Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ

Journal of Criminology and Forensic Science

การใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรมในที่พักอาศัย: ศึกษาเฉพาะกรณีเกสต์เฮาส์
ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
Implementation of CCTV for Crime Prevention in Residential Areas:
A Case Study in Guesthouses in Phranakorn District, Bangkok

ศิรวิทย์ ตาดพริ้ง1 และ ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี2


1,2
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Siravit Tadpring1 and Chankanit K. Suriyamanee2


1,2
Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University

Received February 27, 2019 | Revised October 7, 2019 | Accepted October 16, 2019

บทคัดย่อ
การศึ ก ษานี้ เ ป็ น การศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ 1) เพื่ อ ศึ ก ษารู ป แบบการติ ด ตั้ ง
และวิธีการใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
ในการป้ อ งกั น อาชญากรรมในเกสต์ เ ฮาส์ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งคื อ ผู้ ป ระกอบการเกสต์ เฮาส์ ใ นเขตพระนคร
กรุ ง เทพมหานคร จ านวน 30 คน ผลการศึ ก ษาพบว่ า 1) เกสต์ เ ฮาส์ ส่ ว นใหญ่ เ คยประสบปั ญ หา
อาชญากรรม เช่ น อาชญากรรมเกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ แ ละอาชญากรรมเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ร่ า งกาย มี ก ารติ ด ตั้ ง
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในเกสต์เฮาส์มาแล้ว 1 ถึง 12 ปี จานวน 1 ถึง 48 ตัว บันทึกข้อมูลย้อนหลังได้ 1 วัน
ถึง 1 ปี จุดที่ติดตั้ง ได้แก่ ทางเข้า-ออกอาคาร เคาน์เตอร์ต้อนรับ ล็อบบี้ ทางเดิน บันได ลิฟต์ แนวระเบียง
ห้องเก็บสัมภาระ ตู้นิรภัย และบริเวณโดยรอบอาคาร ส่วนใหญ่ติดตั้งเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้ อ งกัน
อาชญากรรมและใช้ในการดูแลลูกค้า ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
พบว่ า มี ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการใช้ง านกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิด 4 รู ป แบบ ได้ แ ก่ ด้ า นซอฟต์ แวร์
ด้ า นฮาร์ ด แวร์ ด้ า นระบบเครื อ ข่ า ย และปั ญ หาจากสภาพแวดล้ อ มที่ ติ ด ตั้ ง ส าหรั บ ข้ อ เสนอแนะ
จากการวิ จั ย คื อ 1) ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ให้ บ ริ ก ารที่ พั ก ควรติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด เพื่ อ ใช้
ในการเฝ้ าระวังหรื อป้ อ งกัน อาชญากรรมและเพื่ อ ความปลอดภัยของลู ก ค้ า 2) ควรจัดทาฐานข้ อ มู ล
ของกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ของภาคเอกชนในพื้ น ที่ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการป้ อ งกั น อาชญากรรม
และการสืบสวนหลังเกิดเหตุ

คาสาคัญ: กล้องโทรทัศน์วงจรปิด, การป้องกันอาชญากรรม, เกสต์เฮาส์

58
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

Abstract
This study is a qualitative research which has 2 main objectives: 1) to study the
installation pattern and implementation of Closed-Circuit Televisions (CCTVs) and
2) to study problems on using CCTV to prevent crimes in guesthouses. The sample group
of this study targeted in 30 guesthouse operators in Phra Nakhon District, Bangkok.
The results showed that: 1) Most of guesthouses had used to face with crime against
property and life. The CCTV system has been approximately installed from 1 years to
12 years with the number of 1 camera to 48 cameras and the playback record kept for
1 day to 1 year. The installation spots of CCTV have been at the entrance and exit of the
buildings, reception desks, lobbies, walkways, and around the buildings. Most guesthouses
used CCTV as a tool for crime prevention and customer service. 2) The most common
CCTV problems all the sample group faced included software, hardware, network system
and the surrounding area. This research suggests that 1) The accommodation operators
have to install CCTV for security of customers. 2) Private sectors should establish the
database of CCTV in their area to use for crime prevention and investigation.

Keywords: Closed-Circuit Television, Crime Prevention, Guesthouse

บทนา
การใช้นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทาให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วในประเทศไทยเพิ่ ม มากขึ้ น ส่ ง ผลให้ ธุ ร กิ จ ที่ พั ก เกิ ด การขยายตั ว เพื่ อ รองรั บ
ความต้ อ งการของนั ก ท่ อ งเที่ ย วและมี ก ารพั ฒ นาที่ พั ก รู ป แบบใหม่ เช่ น เกสต์ เ ฮาส์ (Guesthouse)
เพื่ อ รองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ต้ อ งการพั ก แรมในราคาประหยั ด มี ร าคาถู ก กว่ า ที่ พั ก รู ป แบบโรงแรม
และมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวหรือแหล่งชุมชนทาให้เกิดความสะดวกต่อการเดินทางท่องเที่ยวเดิม
ผู้ประกอบการเกสต์เฮาส์มักนิยมดัดแปลงบ้านพักอาศัยของตนเองหรือครอบครัวเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว
ซึ่งโดยมากมักมีร ะบบการรั กษาความปลอดภัยและมาตรการป้องกันอาชญากรรมที่น้อยกว่าโรงแรม
และมี ค วามเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด อาชญากรรมได้ ม าก ซึ่ ง การเกิ ด อาชญากรรมในเกสต์ เ ฮาส์ เ ป็ น ปั ญ หา
ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ในด้านการท่องเที่ยวของไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวย่อมมีความกังวล
ต่ อ การเลื อ กเข้ า พั ก ในเกสต์ เ ฮาส์ ที่ เ คยเกิ ด อาชญากรรมหรื อ มี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด อาชญากรรม
การที่ ผู้ ป ระกอบการมี ห น้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ตามกฎหมายต่ อ อาชญากรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเกสต์ เ ฮาส์
โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ทาให้ผู้ประกอบการต้องหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม

59
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้ระบบควบคุมการเข้า-ออก (Access Control System) การติดตั้งสัญญาณ


เตือนภัย การติดตั้งจุดตรวจตู้แดง ตลอดจนการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งการเลือกใช้
วิธีการรั กษาความปลอดภั ย ของเกสต์ เ ฮาส์ มั ก ขึ้ น อยู่ กับ ความพร้ อ มของผู้ ประกอบการ งบประมาณ
ความพร้อมของพนักงาน ตลอดจนการตระหนักถึงความสาคัญของการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด เป็ น เครื่ อ งมื อ ส าคั ญ ที่ ใ ช้ ใ นการรั ก ษาความปลอดภั ย และป้ อ งกั น
อาชญากรรมในอาคารสถานที่ ซึ่งผู้ ป ระกอบการเกสต์เฮาส์ มัก เลื อกติดตั้งเพื่อเฝ้ าระวังอาชญากรรม
และดูภาพเหตุการณ์ย้อนหลัง กล้องโทรทัศน์วงจรปิดยังช่วยให้การสืบสวนหลั งเกิดเหตุของเจ้าหน้าที่
ตารวจทาได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งภาพที่ได้สามารถใช้เป็นหลักฐาน
ในศาลได้ ทาให้เกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดอย่างแพร่หลาย ซึ่งการใช้มาตรการ
รักษาความปลอดภัยในเกสต์เฮาส์หรือธุรกิจที่พั กแรมประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการใช้
กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ยังไม่มีการกาหนดมาตรฐานการใช้งานจากภาครัฐ ซึ่งแตกต่างจากมาตรฐาน
ด้ า นความปลอดภัย ทางกายภาพที่ ถู ก ก าหนดไว้ อ ย่า งชัด เจน เกสต์ เ ฮาส์ ส่ ว นใหญ่ จึ ง ไม่ มี แนวปฏิบัติ
เกี่ ย วกั บ กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ส่ ง ผลให้ ก ารใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด มั ก ขึ้ น อยู่ กั บ ความพร้ อ ม
ของผู้ ป ระกอบการ เช่ น ความพร้ อ มด้ า นงบประมาณ ความพร้ อ มด้ า นสถานที่ หรื อ ความพร้ อ ม
ด้ า นบุ ค ลากร ท าให้ เ มื่ อ เกิ ด อาชญากรรม เจ้ า หน้ า ที่ ต ารวจจึ ง ไม่ ส ามารถที่ จ ะสื บ หาตั ว ผู้ ก ระท าผิ ด
ได้โดยทันทีเนื่ องจากพบปั ญหาภาพที่ได้จ ากกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิด ขาดความคมชัด หรือมีการติด ตั้ง
ที่ ไ ม่ เ หมาะสมกั บ การใช้ ง าน ส่ ง ผลกระทบต่ อ การใช้ ภ าพเป็ น หลั ก ฐานในศาล นอกจากนี้ การขาด
การบารุงรักษาอย่างสม่าเสมอทาให้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดไม่สามารถใช้บันทึกภาพเหตุการณ์ที่เ กิดขึ้น
ถื อ ว่ า เป็ น ปั จ จั ย ส าคั ญ ที่ ท าให้ ก ารใช้ ง านกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ขาดประสิ ท ธิ ภ าพ อาจส่ ง ผลต่ อ
การรั ก ษาความปลอดภั ย ของเกสต์ เ ฮาส์ ไ ด้ ดั ง นั้ น การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในเกสต์ เ ฮาส์
หากมีการกาหนดรูปแบบการติดตั้ง ตลอดจนการบารุงรักษาและการใช้งานที่เหมาะสมจะสามารถทาให้
เกิ ด ประโยชน์ โ ดยตรงในการป้ อ งกั น อาชญากรรมในเกสต์ เ ฮาส์ และเกิ ด ประโยชน์ โ ดยอ้ อ ม
จากการช่ ว ยเฝ้ า ระวั ง และป้ อ งกั น อาชญากรรมในพื้ น ที่ ส าธารณะโดยรอบ จึ ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งส าคั ญ
ในการเพิ่ ม มาตรฐานการใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในการป้ อ งกั น อาชญากรรมใน เกสต์ เ ฮาส์
อั น จะท าให้ ชุ ม ชนและสั ง คมเกิ ด ความปลอดภัย รวมทั้ ง เป็ นการสร้า งความเชื่อ มั่ นในความปลอดภัย
สาหรับการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

60
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษารูปแบบการติดตั้งและวิธีการใช้กล้ องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรม
ของผู้ประกอบการเกสต์เฮาส์ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปั ญหาและอุป สรรคในการใช้ก ล้ องโทรทั ศ น์ว งจรปิ ด เพื่ อป้ อ งกัน อาชญากรรม
ของผู้ประกอบการเกสต์เฮาส์ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเสนอแนะรูปแบบการติดตั้งและวิธีการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรม
ในเกสต์เฮาส์

ทบทวนวรรณกรรม
ทฤษฎี ส ามเหลี่ ย มอาชญากรรม (Crime Triangle Theory) เป็ น ทฤษฎี ที่ อ ธิ บ ายว่ า การเกิ ด
อาชญากรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ เปรี ยบเสมือนสามเหลี่ยม (Clarke & Eck, 2003)
ได้แก่
1. คนร้าย (Offender) หมายถึง ผู้ที่มีความต้องการจะก่ออาชญากรรมหรือลงมือกระทาความผิด
2. เหยื่อ (Victim) + เป้าหมาย (Target) หมายถึง บุคคล สถานที่ และวัตถุที่คนร้ายมุ่งจะกระทา
ต่อเหยื่อ หรือเป้าหมายที่คนร้ายต้องการ
3. โอกาส (Opportunity) หมายถึง เวลา (Time) + สถานที่ (Place) ที่เหมาะสมพอดีที่คนร้าย
สามารถที่จะก่ออาชญากรรมหรือลงมือกระทาความผิดได้
ทั้งนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีองค์ ป ระกอบครบ 3 ด้าน ก็จะทาให้ เกิดอาชญากรรมขึ้น แต่ถ้าหากว่า
ด้านใดด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมอาชญากรรมหายไป อาชญากรรมก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ทฤษฎี ก ารป้ อ งกั น อาชญากรรมผ่ า นรู ป แบบสภาพแวดล้ อ ม (Theory of Crime Prevention
Through Environmental Design: CPTED) เป็นกลยุทธ์ ส าคัญที่ใช้เพื่ อป้ องกันอาชญากรรม ซึ่งมีหลั กการ
พื้นฐานด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะสามารถ
ลดอัตราการเกิดอาชญากรรม แบ่งออกเป็น 2 มิติ (Piumsomboon, 2002) กล่าวคือ
1. สภาวะแวดล้อมเชิงรู ปธรรม หมายถึง สภาพแวดล้อมรอบบุคคลที่มีรูปร่างตัว ตนสั มผั ส ได้
และสามารถนามาใช้ประโยชน์ในการลดช่องโอกาสของการประกอบอาชญากรรมได้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1.1 พื้ น ที่ ป ฐมภู มิ หมายถึ ง อาณาบริ เ วณซึ่ ง ครอบครองและใช้ ป ระโยชน์ โ ดยบุ ค คลหรื อ
กลุ่มบุคคลจานวนจากัด รวมทั้งสามารถควบคุมพื้นฐานดังกล่าวได้ในลัก ษณะถาวร เช่น บ้าน ที่พักอาศัย
เป็นต้น
1.2 พื้นที่ทุติยภูมิ หมายความถึง อาณาบริเวณซึ่งบุคคลหรือกลุ่ มบุคคลสามารถแสดงสิ ทธิ
การครอบครองพื้ น ที่ รวมทั้ ง การควบคุ ม การใช้ ป ระโยชน์ เช่ น ถนนในหมู่ บ้ า นจั ด สรร ตรอกซอย
ย่านที่อยู่อาศัย ทางเดินห้องพักตามแฟลต

61
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

1.3 พื้ น ที่ ส าธารณะ หมายถึ ง อาณาบริ เ วณซึ่ ง บุ ค คลโดยทั่ ว ไปสามารถที่ จ ะเข้ า ไปได้
โดยชอบธรรมหรือสามารถใช้ในการสัญจรไปมาโดยอิสระภายใต้ขอบเขตของกฎระเบียบที่กาหนดไว้
เช่น สวนสาธารณะ สถานีรถไฟ โรงพยาบาล เป็นต้น
2. สภาพแวดล้ อ มนามธรรม คื อ การที่ ป ระชาชนจะต้ อ งเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการป้ อ งกั น
อาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ในเคหะสถาน โดยการช่วยสอดส่อง
ดู แ ลความปลอดภั ย ภายในชุ ม ชนที่ อ ยู่ อ าศั ย ตลอดจนแจ้ ง เหตุ ด่ ว นเหตุ ร้ า ยแก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ต ารวจ
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุมชนที่เป็ นระเบียบ อบอุ่นและปลอดภัยจากอาชญากรรม ทั้งนี้ การป้องกัน
อาชญากรรมโดยใช้ แ นวทางตามทฤษฎี การป้ อ งกั น อาชญากรรมผ่ า นรู ป แบบสภาพแวดล้ อ ม
ทาได้ 4 วิธีการ ได้แก่
2.1 การเฝ้าระวัง (Surveillance) เป็นการเพิ่มความหวาดระแวงให้กับผู้ที่คิดจะกระทาความผิด
โดยท าให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก ว่ า ก าลั ง ถู ก เฝ้ า มอง ซึ่ ง อาจท าได้ โ ดยการติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด
เพื่อเฝ้าดูสถานที่ โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นมุมอับสายตาคน
2.2 การควบคุ ม ช่ อ งทางเข้ า ออก คื อ การก าหนดให้ ใ ช้ ท างเข้ า ออกได้ เ พี ย งทางเดี ย ว
เป็นการจากัดบุคคลภายนอกเพื่อไม่ให้เข้าออกในพื้นที่ได้โดยง่าย อาจทาได้โดยการออกแบบเส้นทางเดิน
ให้ไปในทิศทางที่ต้องการ การนาแผงเหล็กมากั้นเป็นสิ่งกีดขวาง หรือการจากัดแบ่งเขตแสดงให้เห็นว่า
เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล
2.3 การแบ่ ง พื้ น ที่ ส่ ว นบุ ค คลและพื้ น ที่ ส าธารณะ ( Territorial Reinforcement) คื อ
การเสริมสร้างความรู้สึกของการเป็น เจ้าของพื้นที่ โดยวิธีก ารแบ่งแยกอาณาเขตอย่างชัดเจนระหว่าง
พื้ น ที่ ส่ ว นบุ ค คลกั บ พื้ น ที่ ส าธารณะ เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ บุ ค คลภายนอกสามารถรุ ก ล้ าเข้ า มาในพื้ น ที่
ส่ ว นบุ ค คลได้ อาจท าโดยการติ ด ป้ า ยห้ า มเข้ า หรื อ การสร้ า งรั้ ว ล้ อ มรอบบ้ า นหรื อ การก าหนดเป็ น
พื้นที่เฉพาะ
2.4 การบ ารุ ง รั ก ษา และการจั ด การ (Maintenance and Management) คื อ การดู แ ล
และบ ารุ ง รั ก ษาบ้ า นและที่ อ ยู่ อ าศั ย ให้ มี ส ภาพที่ เ รี ย บร้ อ ยอยู่ เ สมอ เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า มี ผู้ อ ยู่ อ าศั ย
ในบ้านตลอดเวลา อาจทาได้โดยการซ่อมแซมบ้านให้มีสภาพที่เรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะการสร้างภาพ
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมให้เกิด ขึ้นในบริเวณบ้านจะทาให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าบ้านมีคนพักอาศัย
และมีการระวังป้องกันเป็นอย่างดี
ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ (Situational Crime Prevention) ทฤษฎีป้องกัน
อาชญากรรมตามสถานการณ์ (Clark, 1997) เป็นแนวคิดในการป้องกันอาชญากรรมโดยเน้นการลดโอกาส
ในการเกิด ซึ่งแตกต่างจากนักอาชญาวิทยาส่วนใหญ่ที่เริ่มศึกษาจากพฤติการณ์ที่นาไปสู่ รูปแบบของ
การก่ อ อาชญากรรม โดยการท าความเข้ า ใจกั บ พฤติ ก ารณ์ เ หล่ านั้ น แล้ ว ใช้ เ ป็ นกลไกในการน าไปสู่
การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดโอกาสในการก่ออาชญากร รม
การป้ อ งกั น อาชญากรรมตามสถานการณ์ จึ ง เป็ น การป้ อ งกั น มากกว่ า การลงโทษหรื อ การจั บ ผิ ด

62
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

อาชญากรรม และเป็ น การลดแรงจู งใจในการก่ อ อาชญากรรมจากผู้ กระทาความผิ ด มาตรการหรื อ


กระบวนการลดโอกาสในการกระทาความผิด เช่น การนากระบวนการจัดการการออกแบบหรือการควบคุม
สภาพแวดล้อมอย่างมีระบบและถาวรมาใช้ ทาให้การก่อเหตุอาชญากรรมเป็นเรื่องยากและมีความเสี่ยงสูง
ซึ่งจะทาให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มค่าที่จะก่อเหตุอาชญากรรม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Participants of 40th Advance Police Administration Course (2015) ศึกษาพบว่าระบบ
กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด (CCTV) ที่ ติ ด ตั้ ง ในคอนโดมิ เ นี ย มจ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ร ะบบบั น ทึ ก ภาพ
อย่างน้อย 30 วัน อย่างต่าสุด 25 วัน ต้องติดตั้งกล้องตั้งแต่ทางเข้า สามารถบันทึกภาพผู้ขับขี่รถยนต์
ลานจอดรถ ลิ ฟท์ และต่อเนื่ องไปในพื้นที่ มีการอบรมเจ้าหน้าที่ใ ห้ส ามารถดูแลกล้ องได้ มีมาตรการ
ด าเนิ น งานในลั ก ษณะทางอ้ อ ม เช่ น เมื่ อ เกิ ด เหตุ แ ล้ ว จะใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ในการสื บ สวน และทางตรง
คือเป็นการเฝ้าระวังในจุดที่สาคัญ มีการแยกกล้องออกมาเฉพาะเพื่อเฝ้าระวัง เช่น ประตูทางเข้า -ออก
ทั้งนี้ เจ้าหน้าทีร่ ักษาความปลอดภัยไม่สามารถดูได้ตลอดเวลาแต่จะมุ่งเน้นในจุดสาคัญให้ดูอย่างต่อเนื่อง
Srisopa (2013) ศึกษาการใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด สาหรับงานรักษาความปลอดภัยธุรกิจ
ก่ อ สร้ า ง พบว่ า ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ก่ อ สร้ า งส่ ว นใหญ่ รั บ รู้ ถึ ง ประโยชน์ ข องกล้ อ งโทรทั ศ น์
วงจรปิ ด ว่ า สามารถช่ ว ยจั บ ผู้ ก ระท าผิ ด ช่ ว ยให้ รู้ สึ ก ปลอดภัย ช่ ว ยให้ ก ารก่ อ อาชญากรรมลดลงได้
และเน้นความสามารถของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการดูภาพย้อนหลัง ฟังเสียง และมองเห็นในที่มื ดได้
อี ก ทั้ ง การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด จะติ ด ตั้ ง ตามจุ ด เสี่ ย งในหน่ ว ยงาน เพื่ อ ป้ อ งกั น ทรั พ ย์ สิ น
และความปลอดภั ย ในสถานที่ ส่ ว นใหญ่ จ ะใช้ เ พื่ อ การป้ อ งปรามและใช้ เ ป็ น ห ลั ก ฐาน รวมถึ ง
ใช้ในการบริหารจัดการ และส่วนใหญ่พบปัญหาการขาดผู้ดูแลรับผิดชอบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดภายใน
หน่วยงาน
Brown & Bentley (1993) พบว่ า คนร้ า ยจ านวนมากพิ จ ารณาความเสี่ ย งในการจะเข้ า ไป
โจรกรรมบ้ านเรื อนจากการตรวจสอบการเสริมสร้างอาณาเขต หากเจ้าของบ้านมีการปกป้ องรั ก ษา
หรือแสดงความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน คนร้ายก็จะหลีกเลี่ยงจะเข้าไปทาการลักทรัพย์ในบ้านดังกล่าว
David & Jeffrey (2009) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดการรักษา
ความปลอดภั ย ในอะพาร์ ต เมนต์ ส่ ว นบุ ค คล พบว่ า การใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ในการป้องกันอาชญากรรมต่อเมื่อมีคนคอยเฝ้าดูภาพตลอดเวลาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และสามารถป้องกันได้
เฉพาะอาชญากรรมขนาดเล็ก
Surette (2006) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดกับการป้องกันอาชญากรรม
พบว่าการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ศึกษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของประชาชนในการป้องกัน
อาชญากรรม เนื่ อ งจากผู้ ค นจะระวั ง ตั ว ไม่ ใ ห้ ก ระท าผิ ด เมื่ อ พบเห็ น กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด
และกล้องโทรทัศน์วงจรปิดยังเพิ่มการเฝ้าระวังอาชญากรรมของประชาชนเพราะคนมักคิดว่าหากเกิด เหตุ
อาจไม่มีใครสังเกตเห็นหรือช่วยเหลือได้

63
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

ระเบียบวิธีวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่ มตัว อย่ างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการเกสต์ เ ฮาส์
ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จานวน 30 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)
เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยและใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวน
เอกสาร ทฤษฎีและงานวิจั ย ที่เกี่ย วข้อง โดยนาความรู้ที่ได้การทบทวนเอกสารและงานวิจัยเหล่านั้น
มาสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยครอบคลุมถึงเนื้อหาที่ต้องการจะศึกษาแล้วนามาใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลต่อไป
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ วิจั ย น าข้อ มูล ที่ ได้ ม าทาการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ตามแนวทางของการศึ ก ษาวิ จัย เชิ ง คุ ณ ภาพ
โดยเลือกใช้สถิติที่สอดคล้องกับการศึกษาวิจัย คือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
เชิงพรรณนา (Content Analysis)

ผลการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไป
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-63 ปี เป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย จบการศึกษา
ระดับปริญญาตรี รองลงมา ได้แก่ ปริญญาโท ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชี พชั้นสู ง
และมีการทาธุรกิจเกี่ยวกับเกสต์เฮาส์ เป็นระยะเวลา 1-35 ปี
2. ปัญหาอาชญากรรมที่เคยเกิดขึ้นในเกสต์เฮาส์พื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างเคยประสบกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเกสต์เฮาส์ ได้แก่ อาชญากรรม
เกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ สิ น เช่ น การลั ก ทรั พ ย์ ฉ้ อ โกงทรั พ ย์ เป็ น ต้ น และอาชญากรรมเกี่ ย วกั บชี วิตร่ างกาย
เช่ น การทะเลาะวิ ว าท ท าร้ า ยร่ า งกาย ปั ญ หายาเสพติ ด เป็ นต้ น นอกจากนี้ มี อาชญากรรมองค์ กร
โดยมีผู้ประกอบการ พนักงานหรือผู้ที่เข้ามาพักอาศัยเป็นผู้เสียหาย
3. รูปแบบการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของเกสต์เฮาส์ในพื้นที่เขตพระนครกรุงเทพมหานคร
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ ติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในเกสต์ เ ฮาส์ ม าแล้ ว เป็ น ระยะเวลา
1-12 ปี โดยติดตั้งกล้องแบบมุมมองคงที่ ระบบ Analog-HD ระบบ Analog และระบบ IP ตามลาดับ
มี ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด จ านวนตั้ งแต่ 1-48 กล้ อ ง ซึ่ ง เป็ น ไปตามความต้ อ งการของผู้ ป ระกอบการ
หรื อตามคาแนะน าของช่างเทคนิ ค บั นทึกข้อมูล ย้อนหลั งได้ 1 วัน - 1 ปี ขึ้นอยู่กับความจุฮาร์ดดิสก์
และความละเอียดของภาพ โดยมีจุดที่ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เน้นบริเวณที่มีบุคคลผ่านเข้า -ออก
เป็ น ประจ า เช่ น ทางเข้ า -ออก ล็ อ บบี้ ต้ อ นรั บ ทางเดิ น บั น ได ลิ ฟ ต์ หรื อ เน้ น พื้ น ที่ ที่ มี ค วามเสี่ ย ง

64
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

ต่อการเกิดอาชญากรรม เช่น เคาน์เตอร์ต้อนรับ ห้องรับฝากสัมภาระ ตู้นิรภัยและรอยต่อกับพื้นที่ภายนอก


เช่ น พื้ น ที่ แ นวรั้ ว และแนวอาคาร รวมทั้ ง มี ก ารปรั บ มุ ม มองภาพให้ เ ห็ น ภาพรวมของพื้ น ที่ เ ป็ น หลั ก
และให้เห็นรูปพรรณสัณฐานของบุ คคล ส่วนใหญ่ได้มีการจัดวางเครื่องบันทึกภาพให้อยู่ ใกล้กับจอภาพ
เพื่อความสะดวกในการใช้งาน มีบางส่วนที่จัดวางเครื่องบันทึกภาพในจุดที่บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ยาก
เพื่อป้องกัน การทุบ ทาลายหรื อการลบข้อมูลจากกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิด และหากจุดที่กล้ องโทรทั ศน์
วงจรปิดติดตั้งมีความสาคัญน้อยลงหรือมีจุดอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรมมากกว่า
กลุ่มตัวอย่างบางรายจะย้ายกล้องที่ติดตั้งไว้ในจุดเดิมไปติดตั้งในจุดใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บ
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ มี ก ารติ ด ตั้ ง จอภาพให้ พ นั ก งานหรื อ ผู้ ป ระกอบการใช้ ดู ภ าพจาก
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ติดตั้งไว้และมีการเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตสาหรับดูภาพจากภายนอกพื้นที่
ซึ่ ง กลุ่ ม ตั ว อย่ า งบางรายได้ มี ก ารอบรมการใช้ ง านระบบกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ให้ พ นั ก งานได้ เ กิ ด
ความคุ้นเคยและสามารถใช้งานได้เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้น ส่วนบางรายไม่มีการติดตั้งจอภาพ
ให้ พนั กงานดูความเคลื่ อนไหวภายในเกสต์ เฮาส์ เนื่องจากต้องการใช้ดูภ าพเหตุการณ์ย้อนหลั งเพียง
อย่างเดียว ซึ่งในกรณีที่ลูกค้าต้องการขอดูภาพย้อนหลังนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะสอบถามรายละเอียด
เหตุการณ์เ บื้ องต้น และให้ ดูภ าพย้ อนหลั ง ได้ ทัน ที แต่ บางส่ ว นจะให้ ลู กค้ า ไปแจ้ง ความเพื่ อ ลงบั น ทึ ก
ประจาวันก่อนจึ งจะทาการตรวจสอบภาพย้อนหลังให้ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่ว นใหญ่ยินดีที่จ ะให้
เจ้าหน้าที่ตารวจใช้ประโยชน์จากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด และสามารถขอภาพได้ทันทีโดยไม่ต้องทาหนังสือ
ขอความอนุเคราะห์
4. ปัญหาและอุปสรรคทีพ่ บจากการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบปัญหาในการใช้งานกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิดทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่
1) ด้ า นซอฟต์ แ วร์ (Software) เช่ น โปรแกรมบั น ทึ ก ภาพเสี ย หาย 2) ด้ า นฮาร์ ด แวร์ (Hardware)
เช่ น กล้ อ งดั บ หรื อ ใช้ ง านไม่ ไ ด้ 3) ด้ า นระบบเครื อ ข่ า ย (Networking System) ที่ ท าให้ ไ ม่ ส ามารถ
ดูภาพจากระบบกล้ องโทรทัศน์ วงจรปิ ดได้ และ 4) ปัญหาจากสภาพแวดล้ อมที่ติดตั้ ง เช่น กิ่งไม้บดบั ง
หน้ากล้อง รถยนต์เฉี่ยวชนกล้องได้รับความเสียหาย ส่วนการบารุงรักษาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดนั้น
ช่ า งเทคนิ ค ที่ ท าการติ ด ตั้ ง จะไม่ มี ก ารก าหนดห้ ว งเวลาซ่ อ มบ ารุ ง ชั ด เจน แต่ พ นั ก งานในเกสต์ เ ฮาส์
จะเป็ น ผู้ แจ้ งช่างเทคนิ คในกรณีพบปั ญหาการใช้งานที่ไม่ส ามารถแก้ ไขได้ด้ว ยตนเอง และเมื่อระบบ
กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ที่ ติ ด ตั้ ง เสื่ อ มสภาพการใช้ ง านหรื อ มี ร ะบบใหม่ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สู ง กว่ า
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ จ ะตั ด สิ น ใจเปลี่ ย นกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด โดยค านึ ง ถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพและ
งบประมาณที่ใช้ในการเปลี่ยนระบบ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างบางรายพบปัญหาเกี่ยวกับการซ่อมบารุง
กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ที่ ใ ช้ ร ะยะเวลานานซึ่ ง จะส่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพในการเฝ้ า ระวั ง และ
ป้ อ งกั น อาชญากรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ส่ ว นปั ญ หาอื่ น ๆ ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด
เพื่อป้องกันปั ญหาอาชญากรรม เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสาธารณะที่อยู่ใกล้เคียงมีความคมชัด ต่า

65
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

และใช้งานไม่ได้ หรือไม่ได้รับความร่วมมือในการขอภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของสถานประกอบการ
ใกล้เคียง ทาให้เจ้าหน้าที่ตารวจไม่สามารถติดตามเส้นทางหลบหนีของผู้ที่กระทาความผิด เป็นต้น
5. การใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเกสต์เฮาส์
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ ส ามารถใช้ ป ระโยชน์ จ ากกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในการป้ อ งกั น
อาชญากรรมได้ สาเหตุส่ วนหนึ่ งมาจากการที่ผู้กระทาผิ ดพบเห็นกล้องโทรทัศน์ว งจรปิ ดมักเกรงกลัว
และไม่กล้าก่ออาชญากรรม เพราะอาจจะถูกกล้องบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานและถูกเจ้าหน้าที่ตารวจ
จั บ กุ ม ตั ว ในภายหลั ง บางส่ ว นเห็ น ว่ า กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด จะสามารถป้ อ งกั น อาชญากรรมได้
เมื่อใช้ควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังโดยพนักงาน ทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงในการตกเป็ นเหยื่ออาชญากรรม
ของพนักงานและลูกค้า โดยส่วนน้อยพบว่ากล้องโทรทัศน์วงจรปิดเป็นปัจจัยเร้าให้ผู้กระทาผิดตัดสินใจ
ก่ อ เหตุ อ าชญากรรมได้ ง่ า ยและสร้ า งความเสี ยหายมากกว่ าปกติ นอกจากนี้ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่
ยั ง เห็ น ว่ า กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ช่ ว ยให้ ก ารจั ด การปั ญ หาหลั ง เกิ ด อาชญากรรมท าได้ ร วดเร็ ว
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการที่มีพยานหลักฐานในการกระทาผิดชัดเจน
การใช้งานระบบกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิดของกลุ่ มตัว อย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหา
อาชญากรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น สามารถที่ จ ะแบ่ ง ออกเป็ น 3 ลั ก ษณะตามห้ ว งเวลา ได้ แ ก่ 1) ห้ ว งก่ อ นเกิ ด
อาชญากรรม ใช้ ดู ค วามเคลื่ อ นไหวภายในพื้ น ที่ เ พื่ อ หาสิ่ ง ผิ ด ปกติ ห รื อ บุ ค คลที่ อ าจเข้ า มาก่ อ เหตุ
2) ห้วงขณะเกิดอาชญากรรมใช้ดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและใช้ประเมินความเสี่ยงของพนักงานในการเข้าไป
ระงั บ เหตุ ห รื อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบเหตุ 3) ภายหลั ง เกิ ด อาชญากรรม ใช้ ดู ภ าพเหตุ ก ารณ์ ย้ อ นหลั ง
เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนหาตัวผู้ที่กระทาความผิดรวมถึงใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเงินชดเชย
จากผู้กระทาผิด
การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในเกสต์ เ ฮาส์ ส ามารถอ านวยประโยชน์ ใ ห้ ก ลุ่ ม ตั ว อย่าง
ได้หลายลักษณะ เช่น สามารถป้องกันอาชญากรรมและสืบหาตัวผู้ที่กระทาความผิดได้ ป้องกันปัญหา
ลู ก ค้ า ฉ้ อ โกง ค่ า ห้ อ งพั ก ป้ อ งกั น การทะเลาะวิ ว าท ตรวจสอบผู้ ต้ อ งสงสั ย ที่ จ ะก่ อ เหตุ อ าชญากรรม
ป้องกันลูกค้าแอบอ้างหรือเรียกร้องเงินกรณีทรัพย์สินสูญหาย เฝ้าระวังอาชญากรรมจากบุคคลภายนอก
ป้องกันอาชญากรรมในชุมชนและพื้ นที่โดยรอบ ให้ความช่วยเหลือแก่คนในชุมชนเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรม
เฝ้ าระวั งอั คคี ภั ย เฝ้ าระวั ง อุ บั ติ เ หตุ แ ละอาการเจ็ บ ป่ ว ยเฉี ย บพลั น ของลู ก ค้ า และเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ
การทางานของพนักงาน เป็นต้น
6. ข้อเสนอแนะรูปแบบการติดตั้งและวิธีการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในเกสต์เฮาส์
การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในเกสต์ เ ฮาส์ ข องกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง มี รู ป แบบการติ ด ตั้ ง
และวิธีการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเกสต์เฮาส์ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะ
สาหรับการกาหนดพื้นที่ติดตั้งกล้ องโทรทัศน์วงจรปิดให้ เกิดประสิทธิภาพในการป้องกัน อาชญากรรม
สรุปได้ดังตารางที่ 1

66
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

ตารางที่ 1 รูปแบบการติดตั้งและวิธีการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเกสต์เฮาส์
วัตถุประสงค์ สภาพปัญหา พื้นที่ติดตั้ง ประโยชน์ที่ได้รับ
ของการติดตั้ง จากการติดตั้ง
เพื่อป้องปราม ไม่ เ คยเกิ ด อาชญากรรม (1) พื้นที่หน้าอาคาร ลดความเสี่ยง
ไม่ให้เกิด หรือเคยเกิดอาชญากรรม (2) ทางเข้าออก ในการเกิดอาชญากรรม
อาชญากรรม แต่มีความเสียหายเล็กน้อย (3) บันไดหรือลิฟต์
เพื่อเฝ้าระวัง เคยเกิดเหตุอาชญากรรม จุดที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม สามารถนาภาพ
การเกิดเหตุ หรื อ จุ ด ที่ เ กิ ด อาชญากรรม ผู้กระทาผิด
อาชญากรรม บ่อยครั้ง เช่น พื้นที่หน้าอาคาร ให้เจ้าหน้าที่ตารวจ
ทางเข้าออก เคาน์เตอร์ต้อนรับ ใช้ติดตามตัวดาเนินคดี
โถงต้อนรับ โถงทางเดิน แนวรัว้
แนวระเบียง เป็นต้น
เพื่อป้องกัน เคยพบปัญหาการเรียกร้อง จุดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของ สามารถตรวจสอบ
ความรับผิด ค่าชดเชยจากลูกค้าโดยอ้าง ลูกค้า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ทางกฎหมาย เรื่องอาชญากรรมเกี่ยวกับ (1) ทางเข้าออก หรือปฏิเสธความรับผิด
ทรัพย์ (2) โถงทางเดิน ทางแพ่งได้
(3) ห้องรับฝากสัมภาระ
(4) หน้าตู้นิรภัย

สรุปและอภิปรายผล
ผู้ ป ระกอบการเกสต์ เ ฮาส์ ใ นพื้ น ที่ เ ขตพระนคร กรุ ง เทพมหานคร ส่ ว นใหญ่ เ คยพบปั ญ หา
อาชญากรรม โดยเป็นปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินมากที่สุด เช่น การลักทรัพย์ การฉ้อโกงทรัพย์
การท าให้ เ สี ย ทรั พ ย์ รองลงมาคื อ อาชญากรรมที่ เ กี่ ย วกั บ ชี วิต และร่า งกาย เช่ น การทะเลาะวิ ว าท
การท าร้ า ยร่ า งกาย ยาเสพติ ด และอาชญากรรมองค์ ก ร เช่ น แก๊ ง Romance Scam ซึ่ ง ผู้ เ สี ย หาย
เป็นผู้ประกอบการเกสต์เฮาส์ พนักงาน และลูกค้าที่เข้ามาพักอาศัยในเกสต์เฮาส์ นอกจากนี้ ยังพบปัญหา
อาชญากรรมอื่น ๆ ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทาความผิด เช่น การปรากฏของบุคคลแปลกหน้า
ในพื้นที่ การใช้เกสต์เฮาส์เป็นแหล่งหลบซ่อนพักพิงเพื่อเตรียมก่อ เหตุหรือภายหลังก่อเหตุ รวมทั้งปัญหา
อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงที่อาจทาให้เกสต์เฮาส์ได้รับผลกระทบได้
รูปแบบการติดตั้งและวิธีการใช้กล้ องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเกสต์เ ฮาส์
ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลติดตั้งกล้ องโทรทัศน์วงจรปิดในเกสต์เฮาส์
ได้แก่ ปั จ จั ย ภายใน เช่น ภูมิห ลั งของผู้ ประกอบการ การพบปัญหาอาชญากรรม ปัญหาด้านบริการ

67
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

ของพนั ก งาน รวมทั้ ง ความต้ อ งการระบบรั ก ษาความปลอดภั ย ส่ ว นปั จ จั ย ภายนอก เช่ น ปั ญ หา


อาชญากรรมในชุมชนหรือพื้นที่โดยรอบเกสต์เฮาส์ และคาแนะนาของเจ้าหน้าที่ตารวจหรือเจ้าหน้าที่
หน่ ว ยงานความมั่น คง เป็นต้น ส่วนการติดตั้งกล้ องโทรทัศน์วงจรปิดของเกสต์เฮาส์ พบว่า มีการติดตั้ ง
มาเป็ น ระยะเวลา 1-12 ปี หลั ง จากการก่ อ สร้ า งและการตกแต่ ง ภายในเสร็ จ สิ้ น โดยส่ ว นใหญ่
ได้ มี ก ารก าหนดรู ป แบบวิ ธี ก ารติ ด ตั้ ง ตามความต้ อ งการของผู้ ป ระกอบการและตามค าแนะน าจาก
ช่างเทคนิคหรือร้านจาหน่ายกล้องโทรทัศน์วงจรปิด โดยติดตั้งใน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) เพื่อป้องปราม
อาชญากรรม 2) เพื่ อ เฝ้ า ระวั ง เหตุ อ าชญากรรม และ 3) เพื่ อ ป้ อ งกั น ความรั บ ผิ ด ทางกฎหมาย
ซึ่ ง แต่ ล ะแนวทางจะมี วิ ธี ก ารติ ด ตั้ ง ที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป โดยผู้ ป ระกอบการเกสต์ เ ฮาส์ ใ นพื้ น ที่
เขตพระนคร กรุ ง เทพมหานคร ใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ว งจรปิ ด แบบมุ ม มองภาพคงที่ ระบบ Analog-HD
มากที่สุ ด และใช้ร ะบบ Analog และระบบ IP ตามล าดับ หรือบางส่ ว นมีการติดตั้งมากกว่า 1 ระบบ
เพื่อใช้เป็นระบบสารองเมื่อเกิดเหตุ อาชญากรรม หรือบางส่วนจะคานึงถึงคุ ณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง
รวมทั้ ง ยั ง ติ ด อุ ป กรณ์ เ สริ ม ต่ า ง ๆ เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ในการท างานของกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ด้ ว ย
เช่น ไมโครโฟน เพื่อบันทึกเสีย งในจุ ดที่พบปัญหาระหว่างพนักงานกับลู กค้าที่เข้ามาพักในเกสต์ เ ฮาส์
เป็นประจา
การที่ กลุ่ มตัว อย่ างส่ ว นใหญ่มองว่ากล้ องโทรทัศน์ว งจรปิดสามารถช่ว ยป้องกันอาชญากรรม
ไม่ให้เกิดขึ้นในเกสต์เฮาส์ สอดคล้องกับการศึกษาของ Brown & Bentley (1993) ที่พบว่า คนร้ายจานวนมาก
พิจ ารณาความเสี่ ย งในการจะเข้ า ไปโจรกรรมบ้ า นเรื อนจากการตรวจสอบการเสริม สร้า งอาณาเขต
หากเจ้าของบ้านมีการปกป้องรักษาหรือแสดงความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน คนร้ายก็จะหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไป
ทาการลักทรัพย์ในบ้านดังกล่าว ทั้งยังสอดคล้องกับการศึกษาของ Surette (2006) ที่พบว่าการติดตั้ง
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ศึกษาช่วยเพิ่มประสิ ทธิภาพของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม
เนื่องจากผู้คนจะระวังตัวไม่ให้กระทาผิดเมื่อพบเห็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
ยังเพิ่มการเฝ้าระวังอาชญากรรมของประชาชน เพราะคนมักคิดว่าหากเกิดเหตุอาจไม่มีใครสังเกตเห็นหรือ
ช่วยเหลือได้
การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ของผู้ ป ระกอบการเกสต์ เ ฮาส์ ใ นพื้ น ที่ เ ขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร ยังสอดคล้องกับทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (Piumsomboon,
2002) ในส่วนของการเฝ้าระวัง (Surveillance) กล่าวคือ การใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสามารถช่วยให้
ผู้ ป ระกอบการหรื อ พนั ก งานใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเฝ้ า ดู ค วามเคลื่ อ นไหวต่ า ง ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในพื้ น ที่
นอกจากนี้ ยังมีการปฏิบัติอื่นที่สอดคล้องกับวิธีการควบคุมช่องทางเข้า -ออก ร่วมกับวิธีการแบ่งพื้นที่
ส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะ (Territorial Reinforcement) ที่จะช่วยให้เกิดการแบ่งพื้นที่ระหว่างพื้นที่
สาธารณะด้านนอกและพื้นที่กึ่งสาธารณะด้านใน เช่น โถงต้อนรับ และพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ห้องพักลูกค้า
โดยมีกล้ องโทรทัศน์ ว งจรปิ ดเป็ น เครื่ อ งมื อในการเฝ้ าระวั งไม่ให้ ผู้ กระทาผิ ด ก่ ออาชญากรรมในพื้ นที่
ทั้ ง นี้ ก ารจะใช้ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพในการป้ อ งกั น อาชญากรรมเกสต์ เ ฮาส์

68
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

ต้องมี การบ ารุ งรั กษา และการจั ดการทั้งในด้านสภาพแวดล้ อมของพื้นที่ติดตั้ง รวมไปถึงด้านอุปกรณ์


ของระบบกล้ องโทรทั ศน์ วงจรปิ ด ให้ ส ามารถใช้ ง านได้ ต ลอดเวลา ซึ่ ง จะช่ ว ยให้ ก ารเฝ้ า ระวั ง ปั ญ หา
อาชญากรรมและการเก็บบันทึกข้อมูลอาชญากรรมที่เกิดขึ้นทาได้อย่างเต็มที่ และหากมองตามทฤษฎี
รู ป แบบอาชญากรรมจะเห็ น ได้ ว่ า การติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ของผู้ ป ระกอบการเกสต์ เ ฮาส์
เป็ น วิธีการป้องกัน อาชญากรรมโดยการลดโอกาสที่อาจทาให้ผู้ กระทาผิ ดเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมต่อการเลื อกเหยื่ อเพื่อลงมื อก่ ออาชญากรรม กล่ าวคือ การติดตั้งกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิ ด
ในพื้ น ที่ ที่ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด อาชญากรรมเป็ น วิ ธี ก ารป้ อ งกั น หรื อ ระงั บ ยั บ ยั้ ง ไม่ ใ ห้ ผู้ ก ระท าผิ ด
สามารถก่ออาชญากรรมได้โดยง่ายจากการที่ผู้กระทาผิดรู้สึกว่าพื้นที่นนั้ ไม่เหมาะสมต่อการลงมือก่อเหตุ
นอกจากนี้ ก ารติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ของผู้ ป ระกอบการเกสต์ เ ฮาส์ ยั ง สอดคล้ อ งกั บ
ทฤษฎีป้ องกัน อาชญากรรมตามสถานการณ์ (Clark, 1997) โดยการเสริมสร้างความแข็งแกร่ ง ให้ กั บ
เป้ า หมาย (Target Hardening) ที่ เ ป็ น การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ผู้ ก ระท าผิ ด เข้ า ถึ ง
เป้าหมายที่ต้องการได้โดยง่าย เปรียบเสมือนการสร้างความรู้สึกถูกจ้ องมองตลอดเวลา ทาให้ผู้กระทาผิด
เกิดความเกรงกลั ว และเลื อ กที่ จ ะไม่กระทาผิ ด อีกทั้งในบางเกสต์เ ฮาส์ ที่มี จอภาพให้ พนั กงานดู ภ าพ
จากกล้ องโทรทัศน์ ว งจรปิ ด ซึ่งถือเป็ น วิธีการเฝ้ าตรวจโดยพนักงาน (Surveillance By Employees)
ที่เป็นวิธีการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการมีคนคอยเฝ้ าระวังเหตุการณ์ใ นพื้ นที่
เกสต์เฮาส์ ย่อมส่งผลให้สามารถตอบสนองเหตุได้ดีกว่าการขาดคนเฝ้าระวัง เกสต์เฮาส์บางแห่ งมีวิธีการ
เสริ ม สร้ า งความปลอดภั ย โดยการใช้ร ะบบควบคุ ม การเข้ า ออก เช่ น ประตู ร หั ส หรื อ การใช้ คี ย์ก าร์ด
ส าหรั บ เข้ า พื้ น ที่ เ กสต์ เ ฮาส์ ย่ อ มเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการคั ด กรองผู้ ก ระท าผิ ด ไม่ ใ ห้ ส ามารถเข้ า มา
ก่ออาชญากรรมในพื้น ที่เกสต์เฮาส์ ได้โ ดยง่าย บางแห่งมีการใช้วิธีตรวจสอบทางเข้าออก (Entry/Exit
Screening) โดยพนักงานซึ่งสามารถที่จะช่วยให้สามารถคัด กรองบุคคลภายนอกและลูกค้าออกจากกัน
ส่ ง ผลดี ต่ อ การป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ผู้ ก ระท าผิ ด ที่ ไ ม่ ใ ช่ ลู ก ค้ า สามารถเข้ า มาในพื้ น ที่ เ ฝ้ า ระวั ง นอกจากนี้
การเฝ้ า ตรวจในรู ป แบบที่ เ ป็ น ทางการ (Formal Surveillance) เป็ น วิ ธี ที่ เ กสต์ เ ฮาส์ ห ลายแห่ ง ใช้
เพื่อป้องกันอาชญากรรม และเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.1 รั ฐ บาลควรส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ในเกสต์ เ ฮาส์ แ ละธุ ร กิ จ
ที่ พั ก อย่ า งทั่ ว ถึ ง รวมทั้ ง ควรมี ก ารจั ด ท าฐานข้ อ มู ล ของกล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด ของภาคเอกชน
ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรมและการสืบสวนหลังเกิดเหตุ
1.2 กระทรวงมหาดไทยควรกาหนดให้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
พื้นฐานในเกสต์เฮาส์และธุรกิจที่พัก

69
วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตารวจ
Journal of Criminology and Forensic Science

1.3 หน่ ว ยงานภาครั ฐ ควรมี ม าตรการทางภาษี ห รื อ การให้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ แ ก่ ธุ ร กิ จ ที่ พั ก


ที่ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ทั้งยังสามารถช่วยให้
ภาครัฐประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่สาธารณะได้
2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
2.1 ผู้ ป ระกอบการเกสต์เฮาส์ และธุรกิจให้ บริการที่พัก ควรติดตั้งกล้ องโทรทัศน์ว งจรปิด
ในที่พักให้เพียงพอต่อการใช้เ ฝ้าระวังและป้องกั นปัญหาอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ภายนอก
และภายในเกสต์เฮาส์ โดยเน้นจุดที่พบปัญหาอาชญากรรมบ่อยครั้ง เช่น โถงต้อนรับ โถงทางเดิน รวมถึง
ทางเข้า-ออกอาคาร
2.2 ควรอบรมพนักงานในเกสต์เฮาส์และธุรกิจที่พักอื่น ให้มีทักษะในการใช้กล้องโทรทั ศน์
วงจรปิด เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 สถานีตารวจในพื้นทีแ่ ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมควรมีการจัดทา
แผนที่ ก ล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด เอกชนที่ ติ ดตั้ ง ในพื้ น ที่ รับ ผิ ด ชอบ เพื่ อ ประโยชน์ใ นการป้อ งกั น ปัญหา
อาชญากรรมที่เกิดขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนหลังเกิดเหตุ
3. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรศึ ก ษาการติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด เพื่ อ ป้ อ งกั น อาชญากรรมในเกสต์ เ ฮาส์
และที่พักรูปแบบอื่น ในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้บริการจานวนมาก เช่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภู เก็ต เป็นต้น เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางกายภาพลักษณะของประชากร
และสภาพปัญหาอาชญากรรมที่แตกต่างกัน
3.2 ควรศึ ก ษาการติ ด ตั้ ง กล้ อ งโทรทั ศ น์ ว งจรปิ ด เพื่ อ ป้ อ งกั น อาชญากรรมในเกสต์ เ ฮาส์
และที่พักรูปแบบอื่น โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ

เอกสารอ้างอิง
Participants of 40th Advance Police Administration Course. (2015). Partnership Of Crime
Prevention and Crime Solving: Study Case of Property Crime in Risk Area in
Bangkok Metropolitan Region. Bangkok: Police College, Police Education Bureau
(In Thai).
Sriworakhan, C. (2012). Paradigm innovation for Royal Thai Police Crime Prevention in
21st Century. Nonthaburi: S R Printing Mass Product Co Ltd. (In Thai).
Brown, B. B., and Bentley, D. L. (1993). Residential Burglars Judge Risk: The Role of
Territoriality. Journal of Environmental Psychology, 13(1), 51-61.

70
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
Volume 6 Number 2 July – December 2020

Greenberg, D. F., and Roush, J. B., (2 0 0 9 ) . The Effectiveness of An Electronic Security


Management System in A Privately Owned Apartment Complex. Evaluation Review,
33(1), 3-26.
Piumsomboon, P. (2002) Crime Control Through Environmental Design: Principles,
Theories and Measures. 3th Edition. Bangkok: Bhannakij. (In Thai).
Surette, R. (2006). CCTV and Citizen Guardianship Suppression: A Questionable Proposition.
Police Quarterly, 9(1), 100-125.
Clark, R. V. (1997). Situational Crime Prevention: Successful Case Studies. 2nd Edition.
USA: Lynne Rienner Publishers.
Clarke, R. V., and Eck, J. (2003). Become a Problem-Solving Crime Analyst: In 55 Small Steps
Retrieved on August 20, 2019 from https://popcenter.asu.edu/sites/default/files/
library/reading/PDFs/55stepsUK.pdf.
Srisopa, C. (2013). Closed-Circuit Television (CCTV) Usage Framework Consideration for
Construction Company Internal Security System Master of Science Thesis
Dhurakij Pundit University. (In Thai).

ผู้เขียน
คานาหน้า ชื่อ-สกุล นายศิรวิทย์ ตาดพริ้ง
หน่วยงาน/สังกัด นักศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่อยู่หน่วยงาน/สังกัด เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตาบลศาลายา
อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
E-mail: siravit.tad@student.mahidol.ac.th

คานาหน้า ชื่อ-สกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี


หน่วยงาน/สังกัด คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่อยู่หน่วยงาน/สังกัด เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตาบลศาลายา
อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
E-mail: chankanit.sur@gmail.com

71

You might also like