึกษาจะถูกกำหนดโดยการนำ
แนวคิดหรือทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ ถ้าเป็น
แนวคิดง่ายๆไม่ซับซ้อนก็จะถือว่าอยู่ในระดับ 1 แต่หากต้อง
ใช้แนวคิดและทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันก็
ถือว่าอยู่ในระดับ 3

มิติการนำเสนอ (Presentation)
ระดับ 1 กรณีศึกษาสั้น มีความชัดเจน อ่านง่าย
มีข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์
ระดับ 2 มีข้อมูลในภาพรวม และข้อมูลที่อาจไม่เกี่ยวข้องในการ
วิเคราะห์
ระดับ 3 ผู้เรียนต้องหาข้อมูลที่จำเป็นเองจากแหล่งอื่น
42 Case Method 101

โครงสร้างคู่มือการสอน (Teaching Note)


โครงสร้างคู่มือการสอน (Teaching Note) โดยทั่วไปประกอบด้วย
1. ชื่อกรณีศึกษา (Case’s Name)
2. ปัญหาและประเด็นหลัก (Current Problems and Issues)
3. แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Relevant Concept and Theory)
4. วัตถุประสงค์ในการเรียนด้วยกรณีศึกษา
5. คำถามหลัก
6. แนวทางคำตอบ

การสอนกรณีศึกษา
การสอนกรณี ศึ ก ษาต้ อ งอาศั ย
การเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี
ของผู้สอนและผู้เรียนทั้งก่อนเข้า
ห้ อ งเรี ย น ระหว่ า งการเรี ย นการ
สอน และหลังเลิกเรียน
Case Method 101 43

กอนเข้าห้องเรียน
มอบหมายกรณีศึกษาและหนังสือให้นักเรียนเพื่อ
เตรี ย มความพร้ อ มทั้ ง ทางด้ า นเนื้ อ หาและ
กระบวนการสอน ทั้งนี้หมายรวมถึงวัตถุประสงค์
ในการเรี ย นรู้ รายชื่ อ ผู้ เ รี ย น (Call List)
แผนกระดาน (Board Plan) หั ว ข้ อ คำถาม
ในการเป ด อภิ ป ราย (Opening Question)
คำถามสืบเนื่อง (Follow Up Question) และ
บทสรุป (Closing Comments)

ระหวางการเรียนการสอน
• เป็ น ผู้ น ำการอภิ ป รายโดยการถามคำถามนำและควบคุ ม ทิ ศ ทางการ
อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็น
• เชื่อมโยงและจัดการความต่อเนื่องของข้อมูล และสามารถโต้ตอบกับ
ผู้ เรี ย นได้ อ ย่ า งมี เหตุ แ ละผล มี ค วามยื ด หยุ่ น ในคำตอบที่ อ าจมี ก ารตั้ ง
ประเด็นไว้ก่อนหน้า
• ให้ข้อมูล ทฤษฏีและความรู้เพิ่มเติม
• ตั้งคำถามชวนคิดในการแสดงความเห็นที่มีมุมมองที่แตกต่าง
• กระตุ้นให้เกิดการต่อยอดเนื้อหาระหว่างผู้เรียน โดยอาจต่อยอดในแนวคิด
ทิศทางเดียวกันแต่มีความลึกซึ้งมากขึ้น หรือต่อยอดจากผู้เรียนที่มุมมอง
แนวคิดและประสบการณ์ที่แตกต่าง
• ให้ผู้เรียนตอบตามความสมัครใจ (Warm Calls) หรือเรียกสุ่มตอบ (Cold Calls)
• มีการสรุปผลการเรียนรู้ และชี้นำในการหาข้อมูลและองค์ความรู้เพิ่มเติม
นอกห้องเรียน
44 Case Method 101

หลังการเรียนการสอน
ประเมินการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ประเมิ น แผนการสอนของเรื่ อ งนั้ น ๆ ว่ า เป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์
ในการสอนหรือไม่

ขนาดของชั้นเรียน
จำนวนผู้เรียนมีผลอย่างมากต่อคุณภาพการเรียนรู้ในการสอนด้วยกรณี
ศึกษา โดยทั่วไปแล้ว จำนวนนักเรียนขั้นต่ำจะอยู่ที่ 12 คนแต่ไม่เกิน 100
คน แต่จำนวนที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ระหว่าง 20 – 35 คน

การจัดวางอุปกรณ์ในชั้นเรียน
การจัดวางสิ่งของในชั้นเรียนที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หลักการง่ายๆของผังของห้องเรียนที่เหมาะสมก็คือ ผู้เรียนทั้งหมด รวมทั้ง
ผู้สอน จะต้องสามารถมองเห็นทุกคนในชั้นเรียนโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ถ้าผู้สอน
ไม่ ส ามารถมองเห็ น ผู้ เรี ย นที่ ก ำลั ง พู ด อยู่ ไ ด้ นั้ น ความมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ของการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนก็จะลดลง
Case Method 101 45
4
Case Method 101 47

กรณีศึกษากับภาคธุรกิจ




“กรณี ศึ ก ษาที่ เ จ้ า ของธุ ร กิ จ เป็ น
ผู้เขียน เช่น เรื่องเกี่ยวกับทำอย่างไรธุรกิจจึง
ประสบความสำเร็จ จะสนใจอ่านเป็นพิเศษ อ่านแล้วสร้าง
Passion ทำฝันให้เป็นจริง กรณีศึกษาที่จะนำไปใช้สอนต้อง
ช่วยสร้างนักศึกษาให้มี Passion สรุปแล้วการเรียนจาก Case
เป็นสิ่งที่ดี เหมือนการสร้างภาพยนตร์ หากภาพยนตร์ไม่ดีก็
เสียเวลาไปชม เจ้าของธุรกิจจึงควรให้ความช่วยเหลือ”
คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด
48 Case Method 101

ภาคธุรกิจเกี่ยวข้องอย่างไรกับกรณีศึกษา
จากความหมายของกรณีศึกษาที่กล่าวไว้ในบทที่ 1
จะเห็ น ได้ ว่ า กรณี ศึ ก ษาเป็ น การนำข้ อ มู ล จาก
สถานการณ์จริง ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละธุรกิจ
และอุ ต สาหกรรม มาใช้ เป็ น สื่ อ การสอน ซึ่ ง ต้ อ ง
ยอมรับว่าปัจจุบันความรู้ และ วิทยาการที่ใช้ในการ
แก้ ปั ญ หา ไม่ ใ ช่ ค วามรู้ ที่ จ ำกั ด อยู่ เ พี ย งแค่ ต าม
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่ความรู้ที่เกิดจากการ
สะสม สั ง เคราะห์ ต ามกระบวนการทำงาน หรื อ
กระบวนการการผลิต แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยี
และสังคม สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผล
ให้ความรู้ที่เรียนรู้จากสถาบันการศึกษาไม่ทันต่อการ
ใช้งานขององค์กร สิ่งที่ตามมาคือ ธุรกิจจะต้องลงทุน
ทั้งด้านเวลาและด้านตัวเงิน ในการฝึกนักศึกษาจบ
ใหม่ให้พร้อมขับเคลื่อนไปกับองค์กรอย่างทันท่วงที
ซึ่ ง นั บ เป็ นการลงทุ นที่ ค่ อ นข้ า งสู ง ดั ง จะเห็ น ได้ ว่ า
บริ ษั ท ยั ก ษ์ ใ หญ่ ห ลายแห่ ง ได้ หั น มาใช้ แ นวคิ ด
Corporate University หรือ มหาวิทยาลัยบรรษัท
เพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณสมบัติตามต้องการปอนเข้าสู่
องค์ ก ร โดยไม่ พึ่ ง การผลิ ต คนจากภาคการศึ ก ษา
ตัวอย่างเช่น McDonald University ที่สอนการทำ
และการขายแฮมเบอร์เกอร์ โรงเรียนปัญญาภิวัตน์
ของกลุ่ ม ธุ ร กิ จ C.P. สำหรั บ ฝึ ก หั ด นั ก เรี ย นด้ า น
ธุรกิจค้าปลีก
Case Method 101 49

สิ่ ง นี้ คื อ สั ญ ญาณบ่ ง ชี้ ว่ า ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ ภ าค


ธุรกิจและภาคการศึกษาจะต้องถ่ายเทความรู้
ระหว่ า งกั น เพื่ อ ลดช่ อ งว่ า งด้ า นศั ก ยภาพ
กำลังคนที่เกิดขึ้น ซึ่งกรณีศึกษาก็เป็นเครื่อง
มือที่ดีในการเตรียมความพร้อมให้ทั้งผู้เรียน
และผู้สอนก้าวทันโลกธุรกิจมากยิ่งขึ้น
50 Case Method 101

ประโยชน์ที่ภาคธุรกิจได้รับจากการจัดทำกรณีศึกษา
ลดต้นทุนในการฝึกหัดพนักงานใหม่ บัณฑิตจบใหม่ที่ผ่านการเรียนด้วยกรณี
ศึกษามาแล้วจะเข้าใจมุมมองของการดำเนินธุรกิจมากขึ้น มีการคิดอย่าง
เป็นระบบและมองสถานการณ์รอบด้าน สามารถวางแผนและทำงานได้
เป็นระบบ

สร้ า งสิ น ทรั พ ย์ ท างความรู้ สำหรั บ พั ฒ นา


บุคลากรภายในองค์กร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
สำหรับการพัฒนาพนักงาน การนำกรณีศึกษา
มาใช้ในการฝึกอบรมพนักงาน หรือแม้กระทั่งการ
สอนในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา จะเป็ น การฝึ ก ฝน
กระบวนการคิ ด อย่ า งเป็ น ระบบ (Systematic
Thinking) มองปัญหารอบด้าน นำไปสู่การแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ระหว่าง
บุคลากรต่างแผนกเพื่อแก้ปัญหาหนึ่งๆ ในองค์กร
ผลเลิศที่สุดที่ได้จากการใช้กรณีศึกษาในการฝึก
อบรมพนักงาน คือ การประสานความร่วมมือ
(Team Collaboration) และ การปฏิบัติที่เป็น
เลิ ศ (Best Practice) ซึ่ ง เป็ น ผลมาจากการ
ตกตะกอนทางความคิดของพนักงาน
Case Method 101 51

สำหรับการพัฒนาผู้บริหาร การถ่ายทอดความรู้จากผู้
บริหารรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะความรู้
กลยุทธ์ เคล็ดลับในการบริหารงาน ไม่ได้มาจากในตำรา
บริหาร แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์จากพื้นฐานที่
แตกต่างกัน กรณีศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวม
ความรู้ที่กระจัดกระจายเหล่านั้น ให้เป็นรูปร่าง สามารถ
ถ่ า ยทอดต่ อ ได้ เป็ น แบบฝึ ก หั ด ให้ ผู้ บ ริ ห ารรุ่ น ใหม่
สามารถพิ จ ารณาปั ญ หาได้ ร อบด้ า น เตรี ย มกลยุ ท ธ์
รองรั บ สถานการณ์ ต่ า งๆ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ซ้ ำ ใกล้ เคี ย ง
ปัญหาเดิม
52 Case Method 101

การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในองค์กร กรณีศึกษา
สามารถใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ สร้ า งวิ สั ย ทั ศ น์
ร่ ว มกั น ภายในองค์ ก รได้ โดยเฉพาะอย่ า ง
ยิ่ง การเป็นองค์กรใหญ่ ระบบการทำงาน
มั ก เป็ น ไปแบบแยกส่ ว น (Fragmented)
กรณี ศึ ก ษาที่ ส ร้ า งขึ้ น จากข้ อ มู ล ภายใน
องค์ ก รเอง จะทำให้ ผู้ เ รี ย นที่ อ ยู่ ภ ายใน
องค์ ก ร เข้ า ใจนโยบายและกลไกการขั บ
เคลื่อนขององค์กรตนเองเด่นชัดขึ้น

สร้างความพร้อมเมื่อเผชิญหน้ากับ
ความท้ า ทาย องค์กรสามารถเรียน
ลัดและเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญ
หน้ากับความท้าทายใหม่ๆ โดยศึกษา
บทเรี ย นจากองค์ ก รอื่ น ๆผ่ า นกรณี
ศึกษาทั้งกรณีที่ล้มเหลวและกรณีที่
ประสบความสำเร็จ บทเรียนที่ได้จาก
ประสบการณ์ขององค์กรอื่นๆ ทั้งที่อยู่
ในและนอกอุ ต สาหกรรมเดี ย วกั น
รวมกับการตกผลึกทางความคิดของ
ผู้อ่านกรณีศึกษา จะเป็นแนวทางใน
การสร้ า งกลยุ ท ธ์ เ พื่ อ รั บ มื อ กั บ
สถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น
Case Method 101 53

ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร การจัดทำกรณีศึกษาถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในด้าน
CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมการ
เรียนการสอนโดยตรง เข้ากับแนวคิด “ยิ่งให้ยิ่งได้” การเปิดเผยข้อมูล
ไม่ ว่ า จะเป็ นกรณี ที่ ป ระสบความสำเร็ จ หรื อ กรณี ที่ เ กิ ด การตั ด สิ น ใจ
ผิดพลาด สามารถสื่อสารถึงความจริงใจ ความกล้าหาญ และความโปร่งใส
ขององค์กรได้ (Corporate Transparency) ผลพลอยได้จากการจัดทำ
กรณี ศึ ก ษา คื อ องค์ ก รสามารถเผยแพร่ ป รั ช ญาและค่ า นิ ย มองค์ ก ร
ตลอดจนทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กร ไปสู่คนรุ่นใหม่ในระดับมหาวิทยาลัย
ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้บริโภคสินค้าขององค์กรและบุคลากรขององค์กรในอนาคต
กรณีศึกษาให้อะไรกับองค์กร
ระดับองค์กร ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับต้น
และพนักงานที่มี นักศึกษาจบใหม่
ประสบการณ์
54 Case Method 101

เป็นกิจกรรม CSR อย่าง เห็นปัญหาทั้งในภาพรวม ฝึกการคิดแบบบูรณาการ


หนึ่ง ด้านการสนับสนุน และแยกส่วน เป็นการ และการวิเคราะห์แยกส่วน ธุรกิจได้บุคลากรที่มีความ
การศึกษา เตรียมความพร้อมในการ พร้อมใช้งาน
วางกลยุทธ์รับมือกับ
สถานการณ์ที่ ปรับวิสัยทัศน์ไปใน
ถ่ายทอดค่านิยมและ หลากหลาย ทิศทางเดียวกับองค์กร
ปรัชญาองค์กรให้ซึม
แทรกเข้าสู่คนรุ่นใหม่ซึ่ง ประหยัดเวลาและเงินทุนที่
จะมาเป็นบุคลากรใน เรียนรู้บทเรียนจากความ รวบรวมความรู้และ ใช้ในการพัฒนาบุคลากร
อนาคตตั้งแต่ในรั้ว ผิดพลาดและความสำเร็จ ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร
มหาวิทยาลัย จากทั้งองค์กรของตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
และองค์กรอื่นๆ วิเคราะห์ปัญหารอบด้าน
สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันใน พนักงานใหม่จะมี
สร้าง Knowledge Asset
องค์กร เรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการคิดอย่างเป็น
ให้ความรู้ไม่สูญหายไปจาก
ของตนเอง ของผู้อื่น ระบบ ทำให้ปรับตัวเข้ากับ
องค์กรเมื่อบุคคลที่มีความรู้
เรียนลัดสร้างความพร้อมเพื่อ ทั้งในระดับบุคคลและ สภาพงานได้เร็ว ลดระยะเวลา
ความเชี่ยวชาญ
เผชิญหน้ากับความท้าทาย ระดับองค์กร ในการสอนงาน
ลาออก หรือเกษียณไป

รูปที่ 2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างกรณีศึกษากับองค์กรธุรกิจ


Case Method 101 55


“กรณีศึกษาเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้
ผู้เรียนคิด ตัดสินใจ และวิเคราะห์กระบวนการคิด
ของตนเองไปพร้อมๆ กับการทำความเข้าใจประโยชน์ และ
ข้อจำกัดของโมเดลเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใน
กรณี ศึ ก ษานั้ น ในวิ ช าอย่ า งเช่ น Leadership, Innovation
Strategy หรือ Labor Relation ผู้เรียนสามารถใช้กรณีศึกษาเป็น
สนามทดลองแนวทางการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ต่างๆ โดยที่ยังไม่ต้องผูกพันกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น”
ดร. สมประสงค์ โกศลบุญ


“การเรียนด้วยกรณี
ศึกษาเป็นเหมือนการได้ประสบการณ์
ครึ่งหนึ่งของการทำงานจริง และการทำ
case บังคับให้เราได้อ่านทฤษฎี ได้ทบทวนว่า
จริงๆ แล้ว ทฤษฎีนั้นจะช่วยในการทำงานอย่างไร”
วีรเดช อัครผลพานิช
ผู้จัดการทั่วไป บจก.เคาน์เตอร์เซอร์วิส

Case Method 101 57

อยากเป็นกรณีศึกษาต้องทำอย่างไร
การจัดทำกรณีศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาข้อมูลจากภาคธุรกิจ
แต่กระนั้นความลับทางธุรกิจก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึง ทำอย่างไรจึง
จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุดทั้งคู่โดยหลีกเลี่ยงประเด็นอ่อนไหว
จากการประชุมระดมสมองจากภาคธุรกิจเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553
สามารถสรุปประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวสำหรับการเป็นกรณี
ศึกษา ดังนี้

1. กรณีองค์กรต้องการจะเขียนกรณีศึกษาของตนเอง
มีทางเลือก 2 ประการดังนี้
ผู้บริหาร หรือ หน่วยงานวิจัยของบริษัทเป็นผู้เขียนเอง

• ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการเขียนกรณีศึกษา เช่น อาจารย์จาก
สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ ผ่ า นการอบรมการเขี ย นกรณี ศึ ก ษาที่ ไ ด้
มาตรฐานมาแล้ว ซึ่งมีรายชื่ออยู่ที่ สกอ. หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://casemethod.mua.go.th

ประเด็นที่ต้องตัดสินใจ
• ยุทธศาสตร์การจัดทำกรณีศึกษา ทำเพื่ออะไร และจะนำไปใช้ด้านใด
• ลำดับชั้นความลับของข้อมูลบริษัทขอบเขตการเปิดเผยข้อมูล
• บุคคลที่จะเป็นแหล่งข้อมูล
• บทบาทขององค์กร จะเป็นผู้ร่วมเขียน หรือ แหล่งข้อมูล
• การเปิดเผยชื่อองค์กร
• การนำกรณีศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและ
การเผยแพร่กรณีศึกษา
58 Case Method 101

2. กรณีองค์กรได้รับการทาบทามให้เป็นกรณีศึกษา
หากองค์กรตอบรับ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. พิจารณาวัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษาที่ผู้เขียน
เสนอมา โดยผู้บริหารขององค์กร

2. ระบุโจทย์ที่องค์กรต้องการได้จากกรณีศึกษา

3. กำหนดชั้นความลับ ขอบเขตการให้ข้อมูล และการ


อนุญาตหรือไม่อนุญาตเปิดเผยชื่อองค์กรในกรณีศึกษา

4. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กร
และผู้เขียนกรณีศึกษา เช่น การวิจัยร่วมกัน

5. กำหนดตัวผู้ให้ข้อมูล หรือ ช่องทางการเก็บข้อมูล

6. ให้ผู้เขียนกรณีศึกษาเข้าสัมภาษณ์เก็บข้อมูล

7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในกรณีศึกษา

8. ลงนามยินยอมให้เผยแพร่กรณีศึกษาสำหรับการเรียนการสอน
Case Method 101 59
Case Method 101 77

แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการ
เรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา
1. สำนั ก งานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา
http://casemethod.mua.go.th
2. ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน C.
Roland Christensen Center
for Teaching & Learning แห่ง
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
3. ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนกรณี
ศึกษาแห่งยุโรป European
Case Clearing House (ecch)
4. Richard Ivey School of
Business, The University of
Western Ontario
78 Case Method 101

Web Links
1. C. Roland Christensen Center for Teaching & Learning:
http://www.hbs.edu/teachingandlearningcenter/index.html
2. C. Roland Christensen Center for Teaching & Learning
“Case Method in Practice” http://www.hbs.edu/
teachingandlearningcenter/in-practice/index.html
3. ecch: the case for learning “introduction to the case
method”: http://www.ecch.com/about/case-method.cfm
4. ecch: the case for learning “articles on the case method”:
“http://www.ecch.com/about/arts-on-case-meth.cfm”http://
www.ecch.com/about/arts-on-case-meth.cfm
Case Method 101 79

ที่มา http://www.hbs.edu/teachingandlearningcenter/index.html

ที่มา http://www.ecch.com/about/case-method.cfm
80 Case Method 101

5. Richard Ivey School of Business “Case Method Workshop”


& “Ivey Publishing”: http://www.ivey.uwo.ca/workshops/

ที่มา http://www.ivey.uwo.ca/workshops/

ที่มา http://cases.ivey.uwo.ca/cases/pages/home.aspx
Case Method 101 81

6. Office of Higher Education Commission


http://www.mua.go.th
7. Case Method Learning
http://casemethod.mua.go.th

ที่มา http://casemethod.mua.go.th
82 Case Method 101

บรรณานุกรม
Barnes L. B., Christensen R. C. & Hansen A. J. (1994). Teaching and
the Case Method - Instructor’s Guide (3rd ed.). Boston: Harvard
Business Publishing
Ellet W. (2007). The Case Study Handbook: How To Read, Discuss,
And Write Persuasively About Cases. Boston: Harvard Business
Publishing
Heath J. (2006). Teaching and Writing Case Studies: A practical Guide
(3rd ed.). Wellesley: ecch, Babson College
Humphrey J. A., Pearce M. R., Burgoyne D. G., Erskine J. A. & Mimick
R.H. (1985). Introduction to Business Decision Making (3rd ed.).
London: Methuen Publishing
Leenders M. R., Mauffette-Leenders L. A. & Erskine J. A. (2001).
Writing Cases (4th ed.). London: Ivey Publishing
Leenders M. R., Mauffette-Leenders L. A. & Erskine J. A. (2003).
Teaching With Cases (3rd ed.). London: Ivey Publishing
Leenders M. R., Mauffette-Leenders L. A. & Erskine J. A. (2005).
Learning With Cases (3rd ed.). London: Ivey Publishing
Andrews, S. (2000). Developing Cases and Classes for Undergraduate
Teaching. ECCHO 24, Summer 2000.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

You might also like