Untitled

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

การปรับพฤติกรรม การบริหารตนเองและเวลา

การปรับพฤติกรรม
ความหมายของการปรับพฤติกรรม
ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ (2525 : 30) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปรับพฤติกรรม
เป็นการประยุกต์หลักการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล
มิ คู ลั ส (Mikulas, 1978:2) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของการปรั บ พฤติ ก รรมไว้ ว่ า คื อ การประยุ ก ต์
หลักการพฤติกรรมที่ได้จากการทดลองเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรม
คาลิช (Kalish, 1981 อ้างใน สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2526 ข : 323) ให้ไว้ว่า การปรับพฤติกรรม
หมายถึง การนาเอาหลักพฤติกรรมมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ดังนั้น สรุปได้ว่า การปรับพฤติกรรม หมายถึง การประยุกต์หลักการพฤติกรรม หรือหลักการ
เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรม โดยเน้นที่พฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ หรือวัดได้เป็นสาคัญ

ความเชื่อพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม
นักปรับพฤติกรรมมีความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการ (ประเทือง ภูมิภัทราคม, 2529 : 11) คือ
2.1 พฤติกรรมปกติกับพฤติกรรมอปกติ พัฒนามาจากหลักการเดียวกัน คือจากหลักการเรียนรู้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายและระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่ อม
โรคลมชัก โรคเหน็บชา นอนกัดฟัน การหยุดหายใจขณะหลับ การปวดหัวไมเกรน ฯ
(พฤติกรรมอปกติ คือ พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติ โดยพิจารณาตามเกณฑ์ อาทิ การมีพฤติกรรมที่
เบี่ยงเบนจากพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม พฤติกรรมที่ปรับตวัไม่ได้ทาให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น คิด
แปลกๆ ไม่สนใจกฎเกณฑ์สังคม มีอารมณ์แปรปรวน กลัวการปฏิเสธ เป็นต้น)
2.2 พฤติกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยหลักการเรียนรู้
การปรั บ พฤติกรรม (behavior modification) หมายถึง การประยุกต์ของกระบวนการของ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขผลกรรม (operant conditioning)

คุณสมบัติของกระบวนการปรับพฤติกรรม
มิคูลัส (Mikulas, 1978:9-12) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของการปรับพฤติกรรมไว้ 5 ประการ ดังนี้
3.1 การปรับพฤติกรรมไม่เน้นอดีต (Ahistorical) หมายความว่า การปรับพฤติกรรมไม่สนใจมาก
นักว่า บุคคลมาจากไหน และปัญหาเกิดมาอย่างไรในอดีต แต่จะให้ความสนใจพฤติกรรมของบุคคลที่นี่ และ
ขณะนี้ (here and now) เป็นสาคัญ คือ สนใจว่าปัจจัยอะไรในขณะนั้นก่อให้เกิดหรือทาให้มีพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ในปัจจุบันและยังคงอยู่ ทั้งนี้ข้อมูลในอดีตจะเป็นประโยชน์ที่จะทาให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม
3.2 การปรับพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้การตีตรา หลีกเลี่ยงการจัดประเภทบุคคล และการใช้คา
บางคา เช่น อปกติ สันหลังยาว ตัวเชื้อโรค ไวรัสเอเซีย ฯ การตีตราบุคคลอาจจะเป็นการทาลายบุคคล (คนที่
ถูกตีตราว่าเป็นคนอย่างไร อาจจะทาให้บุคคลมีพฤติกรรมเช่นนั้นก็ได้ เช่น คนที่ถูกตีตราว่าเป็นคนเกียจคร้าน
แล้ ว พฤติกรรมของเขาอาจเปลี่ ย นแปลงไปในทางเกียจคร้านมากยิ่งขึ้นก็ได้) นอกจากนี้ยัง ทาให้ เกิดการ
มองข้ามพฤติกรรมที่เป็ นแบบฉบับหรือพฤติกรรมของตัวบุคคลนั้นจริงๆ นอกจากนี้คาตีตราที่ใช้แต่ละสังคม
อาจให้ความหมายต่างกันไปจึงควรหลีกเลี่ยง
3.3 การปรับพฤติกรรมเป็นเรื่องเข้าใจได้ (Sensible) หมายความว่า การปรับพฤติกรรมสามารถ
อธิบายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจได้โดยไม่จาเป็นต้องรู้รูปแบบเชิงทฤษฎีและคานิยามเฉพาะ เพื่อให้ได้รับความ
ร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้นให้การปรับพฤติกรรมดาเนินไปได้ด้วยดี
3.4 ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งนั ก ปรั บ พฤติ ก รรมกั บ ผู้ รั บ การปรั บ พฤติ ก รรม ผู้ ที่ เ ป็ น นั ก ปรั บ
พฤติกรรมสามารถถ่ ายทอด ฝึ กฝนบุ คคลอื่นๆ เช่น ครู ผู้ ปกครอง ผู้ เกี่ยวข้องให้ เรี ยนรู้เ ทคนิ ค การปรั บ
พฤติกรรม จนเป็นผู้ปรับพฤติกรรมได้ ทั้งนี้ผู้รับการปรับพฤติกรรรมสามารถปรับพฤติกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
จะทาเป็นกลุ่มหลายคนพร้อมๆ ก็ได้
3.5 ในการปรับพฤติกรรมสามารถฝึกบุคคลให้ปรับพฤติกรรมของตนเองได้ เทคนิคที่ใช้ส่วนใหญ่
ได้แก่ เทคนิคการควบคุมตนเอง (self-control) ซึ่งเป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่ฝึกให้บุคคลปรับพฤติกรรมของ
ตนเองด้วยตนเอง
เทคนิคการควบคุมตนเองเป็นเทคนิคที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของบุคคลเป็นอย่างมาก บุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะการควบคุมตนเองจากแหล่งต่าง ๆ ได้ เช่น จาก
จากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือ นิตยสาร ตารา คลินิก จากการให้คาปรึกษาและการฝึก เป็นต้น
แนวคิดในการปรับพฤติกรรม ได้นาทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทา (Operant
Conditioning) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่พัฒนาโดย บี.เอฟ.สกินเนอร์ (Burrhus F. Skinner) นักจิตวิทยาชาว อเมริกัน
ซึ่งเน้นการกระทาที่บุคคลต้องลงมือกระทาเอง (Emitted Behavior) สกินเนอร์เชื่อว่า พฤติกรรมเกิดร่วมกัน
ระหว่างตัวผู้แสดงพฤติกรรม (Genetic Endowment) และเงื่อนไขสิ่งแวดล้อม ในรูปผลกรรม
(Consequences) ทาให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง (Emitted Response) ซึ่งผู้แสดง
พฤติกรรม เป็นผู้กระทาเองและพฤติกรรมดังกล่าวถูกควบคุมโดยผลกรรม แนวคิดที่ อยู่บนพื้นฐานทฤษฎีการ
เรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทามี 2 แนวคิด ดังนี้
1. แนวคิดในการให้แรงเสริม (Reinforcement) การให้แรงเสริมเป็นวิธีการปรับพฤติกรรม
โดยอาศัยหลักการเรียนรู้ของสกินเนอร์ เน้นให้เห็นถึงความสาคัญของการให้แรงเสริมที่ว่า “การกระทาใดๆ
ที่ได้รับแรงเสริม การกระทานั้น ๆ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น แต่การกระทาใดๆ ที่ไม่ได้รับแรงเสริม การกระทา
นั้นๆ มีแนวโน้มที่จะลดลงและหายไปในที่สุด ” การให้แรงเสริมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การให้แรงเสริมบวก
และการให้แรงเสริมลบ
1.1 การให้แรงเสริมบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การให้สิ่งเร้าที่ทาให้พฤติกรรมที่
พึงประสงค์เพิ่มขึ้น หรือการให้สิ่งที่บุคคลพอใจ เมื่อบุคคลมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สิ่งที่ทาให้พฤติกรรม
เพิ่มขึ้น เรียกว่า “ตัวแรงเสริมบวก” (Positive reinforcer) เช่น ขนม อาหาร ของเล่น คาชมเชย กิจกรรมที่
ชื่นชอบ สิ่งเหล่านี้อาจจะเรียกว่า “รางวัล” เช่น อ้อมช่วยแม่กวาดบ้านและล้างจานเสร็จแล้ว แม่อนุญาตให้
อ้อมไปเล่นกับเพื่อนที่สนามหน้าบ้าน ผลปรากฏว่า พฤติกรรมการช่วยแม่กวาดบ้านของอ้อมเพิ่มขึ้น นั่นคือ
พฤติกรรมการช่วยแม่กวาดบ้านของอ้อมได้รับการเสริมแรงทางบวก คือ การได้รับอนุญาตให้ไ ปเล่นกับเพื่อนที่
สนามหน้าบ้าน กิจกรรมการได้ออกไปเล่นกับเพื่อนที่สนามหน้าบ้านเป็นตัวเสริมแรง (reinforcement)
1.2 การให้แรงเสริมลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การเพิ่มความถี่ของพฤติกรรม
โดยการขจัดสิ่งเร้าที่บุคคล ไม่พึงพอใจออกไปทันทีที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือการที่พฤติกรรม
ของบุคคลเพิ่มขึ้น เพราะพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมานั้น สามารถถอดถอนสิ่งเร้าที่ไม่น่าพึงพอใจ (Aversive
Stimulus) เช่น “โจ้” ข้ามถนนที่ทางม้าลายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตารวจปรับ พฤติกรรมการข้ามถนนที่ทาง
ม้ า ลายเป็ น พฤติ ก รรมที่ ส ามารถท าให้ พ้ น จากการถู ก ปรั บ เป็ น พฤติ ก รรมที่ ไ ด้ รั บ การเสริ ม แรงทางลบ
ความสามารถในการหลีกหนีจากการถูกตารวจปรับเป็นตัวเสริมแรงทางลบ แรงเสริมเชิงลบกับการลงโทษ
(Punishment) นั้นคล้ายกันแต่ ไม่เหมือนกัน
การลงโทษ หมายถึง การให้ บุคคลได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดหรือประสบการณ์ที่ไม่พึง
ปรารถนา เช่น การเฆี่ยนตีดุ ด่า
สาหรับการให้แรงเสริมลบจะเป็นการทีบ่ ุคคลพยายามขจัดสิ่งที่ทาให้เขา เจ็บปวดให้พ้นไป

2. แนวคิดในการควบคุมตนเอง การควบคุมตนเองเป็นเทคนิคที่บุคคลปรับเปลี่ยน พฤติกรรม


ของตนเองด้วยการระงับการแสดงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งให้ผลน่าพึงพอใจในปัจจุบันแล้ว การแสดงพฤติกรรม
บางอย่างทาเพื่อให้ได้รับผลที่น่าพอใจในอนาคต

การควบคุมตนเอง (Self- Control)


ความหมายของการควบคุมตนเอง (Self- Control) คือ กระบวนการที่บุคคลใช้วิธีการใดวิธี
หนึ่งหรือหลายวิธีการรวมกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ไปสู่พฤติกรรม
ที่พึงประสงค์ โดยที่บุคคลนั้นเป็นผู้กาหนดพฤติกรรมเป้าหมาย และดาเนินการกระบวนการต่างๆ ที่จะนาไปสู่
เป้าหมายนั้นด้วยตนเอง (Kazdin, 1984 : 196)
พฤติกรรมเป้าหมาย บุคคลจะต้องเป็นผู้กาหนดพฤติกรรมเป้าหมาย อาทิ
1. การยับยั้งร่างกายและใช้เครื่องช่วยเพื่อยับยั้งร่างกาย ได้แก่ การยับยั้งร่างกาย และเครื่อง
ป้องกันไม่ให้บุคคลกระทาพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ในเรือนจามีการปิดประตูใส่กุญแจสร้างรั้วกั้น การกระทา
ดังกล่าวเป็นการจากัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของบุคคล บุคคลเองก็ควบคุมพฤติกรรมของตนเองในทานองได้
เช่นนี้เช่นกัน เช่นใช้มือปิดปากป้องกันไม่ให้หัวเราะเสียงดัง หรือปิดปากเพื่อไม่ให้เสียงดัง เป็นต้น การควบคุม
ตนเองในลักษณะ นี้เป็นการควบคุมโดยการยับยั้งร่างกาย และใช้เครื่องช่วยเพื่อควบคุมพฤติกรรม
2. การเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าเพื่อไม่ให้กระตุ้นหรือเหนี่ยวนาให้เกิดพฤติกรรม เช่น การเก็บกล่อง
ของหวานให้พ้นสายตาเพื่อป้องกันไม่ให้หยิบมารับประทานได้ง่าย เป็นต้น การควบคุมตนเองในลักษณะนี้เป็น
การหลีกหนีจากสิ่งเร้าบางอย่าง โดยเฉพาะสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการกระทาแล้ว นาไปสู่ผลกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. การอดอาหารและการรับประทานอิ่มเกินไป การควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอาจกระทาให้
ร่างกายมีสภาพการขาดอาหาร เช่น บุคคลอดอาหารกลางวัน เพื่อจะรับประทานได้มากเมื่อไปงานเลี้ยงอาหาร
ค่า หรือในทางกลับกันบุคคลอาจรับประทานอาหารกลางวันพอสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้ปวดท้อง เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกทางอารมณ์ ในบางครั้งบุคคลต้องเปลี่ยนแปลงการแสดงออก
ทางอามรณ์ โดยการเปลี่ยนสิ่งเร้าหรือหลีกหนีไปจากสภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ ที่ไม่ต้องการ เช่น บุคคล
ป้องกันพฤติกรรมควบคุมอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม โดยเดินหนีไปจากสิ่งที่กระตุ้นหรือยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่
เหมาะสม หรือไม่เช่นนั้นก็กระทาพฤติกรรมตรงกันข้ามกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อเห็นผู้ใหญ่เดิน
สะดุดหกล้มในที่สาธารณะ บุคคลกัดริมฝีปากไม่ให้หัวเราะและเดินเลี่ยงออกไป เป็นต้น
5. ใช้สิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนา บุคคลใช้สิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาเพื่อควบคุมตนเอง เช่น ตั้งนาฬิกา
ปลุกเพื่อให้เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น จะได้ตื่นตรงเวลา ไปทางานทัน
6. ใช้ยาในการควบคุมพฤติกรรม ใช้ยาควบคุมพฤติกรรมของบุคคลหลายชนิด เช่น ใช้ยาแก้ปวด
ดื่มกาแฟเพื่อไม่ให้ง่วงนอนในระหว่างการอ่านหนังสือ เป็นต้น
7. การวางเงื่อนไขผลกรรม การเสริมแรงและการลงโทษตนเองเป็นวิธีการควบคุมพฤติกรรม
ตนเองของบุคคลอีกวิธีหนึ่ง บุคคลอาจจะตาหนิตนเองเมื่อไม่สามารถกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ได้ และบุคคลอาจชมตนเองภายหลังที่สามารถกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้สาเร็จตามวัตถุประสงค์
8. ทาสิ่งอื่น ๆ ในการควบคุมตนเอง บุคคลอาจควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนโดยการทา
พฤติกรรมอื่น ๆ แทน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่ น ขณะสนทนากับกลุ่มเพื่อน
บุคคลอาจเปลี่ยนเรื่องสนทนา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งขึ้น เป็นต้น

กระบวนการที่ใช้ในการควบคุมตนเองนั้น รอเรเซน และมาโฮนี (Threresen and Mahoney :


17-21) ได้กล่าวไว้ว่ามีกระบวนการที่สาคัญ 2 กระบวนการ ได้แก่
1. การควบคุมสิ่งเร้า (Stimulus control)
2. การควบคุมผลกรรมด้วยตนเอง (Self–present consquence)
การควบคุมสิ่งเร้า หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเรียนรู้ ที่จะประเมินสิ่งเร้า เงื่อนไข และ
สถานการณ์ที่ควบคุมพฤติกรรม เพื่อแสดงพฤติกรรมให้ ส อดคล้ องกับสถานการณ์ห รือสิ่ งเร้า ด้ ว ยวิธีการ
แยกแยะสิ่งเร้า จากนั้นจึงเปลี่ยนแปลง หรือจัดระบบสถานการณ์สิ่งเร้าใหม่ เพื่อเอื้ออานวยให้เกิดพฤติกรรมที่
ต้องการ (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และคณะ 2532 : 61, Esveldt-Dawson and Kazdin 1982 : 14 ; Martin
and Pear. 1988 : 118) ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้าของบุคคลใหม่นี้ จะสามารถช่วยกระตุ้นหรือลด
พฤติกรรม ดังนั้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมจึงต้องควบคุม สิ่งเร้า เช่น โอ้ติดการใช้สมาร์ทโฟน/โทรศัพท์มือถือมาก
แต่เมื่อถึงช่วงเวลาสอบโอ้จะต้องอ่านตาราเพื่อเตรียมตัวสอบ ถ้าโอ้นั่งอ่า นตาราโดยเปิดมือถือ เมื่อมีสัญญาน
ใดๆ เรียกเข้าก็อาจจะอยากดูข้อมูลข่าวสารนั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมพฤติกรรมการอ่านตาราของโอ้ ก็
จะต้องควบคุมสิ่งเร้า คือ โอ้ต้องไม่อ่านตาราพร้อมเปิดมือถือ จะเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลควบคุมสิ่งเร้าได้ ก็จะ
ควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ การควบคุมสิ่งเร้าเป็นการควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อพฤติกรรม

การควบคุมผลกรรม หมายถึง การให้ผลกรรมตนเองหลังจากที่ได้กระทาพฤติกรรม


เป้าหมายแล้ว (Thoresen and Mahoney 1974 : 22) ซึ่งผลกรรมนี้อาจจะเป็นได้ทั้งการเสริมแรงหรือการ
ลงโทษ แต่การลงโทษตนเอง เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของบุคคล ดังนั้นจึงเป็นการยากที่บุคคลจะนาไปปฏิบัติ
กับตนเอง นอกจากนี้ การลงโทษเป็นวิธีการที่เพียงระงับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เท่านั้น ไม่สามารถกาจัด
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้หมดไปได้ การลงโทษยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น เกิดความเครียด
ความกังวล ความกลัว และความก้าวร้าว เป็นต้น ดังนั้น บุคคลจึงนิยมการเสริมแรงตนเองมากกว่าการลงโทษ
ตนเอง

การควบคุมตนเองจะต้องประกอบด้วยขั้นตอนที่สาคัญ 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. การกาหนดพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเอง (Self-target-behavior) คือ บุคคลจะต้องกาหนด
พฤติกรรมเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไขด้วยตนเองให้ชัดเจน หลักและวิธีการกาหนดพฤติกรรม
เป้าหมาย ด้วยตนเองก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการดาเนินการปรับพฤติกรรมโดยบุคคลอื่น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้ว
2. การสังเกตและมีบันทึกพฤติกรรมตนเอง (Self-observation and recording) ในการสังเกตและ
บันทึกพฤติกรรมตนเองนั้นเป็นขั้นตอนที่สาคัญ ซึ่งบุคคลผู้รับการปรับพฤติกรรมจะต้องกระทาด้วยตนเอง โดย
การสังเกตพฤติกรรม จะต้องกระทาด้วยตนเอง โดยการสังเกตพฤติกรรมเป้าหมายที่กาหนดไว้แล้วในขั้นที่ 1
บันทึกไว้เป็นระยะๆ โดยทั่วไปแล้ว บุคคลจะต้องสังเกตและบันทึกเป้าหมายด้วยตนเอง ตั้งแต่ก่อนการใช้
เทคนิคการควบคุมตนเองและระยะการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับประเมินผลว่า
พฤติกรรมเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ หลังจากการดาเนินการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง
3. การกาหนดเงื่อนไขการเสริมแรงหรือการลงโทษตนเอง (Self-contiquency of reinforcement
or punishment) คือ การกาหนดกฎเกณฑ์ในการเสริมแรงและการลงโทษและภายหลังการทาพฤติ กรรม
เป้าหมาย
4. การประเมินพฤติกรรมตนเอง (Self-evaluation) คือ การที่ผู้รับการปรับพฤติกรรม พิจารณา
เลื อ กเทคนิ ค เพื่ อ น ามาใช้ ใ นการควบคุ ม ตนเอง การเลื อ กเทคนิ ค ด้ ว ยตนเองนี้ มี ข้ อ ดี ต รงที่ ผู้ รั บ การปรั บ
พฤติกรรม จะรู้ดีกว่าบุคคลอื่นว่าเทคนิ คใดเหมาะสมกับตน แต่อย่างใดก็ตาม บุคคลอื่นอาจเข้ามามีส่ ว น
ช่วยเหลือให้คาแนะนาการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมได้ โดยเฉพาะผู้รับการปรับพฤติกรรมที่เป็นเด็กแล้ว การ
ได้รับคาแนะนาช่วยเหลือจากผู้ใหญ่อาจจะมีความจาเป็น
5. การด าเนิ น การใช้ เทคนิ ค การควบคุ ม ตนเอง (Self-administration of techniques) คื อ การ
ดาเนินการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง ตามวิธีและขั้นตอนของเทคนิคที่พิจารณามาใช้ด้วยตนเอง
6. การประเมิน ตนเอง (Self-evaluation) คือการที่ผู้ รับการปรับพฤติกรรมประเมิน พฤติกรรม
เป้าหมาย

ข้อควรพิจารณาในการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง
ในการใช้เทคนิคควบคุมตนเอง มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. การควบคุมตนเอง บุคคลมีส่วนร่วมในการกาหนดพฤติกรรมเป้าหมายและวางแผนในการ
พัฒนาพฤติกรรมเป้าหมายของตนเอง ทาให้บุคคลได้พัฒนาพฤติกรรมนั้น ได้ดีกว่าการที่บุคคลอื่นเป็นผู้กาหนด
พฤติกรรมเป้าหมาย และดาเนินการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมนั้นให้ (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2526.ก.: 146)
2. การควบคุมตนเอง ทาให้บุคคลรักษามาตรฐานในการแสดงพฤติกรรมของตนเองคงทนขึ้น ซึ่ง
ทาให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงยาวนานกว่าการปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการควบคุมภายนอก
3. การควบคุมตนเอง บุคคลสามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ตลอดเวลา
เพราะบุคคลสามารถสังเกตพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใดก็ตาม จึงทา
ให้บุคคลสามารถเสริมแรงตนเองหรือการลงโทษตนเองได้อย่างทันท่วงที (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2526.ก.:
145)
4. การควบคุมตนเอง บุคคลมีโอกาสได้เลือกตัวเสริมแรงที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ จึง
มีผลทาให้ได้ตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพสูง
5. การปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการควบคุมตนเองและวิธีการควบคุมจากภายนอก แม้ว่าจะให้ผลไม่
ต่างกัน แต่วิธีการควบคุมตนเองเป็นวิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายและกาลังตนมากกว่าวิธีการควบคุมจากภายนอก
6. การควบคุมตนเอง อาจทาให้เกิดการลัดวงจรของการควบคุมตนเองได้ โดยสามารถให้การ
เสริมแรงตนเองในขณะที่ได้แสดงพฤติกรรมพึงประสงค์ได้ในทันที เพราะการเสริมแรงที่มาจากผู้อื่นหลังจาก
การแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์อาจต้องรอเวลายาวนานจึงจะเกิดขึ้น หรือการลงโทษจากผู้อื่นจากการแสดง
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น ต้องรอเวลายาวนานจึงจะเกิดขึ้น (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2526.ก.: 154)
7. การที่จะให้ผู้รับการปรับพฤติกรรมควบคุมตนเองได้นั้น จะต้องทาให้ผู้รับการปรับ พฤติกรรม
ตระหนักก่อนว่า พฤติกรรมเดิมนั้นไม่เหมาะสม มิฉะนั้นแล้วผู้รับการปรับพฤติกรรม คงไม่เห็นความสาคัญของ
การควบคุมพฤติกรรมตนเองให้เป็นไปตามเป้าหมาย การควบคุมตนเองก็จะไม่เกิดขึ้น
8. แม้จะมีผลการวิจัยยืนยันว่าผลของการใช้วิธีควบคุมตนเองและผลของการใช้เทคนิคการ
ควบคุมจากภายนอกจะมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันก็ตาม แต่วิธีการควบคุมตนเองเป็นวิธีการที่ประหยัด
ค่าใช้จ่ายในการดาเนินการมากกว่า

การบริหารตนเอง ( Self Management)


หมายถึง การพัฒนาตนเองทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยใช้การแก้ไข ปรับปรุง และส่งเสริมด้วย
เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจเจริญงอกงาม และพัฒนาเต็มตามศักยภาพของตนเอง
ตัวอย่างของการบริหารตนเอง ได้แก่ การออกกาลังกาย การฝึกจิต การบริหารเวลา การคลาย
ความเครียด การเสริมสร้างชีวิตให้มีความสุข และการมีทักษะของการอยู่ร่วมกันแบบสังคมประชาธิปไตย
1. หลักการบริหารตนเอง
1.1 การรู้จักตัวตน วิบูลย์ สุขใจ( 2535 : 77) การรู้จักตัวตนจะรู้ว่าตนทาอะไร จะไม่ก็เผลอไผลทา
อะไรไปโดยไม่รู้ ตัว ไม่ตั้งใจ บุ คคลจ าเป็ น อย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักตัว ตนๆ ซึ่งในที่นี้มักเกี่ยวข้องกับการรู้จัก
ประมาณตน การรู้จักประมาณตนมักจะสังเกตพฤติกรรมของตน และอาจพิจารณาจากความเชื่อมั่นในตนเอง
ของบุคคลนั้น
1.2 ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ในการดาเนินชีวิตนั้น อาจมีบางสิ่งที่บุคคลยังไม่รู้และไม่เข้าใจการ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ผ่านเข้ามาจึงนับเป็นเรื่องจาเป็นอย่างยิ่ง บางคน “หยิ่งเกินไปที่จะเรียนรู้ ” เพราะคิดว่า
ตนเองเก่งแล้ว บางคนนาเอาฐานะหรือตาแหน่งไปปะปนกับความรู้ ไม่เปิดกว้างที่จะรับฟังแนวความคิดจากผู้ที่
มีระดับต่ากว่าตน
1.3 การสารวจอารมณ์ บางครั้งบุคคลอาจประสบปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ ประสาร มฤคพิทักษ์ (
2531 : 151) ได้ให้ แนวคิดเกี่ย วกับ การสารวจอารมณ์ไว้ 6 ข้อ โดยการพิจารณาตนว่ามีความรู้สึ กเช่นนี้
หรือไม่
(1) เราไม่พอใจในสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของตัวเราเองในขณะนี้
(2) เรารู้สึกตัวเองว่า ทุกวันนี้มีแต่สภาพแห่งความถดถอย ท้อแท้ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต
(3) เรารู้สึกเสมือนหนึ่งว่าขาดแรงสนับสนุน ถูกกดดันจากผู้อื่นด้วยประการต่าง ๆ
(4) บ่อยครั้งที่เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางทีถึงขนาดนึกไม่อยากรับผิดชอบ
เรื่องราวต่างๆ
(5) เรายังไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการในชีวิต เช่น ไม่ได้เรียนในสาขาที่ชอบใจ งานที่ดีกว่าในปัจจุบัน
บ้านหลังใหญ่กว่านี้ รถยนต์คันใหม่ เงินทองที่มีเหลือพอใช้จ่ายอย่างสบายมือ
(6) เราเป็นทุกข์ เราอยากได้ความช่วยเหลือจากคนอื่น
จากการสารวจอารมณ์ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า บางครั้งบุคคลก็อาจพบปัญหาดังกล่าวในช่วง
ชีวิตของตนได้ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาทางอารมณ์ บุคคลจึงจาเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองซึ่ง ประสาร มฤคพิทักษ์ (
2531 : 151) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ 4 ประการ สรุปได้ดังนี้
1. ตั้งจุดมุ่งหมายว่า เราต้องมีความรู้มากกว่านี้ ต้องมีประสบการณ์ที่หลากหลายกว่านี้ มีระดับ
จิตใจสูงกว่านี้ให้อภัยคนที่ทาร้ายเราได้
2. มีความกระตือรือร้นที่จะใช้พลังกายและพลังใจ เพื่อก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยใจที่มั่นคง
3. ยอมรับอุปสรรคขวากหนามว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งของใคร และ
เป็นสิ่งที่เราสามารถชนะได้
4. มีความเด็ดเดี่ยว ตั้งใจจริง คิดว่าเราได้เดินมาครึ่งหนึ่งแล้ว ต่อจากนี้ไปคือความมีจิตหนึ่งใจ
เดียวที่จะก้าวให้ถึงยอด ไม่มีอะไรจะมาเบี่ยงเบนความตั้งใจมั่นของเราได้
ซึ่งแนวปฏิบั ติทั้ง 4 ประการนี้ จะช่ว ยให้ บุคคลสามารถเตรียมตัว เพื่อรับมือ กับ อารมณ์ แ ละ
ความรู้สึกที่หม่นหมอง หดหู่ และท้อแท้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
1.4 ขจัดความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่จาเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะความขัดแย้ง
ระหว่างบุคคล ซึ่ง อารมณ์ พูลโภคผล (2527:103) ได้สรุปสาเหตุของความขัดแย้งดังกล่าวไว้ 3 ประการคือ
(1) เกิดจากความต้องการ เนื่องจากสิ่งที่ตอบสนองมีไม่เพียงพอกับความต้องการของบุคคล เช่น
ต้องการฉีดวัคซีนแต่จานวนวัคซีนไม่เพียงพอ ความต้องการเงินเดือน 2 ขั้น พร้อมกันหลายๆคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้
หรือต้องการในสิ่งเดียวกัน เป็นต้น
(2) เกิดจากความแตกแยกของความคิดเห็น ซึ่ งมักเรียกว่าความขัดแย้งทางความคิด ถ้ามีความ
คิดเห็นไปคนละทาง หรือเหตุผลไม่ลงรอยกัน โดยต่างฝ่ายต่างยืนการในเหตุผลของตนเอง ความขัดแย้งทาง
ความคิดก็จะเกิดขึ้น
(3) เกิดจากพฤติกรรมที่คาดหวังไว้มิได้เป็นไปตามที่คาดหวัง ในสังคมทั่วไปบุคคลมักจะมีความ
คาดหวังที่จะให้บุคคลอื่นแสดงพฤติกรรมตามที่ตนคาดหวังแทบทั้งสิ้น ถ้าความคาดหวังไม่เป็นไปตามที่คิดไว้
ก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น
1.5 การยอมรั บ ความจริ ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับจุดบกพร่องของตนเองการยอมรั บ
จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองนับเป็นเรื่องสาคัญ บุคคลส่วนใหญ่จะมี ความสุขอยู่กับการเสนอจุดเด่นหรือจุดแข็ง
ของตนมากกว่าที่จะยอมรับจุดบกพร่องของตนเอง การแก้ไขเพื่อการยอมรับจุดบกพร่องนี้สามารถฝึกได้โดย
การกล้าเผชิญปัญหานั้นอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้มาก
การวางแผนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ เราต้องการนั้น ควรคานึงถึงความจริงที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
โดยพยายามมองโลกในแง่ดี และ “ควรคานึงถึงจุดบกพร่องว่าไม่ใช่เรื่องเลวร้าย”
1.6 ปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองอยู่เสมอ การสารวจจุดบกพร่องของตนเองเพื่อการปรั บปรุง
บุคลิกภาพเป็นเรื่องสาคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เห็นแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพ จึงขอนาเสนอตัวอย่าง ซึ่ง
จุฑา บุรีภักดี (2535 : 112- 118) ได้กล่าวไว้ว่า โดยหลักธรรมดา เมื่อเราอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมก่อนที่
เราจะเข้าใจผู้อื่น เราควรทาความเข้าใจตนเองก่อนว่า เราเป็นคนอย่างไร ลักษณะกิริยาท่าทาง การแสดงออก
อุปนิสัยใจคอ ความประณีต อารมณ์ ความสะอาด ความรักศิลปะ ความรู้เกี่ยวกับการสมาคมกับผู้อื่น ความรู้
เกี่ยวกับการดาเนินชีวิต และเข้าใจหลักการดาเนินชีวิตที่มีความสุขแล้วหรือยัง

2. การบริหารเวลา (Time Management)


2.1 สาเหตุที่ต้องมีการบริหารเวลา
การทากิจกรรมใดก็ตาม จาเป็นต้องเกี่ยวข้ องกับการจับเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทางาน
ร่วมกับผู้อื่น เวลายิ่งมีความจาเป็นมากขึ้นตามลาดับ ทั้งนี้เพราะเวลาเป็นสิ่งที่สังคมกาหนดขึ้นมาเป็นสากล
เพื่อให้บุคคลในสังคมเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเงื่อนไขของเวลาที่กาหนด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความพร้อมเพียงในการ
กระทากิจกรรมใด ๆ ได้ตรงตามเวลา ซึ่งทาให้กิจกรรมนั้น ๆ บรรลุผลสาเร็จในที่สุด
การบริหารเวลาจึงมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้ามีการกาหนดเงื่อนไขของเวลาไว้แล้ว ถ้า
บุคคลหรือสังคมนั้นไม่ปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกาหนดในเรื่องเวลา ซึ่งหมายถึงการบริหารเวลาไม่เป็น หรือไม่
รู้จักบริหารเวลาแล้วก็ย่อมทาให้งานหรือกิจการที่คาดหวังไว้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการบริหารเวลา
จึงนับเป็นองค์ประกอบที่สาคัญยิ่งที่ช่วยให้บุคคลสามารถบริหารตนให้พัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจควบคู่กันไป
ในการใช้เวลานั้น ถ้าเราพิจารณาอย่างสุขุม รอบคอบ จะเห็นได้ว่า “เวลาเปรียบเสมือนชีวิต” ซึง่
สอดคล้องกับจีระพันธ์ พูลพัฒน์ (2533) ได้กล่าวว่า “เวลาคือชีวิต ถ้าเราใช้เวลาเป็น เราก็เป็นเจ้าของชีวิต
เอง” แสดงให้เห็นว่าเวลาเป็นสิ่งสาคัญ การบริหารเวลาที่ดีจาเป็นต้องมีก ารวางแผนในการใช้เวลาอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยการใช้เวลาที่มีอยู่ตามกาหนดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คีรินทร์ ยมรัตน (2536 : 88-89) ได้เสนอสูตรการวางแผนงาน เป็นตัวอย่างการทางาน ดังนี้
1. งานที่สามารถกาหนดเวลาได้ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นงานที่มีความเคลื่อนไหว ทาอยู่เสมอ
2. งานที่มิได้มีการกาหนดเวลา ซึ่งเป็นงานทีส่ ามารถรอเวลาได้
จากนั้นจึงนางานทั้งหมดมาคัดเลือกว่างานชิ้นใดเป็นงานเร่งด่วน และมีความสาคัญจากมากไป
น้อย ซึ่งงานที่วางแผนเวลาไว้ล่วงหน้ามักจะประสบความสาเร็จด้วยดีเสมอ มีข้อคิดในเรื่องการบริหารเวลาว่า
ถ้าเป็นงานด่วน แต่ไม่มีความสาคัญแล้วจงกาจัดให้พ้นทางโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าเป็นงานด่วนและมีความสาคัญ
เราจาเป็นต้องจัดตารางเวลาใหม่
2.2 ตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับเวลาในการทางาน หมั่นสารวจตนเองอยู่เสมอเกี่ยวกับการทางาน
โดยตั้งคาถาม ถามตนเองตลอดเวลา ดังนี้
(1) ฉันทาสิ่งนี้เพื่ออะไร?
(2) นี่เป็นวิธีการใช้เวลาที่ดีที่สุดหรือไม่?
(3) ฉันต้องการทาสิ่งนี้จริงหรือไม่?
2.3 เทคนิคในการพัฒนาตนเองในการบริหารเวลา
(1) ในกรณีผู้ที่ไม่เคยจัดระเบียบให้แก่ตัวเอง ควรใช้สมุดบันทึกและควรมีระบบในการจัดเก็บ
เอกสารและการวางแผนเพื่อจัดระเบียบให้กับตนเอง
(2) ในกรณีที่ต้องกระทาในสิ่งที่ไม่จาเป็นเพราะถูกขอร้องจากบุคคลอื่น ควรจะตอบปฏิเสธบ้าง
ไม่ควรผูกมัดตนเองการรับปากด้วยความเกรงใจ ทั้งนี้เพราะการผูกขาดมัดตนเองกับเงื่อนไขเวลาเป็นสิ่งสาคัญ
และมีผลกระทบต่อการทางาน แม้ว่าบางครั้งการตอบปฏิเสธจะทาให้เกิดความไม่พอใจของบุคคลอื่นในระยะ
หนึ่งก็ตาม
(3) ป้องกันการรบกวนในการทางาน เช่น การปิดโทรศัพท์ ปิดประตูห้องทางาน หรือแจ้งไว้ว่า
คุณยังไม่ว่างพอที่จะพบใคร และควรกาหนดให้เขามาพบคุณในวันหลัง
(4) ขจัดความสูญเสียเวลาในการประชุมโดยการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อจะได้เสนอแนะสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ต่อที่ประชุมให้มากที่สุด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการประชุม
(5) ยกเลิกกิจวัตรที่ต้องปฏิบัติเป็นธรรมเนียมออกบ้าง เพราะบางครั้งการปฏิบัติสืบๆกั นมา
โดยไม่มีความจาเป็น ก็ทาให้สูญเสียเวลาในการทางานไปอย่างน่าเสียดาย
(6) ในระหว่างการรอคอยและเดินทาง ควรใช้เวลาในการอ่านหนังสือ จดบันทึกเหตุการณ์
ต่าง ๆ หรือทากิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ไม่ควรเสียเวลาไปกับการขุ่นเคืองใจ ความเบื่อหน่ายและการรอคอย
(7) ควรกาหนดเวลาให้ชัดเจนในงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อตนเองจะได้ทราบชัดว่างานนั้นควรเสร็จ
เมื่อใด ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าโดยไม่จาเป็น และเป็นการป้องกันการผลัดวันประกันพรุ่งของตนเองด้วย
ในขณะเดียวกันควรจะมองภาพให้เห็นชัดเจนว่า ถ้างานชิ้นนั้นไม่สาเร็จตามที่ ตั้งใจไว้ ผลที่เกิดตามมาจะเป็น
อย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างวินัยในการทางานให้ตนเองด้วย
2.4 การจัดตารางเวลาให้ตนเอง
บุคคลควรมีการจัดตารางเวลาให้ตนเองอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันควรจะสนใจตารางเวลา
นั้น และได้อ่านตารางเวลาเสมอๆ ในแต่ละวัน โดยเฉพาะตอนเช้าและก่อนเข้านอน ควรวางตารางเวลานั้นไว้
ในที่ๆ เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ถ้าจาเป็นควรทาสาเนาไว้หลายๆ ฉบับเพื่อจะได้เตือนตนเองไม่ให้ลืม

2.5 การเปลี่ยนเวลาการทาภารกิจประจาวัน
การจัดเวลาวันละ 1 ชั่วโมงออกมาจากงานยุ่งเหยิงประจาวันหรือภารกิจประจาวัน เจริญ ชัยชนะ
( 2507: 77) ได้กล่าวไว้ว่า “การกระทาดังกล่าวจะช่วยทาให้บุคคลสาคัญกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์เรืองนาม
การเปลี่ยนเวลาวันละชั่วโมง สามารถทาให้คนโง่กลายเป็นคนมีชื่อเสียงโด่งดัง สามารถทาให้เขาอ่านหนังสือ
ขนาดใหญ่ได้จบหลายเล่ม ฉะนั้นอาจต้องคิดให้ดีเวลาที่หนุ่มๆ สาวๆ ได้ปล่อยเวลาให้เปลืองไปเสียเปล่า แต่ละ
วัน วันละ 2 3 4 5 6 ชั่วโมง กับความบันเทิง ความสนุกสนาน ร่าเริงฯ เวลาที่เสียไปสามารถทาประโยชน์ให้แก่
เขาสักเพียงไหน ถ้าเขารู้จักนามันมาใช้”
2.6 เวลาปัจจุบันสาคัญที่สุด
ส่วนมากคนมักจะคานึงถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และมัก อาลัยอาวรณ์กับอดีตที่เรียกคืนไม่ได้ ซึ่ง
เวลาทั้ง 2 ช่วงดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เจริญ ชัยชนะ ( 2507: 83) ได้กล่าวไว้ว่า “ขอให้จาไว้ว่า
เวลาในปัจจุบันนี้เป็นเวลาที่เราสามารถผันแปรให้เป็นสิ่งใดก็ได้ตามความพอใจ อย่ามัวกังวลถึงเรื่องราวในอดีต
หรือใฝ่ฝันถึงเหตุการณ์ที่จะมีมาในอนาคต แต่จงรีบฉวยทาในเวลาปัจจุบันทุกขณะให้เกิดประโยชน์ แล้วท่าน
จะได้รับผลตอบแทนอย่างประเมินมิได้”
2.7 อย่าเกียจคร้าน ในการดาเนินชีวิต
ถ้าบุคคลมุ่งมั่นในการทางานอย่างขยันขันแข็ง และทุ่มเทแล้ว ยอมทางานนั้นประสบความสาเร็จ
ผิดกับชีวิตที่อยู่โดยความเกียจคร้านย่อมทาให้เส้นประสาทชา ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ ทาให้กาลังถดถอย
เปรียบเสมือนเครื่องมือที่หยุดใช้จนสนิมขึ้น
2.8 ความเป็นผู้ทันเวลา
การทางานที่ค้างไว้นั้นเราต้องลงแรงมากกว่างานที่เพิ่ง ลงมือทาใหม่ๆ งานที่เริ่มทาใหม่ๆนั้น จะ
ทาให้ผู้ทารู้สึกเบิกบาน แจ่มใส และมีความกระตือรือร้นที่จะทางานนั้น ผิดกับงานค้าง ซึ่งเรามักจะรู้สึกว่าต้อง
ฝืนใจทา เฉื่อยชา และเหนื่อยมากกว่าปกติ ดังนั้นผู้ที่ชอบทอดทิ้ งงานจึงมักจะทางานนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ช่วงเวลาใดก็ตามที่แต่ละคนรู้สึกว่าตนมีความปลอดโปร่ง มีความคิดเฉียบแหลม ควรหาโอกาสทางานที่ตั้งใจให้
สาเร็จลุล่วงไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ผลดีที่สุด ช่วงเวลาเหล่านี้อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งบุคคล
จะต้องเป็นผู้สังเกตและรู้จักเวลาเหล่านั้นของตนเอง
2.9 ควรเป็นผู้ตรงต่อเวลาในการนัดหมาย
การนัดหมายนับเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง และเป็นเครื่องบ่งบอกประสิทธิภาพของบุคคลนั้นได้เป็น
อย่างดี ผู้ที่ผิดนัดเปรียบได้เช่นเดียวกับผู้โกหก การตรงต่อเวลาเป็นกุญแจสาคัญของการทางาน งานที่ตรงต่อ
เวลาจะทาให้บุคคลนั้นสุขุม รอบคอบ ไม่รีบร้อน ผู้ที่ไม่ตรงเวลาจึงมักต้องทางานแข่งกับเวลา ดังนั้นบุคคลจึง
จาเป็นต้องมีวินัยในตนเองโดยเฉพาะเรื่องการตรงต่อเวลาซึ่งนับเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง

………………………………………………………………………………………

You might also like