WWW - Diw.go - TH Http://www2.diw - Go.th/iwmb/index - Asp

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 21

ลักษณะกากอุตสาหกรรมและว�ธีกำจัดของโรงงาน

ลำดับที่ 102
โรงงานลำดับที่ 102 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หมายถึง
โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิต และหรือจำหนายไอน้ำ (Steam Generating)

สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม
75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
02 202 4000 และ 3967 02 354 3390
www.diw.go.th ; http://www2.diw.go.th/iwmb/index.asp
ลักษณะกากอุตสาหกรรม
และวิธีก�ำจัดของโรงงาน

ล�ำดับที่ 102
ค�ำน�ำ
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบ Roadmap
การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย โดยก�ำหนดให้ กระทรวงอุตสาหกรรมจัดท�ำมาตรการเพื่อ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบทิง้ กากอุตสาหกรรมอันตรายและส่งเสริมการก่อสร้างโรงงานบ�ำบัด/
ก�ำจัด/รีไซเคิล เพิ่มเติม ประกอบกับการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 คณะรัฐมนตรี
มีมติเห็นชอบ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่ ง แวดล้ อ มเสนอ เพื่ อ สนองนโยบายรั ฐ บาลดั ง กล่ า ว กระทรวงอุ ต สาหกรรม จึ ง ได้ ม อบหมาย
ให้ ก รมโรงงานอุ ต สาหกรรม จั ด ท� ำ แผนการจั ด การกากอุ ต สาหกรรม พ.ศ. 2558-2562 เสนอต่ อ
คณะรัฐมนตรี และได้ใช้เป็นกรอบนโยบายการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลต่อแผนปฏิบัติ
งานและงบประมาณของกระทรวงอุตสาหกรรมในระยะ 5 ปี ตลอดจนจะมีผลต่อเนื่องถึงการพัฒนา
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าสูร่ ะบบการจัดการ
กากอุตสาหกรรม และมีกากอุตสาหกรรมทั้งอันตรายและไม่อันตรายได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การควบคุม/ก�ำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมาย
(2) การสร้างความร่วมมือและแรงจูงใจ (3) การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ
(4) การแก้ไข ปรับปรุง กฎระเบียบ กฎหมายที่เป็นอุปสรรค

เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินการดังกล่าว กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและติดตาม


การต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกากอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำ ผู้ประกอบการ
ที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับกากอุตสาหกรรม โดยมอบหมายให้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันด�ำเนินการ

โดยเอกสารลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดส�ำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานตามประเภทอุตสาหกรรมนี้
เป็นการประมวลผลจากการอนุญาตด้านกากอุตสาหกรรมที่ผ่านมาของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเป็น
แนวทางเริ่มต้นให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม ได้มีความรู้
ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

กรมโรงงานอุ ต สาหกรรมขอขอบคุ ณ ผู ้ ป ระกอบกิ จ การโรงงานทุ ก แห่ ง ที่ เข้ า ใจถึ ง ความส� ำ คั ญ ของ
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้ร่วมกันรักษาและส่งมอบประเทศไทยที่น่าอยู่ให้กับ
ลูกหลานของเราในอนาคต และร่วมพัฒนาประเทศไปอย่างยั่งยืนด้วยกัน
สารบัญ
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102 4
1. ประเภทโรงงาน 5
2. นิยาม 6
3. หน้าที่ของผู้ก่อก�ำเนิด 7
4. ขั้นตอนการด�ำเนินการกากอุตสาหกรรม 8
5. ตัวอย่างกากอุตสาหกรรมที่ส�ำคัญของโรงงานล�ำดับที่ 102 12
6. กากอุตสาหกรรมที่เคยมีการอนุญาต ส�ำหรับโรงงานล�ำดับที่ 102
• หมวดที่ 1-12 กากอุตสาหกรรมจากกระบวนการผลิตหลัก 13
• หมวดที่ 13-19 กากอุตสาหกรรมจากกระบวนการสนับสนุน 14
7. ข้อพึงปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการจัดเก็บกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตราย 15

เอกสารอ้างอิง 17
ช่องทางการติดต่อศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงาน 18
ที่ขาดการจัดการกากอุตสาหกรรม
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน
ล�ำดับที่ 102

ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดส�ำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานตามประเภทโรงงานนี้ จัดท�ำขึ้น
ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานที่ขาดการจัดการกากอุตสาหกรรม
ปี พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบถึงหน้าที่ของผู้ก่อก�ำเนิด
ตามกฎหมาย และทราบถึงรายการกากอุตสาหกรรมที่อาจพบได้ในแต่ละประเภทโรงงาน รวมทั้ง
แนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรม โดยอาศัยฐานข้อมูลจากการอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2558 เป็นหลัก ทั้งในส่วนของกากอุตสาหกรรมจากกระบวนการผลิตหลักและ
กระบวนการสนับสนุนการผลิต ทั้งนี้ในส่วนกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตรายจะมีข้อมูลลักษณะ
ความเป็นอันตราย และข้อพึงปฏิบัติด้านความปลอดภัยเบื้องต้นเมื่อผู้ประกอบการต้องปฏิบัติงานกับ
กากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตรายแต่ละลักษณะเป็นข้อมูลเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ส�ำหรับผูท้ ยี่ งั ไม่เคยเข้าสูร่ ะบบขออนุญาตจัดการกากอุตสาหกรรมตามกฎหมาย และต้องการ


ค�ำแนะน�ำจากศูนย์ช่วยเหลือฯ ในการเตรียมความพร้อมของข้อมูลกากอุตสาหกรรมของโรงงานก่อน
การยืน่ ขออนุญาตจัดการกากอุตสาหกรรม สามารถติดต่อได้ทศี่ นู ย์ชว่ ยเหลือฯ ทีอ่ ยูใ่ กล้ทา่ น (รายละเอียด
ที่ www.facwaste.com) และในเว็บไซต์ของศูนย์ช่วยเหลือฯ มีเครื่องมือช่วยเหลือในรูปแบบ Smart-
form ที่สามารถช่วยระบุรหัสของเสีย และวิธีบ�ำบัด/ก�ำจัดที่เคยได้รับอนุญาต รายชื่อผู้รับบ�ำบัด/ก�ำจัด
กากอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสามารถส่งข้อมูลด้านเทคนิค
ที่ต้องแนบประกอบการขออนุญาตมายังศูนย์ช่วยเหลือฯ เพื่อให้ค�ำแนะน�ำเบื้องต้นได้

4ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102


1. ประเภทโรงงาน
โรงงานล�ำดับที่ 102 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หมายถึง
โรงงานประกอบกิจการเกีย่ วกับการผลิต และหรือจ�ำหน่ายไอน�ำ้ (Steam
Generating)

5
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
2. นิยาม
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือ กากอุตสาหกรรม
หมายถึง สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสีย
จากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน�้ำทิ้งที่มี
องค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย
ของเสียอันตราย หมายถึง กากอุตสาหกรรม หรือสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือ
ปนเปื้อนสารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย ตามที่ก�ำหนดในภาคผนวกที่ 2 ท้ายประกาศ
กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
การจัดการกากอุตสาหกรรม หมายถึง ทําลายฤทธิ์ กําจัด นํากลับไปใช้ประโยชน์ จัดการ หรือฝังโดย
วิธีการและในสถานที่เฉพาะ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อท�ำการดังกล่าว ตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง
ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ผู้ก่อก�ำเนิด หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิดและมีกากอุตสาหกรรมไว้ในครอบครอง
ผู้รวบรวมและขนส่ง หมายถึง ผู้มีกากอุตสาหกรรมไว้ในครอบครองเพื่อการขนส่ง และผู้มีไว้
ในครอบครองกากอุตสาหกรรมในสถานที่เก็บรวบรวม หรือขนส่งกากอุตสาหกรรม ตามประกาศ
กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
ผูบ้ ำ� บัดและก�ำจัด หมายถึง ผูป้ ระกอบกิจการโรงงานทีม่ กี ากอุตสาหกรรมไว้ในครอบครอง ตามประกาศ
กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงาน
ประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบกากอุตสาหกรรม ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน
ล�ำดับที่ 105
ใบก�ำกับการขนส่ง หมายถึง เอกสารก�ำกับของเสียระหว่างการเคลื่อนย้าย ขนส่ง หรือแบบก�ำกับ
การขนส่ง 02 ตามแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่ง
ของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การแจ้งข้อมูลการขนส่งกากอุตสาหกรรมตามประกาศ
กระทรวงอุ ต สาหกรรม เรื่ อ ง หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารแจ้ ง รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ สิ่ ง ปฏิ กู ล หรื อ วั ส ดุ
ที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานโดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547

6ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102


3. หน้าที่ของผู้ก่อก�ำเนิด
ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น
กระทรวงอุตสาหกรรมก�ำหนดวิธีการด�ำเนินการ ดังนี้
3.1 ผู้ก่อก�ำเนิดต้องไม่ครอบครองกากอุตสาหกรรมภายในโรงงานเกินเวลา 90 วัน หากเกิน 90 วัน
ต้องยื่นขออนุญาตตามแบบ สก.1 (แบบขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้
แล้วในบริเวณโรงงาน) ในกรณีที่ครอบครองกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตราย ให้ปฏิบัติ
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
3.2 ผู้ก่อก�ำเนิดต้องไม่น�ำกากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี
กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผูท้ อี่ ธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมมอบหมาย หากผูก้ อ่ ก�ำเนิดต้องการ
น�ำกากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงาน ต้องยื่นขออนุญาต ตามแบบ สก.2 (แบบค�ำขอ
อนุญาตน�ำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ
ยื่นทางเอกสารด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์มายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม
3.3 กรณีผู้ก่อก�ำเนิดท�ำการบ�ำบัดหรือก�ำจัดกากอุตสาหกรรมเองภายในบริเวณโรงงาน ต้องขอ
ความเห็ น ชอบต่ อ อธิ บ ดี ก รมโรงงานอุ ต สาหกรรม หรื อ ผู ้ ที่ อ ธิ บ ดี ก รมโรงงานอุ ต สาหกรรม
มอบหมาย โดยยื่นทางเอกสารด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์มายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม
3.4 ผู้ก่อก�ำเนิดต้องรายงานการขนส่งกากอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นของเสียอันตรายและไม่เป็นของเสีย
อันตรายทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่เป็นของเสียอันตราย เมื่อมีการน�ำออกนอกบริเวณโรงงาน
ต้องมีใบก�ำกับการขนส่ง (Waste Manifest) ทุกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ก่อก�ำเนิดกากอุตสาหกรรมที่เป็น
ของเสียอันตราย ต้องขอเลขประจ�ำตัว 13 หลักจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการ
ด�ำเนินการเกี่ยวกับการขนส่ง
3.5 ผู้ก่อก�ำเนิดที่ได้รับการอนุญาตตามแบบ สก.1 และ สก.2 ต้องส่งรายงานประจ�ำปีตามแบบ สก.3
(ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ส�ำหรับผู้ก่อก�ำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ
ที่ไม่ใช้แล้ว) ส่วนผู้ก่อก�ำเนิดที่ได้รับความเห็นชอบให้มีการก�ำจัดและบ�ำบัดเองภายในโรงงาน
ต้องส่งรายงานประจ�ำปีตามแบบ สก.5 (ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ส�ำหรับผู้บ�ำบัดและก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว) ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป (ข้อมูล
ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีที่ผ่านมา)

7
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
3.6 กรณีที่ผู้ก่อก�ำเนิดประสงค์จะน�ำกากอุตสาหกรรมไปบ�ำบัด/ก�ำจัด ภายนอกโรงงาน ภาระ-
ความรับผิด (Liability) ตามกฎหมาย จะสิ้นสุดเมื่อ กากอุตสาหกรรมที่น�ำออกนอกโรงงาน
เพื่ อ บ� ำ บั ด /ก� ำ จั ด ไปถึ ง โรงงานของผู ้ รั บ บ� ำ บั ด /ก� ำ จั ด และผู ้ รั บ บ� ำ บั ด /ก� ำ จั ด ลงนามรั บ รอง
ในใบก�ำกับการขนส่งแล้ว
3.7 โรงงานบางประเภทต้องมีผคู้ วบคุมดูแลระบบป้องกันสิง่ แวดล้อมทีม่ คี วามรูเ้ ฉพาะด้านตามประกาศ
กระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง การก�ำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน ก�ำหนดวิธกี ารควบคุมการปล่อย
ของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก�ำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล
ผู้ปฏิบัติงานประจ�ำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแล ส�ำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษ พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
3.8 ผูก้ อ่ ก�ำเนิดต้องจัดท�ำแผนการป้องกันอุบตั ภิ ยั เพือ่ รองรับเหตุฉกุ เฉินในกรณีเกิดเหตุรวั่ ไหล อัคคีภยั
การระเบิดของกากอุตสาหกรรมที่คาดไม่ถึง
3.9 กรณีทมี่ กี ารน�ำเข้ากากอุตสาหกรรมจากต่างประเทศมาเป็นวัตถุดบิ ภายในโรงงาน หรือมีการส่งออก
กากอุตสาหกรรมไปจัดการยังต่างประเทศ ต้องปฏิบตั ติ าม พรบ.วัตถุอนั ตราย พ.ศ. 2535 อนุสญ ั ญา
บาเซล และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อน

4. ขั้นตอนการด�ำเนินการกากอุตสาหกรรม
ในการปฏิบัติตามกฎหมายกากอุตสาหกรรม ผู้ก่อก�ำเนิดจะต้องทราบว่า มีกากอุตสาหกรรมอะไรบ้าง
ในโรงงาน ระบุรหัสของเสีย พร้อมทั้งวิธีการจัดการ และรหัสก�ำจัด
การพิจารณาว่ามีกากอุตสาหกรรมอะไรเกิดขึ้นภายในโรงงานบ้าง อาจจะพิจารณาแยกตามลักษณะ
กระบวนการ เช่น การเตรียมวัตถุดิบ การผลิต การตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น

8ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102


ตัวอย่างกากอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตจากแต่ละแหล่ง/กิจกรรมภายในโรงงาน

แหล่ง/กิจกรรม ตัวอย่างกากอุตสาหกรรม
รับวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบเสื่อมสภาพ ไม้พาเลท/ไม้ตีลัง ภาชนะปนเปื้อน
การผลิต เศษเหลือใช้/ น�้ำยาชุบโลหะ กากชานอ้อย ตะกรันหลอม
เศษตัด ใช้แล้ว
ตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ สารเคมีใช้แล้ว อุปกรณ์ตรวจสอบ ของเสียจากการ
ไม่ได้มาตรฐาน จากห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบ
การบ�ำบัดมลพิษ กากตะกอน เถ้า/ฝุ่นกรอง/เขม่า ถุงกรอง ยิปซั่มเทียมจาก
การก�ำจัดซัลเฟอร์
การซ่อมบ�ำรุง น�้ำมันหล่อลื่น แบตเตอรี่รถยนต์ เศษชิ้นส่วน วัตถุดิบผลิตภัณฑ์
ที่ใช้แล้ว อุปกรณ์เครื่องจักร ค้างท่อ
การรื้อถอนอาคาร เศษซากอาคาร เศษโลหะโครงสร้าง ฉนวนกันความร้อน แอสฟัลท์
เช่น คอนกรีต
ส�ำนักงาน/ เฉพาะของเสียอันตรายที่เกิดจากส�ำนักงาน/บ้านพักคนงาน/โรงอาหาร ที่อยู่ภายในบริเวณ
ที่พักคนงาน โรงงาน เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ตลับหมึก ถ่านไฟฉาย เป็นต้น

ส�ำหรับการพิจารณาก�ำหนดรหัสของเสีย และวิธีการก�ำจัดดูรายละเอียดได้ในประกาศกระทรวง
อุ ต สาหกรรมเรื่ อ ง การก� ำ จั ด สิ่ ง ปฏิ กู ล หรื อ วั ส ดุ ที่ ไ ม่ ใช้ แ ล้ ว พ.ศ. 2548 ในภาคผนวก 1 และ
ภาคผนวก 4 ตามล�ำดับ

รหัสของเสีย ประกอบด้วยเลขหกหลัก โดยเลขสองหลักแรก (หมวด) แสดงประเภทของ


การประกอบกิจการ หรือชนิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สองหลักกลาง (หมู่) แสดง
กระบวนการเฉพาะที่ท�ำให้เกิดของเสีย หรือชนิด และสองหลักสุดท้าย (หมู่ย่อย) แสดงลักษณะ
เฉพาะของของเสีย

รหัสวิธีก�ำจัด ประกอบด้วยเลขสามหลัก

9
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
เมื่อพิจารณาได้ว่ามีกากอุตสาหกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง และจะจัดการอย่างไร จะต้องด�ำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต/ขอความเห็นชอบในการจัดการกากอุตสาหกรรม
ผู้ก่อก�ำเนิด สามารถด�ำเนินการจัดการกับกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นได้ 3 วิธี ได้แก่
1. กรณีเก็บกากอุตสาหกรรมเกิน 90 วัน จะต้องยื่นขออนุญาตตามแบบ สก. 1
2. กรณีบ�ำบัด/ก�ำจัดเองภายในโรงงาน จะต้องยื่นขอความเห็นชอบ
3. กรณีส่งออกไปบ�ำบัด/ก�ำจัดภายนอกโรงงาน จะต้องยื่นขออนุญาตตามแบบ สก. 2
ขั้นตอนที่ 2 การขนส่งกากอุตสาหกรรม (เฉพาะกรณีที่นำ�ไปบำ�บัด/กำ�จัดภายนอกโรงงาน)
เมื่อได้รับอนุญาต สก.2 แล้ว ทุกครั้งที่จะมีการน�ำกากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงานไม่ว่าจะเป็น
ของเสียอันตรายหรือไม่ จะต้องรายงานการขนส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ และหากเป็นของเสียอันตรายจะต้อง
ใช้ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่งด้วย ดังนี้
1. ผู้ก่อก�ำเนิดต้องเป็นผู้จัดท�ำใบก�ำกับการขนส่งของเสียอันตราย ตามแบบก�ำกับการขนส่ง 02 จ�ำนวน
6 ฉบับ (ต้นฉบับ 1 ฉบับ และคู่ฉบับ 5 ฉบับ) พร้อมทั้งกรอกข้อมูลในส่วนที่ 1 และลงลายมือชื่อก่อน
ส่งมอบให้ผู้ขนส่ง
2. ผู้ขนส่งกรอกข้อมูลในส่วนที่ 2 พร้อมลงลายมือชื่อรับรองแล้วคืนใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 2 และ
ฉบับที่ 3 ให้ผู้ก่อก�ำเนิด และน�ำใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 1 ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 5 และฉบับที่ 6 ติดไป
กับรถที่ขนส่งของเสียนั้น
3. ผู้ก่อก�ำเนิดส่งใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 3 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งมอบ
ของเสียให้ผู้ขนส่ง
4. ผูร้ บั บ�ำบัด/ก�ำจัดกรอกข้อมูลในส่วนที่ 3 ลงลายมือชือ่ รับรองว่าได้รบั ของเสียแล้ว คืนใบก�ำกับการขนส่ง
ฉบับที่ 4 ให้ผู้ขนส่ง เก็บใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 5 ไว้ ส่งใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 6 ให้ผู้ก่อก�ำเนิด
และส่งใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 1 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 15 วัน นับแต่วันรับมอบของเสีย
5. ผู้ก่อก�ำเนิดเก็บใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 2 และฉบับที่ 6 ไว้เพื่อการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ปี
หมายเหตุ ในภาพรวม
1. กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะได้รบั ใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 3 (จากผูก้ อ่ ก�ำเนิด) และฉบับที่ 1 (จากผูร้ บั บ�ำบัด/ก�ำจัด)
ตามล�ำดับ ไว้ตรวจสอบ
2. ผูก้ อ่ ก�ำเนิดจะได้รบั ใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 2 (จากผูข้ นส่ง) และฉบับที่ 6 (จากผูร้ บั บ�ำบัด/ก�ำจัด) ตามล�ำดับ ไว้ตรวจสอบ
3. ผูข้ นส่งจะได้รบั ใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 4 (จากผูร้ บั บ�ำบัด/ก�ำจัด) ไว้ตรวจสอบ
4. ผูร้ บั บ�ำบัด/ก�ำจัด จะเก็บใบก�ำกับการขนส่งฉบับที่ 5 ไว้ตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 3 การจัดท�ำรายงานประจ�ำปี
ผูก้ อ่ ก�ำเนิดจะต้องจัดท�ำรายงานการจัดการกากอุตสาหกรรม ทัง้ ทีเ่ ป็นของเสียอันตราย และทีไ่ ม่เป็นอันตราย
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยจะต้องส่งภายในวันที่ 1 มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งสามารถจัดส่งรายงานประจ�ำปีได้
ทั้งทางเอกสารและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแบบฟอร์ม สก. 3
ส�ำหรับผูก้ อ่ ก�ำเนิดทีไ่ ด้รบั ความเห็นชอบให้บำ� บัด/ก�ำจัดกากอุตสาหกรรมภายในโรงงาน จะต้องจัดท�ำรายงาน
ตามแบบฟอร์ม สก. 5 ด้วย
10
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
11
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
5. ตัวอย่างกากอุตสาหกรรมที่ส�ำคัญของโรงงานล�ำดับที่ 102

เถ้าหนัก ตะกรัน และฝุ่นจากหม้อน�้ำที่ไม่ใช่ 10 01 04


(ที่มา http://www.neutron.rmutphysics.com)

โดยทั่วไป กากอุตสาหกรรมของแต่ละโรงงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ


1. กากอุตสาหกรรมจากกระบวนการผลิตหลัก ส�ำหรับโรงงานล�ำดับที่ 102 จะเป็นกากอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับกระบวนการใช้ความร้อน ซึ่งอยู่ในหมวด 10
2. กากอุ ต สาหกรรมจากกระบวนการสนั บ สนุ น เช่ น หากมี ก ารใช้ ง านบรรจุ ภั ณ ฑ์ วั ส ดุ ดู ด ซั บ
ผ้าส�ำหรับเช็ด วัสดุตัวกรอง และชุดป้องกัน จะพบกากอุตสาหกรรมในหมวด 15
3. กากอุตสาหกรรมอันตรายที่เกิดจากส�ำนักงาน บ้านพักอาศัย โรงอาหารที่อยู่ภายในบริเวณโรงงาน

รหัสของเสีย และวิธีการจัดการตามตารางในข้อ 6 อ้างอิงจากข้อมูลการอนุญาตน�ำกากอุตสาหกรรม


ออกไปบ�ำบัด/ก�ำจัด (สก.2) ที่เป็นข้อมูลการอนุญาตในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559
โดยน�ำรหัสของเสียที่มีผู้ขออนุญาตมามากกว่าหนึ่งโรงงาน ร่วมกับข้อมูลหลักเกณฑ์ประกอบการ
พิจารณาน�ำสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ในกรณีที่ยังไม่มีโรงงานขออนุญาตมาก่อน หรือมีจ�ำนวนน้อยรายจึงเทียบเคียงกับวิธีการจัดการที่มี
ความเป็นไปได้จากโรงงานล�ำดับอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางเริ่มต้นให้กับโรงงานอื่นๆ
ที่มีประเภทการผลิตใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โรงงานแต่ละแห่งอาจมีกากอุตสาหกรรมแตกต่างไปจาก
รายการเหล่านี้ หรือมีวิธีการจัดการอื่นๆ ที่เป็นไปได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเทคนิคและ
ด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะของแต่ละกรณี

12
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
6. กากอุตสาหกรรมที่เคยมีการอนุญาตส�ำหรับโรงงานล�ำดับที่ 102
หมายถึง ลักษณะและคุณสมบัติที่เป็นของเสียอันตรายตามประกาศกระทรวงฯ ปี พ.ศ. 2548
หมายถึง ลักษณะและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับของเสียในรหัสนั้น
* หมายถึง วิธีอื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้

รหัสของเสีย ลักษณะของ วิธีการจัดการที่เคยมี หมายเหตุ


กากอุตสาหกรรม การอนุญาตในปี พ.ศ. 2558
10 01 01 เถ้าหนัก ตะกรัน และ - เป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผา -
ฝุน่ จากหม้อไอน�ำ้ ทีไ่ ม่ใช่ ปูนซีเมนต์ (044)
10 01 04 เช่น - ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล เฉพาะ
เถ้าชีวมวล (ของเสีย สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
จากการผลิตไฟฟ้าและ ที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น
โรงงานทีม่ ีกระบวนการ (071)
เผาไหม้ (ทีไ่ ม่ใช่ของเสีย
รหัส 19))
10 01 02 HM เถ้าลอยจากการเผาไหม้ - เป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผา ลักษณะและคุณสมบัติ
ถ่านหิน (ของเสียจาก ปูนซีเมนต์ (044) ที่อาจจะเป็นของเสียอันตราย
การผลิ ต ไฟฟ้ า และ ของเสียประเภทสารไวไฟ
โรงงานทีม่ ีกระบวนการ ของเสียประเภทสารกัดกร่อน
เผาไหม้ (ทีไ่ ม่ใช่ของเสีย ของเสียประเภทสารที่เกิด
รหัส 19)) ปฏิกิริยาได้ง่าย
ของเสียประเภทสารพิษ
ทดสอบ TTLC/STLC เช่น
โลหะหนัก

13
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
รหัสของเสีย ลักษณะของ วิธีการจัดการที่เคยมี หมายเหตุ
กากอุตสาหกรรม การอนุญาตในปี พ.ศ. 2558
15 01 10 HM บรรจุภัณฑ์ที่ปนเปื้อน - น�ำกลับมาใช้ประโยชน์อีก ลักษณะและคุณสมบัติ
หรือมีเศษสารอันตราย ด้วยวิธีอื่นๆ (049) ที่อาจจะเป็นของเสียอันตราย
คงค้าง ของเสียประเภทสารไวไฟ
ของเสียประเภทสารกัดกร่อน
ของเสียประเภทสารที่เกิด
ปฏิกิริยาได้ง่าย
ของเสียประเภทสารพิษ
ทดสอบ TTLC/STLC เช่น
การตรวจวัดโดยเลือกวัดสาร
ที่ถูกบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ใช้
แล้วเทียบกับ Threshold
limits ในการรายงานผล
สามารถคิดน�้ำหนักของบรรจุ
ภัณฑ์ได้หากเป็นบรรจุภัณฑ์
เปล่า (สิ่งที่บรรจุถูกถ่ายออก
ด้วยวิธีทางกายภาพหรือทาง
กลแล้ว) ถ้าเป็นภาชนะบรรจุ
น�้ำมันหล่อลื่นหรือตัวท�ำ
ละลายถือเป็นของเสียที่เป็น
อันตราย
15 02 02 HM วัสดุดดู ซับ วัสดุตวั กรอง - ท�ำเชื้อเพลิงผสม (042) ลักษณะและคุณสมบัติ
(รวมทั้งไส้กรองน�้ำมัน ที่อาจจะเป็นของเสียอันตราย
ที่ไม่ใช่ 16 01 07) ของเสียประเภทสารไวไฟ
ผ้าส�ำหรับเช็ด และ ของเสียประเภทสารกัดกร่อน
ชุดป้องกันที่ปนเปื้อน ของเสียประเภทสารที่เกิด
สารอันตราย เช่น ปฏิกิริยาได้ง่าย
เศษผ้า ถุงมือทีป่ นเปือ้ น ของเสียประเภทสารพิษ
น�้ำมัน หรือสี ทดสอบ TTLC/STLC เช่น
การตรวจวัดโดยเลือกวัดสาร
ที่ติดอยู่ในวัสดุดูดซับ/วัสดุตัว
กรอง/ผ้าส�ำหรับเช็ด โดย
พิจารณาจากข้อมูล
กระบวนการผลิต

14
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
7. ข้อพึงปฏิบตั ดิ า้ นความปลอดภัยในการจัดเก็บกากอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นของเสียอันตราย
• มีป้ายระบุชนิดกากอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน และระบุวันที่ที่จัดเก็บ
• แยกพื้นที่ในการจัดเก็บตามประเภท จัดเก็บแยกชั้น หรือคนละชั้น
• หากมีการจัดเก็บกากอุตสาหกรรมไว้บนชัน้ วาง ให้เก็บกากอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นของเหลวไว้ทชี่ นั้ ล่างสุด
• ไม่ควรวางบนพื้นโดยตรง แต่วางบนพาเลท และมีการป้องกันการหกหล่นรั่วไหล
• จัดเก็บในที่อุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หากของเสียสามารถท�ำปฏิกิริยากับน�้ำ
ไม่ควรอยู่ในที่ชื้น
• ไม่ควรเก็บใกล้แหล่งความร้อนหรือโดนแสงแดดโดยตรง
• ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของกากอุตสาหกรรม ดังนี้

ประเภทของเพลิง
สารดับเพลิง ประเภท ก ประเภท ข ประเภท ค ประเภท ง
(Class A) (Class B) (Class C) (Class D)
น�้ำ (ในถังดับเพลิงแบบมือถือ) ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้
ผงเคมีแห้งแบบ ABC ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ไม่ได้
ผงเคมีแห้งแบบ BC ใช้ไม่ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ไม่ได้
โฟม ใช้ได้ ใช้ได้สำ� หรับของเหลว ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้
และใช้ไม่ได้ส�ำหรับก๊าซ
Aqueous Film Forming Foam ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้
(AFFF)
คาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ไม่ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ไม่ได้
ผงเคมีชนิด D ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ใช้ได้
หมายเหตุ
ประเภท ก เป็นเพลิงที่เกิดจากของแข็งติดไฟ เช่น ไม้ ผ้า ยาง กระดาษ และพลาสติก เป็นต้น
ประเภท ข เป็นเพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ และก๊าซติดไฟต่างๆ เช่น น�้ำมัน จารบี น�้ำมันชักเงา
น�้ำมันดิน ตัวท�ำละลาย ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
ประเภท ค เป็นเพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า
ประเภท ง เป็นเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ลุกติดไฟได้ง่าย เช่น แมกนีเซียม ลิเธียม และโซเดียม เป็นต้น

15
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
• ควรตรวจสอบ และเก็บกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายโดยค�านึงถึงความเข้ากันไม่ได้
(หมายถึงเกิดอันตรายเมื่อผสมกัน) เช่น
- สารกัดกร่อน และสารไวไฟ ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น คือ ระเบิด/ไฟไหม้
- สารกัดกร่อน และสารพิษ ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น คือ ก๊าซพิษ
- สารไวไฟ และออกซิไดเซอร์ ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น คือ ระเบิด/ไฟไหม้
- กรด และด่าง ความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น คือ ควันที่มีฤทธิ์กัดกร่อน/ความร้อน
• ลักษณะความเป็นอันตรายและแนวทางการจัดเก็บ
ลักษณะ ตัวอย่างของเสีย ลักษณะการจัดเก็บของเสีย สัญลักษณ์และป‡ายเตือน
ความเป็นอันตราย ตามลักษณะความเป็นอันตรายโดยทั่วไป อันตรายบนภาชนะบรรจุ
ตามระบบ GHS ที่เกี่ยวข้อง
สารไวไฟ - - จัดเก็บห่างจากแหล่งก�าเนิดความร้อน
ประกายไฟ หรือสารที่ติดไฟได้ เช่น
การเจียรโลหะ หรือไฟแสดงการท�างาน
ของตู้ควบคุม เป็นต้น
- เก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทเพียงพอ
- บรรจุในภาชนะปดสนิท
- มีการต่อสายดินในพื้นที่จัดเก็บเพื่อลด
การเกิดไฟฟ้าสถิต
- แยกเก็บกับสารออกซิไดซ์ สารที่เกิด
ปฏิกิริยากับความชื้นหรืออากาศแล้ว
ให้ความร้อน และสารที่ระเบิดได้
สารกัดกร่อน - - เก็บในที่เย็น
- จัดเก็บในชั้นล่างสุด
- เก็บห่างจากของเสียที่ติดไฟได้
- เก็บในพื้นที่เฉพาะ
- สารที่เป็นกรดเก็บแยกจากสารที่เป็นด่าง
และโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยา
สารที่เกิดปฏิกิริยา - - พิจารณาสารที่อยู่ร่วมกันไม่ได้
ได้ง่าย (สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อผสมกัน)
- ของเสียที่ท�าปฏิกิริยากับน�้าควรเก็บ
ในพื้นที่แยกจากของเสียและสารอื่น
สารพิษ เถ้าลอยจากการ - ติดป้ายแสดงความเป็นพิษให้เห็นชัดเจน
เผาไหม้ถ่านหิน - เก็บสารที่มีความเป็นพิษรุนแรงแยก
ต่างหาก

16
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�าจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
เอกสารอ้างอิง
• ข้อมูลรหัสของเสียและวิธีการบ�ำบัด/ก�ำจัดกากอุตสาหกรรมตามประเภทอุตสาหกรรม
ที่มีการอนุญาตน�ำออกนอกโรงงานในปี พ.ศ. 2558

• ข้อมูลจากรายงานการศึกษากระบวนการผลิตและของเสีย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(www.facwaste.com/download.php)

• รายชื่อผู้รับบ�ำบัดจากการส�ำรวจของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สิงหาคม พ.ศ.2558


(www.facwaste.com/wp-list.html)


• ค้นหาข้อมูลโรงงานบ�ำบัด ก�ำจัด รีไซเคิล
(ค้นหาได้จาก http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search)

• ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การก�ำจัดสิ่งปฏิกูล


หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
(http://www.facwaste.com/law.php)

• ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารก�ำกับการขนส่ง
ของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
(http://www.facwaste.com/law.php)

• กฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

- รหัสก�ำจัด 041 ใช้กบั ของเสียทีม่ คี า่ ความร้อนขัน้ ต�ำ่ มากกว่า 2,800 kcal/kg โดยเป็นการเผาตรงเป็นเชือ้ เพลิง
- รหัสก�ำจัด 042 ใช้กบั กากอุตสาหกรรมทีม่ คี า่ ความร้อนต�ำ่ กว่า 2,800 kcal/kg มาท�ำเชือ้ เพลิงผสมเพือ่ เผาต่อ
- รหัสก�ำจัด 075 ใช้กับกากอุตสาหกรรมที่สามารถเผาท�ำลายเพื่อลดความเป็นอันตรายได้
- รหัสก�ำจัด 076 ใช้กับกากอุตสาหกรรมที่สามารถเผาท�ำลายได้ แต่มีค่าความร้อนหรือมีค่าออกไซด์ของ
4 ธาตุหลัก ต�่ำกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด

17
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
18
ลักษณะกากอุตสาหกรรมและวิธีก�ำจัดของโรงงาน ล�ำดับที่ 102
เรามีสิ่งที่ไม่ใช้แล้วอะไรบ้าง
ท�ำอย่างไร?
รายละเอียด จ�ำนวน เก็บไว้ก่อน บ�ำบัดเอง ส่งให้........... เพือ่ ไป...........
(ตัน/ปี)

บันทึกเพิ่มเติม
เรามีสิ่งที่ไม่ใช้แล้วอะไรบ้าง
ท�ำอย่างไร?
รายละเอียด จ�ำนวน เก็บไว้ก่อน บ�ำบัดเอง ส่งให้........... เพือ่ ไป...........
(ตัน/ปี)

บันทึกเพิ่มเติม

You might also like