Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

1

คาพิพากษาฎีกาที่ 6412-6413/2557

นายมัตสุ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน โจทก์

บริษัทพีโอเอส จากัด จาเลย

เรื่อง เมื่ อ ลู ก จ้ า งบอกเลิ ก สั ญญาหรื อ นายจ้ า งเลิก จ้ า ง วั นพั ก ผ่ อ นประจ าปี สะสมของลู ก จ้ า งที่มี อ ยู่
นายจ้ างต้ องจ่ ายค่ าจ้ างสาหรับวันหยุดพักผ่ อนประจาปี สะสมให้ กบั ลูกจ้ าง

1. โจทก์ท้ งั สองฟ้ องว่า โดยโจทก์ที่ 1 เข้าทางานตั้งแต่วนั ที่ 1 เมษายน 2548 ตาแหน่ งผูจ้ ดั การ
ฝ่ ายขาย ค่าจ้างอัตราสุ ดท้ายเดือนละ 84,094 บาท โจทก์ที่ 2 เข้าทางานตั้งแต่วนั ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548
ตาแหน่งผูจ้ ดั การฝ่ ายบริ การ ค่าจ้างอัตราสุ ดท้ายเดือนละ 79,794 บาท กาหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้ นเดื อน
ในเดือนมีนาคม 2552 จาเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 เพียง 72,884.93 บาท คงค้างจ่าย 11,213.07 บาท
และให้โจทก์ที่ 2 เพียง 21,278.40 บาท คงค้างจ่าย 18,618.60 บาท ขอให้บงั คับจาเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย
พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วนั ฟ้ องจนกว่าจะชาระเสร็ จแก่โจทก์ท้ งั สอง
2. จาเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เคยเป็ นลูกจ้างจาเลยแต่ลาออกแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วนั ที่
31 และวันที่ 16 มีนาคม 2552 ตามลาดับ จาเลยมีขอ้ บังคับเกี่ยวกับการทางานกาหนดให้ลูกจ้างที่ทางาน
ครบสัญญาจ้าง 1 ปี และทางานต่อในปี ถัดไป มีสิทธิ ลาหยุดพักผ่อนประจาปี ได้ 6 วันทางานโดยได้รับ
ค่าจ้าง แต่ตอ้ งยื่นใบลาล่ วงหน้าและได้รับอนุ มตั ิจากหัวหน้างานก่ อน และไม่สามารถนาวันหยุดสะสม
ในปี ก่อนมารวมได้ ปี 2552 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ทางานเพียง 2 เดื อน มีสิทธิ ลาหยุดพักผ่อนประจาปี
เพียงคนละ 1 วัน แต่โจทก์ที่ 1 หยุดงานตั้งแต่วนั ที่ 16 มีนาคม 2552 จนถึงวันที่การลาออกมีผล ถื อว่า
ขาดงาน 8 วัน โจทก์ที่ 2 หยุดงานตั้งแต่วนั ที่ 1 มีนาคม 2552 จนถึงวันที่การลาออกมีผล ถือว่าขาดงาน
9 วัน จาเลยจ่ายค่าจ้างเดือนมีนาคม 2552 ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จานวน 26 วัน และ 8 วัน ตามลาดับ
อันเป็ นจานวนมากกว่า ที่ โจทก์ท้ งั สองจะพึ ง ได้รับ จาเลยจึ ง ไม่ ไ ด้ค ้า งช าระค่ า จ้า งเดื อนมี นาคม 2552
ขอให้ยกฟ้ อง
3. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จาเลยจ่ายค่าจ้างจานวน 11,213.07 บาท แก่โจทก์
ที่ 1 และจานวน 18,618.60 บาท แก่ โจทก์ที่ 2 พร้ อมดอกเบี้ ย อัตราร้ อ ยละ 15 ต่ อปี นับ แต่ วนั ฟ้ อง
(วันที่ 21 เมษายน 2552 ) เป็ นต้นไปจนกว่าจะชาระเสร็ จแก่โจทก์ท้ งั สอง
4. จาเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
2

ศาลฎี กาแผนกคดี แรงงานตรวจสานวนประชุ มปรึ กษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟั งข้อเท็จจริ งว่า


จาเลยมีขอ้ บังคับเกี่ยวกับการทางาน ข้อ 4 ซี กาหนดว่า เมื่อพนักงานได้ทางานครบสัญญาจ้างหนึ่งปี
และท างานต่อในปี ถัดไป พนักงานมี สิทธิ หยุดพักร้ อน 6 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ตามข้อบัง คับเกี่ ยวกับ
การทางานเอกสารหมาย ล. 1 และสะสมวันหยุดที่ยงั ไม่ได้หยุดในปี ก่อนรวมในปี ถัดไปได้ตามรายงาน
การประชุมเอกสารหมาย จ. 2 ปี 2551 แล้ววินิจฉัยว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทางานเอกสารหมาย ล. 1 มิได้
ระบุ ไว้ชัดแจ้งว่าการคิ ดวันลาหยุดพักผ่อนประจาปี ให้คิดตามอัตราส่ วนของปี ที่ ทางานได้ เมื่ อปี 2552
โจทก์ท้ งั สองได้ทางานจึ งมี สิทธิ หยุดพักผ่อนประจาปี ของปี ดังกล่ าวได้คนละ 6 วัน และมีสิทธิ สะสม
วันหยุดที่ ยงั ไม่ได้ใ ช้ของปี 2551 อีกคนละ 2 วัน และ 4 วัน ตามลาดับ โจทก์ที่ 1 จึ ง มี สิทธิ ลาหยุด
พักผ่อนประจาปี รวม 8 วัน และโจทก์ที่ 2 มี สิทธิ ลาหยุดพักผ่อนประจาปี รวม 10 วัน จาเลยจึงต้องจ่าย
ค่าจ้างส่ วนที่คา้ งพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ท้ งั สองตามฟ้ อง
4.1 ที่ จ าเลยอุ ท ธรณ์ ว่า จาเลยแจ้ง ด้ว ยวาจาให้ โจทก์ ที่ 1 ทราบแล้วว่า ไม่ มี สิ ท ธิ ล าพัก ร้ อ น
ส่ วนโจทก์ที่ 2 ไม่อยู่รอรั บ ทราบค าสั่ ง ของจาเลย เห็ นว่า ในปั ญหานี้ ศาลแรงงานกลางฟั งข้อเท็จจริ ง
ว่านายกฤษฎากร กรรมการผูจ้ ดั การของจาเลย ได้บอกแก่โจทก์ที่ 1 ขณะที่ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจาปี
ว่าไม่ตอ้ งมาทางานแล้วและอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ลาหยุดพักผ่อนประจาปี ตามที่ยื่นใบลาได้ ส่ วนโจทก์ที่ 2
เมื่อนายกฤษฎากรรับใบลาของโจทก์ที่ 2 แล้ว ไม่ได้สั่งอนุ ญาตหรื อไม่อนุ ญาตในขณะนั้น ถื อว่าจาเลย
อนุ ญาตให้โจทก์ที่ 2 ลาหยุดได้โดยปริ ยาย ดังนั้นอุทธรณ์ ของจาเลยดังกล่าวจึงเป็ นการโต้เถียงดุลพินิจ
ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็ นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริ ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
4.2 มี ปั ญ หาต้อ งวิ นิ จฉัย ตามอุ ท ธรณ์ ข องจ าเลยว่า จ าเลยจะก าหนดวัน หยุด พัก ผ่อ นประจ าปี
ของปี 2552 ให้แก่โจทก์ท้ งั สองโดยคานวณให้ตามส่ วนตามพระราชบัญญัติคุม้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 30 ได้หรื อไม่ เห็ นว่า ลูกจ้างมีสิทธิ หยุดพักผ่อนประจาปี เพียงใดย่อมเป็ นไปตามพระราชบัญญัติ
คุม้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ซึ่ งบัญญัติวา่ ลูกจ้างซึ่ งทางานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิ
หยุดพักผ่อนประจาปี ได้ปีหนึ่งไม่นอ้ ยกว่า 6 วันทางาน โดยให้นายจ้างเป็ นผูก้ าหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่
ลูกจ้างล่วงหน้าหรื อกาหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปี ต่อมานายจ้างอาจกาหนดวันหยุด
พักผ่อนประจาปี ให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทางานก็ได้ สาหรับลูกจ้างซึ่ งทางานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้าง
อาจกาหนดวันหยุดพักผ่อนประจาปี ให้แก่ ลูกจ้าง โดยคานวณให้ตามส่ วนก็ได้ ตามบทบัญญัติดงั กล่ าว
มี ค วามหมายว่า ในปี แรกของการท างานลู กจ้า งยังไม่มี สิ ทธิ หยุดพัก ผ่อนประจาปี เมื่ อทางานติ ดต่อกัน
ครบ 1 ปี จึงจะเกิดสิ ทธิ เช่นนั้น ส่ วนในปี ต่อไปลูกจ้างก็มีสิทธิ หยุดพักผ่อนประจาปี ได้ทนั ที 6 วันทางาน
หรื อมากกว่าตามแต่นายจ้างจะอนุ ญาตหรื อข้อบังคับเกี่ยวกับการทางานของนายจ้างจะกาหนด โดยไม่ตอ้ ง
ท างานให้ ค รบปี เหมื อ นเช่ น ปี แรก เมื่ อ ข้อ เท็ จ จริ ง ในคดี น้ ี ได้ค วามว่า ปี 2552 ซึ่ งเป็ นปี สุ ดท้า ยของ
การท างาน โจทก์ ท้ งั สองท างานไม่ ค รบปี โดยลาออกไปก่ อ น แม้พ ระราชบัญ ญัติ คุ ้ม ครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มาตรา 67 วรรคท้ายบัญญัติว่าในกรณี ที่ลูกจ้างเป็ นฝ่ ายบอกเลิ กสัญญาหรื อนายจ้างเลิ กจ้าง
ไม่ว่าการเลิ กจ้างนั้นเป็ นกรณี ตามมาตรา 119 หรื อไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสาหรั บ
วันหยุดพักผ่อนประจาปี สะสมที่ ลูกจ้างพึงมี สิทธิ ได้รับตามมาตรา 30 ซึ่ งบทบัญญัติดงั กล่าวมี ผลทาให้
นายจ้ า งไม่ ต้อ งชดใช้ สิ ท ธิ ห ยุ ด พัก ผ่ อ นประจ าปี ที่ ลู ก จ้ า งต้ อ งเสี ยไปด้ ว ยการลาออกโดยการจ่ า ย
3

ค่ า จ้า งส าหรั บ วันหยุด พัก ผ่อนประจ าปี ในปี ที่ ล าออกตามส่ ว น แต่ เ มื่ อ ในปี ที่ โ จทก์ท้ งั สองลาออกนั้น
จาเลยอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ลาหยุดพักผ่อนประจาปี จึงเป็ นการหยุดตามที่จาเลยกับโจทก์ท้ งั สอง
ตกลงกัน จาเลยไม่ อาจหัก ค่ า จ้า ง โจทก์ท้ งั สองโดยอ้างเหตุ ใ ช้สิ ท ธิ หยุดพัก ผ่อนประจาปี เกิ นส่ วนได้
อุทธรณ์ของจาเลยข้อนี้ฟังไม่ข้ ึน
5. พิพากษายืน



รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มนั่
www.paiboonniti.com
Code : 63

You might also like