การออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นสับต้นกล้วย Design and Development of Banana Tree Shredding Machine

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1

“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
20 เมษายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
การออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นสับต้นกล้วย
Design and Development of Banana Tree Shredding Machine

เทิดศักดิ์ พรมทา1* สหรัฐ ปฏิฐาน1 อิสระพงษ์ โพธิ์ดอกไม้1 และ วันชาติ สุพรมพิทักษ์2


Theodsak Promtha1* Sahalas Patitan1 Aisarapong Phodokmai1 and Wanchart Suprompitak2
1นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย ประเทศไทย 42000
2อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย ประเทศไทย 42000
1Student, Program of Production Engineering, Faculty of Industrial Technology, Loei Rajabhat University,

Loei Province, Thailand, 42000


2Lecturer, Program of Production Engineering, Faculty of Industrial Technology, Loei Rajabhat University,

Loei Province, Thailand, 42000


*Corresponding author: slur777888@gmail.com

บทคัดย่อ
การออกแบบและพั ฒ นาเครื่องหั่ นต้นกล้วย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ อออกแบบและพัฒ นาเครื่องหั่ นสับต้น กล้วย
2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทางานของเครื่องหั่นสับต้นกล้วยที่พัฒนาขึ้น การออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นต้นกล้วย
มีขนาดความสูง 88 cm ความกว้าง 26 cm ความยาว 50 cm มีส่วนประกอบที่สาคัญ คือ จานหมุนใบมีดหั่นสับแบบ 2 ใบมีด
ติดตั้งบริเวณด้านข้างเครื่อง ใช้มอเตอร์ขนาด 1 hp เป็น ต้นกาลังและส่งกาลังด้วยสายพานร่องวี ขนาดใบมีด มีความยาว
12 cm ความกว้าง 10 cm ความหนา 3 mm กาหนดระยะห่างของใบมีดกับพื้นที่รับการเคลื่อนลงของต้นกล้วย 5 cm
ผลการทดสอบประสิท ธิภ าพการท างาน พบว่าเครื่องหั่ น สับ ต้น กล้วยสามารถหั่ น สับ ต้น กล้วย ปริม าณ 5.3 Kg
ภายใน 1 min น้าหนักชิ้นกล้วยที่ได้ขนาดตามขอบเขตที่กาหนด มีปริมาณ 4.9 Kg คิดเป็นประสิทธิภาพการทางานของเครื่อง
เท่ากับ 95.32 %

คาสาคัญ: ต้นกล้วย ใบมีดหั่นสับ ประสิทธิภาพ

Abstract
This project aims 1) to design and develop banana tree shredding machine 2) to evaluate
efficiency of developed banana tree shredding machine. The machine dimension with 80x26x50 cm was
designed and drawn. The main component of the machine was a two-blade shredder which mounted on
the side of the machine. Electric motor power of 1 hp was installed with V-belt driven. The blade size
was 12x10x0.3 cm. The distance between blade and supporter was 5 cm.
The results found that, the developed banana tree shredding machine can cut banana tree to be
thin plate for 5.3 Kg in 1 min. The weight of banana tree cut sized according to the specified limits was
4.9 Kg, representing the efficiency of the banana tree shredding machine equal to 95.32 %.

Key words: Banana strip, Rotating plate, Strip slicing blade, Efficiency

173
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1
“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
20 เมษายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
บทนา

กล้วยเป็นพืชพื้นบ้านที่นิยมปลูกในทุกท้องถิ่นในประเทศไทยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากต้นกล้วยจานวนมาก
ในชีวิตประจาวันแต่ในผลสารวจของ เกษตรจังหวัดเลย ได้ค้นพบว่า กล้วย เป็นยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจของจังหวัดหลังพื้นที่
ปลูกต้นกล้วยลดลงเพราะเกษตรกรหันไปปลูกยางพารามากขึ้นเนื่องจากมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจชนิด
ใหม่และทาให้ พื้ นที่ ปลูกกล้วยลดลงเป็น จานวนมากโดยพื้ น ที่ป ลูกกล้วยของจังหวัดเลยคื ออาเภอปากชม ท่ าลี่ เมืองเลย
เชียงคาน หนองหิน จากสถิติข้อมูลในปี 2555 มีพื้นที่ปลูกกล้วย 41,152 ไร่
โดยทั่วไปเกษตรกรที่ปลูกกล้วยจะตัดเอาผลไปจาหน่ายหรือรับประทานแต่ส่วนลาต้นมักไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์
แต่ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการพัฒนาและมีการเรียนรู้โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้นาต้นกล้วยที่เหลือจากการตัดเอาผลมาใช้
เลี้ยงสัตว์ โดยนาต้นกล้วยมาย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ วนามาเข้ากระบวนการหมักและนาไปเลี้ยงสัตว์ซึ่งสามารถเลี้ยงสัตว์ได้
หลายชนิด อาทิ สุกร โค กระบือ แต่ปัญหาจากการทางานพบว่าการหั่นต้นกล้วยต้องเสียเวลาในการหั่นและใช้ แรงงานมาก
จึงมีผู้ประดิษฐ์สร้างเครื่องหั่นต้นกล้วยเพื่อลดระยะเวลาการทางานและลดแรงงานคนมาก่อน จากการศึกษาพบว่าเครื่องที่
สร้างขึ้นยังมีปัญหาในการใช้งาน คือ กล้วยที่หั่นได้มีขนาดใหญ่เกินกาหนด และมีเส้นใยติดที่ใบมีดทาให้เกิดแรงต้านขณะหั่น
สับ อีกทั้งการตั้งองศาใบมีดไม่สามารถทาได้และการทดกาลังยังไม่เหมาะสม โดยใช้พูเล่มาปรับความเร็วของเครื่องหั่นสับจึงมี
ขนาดใหญ่ ลดประสิทธิภาพในการทางาน
กรอบแนวคิดของโครงงานจากการวิจัยที่ผ่านมา มีดังนี้
บุญเจิด (2550) การศึกษาครั้งนี้ เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องหั่นข่า ในการทดสอบและประเมินผลเครื่องหั่นข่าที่
สร้างขึ้น เพื่อทาข่าแห้งโดยใช้มีดของเกษตรกร การออกแบบสร้างเครื่องหั่นข่า และการประเมินผลเครื่องหั่นข่าที่สร้างขึ้น
เครื่องหั่นข่ามีส่วนประกอบที่สาคัญ ได้แก่ ส่วนของโครงเครื่องใบมีด ระบบส่งกาลังและส่วนของระบบป้อนข่า หลักการทางาน
ของเครื่องหั่นข่า คือ เมื่อเปิดสวิตช์ ใช้มอเตอร์กระแสสลับ 220 V ขนาดครึ่งแรง ที่เป็นต้นกาลังของเครื่องจะหมุนและส่งกาลัง
ผ่านสายพานไปขับชุดของใบมีด ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปจานกลม เส้นผ่า นศูนย์กลาง 40 cm เมื่อใบมีดได้รับกาลังจากมอเตอร์ก็
จะหมุนตาม โดยมีความเร็วในการหมุนของจานใบมีด 270 rpm/min จากนั้นนาเหง้าข่าที่ต้องการหั่นมาใส่ในช่องสาหรับใส่ข่า
ใบมี ด ก็ จ ะตั ด เหง้ า ข่ า และมี ค วามหนาของแผ่ น ข่ า 5 mm ความสามารถในการท างานเมื่ อ ใช้ หั่ น ข่ า ที่ มี ค วามชื้ น 60 %
(มาตรฐานเปี ย ก) เฉลี่ ย เท่ า กั บ 382.06 Kg/hr เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ การหั่ น ข่ า โดยใช้ มี ด หั่ น ของเกษตรกร มี ค่ า เฉลี่ ย
20.33 Kg/hr ซึ่งเมื่อคิดเป็นอัตราส่วนความเร็วจะมากกว่าถึง 16.13 เท่า ของการหั่นโดยใช้มีด แต่การหั่นข่าโดยใช้เครื่องที่
ประดิษฐ์ขึ้น จะมีเปอร์เซ็นต์ของแผ่นข่ าที่หั่นได้ สั้นกว่า 3 cm เฉลี่ย 8.37 % ซึ่งมากกว่าการหั่นข่าโดยใช้มีดของเกษตรกร
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.22 %
สุทัศน์ และคณะ (2558) มีวัตถุประสงค์เพื่อทาการศึกษาและพัฒนาเครื่องหั่นสมุนไพรให้มีประสิทธิภาพในการหั่น
เช่น สามารถหั่นสมุนไพรได้ทั้งชนิดใบและเครือสามารถเพิ่มผลผลิตและลดเวลาใช้ในขั้นตอนการหั่นสมุนไพร เพื่อนามา
ออกแบบเครื่องจักร โดยการออกแบบและสร้างเครื่องหั่นสมุนไพรครั้งนี้โดยใช้ม อเตอร์กระแสสลับ 220 V ขนาด 1 hp
เป็นตัวต้นกาลังต่อเข้ากับชุดทดรอบ ขับให้ข้อเหวี่ยงหมุนส่งผลให้มีดตัดสมุนไพรที่ความเร็ว 60 ครั้ง/นาที และสามารถปรับ
อัตราป้อนได้ 5 ขั้นตอนคือ ที่อัตราป้อน 1 ฟัน (ระยะ 6.28 mm) ที่อัตราป้อน 2 ฟัน (ระยะ 12.56 mm) ที่อัตราป้อน 3 ฟัน
(ระยะ 18.84 mm) ที่อัตราป้อน 4 ฟัน (ระยะ 25.12 mm) และที่อัตราป้อน 5 ฟัน (ระยะ 31.4 mm) โดยใช้สมุนไพรเช่นนา
หัวข่ามาทาการทดลองสามารถหั่นให้เป็นที่ขนาดความหนา 2, 3, 4 และ 5 mm หั่นได้เท่ากับ 66.64, 73.72, 84.00 และ
115.60 Kg/hr ตามลาดับ สาหรับการหั่นสมุนไพรประเภทต้นได้นาตะไคร้มาทาการทดลองโดยหั่นที่ขนาดความยาวระหว่าง
10 ถึ ง 20 mm สามารถหั่ น ได้ เฉลี่ ย 51.02 Kg/hr ตามลาดั บ ผลการพั ฒ นาเครื่อ งหั่ น สมุ น ไพร สามารถหั่ น สมุ น ไพรได้
มากกว่าเครื่องหั่นสมุนไพรแบบเดิม เพิ่มขึ้น 41.38 % และมีค่าใช้จ่ายในการหั่นสมุนไพรเท่ากับ 0.568 bath/Kg
สุบิน (2552) มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องหั่นฟางที่เหมาะสมกับการใช้งานในชุมชนจึงได้ดาเนินการ
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องหั่นฟาง โดยเครื่องที่สร้างขึ้นมีขนาดกว้าง 60 cm ยาว 100 cm สูง 140 cm

174
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1
“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
20 เมษายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
มีส่วนประกอบที่สาคัญ 3 ส่วน คือ ชุดใบมีด โครงเครื่องและชุดถ่ายทอดกาลัง หลังจากดาเนินการสร้างและปรับปรุงแก้ไข
ข้ อ บกพร่อ งแล้ ว จึ ง ท าการทดสอบเพื่ อ หาสมรรถนะของเครื่ อ ง จากผลการทดลองของรูต ะแกรงพบว่า ขนาด 12 mm
กั บ ความเร็ ว รอบที่ 750 rpm/min เป็ น ค่ า ที่ เ หมาะสม เพราะให้ ค่ า เฉลี่ ย ฟางที่ หั่ น ฟางได้ ข นาด 3-5 cm มากที่ สุ ด
และให้ค่าเฉลี่ยฟางที่หั่นไม่ได้ขนาดและฟางที่ค้างในเครื่องน้อยที่สุด ผลสรุปของการทดสอบ พบว่าเครื่องมีอัตราการหั่นฟางได้
30 Kg/hr โดยให้ ค่ าเฉลี่ ยเปอร์เซ็ น ต์ ฟ างที่ ได้ ข นาดเท่ า กั บ 76.8 % ค่ าเฉลี่ ยเปอร์ เซ็ น ต์ ฟ างที่ ไม่ ได้ ข นาดเท่ ากั บ 13.2 %
ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ฟางที่ค้างในเครื่องเท่ากับ 10 %
พงษ์ศักดิ์ (2551) งานวิจัยเรื่องการออกแบบและสร้างเครื่องฝานกล้วยน้าว้าสุกสาหรับทากล้วยเบรกแตก จัดทาขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเครื่องฝานกล้วยน้าว้าสุก ฝานกล้วยให้สามารถผลิตเป็นขนมกล้วยเบรกแตกได้และให้สามารถเพิ่ม
ผลผลิตและลดเวลาที่ใช้ในขั้นตอนการฝานกล้วย การออกแบบและสร้างเครื่องฝานกล้วยน้าว้าสุกสาหรับทากล้วยเบรกแตก
ครั้งนี้ใช้มอเตอร์กระแสสลับ 220 V ขนาด 1 hp เป็นตัวต้นกาลังต่อเข้ากับคลับปลิงเพื่อขับชุดทดรอบที่มีเฟือ งติดอยู่กับแกน
ของชุ ด ทดรอบเป็ น ตั ว ขั บ ให้ ข้ อ เหวี่ ย งหมุ น ชั ก ให้ แ ท่ น สไลด์ ที่ มี ใ บมี ด ติ ด อยู่ เคลื่ อ นที่ ใ นแนวราบตั ด เฉื อ นเนื้ อ กล้ ว ย
โดยใช้คุณภาพของแผ่นกล้วยที่ฝานได้และเวลาที่ใช้ในการฝานกล้วยเป็นดัชนีชี้วั ดจากการทดลองการทางานของเครื่องฝาน
กล้วยน้าว้าสุกสาหรับทากล้วยเบรกแตก ผลการตรวจสอบ พบว่า คุณภาพของแผ่นกล้วยที่ใช้เครื่องฝานกล้วยน้าว้าสุกสาหรับ
ทากล้วยเบรกแตกมีคุณ ภาพไม่ด้อยไปกว่าการใช้มือฝาน จากการทดลองใช้เครื่องฝานกล้วยน้าว้าสุกที่ทาการสร้างขึ้นมา
สามารถฝานกล้วยน้าว้าสุกได้ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 27.84 Kg/hr เป็น 52.08 Kg/hr
วิรัตน์ (2554) การศึกษาครั้งนี้ เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องหั่นชิ้นมันเส้นแบบใบมีดหมุน ที่ทางานต่อเนื่องกัน
สาหรับเกษตรกรใช้ผลิตชิ้นมันเส้นสะอาดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมอาหารโคนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานลดต้นทุนใน
การผลิต ลดการใช้ แรงงานคน ประหยัดเวลา เครื่องหั่นที่ออกแบบสร้า งขึ้น มีหลักการท างาน คื อ ป้อนวัตถุดิบคื อหัวมัน
สาปะหลังเข้าสู่ส่วนทาความสะอาดที่ใช้หลักการขัดสีของวัตถุดิบในน้าเพื่อขัดผิวและล้างให้สะอาดแล้วลาเลียงส่งเข้าชุดใบมีดที่
ใช้หลักการเฉือนและหั่นหัวมันให้ได้เป็นชิ้นมันสะอาด โดยใช้ต้นกาลังขับในเพลาเดียวกันทาให้ทุกส่วนทางานต่อเนื่องพร้อมกัน
จึงได้ผลผลิตชิ้นมันสะอาดและได้เครื่องหั่นชิ้นมันเส้นแบบใบมีดหมุนที่ทางานต่อเนื่องกันตรงตามที่เกษตรกรทุกฝ่ายต้องการ
ผลการทดสอบการทางาน ที่ความเร็วรอบเพลาขับ 50 rpm/min เครื่องสามารถทาความสะอาดหัวมันสาปะหลังจนไม่พบเห็น
ดินปนเปื้อน โดยมีเปอร์เซ็นต์เปลือกติดค้างหลังการทาความสะอาด 14.44 % มีความสามารถในการหั่นชิ้นมันเส้น 1,457.4
Kg/hr มีประสิทธิภาพการหั่นชิ้นมัน 85.6 % ในการหั่นหัวมันสาปะหลังมีชิ้นมันเส้นเต็มและมีชิ้นแตกหัก 85.5 % และ 11.23
% ตามลาดับ ตอบสนองความต้องการให้เกษตรได้ดีมากขึ้น
ดังนั้ น ผู้วิจั ยจึ งมีแ นวทางคิ ดพั ฒ นาสร้างและหาประสิท ธิภ าพของเครื่องหั่ น ต้ น สับ กล้วยเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิภ าพ
โดยโครงการวิจัยนี้จะใช้ต้นกาลังจากพลังงานจากไฟฟ้าขนาด 220 V ซึ่งจะสามารถลดเวลาการหั่นต้นกล้วยและสะดวก
ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับผู้ใช้งานรวมไปถึงเกษตรกรเครื่องสับ/หั่น/ตัดแบบใบมีดสาหรับย่อยวัสดุทางการเกษตรอื่นต่อไป

วิธีดาเนินการวิจัย

1. เตรียมวัตถุดิบคือต้นกล้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 cm
2. เตรียมอุปกรณ์การจับเวลาและใช้บันทึกผลการทดลอง
3. เตรียมเครื่องหั่นต้นกล้วยให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งานโดยการเสียบปลั๊กและตรวจสอบดูความตึงของสายพาน
ระบบส่งกาลัง
4. เปิดเครื่องเพื่อเตรียมพร้อมในการป้อนวัตถุดิบ
5. ป้อนต้นกล้วยพร้อมทั้งการจับเวลาทดลอง 1 min
6. เมื่อได้เวลาทดลองครบ 1 min ตามกาหนดทาการปิดเครื่องและหยุดการป้อนวัตถุดิบ
7. นาต้นกล้วยที่ผ่านการทดลองมาชั่งเพื่อหาค่าน้าหนักนามาเปรียบเทียบกับสมมุติฐาน
8. ดาเนินการทดลองให้ครบ 5 ครั้งและนาผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบกับสมมุติฐาน

175
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1
“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
20 เมษายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลการวิจัย

Table 1 Banana tree shredding machine efficiency testing


Banana tree
Sliced banana Complete sliced Incomplete sliced shredding machine
No. tree banana tree banana tree efficiency
(kg) (kg) (kg)
(%)

1 5.3 4.9 0.4 92.46

2 5.1 4.9 0.2 96.08

3 5.0 4.8 0.2 98.05

4 5.1 5.0 0.1 96.00

5 5.0 4.7 0.3 94.00

AV 5.1 4.86 0.24 95.32

a b c

Figure 1 Banana tree shredding machine a) Efficiency testing b) Weighting (c)

วิจารณ์และสรุปผลการวิจัย

เครื่องหั่นต้นกล้วยที่พัฒนาขึ้น ได้ค่าประสิทธิภาพของเครื่องหั่นต้นกล้วยภายใน 1 min ของการทดลองหั่นต้นกล้วย


5 ครั้ง เฉลี่ยออกมาได้ค่าประสิทธิภาพ คือ 95.32 % เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องเดิมที่มีอยู่ซึ่งทาได้ 81.9 % ซึ่งเครื่องที่ผู้วิจัย

176
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1
“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”
20 เมษายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ได้ทาการพัฒนาเครื่องหั่นต้นกล้วยขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องเดิมอย่างเห็นได้ชัดเพราะมีการปรับขนาดของเครื่อง
หั่นต้นกล้วยและออกแบบใหม่คือความสูง 88 cm ยาว 50 cm กว้าง 26 cm ใช้มอเตอร์ขนาด 1 hp โดยใช้ใบมีด 2 ใบและ
มีน้าหนักของเครื่องคือ 38 Kg สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกและเครื่องหั่นต้นกล้วยสามารถหั่นต้นกล้วยได้ 5 Kg ภายใน
1 min มีความหนาหลังการหั่น 1 cm เมื่อเปรียบเทียบกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือ 5 Kg/min

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สนับสนุนเครื่องมือ


และอุปกรณ์ในการดาเนินโครงงาน

เอกสารอ้างอิง

บุญ เจิด กาญจนา. 2550. เครื่องหั่ นข่าตากแห้ง . พิ ษณุ โลก: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิท ยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก.
พงษ์ศักดิ์ นาใจคง. 2551. เครื่องหั่นสมุนไพรสาหรับสมุนไพรอบผิว. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. 2554. เครื่องหั่นชิ้นมันเส้นแบบใบมีดหมุน . นครราชสีมา: คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม
ศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา.
สุทัศน์ ยอดเพชร, มาโนช ริทินโย และ พงษ์ศักดิ์ นาใจคง. 2558. การพัฒนาเครื่องหั่นสมุนไพรขนาดเล็กสาหรับชุมชน.
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา.
สุบิน ดอนคาเพ็ง. 2552. ออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นฟาง. พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก.

177

You might also like