10-ใบเนื้อหา edit

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 43

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา

งาน : งานพัฒนาระบบโซล่าเซลล์แบบ Off-grid


หน้าที่
แสดงผลผ่าน IOT
แผ่นที่ ๑/ ๑/
นายจิรายุทธ, นายนันทพงศ์, นายพิพัฒน์
ผู้สอน :
นางสาวปัทมวรรณ, นางสาวสุธาสินี

1. อ่านแบบระบบโซล่าเซลล์
1.1 สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์
สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานระบบโซล่าเซลล์
ได้แก่
1. Solar Cell เป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ก รรมทาง
อิเลคทรอนิกส์ส ร้างข้ึนเพื่อใช้ใน การเปลี่ ยนพลั งงาน
แสงอาทิตย์ให้เป็ นพลังงานไฟฟ้า
2. Solar Charge Controller เป็ น อุป กรณ์
ส่ ว น ห นึ่ งของระบ บ ไฟ ฟ้ าพ ลั ง งาน แสงอาทิ ตย์
แบ บ อ๊ อ ฟ กริ ด โดยท ำห น้ าที่ รั บ พ ลั ง งาน ไฟ ฟ้ า
กระแสตรง จากแผงโซล่าเซลล์ แล้วควบคุมการชาร์จ
ประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่เพื่อไม่ให้มีการชาร์จประจุ
เข้าแบตเตอรี่มากเกินไป
3. Battery เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ป ระกอบ ด้ ว ย
เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อ
ภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแบตเตอรี่มี
ขั้วบวก และ ขั้วลบ
4. Inverter อุ ป กรณ์ ท างไฟฟ้ า ที่ ใช้ ส ำหรั บ
เปลี่ ย นกระแสไฟฟ้ าตรง เป็ น กระแสไฟฟ้ าสลั บ โดย
ไฟฟ้ากระแสตรง ที่จะนำมาทำการเปลี่ ยนนั้นมาจาก
แบตเตอรี่
5. DC Load ภาระทางไฟฟ้ า หรื อ อุ ป กรณ์
ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
6. AC Load ภาระทางไฟฟ้ า หรื อ อุ ป กรณ์
ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา
งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๒/๑๒ ๒/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

1.2 วิธีอ่านระยะในแบบ
อั ต รส่ ว นในการออกแบบและระยะการ
ออกแบบหากเป็ น ไปได้ ค วรจะเขี ย นแบบให้ มี ข นาด
เท่ ากั บ ขนาดจริ ง เพื่ อ ให้ เกิ ด ความรู้ สึ ก ของ วั ต ถุ นั้ น
จริงๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าขนาดของวัตถุเล็กเกินไป หรือ
ใหญ่เกินไปที่จะเขียนแบบ ให้เลือกใช้อัตราส่วนที่เป็น
ค่าพื้นฐาน ต่อไปนี้
ขนาดจริง 1:1
ย่อส่วน 1:2, 1:5, 1:10
ขยายส่วน 2:1, 5:1, 10:1
การบอกขนาดในแบบที่มีอัตราส่วนย่อ หรือขยาย ให้
บอกขนาดจริ งๆ ของชิ้ น งาน โดย ไม่ มี ก ารย่ อ ขยาย
ตามแบบที่เขียน
1.3 ข้อควรระวังในการอ่านแบบระบบโซล่าเซลล์
ข้อควรระวังในการอ่านแบบระบบโซล่าเซลล์
1. ศึ ก ษาแบบทางสถาปตยกรรมเพื่ อ ให
ทราบขอมูลตางๆ ของระบบโซล่าเซลล์
2. ศึกษาระยะและตำแหน่งของแต่ละ
อุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์
3. ช่องทางการเดินสายในแบบต้องไม่ซับซ้อน
และง่ายต่อการอ่านแบบ

2. ออกแบบการติดตั้งโครงสร้างของระบบโซล่าเซลล์
2.1 พื้นฐานทางแมคคานิคส์
พื้นฐานทางแมคคานิคส์ที่ใช้ในงานระบบโซล่าเซลล์
ได้แก่ 1. ความรู้ในการติดตั้งโครงสร้าง ให้ปลอดภัย
และแข็งแรง
2. ความรู้ในการติดตั้งโครงสร้างให้ถูกต้องตาม
มาตรฐาน
แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา
งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๓/๑๒ ๓/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

2.2 ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง
ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง
1. วัดแผ่นเหล็กและตัดสำหรับทำฐานรองแผง
โซล่าเซลล์
2. วัดขนาดท่อเหล็กและตัดใช้สำหรับทำเสา
3. วัดเหล็กฉากและตัดใช้สำหรับรองแผ่นโซ
ล่าเซลล์
4. เชื่อมเหล็กฉากให้เป็น 4 เหลี่ยม
5. ยึดเหล็กฉากปรับมุมเข้ากับเสา
6. ยึดเหล็กฉากที่เชื่อมเป็น 4 เหลี่ยมเข้ากับ
เหล็กฉากปรับมุม
2.3 ข้อควรระวังในการออกแบบการติดตั้งโครงสร้างของระบบโซล่าเซลล์

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๔/๑๒ ๔/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

1.3 การกำหนดประเภทของตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS สำหรับ


วิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
การจัดทำคู่มือลงรหัส โดยหลังจากได้ทำการ
กำหนดรหัสต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะนำรหัสเหล่านั้นมา
จัดทำเป็นคู่มือ เพื่อช่วยให้การป้อนข้อมูลง่ายขึ้น

การกำหนดประเภทของตัวแปร สามารถ
ดำเนินการได้ เริ่มต้นจากหน้าต่าง SPSS Data Editor
คลิกที่ Variable view โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง
Variable Type ขึ้นมาให้เลือกประเภทของตัวแปร
ตามที่กำหนดไว้

1.4 ข้อควรระวังในการกำหนดประเภทของตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม
SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
1. การกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อน
ตัวเลข (Width) ของตัวแปร Scientific notation ต้อง
กำหนดให้สูงกว่า 10 ตำแหน่ง เพราะข้อมูลที่แสดงจะ
ขึ้นอยู่กับจำนวนทศนิยมที่ต้องการ การกำหนดขั้นต่ำ
10 ตำแหน่ง จึงปลอดภัยในการป้อนข้อมูล โดยถ้า
กำหนดแล้วไม่เหมาะสม

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา หน้าที่


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล ๕/๑๒
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๕/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

1.4 ข้อควรระวังในการกำหนดประเภทของตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม
SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม (ต่อ)
2. การกำหนดรูปแบบการป้อนข้อมูลของตัว
แปร Dollar ถ้าต้องการให้ข้อมูลที่ป้อนมีจุดทศนิยม
ต้องเลือกรูปแบบที่มีจุดทศนิยม โปรแกรมจึงจะ
แสดงผลอย่างถูกต้อง เช่น เลือกรูปแบบ $###.## เมื่อ
กรอกข้อมูล 2557 โปรแกรมจะแสดงผลเป็น
$2,557.00 เป็นต้น

2. การกำหนดค่าให้กับตัวแปร
2.1 วิธีการกำหนดค่าให้กับตัวแปรในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน
แบบสอบถาม
จากตารางการลงรหัส จะเห็นได้ว่าตัวแปรแต่
ละตัวจะมีค่าที่เป็นไปได้แตกต่างกัน การกำหนดค่า
ให้กับตัวแปร จึงเป็นการกำหนดให้โปรแกรมรับรู้ว่า
กำลังจะวิเคราะห์ผลจากตัวแปรใดบ้าง โดยการเลือก
ของผู้วิเคราะห์ จากภาพเป็นการกำหนดค่าให้กับตัว
แปร sex โดยมีทั้งหมด 2 ค่า ได้แก่ 0 คือ เพศชาย
(Male) และ 1 คือ เพศหญิง (Female)

2.2 ข้อควรระวังในการกำหนดค่าให้กับตัวแปรในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การกำหนดค่าให้กับตัวแปร ควรกำหนดให้
ถูกต้อง เนื่องจากโปรแกรมจะดึงค่าเหล่านี้ไปแสดงผล
ในหน้าต่าง SPSS Viewer ซึ่งเป็นหน้าต่างที่แสดงผล
การวิเคราะห์ ถ้ามีการกำหนดค่าของตัวแปรไม่ถูกต้อง
จะทำให้การวิเคราะห์ของโปรแกรมนั้นเกิดความ
ผิดพลาดได้

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๖/๑๒ ๖/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

3. การกำหนดความกว้างของคอลัมน์
3.1 วิธีกำหนดความกว้างของคอลัมน์ที่เหมาะสมให้กับตัวแปรประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สำหรับ
วิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ (Width)
เป็นการกำหนดจำนวนหลักที่จะป้อนข้อมูลเข้าไปใน
โปรแกรมได้ โดยในตารางที่ 1 ได้ทำการกำหนดจำนวน
หลักไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปกติโปรแกรมจะกำหนดความ
กว้างของคอลัมน์ (Width) ปกติเป็น 8 ซึ่งถ้าเป็นการ
ป้อนข้อมูลในตัวแปรประเภท Numeric จะป้อนข้อมูล
ไม่เกิน 8 อยู่แล้ว การกำหนดทำได้ โดยคลิกที่ช่อง
Width ในแถวที่ต้องการกำหนดความกว้างของคอลัมน์
แล้วป้อนค่าความกว้างที่ต้องการเข้าไป หรือกดที่ลูกศร
ด้านขวาของช่องก็ได้

3.2 ข้อควรระวังในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ที่เหมาะสมให้กับตัวแปรประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ใน


โปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ ของตัวแปร
ประเภท String ต้องกำหนดให้กว้างพอกับคำที่จะป้อน
ข้อมูล เพื่อให้ค่าที่ป้อนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ถ้า
กำหนดไม่มากพอ จะไม่สามารถป้อนข้อมูลลงในช่องนั้น
ได้
4. การกำหนดค่า Missing
4.1 วิธีกำหนดค่า Missing ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
ในกรณีข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวมมา บางตัว
แปรมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ และไม่ต้องการให้มีการ
วิเคราะห์ข้อมูลนั้น ในทางปฏิบัติเราจะถือว่าข้อมูลนั้น
เป็น missing สามารถทำการกำหนดได้โดยเลือก
Missing Values ในขณะที่ทำการสร้างตัวแปร หรือ
สามารถกำหนดในภายหลังได้

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๗/๑๒ ๗/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

4. การกำหนดค่า Missing
4.1 วิธีกำหนดค่า Missing ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม (ต่อ)
• No missing values ไม่มีการกำหนดค่าหรือ
รหัสข้อมูลที่เป็น missing values
• Discrete missing values เป็นการกำหนด
ค่าไม่สมบูรณ์โดยใช้เฉพาะค่าใดค่าหนึ่ง สามารถตั้ง
ได้สูงสุด 3 ค่าที่แตกต่างกัน
• Ranges plus one optional discrete
missing values เป็นการกำหนดค่าของข้อมูลใน
ช่วงหนึ่งเป็น missing และสามารถกำหนดค่าค่าหนึ่ง
นอกเหนือจากค่าของข้อมูลในช่วงให้เป็น missing เพิ่ม
ได้ด้วย เช่น ค่าของข้อมูลตั้งแต่ 10-50 และค่า 99
4.2 ข้อควรระวังในการกำหนดค่า Missing ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน
แบบสอบถาม
การกำหนดค่า Missing ต้องกำหนดให้สูง
มากกว่าค่าที่จะป้อนให้กับตัวแปรทั้งหมด ถ้ากำหนดไม่
สูงมากพอ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรมจะนำ
ข้อมูลตัวนั้นมาวิเคราะห์ด้วย และโดยปกติโปรแกรม
SPSS จะกำหนดให้ทุกตัวแปรที่สร้างไม่มี Missing
ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ทำการเลือกเข้าสู่ Dialog Missing
Values ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมกำหนดจึงเป็น No
missing values และในตัวแปรหนึ่งๆ ผู้ใช้สามารถ
เลือกรูปแบบการกำหนด Missing values ได้เพียง
รูปแบบเดียวเท่านั้น
5. การป้อนข้อมูล
5.1 วิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
การเริ่มกรอกข้อมูล ทำได้ทั้งการป้อนข้อมูลใน
ตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งก่อน เช่น ป้อนข้อมูลของตัวแปร
เพศ (sex) ของแบบสอบถามทุกฉบับก่อน และไล่ป้อน
ข้อมูลให้ครบทุกตัวแปร อีกแบบหนึ่งคือ การป้อนข้อมูล
ทุกๆ ตัวแปรของแบบสอบถามฉบับนั้นๆ ให้ครบทุกตัว
แปร เช่น ในแบบสอบถามหนึ่งฉบับจะมีตัวแปรทั้งหมด
7 ตัวแปร ก็ทำการป้อนข้อมูลทั้ง 7 ตัวแปรนั้นทั้งหมด
ก่อนจะเปลี่ยนไปป้อนข้อมูลของแบบสอบถามฉบับ
ถัดไป แบบหลังนี้จะสะดวกในการป้อนข้อมูลมากกว่า
แบบแรก

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๘/๑๒ ๘/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

5.2 ข้อควรระวังในการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การป้อนข้อมูลต้องทำการตรวจสอบรูปแบบ
การป้อนข้อมูล ว่าในตัวแปรนั้นมีค่าที่เป็นไปได้
อะไรบ้าง ซึ่งถ้าป้อนข้อมูลผิดรูปแบบ จะทำให้การ
วิเคราะห์ของโปรแกรมเกิดความผิดพลาดได้ เช่น ตั้ง
ค่าตัวแปรหนึ่งว่าเป็นตัวแปรประเภท String ซึ่งการ
ป้อนข้อมูลเป็นตัวอักษร และมีตัวเลขประกอบก็ได้ แต่
เมื่อทำการป้อนข้อมูลกลับป้อนเป็นชุดตัวเลขเพียงอย่าง
เดียว ในกรณีนี้อาจทำให้โปรแกรมวิเคราะห์ผิดพลาดได้
เป็นต้น
6. สถิติพื้นฐาน
6.1 สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
การกำหนดสถิติพื้นฐานที่ใช้สำหรับวิเคราะห์
ข้อมูลจากแบบสอบถามนั้น ผู้วิเคราะห์ต้องทราบก่อน
ว่า จะใช้สถิติตัวไหนในการวิเคราะห์ตัวแปร โดยสถิติ
พื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม มี
ดังต่อไปนี้
1. ความถี่ (Frequency)
2. ร้อยละ (Percentage)
3. ค่าเฉลี่ย (Mean)
4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation)

ตัวอย่างการกำหนดสถิติที่ใช้วิเคราะห์ในแบบสอบถาม
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage)
2. อายุ ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดของท่านในปัจจุบัน
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา หน้าที่


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล ๙/๑๒
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๙/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

6.1 สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม (ต่อ)


4. ตำแหน่งทางวิชาการของท่านในปัจจุบัน
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)
5. ประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยที่ท่านสังกัด
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถด้านทักษะ
การวิจัย
6. item1 ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency)
ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
7. item2 ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency)
ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
6.2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่เหมาะสมในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน
แบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม สามารถ
เลือกใช้ได้ทั้งการวิเคราะห์ Descriptive Statistics เมนู
ย่อย Descriptives… และการวิเคราะห์ Descriptive
Statistics เมนูย่อย Frequencies…

6.3 ข้อควรระวังในการเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จะ
ทำให้การนำเสนอผลการวิเคราะห์ผิดพลาด อันจะส่งผล
ให้งานวิจัยนั้นขาดความน่าเชื่อถือด้านผลการวิจัยด้วย

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๑๐/๑๒ ๑๐/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

7. การแปลความหมาย
7.1 การอ่านค่าต่างๆ จากใบสรุปผลจากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน
แบบสอบถาม
Valid คือ จำนวนในแต่ละกลุ่ม
Missing คือ จำนวนข้อมูลที่หายไป
Frequency คือ จำนวนความถี่
Percent คือ ค่าร้อยละที่คำนวณได้
โดยใช้ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งรวมข้อมูลที่ขาดหายไปมาเป็น
ฐานในการคำนวณ
Valid Percent คือ ค่าร้อยละที่คำนวณได้
โดยใช้ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งไม่รวมข้อมูลที่ขาดหายไปมา
เป็นฐานในการคำนวณ
Cumulative Percent คือ ค่าร้อยละสะสม
7.2 วิธีแปลความหมายจากผลที่ได้จากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน
แบบสอบถาม
จากตารางค่าสถิติจะเห็นได้ว่า
ตัวแปรเพศ (sex) มีผู้ตอบแบบสอบถาม
ทั้งหมด 40 คน ไม่บอกเพศจำนวน 3 คน
ตัวแปรอายุ (age) มีผู้ตอบแบบสอบถาม
ทั้งหมด 40 คน ไม่บอกอายุจำนวน 3 คน ค่าเฉลี่ยของ
อายุเท่ากับ 30.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.176 อายุ
น้อยที่สุดที่ตอบแบบสอบถาม คือ 27 และอายุมากที่สุด
ที่ตอบแบบสอบถาม คือ 36
ตัวแปรวุฒิการศึกษา (edu) มีผู้ตอบ
แบบสอบถามทั้งหมด 40 คน
ตัวแปรตำแหน่งทางวิชาการ (pos) มีผู้ตอบ
แบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกตำแหน่งทาง
วิชาการจำนวน 3 คน
ตัวแปรประสบการณ์การสอน (exp) มีผู้ตอบ
แบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกประสบการณ์การ
สอนจำนวน 1 คน

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๑๑/๑๒ ๑๑/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

7.2 วิธีแปลความหมายจากผลที่ได้จากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม (ต่อ)
ตัวแปร item1 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
40 คน มีค่าเฉลี่ยของการตอบอยู่ที่ 4.62 ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 0.586 ค่าน้อยที่สุดในการตอบแบบสอบถาม
คือ 3 และค่ามากที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 5
ตัวแปร item2 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
40 คน มีค่าเฉลี่ยของการตอบอยู่ที่ 4.28 ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 0.554 ค่าน้อยที่สุดในการตอบแบบสอบถาม
คือ 3 และค่ามากที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 5
ตัวแปรเพศ (sex) จำนวนผู้ชาย (Male) ที่ตอบ
แบบสอบถาม คือ 12 คน คิดเป็น 32.4 เปอร์เซนต์ โดย
ดูที่ช่อง Valid Percent ส่วนผู้หญิง (Female) คือ 25
คิดเป็น 67.6 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมด 37 คน มีผู้ไม่
บอกเพศ จำนวน 3 คน รวมเป็น 40 คน
ตัวแปรอายุ (age) มีระดับอายุตั้งแต่ 27 ถึง 36
โดยอายุ 27 มีจำนวน 14 คน คิดเป็น 37.8 เปอร์เซนต์
โดยดูที่ช่อง Valid Percent อายุ 33 มีจำนวน 6 คน
คิดเป็น 16.2 เปอร์เซนต์ อายุ 32 และ 35 มีจำนวน 4
คน คิดเป็น 10.8 เปอร์เซนต์ อายุ 31 มีจำนวน 3 คน
คิดเป็น 8.1 เปอร์เซนต์ อายุ 34 มีจำนวน 2 คน คิด
เป็น 5.4 เปอร์เซ็นต์ และอายุ 28, 29, 30 และ 36 มี
จำนวน 1 คน คิดเป็น 2.7 เปอร์เซนต์

ตัวแปรระดับการศึกษา (edu) เป็นระดับ


ปริญญาโท จำนวน 22 คน คิดเป็น 55 เปอร์เซนต์ และ
ระดับปริญญาตรี จำนวน 18 คน คิดเป็น 45
เปอร์เซนต์
ตัวแปรตำแหน่งทางวิชาการ (pos) เป็นระดับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 12 คน คิดเป็น 32.4
เปอร์เซนต์ ระดับครู จำนวน 25 คน คิดเป็น 67.6
เปอร์เซนต์ ไม่ตอบในข้อนี้ จำนวน 3 คน คิดเป็น 7.5
เปอร์เซนต์

แผนกวิชา : ช่างไฟฟ้ากำลัง ใบเนื้อหา


งาน : งานวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูล หน้าที่
ในแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS แผ่นที่ ๑๒/๑๒ ๑๒/๑๒
ผู้สอน : นายกฤษดา ศรีจันทร์พิยม

7.2 วิธีแปลความหมายจากผลที่ได้จากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม (ต่อ)
ตัวแปรประสบการณ์สอน (exp) ผู้ตอบ
แบบสอบถามมีอายุระหว่าง 1-5 คน จำนวน 12 คน
คิดเป็น 30.8 เปอร์เซนต์ อายุระหว่าง 6-10 คน จำนวน
8 คน คิดเป็น 20.5 เปอร์เซนต์ อายุระหว่าง 11-15 คน
จำนวน 19 คน คิดเป็น 47.5 เปอร์เซนต์ ไม่ตอบในข้อนี้
จำนวน 1 คน คิดเป็น 2.5 เปอร์เซนต์
ตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 1 (item1) ผู้ตอบ
แบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จำนวน
27 คน คิดเป็น 67.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับ
มาก จำนวน 11 คน คิดเป็น 27.5 เปอร์เซนต์ ความ
คิดเห็นในระดับปานกลาง จำนวน 2 คน คิดเป็น 5
เปอร์เซนต์
ตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 2 (item2) ผู้ตอบ
แบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จำนวน
13 คน คิดเป็น 32.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับ
มาก จำนวน 25 คน คิดเป็น 62.5 เปอร์เซนต์ ความ
คิดเห็นในระดับปานกลาง จำนวน 2 คน คิดเป็น 5
เปอร์เซนต์
2. กำหนดประเภทของตัวแปรที่จะวิเคราะห์ ตามลักษณะของแบบสอบถาม
2.1 ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม มีให้เลือกใช้ 8 ชนิด ได้แก่
1. Numeric เป็นตัวแปรที่ใช้กับข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงจำนวน สามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการ
ป้อนตัวเลข (Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) ได้ดงั ภาพที่ 17

ภาพที่ 17 การกำหนดตัวแปร Numeric

2. Comma เป็นตัวแปรที่ใช้กับข้อมูลที่เป็นจำนวนเงิน โดยโปรแกรมจะใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ทุกๆ 3


ตำแหน่ง เช่น ถ้าป้อนข้อมูล 2557 ค่าที่ปรากฎจะเป็น 2,557.00 เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการ
ป้อนตัวเลข (Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) ได้เช่นกัน ดังภาพที่ 18

ภาพที่ 18 การกำหนดตัวแปร Comma

3. Dot เป็นตัวแปรที่ใช้กับข้อมูลที่ใช้จุดคั่นหลักพัน และใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นตำแหน่งทศนิยม เช่น ถ้า


ป้อนข้อมูล 2557 ค่าที่ปรากฎจะเป็น 2.557,00 เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อนตัวเลข
(Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) ได้เหมือนตัวแปร Numeric และ Comma ดังภาพที่ 19

ภาพที่ 19 การกำหนดตัวแปร Dot

4. Scientific notation เป็นตัวแปรที่ใช้ด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ถ้าป้อนข้อมูล 2557 ค่าที่ปรากฎ


จะเป็น 3.E+003 เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อนตัวเลข (Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม
(Decimal Places) ได้ ดังภาพที่ 20
ภาพที่ 20 การกำหนดตัวแปร Scientific notation

5. Date เป็นตัวแปรที่สำหรับข้อมูลที่ป้อนในรูปของวันที่ ซึ่งมีรูปแบบการแสดงวันที่ให้เลือก 29 รูปแบบ


และการกรอกข้อมูลต้องกรอกตามรูปแบบที่เลือกเท่านั้น โปรแกรมจึงจะแสดงผลที่ถูกต้อง เช่น ถ้ากำหนดรูปแบบเป็น
dd-mmm-yyyy จะต้องป้อนข้อมูลเป็น 17-Oct-2014 ค่าที่ปรากฎจะเป็น 17-Oct-2014 เป็นต้น วิธีการเลือกประเภท
และรูปแบบของการกรอกข้อมูล แสดงดังภาพที่ 21

ภาพที่ 21 การกำหนดรูปแบบของการกรอกข้อมูลของตัวแปร Date

6. Dollar เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับข้อมูลในรูปของจำนวนเงินดอลลาร์ โดยโปรแกรมจะเติมเครื่องหมาย $


ให้หน้าตัวเลขที่ป้อนลงไป พร้อมทั้งมีเครื่องหมายจุลภาคคั่นทุกๆ 3 ตำแหน่ง ซึ่งมีรูปแบบการกรอกข้อมูลให้เลือก 12
รูปแบบ เช่น $# เมื่อกรอกข้อมูล 2557 โปรแกรมจะแสดงผลเป็น $2,557 เป็นต้น และสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่
ต้องการป้อนตัวเลข (Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) ได้ ดังภาพที่ 22
ภาพที่ 22 การกำหนดรูปแบบของการกรอกข้อมูลของตัวแปร Dollar

7. Custom currency เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ผู้วิเคราะห์ได้นิยามลักษณะของข้อมูลเอง


โดยสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อนตัวเลข (Width) และจำนวนตำแหน่งทศนิยม (Decimal Places) ได้
ดังภาพที่ 23

ภาพที่ 23 การกำหนดตัวแปร Custom currency

8. String เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งข้อมูลประเภทนี้จะไม่


สามารถนำมาใช้ในการคำนวณได้ แต่สามารถนำมาหาความถี่ได้ โดยสามารถกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อน
ตัวเลข (Width) ได้ แสดงดังภาพที่ 24
ภาพที่ 24 การกำหนดตัวแปร String

2.2 ตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย อาจใช้เครื่องมือในการวิจัยหลายรูปแบบ ต่างกันตามวิธีการเก็บข้อมูล เช่น
แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยควรมีการเตรียมเครื่องมือให้สะดวกในการนำไปวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีวิธีการดังนี้
การสร้างรหัส และการกำหนดชื่อตัวแปร จะทำการกำหนดจำนวนหลักที่จะป้อนข้อมูล รวมถึงตั้งชื่อตัวแปรใน
การกำหนดลงในโปรแกรม เพื่อสะดวกในการแปลผลข้อมูล ตัวอย่างแสดงด้านล่าง

จำนวนหลัก ชื่อตัวแปร
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ชาย หญิง [ ] sex

2. อายุ .................................. ปี [ ][ ] age

3. วุฒิการศึกษาสูงสุดของท่านในปัจจุบัน
ปริญญาเอก ปริญญาโท [ ] edu
ปริญญาตรี

4. ตำแหน่งทางวิชาการของท่านในปัจจุบัน
ศาสตาราจารย์ รองศาสตราจารย์ [ ] pos
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์

5. ประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยที่ท่านสังกัด
1 – 5 ปี 6 – 10 ปี [ ] exp
11 – 15 ปี มากกว่า 16 ปี ขึ้นไป

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถด้านทักษะการวิจัย
ระดับความคิดเห็น
รายการ
5 4 3 2 1
1. การเขียนข้อเสนอโครงการ [ ] item1
2. การศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง [ ] item2

จากตัวอย่าง ตัวแปร sex คือ เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม จะมีช่องจำนวนหลัก 1 ช่อง นั่นคือ จะให้เลือกตอบ


เฉพาะเพศชาย หรือเพศหญิงเท่านั้น โดยอาจกำหนดวิธีการป้อนข้อมูลเป็น เลข 0 แทนเพศชาย และเพศ 1 แทนเพศหญิง
ก็ได้
ตัวแปร age คือ อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม จะมีช่องจำนวนหลัก 2 ช่อง นั่นคือ อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม
จะให้กรอกเพียง 2 หลักเท่านั้น ได้แก่ 25 ถึง 60 เป็นต้น
ตัวแปร edu คือ วุฒิการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม จะมีช่องจำนวนหลัก 1 ช่อง นั่นคือ ให้ผู้ตอบ
แบบสอบถามเลือกวุฒิการศึกษาวุฒิใดวุฒิหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ เลข 0 แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก เลข 1 แทนวุฒิ
การศึกษาระดับปริญญาโท และเลข 2 แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี
ตัวแปร pos คือ ตำแหน่งทางวิชาการของผู้ตอบแบบสอบถาม จะมีช่องจำนวนหลัก 1 ช่อง นั่นคือ ให้ผู้ตอบ
แบบสอบถามเลือกตำแหน่งทางวิชาการอันใดอันหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ เลข 0 แทนตำแหน่งศาสตาราจารย์ เลข 1 แทน
ตำแหน่งรองศาสตาราจารย์ เลข 2 แทนตำแหน่งผู้ช่วยศาสตาราจารย์ เลข 3 แทนตำแหน่งอาจารย์
ตัวแปร exp คือ ประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยของผู้ตอบแบบสอบถาม จะมีช่องจำนวนหลัก 1 ช่อง นั่น
คือ ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยอันใดอันหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ เลข 0 แทน
ประสบการณ์การสอน 1 – 5 ปี เลข 1 แทนประสบการณ์การสอน 6 – 10 ปี เลข 2 แทนประสบการณ์การสอน 11 –
15 ปี เลข 3 แทนประสบการณ์การสอน มากกว่า 16 ปี ขึ้นไป
ตัวแปร item1 และ item2 คือ ข้อคำถามที่ 1 และ 2 ของแบบสอบถาม จะเป็นลักษณะ Rating scale ทั้งหมด
5 ระดับ จะมีช่องจำนวนหลัก 1 ช่อง นั่นคือ ให้ผู้ตอบแบบสอบถามทำเครื่องหมายเพียงอันใดอันหนึ่งเท่านั้น ลงในช่อง

ตัวอย่างการลงรหัสในแบบสอบถาม

จำนวนหลัก ชื่อตัวแปร
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ  ชาย หญิง [0] sex

31
2. อายุ .................................. ปี [3][1] age
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดของท่านในปัจจุบัน
ปริญญาเอก  ปริญญาโท [1] edu
ปริญญาตรี

4. ตำแหน่งทางวิชาการของท่านในปัจจุบัน
ศาสตาราจารย์ รองศาสตราจารย์ [2] pos
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์

5. ประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยที่ท่านสังกัด
1 – 5 ปี  6 – 10 ปี [2] exp
11 – 15 ปี มากกว่า 16 ปี ขึ้นไป

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถด้านทักษะการวิจัย
ระดับความคิดเห็น
รายการ
5 4 3 2 1
1. การเขียนข้อเสนอโครงการ  [5] item1
2. การศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง  [4] item2

2.3 การกำหนดประเภทของตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์


สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม

การจัดทำคู่มือลงรหัส โดยหลังจากได้ทำการกำหนดรหัสต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะนำรหัสเหล่านั้นมาจัดทำเป็น


คู่มือ เพื่อช่วยให้การป้อนข้อมูลง่ายขึ้น ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การลงรหัส
ลำดับ ตัวแปร ประเภท รายการ จำนวนหลัก ค่าที่เป็นไปได้
1 sex Numeric เพศ 1 0 ชาย
1 หญิง
2 age Numeric อายุ 2 25 ถึง 60 ปี
3 edu Numeric วุฒิการศึกษา 1 0 ระดับปริญญาเอก
1 ระดับปริญญาโท
2 ระดับปริญญาตรี
4 pos Numeric ตำแหน่งทางวิชาการ 1 0 ศาสตราจารย์
1 รองศาสตาราจารย์
2 ผู้ช่วยศาสตาราจารย์
3 อาจารย์
5 exp Numeric ประสบการณ์สอน 1 0 ประสบการณ์การสอน 1 – 5 ปี
1 ประสบการณ์การสอน 6 – 10 ปี
2 ประสบการณ์การสอน 11–15 ปี
3 ประสบการณ์การสอน >16 ปี
6 item1 Numeric ข้อคำถามที่ 1 1 ระดับความคิดเห็น
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
7 item2 Numeric ข้อคำถามที่ 2 1 ระดับความคิดเห็น
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด

การกำหนดประเภทของตัวแปร สามารถดำเนินการได้ เริ่มต้นจากหน้าต่าง SPSS Data Editor คลิกที่ Variable


view โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Variable Type ขึ้นมาให้เลือกประเภทของตัวแปรตามที่กำหนดไว้ ดังภาพที่ 25

ภาพที่ 25 หน้าต่าง Variable Type

2.4 ข้อควรระวังในการกำหนดประเภทของตัวแปรแต่ละแบบตามลักษณะของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS


สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
1. การกำหนดจำนวนตำแหน่งที่ต้องการป้อนตัวเลข (Width) ของตัวแปร Scientific notation ต้องกำหนดให้
สูงกว่า 10 ตำแหน่ง เพราะข้อมูลที่แสดงจะขึ้นอยู่กับจำนวนทศนิยมที่ต้องการ การกำหนดขั้นต่ำ 10 ตำแหน่ง จึง
ปลอดภัยในการป้อนข้อมูล โดยถ้ากำหนดแล้วไม่เหมาะสม จะแสดงภาพที่ 26

ภาพที่ 26 หน้าต่างแจ้งเตือนการกำหนดจำนวนตำแหน่งของตัวแปร Scientific notation

2. การกำหนดรูปแบบการป้อนข้อมูลของตัวแปร Dollar ถ้าต้องการให้ข้อมูลที่ป้อนมีจุดทศนิยม ต้องเลือก


รูปแบบที่มีจุดทศนิยม โปรแกรมจึงจะแสดงผลอย่างถูกต้อง เช่น เลือกรูปแบบ $###.## เมื่อกรอกข้อมูล 2557
โปรแกรมจะแสดงผลเป็น $2,557.00 เป็นต้น แสดงดังภาพที่ 27

ภาพที่ 27 หน้าต่างการกำหนดรูปแบบมีจุดทศนิยมของตัวแปร Dollar

3. กำหนดค่าให้กับตัวแปร
3.1 การกำหนดค่าให้กับตัวแปรในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
จากตารางที่ 1 การลงรหัส จะเห็นได้ว่าตัวแปรแต่ละตัวจะมีค่าที่เป็นไปได้แตกต่างกัน การกำหนดค่าให้กับตัว
แปรสามารถสรุปเป็นขั้นตอน ได้ดังนี้
1. คลิกไปที่หน้าต่าง Variable view ของโปรแกรม SPSS สังเกตที่คอลัมน์ Values ให้คลิกที่ช่อง Value ของ
แถวที่ 1 จะปรากฏหน้าต่าง Value labels ดังภาพที่ 28

ภาพที่ 28 หน้าต่าง Variable view

2. ให้กรอกค่าที่เป็นไปได้ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 ลงในช่อง Value ตัวอย่างเช่น ใส่ค่าที่เป็นไปได้ตามตารางที่


1 ดังภาพที่ 29 จะทำการป้อนค่าของตัวแปร sex ทั้ง 2 ค่า นั่นคือ 0 กับ 1 ดังภาพที่ 29

ภาพที่ 29 การป้อนข้อมูลในช่อง Value

3. ในช่อง Label ให้ป้อนค่าที่ต้องการให้โปรแกรมแสดงในหน้าต่างวิเคราะห์ผล ในที่นี้ ได้แก่ Male กับ Female


ดังภาพที่ 30
ภาพที่ 30 การป้อนข้อมูลในช่อง Label

4. หลังจากกรอกข้อมูลลงในช่อง Value และช่อง Label เรียบร้อยแล้ว ปุ่ม Add จะนูนขึ้นให้สามารถกดได้ ให้


กดปุ่ม Add เพื่อเพิ่มค่าของตัวแปรที่กำหนด แล้วดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-3 ไปจนครบจำนวนตัวแปรที่กำหนด ดัง
ภาพที่ 31

ภาพที่ 31 การกำหนดตัวแปรทั้งหมดให้กับโปรแกรม

5. หลังจากกำหนดตัวแปรเรียบร้อยแล้ว ที่หน้าต่าง Variable view จะปรากฏตัวแปรที่ตั้งไว้ทุกตัว ดังภาพที่ 32


ภาพที่ 32 หน้าต่าง Variable view ที่กำหนดตัวแปรครบถ้วน

3.2 ข้อควรระวังในการกำหนดค่าให้กับตัวแปรในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การกำหนดค่าให้กับตัวแปร ควรกำหนดให้ถูกต้อง เนื่องจากโปรแกรมจะดึงค่าเหล่านี้ไปแสดงผลในหน้าต่าง
SPSS Viewer ซึ่งเป็นหน้าต่างที่แสดงผลการวิเคราะห์ ถ้ามีการกำหนดค่าของตัวแปรไม่ถูกต้อง จะทำให้การวิเคราะห์ของ
โปรแกรมนั้นเกิดความผิดพลาดได้

4. กำหนดความกว้างของคอลัมน์
4.1 บอกวิธีกำหนดความกว้างของคอลัมน์ที่เหมาะสมให้กับตัวแปรประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สำหรับ
วิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถามได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ (Width) เป็นการกำหนดจำนวนหลักที่จะป้อนข้อมูลเข้าไปในโปรแกรมได้
โดยในตารางที่ 1 ได้ทำการกำหนดจำนวนหลักไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปกติโปรแกรมจะกำหนดความกว้างของคอลัมน์
(Width) ปกติเป็น 8 ซึ่งถ้าเป็นการป้อนข้อมูลในตัวแปรประเภท Numeric จะป้อนข้อมูลไม่เกิน 8 อยู่แล้ว การกำหนดทำ
ได้ โดยคลิกที่ช่อง Width ในแถวที่ต้องการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ แล้วป้อนค่าความกว้างที่ต้องการเข้าไป หรือกด
ที่ลูกศรด้านขวาของช่องก็ได้ ดังภาพที่ 33 และ 34
ภาพที่ 33 การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ (Width)

ภาพที่ 34 ลูกศรสำหรับกำหนดความกว้างของคอลัมน์ (Width)

4.2 บอกข้อควรระวังในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ที่เหมาะสมให้กับตัวแปรประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในโปรแกรม


SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถามได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ ของตัวแปรประเภท String ต้องกำหนดให้กว้างพอกับคำที่จะป้อนข้อมูล
เพื่อให้ค่าที่ป้อนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ถ้ากำหนดไม่มากพอ จะไม่สามารถป้อนข้อมูลลงในช่องนั้นได้

5. กำหนดค่า Missing
5.1 กำหนดค่า Missing ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
ในกรณีข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวมมา บางตัวแปรมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ และไม่ต้องการให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น
ในทางปฏิบัติเราจะถือว่าข้อมูลนั้นเป็น missing สามารถทำการกำหนดได้โดยเลือก Missing Values ในขณะที่ทำการ
สร้างตัวแปร หรือสามารถกำหนดในภายหลังได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้คลิกปุ่ม ... หลังข้อความ None ในคอลัมภ์ Missing เพื่อทำการกำหนดข้อมูลไม่สมบูรณ์ อาจเป็นข้อมูลที่มี
กลุ่มตัวอย่างบางคนไม่ตอบคำถามในข้อนั้น หรือไม่มีการเลือกคำตอบในข้อนั้น จะปรากฎ Missing Values ดังภาพที่ 35
ภาพที่ 35 หน้าต่าง Missing

2. ตามภาพที่ 34 จะมีตัวเลือกให้ 3 ตัวเลือก คือ


• No missing values ไม่มีการกำหนดค่าหรือรหัสข้อมูลที่เป็น missing values
• Discrete missing values เป็นการกำหนดค่าไม่สมบูรณ์โดยใช้เฉพาะค่าใดค่าหนึ่ง สามารถตั้ง
ได้สูงสุด 3 ค่าที่แตกต่างกัน
• Ranges plus one optional discrete missing values เป็นการกำหนดค่าของข้อมูลในช่วงหนึ่ง
เป็น missing และสามารถกำหนดค่าค่าหนึ่งนอกเหนือจากค่าของข้อมูลในช่วงให้เป็น missing เพิ่มได้ด้วย เช่น ค่าของ
ข้อมูลตั้งแต่ 10-50 และค่า 99
3. โดยปกติจะเลือกที่ Discrete missing values และกำหนดค่า Missing เป็นเลข 9 ในช่องแรก ดังภาพที่ 36

ภาพที่ 36 การตั้งค่า Missing ที่เป็นปกติ

5.2 ข้อควรระวังในการกำหนดค่า Missing ในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การกำหนดค่า Missing ต้องกำหนดให้สูงมากกว่าค่าที่จะป้อนให้กับตัวแปรทั้งหมด ถ้ากำหนดไม่สูงมากพอ เมื่อ
ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรมจะนำข้อมูลตัวนั้นมาวิเคราะห์ด้วย และโดยปกติโปรแกรม SPSS จะกำหนดให้ทุกตัวแปร
ที่สร้างไม่มี Missing ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ทำการเลือกเข้าสู่ Dialog Missing Values ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมกำหนดจึงเป็น No
missing values และในตัวแปรหนึ่งๆ ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบการกำหนด Missing values ได้เพียงรูปแบบเดียว
เท่านั้น
6. เตรียมข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
6.1 อธิบายวิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถามได้อย่าง
ถูกต้อง
1. หลังจากกำหนดตัวแปรเรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยนหน้าต่างไปที่ Data view เพื่อทำการป้อนข้อมูล ดังภาพที่ 37

ภาพที่ 37 หน้าต่าง Data view สำหรับป้อนข้อมูล

2. การเริ่มกรอกข้อมูล ทำได้ทั้งการป้อนข้อมูลในตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งก่อน เช่น ป้อนข้อมูลของตัวแปรเพศ


(sex) ของแบบสอบถามทุกฉบับก่อน และไล่ป้อนข้อมูลให้ครบทุกตัวแปร อีกแบบหนึ่งคือ การป้อนข้อมูลทุกๆ ตัวแปร
ของแบบสอบถามฉบับนั้นๆ ให้ครบทุกตัวแปร เช่น ในแบบสอบถามหนึ่งฉบับจะมีตัวแปรทั้งหมด 7 ตัวแปร ก็ทำการป้อน
ข้อมูลทั้ง 7 ตัวแปรนั้นทั้งหมด ก่อนจะเปลี่ยนไปป้อนข้อมูลของแบบสอบถามฉบับถัดไป แบบหลังนี้จะสะดวกในการป้อน
ข้อมูลมากกว่าแบบแรก ดังภาพที่ 38
ภาพที่ 38 การป้อนข้อมูลในแบบสอบฉบับแรก

3. ในการป้อนข้อมูลแต่ละตัวแปร ต้องตรวจสอบรูปแบบการป้อนข้อมูล ว่าในตัวแปรนั้นมีค่าที่เป็นไปได้อะไรบ้าง


ดูได้จากตารางที่ 1 การลงรหัสข้อมูล โดยการป้อนข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามครั้งนี้ จะป้อนเป็นตัวเลขเท่านั้น เนื่องจาก
ได้กำหนดประเภทของตัวแปรเป็น Numeric นั่นเอง
4. เริ่มป้อนข้อมูลโดยเลื่อน Active cell มายังช่องที่ต้องการป้อนข้อมูล ซึ่งอาจใช้เมาส์คลิกที่ช่องนั้น หรือใช้
ลูกศรที่แป้นพิมพ์เลื่อนก็ได้ แล้วพิมพ์ค่าแรกของตัวแปร sex คือ 1 (เพศหญิง) ลงในช่อง ค่าของข้อมูลจะปรากฎอยู่ใน
ส่วนแสดงข้อมูลด้านบนของ Data Sheet
5. กดแป้น Enter หรือลูกศรที่แป้นพิมพ์ ข้อมูลจะถูกบรรจุลงใน Data Sheet ตามตำแหน่งที่ Active
cell อยู่
6. การกรอกข้อมูลตัวแปรอื่นๆ เช่น age, edu, pos, exp, item1 และ item2 ก็จะทำในลักษณะเดียวกัน ดัง
ภาพที่ 39
ภาพที่ 39 Data sheet ที่ป้อนข้อมูลครบถ้วน

6.2 ข้อควรระวังในการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม


การป้อนข้อมูลต้องทำการตรวจสอบรูปแบบการป้อนข้อมูล ว่าในตัวแปรนั้นมีค่าที่เป็นไปได้อะไรบ้าง ซึ่งถ้าป้อน
ข้อมูลผิดรูปแบบ จะทำให้การวิเคราะห์ของโปรแกรมเกิดความผิดพลาดได้ เช่น ตั้งค่าตัวแปรหนึ่งว่าเป็นตัวแปรประเภท
String ซึ่งการป้อนข้อมูลเป็นตัวอักษร และมีตัวเลขประกอบก็ได้ แต่เมื่อทำการป้อนข้อมูลกลับป้อนเป็นชุดตัวเลขเพียง
อย่างเดียว ในกรณีนี้อาจทำให้โปรแกรมวิเคราะห์ผิดพลาดได้ เป็นต้น

7. เลือกวิธีการวิเคราะห์
7.1 สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
การกำหนดสถิติพื้นฐานที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามนั้น ผู้วิเคราะห์ต้องทราบก่อนว่า จะใช้สถิติ
ตัวไหนในการวิเคราะห์ตัวแปร โดยสถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม มีดังต่อไปนี้
1. ความถี่ (Frequency)
2. ร้อยละ (Percentage)
3. ค่าเฉลี่ย (Mean)
4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ตัวอย่างการกำหนดสถิติที่ใช้วิเคราะห์ในแบบสอบถาม
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage)
2. อายุ ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดของท่านในปัจจุบัน
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
4. ตำแหน่งทางวิชาการของท่านในปัจจุบัน
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
5. ประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยที่ท่านสังกัด
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถด้านทักษะการวิจัย
6. item1
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
7. item2
ใช้การวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)

7.2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่เหมาะสมในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
หลังจากกำหนดสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละตัวแปรเรียบร้อยแล้ว จะใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์สถิติ
เหล่านั้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze เลือกเมนูรอง Descriptive Statistics และเมนูย่อย Descriptives… หน้าต่าง
Descriptives จะปรากฏขึ้น ดังภาพที่ 40 และ 41
ภาพที่ 40 การเลือกวิธีการวิเคราะห์ Descriptives

ภาพที่ 41 หน้าต่าง Descriptives

2. เลือกตัวแปรที่ต้องการคำนวณค่าสถิติพื้นฐานทางด้านซ้าย ในที่นี้จะยกตัวอย่างการคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน
ของตัวแปรอายุ (age) ให้ทำการคลิกเลือกตัวแปรอายุ (age) แล้วคลิกที่ลูกศรตรงกลาง ตัวแปรอายุ (age) จะย้ายมาอยู่
ในช่อง Variable(s): ทางด้านซ้าย ดังภาพที่ 42
ภาพที่ 42 การเลือกตัวแปรมาวิเคราะห์

3. คลิกปุ่ม Options… จะปรากฏหน้าต่าง Descriptives: Options ผู้วิเคราะห์สามารถเลือกสถิติที่ต้องการได้


โดยคลิกให้มีเครื่องหมายถูก () หน้าสถิติที่เลือก ดังภาพที่ 43

ภาพที่ 43 หน้าต่าง Descriptives: Options

โดยอธิบายสถิติแต่ละตัวได้ ดังนี้
Mean คือ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล
Sum คือ ผลรวมของข้อมูล
Std. deviation คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล
Variance คือ ค่าความแปรปรวนของข้อมูล
Range คือ ค่าพิสัยของข้อมูล
Minimum คือ ค่าต่ำสุดของข้อมูล
Maximum คือ ค่าสูงสุดของข้อมูล
S.E. mean คือ ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย
Kurtosis คือ ค่าความโด่งของข้อมูล
Skewness คือ ค่าความเบ้ของข้อมูล

4. ให้ทำการเลือกค่าสถิติที่ต้องการวิเคราะห์ นั่นคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และอาจมีค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าเบี่บง


เบนมาตรฐาน (Std. deviation) ค่าสูงที่สุด (Maximum) และค่าสูงที่สุด (Minimum) เป็นต้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Continue
จะกลับมายังหน้าต่าง Descriptives อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏหน้าต่าง SPSS Viewer เพื่อแสดง
ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ ดังภาพที่ 44

ภาพที่ 44 หน้าต่าง SPSS Viewer

จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ตัวแปรอายุ (age) ที่ใช้ค่าสถิติ Descriptive นั้นจะบอกค่าสูง-ต่ำของข้อมูล และ


ค่าเฉลี่ยของอายุได้ แต่ยังขาดร้อยละ ซึ่งถ้าเลือกใช้สสถิติอีกตัวหนึ่ง คือ ความถี่ (Frequencies) นั้น จะทำให้ได้ข้อมูลใน
ส่วนนี้ด้วย ทำได้ดังนี้

5. คลิกที่ปุ่ม Analyze เลือกเมนูรอง Descriptive Statistics และเมนูย่อย Frequencies… หน้าต่าง


Frequencies จะปรากฏขึ้น ดังภาพที่ 45 และ 46
ภาพที่ 45 การเลือกวิธีการวิเคราะห์ Frequencies

ภาพที่ 46 หน้าต่าง Frequencies

6. คลิกเลือกตัวแปรอายุ (age) แล้วกดปุ่มลูกศรตรงกลาง ตัวแปรอายุจะย้ายมาอยู่ในช่อง Variable ดังภาพที่


47 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Statistics… เพื่อเลือกสถิติที่ใช้วิเคราะห์ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Frequencies: Statistics ดัง
ภาพที่ 48
ภาพที่ 47 หน้าต่าง Frequencies ที่เลือกตัวแปรแล้ว

ภาพที่ 48 หน้าต่าง Frequencies: Statistics

7. หลังจากเปิดหน้าต่าง Frequencies: Statistics ให้ทำการเลือกสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้จะเลือก


ค่าเฉลี่ยของข้อมูล (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Std. deviation) ค่าสูงสุดของข้อมูล (Maximum) และค่าต่ำสุดของ
ข้อมูล (Minimum) ดังภาพที่ 48 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Continue จะกลับมาที่หน้า Frequencies อีกครั้ง จึงคลิกที่ปุ่ม OK
จะปรากฏหน้าต่าง SPSS Viewer ดังภาพที่ 49
ภาพที่ 49 หน้าต่าง SPSS Viewer ที่วิเคราะห์แล้ว

8. สำหรับตัวแปรอื่นๆ คือ อายุ (age) วุฒิการศึกษา (edu) ตำแหน่งทางวิชาการ (pos) ประสบการณ์การสอน


(exp) item1 และ item2 จะดำเนินการวิเคราะห์เช่นเดียวกับตัวแปรเพศ

7.3 ข้อควรระวังในการเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลในโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลใน


แบบสอบถาม
การเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้การนำเสนอผลการวิเคราะห์ผิดพลาด อันจะส่งผลให้
งานวิจัยนั้นขาดความน่าเชื่อถือด้านผลการวิจัยด้วย

8. แปลความหมายของผลที่ได้จากโปรแกรม
8.1 การอ่านค่าต่างๆ จากใบสรุปผลจากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม
การอ่านค่าของข้อมูลที่โปรแกรมได้วิเคราะห์ออกมาให้นั้น ผู้วิเคราะห์ต้องทราบก่อนว่า ในตารางนั้นบอกค่าอะไร
ซึ่งจากภาพที่ 50 จะสรุปได้ดังนี้
ภาพที่ 50 ค่าสถิติที่โปรแกรมแสดงผล

Valid คือ จำนวนในแต่ละกลุ่ม


Missing คือ จำนวนข้อมูลที่หายไป
Frequency คือ จำนวนความถี่
Percent คือ ค่าร้อยละที่คำนวณได้โดยใช้ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งรวมข้อมูลที่ขาดหายไปมาเป็นฐานใน
การคำนวณ
Valid Percent คือ ค่าร้อยละที่คำนวณได้โดยใช้ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งไม่รวมข้อมูลที่ขาดหายไปมาเป็นฐานใน
การคำนวณ
Cumulative Percent คือ ค่าร้อยละสะสม

8.2 แปลความหมายจากผลที่ได้จากโปรแกรม SPSS สำหรับวิเคราะห์สถิติพื้นฐานจากข้อมูลในแบบสอบถาม


ในการแปลความหมายของผลที่ได้จากโปรแกรมนั้น เมื่อทราบความหมายของช่องต่างๆในตาราง จะอธิบายใน
แต่ละตารางได้ ดังนี้
ตารางที่ 2 ตารางค่าสถิติของทุกตัวแปร
Statistics

sex age edu pos exp item1 item2

N Valid 37 37 40 37 39 40 40

Missing 3 3 0 3 1 0 0

Mean - 30.49 - - - 4.62 4.28

Std. Deviation - 3.176 - - - .586 .554

Minimum - 27 - - - 3 3

Maximum - 36 - - - 5 5

จากตารางค่าสถิติจะเห็นได้ว่า
ตัวแปรเพศ (sex) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกเพศจำนวน 3 คน
ตัวแปรอายุ (age) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกอายุจำนวน 3 คน ค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ
30.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.176 อายุน้อยที่สุดที่ตอบแบบสอบถาม คือ 27 และอายุมากที่สุดที่ตอบแบบสอบถาม คือ
36
ตัวแปรวุฒิการศึกษา (edu) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน
ตัวแปรตำแหน่งทางวิชาการ (pos) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 3
คน
ตัวแปรประสบการณ์การสอน (exp) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน ไม่บอกประสบการณ์การสอนจำนวน
1 คน
ตัวแปร item1 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน มีค่าเฉลี่ยของการตอบอยู่ที่ 4.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.586 ค่าน้อยที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 3 และค่ามากที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 5
ตัวแปร item2 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน มีค่าเฉลี่ยของการตอบอยู่ที่ 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.554 ค่าน้อยที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 3 และค่ามากที่สุดในการตอบแบบสอบถาม คือ 5

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรเพศ (sex)


sex

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Male 12 30.0 32.4 32.4

Female 25 62.5 67.6 100.0

Total 37 92.5 100.0

Missing System 3 7.5

Total 40 100.0

ตัวแปรเพศ (sex) จำนวนผู้ชาย (Male) ที่ตอบแบบสอบถาม คือ 12 คน คิดเป็น 32.4 เปอร์เซนต์ โดยดูที่ช่อง
Valid Percent ส่วนผู้หญิง (Female) คือ 25 คิดเป็น 67.6 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมด 37 คน มีผู้ไม่บอกเพศ จำนวน 3 คน
รวมเป็น 40 คน
ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรอายุ (age)
age

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid 27 14 35.0 37.8 37.8

28 1 2.5 2.7 40.5

29 1 2.5 2.7 43.2

30 1 2.5 2.7 45.9

31 3 7.5 8.1 54.1

32 4 10.0 10.8 64.9

33 6 15.0 16.2 81.1

34 2 5.0 5.4 86.5

35 4 10.0 10.8 97.3

36 1 2.5 2.7 100.0

Total 37 92.5 100.0

Missing System 3 7.5

Total 40 100.0

ตัวแปรอายุ (age) มีระดับอายุตั้งแต่ 27 ถึง 36 โดยอายุ 27 มีจำนวน 14 คน คิดเป็น 37.8 เปอร์เซนต์ โดยดูที่
ช่อง Valid Percent อายุ 33 มีจำนวน 6 คน คิดเป็น 16.2 เปอร์เซนต์ อายุ 32 และ 35 มีจำนวน 4 คน คิดเป็น 10.8
เปอร์เซนต์ อายุ 31 มีจำนวน 3 คน คิดเป็น 8.1 เปอร์เซนต์ อายุ 34 มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 5.4 เปอร์เซ็นต์ และอายุ
28, 29, 30 และ 36 มีจำนวน 1 คน คิดเป็น 2.7 เปอร์เซนต์

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรระดับการศึกษา (edu)


edu

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Master Deegree 22 55.0 55.0 55.0

Bachelor's Degree 18 45.0 45.0 100.0

Total 40 100.0 100.0


ตัวแปรระดับการศึกษา (edu) เป็นระดับปริญญาโท จำนวน 22 คน คิดเป็น 55 เปอร์เซนต์ และระดับปริญญา
ตรี จำนวน 18 คน คิดเป็น 45 เปอร์เซนต์

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรตำแหน่งทางวิชาการ (pos)


pos

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Asst Professor 12 30.0 32.4 32.4

Teacher 25 62.5 67.6 100.0

Total 37 92.5 100.0

Missing System 3 7.5

Total 40 100.0

ตัวแปรตำแหน่งทางวิชาการ (pos) เป็นระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 12 คน คิดเป็น 32.4 เปอร์เซนต์


ระดับครู จำนวน 25 คน คิดเป็น 67.6 เปอร์เซนต์ ไม่ตอบในข้อนี้ จำนวน 3 คน คิดเป็น 7.5 เปอร์เซนต์

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรประสบการณ์สอน (exp)


exp

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Year 1-5 12 30.0 30.8 30.8

Year 6-10 8 20.0 20.5 51.3

Year 11-15 19 47.5 48.7 100.0

Total 39 97.5 100.0

Missing System 1 2.5

Total 40 100.0

ตัวแปรประสบการณ์สอน (exp) ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุระหว่าง 1-5 คน จำนวน 12 คน คิดเป็น 30.8


เปอร์เซนต์ อายุระหว่าง 6-10 คน จำนวน 8 คน คิดเป็น 20.5 เปอร์เซนต์ อายุระหว่าง 11-15 คน จำนวน 19 คน คิด
เป็น 47.5 เปอร์เซนต์ ไม่ตอบในข้อนี้ จำนวน 1 คน คิดเป็น 2.5 เปอร์เซนต์

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 1 (item1)


item1

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Middle 2 5.0 5.0 5.0

Most 11 27.5 27.5 32.5

Very Most 27 67.5 67.5 100.0

Total 40 100.0 100.0

ตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 1 (item1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จำนวน 27 คน คิด


เป็น 67.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับมาก จำนวน 11 คน คิดเป็น 27.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับปานกลาง
จำนวน 2 คน คิดเป็น 5 เปอร์เซนต์

ตารางที่ 3 ตารางค่าสถิติของตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 2 (item2)


item2

Cumulative
Frequency Percent Valid Percent Percent

Valid Middle 2 5.0 5.0 5.0

Most 25 62.5 62.5 67.5

Very Most 13 32.5 32.5 100.0

Total 40 100.0 100.0

ตัวแปรความคิดเห็น ข้อที่ 2 (item2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จำนวน 13 คน คิด


เป็น 32.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับมาก จำนวน 25 คน คิดเป็น 62.5 เปอร์เซนต์ ความคิดเห็นในระดับปานกลาง
จำนวน 2 คน คิดเป็น 5 เปอร์เซนต์

You might also like