ตัวอย่างการเขียนรายงานการสอบสวนโรค

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

PH-08-4 แบบบันทึก case การสอบสวนโรคและรายงานโรค

รายงานการสอบสวนโรค โควิด-19
อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ปี2563
วันที่ 15 ธันวาคม 2564

ผู้เขียนรายงาน นายจตุพร สรสิทธิ์


นายสุกฤษฎิ์ แก้วงาม
นายสุไลมาน ดอเลาะตาเฮ
นายวีระชัย ระย้ายย้อย
นายวุฒิพงษ์ จำปาลี

ทีมสอบสวนโรค นิสิตฝึกปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและอาจารย์พี่เลี้ยง

ความเป็นมา
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) ที่กำลัง
ระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ พบครั้งแรกกลาง
ทศวรรษที่ 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และ
สัตว์1 ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลก
ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”
และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 (Coronavirus
Disease 2019(COVID-19)) เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 แรกเริ่มถูกค้นพบจากสัตว์ โดยเป็นสัตว์ทะเลที่
มีการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วคนที่อยู่ใกล้ชิดคลุกคลีกับสัตว์เหล่านี้ก็ติดเชื้อไวรัสมาอีกที โดยเริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น เมือง
หลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่
แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอด โดยเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายลุกลามอย่างรวดเร็วและเพิ่ม
มากขึ้น จนทำให้ปอดเกิดการเสียหายและสุญเสียการทำงานหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้ผู้ ปว่ ย
เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว1องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ประกาศให้การระบาดนี้
เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.25632และประกาศให้เป็นโรคระบาด
ทั่วไป ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2563 และวันที่ 15 มกราคม 2564 มีผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วมากว่า 93,612,520 คน
ใน 213 ประเทศ มีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดแล้วมากกว่า 2,004,449 คน และมีผู้หายป่วยแล้วมากว่า 66,917,580
คน
จากรายงานสถานการณ์โรคโควิด -19 ในประเทศไทยที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง กรมควบคุมโรคจึง ได้
ดำเนินการยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน โดย
ประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 รายแรกในวันที่ 8 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีน
และเกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจากประชากรภายในประเทศด้วยกัน รัฐบาลจึงกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการ
ควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 และเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดมีความร้ายแรงมากขึ้น รัฐบาลจึงประกาศใช้พระ
ราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระ
ราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
2534 เพื่อควบคุมสถานการณ์และจำกัดพื้นที่การแพร่ระบาดของโรค4
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ได้รับรายงานจาก ผู้นำชุมชนและอสม. ว่าวันที่ 5 ธันวาคม 2564 มีผู้
เดินทางมาจากต่างพื้นที่เข้ามาเยี่ยมคนในพื้นที่โดยรถส่วนตัว เวลา 12.00 น. และออกจากพื้นที่ในเวลา 16.00 น.
และได้ไปซื้อที่ตรวจ Antigen Test มาทำการตรวจเอง ในวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ผลเป็นบวก Positive จึงได้
แจ้ง ผู้นำชุมชน และทาง รพ. ออกรับในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เพื่อมาตรวจ Rabid Antigen Test และได้
ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี rt-PCR และ X-ray
จากนั้นทีมตระหนักรู้สถานการณ์และสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อำเภอโพนนาแก้ว และ รพ.โพนนาแก้ว ค้นหา
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เพื่อให้เข้าไปรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในสถานพยาบาลใกล้บ้าน พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 1 ราย (ลูก
ชาย) ได้เดินทางมาด้วยกันได้ตรวจหาเชื้อ Rabid Antigen Test ที่โรงพยาบาลโพนนาแก้ว ผลเป็นลบ Negative
และได้ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี rt-PCR ผลเป็นลบ จึงได้เฝ้าระวังและนัดหมายวันและเวลาเข้ามาตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2
และ 3 ต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อทำการค้นหาสาเหตุหลักของการอพร่ระบาดของโควิด-19
2. เพื่อทำการควบคุมและยับยั้งการระบาดของโรคโควิด-19
3. เพื่อเสนอขอคิดเห็นแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ
4. เพื่อเป็นองคความรูและแนวทางในการสอบสวนโรคครั้งตอไป
5. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และปญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น
วิธีการศึกษา (Methods)
1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา(Descriptive study) ทบทวนประวัติของผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ของจังหวัดสกลนคร และอำเภอวาริชภูมิ สัมภาษณ์ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องและ
เพื่อนของผู้ป่วย เพื่อสอบถามประวัติเสี่ยงการรับเชื้อ อาการป่วย การรักษา และพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดโรคค้นหา
ผู้ป่วยเพิ่มเติม (Active case finding) ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม
นิ ย ามผู ้ ป ่ ว ยที ่ เ ข้ า เกณฑ์ ส อบสวนโรค (Patients under investigation: PU) [กรมควบคุ ม โรค.
25 มีนาคม 2563] พิจารณาจากอาการ/ อาการแสดง ร่วมกับปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
1 อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเชียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีใช้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับ
มีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
2 ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบทั้ง 2 กรณี ให้ร่วมกับ มีประวัติในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย อย่าง
ใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
1) มีประวัติเดินทางไปยัง หรือ มาจาก หรืออยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยง
2) เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
3) มีประวัติใใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4) เป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเข้า เกณฑ์
สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
5) มีประวัติไปในสถานที่ชุมชนและมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงเวลา
เดียวกับผู้ป่วย ตามประกาศของคณะกรมการโรคติดต่อจัง หวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุง เทพมหานคร
ข้อสังเกต: พื้นที่เสี่ย ได้แก่ พื้นที่ที่ประกาศเขตติดโรคฯ ตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพื้นที่ที่มีการระบาด
ต่อเนื่อง
2. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติกรเพื่อยืนยันสาเหตุของการเกิดโรค
โดยวิ ธ ี เ ก็ บ Nasopharyngeal Swab ร่ ว มกั บ Throat swab หรื อ Or pharyngeal swab หรื อ Throat swab
อย่างเดียว ใส่ใน VTM/UTM 3 m โดยรวมไว้ในหลอดเดียวกัน จกจมูกและคอของ Pบ! และผู้สัมผัสใกล้ ชิด ที่มี
ความเสี ่ ย งต่ อ การรั บ เชื ้ อ สู ง (High risk closed contact) เพื ่ อ ตรวจหาพั น ธุ ก รรมของเชื ้ อ severe acute
respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-COV-2) ด้วยวิธี Reverse transcription polymerase chain
reaction (RT-PCR) ยืนยันจากห้องปฏิบัติการตามวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศรับรองในการศึกษาครั้งนี้ ส่ง
ตรวจวิเคราะห์ผล ณ โรงพยาบาลโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
3. การศึกษาสภาพแวดล้อม โดยการสำรวจ สัง เกตลักษณะสุขาภิบาล สภาพแวดล้อม สัมภาษณ์ผู้ที่
เกี่ยวข้อง การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อนำ
ข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค สถานที่สำรวจ ประกอบด้วย บ้านพักอาศัย ได้แก่ บ้านผู้ป่วยที่
ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ทั้งภายใน/นอก ห้องนอน ห้องน้ำ และพื้นที่รอบๆ บ้าน

ผลการสอบสวนโรค (Results)
1. ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยชื่อ นางลักษณ์ขนา ขนุน เพศหญิง อายุ 38 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 116 หมู่ 5 ตำบลนาแก้ว
อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
2. ประวัติการเจ็บป่วย
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 มาโรงพยาบาลโพนนาแก้ว มาด้วยอาการไข้ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ก่อนมา
โรงพยาบาล 2 วัน
3. ผลการตรวจร่างกาย
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 น้ำหนัก 59 กิโลกรัม , ส่วนสูง 153 เซนติเมตร, อุณหภูมิ 38.5 องศา
เซลเซียส, ความดันโลหิต 120/82 HHmg, อัตราการเต้นของหัวใจ 80 ครั้ง/นาที, อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
4. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ Antigen test และ RT-PCR พบเชื้อ (Positive)
5. Timeline ผู้ป่วย
5 ธ.ค. 64 เพื่อนจาก อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร (ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโควิด -19 รายที่7,873)
เดินทางมาเยี่ยมที่บ้าน บ้านหนองกะบอก ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร
6 – 7 ธ.ค. 64 อาศัยอยู่ที่บา้ นไม่ได้ออกไปไหน
8 ธ.ค. 64 17.00 เดินไปซื้อของที่ตลาดเชียงเครือ (สวมหน้ากากอนามัยตลอด)
9 ธ.ค. 64 09.00 เดินไปสหกรณ์ยูเนี่ยน ท่าแร่ (สวมหน้ากากอนามัยตลอด)
10 ธ.ค. 64 10.00 เพื่อน (ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโควิด-19 รายที่7,873) โทรมาบอกว่าติดเชื้อ
โควิด-19
16.00 มาโรงพยาบาลโพนนาแก้วเพื่อจะขอตรวจหาเชื้อโควิด -19 เนื่องจาก
เป็นวันหยุดราชการ จึงไม่ได้รับการตรวจ
11 ธ.ค. 64 17.00 เดินทางไปซื้อชุดตรวจ Antigen test ที่ร้านนภาเภสัช ท่าแร่
12 ธ.ค. 64 ลู ก ชายทำการตรวจหาเชื ้อ หา โดยชุ ด ตรวจ Antigen test ผลการตรวจ
พบเชื ้ อ (Positive) หลั ง จากตรวจพบเชื ้ อ ได้ แ จ้ ง ให้ ก ั บ ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า น
และผู้ใหญ่บ้านประสาน รพ.สต
13. ธ.ค. 64 เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด -19 ด้วย Rapid Antigen test ที่โรงพยาบาล
โพนนาแก้ว ผลเป้นบวก ตรวจยืนยันหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แล้วกัก
ตัวที่ห้องแยกของ รพ.
*ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 1 ราย อยู่ระหว่างการกักตัว

มาตรการการควบคุม
1. ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคผ่านเสียงตามสาย
2. มาตรการให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกคน
3. มาตรการในร้านค้า สวมหน้ากากอนามัย จัดให้มีจุดวางแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือในบริเวณจุดคัดกรอง
ทางเข้า-ออก
การวิจารณ์ผล
การระบาดครั้งนี้สามารถควบคุมบริเวณผู้ป่วยได้ทันท่วงที เนื่องจากมีการติดตามผู้ป่วยได้ทันที การเกิด
โรคโควิด - 19 ในครั้งนี้ ผู้ป่วยได้มีการตรวจโรคด้วยตัวเองก่อนเมื่อพบเชื้อจึงแจ้งผู้ใหญ่บ้านทันที และทีม รพ.สต.
ในพื้นที่ระดับตำบลมีการประสานความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นอย่างดี ทั้งนี้อำเภอโพนนาแก้ว ได้มี
การเฝ้าระวังโรคโควิด - 19 เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเสี่ยงต่อการระบาดของโรค
โควิด - 19 ได้

ปัญหาและข้อจํากัดในการสอบสวน
เนื่องจากมีการป้องกันการแพร่ระบาด และการเฝ้าระวังผู้สัมผัส จึงมีข้อจำกัดในการสอบสวนโรคดังนี้
1. เป็นการสอบสวนโรคระยะไกล ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งผู้สอบสวนไม่สามารถทราบถึงบริบทหรือ
ลักษณะท่าทาง จึงเป็นอุปสรรคในการแปลผลการสอบสวนว่ามีความจริงเท็จมากน้อยเพียงใด
2. จากการสอบสวนโรค ผู้ป่วยเปิดเผยข้อมูลไม่หมด ไม่ละเอียด ต้องถามซ้ำหลายครัง
สรุปผลการสอบสวน
จากการสอบสวนครั้งนี้สรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ผู้ป่วยรายนี้ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อน (ผู้ป่วย
ติดเชื้อยืนยันโควิด-19 รายที่ 7,873) โทรมาบอกว่าติดเชื้อโควิด จึงเดินทางไปซื้อชุดตรวจ Antigen test ที่ร้าน
นภาเภสัช ท่าแร่ โดย วันที่ 12 บุตรชายเป็นผู้ตรวจให้ (ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ) ผลพบว่า พบเชื้อ จึงแจ้งหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง วันที่13 เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Rapid Antigen test ที่โรงพยาบาลโพนนาแก้ว ผลเป้นบ
วก ตรวจยืนยันหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แล้วกักตัวที่ห้องแยกของ รพ.
*ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 1 ราย อยู่ระหว่างการกักตัว

ข้อเสนอแนะ
1. แจ้งเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบแนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค และการรายงานผู้ป่วยที่ต้องสงสัย
ทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พร้อมกับแจ้งแนวทางการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วต่อไป
2. การพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ให้ครอบคลุมและทั่วถึงในทุกพื้นที่ ไม่ให้เกิดการ
ระบาด
3. ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ มาตรการ "ล้างมือ กินร้อน ช้อนฉันห่างกัน 2 เมตร
และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกคน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนเกิดความ
ตระหนักถึงความสำคัญ

กิตติกรรมประกาศ
รายงานผลการสอบสวนโรคสถานการณ์ ก ารแพร่ ร ะบาด ของโควิ ด -19 โรงพยาบาลโพนนาแก้ ว
พ.ศ. 2564 ฉบั บ นี ้ ส ำเร็ จ สมบู ร ณ์ ไ ด้ ด ้ ว ยความร่ ว มมื อ ของบุ ค ลากร หลายท่ า น ผู ้ จ ั ด ทำขอขอบพระคุ ณ
นายฉัตรชัย คำเพ็ชรดี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ โรงพยาบาลโพนนาแก้ว ที่ได้กรุณาเป็นที่ปรึกษา ให้
แนวคิด คำแนะนำ ความรู้ ความเข้าใจ ตรวจสอบ แก้ไขและชี้แนะข้อบกพร่องต่างๆ ขอขอบพระคุณนายแพทย์
ตฤณพงศ์ ธีรพงศ์ธนสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนนาแก้ว ที่เป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์และได้กรุณาให้
คำแนะนำ และข้อเสนอแนะต่างๆ ทำให้การศึกษาครั้ง นี้มี ความสมบูร ณ์ม ากขึ ้นขอขอบพระคุณ เจ้าหน้ า ที่
โรงพยาบาลโพนนาแก้วทุกกลุ่มงาน ที่ได้ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อ
ทำการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา บุคคลในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ที่ให้ความรัก
ความเข้าใจ ให้กำลังใจและสนับสนุนช่วยเหลือเสมอมา จนรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ คุณประโยชน์ที่
เกิดจากการจัดทำรายงานในครั้งนี้ขอมอบแด่ บิดา มารดา คณาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
เอกสารอ้างอิง
- สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย. (2564). คู่มือการบริหารความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19).
- แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด -19 ในข้อกำหนดออกตามความใน
มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1)
- อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้ วารสารสมาคม
วิชาชีพสุขศึกษา. (35)1
- สุ ม าลี จุ ท อง. (2563). การจั ด การภั ย พิ บ ั ต ิ โ รคระบาดโควิ ด 19 ในพื ้ น ที ่ ช ุ ม ชนริ ม คลองหั ว หมากน้ อ ย
สำนักงานเขตบาง กะปิ.

You might also like