Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

ขอควรรูเกี่ยวกับการคุมกําเนิดสุนัขและแมว

ผูชวยศาสตราจารย น.สพ.ดร.ศุภวิวัธน พงษเลาหพันธุ

คณะสัตวแพทยศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ก. การผาตัดทําหมัน

เปนที่ทราบกันดีวาการคุมกําเนิดสุนัขและแมวอยางถาวรทีด่ ีที่สุดคือการผาตัดทําหมัน และอาจเปนเพราะเราคุนเคยกับคําวา


“ทําหมัน” มานานจนดูเหมือนวาการพาเจาตูบหรือนองเหมียวไปผาตัดทําหมันที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตวเปนเรื่องงาย
อยางไรก็ตามมีขอควรรูบางอยางที่เจาของสัตวควรคํานึงถึงเมื่อคิดจะทําหมันสัตวเลี้ยง

1. การผาตัดทําหมันเปนวิธีการคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพมากทีส่ ุด และเปนการคุมกําเนิดถาวร

2. การทําหมันที่ถูกตองและเหมาะสมตามหลักวิชาการทางสัตวแพทย คือการตัดรังไขและมดลูกออกทั้งสองขางในสัตวเพศเมีย
และตัดอัณฑะรวมถึงทอนําอสุจิออกทั้งสองขางในสัตวเพศผู ซึ่งวิธีและขั้นตอนการผาตัดอาจตางกันเล็กนอยในสุนัขและแมว
การตัดมดลูกออกเพียงบางสวนเปนวิธีที่ผิด สัตวอาจปวยเปนมดลูกอักเสบตามมาและเสียชีวิตได หรือในอดีตการรัดหนังยางที่
ถุงหุมอัณฑะเพื่อทําหมันสัตวเพศผูเปนวิธีที่ทรมาณสัตวอยางมาก และสัตวอาจเสียชีวิตจากแผลติดเชือ้ ตามมา

3. การผาตัดจําเปนตองมีการวางยาสลบ ดังนั้นสุนัขหรือแมวที่จะรับการผาตัดทําหมันตองไดรับการตรวจสุขภาพรางกายวา
แข็งแรงดี กอนการนัดวันผาตัด ซึง่ เจาตูบและนองเหมียวจะตองงดอาหารและน้ําอยางนอย 6-8 ชั่วโมงกอนผาตัด

4. หลังผาตัดตองมีการดูแล การดูแลแผลหลังผาตัดเปนเรื่องสําคัญที่ไมควรละเลย โดยเฉพาะอยางยิ่งในสุนัขและแมวเพศเมีย


เนื่องจากการตัดรังไขและมดลูกออกจะตองมีการเปดผาชองทองซึ่งนับไดวาเปนการผาตัดใหญ จึงตองพาสุนัขหรือแมวไปรับ
การทําแผลทุกวันติดตอกันอยางนอย 3-4 วัน เพื่อใหแนใจวาแผลสะอาดและไมมีปญ  หาแทรกซอน เชน แผลบวม เลือดคัง่
แผลแตกหรือติดเชื้อ เปนตน สัตวแพทยอาจใหยาลดปวดกินหลังผาตัดในระยะนีเ้ พื่อทําใหสัตวสบายขึ้นและไมแทะหรือเกา
แผลเนื่องจากเจ็บแผล ไมควรปลอยสัตวออกไปวิ่งเลนนอกบานในชวง 7 วันหลังผาตัด เนื่องจากแผลอาจมีการติดเชื้อและเกิด
แผลแตกตามมา หากสัตวเลียแผลมากเกินไป ควรใสปลอกคอลําโพงเพื่อปองกันการเลียแผล

5. ถาแผลดีและไมมีปญ
 หาแทรกซอน หมอจะนัดตัดไหมประมาณ 7 วันหลังผาตัด การทิ้งไหมผาตัดไวนานเกินไป จะทําใหปม
ไหมบาดแผลเกิดการอักเสบตามมาได

อายุเทาไรจึงทําหมันได ?

เคยมีความเชื่อวาตองรอใหสตั วเปนหนุมเปนสาวเต็มที่เสียกอนจึงทําหมันได (อายุมากกวา 1 ปขึ้นไป) หรือสุนัขและแมวเพศ


เมียมีอาการเปนสัดไปแลวอยางนอย 1 ครั้ง แตในปจจุบันไดมีการศึกษารายงานวา สามารถทําหมันสุนัขและแมวไดตั้งแตอายุ
3 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะเปนขอดีในกรณีที่ตองการควบคุมจํานวนสัตวเลี้ยง เพราะถารอจนสัตวแสดงอาการเปนสัดไปแลว อาจ
บังเอิญไดรับการผสมและตั้งทองคลอดลูกออกมาเปนภาระใหเจาของได โดยเฉพาะแมวเพศเมียบางตัวอาจแสดงอาการเปนสัด
ครั้งแรกที่ไมชัดเจน สังเกตไดยาก โดยทั่วไปสุนัขจะเริ่มเปนหนุมเปนสาวหรือเขาสูวัยเจริญพันธุ อายุประมาณ 7-10 เดือน
แมวจะเขาสูวัยเจริญพันธุไ ดเร็วกวาสุนัข แมวตัวเมียอาจเริ่มแสดงอาการเปนสัด รองหงาว เบี่ยงหาง สนใจตัวผู เพียงแคอายุ
ประมาณ 5-7 เดือน สวนกรณีสุนขั และแมวที่เลี้ยงตัวเดียวในบานหรือกรณีที่เลี้ยงหลายตัวแตเจาของสามารถดูแลทุกสัตวเลี้ยง
ทุกตัวไดเปนอยางดี อาจพิจารณาผาตัดทําหมันเมื่อสัตวโตเต็มที่แลว หรือปรึกษาสัตวแพทย

ผลดีจากการทําหมัน นอกจากการผาตัดทําหมันจะเปนการคุมกําเนิดถาวรที่ใหผลดีที่สดุ แลว ยังเปนการลดโอกาสการเกิดโรค


ทางระบบสืบพันธุไดอีกดวย โดยเฉพาะเนื้องอกเตานมในสุนัขและแมวหากมีการทําหมันกอนเปนสัดครั้งแรกอุบัติการณของ
โรคจะลดลงไดถึงเกือบ 100% นอกจากนี้โรคตอมลูกหมากโตในสุนัขเพศผูกล็ ดลงอยางมากเชนกันหลังทําหมัน อีกทั้งการตัด
รังไข มดลูก และอัณฑะออกจะเปนการกําจัดโอกาสการเกิดความผิดปกติและเนื้องอกของอวัยวะเหลานี้ออกไปอยางถาวรอีก
ดวย

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังทําหมัน ที่เห็นไดชัดคือพฤติกรรมทีเ่ กี่ยวของจากฮอรโมนเพศจะลดลง พฤติกรรมของสัตวเพศผู เชน


การขึ้นขี่ ออกเที่ยวนอกบาน ติดสัตวเพศเมีย หรือการยกขาปสสาวะเพื่อบอกขอบเขตอาณาบริเวณความเปนเจาของ จะลดลง
อยางเห็นไดชัดโดยเฉพาะแมวเพศผู พฤติกรรมกาวราว ดุหรือกัดสัตวตัวอื่นหรือสมาชิกของบานจะลดลง แตไมมีผลกับความ
กาวราวตอคนแปลกหนา ดังนั้นสุนัขที่เลี้ยงไวเฝาบานก็ยังคงเหาหรือขูคนแปลกหนาไดเหมือนเดิม นอกจากนั้นความซุกซน
ชอบเลน และการเหาไมมผี ลเปลี่ยนแปลงอยางเดนชัดหลังทําหมัน

ความอวนกับการทําหมัน ?

นอกจากสายพันธุ เพศ อายุ และอาหารการกินจะเปนปจจัยของโรคอวนในสุนัขและแมวแลว ผลการศึกษายืนยันวาการทํา


หมันเปนอีกปจจัยทีส่ ําคัญที่ทําใหสุนัขและแมวมีแนวโนมที่จะมีน้ําหนักเพิ่ม (overweight) และเปนโรคอวน (obesity) ซึ่ง
สามารถอธิบายไดจากการเผาผลาญพลังงานที่ลดลง ความอยากอาหารมากขึ้นโดยในเฉพาะสุนัขและแมวพศเมีย นอกจากนี้
สัตวที่เปนโรคอวนยังมีแนวโนมที่จะเกิดโรคตางๆ ตามมาไดงาย เชน โรคเบาหวาน โรคของตอมไทรอยดชนิด
hypothyroidism และเพิ่มความเสี่ยงตอโรคขอเขาและเอ็นขอเขาฉีกขาด ดังนั้นภายหลังการทําหมัน หากสัตวเลี้ยงมีแนวโนม
จะอวน เจาของสัตวควรคํานึงถึงเรื่องของอาหารและการออกกําลังกายของสัตวดวย มีการปรับเปลี่ยนชนิดอาหาร ลดปริมาณ
และเพิ่มการออกกําลังกาย อาหารเม็ดสําเร็จรูปเปนอีกทางเลือกหนึ่งของการคุมน้ําหนักที่ดีเนื่องจากเจาของจะทราบปริมาณ
แนนอนที่ใหสัตวกิน ในปจจุบันมีอาหารสุนัขและแมวสําเร็จรูปชนิดที่ใหพลังงานต่ําและมีสูตรเฉพาะสําหรับสัตวที่ทําหมัน
จําหนาย โดยอาหารดังกลาวจะใหพลังงานนอยเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารของสุนัขที่ไมทําหมัน มีการเพิ่มกากใยมากขึ้น อีกทั้ง
ยังมีการเติมสารที่เรงการเผาผลาญไขมัน เชน L-Carnitine ซึ่งเหมือนกับอาหารเสริมลดน้ําหนักของคน

เนื่องจากปญหาการเพิ่มจํานวนขึน้ อยางมากของสุนัขและแมวจรจัดในประเทศไทยยังคงมีอยูอยางตอเนื่อง การรณรงคให


เจาของสุนัขและแมวนําสัตวไปรับการคุมกําเนิดอยางถูกวิธียังเปนสิ่งสําคัญที่ตองกระทํา สิ่งตางๆเหลานี้สัตวแพทยยินดีที่จะให
คําปรึกษาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมเปนกรณีไป

ข. การฉีดยาคุมกําเนิด

การฉีดยาคุม ปลอดภัยแคไหน?

ยาคุมกําเนิด คือฮอรโมนชนิดโปรเจสเตอโรน สามารถระงับอาการเปนสัดในสัตวเพศเมียไดเพียง “ชั่วคราว” การฉีดตอเนื่อง


นานๆ จะสงผลเสียตอสัตวและเปนอันตรายถึงชีวิตได โปรเจสเตอโรนไมสามารถใชคุมกําเนิดในสัตวเพศผูได การใชยา
คุมกําเนิดในสุนัขและแมวเพศเมียจะอันตรายกวาการกินยาคุมในผูหญิงมากเนื่องจากระบบฮอรโมนเพศของสัตวแตกตางจาก
มนุษย ยาเม็ดคุมกําเนิดของคนไมมีผลคุมกําเนิดในสุนัขและแมว ดังนั้นจึงไมสามารถนํายาคุมกําเนิดของคนมาปอนสัตวเลี้ยงได
หากจําเปนตองใชยาคุมกําเนิดในสุนัขและแมว ควรปรึกษาสัตวแพทยเสมอ เนื่องจากการใชที่ผิดจะทําใหสัตวเปนมะเร็งเตา
นมหรือเสียชีวิตจากภาวะมดลูกอักเสบเปนหนองได การฉีดยาคุมกําเนิดที่ไมเหมาะสมจะกอใหเกิดอันตรายตอสัตว

1. หามฉีดยาคุมติดตอกันนานเกินกวา 2 ปหรือฉีดติดตอกันทุก 6 เดือนเกินกวา 3 เข็ม

2. หามฉีดยาคุมปริมาณมากเกินกวาขนาดตัวสัตว โดยไมมีชั่งน้ําหนักสัตวหรือการคํานวณปริมาณยาที่ถูกตอง

3. หามฉีดยาคุมขณะทีส่ ัตวมีอาการเปนสัด เชน สุนัขกําลังมีประจําเดือนหรือแมวมีอาการรองหงาวติดตัวผู

4. หามฉีดยาคุมหลังผสมพันธุ หรือ หามฉีดยาคุมขณะสัตวตั้งทอง เพราะจะทําใหลูกตายในทองเมื่อครบกําหนดคลอด

5. การฉีดยาคุมในแมวทําไดยาก เพราะแมวเปนสัดทุก 2-3 สัปดาหและอาจไดรับการผสมตั้งทอง โดยเจาของไมทราบ

ภาพแสดง มดลูกสุนัขที่มีการอักเสบและมีหนองขังอยูภายในจํานวนมาก จากการฉีดยาคุมตอเนื่องเปนเวลานาน

You might also like