Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 41

พยาน มาตรา ๘๖ – ๑๐๓

พยานที่รับฟังได้ – รับฟังไม่ได้

ม. ๘๖ พยานที่รับฟังได้ พยานที่รับฟังไม่ได้

- รับฟังได้ คือพยานที่ตรงกับประเด็นแห่งคดี

-รับฟังไม่ได้ คือ พยานที่ไม่ตรงกับประเด็นแห่งคดี

*ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายนี้

- ไม่มีในบัญชีระบุพยาน

- ยื่นบัญชีพยานไม่ถูกต้อง ..ยื่นไม่ตรงตามระยะเวลา ยื่นไม่ตรงตาม

กำหนด

- อ้างบัญชีพยานเอกสารไว้แต่ไม่สำเนาให้อีกฝ่าย(กรณีที่ต้องส่ง)

*ศาลปฏิเสธไม่รับฟังพยาน


-การยื่นคำร้อง มาตรา ๒๑
-การยื่นคำแถลง
การพิจารณาคดีในแต่ละครั้งศาลจะจดรายงานกระบวนพิจารณา ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๘
การจดรายงาน
- มาทำอะไร
- ใครมา
- ทำอะไรบ้าง
- จะทำอะไรต่อไป วันใด

หากมีการคัดค้านหรือแถลงประการใดให้จดไว้

ตัวอย่างรายงานกระบวนพิจารณา

นัดสืบพยานโจทก์วันนี้ โจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยและทนายจำเลยมา


ศาล
โจทก์นำพยานเบิกความ ปาก ระหว่างสืบพยานอ้างส่งเอกสาร
ฉบับ ศาลรับไว้หมาย จ...... ถึง จ....
แล้วโจทก์แถลงหมดพยาน
จำเลยขอสืบพยานจำเลยตามที่นัดไว้เดิม
พิเคราะห์แล้ว ให้นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ ................เวลา.....
๓.
................................................................ผู้พิพากษา
................................................................โจทก์
ทนายโจทก์
จำเลย
ทนายจำเลย
มาตรา ๘๖ วรรคสอง
-พยานฟุ่มเฟือย
-ประวิงคดี ไม่เกี่ยวกับประเด็น
(งดสืบพยาน)
วรรคสาม
๘๖ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.....
มาตรา ๘๘ การยื่นบัญชีระบุพยาน
วรรคหนึ่ง ยื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน
วรรคสอง ยื่นเพิ่มเติมหลังจากมีการสืบพยานไปแล้วไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม....พยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับประเด็น
มาสืบเพิ่มเติม.....
ศาลจะเรียกมาสืบเองก็ได้
ประเด็นของพยานในเรือ่ งต่าง ๆ
- สัญญา กู้
- ต่อสู้กันเรื่องสิทธิในที่ดิน
- ละเมิด

มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่


(๑) ...เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ
(๒)....อ้างมาตรา ๘๘ , ๙๐

วรรคสาม ...กรณีพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง....

บัญชีพยาน

ลำดับ รายการ ที่อยู่


หมายเหตุ
๑ นาย ก ..................... นำ/
หมาย
๒ นาย ข ........................ เผชิญ
สืบ
๓ นาย ค ......................
ประเด็น
๔ โฉนดที่ดิน ....................................... หมาย
๕ สัญญากู้เงิน นำ
เอกสาร ที่ โจทก์ อ้าง ศาลหมาย จ .
เอกสารที่จำเลยอ้าง ศาลหมาย ล.
เอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างร่วมกัน จล......

มาตรา ๘๙ คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อ
พิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
(๑) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่ง
พยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือ
(๒) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ
เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้น
ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความ
เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิก
ความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมา
ข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่
สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนำ
พยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่
ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้น
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ต่อพยาน
ตามวรรคหนึ่งแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้น
ตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าวมาแล้ว หรือถ้าศาลเห็นว่า
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้ศาล
จะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ คู่ความอีกฝ่าย
หนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือเมื่อศาล
เห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้
-

- หลักการสำคัญของการสืบพยาน ระบบกล่าวหา คือการถามพยาน
การซักค้าน การถามติง

มาตรา ๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุน
ข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้
คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันใน
กรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็น
พยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสองหรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลและ
ส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำ
ร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุ
อันสมควรคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อ
ศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่
แล้ว หรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความ
แท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่น จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือสมุด
บัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น
(๒) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความ
ครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก
(๓) ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสีย
แก่

คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสาร
ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นสำเนาเอกสารนั้น
กรณีตาม (๑) หรือ (๓) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอฝ่ายเดียว
โดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนาเอกสารนั้นและขอยื่น
ต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่
ศาลเห็นสมควรกำหนดกรณีตาม (๒) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้
ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๒๓ โดยต้อง
ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่
กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมา
ภายในเวลาที่ศาลกำหนด
- หลัก หากจะสืบพยานเอกสารใด จะต้องอ้างไว้ในสำนวน และต้องส่ง
สำเนาให้อีกฝ่าย เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น(๑)- (๓) ที่ไม่ต้องส่ง
- พยานเอกสารนั้นจะต้องระบุในบัญชีระบุพยาน
- จะต้องเป็นพยานเอกสาร

เอกสารที่จะต้องส่งให้อีกฝ่าย
1. สำเนาคำฟ้อง สำเนาคำให้การ
2. สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้อง สำเนาเอกสารท้ายคำให้การ
3. บัญชีระบุพยาน
4. สำเนาเอกสารท้ายท้ายคำฟ้อง คำให้การ นัน้ จะต้องเป็นเอกสารที่
จะต้องสืบพยาน
5. หากไม่ได้ส่งสำเนาให้อีกฝ่าย อาจถูกอีกฝ่ายคัดค้านห้ามมิให้รับฟัง
เป็นพยานตาม มาตรา ๘๖

***คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้
ในการพิจารณา โจทก์ได้สืบพยานโจทก์ก่อน และนำพยานโจทก์เข้า
สืบพยาน จนเสร็จสิ้นแล้ว
จำเลยได้ถามค้านพยานโจทก์ และได้อ้างใบรับฝากเงินที่
ชำระหนี้ให้โจทก์ ตามใบรับฝากเงิน ๔ ฉบับ ศาลรับไว้หมาย ล.๑ถึง ล.๔
และพยานโจทก์ก็เบิกความรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลย ทั้งได้ลงลายมือ
ชื่อไว้ ซึ่งในบัญชีระบุพยานของจำเลยไม่ได้ระบุใบรับฝากเงินดังกล่าวไว้ใน
บัญชีระบุพยานของจำเลย และจำเลยได้ถามค้านจนแล้วเสร็จ
โจทก์ได้ถามติงพยานโจทก์ จนแล้วเสร็จและได้คัดค้านใบ
รับฝากเงินตามเอกสารหมาย ล.๑ ถึง ล.๔ ว่า ศาลไม่ควรรับฟังเอกสาร
ดังกล่าวเป็นพยานเพราะเป็นเอกสารที่จำเลยใช้ถามค้าน และไม่ส่งสำเนา
ให้โจทก์
ดังนี้ ข้อคัดค้านของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่ และศาลจะรับฟัง
เอกสารหมาย ล.๑ ถึง ล.๔ เป็นพยานได้หรือไม่

ตามปัญหา มีหลักกฎหมาย ป.วิปแพ่ง ฯ ที่จะใช้วินิจฉัยดังนี้


มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
(๑) ..พยานหลักฐานนั้น.เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ
(๒)...คู่ความได้อ้างพยานหลักฐานตาม มาตรา ๘๘ , ๙๐ แต่ถ้าศาลเห็น
ว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอัน
สำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ
อนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้
มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะอ้างอิง..พยาน ให้คู่ความ
ยื่นบัญชีระบุพยาน....
มาตรา ๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อ
สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อ
ศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่
น้อยกว่าเจ็ดวัน....
จากหลักกฎมายที่ยกมาอ้างจะขอวินิจฉัยปัญหาดังต่อไปนี้

ตามปัญหา โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องการกู้เงิน หลักฐานสำคัญในคดีที่


เกี่ยวข้องโดยตรง คือ เอกสารสัญญากู้ หลักฐานการชำระเงิน ที่จำเลยได้นำ
สืบโดยถามค้านพยานโจทก์โดยแสดงหลักฐานใบรับฝากเงินที่ชำระหนี้ให้
โจทก์ ตามใบรับฝากเงิน ๔ ฉบับ ศาลรับไว้หมาย ล.๑ ถึง ล.๔ ใบ
รับฝากเงินดังกล่าวจึงเป็นพยานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี
แม้จำเลยจะยื่นฝ่าฝืน มาตรา ๘๘,๙๐ ทั้งพยานโจทก์ก็เบิกความรับตาม
มาตรา ๘๔(๓) ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่คู่ความรับกันว่า จำเลยได้มีการ
ชำระหนี้ให้โจทก์ตามใบรับฝากเงินแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ ตามมาตรา ๘๗(๒)
ข้ออ้างของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
ฎ%๓๗๗๐/๔๙
ตามแนวคำพิพากษาฎีกานี้ สามารถพิจารณาได้
- คู่ความฝ่ายจำเลย ไม่ได้ดำเนินการตาม มาตรา ๘๘,๙๐
- โจทก์คัดค้าน ตาม มาตรา ๘๙
ข้อสังเกต
มาตรา ๘๘ หมายถึงการยื่นบัญชีระบุพยาน
มาตรา ๙๐ พยานเอกสารท้ายคำฟ้อง หรือท้ายคำให้การต้องส่งสำเนา
ให้อีกฝ่าย พยานที่ไม่ได้ดำเนินการตาม มาตรา ๘๘ ๙๐ ต้องเป็นพยาน
ประเด็นข้อสำคัญในคดี
การไม่ดำเนินการ ดังกล่าว มาตรา ๘๘ หรือ มาตรา ๙๐ อย่างใดอย่าง
หนึ่งก็ได้
หากไม่ใช่พยานประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลจะใช้ประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรมมารับฟังไม่ได้ ( ต้องคัดค้าน หรือไม่ )
คำพิพากษาที่ 3770/2549
นายจิรชัย ใจโปร่ง กับพวก
โจทก์

นายฐิตวัฒน์หรือปรพัฒน์ อุ่นฤกษ์ กับพวก


จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 237

ป.วิ.พ. มาตรา 88, 90


แม้จำเลยทั้งสามมิได้ระบุเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 เป็น
พยานหลักฐานแต่ได้ใช้เอกสารเหล่านั้นประกอบการถามค้านโจทก์ที่ 1
ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่
โจทก์ที่ 1 แล้วตามใบรับฝากเงินเอกสารหมาย ล.1 ทั้งโจทก์ที่ 1 เองก็
เบิกความรับรองเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 โดยยืนยันว่าเป็นผู้ลงลายมือ
ชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดิน
พิพาทให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย ล.2 และ ล.3 จำเลยที่ 1 จึงอ้าง
เอกสารเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์ที่ 1
ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 แม้เอกสาร
หมาย ล.1 ถึง ล.4 มิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานและส่งสำเนาให้โจทก์ทั้งสอง
ก็หาต้องห้ามมิให้รับฟังเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด

โจทก์ทั้งสองได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแทน
โจทก์ทั้งสองและทราบดีว่าเมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่
จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะต้องจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้เงิน
ที่จำเลยที่ 3 กู้ยืมสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระค่าที่ดินดังกล่าว
ให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในขอบ
อำนาจที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ไว้ หาใช่ร่วมกันสมคบกับจำเลยที่ 2
และที่ 3 ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอเพิกถอนนิติ
กรรมดังกล่าวได้
๑๑

มาตรา ๙๑ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกัน
ได้

โจทก์ อ้างพยาน จ . ๑ ........... จ. .....

จำเลย อ้าง ล.๑.......... ล. ......

โจทก์-จำเลยอ้างร่วมกัน จล. ๑

พยานวัตถุ ว...

มาตรา ๙๓ การรับฟังพยานเอกสาร
มาตรา ๙๔ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร และการสืบพยาน
บุคคลประกอบเอกสาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑......

(๗) “เอกสาร” หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏ


ความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธี
พิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
(๘) “เอกสารราชการ” หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือ
รับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้า
พนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย
(๙) “เอกสารสิทธิ” หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ........

มาตรา ๔ กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ


แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีต
ประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัย
เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย
ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
- เอกสาร
-กระดาษ
-วัตถุอื่นใด
ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผน
แบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่ง
ความหมายนั้น
ในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะพิจารณา “เอกสาร”
- เจตนาของการใช้
- เจตนาของคู่สัญญา

ภาพถ่าย
แผ่นป้ายโฆษณา
ตัวอักษรวิ่ง
ข้อมูลจากฮาร์ดดิสด์
แผนที่ที่คัดลอกมาจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์

คำพิพากษา นางปรารมย์ พิกุลทอง โจทก์


ที่ 4529/2541 นางจรินทร์ บุญแต่งหรือถนอม
จำเลย
จิต

ป.วิ.พ. มาตรา 87, 93

โจทก์นำสืบพยานโดยอ้างส่งหนังสือวางเงินมัดจำ หนังสือสัญญาจะซื้อ
ขายหรือสัญญาวางมัดจำ และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมผ่อนชำระเงินมัด
จำคืนแก่โจทก์เป็นหลักฐาน จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่
ต้นฉบับ และอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่
ต้นฉบับ แต่เป็นสำเนาโดยรองเขียนด้วยกระดาษคาร์บอนสีน้ำเงิน ส่วน
ต้นฉบับจำเลยครอบครองอยู่ ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิด
ระเบียบ ซึ่งมีความหมายว่าขอให้ไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็น
พยานหลักฐานและพิพากษายกฟ้องโจทก์
ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารดังกล่าวได้ใช้กระดาษคาร์บอน
คั่นกลาง เมื่อเขียนและลงชื่อแล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่า
ฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบน สำหรับฉบับบนจำเลยเก็บ
ไว้ การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์ให้
ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสาร
ฉบับล่างเป็นสำเนา เพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจาก
ต้นฉบับ แต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือ
สัญญา 2 ฉบับ มี
๑๕
ผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วย จึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารที่โจทก์
อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว
**
แบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงินที่เอามาจากฮาร์ดดิสด์ ในคอมพิวเตอร์
แผนที่ที่คัดลอกมาจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์

มาตรา ๙๓ การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะ
ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(๑) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว
ให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน
(๒) ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญ
หายหรือไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้
อ้างต้องรับผิดชอบ หรือเมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์
แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยาน
บุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือ
พยานบุคคลมาสืบก็ได้

๑๖
(๓) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทาง
ราชการนั้นจะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่
เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่า
ถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะ
ได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
(๔) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็น
พยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบตามมาตรา ๑๒๕
ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัด
อำนาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม

ตัวอย่างแนวข้อสอบ มาตรา ๙๓ , ๙๐ , ๘๘,๘๗,๘๖


โจทก์ฟ้องว่า เจ้ามรดกยกทรัพย์มรดกให้โจทก์แต่ผู้เดียว พร้อมระบุ
“สำเนาพินัยกรรม” ไว้ในบัญชีระบุพยานเนื่องจากพินัยกรรมอยู่ที่
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเมือง
จำเลยทั้งสี่ ให้การว่า จำเลยทั้งสี่เป็นทายาทเช่นเดียวกันกับโจทก์มี
สิทธิ์ที่จะรับมรดก
ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบก่อนโดยนำพยานบุคคลมาสืบประกอบ
กับ สำเนาพินัยกรรม
จำเลยทั้งสี่คัดค้านว่า ศาลไม่สมควรรับฟังสำเนาพินัยกรรม
เนื่องจากไม่ใช่ต้นฉบับ
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น โจทก์สืบพยานต่อ และได้นำพยาน
บุคคลมาสืบประกอบ ต้นฉบับพินัยกรรม
จำเลยทั้งสี่คัดค้านว่า ศาลไม่สมควรรับฟัง ต้นฉบับพินัยกรรม
เนื่องจาก โจทก์ไม่ได้อ้างไว้ในบัญชีระบุพยาน
ดังนี้ข้อคัดค้านของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้นหรือไม่

ตามปัญหามีหลักกฎหมายที่จะใช้วินิจฉัยดังนี้
มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
(๑) ...เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ
(๒)....อ้างมาตรา ๘๘
มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะอ้างอิง..พยาน ให้คู่ความ
ยื่นบัญชีระบุพยาน....
มาตรา ๘๙ คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อ
พิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่น....คูค่ วามฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่
จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบ....
มาตรา ๙๓ การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะ
ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่....(๑)-(๔)

จากหลักกฎหมายที่ยกมาอ้างจะขอวินิจฉัยปัญหาดังนี้
ตามปัญหา โจทก์อ้างสำเนาพินัยกรรมในบัญชีระบุพยาน โดยระบุถึงการ
ไม่ได้นำเอาต้นฉบับมาอ้าง โดยอ้างว่าอยู่ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเมือง
ซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะนำต้นฉบับมาเบิกความได้ตาม(๓) และจำเลยทั้งสี่
คัดค้านว่าศาลไม่ควรรับฟังสำเนาพินัยกรรมดังกล่าว ตาม
มาตรา ๘๙ การรับฟังพยานเอกสารจะต้องรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับ ตาม
มาตรา ๙๓ วรรคแรก เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้าน ศาลย่อมไม่สามารถรับฟัง
สำเนาพินัยกรรมดังกล่าวได้ ข้อคัดค้านของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น
ต่อมา เมื่อโจทก์นำต้นฉบับมาเบิกความ จำเลยทั้งสี่ได้คัดค้านอีก การที่
จะรับฟังพยานหลักฐานได้คู่ความจะต้องดำเนินการตาม มาตรา ๘๗ คือ
ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานที่ตนจะต้องนำสืบ การที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยาน
ต้นฉบับพินัยกรรม ตามมาตรา ๘๘ และจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าศาลไม่ควรรับ
ฟังต้นฉบับพินัยกรรมดังกล่าว ตามมาตรา ๘๙ เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชี
ระบุพยานต้นฉบับพินัยกรรม ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับพินัยกรรมเป็นพยาน
ไม่ได้ ข้อคัดค้านของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น
สรุป ข้อคัดค้านของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้นทั้งสองกรณี
ฎ:๒๕๘๑/๑๕

++++ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยอ้างสัญญากู้


เงินที่โจทก์ นำมาจากแบบฟอร์มสำเร็จรูปในอินเตอร์เนท สัญญากู้เงิน
ดังกล่าวระบุว่าทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน ทั้งผู้กู้คือจำเลย
ผู้ให้กู้ คือโจทก์ และนายเอ นางพุธ ลงลายมือชื่อเป็นพยานทั้งสองฉบับ
และเก็บไว้ที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยคนละ ๑ ฉบับ
เมื่อถึงชั้นพิจารณา จำเลยต่อสู้ว่า ศาลไม่ควรรับฟังสัญญากู้ดังกล่าว
เพราะโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลย และสัญญากู้ดังกล่าวที่โจทก์อ้างไม่ใช่
ต้นฉบับ
ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่
ตามปัญหามีหลักกฎหมายที่จะใช้วินิจฉัยดังนี้
มาตรา ๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อ
สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อ
ศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่
น้อยกว่าเจ็ดวัน....เว้นแต่
(๑)เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่
แล้ว หรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความ
แท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่น จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือ
สมุดบัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสำนวนคดี
เรื่องอื่น
มาตรา ๙๓ การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะ
ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่....
ตามปัญหาและหลักกฎหมายที่ยกมาอ้างจะขอวินิจฉัยปัญหา
ดังต่อไปนี้
ตามปัญหาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยอ้าง
สัญญากู้เงินที่โจทก์ นำมาจากแบบฟอร์มสำเร็จรูปในอินเตอร์เนท ซึ่ง
แบบฟอร์มสำเร็จรูปในอินเตอร์เนทที่ปริ้นซ์ออกมาดังกล่าวถือเป็นพยาน
วัตถุ แต่เมื่อโจทก์เจตนาจะใช้เป็นเอกสารสัญญากู้ และจำเลยก็ลงนามใน
สัญญาดังกล่าว ถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจะใช้เป็นพยานเอกสาร สัญญากู้
ทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงเป็นพยานเอกสาร

๒๐
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บไว้ที่
ฝ่ายโจทก์และจำเลยคนละ ๑ ฉบับ จึงเป็นเอกสารที่เป็นคู่ ตามมาตรา ๙๐
(๑) โจทก์จึงไม่ต้องส่งให้จำเลย ข้ออ้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น
และสัญญากู้ดังกล่าว ทั้งโจทก์ จำเลย และพยานในเอกสารลงลายมือ
ชื่อในสัญญาทั้งสองฉบับ ถือได้ว่าเจตนาของคู่สัญญามีความประสงค์จะใช้
สัญญากู้ทั้งสองอย่างต้นฉบับ สัญญากู้ที่โจทก์อ้างจึงเป็นต้นฉบับ ไม่
ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานเอกสารดังกล่าว ตาม มาตรา ๙๓ ข้อต่อสู้ของ
จำเลยฟังไม่ขึ้น
สรุป ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นทั้งสองกรณี

ฎ: ๔๕๒๙/๔๑
การคัดค้านตามมาตรา ๙๓
-คัดค้านว่าไม่ใช่ต้นฉบับ
-คัดค้านตาม มาตรา ๑๒๕ วรรคสาม

มาตรา ๑๒๕.......วรรคสาม
ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างเอกสารเสียก่อนการ
สืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลังนั้น ห้ามมิ
ให้คู่ความนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความ
ถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอำนาจของศาลใน
อันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริง หรือความถูกต้อง
เช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่า
สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ตีความหมายผิด
หลักการคัดค้าน ตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม
-ต้องคัดค้านขณะสืบพยาน
-ก่อนสืบพยานเสร็จ
-เมื่อสืบพยานเสร็จแล้วยังไม่ได้ทำอะไรต่อไป
-.....กรณี_____________ หมายถึงการตีความว่าเอกสารปลอม
*กรณีตีความผิด
- โฉนด ทั้งแปลง หมายเลขบ้าน ๑
- มอบอำนาจฟ้อง จำเลย ๑
วรรคแรก เอกสารต้นฉบับ
(๑)-(๓) เป็นข้อยกเว้นที่นำสำเนามาสืบพยานแทนต้นฉบับได้
(๔) เป็นการนำสำเนาเอกสารมาสืบแล้วไม่คัดค้าน
**
F นำสำเนาเอกสารมาสืบ ทนายอีกฝ่ายไม่ได้คัดค้าน และยังถามถึง
ข้อความในสำเนาเอกสารดังกล่าวว่า ทำถูกต้องหรือไม่ เป็นการถาม
ข้อความในเอกสาร ไม่ได้คัดค้าน จึงเท่ากับรับรองความถูกต้องของเอกสาร
นั้นแล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานได้

๒๒
ต้นฉบับ หมายถึง ต้นร่าง ต้นสำเนา แบบร่าง

คู่ฉบับ หนังสือที่ทำขึ้น ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่ง


เป็นคู่ฉบับของอีกฉบับหนึ่ง

คู่ฉีก ตั๋วแลกเงิน ที่ทำมา ๒ ฉบับมีเนื้อความตรงกัน


หากอ้างเอกสาร จะต้องมีต้นฉบับ และ สำเนา

มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้าม


มิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึง
ว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมา
แสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสาร
มาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกแต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับใน
กรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่าเป็นการ
ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบ

๒๓
ประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่
ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ใน
เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

แบบของนิติกรรม
• ทำเป็นหนังสือ
• ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้อง
บังคับคดีไม่ได้
• ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา ๔๕๖ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจด
ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวาง
ตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุ
ไว้ในวรรคหนึ่งถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ
ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วน
แล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขาย
สังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

- ๒๔
- ทำเป็นหนังสือ พินัยกรรม
- ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญ สัญญาต่างๆ
- ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์
พิเศษ คือ เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์
พาหนะด้วย

สังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย
ตัวอย่าง
โจทก์ฟ้องว่า เจ้ามรดก ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ แต่เมื่อถึง
เวลานำสืบ ไม่ได้นำพินัยกรรมมาแสดงเพื่อนำสืบประกอบการเบิกความ จะ
ขออ้าง นาย ก ซึ่งเป็นพยานผู้ลงนามในพินัยกรรมมาเบิกความถึงว่า เจ้า
มรดก ยกทรัพย์มรดกให้ โจทก์

คำที่ควรทราบ การสืบพยานบุคคลประกอบเอกสารหมายถึง การนำพยาน


บุคคลมาสืบ หรือมาเบิกความ แล้วอ้างเอกสารประกอบด้วย
เช่น ก เป็นผู้ลงนามในพินัยกรรม ในฐานะพยาน ได้นำพินัยกรรมมา
แสดง และเบิกความยืนยันว่า ตนเองได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมนั้น

ตามตัวอย่าง
- ๒๕
- จะรับฟังพยานปากนาย ก ได้หรือไม่
- หาก จำเลย ยินยอม ให้ นาย ก เบิกความโดยไม่ ซักค้าน
- หากกรณีนี้ โจทก์ขออ้างสำเนาพินัยกรรม มาเบิกความได้หรือไม่
- กรณีต่อไป หาก นาย ก มาเบิกความ แล้วนำพินัยกรรมมาเบิกความ
ประกอบ ซึ่งพินัยกรรมระบุว่า ยกทรัพย์มรดกคือที่ดิน โฉนด
หมายเลข ๑ ให้โจทก์ และ ยังมี การระบุว่าให้ยก ตึกแถวอีก ๑๐ คูหา
ให้โจทก์ด้วย ซึ่งพินัยกรรม เขียนระบุเพียงว่า ยกทรัพย์มรดกคือ
ที่ดิน โฉนด หมายเลข ๑ ให้โจทก์

ข้อยกเว้น คู่ความมีสิทธิสืบพยานบุคคลได้เฉพาะ
1. เมื่อต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุ
สุดวิสัย หรือไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยเหตุประการอื่น
2. นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้อง(ไม่ว่าทั้งหมด
หรือบางส่วน)
3. นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่
สมบูรณ์
4. นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งตีความผิด
สรุปโดยสังเขปกรณีที่ต้องมีเอกสารมาแสดง
• พินัยกรรม
๒๖
• สัญญาแบ่งมรดก
• สัญญาเช่าซื้อ
• สัญญาจำนอง
• หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง
• การโอนสิทธิเรียกร้อง
• การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ
• การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี
• สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือ
สังหาริมทรัพย์พิเศษ
• สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
• สัญญาประนีประนอมยอมความ
• สัญญาค้ำประกัน
• สัญญาประกันภัย
• สัญญากู้ยืมเงิน ตามกฎหมายกำหนด

ตามมาตรา ๙๓ , ๙๔ ใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่นำมาใช้ในคดีอาญา


กรณีที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง ก็ไม่จำต้องอยู่
ในข้อบังคับตาม มาตรา ๙๔
๒๗
กรณีทกี่ ฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง สามารถนำพยาน
บุคคลมาสืบแก้ไขเอกสารได้
ฎ:๖๖๖/๔๑ หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำเป็นหนังสือ การรับ
สภาพหนี้จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยจึงรับ
ฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ฎ:๗๓๓๗/๔๘ สัญญาจ้างว่าความ เป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายไม่ได้
บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ
ถือได้ว่าจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ว่าความ และโจทก์ตกลงรับจ้างแล้ว เมื่อ
จำเลยไม่จ่ายเงินค่าว่าความตามสัญญา โจทก์สามารถนำพยานบุคคลมาสืบ
เพื่อยืนยันว่าได้มีการตกลงว่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใด
กรณีที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือ หากมีการทำเป็นหนังสือไว้ ก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมาสืบ
แทนเอกสาร หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
เช่น
-สัญญาจำนำ
นส.แสดงสิทธิครอบครอง
-สืบพยานบุคคลเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินตาม สค.๑
-สัญญาเลิกจ้างแรงงาน
-การชำระหนี้อย่างอื่น
ฎ: ๕๗๔๒/๕๐ สัญญากู้เงิน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ด้วยการใช้เงิน
จำเลยนำสืบว่า มีการชำระเงินโดยการยอมให้โจทก์ตักหน้าดินไปขาย
๒๘
และนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ตาม ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒๑ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อกรณีนี้
ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา ๙๔

กรณีตาม มาตรา ๙๔ (ข) เป็นการสืบพยานประกอบเอกสารว่า ยังมี


ข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่
อีก
เช่น สัญญากู้ ระบุว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ ๓๐๐,๐๐๐ แต่จำเลยนำสืบว่า กู้
จริงๆเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท

1. เว้นแต่.... นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้อง
(ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน)
2. นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่
สมบูรณ์
3. นำมาสืบประกอบข้ออ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งตีความผิด
***** การที่จะนำสืบใน ๓ กรณี นี้ได้ ต้องต่อสู้ไว้ในคำให้การ

กรณีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง สามารถนำ
พยานบุคคลมาสืบแทนเอกสาร หรือสืบประกอบพยานเอกสารได้
๒๙
ทําเป็น/ไม่เป็นเอกสารก็ได้

ฎ:๖๖๖/๔๑ การับสภาพหนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมา


แสดง แม้มีหนังสือรับสภาพหนี้มาอ้าง ศาลสามารถรับฟังพยานบุคคล
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ฎ:๑๗๒๙/๑๒ สัญญาจำนำ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือ จึง
สามารถนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับการจำนำได้ ว่า มีการมอบใบหุ้นให้
เจ้าหนี้ยึดถือไว้ เป็นการจำนำ

ฎ:๕๕๘๘/๓๔ ก อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของบ้าน โดยอ้างในทะเบียนบ้าน


ระบุว่าเป็น “เจ้าบ้าน” ข ได้ต่อสู้โดยอ้างว่า ข เป็นจ้าของบ้านและที่ดินที่
บ้านตั้งอยู่ ข สามารถนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างเอกสารได้
ฎ:๙๐/๓๒ โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ตามแบบการแจ้งการครอบครอง
สค.๑ จำเลยนำพยานบุคคล ๕ ปาก คือตัวจำเลย เจ้าของที่ดินข้างเคียง
ทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกมาสืบได้ว่า จำเลยเป็น
ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว
ฎ:๗๓๘๙/๔๘ การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ว่ากรณีนายจ้างแสดง
เจตนาเลิกจ้าง หรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงาน ไม่มีกฎหมายบังคับ
ให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยในฐานะนายจ้างอ้างว่า โจทก์ใน
ฐานะลูกจ้าง ได้ลาออกโดยทำใบลาออกเป็นหนังสือแล้ว โจทก์สามารถนำ
พยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่า จำเลยบังคับให้เขียนใบลาออก เพื่อจะได้ไม่
ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
๓๐
การนำสืบเอกสารเพื่อเปลี่ยนแปลงเอกสารด้วยกัน ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา
๙๔
ฎ:๔๖๕/๒๕๔๙ จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ แต่ไม่ตรง และถูกต้องกับ
ชื่อแท้จริงของจำเลย โจทก์นำเอกสารที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อในลักษณะ
เดียวกัน มานำสืบให้เห็นว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ เป็นการนำ
เอกสารมานำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารด้วยกัน และเป็นการนำสืบถึงตัว
บุคคล ไม่ได้มีผลกระทบถึงสัญญากู้เงิน มิใช่การนำพยานบุคคลเพื่อ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ตาม มาตรา ๙๔ (ข) สามารถนำพยานเอกสาร
และพยานบุคคลมาสืบได้

ถ้าเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสาร
ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบ
๑.นำสืบถึงที่มาแห่งหนี้
ฎ:๕๑๐๑/๔๕ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน และรับเงินจากโจทก์
แล้ว จำเลยนำสืบว่า ก่อนจะมาทำสัญญากู้ยืมเงิน มีการกู้ยืมเงิน และนำ
เงินมาชำระหลายครั้ง มีหนี้บางส่วนชำระไปแล้ว เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่ง
หนี้ ไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
๒.การนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงระหว่างคู่กรณี
ฎ:๒๒๔๑/๓๔ สัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยชำระค่าที่ดิน ๗๐,๐๐๐ บาท ให้
โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ อ้างพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่า มี๓๑
๓๑
๓๑
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอก ว่าจะให้มีการชำระเงินอย่างไร ไม่
ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
๓.การนำสืบรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้
ฎ:๕๒๕/๑๗ ตามสัญญาเช่าซื้อ และใบเสร็จรับเงินระบุว่า โจทก์ได้รับเงิน
ดาวน์ไว้ถูกต้องแล้ว แต่เมื่อจำเลยชำระเงินดาวน์ ด้วยเช็ค และโจทก์รับเงิน
ตามเช็คไม่ได้ โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังไม่ได้รับเงินดาวน์ตามเช็ค
นั้นได้ หาเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
๔.นำสืบถึงฐานะบุคคลที่ปรากฏในเอกสาร
-สัญญาซื้อขายที่ดิน ระบุ นาย ก ผู้ขาย นาย ข ผู้ซื้อ โจทก์ฟ้องเรียกค่า
นายหน้า จาก นาย ก นาย ก ยกข้อต่อสู้ว่า ความจริงแล้ว โจทก์เป็นผู้ซื้อ
แต่เอาชื่อนาย ข มาเป็นผู้ซื้อในสัญญา และนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้
ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินเอง เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์
กับ นาย ก จำเลย ไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกหาเป็นการนำสืบแก้ไข
เปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
๕. นำพยานบุคคลมาสืบเพื่ออธิบาย หรือขยายข้อความในเอกสาร
ฎ:๑๖๐๑/๒๔ สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๕ ต่อ
เดือน โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า เสียดอกเบี้ยร้อยละ ห้า สลึง ต่อเดือน
ได้เพราะข้อความไม่ชัดเจนว่า ๕ บาท หรือ ๕ สลึง

***ตัวอย่าง
สมชาย เกิดความรักใคร่ชอบพอกับ สมหญิง ได้คบหาดูใจอยู่เป็น
ระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้ตกลงปลงใจกับสมหญิง ว่าจะครองรักเป็น
ครอบครัวเดียวกัน สมชายจึงขอหมั้น กับสมหญิง ด้วยของหมั้น คือที่นา ๑
แปลง และทองคำหนัก ๒ บาท และอยู่ร่วมกันมาโดยตลอด ๕ ปี แต่ทั้งคู่
ไม่เคยจะไปทำการจดทะเบียนสมรส
หลังจากอยู่กินกันมาระยะหนึ่ง ทั้งสองเกิดความเบื่อหน่ายซึ่งกันและ
กัน สมชาย ไม่อยากที่จะอยู่กินฉันท์สามี-ภริยา กับสมหญิง จึงขอบอกเลิก
และเรียกของหมั้นคืน
เมื่อมีสำนวนคดีมาสู่ศาล สมชาย ฝ่ายโจทก์นำสืบว่า ได้หมั้นกับสมหญิง
ด้วยของหมั้นคือนา ๑ แปลง และทองคำหนัก ๒ บาท ตอนนี้ไม่อยากที่จะ
อยู่กินฉันท์สามี-ภริยา กับสมหญิง จึงขอบอกเลิกและเรียกของหมั้นคืน
และนำพยานบุคคลมาสืบ อ้างว่ามีการมอบของหมั้น และมีการหมั้น
ดังกล่าว
สมหญิง ต่อสู้นำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์คือสมชายผิดสัญญาหมั้น จะ
เรียกคืนของหมั้นไม่ได้ และการหมั้นไม่มีหลักฐานใด จะนำพยานบุคคลมา
สืบไม่ได้
ข้อต่อสู้ สมหญิง ฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ ป.วิแพ่ง มาตรา ๙๔ ปพพ. มาตรา ๑๔๓๗
ตามปัญหาดังกล่าวมีหลักกฎหมายที่จะใช้วินิจฉัยดังนี้
มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิ
ให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่า
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี....
ปพพ. มาตรา ๑๔๓๗ การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอน
ทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิง
นั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง...
73,94,90
86,87,88,893
สัญญาหมั้น เป็นสัญญาที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอัน
เป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เป็นสัญญาซึ่งไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่ไม่อยู่ใน
เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ตาม ป.วิแพ่ง
มาตรา ๙๔ โจทก์ สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้
เทียบเคียง ฎีกา:๖๙๔๓/๒๕๖๒

มาตรา ๙๕ ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น
(๑) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
(๒) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็น
พยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มี
บทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใด เพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะ
เป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้อง
คัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดรายงานระบุนามพยาน
เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผล
ที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือ
กำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน
มาตรา ๙๕/๑ ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความ
ต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็น
พยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ให้ถือเป็นพยานบอกเล่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(๑) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอก
เล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(๒) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือ
ทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมา
เป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับ
ฟังพยานบอกเล่านั้นในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด
ให้นำความในมาตรา ๙๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๙๕ เป็นเรื่องที่พยานที่จะมาเบิกความที่ศาลที่เป็นพยานบุคคล
มาตรา ๙๕/๑ พยานบอกเล่า
- เอกสารที่ทำไว้ โดยเจ้าของเอกสารไม่ได้มาเบิกความเอง
-
- ๓๓
- คำให้การที่ให้การไว้กับพนักงานสอบสวนแต่เจ้าของคำให้การไม่ได้มา
เบิกความประกอบเอกสาร
- คำพูดที่อ้างต่อๆกันมา
- เป็นพยานลำดับสอง
- เป็นพยานที่มีน้ำหนักน้อย แต่ไม่ถึงขนาดที่จะไม่ห้ามรับฟังเสียทีเดียว
หากเข้าข้อยกเว้น ตาม (๑)(๒) ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังได้
มาตรา ๙๖ พยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้
นั้นอาจถูกถามหรือให้คำตอบโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือโดยวิธีอื่นใดที่สมควร
ได้ และคำเบิกความของบุคคลนั้นๆ ให้ถือว่าเป็นคำพยานบุคคลตาม
ประมวลกฎหมายนี้
มาตรา ๙๗ คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตน
หรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้
มาตรา ๙๘ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตนก็ได้
เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ
การค้า หรือการงานที่ทำหรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของ
พยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น
ทั้งนี้ ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่

-พยานผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง
ผู้เชี่ยวชาญที่โจทก์ตั้ง
๓๔
ผู้เชี่ยวชาญที่จำเลยตั้ง
ผู้เชี่ยวชาญที่คู่ความตกลงกัน
-สามารถคัดค้านได้
-ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ
ยกมาวินิจฉัยคดีได้ หรือจะไม่รับฟังก็ได้
มาตรา ๑๐๒ ให้ศาลที่พิจารณาคดีเป็นผู้สืบพยานหลักฐาน โดยจะสืบใน
ศาลหรือนอกศาล ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ แล้วแต่ศาลจะสั่งตามที่เห็นสมควรตาม
ความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานนั้นแต่ถ้าศาลที่พิจารณาคดีเห็น
เป็นการจำเป็น ให้มีอำนาจมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือ
ตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนได้ ให้ผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่

ได้รับแต่งตั้งนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีรวมทั้ง
อำนาจที่จะมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้นหรือตั้งศาลอื่นให้ทำ
การสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปด้วยถ้าศาลที่พิจารณาคดีได้แต่งตั้งให้ศาล
อื่นสืบพยานแทน คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงต่อศาลที่พิจารณาคดีว่า
ตนมีความจำนงจะไปฟังการพิจารณาก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลที่ได้รับ
แต่งตั้งแจ้งวันกำหนดสืบพยานหลักฐานให้ผู้ขอทราบล่วงหน้าอย่างน้อยไม่
ต่ำกว่าเจ็ดวันคู่ความที่ไปฟังการพิจารณานั้นชอบที่จะใช้สิทธิได้เสมือนหนึ่ง
ว่ากระบวนพิจารณานั้นได้ดำเนินในศาลที่พิจารณาคดีให้ส่งสำเนาคำฟ้อง
และคำให้การพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานอื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อสืบ
พยานหลักฐานไปยังศาลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิง
พยานหลักฐานนั้นมิได้แถลงความจำนงที่จะไปฟังการพิจารณา ก็ให้แจ้งไป
ให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งทราบข้อประเด็นที่จะสืบ

๓๕
เมื่อได้สืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่รับแต่งตั้งจะต้อง
ส่งรายงานที่จำเป็นและเอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดอันเกี่ยวข้องในการสืบ
พยานหลักฐานไปยังศาลที่พิจารณาคดี
การสืบพยานนอกศาล(ศาลที่ส่งประเด็นไปสืบ)

-ศาลที่พิจารณา
-ศาลที่รับประเด็น
-ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาได้เช่นเดียวกัน
กับที่ศาลพิจารณาคดี
ยกเว้น
แก้ไขฟ้อง

ขอเพิ่มเติมบัญชีพยาน(ปัจจุบัน หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้ ไม่ค่อยนิยมใช้


เนื่องจากมีระเบียบ ประธานศาลฎีกาให้มีการสืบพยานผ่าน VDO
CONFERRENCE)

มาตรา ๑๐๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการ


ขาดนัด การร้องสอด และการขับไล่ออกนอกศาล ห้ามมิให้ศาลที่พิจารณา
คดี หรือผู้พพิ ากษาที่รับมอบหมายหรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้น
ทำการสืบพยานหลักฐานใด โดยมิได้ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความ
ทุกฝ่ายในอันที่จะมาฟังการพิจารณา และใช้สิทธิเกี่ยวด้วยกระบวน
พิจารณาเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ไม่ว่า
พยานหลักฐานนั้นคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้อ้างอิงหรือศาลเป็นผู้สั่งให้สืบ
มาตรา ๑๐๓/๑ ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน และศาลเห็นเป็นการจำเป็นและ
๓๖
สมควร ศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นซึ่งคู่ความ
เห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะต้องกระทำนอก
ศาลแทนได้ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายอาญาและให้นำความในมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
มาตรา ๑๐๓/๒ คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบ
พยานหลักฐานไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้
การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะ
อนุญาตตามคำร้องขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการ
ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน

-คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคู่ความที่พิจารณาคดี
-ร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบพยานตามที่ตกลงกัน
-การสืบพยานที่เป็นไปโดยชอบ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม
อันดีของประชาชน
• การท้ากัน
• การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

การท้ากัน เป็นการสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด โดยให้ถือเอาประเด็นที่


ท้ากันเป็นข้อวินิจฉัยชี้ขาดคดี
เช่น ๑ โจทก์ท้าว่า หากจำเลยกล้าสาบานต่อหน้า....... ว่า จำเลยไม่ได้
เป็นผู้กู้ยืมเงิน กับโจทก์ตามสัญญากู้ โจทก์ ยอมแพ้

๒.จำเลยท้าว่า หากผลการพิสูจน์ลายมือชื่อจากกองตรวจพิสูจน์
หลักฐานสำนักงานตำรวจแห่งชาติในสัญญาขายที่ดิน ว่า ลายมือชื่อ
ดังกล่าวเป็นของ นาย ๗ บิดาจำเลย จำเลยขอยอมแพ้
กรณี ๑ ถ้าจำเลย กล้าสาบานตามที่ท้ากัน ศาลต้องตัดสินให้จำเลยเป็น
ฝ่ายชนะคดี
กรณี ที่ ๒ จะเกิดได้ ๓ กรณี คือ
- หากไม่สามารถตรวจสอบลายมือชื่อได้เพราะ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
- หากผลการตรวจพิสูจน์ออกมาระบุว่า เป็นลายมือชื่อ นาย ๗ บิดา
จำเลย ศาลต้องตัดสินให้โจทก์ชนะคดี
- หากผลการตรวจพิสูจน์ ออกมาระบุว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อนาย ๗ ศาล
ต้องตัดสินให้จำเลยชนะคดี

สัญญาประนีประนอมยอมความ
มาตรา ๑๓๘ ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันใน
ประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการ
ประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจด
รายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอม
ความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการ
ประนีประนอมยอมความ
ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ

ลักษณะ ๑๗ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประนีประนอมยอมความ


มาตรา ๘๕๐ อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็น
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้
เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
มาตรา ๘๕๑ อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็น
หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อ
ตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา ๘๕๒ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การ
เรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้
สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน

หลักเกณฑ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความ
• คู่ความสมัครใจ
• ข้อตกลงของสัญญาไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
• เป็นประเด็นแห่งคดี
• หากฝ่ายใดผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาสามารถบังคับคดีได้ทันที
• สิทธิเรียกร้องตามฟ้อง เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
**** ทั้งคำท้า ประนีประนอมยอมความ ทำได้เฉพาะคดีแพ่ง

มาตรา ๑๑๘ “ ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก


หรือสำเนาตราสารนั้น เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้”

You might also like