KC 5804009

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

การปนเปื้ อนของไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลทีเ่ ป็ นอาหาร


Microplastic Contamination in Marine Animals Used as Seafood

พันธุท์ ิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์1* อภิญญา ชาติทวีสขุ 1 และ วชิระ ใจงาม2


Puntip Wisespongpand1*, Apinya Chataweesuk and Wachirah Jaingam2

บทคัดย่อ
ไมโครพลาสติกที่ปนเปื ้อนในสิ่งแวดล้อมในทะเลสามารถถ่ายทอดผ่านทางห่วงโซ่อาหารมายังมนุษย์ การ
บริโภคอาหารทะเลจึงเป็ นหนทางโดยตรงที่จะทําให้เกิดการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกสู่มนุษย์ จากการ ศึกษาไมโค
รพลาสติกในสัตว์ทะเลที่มีการบริโภคเป็ นอาหารของคนไทย 5 กลุ่ม ได้แก่ หอย กุง้ ปู หมึก และปลา รวม 25 ชนิด
พบว่ากลุ่มหอยมีการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกมากที่สุด (33%) โดยสัตว์ทะเลในแต่ละกลุ่มที่พบไมโครพลาสติก
มากที่สดุ ได้แก่ หอยเสียบ กุง้ กุลาดํา ปูทะเล หมึกกระดอง และปลาทู โดยมีจาํ นวนไมโคร พลาสติกทัง้ หมดเท่ากับ
6.6±2.61, 3.8±2.49, 3.4±1.14, 3.0±2.35 และ 3.6±1.14 ชิน้ ต่อตัว ตามลําดับ รู ปแบบและสีของไมโครพลาสติกที่
พบส่วนใหญ่เป็ นรู ปแบบเส้นใย (48.80%) และสีนาํ้ เงิน (47.25%) มีขนาดระหว่าง 5-185 ไมครอน และพบโพลีเมอร์ป
ระเภท polyethylene, polyester และ nylon การศึกษานีช้ ีใ้ ห้เห็นว่ามีการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลทุก
กลุ่มที่คนไทยบริโภคเป็ นอาหาร ซึ่งเป็ นข้อมูลพืน้ ฐานที่มีความสําคัญต่อการเฝ้าระวัง และกําหนดมาตรการป้องกัน
ความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์จากการได้รบั ความเป็ นพิษของไมโครพลาสติกต่อไป

ABSTRACT
The microplastic contamination throughout the marine environments are transferred to human via
food chain. The seafood consumption is the direct route to intake the contaminated microplastic to human.
In this study the microplastic from marine animals used as seafood for Thai people were investigated among
five groups; bivalve, shrimp, crab, cephalopod and fish in totally 25 species. The bivalve group showed the
highest microplastic contamination (33%). The marine animals in each group which showed the maximum
numbers of microplastic were Donax faba, Penaeus monodon, Scylla olivacea, Sepia aculeata and
Rastrelliger brachysoma with numbers of microplastic at 6.6±2.61, 3.8±2.49, 3.4±1.14, 3.0±2.35 and
3.6±1.14 particles/individual, respectively. The most prevalence type and color of microplastic were fiber
(48.80%) and blue color (47.25%). The sizes of microplastic were in the range of 5-185 microns. The
polymer types were polyethylene, polyester and nylon. This study revealed that microplastic were
contaminated in all groups of marine animals which consumed by Thai people as seafood. These results
provide a baseline of microplastic contamination in seafood of Thailand which were important for monitoring
and preventive measure for human health risk from toxicity of microplastic.
Key words: microplastic, marine debris, seafood
* Corresponding author; e-mail address: ffisptp@ku.ac.th
1
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
1
Department of Marine Science, Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Bangkok 10900
2
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
2
Museum of Fisheries (Natural history), Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Bangkok 10900

397
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

คํานํา
ประเทศไทยเป็ นหนึ่งในประเทศบนโลกที่กาํ ลังประสบปั ญหาขยะทะล (marine debris) และยังถูกจัด
อันดับให้เป็ นผูท้ ิง้ ขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากเป็ นอันดับ 6 ของโลก (Jambeck et al., 2015) โดยพลาสติกเป็ น
ขยะที่ถูกทิง้ ลงทะเลไทยมากเป็ นอันดับหนึ่ง ขยะทะเลส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลอย่างชัดเจน โดยสัตว์ทะเลที่กิน
พลาสติกเข้าไปจะทําให้ระบบทางเดินอาหารอุดตัน ย่อยอาหารไม่ได้ เชือกอวนต่าง ๆ ไปพันเกี่ยวจนสัตว์ทะเล
ตาย ขยะทะเลยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ระบบนิเวศทางทะเล และมนุษย์ (กรมทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่ ง, 2562) และมหันตภัยที่สาํ คัญของขยะพลาสติกที่กาํ ลังเป็ นที่สนใจมากที่สดุ เพราะกําลังส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์น่ นั คือ “ไมโครพลาสติก”
ไมโครพลาสติก (microplastic ) คือ พลาสติกที่มีขนาด 1 นาโนเมตร- 5 มิลลิเมตร มีทงั้ แหล่งกําเนิดปฐม
ภูมิ เช่น เม็ดพลาสติกจากโรงงานผลิตพลาสติก เม็ด microbead ที่ใช้เป็ นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง
เส้นใยจากเชือกอวนและเสือ้ ผ้า เป็ นต้น และแหล่งกําเนิดทุติยภูมิซ่งึ เป็ นแหล่งที่มาหลัก คือ เกิดจากการแตกหัก
การสึกกร่อน การย่อยสลายโดยแสง รวมถึงการเกิดออกซิเดชั่นของพลาสติกขนาดใหญ่ ไมโครพลาสติกมีขนาด
เล็ก แพร่กระจายได้ง่าย ยากต่อการรวบรวมและกําจัด จึงทําให้มีการสะสมเพิ่มขึน้ ในทะเลอย่างต่อเนื่อง และยัง
พบ แพร่กระจายทัง้ ในนํา้ ทะเล ตะกอน และในสิ่งมีชีวิต ตัง้ แต่ชายฝั่ งไปจนถึงทะเลลึก ไมโครพลาสติกมีความเป็ น
พิษที่เกิดจากตัวพลาสติกและสารเติมแต่งต่าง ๆ และยังสามารถดูดซับ ปลดปล่อย และเคลื่อนย้ายสารพิษจาก
สิ่งแวดล้อม เช่น PCBs โลหะหนัก รวมทัง้ เชือ้ โรคต่าง ๆ ด้วย ไมโครพลาสติกจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต
ในทะเล เช่น ขัดขวางทางเดินอาหาร ทําให้บริโภคอาหารได้นอ้ ยลง ลดภูมิคมุ้ กัน และส่งผลต่อระบบการเจริญเติบโต
และระบบสืบพันธุ์ และส่งผลกระทบให้เกิ ดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรและระบบนิ เวศ รวมทั้ง
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย (Cole et al., 2011; GESAMP, 2015; UNEP, 2016; Auta et al., 2017;
Lusher et al., 2017; Wang et al., 2019)
คุณสมบัติสาํ คัญที่ทาํ ให้ไมโครพลาสติกส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์ก็คือ การถ่ายทอดผ่านทางห่วงโซ่อาหาร
จึงทําให้อนั ตรายของไมโครพลาสติกที่มีต่อมนุษย์มีความเด่นชัดกว่าขยะพลาสติก เส้นทางที่ไมโครพลาสติกเข้าสู่
ห่วงโซ่อาหารมี 4 เส้นทาง คือ โดยการย่อย การหายใจ การเกี่ ยวพัน และการส่งผ่านตามลําดับขั้นในห่วงโซ่
อาหาร (Setala et al., 2018) ดังนัน้ การบริโภคอาหารทะเลจึงเป็ นเส้นทางหลักที่จะนําพาไมโครพลาสติกเข้าสู่
มนุษย์และนําพาความเป็ นพิษทําให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ได้มากที่สุดทางหนึ่ง (Dehaut et al.,
2016; Lusher et al., 2017; Barboza et al., 2018; Smith et al., 2018; Hantoro et al., 2019)
การศึกษานีไ้ ด้ทาํ การศึกษาไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลที่มีการบริโภคเป็ นอาหารทัง้ 5 กลุ่ม ได้แก่ หอย
กุง้ ปู หมึก และ ปลา โดยศึกษา จํานวน ขนาด และคุณลักษณะต่างๆ ของไมโครพลาสติก เพื่อประเมินสถานภาพ
การปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกในสัตว์นาํ้ ที่เป็ นอาหารของคนไทย การศึกษาความเป็ นพิษของไมโครพลาสติกที่
มีตอ่ มนุษย์กาํ ลังเป็ นที่สนใจอย่างมาก ซึง่ จําเป็ นจะต้องมีขอ้ มูลพืน้ ฐานเกี่ยวกับการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติก
เพื่อจะนําไปใช้ในการในการกําหนดมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการรับประทานอาหาร
ทะเลที่ปนเปื ้อนไมโครพลาสติกที่มีตอ่ สุขภาพของคนไทยต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการ
1. การเตรียมตัวอย่างสัตว์ทะเล
เก็บรวบรวมตัวอย่างสัตว์ทะเลที่มีการบริโภคเป็ นอาหารจาก 5 กลุม่ หลัก ได้แก่ หอย กุง้ ปู หมึก และปลา
กลุม่ ละ 5 ชนิด ดังแสดงใน Table 1 โดยรวบรวมตัวอย่างมาชนิดละ 5 ตัวจาก 4 สถานที่ ได้แก่ 1. ท่าเรืออวนจมปู
ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 2. ตลาดสดเทศบาลศรีราชา จ. ชลบุรี 3. ตลาดสดเทศบาลเมือง จ.ตราด 4. หอย
เสียบเก็บจากหาดบ้านโรงโป๊ ะ ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ. ชลบุรี โดยการขุดตัวอย่างจากในหาดทราย นํา
ตัวอย่างที่ ได้มาล้างนํา้ จื ดให้สะอาด ทําการวัดขนาดและชั่งนํา้ หนัก จากนั้นผ่าเอาส่วนกระเพาะแยกออกมา

398
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

ยกเว้นหอยที่จะใช้ทงั้ ตัว เนื่องจากส่วนกล้ามเนือ้ และกระเพาะอยู่รวมกันแยกออกจากกันได้ยาก นําส่วนกระเพาะ


และตัวหอยไปอบแห้งที่อณ ุ หภูมิ 70 oC เป็ นเวลา 12 ชั่วโมง
2. การสกัดและแยกไมโครพลาสติก
ใช้วิธีท่ี ดัดแปลงมาจาก UNEP (2016); Dehaut et al. (2016); Kühn et al. (2017) มีการควบคุม การ
ปนเปื ้อนจากห้องปฏิบตั ิการ โดยการใช้ฝาปิ ดอุปกรณ์และตัวอย่างเพื่อป้องกันการปนเปื ้อนจากอากาศ และนํา้ ที่
ใช้เป็ น de-ionized
2.1 นําส่วนกระเพาะของสัตว์แต่ละชนิดและเนือ้ หอยใส่ลงในบีกเกอร์ จากนัน้ ทําการย่อยสลายอินทรีย ์
สารโดยเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 30% ลงไป 40 มิลลิลิตร ตามด้วยสารละลายโปแตสเซียม
ไฮดรอกไซด์ (KOH) 1% อีก 8 มิลลิลิตร คนด้วย magnetic stirrer อย่างต่อเนื่องเป็ นเวลา 1 ชั่วโมง จนส่วนของ
เนือ้ เยื่อสลายตัว โดยตัวอย่างสัตว์แต่ละชนิดจะทําการศึกษา 5 ตัวอย่าง (5 replication) และเตรียมตัวอย่างที่
เป็ น control โดยไม่ใส่ตัวอย่างสัตว์ทะเลลงไป เพื่ อตรวจสอบการปนเปื ้ อนที่ อาจมาจากนํา้ de-ionized และ
สารเคมี
2.2 เทตัวอย่างที่สกัดอินทรียส์ ารใส่ลงในกระบอกตวงขนาด 100 มิลลิลิตร ใส่เกลือลงไป 14.4 กรัม คน
ให้ละลาย วางทิง้ ไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อแยกเศษอินทรียส์ ารและตะกอนออกจากไมโครพลาสติกที่จะลอยอยู่ท่ีสว่ นบน
2.3 สังเกตที่บริเวณด้านล่างของกระบอกตวงว่ามีเศษของไมโครพลาสติกปนอยู่หรือไม่ จากนัน้ ค่อยๆเท
สารละลายด้านบนผ่านผ้ากรองขนาด 21 ไมครอน ด้วยชุดกรองที่ต่อเข้ากับปั๊ มสุญญากาศ นําผ้ากรองที่ได้ไปทํา
ให้แห้งที่อณ ุ หภูมิ 50oC เป็ นเวลา 4 ชม. แล้วเก็บรักษาในถุงพลาสติกขนาดเล็ก
3. การศึกษาจํานวน ขนาด รู ปร่าง และคุณลักษณะของไมโครพลาสติก
นําตัวอย่างไมโครพลาสติกที่แยกได้บนผ้ากรอง ไปส่องบนกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอกําลังขยาย 10, 40
และ 100 เท่า นับจํานวนไมโครพลาสติกที่พบโดยคิดเป็ นจํานวนชิน้ ต่อตัว จําแนกรู ปร่างของไมโครพลาสติกออก
เป็ น 3 รู ปแบบหลัก ได้แก่ เส้นใย (fiber) แผ่น (film) และชิน้ ส่วนขนาดเล็กที่ไม่มีรูปร่างแน่นอน (fragment) วัด
ขนาดด้วยไมโครมิเตอร์บนกล้องจุลทรรศน์ และจดบันทึกสีท่ีพบ
4. การศึกษาประเภทของพลาสติก
ทําการตรวจสอบประเภทของโพลีเมอร์เบือ้ งต้น เพื่อยืนยันการเป็ นพลาสติกด้วย FT-IR spectrometer
(Perkin Elmer : Spectrum Two) โดยทําการศึกษาที่ช่วงตําแหน่งเลขคลื่น (wave number) ระหว่าง 400-4000
cm-1 และสุ่มตัวอย่างไมโครพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ คือ มีความยาวกว่า 100 ไมครอนและความกว้างมากกว่า
10 ไมครอนมาทําการศึกษา ซึ่งเป็ นขนาดที่เหมาะสมสําหรับใช้กบั เครื่องมือรุ ่นดังกล่าว เปรียบเทียบสเปกตรัมที่
ได้กบั Reference spectra ของโพลีเมอร์ประเภทต่าง ๆ ด้วยซอฟท์แวร์ Spectrum Touch™ ของเครื่อง
5. การวิเคราะห์ทางสถิติ
ทดสอบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ ยของจํานวนไมโครพลาสติ ก ในสัต ว์ทะเลชนิ ด ต่าง ๆ โดยการ
วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนด้วยวิธี ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากนัน้ เปรียบเทียบหาค่าความแตกต่าง
ของค่าเฉลี่ยระหว่างคูโ่ ดยการเปรียบเทียบพหุคณ ู ด้วยวิธี Tukey Post-Hoc test

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากการศึกษาไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลที่มีการนําไปบริโภคเป็ นอาหารทะเลจํานวน 25 ชนิด พบว่า
สัตว์ทะเลแต่ละชนิดมีจาํ นวนไมโครพลาสติกแตกต่างกันอย่างมีนยั สําคัญทางสถิติ (p<0.05) (Table 1) โดย กลุม่
หอยมีไมโครพลาสติกมากที่สดุ คิดเป็ น 33% ของจํานวนไมโครพลาสติกทัง้ หมดที่พบในตัวอย่างสัตว์ทะเลทุกกลุ่ม
รองลงมาคือกลุม่ กุง้ ปู และปลาคิดเป็ น 25, 18 และ 14% ตามลําดับ และหมึกเป็ นกลุม่ ที่พบ ไมโครพลาสติกน้อย
ที่สุดเพียง 10% (Figure 1) สัตว์ทะเลที่พบไมโครพลาสติกมากที่สุด คือ หอยเสียบเท่ากับ 6.6±2.61 ชิน้ ต่อตัว
รองลงมาก็ยงั คงอยู่ในกลุม่ หอย คือ หอยนางรมมีไมโครพลาสติกรวม 6.0±2.12 ชิน้ ต่อตัว และหอยแมลงภู่ซง่ึ เป็ น
หอยที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สดุ อีกชนิดหนึ่ง พบไมโครพลาสติก 4.8±2.17 ชิน้ ต่อตัว ซึง่ ก็ยงั สูงกว่าในสัตว์ทะเล

399
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

กลุ่มอื่น ๆ ทัง้ นีจ้ ะพบว่ากลุ่มหอยเป็ นสัตว์ท่ีมีไมโครพลาสติกสูงกว่าสัตว์ทะเลกลุ่มอื่น โดยมีค่าระหว่าง 3.6-6.6


ชิน้ ต่อตัว
Crab 18%
Bivalve 33%
Cephalopod 10%

Fish 14%
Shrimp 25%

Figure 1 The composition of microplastics in 5 group of marine animals used as seafood.


มีรายงานการศึกษาที่ชีใ้ ห้เห็นว่าพวกสัตว์ท่ีกรองกินอาหาร (filter feeder) เป็ นกลุ่มที่มีการสะสมไมโคร
พลาสติกในอัตราสูงกว่าสัตว์อ่นื ๆ (Thushari et al., 2017) หอยสองฝาเป็ นสัตว์ท่ีมีการกรองกินอาหาร จึงทําให้มี
การสะสมปริมาณไมโครพลาสติกในระดับสูง การที่หอยเสียบมีปริมาณไมโครพลาสติกสูงที่สุดในการศึกษานี ้
อาจเป็ น เพราะว่าหอยเสี ย บอาศัย อยู่ใ นหาดทราย ซึ่ง ในบริ เ วณที่ เ ก็ บ ตัวอย่ างคื อหาดบ้านบางโป๊ ะก็ มี ข ยะ
พลาสติกอยู่ท่ วั ทัง้ หาด พลาสติกที่ติดค้างอยู่บนหาดทรายจะค่อยๆ แตกหักเป็ นไมโครพลาสติกและแทรกอยู่ตาม
เม็ดตะกอนซึ่งเป็ นที่ อยู่ของหอยเสียบ และเมื่อหอยเสียบกรองกิ นอาหารในช่วงนํา้ ขึน้ ก็น่าจะกรองกิ นไมโคร
พลาสติกเข้าไปด้วย ซึ่งจากรายงานการศึกษาที่ ผ่ านมาก็ชีใ้ ห้เห็น ว่าระดับ มลพิ ษของพลาสติ กที่ เกิ ด บริ เ วณ
ชายหาด จะส่งผลให้ปริมาณการสะสมไมโครพลาสติกในตะกอนทรายสูงด้วย รวมทัง้ ระยะทางระหว่างแหล่งที่อยู่
อาศัยของสัตว์ทะเลและแหล่งของสารปนเปื ้อน ถ้ายิ่งใกล้ก็จะยิ่งมีระดับการปนเปื ้อนในสัตว์สงู (Thushari et al.,
2017) มีรายงานที่ แสดงให้เห็นว่าหอยเสียบที่ เก็บจากสถานที่ แตกต่างกัน ช่วงเวลาต่างกัน มีปริมาณไมโคร
พลาสติกแตกต่างกัน เช่น หอยเสียบที่ เก็บจากหาดเจ้าหลาวและหาดคุง้ วิ มาน จ.จันทบุรี พบจํานวนไมโคร
พลาสติก 3.13±2.75 และ 2.98±3.12 ชิน้ ต่อตัว (ปิ ติพงษ์ และคณะ, 2559) หอยนางรมในการศึกษานีก้ ็พบ ไมโค
รพลาสติ ก เช่ น เดี ย วกับ หอยนางรมชนิ ด Saccostrea forskalii บริ เ วณอ่างศิ ล า บางแสน และแสมสาร ซึ่ง มี
รายงานพบไมโครพลาสติกเท่ากับ 0.57±0.22, 0.37±0.03 และ 0.43±0.04 ชิน้ ต่อกรัม (Thushari et al., 2017)
และมีการศึกษาไมโครพลาสติกในหอยแมลงภู่ (Mytulis edulis) ที่เลีย้ งในฟาร์มและจากธรรมชาติในประเทศจีน
พบไมโครพลาสติกในหอยธรรมชาติ 2.7 ชิน้ ต่อตัวซึง่ สูงกว่าหอยที่เลีย้ งในฟาร์มซึง่ พบ 1.6 ชิน้ ต่อตัว และพบสูงถึง
3.3 ชิน้ ต่อตัวในพืน้ ที่ท่ีกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งใกล้เคียงกับในการศึกษานี ้ (Li et al., 2016) ในขณะที่หอยแมลงภู่
ในแคนาดา พบว่ามีไมโครพลาสติกแบบเส้นใยสูงมากถึง 75 และ 34 ชิน้ ต่อตัว (Mathalon and Hill, 2014) และ
จากข้อมูลการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกในหอยของ FAO ซึง่ รวบรวมโดย Lusher et al. (2017) ได้รายงานว่า
หอยแมลงภู่ชนิ ด Mytilus edulis เป็ นหอยที่ มีการปนเปื ้ อนไมโครพลาสติกมากที่ สุด การพบไมโคร พลาสติก
ปนเปื ้อนในกลุ่มหอยในระดับสูงกว่าสัตว์อ่ืนในการศึกษานีร้ วมทัง้ จากรายงานการศึกษาที่ผ่านมา จึงเป็ นข้อมูล
สําคัญที่จะต้องเฝ้าระวังการบริโภคหอยเป็ นอาหาร อีกทัง้ การบริโภคหอยส่วนใหญ่เป็ นการบริโภคทัง้ ตัว จึงยิ่งทํา
ให้เพิ่มความเสี่ยงในการได้รบั ไมโครพลาสติกสูงมากขึน้ ในขณะที่สตั ว์กลุม่ อื่น ๆ อาจจะมีการหลีกเลี่ยงไม่บริโภค
ส่วนกระเพาะ ซึ่งมักเป็ นส่วนที่มีรายงานการศึกษาพบไมโครพลาสติกสูง (Devriese et al., 2015; Hossain et
al., 2019)
กลุม่ ที่พบไมโครพลาสติกมากรองจากกลุม่ หอย คือ กลุม่ กุง้ ซึง่ พบไมโครพลาสติกอยู่ในช่วงระหว่าง 3.0-
3.8 ชิน้ ต่อตัว (Table 1) โดยพบไมโครพลาสติกมากที่สดุ ในกุง้ กุลาดําและกุง้ กุลาลายที่ 3.8±2.49 และ 3.7±1.64
ชิ น้ ต่อ ตัว ส่วนในกุ้ง ขาวซึ่ง เป็ นกุ้ง ที่ คนไทยบริโภคกันเป็ นหลัก และเป็ น กุง้ ที่ มาจากการเพาะเลีย้ ง ก็ พ บการ
ปนเปื ้ อนของไมโครพลาสติก โดยมีปริมาณไมโครพลาสติกแตกต่างจากกุง้ กุลาดําและกุง้ กุลาลายอย่างไม่มี
นัยสําคัญทางสถิติ คือ 3.6±2.60 ชิน้ ต่อตัว ซึง่ ใกล้เคียงกับรายงานการศึกษาไมโครพลาสติกในกุง้ กุลาดําและ ใน
กุ้ง ตะกาดหางแดง (Metapenaeus Monoceros) ในประเทศบัง คลาเทศ ซึ่ ง พบมี ค่ า เฉลี่ ย 3.40±1.23 และ
3.87±1.05 ชิน้ ต่อกรัมของลําไส้และกระเพาะอาหาร (gastrointestinal tract) (Hossain et al., 2019) นอกจากนัน้

400
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

มีรายงานการศึกษาในกุง้ (Crangon crangon) ที่พบไมโครพลาสติกมากในส่วนของทางเดินอาหาร ส่วนหัว และ


เหงือก และไม่พบในส่วนกล้ามเนือ้ ของกุง้ ที่ปอกเปลือกเอาส่วนหัวออกไปแล้ว ดังนัน้ การบริโภคเฉพาะส่วนเนือ้ กุง้
เป็ นอาหารจึงมีความเสี่ยงต่อการปนเปื ้อนด้วยไมโครพลาสติกน้อย (Devriese et al., 2015)
เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มกุง้ กับกลุ่มปูซ่งึ เป็ นสัตว์ท่ีอยู่ในกลุ่ม crustacea เหมือนกัน พบว่ากลุ่มปูมีปริมาณ
ไมโครพลาสติกที่ต่าํ กว่ากุง้ โดยมีค่าในช่วงระหว่าง 2.0-3.4 ชิน้ ต่อตัว โดยปูทะเลมีปริมาณไมโครพลาสติกมาก
ที่สุด คือ 3.4±1.14 ชิน้ ต่อตัว ในขณะที่ปูมา้ ซึ่งเป็ นปูท่ีคนไทยรับประทานเป็ นอาหารมากที่สดุ มีปริมาณไมโคร
พลาสติกเท่ากับ 2.8±3.03 ชิน้ ต่อตัว ซึง่ แตกต่างอย่างไม่มีนยั สําคัญทางสถิติกบั ปูทะเล และในปูทกุ ชนิดพบว่าไม
โครพลาสติกส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็ นเส้นใย ซึง่ น่าจะเป็ นส่วนประกอบของอวน เพราะว่าตัวอย่างปูสว่ นใหญ่เก็บมา
จากอวนจมปู ซึ่งปูมีกา้ มที่แหลมคมและฟั นที่บดกัดได้ดี ในช่วงที่ถูกจับด้วยอวนจมปูอาจกัดอวนขาดและบริโภค
อวนเข้าไปได้ มีรายงานการพบไมโครพลาสติกในปู Carcinus aestuarii ตัง้ แต่ 1-117 ชิน้ ต่อตัว ซึง่ มีความแปรผัน
สูงมาก (Piarulli et al., 2019)
กลุ่มปลาและหมึกเป็ นกลุ่มสัตว์ทะเลที่พบไมโครพลาสติกตํ่ากว่าสัตว์ทะเลกลุ่มอื่น (Table 1) โดยกลุ่ม
ปลามีไมโครพลาสติกอยู่ระหว่าง 1.0-3.6 ชิน้ ต่อตัว โดยปลาทูซง่ึ เป็ นปลาที่คนไทยบริโภคมากที่สดุ มีปริมาณ ไม
โครพลาสติกสูงที่สดุ ในการศึกษานี ้ คือ 3.6±1.14 ชิน้ ต่อตัว ซึ่งมีรายงานการศึกษาปลาทูบริเวณเขตพืน้ ที่อทุ ยาน
แห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง พบไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูสงู กว่ามากถึง 78.04±6.503 ชิน้ ต่อตัว (ศุ
ภพร และคณะ, 2561) ส่วนปลาชนิ ด อื่ น ๆ มี ป ริ ม าณไมโครพลาสติ ก ตํ่าอยู่ใ นช่ วง 1.0-2.0 ชิ น้ ต่อตัวเท่ านั้น
สําหรับกลุ่มหมึกพบว่ามีไมโครพลาสติกน้อยกว่าสัตว์ทะเลกลุ่มอื่น คิดเป็ น 10% ของจํานวนไมโคร พลาสติกที่
พบในสัตว์ทงั้ หมด (Figure 1) โดยพบไมโครพลาสติกระหว่าง 0.4-3.0 ชิน้ ต่อตัว และหมึกกระดองมีปริมาณไมโค
รพลาสติกมากที่สุด คือ 3.0±2.35 ชิน้ ต่อตัว ในขณะที่หมึกกล้วยซึ่งเป็ นหมึกที่นิยมบริโภคมีปริมาณไมโครพลา
สติกเพียง 1.20±1.30 ชิน้ ต่อตัว
รู ปร่างของไมโครพลาสติกสามารถคาดเดาแหล่งที่มาของไมโครพลาสติกได้ ในการศึกษานีพ้ บว่ารู ปร่าง
หลักที่พบในสัตว์ทะเลทัง้ 5 กลุ่ม คือ เส้นใย แบบแผ่น และรู ปร่างไม่แน่นอนคิดเป็ นร้อยละ 48.80, 10.70 และ
40.5 ตามลําดับ (Table 1, Figure 2) ซึง่ เส้นใยที่พบมากส่วนใหญ่น่าจะมีแหล่งที่มาจากอวนเชือกที่เป็ นเครื่องมือ
ประมง ซึง่ สอดคล้องกับพืน้ ที่ศกึ ษาที่มีการเก็บตัวอย่างจากอวนจมปู และมีรายงานว่าเศษผ้าที่มาจากการซักผ้าก็
เป็ นแหล่งที่มาของไมโครพลาสติกประเภทเส้นใยได้เช่นเดียวกัน (GESAMP, 2015) มีรายงานการศึกษารู ปร่าง
ไมโครพลาสติกในหอยแมลงภู่ (Mytulis edulis) ในประเทศจีน พบว่าส่วนใหญ่เป็ นแบบเส้นใยและเศษชิน้ ส่วน
เล็ ก (Li et al., 2016) ส่ ว นในกุ้ง กุ ล าดํา ในประเทศบั ง คลาเทศ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น รู ป แบบ filament และเส้น ใย
(Hossain et al., 2019) และในปลาทูมีรายงานพบไมโครพลาสติกที่ เป็ นชิ น้ สี ดาํ มากที่ สุด (ศุภพร และคณะ,
2561) ขนาดของไมโครพลาสติกสามารถบอกได้วา่ ยิ่งเล็กยิ่งปนเปื ้อนอยู่ในสิ่งมีชีวิตในส่วนต้นของห่วงโซ่อาหาร
ขนาดของไมโครพลาสติกที่พบในสัตว์ทะเลในการศึกษานีม้ ีขนาดเฉลี่ยแตกต่างกันดังแสดงใน Table 1
โดยสัตว์ทะเลแต่ละกลุม่ มีขนาดไมโครพลาสติกแตกต่างกัน โดยกลุม่ หอย กุง้ ปู หมึก และปลา มีขนาดระหว่าง 5-
110, 10-125, 24-185, 6-115 และ 19-145 ไมครอน ตามลําดับ ซึง่ ในการศึกษานีพ้ บว่าปูมา้ มีไมโครพลาสติกที่มี
รู ปร่างเป็ นแผ่นมีความยาวถึง 185 ไมครอนและความกว้าง 10 ไมครอน (Figure 3E) ซึ่งเป็ นไมโครพลาสติกที่มี
ขนาดใหญ่ท่ีสดุ ในการศึกษานี ้ และในปูดาวพบไมโครพลาสติกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็ นแผ่นมีสีฟ้าเข้ม มีความ
ยาวเพี ยง 30 ไมครอนแต่มีความกว้างถึง 20 ไมครอน (Figure 3F) ซึ่งกว้างกว่าไมโครพลาสติกอื่น ๆ ที่ พบใน
การศึกษานี ้ (Figure 3) ขนาดสามารถระบุความเป็ นพิ ษของไมโครพลาสติก ยิ่งขนาดเล็กยิ่งดูดซับสารพิ ษใน
สิ่งแวดล้อมได้ดี (Auta et al., 2017; Lusher et al., 2017) สําหรับสีของไมโครพลาสติกที่พบในสัตว์ทะเลที่เป็ น
อาหารมีสีของไมโครพลาสติกแตกต่างกัน (Figure 2) โดยสีหลักที่ พบ คือ นํา้ เงิ น แดง และดํา คิดเป็ นร้อยละ
47.25, 27.95 และ 24 ของสี ท่ี พ บในสัต ว์ทะเลทั้ง หมดในการศึก ษานี ้ มี ร ายงานการศึก ษาที่ ชี ใ้ ห้เห็น ว่า การ
ปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกที่เป็ นแบบเส้นใยและมีสีสรรน่าจะมาจากการทิง้ เครื่องมือประมงที่ผุพัง และการ
เปลี่ยนอวนที่ใช้ทาํ ประมง และยังพบว่าพลาสติกที่มีอายุมากมักจะมีสีคลํา้ และมีแนวโน้มที่จะมีความเข้มข้นของ
สารพิษปนเปื ้อนในไมโครพลาสติกมากกว่าพลาสติกที่มีสีคลํา้ น้อยกว่าด้วย (De Witte et al., 2014)

401
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

Table 1 The number, type and size of microplastics in 25 marine animals used as seafood.
Groups Thai name Common name Scientific name Number of microplastic (particles/individual) Size
Fiber Film Fragment Total (microns)
Bivalve หอยเสียบ Wedge shell Donax faba 2.8±0.84 0.2±0.44 3.6±2.30 6.6±2.61a 28.5±27.13
หอยแมลงภู่ Mussel Perna viridis 2.8±0.84 0.2±0.45 2.2±1.64 4.8±2.17 abc 48.5±7.10
หอยกะพง Horse mussel Modiolus philippinarum 2.4±1.14 0.2±0.45 1.0±0.71 3.6±0.90 abc 29.5±5.21
หอยนางรม Oyster Saccostrea sp. 2.4±1.34 0.4±0.55 3.2±2.28 6.0±2.12 ab 55.83±39.71
หอยมุก Pearl oyster Pinctada sp. 2.2±1.30 0.2±0.45 1.8±2.17 4.2±2.49abc 35.1±27.04
Shrimp กุง้ กุลาลาย Green tiger shrimp Penaeus semisulcatus 1.4±0.55 0.6±0.89 1.7±1.48 3.7±1.64 abc 52.2±45.96
กุง้ กุลาดํา Black-tiger shrimp Penaeus monodon 2.0±0.71 0.4±0.55 1.4±1.95 3.8±2.49 abc 55.9±32.84
กุง้ เหลือง Blue tail shrimp Penaeus latisulcatus 1.0±1.0 0.4±0.55 1.6 ±1.14 3.0±1.87 abc 97.5±40.31
หางฟ้า
กุง้ ขาว Pacific Litopenaeus vannamei 1.6±1.14 0.4±0.55 1.6±1.52 3.6±2.60abc 31.85±20.21
White shrimp
กุง้ แชบ๊วย Banana shrimp Fenneropenaeus 2.4±2.07 0.2±0.45 0.8±1.10 3.4±1.14abc 27.33±15.69
merguiensis
Crab ปูมา้ Swimming crab Portunus pelagicus 1.0±1.0 0.2±0.45 1.6±2.07 2.8±3.03abc 91.66±80.98
ปูดาว Three-spot Portunus 1.0±0.71 0.4±0.89 1.0±1.22 2.4±2.07abc 35.1±14.14
crab sanguinolentus
ปูกางเขน Crucifix crab Charybdis feriatus 1.4±1.14 0 0.8±1.30 2.0±1.0bc 31.5±10.61
ปูกะตอยส้ม Yellowish Charybdis lucifera 1.8±0.45 0.2±0.45 0.4±0.89 2.6±1.51abc 33.2±20.49
brown crab
ปูทะเล Mud crab Scylla olivacea 2.0±0.71 0.2± 0.45 1.2±1.30 3.4±1.14abc 38.2±20.61

402
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

Table 1 (Continued)
Groups Thai name Common name Scientific name Number of microplastic (particles/individual) Size
Fiber Film Fragment Total (microns)
Cephalo หมึกกล้วย Squid Uroteuthis duvauceli 1.0±1.41 0.2±0.45 0 1.20±1.30c 42.5±10.61
pod หมึกกระดอง Cuttlefish Sepia aculeata 1.2±1.10 0.2±0.45 1.6±1.52 3.0±2.35abc 41.0±30.25
หมึกหอม Soft cuttlefish Sapiotethis lessoniana 0.4±0.55 0 0 0.4±0.44c 31.0±21.21
หมึกสาย Octopus Amphioctopus sp. 0.4±0.55 0 0.6±0.55 1.0±1.0c 33.66±27.20
หมึกสายขาว Marble octopus Amphioctopus aegina 0.6±1.34 0 0.6±0.55 1.2±1.09c 56.1±28.39
Fish ปลาทู Short mackerel Rastrelliger brachysoma 2.2±0.83 0 1.4±0.89 3.6±1.14abc 83.33±52.04
ปลาดอก Whipfin Gerres filamentosus 1.0±1.0 0 0 1.0±1.0c 17.2±2.82
หมาก silver-biddy
ปลาข้าวเม่า Red soldier Sargocentron rubrum 0.4±0.55 0.2±0.45 0.8±0.34 1.4±1.14c 19.0±13.52
นํา้ ลึก
ปลาหมูสี Pink ear emperor Lethrinus lentjan 1.4±1.14 0.2±0.45 0.4±0.89 2.0±1.41bc 20.0±21.21
ปลาสลิด Streak Siganus javus 1.0±1.0 0.2±0.45 0.6±0.89 1.8±2.16bc 25.0±11.25
หินแขก spinefoot

403
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

3
2.5 Blue Red

number of microplastic
(particles/individual)
2
1.5
1
0.5
0

Film
Film
Film
Film
Film

Fragment
Fragment
Fragment
Fragment

Fiber
Fragment

Fiber
Fiber
Fiber
Fiber

Bivalve Shrimp Crab Cephalopod Fish


Figure 2 The number of microplastic in 3 different forms and colors of microplastics found in 5 group of
marine animals used as seafood (scale 10 µm).

A B C D E

F G H I J
Figure 3 Type, size and color of microplastic in some marine animals used as seafood
A. Donax faba fragment, 8µ, red; B. Saccostrea sp. Fiber, 85µ, black; C. Penaeus monodon fiber, 27µ,
red; D. Litopenaeus vannamei fiber, 27µ, blue; E. Portunus pelagicus film, 185µ, blue; F. Portunus
sanguinolentus film, 25µ, blue; G. Uroteuthis duvauceli fiber, 50µ, black; H. Sepia aculeata fragment,
22µ, blue; I. Rastrelliger brachysoma fiber, 120µ, black; J. Sargocentron rubrum fiber, 42µ, blue.
ในการศึกษานีไ้ ด้ทาํ การสุม่ ไมโครพลาสติกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันมาศึกษา
ประเภทของโพลีเมอร์ พบโพลีเมอร์หลากหลายประเภทในสัตว์ทะเลที่ใช้เป็ นอาหาร เช่น ไมโครพลาสติกที่พบในหอย
เสี ย บส่วนใหญ่ เป็ น โพลี เมอร์ป ระเภท polyethylene ในปูท ะเลเป็ น ประเภท polyester เช่ น เดี ย วกับ ที่ พ บในหมึก
กระดอง ส่วนในปูมา้ เป็ นประเภท nylon และที่น่าสนใจคือไมโครพลาสติกขนาดใหญ่ท่ีพบในปูมา้ (Figure 3E) พบ
สารเติ ม แต่ ง ประเภท Odyssey ซึ่ ง เป็ น สารชนิ ด 2,2-(1,2-Ethenediyldi-4,1-phenylene) bisbenzoxazole ที่ ท ํา
หน้าที่ เป็ น optical brightener ที่ มักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิ ตพลาสติก (SpecialChem, 2019) ซึ่งผลการศึก ษา
ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านอกจากตัวโพลีเมอร์ของพลาสติกที่เป็ นพิษแล้ว ยังมีสารเติมแต่งอีกมากมายที่อยู่ในไมโครพ
ลาสติกและอาจทําให้ความเป็ นพิษของไมโครพลาสติกเพิ่มมากขึน้ อีก ในปูดาวซึง่ พบไมโครพลาสติกสีฟ้าเข้มมีขนาด
ใหญ่ (Figure 3F) ก็พบโพลีเมอร์ท่ีแตกต่างจากไมโครพลาสติกอื่น คือ ประเภท polypropylene waxes และในปลาทู
เป็ นประเภท nylon ประเภทของโพลีเมอร์ท่ีหลากหลาย แสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาของไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลที่
เป็ นอาหารมาจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งมีรายงานการศึกษาว่ากุง้ กุลาดําในประเทศบังคลาเทศ พบไม
โครพลาสติกประเภท polyamide และ rayon (Hossain et al., 2019) ส่วนในปู Carcinus aestuarii ส่วนใหญ่เป็ นโพ
ลีเมอร์ประเภท polyester (Piarulli et al., 2019) และในรายงานการศึกษาไมโครพลาสติกในหอยนางรม จ.ชลบุรี

404
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

พบว่าส่วนใหญ่เป็ นประเภท polyamide และ nylon ซึง่ น่าจะมาจากเครื่องมือประมง ส่วนตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณที่


มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วมากจะพบประเภท polyethylene และ polystyrene ซึ่ ง น่ า จะมาจากคนขายอาหารทะเลและ
นักท่องเที่ยว และรายงานการศึกษาดังกล่าวได้สรุ ปว่าประเภทของพลาสติกที่พบปนเปื ้อนในสัตว์ทะเลมีความผันแปร
ขึน้ กับชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งท่องเที่ยว แหล่งประมง การท่วมถึงของนํา้ และคลื่นลม (Thushari et al., 2017) และมี
รายงานสรุ ปว่าความเป็ นพิษของไมโคร พลาสติกที่มีต่อมนุษย์จะขึน้ อยู่กบั ปริมาณไมโครพลาสติก ประเภทของโพลี
เมอร์ ขนาด คุณสมบัติทางเคมีของพืน้ ผิว และ ความสามารถในการละลายในไขมัน (Smith et al., 2018)

สรุ ป
ไมโครพลาสติกพบปนเปื ้อนในสัตว์ทะเลที่คนไทยบริโภคเป็ นอาหารทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็ นหอย กุง้ ปู หมึก และ
ปลา โดยกลุม่ หอยพบการปนเปื ้อนมากที่สดุ และเป็ นกลุม่ ที่ควรเฝ้าระวังมากที่สดุ เนื่องจากลักษณะการบริโภคหอยที่
มักจะบริโภคทัง้ ตัว ทําให้มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของผูบ้ ริโภค ในขณะที่กลุ่มสัตว์อ่ืนๆ ก็พบไมโครพลาสติก โดย
กลุ่มกุง้ และปูมีปริมาณใกล้เคียงกัน และกลุ่มปลาและหมึกมีปริมาณไมโครพลาสติกน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ การบริโภค
อาหารทะเลจึงเป็ นเส้นทางหลักโดยตรงที่ทาํ ให้เกิดการปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกในมนุษย์ ทัง้ นีค้ วามเป็ นพิษของ
ไมโครพลาสติกที่มีต่อมนุษย์เป็ นหัวข้อสําคัญที่งานวิจยั ทางด้านไมโครพลาสติกที่กาํ ลังทําการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ขึน้ อย่างไรก็ตามจําเป็ นจะต้องมีขอ้ มูลพืน้ ฐานของการปนเปื ้อนของไมโคร พลาสติกในสัตว์ทะเลในพืน้ ที่นนั้ ๆ รวมทัง้
การเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อมูลไมโครพลาสติกมีความผันแปรสูงมาก

เอกสารอ้างอิง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง. 2562. ฐานข้อมูลขยะทะเล. แหล่งที่มา: http://tcc.dmcr.go.th/
thaicoastalcleanup / publicRelations/ content/38, 10 พฤศจิกายน 2562.
ปิ ติพงษ์ ธาระมนต์ , สุหทัย ไพรสานฑ์กลุ และ นภาพร เลียดประถม. 2559. การปนเปื ้อนของไมโครพลาสติกใน
หอยสองฝาบริเวณชายหาดเจ้าหลาว และชายหาดคุง้ วิมาน จังหวัดจันทบุร.ี แก่นเกษตร 44 (1) (พิเศษ) :
738-744.
ศุภ พร เปรมปรี ดิ์ , เสาวลัก ษณ์ ขาวแสง และ ณั ฐ ธิ ด า ธรรมกิ ร ติ . 2561. การศึก ษาไมโครพลาสติ ก ในปลาทู
Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) บริเวณอุทยานหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง, น. 880-887.
ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยบูรพา,
ชลบุรี.
Auta, H.S., C.U. Emenike and S.H. Fauziah. 2017. Distribution and importance of microplastics in the
marine environment: a review of the sources, fate, effcts, and potential solutions. Environment
International 102: 165–176.
Barboza, L.G.A., A.D. Vethaak, B.R.B.O. Lavorante, A. Lundebye and L. Guilhermino. 2018.
Marine microplastic debris: An emerging issue for food security, food safety and human health.
Marine Pollution Bulletin 133: 336-348.
Cole, M., P. Lindequea, C. Halsbandb, and T.S. Galloway. 2011. Microplastics as contaminants in
the marine environment: A review. Marine Pollution Bulletin 62 (12): 2588-2597.
Dehaut, A., A. Cassone, L. Frère, L. Hermabessiere, C. Himber, E. Rinnert, G. Riviere, C. Lambert, P.
Soudant, A. Huvet, G. Duflos and I. Paul-Pont. 2016. Microplastics in seafood: Benchmark
protocol for their extraction and characterization. Environmental Pollution 215: 223-233.
Devriese, L.I., M.D. van der Meulen, T. Maes, K. Bekaert, I. Paul-Pont, L. Frère, J. Robbens and A.D.
Vethaak. 2015. Microplastic contamination in brown shrimp (Crangon crangon, Linnaeus 1758)

405
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

from coastal waters of the Southern North Sea and Channel area. Marine Pollution Bulletin 98 (1-
2): 179-187.
De Witte, B., L. Devriese, K. Bekaert, S. Hoffman, G. Vandermeersch, K. Cooreman and J. Robbens.
2014. Quality assessment of the blue mussel (Mytilus edulis): comparison between commercial
and wild types. Marine Pollution Bulletin 85: 146–155.
GESAMP. 2015. Sources, fate and effects of microplastics in the marine environment: a global
assessment. Kershaw, P.J. ed. (IMO/FAO/ UNESCO-IOC/UNIDO/WMO/IAEA/UN/UNEP/UNDP
Joint Group of Experts on the Scientific Aspects of Marine Environmental Protection). Rep. Stud.
GESAMP No. 90, 96 p.
Hantoro, I., A.J. Löhr, F.G.A.J. Van Belleghem, B. Widianarko. and A.M.J. Ragas. 2019. Microplastics in
coastal areas and seafood: implications for food safety. Food Additives & Contaminants: Part A
36 (5). Available Source: https://doi.org/10.1080/19440049.2019.1585581
Hossain, M.S, M.S. Rahman, M.N. Uddin, S.M. Sharifuzzaman, S.R. Chowdhury, S. Sarker and M.S.
Chowdhury. 2019. Microplastic contamination in Penaeid shrimp from the Northern Bay of
Bengal. Chemosphere 238: 1-9. Available Source:
https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2019.124688
Jambeck, J.R., R. Geyer, C. Wilcox, T.R. Siegler, M. Perryman, A. Andrady, R. Narayan and K.L. Law.
2015. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science 347 (6223): 768-771.
Kühn,S., B. Werven, A. Oyen, A. Meijboom, E.L. Bravo Rebolledo and , J.A. van Franeker. 2017. The use
of potassium hydroxide (KOH) solution as a suitable approach to isolate plastics ingested by
marine organisms. Marine Pollution Bulletin 115(1–2): 86-90.
Li, J., X. Qu, L. Su, W. Zhang, D. Yang, P. Kolandhasamy, D. Li and H. Shi. 2016. Microplastics in
mussels along the coastal waters of China. Environment Pollution 214: 177-184.
Lusher, A.L., P.C.H. Hollman and J.J. Mendoza-Hill. 2017. Microplastics in fisheries and aquaculture:
status of knowledge on their occurrence and implications for aquatic organisms and food safety.
FAO Fisheries and Aquaculture Technical Paper. No. 615. Rome, Italy.
Mathalon, A. and P. Hill. 2014. Microplastic fibers in the intertidal ecosystem surrounding
Halifax Harbor, Nova Scotia. Marine Pollution Bulletin 81: 69–79.
Piarulli, S., S. Scapinello, P. Comandini, K. Magnusson, M. Granberg, J.X.W. Wong, G. Sciutto, S. Prati, R.
Mazzeo, A.M. Booth and L. Airoldi. 2019. Microplastic in wild populations of the omnivorous
crab Carcinus aestuarii: A review and a regional-scale test of extraction methods, including
microfibres. Environmental Pollution 251: 117-127.
Setala, O., M. Lehniemi, R. Coppock and M. Cole. 2018. Microplastics in marine food webs. Microplastic
Contamination in Aquatic Environments: 339-363.
Smith M., D.C. Love, C.M. Rochman and R.A. Nef. 2018. Microplastics in Seafood and the mplications
for Human Health. Current Environmental Health Reports 5 (3): 375–386.
Special chem. 2019. Odyssey OB-1 (CI 393). Available Source: https://polymer-
additives.specialchem.com /product/a-beijing-odyssey-chemicals-odyssey-ob-1-ci-393, 29
December 2019
Thushari, G.G.N., J.D.M. Senevirathna, A. Yakupitiyage and S. Chavanich. 2017. Effects of

406
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครัง้ ที่ 58 สาขาประมง

microplastics on sessile invertebrates in the eastern coast of Thailand: An approach to coastal


zone conservation. Marine Pollution Bulletin 124 (1): 349-355.
UNEP. 2016. Marine Plastic Debris and Microplastics – Global Lessons and Research to Inspire Action
and Guide Policy Change. United Nations Environment Programme, Nairobi.
Wang, W., H. Gao, S. Jin, R. Li and G. Na. 2019. The ecotoxicological effects of microplastics on
aquatic food web, from primary producer to human: A review. Ecotoxicology and Environmental
Safety 173: 110-117.

407

You might also like