Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

UNIT 1-2

ประวัติความเป็นมาของการแปล
การแปลเริ่มมาจากไหน?
การแปลเริ่มตั้นตั้งแต่เมื่อใด ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน ปีเตอร์ นิวมาร์ค กล่าวว่า “การแปลมีมาตั้งแต่ 3000 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช ” และวรรณกรรมแปลเก่าแก่ที่สุดที่พบในปัจจุบันคือ “เอกสารที่ขุดพบในบริเวณเมืองเอบลา
(Ebla) ” ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศซีเรีย ในปัจจุบัน โดยคาดว่า เนื่องจากในสมัยโบราณนั้น ดินแดนแถบ
นั้นเป็นศูนย์กลางการค้าขาย จึงเป็นที่ๆ คนหลายชาติ หลายภาษา มาชุมนุมกัน เพื่อทำธุรกิจ มีการเจรจาธุรกิจ
และการค้า จึงจำเป็นต้องมีการแปล แลกเปลี่ยนเอกสาร เพื่อทำสัญญาทางการค้ากัน
การแปลเริ่มเข้ามามีบทบาทในยุโรปประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักแปลชาวยุโรปในตอนเริ่มแรกเชื่อกัน
ว่าเป็นชาวกรีก ซึ่งแปล “มหากาพย์โอดิสซี ของ โฮเมอร์ ” จากภาษากรีกเป็นภาษาละติน ตรงนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น
ของการแปลในสมัยกรีกโบราณ

ประวัติการแปลในประเทศไทย
เท่าที่มีหลักฐานนั้น การแปลในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย และจุดประสงค์หลักของการ
แปลในสมัยนั้น ก็เพื่อเรื่องศาสนา โดยหลักฐานต่างๆก็ได้แก่ การแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาจาก
ภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ตัวอย่างงานแปลในสมัยสุโขทัยที่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนนั่นก็คือ “ศิลา
จารึกวัดป่ามะม่วง” ซึ่งเขียนเป็นภาษาขอมโบราณ ภาษาไทยและภาษาบาลีถือเป็นการแปลโดยตรง
เพราะเป็นเอกสารที่พูดถึงเรื่องเดียวกัน เนื้อความเดียวกัน โดยเนื้อหาของศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ก็
คือ เอกสารกึ่งศาสนาที่บอกว่า มีการสร้างวัดป่ามะม่วงขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร

การสอนแปลภาษา
เริ่มขึ้นเมื่อสมัย รัชกาลที่ 4 โดยเริ่มมีการสอนการแปลเป็นทางราชการเพื่อ ผล
ประโยชน์ทางด้านการเมือง มีการส่งคนไปศึกษาต่อในต่างประเทศ มีการออก
หนังสือพิมพ์โดยหมอ บรัดเลย์ เป็นบรรณาธิการ มีการจัดพิมพ์ปทานุกรมแปล
ความหมายของคำภาษาไทย ออกไปเป็นภาษาละติน ฝรั่งเศส และอังกฤษ

รูปแบบของการแปล อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ


1. การแปลตามรูปของภาษา (Form) หรือการแปลตรงตัว/การแปลตามตัวอักษร(Literal
Translation) เป็นการแปลที่พยายามรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้มากที่สุด มุ่ง
ความถูกต้องแม่นยำเป็นหลัก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง (Structure) และการใช้คำ
เพื่อ ให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษาของภาษาฉบับแปล การแปลลักษณะนี้ ใช้ในกลุ่มนักวิชาการหรือ
กลุ่มเฉพาะอาชีพที่ต้องการความถูกต้องของสาระข้อเท็จจริง เพื่อจุดประสงค์ในด้านการศึกษาค้นคว้า
หรือการนำไปปฏิบัติ เช่น การแปลฉลากยา ขั้นตอนการทดลอง คู่มือปฏิบัติการ กฎหมายสนธิสัญญา
ระหว่างประเทศ รายงานและเอกสารราชการ

2. การแปลตามความหมาย (Meaning) หรือ การแปลสรุปความ (Free Translation) เป็นการแปลที่ไม่ได้มุ่งรักษาโครงสร้าง


ตามความหมาย หรือรูปแบบของต้นฉบับอย่างเคร่งครัด มีการโยกย้ายขยายความ หรือตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงรูปคำหรือ
ไวยากรณ์ การแปลลักษณะนี้นิยมใช้กับเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรักษาความถูกต้องของต้นฉบับ เป็นการแปลที่ใช้ในสื่อมวลชนทุก
ประเภทโดยเฉพาะเพื่อความบันเทิง ผู้แปลอาจอ่านจบทีละย่อหน้า ทำความเข้าใจกับเนื้อหา วิธีคิด จุดมุ่งหมายของผู้เขียน และสิ่งที่
ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เมื่อสรุปเนื้อหาหลักของต้นฉบับแล้ว จึงถ่ายทอดออกมาโดยเรียบเรียบใหม่ และการแปลลักษณะนี้เป็นการแปลที่
นิยมแพร่หลาย ตัวอย่างของการแปลลักษณะนี้ คือ การแปล นวนิยายเรื่องสั้นนิทาน บทวิทยุ โทรทัศน์
การแปลทั้ง 2 ชนิด มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการแปลให้มีความแม่นยำและสละสลวยมากที่สุด การแปลแม้จะสละสลวย
ก็ไม่ถือว่าสมบูรณ์ ถ้าเนื้อหาผิดไปจากเนื้อหาเดิม ส่วนการแปลที่เนื้อหาดีแต่ไม่สละสลวยถือว่าดีกว่า เพราะผู้อ่านสามารถได้รับเนื้อหา
จากต้นฉบับได้ตรงตามเนื้อหาเดิม

หลักการแปล/ ลักษณะของภาษาที่ดีในงานแปล การแปลให้ได้ทั้งความถูกต้องและสำนวนที่ไพเราะ


อาจยึดหลักการแปลง่ายๆ 4 ประการ ดังนี้
1. มีความชัดเจน คือเป็นภาษาที่มีลักษณะกระชับ ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น รูปประโยคควรเป็นประ
โยคสั้นๆ หลีกเลี่ยงโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน มีการใช้ข้อความที่ถ่ายทอดความคิดได้แจ่มแจ้งเช่น
ประโยคเดียวแสดงความคิดเดียว ไม่กำกวม หรือชวนให้ตีความได้หลายแง่หลายมุม
2. ใช้ภาษาได้เหมาะสม ผู้แปลต้องเลือกใช้ลีลาการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะของเรื่องที่จะ
แปล เช่น การแปลนวนิยายอาจใช้สำนวนให้เกิดภาพพจน์ การแปลงานด้านกฎหมายหรือการแพทย์ต้อง
ใช้ศัพท์เฉพาะ และลีลาการเขียนที่สั้นๆ ไม่ใช้คำหรูหรา หรือสำนวนอ้อมค้อม
3. ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสัมพันธ์กับความคิดที่กระจ่างแจ้งและตรงตาม
ต้นฉบับ
4. มีความสมเหตุสมผลในแต่ละภาษา มีความสมเหตุสมผลต่างกัน ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในการ
แปลต้องมีความสมเหตุสมผลเท่าๆ กับภาษาต้นฉบับด้วย

กระบวนการ/ขั้นตอนการแปล (Steps in Translation) เพื่อให้ได้ผลงานที่ดี ตรงกับความต้องการ


การแปลควรดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดวิธีการแปล เมื่อได้งานที่จะแปล ให้กำหนดวิธีการแปลที่เหมาะกับเนื้อหานั้นให้มาก
ที่สุด ถ้าวิธีการแปลไม่เหมาะสมกับงาน อาจได้ผลงานไม่ดี หรือไม่ตรงกับความต้องการ
2. ถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐาน การถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐานจะทำให้แปลง่ายและ
เข้าใจง่าย โดยผู้แปลต้องทำความเข้าใจต้นฉบับเป็นอย่างดี สามารถแยกออกเป็นประโยคสั้นๆ ได้
3. เรียบเรียงประโยคใหม่ เมื่อได้ประโยคพื้นฐานแล้ว ก็ดัดแปลง/ ตัด/ ต่อเติม เพื่อให้ได้
ประโยคที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ได้ภาษาที่สละสลวย เหมาะสมกับประเภทของงาน
4. ปรับปรุงแก้ไข สำรวจผลงานอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงจนกว่าจะพอใจ

คุณสมบัติของนักแปลที่ดี
1. ผู้แปลต้องเข้าใจนัย (sense) และความหมาย (meaning) ของผู้เขียนต้นฉบับเป็นอย่างดี
ว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ต้องการจะให้อะไรกับผู้อ่าน เพื่อจะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้น ๆ ไปยัง
ผู้อ่านฉบับแปลได้ถูกต้อง
2. ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลอย่างดีเยี่ยม เพื่อจะให้แปลได้อย่าง
ถูกต้อง
3. ผู้แปลควรพยายามเลี่ยงการแปลคำต่อคำอย่างที่สุด มิฉะนั้น จะทำให้ผู้อ่านฉบับแปลไม่
สามารถเข้าใจฉบับแปลได้
4. ผู้แปลควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และใช้กันทั่วไป ไม่ใช่คิดคำ
สแลงใหม่ๆ ขึ้น หรือใช้คำที่ไม่สุภาพ ไม่เป็นที่นิยม
5. ผู้แปลต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสม ให้ถูกต้องกับความหมายตามต้นฉบับและ
รักษาบรรยากาศ (tone) ของต้นฉบับไว้

สรุป ผู้แปลต้องเข้าใจภาษาทั้งสองเป็นอย่างดี คือทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล ต้องมี


ความรู้และภูมิหลังในเรื่องที่จะแปลพอสมควร ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาเป็นอย่างดีเพื่อจะได้
ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง เข้าใจและอ่านได้อย่างอรรถรส

นางสาว ชญาภา โคตรโยธา643450274-5

You might also like