Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 173

(ร่าง)

รายงานประจำปี 2563 ฉบับภาษาไทย


(ใช้งบการเงินชุดสอบทานและอยู่ระหว่าง สตง. รับรองงบฯ)
สารบัญ
หน้า
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563 ............................................................................................. 1
สารจากผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ..................................................................................................... 2
แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ................................................................................................................ 5
ข้อมูลองค์กร
ประวัติความเป็นมา ..................................................................................................................... 6
วิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม ............................................................................................................ 7
สภาพทางธุรกิจ แผนงานทางธุรกิจ และยุทธศาสตร์ .................................................................... 8
วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม
และสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง ....................................... 12
โครงสร้างการบริหารองค์กร
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ............................................................................................ 14
คณะผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวง .............................................................................................. 23
ผังโครงสร้างการแบ่งส่วนงานการไฟฟ้านครหลวง ...................................................................... 32
โครงสร้างอัตรากำลัง ................................................................................................................. 34
โครงสร้างเงินทุน
ทุนและโครงสร้างผู้ถือหุ้น .......................................................................................................... 35
หนี้เงินกู้ ..................................................................................................................................... 35
งบประมาณและการจ่ายเงินนำส่งรัฐ ......................................................................................... 35
แผนงานและโครงการลงทุนที่สำคัญ .......................................................................................... 36
รายงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ปี 2563 ........................................................................ 38
ผลการดำเนินงานตามภารกิจที่สำคัญ ปี 2563 ......................................................................... 40
ผลการดำเนินงานอื่น ๆ ที่สำคัญ ปี 2563 ................................................................................... 48
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม .................................................................................. 50
สรุปข้อมูลที่สำคัญทางการเงิน ................................................................................................... 52
รายงานวิเคราะห์ฐานะการเงิน ................................................................................................... 54
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ......................................................................................................... 57
กิจกรรมที่สำคัญ ปี 2563 .......................................................................................................... 63
การบริหารจัดการองค์กร
รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ..................................................... 70
การบริหารความเสี่ยงองค์กรและปัจจัยความเสี่ยง ..................................................................... 73
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ............................................................................................ 78
การควบคุมภายใน ..................................................................................................................... 80
การตรวจสอบภายใน ................................................................................................................. 81
การดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
รายงานของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ .................................................................................................. 83
การกำกับดูแลกิจการที่ดี ............................................................................................................ 87
รายงานการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
ของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 ............................................................................................. 100
โครงสร้างและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ .................................. 102
องค์ประกอบและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ............................................................... 103
การประชุมและค่าตอบแทนของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ........................................ 112
รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ประจำปีงบประมาณ 2563 ...................................................................................................... 118
รายงานทางการเงิน
รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน ........................................... 120
รายงานของผู้สอบบัญชี ............................................................................................................ 121
งบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ............................................................................ 122
ข้อมูลและสถิติ
ข้อมูลทั่วไป ............................................................................................................................... 165
ข้อมูลระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ................................................................................................. 166
ข้อมูลจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า หน่วยจำหน่าย รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ....................................... 167
สถานที่ตั้งและช่องทางการติดต่อ ..................................................................................................... 168
1

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563

- อยู่ระหว่างรอ สตง. รับรองงบการเงิน -


2

สารจากผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
ปี 2563 นับเป็นปีที่มีประเด็นความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านนโยบายภาครัฐ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม
ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน การไฟฟ้านครหลวงได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมรับต่อสถานการณ์
ทั้งในด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร การให้บริการประชาชน โดยนำค่านิยมองค์กร CHANGE มาเป็น
หลักในการทำงาน ตอบสนองต่อนโยบายและมาตรการของภาครัฐอย่างเร่งด่วน ด้วยการแบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้า
ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ประมาณ 4 ล้านราย ผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฟรี ส่วนลดค่าไฟฟ้า ขยาย
เวลาชำระค่าไฟฟ้า 6 เดือน ผ่อนผันการเก็บค่าไฟฟ้าอัตราขั้นต่ำ และคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยเน้น
ให้บริการแบบออนไลน์ผ่านระบบ MEASY และ MEA Smart Life Application ตลอด 24 ชั่วโมง
ตลอดปีที่ผ่านมา การไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินงานตามภารกิจและการพัฒนาที่สำคัญ ส่งเสริมให้
เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์องค์กรในการขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีช ีวิต
เมืองมหานคร โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และก้าวสู่
ยุคดิจิทัล ในการให้บริการแบบครบวงจร ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ดังนี้
⚫ การพัฒนาสู่เมืองมหานครอัจฉริยะ (Smart Distribution for Smart City)
การปรั บ ปรุ งศู น ย์ ควบคุ ม ระบบไฟฟ้ า Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)
ควบคู่กับการพัฒนาสถานีไฟฟ้าไปสู่ Digital Substation เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย
สามารถบริหารจัดการการจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
การดำเนินโครงการ Smart Metro Grid ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับเมือง
มหานคร ด้วยการติดตั้ง ระบบงานต่าง ๆ เช่น AMI (Advanced Metering Infrastructure) OMS (Outage
Management System) TLM (Transformer Load Monitoring) โดยระบบงานย่อยเหล่านี้สามารถสื่อสาร
วิ เ คราะห์ แ ละทำงานร่ ว มกั น (Interoperability) ช่ ว ยให้ ก ารควบคุ ม การจ่ า ยไฟและการบำรุ ง รั ก ษามี
ประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจวัดและเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ กำหนด
แนวทางการบริห ารจัดการได้ทัน สถานการณ์ สนับสนุนการวางแผนรองรับระบบไฟฟ้า ในอนาคต และ
สอดคล้องกับแผนพัฒนา Smart City ของรัฐบาล และการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็น
สายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่องในพื้นที่สำคัญ
การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และพื้นที่
โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนหรือ Transit Oriented District (TOD) เชื่อมโยงระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
Smart Metro Grid พัฒนาพื้นที่ให้เป็น Smart City รองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ - รังสิต) และ
สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
นอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้า Distributed Energy Market
Platform (DEM) โดยมีการศึกษาพัฒนา Platform สำหรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับจำหน่าย การบริหาร
จัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงการเชื่อมโยงกับตลาดซื้อขายไฟฟ้าอื่น ๆ
⚫การพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการมุ่งสู่ดิจิทัล (Smart Service)
การปรับปรุงกระบวนการบริการมุ่งพัฒนาสู่ Digital Service ครบวงจร ได้แก่
การพัฒนาระบบบริการออนไลน์ MEASY ผ่านเว็บไซต์ และ MEA Smart Life แอปพลิเคชันของ
การไฟฟ้านครหลวง ที่ใช้งานง่าย เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า สำหรับการขอคืนเงิน
3

ประกันการใช้ไฟฟ้า การขอติดตั้งไฟฟ้าใหม่/ไฟฟ้าเพิ่ม การขอติ ดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว การขอเพิ่ม/ลดขนาด


เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ตลอดจนการของดการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
การดำเนินโครงการ MEA e-Bill ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง
SMS หรือ Email ได้แก่ ใบแจ้งยอดค่าไฟฟ้า ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี และหนังสือเตื อนให้ชำระค่าไฟฟ้า
ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตกระดาษ และลดปริมาณขยะ
⚫ การส่งเสริมพลังงานทดแทน (Smart Energy)
การไฟฟ้านครหลวงให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินโครงการ
นำร่องที่สำคัญ อาทิ ระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวงเชื่อมต่อกับระบบ
Smart Grid เพื่อพัฒนาการตอบสนองด้านโหลดและบริหารจัดการพลังงานในอาคาร สอดคล้องตามแผน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน Smart Grid ของประเทศไทยในระยะสั้น (พ.ศ. 2560-2564) มุ่งเน้นการใช้
พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบ Microgrid ของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อศึกษาระบบ Microgrid และเป็นอาคารตัวอย่าง
ในการเรียนรู้ระบบ Facility Microgrid รองรับการขยายตัวของพลังงานทางเลือก และบริหารจัดการแบบ
Real time ในเขตพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวง
นอกจากนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้พัฒนา MEA EV Application ใช้ในการสืบค้นข้อมูลสถานที่ตั้ง
สถานีอัดประจุไฟฟ้าทุกแห่งได้สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ประสานความ
ร่ว มมือเพื่อการพัฒ นาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ ไฟฟ้าในการจัดทำมาตรฐานและ
ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย การบริหารจัดการด้านข้อมูล และการสร้างมาตรฐานค่าธรรมเนียมกลาง
ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
⚫ การพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล (Smart Enterprise)
การไฟฟ้านครหลวงมุ่งมั่น พัฒนาระบบงานสนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวันในรูปแบบดิจิทัล
ผ่าน Mobile Application เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและใช้งานระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กร
ได้ทุกที่ ทุกเวลา และลดใช้ทรัพยากร ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน มุ่งสู่การเป็นมืออาชีพ
ในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science & Data Analytics) และการค้นพบสิ่งใหม่ ใช้นวัตกรรมทางด้านข้อมูล
และสารสนเทศ นำมาพัฒ นาต่อยอดนวัตกรรมงานบริการจากผลงาน Smart Energy ระบบจ่ายไฟกลั บ
อัตโนมัติ ที่ช่วยลดระยะเวลาแก้ไขไฟฟ้าดับเมื่อมีเหตุขัดข้องด้านระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่ภาคภูมิใจ
จากการเข้าร่วมประกวด Thailand Kaizen Award 2020 ส่งเสริมให้พนักงานปรับปรุงกระบวนการทำงาน
ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
⚫ การใส่ใจสังคม และสิ่งแวดล้อม (Smart CSR)
การพัฒนาสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ดำเนินการควบคู่ไปกับงานตามภารกิจ
ผ่านแผนเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถ
พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การปรับปรุง ระบบไฟฟ้าในชุมชน การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในพื้นที่ เพื่อลด
ภาระค่าใช้จ่าย และสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนที่สามารถขยายผลไปยังชุมชนต่าง ๆ
การสนับสนุนระบบไฟฟ้าให้กับโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง โดยบูรณาการ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติด ตั้งระบบสาธารณูปโภค ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อ
คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน
4

สำหรับทิศทางในอนาคต การไฟฟ้านครหลวงมุ่งมั่นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ “พลังงานเพื่อวิถีชีวิต


เมืองมหานคร” โดยใช้แผนวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง และแผนปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน
องค์กร การวางรากฐานพัฒนาธุรกิจรองรับอนาคต
ในโอกาสนี้ กระผมในนามของคณะผู้บริหารและพนักงานการไฟฟ้านครหลวงทุกคน ขอขอบคุณ
ประชาชนและทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีเสมอมา การไฟฟ้านครหลวงจะมุ่งมั่นพัฒนา
องค์กรและบริหารงานตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้วยความสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม
คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

(นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์)
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
5

แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่ งชาติ (สศช.) ดำเนิ นการจั ดทำแผนยุ ทธศาสตร์ ร ั ฐวิ สาหกิ จสอดคล้ องกั บยุ ทธศาสตร์ ชาติ ระยะ 20 ปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อใช้เป็นเป้าหมายและแนวทางในการกำหนดทิ ศทาง
การดำเนินงานและพัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยมีการกำหนดบทบาทและทิ ศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจร่ วมกั บ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเจ้าสังกัด คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (PAC) เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการ
นโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจดังกล่าว และได้มอบหมายให้ สคร. สศช.
และกระทรวงเจ้าสังกัดนำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจไปใช้จัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจรายสาขา ทั้งนี้
การไฟฟ้ านครหลวง ได้นำแผนยุ ทธศาสตร์ร ัฐวิ สาหกิ จ ไปใช้เป็ นแนวทางในการทบทวนภารกิ จและจั ดทำ
แผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว ดังนี้
6

ประวัติความเป็นมา
การไฟฟ้ า นครหลวง (กฟน.) เป็ น รั ฐ วิ ส าหกิ จ ประเภทสาธารณู ป โภคสาขาพลั ง งาน สั ง กั ด
กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501
มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ (1) การผลิตพลังงานไฟฟ้า (2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ
(3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ กฟน. ซึ่งต่อมา
ในปี 2504 ได้โอนโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการอยู่ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ
พลังงาน พ.ศ. 2550 ประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการพลังงานต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการ
พลั งงาน จาก กกพ. และดำเนิ น กิ จ การภายใต้ เงื่อ นไขแนบท้ ายใบอนุ ญ าตดั งกล่ าว โดย กฟน. ได้ รั บ
ใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้า 2 ประเภท คือ ใบอนุญาตระบบจำหน่ายไฟฟ้า และใบอนุญาตจำหน่าย
ไฟฟ้า
7

วิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม


วิสัยทัศน์
พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
Energy for city life, Energize smart living
ภารกิจ
สร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
Innovate and operate smart energy system to empower city life for smart living
ค่านิยม
C ustomer Focus มุ่งเน้นลูกค้า
H armonization ทำงานสอดประสาน
A gility ปรับเปลี่ยนทันการณ์
N ew Ideas สรรสร้างสิ่งใหม่
G overnance โปร่งใสคุณธรรม
E fficiency ล้ำเลิศประสิทธิภาพ
8

สภาพธุรกิจ แผนงานทางธุรกิจ และยุทธศาสตร์


สภาพธุรกิจ
กฟน. ดำเนินธุรกิจหลัก คือ การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ
สมุทรปราการ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่ง
ในปี 2563 กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมหดตัวลง
อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนมีการใช้ ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนเป็นการทำงานภายใน
ที่พักอาศัย (Work From Home) แต่การใช้ไฟฟ้าโดยรวมของ กฟน. ยังคงลดลงร้อยละ 5 นอกจากนี้ การแพร่
ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจและประชาชนเปลี่ยนรูปแบบการ
ดำเนินชีวิตสู่วิถีใหม่ (New Normal) ย่อมส่งผลให้รูปแบบการใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป
นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น กฟน. คำนึงถึงบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างครอบคลุม
โดยเฉพาะนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก รวมถึงความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า (Disruptive Technology) ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable
Energy) และระบบกักเก็บ พลั งงาน (Energy Storage Systems) ที่ ส่ งผลให้ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ ามีแ นวโน้ม ที่ จะผลิ ต
ไฟฟ้าใช้เองเพิ่มมากขึ้น (Prosumer)
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าได้เองและมีบางส่วนที่เหลือจากการใช้งาน จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการซื้อขาย
ไฟฟ้าระหว่างกัน ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ทำให้การแข่งขันในกิจการไฟฟ้ามีความรุนแรงมาก
ขึ้น รวมถึงการมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในพื้นที่ของ กฟน. ทำให้ กฟน. ต้องสร้างรายได้จากโอกาสทาง
ธุรกิจใหม่ ๆ เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจในเมืองอัจฉริยะ นอกจากนี้ กฟน. จะต้องยกระดับการบริหาร
จัดการระบบจำหน่ายให้ รองรับการเข้ามาของพลังงานทดแทน และการปรับปรุงงานบริการให้เป็นรูปแบบ
ดิจิทัล ทำให้ กฟน. ต้องปรับแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
แผนงานทางธุรกิจ
ธุรกิจหลัก
การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มี
พื้นที่รวม 3,192 ตารางกิโลเมตร มีกลไกการส่งมอบพลังงานไฟฟ้า โดยการซื้อพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบผลิต
และระบบส่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และ
ส่ ง ผ่ า นระบบจำหน่ า ยไฟฟ้ า ของ กฟน. ไปยั ง ผู้ ใช้ ไฟฟ้ า หลั ก 4 กลุ่ ม ได้ แ ก่ กลุ่ ม บ้ า นอยู่ อ าศั ย ธุ ร กิ จ
อุตสาหกรรม และราชการ
ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
ธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า
ให้บริการด้านระบบไฟฟ้า ระบบงานปรับอากาศ การบริหารจัดการพลังงาน สมาชิกโครงการ MEA
Better Care Service ให้บริการด้านบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ทั้งในเชิงป้องกันและ
แก้ไข ครอบคลุมพื้นทีท่ ั่วประเทศ โดยให้บริการด้านต่าง ๆ ดังนี้
• งานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
• งานออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศ
• งานบริหารจัดการพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในภาคอุตสาหกรรม และอาคารขนาดใหญ่แบบครบวงจร

8
9

• งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
• งานออกแบบติดตั้งไฟส่องสว่าง
• งานออกแบบ ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop)
• งานบริการต่างประเทศ ได้แก่
- บริการออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาระบบจำหน่าย สายส่ง อุปกรณ์ของสถานีต้นทาง สถานี
สับเปลี่ยน สถานีย่อย ฯลฯ
- บริการที่ปรึกษาด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า
- บริการฝึกอบรม สัมมนาด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า
- บริการบริหารจัดการระบบจำหน่าย คือ การควบคุม ดูแล วิเคราะห์ วางแผนปฏิบัติการจ่ายไฟฟ้า
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง มีความเชื่อถือได้สูงและความสูญเสียในระบบน้อย
การสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากร
• บริการสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)
• บริการโครงข่าย (Network Provider)
• บริการศูนย์รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Center)
• บริการท่อร้อยสายใต้ดิน (Underground)
การร่วมทุน
กฟน. ร่ วมลงทุ นในบริ ษั ท ผลิ ตไฟฟ้ าและน้ ำเย็ น จำกัด (District Cooling System and Power Plant
Co., Ltd.: DCAP) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2546 ร่วมทุนระหว่าง กฟผ. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
และ กฟน. มี การถื อหุ้ นในสั ดส่ วนร้ อยละ 35 : 35 : 30 ตามลำดั บ ปั จจุ บั นมี ทุ นจดทะเบี ยน 1,670 ล้ านบาท
(เป็นส่วนของ กฟน. 501 ล้านบาท) บริษัทฯ มีการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Co-generation)
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 94.5 เมกะวัตต์ ความร้อนที่เหลือจากการสันดาปนำไปผลิต
ไอน้ ำความดั นสู งไปขั บเคลื่ อนกั งหั นไอน้ ำ และไอน้ ำความดั นต่ ำส่ วนสุ ดท้ ายนำไปผลิ ตน้ ำเย็ นสำหรั บระบบ
ปรับอากาศซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งรวม 33,000 ตันความเย็น
บริษัทฯ จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณ
ภูมิ ไฟฟ้าส่วนที่เหลือขายเข้าระบบของ กฟผ. ในส่วนของน้ำเย็นได้จำหน่ายให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย
จำกัด (มหาชน) บริษัท การบิ นไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด และไอน้ำ
จำหน่ายให้กับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด เปิดให้บริการ
ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549
เมื่ อ วัน ที่ 27 มิ ถุ น ายน 2561 คณะรัฐ มนตรี มี มติ เห็ น ชอบโครงการลงทุ น ก่ อ สร้างโรงผลิ ตน้ ำเย็ น
แห่งใหม่และการซื้อไฟฟ้าจาก กฟน. มาเป็นต้นกำลังการผลิตน้ำเย็น ขนาดกำลังการผลิต 12,000 ตันความเย็น
เพื่ อ รองรั บ โครงการพั ฒ นาท่ าอากาศยานสุ ว รรณภู มิ ระยะที่ 2 วงเงิน ลงทุ น รวมประมาณ 990 ล้ านบาท
โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ผลการดำเนินงานปี 2563
ปัจจุบัน DCAP มีทุนจดทะเบียนเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 167 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 1,670
ล้านบาท ซึ่ง กฟน. มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 30 คิดเป็น 50.10 ล้านหุ้น ผลการดำเนินงาน ปี 2563 มีผลกำไร
เท่ากับ 53.37 ล้านบาท สำหรับเงินลงทุนส่วนของ กฟน. ตามวิธีส่วนได้เสียคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
เท่ากับ 798.02 ล้านบาท

9
10

ยุทธศาสตร์
กฟน. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้านครหลวง ปี 2563-2565 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
• ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution)
มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงระบบจําหน่ายให้มีคุณภาพ มั่นคง เชื่อถือได้ มีความทันสมัยรองรับ
เทคโนโลยีไฟฟ้าในอนาคตตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ที่ส่งเสริมพลังงานทดแทน และรองรับการเข้ามา
ของแหล่งผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่
• ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการ จัดหาและจำหน่ายไฟฟ้า (Retail)
มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการที่ทันสมัย ตอบรับกับนโยบายภาครัฐและการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม การบริการในรูปแบบ Digital Service ครบวงจร รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการดําเนินธุรกิจ
จําหน่ายไฟฟ้า
• ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างการเติบโต (Growth)
มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการดําเนินงานของธุรกิจเดิมด้วยการนําเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และการขยายธุรกิจจากโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
• ยุทธศาสตร์ที่ 4 งานสนับสนุน (Enabler)
มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างองค์กร โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรให้
มีทักษะความสามารถหลากหลายรองรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร
ทิศทางการดำเนินงานในปี 2564
ปี 2564 กฟน. ได้ กำหนดวัตถุป ระสงค์ เชิ งยุท ธศาสตร์ที่ น ำไปสู่ ก ารบรรลุ วิสั ยทั ศน์ ภารกิจ และ
ความยั่งยืนในอนาคต ประกอบด้วย 4 วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ดังนี้
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับโครงสร้างและประสิทธิภาพระบบจำหน่ายไฟฟ้า
มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพของระบบไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง เชื่อถือได้
มีประสิทธิภาพ และมีความเพียงพอรองรับการขยายตัวของพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่เขตเมือง นอกจากนี้ มุ่งสร้าง
ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร รวมทั้งอุปกรณ์ที่
ทันสมัย มีประสิ ทธิภ าพ เพื่อนำไปสู่ การใช้พลั งงานไฟฟ้ าอย่างเต็มประสิ ทธิภาพ เชื่อมโยงทุกกิจกรรมของ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าเข้าด้วยกัน และรองรับกับโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลง
ในอนาคต
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 2 มุ่งเน้นการบริการและการบริหารลูกค้าที่เป็นเลิศ
มุ่งเน้ นการพั ฒนากระบวนการให้บริการลู กค้าผ่ านช่องทางดิจิทัล การปรับปรุงฐานข้อมูลลู กค้าของ
องค์ ก ร พร้ อ มพั ฒ นาระบบประมวลผลข้ อ มู ล ในรู ป แบบแพลตฟอร์ ม (Platform) เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ
ในการบริ หารจั ดการด้ านลู กค้า ในด้านการตลาด การปรับปรุงการดำเนิ นงาน การออกแบบผลิ ตภั ณ ฑ์ และ
การให้บริการต่อไป รวมถึงการวิเคราะห์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Analytics)
และการออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มลูกค้า เพื่อต่อยอดและขยายธุรกิจในกลุ่มลูกค้า Key Account
ที่มีศักยภาพ (Potential Customer) เพื่อเสริมสร้างให้ลูกค้าพึงพอใจและภักดีต่อองค์กร
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างการเติบโต
มุ่งเน้นขยายการเติบโตทางธุรกิจ โดยปรับตั วรองรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจไฟฟ้า แสวงหาโอกาส
และพั น ธมิตรทางธุรกิจ พั ฒ นาความสามารถในการสร้างรายได้ในภาพรวมขององค์กรในอนาคต รวมถึง

10
11

การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทนของประเทศ โดยมีบทบาทเชิงรุกในการพัฒนาพลังงานทดแทน พลังงาน


หมุนเวียน (Green Energy) และการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Saving)
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความยั่งยืนด้วยการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและยกระดับ
Enablers
มุ่งเน้นการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของปัจจัยสำคัญที่เป็น Enabler ในการขับเคลื่อนและผลักดัน
องค์กร ซึ่งได้แก่ การกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร การมุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคโนโลยีดิจิทัล
นวัตกรรม และการบริหารทุนมนุษย์ เพื่อให้สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินภารกิจ/ธุรกิจ
การแข่งขัน ความต้องการของผู้ใช้บริการ และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
ทิศทางในอนาคต
กฟน. กำหนดตำแหน่ งทางยุ ท ธศาสตร์ (Strategic Positioning) ระยะ 20 ปี เพื่ อ มุ่ งสู่ ก ารบรรลุ
วิสัยทัศน์ ภารกิจ และค่านิยมขององค์กร รวมถึงการเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์และปัจจัยภายนอกที่มี
ผลกระทบต่อองค์กรทั้งในส่วนของนโยบายภาครัฐ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยกำหนด
เป้ า หมายตาม Strategic Positioning แบ่ ง ออกเป็ น 3 ระยะ คื อ ระยะสั้ น (ปี 2564-2565) ระยะกลาง
(ปี 2566-2570) และระยะยาว (ปี 2571-2580) ดังนี้
ประเด็นการพัฒนา ปี 2564-2565 ปี 2566-2570 ปี 2571-2580
Smart Energy for Innovation for Smart Social Sustainability
Smart Living Living and Growth with Sustain Energy
1. ระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า มี Smart Metro Grid • Smart Community • Smart Community
รองรับ Renewable และ Virtual Utility และ Virtual Utility
Energy (RE) ในพื้นทีน่ ำร่อง ทั่วประเทศ
2. บริการ มี Fully Digital Service • มีระบบ Data Analytic • Advocate Customer
และมี Virtual District เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
เต็มรูปแบบ • Doing Business
อันดับ 1 ในภูมิภาค
อาเซียน
3. สร้างการเติบโต ส่งเสริมนวัตกรรมในการ • รุกสู่ตลาดต่างประเทศ
มีบริษัทลูกที่ทำธุรกิจได้
สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ หลากหลาย • เป็นองค์กรต้นแบบ
ด้านนวัตกรรมไฟฟ้า
4. งานสนับสนุน • การปรับโครงสร้าง • Productivity ratio • Productivity ratio
องค์กร อัตรากำลังและ อันดับ 1 ใน 3 ของ อันดับ 1 ใน 3 ของ
ศักยภาพบุคลากรรองรับ รัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ
ธุรกิจในอนาคต • บรรลุเป้าหมายปัจจัย • ผลการดำเนินงานตาม
• Productivity ratio ยั่งยืนใน Power Utility ปัจจัยยั่งยืนดีกว่าคู่เทียบ
อันดับ 1 ใน 5 ของ Sector ในภูมิภาค
รัฐวิสาหกิจ
• บรรลุเป้าหมายปัจจัย
ยั่งยืน

11
12

วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสถานการณ์การใช้ไฟฟ้า
ในพื้นที่จำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง
ภาวะเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจโลกในปี 2563 ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID -19) ส่งผลให้ เกิดภาวะชะงักงัน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า และบริการ การค้า
การลงทุน และการท่องเที่ยว เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกได้มีการประกาศ Lockdown ประเทศ โดยกองทุน
การเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2563 หดตัวร้อยละ 3.5 และในปี 2564
คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีความคาดหวัง ต่อการผลิตวัคซีนที่จะสามารถ
นำมาใช้ป้องกันการแพร่ระบาดได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 และมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่าง
ประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) หดตัวลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่
ขยายตัวได้ ร้อยละ 2.3 อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
รวมทั้งประเทศไทย มีการประกาศ Lockdown ประเทศ ส่งผลต่ อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ส ำคัญ อาทิ
การส่งออกสินค้ามีปริมาณลดลงร้อยละ 5.9 การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลงร้อยละ 5.7 และ
สาขาการท่ อ งเที ่ ย วและบริ ก ารลดลงร้ อ ยละ 36.6 เป็ น ต้ น อย่ า งไรก็ ต าม จากมาตรการผ่ อ นคลาย
การ Lockdown ในบางพื้นที่ การดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID–19 ที่มีประสิทธิภาพ
และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีหลัง กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว
ได้อีกครั้ง โดยเฉพาะการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทีม่ ีการเติบโตตามความต้องการของประเทศคู่ค้า
สถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง
ในปี 2563 กฟน. จำหน่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า รวม 4.05 ล้านราย (ไม่รวมไฟสาธารณะ) สามารถ
รองรับ ปริมาณความต้ อ งการไฟฟ้ าสู งสุด ที่ ร ะดับ 8,706.28 เมกะวัตต์ ได้อย่างมั ่น คง เพียงพอ โดยมี
หน่วยจำหน่ายไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 50,153.24 ล้านหน่วย ลดลงร้อยละ 5.02 เมื่อเทียบกับปีก่อน และต่ำกว่า
ค่าพยากรณ์ฯ (ชุดงบประมาณปี 2563-2564) ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 หากพิจารณาหน่วยจำหน่าย
แยกตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า กลุ่มบ้านอยู่อาศัยยังคงมีอัตราการเติบโตของหน่วยจำหน่ายเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องจาก
ปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 8.21 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการ Work From Home ทำให้พนักงานและลูกจ้าง
สำนักงานส่วนหนึ่งปฏิบัติงานที่บ้าน มีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่วนหน่วยจำหน่ายในกลุ่มธุรกิจ
อุตสาหกรรม ราชการและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ลดลงจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 11.55 9.90 และ 1.92
ตามลำดับ
13

หน่วยจำหน่ายจำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า ปี 2563
หน่วยจำหน่าย จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า
กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า ล้านหน่วย เพิ่ม/ลด สัดส่วน จำนวนราย เพิ่ม/ลด สัดส่วน
(ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
บ้านอยู่อาศัย 16,200.57 8.20 32.30 3,682,924 7.89 90.87
ธุรกิจ 19,382.07 -11.55 38.65 319,270 -27.51 7.88
อุตสาหกรรม 11,789.35 -9.90 23.51 34,213 -25.18 0.84
ราชการฯ 2,781.31 -1.92 5.54 16,556 5.36 0.41
รวม 50,153.24* -5.02 100.00 4,052,963 3.51 100.00
หมายเหตุ * หน่วยจำหน่ายไม่รวมไฟสาธารณะและไฟทำการ
แนวโน้มสถานการณ์การใช้ไฟฟ้า
ในปี 2564 แนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายของ กฟน. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ
1.15 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีหน่วยจำหน่ายรวมทั้ง สิ้น 51,519 ล้านหน่วย (ชุดปรับงบประมาณปี 2564)
สอดคล้องกับการคาดการณ์ ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ เศรษฐกิจ ไทยจะ
เติบโตร้อยละ 2.5 - 3.5 ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ที่ร้อยละ 5.5 ความคาดหวังต่อการได้รับวัคซีน
ป้องกัน COVID-19 การผ่อนคลายกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและเปิดรับนักท่องเที่ยวจาก
ต่างประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของ
ประเทศ และทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่จำหน่ายของ กฟน. ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
14

คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ
ประธานกรรมการ

พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ นายนิวัติ ลมุนพันธ์
กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายเดชบุญ มาประเสริฐ นายสราวุธ เบญจกุล นายมนัส แจ่มเวหา


กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล นายมนตรี บุญพาณิชย์ นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์


กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์
กรรมการ
15

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์


ประธานกรรมการ กรรมการ
อายุ 59 ปี อายุ 61 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายเรืออากาศ
• รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ • โรงเรียนการบิน
มหาวิทยาลัย • โรงเรียนนายทหารชัน้ ผู้บงั คับฝูง
ประสบการณ์การทำงาน • โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
• รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • วิทยาลัยการทัพอากาศ
• ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
• อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสบการณ์การทำงาน
ตำแหน่งปัจจุบัน • รองเสนาธิการทหาร
• ปลัดกระทรวงมหาดไทย • ผู้ช่วยผูบ้ ัญชาการทหารอากาศ
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน • รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ ตำแหน่งปัจจุบัน
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * • ข้าราชการบำนาญ
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
หมายเหตุ ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
การไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วนั ที่ 5 มิถุนายน 2561- รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
ปัจจุบนั หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
16

พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์


กรรมการ กรรมการ
อายุ 59 ปี อายุ 64 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า) • ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประสบการณ์การทำงาน
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน
คอมพิวเตอร์) The George Washington ทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล
University ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
• ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) • กรรมการ บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด
George Mason University ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งปัจจุบัน
ประสบการณ์การทำงาน • กรรมการ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด
• ที่ปรึกษาด้าน IT บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการการประปาส่วนภูมิภาค
• ที่ปรึกษาด้าน IT บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
จำกัด (มหาชน) เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
• ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
ตำแหน่งปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
• เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมัน่ คง รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หมายเหตุ
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน • ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
17

นายนิวัติ ลมุนพันธ์ ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์


กรรมการ กรรมการ
อายุ 60 ปี อายุ 48 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
• รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ประสบการณ์การทำงาน • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
• ประธานคณะกรรมการ บริษัท ออริจิ้น เฮ้าส์ จำกัด และสิ่งแวดล้อม The University of Wisconsin-
• ประธานคณะกรรมการ บริษัท พรีโม เซอร์วิส Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา
โซลูชนั่ จำกัด • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายและเทคโนโลยี
• อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology
• อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตำแหน่งปัจจุบัน • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
• ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ และสิ่งแวดล้อม Massachusetts Institute of
บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน ประสบการณ์การทำงาน
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ • ประธานกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์แห่ง
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * • นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
หมายเหตุ ตำแหน่งปัจจุบัน
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า- • อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• นายกสภาวิศวกร
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
18

นายเดชบุญ มาประเสริฐ นายสราวุธ เบญจกุล


กรรมการ กรรมการ
อายุ 60 ปี อายุ 55 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาบริหารการเงิน) • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รามคำแหง
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต • เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมาย
City University, Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา แห่งเนติบัณฑิตยสภา
• รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายเปรียบเทียบ)
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Howard University ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์การทำงาน • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายระหว่าง
• กรรมการประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ประเทศ) American University ประเทศ
• กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สหรัฐอเมริกา
สภาพแวดล้อมในการทำงาน กระทรวงแรงงาน • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายธุรกิจ)
ตำแหน่งปัจจุบัน University of Bristol สหราชอาณาจักร
• ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ดูอิ้งเวล ประสบการณ์การทำงาน
• ประธานสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย • เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมาย
• กรรมการแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน แห่งเนติบัณฑิตยสภา
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน • รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุตธิ รรม
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ • เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * ตำแหน่งปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * • ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักงานศาลยุติธรรม
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
หมายเหตุ เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า- ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
19

นายมนัส แจ่มเวหา ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล


กรรมการ กรรมการ
อายุ 64 ปี อายุ 56 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาไฟฟ้าและ
• รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารรัฐกิจ) อิเล็กทรอนิกส์) Tokyo Institute of Technology
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่น
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาคอมพิวเตอร์)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Tokyo Institute of Technology ประเทศญีป่ ุ่น
ประสบการณ์การทำงาน • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาคอมพิวเตอร์)
• รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ Tokyo Institute of Technology ประเทศญีป่ ุ่น
ด้านทรัพย์สิน ประสบการณ์การทำงาน
• อธิบดีกรมบัญชีกลาง • รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
• กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งปัจจุบัน • กรรมการบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
• กรรมการกฤษฎีกา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• กรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย • กรรมการบริหาร ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ ตำแหน่งปัจจุบัน
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * • ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
หมายเหตุ เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า- ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน
20

นายมนตรี บุญพาณิชย์ นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา


กรรมการ กรรมการ
อายุ 63 ปี อายุ 59 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) • วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
• ปริญญาโท Planning Studies, University of • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Queensland ประเทศออสเตรเลีย • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์
ประสบการณ์การทำงาน Tufts University ประเทศสหรัฐอเมริกา
• ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ประสบการณ์การทำงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • รองประธานกรรมการ องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
• รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ กระทรวงการคลัง
สังคมแห่งชาติ • ประธานกรรมการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง
• กรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ประเทศไทย) จำกัด
ตำแหน่งปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
• ข้าราชการบำนาญ จำกัด (มหาชน)
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน ตำแหน่งปัจจุบัน
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ • ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
หมายเหตุ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี *
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า- รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561-ปัจจุบัน หมายเหตุ
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561-ปัจจุบัน
21

พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์


กรรมการ กรรมการ
อายุ 53 ปี อายุ 59 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อย • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
พระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การทหาร) ประสบการณ์การทำงาน
ประสบการณ์การทำงาน • ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (วิชาการและบริหารพัสดุ)
• ผู้อำนวยการกองการฝึก สำนักฝึกและศึกษา การไฟฟ้านครหลวง
ทางทหาร กรมยุทธการทหารบก • รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ
• รองผู้อำนวยการสำนักฝึกและศึกษาทางทหาร การไฟฟ้านครหลวง
กรมยุทธการทหารบก ตำแหน่งปัจจุบัน
ตำแหน่งปัจจุบัน • ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
• ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน
กรมยุทธการทหารบก เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ
การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพลังงาน ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี *
เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่บริษัทมีสิทธิ รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี *
ออกเสียงทั้งหมด ไม่มี * หมายเหตุ
ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ไม่มี * • ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้า-
รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ ไม่มี * นครหลวง และเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หมายเหตุ ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2561-ปัจจุบัน
• ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้า-
นครหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562-ปัจจุบัน

* กระบวนการตรวจสอบ ประกอบด้วย
1. ดำเนินการสอบถามข้อมูลจากกรรมการ โดยนำส่งประวัติข้อมูลทั้งหมดเสนอกรรมการแต่ละท่าน
เพื่อตรวจสอบและเพิ่มเติมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
2. ตรวจสอบจากรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
เมื่อ 1) รับตำแหน่งใหม่ 2) เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างปี และ 3) ทุกสิ้นปี
22

คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ระหว่างปี 2563

นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ
กรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 - 24 เมษายน 2563
23

คณะผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวง

23 23
24

นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ นายพงษ์ศักดิ์ ละมูนกิจ


ผู้ว่าการ รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม
อายุ 59 ปี อายุ 59 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประวัติการอบรม ประวัติการอบรม
• หลักสูตร Advanced School in Power Engineering • หลักสูตรผู้จัดการวิศวกรรม สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ
ประเทศสหรัฐอเมริกา ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• หลักสูตร Electric Distribution Management • หลักสูตร Power System Engineering Course,
ประเทศสวีเดน GE Electrical Distribution & Control, New York
• หลักสูตร Modern Management Program ประเทศสหรัฐอเมริกา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตร Mini MBA รุ่นที่ 74
• หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ปรม.) รุ่นที่ 16 สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน
• หลักสูตร Leadership Succession Program (ปรม.) รุ่นที่ 12 สถาบันพระปกเกล้า
(LSP) รุ่นที่ 9 มูลนิธสิ ถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กร • หลักสูตรนักบริหารการเงินการคลังภาครัฐระดับสูง
ภาครัฐ รุ่นที่ 3 สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการคลังและบัญชี
• หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน ภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
(วพน.) รุ่นที่ 13 สถาบันวิทยาการพลังงาน • หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและ
ประสบการณ์การทำงาน ผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
• รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ รุ่นที่ 16 สถาบันพระปกเกล้า
ตำแหน่งอื่น • หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง
• อุปนายกสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเล็คโทรนิคส์ (วบส.) รุ่นที่ 2 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
แห่งประเทศไทย (IEEE THAILAND SECTION) ประสบการณ์การทำงาน
• ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ประจำปี • รองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย
พ.ศ. 2563-2565 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ใน • รองผู้ว่าการปฏิบตั ิการ
พระบรมราชูปถัมภ์ • รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ
• คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้า ตำแหน่งอื่น
ระหว่างประเทศ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ • ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด
อุตสาหกรรม

24 24
25

นายธานี ปาริชาติอินทราณี นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมบวร


รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร รองผู้ว่าการบริหารองค์กร
อายุ 59 ปี อายุ 59 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรม
และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการอบรม ประวัติการอบรม
• หลักสูตร Advanced School in Power • หลักสูตร Leadership Succession Program (LSP)
Engineering, The Pennsylvania State University รุ่นที่ 10 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ
• หลักสูตรหลักประจำวิทยาลัยกองทัพบก • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 60
สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการ
• หลักสูตร Leadership Succession Program (LSP) ป้องกันประเทศ
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ • หลักสูตร Director Certification Program
• หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงาน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
พัฒนาเมือง (มหานคร) วิทยาลัยพัฒนามหานคร • หลักสูตร Advanced HR Management
• หลักสูตรนักบริหารการเงินการคลังภาครัฐระดับสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการคลังและบัญชีภาครัฐ • หลักสูตร Senior Executive Program
กรมบัญชีกลาง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
• หลักสูตร Director Certification Program แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตร Mini MBA รุ่นที่ 74
ประสบการณ์การทำงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• รองผู้ว่าการการเงิน ประสบการณ์การทำงาน
• รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร • ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (บริหารองค์กร)
ตำแหน่งอื่น
• กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด
• นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าแห่งประเทศไทย
(TESIA)

25 25
26

นายวีรวัจน์ บัวทอง นายสันติ นำสินวิเชษฐชัย


รองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร รองผู้ว่าการการเงิน
อายุ 59 ปี อายุ 59 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประวัติการอบรม • รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ
• หลักสูตร Director Certification Program สำหรับผูบ้ ริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ประวัติการอบรม
• Strategic Leaders Program, Michigan Ross, • หลักสูตร Power System Engineering, General
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน Electric Company, New York ประเทศสหรัฐอเมริกา
• หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง • หลักสูตร Data Center Design and
(วบส.) รุ่นที่ 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Implementation Best Practices ตามมาตรฐาน
• หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับสูง รุ่นที่ 13 ANSI/BICSI DC 102 โดยสถาบัน BICSI ร่วมกับ
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
• หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและ • หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับสูง รุ่นที่ 12
ปราบปรามการทุจริตระดับสูง รุ่นที่ 8 สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม • หลักสูตรภูมิสารสนเทศเพื่อความยั่งยืน
การทุจริตแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
ประสบการณ์การทำงาน (องค์การมหาชน) (GISTDA)
• ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (วิชาการและบริหารพัสดุ) • หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง
(วบส.) รุ่นที่ 5 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประสบการณ์การทำงาน
• รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ

26 26
27

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ นายสมบูรณ์ สมดุลยกนก


รองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย รองผู้ว่าการปฏิบตั ิการ
อายุ 55 ปี อายุ 60 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์
• Master of Science in Electricity Industry ประวัติการอบรม
Management and Technology, University of • หลักสูตรประกาศนียบัตรชัน้ สูงการเสริมสร้างสังคม
Strathclyde สหราชอาณาจักร สันติสุข รุ่นที่ 10 สถาบันพระปกเกล้า
ประวัติการอบรม • หลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนา
• หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 62 อย่างยั่งยืน สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 5
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ประเทศ • หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุน่ ที่ 105 สถาบัน
• หลักสูตรการบริหารการรักษาความสงบเรียบร้อยของ จิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
สังคมภาครัฐร่วมเอกชน (บรอ.6) วิทยาลัยการตำรวจ • หลักสูตร THE BOSS รุ่นที่ 84 สถาบันการบริหารและ
• หลักสูตร Senior Executive Program รุ่นที่ 32 จิตวิทยา MPI
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์ ประสบการณ์การทำงาน
มหาวิทยาลัย • ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (ปฏิบัติการ)
• หลักสูตรพลังงานสำหรับผูบ้ ริหาร (Executive Energy • ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (บริการระบบจำหน่าย)
Program) รุ่นที่ 1 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ-การคลังสำหรับผู้บริหาร
ระดับกลาง รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้า
• หลักสูตร Leadership Development Program
ประเทศญี่ปุ่น
• หลักสูตร High Voltage Switchgear Technology
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
• หลักสูตร Financial Feasibility Analysis of Energy
Project ประเทศสิงคโปร์
ประสบการณ์การทำงาน
รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม

27 27
28

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน นายสมชาย หอมกลิ่นแก้ว


รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ
อายุ 56 ปี อายุ 57 ปี
คุณวุฒิการศึกษา คุณวุฒิการศึกษา
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ • Master of Science (Electrical Power
ประวัติการอบรม Engineering), The Sirindhorn International Thai-
• หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง German Graduate School of Engineering
(วบส.) รุ่นที่ 4 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
• หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผูบ้ ริหาร กองบัญชาการ ประวัติการอบรม
กองทัพไทย รุ่นที่ 10 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง • หลักสูตร Advanced Management Program,
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ The Wharton School, The University of
• หลักสูตรกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักนายกรัฐมนตรี • หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและ
• หลักสูตร Project Planning and Project ปราบปรามการทุจริตระดับสูง รุ่นที่ 10
Management คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
มหาวิทยาลัย ทุจริตแห่งชาติ
• หลักสูตร Engineering Economics, • หลักสูตร DIGSI 4 & IEC 61850 ด้าน Substation
The Pennsylvania State University Automation สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
• หลักสูตร Insulation Coordination, • หลักสูตรพลังงานสำหรับผูบ้ ริหาร (Executive Energy
The Pennsylvania State University Program) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• หลักสูตร Power Distribution Systems สถาบันวิจัย • หลักสูตร Underground Substation Design and
พลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Specification ประเทศญีป่ ุ่น
ประสบการณ์การทำงาน • หลักสูตร SCADA and Control ประเทศสวีเดน
• ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (บริการระบบจำหน่าย) • หลักสูตร Advanced School in Power
• ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (กิจการองค์กรและสังคม) Engineering, The Pennsylvania State University
ประสบการณ์การทำงาน
• ผู้ช่วยผูว้ ่าการ (วิชาการและบริหารพัสดุ)

28 28
29

ผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวง
ระหว่างปี 2563 (เกษียณอายุ วันที่ 30 กันยายน 2563)

นายสมศักดิ์ วิทย์นลากรณ์ นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา


รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ รองผู้ว่าการปฏิบัติการ

นายวันชัย เจียรวัฒนาวิทย์ นายวจี พิทักษ์ปรัชญากุล


รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร ผู้ช่วยผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศ
และระบบสื่อสาร

สิบเอก ประสงค์ คุ้มประดิษฐ์ เรืออากาศตรี สำเริง เชี่ยวชูกุล


ผู้ช่วยผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย ผู้ช่วยผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย

29 29
30
หัวหน้าหน่วยงาน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
สังกัดผู้ว่าการ 17. นายบุญลือ แผนกทาน
1. นางนิภา ธรรมบวร ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตคลองเตย
ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ 18. นายเอนก กลักแก้ว
2. นายสมนึก วิศิษฏ์สหาย ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตสามเสน
ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน 19. นายทวีศักดิ์ สมานสิน
3. นายนพดล ประเสริฐกาญจนา ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางเขน
ผู้ตรวจการ 20. นายเดชา วิริยะเจริญกิจ
4. นายพิชิตคเชนทร์ คณีกลุ ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางกะปิ
ผู้ตรวจการ 21. นายกฤษฎา ตันศิรเิ สริญกุล
สายงานบริการระบบจำหน่าย ผู้ตรวจการ
1. นายวันชัย จงวิริยะเจริญชัย สายงานวิชาการและบริหารพัสดุ
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตราษฎร์บูรณะ 1. นายชูชาติ กลิ่นโสภณ
2. นายสมศักดิ์ โพธิ์อุ่น ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางขุนเทียน 2. นายมนัส อรุณวัฒนาพร
3. นายโสพัส สังขกรมานิต ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตธนบุรี 3. นายสุศรณ ล้ออุทัย
4. นายสุธน วิโรจน์บุรีรตั น์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหา
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางใหญ่ 4. นายชาลี ศรีมลู
5. นายธวัชชัย เหมือนใจ ผู้อำนวยการฝ่ายพัสดุ
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางบัวทอง 5. นายสุรเษม มีลาภ
6. นางพรทิพย์ สาพิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายอุปกรณ์งานจำหน่าย
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานกลาง การไฟฟ้านครหลวงเขต 6. นายบุญถิ่น เอมย่านยาว
7. นายราเชนทร์ อันเวช ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ 7. นายพิษณุ เปียร์นนท์
8. นายชัยพงษ์ พูลขันธ์ ผู้ตรวจการ
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตนนทบุรี สายงานปฏิบัติการ
9. นายศราวุฒิ วรรธนะพันธุ์ 1. นายปริภณ ั ฑ์ วิรยิ พัตร
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตนวลจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมระบบไฟฟ้า
10. นายพิภพ ลิ้มวิวัฒน์กุล 2. นายสถิตย์ พงศธรวิบลู ย์
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตยานนาวา ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
11. นายสมบูรณ์ โอฬารศิริกุล 3. นายฐิติวุฒิ เงินคล้าย
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตสมุทรปราการ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย
12. นายยโสธร สุขประสงค์ 4. นายพงศ์นิติ นุชอนงค์
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางพลี ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบระบบไฟฟ้าและ
13. นายณรงค์ศักดิ์ พิมพ์หนู งานวิศวกรรมโยธา
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางนา 5. นายนิพนธ์ พงศ์ขจร
14. นายเที่ยง สิงหนุวัฒนะ ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้าง
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตมีนบุรี 6. นายสมชาย เจียมจิตร
15. นายอรรธวุฒิ วรธรรมดุษฎี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตลาดกระบัง 7. นายชัยภัทร สุขไพบูลย์วัฒน์
16. นายวิชัย จามาติกลุ ผู้ตรวจการ
ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตวัดเลียบ
31

สายงานแผนและพัฒนาองค์กร สายงานธุรกิจและบริการ
1. นางสาวปิ่นทิพย์ ทรัพย์สุทธิ 1. นายอาทิตย์ ทับทิมศรี
ผู้อำนวยการฝ่ายแผนกลยุทธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า
2. นางสาวจันทร์เพ็ญ ศิริ 2. นายจีรัง วังจันทร์
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพองค์กร ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า
3. นางสาวภัทรา สุวรรณเดช 3. นายสุรพล คุวารนันท์เจริญ
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจขนส่งและผลิตภัณฑ์
4. นางสาวเรวดี สระบัว 4. นายพัฒนัย เกตุอภัย
ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการยานพาหนะและเครื่องมือกล
5. นางสาวนงนาค เจริญผลพิริยะ 5. นายสมบัติ จันทร์กระจ่าง
ผู้ตรวจการ ผู้ตรวจการ
สายงานบริหารองค์กร สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร
1. นางสาวจิตตรา รอดเครือมิตร 1. นายดิชวัฒน์ จันทร์อี่
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารทรัพย์สินเทคโนโลยี
2. นางปิยนุช เฟื่องพูลนุช 2. นางสาวศิวพร แบ่งลาภ
ผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. นายนพรัตน์ แสงทอง 3. นายวีรสิทธิ์ โพธิปักขิย์
ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย ผู้อำนวยการฝ่ายระบบโครงสร้างพื้นฐาน
4. นางกนิษฐา ทรวงบูรณกุล 4. นางนันทวรรณ ธรรมวิไลวัฒน์
ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบงานประยุกต์
5. นายอัศวิน ราชกรม 5. นายอาคม โสติถิมานนท์
ผู้ตรวจการ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและมัน่ คงปลอดภัย
สายงานกิจการองค์กรและสังคม สารสนเทศ
1. นางสาวสุวรรณา วิริยะประยูร 6. นายถวัลศักดิ์ ธีรวุฒิกลุ รักษ์
ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจการ
2. นายจุมภฎ หิมะเจริญ
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
3. นายต่อศักดิ์ เนตรรัตนะ
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร
4. นายปสังส์ เทพรักษ์
ผู้ตรวจการ
สายงานการเงิน
1. นางสุชยา ลิมโพธิ์ทอง
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
2. นายประเสริฐ กุลจารุสัต
ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน
3. นางสาวกาญจนา มิสเกตุ
ผู้อำนวยการฝ่ายงบประมาณ
4. นางธีนิดา ชคัตตรัยกุล
ผู้ตรวจการ
32

ผังโครงสรŒางการแบ‹งส‹วนงานการไฟฟ‡านครหลวง

ผูŒว‹าการ
ฝ†ายอำนวยการ ฝ†ายตรวจสอบภายใน

รองผูŒว‹าการ
บร�การระบบจำหน‹าย

ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ

การไฟฟ‡านครหลวง ฝ†ายบร�หารงานกลาง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง


เขตราษฎรบูรณะ การไฟฟ‡านครหลวงเขต เขตสมุทรปราการ เขตวัดเลียบ
การไฟฟ‡านครหลวง ฝ†ายการตลาด การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง
เขตบางขุนเทียน และลูกคŒาสัมพันธ เขตบางพลี เขตคลองเตย
การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง
เขตธนบุร� เขตนนทบุร� เขตบางนา เขตสามเสน
การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง
เขตบางใหญ‹ เขตนวลจันทร เขตมีนบุร� เขตบางเขน
การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง การไฟฟ‡านครหลวง
เขตบางบัวทอง เขตยานนาวา เขตลาดกระบัง เขตบางกะป

รองผูŒว‹าการ รองผูŒว‹าการ รองผูŒว‹าการ


แผนและพัฒนาองคกร บร�หารองคกร กิจการองคกรและสังคม

ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ

ฝ†ายแผนกลยุทธ ฝ†ายทรัพยากรมนุษย ฝ†ายกิจการสังคม


และสิ�งแวดลŒอม
ฝ†ายพัฒนา ฝ†ายฝƒกอบรม ฝ†ายสื่อสารองคกร
คุณภาพองคกร

ฝ†ายพัฒนาธุรกิจ ฝ†ายกฎหมาย ฝ†ายบร�หาร


ความเสี่ยงองคกร

ฝ†ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ‡า ฝ†ายการแพทย
33

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

รองผูŒว‹าการ รองผูŒว‹าการ
ว�ชาการและบร�หารพัสดุ ปฏิบัติการ

ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ

ฝ†ายวางแผน ฝ†ายพัสดุ ฝ†ายควบคุม ฝ†ายออกแบบระบบไฟฟ‡า


ระบบไฟฟ‡า ระบบไฟฟ‡า และงานว�ศวกรรมโยธา
ฝ†ายว�จัยและพัฒนา ฝ†ายอุปกรณ ฝ†ายบำรุง ฝ†ายก‹อสรŒาง
งานจำหน‹าย รักษาระบบไฟฟ‡า

ฝ†ายจัดหา ฝ†ายความปลอดภัยอาช�ว ฝ†ายจัดการทรัพยสิน ฝ†ายบร�หารโครงการ


อนามัยและสิ�งแวดลŒอม และรักษาความปลอดภัย

รองผูŒว‹าการ รองผูŒว‹าการ รองผูŒว‹าการ


การเง�น ธุรกิจและบร�การ เทคโนโลยีสารสนเทศ
และระบบสื่อสาร

ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ

ฝ†ายบัญช� ฝ†ายบร�การระบบไฟฟ‡า ฝ†ายวางแผนและบร�หาร


ทรัพยสินเทคโนโลยี
ฝ†ายการเง�น ฝ†ายธุรกิจบร�การ ฝ†ายพัฒนาระบบงาน
และคุณภาพไฟฟ‡า เทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ†ายงบประมาณ ฝ†ายธุรกิจขนส‹ง ฝ†ายระบบ


และผลิตภัณฑ โครงสรŒางพ�้นฐาน
ฝ†ายจัดการยานพาหนะ ฝ†ายพัฒนา
และเคร�่องมือกล ระบบงานประยุกต
สำนักมาตรฐานและมั�นคง
ปลอดภัยสารสนเทศ

9 รองผูŒว‹าการ 14 ผูŒช‹วยผูŒว‹าการ 57 หน‹วยงาน (56 ฝ†าย 1 สำนัก)


34

โครงสร้างอัตรากำลัง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีบุคลากรรวมจำนวน 10,287 คน แบ่งเป็นพนักงาน 7,742 คน
และพนักงานอัตราจ้าง 2,545 คน โดยมีสัดส่วนจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าต่อจำนวนพนักงาน เท่ากับ 524 รายต่อคน
(ไม่รวมพนักงานอัตราจ้าง) และมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรรวม จำนวน 10,246.28 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย
พนักงาน 10,084.11 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายพนักงานอัตราจ้าง 162.17 ล้านบาท
อัตรากำลัง (คน)
สายงาน
พนักงาน พนักงานอัตราจ้าง* รวม
1. ผู้ว่าการ 109 41 150
2. รองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย 3,759 739 4,498
3. รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ 607 167 774
4. รองผู้ว่าการปฏิบัติการ 1,669 1,350 3,019
5. รองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร 115 11 126
6. รองผู้ว่าการบริหารองค์กร 288 88 376
7. รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม 110 13 123
8. รองผู้ว่าการการเงิน 234 13 247
9. รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ 540 106 646
10. รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร 311 17 328
รวม 7,742 2,545 10,287
หมายเหตุ : * พนักงานอัตราจ้าง 7 งาน ได้แก่ งานธุรการ งานคนงานพัสดุ งานรับ-ส่งเอกสาร งานรับชำระค่าไฟฟ้าและค่าบริการอื่น ๆ
งานขับยานพาหนะ งานยาม และงานรักษาความสะอาด

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร หน่วย: ล้านบาท


รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
ค่าใช้จ่ายพนักงาน 10,084.11 10,952.84 9,610.68
ค่าใช้จ่ายพนักงานอัตราจ้าง* 162.17 174.18 182.78
รวม 10,246.28 11,127.02 9,793.46
หมายเหตุ : * พนักงานอัตราจ้าง 7 งาน ได้แก่ งานธุรการ งานคนงานพัสดุ งานรับ-ส่งเอกสาร งานรับชำระค่าไฟฟ้าและค่าบริการอื่น ๆ
งานขับยานพาหนะ งานยาม และงานรักษาความสะอาด

3434
35

โครงสร้างเงินทุน
ทุนและโครงสร้างผู้ถือหุ้น
กฟน. มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ร้อยละ 100 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
ทุนรัฐบาล 358.32 358.32 358.32
กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร* 99,158.55 97,641.01 95,742.72
รวม 99,516.87 97,999.33 96,101.04
หมายเหตุ * กำไรจากการดำเนินกิจการที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2501 จนถึงปีปัจจุบัน ทั้งนี้ กฟน. ได้นำเงินกำไรดังกล่าวไปลงทุน
ขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
หนี้เงินกู้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีเงินกู้ในประเทศที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ซึ่ งอยู่ในรูป
พันธบัตร กฟน. จำนวน 52,700 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
เงินกู้ในประเทศ กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
- พันธบัตร (สกุลเงินบาท) 52,700.00 41,700.00 33,900.00
- สถาบันการเงิน (สกุลเงินบาท) - - 3,000.00
รวม 52,700.00 41,700.00 36,900.00
งบประมาณ
กฟน. ได้รับอนุมัติงบประมาณประจำปี ประกอบด้วย งบประมาณทำการ และงบประมาณลงทุน ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
งบประมาณทำการ 11,541.61 11,747.12 11,472.88
งบประมาณลงทุน
- วงเงินดำเนินการ 105,599.77 110,282.90 95,562.26
- วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 21,842.21 20,575.73 20,442.53
การจ่ายเงินนำส่งรัฐ
กฟน. ได้จัดสรรกำไรสุทธิเพื่อนำส่งรายได้แผ่นดินตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
การจ่ายเงินนำส่งรัฐ 494.00 4,574.50 6,266.00
หมายเหตุ * การนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นการนำส่งเงินโดยคำนวณจากกำไรสุทธิครึ่งปีหลังของปีก่อน และกำไรสุทธิครึ่งปีแรก
ของปีปัจจุบัน ซึ่งหากคิดเป็นเงินจากผลกำไรสุทธิประจำปี 2563 ทั้งปี ตามงบการเงินจะเป็นจำนวนเงิน
3,576.63 ล้านบาท แต่ด้วยเหตุมกี ารแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ได้มีมาตรการส่วนลดค่าไฟฟ้าตามมติ
คณะรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ทำให้นำส่งรายได้ของช่วง
ดังกล่าวลดลง คงเหลือ 494.00 ล้านบาท

35
36

แผนงานและโครงการลงทุนที่สำคัญ
กฟน. ได้ ด ำเนิ น การลงทุ น เพื่ อ ขยายและพั ฒ นาระบบจำหน่ า ย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ รองรั บ
ความต้องการที่เพิ่มขึ้น เสริมความมั่นคงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รองรับยุทธศาสตร์ของ กฟน. และ
สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามทิศทางการพัฒนาประเทศของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนต่าง ๆ
ที่ เกี่ ย วข้อ ง อาทิ แผนแม่บ ทภายใต้ยุ ท ธศาสตร์ช าติ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จและสั งคมแห่ งชาติ ฉบั บ ที่ 12
ปี 2560-2564 เป็นต้น แผนงานและโครงการลงทุนทีส่ ำคัญ สรุปได้ดังนี้
ความคืบหน้า
จำนวนเงิน แหล่งที่มา
ลำดับ ชื่อแผนงาน/โครงการ ของโครงการ
(ล้านบาท) ของเงินลงทุน
(ร้อยละ)
แผนงานและโครงการลงทุนมูลค่าสูง 10 ลำดับแรก
1 แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่าย 84,694 รายได้ กฟน./เงินกู้ 48.05
พลังไฟฟ้า ฉบับที่ 12 /เงินอุดหนุนจาก
รัฐบาล
2 แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่าย 51,306 รายได้ กฟน./เงินกู้ 96.01
พลังไฟฟ้า ฉบับที่ 11
3 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ 48,717 รายได้ กฟน./เงินกู้ 26.03
เป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็น
มหานครแห่งอาเซียน
4 แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่าย 26,365 รายได้ กฟน./เงินกู้ 99.76
พลังไฟฟ้า ฉบับที่ 10
5 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ 9,089 รายได้ กฟน./เงินกู้ 64.51
เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน
6 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ 8,900 รายได้ กฟน./เงินกู้ 26.28
เป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรัชดาภิเษก
7 โครงการร่วมรถไฟฟ้า 8,718 รายได้ กฟน./เงินกู้ 35.26
8 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและ 8,431 รายได้ กฟน. 99.60
ระบบสื่อสาร (ICT)
9 แผนปฏิบัติการดิจิทัล 7,870 รายได้ กฟน./เงินกู้ 46.48
10 แผนงานประสานสาธารณูปโภค 5,201 รายได้ กฟน./เงินกู้ 99.68
37

ความคืบหน้า
จำนวนเงิน แหล่งที่มา
ลำดับ ชื่อแผนงาน/โครงการ ของโครงการ
(ล้านบาท) ของเงินลงทุน
(ร้อยละ)
แผนงานและโครงการสำคัญทีค่ าดว่าจะลงทุนภายใน 3 ปีข้างหน้า *
1 โครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่าย 98,458 รายได้ กฟน./เงินกู้ อยู่ระหว่างเสนอ
พลังไฟฟ้า ระยะที่ 13 คณะรัฐมนตรี
2 แผนจัดหายานพาหนะและยานพาหนะ 2,494 รายได้ กฟน./เงินกู้ อยูร่ ะหว่างเสนอ
เครื่องมือกล ปี 2565-2570 คณะรัฐมนตรี
3 แผนปฏิบัติการดิจิทัล ปี 2566-2570 4,048 รายได้ กฟน./เงินกู้ แผนการดำเนินงาน
(เบื้องต้น)
* หมายเหตุ : วงเงินงบประมาณ ไม่รวมดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง
38

รายงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ปี 2563
กฟน. สามารถดำเนินการตามแผนปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ เป็นไปตามเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 98.74
สรุปตามยุทธศาสตร์ได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution)
ยกระดับคุณภาพระบบไฟฟ้าสู่ ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีระบบ
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เพื่อให้ระบบมีความทันสมัยสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ
แหล่งพลังงานทางเลือกต่าง ๆ (Distributed Energy Resources: DERs) เหมาะสมกับการเป็นเมืองมหานคร
โดยในปี 2563 กฟน. ได้ติดตั้ง Smart Meter และอุปกรณ์ พร้อมพั ฒนาระบบ ICT Integration ในพื้นที่นำร่อง
เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบงานต่าง ๆ ช่วยบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้มีความเชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ
และจะขยายผลให้ครอบคลุมในพื้นที่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ต่อไป นอกจากนี้ กฟน. ได้ศึกษาพัฒนา
ปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) เตรียมความพร้อม
การให้บริการรับฝากพลังงานด้วย Virtual Storage ในพื้นที่นำร่อง เพื่อรองรับอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการ จัดหา และจำหน่ายไฟฟ้า (Retail)
ยกระดั บ งานบริ ก ารให้ เป็ น Digital Service เพื่ อ ให้ ทั น ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทางเทคโนโลยี แ ละ
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มมีการใช้งานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยในปี 2563 กฟน. ปรับปรุงกระบวนการ
ให้บริการสำคัญ อาทิ การตัดฝาก-ต่อกลับเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า การขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวใหม่ การขอย้ายเสา-
สายไฟฟ้า การเลื่อน-ย้ายเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า การติดตั้งสายไฟฟ้าภายใน เป็นต้น ทำให้ลูกค้าสามารถขอรับ
บริ การผ่ านออนไลน์ ได้ทุ กที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้ องเดิน ทางมาที่ ทำการของ กฟน. ทั้ งนี้ กฟน. จะขยายผล
การปรับปรุงกระบวนการให้บริการของ กฟน. ให้เป็น Digital Service ครบวงจรต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างการเติบโต (Growth)
สร้างเสริมศักยภาพให้แก่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าหรือ
บริการใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กร โดยในปี 2563 กฟน. ได้พัฒนากระบวนงานรับเหมา (Re-process)
ของแพ็คเกจด้านสายใต้ดิน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการสร้าง Platform ด้านจัดการพลังงาน รวมถึง
จัดทำแผนการตลาดสำหรับบริการ Total Solution (Solar Leasing)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 งานสนับสนุน (Enabler)
พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม CHANGE เพื่อเป็นกำลังสำคัญ
ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร รวมถึง การนำระบบ
เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนา/ปรับปรุงระบบงาน เพื่อยกระดับ กฟน. ให้เป็นองค์กรดิจิทัล ลดขั้นตอนการทำงาน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
39

สรุปผลการดำเนินงานของแผนปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ กฟน.
เดือน มกราคม - ธันวาคม 2563
ร้อยละ
ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์
ผลการดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 AP1 แผน Smart Energy System 95.4
ระบบจำหน่ายไฟฟ้า
(Distribution)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 AP2 แผน Virtual District 97
บริการ จัดหาและ
จำหน่ายไฟฟ้า AP3 แผนการดำเนินธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าในตลาด 100
(Retail) ซื้อขายไฟฟ้าเสรี (ในพื้นที่ EEC)

AP4 แผนสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 100

ยุทธศาสตร์ที่ 3 AP5 แผนเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 100


สร้างการเติบโต
(Growth) AP6 แผนพัฒนาธุรกิจใหม่ 95

ยุทธศาสตร์ที่ 4 AP7 แผนพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรให้ 100


งานสนับสนุน (Enabler) ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

AP8 แผนบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายบุคลากรให้มี 100


ประสิทธิภาพ

AP9 แผน Digital Transformation 100

AP10 แผนสร้างสังคมยอมรับและให้ความ 100


ไว้วางใจ
40

ผลการดำเนินงานตามภารกิจที่สำคัญ ปี 2563
Smart Distribution
กฟน. ได้ดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า โดยมีการก่อสร้าง ปรับปรุง
ขยายระบบจำหน่ายให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เ พิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ เสริมความมั่นคงและ
ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และพัฒนาระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านเทคโนโลยีด้านไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100 รองรับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Maximum
Demand) จำนวน 8,706.28 เมกะวัตต์ ได้อย่างเพียงพอ มีความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า คือ
มีค่าดัชนีความมั่นคงของระบบไฟฟ้า จำนวนครั้งที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIFI) 0.834 ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี
และระยะเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIDI) 27.668 นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี การดำเนินงานที่สำคัญในรอบปี
2563 สรุปดังนี้
• การพัฒนาระบบ Smart Grid หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
กฟน. มีแผนงานที่สอดคล้ องกับนโยบายและแผนแม่บทการพั ฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ท กริด
ของประเทศไทย ปี 2558-2579 และแผนปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายให้มีความทันสมัยรองรับ
เทคโนโลยี ร ะบบไฟฟ้ า ในอนาคต (Grid Modernization of Transmission and Distribution) รองรั บ
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบจำหน่าย โดยจะมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก มีการทำงานที่
สอดประสานกันระหว่างหน่วยงาน และปรับเปลี่ ยนรูปแบบการทำงานให้สอดคล้อ งตามเทคโนโลยีได้
อย่างรวดเร็ว เพื่อสรรสร้างนวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ใน กฟน. การทำงานทุกขั้นตอนจะ
ดำเนินไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ความคืบหน้าของกิจกรรมการลงทุ นพัฒนาระบบ Smart
Grid ในปี 2563 มีดังนี้
1. โครงการนำร่องระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารที่ทำการการไฟฟ้านครหลวงซึ่ง
ต่อเชื่อมกับระบบ Smart Grid (BEMS/FEMS with DR) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบ
บริหารจัดการพลังงานในอาคารพาณิชย์ (Building Energy Management System: BEMS) ให้รองรับ
มาตรการการตอบสนองทางด้ า นโหลด (Demand Response) ด้ ว ยวิ ธี ก ารควบคุ ม โหลดต้ น แบบ
(Prototype) ประเภทเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร โดย กฟน. ได้ดำเนินการที่การไฟฟ้านครหลวงเขต
แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2562 และในปี 2563 ได้จัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) เพื่ อขยาย
โครงการเพิ่มเติมที่การไฟฟ้านครหลวงเขต จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย และ
การไฟฟ้านครหลวงเขตบางขุนเทียน
2. ระบบ SCADA/EMS (Supervisory Control and Data Acquisition/Energy Management
System) ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 สำหรับระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และ
กฟน. ได้ บู ร ณาการระบบ SCADA/EMS และระบบ DMS (Distribution Management System) เข้ า
ด้วยกัน เป็นระบบ SCADA/EMS/DMS ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายพลังไฟฟ้ าและแก้ไขปัญ หาระบบ
ไฟฟ้าขัดข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระบบไฟฟ้ากับระบบงานอื่น ๆ ทั้ง
ภายในและภายนอกองค์กร ช่วยลดความสูญเสี ยในการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจำหน่าย โดยมีม าตรฐาน
การรั ก ษาความมั่ น คงปลอดภั ย ตามมาตรฐาน NERC CIP (North American Electric Reliability
Corporation for Critical Infrastructure Protection) ซึ่ งเป็ น มาตรฐานความมั่ น คงปลอดภั ย ในกลุ่ ม
พลั ง งานไฟฟ้ า ที่ น ำไปใช้ ในการทำงานเพื่ อ ลดความเสี่ ย งทางด้ า นสิ น ทรั พ ย์ ส ารสนเทศที่ ส ำคั ญ ต่ อ
41

เสถี ย รภาพของระบบการจ่ ายไฟฟ้ า โดยอยู่ ร ะหว่า งการทดสอบการเชื่อ มต่อ ฐานข้อ มูล Substation
Remote Terminal Unit (SRTU) แ ล ะ Feeder Remote Terminal Unit (FRTU) เข้ า กั บ ร ะ บ บ
ทดสอบพัฒนา (Quality and Development System: QAD)
3. โครงการ Smart Metro Grid ประกอบด้วย 5 ระบบงานย่อย ดังนี้
(1) Advanced Metering Infrastructure (AMI) ดำเนินการติดตั้งโครงข่ายการสื่อสารและ
เปลี่ยนมิเตอร์จานหมุนและมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็น Smart Meter ที่สามารถอ่านหน่วยได้อัตโนมัติแ ละ
ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ โดยมีการจัดซื้อ Smart Meter จำนวนรวมทั้งสิ้น 33,265 ชุด ทำ
ให้มีจำนวน Smart Meter ในพื้นที่ กฟน. ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า มากขึ้น สามารถนำข้อมูลจาก Smart Meter
มาใช้ในการประมวลผล (Data Analytic) เพื่อวิเคราะห์หาความสูญเสี ย ทั้งทางด้าน Technical Loss และ
Non-Technical Loss การลักลอบใช้ไฟฟ้า การวางแผนขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้า
(2) Transformer Load Monitoring (TLM) ระบบเฝ้าติดตามภาระหม้อแปลงจำหน่ายเพื่อให้
ใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิเคราะห์ข้อมูลทางไฟฟ้า และแจ้งเตือนหม้อแปลงจำหน่ายชำรุด
(3) Outage Management System (OMS) ระบบบริห ารจั ด การไฟฟ้ า ขั ด ข้ อ ง วิ เคราะห์
ข้อมูลไฟฟ้าขัดข้องจากข้อมูลอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบจำหน่ายทั้งในสถานีไฟฟ้าและสายป้อนที่มีการเชื่อมต่อ
กั บ ระบบ SCADA/EMS/DMS เพื่ อ บู ร ณาการข้ อ มู ล จาก Smart Meter ทำให้ ส ามารถแก้ ไขปั ญ หาไฟฟ้ า
ขัดข้องได้รวดเร็วขึ้น และบูรณาการข้อมูลระดับแรงดันสูง แรงดันกลาง แรงดันตํ่า เพื่อยกระดับการแก้ไขไฟฟ้า
ขัดข้องเป็นระบบ Advanced DMS
(4) Load Aggregator Management System (LAMS) ระบบบริหารจัดการผู้รวบรวมโหลด
รองรั บ การทำหน้ าที่ เป็ น Load Aggregator ตามนโยบายการดำเนิ น งานด้ าน Demand Response ของ
ภาครัฐ เพื่อดำเนินการตอบสนองด้านโหลดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสามารถใช้งานร่วมกับ
ศูนย์สั่งการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ โดยมีเป้าหมายในการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด จำนวน 100 เมกะวัตต์
(5) ICT Integration การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการสื่อสาร
และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ภายใน กฟน. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐาน NERC CIP เช่นเดียวกับระบบ SCADA/EMS/DMS
4. โครงการศึ ก ษาปรั บ ปรุ ง โครงข่ า ยไฟฟ้ า ด้ ว ยการติ ด ตั้ ง หม้ อ แปลง On Load Tap
Changer (OLTC) พร้อมอุปกรณ์ ตรวจวัด แรงดัน เพื่ อรองรับการเชื่อ มต่อของ Solar Rooftop โดย
กฟน. ได้ดำเนินการศึกษา ติดตั้งและประเมินผลการใช้งานหม้อแปลง OLTC ณ หมู่บ้านเสนาพาร์ควิลล์
รามอินทรา แล้วเสร็จในปี 2563 สรุป ได้ว่าการใช้งานหม้อแปลง OTLC สามารถปรับแรงดันไฟฟ้ าใน
ระบบจำหน่ายแรงดันตํ่า ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ กฟน. ได้ เมื่ อเกิดการไหลย้อนของพลังงานไฟฟ้า
จาก Solar Rooftop
5. โครงการนำร่อ งระบบ Microgrid ของการไฟฟ้ านครหลวง มี วัต ถุป ระสงค์เพื่ อ ศึ กษา
ระบบ Microgrid และเป็นอาคารตัวอย่างในการเรียนรู้ระบบ Facility Microgrid ของ กฟน. รวมถึงการ
บริ ห ารจั ด การและควบคุ ม Microgrid ในเขตพื้ น ที่ บ ริ ก ารได้ แ บบ Real time สำหรั บ รองรั บ ระบบ
Microgrid และการขยายตัวของพลั งงานทางเลื อ กในอนาคต โดยการติ ดตั้งระบบกักเก็บ พลั งงานให้
รองรับการใช้พลังงานได้ทั้งอาคาร
42

6. โครงการนำร่องระบบ Energy Storage System Pilot Project เป็นโครงการติดตั้งระบบ


กักเก็บ พลังงานไฟฟ้าที่ ระดับ แรงดันกลาง ขนาด 1.2 MWh/2 MW ที่สถานีย่อยปทุมวัน โดยมีรูปแบบ
การทำงาน 2 ฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน Load Leveling สำหรับต้องการลดค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดและ
ฟังก์ชัน Back Up Support สำหรับตอบสนองความต้องการให้มีกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าใช้งานได้
ตลอดเวลา สำหรับการใช้งานเมื่อเกิดเหตุการณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลักไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้
ชั่วคราว เพื่อทำให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงและความเชื่อถือได้สูงขึ้น โดยติดตั้งเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้า
ให้แก่สายป้อน PM 26 ณ สถานีไฟฟ้าย่อยปทุมวันของ กฟน. เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวีย นที่มีแนวโน้ม
สูงขึ้นในระบบจำหน่าย ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) และคาดว่าจะลงนาม
สัญญาได้ในปี 2564
7. โครงการติ ด ตั้ ง Load Break Switch/Feeder Remote Terminal Unit (LBS/FRTU)
ร่วมกับการใช้งานระบบ DMS ในนิค มอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาการเกิดเหตุไฟฟ้า
ขัดข้อง โดยในปี 2563 ได้ขยายการติดตั้ง LBS/FRTU ในพื้นที่ของ กฟน. ทั้ง 18 เขต รวมไปถึงพื้นที่นิคม
อุตสาหกรรมทั้งหมด ได้แก่ บางปู ลาดกระบัง บางพลี เอเชีย และบางชัน มีการทดสอบนำ LBS/FRTU
เชื่อมต่อกับระบบ DMS เพื่อตรวจสอบและควบคุม LBS/FRTU ได้จากระยะไกลครบถ้วนแล้ว
• การเปลี่ ยนระบบสายไฟฟ้ าอากาศเป็ น สายไฟฟ้ าใต้ ดิ น เพื่ อ รองรับ การเป็ นมหานครแห่ ง
อาเซียน มีวัตถุประสงค์หลั กในการเพิ่ มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ า รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้ าที่
เพิ่ ม ขึ้ น ในอนาคต สนั บ สนุ น การเจริ ญ เติ บ ทางเศรษฐกิ จ ในพื้ น ที่ เมื อ งหลวง เกิ ดเศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย น
ในชุมชน และศูนย์กลางการค้าสำคัญ ๆ ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมช่วยให้สภาพภูมิทัศน์สวยงามส่งเสริม
การท่องเที่ยว เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ผลการดำเนินงาน ปี 2563 สรุปได้
ดังนี้
1. โครงการก่อนมหานครอาเซียน ดำเนินการแล้วเสร็จรวมระยะทางทั้งสิ้น 48.6 กิโลเมตร
และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง รวม 39.7 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการนนทรี 6.3 กิโลเมตร โครงการ
พระราม 3/1 4.7 กิโลเมตร โครงการพระราม 3/2 6.2 กิโลเมตร โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 14.3
กิโลเมตร และโครงการรัชดาภิเษก-อโศก 8.2 กิโลเมตร
2. โครงการมหานครอาเซี ย น รวม 127.3 กิ โ ลเมตร ปั จ จุ บั น อยู่ ร ะหว่ า งดำเนิ น การตาม
แผนงานที่กำหนด ดังนี้
- อยู่ ร ะหว่ า งก่ อ สร้า ง รวม 106.8 กิ โ ลเมตร ได้ แ ก่ โครงการรอบพระตำหนั ก จิ ต รลดา
รโหฐาน 7.1 กิโลเมตร โครงการถนนวิทยุ 2.1 กิโลเมตร โครงการถนนพระราม 4 2.3 กิโลเมตร โครงการ
พื้นที่เมืองชั้นใน 11.7 กิโลเมตร โครงการถนนอังรี ดูนังต์ 1.8 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้ าสาย
สีเขียวเหนือ 5.5 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน 12.5 กิโลเมตร โครงการตามแนว
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 15.8 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 11.4 กิโลเมตร โครงการตาม
แนวรถไฟฟ้ า สายสี ส้ ม ตะวันออก ถนนรามคำแหง 0.7 กิโลเมตร โครงการถนนหลั งสวน สารสิ น 2.1
กิโลเมตร โครงการถนนประชาราษฎร์ สาย 2 1.4 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
6.6 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู 17.6 กิโลเมตร และโครงการร่วม กทม. 8.2 กิโลเมตร
- อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ได้แก่ โครงการมหานครอาเซียนส่วนที่เหลือ 20.5 กิโลเมตร
43

• การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าพื้ นที่สถานีกลางบางซื่อ และ


พื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนหรือ Transit Oriented District (TOD) เชื่อมโยงระบบ Smart Metro
Grid พั ฒ นาพื้ นที่ ให้เป็น Smart City รองรับโครงการรถไฟฟ้ าสายสีแดง (บางซื่อ - รังสิ ต) ในปี 2563
กฟน. ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง 230kV, 115kV, 24kV ระบบควบคุมและป้องกัน ทดสอบ
การใช้งานของสถานีไฟฟ้า และจ่ายไฟให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงในเดือนพฤศจิกายน 2563
• โครงการก่อสร้างสถานีย่อยใต้ ดิน กฟน. ได้ ดำเนินการก่อสร้างสถานีย่อยใต้ดินคลองเตย และ
ก่อสร้างสถานีย่อยใต้ดินลุมพินี เนื่องจากข้อจำกัดด้านราคาและพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างสถานี
ต้นทางและสถานีย่อยในพื้นที่จำหน่ายที่เป็นเขตเมืองโดยส่วนใหญ่ กฟน. จึงได้ริเริ่มก่อสร้างสถานีย่อยใต้ดิน
และสร้างอาคารสำนักงานทั่วไปไว้เหนือพื้นดิน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• โครงการ MEA NOW กฟน. ให้ ความสำคัญ กับลู กค้ าในกลุ่ มนิคมอุตสาหกรรม โดยได้จัดตั้งจุด
บริการรับแจ้งเหตุแก้ไขระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม พร้อมรถแก้ไขไฟฟ้าขัดข้องประจำอยู่
ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว
ลดระยะเวลาการเดินทาง เพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจและ
อุตสาหกรรม รวมทั้งดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ในระบบไฟฟ้าของลูกค้า
กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้มีความเชื่อถือได้สูงขึ้น ลดผลกระทบจากระบบไฟฟ้า
ขัดข้องที่เกิดจากระบบไฟฟ้าภายในของลูกค้า
Smart Service
กฟน. พัฒนางานบริการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองสังคมที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่าง
เต็มรูปแบบ (Digital Economy) ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต
ของคนเมืองและคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว สรุปดังนี้
• ระบบ MEASY ให้บริการลงทะเบียนคืนเงินหลักประกั น ขอใช้ไฟฟ้าใหม่ ขอติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว
ขอเพิ่ ม-ลดขนาดเครื่องวัดหน่ วยไฟฟ้ า ขอต่ อกลั บการใช้ไฟฟ้ า และของดการใช้ ไฟฟ้ าชั่ วคราว ผ่ านทาง
https://eservice.mea.or.th/measy
• MEA Smart Life Application เป็นแอปพลิเคชันรวมทุกบริการเรื่องไฟฟ้า และเชื่อมต่อกับ
ระบบ MEASY สามารถตรวจสอบค่ าไฟฟ้ าย้ อนหลั ง ประวั ติ การใช้ ไฟฟ้ า จ่ ายค่ าไฟฟ้ าผ่ านบั ตรเครดิ ต
ผ่าน Internet Banking แจ้ งไฟฟ้ าขัดข้อง และรับทราบข่าวสารจาก กฟน. เช่น ประกาศไฟดั บล่ วงหน้า และ
การแจ้งเตือนต่าง ๆ เป็นต้น
• ช่องทางการชำระค่าใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้ายังสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชันของตัวแทน
รับชำระ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ True Money Wallet AirPay Wallet และชำระผ่าน Internet
Banking ทางเว็บไซต์ของธนาคาร และเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านสะดวกซื้อ
• พั ฒนาการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้ าของการไฟฟ้านครหลวงเขต ให้เป็นแบบ Smart Service
Station โดยมีการปรับกระบวนงานบริการไปสู่ Digital Service ประกอบด้วย
- ระบบงาน Front Office มีการปรับปรุงกระบวนงานตัดฝาก-ใส่กลับ ไฟชั่วคราว ขอย้ายเสา-
สายไฟฟ้า ขอคืนเงินค่าบริการ รับตัดต่อติดตั้งสายไฟฟ้าภายใน และไฟเลื่อน
44

- ระบบงาน Back Office มีการปรับปรุงกระบวนงานขอใช้ไฟฟ้า (ขอไฟใหม่ ขอไฟเพิ่ม) และ


โอนเปลี่ยนสิทธิ์ เปลี่ยนชื่อ กลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม งานยื่นคำร้องค่าไฟผิดปกติ งานขอ
คื น หลั ก ประกั น และการแจ้ ง เหตุ ไ ฟฟ้ า ดั บ นำร่อ งใน 2 เขต คื อ การไฟฟ้ า นครหลวงเขตธนบุ รี และ
การไฟฟ้านครหลวงเขตราษฎ์บูรณะ
• MEA e-Bill การรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ ผ่านทาง SMS หรือ e-Mail
ประกอบด้ ว ย ใบแจ้ ง ยอดค่ า ไฟฟ้ า (e-Invoice) ใบเสร็ จ รั บ เงิ น /ใบกำกั บ ภาษี (e-Receipt/e-Tax
Invoice) และหนั ง สื อ เตื อ นให้ ช ำระค่ า ไฟฟ้ า (e-Notification) เพื่ อ ให้ ผู้ ใ ช้ ไ ฟฟ้ า ได้ รั บ ความสะดวก
รวดเร็ว ปลอดภัย และร่วมรักษ์โลกด้วยการลดปริมาณการใช้กระดาษ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลงทะเบียน
ได้ทเี่ ว็บไซต์ http://ebill.mea.or.th
Smart Enterprise
กฟน. ได้น ำหลั กเกณฑ์ ก ารประเมิ น กระบวนการปฏิ บั ติง านและการจั ด การ (Core Business
Enablers) ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ มาเป็ น แนวทางในการปรั บ ปรุ ง กระบวนการทำงาน เพื่ อ สนั บ สนุ น ให้
กระบวนการทำงานหลั ก ขององค์ ก รมี ป ระสิ ท ธิภ าพ และประสิ ท ธิ ผ ล โดยจั ด ทำเป็ น แผนระยะยาว
ปี 2563-2566 และแผนปฏิบัติประจำปี 2563 มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
• การกำกั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการนำองค์ ก ร มี ก ารจั ด ทำระบบ MEA–GRC คู่ มื อ การปฏิ บั ติ ง าน
การปรั บ ปรุ ง งาน Compliance ให้ เป็ น รู ป ธรรม การติ ด ตามความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ การนำ
มาตรฐาน ISO 22301 มาใช้ การจัดทำปฏิทินการนำเสนอวาระต่อคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการย่อย
และคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงการปรับปรุง Skill Matrix เพื่อใช้ในการสรรหา และพัฒนา
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
• การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มีการวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในระยะยาว จัดทำ Scenario
ทางการเงิ น Strategy Map ความเชื่ อ มโยงกั บ แผนแม่ บ ท/แผนยุ ท ธศาสตร์ ต ามภารกิ จ สำคั ญ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในแต่ละแผนปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรรองรับ เพื่อให้
สามารถนำแผนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
• การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ให้สอดคล้องรองรับยุทธศาสตร์และภารกิจสำคัญ
ขององค์ ก ร มี ก ารปรั บ ปรุ ง กระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย งองค์ ก ร (Enterprise Risk Management)
การบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ (Risk Correlation Map) และ การจัดทำ Portfolio View of Risk
รวมทั้งกระบวนการทำงานให้มีจุดควบคุมภายในเพื่อการติดตามและวัดผล
• ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย และลู ก ค้ า มี ก ารกำหนดผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ที่ ส ำคั ญ และจั ด ทำแผน
ยุทธศาสตร์ รวมถึง วางแนวทางที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่ อให้เกิดความร่วมมือที่ดี
ระหว่าง กฟน. ในด้านลูกค้าได้มีการจำแนกกลุ่มลูกค้าเป็น Sub Segment และนำเสียงของลูกค้ามาใช้ใน
การวางแผนยุ ทธศาสตร์ด้านลู กค้าและตลาด เพื่ อให้สามารถดำเนินงานตอบสนองความต้อ งการและ
ความคาดหวังของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
• การพัฒ นาเทคโนโลยี ดิจิทัล ได้จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA)
พั ฒ นาระบบการบริห ารโครงการและการบริหารคุณ ภาพ การบริห ารข้อ มูล ขนาดใหญ่ และปรับ ปรุง
การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ เพื่ อสร้างแพลตฟอร์มมาตรฐานของระบบสารสนเทศ
45

สนับสนุนการบริหารจัดการ กระบวนการดำเนินงานและบูรณาการข้อมูลสารสนเทศขององค์กร ลดความ


ซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจัดหา บำรุงรักษา และดูแลความปลอดภัย
• การบริห ารทุ น มนุ ษ ย์ มี การปรับ ปรุงการบริห ารงานทางด้ า นทุ น มนุ ษ ย์ เช่ น Career Path
การจัดทำ Succession Plan เพื่ อเป็นการเตรี ยมผู้บริหารในอนาคตอย่างเพี ยงพอ การพั ฒ นา Talent
เพื่ อ สร้างบุคลากรคุณ ภาพให้มากขึ้น การพั ฒ นาศักยภาพผู้ บริหารและบุคลากรให้รองรับยุ ทธศาสตร์
องค์กร ขีดความสามารถขององค์กรทั้งปัจจุบันและที่ต้องการในอนาคต รวมถึงได้ปรับรูปแบบการพัฒนา
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
• การจัดการความรู้และนวัตกรรม ได้ปรับปรุงโครงสร้าง คณะทำงาน การเชื่อมโยงการจัดการ
ความรู้ที่จำเป็นในระบบงานและกระบวนงานกับการจัดการนวัตกรรมขององค์กร โดยได้นำเครื่องมือ KM
Catalogue KM Platform และ Innovation Platform มาใช้ในการบริหารจัดการ
• การตรวจสอบภายใน มีการพั ฒ นาเพื่อ ยกระดับหน่วยตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายใน
พั ฒ นาระบบสารสนเทศและฐานข้อ มูล การตรวจสอบภายใน รวมถึงการเพิ่ มบทบาทของผู้ ต รวจสอบ
ภายในให้เป็นผู้ให้คำปรึกษามากขึ้น
Smart Office
กฟน. ได้พัฒนาระบบงานสนับสนุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานผ่าน Mobile Application
และความพึ งพอใจแก่พ นั กงาน อาทิ ระบบบริการข้อ มูล พนั กงาน MEA-iEmp เป็น ระบบที่ พั ฒ นาเพื่ อให้
พนักงานสามารถเรียกดู ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ด้วยตนเอง กรอกข้อมูลแจ้งรายการหักลดหย่อน
ภาษี เงิน ได้ หั ก ณ ที่ จ่ าย ระบบสลิ ป เงิน เดื อ นออนไลน์ (e-PaySlip) เพื่ อ ให้ พ นั ก งานสามารถเรีย กดู ส ลิ ป
เงินเดือนง่ายขึ้น ระบบบริหาร e-Library พร้อมอุปกรณ์ รองรับการปรับรูปแบบห้องสมุดเป็น ระบบ Active
E-Library (e-Book) ระบบให้บริการเอกสาร หนังสือวิชาการ งานวิจัย เป็นต้น ทำให้ กฟน. พร้อมปฏิบัติงาน
ตามวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์การแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
นอกจากนี้ กฟน. ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยได้นำ
มาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 มาใช้ในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information
Security Management System: ISMS) ประกอบด้ ว ยข้ อ กำหนดที่ อ งค์ ก รต้ อ งดำเนิ น การ รวมถึ ง
การประเมินความเสี่ยง การกำหนดมาตรการควบคุมและการตรวจประเมิน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
จากการใช้งานระบบสารสนเทศในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง และการถูกคุกคามจากภัยต่ าง ๆ ทั้งจากภายในและ
ภายนอกองค์กร เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัย และมีการสร้างความตระหนักในการใช้งาน
ระบบสารสนเทศอย่ า งปลอดภั ย แก่ พ นั ก งานจากภั ย คุ ก คามทางไซเบอร์ รวมถึงกฎหมายที่ เกี่ ยวข้ อ งกั บ
ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตลอดจนรับทราบนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สารสนเทศอย่างปลอดภัย
Smart Human Resource
กฟน. มีการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน
ภารกิจตามยุทธศาสตร์ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ดังนี้
• แผนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างรองรับการเปลี่ ยนแปลง ปี 2563 มีการทบทวนเพื่อให้โครงสร้าง
องค์กรมีลักษณะ Lean & Flexible รองรับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มดำเนิ นการ
ปรับปรุงงานด้านปฏิบัติการ โดยบูรณาการงานออกแบบ งานก่อสร้าง งานจัดหาว่าจ้าง งานบริหารสัญญา และ
ควบคุมงานเข้าด้ว ยกัน เพื่ อให้ การดำเนิ น งานอยู่ภ ายในหน่ว ยงานเดียวกัน โดยบริห ารงานโครงการแบบ
46

เบ็ ด เสร็ จ (Project Management) คล่ อ งตั ว และจำแนกงานตามกลุ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ รวมทั้ ง ปรั บ ปรุ ง งาน
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนงานองค์กรด้วยระบบ
ดิจิทัล และต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
• การวางแผนกำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงอัตราการเติบโตด้านค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับ
รายได้องค์กรในอนาคตและการเพิ่มประสิทธิภาพด้านอัตรากำลัง (Workforce Productivity) ร้อยละ 3.12 ต่อ
ปี เพื่อยกระดับองค์กรให้สามารถเทียบเคี ยงกับคู่เทียบในระดับสากล (Top Quartile) การบริหารอัตรากำลัง
ส่วนขาด (Demand) ตามภารกิจรองรับยุทธศาสตร์องค์กร การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสรรหาเพื่อให้ได้
บุ คลากรที่มีคุณภาพโดยใช้วิธีการสรรหาเชิงรุก การบริหารอัตรากำลั งในส่ วนที่องค์กรนำเทคโนโลยีเข้ามา
ทดแทนด้วยการจัดทำโครงการร่วมใจจากการไฟฟ้านครหลวง (MSP) เพื่อบริหารอัตรากำลังให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด โดยมีจำนวนพนักงานเข้าร่วมโครงการฯ คิดเป็นร้อยละ 54 ของจำนวนเป้าหมาย ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่าย
ที่เป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เฉลี่ย 135 ล้านบาทต่อปี
• การบริหารบุคลากรคุ ณภาพ (Talent Management) เพื่อค้นหาและยกระดับบุคลากรคุณภาพ
(Talent) ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรรองรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และเสริมสร้าง
การคิ ดค้น นวัตกรรมที่ ส ร้างมูล ค่าเพิ่ มให้ กั บองค์ กร รวมถึงเป็ นส่ วนหนึ่ งของการสร้างผู้ นำในอนาคต และ
การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบุคลากรในการสร้างความ
ยั่งยืนให้กับองค์กร โดยการเตรียมความพร้อมพนักงานให้มี ศักยภาพที่เพียงพอต่อการสืบทอดตำแหน่งหลั ก
(Key Position) และตำแหน่ งงานสำคั ญ (Critical Position) ที่ กำหนดไว้ ครอบคลุ ม 4 มิ ติ ประกอบด้ ว ย
ความรู้ (Knowledge) ประสบการณ์ (Experience) ขีดความสามารถ (Skill) และคุณลักษณะ (Attribute) ซึ่ง
ได้กำหนดสัดส่วนของผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor) ที่มีความพร้อมในการเข้ารับการคัดเลือก อย่างน้อย 3
คน ต่อ อัตราว่าง 1 ตำแหน่ง
ในส่ ว นของการส่ งเสริ มค่ านิ ย มองค์ กร กฟน. มี การสื่ อ สารแบบเน้ น ย้ำถึงค่านิ ยม CHANGE และ
พฤติกรรมตามค่านิยมองค์กรผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เข้าถึงพนักงานทุกระดับ ในรูปแบบภาพโปสเตอร์ และ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ พนักงานสามารถเห็นภาพของพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
รวมถึงการเสริ ม สร้ างให้ พ นั กงานทุ ก คนในองค์ก รเป็ น ต้น แบบในการแสดงพฤติ กรรมตามค่ านิ ยมองค์ ก ร
(Role Model) เช่น กิจกรรมคุยกับผู้ว่าการเป็นการพบปะระหว่า งผู้บริหารระดับสูงและพนักงาน ในปี 2563
ได้ ป รั บ รู ป แบบการจั ด กิ จ กรรม โดยเน้ น การสื่ อ สารทางออนไลน์ เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายการลด
การแพร่ระบาดของ COVID-19
Smart Energy
• โครงการโซลาร์ภาคประชาชน
แผนพั ฒ นากำลั ง ผลิ ต ไฟฟ้ าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) ที่ ได้ รั บ ความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลั งงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ มีการลงทุ นผลิ ตไฟฟ้ าประเภทต่าง ๆ
โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จึงได้ดำเนินโครงการโซลาร์
ภาคประชาชน ที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยผลิตไฟฟ้าบนหลังคา (Solar Rooftop) เพื่อใช้เอง ส่วน
ที่เหลือจึงจะขายเข้าระบบ โดย กฟน. ได้ขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐด้วยการนำร่องรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ
โซลาร์ภาคประชาชน จำนวน 30 เมกะวัตต์ ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ 1.68 บาท/หน่วย โดยเปิดรับสมัครผู้ใช้
ไฟฟ้ า ประเภทบ้ า นอยู่ อ าศั ย ในเขตจำหน่ า ยของ กฟน. ผ่ า นทางระบบออนไลน์ (ลงทะเบี ย น
47

https://spv.mea.or.th) และในปี 2563 กฟน. ได้ดำเนินการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ


จำนวน 770 ราย (4.2 เมกะวัตต์) และมีการจ่ายไฟเข้าระบบเชิ งพาณิชย์ (COD) จำนวน 292 ราย (1.6
เมกะวัตต์)
• การรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ
แผน PDP 2018 ส่ งเสริ มการผลิ ตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิ งขยะ และรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน โดย
กฟน. ได้จัดเตรียมข้อมูลศักยภาพระบบไฟฟ้า (Grid Capacity) สำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่
ในเขตจำหน่ายและมีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะแล้ว จำนวน 6 แห่ง มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 31.58
เมกะวัตต์ รวมปริมาณที่รับซื้อ จำนวน 27.6 เมกะวัตต์
• โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
แผนพั ฒ นาพลั งงานทดแทนและพลั ง งานทางเลื อ ก ปี พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) มี
เป้าหมายรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 1,933 เมกะวัตต์ มุ่งเน้น
การผลิตพลังงานไฟฟ้าในชุมชนตามศักยภาพเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดที่หาได้ในพื้ นที่ และนำไปใช้ในพื้นที่
เป็ น หลั ก ประชาชนเข้ า ถึ ง พลั ง งานไฟฟ้ า ได้ อ ย่ า งทั่ วถึ ง และราคาเหมาะสม กฟน. จึ ง ได้ ด ำเนิ น การ
เปิ ด รั บ สมั ค รให้ ผู้ ยื่ น ขอผลิ ต ไฟฟ้ า ขนาดเล็ ก มากที่ ส นใจเข้ า ร่ ว มโครงการฯ ผ่ า นทางเว็ บ ไซต์
https://www.mea.or.th/minisite/vspp
• MEA EV Application
กฟน. พัฒนาแอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ
ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับการค้นหาสถานีชาร์จและจองสถานีชาร์จ พร้อมแสดงเส้นทางไปยังสถานีชาร์จ
ด้วยแผนที่ GIS ร่วมกับการนำทางของ Google Application รวมถึง สามารถควบคุมการทำงานและแสดง
ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จ พร้อมชำระค่าชาร์จ แสดงประวัติการชาร์จ และผลการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ โดยแอปพลิเคชัน MEA EV สามารถใช้งานกับสถานีชาร์จ ของ กฟน. และสถานีชาร์จของ
เอกชนทั่วประเทศไทยที่ลงทะเบียนกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ซึ่งผู้ ที่สนใจสามารถ Download
"MEA EV" Application ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ https://onelink.to/meaev
48

ผลการดำเนินงานอื่น ๆ ที่สำคัญ ปี 2563


• มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไ ฟฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กฟน. ลดภาระค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท รวมเป็นเงิน
11,601.40 ล้านบาท ดังนี้
จำนวนเงิน
มาตรการ ระยะเวลา
(ล้านบาท)
1. การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม - ธันวาคม 2563 6,129.43
ไม่มีกำหนดปิดรับลงทะเบียน
2. การลดค่าไฟฟ้า 3% เดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 1,480.64
3. ค่าไฟฟ้าฟรี ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563 405.00
4. ลดค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2-1.3 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 3,524.78
5. ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด เดือนเมษายน 2563 - มีนาคม 2564 61.55
(Minimum Charge)
ในส่วนของการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า กฟน. เปิดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์
ข อ ง ก ฟ น . ได้ แ ก่ MEA Smart Life Application MEASY Facebook Twitter Line@meathailand
เว็บไซต์ www.mea.or.th และทางโทรศัพท์ 50 คู่สาย ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยไม่มีกำหนดปิดรับ
ลงทะเบียน และคืนเงิน ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ โอนเงินเข้าบั ญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) โอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมรายการ (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย)
และรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา
• แผนการเตรียมความพร้อมและการจ่ายไฟฟ้าโรงพยาบาล และสถานที่กักตัว
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กฟน. ได้วางแผนการดูแลระบบไฟฟ้าให้โรงพยาบาล
และสถานที่กักตัวทุกแห่งในพื้นที่จำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. จำนวน 155 แห่ ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาด
ใหญ่และศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 ให้มีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่ อเนื่อง และมีแผนสำรองในการแก้ปัญหา
ไฟฟ้ าขั ดข้ อ งอย่ างรวดเร็ ว หากมี เหตุ การณ์ ฉุก เฉิ น เกิด ขึ้น รวมทั้ ง กฟน. มี น โยบายงดการดั บ ไฟฟ้ าเพื่ อ
การก่อสร้างหรือบำรุ งรักษาที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนที่อยู่อาศัยและปฏิบัติงาน
จากที่พักตามมาตรการเว้นระยะห่างของรัฐบาล
• การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
1) โครงการรื้อย้ายระบบไฟฟ้าเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และก่อสร้างระบบ
ไฟฟ้าทดแทน
กฟน. ดำเนิ น การรื้อย้ายระบบไฟฟ้ าและก่อสร้างระบบไฟฟ้าทดแทน เพื่อ การดำเนิ น งานใน
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามแผนบูรณาการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลในการสร้างขีดความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ โดย กฟน. ดำเนินการรื้อย้ายระบบไฟฟ้าที่กีดขวางแนวโครงการฯ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง
ก่อสร้างระบบไฟฟ้าทดแทนกลับ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง และ ช่วงลาดกระบัง -อู่ตะเภา และรื้อย้ายปรับปรุง
ระบบไฟฟ้า
49

2) โครงการบ้านมั่นคง
กฟน. ลงนามบันทึกความร่วมมือ “บูรณาการวางแผนและสนับสนุนการพั ฒนาพื้นที่ ด้านระบบ
สาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคง” กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปา
นครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.)
โดย กฟน. สนั บ สนุน การจัดระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าให้ กับชุมชนในโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ของ
กฟน. ด้วยการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในให้กับชุมชนในโครงการของรัฐที่ช่วยเหลือ ผู้มีรายได้น้อย โดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย ชุมชนโรงช้าง ชุมชนภูมิใจ ชุมชนเมืองใหม่มาลัยทอง ชุมชนแสงตะวัน ชุมชนทรัพย์มี
สุข และชุมชนมีสุข เพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อยให้มีคณ
ุ ภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย
3) โครงการฟื้นฟูและพัฒนาคลองเปรมประชากร
กฟน. ร่วมกับ พอช. ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองเปรมประชากร โดย
ดำเนินการรื้อถอนระบบไฟฟ้ า ย้ายเสาและสายไฟฟ้าเดิมออก เพื่อ รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางลำคลอง
และดำเนินการปักเสา พาดสายไฟฟ้าใหม่ ติดตั้งเครื่องวัดฯ และจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนประชาชน ได้อย่าง
เพียงพอ และมีความปลอดภัย
4) การจัดระเบียบสายสื่อสาร
กฟน. ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ
สมุทรปราการ จำนวน 126 เส้นทาง ระยะทาง 826.75 กิโลเมตร โดยตัดสายสื่อสารที่ไม่ใช้งาน และจั ด
ระเบี ยบสายสื่ อ สารด้ วยวิธีการพาดสายบนคอนสายสื่ อสารของ กฟน. เพื่ อความปลอดภั ยในชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชน ภูมิทัศน์สวยงาม และเป็นระเบียบ
5) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบสวนป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยใช้กล้องโทรทัศน์
วงจรปิด (CCTV) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กฟน. ได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนับสนุนการติดตั้งกล้องระบบ
เซลลูลาร์บนเสาไฟฟ้าของ กฟน. ตามพื้ นที่จุดเสี่ย ง จุดล่อแหลม ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้ น
5,929 จุด
50

ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กฟน. มีความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการ
เติบโตของสังคมอย่างยั่งยืน ทั้งที่เป็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน
ตามที่กฎหมายกำหนด และการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กฎหมายไม่ได้กำหนด
แต่เป็นกิจกรรมที่ กฟน. สามารถดำเนินการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม (CSR after process)
ควบคู่ไปกับการบูรณาการการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทำงานขององค์กร
ด้วยการนำความสามารถหลัก (Core Competency) ขององค์กรมาตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย (CSR in process) โดยอ้างอิ งตามมาตรฐานแนวทางความรั บผิ ดชอบต่ อสั งคมและสิ ่งแวดล้ อ ม
ISO 26000 เพื่อมุ่งสู่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตาม
หลักการ Triple Bottom Line อย่างครบถ้วน
ในปี 2563 กฟน. ได้ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทและแผนปฏิบัติเสริมสร้างความยั่งยืน
เพื่อตอบสนองปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่ งยืน
(Sustainable Development Goals: SDGs) ของประเทศ นโยบายของรั ฐ และแผนวิ ส าหกิ จ การไฟฟ้ า
นครหลวง เพื ่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ กรอบการประเมิ น ผลการดำเนิ น งานรั ฐ วิ ส าหกิ จ State Enterprise
Assessment Model: SE-AM โดยกำหนดการดำเนิ นกิ จกรรมตามแผนแม่ บทและแผนปฏิ บ ั ต ิ เสริ มสร้ า ง
ความยั่งยืน การไฟฟ้านครหลวง ปี 2563–2565 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกองค์กร
โดยกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก (CSR After process) มีเป้าหมาย
ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งในปี
2563 กฟน. ได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาช่างไฟฟ้า
มืออาชีพภายในชุมชน การปรับปรุงระบบไฟฟ้าบนสะพานลอย การจัดทำศูนย์การเรี ยนรู้ด้านพลังงานทดแทน
และการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมภายในชุมชน โดยการนำผลงานต้นแบบ “ระบบรดน้ำอัตโนมัติด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์และเซ็นเซอร์ตรวจจับความชื้นในดิน” ที่ชนะการประกวดจากโครงการ MEA’s ENnovation
School มาปรับปรุง และพัฒนาเพื่อใช้งานในศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรพอเพียง ชุมชน
พัฒนาบ่อนไก่ ให้สามารถปลูกพืชผักหลายชนิดใช้บริโภคภายในชุมชน และจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นแหล่ง
เรียนรู้ของประชาชน ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในชุมชน รวมทั้งเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร นอกจากนี้ กฟน. ยังได้จัดให้มีการอบรมหลักสูตรการติดตั้ง EV Charger แบบ
Normal Charge ให้แก่ช่างไฟฟ้าจากโครงการช่างไฟฟ้ามืออาชีพ เพื่อต่อยอดสู่ทักษะการให้บริการติดตั้ง EV
Charger ยานยนต์ไฟฟ้าในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนพนักงานจิตอาสาให้ใช้เวลาในวันหยุดร่วมกั นพัฒนา
ชุมชน ศาสนสถาน และศูนย์การเรียนรู้ของผู้ด้อยโอกาส ซึ่งการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในปี 2563 ส่งผลให้ได้
ชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ โรงเรียนป้อมพระจุลจอมเกล้า และชุมชนประสาน
มิตร นอกจากนี้ในการทำงาน After Process กฟน. สามารถคว้ารางวัลผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยม (Best
Practice) ประเภท Emerging market ในเวที Global Corporate Sustainability Awards: GCSA 2020
ประเทศไต้หวัน จากโครงการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ชุมชน
คอยรุตตั๊กวา ดำเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559)
51

สำหรับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายในองค์กร (CSR in process) มีเป้าหมายในการเป็น


องค์กรชั้นนำด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับสากล ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่
เป็นตัวการสำคั ญในการเกิ ดภาวะโลกร้ อน โดยได้ดำเนิ นโครงการ/กิจกรรมต่ าง ๆ ได้แก่ โครงการเพิ่ ม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขององค์กร การพัฒนาสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ โครงการสำนักงานสีเขียว การจัดการ
ของเสียอันตราย และการจัดการขยะพลาสติกภายในองค์กร (เป้าหมายการเป็นองค์กรปลอดพลาสติกภายในปี
2564) โครงการล้างแอร์ลดโลกร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ให้บริการ จากกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ในปี
2563 กฟน. ได้รางวัลสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับ Gold จำนวน 4 ที่ทำการ ได้แก่ การไฟฟ้า
นครหลวงเขตบางใหญ่ การไฟฟ้านครหลวงเขตธนบุรี การไฟฟ้านครหลวงเขตนวลจันทร์ และการไฟฟ้ า
นครหลวงเขตนนทบุรี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 53,917 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นอกจากนี้ กฟน. ได้บริหารจัดการ Waste ในกระบวนการจำหน่ายด้วยการสนับสนุนกองทัพเรือจัดทำ
โครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน การจัดทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้
เสาไฟฟ้าที่ชำรุดที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการทำงานหลักของ กฟน. เพื่อจัดทำเป็นแนวป้องกันคลื่น
ความยาว 500 เมตร ปิดพื้นที่ด้านข้างของแนวเสาเดิม รวมความยาวของแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ ง
ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ กฟน. ดำเนินการทั้งสิ้น 2,200 เมตร พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชายเลน สร้าง
จิตสำนึกและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์
สู่ระบบนิเวศชายฝั่ง และจัดทำนิทรรศการกลางแจ้ง แสดงสัตว์ที่พบได้ในป่าชายเลน เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ให้กับประชาชน ทั้งนี้ ในการดำเนินการต่อไป ในปี 2564 กฟน. ได้จัดทำและดำเนินการตามแผนแม่บทและ
แผนปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO 26000 เพื่อให้สามารถขับเคลื่อน
การดำเนินงานและการติดตามประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันวิสัยทัศน์ “พลังงานเพื่อวิถี
ชีวิตเมืองมหานคร (Energy for city life, Energize smart living) ต่อไป
52

สรุปข้อมูลที่สำคัญทางการเงิน
เปลี่ยนแปลง
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561 ปี 2563 กับ 2562
เพิ่ม (ลด) ร้อยละ
ฐานะการเงิน
สินทรัพย์ถาวร ล้านบาท 147,993.22 134,949.65 126,101.31 13,043.57 9.67
สินทรัพย์รวม ล้านบาท 227,756.60 224,842.51 213,875.92 2,914.09 1.30
หนี้สินรวม ล้านบาท 128,239.73 126,843.18 117,774.88 1,396.55 1.10
ส่วนของทุน ล้านบาท 99,516.87 97,999.33 96,101.04 1,517.54 1.55
ผลการดำเนินงาน
ค่าขายพลังงานไฟฟ้า ล้านบาท 192,005.71 201,478.45 192,079.04 (9,472.74) (4.70)
รายได้รวม ล้านบาท 196,999.34 205,958.85 196,760.71 (8,959.51) (4.35)
ค่าใช้จ่ายรวม ล้านบาท 191,568.94 200,561.13 187,665.76 (8,992.19) (4.48)
กำไรสำหรับปี ล้านบาท 5,430.40 5,397.72 9,094.95 32.68 0.61
อัตราส่วนทางการเงิน
2561 2562 2563 2561 2562 2563

อัตราส่วน
อัตรา 4.62 เงินทุน
กำไรสุทธิ 2.62 2.76 1.04 1.09 1.13
หมุนเวียน
(ร้อยละ)
(เท่า)

อัตรา อัตรา
ผลตอบแทน ผลตอบแทนต่อ 9.64
4.38
ต่อสินทรัพย์ 2.46 2.40 ส่วนทุน
5.56 5.50
(ร้อยละ) (ร้อยละ)

อัตราส่วน อัตราส่วน
หนี้เงินกู้ ความสามารถ
ต่อส่วนทุน 0.53 ในการชำระหนี้ 5.41
6.12
(เท่า) 0.38 0.43 (เท่า) 2.53

52
53

การจัดอันดับความน่าเชื่อถือองค์กร (Credit Rating)

ในปี 2563 กฟน. ได้รับผลการจัดอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ “AAA” (Triple A) ซึ่งเป็นระดับที่ดี


ที่สุดด้วยแนวโน้มอันดับเครดิตอยู่ที่ระดับคงที่ (Stable) ซึ่งประเมินโดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (Tris Rating)
อันดับเครดิตองค์กรเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในพันธบัตร และปัจจัย
ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความสามารถในการชำระหนี้ และความมั่นคงทางการเงินขององค์กร ประกอบกับ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ
ดำเนินการจัดอันดับเครดิต เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนในการระดม
เงินกู้โดยการออกพันธบัตร

53
54

รายงานวิเคราะห์ฐานะการเงิน
ผลการดำเนินงานในปี 2563
กำไรสำหรั บ ปี 5,430.40 ล้ า นบาท อยู ่ ใ นระดั บ กาไรสาหรับปี (ล้านบาท)
ใกล้เคียงกับปี 2562 ทีม่ ีกำไรสุทธิจำนวน 5,397.72 9,095 - 40.65%
0.61%
ล้านบาท โดยปี 2562 และ 2563 คณะกรรมการ 5,430
5,398
กำกับ กิจ การพลังงาน (กกพ.) เห็น ชอบให้ กฟน.
ส่งคืนเงินรายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 4,191 ล้านบาท
และ 4,427 ล้านบาท ตามลำดับ ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563
ด้านรายได้
รายได้รวม 196,999.34 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 จำนวน 8,959.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.35
สาเหตุสำคัญเกิดจากหน่วยจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าทีล่ ดลง ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่าร้อยละ 97
หน่วย : ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561 ปี 2563 กับ 2562
เพิ่ม (ลด) ร้อยละ
รายได้
รายได้จากการดำเนินงาน
รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า 192,005.71 201,478.45 192,079.04 (9,472.74) (4.70)
รายได้การค้าและงานรับเหมา 1,952.25 1,163.17 1,308.32 789.08 67.84
รายได้อื่นจากการดำเนินงาน 1,879.61 1,899.07 1,951.18 (19.46) (1.02)
รายได้อื่น 1,108.40 1,360.05 1,358.46 (251.65) (18.50)
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า 53.37 58.11 63.71 (4.74) (8.16)
รายได้รวม 196,999.34 205,958.85 196,760.71 (8,959.51) (4.35)
ด้านค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวม 191,568.94 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 จำนวน 8,992.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.48
ปัยจัยหลักจากค่าซื้อพลังงานไฟฟ้าลดลง
หน่วย : ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561 ปี 2563 กับ 2562
เพิ่ม (ลด) ร้อยละ
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่าซื้อพลังงานไฟฟ้า 167,948.77 177,230.17 166,922.93 (9,281.40) (5.24)
ต้นทุนการค้าและงานรับเหมา 1,298.35 782.62 693.68 515.73 65.90
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 10,128.36 10,952.42 9,606.63 (824.06) (7.52)
ค่าตอบแทนผู้บริหาร 47.44 55.24 37.05 (7.80) (14.12)
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 9,201.49 8,817.88 7,944.85 383.61 4.35
ค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินงาน 836.10 720.20 511.25 115.90 16.09
ค่าใช้จ่ายอื่น 520.01 429.48 432.15 90.53 21.08
ต้นทุนการเงิน 1,588.42 1,573.12 1,517.22 15.30 0.97
รวมค่าใช้จ่าย 191,568.94 200,561.13 187,665.76 (8,992.19) (4.48)
55

ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563


สินทรัพย์
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีสินทรัพย์รวม จำนวน 227,756.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันกับปีก่อน จำนวน 2,914.09 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.30 เป็นผลมาจาก
• สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง จำนวน 10,093.64 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.73 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พัสดุ
คงเหลือ และเงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เป็นต้น
• สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น จำนวน 13,007.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.60 ปัจจัยหลัก ได้แก่
สินทรัพย์ระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า เป็นต้น
หนี้สิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีหนี้สินรวม จำนวน 128,239.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันกับปีก่อน จำนวน 1,396.55 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.10 เป็นผลมาจาก
• หนี้สินหมุนเวียนลดลง จำนวน 2,745.68 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.93 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ประมาณ
การหนี้สินระยะสั้น เป็นต้น
• หนี้สินไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น จำนวน 4,142.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.75 ปัจจัยหลัก ได้แก่ หนี้สิน
ระยะยาว และหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน เป็นต้น
ส่วนของทุน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีส่วนของทุน จำนวน 99,516.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันกับปีก่อน จำนวน 1,517.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.55
• ทุนรัฐบาล จำนวน 358.32 ล้านบาท
• กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร จำนวน 99,158.55 ล้านบาท เป็นกำไรจากการดำเนินกิจการที่สะสมมา
ตั้งแต่ปี 2501 จนถึงปีปัจจุบัน ทั้งนี้ กฟน. ได้นำเงินกำไรดังกล่าวไปลงทุนขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อพัฒนา
คุณภาพการบริการและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
โครงสร้างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของทุน ปี 2561-2563
ล้านบาท + 5.13% + 1.30%
250,000 227,757
213,876 224,842
200,000
150,000 117,775 126,843 128,240

100,000
50,000 96,101 97,999 99,517

0
ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563
สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน
56

หน่วย : ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
รายการ ณ 31 ธ.ค. 63 ณ 31 ธ.ค. 62 ณ 31 ธ.ค. 61 ปี 2563 กับ 2562
เพิ่ม (ลด) ร้อยละ
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน 63,420.59 73,514.23 67,588.46 (10,093.64) (13.73)
สินทรัพย์ถาวร 147,993.22 134,949.65 126,101.31 13,043.57 9.67
สินทรัพย์อื่น 16,342.79 16,378.63 20,186.15 (35.84) (0.22)
รวมสินทรัพย์ 227,756.60 224,842.51 213,875.92 2,914.09 1.30
หนี้สินและส่วนของทุน
หนี้สินหมุนเวียน 36,901.17 39,646.85 40,811.37 (2,745.68) (6.93)
หนี้สินระยะยาว 51,979.23 40,809.84 33,022.27 11,169.39 27.37
หนี้สินอื่น 39,359.33 46,386.49 43,941.24 (7,027.16) (15.15)
ส่วนของทุน 99,516.87 97,999.33 96,101.04 1,517.54 1.55
รวมหนี้สินและส่วนของทุน 227,756.60 224,842.51 213,875.92 2,914.09 1.30
สภาพคล่อง/การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสด
กฟน. มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 15,794.19 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน จำนวน 21.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.14 โดยมีกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้น
(ลดลง) ประกอบด้วย เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 11,918.30 ล้านบาท เงินสดสุทธิใช้ไป
ในกิจกรรมลงทุน จำนวน 20,984.96 ล้านบาท โดยการใช้ไปในกิจกรรมลงทุนที่สำคัญ คือ การลงทุนใน
สินทรัพย์ถาวร และเงินสดสุทธิได้มาในกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 9,088.08 ล้านบาท โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ
คือ เงินสดรับจากการออกพันธบัตร
หน่วย : ล้านบาท
กระแสเงินสดเพิ่ม
(ลด)
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
ปี 2563 กับ 2562
จำนวน ร้อยละ
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 11,918.30 17,784.08 19,785.88 (5,865.78) (32.98)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (20,984.96) (19,671.76) (17,694.11) (1,313.20) (6.68)
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมจัดหาเงิน 9,088.08 2,357.94 (7,774.56) 6,730.14 285.42
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น
(ลดลง) สุทธิ 21.42 470.26 (5,682.79) (448.84) (95.45)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด 15,772.77 15,302.51 20,985.30 470.26 3.07
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด 15,794.19 15,772.77 15,302.51 21.42 0.14
57

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563


โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง จำนวน 2 รางวัล
1. รางวัลความสามารถในการจัดการวิกฤตโควิด-19 ดีเด่น
2. รางวัล ความร่ วมมือเพื่อการพัฒ นาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริห ารจัดการองค์กร ประเภท
ชมเชย ด้านการบริหารจัดการองค์กร โดย กฟน. เป็นองค์กรพี่เลี้ยงให้องค์การตลาด เป็นรางวัลที่ กฟน. ได้รับ
เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ”DG Awards 2020” อันดับ 1 ระดับกรม


โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
รางวัลที่พิจารณาจากหน่วยงานระดับกรมที่มีคะแนนโดดเด่นในตัวชี้วัดด้านการบริการ และโครงสร้าง
พื้นฐาน โดยเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานในระดับเดียวกัน ซึ่งมีความสอดคล้องกันในมุมของการมีโครงสร้าง
พื้นฐานที่ดีเพื่อตอบสนองต่อการบริการที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลมากขึ้น
58

ใบรับรอง ISO 22301 มาตรฐานระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ


โดย บริ ษั ท บี เอสไอ กรุ๊ ป (ประเทศไทย) จำกั ด (BSI Certification Services Co., Ltd.) สถาบั น รั บ รอง
มาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ

รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 9
โดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
59

รางวัลเหรียญทอง ”อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย”
โดย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่ วยงานของ กฟน. ที่ได้รั บรางวัล ได้ แก่ การไฟฟ้ านครหลวงเขตธนบุ รี การไฟฟ้ านครหลวงเขต
บางขุนเทียน การไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน การไฟฟ้านครหลวงเขตยานนาวา และการไฟฟ้านครหลวงเขต
บางเขน

รางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2563


โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันไทยพัฒน์
รางวัลที่ส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่องค์กรที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนต่อสาธารณะ
และผู้ มี ส่ ว นได้ เสี ย ที่ เกี่ ย วข้ อ ง โดย กฟน. ได้ น ำกรอบมาตรฐานการจั ด ทำรายงานความยั่ งยื น (Global
Reporting Initiative: GRI) ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล มาเป็นแนวทางการดำเนินงานขององค์กรเพื่อ
การพัฒนาองค์กรสู่ ความยั่งยืนในระยะยาว และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Target
12.
60

รางวัลชนะเลิศ Asia Responsible Enterprise Awards 2020 สาขา Investment in People


โดย Enterprise Asia
กฟน. ไดรับรางวัลในฐานะองคกรในภูมิภาคเอเชียที่มีความโดดเดนเรื่องการดําเนินนโยบายที่คํานึงถึง
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน และผูมีสวนไดสวนเสีย ควบคูไปกับการคํานึงถึงผลกระทบตอ
สังคมและสิ่งแวดลอม เพื่อพัฒนากระบวนการทํางานและสงมอบคุณคางานบริการแกลูกคา ประชาชน และ
สั งคม จากโครงการ “Lively Workplace, Better Service” หรื อโครงการพั ฒ นาสภาพแวดลอ มบริเวณ
หองเวรแกไฟฟาขัดของ

รางวัล Asia Sustainability Reporting Awards (ASRA)


โดย องคกร CSRWorks International Pte Ltd และ The British High Commissioner
กฟน. ไดรับรางวั ล Asia’s Best SDG Reporting ระดับ Gold ที่ม อบใหแกองคกรภาครัฐที่รายงาน
การพั ฒ นาอย า งยั่ ง ยื น ยอดเยี่ ย มระดั บ เอเชี ย และรางวั ล Asia’s Best Sustainability Report (Public
Sector) ระดับ Gold มอบให แก องคกรที่มี แนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาความยั่งยืนผา นกระบวนการจัดทํา
และรายงานผล
61

รางวัล Global Corporate Sustainability Awards : GCSA 2020


ประเทศไต้หวัน
รางวัล Best Practice สาขา Emerging Market จากโครงการพัฒ นาชุมชนสู่ความยั่งยืนตามหลั ก
ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง กรณี ชุมชนคอยรุ๊ตตั๊ก วา สำหรับ การริเริ่มปฏิ บั ติงานในโครงการทางด้าน
การพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีผลลัพธ์ยอดเยี่ยม

โล่เกียรติคุณ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี (มจธ.)
โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี
กฟน. ให้การสนับสนุน มจธ. เข้าร่วมการแข่งขันสร้างบ้านประหยัดพลังงานระดับนานาชาติโครงการ
Solar Decathlon Europe 2019 จัดขึ้นที่ประเทศฮังการี โดย มจธ. สามารถคว้า 4 รางวัล โดยได้รับรางวัล
ชนะเลิศ People’s Choice Award และอีก 3 รางวัล จากการแข่งขันบ้านประหยัดพลังงานระดับโลก Solar
Decathlon Europe 2019 (SDE 2019)
62

รางวัล Thailand Kaizen Award 2020


โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
รางวัล Bronze Award ประเภท Service Kaizen จากผลงาน "Smart Energy ระบบจ่ายไฟกลั บ
อัตโนมัติ" เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านระบบออนไลน์ สร้างความพึงพอใจ
ให้แก่ประชาชน สามารถลดระยะเวลาแก้ไขไฟฟ้าดับ (กรณีขัดข้องด้านระบบไฟฟ้า)
63

กิจกรรมที่สำคัญ ปี 2563
กฟน. จัดกิจกรรม “MEA อาสาพัฒนาศาสนสถานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวและออกหน่วยบริการชุมชน” ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร

กฟน. และ บริษัท ออริจ ิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ลงนามบัน ทึกความเข้า ใจโครงการร่วมมือ
ด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อพัฒนาพื้นที่ภายใต้โครงการ ออริจิ้น สมาร์ท ซิตี้ รามอินทรา ให้เป็นเมืองต้นแบบ
อัจฉริยะในด้าน Smart Eco
64

กฟน. และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมื อ โครงการวิ จัยและพัฒนา


โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจะ
ร่วมกันศึกษาและพัฒนารูปแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตลอดจนพัฒนาชุมชนเมืองโดยรอบให้มีสิ่งอำนวย
ความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

กฟน. และ บริ ษ ั ท แสนสิ ร ิ จำกั ด (มหาชน) เปิ ดตั ว โครงการพั ฒนา MEA Smart Life Platform เพื ่ อขยาย
การบริการ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
65

กฟน. และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกความเข้าใจการศึกษาความเป็นไปได้


ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกอบ
กิจการอื่นในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของ กฟน. ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและก่อให้เกิดผลดีต่อ
ธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ

กฟน. และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาโครงการ


ด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาต้นแบบ EV Charging Station
สำหรับรถเมล์ไฟฟ้าสาธารณะ
66

กฟน. และ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการ


เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

กฟน. มอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ในโครงการศึกษาวิจัย MEA EV Smart Charging System ให้แก่ผ ู้ผ ่าน
การคัดเลือกในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
ต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
67

กฟน. จัดงานวันวิชาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการไฟฟ้านครหลวง ประจําปี 2563 ในรูปแบบ Online


Event ภายใต้แนวคิด “CHANGE Share & Challenge : MEA สร้างคุณค่าที่แตกต่าง"

กฟน. ร่วมกับ CU Innovation Hub จัดโครงการ MEA Hackathon Day 2020 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ทั้ง
พนักงาน กฟน. และบุคคลภายนอก ได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายใต้แนวคิด "Optimizing Smart
Energy System through Enabling Technologies of IoT"
68

กฟน. สนั บสนุ น เงิ น ในการจั ด ซื ้ ออุ ปกรณ์ ทางการแพทย์ เพื ่ อใช้ ร ั กษาผู ้ ป ่ ว ยติ ดเชื ้อ COVID-19 ให้ กั บ
โรงพยาบาลรัฐทั้งสิ้น 18 แห่ง ในพื้นที่จำหน่ายของ กฟน. และให้การสนับสนุนเตียงผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น
ณ โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง

กฟน. ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบสวนป้อ งกัน


ปราบปรามอาชญากรรมโดยใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมสนับสนุนการติดตั้งกล้องระบบ
เซลลูลาร์บนเสาไฟฟ้าของ กฟน. ตามพื้นที่จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร
69

กฟน. เปิดตัวตลาดนัดต้นแบบความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ซึ่งเป็นตลาดนัดเต็นท์กลางแจ้งที่ กฟน. เข้ามาดูแล


ระบบไฟฟ้า ดำเนินการปักเสา เดินสาย ติดตั้งตู้แผงเมนสวิตช์ให้ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย ณ ตลาดนัด
ปากซอยเทียนทะเล 7
70

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)


คณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม
2562 ประกอบด้ วย กรรมการซึ่ งเป็ นผู้ ทรงคุ ณวุ ฒิ มี ความรู้ และประสบการณ์ ด้ านการเงิน เศรษฐศาสตร์
รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และบริหารธุรกิจ
คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ประกอบด้วย
1. นายเดชบุญ มาประเสริฐ ประธานกรรมการ
2. นายนิวัติ ลมุนพันธ์ กรรมการ
3. นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา กรรมการ
โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ ป ฏิ บั ติ ห น้ าที่ แ ละความรับ ผิ ด ชอบตามกฎบั ต รของคณะกรรมการ
ตรวจสอบ ที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ จ ากคณะกรรมการการไฟฟ้ า นครหลวง ระเบี ย บกระทรวงการคลั ง ว่ า ด้ ว ย
คณะกรรมการตรวจสอบและหน่ ว ยตรวจสอบภายในของรั ฐ วิ ส าหกิ จ พ.ศ. 2555 และหลั ก เกณฑ์
กระทรวงการคลั งว่าด้ว ยมาตรฐานและหลั กเกณฑ์ ป ฏิ บั ติก ารตรวจสอบภายในสำหรับ หน่ ว ยงานของรัฐ
พ.ศ. 2561 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 หลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562
และแนวปฏิบัติ และคู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ (State Enterprise
Assessment Model: SE-AM) โดยใช้ ความรู้ความสามารถ และความระมัดระวัง รอบคอบ มีความเป็นอิสระ
อย่างเพียงพอ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่ว นเสียอย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการตรวจสอบให้ความสำคัญ
กับการบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการที่ดี และระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการป้องกันการทุจริต
เพื่อให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายด้วยความโปร่งใส
ในปี 2563 คณะกรรมการตรวจสอบ ได้มีการประชุมร่วมกัน 13 ครั้ง ซึ่งมีการประชุมร่วมกับ ผู้แทน
ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุที่ 17 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้บริหารระดับสูง
รวมทั้งเยี่ยมชมการปฏิบัติงานที่การไฟฟ้านครหลวงเขต รวม 2 ครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลการดำเนินงานที่สำคัญ
ตลอดจนได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นรายไตรมาส สรุปสาระสำคัญ
ได้ดังนี้
1. การสอบทานรายงานทางการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ สอบทานรายงานทางการเงินทั้ งรายเดื อน รายไตรมาสและประจำปี
วิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชี และฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อให้
มั่นใจว่าการจั ดทำรายงานทางการเงินของการไฟฟ้ านครหลวงจัดทำขึ้ นอย่างถูกต้ องและทั นเวลา เป็ นไปตาม
ข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบ
งบการเงิน อย่ างเพียงพอ และเห็ นชอบค่าธรรมเนียมการตรวจสอบและสอบทานงบการเงินปี 2563 และ
2564 และกลั่นกรองการคัดเลือกผู้สอบบัญชี ปี 2564 นำเสนอต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเพื่อ
พิจารณา โดยค่าธรรมเนียมการตรวจสอบและสอบทานงบการเงิน ปี 2563 ของการไฟฟ้านครหลวง เป็น
จำนวนเงินทั้งสิ้น 2,100,000.00 บาท รวมทั้งรับทราบผลกระทบจากการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และการ
สนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องดังกล่าว ผลการประเมินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของการไฟฟ้านครหลวง โดย
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และโครงการทบทวนงบการเงินของการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นไปตามมาตรฐาน
71

การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน และฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า และผลกระทบต่อ


งบการเงิน
2. การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ส อบทานการปฏิบัติงานของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อให้ มั่นใจว่า
มีการพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตาม
จรรยาบรรณพนักงานและการป้องกันการทุจริต การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อร้องเรียน
รับทราบการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการไฟฟ้านครหลวง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
ที่มีการเปลี่ยนแปลง และผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้ง
สอบถามและมีข้อเสนอแนะให้ฝ่ายตรวจสอบภายในดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์การเบิกจ่ายพัสดุ
และการลักลอบใช้ไฟฟ้าในระหว่างปี 2563
3. การสอบทานการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ ส อบทานการดำเนิ น การบริ ห ารความเสี่ ย ง เพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า
กระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย งเป็ น ไปตามหลั ก การที่ เป็ น มาตรฐานสากล ครอบคลุ ม ปั จ จั ย เสี่ ย งสำคั ญ
ทั้งภายในและภายนอก มีแผนงานและแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุม หรือ
ลดผลกระทบที่อาจมีต่อการบรรลุ วัตถุประสงค์การดำเนิ นงานขององค์กรให้ อยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ รวมทั้ ง
พิจารณาสอบทานประสิ ทธิภาพความเหมาะสมของกระบวนการบริหารความเสี่ ยงอย่างสม่ำเสมอ และการ
ตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของการไฟฟ้านครหลวง
4. การสอบทานประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรให้มีการจัดวางระบบ
การควบคุ มภายใน และการประเมิ นการควบคุ มด้ วยตนเอง การประเมิ นการควบคุ มของฝ่ ายบริ หาร และ
ฝ่ายตรวจสอบภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติ การควบคุม
ภายในสำหรั บ หน่ วยงานของรั ฐ พ.ศ. 2561 หลั กการและแนวทางการกำกั บดู แลกิ จการที่ ดี ในรัฐวิ สาหกิ จ
พ.ศ. 2562 และแนวปฏิ บั ติ และมาตรฐาน COSO 2013 เพื่ อให้ การควบคุ ม ภายในของการไฟฟ้ านครหลวง
มีความเพียงพอ มีประสิทธิผล และเป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมภายใน
5. การสอบทานรายงานผลการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ ส อบทานรายงานผลการตรวจสอบ และรายงานการติ ด ตาม
ผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของฝ่ายตรวจสอบภายใน ในประเด็นที่มีนัยสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี และมีการควบคุมภายในที่เพียงพอ โดยในปี 2563 คณะกรรมการตรวจสอบได้เริ่มต้นสอบทาน
การดำเนินงาน Enabler ของการไฟฟ้านครหลวง ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจใหม่ (SE-AM) เป็นครั้งแรก
6. การกำกับดูแลและพัฒนางานตรวจสอบภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้สอบทานให้ ฝ่ ายตรวจสอบภายในมีความเป็ นอิสระ ดำเนิ นงานด้ว ย
ความเที่ยงตรง ผู้ตรวจสอบภายในไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในงานที่ตรวจสอบ พิจารณาการรายงาน
ความเป็นอิสระของผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน และผลวินิจฉัยเกี่ยวกับความเป็นอิสระ และเที่ยงธรรม
ของฝ่ายตรวจสอบภายใน พัฒนางานตรวจสอบภายในไปสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งสนับสนุนการนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ผ ลในงานตรวจสอบ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ต รวจสอบภายในให้ ไ ด้ รั บ วุ ฒิ บั ต ร
72

ด้านการตรวจสอบสากล และได้รับการพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ


ธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. การประชุมหารือกับผู้สอบบัญชีและฝ่ายบริหาร
คณะกรรมการตรวจสอบ มี การประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ ยนความคิดเห็ นกับผู้แทนผู้อำนวยการ
สำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุที่ 17 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับขอบเขตและแนวทาง
การปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดี และลดความซ้ำซ้อนของ
การปฏิบัติงาน เสนอแนะแนวทางการพัฒนาผลการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก
(Government Easy Contact Center: GECC) เยี่ ยมชมและแลกเปลี่ ยนความคิดเห็ น การดำเนินงานของ
การไฟฟ้ านครหลวงเขตสมุท รปราการ และการไฟฟ้ านครหลวงเขตนนทบุ รี ทิ ศ ทางการดำเนิ น งานของ
การไฟฟ้านครหลวง ปี 2564 - 2565 ในโครงการที่สำคัญ รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการ
ความเสี่ยง การควบคุมภายใน การบริหารเทคโนโลยีและสารสนเทศ และรายงานหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระของ
ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ กับผู้บริหารระดับสูง
8. การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ ปฏิ บั ติ ต ามกฎบั ต รของคณะกรรมการตรวจสอบ และคู่ มื อ ของ
คณะกรรมการตรวจสอบ ทบทวนให้ มีความสอดคล้ องกับ ระเบี ยบ หลั กเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ
ที่เกี่ ย วข้อ ง รวมทั้งมี การประเมิน ตนเองรายบุ คคลประจำปี 2563 และจัด ทำแผนเพิ่ ม ประสิ ท ธิภ าพของ
คณะกรรมการตรวจสอบ
ในการปฏิบั ติหน้ าที่ คณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อ
การดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานและระบบการ
ติดตามป้องกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการไฟฟ้า-
นครหลวง
โดยสรุป คณะกรรมการตรวจสอบ เห็นว่า ในปี 2563 การไฟฟ้านครหลวง ได้จัดทำรายงานทางการเงิน
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามระบบ
การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี มี ก ารบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งอย่ า งเพี ย งพอ มี ร ะบบ การควบคุ ม ภายใน
การตรวจสอบภายในที่ เหมาะสมและมี ป ระสิ ทธิ ผล ไม่ พบข้ อบกพร่องที่ มี สาระสำคั ญ ในการปฏิ บั ติ ห น้ าที่
คณะกรรมการตรวจสอบได้แสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ และให้คำแนะนำแก่ ฝ่ายบริห าร และผู้เข้าร่วม
ประชุมอย่างตรงไปตรงมา โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของการไฟฟ้านครหลวงเป็นสำคัญ

(นายเดชบุญ มาประเสริฐ)
ประธานกรรมการตรวจสอบ
73

การบริหารความเสี่ยงองค์กร และปัจจัยความเสี่ยง
กฟน. พัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ต่าง ๆ อย่างยั่งยืน ตามแนวทาง Enterprise Risk Management - Integrating with Strategy and Performance
ข อ ง The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) แ ล ะ
ISO 31000: 2018 Risk management - Guidelines ซึ ่ ง สอดคล้ อ งกั บ คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ เ กี ่ ย วกั บ การบริ ห าร
ความเสี ่ ย งและการควบคุ ม ภายใน ปี 2555 สำนั ก งานคณะกรรมการนโยบายรั ฐ วิ ส าหกิ จ (สคร.)
กระทรวงการคลัง และระบบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment
Model: SE-AM)
กฟน. ได้วางแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงองค์กรครอบคลุมตั้งแต่ คณะกรรมการ ผู้บริหารและ
พนักงาน โดยมีการบูรณาการหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
แผนยุทธศาสตร์และเครื่องมือบริหารจัดการอื่น ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ดำเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรในการกำหนดวัตถุประสงค์ ระบุ ประเมิน การจัดการ
รายงานและติดตามความเสี่ย ง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ครอบคลุ ม ความเสี ่ ย งด้ า นกลยุ ท ธ์ ด้ า นปฏิ บ ั ต ิ ก าร ด้ า นการเงิ น และด้ า นกฎ ระเบี ย บที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ
การดำเนินงานขององค์กร
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร
กฟน. กำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงและการบริหาร
ความต่อเนื่องทางธุรกิจในแต่ละระดับดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล มีความครบถ้วนในทุก ๆ กิจกรรมหลัก
และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้
- คณะอนุกรรมการการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล และสนับสนุนให้องค์กรดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
การบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง
- คณะผู้บริหารการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ทำหน้าที่กำหนดกรอบการกำกับ ดูแลกิจ การที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
(Governance, Risk and Compliance (GRC Framework)) รวมถึ ง การบริ ห ารความต่ อ เนื ่ อ งทางธุ ร กิ จ
การควบคุมภายใน พร้อมทั้ง พิจารณาและกำหนดแนวทางการตอบสนองความเสี่ยง ตลอดจนกำกับให้มี
การปฏิบัติตามนโยบาย และสนับสนุนให้มีการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ ของการบูรณาการระหว่าง
การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้ ฝ่า ยตรวจสอบภายในทำหน้า ที่ ส อบทานและประเมิ น ประสิ ทธิ ผ ลของ
การดำเนินงาน และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบในการไฟฟ้านครหลวงอย่างสม่ำเสมอ
74

คณะกรรมการการไฟฟ้านครหหลวง

คณะอนุกรรมการการกำกับ คณะกรรมการตรวจสอบ
ดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง (Audit Committee)
และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ

คณะผู้บริหารการกำกับ ฝ่ายบริหาร
ดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง ฝ่ายตรวจสอบภายใน
ความเสี่ยงองค์กร
และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ

คณะผู้บริหารด้านความเสี่ยง
ประจำสายงาน

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ (GRC)


กฟน. คำนึงถึงการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหาร
ความเสี ่ ย ง และการปฏิ บ ั ต ิ ต ามกฎหมาย ข้ อ บั ง คั บ ระเบี ย บ คำสั ่ ง ประกาศ นโยบายที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ (GRC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้
และบริหารจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างมูลค่าเพิ่ม
สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ทันเวลา โปร่งใส และมีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบต่าง ๆ รวมถึงนโยบาย
ที่เกี่ยวข้อง โดยเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ของ กฟน.
ผลการดำเนินงานที่สำคัญด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร ปี 2563 ดังนี้
1) การจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง โดยมีการทบทวน/ปรับปรุงให้สอดรับกับ สภาพแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั้งระดับองค์กร
และระดับหน่วยงาน รวมถึงแสดงความเชื่อมโยงระหว่างการบริหารความเสี่ยงกับกระบวนงานอื่น ๆ และ
เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภายในองค์กร และการพัฒนาระบบ MEA-GRC ซึ่งเป็นระบบที่บูรณาการข้อมูลระหว่าง
การบริหารความเสี่ยง ควบคุมภายใน และตรวจสอบภายใน สนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยง การบริหาร
จัดการ และติดตามความเสี่ยง ได้อย่างเป็นระบบ
2) พั ฒ นาการบริ ห ารความเสี ่ ย งตามกรอบ Enterprise Risk Management – Integrating with
Strategy and Performance ของ COSO โดยมีการบูรณาการบริหารความเสี่ยงกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของ
องค์กร เพื่อจัดการผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความกังวลของสาธารณะที่มีต่อ
ผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติงานทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยคณะผู้บริหารด้านความเสี่ยงมีการทบทวนกระบวนการ
บริหารความเสี่ยงในไตรมาสที่ 4 ก่อนเริ่มกระบวนการ ซึ่งได้มีการปรับปรุงการประเมินความเสี่ยง และ
การกำหนด Risk Appetite ตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่
(SE-AM) ด้าน Risk Management & Internal Control (RM&IC)
75

3) การกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการบริหารความเสี่ยงเชื่อมโยงกับค่านิยม CHANGE ของ


องค์กร และจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารและพนักงาน สื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วารสารภายใน Line
E-mail และ MEATV เป็นต้น การจัดงาน Risk Day 2020: Risk X Return มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารและ
พนักงานมีความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk and Return)
4) ปาฐกถาพิเศษโดย พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ กรรมการการไฟฟ้านครหลวง ในหัวข้อ “MEA Risks
and how to prepare” และการบรรยายโดย คุณกาญจน์ชนิต ธำรงบุญเขต จากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “Digital Disruption: Risks, Opportunities and the Telco perspectives”
พร้อมทั้งให้พนักงานมีส่วนร่วมผ่านการจัดประกวดคลิปสั้น ในหัวข้อ “ความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk and
Return)
นอกจากนี้ กฟน. ได้ติดตามและทบทวนความเสี่ยงสำคัญขององค์กรให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยจำแนกความเสี่ยงเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
• รายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
ทดแทน อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยจำหน่ายในอนาคต เช่น การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ การผลิต
ไฟฟ้าใช้เอง แนวโน้มที่จะเกิดการซื้อขายระหว่างกัน การสูญเสียลูกค้าให้ผู้ประกอบการรายอื่ นที่เข้ามาขาย
ไฟฟ้าในพื้นที่ เป็นต้น อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน และการเติบโตขององค์กรในอนาคต ดังนั้น กฟน. จึง
ได้หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน การดำเนินธุรกิจในเมืองอัจฉริยะ เป็นต้น
เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าที่รุนแรงมากขึ้น โดยจัดทำแผนปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น แผน Smart Energy System และแผน Virtual District เพื่อพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้ามาของระบบพลังงานไฟฟ้าและเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เพิ่มความพึงพอใจ
ของลูกค้าและสร้างเป็นจุดแข็งให้กับ กฟน. ในอนาคต แผนการดำเนินธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าในตลาดซื้อขายไฟฟ้า
เสรี (ในพื้นที่ EEC) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินกิจการในตลาด EEC และเตรียมความพร้อมในการ
เป็น Aggregator เป็นต้น
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
• ความปลอดภัยของข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ/ระบบงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการปฏิบัติงานที่บ้าน
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กฟน. จึงได้ออกมาตรการ
ให้พนักงานทำงาน ณ ที่พักอาศัย (Work From Home) จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อปฏิบัติงาน และ
การนำอุปกรณ์ของ กฟน. ไปใช้งานภายนอกองค์กร การเข้าถึงระบบงานภายในองค์กรจากเครือข่ายสาธารณะ
และการติดต่อสื่อสาร/ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศ/ระบบงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลที่ สำคัญเสียหาย/สูญหาย/รั่วไหล ระบบงานเสียหาย
ไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ ความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ กฟน. ลดลง รวมทั้ง
อาจถูกลงโทษทางแพ่งและทางอาญา
ทั้งนี้ กฟน. มีมาตรการควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการใช้ระบบและซอฟต์แวร์ป้องกันอุปกร ณ์
ภายใน กฟน. ดำเนินการตามแนวทางมาตรฐาน ISO27001 สำหรับระบบงานสำคัญ มีการควบคุมการเข้าถึง
ระบบเครื อ ข่ า ยภายในผ่ า นระบบ Virtual Private Network (VPN) มี ก ารเฝ้ า ระวั ง จากศู น ย์ Security
Operation Center (SOC) เพื่อป้องกันการโจมตี รวมถึงมีแผนฉุกเฉิน/แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ รองรับ
76

กรณีระบบงานสำคัญหยุดชะงัก นอกจากนี้ กฟน. ได้จัดทำมาตรการจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น การจัดสรร


ซอฟต์แวร์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล สำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสาร/
ประชุมผ่านระบบ Video Conference รวมถึงให้พนักงานสำรองข้อมูลโดยใช้ระบบ Safesync ของ กฟน. ที่มี
ระบบ Back up และระบบรักษาความปลอดภัยรองรับการใช้งาน
• การเกิด Blackout
กฟน. ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อถือได้และ
ความพึงพอใจต่อผู้ใช้ไฟฟ้า จึงได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
เป็น บริเวณกว้างในต่างประเทศหลายแห่ง โดยการไฟฟ้าทั ้ง 3 แห่ง (กฟผ. กฟน. กฟภ.) ได้ จัดทำแผน
Blackout Restoration Plan กฟน. มีส่วนร่วมในการปรับปรุงแผนเป็นประจำทุกปี มีการอบรมให้ความรู้แก่
พนักงานและฝึกซ้อมแผนในการนำระบบให้เข้าสู่สภาวะปกติกรณีเกิด Blackout ร่วมกันระหว่างการไฟฟ้าทั้ง
3 แห่ง นอกจากนี้ กฟน. ยังได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเกิด Blackout โดยดำเนินการ
บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าสำรองของระบบงาน/สถานที่สำคัญของ กฟน. ให้ มีความพร้อมใช้งาน พร้อมทบทวน
ลำดับความสำคัญของสถานที่ /ลูกค้า และรวบรวม/จัดเก็บข้อมูลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของสถานที่และ
ลูกค้าสำคัญ รวมทั้งนำข้อมูลมาเป็นแนวทางสำหรับจัดทำแผนการจ่ายไฟฟ้าให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
เช่น ระบบขนส่งมวลชน สนามบิน ประตูระบายน้ำ เป็นต้น รวมทั้ง มีการศึกษาแนวทางการจัดการความเสี่ยง
ในระยะยาว เช่น การทำ Microgrid ในพื้นที่สำคัญ เป็นต้น
• การเสื่อมเสียชื่อเสียงจากข่าวในแง่ลบ
จากการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของ COVID-19 ได้แก่ การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และส่วนลดค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ยัง
ไม่มีความชัดเจนในเวลานั้น กฟน. ตระหนักดีว่าการสื่อสารที่ไม่ทันต่อความคาดหวังอาจส่งผลให้เกิด การ
เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่ทำให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น กฟน. จึงจัดทำคู่มือกระบวนการสื่อสาร
เชิงรุก และจัด ให้มีกระบวนการตรวจสอบกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อ
บุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดในเชิงบวกและลบ มาวิเคราะห์และจัดทำรายงานสถานการณ์และผลกระทบด้าน
การสื่อสารเชิงบวกและลบ เพื่อการแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการ สื่อสารได้ทันการณ์ และลดข้อร้องเรียน
นอกจากนี้ มอบหมายโฆษกการไฟฟ้านครหลวง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์สำหรับประเด็นที่มีผลกระทบในวงกว้าง
เพื่อให้สามารถแจ้งข้อมูลที่มีความชัดเจนและตรงประเด็นยิ่งขึน้
ความเสี่ยงด้านการเงิน
• สภาพคล่องทางการเงินจากนโยบายช่วยเหลือภาระค่าไฟฟ้าของภาครัฐและภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา
การดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
ตามมติคณะรัฐมนตรีให้คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ขยายเวลาการชำระค่าไฟฟ้าประเภท
กิจการเฉพาะอย่าง โดยไม่คิดดอกเบี้ยและผ่อนผันได้ไม่เกิน 6 เดือน สำหรับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน
เมษายน และพฤษภาคม 2563 และมาตรการลดค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ลูกค้าอาจชะลอการชำระค่าไฟฟ้า และ
การชำระค่าซื้อไฟฟ้าให้ กฟผ. ตามรอบเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้เกิดเบี้ยปรับ ซึ่ง กฟน. ได้มีมาตรการจัดการ
ความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางการเงิน เตรียมความพร้อมในการบริหารสภาพคล่องและ
การส่งคืนรายได้ที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 การรายงานข้อมูลผลกระทบจาก
สถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และขอการสนับสนุนที่จำเป็นจากภาครัฐ เพื่อลดผลกระทบทางการเงิน
ในภาพรวม รวมทั้งขอขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าจาก กฟผ. โดยไม่มีเบี้ยปรับ เร่งดำเนินการปรับปรุง
77

ข้อมูลในระบบรับชำระค่าไฟฟ้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถชำระค่าไฟฟ้าตามสิทธิ์ที่ได้รับส่วนลดตามมาตรการฯ และ


ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ามาชำระค่าไฟฟ้าที่ค้างจ่าย
ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ
• การทุจริตในองค์กร
กฟน. มุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรม “MEA Zero Tolerance คน กฟน. ไม่ทนต่อการทุจริต” เพื่อป้องกัน
และจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จัดให้มี
การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมด้วยตนเองสำหรับกระบวนงานที่มีความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้าน
การทุ จ ริ ต ปฏิ บ ั ต ิ ต ามนโยบายการป้ อ งกั น และต่อ ต้ า นการทุจ ริต คอร์ ร ัป ชัน รายงานความขั ด แย้ ง ทาง
ผลประโยชน์ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต การปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงาน ตลอดจนสื่อสาร ให้ความรู้ และประกาศเจตจำนงสุจริตใน
การบริหารงานอย่างโปร่งใสเพื่อสร้างความตระหนักแก่พนักงานทุกระดับในองค์กร รวมทั้งทดสอบจริยธรรม
และจรรยาบรรณของพนักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
• ความเสียหายเนื่องจากข้อมูลที่สำคัญหรือข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล (Data breach)
การประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีแนวโน้มการ
ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิความเป็นส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหา
ประโยชน์หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อ
ประโยชน์ทางการค้า หรือนำไปใช้ในการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่น การฉ้อโกง การหมิ่น ประมาท เป็นต้น
กฟน. มีข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงหากข้อมูลรั่วไหล โดย กฟน. ได้ดำเนินการตามนโยบาย
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของการไฟฟ้านครหลวง (Privacy Policy) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงวิธี
การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย และเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ พ.ศ. 2540 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 โดยได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ และเผยแพร่นโยบายดังกล่าวบนเว็บไซต์
ของ กฟน. รวมทั้งได้สร้างความตระหนักให้พนั กงานปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความ
มั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันระบบเทคโนโลยีส ารสนเทศของ กฟน.
เพื่อให้ข้อมูล ของลูกค้ามีความปลอดภัยและไม่เกิดความเสียหาย และดำเนินการตามแนวทางมาตรฐานความ
ปลอดภัย ISO 27001:2013 และมีการป้องกันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ กฟน.
78

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
กฟน. ให้ความสำคัญกับการให้บริการกับประชาชนได้อย่างต่ อเนื่อง จึงจัดทำระบบการบริหารความ
ต่อเนื่องทางธุร กิจ (Societal Security – Business Continuity Management Systems) ให้เป็นไปตาม
มาตรฐาน ISO 22301 เพื่อรองรับกรณีเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ และได้กำหนดโครงสร้างการบริหารงานใน
ภาวะวิกฤติ ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการวิกฤตการณ์ คณะทำงานจัดการเหตุฉุกเฉิน (ด้านระบบ
จำหน่าย) คณะทำงานจัดการเหตุฉุกเฉิน (ด้านการบริการ) และคณะทำงานจัดการเหตุฉุกเฉิน (ด้านระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ) เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินงาน สั่งการและตอบสนอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผล
กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ กฟน. ในแต่ละระดับ รวมถึง กำหนดให้มีการดำเนินการทบทวน/ปรับปรุง
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management Plan: BCP) เป็นประจำทุกปี เพื่อ ให้
สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ และสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจที่
สำคัญของ กฟน. ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้ า นการจำหน่ า ยกระแสไฟฟ้ า : มุ ่ ง เน้ น การแก้ ไ ขสถานการณ์ เพื ่ อ ให้ ก ระบวนการจั ด ส่ ง
กระแสไฟฟ้าสามารถฟื้นคืนกลับมาให้เร็วที่สุด
2. ด้านการบริการ : มุ่งเน้นการให้บริการอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนการให้บริการ ณ การไฟฟ้านครหลวงเขต
และการให้บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านระบบ MEA Call Center
3. ด้านการสนับสนุน : มุ่งเน้นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของงานสนับสนุนที่สำคัญ เช่น ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ส่งมอบ และการสื่อสารภายใน ภายนอกองค์กร เป็นต้น
นอกจากนี้ กฟน. ได้จัดทำ “คู่มือการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ
บริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กฟน. พร้อมทั้งเผยแพร่ให้พนักงานรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ฝ่ายบริหาร
ความเสี่ยงองค์กร
ผลการดำเนินงานที่สำคัญในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ปี 2563
1. กฟน. ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 22301:2012 ซึ่งเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการบริหาร
ความต่อเนื่องทางธุร กิจ (Business Continuity Management System: BCMS) ครอบคลุม ขอบเขตของ
กระบวนการทำงานที่สำคัญในสำนักงานเพลินจิต ได้แก่ กระบวนการควบคุมระบบไฟฟ้า ณ ศูนย์ควบคุมระบบ
ไฟฟ้าของ กฟน. กระบวนการรับชำระค่าไฟฟ้าที่หน้าเคาน์เตอร์ ณ สาขาย่อยเพลินจิต และการชำระค่าไฟฟ้า
ให้กับ กฟผ. รวมถึงการจ่ายเงินเดือนพนักงาน
2. กฟน. มีการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามประกาศจากองค์การอนามัย
โลกและกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด โดยเปิดศูนย์บัญชาการคณะกรรมการจัดการวิกฤตการณ์ (Crisis
Management Committee: CMC) เพื่อติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ พิจารณาแบ่งโครงสร้างและกระจาย
อำนาจ เพื่อให้มีการบริหารจัดการสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
โดยจัดตั้งคณะทำงานสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 7 คณะย่อย ประกอบด้วย 1. Communication Team
2. ICT Supporting Team 3. Employee Engagement/Regulatory Compliance Team 4. Customer
Service Team 5 . Supplier Cooperation Team 6 . Workplace/Logistic Management Team แ ล ะ
7. Financial and Budgeting Team มีการจัดทำข้อมูล/ตัวชี้วัดการดำเนินงานใน Dashboard สำหรับคณะ
CMC ติดตามและบริห ารสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1
การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการป้องกันเหตุการณ์ (ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563) ระยะที่ 2
79

การจัดการเหตุการณ์ (ช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563) ระยะที่ 3 การกลับสู่ภาวะปกติและเฝ้าระวังการ


แพร่ระบาดระลอกที่ 2 (ช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2563)
ทั้งนี้ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย กฟน. ได้สรุปบทเรียน สำรวจ
ความคิดเห็นพนักงาน และปรับปรุงแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ รองรับกรณีโรคระบาด นอกจากนี้ ยังมีการ
พิจารณาประเด็นการปรับกระบวนงานสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ในแต่ด้านที่จะเป็นมาตรฐาน/วิธีการ
ทำงานที่เป็นลักษณะถาวรในอนาคตต่อไป ดังนี้
1) New Normal การดำเนินธุรกิจจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
- พัฒนานวัตกรรมบริการ โดยส่งเสริมการนำ Digital Technology มาใช้ในการปรับปรุงการ
บริการทั้ง Front Office และ Back Office และให้บริการลูกค้าด้วย Virtual District เต็มรูปแบบ ผ่านระบบ
Online มากขึ ้ น รวมถึ ง การพั ฒ นา Mobile Application “MEA Smart Life” และ Web Application
“MEASY” ทำให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ง่าย โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่การไฟฟ้านครหลวงเขต ซึ่ง
สอดคล้องกับมาตรการ Social Distancing ของรัฐบาล
- กรณีลูกค้าจำเป็นต้องเข้าใช้บริการ ณ ที่ทำการ กฟน. ได้ปรับปรุงสถานที่ให้บริการแก่ลูกค้าให้
รองรับมาตรการ Social Distancing เช่น มีมาตรการคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าสถานที่ จัดเตรียม
เจลล้างมือฆ่าเชื้อโรค เครื่องฟอกอากาศ ฉากกั้นระหว่างพนักงานและลูกค้า เพื่อลดโอกาสการสัมผัส เป็นต้น
2) New Normal ที่กระทบกับบุคลากร
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาทักษะของพนักงานจากการอบรมแบบปกติ เป็นการอบรมแบบ
ออนไลน์ หรือ Virtual Classroom มากขึ้น
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมผ่าน Video Conference
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสำนั กงานให้เข้ากับ New Normal เช่น ตั้งโต๊ะทำงานให้ห่างกัน
สร้าง partition กั้น เป็นต้น
- ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานจากเครื่อง Personal Computer เป็น Notebook ตามความ
จำเป็นของลักษณะงาน หรือบุคลากร เพื่อสนับสนุนการทำงานได้ทุกที่
จากการบริหารสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ส่งผลให้ กฟน. ได้รับ รางวัล
รัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 ประเภทรางวัลความสามารถในการจัดการวิกฤตโควิด -19
ดีเด่น ซึง่ จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
3. จากสถานการณ์การชุมนุมประท้วงในช่วง ปี 2563 กฟน. มีการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์
อย่างใกล้ชิด ซึ่ง กฟน. มีการดำเนินการ ดังนี้
1) ปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อรองรับเหตุอันไม่พึงประสงค์ ตาม
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การไฟฟ้านครหลวง
2) เตรียมพร้อมในการเปิดใช้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)
3) สื่อสารนโยบายองค์กรเกี่ยวกับการแสดงความเห็นทางการเมือง ให้แก่พนักงาน และพนักงาน
จ้างเหมา โดยให้ระมัดระวังการโพสต์ในโซเชียลส่วนตัว งดแสดงความเห็นตอบโต้ หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ
โดยใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสม
80

การควบคุมภายใน
กฟน. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์
กระทรวงการคลั ง ว่าด้ว ยมาตรฐานและหลั ก เกณฑ์ ปฏิ บั ติ ก ารควบคุ มภายในสำหรับ หน่ว ยงานของรั ฐ
พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการควบคุมภายในมีความเพียงพอเหมาะสม ช่วยให้การ
ดำเนิ น งานมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ประสิ ท ธิ ผ ล บรรลุ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ ท ี ่ ก ำหนด รวมถึ ง การดู แ ลรั ก ษาทรั พ ย์ สิ น
การป้องกัน หรือลดความผิดพลาด เสียหาย หรือลดโอกาสเกิดการทุจริต รายงานทางการเงินและมิใช่การเงินมี
ความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันเวลา รวมทั้งมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
กฟน. มีโครงสร้างการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ
คณะกรรมการและผู้บริหารในการควบคุมและติดตามกำกับดูแล ได้แก่
(1) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
กำหนดนโยบาย แนวทางการส่งเสริมและเสนอแนะด้านการควบคุมภายในเพื่อให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(2) คณะผู้บริหารการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
พิจ ารณาทบทวน ปรับ ปรุง นโยบาย แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายใน ให้ข้อเสนอแนะและ
แนวทางแก้ไขการดำเนินงานด้านการควบคุมภายใน พิจารณาภาพรวมของรายงานการควบคุมภายในของ
กฟน.
(3) ฝ่ า ยตรวจสอบภายในเป็ น หน่ ว ยงานอิ ส ระ ทำหน้ า ที ่ ส อบทานระบบการควบคุ ม ภายใน
รายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งรายงานผลการสอบทาน
การควบคุมภายในประจำปีของ กฟน. ต่อกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ส อบทานระบบการควบคุมภายใน ติดตามกำกับดูแล
ให้มีการจัดวางระบบการควบคุมภายในและประเมินการควบคุมด้วยตนเองให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในปี 2563 กฟน. ส่ งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดย
รณรงค์ ส่งเสริม และสร้างความรู้ ความเข้าใจ ผ่านการอบรม ประชุม/สัมมนา ในเรื่องของการจัดวางระบบ
การควบคุมภายใน เพื่อป้องกันโอกาสเกิดการทุจริต และครอบคลุมการปฏิบัติงานตามแนวปกติใหม่ ( New
Normal)
ผลการประเมินระบบการควบคุมภายในของ กฟน. ในปี 2563 สรุปได้ว่า ระบบการควบคุมภายในมี
ความเพี ย งพอ เหมาะสม และบรรลุ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการควบคุ ม ภายใน เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์
กระทรวงการคลั ง ว่ า ด้ ว ยมาตรฐานและหลั ก เกณฑ์ ป ฏิ บ ั ต ิ ก ารควบคุ ม ภายในสำหรั บ หน่ ว ยงานของรัฐ
พ.ศ. 2561 ครอบคลุมทั้ง 5 องค์ป ระกอบ ได้แก่ สภาพแวดล้อมการควบคุ ม (Control Environment)
การประเมิน ความเสี่ย ง (Risk Assessment) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) สารสนเทศและ
การสื่อสาร (Information & Communication) และการติดตามประเมินผล (Monitoring) สำหรับความเสี่ยง
ในระดับองค์กร กฟน. ได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งติดตามและรายงานผลตามระยะเวลาที่กำหนด
81

การตรวจสอบภายใน
ฝ่ายตรวจสอบภายในกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบไว้ตามกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน
ซึ่งสอดคล้องกับคู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลัง และมาตรฐานสากล
การปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (The Internal Standards for Professional Practice of Internal
Auditing) หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติก ารตรวจสอบภายในสำหรับ
หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 กฎบัตรดังกล่าวได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ และได้รับความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง โดยมีภารกิจในการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services)
และให้คำแนะนำปรึกษา (Consulting Services) อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม มีความรับผิดชอบในการ
ประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง การกำกับ
ดูแลกิจการที่ดีและการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและหน่วยงาน โดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน
เพื่อเพิ่มมูลค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร
การปฏิบัติงานตรวจสอบ ฝ่ายตรวจสอบภายในจัดทำแผนการตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ที่สอดรับกับ
แผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละเป้ า หมายขององค์ ก ร มี ก ารนำความเห็ น ของสำนั ก งานการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น
คณะกรรมการตรวจสอบ ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญ ตลอดจน
การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ที ่ ส ำคั ญ และรายการความเสี ่ ย งขององค์ ก รมาประกอบการพิ จ ารณาจั ด ทำแผน
การตรวจสอบประจำปี โดยการประเมิน ความเสี่ย งเป็นรายกระบวนงาน (Risk-Based Audit) นำเสนอ
คณะกรรมการตรวจสอบอนุม ั ติ รายงานผลการตรวจสอบต่ อ หน่ ว ยรับ ตรวจและผู้ บริห ารร ะดั บสู ง ให้
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการควบคุมภายใน พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของฝ่าย
ตรวจสอบภายในและรายงานผลการติดตามต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาคุณภาพงานตรวจสอบ กำหนดให้มีการสอบทานงานทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยผู้ควบคุม
งาน มีการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายในระหว่างทีมตรวจสอบ มีการประเมินตนเองของพนักงานและ
ผู้บริหารของฝ่ายตรวจสอบภายใน รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยหน่วย
รับตรวจ ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการตรวจสอบ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้มั่นใจว่าการ
ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ฝ่ายตรวจสอบภายในมีการพัฒนางานตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ได้เน้นการตรวจสอบ
การดำเนิ น งานครอบคลุ ม ฐานข้ อ มู ล ของระบบงาน นำการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล (Data Analytic) มาใช้ ใ น
การวางแผนและตรวจสอบ ทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของข้อมูล กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัตงิ าน
สอบทานผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) เพิ่มสัดส่วนการให้
คำปรึกษาโดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่ว มกับหน่วยงานอื่น เพื่อพัฒ นา
การควบคุมภายใน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานตรวจสอบ
รวมทั้งสร้างเครือข่ายในกลุ่มผู้ตรวจสอบภายในเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
นอกจากนี้ มีการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานตรวจสอบระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น การประชุมรูปแบบอิเล็ กทรอนิกส์ร่วมกับคณะกรรมการ
ตรวจสอบ การทบทวนแผนการปฏิบัติงาน การรายงานผล และการติดตามงานตามแผนความต่อเนื่อง ในการ
ปฏิบัติงาน และมีแผนการพัฒนารูปแบบ/วิธีการตรวจสอบให้เป็นไปในแนวทาง Continuous Auditing เพื่อ
ช่วยให้ผู้ตรวจสอบและผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในระบบงานได้อย่างรวดเร็ว
ทันเวลา
82

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของ กฟน. สำหรับปีบัญชี 2563 มีค่าสอบบัญชี
2.10 ล้านบาท
83

รายงานของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยกำกับดูแลให้
องค์กรมีการจัดการที่ดี มีระบบการบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการปฏิบัติตาม
กฎ ระเบียบ เพื่อทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และมีการปฏิบัติให้
เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งเน้นให้มีการดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร จึงได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ต่อมาได้ทบทวนและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะอนุกรรมการ
กำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ด้าน Compliance
เพื่อบูรณาการระหว่างงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ รวมถึง
งานด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน ตามกรอบที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงกำหนด
และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
คณะอนุ กรรมการกำกั บดู แลกิ จการที ่ ด ี การบริ หารความเสี ่ ยง และการปฏิ บ ั ต ิ ตามกฎ ระเบี ยบ
ประกอบด้วย กรรมการที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ตลอดจนมี ความเข้าใจในเรื่องการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน และการปฏิบัติ
ตามกฎ ระเบียบ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ ประธานอนุกรรมการ
2. นายมนตรี บุญพาณิชย์ อนุกรรมการ
3. พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ อนุกรรมการ
4. รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม อนุกรรมการ
5. ศาสตราจารย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ คณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการ
โดยมี ผ ู ้ ช ่ ว ยผู ้ ว ่ า การ สายงานรองผู ้ ว ่ า การกิ จการองค์ ก รและสั ง คม ทำหน้ า ที ่ เ ลขานุ ก าร และ
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการ ในปี 2563 คณะอนุกรรมการกำกับ
ดูแลกิจ การที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กำหนดให้มีการประชุม จำนวน 11
ครั้ง โดยได้เชิญฝ่ายบริห ารและหน่ว ยงานที่เ กี่ ยวข้ อ งเข้าร่ว มประชุ มด้ว ยตามความเหมาะสม สรุป ผล
การดำเนินงานที่สำคัญได้ ดังนี้
1. ทบทวนกฎบัตรของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติ
ตามกฎ ระเบี ย บ เพื่อสนับสนุนการปฏิบ ัติงานของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงในการกำหนดนโยบาย
แนวทางการส่งเสริม และเสนอแนะให้ อ งค์ ก ร มีการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง
การปฏิบัติที่ดี กำหนดกฎบัตรการให้บริการของการไฟฟ้ านครหลวง และมาตรฐานการให้บริการลูกค้า เพื่อ
แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการให้บริการที่เป็นเลิศพร้อมพัฒนาบุคลากรและระบบงานอย่างต่อเนื่องเพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการด้านพลังไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. กำหนดนโยบายการกำกั บดู แลกิ จการที ่ ดี การบริ หารความเสี ่ ยง และการปฏิ บ ั ต ิ ตามกฎ ระเบี ยบ
(Governance, Risk and Compliance: GRC) รวมถึงนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแล
84

กิจการที่ดี นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน นโยบายการรายงานผลการปฏิบัติงานตาม


นโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดี นโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน นโยบายการป้องกันการเกิด
รายการเกี่ยวโยง นโยบายการป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นโยบายการแข่งขันทางการตลาดที่
เป็ น ธรรม นโยบายการพั ฒ นาความยั ่ งยื น นโยบายความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและสิ ่ ง แวดล้ อ ม เพื ่ อ ให้
คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และเพื่อส่งเสริมให้การไฟฟ้านครหลวง เป็นองค์กร
ที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ ปราศจากการคอร์รัปชัน มีความโปร่งใสตรวจสอบได้
สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร
3. พิจารณา กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
การบริหารความต่อเนื่องทางธุร กิจ การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่าง
สม่ำเสมอ ประกอบด้วย แผนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2564-2570 และแผนปฏิบัติ
ปี 2564 แผนบริ หารความเสี ่ ยงองค์ กร ปี 2564 ความเสี ่ ยงที ่ ยอมรั บได้ (Risk Appetite) ปี 2564 แผน
ความต่อเนื่องทางธุรกิจ ปี 2564 ทบทวนแผนปฏิบัติเสริมสร้างความยั่งยืนของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2563
เนื่องจาก COVID-19 การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินการควบคุมด้วยตนเองของการไฟฟ้า
นครหลวง ประจำปี 2563 (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2563) แผนการจั ดวางระบบการควบคุ มภายในและ
การประเมินการควบคุมด้วยตนเองของการไฟฟ้านครหลวง ประจำปี 2564 คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
จริยธรรมและจรรยาบรรณการไฟฟ้านครหลวง คู่มือการบริหารความเสี่ยง คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความยั่งยืน
หลั กเกณฑ์ ว ิ ธ ี ปฏิ บ ั ต ิ “การจั ดการข้ อร้ องเรียน” ฉบั บปรั บปรุ ง ปี 2563 รวมทั ้ งแบบประเมิ นตนเองของ
คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ให้สอดคล้องตาม
กฎบัตรที่ปรับปรุง
4. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การบริหาร
ความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
เพื่อทราบเป็นประจำทุกไตรมาส มีผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะในประเด็นสำคัญ ดังนี้
4.1 ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตการไฟฟ้านครหลวงเป็น
ประจำเพื่อรับทราบสถานการณ์และป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริต
2) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติเสริมสร้างความยั่งยืนของการไฟฟ้านครหลวง
4.2 ด้านการบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
1) ความเสี่ยงเรื่องการจู่โจมความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้
เตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง และกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจาก Ransomware (มัลแวร์
เรียกค่าไถ่) รวมถึงกระบวนการในการกู้คืนข้อมูลที่สำคัญหากถูกโจมตี ตลอดจนให้เปรียบเทียบข้อมูลสถิติการถูก
โจมตีทางไซเบอร์ กับหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานในกลุ่มพลังงาน เพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรการป้องกัน
เพิ่มเติม
2) ความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ เตรียมความพร้อมในการรองรั บ
สถานการณ์การแพร่ระบาดที่อาจมีความรุนแรง โดยเฉพาะการจ่ายไฟฟ้าให้สถานที่กักกัน โรงพยาบาลชั่วคราวที่
จัดตั้งเพิ่มขึ้นในพื้นที่จำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งควรจัดทำมาตรการเพื่อป้องกัน และรองรับเหตุการณ์
การเกิดไฟฟ้าดับ รวมทั้งควรจัดทำ Standard Operation Procedures (SOPs) ในการปฏิบัติงานที่บ้าน และ
85

กำหนดมาตรการในการนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายขององค์กร เพื่อให้เป็นมาตรฐานและเป็น
การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้านของพนักงาน รวมทั้งรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเทคโนโลยี
สารสนเทศขององค์กร นอกจากนี้ ควรจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมและสามารถตอบสนอง
มาตรการของศูน ย์บ ริห ารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินจากนโยบายช่วยเหลือภาระค่าไฟฟ้า การคืนเงินค่า
ประกันการใช้ไฟฟ้า และภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยให้นำเสนอข้อมูลค่าคาดการณ์ฐานะทางการเงิน และการ
ดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและ/หรือลดลงจากการปฏิบัติงานที่บ้าน
เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับ Business Model ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด
4) ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ โดยให้เตรียมพร้อมเพื่อรองรับกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ
ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งมีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและ
อาญา
4.3 ด้านการควบคุมภายใน
ติดตามและพิจารณาผลการจัดวาง/ทบทวนระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งรายงานการ
ควบคุม ภายในประจำปี ข องการไฟฟ้ า นครหลวงให้ มีค วามเพี ย งพอ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ล เพื่ อ ให้ อ งค์ กรบรรลุ
วัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติการ การรายงาน และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุม
ภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ
หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
4.4 ด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ติดตามผลการดำเนินงานปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
5. กำกับให้มีการสร้างบรรยากาศ และแรงจูงใจให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการบูรณาการ
ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ โดยส่งเสริมและประพฤติ
ตนเป็นต้นแบบที่ดี รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้บริหาร และพนักงานเห็นความสำคัญและมี
ส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปกิจกรรมที่สำคัญดังนี้
5.1 ร่วมประกาศเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานอย่างโปร่งใสของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 เพื่อ
แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงานด้วยความสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
5.2 ปาฐกถาพิเศษในงาน “Risk Day 2020: Risk X Return” ในหัวข้อ MEA Risks and how
to prepare โดย พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ (อดีตประธานคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและการกำกับดูแล
กิจการที่ดี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการการไฟฟ้านครหลวง) เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงและ
ผลตอบแทน ซึ่งสอดคล้องกับ ค่านิย มขององค์กร ได้แก่ Agility ปรับเปลี่ยนทันการณ์ และ New Ideas
สรรสร้างสิ่งใหม่
5.3 ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประจำปี 2563 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ
จังหวัดสมุทรปราการ
86

ผลจากการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการ


ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ตลอดปี 2563 ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแล ให้ข้อเสนอแนะ และให้ความสำคัญกับการ
กำกับดูแลกิจการภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมทั้งบริหารความเสี่ยงองค์กรและการบริหารความ
ต่อเนื่องทางธุรกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความ
สูญเสียและเพิ่มโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและสร้างความมั่นใจในการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การไฟฟ้านครหลวงสามารถ
ดำเนิน งานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ สถานการณ์การแพร่
ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้สามารถจำหน่ายไฟฟ้าและปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การไฟฟ้านครหลวงได้รับรางวัลทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ ในปี 2563 ดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ Asia Responsible Enterprise Awards 2020 สาขา Investment in People จาก
โครงการ “Lively Workplace, Better Service” หรือโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมบริเวณห้องเวรแก้ไฟฟ้าขัดข้อง
ในฐานะองค์กรในภูมิภาคเอเชียที่มีความโดดเด่นเรื่องการดำเนินนโยบายที่คำนึงถึงอาชีวอนามัยและความ
ปลอดภัยของพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- รางวัล Asia’s Best Sustainability Report (Public Sector) ระดับ Gold ที่มอบให้แก่องค์กรภาครัฐ
ที่รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับเอเชีย
- รางวัล Asia’s Best SDG Reporting ระดับ Gold มอบให้แก่องค์กรที่รายงานการดำเนินงานซึ่ง
สะท้อนการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติยอดเยี่ยมระดับเอเชีย แสดงถึงการเป็นองค์กรที่
มีการพัฒนาและบริหารงานอย่างยั่งยืนตามหลักการสากลของ GRI (Global Reporting Initiative)
- รางวั ล Global Corporate Sustainability Awards: GCSA 2020 ประเทศไต้ ห วั น สาขา
Emerging Market: Best Practise รางวัลผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยม มอบให้แก่องค์กรธุรกิจที่ริเริ่มปฏิบัติงาน
ในโครงการทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีผลลัพธ์ยอดเยี่ยม (โครงการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีชุมชนคอยรุ๊ตตั๊กวา)
- รางวัลระดับประเทศ ได้แก่ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2563 โดยสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลความสามารถในการจัดการวิกฤตโควิด -19
ดีเด่น และรางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กรประเภทชมเชย โดย
เป็นองค์กรพี่เลี้ยงให้แก่องค์การตลาด (3 ปีซ้อน) นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ ได้แก่ รางวัลชมเชยองค์กร
โปร่งใส ครั้งที่ 9 รางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2563 รางวัลเหรียญทอง “อาคาร
ราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย”

(นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์)
ประธานอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
และการปฏิบัตติ ามกฎ ระเบียบ
87

การกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการการไฟฟ้ า นครหลวง ตระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของการกำกั บ ดู แ ลให้ กฟน. มี
การบริหารงานด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. 2562 เพื่ อ เป็ น พลั งขั บ เคลื่ อ นไปสู่ ค วามสำเร็ จ ตามเป้ าหมายขององค์ ก ร กฟน. จึ งได้ ป รั บ ปรุ ง และ
พัฒนาการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ของ กฟน. ไปสู่สากล โดยมีโครงสร้างองค์กรเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดค่านิยมองค์กร “CHANGE”
(G: Governance) มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลและการนำองค์กร จัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการ
ที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งแผนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ระยะยาวและประจำปี ตลอดจนส่งเสริมให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม
จรรยาบรรณ ให้ความสำคัญกับการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและ
ความไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อันนำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
โครงสร้างองค์กรเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการไฟฟ้านครหลวง
กฟน. กำหนดโครงสร้างองค์กรเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย คณะกรรมการการไฟฟ้า
นครหลวง มีห น้าที่ในการกำกับ ดูแลการดำเนินงานขององค์กรให้ เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยหรือ คณะอนุกรรมการ เพื่อช่วย
พิ จารณาประเด็ น เฉพาะเรื่ อง กลั่ น กรองข้ อมูล และเสนอแนะแนวทางที่ เป็ นประโยชน์ มีค ณะกรรมการ
ตรวจสอบ ทำหน้า ที่ส อบทานให้ กฟน. มีร ะบบการควบคุม ภายในที ่เ หมาะสม มี การดำเนิ นงานตาม
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีฝ่ายจัดการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม และผลักดันการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดีของ กฟน. ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผล
88

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กฟน. กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจ การที่ดีพร้อมแนวปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการนำองค์กร
ไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ภารกิจ และค่านิยมขององค์กร โดยเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบผ่านทาง
เว็บไซต์ของ กฟน. ดังนี้
“คณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวง มี เจตนารมณ์ ที่ จะส่ งเสริ มให้ กฟน. มี การบริ ห ารจั ด การที่ ดี
มี ก ารดำเนิ น งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และเติ บ โตอย่ า งยั่ ง ยื น โดยให้ ค วามสำคั ญ กั บ หลั ก การและ
แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และแนวปฏิบัติทั้ง 9 หมวด ประกอบด้วย บทบาท
ของภาครัฐ สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความยั่งยืน
และนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จริยธรรมและจรรยาบรรณ
และการติดตามผลการดำเนินงาน”
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีประสิทธิภาพและ
ประสิ ท ธิ ผ ล กฟน. จึ ง ได้ ก ำหนดนโยบายการกำกั บ ดู แ ลที่ ดี แ ละการนำองค์ ก ร และนโยบายอื่ น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดี นโยบาย
การแข่งขันทางการตลาดที่ เป็ นธรรม นโยบายคุณ ธรรมและความโปร่งใส นโยบายการรับและให้ ของขวัญ
นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด เป็นต้น
รายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ในปี 2563 กฟน. ได้ดำเนิน งานตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ประกอบด้วย 9 หมวด โดยมี
ผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. บทบาทของภาครัฐ
กฟน. ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีการแยกบทบาทหน้าที่ในการเป็นเจ้าของ (Owner) กำหนด
นโยบาย (Policy Maker) การกำกับ ดูแ ล (Regulator) และการดำเนิน การ (Operator) เพื ่อ ป้อ งกัน
การขัดแย้งของผลประโยชน์ ป้องกันการแทรกแซงการบริหารงานประจำของ กฟน. รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิด
การแข่งขันที่ ไม่เป็ นธรรม และการแทรกแซงกลไกตลาด โดย กฟน. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ให้ สอดคล้ องกั บ
นโยบายภาครั ฐ รวมทั้ งรายงานผลการดำเนิ น งานด้ านการเงิ น และไม่ ใช่ การเงิ น รายงานการปฏิ บั ติ ตาม
แนวทางการกำกับดูแลที่ดีตามมาตรฐานสากล และรายงานการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ
กิจการ โดยเปิดเผยข้อมูล ที่มีสาระสำคัญอย่างโปร่งใส เหมาะสมกับการใช้งาน ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันเวลา ผ่าน
รายงานประจำปี และเว็บไซต์ ของ กฟน. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ หน่วยงานกำกับดูแล ทั้งนี้ คณะกรรมการ
คณะอนุ กรรมการ และคณะผู้ บริ หารระดั บสู ง มี การติ ดตามและประเมิ นผลการดำเนิ นงานอย่ างสม่ ำเสมอ
ตลอดจนกำหนดให้รายงานมีรายละเอียดครบถ้วน มีคุณภาพ มีการระบุสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงหรือแสดงผล
การดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งมีการมอบข้อสังเกตและ
ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น
กฟน. คำนึ งถึ งประโยชน์ สู งสุ ด ของผู้ ถื อ หุ้ น คื อ กระทรวงการคลั ง ซึ่ งมี ผู้ แ ทนทำหน้ าที่ เป็ น
คณะกรรมการในการกำกับดูแลให้ กฟน. ดำเนินงานบรรลุตามภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบายของภาครัฐ และมี
89

ส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ด้านการบริหาร


สิทธิของผู้ถือหุ้นทั้งตามกฎหมาย และข้อบังคับอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1) นโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
“กฟน. ให้ ความสำคั ญกั บหลั กการกำกั บดู แลกิ จการที่ ดี โดยมี การกำกั บดู แลข้ อมู ล เพื่ อให้
การได้มาและการนำข้อมูลไปใช้ ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย รักษาความเป็นส่วนบุคคล และ
สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันการใช้ข้อมูลในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
เกิดความยุติธรรมและเสมอภาคต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
แนวปฏิบัติ
(1) รักษาข้อมูลขององค์กรมิให้รั่วไหลไปยังบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก และ
ต้องไม่ น ำข้อมู ล ภายในซึ่งยั งมิได้เปิ ด เผยต่อสาธารณชนหรื อ ผู้ มีอ ำนาจสั่ งการยั งไม่อนุ ญ าตไปใช้แสวงหา
ผลประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นในทางมิชอบ
(2) รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายใน โดยควบคุมหรือป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคล
ภายนอก และกำหนดสิ ท ธิ ในการเข้ าถึ งข้ อมู ล ให้ กั บพนั กงานในระดั บ ต่ าง ๆ ตามอำนาจหน้ าที่ และความ
รับผิดชอบ
(3) นิติบุคคลหรือกิจการร่วมค้าหรือบุคคลภายนอกหรือผู้รับจ้างช่วง ซึ่งมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้อง
หรื อมี โอกาสได้ ล่ วงรู้ ข้ อมู ลภายในขององค์ กรต้ องลงนามในข้ อตกลงรักษาข้ อมู ลความลั บ (Confidentiality
Agreement) เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลเหล่านั้นจะใช้ความระมัดระวังในการรักษาความลับ
2) นโยบายการป้องกันการเกิดรายการเกี่ยวโยง
“กฟน. ให้ ค วามสำคั ญ กั บ หลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี มี ก ารบริ ห ารงานอย่ า งโปร่ ง ใส
เป็ น ธรรม ตรวจสอบได้ โดยกำหนดให้ คณะกรรมการ ผู้ บริห ารระดับสู ง บุคคลที่จะได้รับการเสนอให้ เป็น
ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทในเครือ เปิดเผยรายการเกี่ยวโยง และหากมีการทำรายการระหว่าง
กฟน. กั บบริ ษั ทในเครื อ หรื อระหว่ าง กฟน. กั บบุ คคลที่ เกี่ ยวโยง ต้ องคำนึ งถึ งประโยชน์ สู งสุ ด ของ กฟน.
เป็นสำคัญ และเสมือนหนึ่งเป็นรายการที่กระทำกับบุคคลภายนอก”
คำนิยาม
รายการเกี่ยวโยง หมายถึง การทำรายการระหว่าง กฟน. หรือบริษัทในเครือกับบุคคลที่เกี่ยว
โยงกันของ กฟน.
บุคคลที่เกี่ยวโยง หมายถึง บุคคลที่อาจทำให้กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของ กฟน. มีความ
ขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการตัดสินใจดำเนินงานว่าจะคำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลนั้น หรือประโยชน์ของ
กฟน. เป็นสำคัญ ได้แก่
(1) กรรมการ ผู้บริห ารระดับสูง และบุคคลที่จะได้รับการเสนอเป็นผู้ บริหารหรือผู้ มีอำนาจ
ควบคุมของบริษัทในเครือและญาติสนิทของบุคคลดังกล่าว
(2) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมเป็นบุคคลตาม (1)
(3) บุคคลที่โดยพฤติการณ์บ่งชี้ได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลตาม (1)
หรือ (2)
ญาติ ส นิ ท หมายถึ ง บุ ค คลที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างสายโลหิ ต หรือ โดยการจดทะเบี ย นตาม
กฎหมาย ได้แก่ คู่สมรส บิดา มารดา พี่น้อง บุตร และคู่สมรสของบุตร
90

แนวปฏิบัติ
(1) เปิดเผยรายการเกี่ยวโยง เมื่อรับตำแหน่งใหม่หรือมีรายการเกี่ยวโยง รวมถึงการทบทวน
การเปิดเผยข้อมูลรายการเกี่ยวโยงระหว่างปี
(2) กรณีที่มีรายการเกี่ยวโยง ให้มีการบริหารจัดการ โดยต้องขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
ซึ่งคณะกรรมการจะต้องพิจารณาด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง อย่างโปร่งใส เป็นธรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การงดออกเสียง เป็นต้น
(3) กรณี ที่ มีการทำรายการระหว่างกัน ระหว่าง กฟน. กับบริษัทในเครือ หรือระหว่าง กฟน.
กับบุคคลที่เกี่ยวโยง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของ กฟน. เป็นสำคัญ และเสมือนหนึ่งเป็นรายการที่กระทำกับ
บุคคลภายนอก
(4) เปิ ด เผยข้ อ มู ล รายการเกี่ ย วโยง ตามที่ กฟน. กำหนดไว้ อ ย่ างเคร่ งครั ด และเปิ ด เผย
ผลการจัดการรายการเกี่ยวโยงไว้ในรายงานประจำปีการไฟฟ้านครหลวง ให้ความสำคัญกับหลักการกำกับดูแล
กิจการที่ดี โดยมีการกำกับดูแลข้อมูล เพื่ อให้การได้มาและการนำข้อมูลไปใช้ ถูกต้อง ครบถ้วน เป็ นปัจจุบั น
มั่นคงปลอดภัย รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันการใช้
ข้อมูลในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เกิดความยุติธรรมและเสมอภาคต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3) นโยบายการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
“กฟน. ให้ ค วามสำคั ญ กั บ หลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี มี ก ารบริ ห ารงานอย่ า งโปร่ง ใส
เป็น ธรรม ตรวจสอบได้ และเพื่อ เป็น การป้อ งกัน ความขัด แย้ง ทางผลประโยชน์ บุค คลที่เกี่ย วข้อ ง ต้อ ง
หลีกเลี่ย งและไม่เข้าไปมีส่ว นร่ว มทั้งทางตรงและทางอ้อมในการกระทำที่อ าจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทาง
ผลประโยชน์ และไม่ใช้ตำแหน่งหน้ าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ให้ แก่ตนเอง ญาติ หรือบุคคลในครอบครัว
รวมทั้งต้องเปิดเผยและบริหารจัดการหากเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์”
แนวปฏิบัติ
(1) ปฏิ บั ติ หน้ าที่ เพื่ อผลประโยชน์ สู งสุ ดขององค์ กร ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ส่ วนตัว รวมทั้ ง
สอดส่องดูแลและจัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
(2) ไม่ประกอบธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับ กฟน. ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
(3) ไม่ ใช้ หรื อยอมให้ ผู้ อื่ นใช้ ตำแหน่ งหน้ าที่ ของตนทั้ งในทางตรงหรื อทางอ้ อม เพื่ อแสวงหา
ประโยชน์จาก กฟน.
(4) หลีกเลี่ยงการกระทำการใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และไม่เข้าไป
มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการตัดสินใจกระทำการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ตนเองมีผลประโยชน์อยู่ด้วย
โดยให้จัดทำรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชา รวมทั้งต้องมีการรายงานเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ กฟน. ได้มีการกำหนดระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วย ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยครอบคลุมลักษณะงานที่มีความเสี่ยงต่อความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ และมีการรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ผ่านระบบอิเล็ก ทรอนิก ส์ เป็น ประจำทุก ปี
ครอบคลุมตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้ว่าการ ผู้บริหาร และพนักงานโดยดำเนินการตามระยะเวลาและแนวทางที่
กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
3. คณะกรรมการ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มี หน้าที่ ในการกำกับดูแลการดำเนิ นงานของ กฟน. ให้ เป็ น
ไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร คำนึงถึงผลประโยชนสูงสุดของ
กฟน. และผู้ มีส่ วนไดสวนเสี ยทุกฝ่ าย โดยมีโครงสร้างที่มีองค์ประกอบและคุณ สมบัติตามพระราชบัญ ญั ติ
91

การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 และที่แกไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ


พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ กฟน. พิจารณาความหลากหลายในโครงสร้าง
ของคณะกรรมการ (Board Diversity) และจัดทำ Board Skill Matrix เพื่อกำหนดคุณสมบัติของกรรมการ
ที่ต้องการสรรหา และมีขั้นตอนดำเนินการตามแนวทางการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ในการกำหนด
โครงสร้างค่าตอบแทนของกรรมการตามความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
24 เมษายน พ.ศ. 2562
ในปี 2563 คณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวง ประกอบด้ว ย ประธานกรรมการ 1 คน และ
กรรมการอื่น 12 คน ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ว่าการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ในจำนวนนี้มีกรรมการอิสระ 9 คน
โดยกรรมการอิสระจะต้องไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และผู้แทน
หน่วยงานโดยตำแหน่ง นอกจากนี้ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย หรือ
คณะอนุ กรรมการ จำนวน 11 คณะ ตามโครงสร้างองค์กรเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟน. เพื่อช่วย
พิจารณากลั่นกรองและเสนอความคิดเห็นแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม และทำให้การดำเนินกิจการของ กฟน.
เป็นไปตามมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
การประชุมของคณะกรรมการ
คณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวงได้ กำหนดแผนการประชุ มไว้ ล่ วงหน้ าในแต่ ละปี ในปี 2563
กฟน. มีการจัดประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งหมด 13 ครั้ง โดยมีจำนวนกรรมการเข้าร่วมการ
ประชุม ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 12 ครั้ง ซึ่งมีการส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบก่อนการ
ประชุมประมาณ 7 วัน เพื่อให้ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อน
การประชุม
การดำเนินงานของคณะกรรมการ
ประธานกรรมการในฐานะผู้น ำกรรมการ เป็นผู้ กำกับดูแลและเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติและกำกับดูแลให้ผู้บริหารการไฟฟ้า
นครหลวง ปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวง โดยไม่ก้าวก่าย
ความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการ รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม การกำกับดูแลกิจการที่ดี
โดยการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการดำเนินงานขององค์กร และนโยบาย/แผนงานที่สำคัญของ กฟน. เพื่อเป็น
ทิศทางในการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล และการดูแลผลการดำเนินงาน พร้อมทั้ง
พิจารณาและให้ความเห็นในการดำเนินงานโครงการตามนโยบายรัฐบาล
นอกจากนี้ การพั ฒ นาองค์ กรต้อ งมุ่ งเน้ น และสนั บ สนุ น การสร้างนวั ตกรรม ขั บ เคลื่ อนระบบ
พลังงานอัจฉริยะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้ อม ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการ
ควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายหลัก และภารกิจขององค์กร ซึ่งผลการดำเนินงานในปี
2563 นับว่า กฟน. สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
4. บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กฟน. กำหนดให้มีนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยยึดหลัก การกำกับดูแล
กิจการที่ดีในการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบและไม่ละเมิด สิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่
สำคัญ ประกอบด้วย พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ส่งมอบ เจ้าหนี้ คู่ความร่วมมือ สังคม
และสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกฎหมายและเป็นไปตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน มุ่งมั่น
แสดงความรับผิ ดชอบต่อสั งคมและสิ่ งแวดล้ อมตามมาตรฐาน ISO 26000 ในกระบวนการทำงานขององค์กร
92

ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม และไม่ขัดขวาง


หากมีการแข่งขันในอนาคต โดยแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีดังนี้
1) พนักงาน
กฟน. ถือว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นปัจจัยสำคัญ สู่ความสำเร็จขององค์กร
จึงมุ่งมั่นสร้างระบบบริหารทรัพยากรบุคคล และประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรม มีการสรรหาและรักษา
พนั กงานที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒ นาและเพิ่มพูนความสามารถของ
พนักงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีโอกาสในความก้าวหน้าและมั่งคงในอาชีพ ตลอดจน
มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีแนวทาง
การปฏิบัติต่อพนักงานดังนี้
(1) จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่สอดประสานกับยุทธศาสตร์องค์กร ครอบคลุม
ทั้งการจัดโครงสร้างผังแบ่งส่วนงานที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง การกำหนดกรอบอัตรากำลังและการประเมิน
ความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง กำหนดแผนการสรรหา ว่าจ้าง การวางตำแหน่งงานที่สอดคล้อง
กับความรู้ ความสามารถของพนักงาน
(2) จัดทำแผนการพัฒนาคนเก่งเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรคุณภาพ (Talent Management)
และแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) ทั้งในระดับผู้บริหาร และตำแหน่งงานที่ส่งผลต่อ
ความสำเร็จในการดำเนินงานตามภารกิจของ กฟน. สำหรับทดแทนการขาดช่วงของพนักงานในตำแหน่งงานหลัก
(Key Position) และตำแหน่งงานสำคัญ (Critical Position) ร่วมกับแผนพัฒนาผู้นำในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้
พนักงานที่มีศักยภาพสูง ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่การเป็นผู้บริหารหรือตำแหน่งงานสำคัญต่าง ๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ปรับปรุงรูปแบบการจัดการความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Management Model) โดย
ได้ มี การปรั บ ปรุ ง Competency Model และ Training Roadmap รวมถึ งการทบทวนหลั กเกณฑ์ ต่ าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องการเชื่อมโยงกับแผนสื บทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) และการบริหารบุ คลากร
คุณภาพ (Talent Management)
(4) จั ด โครงการดู แลรั กษาพั ฒ นาและสร้ างความผู กพั น สำหรั บพนั กงานใหม่ (Onboarding
Program) เพื่อสร้างความพึงพอใจและยกระดับความผูกพันต่อองค์กรตลอดจนการต่อยอดการสร้างประสบการณ์
ที่ดี (Employee Experience)
(5) จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานทุก
กลุ่ ม การเบิ กค่ารั กษาพยาบาล การปรั บปรุงเงินช่วยเหลื อพนั กงานกรณี ประสบวิน าศภั ย การปรับปรุงเสื้ อ
ปฏิบัติงานสำหรับพนักงานที่ออกปฏิบัติงานนอกที่ทำการ เป็นต้น
(6) สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้ มีบรรยากาศที่ดีและมีความปลอดภั ย พร้อมทั้งมีการจั ด
กิจกรรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
ซึง่ เป็นปัจจัยที่ไม่คาดคิดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร จึงได้มีการจัดทำประกันภัย COVID-19 ให้แก่
พนักงานทุกคน และมีการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานเพื่อนำมาพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัว
รวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2) ลูกค้า
กฟน. แบ่งประเภทลูกค้า ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ บ้านอยู่อาศัย ธุรกิจ อุตสาหกรรม ราชการและ
องค์กรไม่แสวงหากำไร โดยแบ่งส่วนตลาดออกเป็น 2 ส่วน คือ ลูกค้าบุคคล (Business to Consumer: B2C) และ
ลูกค้าองค์กร (Business to Business: B2B) เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและการสร้างความสัมพันธ์ให้ตรง
93

กับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีการแบ่ง Sub Segment ของลูกค้าบุคคล (B2C) และ ลูกค้าองค์กร


(B2B) เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่มโดยมีเป้าหมายให้ลูกค้ามีความผูกพัน
กับองค์กรมากยิ่งขึ้นด้วย
กฟน. รับฟังเสียงของลูกค้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงลูกค้าคู่แข่งขัน ผ่านช่องทาง
ต่าง ๆ เช่น ช่องทางโทรศัพท์ (Voice Based) ผ่าน MEA Call Center ช่องทางปฏิสัมพันธ์ (Interaction Based)
การพบปะผ่านกิจกรรมลูกค้าสัมพัน ธ์ ช่องทางออนไลน์ (Online Channel Based) การสำรวจ (Survey
Based) และเพิ ่ม ช่อ งทางการรับ ฟัง สำหรับ ลูก ค้า รายสำคัญ ตลอดจนมี ก ารพั ฒ นาวิ ธี ส ำรวจ รวมทั้ ง
แบบสอบถามเป็นประจำทุกปี
3) คู่ค้า
กฟน. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างเคร่งครัดต่อคู่ค้า ได้แก่ ตัวแทนรับชำระเงิน (ธนาคาร/
บริษัทตัวแทน) มีการกำกับดูแลให้ คู่ค้าเคารพสิทธิมนุ ษยชนและปฏิบั ติต่อแรงงานของตนเองอย่างเป็นธรรม
รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาการประกอบธุรกิจระหว่างกันอย่างยั่งยืน หากมีกรณีที่ไม่สามารถ
ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลง จะแจ้งให้คู่ค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขทันที นอกจากนี้
คู่ค้าจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามประกาศการไฟฟ้านครหลวง เรื่อง นโยบายการรับและให้ของขวัญ
4) คู่แข่ง
กฟน. มีการประกาศนโยบายการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม ตามประกาศการไฟฟ้านครหลวง
ที่ 103/2563 เรื่องนโยบายการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม โดยยึดถือและปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างเป็นธรรม
และเคร่งครัด ทั้งนี้ ในกรณีคู่แข่งถูก ละเมิดสิท ธิตามกฎหมาย สามารถร้องเรียนได้ต ามช่องทางที่ กฟน.
กำหนดขึ้ นตามคู่ มือการจั ดการข้อร้ องเรี ยน ซึ่ งได้กำหนดขอบเขต แนวทางช่ องทางการรับข้ อร้องเรียน ทั้ ง
ช่องทางของ กฟน. โดยตรง เช่น ศูนย์ดำรงธรรมการไฟฟ้านครหลวง หนังสือถึง ฝ่ายบริหาร หน่วยงาน และ
ช่องทางแจ้งผ่านหน่วยงานภายนอกของรัฐ เช่น ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน เป็นต้น
5) หน่วยงานกำกับดูแล
กฟน. มีการดำเนิ นงานตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การรับมอบนโยบายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย การร่ว ม
จัด ทำและสนับ สนุน ความสำเร็จ ของแผนปฏิบ ัต ิร าชการและงานตามภารกิจ กระทรวงมหาดไทย
การดำเนินการตามข้อสั่งการต่าง ๆ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย
การดำเนิ น งานตามนโยบ ายของกระทรวงการคลั ง ซึ่ ง กำกั บ ดู แ ลผ่ า นสำนั ก งาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้แก่
(1) การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงาน
รัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้านครหลวง ประจำปีบัญชี 2563 ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การดำเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์ ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และ Core Business Enablers โดยมีการจัดทำแผนปรับปรุง
องค์กรในแต่ละ Core Business Enablers เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
(2) มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดเป็นรายครึ่งปี และรายปี เพื่อให้ สคร. ใช้
ในการติดตามผลการดำเนินงาน และกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฟน. ได้ให้ความร่วมมือและ
สนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐ
การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
(กกพ.) ได้แก่
94

(1) สนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งงานเชิงนโยบาย (Agenda) และงานตาม


ภารกิจ (Function)
(2) ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานกำกับดูแลให้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
เพื่อพัฒนา กฟน. ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหน่วยงานกำกับดูแลใน
ระยะยาว
(3) รายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญแก่หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ
การดำเนินงานของ กฟน. (เช่น จัดทำฐานะการเงิน ผลการดำเนินการด้านเงินลงทุน เป็นต้น)
(4) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นที่จะสามารถเตรียมการในเรื่องการวางแผนทรัพยากร
ทั้งในเรื่องทรัพยากรบุคคลและด้านการเงิน เพื่อรองรับการดำเนินการตามนโยบายได้อย่างบรรลุเป้าหมาย
6) ผู้ส่งมอบ
ผู้ส่งมอบหลักของ กฟน. ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ส่งพลังงาน
ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายของ กฟน. บริษัทอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เป็นผู้ส่งมอบอุปกรณ์ที่มี คุณสมบัติตรงตาม
ความต้องการของ กฟน. ผู้รับจ้างงานระบบจำหน่ายเป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมา และผู้รับจ้างงาน
บริการ เป็นผู้ให้บริการจดหน่วย พร้อมส่งใบแจ้งค่าไฟฟ้า
กฟน. จัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติในการซื้อขายไฟฟ้า และหลักปฏิบัติในการซื้อขายไฟฟ้า เพื่อใช้ยึดถือ
ปฏิบัติในการซื้อขายไฟฟ้า ตลอดจนปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่มีต่อผู้ส่งมอบอย่างเป็นธรรม และกำกับ
ดูแลให้ผู้ส่งมอบเคารพสิทธิมนุษยชน และยึดถือปฏิบัติในเรื่องนโยบายการรับและให้ของขวัญ ตามประกาศ
การไฟฟ้านครหลวง เรื่องนโยบายการรับและให้ของขวัญ
7) เจ้าหนี้
กฟน. ปฏิ บั ติ ต่ อ เจ้ าหนี้ อ ย่ างเป็ น ธรรม มี ความรับ ผิ ด ชอบและโปร่งใส ปฏิ บั ติ ต ามเงื่อ นไข
ข้ อ กำหนดของสั ญ ญาทางการเงิน อย่ า งเคร่ ง ครั ด มี ก ารบริ ห ารจั ด การธุ ร กรรมด้ า นการชำระเงิ น อย่ า ง
มีประสิทธิภาพ ดำเนินการชำระเงินภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในนิติกรรม ภายใต้ระเบียบว่าด้วยการสั่งจ่ายเงิน
และแนวปฏิบัติเรื่องการจ่ายเงินให้แก่บุคคลภายนอก มีการพัฒนาระบบการชำระเงินให้เป็นอิเล็กทรอนิก ส์
เพื่อสร้างความพึงพอใจและไม่มีข้อร้องเรียน กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต้องประสาน
กับเจ้าหนี้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมพิจารณาหาแนวทางแก้ไข
8) คู่ความร่วมมือ
กฟน. ดำเนิ น การตามข้ อตกลงที่ ได้ ท ำไว้ กั บ คู่ ค วามร่ ว มมื อ ได้ แก่ หน่ ว ยงานเจ้ าของพื้ น ที่
ในการอนุญาตให้ กฟน. ใช้พื้นที่ในการปักเสา พาดสาย ก่อสร้างระบบจำหน่าย อย่างเคร่งครัด และเป็นไปอย่าง
ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจระหว่างกันเป็นไปอย่างยุติธรรม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
เสมอภาค และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กฟน. ได้ประกาศ นโยบายการรับและให้ของขวัญเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ โดย
คู่ความร่วมมือจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม
9) สังคมและสิ่งแวดล้อม
กฟน. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการพัฒนาสังคมโลก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการ
ใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ และด้วยรูปแบบ
การดำเนิ น ชี วิ ต ของคนในสั งคมที่ เปลี่ ย นแปลงไป ได้ ส่ ง ผลกระทบเชิ ง ลบต่ อ สภาพแวดล้ อ มในวงกว้ า ง
โดยเฉพาะภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งได้รับ
การกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ปัญหาน้ำเสีย ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการบรรเทาผลกระทบ
95

รวมถึง กฟน. ในฐานะผู้ให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองที่มีภารกิจในการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กร


อย่างยั่งยืน รวมทั้งรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงาน ดังนี้
(1) ดำเนินงานตามกฎหมายแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ISO 26000 (มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม) เป็นต้น
(2) กำหนดเป็นยุทธศาสตร์การไฟฟ้านครหลวง ในยุทธศาสตร์ที่ 4 งานสนับสนุน Enabler
(3) บูรณาการและยกระดับ การดำเนินงานภายในองค์กรให้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการ
ดำเนินงานภายใต้โครงการสำนักงานสีเขียว (Green office) และงานตามภารกิจของหน่วยงานภายใต้กิจกรรม/
แผนงาน/โครงการต่าง ๆ ครอบคลุม พลังงาน (ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) น้ำ (การประหยั ดน้ำและบำบัดน้ำ
เสีย) การลดการใช้กระดาษ และการบริหารจัดการของเสีย รวมทั้งการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่
เกิดจากกระบวนการดำเนินงานขององค์กร โดยมีมาตรฐาน 5ส เป็นพื้นฐานการปฏิบัติ
(4) ดำเนินงานตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตามแนวทางประเมินของ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
(5) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และบริการ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ
การจัดหา การใช้ และการกำจัด/บำบัด และสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันและอนาคต
(6) กำหนดมาตรการตามนโยบายสาธารณะของภาครัฐ อาทิ มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐาน
อนุ รักษ์พลั งงานสำหรับ ผู้ ผ ลิ ตและผู้ จำหน่ ายพลั งงาน (Energy Efficiency Resources Standards: EERS)
เพื่อสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะลูกค้าและประชาชนมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ความยั่งยืนและนวัตกรรม
ความยั่งยืน
กฟน. ประกาศนโยบายความยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาการ
ดำเนินงานขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมสามมิติสำคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับ ดูแล
กิจการที่ดี ตลอดจนเป็น กรอบแนวทางหลักในการถ่ายระดั บสู่นโยบายด้านอื่น ๆ อาทิ นโยบายสังคมและ
สิ่งแวดล้อม นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ โดยมี
การทบทวนนโยบายความยั่งยืน ซึง่ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมองค์กรเป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ กฟน. มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางสากลของ GRI (Global Reporting
Initiative) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลองค์กร แนวบริห ารจัดการ และผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น จากกระบวนการ
ทำงานของหน่วยงานภายในองค์กรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มขององค์กรรับทราบ ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่รวมบริษัทร่วมทุนอื่น
นวัตกรรม
กฟน. ได้มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และมี
การกำหนดนโยบายการบริห ารจัดการนวัตกรรม จัดทำคู่มือการบริห ารจัดการนวัตกรรม แผนแม่บทการ
บริหารจัดการนวัตกรรมระยะยาวปี พ.ศ. 2563-2570 และแผนปฏิบัติประจำปี
6. การเปิดเผยข้อมูล
กฟน. ตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
อย่ างถูกต้อง เชื่อถื อได้ ครบถ้วน เพีย งพอ ทันกาล และเป็นไปตามกฎหมาย และกฎ ระเบียบที่ เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถใช้ในการตัดสินใจอย่างเหมาะสม โดยจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญทั้งข้อมูล
96

ทางการเงิน และมิใช่การเงิน ในรายงานประจำปี อย่างครบถ้วน เป็นไปตามแนวทางการเปิ ดเผยข้อมูลของ


รัฐวิสาหกิจ ของ สคร. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายหรือระเบียบ
อื่ น ที่ เกี่ ย วข้ อ ง ตลอดจนมี ก ารนำเทคโนโลยี ส ารสนเทศมาใช้ ใ นการเผยแพร่ ข้ อ มู ล ทั้ ง ภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น รายงานประจำปี
เว็บไซต์ของ กฟน. (www.mea.or.th) เป็นต้น
7. การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
การบริหารความเสี่ยง
กฟน. กำหนดแนวปฏิ บั ติ กระบวนการบริหารความเสี่ ยง และการบริหารความต่ อเนื่ องทางธุรกิ จ
ไว้ในคู่มือการบริหารความเสี่ ยง และคู่มือการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่ งมีการทบทวน/ปรับปรุงเป็ น
ประจำทุกปี ให้ ส อดรับ กับ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ เปลี่ยนแปลงไป และเผยแพร่ที่
อินทราเน็ตของฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม
ภายใน และนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ (GRC)
การควบคุมภายใน
1) การกำกับดูแลการควบคุมภายใน
หน่วยงานตรวจสอบภายในของ กฟน. จะมีการจัดทำแผนการตรวจสอบ และมีการสอบทาน
กระบวนงานการปฏิ บั ติ ต ามระบบการควบคุ ม ภายใน และรายงานต่ อ ผู้ บ ริ ห ารทราบเป็ น ประจำทุ ก ปี
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบกระบวนงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต โดยแต่ละปีฝ่ายตรวจสอบภายในจะมี
การคัดเลือกกระบวนงานที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิ ดทุจริต เพื่อทำการตรวจสอบปีละ 3 กระบวนงาน โดย
ปี 2563 ได้ ดำเนิ นการตรวจสอบ ดั งนี้ 1) กระบวนงานการควบคุ มการเงิน 2) กระบวนงานการบริ หารพั สดุ
3) กระบวนงานการบริหารหลักประกันการใช้ไฟฟ้า โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่ตรวจพบความผิดปกติใน
กระบวนงานที่ไปตรวจสอบ และมีการเผยแพร่กระบวนงานที่ตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์ภายในของหน่วยงาน โดย
ที่ผ่านมายังไม่พบความผิดปกติ และไม่มีผู้ฝ่ าฝื น ทั้งนี้ ในการตรวจติดตาม หากพบว่า มีบุคลากรประพฤติ
ปฏิบัติฝ่าฝืนจริยธรรม จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ และ
ระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วย วินัยและการลงโทษ โดยฝ่ายกฎหมายจะรวบรวมข้อมูลการถูกลงโทษ เพื่อใช้
เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานที่มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนจริยธรรม พร้อมทั้งหาวิธีการในการ
ป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำขึ้นอีก โดยหน่วยงานรับผิดชอบจะมีการทบทวนการดำเนินงานดังกล่าวทุกปี เพื่อนำไป
วิเคราะห์และปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น และด้วยการดำเนินงานอย่างเป็นระบบทั้งในเชิงส่งเสริมและ
ป้องกัน จึงทำให้มั่นใจว่าบุคลากรทั่วทั้งองค์กรเกิดความตระหนักและปฏิบัติงานด้วยความยึดมั่นในคุณธรรม
จริยธรรม ด้วยความสุจริต และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2) นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
กฟน. ได้ป ระกาศนโยบายการป้องกั นและต่อต้ านการทุ จริต คอร์รัป ชัน (Anti-Corruption
Policy) นโยบายคุ ณ ธรรมและความโปร่ งใส นโยบายการรั บ และให้ ข องขวั ญ นโยบายการแจ้ งเบาะแส
การกระทำผิด และนโยบายการคุ้มครองพนักงานผู้แจ้งเบาะแสและปฏิเสธการคอร์รัปชัน เพื่อแสดงให้เห็นถึง
ความมุ่งมั่นการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ กฟน. ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ได้แก่ การจัดงาน
ประกาศเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานอย่างโปร่งใส ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี และในปี 2563 คณะกรรมการและ
ผู้ บ ริห ารของ กฟน. ได้ ร่ว มกั น แสดงเจตจำนงและลงนามผ่ านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563
ณ กฟน. สำนักงานใหญ่ คลองเตย โดยได้สื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในภายนอกได้รับทราบ รวมถึง
97

การเข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)


โดย กฟน. มีการประสานงานและจัดส่งโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และโครงการ
ก่อสร้างที่มีมูลค่า 500 ล้านบาทขึ้นไป ให้กับกรมบัญชีกลางพิจารณาคัดเลือกเป็นประจำทุกปี
8. จริยธรรมและจรรยาบรรณ
กฟน. ได้จัดทำจรรยาบรรณของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ผู้ว่ าการ ผู้บริหารระดับสู ง
พนักงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ โดยคำนึงถึงหลักความซื่อสัตย์สุจริต ความมี
คุณธรรม ศีลธรรมอันดี ความบริสุทธิ์ใจ ความถูกต้องและธรรมเนียมที่ดี รวมถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ
ระเบีย บที่เกี่ยวข้อง โดยมีการส่งเสริมบรรยากาศและพฤติกรรมที่ดี ตลอดจนมีการประเมินจริยธรรมและ
จรรยาบรรณเป็นประจำทุกปี
ในปี 2563 กฟน. ได้ทบทวนและปรับปรุงคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณ
การไฟฟ้านครหลวง ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตามหลักการและแนวทาง การกำกับดูแล
กิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 คู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบประเมินผล
รัฐวิสาหกิจ (SE-AM) และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับ
ดู แลที่ ดี ให้ มี มาตรฐานทางคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม และเสริ มสร้ างประสิ ท ธิ ภ าพในการปฏิ บั ติ งานให้ บ รรลุ ถึ ง
เจตนารมณ์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และคำนึงถึง
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
1) การส่งเสริมบรรยากาศและพฤติกรรมที่ดีตามจริยธรรมและจรรยาบรรณ
กฟน. มี ก ระบวนการจั ด ให้ มี แ ละเสริม สร้ างพฤติ ก รรมตามคู่ มื อ การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี
จริ ย ธรรมและจรรยาบรรณ และออกแบบกระบวนการให้ มีการพัฒ นาอย่างต่อเนื่องตามหลั กการ PDCA:
Plan-Do-Check-Act มี การจั ดกิ จกรรมเสริ มสร้ างบรรยากาศและพฤติ กรรมตามคู่ มื อฯ โดยเผยแพร่ ลงนาม
รับทราบ และถือปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้คณะกรรมการ ผู้ บริหาร และพนักงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่าง
เหมาะสม ซึ่งมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยเฉพาะ
ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น การประกาศเจตจำนงสุจริตในการ
บริหารงานอย่างโปร่งใสในรูปแบบออนไลน์ การอบรมหลักสูตรสุจริตไทย สร้างสังคมให้โปร่งใสและเป็นธรรม
ในรูปแบบออนไลน์ การจัดกิจกรรม Have a good day ให้ความรู้และตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณ
คุณธรรมและความโปร่งใส การต่อต้านการทุจริต เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและชิงรางวัลเป็นประจำ ใน Line
Official Account: MEA Family เป็นต้น
ทั้งนี้ กฟน. มีการประเมินประสิทธิผ ลของการเสริมสร้างพฤติกรรมตามคู่มือ การกำกับดูแล
กิจ การที่ดี จริย ธรรมและจรรยาบรรณการไฟฟ้านครหลวง โดยกำหนดให้มีการสำรวจการปฏิบัติตนตาม
ค่ า นิ ย มองค์ ก ร “CHANGE” (G: Governance) และการประเมิ น จริ ย ธรรมและจรรยาบรรณ สรุป ผล
การประเมินได้ดังนี้
- คณะกรรมการ ประเมิน โดยกำหนดเป็นหัว ข้อในแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ
การไฟฟ้านครหลวง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.7
- ผู้บริหาร ผู้ตรวจการ และพนักงาน ประเมินผ่านระบบจริยธรรมและจรรยาบรรณการไฟฟ้า
นครหลวง ซึ่งประกอบด้วยการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการประเมินความเสี่ยงทุจริต การรับรู้ช่องทางรับเรื่อง
ร้องเรียนทุจริต การประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 96.3
- ผลคะแนนการปฏิบัติตนตามค่านิยม G: Governance มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.0
98

2) ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
กฟน. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตการไฟฟ้านครหลวง (ศปท.กฟน.) เพื่อรับเรื่อง
ร้องเรียนการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจะ
เป็นกลไกสำคัญในการลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งเป็นเครื่องมือของการป้องปรามยับยั้ง
ไม่ ให้ ก ระทำผิ ด ผ่ า นช่ อ งทางอิ น เทอร์ เน็ ต /อิ น ทราเน็ ต ผ่ าน MEA Whistle Blowing System (https://
anticorruption.mea.or.th) ช่ อ งทางคณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวง /ผู้ ว่าการ ร้อ งเรีย นด้ ว ยตนเอง
(Walk in) ผ่ าน ศปท.กฟน./ศู น ย์ ดำรงธรรม การไฟฟ้ านครหลวง และช่อ งทางสายด่ ว นของรัฐ บาล โดย
กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนของ ศปท.กฟน. จะดำเนินการโดยเร็วที่สุด ภายในกรอบเวลาที่กำหนดตาม
คู่มือศูน ย์ ป ฏิบั ติการต่อต้านการทุจริ ต การไฟฟ้านครหลวง และปกปิดชื่อผู้ ร้องเรียนและผู้ถูกกล่ าวหาเป็ น
ความลับ
9. การติดตามผลการดำเนินงาน
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มีการกำกับและติดตามผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดสำคัญ
และพิจารณารายงานการเงิน และมิใช่การเงินในประเด็นสำคัญ ได้แก่ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ผลการ
ดำเนิ น งานเปรี ย บเที ยบกับ เป้ าหมาย ปั ญ หา/อุปสรรค รวมทั้งแนวทางแก้ไข/ปรับปรุงผลการดำเนินงาน
ตลอดจนพิ จ ารณาให้ ค วามเห็ น ชอบแนวทางการปรั บ ปรุ ง องค์ ก รตามประเด็ น ปั ญ หาและ และนำผล
การประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของ กฟน.
ผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2563
กฟน. ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารงานด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้จัดให้มี
แผนการกำกับ ดูแลกิจ การที่ ดี ตั้งแต่ปี 2550 ต่อมาเพื่ อให้ ส อดคล้ องกับเป้าหมายการพั ฒ นาที่ ยั่งยืนของ
องค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) จึงปรับเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติ
เสริมสร้างความยั่งยืน ปี 2560-2564 ครอบคลุม 3 มิติ ESG (Environmental, Social and Governance)
สำหรับนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและติดตามความสำเร็จของการดำเนินงาน ต่อมาได้มีการทบทวน
ปรับปรุงเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติเสริมสร้างความยั่งยืน ปี 2563–2565 และแผนปฏิบัติเสริมสร้างความ
ยั่งยืน ประจำปี 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้านครหลวง โดย
การดำเนิ นงานด้านการกำกับดูแลกิจ การที่ดี ประกอบด้วย 3 โครงการ ซึ่งมี ผลการดำเนินงานเป็นไปตาม
เป้าหมาย สรุปได้ดังนี้
ปี 2563
โครงการ ผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัด
เป้าหมาย ผลลัพธ์
1. โครงการองค์กร - มีการจัดทำองค์ความรู้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรม คะแนนการ ≥ 90 75.44
โปร่งใสมี จริยธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กร ประเมิน ITA
คุณธรรมตาม - ปรับรูปแบบ วิธีการ และช่องทางการสื่อสารให้แก่พนักงานภายใน
แนวทาง ITA องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกให้สอดรับกับการทำงาน
(Integrity and แบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
Transparency - ดำเนินการประเมินพนักงานภายใน (IIT) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (EIT)
Assessment) และจัดทำข้ อมูลเปิดเผยหน้ าเว็บไซต์ (OIT) ตามกรอบแนวทาง
ของ สำนักงาน ป.ป.ช.
99

ปี 2563
โครงการ ผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัด
เป้าหมาย ผลลัพธ์
2. โครงการส่งเสริม - มีการจัดทำข้อมูลสื่อสารจรรยาบรรณพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ร้อยละผล ≥ 80 96.3
องค์กรคุณธรรม โดยได้นำเรื่องที่พนักงานมีผลการรับรู้น้อยจากผลการประเมิน ประเมินด้าน
จรรยาบรรณ ปี 2562 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จริยธรรมและ
มากำหนดเป็ น เนื้ อ หาในการสื่ อ สารให้ ค วามรู้ แ ก่ พ นั ก งาน จรรยาบรรณ
เพื่ อ เสริ ม สร้ า งและปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมให้ ส อดคล้ อ งกั บ
จรรยาบรรณการไฟฟ้านครหลวง

3. โครงการป้องกัน - คณะกรรมการ ผู้ว่าการ รองผู้ ว่าการ และผู้ บ ริห ารระดั บ สู ง ระบบป้องกัน 1 1


ปราบปราม ร่วมกันประกาศเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานอย่างโปร่งใส การทุจริตเชิง
การทุจริตและ และลงนามผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Phone) รุก (ระบบ)
ประพฤติมิชอบ - ประเมินความเสี่ยงทุจริต และกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง
ตามแนวทางของสำนักงาน ป.ป.ท. เรื่อง การคืนหลักประกัน
การใช้ไฟฟ้าประเภทเงินสดและหนังสือสัญญาค้ำประกันของ
สถาบันการเงิน และได้กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยง
- รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ร้อยละผล 100 100
- พัฒนาช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิ การประเมิน
ชอบผ่านระบบ MEA Whistle Blowing System การรับรู
(https://anticorruption.mea.or.th) พฤติกรรม
- ตรวจสอบกระบวนงานที่มีโอกาสเกิด การทุจริต 3 กระบวนงาน การทุจริต
คือ การควบคุมการเงิน การบริหารพัสดุ การบริหารเงินประกัน และช่อง
การใช้ไฟฟ้า และเปิดเผยผลการตรวจสอบในเว็ บไซต์ของฝ่าย ทางการแจ้ง
ตรวจสอบภายใน เบาะแสการ
- สื่อสาร/อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านการกำกับ กระทำการ
ดูแลกิจการที่ดีและการป้องกันการทุจริตผ่านสื่อออนไลน์ และ ทุจริต
สร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มผ่ า นกิ จ กรรม “ Have a good day”
เพื่อตอบคำถามชิงรางวัลเป็นประจำทุกสัปดาห์

ในปี 2563 มีผลการดำเนินงานที่ได้ผลลัพธ์ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่ ผลการประเมิน โครงการ


องค์กรโปร่งใสมีคุณธรรมตามแนวทาง ITA (Integrity and Transparency Assessment) ที่ได้คะแนนเฉลี่ย
โดยรวม 75.44 คะแนน จากเป้าหมาย ≥ 90 โดย กฟน. ได้วิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางแก้ไข เพื่อ
นำมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายต่อไป
100

รายงานการปฏิ บัต ิต ามกฎ ระเบียบ และข้อบั งคั บที่ เกี่ย วข้ องกั บกิ จการ
ของการไฟฟ้านครหลวง ประจำปี 2563
กฟน. เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สาขาพลังงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับใบอนุญาต
การประกอบกิจการจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามพระราชบัญญัติการประกอบ
กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้แก่ ใบอนุญาตระบบจำหน่ายไฟฟ้า และใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า โดย กกพ.
กระทรวงพลังงาน กำกับดูแลด้านนโยบายพลังงานและอัตราค่าบริการ กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลด้านการ
บริหารงานภาพรวม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง กำกับดูแลด้าน
นโยบายการดำเนินงานในฐานะรัฐวิสาหกิจ ซึ่ง กฟน. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อ กำหนด และ
มาตรฐานที่สำคัญ รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
การไฟฟ้านครหลวง มีกฎหมายที่สำคัญในการดำเนินงาน ได้แก่
1. ข้อบังคับ
1.1 ด้านผลิตภัณฑ์
- พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2530 และแก้ไข
เพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
- มาตรฐานคุณภาพบริ การของการไฟฟ้า นครหลวง (กำหนดโดยคณะกรรมการบริ ห าร
นโยบายพลังงาน)
- พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
1.2 ด้านการเงิน
- หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกีย่ วกับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของ
รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
1.3 ด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 26000 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
1.4 ด้านบริหาร
- พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562
2. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
3. การรับรองหรือการขึ้นทะเบียน
- ISO 9001:2015 (มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ)
- ISO/IEC 27001: 2013 (มาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล)
- ISO/IEC 17025:2005 (มาตรฐานความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ)
- ISO 22301 (มาตรฐานการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ)
4. มาตรฐานอุตสาหกรรม
- มอก.18001-2554 (มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
101

การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการผ่านมาตรฐาน


จำนวนครั้งของการละเมิด การผ่านมาตรฐาน
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ 2560 2561 2562 2563
มาตรฐาน 2560 2561 2562 2563
พ.ร.บ. การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 0 0 0 0 ISO9001 : 2015
✓ ✓ ✓ ✓
พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 0 0 0 0 (มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ)
พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณา ISO/IEC 27001 : 2005
0 0 0 0 ✓ ✓ ✓ ✓
อนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 (มาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล)
พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและ ISO22301
สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และ 0 0 0 0 (มาตรฐานการบริหารจัดการ ความต่อเนื่อง ✓ ✓ ✓ ✓
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกีย่ วข้อง ในการดำเนินธุรกิจ)
พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น มอก.18001-2554
45 48 46 36
จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและ ✓ ✓ ✓ ✓
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 3 0 0 0 ความปลอดภัย)
มาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน.
หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกีย่ วกับงบลงทุน (ข้อบังคับในการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่ง
0 0 0 0 ✓ ✓ ✓ ✓
ของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555 กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบาย
พลังงาน)
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบัญชีและ ISO26000
0 0 0 0 ✓ ✓ ✓ ✓
การเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 (มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม)
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการ
ตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของ 0 0 0 0 ค่าเป้าหมายเรื่องมาตรฐาน ผ่านมาตรฐาน
รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555
กฟน. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และดำเนินการผ่านมาตรฐานที่ส ำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ ใน
ด้านกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
ส่วนใหญ่การละเมิดเกิดจากแรงดันไฟฟ้าเกินส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย และอุบัติเหตุด้านไฟฟ้า
ซึ่งผู้บริหารระดับสูงได้ให้ความสำคัญในการติดตามและปรับปรุงแก้ไขโดยเน้นย้ ำในการประชุมสายงานบริการ
ระบบจำหน่าย (กำหนดเป็นวาระประจำเรื่องความปลอดภัย) ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงาน
และความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งกำหนดวิธีการป้องกันเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ กฟน. ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการเป็นไปตาม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
2539 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
กับกิจการตามกรอบระยะเวลา เป็นไปตามระเบียบ/ข้อกำหนด/หนังสือของหน่วยงานกำกับดูแล ดังนี้
- สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเร่งรัด ติดตามเกี่ยวกับกรณีเงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต
พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- กระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขอความร่วมมือ เร่งรัด ติดตามกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต
- กระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
พ.ศ. 2562
ในปี 2563 กฟน. ได้ให้ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีการจัดทำประกาศการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2560 เรื่อง นโยบาย
และแนวปฏิบ ัติในการคุ้ มครองข้ อ มูล ส่ว นบุ ค คลของการไฟฟ้ านครหลวง (Privacy Policy) และแต่ ง ตั้ ง
คณะทำงานบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลใน กฟน. รวมทั้งจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงต่อ
การไม่ปฏิบัติ/ละเมิดกฎหมาย ตลอดจนมีการติดตาม รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบเป็นประจำทุกไตรมาส
โครงสร้างและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
กระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ
ประธานกรรมการ

คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ


ตรวจสอบ (Audit Committee) กิจการสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง กากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง กลั่นกรองหลักเกณฑ์และผลตอบแทน
และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ผู้ว่าการ และนักบริหาร ระดับ 11-13
นายเดชบุญ มาประเสริฐ พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ นายมนตรี บุญพาณิชย์

102
ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ ประธานอนุกรรมการ ประธานอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ


พิจารณาแผนวิสาหกิจและการลงทุน กลั่นกรองการซื้อและการจ้าง กฎหมาย ข้อบังคับและการพิจารณาอุทธรณ์ การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม
ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล นายสราวุธ เบญจกุล นายมนัส แจ่มเวหา พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์
ประธานอนุกรรมการ ประธานอนุกรรมการ ประธานอนุกรรมการ ประธานอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการ
บริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความรับผิดชอบ
ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์
ประธานอนุกรรมการ
103

องค์ประกอบและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และกรรมการ รวมทั้งคณะไม่เกิน
15 คน โดยมีผู้ว่าการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
ในปี 2563 คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมีจำนวนรวม 14 คน โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ดำรง
ตำแหน่งประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ตามมติคณะรัฐมนตรี โดย
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และในจำนวนนี้เป็นกรรมการที่เป็นอิสระ 9 คน คิดเป็น
ร้อยละ 81.82 ของจำนวนกรรมการอื่น ประกอบด้วย
1) พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์
2) นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์
3) นายนิวัติ ลมุนพันธ์
4) ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
5) นายเดชบุญ มาประเสริฐ
6) นายสราวุธ เบญจกุล
7) นายมนัส แจ่มเวหา
8) ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล
9) นายมนตรี บุญพาณิชย์
ทั้งนี้ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงทุกคน มีการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข อง
กรรมการเป็นประจำทุกปีในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ กรณีประจำปี กรณีรับตำแหน่งใหม่ และกรณีมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์เกิดขึ้นระหว่างปี เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่ างมีอิสระของ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับหลักการกำกั บ
ดูแลกิจการที่ดี ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการกับฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน โดย
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายของ กฟน. ควบคุมดูแลกิจการของ กฟน.
กำกับดูแลให้ฝ่ายบริห ารดำเนิน งานให้เป็นไปตามนโยบายและข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ ติดตามดูแลการ
ปฏิบัติงานที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเรื่องผลการดำเนินงานและการประเมินผลงานของผู้ว่าการ ระบบบัญชี
รายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแล
กิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผ่านระบบการรายงานทั้งรา ยเดือน ราย
ไตรมาส และรายปี
การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ คณะทำงานอื่นที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานอื่น
รับผิดชอบในการกำกับดูแลและกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญหรืองานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
จำนวน 9 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
1) นายเดชบุญ มาประเสริฐ ประธานกรรมการ
104

2) นายนิวัติ ลมุนพันธ์ กรรมการ


3) นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา กรรมการ
4) ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน เลขานุการ
5) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบสอดคล้ องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการ
ดำเนินงานของ กฟน. โดยกฎบัตรต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง และมีการ
สอบทานความเหมาะของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. จัดทำคู่มือ การปฏิบ ัต ิงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และทบทวนคู่มื อ คณะกรรมการ
ตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งนำเสนอคู่มือคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการการไฟฟ้า
นครหลวงพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มปีบัญชี
3. สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง
กระบวนการกำกับ ดูแลกิจ การที่ด ี และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธ ีปฏิบัติงาน มติ
คณะรัฐมนตรี หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานของ กฟน. รวมทั้งนโยบายที่คณะกรรมการการไฟฟ้า
นครหลวงกำหนด
4. สอบทานให้ กฟน. มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือ
5. สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมี
โอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กฟน. และรายงานที่เกี่ยวข้อง
6. สอบทานการดำเนินงานของ กฟน. ในด้านต่าง ๆ ในทุกประเด็นที่มีความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผล
กระทบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ กฟน. รวมถึงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่มีสาระสำคัญต่อ
สภาพแวดล้อมของความเสี่ยงของ กฟน. และมีบทบาทในการสอบทานการดำเนินงานต่าง ๆ ของ กฟน. ตาม
เกณฑ์ Enablers ทั้ง 7 ด้าน
7. กำกับดูแลการตรวจสอบภายใน รวมทั้งเสนอแนะฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อให้มีการบริหาร
จัดการ และการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและมีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม
8. สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบภายใน ให้ความเห็น
ต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โอนย้าย เลื่อนตำแหน่งถอดถอน และประเมินผลงาน
ประกอบการพิจารณาความดีความชอบของผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน พิจารณาความเหมาะสม
เพียงพอของทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นของฝ่ายตรวจสอบภายใน เช่น ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้ง
โอนย้าย เลื่อนตำแหน่งถอดถอน และพิจารณาความดีความชอบของพนักงานฝ่ายตรวจสอบภายใน
9. ประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของฝ่ายตรวจสอบภายใน รวมทั้งเสนอแนะแนว
ทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10. ประสานงานกับผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ ขอบเขตและแนวทางในการปฏิบัติงานสอบ
บัญชี และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบ
บัญชีต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
11. รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit
105

Committee) โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของ กฟน. ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธาน


กรรมการตรวจสอบ (Chairman of Audit Committee) รวมถึงการเปิดเผยค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีใน
รายงานประจำปีของ กฟน.
12. ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน องค์ประกอบ คุณสมบัติประสบการณ์
และทักษะของคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการประเมิน ปัญหา
อุปสรรค ตลอดจนแผนเพิ่มประสิ ทธิภาพของคณะกรรมการตรวจสอบ และแนวทางการพัฒนาการตรวจสอบ
ภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงทราบ
13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
14. ในกรณีที่การดำเนินงานตรวจสอบภายในในเรื่องใดของคณะกรรมการตรวจสอบ มีความ
จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถจากที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ให้คณะกรรมการตรวจสอบ
เสนอต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เพื่อพิจารณาให้มีการดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะเรื่องด้วยค่าใช้จ่ายของ กฟน. ได้ ทั้งนี้ การดำเนินการว่าจ้างให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของ กฟน.
ในการปฏิบัติงานคณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน การรายงานทางการเงิน และ
การปฏิ บ ั ต ิ ต ามระเบี ย บ และนโยบายต่ า ง ๆ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น งานของ กฟน. โดยตรง และ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของ กฟน. ต่อบุคคลภายนอกและ
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง
1) พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ประธานกรรมการ
2) รองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย กรรมการ
3) รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ กรรมการ
4) รองผู้ว่าการปฏิบัติการ กรรมการ
5) รองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร กรรมการ
6) รองผู้ว่าการบริหารองค์กร กรรมการ
7) รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม กรรมการ
8) รองผู้ว่าการการเงิน กรรมการ
9) รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ กรรมการ
10) รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร กรรมการ
11) นายคมสัน ทองศิริ กรรมการ
12) นายนิพัทธ์ เหลืองดำรงค์ กรรมการ
13) นายสมบัติ ภู่ไพโรจน์ กรรมการ
14) นายเสนอ วิสุทธนะ กรรมการ
15) นายณรงค์ ขำประดิษฐ์ กรรมการ
16) นายฐิติพงศ์ สมบูรณ์ศิลป์ กรรมการ
17) นายทองคำ อินทอง กรรมการ
18) นายวรวุฒิ อ่องบางน้อย กรรมการ
106

19) นายพณวัฒน์ พินิตพิพัฒน์พงศ์ กรรมการ


20) นางเพ็ญจันทร์ ทรรศนกุลพันธ์ เลขานุการ
ผู้ช่วยผู้ว่าการ
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กฟน. ตลอดจน
ส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์
2. หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งใน กฟน.
3. พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และ
กฟน.
4. ปรึ ก ษาหารื อ เพื ่ อ แก้ ป ั ญ หาตามคำร้ อ งทุ ก ข์ ข องลู ก จ้ า งหรื อ สหภาพแรงงานรั ฐ วิ ส าหกิจ
การไฟฟ้านครหลวง รวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย
5. ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง
3. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
1) นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ ประธานอนุกรรมการ
2) นายมนตรี บุญพาณิชย์ อนุกรรมการ
3) พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ อนุกรรมการ
4) รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม อนุกรรมการ
5) ผู้ช่วยผู้ว่าการ เลขานุการ
สายงานรองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม
6) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. กําหนดนโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
(Governance, Risk and Compliance: GRC) รวมถึงการกําหนดนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้อง แนวทางการส่งเสริม
และเสนอแนะให้องค์กรมีการดําเนินงานเพื่อบูรณาการระหว่างงานด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหาร
ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ รวมถึงงานด้านการบริหารความต่อ เนื่องทางธุรกิจ การควบคุม
ภายใน ตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงกําหนด และตามมาตรฐานสากล
2. พิจารณา กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบการดําเนินงานด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหาร
ความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายในและการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งแผนการดําเนินงานด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดีระยะยาวและประจําปี แผนบริหารความเสี่ยงองค์กร
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนการจัดวางระบบการควบคุมภายใน และการประเมินการควบคุมด้วย
ตนเอง
3. กํากับ ติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายในและการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ทั้งในภาวะปกติและ
ภาวะพิเศษ เป็นประจําทุกไตรมาส
4. กํากับให้มีการสร้างบรรยากาศ และแรงจูงใจให้พนักงานตระหนักถึงความสําคัญของการ
บูรณาการระหว่างการกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ (GRC)
107

5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
4. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองหลักเกณฑ์และผลตอบแทนผู้ว่าการ และนักบริหารระดับ 11-13
1) นายมนตรี บุญพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการ
2) พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ อนุกรรมการ
3) ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อนุกรรมการ
4) รองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร เลขานุการ
5) ผู้ช่วยผู้ว่าการ ผู้ช่วยเลขานุการ
สายงานรองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณากลั่นกรองแผนงานของผู้ว่าการตามเงื่อนไขสัญญาจ้างผู้บริหาร
2. พิจารณากลั่นกรองการกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด น้ำหนัก และเป้าหมายการประเมินผลที่ชัดเจน
เป็นธรรม และส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลที่กำหนด
3. หารือร่วมกับผู้ว่าการเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับรายละเอียดวิธีการประเมินผลงานก่อน
การประเมินผู้ว่าการ เพื่อให้การประเมินผลงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม
4. ติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกไตรมาส และพิจารณากลั่นกรองการประเมินผลงานของ
ผู้ว่าการตามเกณฑ์ที่กำหนด
5. พิจารณากลั่นกรองการปรับค่าตอบแทนคงที่ และค่าตอบแทนพิเศษประจำปีของผู้ว่าการจาก
ผลการปฏิบัติงาน
6. รายงานผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ และแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการ
ประเมินผลผู้ว่าการให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงทราบ
7. พิจารณากลั่นกรองหลักเกณฑ์การแต่งตั้งนักบริหาร ระดับ 11-13
8. พิจารณาในการเข้าร่วมสังเกตการณ์การแต่งตั้งนักบริหารระดับ 13
9. พิจารณากลั่นกรองการเลื่อนเงินเดือนพนักงานชั้นผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
10. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
5. คณะอนุกรรมการพิจารณาแผนวิสาหกิจและการลงทุน
1) ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล ประธานอนุกรรมการ
2) พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ อนุกรรมการ
3) พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ อนุกรรมการ
4) ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง อนุกรรมการ
5) รองผู้ว่าการแผนและพัฒนาองค์กร เลขานุการ
6) ผู้อำนวยการฝ่ายแผนกลยุทธ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณา กลั่นกรอง และทบทวน นโยบาย ทิศทาง วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์องค์กร แผนวิสาหกิจ
แผนแม่บทการบริหารทรัพยากรมนุษย์และงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร แผนปฏิบัติประจำปี
แผนการลงทุน และงบประมาณประจำปี ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
2. พิจารณา ให้ความเห็นชอบ และทบทวน แผนยุทธศาสตร์ด้านลูกค้าและตลาด
108

3. ติดตามและรายงานการดำเนินงานตาม 1. และ 2. ต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เป็น


ประจำทุกไตรมาส
4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
6. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง
1) นายสราวุธ เบญจกุล ประธานอนุกรรมการ
2) นายมนัส แจ่มเวหา อนุกรรมการ
3) นายมนตรี บุญพาณิชย์ อนุกรรมการ
4) ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง อนุกรรมการ
5) รองผู้ว่าการวิชาการและบริหารพัสดุ เลขานุการ
6) นายวาสุเทพ ประมงอุดมรัตน์ ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ชว่ ยผู้ว่าการ
หน้าที่และอำนาจ
กลั่นกรองเกี่ยวกับการซื้อและการจ้างที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เพื่อ
นำเสนอคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ดังนี้
1. ตรวจสอบการจัดซื้อ จัดจ้างให้ถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่ภาครัฐกำหนด และข้อบังคับ
ของ กฟน. ตามนโยบายและแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง ที่ได้รั บอนุมัติ ทั้งนี้ ให้มีความโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบ
ได้
2. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
7. คณะอนุกรรมการกฎหมาย ข้อบังคับ และการพิจารณาอุทธรณ์
1) นายมนัส แจ่มเวหา ประธานอนุกรรมการ
2) นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ อนุกรรมการ
3) นายสราวุธ เบญจกุล อนุกรรมการ
4) รองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย อนุกรรมการ
5) รองผู้ว่าการบริหารองค์กร เลขานุการ
6) ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณากลั่นกรองปัญหาข้อกฎหมาย วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข
กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ กฟน. และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ
การไฟฟ้านครหลวงเพื่อขอความเห็นชอบ
2. พิจารณากลั่นกรองการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของพนักงาน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
การไฟฟ้านครหลวง เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนี้
2.1 พนักงานตั้งแต่ระดับ 11 ขึ้นไป
2.2 พนักงานตั้งแต่ระดับ 10 ลงมา ในกรณีลงโทษไล่ออก ปลดออก ให้ออก
3. พิ จ ารณากลั ่ น กรองการอุ ท ธรณ์ กรณี พ นั ก งานใช้ ส ิ ท ธิ อ ุ ท ธรณ์ ค ำสั ่ ง ทางปกครองตาม
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ก่อนนำเสนอคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็น
ผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
109

4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
8. คณะอนุกรรมการการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม
1) พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ ประธานอนุกรรมการ
2) ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อนุกรรมการ
3) ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล อนุกรรมการ
4) ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง อนุกรรมการ
5) รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร เลขานุการ
6) นายเปรมศักดิ์ โล่ห์ทอง ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ชว่ ยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารทรัพย์สินเทคโนโลยี
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณา ทบทวน และเห็นชอบ นโยบายและกรอบการกำกับดูแลการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล
2. พิจารณา กลั่นกรอง และทบทวน
- แผนปฏิบัติการดิจิทัลและแผนปฏิบัติประจำปี
- นโยบาย คู่มือ และแผนแม่บทการบริหารจัดการนวัตกรรมและแผนปฏิบัติประจำปี
- นโยบาย คู่มือ และแผนแม่บทการจัดการความรู้ และแผนปฏิบัติประจำปี อย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง และนำเสนอคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเพื่อขอความเห็นชอบ
3. พิจารณาเสนอแนะการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้งานภายใน กฟน. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นไปตามหลักการกำกับกิจการที่ดี และถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ติดตามและรายงานการดำเนินงานต่อคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นประจำทุกไตรมาส
5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
9. คณะอนุกรรมการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ประธานอนุกรรมการ
2) นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ อนุกรรมการ
3) นายมนัส แจ่มเวหา อนุกรรมการ
4) รองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม อนุกรรมการ
5) ผู้ช่วยผู้ว่าการ เลขานุการ
สายงานรองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม
6) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
1. กําหนดและทบทวนนโยบาย คู่มือ แนวทางการส่งเสริมและเสนอแนะให้องค์กรมีการดําเนินงาน
การพัฒนาความยั่งยืนที่มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามกรอบนโยบายที่
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงกําหนด และตามมาตรฐานสากล
2. พิจารณา ให้ความเห็นชอบการดําเนินงานด้านการบริหารจัด การผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านลูกค้า
และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย แผนแม่บทและแผนปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
110

3. กํากับ ติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานด้านการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านความ


รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกไตรมาส
4. กํากับให้มีการสร้างบรรยากาศ และแรงจูงใจให้พนักงานตระหนักถึงความสําคัญของการ
ปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนาความยั่งยืน การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม
5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
คณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดย่อย และคณะอนุกรรมการ
1) นายเดชบุญ มาประเสริฐ
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง
2) ศาสตราจารย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และ
การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
3) ร้อยโท วโรดม สุจริตกุล
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง
4) นายบุญทิพย์ ชูโชนาค
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง
5) นางสาวเบญจรัตน์ เนติโพธิ์
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง
6) นายปรีชาพร สุวัฒโนดม
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม
7) นางสาวศิวพร ปทุมารักษ์
สนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกฎหมาย ข้อบังคับและการพิจารณาอุทธรณ์
หน้าที่และอำนาจ
1. พิจ ารณา กลั่น กรอง ตรวจสอบ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ และสนับสนุนการดำเนินงานของ
คณะกรรมการชุดย่อย และคณะอนุกรรมการ ตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงกำหนด
2. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงมอบหมาย
การส่งเสริมและให้ความรู้แก่คณะกรรมการ
กฟน. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง โดยมีการจัดทำ
แผนการส่งเสริมความรู้ความสามารถคณะกรรมการเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการล่วงหน้า ในปี
2563 มีการจัดส่งกรรมการเข้ารับการอบรมหลักสูตรในประเทศและการเยี่ยมชมศึกษาดูงานในต่างประเทศ
นอกจากนี้ กฟน. ยังได้มีการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะผู้กำกับดูแลการ
ดำเนินงานของ กฟน. ให้แก่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
1. การอบรมในหลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำกับ
ดูแลรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนของสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง
ของสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ หลักสูตร Advanced Audit Committee Program และหลักสูตร
Financial Statements for Directors ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
111

2. การศึกษาดูงานในประเทศเกี่ยวกับการจัดการเมืองในรูปแบบเมืองอัจฉริยะ และโครงการเตาเผา
ขยะชุมชนและผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 700 ตันต่อวัน ณ จังหวัดภูเก็ต
การประเมินผลคณะกรรมการ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มีการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี
ทั้งแบบรายคณะ รายบุคคล และ/หรือรายไขว โดยประเมินตนเองปีละ 2 ครั้ง คือ 1) ประเมินรายคณะและรายบุคคล
ในเดือนมิถุนายน 2) ประเมินรายคณะและรายไขว้ ในเดือนธันวาคม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน
ทุก 6 เดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงกำหนด โดยพิจารณา
จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และการบริหารจัดการองค์กร ที่ได้เสนอ
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงให้ความเห็นชอบไว้
หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วัดผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่ได้ตกลงกัน โดย
ดัชนีตัวชี้วัดสอดคล้องกับนโยบายสำคัญของภาครัฐ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง และแผนยุทธศาสตร์
ของ กฟน. สะท้อนวิสัยทัศน์ และแผนงานสำคัญของผู้ว่าการ และส่วนที่ 2 การวัดสมรรถนะการบริหาร
จัดการ (Managerial Competency) โดยดัชนีตัวชี้วัดสะท้อนบทบาท วิสัยทัศน์ และการมีส่วนร่วมของ
ผู้ว่าการในการชี้นำ กำกับ และบริหารจัดการองค์กร
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ในแต่ละปีคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงจะพิจารณาเห็นชอบแผนงานของผู้ว่าการประจำปี
ตามเงื่อนไขสัญญาจ้าง พิจารณาการกำหนดหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด น้ำหนักและเป้าหมายร่วมกับผู้ว่าการ เพื่อทำ
ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับรายละเอียดวิธีการประเมินผลงานก่อนการประเมิน โดยมีการติดตามผลการ
ดำเนินงาน รวมถึงประเมินผลงานเพื่อพิจารณาปรับค่าตอบแทนคงที่ และค่าตอบแทนพิเศษประจำปีของ
ผู้ว่าการจากผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
112

การประชุมและค่าตอบแทนของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่น
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง กำหนดนโยบายให้ มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยปกติ
ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง คือ ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์ก่อนสุดท้ายของเดือน และอาจมีการประชุมวาระพิเศษ
เพิ่มเติมตามความจำเป็น โดยปี 2563 คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มีการประชุมรวมทั้งสิ้น จำนวน 13
ครั้ง โดยมีจำนวนกรรมการเข้าร่วมการประชุม ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 12 ครั้ง ซึ่งมีการส่งระเบียบวาระการ
ประชุมและเอกสารประกอบก่อนการประชุมประมาณ 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้มี
เวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนการประชุม ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการ ชุด
ย่อย คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่น ทุกท่านได้มสี ่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
ค่าตอบแทนคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง คณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่น
คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง คณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่นได้รับ
ค่าตอบแทนและเบี้ยประชุม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562 ยกเว้น คณะกรรมการ
ตรวจสอบ (Audit Committee) เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและ
หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555
1. ค่าตอบแทนและเบี้ยประชุม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562 และมติคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ในคราวประชุมครั้งที่ 708 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าตอบแทนราย
เดื อนและเบี้ ย ประชุ ม คณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวง คณะกรรมการชุด ย่ อย คณะอนุ ก รรมการและ
คณะทำงานอื่น ที่ คณะกรรมการการไฟฟ้ านครหลวงแต่งตั้ง โดยให้ มีผ ลใช้บั งคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ กรรมการเป็นผู้รับภาระภาษีเงินได้เอง สรุปดังนี้
รายการ อัตรา หลักเกณฑ์
1. ค่าตอบแทนรายเดือน (บาท : คน : เดือน) 1. จ่ายให้ตามสัดส่วนระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1.1 ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง 20,000 2. จ่ายให้ประธานกรรมการในอัตรา 2 เท่าของ
1.2 กรรมการการไฟฟ้านครหลวง 10,000 ค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการ
2. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ (บาท : คน : ครั้ง) 1. จ่ายให้ประธานในที่ประชุมในอัตราเพิ่มขึ้น
2.1 ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง 25,000 ร้อยละ 25 ของเบี้ยประชุมกรรมการ
2.2 กรรมการการไฟฟ้านครหลวง 20,000 2. ให้จ่ายเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง เดือนละ 1
ครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีมีเหตุสมควรอาจพิจารณา
จ่ายเบี้ยประชุมได้เกิน 1 ครั้ง/เดือน แต่ต้อง
ไม่เกิน 15 ครั้ง/ปี
3. เบี้ยประชุมคณะกรรมการชุดย่อย 1. ให้จ่ายเบี้ยประชุมให้กับกรรมการและ
คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่น กรรมการอื่นที่ไม่ใช่บุคลากรของ
(บาท : คน : ครั้ง) รัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวน
3.1 ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง 12,500 เท่ากัน ในอัตรา 0.5 ของเบี้ยประชุม
3.2 กรรมการการไฟฟ้านครหลวง 10,000 กรรมการ
3.3 กรรมการอื่น 10,000
113

รายการ อัตรา หลักเกณฑ์


2. ให้จ่ายไม่เกิน 2 คณะ คณะละไม่เกิน 1
ครั้ง/เดือน
3. หากเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ
บุคลากร ไม่ได้รับเบี้ยประชุม
กรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรรมการตรวจสอบอีกทาง
หนึ่งนอกเหนือจากค่าตอบแทนในฐานะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง โดยเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเท่ากับค่าเบี้ย
ประชุมกรรมการการไฟฟ้านครหลวงในอัตรา 20,000 บาทต่อเดือน โดยประธานกรรมการตรวจสอบได้รับ
ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 25 ของค่าตอบแทนกรรมการตรวจสอบ เท่ากับอัตรา 25,000 บาทต่อ
เดือน
2. โบนัส
กฟน. จ่ า ยโบนั ส กรรมการตามหนั ง สื อ สำนั ก งานคณ ะกรรมการนโยบายรั ฐ วิ ส าหกิ จ
กระทรวงการคลัง ที่ กค 0804.3/ว.139 ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556 เรื่อง ระบบแรงจูงใจในส่วนของ
ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินตามระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ กำหนดจ่ายโบนัสกรรมการตามผล
การประเมิน ดังนี้
ผลการประเมิน (คะแนน) จำนวนโบนัสที่กรรมการได้รับ (บาท/คน/ปี)
5.00 (ดีเยี่ยม) ฐาน + 100% ของฐาน
4.50 ฐาน + 75% ของฐาน
4.00 (ดีมาก) ฐาน + 50% ของฐาน
3.50 ฐาน + 25% ของฐาน
3.00 (ดี) ฐาน
2.50 ฐาน - 25% ของฐาน
2.00 (พอใช้) ฐาน - 50% ของฐาน
1.50 ไม่มโี บนัส
1.00 (ปรับปรุง) ไม่มโี บนัส
โดยอัตราฐานการจ่ายโบนัสคณะกรรมการพิจารณาจากกำไรเพื่อการจัดสรรโบนัส ดังนี้
กำไรเพื่อการจัดสรรโบนัส (ล้านบาท) โบนัส (บาท/คน/ปี)
ไม่เกิน 100 ร้อยละ 3 ของกำไรเพื่อการจัดสรรโบนัส
แต่ไม่เกินคนละ 60,000
ตั้งแต่ 100 ถึง 300 65,000
มากกว่า 300 ถึง 500 70,000
มากกว่า 500 ถึง 700 75,000
มากกว่า 700 ถึง 1,000 80,000
มากกว่า 1,000 ถึง 2,000 90,000
มากกว่า 2,000 ถึง 5,000 100,000
มากกว่า 5,000 ถึง 8,000 110,000
มากกว่า 8,000 ถึง 11,000 120,000
มากกว่า 11,000 ถึง 13,000 130,000
กำไรเพิม่ ทุกช่วง 2,000 จ่ายเพิ่มอีก 10,000
114

ประธานกรรมการ และรองประธานได้รับโบนัสมากกว่ากรรมการ ร้อยละ 25 และร้อยละ 12.5


ตามลำดับ และในปีบัญชีของรัฐวิสาหกิจใดที่กรรมการขาดประชุมเกินกว่า 3 เดือน ให้จ่ายโบนัสตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
1) เกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ให้จ่ายลดลงร้อยละ 25
2) เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 เดือน ให้จ่ายลดลงร้อยละ 50
3) เกินกว่า 9 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายลดลงร้อยละ 75
ทั้งนี้ กรรมการเป็นผู้รับภาระภาษีเงินได้เอง
ค่าตอบแทนกรรมการ
ค่าตอบแทนของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง งวดบัญชี 2563 จำนวนรวม 11,656,594.63
บาท ประกอบด้ ว ย เบี้ ย ประชุ ม ค่ า ตอบแทน และโบนั ส กรรมการ ซึ ่ง เป็น ผลประโยชน์ที ่จ ่า ยให้
คณะกรรมการฯ ตามกฎเกณฑ์กระทรวงการคลัง โดยในปี 2563 กฟน. จ่ายเบี้ยประชุมรวม 6,342,500.00
บาท สำหรับโบนัสกรรมการได้พิจารณาจากผลการดำเนินงานประจำปี 2562 (เพิ่มเติม) และปี 2563 โดยจ่าย
ให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงที่ดำรงตำแหน่งในระหว่างปี 2562 และปี 2563 รวม 2,696,427.96
บาท และค่าตอบแทน รวม 2,617,666.67 บาท มีรายละเอียด ดังนี้
ค่าตอบแทนคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 หน่วย : บาท
เบีย้ ประชุม โบนัสกรรมการ โบนัสกรรมการ รวม
ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง ค่าตอบแทน
กรรมการ อนุ กรรมการ/
คณะทำงาน
ปี 2563 ปี 2562 (เพิ่มเติม) ค่าตอบแทน
1 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ 150,000.00 - 240,000.00 103,125.00 77,343.75 570,468.75
2 พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ กรรมการ 260,000.00 210,000.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 782,500.00
3 พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ กรรมการ 260,000.00 240,000.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 812,500.00
4 นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์ กรรมการ 260,000.00 237,500.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 810,000.00
5 นายนิวัติ ลมุนพันธ์ กรรมการ 260,000.00 - 360,000.00 110,000.00 82,500.00 812,500.00
6 ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กรรมการ 140,000.00 20,000.00 120,000.00 82,500.00 82,500.00 445,000.00
7 นายเดชบุญ มาประเสริฐ กรรมการ 260,000.00 80,000.00 420,000.00 110,000.00 82,500.00 952,500.00
8 นายสราวุธ เบญจกุล กรรมการ 260,000.00 260,000.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 832,500.00
9 นายมนัส แจ่มเวหา กรรมการ 260,000.00 257,500.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 830,000.00
10 ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล กรรมการ 260,000.00 232,500.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 805,000.00
11 นายมนตรี บุญพาณิชย์ กรรมการ 260,000.00 210,000.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 782,500.00
12 นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ กรรมการ 60,000.00 55,000.00 37,666.67 34,527.77 82,500.00 269,694.44
13 นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา กรรมการ 240,000.00 - 360,000.00 110,000.00 82,500.00 792,500.00
14 พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ กรรมการ 240,000.00 200,000.00 120,000.00 110,000.00 6,431.44 676,431.44
15 นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ กรรมการ 260,000.00 230,000.00 120,000.00 110,000.00 82,500.00 802,500.00
16 นายบุญทิพย์ ชูโชนาค คณะทำงาน - 120,000.00 - - - 120,000.00
17 ศาสตราจารย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ คณะทำงาน - 110,000.00 - - - 110,000.00
18 ร้อยโท วโรดม สุจริตกุล คณะทำงาน - 120,000.00 - - - 120,000.00
19 พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ คณะทำงาน - 40,000.00 - - - 40,000.00
20 นางสาวเบญจรัตน์ เนติโพธิ์ คณะทำงาน - 110,000.00 - - - 110,000.00
21 นายปรีชาพร สุวัฒโนดม คณะทำงาน - 100,000.00 - - - 100,000.00
22 นางสาวศิวพร ปทุมารักษ์ คณะทำงาน - 70,000.00 - - - 70,000.00
23 นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ กรรมการ - 10,000.00 - - - 10,000.00
รวม 3,430,000.00 2,912,500.00 2,617,666.67 1,540,152.77 1,156,275.19 11,656,594.63
หมายเหตุ : ลำดับที่ 1-11 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 – ปัจจุบัน
ลำดับที่ 7 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2563
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 12 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 และลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2563
ลำดับที่ 13 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน
ลำดับที่ 14 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 - ปัจจุบัน
ลำดับที่ 15 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงและเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2561 – ปัจจุบัน
ลำดับที่ 16 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2563
115
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 17 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2563 ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 18 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2563
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 19 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกฎหมาย ข้อบังคับ และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง
ที่ 3/2563 ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 และลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563
ลำดับที่ 20 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจ้าง ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 3/2563
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 21 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง
ที่ 3/2563 ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563
ลำดับที่ 22 เป็นคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานในคณะอนุกรรมการกฎหมาย ข้อบังคับ และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวง
ที่ 36/2563 ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2563
ลำดับที่ 23 เป็นกรรมการสรรหาผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ตามคำสั่งการไฟฟ้านครหลวงที่ 62/2563 ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563
116

รายงานการเขาประชุมคณะกรรมการชุดยอยและคณะอนุกรรมการ ประจําป 2563

คณะอนุกรรมการการจัดการเทคโนโลยีดจิ ิทัลและนวัตกรรม
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองหลักเกณฑและผลตอบแทน
การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ

คณะกรรมการสรรหาผูวา การการไฟฟานครหลวง
คณะกรรมการกิจการสัมพันธการไฟฟานครหลวง
คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)

คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการซื้อและการจาง

และความรับผิดชอบตอสังคมและสิ่งแวดลอม
คณะอนุกรรมการบริหารผูมีสว นไดสวนเสีย
คณะอนุกรรมการพิจารณาแผนวิสาหกิจ
ลําดับ รายชื่อ

คณะอนุกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดี

คณะอนุกรรมการกฎหมาย ขอบังคับ
ผูวาการ และนักบริหารระดับ 11-13

และการพิจารณาอุทธรณ
และการลงทุน
1 พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท - 12/12 - 6/6 - - - - 1/1 1/1
2 พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน - - - - 9/9 - - 12/12 - -
3 นางมยุรศิริ พงษธรานนท - - 11/11 - - - 11/12 - 1/1 -
4 นายนิวัติ ลมุนพันธ 13/13 - - - - - - - - -
5 ศาสตราจารยสุชัชวีร สุวรรณสวัสดิ์ - - - 1/6 - - - 1/12 - -
6 นายเดชบุญ มาประเสริฐ 13/13 8/12 - - - - - - - -
(คณะทํางาน)
7 นายสราวุธ เบญจกุล - - - - - 13/13 12/12 - - 1/1
8 นายมนัส แจมเวหา - - - - - 13/13 12/12 - 1/1 -
9 ศาสตราจารยบุญเสริม กิจศิริกุล - - - - 9/9 - - 12/12 - 1/1
10 นายมนตรี บุญพาณิชย - - 11/11 4/4 1/1 8/8 - - - 1/1
11 นายจรัญ วิวัฒนเจษฎาวุฒิ - - - 2/2 - 4/5 - - - -
12 นางสาววิไล ตันตินันทธนา 13/13 - - - - - - - - -
13 พลตรี ชัยพฤกษ ดวงประพัฒน - - 11/11 - 9/9 - - - - -
14 นายกีรพัฒน เจียมเศรษฐ - - - - 8/9 12/13 - 12/12 - -
หมายเหตุ : ลําดับที่ 1-10 ตามมติคณะรัฐมนตรีแตงตั้งเปนกรรมการการไฟฟานครหลวง ตั้งแตวันที่ 5 มิถุนายน 2561 - ปจจุบัน
ลําดับที่ 11 ตามมติคณะรัฐมนตรีแตงตั้งเปนกรรมการการไฟฟานครหลวง ตั้งแตวันที่ 5 มิถุนายน 2561 และลาออกมีผลตั้งแตวันที่
24 เมษายน 2563
ลําดับที่ 12 ตามมติคณะรัฐมนตรีแตงตั้งเปนกรรมการการไฟฟานครหลวง ตั้งแตวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 - ปจจุบัน
ลําดับที่ 13 ตามมติคณะรัฐมนตรีแตงตั้งเปนกรรมการการไฟฟานครหลวง ตั้งแตวันที่ 3 ธันวาคม 2562 - ปจจุบัน
ลําดับที่ 14 ตามมติคณะรัฐมนตรีแตงตั้งเปนผูวาการการไฟฟานครหลวงและเปนกรรมการโดยตําแหนง ตั้งแตวันที่ 19 ตุลาคม 2561 - ปจจุบัน
117

รายงานการเข้าประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ประจำปี 2563


ครั้งที่
719 720 721 722 723 724 725 726 727 728 729 730 731
ลำดับ รายชื่อ รวมครั้ง
23 20 19 23 21 18 23 18 20 17 22 26 24
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
1 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ              6/13
2 พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์              13/13
3 พลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์              13/13
4 นางมยุรศิริ พงษ์ธรานนท์              13/13
5 นายนิวัติ ลมุนพันธ์              13/13
6 ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์              7/13
7 นายเดชบุญ มาประเสริฐ              13/13
8 นายสราวุธ เบญจกุล        *      13/13
9 นายมนัส แจ่มเวหา              13/13
10 ศาสตราจารย์บุญเสริม กิจศิริกุล              13/13
11 นายมนตรี บุญพาณิชย์              13/13
12 นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ     - - - - - - - - - 3/4
13 นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา              12/13
14 พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์              12/13
15 นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์              13/13
คำอธิบายสัญลักษณ์  มาประชุม * เข้าประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ x ไม่มาประชุม
หมายเหตุ : ลำดับที่ 1-11 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 - ปัจจุบัน
ลำดับที่ 12 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 5 มิถนุ ายน 2561 และลาออกมีผลตั้งแต่
วันที่ 24 เมษายน 2563
ลำดับที่ 13 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน
ลำดับที่ 14 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 - ปัจจุบัน
ลำดับที่ 15 ตามมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงและเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2561 - ปัจจุบัน
นโยบายและการจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงมาจากการสรรหาโดยมีสัญญาจ้างคราวละไม่ เกิน 4 ปี ได้รับค่าตอบแทน
ตามที่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงพิจารณา ตามภาระหน้าที่รับผิดชอบและความสามารถในการจ่ายของ
องค์กร ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามกรอบแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนของ
ผู้บริหารสูงสุดซึ่งระบุไว้ในสัญญาจ้าง ตามทีก่ ระทรวงการคลังกำหนด
ค่าตอบแทนรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ เป็นไปตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนซึ่งได้รับความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง นอกจากนี้ยังมีค่าตอบแทนอื่นทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
ได้แก่ เงิน เดือน โบนัส รถยนต์ประจำตำแหน่ง สิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่น ๆ ตามระเบียบ ข้อบังคับ
ของ กฟน.
ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง หน่วย : ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561 ปี 2563 กับ 2562
เพิ่ม (ลด) ร้อยละ
ค่าตอบแทน 32.54 32.10 29.82 0.44 1.37
ผลประโยชน์ตอบแทน 3.24 12.96* 0.97 (9.72) (75.00)
หมายเหตุ * ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562 เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ มีการปรับ “ค่าชดเชยและ
ปรับเพิ่มเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน โดยปรับเพิ่มจาก 300 วัน เป็น 400 วัน” ส่งผลให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงขึ้น
118

รายงานผลการปฏิ บัติ งานตามพระราชบัญ ญั ติ ข้อ มูลข่ าวสารของราชการ


พ.ศ. 2540 ประจำปีงบประมาณ 2563
การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
• กฟน. มีคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารในการไฟฟ้านครหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแล
การเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามหลั กความโปร่งใส และตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอย่าง
ยุติธรรม ตลอดจนกำหนดให้มีการประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงาน และพิจารณาข้อปรึกษาต่าง ๆ หรือเมื่อ
มีกรณีเร่งด่วน
• มีระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วย ข้อมูลข่าวสารของการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2556
• มีคำสั่ งการไฟฟ้านครหลวง ที่ 42/2556 เรื่อง คู่มือปฏิบัติในการให้ บริการข้อมูลข่าวสาร ของการไฟฟ้า
นครหลวง
• จั ดให้ มีศูน ย์ บริการข้อมูลข่าวสารการไฟฟ้านครหลวง (ศบส.) ที่บริเวณชั้น 1 อาคารสำนักงาน
เพลินจิต การไฟฟ้านครหลวง ทำหน้าที่จัดดำเนินการข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ
ราชการ พ.ศ. 2540 กำหนด และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้กับหน่วยงาน
ต่าง ๆ ภายใน กฟน.
• เว็บไซต์ของศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการไฟฟ้านครหลวง เป็นการเผยแพร่ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามที่กฎหมายได้ก ำหนด ที่ https://www.mea.or.th/minisite/info สำหรับประชาชนทั่วไปเป็นการเพิ่ม
ช่องทางในการค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยได้ปรับปรุงรูปแบบใหม่ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 มี
ผู้สนใจเยี่ยมชม จำนวน 335,412 ราย (ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2563)
• เว็ บ ไซ ต์ ศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่ าว ส ารอิ เล็ ก ท รอ นิ ก ส์ ข อ งราช ก าร ก ารไฟ ฟ้ าน ค รห ล ว ง ที่
http://www.oic.go.th/infocenter49/4925/#Template ที่กำหนดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร บนเว็บไซต์
ของหน่ ว ยงานรั ฐ จั ด ทำโดยสำนั ก งานคณะกรรมการข้ อ มู ล ข่ าวสารของราชการ สำนั ก งานปลั ด สำนั ก
นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เริ่มจัดทำข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม 2562 มีผู้สนใจเยี่ยมชม จำนวน 5,010 ราย (ข้อมูล
วันที่ 30 กันยายน 2563)
• จัดแสดงข้อมูล การประกาศประกวดราคา สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือนตาม
แบบ สขร. 1 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับงานจัดซื้อจัดจ้าง วิธีซื้อ/จ้าง ผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอ ผู้ที่ได้รับ
การคัดเลือกและเหตุผลที่คัดเลือก วงเงินงบประมาณในเว็บไซต์ www.mea.or.th โดยในปีงบประมาณ 2563
มีรายการจัดซื้อจัดจ้างจำนวนทั้งสิ้น 939 รายการ (ข้อมูล 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563)
• ให้บริการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้สิทธิขอข้อมูลจาก กฟน. ตามมาตรา 7 มาตรา 9 และมาตรา
11 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีจำนวน 1,515 ราย (ข้อมูล 1 ตุลาคม 2562
ถึง 30 กันยายน 2563)
• จัดส่งข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของ กฟน. ที่มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องลง
พิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน 6 ฉบับ
119

การดำเนินงานในรอบปี 2563
1. การสมั ค รเข้ า ร่ ว มประกวดศู น ย์ ข้ อ มู ล ข่ า วสารของราชการโดดเด่ น ปี 2563 ของสำนั ก
นายกรั ฐมนตรี โดยสำนั กงานคณะกรรมการข้อมู ล ข่าวสารของราชการ ได้รางวัล ศูน ย์ข้อมูล ข่าวสารของ
ราชการโดดเด่น ได้รับ โล่ประกาศเกียรติคุณของนายกรัฐมนตรีในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปีข องการ
ประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประจำปี 2563
2. การดำเนิ น โครงการ “สิ ท ธิในการรับ รู้ข้อ มูล ข่ าวสารของประชาชน” เพื่ อเป็ น การเผยแพร่ให้
ประชาชนทั่วไปทราบถึงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยลงพื้นที่พบประประชาชนเพื่อให้ความรู้
และแจกเอกสารประกอบการอธิบาย

3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารหน่วยงานรัฐแห่งอื่น โดยคณะผู้บริหารและ


พนักงานการไฟฟ้านครหลวงเยี่ยมชมและศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารของการประปานครหลวง (กปน.) เพื่อ
นำมาปรับใช้ในการพัฒนาและยกระดับศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของการไฟฟ้านครหลวงให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น
120

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

อยู่ระหว่าง สตง. รับรองงบการเงิน

120
121

รายงานของผู้สอบบัญชี

อยู่ระหว่าง สตง. รับรองงบการเงิน

121
122
การไฟฟ้านครหลวง
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท

งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน งบการเงิน
ตามวิธีส่วนได้เสีย เฉพาะกิจการ
หมายเหตุ 31 ธันวาคม 2563 31 ธันวาคม 2562 31 ธันวาคม 2563 31 ธันวาคม 2562
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 3.1 6.1 15,794,189,717 15,772,770,613 15,794,189,717 15,772,770,613
เงินลงทุนชั่วคราว 3.2 3,575 3,542 3,575 3,542
ลูกหนี้การค้า 3.3 6.2 15,985,943,649 15,285,487,002 15,985,943,649 15,285,487,002
ลูกหนี้อื่น 6.3 6,329,471,156 5,863,847,736 6,329,471,156 5,863,847,736
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี 3.6 6.9 971,125 - 971,125 -
พัสดุคงเหลือ 3.4 6.4 8,083,362,754 9,691,039,730 8,083,362,754 9,691,039,730
งานรับเหมาระหว่างทา 13,568,516 12,514,447 13,568,516 12,514,447
เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ 3.5 6.5 15,526,693,295 24,836,071,577 15,526,693,295 24,836,071,577
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 6.6 1,686,387,251 2,052,493,363 1,686,387,251 2,052,493,363
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 63,420,591,038 73,514,228,010 63,420,591,038 73,514,228,010
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุนในการร่วมค้า 3.7 6.7 798,022,521 844,853,184 501,000,000 501,000,000
เงินฝากธนาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน 6.8 3,400,000 3,400,000 3,400,000 3,400,000
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน 3.6 6.9 38,626,713 - 38,626,713 -
ลูกหนี้ไม่หมุนเวียนอื่น 38,605,768 28,445,209 38,605,768 28,445,209
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 3.8 6.10 106,891,686,334 98,572,302,089 106,891,686,334 98,572,302,089
สินทรัพย์สิทธิการใช้ 3.9 5.2 6.11 485,997,213 - 485,997,213 -
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 3.10 6.12 690,248,789 925,758,508 690,248,789 925,758,508
งานระหว่างก่อสร้าง 6.13 41,101,529,282 36,377,346,185 41,101,529,282 36,377,346,185
เงินทุนสะสมเพื่อชาระคืนหนี้สิน 3.11 6.14 14,286,209,926 14,576,175,806 14,286,209,926 14,576,175,806
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 1,683,174 - 1,683,174 -
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 164,336,009,720 151,328,280,981 164,038,987,199 150,984,427,797
รวมสินทรัพย์ 227,756,600,758 224,842,508,991 227,459,578,237 224,498,655,807

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
123
การไฟฟ้านครหลวง
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท

งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน งบการเงิน
ตามวิธีส่วนได้เสีย เฉพาะกิจการ
หมายเหตุ 31 ธันวาคม 2563 31 ธันวาคม 2562 31 ธันวาคม 2563 31 ธันวาคม 2562
หนี้สินและส่วนของทุน
หนี้สินหมุนเวียน
เจ้าหนี้การค้า 6.15 26,487,004,472 29,883,754,560 26,487,004,472 29,883,754,560
เจ้าหนี้อื่น 373,982,026 351,295,148 373,982,026 351,295,148
หนี้สินระยะยาวที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี 3.13 6.18 1,000,000,000 1,072,718,876 1,000,000,000 1,072,718,876
หนี้สินตามสัญญาเช่าที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี 3.14 5.2 6.19 208,476,045 - 208,476,045 -
เงินค้างนาส่งคลัง 6.16 3,510,628,000 428,000,000 3,510,628,000 428,000,000
เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า 2,109,884,301 2,457,127,676 2,109,884,301 2,457,127,676
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 1,770,140,426 1,614,047,642 1,770,140,426 1,614,047,642
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 3.16 6.17 1,441,052,550 3,839,905,832 1,441,052,550 3,839,905,832
รวมหนี้สินหมุนเวียน 36,901,167,820 39,646,849,734 36,901,167,820 39,646,849,734
หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินระยะยาว 3.13 6.18 51,700,000,000 40,809,835,342 51,700,000,000 40,809,835,342
หนี้สินตามสัญญาเช่า 3.14 5.2 6.19 279,228,519 - 279,228,519 -
หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน 3.15 6.20 10,516,739,378 9,984,505,324 10,516,739,378 9,984,505,324
ประมาณการหนี้สินระยะยาว 3.16 6.21 8.2 3,459,989,094 4,579,390,849 3,459,989,094 4,579,390,849
เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6.22 11,392,596,901 17,238,476,549 11,392,596,901 17,238,476,549
รายได้รอการรับรู้ 3.17 6.23 13,093,831,577 13,568,657,852 13,093,831,577 13,568,657,852
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 17,804,407 173,335,862 17,804,407 173,335,862
กองทุนเงินบาเหน็จพนักงาน กฟน. 6.24 878,376,275 842,131,469 878,376,275 842,131,469
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 91,338,566,151 87,196,333,247 91,338,566,151 87,196,333,247
รวมหนี้สิน 128,239,733,971 126,843,182,981 128,239,733,971 126,843,182,981
ส่วนของทุน
ทุนรัฐบาล 358,323,532 358,323,532 358,323,532 358,323,532
กาไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร 99,158,543,255 97,641,002,478 98,861,520,734 97,297,149,294
รวมส่วนของทุน 99,516,866,787 97,999,326,010 99,219,844,266 97,655,472,826
รวมหนี้สินและส่วนของทุน 227,756,600,758 224,842,508,991 227,459,578,237 224,498,655,807

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

(นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์) (นายสันติ นาสินวิเชษฐชัย)


กรรมการและผู้ว่าการ รองผู้ว่าการการเงิน
124
การไฟฟ้านครหลวง
งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน งบการเงิน
ตามวิธีส่วนได้เสีย เฉพาะกิจการ
หมายเหตุ 2563 2562 2563 2562
รายได้
รายได้จากการดาเนินงาน
รายได้จากการจาหน่ายไฟฟ้า 3.19 192,005,708,435 201,478,448,157 192,005,708,435 201,478,448,157
รายได้การค้าและงานรับเหมา 3.19 1,952,253,817 1,163,171,152 1,952,253,817 1,163,171,152
รายได้อื่นจากการดาเนินงาน 3.17 3.19 6.23 6.25 1,879,607,861 1,899,066,354 1,879,607,861 1,899,066,354
รวมรายได้จากการดาเนินงาน 195,837,570,113 204,540,685,663 195,837,570,113 204,540,685,663
รายได้อื่น 3.12 3.19 6.26 1,108,399,411 1,360,052,010 1,208,599,411 1,376,084,010
รวมรายได้ 196,945,969,524 205,900,737,673 197,046,169,524 205,916,769,673
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายจากการดาเนินงาน
ค่าซื้อพลังงานไฟฟ้า 167,948,771,969 177,230,170,000 167,948,771,969 177,230,170,000
ต้นทุนการค้าและงานรับเหมา 1,298,354,416 782,615,114 1,298,354,416 782,615,114
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 10,128,358,212 10,952,427,539 10,128,358,212 10,952,427,539
ค่าตอบแทนผู้บริหาร 6.27 47,435,344 55,237,475 47,435,344 55,237,475
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจาหน่าย 9,201,489,497 8,817,879,810 9,201,489,497 8,817,879,810
ค่าใช้จ่ายอื่นในการดาเนินงาน 6.28 836,103,600 720,200,121 836,103,600 720,200,121
รวมค่าใช้จ่ายจากการดาเนินงาน 189,460,513,038 198,558,530,059 189,460,513,038 198,558,530,059
ค่าใช้จ่ายอื่น 6.29 520,009,647 429,481,030 520,009,647 429,481,030
ต้นทุนทางการเงิน 3.20 1,588,418,894 1,573,123,787 1,588,418,894 1,573,123,787
รวมค่าใช้จ่าย 191,568,941,579 200,561,134,876 191,568,941,579 200,561,134,876
กาไรจากการดาเนินงาน 5,377,027,945 5,339,602,797 5,477,227,945 5,355,634,797
ส่วนแบ่งผลกาไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า 3.7 6.7 53,369,337 58,119,159 - -
กาไรสาหรับปี 6.31 5,430,397,282 5,397,721,956 5,477,227,945 5,355,634,797
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
รายการที่อาจถูกจัดประเภทรายการใหม่
เข้าไปไว้ในกาไรหรือขาดทุนในภายหลัง
ส่วนแบ่งขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการร่วมค้า - (24,982) - -
รายการที่จะไม่ถูกจัดประเภทรายการใหม่
เข้าไปไว้ในกาไรหรือขาดทุนในภายหลัง
ส่วนแบ่งขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการร่วมค้า - (198,634) - -
ผลขาดทุนจากการประมาณการ
ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย (115,578,469) (721,209,138) (115,578,469) (721,209,138)
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสาหรับปี (115,578,469) (721,432,754) (115,578,469) (721,209,138)
กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี 5,314,818,813 4,676,289,202 5,361,649,476 4,634,425,659
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
125
การไฟฟ้านครหลวง
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของทุน
สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท

งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
กาไรสะสม
ทุนรัฐบาล ยังไม่ได้จัดสรร รวม
ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2562 358,323,532 95,742,713,276 96,101,036,808
สารองเงินนาส่งคลังประจาปี 2562 - (2,778,000,000) (2,778,000,000)
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - (721,209,138) (721,209,138)
กาไรสาหรับปี - 5,397,721,956 5,397,721,956
ส่วนแบ่งขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการร่วมค้า - (223,616) (223,616)
ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2562 358,323,532 97,641,002,478 97,999,326,010

ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2563 ตามที่รายงานในปีก่อน 358,323,532 97,641,002,478 97,999,326,010


ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี - (220,650,036) (220,650,036)
ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2563 ที่ปรับปรุงใหม่ 358,323,532 97,420,352,442 97,778,675,974
สารองเงินนาส่งคลังประจาปี 2563 - (3,576,628,000) (3,576,628,000)
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - (115,578,469) (115,578,469)
กาไรสาหรับปี - 5,430,397,282 5,430,397,282
ส่วนแบ่งขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการร่วมค้า - - -
ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2563 358,323,532 99,158,543,255 99,516,866,787

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
126
การไฟฟ้านครหลวง
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของทุน
สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท

งบการเงินเฉพาะกิจการ
กาไรสะสม
ทุนรัฐบาล ยังไม่ได้จัดสรร รวม
ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2562 358,323,532 95,440,723,635 95,799,047,167
สารองเงินนาส่งคลังประจาปี 2562 - (2,778,000,000) (2,778,000,000)
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - (721,209,138) (721,209,138)
กาไรสาหรับปี - 5,355,634,797 5,355,634,797
ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2562 358,323,532 97,297,149,294 97,655,472,826

ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2563 ตามที่รายงานในปีก่อน 358,323,532 97,297,149,294 97,655,472,826


ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี - (220,650,036) (220,650,036)
ยอดคงเหลือ ณ 1 มกราคม 2563 ที่ปรับปรุงใหม่ 358,323,532 97,076,499,258 97,434,822,790
สารองเงินนาส่งคลังประจาปี 2563 - (3,576,628,000) (3,576,628,000)
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - (115,578,469) (115,578,469)
กาไรสาหรับปี - 5,477,227,945 5,477,227,945
ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2563 358,323,532 98,861,520,734 99,219,844,266

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
127
การไฟฟ้านครหลวง
งบกระแสเงินสด
สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน งบการเงิน
ตามวิธีส่วนได้เสีย เฉพาะกิจการ
2563 2562 2563 2562
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดาเนินงาน :
กาไรสาหรับปี 5,430,397,282 5,397,721,956 5,477,227,945 5,355,634,797
รายการปรับกระทบกาไรสาหรับปีเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดาเนินงาน
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจาหน่าย 9,201,489,497 8,817,879,810 9,201,489,497 8,817,879,810
ขาดทุนจากการจาหน่ายสินทรัพย์ 414,744,271 411,215,130 414,744,271 411,215,130
(กาไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 12,372,139 (8,463,438) 12,372,139 (8,463,438)
ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 61,627,906 13,119,314 61,627,906 13,119,314
สารองพัสดุล้าสมัย 122,049,995 14,047,741 122,049,995 14,047,741
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น 338,665,295 23,119,054 338,665,295 23,119,054
รายได้ตัดบัญชี (1,309,705,082) (1,231,986,211) (1,309,705,082) (1,231,986,211)
ภาระผูกพันผลประโยชน์ของพนักงาน 847,133,822 1,781,074,504 847,133,822 1,781,074,504
ประมาณการหนี้สิน 5,338,766,295 7,084,113,133 5,338,766,295 7,084,113,133
ส่วนแบ่งผลกาไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า (53,369,337) (58,119,159) - -
ดอกเบี้ยรับ (517,966,870) (805,695,194) (517,966,870) (805,695,194)
ดอกเบี้ยจ่าย 1,586,653,563 1,571,955,950 1,586,653,563 1,571,955,950
ค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่กระทบเงินสด 25,875,074 2,031,199 (74,324,926) (14,000,801)
กาไรจากการดาเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ 21,498,733,850 23,012,013,789 21,498,733,850 23,012,013,789
และหนี้สินดาเนินงาน
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ดาเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง
ลูกหนี้การค้า (1,254,507,290) 750,213,591 (1,254,507,290) 750,213,591
ลูกหนี้อื่น (75,077,248) (208,276,067) (75,077,248) (208,276,067)
พัสดุคงเหลือ 24,670,725 4,632,619 24,670,725 4,632,619
งานรับเหมาระหว่างทา (1,054,069) 3,805,741 (1,054,069) 3,805,741
เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ 9,309,378,282 (2,267,415,572) 9,309,378,282 (2,267,415,572)
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 366,106,112 (233,010,306) 366,106,112 (233,010,306)
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน 976,294 - 976,294 -
ลูกหนี้ไม่หมุนเวียนอื่น (13,105,519) (658,367) (13,105,519) (658,367)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (1,683,174) - (1,683,174) -
การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินดาเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง)
เจ้าหนี้การค้า (2,927,168,883) 836,889,778 (2,927,168,883) 836,889,778
เจ้าหนี้อื่น 22,686,878 (75,895,259) 22,686,878 (75,895,259)
เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า (318,924,948) (104,066,395) (318,924,948) (104,066,395)
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 68,452,272 37,331,532 68,452,272 37,331,532
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 8,924,139 9,494,425 8,924,139 9,494,425
หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน (492,106,142) (476,823,756) (492,106,142) (476,823,756)
ประมาณการหนี้สินระยะยาว (8,974,585,161) (5,086,137,445) (8,974,585,161) (5,086,137,445)
เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (5,845,879,649) 808,989,750 (5,845,879,649) 808,989,750
รายได้รอการรับรู้ 615,530,881 748,802,441 615,530,881 748,802,441
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (173,335,862) - (173,335,862) -
เงินอุดหนุนรัฐบาลรอการรับรู้ 44,027,928 - 44,027,928 -
กองทุนเงินบาเหน็จพนักงาน กฟน. 36,244,806 24,190,686 36,244,806 24,190,686
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดาเนินงาน 11,918,304,222 17,784,081,185 11,918,304,222 17,784,081,185
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
128
การไฟฟ้านครหลวง
งบกระแสเงินสด
สาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
_______________
หน่วย : บาท

งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน งบการเงิน
ตามวิธีส่วนได้เสีย เฉพาะกิจการ
2563 2562 2563 2562
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน :
เงินสดรับจากเงินลงทุน - 299,960 - 299,960
เงินสดจ่ายในสินทรัพย์ถาวร (21,498,235,854) (20,412,487,656) (21,498,235,854) (20,412,487,656)
เงินสดรับจากดอกเบี้ย 571,114,576 791,762,298 571,114,576 791,762,298
เงินสดจ่ายดอกเบี้ย (158,044,711) (67,365,350) (158,044,711) (67,365,350)
เงินปันผลรับ 100,200,000 16,032,000 100,200,000 16,032,000
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (20,984,965,989) (19,671,758,748) (20,984,965,989) (19,671,758,748)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน :
เงินทุนสะสมเพื่อชาระคืนหนี้สินลดลง 289,965,880 3,714,636,316 289,965,880 3,714,636,316
เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาว 4,000,000,000 - 4,000,000,000 -
เงินสดรับจากการออกพันธบัตร 12,000,000,000 11,800,000,000 12,000,000,000 11,800,000,000
เงินสดจ่ายคืนเงินกู้ระยะยาว (4,000,000,000) (3,000,000,000) (4,000,000,000) (3,000,000,000)
เงินสดจ่ายไถ่ถอนพันธบัตร (1,000,000,000) (4,000,000,000) (1,000,000,000) (4,000,000,000)
เงินสดจ่ายคืนหนี้สินตามสัญญาเช่า (146,462,082) (53,128,633) (146,462,082) (53,128,633)
เงินสดจ่ายดอกเบี้ย (1,561,422,927) (1,529,068,814) (1,561,422,927) (1,529,068,814)
เงินนาส่งคลัง (494,000,000) (4,574,500,000) (494,000,000) (4,574,500,000)
เงินสดสุทธิได้มาในกิจกรรมจัดหาเงิน 9,088,080,871 2,357,938,869 9,088,080,871 2,357,938,869
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ 21,419,104 470,261,306 21,419,104 470,261,306
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด 15,772,770,613 15,302,509,307 15,772,770,613 15,302,509,307
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด 15,794,189,717 15,772,770,613 15,794,189,717 15,772,770,613

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
129

การไฟฟ้านครหลวง
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
__________________________________
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ข้อมูลทั่วไปของการไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้จัดตั้งขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยด้วยทุนประเดิมจากรัฐบาล ตาม
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ กฟน. จะต้องปฏิบัติตามกฎและ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ ปัจจุบันมีที่ทำการสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อาคารวัฒนวิภาส เลขที่ 1192
ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.1.1 จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
1.1.2 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นประโยชน์แก่ กฟน.
1.2 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ขยายตัวเป็นวงกว้าง
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความไม่แน่นอนและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้
การไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าตามมติ
คณะรัฐมนตรี ได้แก่ มาตรการใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 มาตรการส่วนลดค่าไฟฟ้า มาตรการ
ขยายเวลาชำระค่าไฟฟ้า 6 เดือน และมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามผู้บริหารของ กฟน.
ติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ดังกล่าวและประเมินผลกระทบทางการเงินเกี่ยวกับมูลค่าของสินทรัพย์
ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารได้ใช้ประมาณการและดุลยพินิจในประเด็น
ต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง ด้วยข้อมูลที่ดีที่สุดที่ผู้บริหารทราบจนถึงวันที่ในรายงานทางการเงิน
ฉบับนี้
2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน
งบการเงินแสดงรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบ
การเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ออกตามความในมาตรา 11 วรรคสามแห่ง
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
งบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ได้รวมรายการบัญชีต่าง ๆ ของกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานการ
ไฟฟ้านครหลวงไว้ด้วย
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุ นตามวิธ ีส ่วนได้เสียและงบการเงินเฉพาะกิจการ ได้จัดทำขึ้น ด้ว ยข้ อ
สมมติฐานที่ว่าผู้ใช้งบการเงินมีความเข้าใจหลักการและวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย
หลักการบัญชีที่ใช้อาจแตกต่างไปจากหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งใช้ในประเทศอื่น ดังนั้นงบการเงินที่แสดง
เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียและงบการเงินเฉพาะกิจการที่จัดทำขึ้นจึงมิได้มีจุดประสงค์ ที่จะแสดงฐานะการเงิน
ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ให้สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่กำหนดไว้ในประเทศอื่น
งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษจัดทำขึ้นจากงบการเงินที่เป็นภาษาไทย ในกรณีที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน
หรือมีการตีความในสองภาษาแตกต่างกันให้ใช้งบการเงินฉบับภาษาไทยเป็นหลัก
130

3. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
3.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ประกอบด้วยเงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อ
ทวงถาม เงินฝากธนาคารประเภทประจำและเงินลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งไม่มีภาระผูกพัน โดยเงินสด
และรายการเทียบเท่าเงินสดถูกจัดประเภทด้วย ราคาทุนตัดจำหน่าย และวัดมูลค่าภายหลังด้วยวิธีอัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริง
3.2 เงินลงทุนชั่วคราว
กฟน. มีนโยบายนำเงินของการไฟฟ้านครหลวง เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สิน เงินประกันการใช้
ไฟฟ้า และเงินกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ลงทุนในตราสารทางการเงินระยะสั้นที่ออก
โดยกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินของรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยจัดประเภทเป็น เงินสดและรายการเทียบเท่า
เงินสด เงินลงทุนชั่วคราวและเงินฝากสถาบันการเงินทีม่ ีวัตถุประสงค์เฉพาะ
การจัดประเภทและการวัดมูลค่า
เงิ น ลงทุ น ทั ้ ง หมดของ กฟน. จั ด ประเภทรายการด้ ว ยราคาทุ น ตั ด จำหน่ า ย (Amortized cost)
เนื่องจากมีกระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินต้นคงค้างเท่านั้น และมี
รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์การถือครอง เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา โดยวัดมูลค่าเริ่มแรก
ด้วยมูลค่ายุติธรรม บวกต้นทุนในการทำรายการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา ซึง่ เงินลงทุนนัน้ และวัดมูลค่า
ภายหลังด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า
จะเกิดขึ้น
การด้อยค่า
เงินลงทุนที่จัดประเภทด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายทั้งหมดถูกพิจารณาเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความ
เสี่ยงด้านเครดิตต่ำ เนื่องจากเงินลงทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาต่ำ และสามารถจ่าย
ชำระกระแสเงินสดตามสัญญาได้ในระยะเวลาอันใกล้ โดยวัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้นด้วยจำนวนเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งรับรู้ค่าเผื่อผล
ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแสดงเป็นรายการสุทธิมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในงบแสดงฐานะ
การเงิน และรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดรายการ
3.3 ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าวัดมูลค่าเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม และวัดมูลค่าหลังด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายตามวิธี
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง กฟน. ใช้หลักการอย่างง่าย (Simplified approach) ด้วยวิธี provision matrix (roll
rate) ในการวัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยจำนวนเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของลูกหนี้การค้า ก่อนเงินประกัน (เฉพาะลูกหนี้ค่าไฟฟ้า) โดยอัตราผลขาดทุนที่คาด
ว่าจะเกิดขึ้น (expected loss rate) ถูกคำนวณทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ซึ่งได้จากประมาณการจาก
ประสบการณ์ในการเก็บเงินในอดีต สถานะปัจจุบันของลูกหนี้ และปรับปรุงให้สะท้อนถึงการคาดการณ์สภาวะ
ทางเศรษฐกิจในอนาคตที่สนับสนุนและมีความสมเหตุสมผล ซึ่งสามารถหาได้ ณ วันที่รายงาน โดยไม่ต้องใช้
ต้นทุนหรือความพยายามที่มากเกินไป
รายการเพิ่มและลดค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถือเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายได้ในงวด
บัญชีที่เกิดรายการนั้น
131

3.4 พัสดุคงเหลือ
แสดงในราคาทุนถัวเฉลี่ย สำหรับพัสดุที่ไม่เคลื่อนไหวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะตั้งสำรองการเสื่อมสภาพเต็ม
จำนวน ยกเว้นพัสดุ ของคลังอุปกรณ์สถานีย่อยที่ไม่เคลื่อนไหวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ที่สามารถนำไปใช้งานได้จะไม่
ตั้งสำรองการเสื่อมสภาพ แต่ถ้าไม่สามารถนำไปใช้งานได้จะตั้งสำรองการเสื่อมสภาพเต็มจำนวน
3.5 เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ
เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ จัดประเภทรายการด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย (Amortized
cost) เนื่องจากมีกระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินต้นคงค้างเท่านั้น และมี
รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์การถือครองเพื่อรับ กระแสเงินสดตามสัญญา โดยถูกวัดมูลค่าเริ่มแรกด้วย
มูลค่ายุติธรรม บวกต้นทุนในการทำรายการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งเงินฝากสถาบันการเงิน และวัดมูลค่า
ภายหลังด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า
จะเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์และเงื่อนไขเฉพาะในการใช้เงิน ได้แก่
3.5.1 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่ง กฟน. สามารถนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ในกรณีที่มีความจำเป็น
รวมถึงดอกผลเงินประกัน กฟน. นำดอกผลที่เกิดจากเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
3.5.2 เงินกองทุนเงินบำเหน็จพนักงาน กฟน.
3.5.3 เงินฝากเงินทุนสะสมเพื่อประกันภัยตนเอง ซึ่ง กฟน. ได้จัดสรรเงินไว้เป็นเงินทุนสะสมเพื่อประกันภัย
ตนเอง เพื่อสำรองไว้จ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับอาคารและทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงภัย
ปานกลาง โดยจัดสรรเงินเข้าเงินทุนสะสมปีละ 10.00 ล้านบาท จนครบ 40.00 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าการ
เห็นชอบ เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์แยกไว้ต่างหากจากบัญชีเงินฝากธนาคารสำหรับดำเนินงานปกติ
ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคารรับรู้เป็นรายได้ของ กฟน. การจัดสรรเงินเข้าเงินทุนสะสมในแต่ละปีดังกล่าวใกล้เคียง
กับอัตราค่าเบี้ยประกันภัยที่ กฟน. จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทประกันภัยเสมือนเงินทุนสะสมเพื่อประกันภัยตนเองเป็น
บริษัทประกันภัย เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น เงินทุนสะสมฯ จะจ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเช่นเดียวกับบริษัทประกันภัยทั่วไปถือปฏิบัติโดยอนุโลมและอยู่ในดุลย
พินิจของผู้ว่าการเห็นชอบ
3.5.4 เงินคืนรายได้ เป็นเงินที่ กฟน. จัดสรรไว้สำหรับจ่ายชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้า เพื่อนำไปปรับลด
ค่าไฟฟ้าให้ประชาชน ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ที่ สกพ. 5502/ว2229 ลง
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ได้พิจารณาให้แยกบัญชีเงินฝากออกจากบัญชีปกติและรวมดอกเบี้ย โดยจะนำส่งเงิน
ดังกล่าวเมื่อ กกพ. มีมติให้ดำเนินการ
เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะทั้งหมดของ กฟน. พิจารณาเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความ
เสี่ยงด้านเครดิตต่ำ เนื่องจากเงินฝากสถาบันการเงินดังกล่าวมีความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาต่ำ และสามารถ
จ่ายชำระกระแสเงินสดตามสัญญาได้ในระยะเวลาอันใกล้ โดยวัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึน้
ด้วยจำนวนเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนด้าน
เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแสดงเป็นรายการสุทธิมูลค่าตามบัญชีของเงินฝากสถาบันการเงิน ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะใน
งบแสดงฐานะการเงิน และรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดรายการ
3.6 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน
กฟน. ได้ทำการให้เช่าสินทรัพย์ โดยจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าเงินทุน
หากสถานการณ์บ่งชี้ ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของ
พึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า สัญญาเช่ านั้น จะถูกจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าเงินทุน หากสัญญาเช่าดังกล่าว
132

ไม่ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของ พึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า จะ
จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน
รายได้ค่าเช่าจากสัญญาเช่าดำเนินงานจะรับรู้ด้วยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า โดยต้นทุนทางตรง
เริ่มแรกที่เกิดขึ้นจะถูกรวมในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์อ้างอิงและรับรู้ต้นทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุ
สัญญาเช่า สำหรับสัญญาเช่าเงินทุนจะรับรู้เป็นลูกหนี้ ตามสัญญาเช่าด้วยมูลค่าเงินลงทุนสุทธิตามสัญญาเช่า โดย
รับรู้รายได้ทางการเงินตลอดอายุสัญญาเช่าซึ่งสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนรายงวดคงที่ของเงินลงทุนสุทธิตาม
สัญญาเช่า
3.7 เงินลงทุนในการร่วมค้า
กฟน. กฟผ. และ ปตท. ได้ร่วมลงทุน ตามสัญญาร่วมทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม 2546 ในการร่วมค้าที่มี
ลักษณะเป็นการควบคุมร่วมกัน ซึ่งจัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทตามกฎหมายไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2546
ภายใต้ชื่อบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็นสำหรับท่า
อากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 30 35 และ 35 ตามลำดับ เงินลงทุนที่แสดงอยู่ในงบการเงิน
เฉพาะกิจการ บันทึกบัญชีตามวิธีราคาทุน
3.8 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
แสดงตามราคาทุน ณ วันที่ซื้อหรือได้มาหรือก่อสร้างแล้วเสร็จหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคา
คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละประเภทหักมูลค่า
คงเหลือ โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ทั้งนี้ แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและส่วนหนึ่งรับรู้เป็น
ต้นทุนงานก่อสร้างด้วยอัตราค่าใช้จ่ายทางอ้อม อัตราค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ อยู่ระหว่างร้อยละ 3.33 ถึง ร้อย
ละ 33.33 ต่อปี กฟน. ได้บันทึกรายการทรัพย์สินแยกอาคารและส่วนประกอบ ยกเว้น อาคารเก่าที่หมดอายุ
การใช้งานทางบัญชี
3.9 สินทรัพย์สิทธิการใช้
สินทรัพย์สิทธิการใช้จะถูกวัดมูลค่าด้วยราคาทุน ประกอบด้วยมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่า การจ่ายชำระ
ก่อนวันที่สัญญาเช่ามีผล ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกใดๆ รวมถึงประมาณการต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในการรื้อถอนและขน
ย้ายสินทรัพย์ ซึ่งรับรู้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และ
สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ การจ่ายชำระผันแปรที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดัชนีหรืออัตราจะไม่รวม ในมูลค่าสินทรัพย์สิทธิ
การใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า และจะถูกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
สินทรัพย์สิทธิการใช้จะถูกหักค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรงจากวันที่สัญญาเช่ามีผลจนถึงวันที่สิ้นสุดอายุ
การให้ประโยชน์ของสินทรัพย์หรือวันที่สิ้นสุดสัญญาเช่าแล้วแต่วันใดจะเกิดก่อน โดยสินทรัพย์สิทธิการใช้จะถูก
ประเมินผลขาดทุนจากการด้อยค่าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
3.10 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเพื่อสิทธิในการใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่
สามารถแยกจากเครื่องมือ ที่เกี่ยวข้องได้ ตัดจำหน่ายตามอายุการใช้งาน โดยประมาณ 3 - 10 ปี
3.11 เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สิน
กฟน. ได้จัดสรรเงินไว้เป็นเงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สินระยะยาว ซึ่งได้จัดสรรเงินเข้าเงินทุนสะสมตาม
แผนที่กำหนด โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทประจำ แยกไว้ต่างหากจากบัญชีเงินฝากธนาคารสำหรับ
ดำเนินงานปกติ ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคารรับรู้เป็นรายได้ของ กฟน.
เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้ส ิน จัดประเภทรายการด้วยราคาทุนตั ดจำหน่ าย (Amortized cost)
เนื่องจากมีกระแสเงินสดตามสัญญาเป็นการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินต้นคงค้างเท่านั้น และมีรูปแบบการ
133

ดำเนินธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์การถือครองเพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา โดยวัดมูลค่าเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม
บวกต้นทุนในการทำรายการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งเงินฝากสถาบันการเงิน และวัดมูลค่าภายหลังด้วย
ราคาทุนตัดจำหน่ายด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สินถูกพิจารณาเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ
เนื่องจากเงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สินดังกล่าวมีความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาต่ำ และสามารถจ่ายชำระ
กระแสเงินสดตามสัญญาได้ในระยะเวลาอันใกล้ โดยวัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วย
จำนวนเท่ากับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นแสดงเป็นรายการสุทธิของมูลค่าตามบัญชีขั้นต้นของเงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สิน ในงบแสดง
ฐานะการเงิน และรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดรายการ
3.12 รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ
รายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่ างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชีจะปรับมูลค่าโดยใช้อั ตรา
แลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เป็นอัตราอ้างอิง ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศที่เกิดขึ้นรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงวดบัญชีนั้น
3.13 หนี้สินระยะยาว
หนี้สินระยะยาวประกอบด้วยตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม ถูกจัดประเภทรายการด้วยราคาทุนตัด
จำหน่าย (Amortized cost) โดยถูกวัดมูลค่าเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม หักด้วยต้นทุนในการทำรายการซึ่ง
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม และวัดมูลค่าภายหลังด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย
และรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายเข้าสู่ต้นทุนทางการเงินด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่ออกและ
เงินกู้ยืม
3.14 หนี้สินตามสัญญาเช่า
กฟน. ประเมินสัญญาเช่า ณ วันเริ่มต้นสัญญา ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าหรือประกอบด้วยสัญญา
เช่าหรือไม่ โดยจะรับรู้สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า ยกเว้นสัญญาเช่าที่มีอายุสัญญาเช่าเท่ากับ 12
เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือน และสัญญาเช่า ซึ่งสินทรัพย์อ้างอิงมีมูลค่าต่ำ จะรับรู้รายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายใน
การดำเนินงานตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า หรือตามเกณฑ์อื่นใด ที่สะท้อนถึงรูปแบบของประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจที่ กฟน. จะได้รับ
กฟน. วัดมูลค่าเริ่มแรกของหนี้สินตามสัญญาเช่าด้วยมูลค่ายุติธรรมของการจ่ายชำระตามสัญญาเช่าที่
เหลืออยู่คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมส่วนเพิ่ม หรือ อัตราดอกเบี้ยโดยนัย โดยการจ่ายชำระตามสัญญาเช่าที่
รวมอยู่ในการวัดมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่า ประกอบด้วย
- การจ่ายชำระคงที่ (รวมถึงการจ่ายชำระคงที่โดยเนื้อหา) หักลูกหนี้สิ่งจูงใจตามสัญญาเช่าใด ๆ
- การจ่ายชำระค่าเช่าผันแปรที่ขึ้นอยู่กับดัชนีหรืออัตรา ซึ่งการวัดมูลค่าเริ่มแรกใช้ดัชนีหรืออัตรา ณ
วันที่เริ่มสัญญา
- จำนวนเงินที่คาดว่าจะจ่ายชำระภายใต้การรับประกันมูลค่าคงเหลือ
- ราคาใช้สิทธิของสิทธิเลือกซื้อ กรณีที่ กฟน. มีความแน่นอนที่จะใช้สิทธินั้น
- ค่าปรับเพื่อการยกเลิกสัญญาเช่า กรณีที่ กฟน. มีความแน่นอนที่จะใช้สิทธินั้น
หนี้สินตามสัญญาเช่าจะถูกวัดมูลค่าภายหลังโดยการเพิ่มมูลค่าตามบัญชีเพื่อสะท้อนดอกเบี้ยจากหนี้สิน
ตามสัญญาเช่า และการ ลดมูลค่าตามบัญชีเพื่อสะท้อนการชำระการจ่ายชำระตามสัญญาเช่าที่จ่ายชำระแล้ว กฟน.
จะวัดมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่าใหม่โดยใช้อัตรา คิดลดที่ปรับปรุงหากมีการเปลี่ยนแปลงอายุสัญญาเช่าหรือมีการ
134

เปลี่ยนแปลงการประเมินสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลง สัญญาเช่าที่ไม่ถือเป็นสัญญาแยกต่างหาก


และจะวัดมูลค่าหนี้สินตามสัญญาเช่าใหม่โดยใช้อัตราคิดลดเดิมหากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ คาดว่าจะต้อง
จ่ายชำระภายใต้การรับประกันมูลค่าคงเหลือ หรือการจ่ายชำระที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงดัชนีหรืออัตรา
ทั้งนี้ ไม่มีการปรับปรุงใด ๆ สำหรับหนี้สินตามสัญญาเช่าที่รับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
3.15 หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน
หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานเป็นภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ (Defined benefit
obligation) ซึ่งคำนวณโดย ใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected unit credit method) อัน
เป็นประมาณการจากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายในอนาคต คำนวณคิ ดลดโดยใช้
อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลที่มีกำหนดเวลาใกล้เคียงกับระยะเวลาของหนี้สินดังกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญ
ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ของ กฟน. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงานจะถูกบันทึกในกำไร
หรือขาดทุนเพื่อกระจายต้นทุนดังกล่าวตลอดระยะเวลาของการจ้างงาน
3.16 ประมาณการหนี้สิน
กฟน. จะบันทึกประมาณการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินก็ต่อเมื่อ กฟน. มีภาระหนี้สินเกิดขึ้นจากข้อ
พิพาททางกฎหมายหรือจากการคาดการณ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้
ค่อนข้างแน่ที่ทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สินดังกล่าว โดยจำนวนเงิน
ตามภาระหนี้สินสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากจำนวนที่ประมาณไว้
ประมาณการหนี้สินที่คาดว่าจะถึงกำหนดชำระในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปจัดประเภทเป็นประมาณการ
หนี้สินระยะสั้นภายใต้หนี้สินหมุนเวียนอื่น และประมาณการหนี้สินที่คาดว่าจะถึงกำหนดชำระเกินกว่า 1 ปี จัด
ประเภทเป็นประมาณการหนี้สินระยะยาว
3.17 รายได้รอการรับรู้
3.17.1 เงินสมทบการก่อสร้างระบบจำหน่ายรอการรับรู้ เป็นเงินที่ กฟน. เรียกเก็บจากผู้ขอใช้ไฟฟ้า
เพื่อนำมาแบ่งเบาภาระในการก่อสร้างสินทรัพย์และอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์
ตลอดจนภาระในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเป็นของ กฟน. เงินสมทบการก่อสร้างระบบจำหน่ายดังกล่าว
แสดงรายการไว้เป็นรายได้รอการรับรู้ และรับรู้เป็นรายได้จากการดำเนินงานในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เพื่อให้
สอดคล้องกับการคิดอัตราค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ในระบบจำหน่ายส่วนที่เรียกเก็บเงินสมทบการก่อสร้างระบบ
จำหน่ายจากผู้ขอใช้ไฟฟ้าซึ่งกำหนดอายุการใช้งานไว้โดยเฉลี่ย 20 ปี
3.17.2 สินทรัพย์จากการบริจาค ที่นำมาใช้ในการดำเนินงานและก่อให้เกิดรายได้โดยตรงบันทึก
บัญชีสินทรัพย์คู่กับรายได้จากการรับบริจาครอการรับรู้และรับรู้เป็นรายได้ในอัตราที่สอดคล้องกับการคิดค่า
เสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ส่วนสินทรัพย์จากการบริจาคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยตรง
บันทึกบัญชีรับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวนในงวดบัญชีที่รับบริจาค
3.17.3 เงิน อุดหนุนจากรัฐ บาล เป็นเงินที่ กฟน. ได้รับจากรัฐบาลเพื่อชดเชยความเสียหายต่อ
สินทรัพย์อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง และเพื่อรองรับโครงการของรัฐบาลกรณีฉุกเฉินหรือ
จำเป็น โดยบันทึกเป็นรายได้รอการรับรู้ และเมื่อสินทรัพย์ก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถใช้งานได้ จะรับรู้
เป็นรายได้ตามอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น
3.18 เครื่องมือทางการเงิน
สินทรัพย์ทางการเงิน ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินของ กฟน. ประกอบด้วย เงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินฝากธนาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน ลูกหนี้ไม่หมุนเวียนอื่น และเงินทุนสะสมเพื่อชำระ
135

คืนหนี้สิน ส่วนหนี้สินทางการเงิน หมายถึง สัญญาที่ทำให้ กฟน. เกิดภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติ ประกอบด้วย


เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น เงินค้างนำส่งคลัง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืม
ระยะยาว เงินประกันการใช้ไฟฟ้า และหนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น นโยบายการบัญชีเฉพาะสำหรับรายการแต่ละ
รายการได้เปิดเผยแยกไว้ในแต่ละหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
3.19 การรับรู้รายได้
รายได้ซึ่งแสดงถึงรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมปกติของ กฟน. รับรู้โดยอ้างอิงจากภาระที่ต้อ ง
ปฏิบัติที่แตกต่างกันตามสัญญาที่ทำกับผู้ใช้ไฟ/ลูกค้า รายได้จากสัญญาที่ทำกับผู้ใช้ไฟ/ลูกค้าวัดมูลค่าด้วยราคา
ของแต่ละรายการ จำนวนของสิ่งตอบแทนที่ กฟน. คาดว่าจะได้รับจากการแลกเปลี่ยนเพื่อการโอนสินค้าหรือ
บริการตามสัญญากับผู้ใช้ไฟ/ลูกค้า สินค้าและบริการ การคืนเงิน และค่าปรับมีการปันส่วนราคาให้กับภาระที่ต้อง
ปฏิบัติแต่ละรายการด้วยเกณฑ์ราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันที่ระบุไว้ในสัญญา การ
รับรู้รายได้จะรับรู้เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ตลอดช่วงเวลาหนึ่งโดยขึ้นอยู่กับ
เนื้อหาของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ไฟ/ลูกค้ารายนั้น
รายได้จากการขายพลังงานไฟฟ้า
รายได้จากการจัดหาและจำหน่ายกระแสไฟฟ้ าของ กฟน. มีแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การ
ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
สัญญาที่ทำกับผู้ใช้ไฟคือการจัดหาไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ โดย กฟน. พิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้าง
แน่ที่จะเรียกเก็บสิ่งตอบแทนจากผู้ใช้ไฟ หากพิจารณาแล้วว่า กฟน. ไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเรียกเก็บ
สิ่งตอบแทนจากผู้ใช้ไฟ จะรับรู้รายได้ เมื่อ กฟน. ได้รับสิ่งตอบแทนโดยที่ผู้ใช้ไฟไม่มีสิทธิเรียกคืนและ กฟน. ไม่มี
ภาระผูกพันคงค้างในการส่งมอบไฟฟ้าเหลืออยู่
การจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟเป็นสัญญาที่จะถ่ายโอนชุดของสินค้าที่แตกต่างกันที่มีลักษณะ
เนื้อหาโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน และมีรูปแบบการส่งมอบให้ผู้ใช้ไฟเหมือนกัน ภาระที่ต้องปฏิบัติในการจ่าย
กระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟจะเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่งโดยผู้ใช้ไฟจะได้รับและบริโภคไฟฟ้า ไปพร้อมกับการ
ปฏิบัติงานของ กฟน. ดังนั้น รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าจะรับรู้ตลอดช่วงเวลาหนึ่งเมื่อลูกค้ามีการใช้ไฟฟ้า
โดยทั่วไปผู้ใช้ไฟจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นรายเดือนตามจำนวนที่ กฟน. มีสิทธิในการเรียกเก็บเงิน เพื่อให้
สอดคล้องกับผู้ใช้ไฟ รายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจะรับรู้เป็นรายเดือน
รายได้จากการขายสินค้าและบริการ
การรับรู้รายได้จากการขายสินค้ากระทำเมื่อมีการโอนการควบคุมสินค้านั้น เมื่อมีการส่งมอบสินค้าไป
ให้กับผู้ใช้ไฟและไม่มีภาระที่ต้องปฏิบัติที่คงค้างที่อาจส่งผลกระทบต่อการยอมรับอุปกรณ์ของผู้ใช้ไฟ/ลูกค้า การ
จัดส่งเกิดขึ้นเมื่อมีการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ ความเสี่ยงของการล้าสมัยและการสูญหายได้รับการ
โอนไปยังผู้ใช้ไฟ/ลูกค้า และผู้ใช้ไฟ/ลูกค้าได้ยอมรับสินค้าตามสัญญา
รายได้จากงานรับเหมา
รายได้จากงานรับเหมาและรายได้จากงานบริการอื่น ๆ จะรับรู้รายได้ตามระยะเวลาที่ให้บริการ หรือ
เมื่อให้บริการเสร็จสิ้น ขึ้นอยู่กับการเสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ ในกรณีที่มีการรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง
จะรับรู้รายได้ตามการให้บริการจริงที่ทำให้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานตามสัดส่วนของบริการทั้งหมดที่
ให้บริการเนื่องจากผู้ใช้ไฟ/ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์พร้อมกัน หรืออ้างอิงถึงขั้นความสำเร็จของงานซึ่งประเมิน
โดยการอ้างอิงตามอัตราส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับต้นทุนโดยประมาณทั้งหมดสำหรับแต่ละสัญญา ณ วันที่
รายงาน นอกเหนือจากนั้นจะรับรู้รายได้ทันที ณ เวลาที่ผู้ใช้ไฟ/ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์จากงานบริการนั้น
136

สำหรับการให้บริการงานรับเหมาหรืองานบริการที่มีการรับประกัน จะบันทึกประมาณการหนี้สินจาก
การรับประกัน เนื่องจาก การรับประกันดังกล่าวเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ กับลูกค้าว่างานบริการนั้นทำให้
อุปกรณ์สามารถใช้งานได้อย่างที่ตั้งใจตามคุณลักษณะที่ตกลงกัน
รายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม
รายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมจะรับรู้รายได้ตามระยะเวลาที่ให้บริการ หรือเมื่อให้บริการ
เสร็จสิ้น ขึ้นอยู่กับการ เสร็จสิ้นของภาระที่ต้องปฏิบัติ กฟน. มีการรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะรับรู้
รายได้ตามการให้บริการจริง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานตามสัดส่วนของบริการทั้งหมดที่ให้บริการ เนื่องจาก
ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์พร้อมกัน
รายได้ดอกเบี้ย
รายได้ดอกเบี้ย รับรู้ตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
3.20 ต้นทุนทางการเงิน
ต้นทุนทางการเงิน เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาเงินทุนมาดำเนินงาน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่ายและ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินกู้ระยะยาว
ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้ระยะยาวที่กู้มาเพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์นั้นอยู่
ระหว่างการก่อสร้าง รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนงานระหว่างก่อสร้าง ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากงานก่อสร้าง
แล้วเสร็จรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินกู้ระยะยาว รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
4. มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการบัญชี และการตีความ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ออกและปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มี
รายละเอียดดังนี้
มีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง ข้อตกลงสัมปทานบริการ
ฉบับที่ 12
- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง การชำระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน
ฉบับที่ 19
- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง ต้นทุนการเปิดหน้าดินในช่วงการผลิตสำหรับ
ฉบับที่ 20 เหมืองผิวดิน
- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและสิ่ง
ฉบับที่ 22 ตอบแทนรับหรือจ่ายล่วงหน้า
มีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
- กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน
- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลง
ประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล
137

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น


และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจ
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 เรื่อง การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน
- การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน - ต้นทุนเว็บไซต์
การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกใหม่และปรับปรุงใหม่มาถือปฏิบัติ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 กฟน. ได้นำมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การ
ตีความมาตรฐานการบัญชีและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกใหม่และปรับปรุงใหม่ที่ออก
โดยสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งกำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1
มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยการถือปฏิบัติดังกล่าวไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของ
กฟน. ยกเว้นมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามข้อ 5
5. การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่มาถือปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
5.1 นโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไปจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทาง
การเงิน และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่า มาถือปฏิบัติ
5.1.1 มาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน
การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า
สินทรัพย์ทางการเงิน
สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย หรือมูลค่ายุติธรรมโดยขึ้นอยู่กับ
รูปแบบการดำเนินธุรกิจของ กฟน. ในการบริหารสินทรัพย์ทางการเงิน และลักษณะของกระแสเงินสดตาม
สัญญาของสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย
• สินทรัพย์ทางการเงินที่รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อการถือครองเพื่อรับกระแสเงินสดตาม
สัญญา และกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นตามสัญญากำหนดไว้เป็นการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากจำนวนเงินต้น
คงค้าง จะถูกวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย (AMC) ด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
• สินทรัพย์ทางการเงินที่รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อการถือครองเพื่อรับกระแสเงินสดตาม
สัญญาและเพื่อขาย และกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นตามสัญญากำหนดไว้เป็นการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจาก
จำนวนเงินต้นคงค้างจะถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVTOCI)
• สินทรัพย์ทางการเงินอื่น จะถูกวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL)
หนี้สินทางการเงิน
สำหรับหนี้สินทางการเงินที่จัดประเภทและวัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายจะถูกวัดมูลค่า
เริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรมบวกต้นทุนการทำรายการ และรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายและตัดจำหน่ายหนี้สินทางการเงิน
ด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
การด้อยค่า
กฟน. รั บ รู ้ ค ่ า เผื ่ อ ผลขาดทุ น ด้ า นเครดิ ต ที ่ ค าดว่ า จะเกิ ด ขึ ้ น โดยใช้ ห ลั ก การอย่ า งง่ า ย
(Simplified Approach) สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายและมูลค่ายุติธรรม
138

ผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น วัดมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นด้วยจำนวนที่เท่ากับ


ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินสำหรับลูกหนี้การค้า และวัดมูลค่า
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าสำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยง ด้าน
เครดิตต่ำ
5.1.2 มาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องสัญญาเช่า
การระบุสัญญาเช่า
กฟน. มีสัญญาเช่าที่ดิน อาคาร อุปกรณ์และรถยนต์ โดยสัญญาเช่าส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเช่า
คงที่จำนวน 1 ปี ถึง 30 ปี โดยบางสัญญามีเงื่อนไขให้สามารถต่อสัญญาได้ ก่อนปี พ.ศ. 2563 กฟน. ได้จัด
ประเภทสัญญาเช่าที่ดิน อาคาร อุปกรณ์และรถยนต์ เป็นสัญญาเช่าประเภทสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่า
ดำเนินงาน โดยค่าเช่าที่จ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานสุทธิจากเงินจูงใจตามสัญญาเช่าที่ได้รับจากผู้ ให้เช่า
รับรู้ตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 กฟน. รับรู้สัญญาเช่าเมื่อ กฟน. สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ตามสัญญา
เช่าเป็นสินทรัพย์สิทธิ การใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า โดยค่าเช่าที่ชำระจะปันส่วนเป็นการจ่ายชำระหนี้สิน
และต้นทุนทางการเงิน โดยต้ นทุนทางการเงินรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนตลอดระยะเวลาสัญญาเช่าด้วยอัตรา
ดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่าจากยอดหนี้สินตามสัญญาเช่าที่คงเหลืออยู่ กฟน. คิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์สิทธิ
การใช้ ต ามวิ ธ ี เ ส้ น ตรงตามอายุ ก ารใช้ ง านของสิ น ทรั พ ย์ สำหรั บ สั ญ ญาเช่ า ที ่ ก ่ อ นหน้ า จั ด ประเภท
เป็นสัญญาเช่าการเงิน กฟน. บันทึกมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า ณ วันที่
1 มกราคม 2563 เป็นมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงินและหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินที่
วัดมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า
นอกจากนี้ กฟน. ได้ปฏิบัติตามวิธีผ่อนปรนในทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ใช้อัตราคิดลดอัตราเดียวสำหรับกลุ่มสัญญาเช่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างสมเหตุสมผล
• รับรู้สัญญาเช่าที่อายุสัญญาเช่าสิ้นสุดภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ 1 มกราคม 2563 ใน
ลักษณะเดียวกับสัญญาเช่าระยะสั้น
• ไม่รวมต้นทุนทางตรงเริ่มแรกในการวัดมูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2563
5.2 ผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่มาถือปฏิบัติ
กฟน. ได้นำมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน (TAS 32, TFRS 7 และ TFRS
9) และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS 16) มาถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2563 โดย กฟน. รับรู้ผลกระทบสะสมจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดั งกล่าวเป็น
รายการปรับปรุงย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และไม่ได้ทำการปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินที่แสดง
เปรียบเทียบสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีในปี 2562 ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถกระทำได้ตามข้อกำหนดของ
มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว
การปรับปรุงรายการแต่ละรายการในงบแสดงฐานะทางการเงินจากการปรับใช้มาตรฐานการรายงาน
ทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน (TAS 32 และ TFRS 9) และมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่อง
สัญญาเช่า (TFRS 16) เป็นครั้งแรกมีดังนี้
139

5.2 ผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่มาถือปฏิบัติ (ต่อ)

หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
เพิ่มขึ้น (ลดลง)
มาตรฐาน มาตรฐาน
ตามนโยบาย การรายงาน การ
ตามนโยบาย
การบัญชีเดิม ทางการเงิน รายงาน
การบัญชีใหม่
31 ธันวาคม กลุม่ ทาง
1 มกราคม 2563
2562 เครื่องมือ การเงิน
ทางการเงิน ฉบับที่ 16
สินทรัพย์หมุนเวียน
ลูกหนี้การค้า 15,285.49 (220.65) - 15,064.84
ลูกหนี้อื่น 5,863.85 - (30.55) 5,833.30
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ลูกหนี้อื่นไม่หมุนเวียน 28.45 - (2.95) 25.50
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 98,572.30 - (157.25) 98,415.05
สินทรัพย์สิทธิการใช้ - - 479.76 479.76
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระภายในหนึ่งปี 1,072.72 - (72.72) 1,000.00
หนี้สินตามสัญญาเช่าที่ถึง
กำหนดชำระภายในหนึ่งปี - - 24.99 124.99
หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินระยะยาว 40,809.84 - (109.84) 40,700.00
หนี้สินตามสัญญาเช่า - - 346.58 346.58
ส่วนของทุน
กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร 97,641.00 (220.65) - 97,420.35
140

5.2 ผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่มาถือปฏิบัติ (ต่อ)

หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินเฉพาะกิจการ
เพิ่มขึ้น (ลดลง)
มาตรฐาน มาตรฐาน
ตามนโยบาย การรายงาน การ
ตามนโยบาย
การบัญชีเดิม ทางการเงิน รายงาน
การบัญชีใหม่
31 ธันวาคม กลุม่ ทาง
1 มกราคม 2563
2562 เครื่องมือ การเงิน
ทางการเงิน ฉบับที่ 16
สินทรัพย์หมุนเวียน
ลูกหนี้การค้า 15,285.49 (220.65) - 15,064.84
ลูกหนี้อื่น 5,863.85 - (30.55) 5,833.30
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ลูกหนี้อื่นไม่หมุนเวียน 28.45 - (2.95) 25.50
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 98,572.30 - (157.25) 98,415.05
สินทรัพย์สิทธิการใช้ - - 479.76 479.76
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระภายในหนึ่งปี 1,072.72 - (72.72) 1,000.00
หนี้สินตามสัญญาเช่าที่ถึง
กำหนดชำระภายในหนึ่งปี - - 124.99 124.99
หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินระยะยาว 40,809.84 - (109.84) 40,700.00
หนี้สินตามสัญญาเช่า - - 346.58 346.58
ส่วนของทุน
กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร 97,297.15 (220.65) - 97,076.50
141

5.2 ผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่มาถือปฏิบัติ (ต่อ)


การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงินมาถือปฏิบัติมีผลกระทบต่อวิธี
ปฏิบัติทางบัญชีของ กฟน. ที่เป็นสาระสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ได้กำหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชี
เกี่ยวกับการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน และการด้อยค่า
ของสินทรัพย์ทางการเงิน โดย กฟน. เลือกปรับปรุงผลกระทบสะสมจากการถือปฏิบัติครั้งแรกเป็นรายการ
ปรับปรุงกับกำไรสะสม ณ วั นที่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งมีผลทำให้กำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ลดลง
จำนวน 220.65 ล้านบาท อันเป็นผลจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน ส่วนเรื่องการจัดประเภทและ
การวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินนั้นไม่ส่งผลกระทบต่องบการเงินของ กฟน.
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า
กฟน. ได้นำ TFRS 16 มาถือปฏิบัติ โดยการรับรู้หนี้สินตามสัญญาเช่าสำหรับสัญญาเช่าที่ได้เคยถูกจัด
ประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 (TAS 17) เรื่อง สัญญาเช่า ทั้งนี้ หนี้สินตาม
สัญญาเช่า ณ วันที่นำ TFRS 16 มาถือปฏิบัติดังกล่าวรับรู้ด้วยมูลค่าปัจจุบันของหนี้สินที่ต้องชำระ คิดลดด้วย
อัตรากู้ยืมส่วนเพิ่ม ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 อัตราคิดลดดังกล่าว อยู่ระหว่างร้อยละ 1.78 ถึงร้อยละ 2.60
สำหรับสัญญาเช่าเดิม กฟน. ได้รับรู้และวัดมูลค่าเป็นสัญญาเช่าการเงินตาม TAS 17 นั้น รับรู้ด้วย
มูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงินและหนี้สินตามสัญญาเช่า ณ วันที่นำ TFRS 16 มาถือปฏิบัติ
ครั้งแรก โดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า ทั้งนี้ กฟน. เริ่มนำข้อกำหนดของ
การรับรู้รายการภายใต้ TFRS 16 มาถือปฏิบัติกบั รายการดังกล่าวภายหลังวันที่ถือปฏิบัติครั้งแรก
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 289.01
บวก หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 182.56
หนี้สินตามสัญญาเช่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 471.57

หนี้สินตามสัญญาเช่า - ส่วนที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปี 124.99


หนี้สินตามสัญญาเช่า - ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกิน 1 ปี 346.58
หนี้สินตามสัญญาเช่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 471.57
142

6. ข้อมูลเพิ่มเติม
6.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เงินสด 27.12 79.77
เงินฝากธนาคาร :
เงินฝากกระแสรายวัน 66.34 (252.73)
เงินฝากออมทรัพย์ 15,700.73 5,775.78
เงินฝากประจำ - 8,570.00
รวมเงินฝากธนาคาร 15,767.07 14,093.05
เงินลงทุนในตราสารหนี้ครบกำหนดไม่เกิน 3 เดือน - 1,599.95
รวม 15,794.19 15,772.77
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ 2562 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 15,794.19 ล้าน
บาท และ 15,772.77 ล้านบาท มีส่วนหนึ่ง จำนวน 12,004.20 ล้านบาท และ 13,958.44 ล้านบาท ตามลำดับ
เพื่อสำหรับจ่ายชำระหนี้ค่าซื้อกระแสไฟฟ้าในต้นงวดถัดไป
6.2 ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้า จำแนกตามประเภทและอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ ดังนี้
143

6.2 ลูกหนี้การค้า (ต่อ)


หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
และงบการเงินเฉพาะกิจการ
ลูกหนี้ส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจ ลูกหนี้เอกชน รวม
ระยะเวลาที่ค้างชำระ ค่าไฟฟ้า ค่าสินค้า ค่าไฟฟ้า ค่าสินค้า 2563
และบริการ และบริการ
1 เดือน - 6 เดือน 2,117.83 247.23 14,544.26 185.18 17,094.50
เกินกว่า 6 เดือน - 1 ปี 67.51 82.20 274.84 1.42 425.97
เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป 25.06 197
125.44 269.26 14.33 434.09
รวม 2,210.40 454.87 15,088.36 200.93 17,954.56
หัก ภาษีขายยังไม่ถึง (143.82) (29.71) (12.43)
กำหนดชำระ 2,066.58 425.16 (984.59)
14,103.77 188.50 (1,170.55)
16,784.01
หัก ค่าเผื่อผลขาดทุน
ด้เครดิ
าน ตที่คาดว่าจะ (152.63) (21.94)
เกิ
ลูกดหนี
ขึ้น้การค้า - สุทธิ (25.00)
2,041.58 272.53 (598.50)
13,505.27 166.56 (798.07)
15,985.94
หน่วย : ล้านบาท
ลูกหนี้ส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจ ลูกหนี้เอกชน รวม
ระยะเวลาที่ค้างชำระ ค่าไฟฟ้า ค่าสินค้า ค่าไฟฟ้า ค่าสินค้า 2562
และบริการ และบริการ
1 เดือน - 6 เดือน 2,123.50 72.75 13,840.5 8.21 16,044.97
เกินกว่า 6 เดือน - 1 ปี 42.61 21.01 14.211 6.85 84.68
เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป 49.63 197
180.27 260.09 5.66 495.65
รวม 2,215.74 274.03 14,114.8 20.72 16,625.30
หัก ภาษีขายยังไม่ถึง (144.54) (18.85) 1 (0.70)
กำหนดชำระชำระ 2,071.20 255.18 (921.08)
13,193.7 20.02 (1,085.17)
15,540.13
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ (- (-) (245.77)3 (8.87)
สูลูญ
กหนี้การค้า - สุทธิ ) 2,071.20 255.18 12,947.9 11.15 (254.64)
15,285.49
6
สำหรับปี 2563 กฟน. รับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้การค้า ซึ่งแสดงใน
ค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินงาน ในงบกำไรขาดทุน เท่ากับ 322.78 ล้านบาท
144

6.2 ลูกหนี้การค้า (ต่อ)


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ลูกหนี้ค่าไฟฟ้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ ได้แก่ กองทัพบก 149.53
ล้านบาท สำนักพระราชวัง 78.16 ล้านบาท การประปานครหลวง 67.62 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน 59.67 ล้านบาท และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 56.66 ล้านบาท
6.3 ลูกหนี้อื่น
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562

เงินจ่ายล่วงหน้า 5,771.20 5,321.14


รายได้ค้างรับ 464.95 414.68
ลูกหนี้อื่น ๆ 93.32 128.03
รวม 6,329.47 5,863.85

6.4 พัสดุคงเหลือ
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562

พัสดุคงคลัง 7,855.19 7,531.99


พัสดุระหว่างทาง 445.60 2,254.43
8,300.79 9,786.42
หัก สำรองพัสดุล้าสมัย (217.43) (95.38)
พัสดุคงเหลือ - สุทธิ 8,083.36 9,691.04

ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2563 และ 2562 พัส ดุคงเหลือ - สุทธิ จำนวน 8,083.36 ล้านบาท และ
9,691.04 ล้านบาท ประกอบด้วยพัสดุเพื่อการลงทุน 7,327.10 ล้านบาท และ 8,829.03 ล้านบาท และพัสดุ
เพื่อการดำเนินงาน 756.26 ล้านบาท และ 862.01 ล้านบาท ตามลำดับ
145

6.5 เงินฝากสถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ
6.22)เงินฝากออมทรัพย์ 820.15 94.97
เงินฝากประจำ 10,550.00 17,080.00
11,370.15 17,174.97
ดอกผลเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
เงินฝากออมทรัพย์ 44.16 63.77
เงินฝากประจำ 60.01 221.01
104.17 284.78
กองทุนเงินบำเหน็จฯ
เงินฝากออมทรัพย์ 11.01 12.27
เงินฝากประจำ 826.77 791.10
837.78 803.37
เงินทุนสะสมเพื่อประกันภัยตนเอง
เงินฝากออมทรัพย์ 39.66 39.69

เงินคืนรายได้ กฟน.
เงินฝากออมทรัพย์ 3,174.93 6,533.26
รวม 15,526.69 24,836.07

6.6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อรอการโอน 1,673.76 2,040.11
อื่น ๆ 12.63 12.38
รวม 1,686.39 2,052.49
146

6.7 เงินลงทุนในการร่วมค้า
กฟน. ได้ร่วมลงทุนในบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ซึ่งบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนเป็นหุ้นสามัญ
จำนวน 167 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท เป็นเงิน 1,670.00 ล้านบาท โดย กฟน. มีสัดส่วนการลงทุน
ร้อยละ 30 คิดเป็น 50.10 ล้านหุ้น เป็นเงิน 501.00 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ของบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงิน
ปันผลสำหรับกำไรสะสมปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 2.00 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 334.00 ล้านบาท กฟน.
ได้รับเงินปันผล จำนวน 100.20 ล้านบาท
เงินลงทุนที่แสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
เงินลงทุน 501.00 501.00
รับรู้ผลกำไร (ขาดทุน) จากการร่วมค้า
ผลกำไรยกมาต้นงวด 343.85 301.99
ผลกำไรสำหรับปี 53.37 58.12
เงินปันผลรับ (100.20) (16.03)
ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย - (0.03)
ผลขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย - (0.20)
รวม 297.02 343.85
คงเหลือเงินลงทุน 798.02 844.85
6.8 เงินฝากธนาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เงินฝากธนาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน
จำนวน 3.40 ล้านบาท เป็นเงินฝากประจำที่นำไปค้ำประกันตัวพนักงานกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
1.40 ล้านบาท และค้ำประกัน เงิน กู้ข องพนัก งานกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 2.00 ล้านบาท
ตามลำดับ
6.9 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุน 39.60 -
หัก ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเงินทุนที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี -
(0.97)
รวม 38.63 -
147

6.10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วย


หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และงบการเงินเฉพาะกิจการ
ที่ดินและ สินทรัพย์ สินทรัพย์ สินทรัพย์ รวม
สิทธิเหนือที่ดิน ระบบส่ง ระบบจำหน่าย ทั่วไป
ราคาทุน
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 3,576.75 69,871.05 118,170.96 20,433.61 212,052.37
ปรับปรุงผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
(-) (-) (-) (367.46) (367.46)
(หมายเหตุประกอบงบ
การเงินข้อ 5.2)
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563
3,576.75 69,871.05 118,170.96 20,066.15 211,684.91
หลังปรับปรุง
- เพิ่มขึ้น 443.74 8,121.95 6,855.22 1,918.38 17,339.29
- โอนออก (-) (1.50) (-) (-) (1.50)
- จำหน่าย (-) (94.94) (502.14) (490.91) (1,087.99)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 4,020.49 77,896.56 124,524.04 21,493.62 227,934.71
ค่าเสื่อมราคาสะสม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 - 37,471.32 63,773.00 12,235.75 113,480.07
ปรับปรุงผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
(-) (-) (-) (210.21) (210.21)
(หมายเหตุประกอบงบ
การเงินข้อ 5.2)
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563
- 37,471.32 63,773.00 12,025.54 113,269.86
หลังปรับปรุง
- เพิ่มขึ้น - 2,802.47 4,699.07 1,281.76 8,783.30
- โอนออก (-) (-) (-) (-) (-)
- จำหน่าย (-) (86.31) (436.75) (487.08) (1,010.14)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 - 40,187.48 68,035.32 12,820.22 121,043.02
ราคาตามบัญชี 4,020.49 37,709.08 56,488.72 8,673.40 106,891.69
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 3,576.75 32,399.73 54,397.96 8,197.86 98,572.30
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 4,020.49 37,709.08 56,488.72 8,673.40 106,891.69
148

หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และงบการเงินเฉพาะกิจการ
ที่ดินและ สินทรัพย์ สินทรัพย์ สินทรัพย์ รวม
สิทธิเหนือที่ดิน ระบบส่ง ระบบจำหน่าย ทั่วไป
ราคาทุน
ณ วันที่ 1 มกราคม
3,539.08 63,488.32 111,445.33 17,446.55 195,919.28
2562
- เพิ่มขึ้น 42.92 6,618.94 7,068.35 3,375.46 17,105.67
- โอนออก (-) (-) (-) (52.34)
(52.34)
- จำหน่าย (5.25) (183.87) (342.72) (388.40) (920.24)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
3,576.75 69,871.05 118,170.96 20,433.61 212,052.37
2562
ค่าเสื่อมราคาสะสม
ณ วันที่ 1 มกราคม
- 34,697.08 59,678.94 11,467.06 105,843.08
2562
- เพิ่มขึ้น - 2,929.90 4,380.20 1,154.91 8,465.01
- โอนออก (-) (-) (-) (0.34)
(0.34)
- จำหน่าย (-) (286.14) (827.68)
(155.32) (386.22)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
- 37,471.32 63,773.00 12,235.75 113,480.07
2562
ราคาตามบัญชี 3,576.75 32,399.73 54,397.96 8,197.86 98,572.30
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
3,539.08 28,791.24 51,766.39 5,979.49 90,076.20
2561
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
3,576.75 32,399.73 54,397.96 8,197.86 98,572.30
2562
จากการปรับปรุงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ราคาทุน
สินทรัพย์ทั่วไปจำนวน 367.46 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาสะสม จำนวน 210.21 ล้านบาท เป็นมูลค่าบัญชีต้น
งวดที่ปรับปรุงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า โดยเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์
ตามสัญญาเช่าการเงินที่แสดงอยู่ในรายการสินทรัพย์สิทธิการใช้ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5.2)
149

6.11 สินทรัพย์สิทธิการใช้ ประกอบด้วย


หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และงบการเงินเฉพาะกิจการ
สินทรัพย์ สินทรัพย์ สินทรัพย์ รวม
ระบบส่ง ระบบจำหน่าย ทั่วไป
ราคาทุน
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 - - - -
ปรับปรุงผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
บัญชี (หมายเหตุประกอบ 250.55 - 439.42 689.97
งบการเงินข้อ 5.2)
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563
250.55 - 439.42 689.97
หลังปรับปรุง
- เพิ่มขึ้น - - 157.28 157.28
- โอนออก (-) (-) (-) (-)
- จำหน่าย (-) (-) (87.64) (87.64)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
250.55 - 509.06 759.61
2563
ค่าเสื่อมราคาสะสม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 - - - -
ปรับปรุงผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
บัญชี (หมายเหตุประกอบ - - 210.21 210.21
งบการเงินข้อ 5.2)
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563
- - 210.21 210.21
หลังปรับปรุง
- เพิ่มขึ้น 68.07 - 82.97 151.04
- โอนออก (-) (-) (-) (-)
- จำหน่าย (-) (-) (87.64) (87.64)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
68.07 - 205.54 273.61
2563
ราคาตามบัญชี ณ วันที่
182.48 - 303.52 486.00
31 ธันวาคม 2563
150

6.12 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งจำนวน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
และงบการเงินเฉพาะกิจการ
โปรแกรม
รวม
คอมพิวเตอร์
ราคาทุน
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 3,460.92 3,460.92
- เพิ่มขึ้น 119.28 119.28
- โอนออก (-) (-)
- จำหน่าย (57.30) (57.30)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 3,522.90 3,522.90
ค่าตัดจำหน่ายสะสม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 2,535.16 2,535.16
- เพิ่มขึ้น 354.79 354.79
- โอนออก (-) (-)
- จำหน่าย (57.30) (57.30)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 2,832.65 2,832.65
ราคาตามบัญชี 690.25 690.25
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 925.76 925.76
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 690.25 690.25
ราคาทุน
ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 3,353.34 3,353.34
- เพิ่มขึ้น 218.12 218.12
- โอนออก (-) (-)
- จำหน่าย (110.54) (110.54)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 3,460.92 3,460.92
ค่าตัดจำหน่ายสะสม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 2,292.48 2,292.48
- เพิ่มขึ้น 353.22 353.22
- โอนออก (-) (-)
- จำหน่าย (110.54) (110.54)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 2,535.16 2,535.16
ราคาตามบัญชี 925.76 925.76
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 1,060.86 1,060.86
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 925.76 925.76
151

6.13 งานระหว่างก่อสร้าง ประกอบด้วย


หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และงบการเงินเฉพาะกิจการ
สถานีต้นทาง ระบบส่ง ระบบจำหน่าย เครื่องมือกล อื่น ๆ รวม
และสถานี และ
ย่อย ยานพาหนะ
ราคาทุน
ณ วันที่ 1
มกราคม 9,186.31 16,015.58 8,692.90 158.92 2,323.64 36,377.35
2563
-
4,475.85 7,601.75 8,108.71 422.39 1,030.19 21,638.89
เพิ่มขึ้น
-
(3,838.29) (6,508.34) (504.99) (1,345.96)
ลดลง (4,717.13) (16,914.71)
ณ วันที่ 31
ธันวาคม 9,823.87 18,900.20 10,293.27 76.32 2,007.87 41,101.53
2563
ราคาทุน
ณ วันที่ 1
มกราคม 9,429.50 14,141.71 7,986.87 258.41 4,208.62 36,025.11
2562
-
2,393.54 5,769.53 7,027.05 168.01 1,394.02 16,752.15
เพิ่มขึ้น
-
(2,636.73) 3,895.66) (6,321.02) (267.50) (3,279.00) 16,399.91)
ลดลง
ณ วันที่ 31
ธันวาคม 9,186.31 16,015.58 8,692.90 158.92 2,323.64 36,377.35
2562

ในงวดบัญชีปี 2563 กฟน. ได้รับรู้ดอกเบี้ยจ่ายเป็นต้นทุนของงานระหว่างก่อสร้างจำนวน 217.71


ล้านบาท
152

6.14 เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เงินทุนสะสมเพื่อชำระคืนหนี้สิน เป็นเงินทุนสะสมเพื่อไถ่ถอนพันธบัตร
กฟน. ทั ้ ง จำนวน และมี ส ่ ว นหนึ ่ ง จำนวน 400.00 ล้ า นบาท ได้ น ำไปค้ ำ ประกั น เงิ น กู ้ เ บิ ก เกิ น บั ญ ชี กั บ
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 14,576.18 18,290.81
บวก จัดสรรเพิ่ม 500.00 -
ดอกเบี้ยรับ 210.03 285.37
15,286.21 18,576.18
หัก โอนชำระหนี้ (1,000.00) (4,000.00)
คงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 14,286.21 14,576.18

6.15 เจ้าหนี้การค้า
ในงวดบัญชีปี 2563 และ 2562 เจ้าหนี้ค่าไฟฟ้า จำนวน 23,735.53 ล้านบาท และ 26,748.03 ล้าน
บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นยอดค่าซื้อกระแสไฟฟ้าที่ กฟน. ต้องชำระเงินให้ กฟผ. ภายใน 30 วัน นับจาก
วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ และชำระให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เจ้าหนี้ค่าไฟฟ้า 23,735.53 26,748.03
เจ้าหนี้การค้าอื่น 2,751.47 3,135.72
รวม 26,487.00 29,883.75
6.16 เงินค้างนำส่งคลัง
ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0805/ว.60 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2549 กำหนดให้ กฟน. จัดสรร
กำไรสุทธิเพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 นำส่งรายได้ระหว่างกาล ภายในเดือนตุลาคมของ
ทุกปี โดยจัดสรรจากกำไรสุทธิของงบการเงินงวดหกเดือนที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสอบทานแล้ว และ
ครั้งที่ 2 ให้นำส่งเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินประจำปีแล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่
ปี 2549 เป็นต้นไป และตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักนโยบายและแผน
รัฐวิสาหกิจ ที่ กค 0805.1/ว.27 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กำหนดให้ กฟน. จัดสรรกำไรสุทธิเพื่อนำส่งเป็น
รายได้แผ่นดิน โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ จากงบการเงินเฉพาะกิจการก่อนหักโบนัสกรรมการและโบนัส
พนักงาน หากปรากฏว่าจำนวนเงิน นำส่งรายได้แผ่นดินดังกล่าว ต่ำกว่าจำนวนเงินนำส่งที่กำหนดไว้ใน
153

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้ กฟน. นำส่งรายได้แผ่นดิน ตามจำนวนเงินที่กำหนดใน


พระราชบัญญัติดังกล่าว
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 428.00 2,224.50
บวก จัดสรรสำหรับปี 3,576.63 2,778.00
4,004.63 5,002.50
หัก นำส่งตามหนังสือ สคร. (428.00) (2,224.50)
นำส่งระหว่างกาล (66.00) (2,350.00)
คงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 3,510.63 428.00
ในปี 2563 กฟน. ได้ประมาณเงินค้างนำส่งคลั ง ตามจำนวนเงินนำส่งที่ กำหนดในพระราชบั ญญั ติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,576.63 ล้านบาท และได้นำเงินส่งคลังเป็นรายได้
ระหว่างกาลแล้ว จำนวน 66.00 ล้านบาท คงเหลือเป็นเงินค้างนำส่งคลัง จำนวน 3,510.63 ล้านบาท และในงวด
บัญชีปี 2562 ได้ประมาณเงินค้างนำส่งคลังจากการจัดสรรกำไรสุทธิก่อนหักโบนัสกรรมการและโบนัสพนักงาน
จำนวน 6,172.71 ล้านบาท อัตราร้อยละ 45 เป็นเงิน 2,778.00 ล้านบาท
6.17 หนี้สินหมุนเวียนอื่น
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เงินประกันผลงาน 1,227.89 1,126.78
เงินประกันสัญญา 161.44 153.90
ประมาณการหนี้สินระยะสั้น 7.50 2,523.92
อื่น ๆ 44.22 35.31
รวม 1,441.05 3,839.91
154

6.18 หนี้สินระยะยาว ประกอบด้วย


หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
และงบการเงินเฉพาะกิจการ
หนี้สินระยะยาว
หนี้สินระยะยาว ที่ถึงกำหนดชำระ คงเหลือ
ภายในหนึ่งปี 2563
เงินกู้ระยะยาว 52,700.00 (1,000.00) 51,700.00
รวม 52,700.00 (1,000.00) 51,700.00

หนี้สินระยะยาว
หนี้สินระยะยาว ที่ถึงกำหนดชำระ คงเหลือ
ภายในหนึ่งปี 2562
เงินกู้ระยะยาว 41,700.00 (1,000.00) 40,700.00
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 182.56 (72.72) 109.84
ณ 31 ธันวาคม 2562 41,882.56 (1,072.72) 40,809.84
โอนไปหนี้สินตามสัญญาเช่า
(หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.19) (182.56) 72.72 (109.84)
ณ 1 มกราคม 2563 41,700.00 (1,000.00) 40,700.00

เงินกู้ระยะยาว มีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 2563 2562
(ร้อยละ)
ในงวดบัญชีปี 2563
เงินกู้ในประเทศ
พันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง 1.989 ถึง 6.38* 52,700.00 41,700.00
หัก เงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (1,000.00) (1,000.00)
คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด 51,700.00 40,700.00
* อัตราดอกเบี้ยคงที่
ในงวดบัญชีปี 2563 กฟน. ได้ออกพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 วงเงิน 4,000.00
ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1.989 ต่อปี ระยะเวลา 15 ปี ครั้งที่ 3 วงเงิน 3,000.00 ล้านบาท อัตรา
ดอกเบี้ยร้อยละ 2.400 ต่อปี ระยะเวลา 10 ปี 3 เดือน และครั้งที่ 4 วงเงิน 5,000.00 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย
ร้อยละ 2.860 ต่อปี ระยะเวลา 15 ปี 3 เดือน
155

6.19 หนี้สินตามสัญญาเช่า
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
สินทรัพย์ สินทรัพย์
รวม
ระบบส่ง ทั่วไป
หนี้สินตามสัญญาเช่า ณ 31 ธันวาคม 2563
- หนี้สินหมุนเวียน (ไม่เกิน 1 ปี) 102.86 116.95 219.81
- หนี้สินไม่หมุนเวียน (เกิน 1 ปี) 120.54 171.92 292.46

ค่าใช้จ่ายทางการเงินในอนาคต (5.32) (19.24) (24.56)


มูลค่าปัจจุบันของหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 218.08 269.63 487.71
มูลค่าปัจจุบันของหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน
- หนี้สินหมุนเวียน (ไม่เกิน 1 ปี) 102.86 105.62 208.48
- หนี้สินไม่หมุนเวียน (เกิน 1 ปี) 115.22 164.01 279.23
รวม 218.08 269.63 487.71

หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
และงบการเงินเฉพาะกิจการ
สินทรัพย์ สินทรัพย์
รวม
ระบบส่ง ทั่วไป
โอนมาจากหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ณ 31 ธันวาคม 2562
(หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.18)
- ส่วนที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปี - 72.72 72.72
- ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกิน 1 ปี - 109.84 109.84
ณ 1 มกราคม 2563 - 182.56 182.56
ปรับปรุงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
(หมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 5.2) - 289.01 289.01
ณ 1 มกราคม 2563 หลังปรับปรุง - 471.57 471.57
156

6.20 หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน
รายการกระทบยอดมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันผลประโยชน์ของพนักงาน และมูลค่าหนี้สินที่รับรู้
แสดงดังต่อไปนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน 10,826.64 8,763.87
ณ วันที่ 1 มกราคม
ต้นทุนบริการปัจจุบัน 546.20 438.35
ต้นทุนดอกเบี้ย 300.93 278.32
ต้นทุนบริการในอดีต - 1,064.40
ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 177.21 734.33
ผลประโยชน์ที่จ่ายสำหรับเงินบำเหน็จ (51.71) (65.75)
ผลประโยชน์ที่จ่ายสำหรับกรณีผลประโยชน์อื่น (404.15) (386.88)
มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน 11,395.12 10,826.64
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
กองทุนเงินบำเหน็จพนักงาน กฟน. (878.38) (842.13)
(หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.24)
หนี้สินสุทธิ ณ วันสิ้นงวด 10,516.74 9,984.51
ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในงบกำไรขาดทุนเบ็ด เสร็จสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ 2562 มี
รายละเอียดดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
ต้นทุนบริการปัจจุบัน 546.20 438.35
ต้นทุนดอกเบี้ย 300.93 278.32
ต้นทุนบริการในอดีต - 1,064.40
ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในกำไรหรือขาดทุน 847.13 1,781.07
157

ข้อสมมติฐานหลักในการประมาณการตามหลักการคณิตศาสตร์ประกันภัยของ กฟน. ณ วันที่ 31


ธันวาคม 2563 และ 2562 มีรายละเอียดดังนี้
อัตราร้อยละต่อปี
31 ธ.ค. 2563 31 ธ.ค. 2562
อัตราคิดลด 2.20 2.80
อัตราเงินเฟ้อ
- ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.50 2.50
- ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ 7.50 8.00
อัตราการขึ้นเงินเดือน 5.00 - 11.00 5.00 - 11.00
อัตราการลาออกของพนักงาน 0.00 - 2.00 0.00 - 2.00
อัตรามรณะ ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับ
และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ปี 2560 ปี 2560
6.20 หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (ต่อ)
การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของข้อสมมติฐานหลักในการคำนวณ
ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานของ กฟน. มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อสมมติฐาน
ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณ การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานอาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาด
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเงินเฟ้อและอัตราการขึ้นเงินเดือน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอันอาจเป็นไปได้ของ
ข้อสมมติฐานหลักแต่ละข้อ โดยการเปลี่ยนแปลงในสมมติฐานแต่ละข้อนั้นเกิดขึ้นแยกจากกัน ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้น (ลดลง)
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
และงบการเงินเฉพาะกิจการ
ปี 2563 ปี 2562
อัตราคิดลดเฉลี่ย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 (1,622.37) (1,535.16)
ลดลงร้อยละ 1 2,163.31 2,039.30
อัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 58.82 148.11
ลดลงร้อยละ 1 (58.89) (209.08)
158

6.21 ประมาณการหนี้สินระยะยาว
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 4,579.39 5,100.47
บวก ประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้น 7,870.72 4,579.05
รวม 12,450.11 9,679.52
หัก ใช้ไประหว่างงวด (8,990.12) (1,429.23)
โอนไปประมาณการหนี้สินระยะสั้น - (3,670.90)
คงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 3,459.99 4,579.39
ในงวดบัญชีปี 2563 ประมาณการหนี้สินระยะยาว จำนวน 3,459.99 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่า
ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องคดี จำนวน 2.06 ล้านบาท และเงินคืนรายได้ จำนวน
3,457.93 ล้านบาท
6.22 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
ตามข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยการบริหารเงินประกันการใช้ไฟฟ้า พ.ศ. 2544 ฉบับที่ 2 พ.ศ.
2548 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2544 วันที่ 26 พฤษภาคม 2548 และ
วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 ตามลำดับ และตามมติ คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ครั้งที่ 590 วันที่ 15
กรกฎาคม 2553 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจอนุมัติให้ กฟน. นำเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปใช้เป็นเงินหมุนเวียน
ภายในวงเงินไม่เกิน 2,500.00 ล้านบาท แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องนำเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปใช้เกิน
กว่าวงเงิน ดังกล่าว ให้เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง โดยจ่ายดอกเบี้ยให้เท่ากั บ
ผลตอบแทนเดิมของบัญชีเงินฝากเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่ยืม และให้ กฟน. นำดอกผลที่เกิดจากเงินประกันการ
ใช้ไฟฟ้าไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง และ/หรือสาธารณประโยชน์อื่นตามที่ผู้ว่าการ
กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง และจ่ายคืนผลประโยชน์ให้กับผู้วางเงินประกัน
การใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ทุก ๆ 5 ปี โดย กฟน. จะเริ่มจ่ายคืนครั้งแรกในรอบบิล
ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สำหรับประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ และกิจการเฉพาะ
อย่าง ปีละครั้ง ตามอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เฉลี่ยทั้งปีของธนาคารกรุงไทย ตามมติของคณะกรรมการกำกับ
กิ จ การพลั ง งาน นอกจากนี ้ ให้ กฟน. นำเงิ นประกั นการใช้ ไ ฟฟ้ าไปลงทุ นในตราสารทางการเงิ น ตามที่
กระทรวงการคลังอนุญาต ดอกผลจากเงินประกันการใช้ไฟฟ้ารับรู้เป็นรายได้ กฟน.
การไฟฟ้านครหลวง กำหนดให้มีการคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1 บ้านอยู่
อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก และจะไม่เรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ขอใช้ไฟรายใหม่ ยกเว้น
กรณีเปลี่ยนไปเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกันการใช้ไฟฟ้า โดยกำหนดวิธีการคืน
หลักประกันฯ ดังกล่าว ตามประกาศการไฟฟ้านครหลวงที่ 30/2563 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ทั้งนี้เพื่อให้
เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 และมติคณะกรรมการกำกับกิจการ
พลังงานในการประชุมครั้งที่ 21/2563 (ครั้งที่ 664) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 เรื่อง การคืนหลักประกันการใช้
159

ไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ซึ่งมีผลบังคับใช้ต้งั แต่วันที่


20 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ไม่รวมดอกผล) ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เงินฝากออมทรัพย์ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.5) 820.15 94.97
เงินฝากออมทรัพย์รอโอน 22.45 63.51
เงินฝากประจำ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.5) 10,550.00 17,080.00
รวม 11,392.60 17,238.48
6.22 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ต่อ)
เงินฝากจากดอกผลเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ มีดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันต้นงวด 230.54 222.90
บวก ดอกผลจากเงินฝากธนาคาร 231.57 284.58
462.11 507.48
หัก นำไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ (198.85) (267.75)
ดอกเบี้ยเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่จ่ายคืนแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า (187.08) (9.19)
คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด 76.18 230.54
6.23 รายได้รอการรับรู้ ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
เงินสมทบการก่อสร้างระบบจำหน่ายรอการรับรู้ 11,602.72 12,130.07
รายได้จากการรับบริจาครอการรับรู้ 1,326.42 1,311.22
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลรอการรับรู้ 164.69 127.37
รวม 13,093.83 13,568.66
160

เงินสมทบการก่อสร้างระบบจำหน่ายรอการรับรู้ มีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันต้นงวด 12,130.07 12,508.09
บวก รับเพิ่มระหว่างงวด 615.54 748.80
รวม 12,745.61 13,256.89
หัก รับรู้เป็นรายได้ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.25) (1,142.89) (1,126.82)
คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด 11,602.72 12,130.07
6.24 กองทุนเงินบำเหน็จพนักงาน กฟน.
กฟน. ได้จัดตั้งกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานการไฟฟ้านครหลวงเมื่อปี 2516 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สงเคราะห์พนักงาน ในกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ
10 ของเงินเดือนพนักงานที่เป็นสมาชิก และจ่ายเงินสมทบเพิ่ม เพื่อให้กองทุนฯ มี เงินเพียงพอในอัตราร้อยละ
100 ของเงินบำเหน็จที่พึงจ่าย ณ วันสิ้นงวดบัญชี รายได้จากดอกผลของสินทรัพย์เงินกองทุนรับรู้เป็นรายได้
ของ กฟน. ในงวดบัญชีนี้กองทุนเงินบำเหน็จฯ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ยอดยกมา ณ วันต้นงวด 842.13 817.94
บวก รับเงินสมทบจาก กฟน. 87.96 89.94
930.09 907.88
หัก จ่ายเงินบำเหน็จพนักงาน (51.71) (65.75)
คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด 878.38 842.13
6.25 รายได้อื่นจากการดำเนินงาน
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
รายได้เงินสมทบการก่อสร้างระบบจำหน่าย
1,142.89 1,126.82
(หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.23)
รายได้เงินอุดหนุนรัฐบาล 6.70 6.70
รายได้อื่นด้านไฟฟ้า 730.02 765.55
รวม 1,879.61 1,899.07
กฟน. ได้ ร ั บ อนุ ม ั ต ิ ให้ ประกอบกิ จการโทรคมนาคมแบบที ่ สาม (ใยแก้ ว นำแสง) จากสำนั กงาน
คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 ซึ่งในงวดบัญชีปี 2563 และ 2562 กฟน. มี
161

รายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 20.71 ล้านบาท และ 35.38 ล้านบาท ตามลำดับ โดย


บันทึกบัญชีเป็นรายได้อื่นด้านไฟฟ้า
6.26 รายได้อื่น
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562 2563 2562
ดอกเบี้ยรับ 517.97 805.69 517.97 805.69
รายได้เบ็ดเตล็ด 590.43 544.51 590.43 544.51
เงินปันผลรับ - - 100.20 16.03
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
- 9.85 - 9.85
เงินตราต่างประเทศ
รวม 1,108.40 1,360.05 1,208.60 1,376.08
ดอกเบี้ยรับ ประกอบด้วยส่วนของ
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
การไฟฟ้านครหลวง 294.46 496.30
เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 210.91 295.34
กองทุนเงินบำเหน็จฯ 12.60 14.05
รวม 517.97 805.69
6.27 ค่าตอบแทนผู้บริหาร
ค่าตอบแทนผู้บริหารประกอบด้วย เงินเดือน และสิทธิผลประโยชน์ของผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจ
ค่าเบี้ยประชุม และโบนัสของคณะกรรมการ กฟน. ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ค่าตอบแทนกรรมการ 11.66 10.18
ค่าตอบแทนผู้บริหาร 32.54 32.10
ผลประโยชน์ผู้บริหาร 3.24 12.96
รวม 47.44 55.24
162

6.28 ค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินงาน
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน 61.58 59.47
ค่าใช้จ่ายเพื่อสาธารณะ สังคมและสิ่งแวดล้อม 20.56 23.71
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 753.96 637.02
รวม 836.10 720.20
6.29 ค่าใช้จ่ายอื่น
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562
ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ 414.74 405.13
ดอกเบี้ยเงินประกันการใช้ไฟฟ้า 35.01 11.23
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 8.63 -
ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 61.63 13.12
รวม 520.01 429.48
6.30 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การไฟฟ้านครหลวง พนักงาน และสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง ได้ร่วมกันจัดตั้ง
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 มีพนักงาน เป็นสมาชิก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
จำนวน 7,183 ราย
กฟน. จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำหรับสมาชิกที่มีจำนวนปีที่ทำงานไม่เกิน 10 ปี เกินกว่า 10 ปีขึ้นไป
จนถึง 20 ปี และมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 9, 10 และ 11 ของค่าจ้างต่อเดือน ตามลำดับ ในงวดบัญชีนี้
กฟน. จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำหรับพนักงานที่เป็นสมาชิกทั้งสิ้นเป็นเงิน 486.90 ล้านบาท
163

6.31 ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานในงบการเงินเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ 2562
วิเคราะห์ได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2563 2562 เพิ่มขึ้น (ลดลง) ร้อยละ
รายได้ 197,046.17 205,916.77 (8,870.60) (4.31)
หัก ค่าใช้จ่าย (191,568.94) (200,561.14) (8,992.20) (4.48)
กำไรสุทธิ 5,477.23 5,355.63 121.60 2.27
ในงวดบัญชีปี 2563 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 121.60 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.27 ส่วนใหญ่เกิดจาก
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง 634.07 ล้านบาท ในขณะที่กำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าสุทธิลดลง
191.34 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 383.61 ล้านบาท
7. การวัดมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กฟน. มีสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นรายการที่มูลค่าบัญชีเป็นค่าประมาณการที่สมเหตุสมผลของมูลค่ายุติธรรม ยกเว้นรายการ
ดังต่อไปนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 รวม
หนี้สินที่เปิดเผยด้วยมูลค่ายุติธรรม
พันธบัตร - 56,397.61 - 56,397.61
เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมและข้อมูลที่ใช้สำหรับการวัดมูลค่ายุติธรรมระดับ 2
มูลค่ายุติธรรมของพันธบัตร ประเมินโดยอ้างอิงจากราคาซื้อขายที่สังเกตในตลาดรองของสมาคมตราสารหนี้
ซึ่งมีการเสนอซื้อขายกันในตลาดที่มีสภาพคล่อง
8. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
8.1 กฟน. มีภาระผูกพันที่ไม่ได้บันทึกบัญชีเฉพาะรายที่สำคัญดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
2563 2562
ภาระผูกพันตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่หมดอายุ 181.36 232.00
ภาระผูกพันอื่น ๆ 0.50 0.50
รวม 181.86 232.50
ภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศคำนวณค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทย ประกาศใช้เป็นอัตราอ้างอิง ณ วันสิ้นงวดบัญชี
164

8.2 กฟน. ถูกฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 7 คดี ทุนทรัพย์ตามฟ้อง


141.16 ล้านบาท
8.2.1 กฟน. ได้พิจารณาสถานะของรูปคดีแล้ว คาดว่าจะต้องรับภาระหนี้สินจำนวน 1 คดี เป็นเงิน
2.06 ล้านบาท ซึ่ง กฟน. ได้บันทึกภาระหนี้สินดังกล่าวไว้ในบัญชีประมาณการหนี้สินระยะยาว ได้แก่ คดีที่
ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหาย กรณี กฟน. ทำละเมิด เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้
กฟน. ชดใช้ค่าเสียหายด้วยจำนวนเงินดังกล่าว ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
8.2.2 คดีที่ กฟน. เชื่อว่าผลการพิจารณาของศาลจะไม่เกิดความเสียหาย และไม่ต้องรับภาระหนี้สิน
จำนวน 6 คดี ดังนี้
8.2.2.1 คดีที่ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหาย กรณี กฟน. ส่งมอบพื้นที่ให้ทำงานล่าช้า ศาลชั้นต้น
พิพากษายกฟ้อง ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
8.2.2.2 คดีที่ผู้เสียหายให้ กฟน. เพิกถอนคำสั่งบอกเลิกสัญญาและคืนเงินประกันสัญญาการ
ซื้อขายรถเครน ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น
8.2.2.3 คดีที่ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายจาก กฟน. กรณีผู้อื่นหรือโจทก์ขับรถโดยประมาททำ
ให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ปัจจุบันคดีอาญาสิ้นสุดแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น
8.2.2.4 คดีที่ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหาย กรณีทรัพย์สิน กฟน. ถูกละเมิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่
ความตาย ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
8.2.2.5 คดีที่ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายและให้ถอนหรือขยับเสาไฟฟ้าแรงสูง กรณี กฟน. ปัก
เสาและพาดสายไฟฟ้า ละเมิดต่อผู้เสียหาย ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
8.2.2.6 คดีที่ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายในการใช้ที่ดิน กรณี กฟน. ปักเสาและพาดสายไฟฟ้า
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
อุทธรณ์8. การอนุมัติงบการเงิน
9. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ขยายตัวในวง
กว้าง และส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเท าความเดือดร้อน
ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
การไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินการ ตามมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่
มาตรการใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 มาตรการส่วนลดค่าไฟฟ้า มาตรการขยายเวลาชำระค่า
ไฟฟ้า 6 เดือน และมาตรการคืนเงินประกัน การใช้ไฟฟ้า
ปัจจุบัน ฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวที่มีต่องบการเงิน
ของการไฟฟ้านครหลวง
10. การอนุมัติงบการเงิน
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง อนุมัติให้ออกงบการเงินในวันที่ 10 มิถุนายน 2563
______________________________________
165

ข้อมูลทั่วไป ปี 2559-2563
ประจำปี
รายการ
2563 2562 2561 2560 2559
ประชากรทั้งประเทศ คน 66,186,727 66,558,935 66,413,979 66,188,503 65,931,550
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (0.56) 0.22 0.34 0.39 0.31
ประชากรเขตจำหน่าย กฟน. คน 8,216,446 8,276,526 8,249,551 8,222,916 8,192,123
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (0.73) 0.33 0.32 0.38 0.28
จำนวนบ้านเขตจำหน่าย กฟน. บ้าน 4,534,086 4,436,973 4,323,941 4,210,444 4,099,437
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 2.19 2.61 2.70 2.71 2.71
ประชากรต่อจำนวนบ้านเขตจำหน่าย กฟน. คน 2 2 2 2 2
ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ร้อยละ 101.78 102.65 101.93 100.85 100.19
(ปี 2558 ปีฐาน)
ดัชนีราคาผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 101.96 102.71 101.81 100.65 100.14
(ปี 2558 ปีฐาน)
จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อสิ้นปี ราย 4,052,963 3,915,613 3,805,840 3,703,312 3,632,722
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 3.51 2.88 2.77 1.94 3.14
จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อสิ้นปี
คิดเป็นร้อยละของจำนวนบ้าน ร้อยละ 89.39 88.25 88.02 87.96 88.51
หน่วยจำหน่าย* ล้านหน่วย 50,153.24 52,804.91 51,108.87 50,700.59 50,901.70
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (5.02) 3.32 0.81 (0.40) 3.16
หน่วยจำหน่ายรวมไฟสาธารณะและไฟทำการ ล้านหน่วย 50,702.38 53,345.53 51,638.42 51,218.98 51,412.93
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (4.95) 3.30 0.82 (0.38) 3.20
หน่วยซื้อรวมไฟสาธารณะ ล้านหน่วย 52,617.77 55,262.58 53,553.30 52,881.09 53,179.84
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (4.79) 3.19 1.27 (0.56) 3.02
ความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลีย่ 30 นาทีสูงสุด เมกะวัตต์ 8,706.28 9,525.93 8,981.36 9,114.74 9,296.57
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (8.60) 6.06 (1.46) (1.96) 6.17
อัตราพลังงานที่สญู เสีย ร้อยละ 3.64 3.47 3.50 3.14 3.32
หมายเหตุ : พื้นที่เขตจำหน่ายของ กฟน. คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
* ไม่รวมไฟสาธารณะและไฟทำการ

165165
166

ข้อมูลระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ปี 2559-2563
ประจำปี
รายการ
2563 2562 2561 2560 2559
ระบบสถานีต้นทาง
จำนวนสถานีต้นทาง สถานี 18 17 17 17 17
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 5.88 - - - -
จำนวนสถานีสับเปลีย่ น สถานี 1 1 1 1 1
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ - - - - -
ขนาดหม้อแปลงติดตั้งที่สถานีต้นทาง เอ็มวีเอ 20,756.50 19,734.38 19,634.38 19,534.38 19,534.38
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 5.18 0.51 0.51 - 4.99
ระบบสถานีย่อย
จำนวนสถานีย่อย สถานี 141 141 141 137 134
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ - - 2.92 2.24 0.75
ขนาดหม้อแปลงติดตั้งที่สถานีย่อย เอ็มวีเอ 20,585.00 20,365.00 19,865.00 19,045.00 18,485.00
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 1.08 2.52 4.31 3.03 1.09
ระบบสายส่ง
ความยาวสายส่งขนาดแรงดัน 230 เควี ววงจร-กิโลเมตร 55.87 57.53 57.53 57.53 57.53
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ (2.89) - - - 16.13
ความยาวสายส่งขนาดแรงดัน 115 เควี วงจร-กิโลเมตร 992.71 954.68 937.34 887.52 830.42
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 3.98 1.85 5.61 6.88 1.91
ความยาวสายส่งขนาดแรงดัน 69 เควี วงจร-กิโลเมตร 910.10 903.82 903.96 904.98 902.30
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 0.69 (0.02) (0.11) 0.30 0.13
ระบบจำหน่าย
ความยาวสายป้อนขนาดแรงดัน 24 เควี และ 12 เควี วงจร-กิโลเมตร 19,907.21 19,430.73 19,067.97 18,785.04 18,422.50
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 2.45 1.90 1.51 1.97 (0.06)
ความยาวสายแรงต่ำขนาดแรงดัน 220/380 โวลท์ วงจร-กิโลเมตร 31,241.04 30,690.04 30,209.42 29,829.80 29,277.15
เพิ่ม (ลด) จากปีก่อน ร้อยละ 1.80 1.59 1.27 1.89 2.02

166166
167

ข้อมูลจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า หน่วยจำหน่าย รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2559-2563


ประจำปี
รายการ
2563 2562 2561 2560 2559
จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าสิ้นปี (ไม่รวมไฟสาธารณะ) ราย
บ้านอยู่อาศัย 3,654,363 3,341,727 3,240,838 3,149,375 3,062,576
กิจการขนาดเล็ก 340,605 516,535 509,477 500,229 517,300
กิจการขนาดกลาง 24,069 23,856 23,314 22,771 22,524
กิจการขนาดใหญ่ 2,494 2,470 2,386 2,353 2,324
กิจการเฉพาะอย่าง 3,524 3,439 3,185 3,089 3,021
องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 326 323 318 322 330
ไฟฟ้าชั่วคราว 27,389 27,115 26,235 25,173 24,647
ยานยนต์ไฟฟ้า 193 148 87 - -
รวม 4,052,963 3,915,613 3,805,840 3,703,312 3,632,722
หน่วยจำหน่าย ล้านหน่วย
บ้านอยู่อาศัย 15,693.74 14,296.36 13,133.87 13,041.40 12,998.22
กิจการขนาดเล็ก 7,203.39 8,266.83 7,956.33 7,927.38 8,010.45
กิจการขนาดกลาง 8,240.55 8,975.30 8,795.22 8,696.59 8,742.72
กิจการขนาดใหญ่ 16,799.16 18,431.79 18,507.71 18,343.41 18,452.03
กิจการเฉพาะอย่าง 1,655.35 2,261.33 2,174.83 2,156.42 2,154.66
องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 133.01 134.36 130.35 131.39 124.81
ไฟฟ้าชั่วคราว 427.96 438.89 410.52 404.00 418.83
ไฟสาธารณะและไฟทำการ 549.14 540.62 529.54 518.39 511.23
ยานยนต์ไฟฟ้า 0.09 0.05 0.05 - -
รวม 50,702.38 53,345.53 51,638.42 51,218.98 51,412.93
รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ล้านบาท
บ้านอยู่อาศัย 62,240.28 56,591.29 51,251.38 49,629.90 49,817.78
กิจการขนาดเล็ก 29,609.99 34,021.61 32,381.85 31,507.06 32,023.64
กิจการขนาดกลาง 32,346.19 35,118.04 34,008.30 32,762.06 33,044.36
กิจการขนาดใหญ่ 58,731.35 64,568.92 63,862.66 61,572.47 62,203.21
กิจการเฉพาะอย่าง 5,767.70 7,796.78 7,413.81 7,140.27 7,161.05
องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 450.58 456.10 436.54 427.23 410.05
ไฟฟ้าชั่วคราว 2,856.57 2,924.19 2,723.63 2,635.38 2,734.28
ยานยนต์ไฟฟ้า 3.05 1.52 0.87 - -
รวม 192,005.71 201,478.45 192,079.04 185,674.37 187,394.37

167167
168

สถานที่ตั้งและช่องทางการติดต่อ
การไฟฟ้านครหลวง สถานที่ตั้ง โทรศัพท์
สำนักงานใหญ่ อาคารวัฒนวิภาส 0 2348 5000
เลขที่ 1192 ถนนพระรามที่ 4 โทรสาร 0 2256 3675
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
เว็บไซต์ : www.mea.or.th
สำนักงานเพลินจิต เลขที่ 30 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต 0 2254 9550
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน โทรสาร 0 2253 1424
กรุงเทพมหานคร 10330
ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงเขตธนบุรี 0 2878 5395
เลขที่ 132/18 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 20 โทรสาร 0 2878 5396
ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด เลขที่ 222 หมู่ 1 0 2327 4242
(District Cooling System and ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี โทรสาร 0 2327 4244
Power Plant: DCAP) จังหวัดสมุทรปราการ 10540
อีเมล : admin@dcap.co.th
ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร อาคารสำนักงานเพลินจิต ชั้น 1 0 2256 3358
การไฟฟ้านครหลวง อีเมล : pi.center@mea.or.th โทรสาร 0 2256 3339
MEA Call Center การไฟฟ้านครหลวงเขตราษฎร์บูรณะ Hotline : 1130
เลขที่ 21 ถนนราษฎร์บูรณะ (บริการ 24 ชั่วโมง)
แขวง/เขตราษฎร์บูรณะ
กรุงเทพมหานคร 10140
อีเมล : callcenter@mea.or.th
169

การไฟฟ้านครหลวงเขต
ขอใช้บริการไฟฟ้า ชำระค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าขัดข้อง
การไฟฟ้านครหลวงเขต หมายเลขกลาง
07.30-15.00 น. 07.30-15.00 น. 24 ชั่วโมง
1. วัดเลียบ 0 2220 5000 0 2220 5226 0 2220 5280 0 2220 5211
เลขที่ 121 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
2. คลองเตย 0 2348 5000 0 2348 5226 0 2348 5280 0 2348 5211
เลขที่ 1192 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
3. ยานนาวา 0 2611 5200 0 2611 5226 0 2611 5280 0 2611 5211
เลขที่ 3027 ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120
4. สามเสน 0 2242 5000 0 2242 5226 0 2242 5280 0 2242 5211
เลขที่ 809 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
5. บางเขน 0 2792 5200 0 2792 5226 0 2792 5280 0 2792 5211
เลขที่ 6 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
6. นวลจันทร์ 0 2716 3200 0 2716 3226 0 2716 3280 0 2716 3211
เลขที่ 1 ถนนคลองลำเจียก แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230
7. ธนบุรี 0 2878 5200 0 2878 5226 0 2878 5280 0 2878 5211
เลขที่ 132/18 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 20 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
8. ราษฎร์บูรณะ 0 2877 5200 0 2877 5226 0 2877 5280 0 2877 5211
เลขที่ 21 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บรู ณะ กรุงเทพมหานคร 10140
9. บางขุนเทียน 0 2841 5200 0 2841 5226 0 2841 5280 0 2841 5211
เลขที่ 39 ถนนพระรามที่ 2 ซอย 60 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
10. นนทบุรี 0 2902 5200 0 2902 5226 0 2902 5280 0 2902 5211
เลขที่ 200 ถนนติวานนท์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
11. บางใหญ่ 0 2832 5200 0 2832 5226 0 2832 5280 0 2832 5211
เลขที่ 38/2 หมู่ 10 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11140
12. บางบัวทอง 0 2834 3200 0 2834 3226 0 2834 3280 0 2834 3211
เลขที่ 69/10 หมู่ 5 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
13. บางกะปิ 0 2725 5200 0 2725 5226 0 2725 5280 0 2725 5211
เลขที่ 88 ถนนรามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
14. สมุทรปราการ 0 2791 5200 0 2791 5226 0 2791 5280 0 2791 5211
เลขที่ 386 ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270
15. บางพลี 0 2769 5200 0 2769 5227 0 2769 5280 0 2769 5211
เลขที่ 70/1 หมู่ 1 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
16. มีนบุรี 0 2907 5200 0 2907 5226 0 2907 5280 0 2907 5211
เลขที่ 66 ถนนรามอินทรา แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
17. ลาดกระบัง 0 2792 3200 0 2792 3226 0 2792 3280 0 2792 3211
เลขที่ 24 หมู่ 13 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
18. บางนา 0 2769 3200 0 2769 3226 0 2769 3280 0 2769 3211
เลขที่ 556 ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
170

สาขาย่อย
สาขาย่อย หมายเลขกลาง
พระประแดง 0 2463 3368
เลขที่ 101 หมู่ 2 เยื้องซอยวัดชมนิมิตร ถนนสุขสวัสดิ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
เพลินจิต 0 2256 3247
เลขที่ 30 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

งานบริการลูกค้าแรงต่ำ หมายเลขกลาง อีเมล


บางเขน 0 2521 7999 esdsc.1@mea.or.th
บางใหญ่ 0 2920 4534 esdsc.2@mea.or.th
บางพลี 0 2316 4848 esdsc.3@mea.or.th
ดาวคะนอง 0 2476 5666 esdsc.4@mea.or.th

You might also like