Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 24

สิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ตามรัฐธรรมนูญ
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทนา
▪ มาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กาหนด
ไว้ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย
กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทาใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือ
การกระทานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”
▪ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ถือเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของความเป็น
มนุษย์ เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการเคารพและไม่ล่วงละเมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะต้องให้ความสาคัญกับสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย
คาว่า “สิทธิ”
▪ คือ อานาจหรือประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง มิให้
มีการละเมิด รวมทั้งบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิด
ด้วย เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในเกียรติยศ
ชื่อเสียง สิทธิในการเลือกอาชีพ ถิ่นที่อยู่ การเดินทาง สิทธิในทรัพย์สิน
ฯลฯ เป็นต้น
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ
ลักษณะแห่งสิทธิ
1) สิทธินั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิ สิทธิจะเป็น
การรับรองให้เจ้าของสิทธิมี “อานาจ” สามารถ “ใช้” สิทธินั้นได้ หรือ
อาจจะไม่ ใ ช้ สิ ท ธิ นั้ น ได้ ต ามเจตจ านงของเจ้ า ของสิ ท ธิ ในบางกรณี ก็
อาจจะให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนแทนได้ ซึ่งการให้ผู้อื่นใช้สิทธิแทนนี้มักพบ
ในกฎหมายแพ่ง
2) สิทธินั้นเรียกร้องให้ผู้อื่นมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิของตนนั้น กล่าวคือ
ถ้าเป็นสิทธิในทางแพ่ง จะสามารถเรียกร้องต่อทรัพย์ (ทรัพยสิทธิ) บุคคล
อื่นมีหน้าที่ต้องยอมรับและไม่ละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์อันผู้อื่นมีสิทธิอยู่
นั้น หรือเรียกร้องให้บุคคลดาเนินการหรือไม่ดาเนินการ (บุคคลสิทธิ )
หรือในทางกฎหมายมหาชน สิทธินั้นจะเรียกร้องให้รัฐโดยหน่วยงานของ
รัฐ กระทาการ หรือไม่กระทาการใด ๆ เพื่อตนได้ ทุกกรณีนั้นแสดงถึง
“หน้าที่” ที่ผู้อื่นจะกระทาต่อสิทธินั้น กล่าวคือในทุกสิทธิจะมีหน้าที่ต่อ
ผู้อื่นเสมอ
3) สิทธิจะเกิดขึ้นก็แต่โดยกฎหมายเท่านั้น เนื่องจากสิทธิเป็นเรื่องของอานาจ
และหน้าที่ที่จะบังคับต่อบุคคลอื่นหรือรัฐ ปัจเจกชนทั่วไปจะบังคับต่อบุคคลอื่น
หรือรัฐได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิของตน และกาหนดหน้าที่ต่อบุคคลอื่น
เท่านั้น จริงอยู่แม้ในทางแพ่งบุคคลมีสิทธิจะทานิติกรรมผูกพันได้โดยเสรี และนิติ
กรรมนั้นก็อาจจะเกิดสิทธิทางแพ่งขึ้นก็ได้ แต่การที่บุคคลสามารถทานิติกรรมกัน
ได้นั้นก็ต้องชอบด้วยเงื่อนไขที่กฎหมายได้กาหนดไว้ด้วย ดังนั้นจึงสามารถกล่าว
ได้ว่าสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยกฎหมายเท่านั้น โดยกฎหมายอาจจะกาหนดสิทธิ
ไว้โดยชัดเจนหรือให้อานาจแก่ปัจเจกชนไปกาหนดก่อตั้งสิทธิระหว่างกันและกัน
ได้โดยเสรี ตราบใดที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน ส่วนสิทธิ
ต่อรัฐนั้นก็ชัดเจนว่าต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติเท่านั้น
คาว่า “เสรีภาพ”
▪ หมายถึง อานาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดาเนิน
พฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อานาจ
แทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจ
ด้วยตนเองที่จะกระทาหรือไม่กระทาการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็น
การฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
พัฒนาการของแนวคิดสิทธิและเสรีภาพ
▪ Magna Carta มีสาระสาคัญว่า พระมหากษัตริย์จะใช้พระราชอานาจตามอาเภอใจ
ไม่ได้
▪ ในศตวรรษที่ 16 แนวความคิดทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) ได้ต่อต้านการ
ใช้อานาจตามอาเภอใจและผิดทานองคลองธรรมของผู้ปกครอง “บุคคลทุกคนเกิดมา
ย่อมมีความเสมอภาคกันและมีสิทธิบางประการ ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาและสิทธินี้ไม่อาจ
จาหน่ายจ่ายโอนได้”
▪ กลายเป็ น หลั ก ส าคั ญ ในค าประกาศสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและพลเมื อ งฝรั่ ง เศส ค.ศ.1789
(Déclaration des droits de l’homme et du citoyen 1789)
ช่วงระยะเวลาของพัฒนาการออกได้เป็น 4 ช่วง
▪ ช่วงที่ 1 เป็นช่วงของพัฒนาการเกี่ยวกับเสรีภาพในทางศาสนา อันเป็น
ช่วงระยะเวลาที่ทาให้เกิดความมั่นคงต่อความเคารพในความเชื่อที่
แตกต่างไปของบุคคลในสังคม (สิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ก็ได้รับ
การยอมรับในช่วงระยะเวลานี้)
▪ ช่วงที่ 2 เป็นช่วงของพัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ ซึ่ง
เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์และเสรีภาพในการทาสัญญา และเสรีภาพใน
การประกอบอาชีพ
ช่วงระยะเวลาของพัฒนาการออกได้เป็น 4 ช่วง
▪ ช่วงที่ 3 เป็นช่วงของการพัฒนาสิทธิในทางประชาธิปไตย อันได้แก่ เสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็น เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เสรีภาพในการชุมนุม และเสรีภาพในการรวมตัว
กันเป็นสมาคม ซึ่งทาให้ชนชั้นกระฎุมพีเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้น
จนจาเป็นต้องอาศัยสิทธิในทางประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือสาคัญในการให้ประชาชนเข้า
ไปมีส่วนร่วมในการใช้อานาจของรัฐ
▪ ช่ว งที่ 4 เป็ น ช่ว งของพั ฒ นาการที่น าไปสู่ สิท ธิพื้ น ฐานในการดารงชี พ หรือ ที่เ รี ยกว่ า
“สิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคม” เพื่อให้ผลประโยชน์โดยรวมของสังคมสามารถดาเนินไป
บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีงานทา การให้หลักประกันสาหรับอนาคต การให้
ความดูแลทางด้านสุขภาพ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การศึกษา เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างสิทธิและเสรีภาพ
▪ 1. สิทธิเป็นประโยชน์ที่จะต้องมีกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ บุคคลจึงจะ
เกิ ด มี สิ ท ธิ เ ช่ น นั้ น ได้ แต่ ถ้ า ไม่ มี ก ฎหมายให้ ก ารรั บ รองและคุ้ ม ครองไว้
ประชาชนจะอ้างเพื่อการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่ได้
▪ 2. สิทธิที่รัฐให้การรับรองและคุ้มครองไว้แล้วนั้น รัฐมีหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง
ที่จะต้อ งทาให้ประชาชนได้รับ สิทธิ เ ช่นนั้นตามความเป็ นจริ ง แต่ใ นขณะที่
เสรีภาพนั้น รัฐไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องดาเนินการให้แต่อย่างใด (กล่าวโดยง่าย
คือ สิทธิก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่น เสรีภาพไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่นที่
จะต้องดาเนินการให้ คงมีแต่หน้าที่ในอันที่จะไม่รบกวน)
ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ
ก. การแบ่งสิทธิเสรีภาพตามแนวคลาสสิคของเยอรมัน
▪ ประเภทแรก Status negativus หมายถึง กลุ่มของสิทธิและเสรีภาพที่การใช้
สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจะต้องปราศจากการเข้ามาแทรกแซงของรัฐ
มีลักษณะเป็นสิทธิในการป้องกัน กล่าวคือ ผู้ทรงสิทธิสามารถเรียกร้องให้รัฐงด
เว้ น กระท าการที่ ก้า วล่ ว งแดนแห่ ง สิ ทธิ ข องตน เช่ น เสรี ภ าพในการนั บ ถื อ
ศาสนา เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกาย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในทางวิชาการ
ฯลฯ เป็นต้น
ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ
▪ ประเภทที่สอง status positivus หมายถึงกลุ่มของสิทธิที่การใช้สิทธิและเสรีภาพของ
ปัจเจกบุคคลมิอาจบรรลุความมุ่งหมายได้หากปราศจากการเข้ามาดาเนินการอย่างใด
อย่างหนึ่งจากฝ่ายรัฐ มีลักษณะของสิทธิเรียกร้อง กล่าวคือ ผู้ทรงสิทธิสามารถเรียกร้อง
ให้รัฐกระทาการในสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ตน เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สิทธิในการได้รับบริการทางสาธารณสุข สิทธิในการได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรม
จากรัฐของเด็กและเยาวชน สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งมีอายุ
เกินหกสิบปีบริบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือ
จากรัฐของผู้พิการ และ สิทธิเรียกร้องให้รัฐ คุ้มครองตนเองในทางกฎหมายโดยผ่าน
สถาบันศาล
ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ
▪ ประเภทที่สาม status activus หมายถึง กลุ่มของสิทธิที่ปัจเจกบุคคล
ใช้ สิท ธิ ข องตนในการเข้ าไปมีส่ ว นร่ว มในการสร้า งเจตจ านงแห่ง รั ฐ
กล่าวคือ ผู้ทรงสิทธิสามารถเรียกร้องการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้
หรือสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรของรัฐ สิทธิเสรีภาพประเภทนี้
จะมีการบัญญัติรับรองออกมาในรูปสิทธิของพลเมือง อันได้แก่สิทธิของ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สิทธิในการสมัครรับราชการ สิทธิในการจัดตั้งพรรค
การเมือง ทั้งนี้ สิทธิประเภทนี้มักจะจากัดให้เฉพาะพลเมืองในชาตินั้น
ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ
ข. การแบ่งโดยพิจารณาจากผู้ทรงสิทธิ
แนวคิดนี้แยกสิทธิและเสรีภาพโดยพิจารณาจากผู้ซึ่งได้รับสิทธิ
ตามรัฐธรรมนูญหรือบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง ซึ่ง
อาจแบ่งสิทธิเสรีภาพได้ดังนี้
▪ ประเภทแรก คือ สิทธิมนุษยชน
▪ ประเภทที่สอง คือ สิทธิพลเมือง
การรับรองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
▪ บัญญัติไว้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและ
ความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
▪ วรรคสอง “ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตาม
รัฐธรรมนูญเสมอกัน”
มาตรา 25 “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยนอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะใน
รัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิ
และเสรีภาพที่จะทาการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือ
เสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถ
ใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย
จากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทาความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะ
ได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ”
สิทธิและเสรีภาพตามหลักสากล (International Covenant on
Civil and Political Rights – ICCPR)

▪ 1) ต้องไม่กระทบความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
▪ 2) ต้องไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
▪ 3) ต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของคนอื่น
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ2560
▪ 1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
▪ 2. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง
▪ 3. สิทธิการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
▪ 4. เสรีภาพในการนับถือศาสนา
▪ 5. สิทธิส่วนบุคคล (ความเป็นส่วนตัว)
▪ 6. เสรีภาพในเคหสถาน
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ2560
▪ 7. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
▪ 8. เสรีภาพในการนาเสนอข่าวสาร
▪ 9. เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
▪ 10. สิทธิในทรัพย์สิน
▪ 11. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกที่อยู่อาศัย
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ2560
▪ 12. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
▪ 13. สิทธิในข้อมูลข่าวสาร
▪ 14. เสรีภาพในการรวมกลุ่ม
▪ 15. สิทธิในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและ
ธรรมชาติ
▪ 16. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ2560
▪ 17. เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง
▪ 18. สิทธิของผู้บริโภค
▪ 19. สิทธิได้รับการบริการทางด้านสาธารณสุขจากรัฐ
▪ 20. สิทธิของแม่ ผู้สูงอายุและผู้ยากไร้
▪ 21. สิทธิและเสรีภาพที่ถูกนาไปบัญญัติไว้ในหมวดหน้าที่ของรัฐ
▪ 22. สิทธิและเสรีภาพที่ถูกบัญญัติไว้ในหมวดนโยบายแห่งรัฐ
หลักการจากัดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
▪ มาตรา 26 “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล
ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้
บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระ
หรือจากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจาเป็นใน
การจากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย
▪ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ
แก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง”
เงื่อนไข 4 ประการ
▪ 1. ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม
▪ 2. ไม่เพิ่มภาระหรือจากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่
เหตุ
▪ 3. จะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้
▪ 4. ต้องระบุเหตุผลความจาเป็นในการจากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย

You might also like