Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

31/10/2022 R

Collective Intentionality สภาวะจิตเกาะเกี่ยวร่วม Social Ontology ภววิทยาสังคม


“จิตร่วม” (collective mind??)
• ศึกษาองค์ประกอบและการสร้างความเป็นจริงทางสังคม รวมถึง
• กลุ่มทางสังคม (social groups)
• Background debate • สถาบันทางสังคม (social institutions)
• แนวคำอธิบายจิตร่วมแบบประธานพหูพจน์ของกิลเบอร์ต • การปฏิบัติทางสังคม (social practices)
• ความสัมพันธ์กับสภาวะจิตเกาะเกี่ยวร่วม (collective intentionality)
• คำถามกว้างๆของภววิทยาสังคม - อะไรคือธรรมชาติและคุณสมบัติ (nature and properties) ของโลกทางสังคม
• การปะทะสังสรรค์ทางสังคมทำให้เกิด “สิ่ง (สัต) ทางสังคม” (social entities)
• เช่น เงิน บรรษัท สถาบัน ทรัพย์สิน ชนชั้น เชื้อชาติ เพศสภาพ สิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะ ภาษา กฎหมาย สงคราม
• คำถามหลักของภววิทยาสังคม
• กลุ่มสังคมมีอยู่จริง ? (existence)
• ถ้ามีจริง กลุ่มสังคมป็นสิ่งประเภทใด เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
• กลุ่มสังคมคืออะไร แตกต่างจากเพียงการรวมตัวกันของสมาชิกกลุ่มเท่านั้นหรือไม่ แตกต่างอย่างไร
• กลุ่มสังคมมีคุณสมบัติแบบใด มีความเชื่อความตั้งใจ เช่นเดียวกับปัจเจกไหม (collective intentionality)
• กลุ่มสังคมกระทำการได้หรือไม่ กระทำอย่างไร (group agency)

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 1 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 2

1 2

Collective intentionality
สภาวะจิตกับปัญหาเรื่องจิตร่วม

• หัวข้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเรื่องภววิทยาสังคมคือเรื่องการกระทำของกลุ่ม และสภาวะเกาะเกี่ยววัตถุแห่งจิต • สภาวะจิต สภาวะจิตที่เรามอบให้กับสิ่งที่มีจิต (ascriptions of mental states)


แบบร่วม • ความรู้สึกตัว/ สำนึกรู้ (consciousness) เช่น ตัวประสบการณ์ความรู้สึกของ “ฉัน” (qualia) “ฉันรู้สึก....”
• group consciousness ? (ดู Schmid)
• Searle เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “collective intentionality" ในงาน “Collective Intentions and Actions” (1990) • ความคิด – สภาวะจิตเชิงข้อความ (propositional attitudes) เช่น ความเชื่อ ความตั้งใจ ความต้องการ ความ
• ประเด็นเรื่องกลุ่มสามารถจะกระทำการหรือมีสภาวะจิตเกาะเกี่ยวหรือไม่. ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในทศวรรษ 1980 ปรารถนา ความหวัง
โดยเฉพาะงานของ Margaret Gilbert, Michael Bratman, John Searle, Raimo Tuomela • สิ่งใดมีจิต ?
• Gilbert ‘On Social Facts’ 1989 & Walking Together 1990 เป็นจุดเริ่มสำคัญของทฤษฎีการกระทำร่วมและ • คนอื่น ?
สภาวะจิตเกาะเกี่ยวร่วม (collective action&intentionality) • สัตว์?
• สิ่งของ ?
• ก่อนหน้านี้ ทฤษฎีสภาวะจิตเกาะเกี่ยวร่วมเป็นแบบแนวคิดแบบผลรวม summative approach • “คอมพิวเตอร์คิดเก่งกว่ามนุษย์”
• กลุ่ม G มีทัศนะ A (เช่นตั้งใจเดินไปริมแม่น้ำ) = ผลรวมของสมาชิกทุกคนของ G มีทัศนะ A เหมือนกัน • “ประเทศไทยต้องการ...” “คณะกรรมการเชื่อว่า....”
• กิลเบอร์ตใน Walking Together แย้งทัศนะแบบผลรวม • “พวกเรา” ต้องการ...” ? / “พวกเขา”ต้องการ....?
• ประธานของประโยคเป็นชื่อเฉพาะ คำสมุหนาม คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่งแบบพหูพจน์ - คำระบุกลุ่มก้อน
• การพูดว่ากลุ่มมี “ความคิด” หมายความว่าอะไร ?
• เรากำลังพูดถึงอะไรเมื่อเราพูดว่ากลุ่มมีความคิด มีความต้องการ ?
10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 3 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 4

3 4

Collective intentionality
ตัวอย่างการมอบจิตให้กลุ่ม (The Routledge Companion to Philosophy of Social Science)

• “ศาลรัฐธรรมนูญให้ประยุทธ์ไปต่อ พ้นมลทิน ไม่สิ้นสุดวาระนายกฯ 8 ปี”


• 1. What is the ontology of collective intentionality?
• “อาเซียนประณามรัฐบาลทหารเมียนมาประหารนักเคลื่อนไหว”
• Intentional agents - group vs individual members
• “สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจชาวไทย” • 2. What is the psychology of collective intentionality? /Do groups per se have mind (in particular
• “Feminists believe marriage and motherhood are oppressive.” propositional attitudes)?
• “The soul of a nation, like the soul of an individual, is the root from which decency arises; it is the • I-intentions vs we-intentions
basis of any desire to behave according to our collectively expressed values. And we, as a nation, • 3. How is collective intentionality implicated in the construction of social reality?
have lost this. We are a nation that tortures prisoners. .…” (Thistlethwaite, S.B., Chicago Tribune, May • How content of we-intentions/ I-intention create social institutions, practices and structure?
04,2004)
• “The Battle for Southeast Asia’s Soul”

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 5 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 6

5 6

1
31/10/2022 R

Physicalism vs Non-Physicalism
Individualism vs Holism คำศัพท์

• Shared
Philosophy of Mind Philosophy of Social Science
• Joint
Physicalism/ Indiviualism Physical Individual
• Collective
Non-Physicalism/ Holism Mental Society
(collectivism)
• ความหมายของ ”shared” (ดูส่วน Bratman)
• 1. การใช้คำว่า share แบบอ่อน เช่น เราสองคนมีเหรียญห้าบาทในกระเป๋า อาจพูดได้ว่าเราต่างเป็นเจ้าของเหรียญ
ห้าบาทด้วยกันทั้งคู่
• แบบอ่อน ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจว่าคนกระทำการร่วมกันได้อย่างไร
• 2. การใช้คำว่า share แบบแข็ง เช่น เราสองคนแบ่งเหรียญห้าบาทกัน
• แบบแข็ง ช่วยให้เข้าใจการกระทำร่วมกัน
• ดังนั้น มักใช้คำ”ความตั้งใจแบบมีส่วนร่วมกัน” (shared intention) แบบแข็งสลับกับคำว่า “ความตั้งใจร่วม”
collective intention

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 7 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 8

7 8

โครงสร้างของสภาวะจิตเชิงข้อความ Collective Intentionality


by Deborah Tollefsen in IEP
สภาวะจิตเชิงข้อความ ปัจเจก กลุ่ม • ปัจเจกมีจิต – กลุ่ม มีจิต ?
Propositional Attitudes Individual Collective
• โดยมากข้อถกเถียงเรื่องจิตร่วม อยูท่ ี่เรื่อง ความตั้งใจและความเชื่อร่วม
เชื่อ ตั้งใจ ต้องการ หวัง ต้าตั้งใจว่าจะไปเดินเล่น “ต้าและเต้น ตั้งใจว่าจะไปเดินเล่น” • ความตั้งใจ
เต้นตั้งใจว่าจะไปเดินเล่น “เรา ตั้งใจว่าจะไปเดินเล่นด้วยกัน” • Intention à action
ประธาน Subject ต้า , เต้น ต้าและเต้น , เรา • ปรัชญาเรื่องการกระทำ (philosophy of action) สนใจเรื่องนี้เพราะต้องการเข้าใจการเป็นผู้กระทำการของกลุ่ม (group
agency)
เนื้อหา Content จะไปเดินเล่น จะไปเดินเล่นด้วยกัน • ในกรณีคนเดียว ความตั้งใจเป็นตัวนำการกระทำ และเป็นตัวเชื่อมโยงตัวตนเราในอนาคตและของคนอื่น แต่หลายครั้งเรา
รูปแบบ (ทัศนะหรือท่าที ตั้งใจ ตั้งใจ ไม่ได้ทำคนเดียว การประสาน (coordination) กับคนอื่นทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่น่าสนใจว่าอาจมีความตั้งใจร่วม
(attitudes)) ของสภาวะจิต Mode • โดยมากมักคิดว่าเพียงแค่ความตั้งใจของคนๆเดียว ไม่สามารถใช้อธิบายการกระทำร่วม (collective action) ได้ และคิดว่า
joint action (หรือ share หรือ collective ) ต้องมี joint intentions
• ความเชื่อ
Collective Intentionality (แบ่งตาม Stanford Encyclopedia of Philosophy) • เรื่องความเชื่อร่วม (collective belief) ได้รับความสนใจเพราะต้องการเข้าใจการมอบความเชื่อร่วมให้กลุ่ม และบทบาทของ
1. Subject account - Gilbert ความเชื่อร่วมในทฤษฎีสังคมศาสตร์และปริบทชีวิตประจำวัน
2. Content account - Bratman
3. 10/31/22
Mode account – Searle, Tuomela Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 9 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 10

9 10

ปัญหาเกี่ยวกับ Instrumentalism ทัศนะแบบเครื่องมือ


“กลุ่มมีจิต”ตามที่เราใช้ภาษาพูดถึงกลุ่มหรือไม่

• นักปรัชญามักมองว่าการเข้าใจแบบเปรียบเปรย มีปัญหา เพราะ


• 1. ทัศนะแบบเครื่องมือ (Instrumental of metaphorical view)
1. การพูดถึงความรับผิดชอบของกลุ่ม (เช่นบริษัท องค์กร มหาวิทยาลัย) มีข้อสมมุติล่วงหน้าแล้วว่ากลุ่มมีจิตจริงตาม
• การมอบสภาวะจิตให้กลุ่มเป็นเพียงการพูดแบบสมมุติ ตัวอักษร ไม่ใช่แค่แบบสมมุติ
• กลุ่มไม่ได้มีจิตจริงตามตัวอักษรที่พูด
• เราเพียงแต่ใช้คำพูดว่ากลุ่มมีจิตเป็นเครื่องมือเข้าใจอะไรบางอย่าง ไม่ได้หมายความตามนั้นจริง - เพราะถ้ากลุ่มไม่มีความตั้งใจกระทำการ กลุ่มก็จะไม่สามารถอ้างความรับผิดชอบทั้งทางศีลธรรมและ
• กลุ่มไม่มีจริง มีเพียงปัจเจก ? (Individualism) กฎหมายต่อการกระทำของกลุ่มได้
• แนวคิดแบบพุทธ- relational model? 2. การมองว่ากลุ่มมีสภาวะจิตทำให้มีพลังของการอธิบาย (explanatory power)
• Kirk Ludwig - พลังการอธิบายช่วยให้เราทำนายและอธิบายการกระทำของกลุ่มได้
• 2. ทัศนะแบบตรงตัว (the literal view) - แม้ว่าบางครัง้ อาจทำนายผิดได้ แต่บางครั้งก็มีพลังของการอธิบายดี กลายเป็นหลักฐานว่าการเข้าใจว่ากลุ่ม
• การมอบสภาวะจิตให้กลุ่มมีความหมายตรงตัว มีจิตจริง เป็นประโยชน์ต่อการอธิบาย
• กลุ่มมีจริง
- ถ้าทัศนะแบบเครืองมือถูกต้อง ก็เท่ากับว่าสังคมศาสตร์ นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ ผิดหมด
• แต่อาจไม่จำเป็นต้องปฏิเสธปัจเจก
- ดังนั้น การมอบจิตให้กลุ่มจึงไม่ใช่แค่เป็นการเปรียบเปรย
10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 11 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 12

11 12

2
31/10/2022 R

แต่การปฏิเสธทัศนะแบบเครื่องมือ ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า
1. The literal view

1. การมอบจิตให้กลุ่มเป็นจริงเพราะมีจิตของกลุ่มเป็นตัวอ้างอิงหรือตัวถือจิตนั้น (พูดอีกอย่าง ไม่จำเป็นต้องอ้างการมี • 1.1) weak literal view


อยู่ของจิตของกลุ่ม เพื่อทำให้การมอบจิตให้กลุ่มเป็นไปได้) • group thoughts supervene on each member’s thoughts (e.g. Pettit 2006, 2018, List& Pettit 2011)
2. ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธแนวปัจเจกนิยม (individualistic approach) • a group is a genuine decision-maker, but there is a possibility that a group holds beliefs which
• เพราะมีคำอธิบายแบบที่รับการมอบจิตให้กลุ่มว่าจริง แต่ไม่ใช่เพราะมีจิตของกลุ่ม แต่เพราะปัจเจกแต่ละคนในกลุ่ม individual members may not accept (e.g. Gilbert 1992, Tuomela 2013)
มีสภาวะจิต (intentional states)
• 1.2) strong literal view
• each member’s consciousness is ‘caused’ by others or groups’ consciousness.
• (e.g. Ubuntu’s philosophy, the maxim of which are “I am because we are.” or “a person is a
person through other persons” (see in Louw 1998)

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 13 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 14

13 14

1. Summative accounts คำอธิบายแบบผลรวม


แนวคำอธิบายสภาวะจิตเกาะเกี่ยวร่วม

• Anthony Quinton “Social Objects” (1975)


• 1. สภาวะจิตร่วมคือผลรวมของจิตปัจเจก (Summative Account) • การมอบจิตให้กลุ่มเป็นเพียงตัวย่อของการบ่งถึงข้อเท็จจริงที่ว่า
• Anthony Quinton (1975) • สมาชิกโดยมากมีทัศนะทางจิต (attitudes) (และเนื้อหา) ที่มอบให้กลุ่ม
• 2. สภาวะจิตร่วมไม่ใช่ผลรวมของจิตปัจเจก (Non-Summative Account) • Gilbert (1989) เรียกทัศนะแบบนี้ว่าเป็นคำอธิบายแบบผลรวม เพราะวิเคราะห์การมอบจิตให้กลุ่ม (group attitude
• John Searle , Reimo Tuomela – (Mode account) ascriptions) ด้วยผลรวมของจิตของแต่ละคนว่ามีเนื้อหาเหมือนกันกับเนื้อหาของจิตที่มอบให้กลุ่ม
• Michael Bratman – (Content account) • Gilbert 1987 แบ่งคำอธิบายแบบผลรวมอย่างน้อยมีสองแบบ
• Margaret Gilbert (Subject account) • 1. แบบง่าย (simple summative account) (SSA)
• “กลุ่ม G เชื่อว่า p เมื่อก็ต่อเมื่อ สมาชิกทั้งหมดหรือโดยมากเชื่อว่า p”
• 2. แบบซับซ้อน (complex summative account)(CSA)
• “กลุ่ม G เชื่อว่า p เมื่อก็ต่อเมื่อ (1) สมาชิกโดยมากของ G เชื่อว่า p และ (2) มีความรู้ร่วมกันใน G ว่า (1)”

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 15 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 16

15 16

2. แบบซับซ้อน (complex summative account)(CSA)


1. แบบง่าย (simple summative account) (SSA) “กลุ่ม G เชื่อว่า p เมื่อก็ต่อเมื่อ (1) สมาชิกโดยมากของ G เชื่อว่า p และ (2) มีความรู้ร่วมกันใน G ว่า (1)”
“กลุ่ม G เชื่อว่า p เมื่อก็ต่อเมื่อ สมาชิกทั้งหมดหรือโดยมากเชื่อว่า p”

• ข้อแย้งของกิลเบอร์ต - การวิเคราะห์แบบนี้ไม่เพียงพอ • ข้อแย้งของกิลเบอร์ต - CSA อ่อนไป


• ตัวอย่างแย้ง • ตัวอย่างแย้ง
• บริษัทแห่งหนึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการขี้นมาสองชุด และโดยบังเอิญคณะกรรมการมีสมาชิกภาพเหมือนกันทุก
• สมาชิกทุกคนของภาควิชาปรัชญาเชื่อว่าการกินเนื้อผิดศีลธรรม แต่สมาชิกภาคไม่ได้แสดงออกถึงความเชื่อนั้น อย่าง กรรมการชุดหนึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาการแต่งตัวของพนักงาน เรียกคณะกรรมการด้านการแต่งกาย อีก
เพราะกลัวว่าเพื่อนร่วมงานกับนิสิตจะวิจารณ์ คณะหนึ่งตั้งเพื่อประเมินระบบโทรศัพท์ที่เพิ่งติดตั้ง เรียกคณะกรรมการด้านโทรศัพท์ ลองจินตนาการว่า
• ในกรณีนี้ เราคงไม่มอบความเชื่อให้ภาคปรัชญาว่าการกินเนื้อผิดศีลธรรม แม้ว่าจะสมมุติให้ภาคปรัชญาจัด • (a) สมาชิกทุกคนของกรรมการด้านการแต่งกาย แต่ละคนเชื่อโดยส่วนตัวว่ากางเกงรัดรูปไม่เหมาะสม และเป็น
เสวนาเรื่องสิทธิสัตว์ ซึ่งแต่ละคนแสดงความเชื่อออกมาได้ แต่ก็มีเพียงบางคนเท่านั้นที่จะแสดงความเชื่อ ความรู้ร่วมกันในคณะกรรมการชุดนี้ และ
• ตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าความเชื่อของกลุ่มขึ้นกับลักษณะทางญาณวิทยาของแต่ละคน ทำให้ต้องปรับคำอธิบาย • (b) ในทำนองเดียวกันสมาชิกของคณะกรรมการด้านโทรศัพท์ก็เชื่อเช่นกัน
ให้เป็นแบบซับซ้อน โดยเพิม่ เงื่อนไขเรื่องความรู้ร่วมกัน (common knowledge) (คือสมาชิกของกลุ่มรู้หรือ • (a) และ (b) ไม่ขัดกัน (มีความรู้ร่วมกัน) แต่
สังเกตได้ว่าสมาชิกโดยมากในกลุ่มเชื่อว่า p ) • (c) กรรมการด้านเครื่องแต่งกายเชื่อว่ากางเกงรัดรูปไม่เหมาะสม
• (d) กรรรมการด้านโทรศัพท์ไม่เชื่อว่ากางเกงรัดรูปเหมาะสม
• แม้เงื่อนไขของ csa ได้ทั้งคู่ แต่ยังเรียกไม่ได้ว่า G เชื่อ.. เพราะ (c) เชื่อ p แต่ (d) ไม่เชื่อ not p (ความเชื่อขัดแย้ง
กันแต่เนื้อหาไม่ขัด ?)
• ดังนั้น เงื่อนไขความรู้ร่วม ไม่เพียงพอต่อการมีความเชื่อของกลุ่ม
10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 17 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 18

17 18

3
31/10/2022 R

ทั้ง ssa / csa นอกเหนือจากจะอ่อนไปแล้ว ยังแข็งเกินไปด้วย 2. คำอธิบายแบบไม่ใช่ผลรวม Non-Summative Accounts


John Searle

• คำอธิบายแบบผลรวม • ใน “Collective Intentions and Actions” 1990 / The Construction of Social Reality
• มอบความเชื่อให้กลุ่ม G ได้ว่าเชื่อ p เมื่อก็ต่อเมื่อ จำเป็นทางมโนทัศน์ (conceptually necessary) ที่สมาชิก • Searle ใช้คำอธิบาย ci แบบ non-summative แต่เป็นคำอธิบายแบบปัจเจก(individualistic)
กลุ่มโดยมากเชื่อว่า p • เงื่อนไขของการมีความตั้งใจร่วมได้แก่
• แข็งไป เพราะ • 1. เงื่อนไขแบบ individualism
• อาจมีกรณีที่ไม่มีสมาชิกคนใดเลยมีความเชื่อแบบเดียวกับที่กลุ่มเชื่อ • ต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าคนแต่ละคนที่ประกอบเป็นสังคม
• ความรู้สึกตัว (consciousness) และสภาวะจิตเกาะเกี่ยว เป็นจิตของแต่ละคน ของสมองแต่ละคน
• เช่นกลุ่มนักการเมืองกลุ่มหนึ่งไม่ได้เชื่อโดยส่วนตัวว่า การทำแท้งควรผิดกฎหมาย แต่เพราะมีแรงกดดันจากสภา • (we-intention อยู่ในสมองของคนแต่ละคน)
จึงได้เลือกโหวตให้ผิดกฎหมาย การมอบความเชื่อให้กลุ่มนักการเมืองอาจทำโดยดูที่การโหวต และเราก็ยังมอบ
ความเชื่อนั้นให้กลุ่มนักการเมืองอยู่ดีแม้จะไม่มีนักการเมืองคนใดเชื่อโดยส่วนตัวว่าควรผิดกฎหมาย • 2. เงื่อนไขแบบ atomism
• ต้องเข้าได้กับข้อเท็จจริงที่ว่าสภาวะจิตเกาะเกี่ยวทุกสภาวะสามารถเกิดขึ้นได้กับสมองในถัง (brain in a
vat)
• สภวาะจิตเกาะเกี่ยวไม่ว่าจะเป็นของปัจเจกหรือของกลุ่ม มีอยู่โดยไม่ขึ้นกับโลกความเป็นจริง เพราะเป็นไปได้
ที่จะเราจะผิดพลาดได้อย่างสิ้นเชิง (radically mistake = แม้คนอื่นจะเป็นแค่ภาพมายา หรือแม้ว่าเราจะ
ประสาทหลอน hallucinate หรือเป็นแค่สมองในถัง)

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 19 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 20

19 20

ข้อวิจารณ์ต่อเรื่อง collective intention ของเซิร์ล ข้อวิจารณ์ต่อเรื่อง collective intention ของเซิร์ล

• 1. ข้อวิจารณ์ของ Tollefsen 1. ข้อวิจารณ์จากปรัชญาภาษาเช่น Davidson (1992)


- การมีมโนทัศน์ของคนอื่น เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติทางสังคมของการตีความ (social
• ทฤษฎีของเซิร์ลมีสมมุติฐานว่าเนื้อหาของจิตถูกกำหนดจากภายใน (internalist theories of content individuation) practice of interpretation) ดังนั้นสมองในถังไม่สามารถมี “มโนทัศน์-เรา” “we-concept”
• แต่ถ้าพวกกำหนดจากภายในถูกต้อง สมองในถังต้องมีความเชื่อเกี่ยวกับ”น้ำ”ได้ถูกต้อง
2. Meijers, Gilbert 1998 - สิ่งสำคัญของการมีสภาวะจิตร่วม คือบรรทัดฐาน (normativity)
• แต่”น้ำ” ในสิ่งแวดล้อมของสมองในถังไม่ใช่ “น้ำ” ตามปกติ
• ดังนั้นแสดงว่าเนื้อหาความเชื่อถูกกำหนดจากภายนอกมากกว่าภายใน = สมองในถังไม่สามารถมี “we- • คำอธิบายของเซิร์ลไม่สามารถอธิบายบรรทัดฐานที่ปรากฏในสภาวะจิตร่วมได้ เพราะยอมให้มี ”ความตั้งใจ-เราแบบ
intention” อยู่คนเดียวโดดๆ” (solipsistic we-intentions)
• ข้อแย้งจากพวกทฤษฎีเนื้อหาแบบกำหนดจากภายนอก (externalist theories of content individuation) • คำอธิบายของเซิร์ลไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงบรรทัดฐานที่อยู่ภายในความตั้งใจร่วมได้ เมื่อมีการสร้าง
ความตั้งใจร่วม เราได้สร้างพันธะ (obligation) และความคาดหวังขึ้น
• ตัวอย่างเช่นนักฟุตบอลในทีม มีพันธะต้องกระทำอะไรบางอย่าง ถ้ามีความตั้งใจร่วมที่จะส่งลูกบอล
• ถ้านักบอลคนใดในทีมไม่ทำ คนอื่นก็มีสิทธิตำหนิเพื่อนร่วมทีม การตำหนิ (rebuke) เป็นหลักฐานของบรรทัด
ฐานของการกระทำร่วม (joint action)
• เมื่อเราสร้างความตั้งใจร่วม เราได้สร้างภาระผูกพัน (commitment) ที่ทำให้เกิดพันธะขึ้น
10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 21 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 22

21 22

Non-Summative Account
คำตอบของเซิร์ล Michael Bratman (content account)
• ปัญหาที่เกิดกับทฤษฎีของเซิร์ล แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าความตั้งใจของแต่ละคนจะเป็นส่วนสำคัญของ collective
intentions แต่ก็ต้องมีความเชื่อมโยงกัน
• บอกความแตกต่างได้ระหว่างกรณีที่ดูเหมือนมี collective intention กับที่ไม่มี โดยดูจากสิ่งที่คนทำ
• แบรทแมน เสนอคำอธิบายความตั้งใจร่วมด้วย
• แต่ปัญหา • ความตั้งใจของการมีส่วนร่วมของปัจเจกและความสัมพันธ์ต่อกัน (interrelations)
• ถ้าการมี “ความตั้งใจ-เรา” แบบอยู่คนเดียวเป็นไปได้ ก็หมายความว่าคนอื่นไม่มีทางรู้ว่าคนอื่นมี we-intentions
หรือไม่ • Bratman ใช้คำว่า shared intention มากกว่าคำว่า collective intention แต่ใช้ในความหมายของ shared แบบ
แข็ง ดังนั้นจึงมีความหมายเดียวกันกับ “collective”
• ดังนั้น ก็เป็นไปได้ว่าการที่คนอื่นทำอะไรเหมือนเรา อาจเป็นเพียงความบังเอิญ ไม่ใช่ความตั้งใจร่วมจริง
• การใช้คำว่า share แบบอ่อน เช่น เราสองคนมีเหรียญห้าบาทในกระเป๋า อาจพูดได้ว่าเราต่างมีส่วนเป็นเจ้าของ
เหรียญห้าบาทด้วยกันทั้งคู่
• แบบอ่อน ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจว่าคนกระทำการร่วมกันได้อย่างไร
• การใช้คำว่า share แบบแข็ง เราสองคนแบ่งเหรียญห้าบาทกัน (we share a quarter between us)
• แบบแข็ง ช่วยให้เข้าใจการกระทำร่วม ดังนั้น ใช้คำ shared intention แบบแข็งสลับกับ collective
intention

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 23 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 24

23 24

4
31/10/2022 R

ข้อเสนอของแบรทแมน
บทบาทของความตั้งใจร่วม ความตั้งใจร่วมเป็นความตั้งใจของใคร ?

• 1. ความตั้งใจร่วม ช่วยประสานการกระทำตามความตั้งใจของเรา
• เช่นการมีความตั้งใจร่วมที่จะล้างจาน จะเป็นตัวนำการกระทำของเราแต่ละคน เพื่อไปสู่เป้าหมายการล้างจาน เช่นคนหนึ่ง • ความตั้งใจร่วม
อาจทำหน้าที่ล้างจานก่อนใส่น้ำยา อีกคนทำหน้าที่ใส่น้ำยาแล้วล้างน้ำ • ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กระทำการแบบพหูพจน์ (plural agent)
• 2. ความตั้งใจร่วมช่วยประสานการกระทำของเราโดยเป็นตัวรับประกันว่าแผนการส่วนตัวของเราจะรวมกันได้ • และไม่ใช่เป็นของปัจเจกคนเดียว
• เช่นถ้าฉันวางแผนจะเป็นคนล้างจาน ก็ต้องเช็คดูว่าแผนของเธอเป็นอย่างไร ขัดแย้งกันหรือไม่
• 3. ความตั้งใจร่วม เป็นเหมือนฉากหลังทีท่ ำให้เกิดการต่อรองและการประนีประนอม
• ความตั้งใจร่วม = กลุ่มของสภาวะการณ์ประกอบด้วยสภาวะความตั้งใจของปัจเจกแต่ละคนที่เชื่อมโยงกัน
• ความขัดแย้งว่าใครจะทำหน้าที่อะไร จะหมดไปถ้าเรามีความตั้งใจร่วมว่าจะล้างจาน ดังนั้น ความตั้งใจร่วมเป็นตัวหลอม • เราตั้งใจล้างจาน เมื่อก็ต่อเมื่อ
รวมและประสานการกระทำตามความตั้งใจของปัจเจกเข้าด้วยกันโดยดูที่เป้าหมายของแต่ละคน • 1.(a) ฉันตั้งใจว่าเราล้างจาน
• ดังนั้นต่างจากทฤษฎีของเซิร์ล • 1.(b) เธอตั้งใจว่าเราล้างจาน
• ความตั้งใจร่วม ไม่ใช่แบบต่างคนต่างมีความตั้งใจ (ไม่ใช่แบบ individualistic)
• 2. ฉันตั้งใจว่าเราล้างจานและเพราะ 1 (a)และ (b)
• และไม่ใช่แบบระดับอะตอม ที่มองว่าเราแต่ละคนต่างมี we-intention ที่จะล้างจาน (อยู่คนเดียวก็มีความตั้งใจ-เรา ที่จะ
ล้างจานได้ !) • 3. เรามีความรู้ร่วมกันว่า (1) และ (2)
• การบังเอิญมี “ความตั้งใจแบบเรา”ตรงกัน ไม่ได้เป็นตัวรับประกันว่าเราจะล้างจานร่วมกัน

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 25 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 26

25 26

ปรับคำอธิบาย คำอธิบายแบบเซิร์ลและแบรทแมน

• ข้อแย้งว่าสมมุติเราต่างมีแผนการล้างจานต่างกัน ฉันล้างด้วยน้ำยาล้างจานx เธอจะล้างด้วยน้ำร้อนอย่างเดียว • ทั้งเซิร์ลและแบรทแมนต้องการหนีผีของจิตร่วม (mysterious)


subplan ของเราขัดแย้งกัน จะเรียกว่ามีความตั้งใจล้างจานร่วมกันไม่ได้
• เซิร์ลใช้วิธีให้ความตั้งใจ-เรา อยู่ในจิตของแต่ละคน
• แบรทแมนเพิ่มเงื่อนไขว่า subplans ต้องรวมกันได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เช่น ฉันอาจไม่มีปัญหาเรื่องน้ำร้อน แต่ก็
ล้างด้วยน้ำยา x • แบรทแมนใช้วิธีอธิบายความตั้งใจร่วมด้วยจิตของแต่ละคนที่มีเนื้อหาเดียวกัน (common contents) ทำให้คนๆเดียว
มีความตั้งใจร่วมไม่ได้
• แบรทแมนตั้งสูตรใหม่
• เราตั้งใจทำ J เมื่อก็ต่อเมื่อ • แต่ปัญหาคือเป็นไปได้อย่างไรที่ฉันจะมีความตั้งใจในรูป “เรา-ตั้งใจ” หรือ “ฉันตั้งใจว่าเราทำ J”
• 1. (a) ฉันตั้งใจว่าเรา J และ (b) เธอตั้งใจว่าเรา J • ดูเหมือนธรรมชาติของความตั้งใจเองเข้าไม่ได้กับคำอธิบายของทั้งเซิร์ลและแบรทแมน
• 2. ฉันตั้งใจว่าเรา J และเพราะ 1 และการรวมแผนย่อยของ 1 หมายความว่า เราตั้งใจสิ่งเดียวกัน
• 3. (1) &(2) เป็นความรู้ร่วมกัน
• คำอธิบายนี้ทำให้แบรทแมนไม่ใช่ atomist แบบเซิร์ล เพราะความตั้งใจร่วม = ทัศนะที่ซับซ้อนของแต่ละคนและ
สัมพันธ์กัน คนๆเดียวไม่สามารถมีความตั้งใจร่วมโดยไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 27 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 28

27 28

ข้อวิจารณ์ของ Baier, Stoutland, Velleman


ข้อวิจารณ์ของ Gilbert/ Meijers
• คำอธิบายของแบรทแมนไม่สามารถอธิบายบรรทัดฐานของความตั้งใจร่วม
1. ปกติ เมื่อเราตั้งใจทำอะไร การกระทำนั้นอยู่ในความควบคุมของเราเอง ในกรณีความตั้งใจร่วม (ในกรณีไม่ได้บังคับ • กิลเบอร์ต มองว่าบรรทัดฐานใน collective intentionality เป็นตัวที่บอกว่าความตั้งใจร่วมและสภาวะจิตร่วมแบบ
กัน) การกระทำของคนอื่นก็อยู่ภายใต้ความควบคุมของเขา ไม่ใช่ของเรา อื่นโดยเนื้อแท้แล้วเป็นการสร้างภาระผูกพัน (commitment) แบบหนึ่ง
2. เมื่อเราตั้งใจทำอะไร ความตั้งใจนั้นเป็นตัวกำหนดว่าเราจะทำอะไร หรือเราวางแผนจะทำอะไรจากความตั้งใจนั้น แต่ • Gilbert 1989 Walking Together
• เราสร้างความตั้งใจที่จะเดินด้วยกัน แล้วเริ่มเดิน พอเดินไปสักพัก เธอเดินห่างออกไป ถ้าเราต้องการเดิน
ฉันตั้งใจว่าเรา เป็นไปได้ไหม การตั้งใจว่าเราทำ อยู่นอกความควบคุมของฉัน ดังนั้น ฉันไม่สามารถตั้งใจว่าเราทำ J ด้วยกัน การทำแบบนั้นก็แปลก และเพียงพอที่จะทำให้เราบ่นเพื่อนได้ เพราะเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดภาระ
3. Stoutland 1997 วิจารณ์ว่าแบรทแมนพยายามอธิบายกลุ่มของความตั้งใจของปัจเจกด้วยเนื้อหาที่มีร่วมกัน ผูกพันบางอย่างที่เราสร้างด้วยกัน มันมีบรรทัดฐานของความรู้สึกว่าเธอไม่ควรทำอย่างนั้นและฉันก็มีสิทธิ
ตำหนิเธอ ความรู้สึก offense ของเราสมเหตุผลเพราะบรรทัดฐานที่มีอยู่ภายในความตั้งใจร่วมนั้น
แต่ความพยายามนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะ ความตั้งใจเป็นเรื่องของประธานเจ้าของความตั้งใจนั้นที่ต้องกระทำตาม • คำอธิบายเรื่อง ci ของแบรทแมนไม่ได้สนใจเรื่องบรรทัดฐาน
ความตั้งใจ • Ci เป็นแค่สภาวะจิตเชิงการคิดและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน แม้ว่าการกระทำร่วมกันอาจจะมีพันธะเกิดขึ้นได้ แต่
ดังนั้น จึงไม่มีความตั้งใจที่มีเนื้อหาร่วมกัน เช่น x ตั้งใจไปดูหนัง และ y ก็ตั้งใจไปดูหนัง แต่ความตั้งใจทั้งคู่ ก็มีการกระทำร่วมกันที่ไม่จำเป็นต้องมีพันธะ ดังนั้น collective intentionality ไม่จำเป็นต้องมีบรรทัดฐานอยู่
ภายใน
ไม่ได้มีเนื้อหาเดียวกัน เพราะ ความตั้งใจของ x ก็คือการไปดูหนังของ x ความตั้งใจของ y ก็คือการไปดูหนัง • แต่แบรทแมนก็แบ่งความแตกต่างระหว่าง ความตั้งใจร่วมแบบอ่อนและแบบแข็ง แบบแข็งต้องมีการผูก
ของ y ความเห็นตรงกัน (binding agreement) ซึ่งเป็นบรรทัดฐานแบบหนึ่งที่อธิบายได้ด้วยหลักการความซื่อสัตย์
• “ฉัน"ไม่ใช่ “เรา” ฉันจึงไม่สามารถมี “ความตั้งใจเรา” ได้ (principle of fidelity) ของสแกนลอน 1998

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 29 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 30

29 30

5
31/10/2022 R

Margaret Gilbert : Waliking Together – A Paradigmatic Social Phenomenon (1990) 1.ข้อเสนอเกี่ยวกับกลุ่มทางสังคม


”เดินด้วยกัน : รูปแบบตัวอย่างของปรากฏการณ์ทางสังคม”
• ตัวอย่างกลุ่มสังคมของ George Simmel
• สองปัญหาหลักในปรัชญาสังคมศาสตร์ • กรณีเดินไปด้วยกันแบบชั่วครั้งชั่วคราว การสร้างครอบครัว กรณีการรวมตัวของกลุ่มคนที่มาพักโรงแรม กรณี
1. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีวิทยา เช่นคำถาม “วิธีการของวิทยาศาตร์ธรรมชาติเหมาะสมกับการศึกษาปรากฏการณ์ทาง การรวมตัวเป็นสมาคมพ่อค้าและช่างฝีมือในยุโรปยุคกลาง
สังคมหรือไม่” “มีสิ่งที่เรียกว่า “สังคมศาสตร์” อย่างเหมาะสมหรือไม่” • แสดงว่าสามารถศึกษาธรรมชาติของกลุ่มโดยทั่วไปได้ โดยดูปรากฏการณ์ระดับเล็กที่ดำรงอยู่ชั่วครั้งชั่วคราวเช่นการ
2. ปัญหาเกี่ยวกับภววิทยา เช่นคำถามที่ว่าอะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคมกับสมาชิกที่เป็นปัจเจกแต่ละ เดินด้วยกัน
คน” “กลุ่มเป็นเพียงองค์รวมหรือกลุ่มก้อนของปัจเจกหรือว่าเป็นแบบใด” • แม้โดยมากนักสังคมวิทยามักให้ตัวอย่างกลุ่มสังคมแบบที่ซับซ้อนและดำรงอยู่ในช่วงเวลายาวนานเช่น ครอบครัว
• หน้าที่สำคัญของปรัชญาสังคมศาสตร์ = ค้นหามโนทัศน์ใจกลางของปรากฏการณ์ทางสังคม สมาคมพ่อค้า กองทัพ หรือชาติ ซึ่งทำให้เห็นความต่างจากปรากฏการณ์เล็กๆเช่นการเดินด้วยกัน แต่ก็ปรากฏ
ว่าปรากฏการณ์เล็กๆนี้ก็อยู่ในตัวอย่างที่ซิมเมลยกมาด้วย
• เสนอโนทัศน์ของกลุ่มสังคมหรือความเป็นกลุ่มก้อน (collectivity) โดยเริ่มจากมโนทัศน์ง่ายๆที่เจอในชีวิตประจำวัน
เช่นการเดินด้วยกัน • กิลเบอร์ตจะเสนอคำอธิบายว่าการเดินด้วยกันหมายความว่าอะไร และสามารถใช้คำอธิบายแบบเดียวกันนี้อธิบายเรื่อง
กลุ่มทางสังคมโดยทั่วไปได้
• บทความย่อจากหนังสือ On Social Facts (1989)

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 31 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 32

31 32

2.บทนำ การเดินด้วยกัน
เงื่อนไขทางตรรกะครบถ้วนของการเดินไปด้วยกัน
• การเดินด้วยกันหมายความว่าอะไร ความเป็นไปได้สองแบบ
• 1. การวิเคราะห์แบบอ่อน (weak shared personal goal analysis)
• คนสองคนต่างมีเป้าหมายของตนเองตรงกัน - คนสองคนเดินมาขนาบข้างกันมา ต่างคนต่างมีเป้าหมายว่าจะ 1. พยายามเดินข้างๆกัน ไม่ใช่เดินล้ำหน้า
เดินคู่กันไป 2. ถ้าฝ่ายหนึ่งเดินล้ำหน้าไปมาก อีกคนมีสิทธิตำหนิ ท้วงติง อีกฝ่าย (entitlement to rebuke)
• แต่การที่แต่ละคนมีเป้าหมายที่จะเดินขนาบข้างกันไป ยังไม่เพียงพอทางตรรกะที่จะเรียกว่าเป็นการเดินด้วยกัน 3. สิทธิที่จะตำหนิท้วงติง แสดงให้เห็นว่าทั้งคู่มีพันธะ (obligation) ที่จะสังเกตเห็นการตำหนิและกระทำการแก้ไข
เพราะเป็นไปได้ว่าต่างคนต่างไม่รู้เป้าหมายของอีกคน
• 2. การวิเคราะห์แบบแข็ง (strong shared personal goal analysis) - ทั้งคู่มีสิทธิ(rights) ที่จะใส่ใจอีกคนและแก้ไขการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
• เป้าหมายของแต่ละคนต้องเปิดเผยออกมาชัดเจน ดังนั้น การเดินด้วยกัน ทั้งคู่ตระหนักว่าตนเองมีพันธะและมีสิทธิ
• ทั้งเพียงพอและจำเป็นทางตรรกะที่การเดินด้วยกัน ทั้งสองคนต้องมีความรู้ร่วม (common knowledge)
• Lewis “Convention”
• แต่แม้ต่างคนจะรู้เป้าหมายของอีกคนว่าต้องการเดินด้วยกัน แต่ก็สามารถไม่รับพันธะและความชอบธรรมที่จะ
ตำหนิกันได้ (obligation &entitlement to rebuke)

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 33 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 34

33 34

ความเป็นไปได้ของที่มาของสิทธิและพันธะ 3 แบบ ความหมายของ “พันธะ”

• 1. สมาชิกอาจคิดว่าตนมีหน้าที่ทางศีลธรรม (moral duty) ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่นเพื่อประโยชน์สูงสุด • ในงานของ H.L.A. Hart พูดถึงความแตกต่างระหว่าง


• แต่คนที่เดินด้วยกันเพราะมีหน้าที่ทางศีลธรรม สามารถคาดหวังความรับผิดชอบและสิทธิได้ • 1. “ถูกทำให้มพี ันธะ” (being obliged) = ลักษณะที่เกิดจากการพิจารณาอย่างรอบคอบ ดูจากว่าคนๆหนึ่ง
• แสดงว่าสิทธิและความคาดหวัง ไม่ใช่สิทธิและพันธะทางศีลธรรม ดังนั้นที่มาของสิทธิและพันธะไม่ใช่หน้าที่ทาง ต้องการอะไร และต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้ตามต้องการ
ศีลธรรม • 2. “การมีพันธะ” (having an obligation) = ลักษณะที่ได้มาจากสิ่งอื่น ดูจากเพียง (1) ไม่พอ ต้องมีการมีสิทธิ
ตำหนิ (entitlement to rebuke) ด้วย
• 2. ความรอบคอบ (prudence) ที่จะจัดการกับสถานการณ์อย่างระมัดระวังและต้องพยายามทำเท่าที่ทำได้เพื่อให้เกิด
การเดินด้วยกัน • กรณีเดินด้วยกัน เรากำลังพูดถึงพันธะแบบที่สอง = ไม่เพียงมีพันธะ แต่ต้องมีสิทธิที่จะตำหนิด้วย
• แต่ความรอบคอบต้องยืนอยู่บนความรู้ร่วมกันว่าอีกคนมีเป้าหมายส่วนตัวว่าอะไร
• ดังนั้นเพียงแค่ความรอบคอบ อาจทำให้มีพันธะที่จะทำตามนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายของทั้งคู่จะเป็น
เป้าหมายร่วมกัน

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 35 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 36

35 36

6
31/10/2022 R

3. เดินด้วยกัน : โครงร่างคำอธิบาย
ความเป็นไปได้ของที่มาของสิทธิและพันธะ

• การเดินด้วยกัน = ต่างคนต่างต้องแสดงความเต็มใจที่จะบรรลุเป้าหมายให้เป็นที่ยอมรับโดยตัวเองและอีกคนร่วมกัน
• 3. การสื่อสารเป้าหมายด้วยภาษาในพื้นที่สาธารณะ = ต้องแสดงความเต็มใจที่จะประกอบกันขึ้นเป็นองค์ประธานพหูพจน์ (plural subject) ของเป้าหมายว่าจะเดินไป
• Charles Taylor - ความรู้ร่วมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงระหว่างคนสองคน ยังไม่เท่ากับเป็นเรื่องระหว่างเรา (entre ด้วยกัน
nous) เพราะความรู้นนั้ ยังไม่ได้อยู่ในพื้นที่สาธารณะ • เงื่อนไขเพียงพอของการเป็น plural subject = การแสดงความเต็มใจว่าจะเดินด้วยกันภายใต้เงื่อนไขของความรู้
• เมื่อข้อเท็จจริงนั้นถูกสื่อสารออกมาโดยการใช้ภาษา ถึงจะเป็นเรื่องระหว่างเราในพื้นที่สาธารณะ ร่วมกัน
• กิลเบอร์ตแย้ง แม้จะประกาศออกมาเป็นกฎ เช่นว่า “ฉันตั้งใจทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อบรรลุให้เป้าหมาย เช่นถ้าเธอเดิน • ถ้าเกิดขึ้น จะเกิดพันธะและสิทธิที่จะตำหนิกันและคาดหวังได้ว่าทั้งคู่รู้ด้วย
ล้ำหน้าไปมาก ฉันจะตะโกนเรียก เป้าหมายของเธอ จะทำให้ฉันบรรลุเป้าหมายของฉัน”
• แม้การประกาศนี้จะทำให้เกิดสิทธิที่จะคาดหวัง (entitled to expect) เช่นว่าคนหนึ่งจะตะโกนเรียกถ้าอีกล้ำหน้า
ไปมาก และอีกคนก็มีสิทธิคาดหวังว่าอีกคนจะไม่แปลกใจที่ได้ยินอย่างนั้น
• แต่การพูดว่ามีสิทธิที่จะคาดหวัง เป็นเพียงการพูดอีกแบบว่าภายใต้เงื่อนไขปกติ ทั้งคู่สามารถอนุมานการกระทำ
บางอย่างว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่มีพันธะที่จะกระทำหรือสิทธิที่จะตำหนิอยู่ดี

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 37 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 38

37 38

เนื้อหาของภาระผูกพันเป็นอย่างไร
มโนทัศน์ขององค์ประธานพหูพจน์

• บ่อของเจตจำนงในฐานะที่เป็นหนึ่งเดียว ต้องอุทิศให้เป้าหมาย
• 1. ความเป็นองค์ประธานพหูพจน์ (plural subjecthood)
• = แต่ละคนต้องกระทำการในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลเดียวกัน (a single person) หรือประธานของการกระทำ
• เมือ่ เป้าหมายมีประธานเป็นพหูพจน์ ภายใต้เงื่อนไขที่สมาชิกมีความรู้ร่วมกันถึงเป้าหมายของคนอื่น เขาก็จะเสนอ เพื่อเป้าหมายที่มี
เจตจำนงของเขาให้เป็นส่วนหนึ่งของบ่อแห่งเจตจำนง (part of a pool of wills)
• = ทั้งคู่ต้องกระทำการราวกับเป็นสมาชิกของร่างๆเดียว (a single body) ร่างที่ประกอบด้วยคนสองคน
• บ่อนี้เป็นตัวเชื่อมโยงกลุ่มของปัจเจกเข้าด้วยกันเพื่อประกอบกันเป็น เจตจำนงพหูพจน์ (plural will) ที่เป็นหนึ่งเดียว • จะทำให้เกิดความรับผิดชอบและสิทธิ (rights) ที่ชัดเจน
อุทิศต่อเป้าหมายเฉพาะ
• เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ก็เกิดภาระผูกพัน (commitment)
• ภาระผูกพัน = ไม่มีใครสามารถปลดปล่อยคนใดคนหนึ่งออกจากภาระผูกพันนี้ แต่ละคนมีพันธะต่อกันที่จะกระทำการ
แต่ละคนมีสิทธิ (entitle) ที่จะกระทำการ

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 39 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 40

39 40

อรรถศาสตร์ของคำสรรพนาม “เรา” (ดู Wilfred Sellars ) 4. กลุ่มสังคมโดยทั่วไป


• ข้ออ้างในรูปของ “เราต้องการไปสู่เป้าหมาย G” สามารถอนุมานสู่การกระทำได้
• ข้ออ้าง “เราต้องการเดินไปด้วยกัน” เชื่อมกับข้ออ้าง “เธอล้ำหน้าไปมาก” และ “วิธีดีที่สุดที่ฉันจะช่วยให้บรรลุ • กลุ่มสังคมของมนุษย์ คือ ประธานพหูพจน์
เป้าหมายคือต้องบอกเธอให้เดินช้าลง”
• ข้ออ้างพวกนี้เพียงพอที่จะบังคับคนหนึ่งควรบอกอีกคนให้เดินช้าลง (ภายใต้เงื่อนไขปกติ) • เงื่อนไขจำเป็นและเพียงพอของการสร้างกลุ่มสังคม คือเซ็ตของคนหลายคนประกอบกันขึ้นเป็นประธานพหูพจน์
• “เรา” บ่งถึงประธานพหูพจน์ของเป้าหมายหนึ่ง = บ่งถึงบ่อของเจตจำนงที่อุทิศเป็นหนึ่งเดียวให้เป้าหมายนั้น • มโนทัศน์ที่ชัดเจนมากเกี่ยวกับกลุ่มสังคม (intuitive concept) คำอธิบายแบบประธานพหูพจน์สมเหตุผลพอเข้า
• การใช้คำว่า “เรา” ของสมาชิกคนหนึ่ง บ่งถึงบ่อของเจตจำนงที่มีเจตจำนงของเธอเป็นสมาชิก กับช้อมูลของนักสังคมวิทยา
• คำอธิบายประธานพหูพจน์ด้วยบ่อแห่งเจตจำนงที่อุทิศเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมกับสมมุติฐานที่ว่า
“เรา” บ่งถึงประธานพหูพจน์ที่มีผู้พูดเป็นส่วนหนึ่ง เป็นตัวอธิบายการอนุมานจากข้ออ้างที่มี “เรา”แบบแยกย่อยไม่ได้
(decomposed)
• สรุป
• การเดินด้วยกันคือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมแบบพิเศษแบบหนึ่ง ที่มีเป้าหมายเป็นเป้าหมายของประธานพหูพจน์
ซึ่งตรงข้ามกับการที่เป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนมีส่วนร่วมกัน (shared personal goal)
• “เป้าหมายของเรา” ตรงข้ามกับ “เป้าหมายของฉัน”หนึ่งคนหรือสองคน

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 41 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 42

41 42

7
31/10/2022 R

ตัวอย่างแย้ง กลุ่มสังคมที่ไม่มีเป้าหมายร่วม ตัวอย่างแย้ง กลุ่มสังคมที่ไม่มีเป้าหมายร่วม

• การเดินด้วยกันประกอบสร้างขึ้นเป็นประธานพหูพจน์ของเป้าหมายเฉพาะอันหนึ่ง (เป้าหมายที่ว่าเดินข้างๆกันในช่วงเวลาหนึ่ง) • 2. ความเป็นประธานพหูพจน์ขยายออกไปไม่เพียงเรื่องของเป้าหมาย แต่รวมเรื่องของความเชื่อและหลักการกระทำ


เรียกได้ว่ากลุ่มของคนกลุ่มนั้น มีเป้าหมายร่วมกัน ทั้งแบบ joint, collective, shared เมื่อเป็นประธานพหูพจน์ของเป้าหมาย
เดียวกัน • คำอธิบายของกิลเบอร์ต
• แต่มีตัวอย่างแย้ง
• ในบางสถานการณ์ที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกับกลุ่มสังคม ดูเหมือนไม่มีเป้าหมายร่วมที่เหมาะสม เช่นในนิยายเรื่อง “Minutes of • การสร้างกลุ่มสังคม คนต้องประกอบสร้างประธานพหูพจน์แบบใดแบบหนึ่ง และประธานพหูพจน์ใดก็ตามเรียกได้ว่า
the last meeting” ของ John Updike สมาชิกของคณะกรรมการไม่ค่อยชัดเจนว่าอะไรคือข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ เป็นกลุ่มสังคม
ตามปกติคณะกรรมการมีเป้าหมายบางอย่าง
• ดังนั้น คณะกรรมการในนิยายของ Updike มีความเชื่อและหลักการร่วม เหมือนครอบครัวทั่วไป แม้จะไม่มีเป้าหมาย
• กรณีครอบครัว การสร้างครอบครัวไม่ได้มีเป้าหมายร่วม (joint goal/goals) (ไม่ใช่ประเด็นที่ว่าครอบครัวมีประโยชน์เพื่อ
ตอบสนองความอบอุ่นทางจิตใจ) ร่วมที่ชัดเจน
• คำตอบ
• 1. สมมุติตั้งสมมุติฐานไว้ว่าไม่จริงที่ว่ากลุ่มสังคมทุกกลุ่มต้องมีเป้าหมายร่วม แต่ก็ไม่ล้มการอ้างว่ากลุ่มสังคมเป็นประธาน
พหูพจน์
• โดยทั่วไปมโนทัศน์พื้นฐานของประธานพหูพจน์ อยู่ทั้งในมโนทัศน์ของการกระทำที่มีส่วนร่วมกัน shared action และในมโนทัศน์
ของความเชื่อร่วมหรือมีมีส่วนร่วมกัน shared or collective belief และในมโนทัศน์ของหลักการร่วมหรือที่มีส่วนร่วมกัน
shared or collective principle

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 43 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 44

43 44

ถ้าต้องการคำอธิบายเรื่องกลุ่มสังคม ให้ดูปรากฏการณ์การเดินด้วยกัน คำอธิบายแบบองค์ประธานพหูพจน์ไม่ได้กว้างเกินไป


• ปกติมักพูดถึงกลุ่มสังคม เช่น ชาติ คลับ หรือครอบครัว ทำให้อาจตั้งข้อสงสัยว่าการใช้กรณีเดินด้วยกันเป็นตัวแทน
• การเดินด้วยกัน คนสองคนต้องประกอบสร้างเป็นประธานพหูพจน์ กลุ่มสังคมได้หรือไม่
• แต่ถ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดกับการเดินด้วยกัน จะพบว่าคนที่เดินด้วยกันมีปัญหาต้องแก้อยู่มาก เช่นจะเดินนานแค่ไหน ไป
• หัวใจของกลุ่มสังคม คือประธานพหูพจน์ เพราะ กลุ่มสังคมทั้งหลายก็คือประธานพหูพจน์ทั้งหลาย ทางไหน จะคุยกันไหมเรื่องอะไร สิ่งที่เกิดตามมาก็คือการตัดสินใจร่วม (collective decisions) และหลักการร่วม
• เห็นได้ชัดว่าคนที่สร้างประธานพหูพจน์แล้ว จะใช้คำว่า “เรา” บ่งถึงตัวเอง แสดงว่ากลุ่มสังคมกับประธานพหูพจน์ (joint principles) และอาจมีคำถามว่าการตัดสินใจทั้งหลายยุติธรรมไหม ใครบังคับใครไหม ความสนใจของสมาชิก
เชื่อมโยงกัน ถูกมองข้ามหรือไม่ เห็นได้ว่าแม้แต่การเดินด้วยกัน ก็มีมิติทางการเมือง
• ความคล้ายคลึงกับงานของรุสโซและฮอบบส์
• แต่ทั้งคู่พูดถึงชาติ เช่นของฮอบส์ ก็พูดเรื่ององค์ประธานพหูพจน์ เอกภาพที่แท้จริง real unity คือการรวมกัน
เป็นหนึ่งเดียวเหมือนเป็นหนึ่งบุคคล กลไกการรวมกัน อยู่ที่การมอบอำนาจให้คนอื่น และยกเลิกสิทธิของตัวเอง
ที่จะปกครองตนเอง
• งานของ George Simmel พูดถึงกลุ่มคนสองคน หรือ dyad ว่าต่างจากกลุ่มขนาดใหญ่ ในกรณีคนสองคน ต่างคนก็รู้
ว่าถ้าขาดอีกคนไป กลุ่มก็จบลง แต่ถ้ามีสามคน แม้ขาดคนหนึ่ง กลุ่มยังอยู่ สมาชิกกลุ่มสองคนอาจรู้สึกว่าความเป็น
กลุ่มมีอยู่จริงเหนือสมาชิกแต่ละคน ถ้าเช่นนั้น ก็เรียกได้กลุ่มสองคน เป็นกลุ่มสังคมเต็มตัว เพียงแต่มีลักษณะพิเศษ

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 45 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 46

45 46

คำอธิบายแบบองค์ประธานพหูพจน์ไม่แคบเกินไป มีข้อกังวลสองข้อ
สรุป คำอธิบายแบบองค์ประธานพหูพจน์
1. อาจสงสัยว่าในทุกกลุ่มสังคม มีหลักการ ความเชื่อ เป้าหมาย ร่วมจริงหรือ เช่น USA คนอเมริกันทุกคนประกอบเป็น
ประธานพหูพจน์กับคนอเมริกันคนอื่นไหม
• หรือเรียกได้ไหมว่า USA เป็นตัวอย่างของกลุ่มสังคม • การเดินด้วยกันเป็นการสร้างประธานพหูพจน์
• คนมักคิดว่าชาติเป็นตัวอย่างของกลุ่มสังคม แต่ไม่ชัดเจนว่าเราจะคิดถึงคนอเมริกันทุกคนว่าเป็นชาติ จะเป็นตัวอย่าง • ตามปกติเข้าใจกันว่ากลุ่มสังคม หมายถึงตัวอย่างเช่นครอบครัว สมาคม เผ่าชาติพันธ์
ของกลุ่มสังคม เพราะประชากรอเมริกันไม่ได้เข้าเงื่อนไขของกลุ่มสังคม แต่ก็ไม่ว่าจะเข้าหรือไม่ก็ไม่ได้ล้มคำอธิบายว่า • แต่มโนทัศนกลุ่มสังคม = มโนทัศน์ของประธานพหูพจน์
กลุ่มสังคมคือประธานพหูพจน์
2. อาจมีข้อสงสัยว่าคำอธิบายของกิลเบอร์ตอาจใช้ไม่ได้กับกลุ่มที่เป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจ เช่นกลุ่มคนงานกรรมการ • และเป็นหัวใจสำคัญของการบรรยายชีวิตทางสังคมของมนุษย์
blue-collar workers ในบางสังคม แน่นอนกลุ่มนี้ไม่ใช่ plural subject เสมอไป แต่ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคำอธิบายแบบ ps • เป็นตัวนำทางให้กับชีวิต ในชาติ ในคลับ ในครอบครัวและแม้แต่ในการเดิน
ตามปกตินักสังคมวิทยาและสังคมศาสตร์อื่นๆก็มักไม่รวมเอาชนชั้นทางเศรษฐกิจเป็นกลุ่มสังคม แม้จะสำคัญ แต่ถ้าการ
พูดถึงชนชั้นจะเป็นการสร้างประธานพหูพจน์ ก็นับได้ว่าเป็นกลุ่มสังคม
• กลุ่มสังคมคือประธานพหูพจน์
• สรุป การเดินด้วยกันเป็นการสร้างประธานพหูพจน์ และมโนทัศน์ของกลุ่มสังคม ที่ตามปกติคิดถึงตัวอย่างเช่น • การเดินด้วยกันเป็นการสร้างประธานพหูพจน์
ครอบครัว สมาคม เผ่าชาติพันธ์ ก็เป็น มโนทัศน์ เดียวกันกับมโนทัศน์ของประธานพหูพจน์ และเป็นหัวใจสำคัญของ
การบรรยายชีวิตทางสังคมของมนุษย์ เป็นตัวนำทางให้กับชีวิต ในชาติ ในคลับ ในครอบครัวและแม้แต่ในการเดิน • -------------------
• ดังนั้น การเดินด้วยกันเป็นกลุ่มสังคม

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 47 10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 48

47 48

8
31/10/2022 R

The rule-following paradox

• Wittgenstein Philosophical Investigations §201


• "This was our paradox: no course of action could be determined by a rule, because any course of
action can be made out to accord with the rule. The answer was: if everything can be made out to
accord with the rule, then it can also be made out to conflict with it. And so there would be neither
accord nor conflict here.”

• “It can be seen that there is a misunderstanding here from the mere fact that in the course of our
argument we give on interpretation after another; as if each one contented us at least for a moment,
until we thought of yet another standing behind it. What this shews is that there is a way of grasping
a rule which is not an interpretation, but which is exhibited in what we call ”obeying the rule” and
“going against it” in actual cases.”

10/31/22 Kanit M.Sirichan/ Philosophy of Social Science 49

49

You might also like