Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปราย
การทำโครงงานเรื่อง การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ของพลเมืองดิจิทัล มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและส่งเสริมการแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ในโลกออนไลน์ และเสนอแนวทางการ
ใช้เทคโนโลยีด้วยทักษะความฉลาดทางดิจิทัล และเพื่อศึกษาการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สร้างสรรค์
หรือเชิงลบนั้นเป็นปัญหาใหญ่ต่อสังคมและควร ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยคณะ
ผู้จัดทำได้ทำการสำรวจโดยการทำโปสเตอร์ มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผลดังนี้

4.1 การศึกษาและทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล
ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลนั้นมีความสาคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน
เป็นอย่างมากเน่ืองจากมนุษย์ใช้ชีวิตประจาวันอยู่ในโลกจริงส่วนหนึ่ง และใช้ชีวิตอยู่ในโลก
ออนไลน์อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นทักษะการใช้ชีวิตในสังคมโลกจริงและสังคมโลกออนไลน์ล้วนมี
ความสำคัญ เช่นเดียวกันซึ่งนักวิชาการและองค์กรต่างๆ ได้ให้ทรรศนะเก่ียวกับความสาคัญของ
ความเป็นพลเมืองดิจิทัลไว้ ดังนี้
องค์กรชั้นนาเพื่อการพัฒนาสื่อและความบันเทิงของชีวิตเด็กและครอบครัว (Common
Sense Media, 2009) กล่าวว่า เด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันกาลังใช้พลังอันยิ่งใหญ่ของสื่อดิจิทัลใน
การสำรวจเชื่อมต่อ สร้างและเรียนรู้ในแบบใหม่ด้วยเหตุนี้จึงอาจทาให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ใน
ขณะเดียวกันโรงเรียนต่าง ๆ กาลังเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว เช่นการกลั่น
แกล้งทางอินเทอร์เน็ตการโกงแบบดิจิทัล และเรื่องความปลอดภัยทางดิจิทัลประเด็นเหล่านี้
ชี้ให้เห็นถึงความจาเป็นท่ีนักเรียนจะได้เรียนรู้ทักษะ การรู้หนังสือดิจิทัล และทักษะการเป็น
พลเมืองดิจิทัล
Rabble (2011) กล่าวว่า แนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้ครู และ
ผู้นำเทคโนโลยีเข้าใจในสิ่งทีน่ ักเรียนควรรู้ในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพลเมืองดิจิทัลเป็น
มากกว่าเครื่องมือการสอน กล่าวคือเป็นวิธีการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีอย่าง
เหมาะสมในสังคม ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
กรมการศึกษาและชุมชนนิวเซาท์เวลส์ (NSW Department of Education and
Communities, 2011) ได้ให้ทรรศนะว่าความเป็นพลเมืองดิจิทัลไม่ได้เป็นเพียงแค่การตระหนัก
และจัดการกับอันตราย ออนไลน์เท่านั้นแต่ยังเกี่ยวกับการสร้างชุมชนที่ปลอดภัยในการทาความ
เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและความเข้าใจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้การนำเสนอ
แบบออนไลน์ของคุณเพื่อสร้างและปรับเปลี่ยน โลกของคุณอย่างปลอดภัยสร้างสรรค์และสร้างแรง
บันดาลใจให้คนอื่นมาด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองทุกคนที่อยู่ในสังคมออนไลน์หรือที่เรียกว่าโลกออนไลน์ มี
การปฏิสัมพันธ์ กันผ่านสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง และวีดีโอ เพื่อส่ง
ต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สู่สังคม โลกออนไลน์อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีทักษะในการรับมือกับ
ผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบจากโลกออนไลน์
พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือ แนวคิดแนวปฏิบัติที่ให้พลเมืองได้เรียนรู้และมี
ความสามารถใน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กํากับ
ตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและ สามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้
เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและ ผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ทักษะสําคัญของความเป็นพลเมืองดิจิทัล ซึ่งจะทําให้อยู่ในสังคมได้อย่างเข้าใจและปลอดภัย
ประกอบด้วย 8 ทักษะสําคัญ ได้แก่
1.ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) ความสามารถในการ
สร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง
2.ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูล
ส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น
3.ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี(CriticalThinking)ความสามารถในการ วิเคราะห์
แยกแยะระหวา่งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลท่ีผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่าย อันตราย
ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้
4.ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ความสามารถในการบริหาร
เวลาในการใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลก ออนไลน์ และ
โลกภายนอก
5.ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management)
ความสามารถในการรับรู้ และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด
6.ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints)
ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้
เสมอ รวมไปถึงเข้าใจพลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ
7.ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management)
ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการ
โจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางออนไลน์ได้
8.ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม(DigitalEmpathy)ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ
และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์

4.2 การส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในโลกออนไลน์
สําหรับการส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในโลกออนไลน์พลเมืองดิจิทัล
เทคโนโลยีได้เปิดพื้นที่สาธารณะให้เข้ามีส่วนร่วม ออนไลน์ (Online civic participation) การ
แสดงความคิดเห็นสาธารณะออนไลน์ (Public opinion) การเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมือง
ออนไลน์ (Online political movement) รวมทั้ง เป็นพื้นที่ของการช่วงชิงอํานาจทางการเมือง
ในรูปแบบใหม่ ทําให้ความหมายของพลเมืองกําลัง เปลีย่ นแปลงไปจากการแสดงออกทางกายภาพ
บนพื้นที่ (on ground) สู่พลเมืองบนคลาวด์ (on cloud) ซึ่งหมายถึงทุกพื้นที่ในโลกออนไลน์
สามารถแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองตลอดเวลา ทุก รูปแบบ ทุกประเด็น ปราศจากขอบเขต
และไร้ข้อจํากัด และการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์สามารถสร้างผลกระทบทั้งทางบวกและ
ทางลบเป็นวงกว้างถึงระดับต่อสังคม และเปลี่ยนความเป็นพลเมืองดิจิทัล กลายเป็นพลเมืองโลก
(global citizen) พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ยิ่งจําเป็นต้องมีความ ระมัดระวังและมีความรู้
ดิจิทัล
เมือ่ การรู้ดิจิทัลมีความสําคัญและจําเป็นต่อพลเมืองงานด้านการส่งเสริมความเป็นพลเมืองใน
โลกดิจิทัลจึงมีความสําคัญขึ้นในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยการรู้ดิจิทัลของพลเมืองเพื่อนําผล
การศึกษาไปใช้พัฒนาและส่งเสริมพลเมืองจําแนกได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทีเ่ น้นความสําคัญของ
จริยธรรม กลุ่มการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูล, กลุ่มการมีส่วนร่วมในดิจิทัล และ กลุ่มวิพากษ์ ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าความเป็นพลเมืองในโลกดิจิทัลสามารถทําความเข้าใจได้หลายมุมมองและมีมิติ และ
ความสัมพันธ์ ที่แตกต่างจากชีวิตพลเมืองแบบออฟไลน์ สําหรับในประเทศไทยมีงานที่เกี่ยวกับการ
รู้ดิจิทัล ซึ่งพบว่ามีการใช้ความหมายของ Digital literacy ไปในความหมายของการรู้เท่าทันตาม
กระแสของงานศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) เช่น พีระ จิรโสภณ และ คณะ (2559) พี
ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และ นุชประภา โมกข์ศาสตร์ (2562)อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานที่สํารวจ
ว่าพลเมืองไทยมีการรู้ดิจิทัลอย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานต่องานด้านส่งเสริมการรู้ดิจิทัลและ
การพัฒนาพลเมืองตามแนวทางการพัฒนาพลเมืองแห่งศตวรรษต่อไปได้
นอกจากความสําคัญของการเป็นพลเมืองที่ต้องรู้ดิจิทัลเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งทาง
สังคม เศรษฐกิจและการเมือง และการเป็นพลเมืองแห่งศตวรรษแล้ว ความสําคัญของการพัฒนา
และส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ยังต้องการพลเมืองที่ต้องรู้ เข้าใจ และใช้
ทักษะอย่างถูกต้องด้วย เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะภาวะการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่สื่อดิจิทัลมีบทบาททางการเมืองในการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหวทางการเมือง การรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
การรณรงค์เรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชน การตรวจสอบทุจริต และ อื่น ๆ รวมทั้งมีการใช้
สื่อ ดิจิทัลในลักษณะที่ไม่มีความถูกต้องทางการเมือง (Political correctness) เช่น การโจมดี
บุคคลอื่น การสร้างข่าวปลอม การปลุกกระแสทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นทางลบบนโลก
ออนไลน์ การที่สื่อดิจิทัลมีบทบาทอย่างมากในทางออนไลน์ ดังกล่าว งานส่งเสริมและพัฒนา
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องให้ความสําคัญกับ การรู้ดิจิทัล เพื่อพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยของไทยจะได้ใช้อย่างรู้ เข้าใจ และมีทักษะ อันจะ นําไปสู่สังคมการเมืองที่ดีต่อไป

4.3 แนวทางการใช้เทคโนโลยีด้วยทักษะความฉลาดทางดิจิทัล
พูดถึงประเด็นต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มักจะมีการแสดงความคิดเห็นที่ตรงข้ามกันอยู่เสมอใน
หลายเรื่องก็เป็นประเด็นที่เปราะบางที่นำมาสู่ความขัดแย้งได้เช่นกันมาดูวิธีการรับมือภัยทางโลก
ออนไลน์ที่ช่วยให้ทุกคนฝึกทักษะ และสร้างตนเอง โดยเฉพาะวัยรุ่นให้เท่าทันอารมณ์ สามารถ
แสดงความคิดเห็นได้อย่างปลอดภัย และช่วยรักษาสภาพจิตใจไม่ให้คิดมากกับความคิดเห็นเชิง
ลบ
ประการแรก คือ รับฟังในความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน จับประเด็นในสิ่งที่ตอบกลับมา
ว่า สาเหตุนั้นมาจากเรื่องใด หรือข้อผิดพลาดประการใดที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งขึ้น พยายามใช้
เหตุผลในการอ่านข้อคิดเห็นของผู้อื่น อย่าโต้ตอบด้วยอารมณ์หรือถ้อยคำที่หยาบคาย เมื่อเจอ
การแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากตน หากเป็นความคิดเห็นที่ดีมีคุณประโยชน์ควรค่าแก่การอ่าน
และนำมาปรับปรุงก็ควรเรียนรู้และนำมาปรับใช้ หากเป็นความคิดเห็นที่เน้นใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย
และไม่สมเหตุสมผล เพื่อรักษาสภาพจิตใจไม่ให้ตัวเรารู้สึกเป็นลบก็ควรปล่อยความคิดเห็นนั้นให้
ผ่านไปมองข้ามและเพิกเฉยต่อข้อคิดเห็นนั้น
ประการที่สอง คือ ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแชร์หรือเล่า หากพบว่า การแสดงความ
คิดเห็นของเราพบว่า ยังขาดข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน สิ่งที่ควรทำคือ ก็คือ น้อมรับในสิ่ง
นั้นและขอโทษต่อการแสดงความคิดเห็นที่ส่งผลกระทบดังกล่าว ไม่ใช้ข้อแก้ตัวใด ๆ ที่จะทำให้
สถานการณ์นั้นแย่ลงกว่าเดิม เริ่มต้นด้วยการใช้คำขอโทษที่แสดงถึงความจริงใจและอธิบายเหตุผล
ของตนพร้อมขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นที่ทุกคนเสนอเข้ามา
ประการที่สาม คือ ระมัดระวังในการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจผิด ข้อสังเกตที่ควร
ปรับปรุงเพื่อป้องกันปัญหานี้คือ ต้องคำนึงถึง ข่าวสารที่ได้รับมาว่าเป็นข่าวจริงหรือไม่ หลายครั้งที่
เราแสดงความคิดเห็นจนเกิดความเข้าใจผิดต้นตอสาเหตุสำคัญนั้นมาจาก Fake news วิธีการ
สังเกตก่อนแชร์หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ นั้นให้เราย้อนกลับมาตรวจทานข้อมูลของสื่อที่ได้รับ
ก่อน 3 เรื่อง คือ 1) ข้อความที่พาดหัวข่าวต่าง ๆ นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน 2)
แหล่งที่มามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ 3) หากไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนก็ไม่ควรไปแสดงความคิดเห็น
หรือเผยแพร่ไปใน Social Media ส่วนตัวของเรา

การแสดงความคิดเห็นต่างๆ ช่วยในการพัฒนาและก่อให้เกิดการขับเคลื่อนความคิดสิ่ง
ต่างๆ ที่มีอยู่นั้นให้ดีขึ้นในโลกออนไลน์ยิ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือในการ
สื่อสารทุกครั้ง เราควรมีสติ ใคร่ครวญและไตร่ตรองให้ดีก่อนเสมอ เพราะอย่าลืมว่าทุกข้อเขียน
สะท้อนตัวเราเอง และหากสื่อสารไม่เหมาะสม ไม่มีข้อเท็จจริง อาจสร้างผลกระทบทางลบต่อทั้ง
ตนเองและสังคมได้อย่างมากมาย เช่นเดียวกับทักษะรับมือต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง และเชิงลบ
ทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมี และช่วยฝึกฝนให้มีทักษะดังกล่าว เท่าทันและสามารถอยู่ใน
โลกสังคมออนไลน์ได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์

You might also like