Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 47

1

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

โดย
นางสาวชฎาวัลย์ คงเมือง
นางสาวฮาดีล๊ะ ดอเล๊าะ
นางสาว กรณ์ภัสสร รัตนวิโรจน์
2

ระดับ ปวส. ปีพุทธศักราช 2565


วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี อาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

โดย
นางสาวชฎาวัลย์ คงเมือง
นางสาวฮาดีล๊ะ ดอเล๊าะ
นางสาว กรณ์ภัสสร รัตนวิโรจน์

ครูที่ปรึกษา
ครูฮะฟีซุดดีน เจะมุ
ครูธัญชนก นวลดี
ครูรุจิรา บาเหาะ
3

ที่ปรึกษาพิเศษ
ดร.ฮามีด๊ะ มูสอ

ชื่อโครงงาน : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ชื่อผู้จัดทำ นางสาวชฎาวัลย์ คงเมือง
นางสาวฮาดีล๊ะ ดอเล๊าะ
นางสาว กรณ์ภัสสร รัตนวิโรจน์
ครูที่ปรึกษา : อาจารย์ฮะฟีซุดดีน เจะมุ
ปีที่จัดทำ : 2565
สถานศึกษา : วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสกัด
น้ำมันเมล็ดยางพารา พบว่าน้ำมันเมล็ดยางพารา มีความปลอดภั ย ไม่พบสารจำพวกโลหะหนัก ตะกั่ว (Pb)
แคดเมียม (Cd) สารหนู (As2O3) และปรอท (Hg) เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเตรียมโดยใช้ความเข้มข้น
ของน้ำมันเมล็ดยางพาราที่ 0, 20, 30, และ 40 กรัม จากนั้นทำการประเมินผลความพึงพอใจของผู้ ใช้ง านต่ อ
ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราที่เตรียมได้ โดยประเมินจากสี , กลิ่น, ค่า pH, ค่าความหนืด
(viscosity) โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจด้วยประสาทสัมผัส (9-Point hedonic scale) ประเมินจากผู้เข้ารับ
การทดสอบจำนวน 30 คน ซึ่งพบว่า ลักษณะเนื้อสัมผัสของครีม สี ความหนืด มีค่าความพึงพอใจของทั้ง 4 สูตรที่
ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในส่วนของกลิ่นพบว่า สูตรที่ 2 (น้ำมันยางพารา 30 กรัม) และสูตรที่ 3 (น้ำมัน
ยางพารา 40 กรัม) มีค่าความพึงพอใจน้อยกว่าสูตรที่ 1 (น้ำมันยางพารา 20 กรัม) อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมี
กลิ่นของน้ำมันเมล็ดยางพาราค่อนข้างแรง ผู้วิจัยจึงเลือกสูตรที่ 1 เพื่อทำการศึกษาความคงตัวของผลิต ภัณฑ์ ซึ่งผล
การทดสอบปรากฏว่าสูตรมีความคงตัวดี สมบัติต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งการ
4

ทดสอบแบบเก็บสูตรครีมไว้ที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิร้อนสลับเย็น การเก็บสูตรครีมไว้ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 2


สัปดาห์ และการเก็บสูตรครีมไว้ที่อุณหภู มิ 45°C เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้วิจัยจึงเลือกครีมสูตรที่ 1 (น้ำมันเมล็ด
ยางพารา 20 กรัม) เป็นสูตรต้นแบบเนื่องจากมีปริมาณน้ำมันเมล็ดยางพารามากกว่าสูตรที่ 2 และ3 เพื่อนำไปผลิต
ผลิตภัณฑ์พร้อมทดสอบการระคายเคืองและประสิทธิภาพของครีมต่อไป ส่วนผลการทดลองผลิตภัณฑ์ครี มบำรุงผิว
มือที่มีน้ำมันเมล็ดยางพาราเป็นองค์ประกอบ 20 กรัม มีลักษณะและผลประเมินความพึงพอใจที่ดีสุด และเมื่อนำ
ครีมไปทดสอบการระคายเคืองต่อผิวของอาสาสมัครจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 19-35 ปี พบว่าไม่มีผู้ที่แสดง
อาการระคายเคืองต่อครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยาพารา ประสิทธิภาพการให้ความชุ่มชื้นแก่ ผิวของครีม เมื่อ
ทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 30 คนที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองแล้ว โดยทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ระหว่างครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม แบบ placebo-controlled, blind test
ด้วยเครื่อง Corneometer® CM825 พบว่าบริเวณที่ทาครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัมมีค่าความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น
มากกว่าครีมพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น 52.64% (p = 0.04) สรุปได้ว่าครีมบำรุง
ผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยาพารา 20 กรัมสามารถให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้เป็นอย่างดีและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
แก่ผู้ใช้ ส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งานส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70 และเพศชาย คิดร้อยละ 30 จำแนกตามอายุ
พบว่า ผู้ใช้งานมีอายุระหว่าง 16-25 ปี มากที่สุดคือร้อยละ 56.67 จำแนกตามอาชีพ พบว่า ผู้ใช้งานประกอบอาชีพ
นักเรียน นักศึกษามากที่สุดคิดร้อยละ 66.67 และความพึ่งพอใจ ด้านผลิตภัขณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านน่าสนใจและราคา อยู่ในระดับ
มากที่สุด

กิตติกรรมประกาศ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ครีม บำรุงผิวมือ จากน้ำมันเมล็ด ยางพาราสำเร็ จลุ ล่ วงไปด้ วยดี เนื่อ งจากได้รั บ
คำแนะนำและให้ก ารช่ วยเหลือ จากหลายๆ ฝ่ าย คณะผู ้ จั ด ทำขอกราบขอบพระคุ ณ นายวิ ท ยา ตั ่ น ยื น ยง
ผู้อำนวยการผู้วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีและท่านรองผู้อำนวยการทุกท่าน กรุณาให้คำปรึกษาและคำแนะนำการ
ทดลอง การเขียนรายงาน ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น และนางศศิธร อ่อนโพธิ์เตี้ย รองผู้อำนวยการฝ่าย
แผนงานและความร่วมมือที่ได้กรุณา ให้คำปรึกษาและจัดสรรงบประมาณในการจัดทำครั้งนี้ ขอขอบคุณ อาจารย์
ฮะฟีซุดดีน เจะมุ ครูที่ปรึกษา ที่กรุณาให้คำปรึกษาและคำแนะนำการทดลอง การเขียนรายงานและ การนำเสนอ
ผลงาน ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ที่คอยเป็นกำลังใจและช่วยเหลือในทุกด้าน ในการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา
ขอขอบคุ ณ เพื่อ นๆ พี่ๆ วิท ยาลัยอาชีวศึกษาปั ต ตานี ทุ ก คน ที ่ คอยช่ วยเหลือ อำนวยความสะดวกในการทำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ จึงทำให้โครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้สมบูรณ์ รวมทั้งทุกคนที่มิได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ด้วย ที่มี
ส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5

คณะผู้ทำโครงงาน
มิถุนายน 2565

เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง ง
สารบัญภาพ จ
บทที่

6
สารบัญ
1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 2

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า 2

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2

ตัวแปร 3

นิยามเชิงปฏิบัติการ 4

2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ยางพารา 6
เมล็ดยางพารา 7
การสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา 8
กรดโอเลอิกและไลโนเลอิก 9
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
10
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
11
3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษาค้นคว้า 16
4 ผลการศึกษาค้นคว้า 21
5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 28
เอกสารอ้างอิง 31
ภาคผนวก 33

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
2.1 เปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันเมล็ดยางพารา 7
7

3.1 ชนิดและปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ 17
3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอาการที่เกิดและคะแนนความระคายเคือง 18

3.3 การแบ่งระดับการก่อความระคายเคืองของผลิตภัณฑ์จากค่า M.I.I. 19

4.1 ผลการวิเคราะห์ธาตุโลหะหนัก 21

4.2 ลักษณะทางกายภาพและเคมีของสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือที่มี 23
น้ำมันเมล็ดยางพารา
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสูตรครีมบำรุงผิวมือจากเมล็ดยางพารา 23

4.4 ผลการศึกษาความคงตัวของสูตรผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ด 24
ยางพาราที่สภาวะเร่ง อุณหภูมิร้อนสลับเย็น จำนวน 6 รอบ
4.5 ผลการเปลี่ยนแปลงความชุ่มชื้นของผิวเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ครีม 25
บำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา เป็นเวลา 4 สัปดาห์
4.6 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อ 26
ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
4.7 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ 27
ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.8 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อ 28
ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
8

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1.1 แสดงขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า 2
2.1 ลักษณะทางกายภาพของน้ำมันเมล็ดยางพารา 7
2.2 กระบวนการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา 8
2.3 โครงสร้างทางเคมีของกรดโอเลอิกและไลโนเลอิก 8
2.4 หลักการทำงานเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำ 9
2.5 แสดงวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย 10
3.1 กระบวนการสกัดการสกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราโดยใช้เฮกเซนเป็น 17
3.2 กระบวนการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา 20
4.1 แสดงลักษณะทางกายภาพ(เนื้อครีม)ของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจาก 21
น้ำมันเมล็ดยางพารา
4.2 การทดสอบการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ 23
4.3 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพอใจด้านคุณภาพ 25
ผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.4 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพอใจด้านบรรจุภัณฑ์ของ 26
ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพอใจด้านความน่าสนใจ 27
และราคาของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
9

บทที่ 1
บทนำ

1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันเรามักจะพบปัญหาสภาพผิวโดยเฉพาะผิวบริเวณมือเกิดการแห้งกร้านเพราะยุคโควิด 2019
และรวมถึงการหยิบจับสิ่งของอื่นๆในทุกๆวันทำให้เราต้องล้างมือบ่อยและใช้แอลกอฮอล์เจลหลายๆครั้งในหนึ่ง วัน
อาจทำให้มือของเราเป็นขุยแห้งและขาดความชุ ่มชื้น ทำให้เราไม่มีความมั่น ใจในการจับมือกับคนรู้ จักหรือ ทำ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้มือ “ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา” ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาคิด ค้นเพื่อ
เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยใช้ประโยชน์จากเมล็ดยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งในท้องถิ่นโดยใช้
กรรมวิธีการสกัดที่ไม่ทำลายสารสำคัญ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมือในรูปแบบเจลเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
มือ พร้อมทั้งคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ประกอบกับรัฐบาลได้สนับสนุนให้เกิดการแปรรูป
อุตสาหกรรมยางพาให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ประเทศไทยปลูกต้นยางพาราเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซียคิด
เป็น 9.7 ล้านไร่ ปัจจุบันได้มีก ารขยายเนื้อที่ก ารปลูกไปทาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉีย งเหนื อ และ
ภาคเหนือยางพาราเป็นพืชที่มีเมล็ดซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้นำเมล็ดยางพารามาใช้ประโยชน์อย่างจริ งจั ง ในแต่ละปี
เมล็ดยางพารามีปริมาณที่มากกว่า 200,000 ต้น จากการศึกษาโดย [3] พบว่าหลังกะเทาะเปลือกแล้วจะได้น้ำ 25-
30% โดยน้ ำ หนั ก น้ ำ มั น เมล็ ดยางพาราเป็ น น้ ำ มั น ซึ ่ ง ได้ จ ากเมล็ ด ยางพาราฮี เ วี ย บราซี เ ลี ย นซี ส (hevea
brasiliensis) น้ำมัน เมล็ดยางพาราเป็นน้ำมัน พื ชที่ ไม่ เ หมาะในการใช้ บริ โภคเนื ่อ งจากมีเ อ็ น ไซม์ สองชนิดคือ
cyanogenetic glueoside และ lipolytic ทำไห้น้ำมันมีปริมาณกรดสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเก็บไว้นานคุณภาพน้ำมันไม่
คงที่ ถ้าทำน้ำมันเมล็ดยาวพาราให้บริสุทธิ์ อาจจะนำมาทำประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่นน้ำมันผสมสี หมึกพิมพ์
หรือใช้กับเครื่องยนต์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
น้ำมันเมล็ดยางพาราที่ได้มีกรดไขมันที่เป็นประโยชน์และสามารถนำมาใช้ในอุต สาหกรรมเครื่องสำอาง
คือ linoleic, linolenic และ oleic acid ในปริมาณที่สูง กรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ มีคุณประโยชน์แก่ ผิวทั้ง ในด้ าน
การเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ต่อต้านการอักเสบ เมื่อทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพเพื่ อ
กำหนด specification ของน้ำมันเมล็ดยางพารา พบว่าน้ำมันเมล็ดยางพารามีค่า saponification value อยู่ที่
ประมาณ 180-190 mgKOH/g ซึ่ง ใกล้เคีย งกั บค่ าของน้ ำมั น พื ชโดยทั ่ วไปซึ ่ ง มี ค่ าอยู ่ ท ี ่ ประมาณ 188 -253
mgKOH/g [1] จากค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าน้ำมันเมล็ดยางพารามีคุณสมบัติเหมาะสมที่สามารถพัฒนาเพื่ อใช้
10

เป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่และแชมพูต่อไปได้ นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในการต่ อต้ านอนุมู ลอิ สระ


ของน้ำมันเมล็ดยางพารา พบว่ามีค่าอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับ standard รวมถึงทดสอบความเป็นพิษของน้ำมัน
เมล็ดยางพาราต่อเซลล์ human dermal skin fibroblast พบว่ามีความปลอดภัยต่อเซลล์ดังกล่าว ทำให้สามารถ
นำมาใช้ ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ จึง เป็ น ที่ มาของการจั ดทำโครงงานวิ ทยาศาสตร์ เพื ่ อ ศึ กษาและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ จากน้ำมันเมล็ดยางพาราโดยใช้ กระบวนการทักษะวิทยาศาสตร์ร่วมกับ กระบวนการ
ออกแบบเชิ ง วิศ วกรรม ซึ่ง สามารถแก้ไ ขปั ญ หาผิ วมื อ ได้ และยั ง สามารถต่ อ ยอดขยายผลในเชิ ง พาณิ ช ย์ สู่
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุ2 มชนนอกจากนี้แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยังยื่นได้

2. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
2.1 เพื่อศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.2 เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.3 เพื่อทดสอบสมบัติการคงตัวของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.4 เพื่อทดสอบสมบัติการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.5 เพื่อทดสอบสมบัติความชุมชื้นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.6 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

3. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
3.1 วิธีการสกัดเมล็ดยางพารามีผลต่อในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
3.2 อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ที่ต่างกันมีผลต่อ
ลักษณะทางกายภาพและคามพึ่งพอใจ
3.3 สมบัติการคงตัวมีผลต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
3.4 สมบัติการระคายเคืองมีผลต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
3.5 สมบัติความชุ่มชื้นมีผลต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
3.6 ความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราอยู่ในระดับดี

4. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
4.1 ศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพาราในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา เพื่อ
หาวิธีการสกัดที่เร็ว มีความปลอดภัย และได้ปริมาณของน้ำมันเมล็ดยางพารามากที่สุด
11

4.2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราต่อคุณภาพทาง
สัมผัส เพื่อคัดเลือกสูตรที่มีผู้ทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์ให้การยอมรับคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่ดีที่สุดด้าน สี กลิ่น
และความชอบโดยรวม
4.3 ศึกษาทดสอบสมบัติการคงตัวของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.4 ศึกษาทดสอบสมบัติการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.5 ศึกษาทดสอบสมบัติความชุมชื่นของผลิตภัณฑ์ค3รีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
4.6 ความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราโดยทำการสำรวจ 30 คน

รูปที่ 1.1 แสดงขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า


5. ตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องในการทำโครงงาน
การทดลองที่ 1 ศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรต้น การสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรตาม น้ำมันเมล็ดยางพารา ,ผลการตรวจสอบโลหะหนัก
ตัวแปรควบคุม อุณหภูมิ,ปริมาณเมล็ดยางพารา

การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรต้น ความเข้มข้นของน้ำมันเมล็ดยางพารา 4 ระดับ คือ 0, 20, 30, และ 40 กรัม
ตัวแปรตาม ลักษณะทางกายภาพ ,ความพึงพอใจ
ตัวแปรควบคุม อัตราส่วนน้ำมันเมล็ดยางพารา
การทดลองที่ 3 ทดสอบสมบัติการคงตัวของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรต้น สูตรพื้นฐาน และสูตรที่ 1 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้ที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ
ร้อนสลับเย็น (heating-cooling: 45 °C, 24 h- 4 °C, 24 h) จำนวน 6 รอบ
ตัวแปรตาม ผลการคงตัวของผลิตภัณฑ์
ตัวแปรควบคุม อุณหภูมิ,เวลา,อัตราส่วนน้ำมันเมล็ดยางพารา
12

การทดลองที่ 4 ทดสอบสมบัติการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรต้น เปรียบเทียบระหว่างครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา
20 กรัม
ตัวแปรตาม ผลการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์
ตัวแปรควบคุม อัตราส่วนน้ำมันเมล็ดยางพารา,ขนาดของแผ่นแปะ,เวลา

การทดลองที่ 5 ทดสอบสมบัติความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตัวแปรต้น เปรียบเทียบระหว่างครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา
20 กรัม ระยะเวลา 4 สัปดาห์
ตัวแปรตาม ผลความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์
ตัวแปรควบคุม อัตราส่วนน้ำมันเมล็ดยางพารา,เวลา

การทดลองที่ 6 ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

ตัวแปรต้น คุณลักษณะด้านต่างๆของผลิตภัณฑ์ในการประเมินความพึงพอใจ
ตัวแปรตาม คะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไป
ตัวแปรควบคุม กระบวนการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราบรรจุภัณฑ์ และ
จำนวนผู้ใช้งาน
4

6. นิยามเชิงปฏิบัติการ
6.1 น้ำมันเมล็ดยางพารา หมายถึง มีกรดไขมันสำคัญทั้งโอเลอิคและไลโนเลอิคที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ทั้ง
ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ทั้งนี้ กระบวนการเตรียมน้ำมัน
เมล็ดยางพารา ใช้วิธีการสกัดเย็น โดยบดเมล็ดยาง แล้วนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ซึ่งจะไม่ทำลาย
สารสำคัญจากนั้นนำมาหีบเย็น เมล็ดยางพารา 100 กิโลกรัมจะได้น้ำมันราว 40 กิโลกรัม
6.2 การสกัด หมายถึง การสกัดเป็นกระบวนการที่แยกองค์ประกอบที่มีในวัตถุดิบหรือสารออกมาโดยต้อง
มีตัวทำละลายที่จะพาสารที่ต้องการสกัดออกมา กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อองค์ประกอบที่ต้องการแยกต้อง
ละลายออกมากับตัวทำละลาย ขณะที่องค์ประอบอื่นๆยังคงเหลือในวัตถุดิบหรือเฟสเริ่มต้น กระบวนการนี้ อาจ
เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแยกที่เกี่ยงข้องกับเฟส 2 เฟส
6.3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความ
ต้องการของผู้บริโภค โดยรูปแบบในการพัฒนาอาจเป็นด้านบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ครีมก็ได้
13

6.4 การยอมรับทางประสาทสัมผัส หมายถึง คุณภาพสามารถรับรู ้ได้ด ้วยมนุษย์ โดยใช้การประเมิน ทาง


ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเครื่องวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่
ออกมาในลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส
6.5 การทดสอบทางประสาทสัมผัสแบบ 9 – point hedonic scale หมายถึง การให้คะแนนความชอบ
(Hedonic scaling test) ที่ใช้ในการทดสอบการยอมรับของผู้ บริโภคต่อผลิต ภัณฑ์ บอกความชอบและไม่ชอบ
ออกมาเป็นสเกลความชอบ 9 คะแนน ( nine – point hedonic scale )
6.6 การคงตัวของผลิตภัณฑ์หมายถึง เป็นกระบวนการทดสอบผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี
ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และการเกิดการปนเปื้อนในเนื้อของผลิตภัณฑ์เช่น การเปลี่ยนสี, กลิ่น, เนื้อผลิตภัณฑ์เกิด
การแยกชั้น
6.7 การระคายเคือง หมายถึง “การทดสอบการระคายเคืองต่อผิว (Skin irritation test)” โดยการระคาย
เคืองบนผิวหนังเป็นกระบวนการอักเสบจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดจากการสัมผัสสารก่อการระคาย
เคือง (Irritant contact dermatitis) จากความตระหนักถึงความปลอดภัย ของผู ้บริ โภค จึงมีการทดสอบความ
ปลอดภัยก่อนนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออกสู่ท้องตลาด โดยเฉพาะในกรณีที่มีการนำสารใหม่มาใช้ในผลิตภัณฑ์
วิธี Patch test ถือเป็นวิธีการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีวิธีการประเมินที่
สำคัญ คือ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยให้เป็นระดับหรือคะแนนความรุนแรงของการระคายเคือง อาจมีวิธีการ
ประเมินอื่นร่วมด้วย ได้แก่ การวัดอัตราการระเหยของน้ำบนผิว (Transepidermal water loss; TEWL) และ การ
วัดความแดงของผิว (Erythema) ซึ่งเหล่านี้เป็นพารามิเตอร์ที่สัมพันธ์กับอาการการระคายเคืองที่เกิดขึ้น

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา มีกรอบแนวคิด


ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1.กรอบแนวคิดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
2.2.ยางพารา
14

2.3.น้ำมันเมล็ดยางพารา
2.4.การสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
2.5.กรดโอเลอิกและไลโนเลอิก
2.6.การสกัดด้วยไอน้ำ
2.7 การสกัดสารด้วยตัวทำละลาย
2.8.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 กรอบแนวคิ ดในการทาโครงงานวิทยาศาสตร์


การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีม บำรุงผิวมือ จากน้ำมั นเมล็ดยางพาราได้วิเคราะห์และสัง เคราะห์งานวิ จัย ที่
เกี่ยวข้องของ เฉลิมพร ณ พัทลุง; จินดา เจริญพรพาณิชย์. (2548) Plant oils (1993) Abdullah, B.M.; Salimon,
J. (2010) Kittigowittana, K.; (2013) ได้ใช้ทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ร่ วมกั บ กระบวนการออกแบบเชิ ง
วิศวกรรม 6 ขั้นตอน และการบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษาในการสร้างผลงานได้ครบทั้ง 4 ด้านดังนี้

6
15

ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

2.2 ยางพารา
ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ถูกนาเข้ามาปลูก ในประเทศ
ไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พื้ นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก และ
ต่อมาได้แพร่หลายออกสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตและส่งออกยางพาราเป็น
อันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีกว่า 250,000 ล้านบาท ส่งผลให้ยางพารากลายเป็นพืช
เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ซึ่งนอกจากยางพาราดิบแล้ว ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารานานาชนิด กำลังเป็นที่ต้องการ
ของตลาดจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีคุณภาพทางกายภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ที่ผ่าน
มาเกษตรกรผู้ทำสวนยางส่วนใหญ่ม ักมุ่งให้ ความสำคัญไปที่น้ ำยางและไม้ย างพาราเป็ นหลัก แต่สาหรับเมล็ ด
ยางพารานั้นกลับถูกมองข้ามไป ซึ่งมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยการเพาะเป็นกล้ายาง ส่วนที่
เหลือทั้งหมดกลับถูกปล่อยทิ้งให้ร่วงหล่นอยู่ในสวนยางอย่างไร้ค่า โดยเฉลี่ยต้นยางที่มีอายุ 3-5 ปีขนึ้ ไป จะให้เมล็ด
เฉลี่ยแล้วไร่ละประมาณ 10 กิโลกรัม หรือยางพารา 7 ล้านไร่ทั่วประเทศ จะได้เมล็ดยางถึง 70,000 ตัน แต่การใช้
ประโยชน์จากเมล็ดหรือน้ำมันจากเมล็ดยางยังน้อยมาก จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เมล็ด
ยางใช้ทาต้ นตอปลูก ปีละประมาณ 360 ตัน และใช้สกั ด ทำน้ำมันไบโอดีเ ซลปี ละประมาณ 1,000 ตันเท่านั้ น
นอกจากนั้นจะถูกทิ้งจมดินทับถมกันไปปีต่อปี จึง ทำให้มีงานวิจัยเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของเมล็ดยางพารา เมล็ด
16

ยางพาราประกอบด้วยเปลือกและเนื้อในเมล็ดประมาณ 37-40 และ 60-63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากรายงาน


7
วิจัยพบว่าเนื้อในเมล็ดยางพาราประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ น้ำมัน และกรดอะมิโน(โปรตีน) [2]
น้ำมันซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก (ประมาณ 50%) [3,4,5] ซึ่งนามันที่สกัดได้จากเมล็ดยางพารามีองค์ประกอบของ
กรดไขมั นอิ่ มตัวประมาณ 14 เปอร์เซนต์ และกรดไขมั นไม่อ ิ ่มตั ว 80 เปอร์ เ ซนต์ อุ ด มไปด้ วยกรดไขมันที่มี
คุณประโยชน์ต่อผิว เช่น linoleic acid, linolenic acid, oleic acid และ arachidonic acid เป็นต้น กรดไขมัน
ดังกล่าวเป็น unsaturated fatty acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว นอกจากนั้นยังมีรายงานการวิจัย
ว่าพบฤทธิ ์ ในการต่อ ต้านการอัก เสบ และลดการเกิ ดสิ ว [6,7,8] โดยมีการใช้อย่ างแพร่ หลายในอุ ต สาหกรรม
เครื่องสำอาง ซึ่งน้ำมันเมล็ดยางพาราที่สกัดได้ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมสี เครื่องเคลือบเงา เป็นต้น

รูปที่ 2.1 ลักษณะทางกายภาพของน้ำมันเมล็ดยางพารา


ที่มา: http://www.foodnetworksolution.com/
ตารางที่ 2.1 เปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันเมล็ดยางพารา
กรดไขมัน องค์ประกอบของกรดไขมันน้ำมันเมล็ดยางพารา (%)
ข้อมูลจากเอกสารอ้างอิง [9] ศึกษาโดยผู้วิจัย
เมล็ดยางพาราจากเชียงราย เมล็ดยางพาราจากปัตตานี
Palmitic acid 8.5 8.78 8.94
Palmitoleic acid 0.2 0.23 0.25
Stearic acid 10.2 6.17 5.69
Oleic acid 23.9 38.96 42.08
Linoleic acid + 56.4 41.82 40.24
Linolenic acid
Arachidonic acid 0.4 0.66 0.97

2.3 เมล็ดยางพารา
17
8

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทย ปีละหลายหมื่นล้านบาทจาก
รายงานสำนักเศรษฐกิจการเกษตร (2548) ประเทศไทยมีรายได้จากการขายยางพารา ในปี2548 มีมูลค่าถึง
159,494 ล้านบาท นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตยางพารายังมีผลพลอยได้ที่สำคัญ คือเมล็ดยางพารา (rubber
seed) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากต้น ยางพารา (Hevea brasiliensis) เมล็ดประกอบด้ วยเปลือ กและเนื้อ ในเมล็ ด
ประมาณ 37-40 และ 60-63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนที่เป็นเนื้อในเมล็ดมีน้ำมันในปริมาณที่สูงประมาณ 50
เปอร์เซ็นต์ (Georgi et al., 1932) ซึ่ง Babatunde and Pond (1987b) รายงานว่า น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ ด
ยางพารามีองค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว 13.9 เปอร์เซ็นต์ และกรดไขมันไม่อิ่มตัว 80.5 เปอร์เซ็นต์ และอุดม
ไปด้ วยกรดไขมัน Oleic acid และ linolenic acid อยู ่ ในปริมาณที ่ สู ง ซึ ่ ง น้ำมั นที ่สกั ดได้ สามารถนำไปใช้เชิง
พาณิชย์เพื่อทำอาหารและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำสบู่ น้ำมันเคลือ บเงา การผสมสี และเครื่องสำอาง เป็นต้น
ส่ วนกากเนื ้อ ในเมล็ดยางภายหลังการสกัด น้ ำมั นสามารถนำไปใช้ เป็ นอาหารสัต ว์ ได้ ดี เนื ่ อ งจากมี คุ ณค่าทาง
โภชนาการสูง โดยเฉพาะกากเนื้อ ในเมล็ดยางพารามี โปรตี นสูงถึง 26-27 เปอร์เซ็นต์ และมีเยื่อใยต่ ำ 10-14
เปอร์เซ็นต์
2.4 การสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
เริ่มจากนำเมล็ดยางพารา มากะเทาะเปลือกเหลือแต่เนื้อใน ก่อนจะนำเข้าเครื่องปั่นให้ละเอียด จากนั้น
นำไปเข้าเครื่องอบแห้ง 24 ชั่วโมง ในอุณหภูมิที่ 45-50 ํC ก่อนนำมาบีบเอาน้ำมัน ผงแห้ง 1 กก.จะได้น้ำมัน 300
กรัม นำไปเก็บไว้ 2–3 สัปดาห์ เพื่อต้องการให้สารระคายเคืองระเหยออกไป ก่อนจะเติมสารแอนตี้ไบโอติก เพื่อ
ป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน

รูปที่ 2.2 กระบวนการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา


ที่มา: http://www.foodnetworksolution.com/
2.5 กรดโอเลอิกและไลโนเลอิก
เป็นกรดที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณและยังต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบช่วยรักษาความชุ่มชื้นแก่
ผิวและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ผิวหนัง
18

รูปที่ 2.3 โครงสร้างทางเคมีของกรดโอเลอิกและไลโนเลอิก


ที่มา: http://www.foodnetworksolution.com
9

2.6 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ละเหยง่าย ไม่
ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยากการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำนอกจากใช้ สกัด สาร
ระเหยง่ายออกจากสารระเหยยากแล้วยังสามารถใช้แยกสารที่มีจุดเดื อดสูงและสลายตัวที่จุดเดือดของมันได้อีก
เพราะการกลั่นโดยวิธีนี้ความดันไอเป็นความดันไอของไอน้ำบวกความดันไอของของเหลวที่ต้องการแยก จึงทำให้
ความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศก่อนที่อุณหภูมิจะถึงจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก ของ ผสมจึง
กลั่นออกมาที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก เช่น สาร A มีจุดเดือด 150 ํC เมื่อสกัดโดยการ
กลั่นด้วยไอน้ำจะได้สาร A กลายเป็นไอออกมา ณ อุณหภูมิ 95 ํC ที่ความดัน 760 มิลลิเมตรของปรอท อธิบายได้
ว่า ที่ 95 ํC ถ้าความดันไอของสาร A เท่ากับ 120 มิลลิเมตรของปรอท และไอน้ำเท่ากับ 640 มิลลิเมตรของปรอท
เมื่อความดันไอของสาร A รวมกับไอน้ำจะเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท หรือเท่ากับความดันบรรยากาศ จึงทำ
ให้สาร A และน้ำกลายเป็นไอออกมาได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของสาร A ตัวอย่างการแยกสารโดยการกลั่นด้วย
ไอน้ำ ได้แก่ การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆของพืช เช่น การแยกน้ำมันยูคาลิปตัสออกจากใบยูคา
ลิปตัส การแยกน้ำมันมะกรูดออกจากผิวมะกรูด การแยกน้ำมันอบเชยจากเปลือกต้นอบเชย เป็นต้น ในการกลั่นไอ
น้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำ เมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่น โดยผ่าน
เครื่องควบแน่น ก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันแต่แยกชั้นกันอยู่ ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหย
ออกจากน้ำได้ง่าย
19

รูปที่ 2.4 หลักการทำงานเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำ


ที่มา: http://www.foodnetworksolution.com/
10

2.7 การสกัดสารด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย คือการแยกสารโดยอาศัยหลักการละลายระหว่างตัวทำละลายกับสารสำคัญใน
สมุนไพร ทั้งนี้จะอาศัยหลักการของการละลายความมีขั้ว (Polarity) ของทั้งตัวทำละลายและสารสำคัญ โดยสาร
สำคัญจะสามารถละลายในตัวทำละลายได้ก็ต่อเมื่อความเป็นขั้วของตัวสารสำคัญกับตัวทำละลายมีค่าใกล้เ คียงกัน
(Like Dissolves Like) คือตัวถูกละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้วเพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุ ลมีขั้ว
เป็นแรงไดโพล-ไดโพล (Dipole-Dipole) ในทางตรงข้ามตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว
เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วเป็นแรงแวนเดอวาลส์ (Van der Waals Force) เหมือนกัน
วิ ธี ก ารนี้จะนิยมใช้ สกัดสีจากธรรมชาติ ในสมุ นไพร สกั ด น้ ำมั นหอมระเหย เป็ น วิ ธี ก ารที ่ประหยั ดและ
ปลอดภัย วิธีนี้จะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงไม่เกิน 50 ๐ C ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการกลั่นที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงทำ
ให้องค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยนแปลงและมีกลิ่นผิดไปจากธรรมชาติได้ วิธีการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายจึงถูกนำมาใช้
ในทางอุตสาหกรรม แต่ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการกลั่น
20

รูปที่ 2.5 แสดงวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย


ที่มา: https://www.rsu.ac.th

2.8 การสกัดเย็น
การแยกส่วนของน้ำหรือน้ำมันจากวัตถุดิบที่เราสกัดออกมา โดยสกัดออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของวัตถุดิบ
นั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ การสกัดเย็นจะได้น้ำหรือน้ำมันจากบริเวณส่วนต่าง ๆ ของพืชผัก
และผลไม้ เช่น ผล เมล็ด หัว ใบ ดอก และเปลือก โดยอาศัยขั้นตอนบีบอัดที่อุณหภูมิห้องโดยตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน
แล้วนำส่วนของน้ำมันบริสุทธิ์มาใช้งาน หรืออาจจะใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือแรงดันสูงเพื่อช่วยบีบหรือกดน้ำมัน
ออกมา ทั้งนี้การสกัดต้องไม่ผ่านกระบวนการความร้อนหรือสารเคมีใด ๆ ซึ่งจะช่วยคงสี รสชาติ ตามธรรมชาติ คง
คุณค่าและสรรพคุณของพืชผักและผลไม้ชนิดนั้น ๆ ไว้อยู่ด้วย

11

2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพ็ญศรี เพ็ญประไพร (2561) น้ำมันมะพร้าวที่มีสารสกัดจากว่ านชักมดลู กมีฤทธิ ์ต้ านอนุมู ลอิ สระ สาร
ประกอบเคอร์คูมินอยด์และสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูง สามารถนำไปพัฒนาเป็นครีมบำรุงผิวหน้ า วัตถุประสงค์
ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบเคอร์คูมินอยด์และสารประกอบฟี
นอลิกทั้งหมด และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวที่มีสารสกัดจากว่านชักมดลูกเป็นครีมบำรุงผิวหน้า การผลิตน้ำมันมะพร้าวที่
มีสารสกัดจากว่านชักมดลูก มีการใช้อัตราส่ วนของเนื้อมะพร้าวต่อเหง้าของว่านชักมดลูก 5:0:5,5:1:0, 5:1:5, 5:2:0
21

พบว่าถ้าเพิ่มปริมาณเหง้าของว่านชักมดลูกมากขึ้นส่งผลทำให้ ท้าให้น้ำมันมะพร้าวที่มีสารสกัดจากว่านชักมดลูกมี
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและปริมาณสารประกอบเคอร์คูมินสูงขึ้น
ในการทดลองเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวที่สารสกัดจากว่านชักมดลูกที่อัตราส่วนของเนื้อมะพร้าวต่อเหง้าของ
ขมิ้นชัน 5:2.0 เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในครีมบำรุงผิวหน้าในการทดลองเตรียมพัฒนาครีมจากน้ำมันมะพร้าวที่มี สารสกัด
จากว่านชักมดลูกโดยใช้ความร้อนและไม่ใช้ความร้อน พบว่าคุณสมบัติทางกายภาพของครีมที่ผลิตโดยไม่ใช้ ความร้อน
ดีกว่าครีมที่ผลิตโดยใช้ความร้อน ส่วนครีมที่ใช้เป็นสูตรเปรียบเทียบใช้ น้ำมันแร่ จากนั้นน้ำครีมที่พัฒนาจากน้ำมัน
มะพร้าวที่มีสารสกัดจากว่านชักมดลูกสำหรั บผิ วหนั งทดสอบประสิทธิ ภาพในอาสาสมั คร จ้านวน 12 คน พบว่ า
ผลิตภัณฑ์มีผลต่อสภาพผิวในด้านของการลดปริมาณเม็ดสีเมลานินดีที่สุด รองลงมาคือการเพิ่มความชุ่มชื้น เมื่อมีการ
ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังมีผลในการช่วยเพิ่มความกระชับและลดการ
สูญเสียน้ำจากผิวหนัง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์จากการประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัคร
พบว่าอาสาสมัครมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อผลิตภัณฑ์สูง อย่างไรก็ตามความพึงพอใจเกี่ยวกับกลิ่นและสียังมีค่าที่
ต่างอยู่ อาจต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อท้าให้กลิ่นดีขึ้นและสีมีความสวยงามเพิ่มมากขึ้น
อาจารย์ ดร.นีรนุช ไชยรังษี (2561) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือพัฒนาโลชันทาผิวที่มีน้ำมันงาขี้ม้อนและ
สารสกัดจากธรรมชาติเป็นองค์ประกอบ โดยขั้นตอนแรกได้ทำการเลือกสารสกัดจากพืชตัวอย่างที่สนใจคือ หอมหัวใหญ่
หอมแดง หัวไชเท้า และมะละกอ จากการหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกโดยใช้ Folin-Ciocalteu’s reagent พบว่า
สารสกัดด้วยน้ำของ หอมหัวใหญ่ หอมแดง หัวไชเท้า เปลือก และเนื้อมะละกอ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม
เท่ากับ 6.03, 10.81, 14.60, 10.06 และ 3.55 mg GAE/g สารสกัด ตามลำดับ เมื่อหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการ
กำจัด ABTS•+ ได้ค่า VCEAC เท่ากับ 4.08, 5.39, 8.82, 3.09 และ 2.85 mg/g สารสกัด ตามลำดับ สารสกัดหัวไชเท้ามี
ประมาณ ฟี นอลิกและฤทธิ์ต้านอนุม ูลอิสระมากที่ สุด จึ งได้ เลือกสารสกัดหั วไชเท้ ามาเป็ นส่วนผสมในโลชันที่จะ
พัฒนาขึ้น จากการพัฒนาสูตรโลชันที่มีน้ำมันงาขี้ม้อน และสารสกัดหัวไชเท้าทั้งหมด 4 สูตร พบว่าโลชันสูตรที่ 4 มี
คุณภาพ มีความคงตัวไม่แยกชั้น และไม่ทำให้เกิดการแพ้ในอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังได้สกัดน้ำมันหอมระเหยจาก
เปลือกมะกรูดและเปลือกส้มแล้วให้อาสาสมัครทดสอบความพึงพอใจต่อกลิ่นของโลชั่นที่ผสมน้ำมันหอมระเหยทั้งสอง
ชนิด พบว่าอาสาสมัครชอบกลิ่นมะกรูดมากกว่ากลิ่นส้มที่ระดับนัยสำคัญ 0.19 จากการทดสอบการใช้โลชันสูตรที่มีและ
ไม่มีสารสกัดหัวไชเท้าเป็นเวลา 9 สัปดาห์ และวัดค่าความสว่างของสีผิว (L)โดยเครื่องวัดสี MiniScan EZ 4500L พบว่า
อาสาสมัครที่ใช้โลชันทั้งสองสูตรมีสีผิวขาวขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 9 สัปดาห์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.005 และสูตรที่มีสารสกัด
หัวไชเท้าทำให้ผิวขาวขึ้นมากกว่าโลชันสูตรที่ไม่มีสารสกัด หัวไชเท้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ส่วนความพึงพอใจโดยรวม
ของโลชันทั้งสองสูตรอยู่ในระดับพอใจมากเท่ากันที่ระดับ12 นัยสำคัญ 0.05 โลชั่นทาผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันงาขี้ม้อน
สารสกัดหัวไชเท้า และน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดที่พฒ ั นาขึ้นมีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ และสามารถทำให้ผิวขาวขึ้นได้
อรชญา เกาพเพชร (2558) ผิวหน้าที ่ ด ีเป็ นหนึ ่ งในปั จจั ยที ่ท ําให้ ผู ้หญิ งดูสวย ดั งนั ้ นจึ งมี คนมากมายให้
ความสำคัญกับการบํารุงผิวหน้าโดยการใช้ครีม โดยในปัจจุบันตลาดอุตสาหกรรมเครื่องสําอางกลุ่มสกินแคร์ในประเทศ
22

ไทยมีมูลค่าถึง 400,000 ล้านบาท และเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวถึงร้อยละ 48 ซึ่งเป็นอันดับ1 ในส่วนแบ่งทางการตลาด


อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์บํารุงผิวเพื่อผิวขาวมักพบ “สารปรอท” เป็นส่วนประกอบ ซึ่งนับว่าเป็นสารที่ส่งผลเสียต่อ
ร่างกายหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้อย่ างต่อเนื ่อง โดยในปี 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวง
สาธารณสุขได้ตรวจครีมที่สั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตจํานวน 44 ตัวอย่าง พบว่า ตรวจเจอสารห้ามใช้ 12 ตัวอย่าง และ
เป็นสารปรอทถึง 9 ตัวอย่าง แต่ก็ยังพบผู้ใช้ครีมในอินเทอร์เน็ตเป็นจํานวนมากเช่นเดิม เห็นได้จากตราสินค้าใหม่ๆที่เข้า
ตลาดมาอย่างต่อเนื่อง กรอบแนวคิดของการศึกษาในครั้งนี้คือ การศึกษาทัศนคติและความเชื่อมั่นต่อครีมบํารุงผิวหน้า
ผ่านช่องทางออนไลน์โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-
Depth Interview) ซึ่งเลือกใช้คําถามปลายเปิด (Open-EndedQuestion) งานวิจัย ทั้งนี้งานวิจัยชิ้นนี้แบ่งกลุ่มตัวอย่าง
เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ครีม FARMETIC และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ครีม Princess Skin Care ทั้งนี้ต้องมีการใช้
ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 2ชุดขึ้นไป โดยมีระยะเวลาการใช้ภายใน 1 ปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้ครีม
อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เอง เพื่อให้รู้ถึงสาเหตุของการเลือกใช้โดยรายงานวิจัยชิ้นนี้
ใช้วิธีตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (DataTriangulation)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นความแตกต่างระหว่างครีมบํารุงผิวหน้าออนไลน์และครีมบํารุงผิวหน้ า
ทั่วไป นอกจากเรื่องช่องทางการจัดจําหน่าย ซึ่งสาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างหันมาสนใจใช้ครีมออนไลน์ในตอนแรกเนื่องจาก
ครีม Counter Brand และ Mass Brand ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และมีความชอบที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ โดย
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับภาพรีวิวก่อน – หลังการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้จริง ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้
ความสําคัญกับการรับรองขององค์กรอาหารและยา (อย.) ในขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างบางส่วนไม่สนใจการรับรอง และดู
เพียงผลลัพธ์ที่ได้หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ซึ่งหลังจากการใช้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกถึงความคุ้มค่าเนื่ องจากผลลัพธ์ที่
ได้มีคุณค่าเกินกว่าราคาที่จ่าย
นอกจากนี้ในเรื่องของความเชื่อมั่นพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะเกิดความเชื่อมั่น ในกรณีที่เจ้าของตราสินค้ามี
ชื่อเสียงของเจ้าของ มีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ มีการพูดจาและวิธีการโต้ตอบกับลูกค้าในเชิงบวก โดยตัวผลิตภัณฑ์ต้องมี
รูปลักษณ์ที่ดูดีน่าเชื่อถือ มีการติดส่วนผสมของครีมวิธีการใช้และเลขทะเบียนอย.อย่างชัดเจนทั้งนี้การรับรองจาก
องค์การอาหารและยา (อย.) ทำให้กลุ่มตัวอย่างเชื่อในผลิตภัณฑ์เนื่องจากเป็นสิ่งที่รับรองความปลอดภัย นอกจากนี้กลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่เชื่อมั่นในภาพรีวิว เนื่ องจากเป็นรูปของคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์จริง เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาจริงและมีการ
เปลี่ยนแปลงหลังจากใช้จริง เป็นสิ่งที่ยืนยันผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์แทนที่จะเป็นประโยคคําพูด โดยกลุ่มตัวอย่างคิดว่า
ตราสินค้าที่มีความจริงใจเป็นตราสินค้าที่น่าเชื่อถือและก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตราสินค้านั้นๆ กล่าวได้ว่าการเลือกซื้อ
ครีมบํารุงผิวหน้าออนไลน์นั้นใช้ความรู้สึกเป็นหลัก
ทั้งนี้การสื่อสารที่ชัดเจนกับลูกค้าตั้งแต่ต้นส่งผลให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตราสินค้าในระดับสูง โดยที่กลุ่ม
ลูกค้าจะไม่มีความรู้สึกหวั่นไหวใดๆ เมื่อได้ยินข่าวไม่ดีของตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ตนเองใช้
23
13

พงศธรณ์ รุจิรา (2540) การพัฒนาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชและน้ำ ว่านหางจระเข้ ได้แบ่ง


การศึกษาออกเป็นสามขั้นตอน ขั้นตอน แรกเป็นการพัฒนาสูตรที่เหมาะสม ขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนา กรรมวิธีที่
เหมาะสมและขั้นตอนสุดท้ายเป็นการปรับปรุงคุณภาพ ในด้านกลิ่นและสี การศึกษาส่วนผสมที่สำคัญที่มีผลต่อคุณภาพ
ของครี มบำรุ งผิวพบว่าน้ำมันปาล์ม กลีเซอรี ลโมโนสเตี ยเรต กรดสเตี ยริ ก และว่ านหางจระเข้ มี ผลโดยตรงต่อ
คุณลักษณะ ของครีมบำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและจากการศึกษาพบว่า สูตรที่เหมาะสมประกอบด้วย น้ำมัน
ปาล์ม กลีเซอรีลโมโนสเตีย เรต กลีเซอรีน กรดสเตียริค ไฮโซโพพิลมายริสเตด ไตรเอทา โนลามีน ว่านหางจริเข้และน้ำ
ร้อยละ 10,10,3,3,3,1.5,50 และ 19.5 ตามลำดับ ครีมบำรุงผิวที่ได้พัฒนาแล้วมีคุณภาพทาง ประสาทสัมผัสใกล้เคียง
กับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ที่นำมาเปรียบเทียบ
จากการพัฒนากรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมในการผลิตครีมบำรุงผิว พบว่าการให้ความร้อนกับส่วนผสมและ
การผสมที่ 70 องศาเซลเซียส ความเร็วรอบ 3000 รอบต่อนาทีเป็นเวลา 2 นาที เป็นสภาวะที เหมาะสมในการผลิตครีม
บำรุงผิว พบว่าผู้บริโภคชอบครีมบำรุงผิว ที่มีกลิ่นกล้วยไม้ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และมีสีขาว การศึกษา
คุณภาพครีมบำรุงผิว พบว่าครีมบำรุงผิวมีค่าความหนืด 8,830 Cp ค่าความคงตัววัดได้ระยะทาง 0.5 เซนติเมตรเวลา 1
นาที มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.6 ค่าสีในระบบ L a b เป็น 93.3 - 1.6 2.8 ตามลำดับ ขนาดของเม็ดไขมัน 10
ไมโครเมตร ค่า TBA เท่ากับ 0.468 มิลลิกรัมมัลโลนัลดีไฮด์ต่อกิโลกรัม ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 1,000 โค
โลนี ลต่ อ 1 กรัม ปริมาณ Pseudomonas aeruginosa, Stapphylococcus aureus และ faecal coli น้ อยกว่ า 1
โคโลนีต่อ 1 กรัม ไม่พบ Salmonella ใน 100 กรัม ปริมาณ Presumptive coliform น้อยกว่า 10 โคโลนี ต่อ 1 กรัม
การทดสอบผู้บริโภคพบว่ามีความชอบรวมอยู่ในระดับ ชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง ..DE
กนกกาญณ์ บุตตะโยธี (2552) จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ไทย 12 ชนิด โดยการแช่ด้วย
95% เอทานอล เมื่อนำสารสกัดหยาบที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH method ซึ่งใช้วิตามินซีและ
วิตามินอีเป็นตัวเปรียบเทียบ พบว่าผลไม้ไทย 5 ชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทีด่ ีที่สุด คือ เปลือกมังคุด เมล็ดองุ่น เมล็ด
ลิ้นจี่ เมล็ดลำไย และเปลือกเงาะ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 5.94 7.92 6.63 10.02 และ 11.83 ppm ตามลำดับ ส่วน
วิตามินซีและวิตามินอีมี IC50 เท่ากับ 3.82 และ 4.98 ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกเปลือกเงาะมาทำการศึกษาต่อ
เนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้ายอนุมูลอิสระของผลไม้ชนิดนี้มาก่อน
ในการศึกษาได้นำเปลือกเงาะมาสกัดด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และ95%เอทานอล ตามลำดับ เมื่อนำสาร
สกัดหยาบไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดของเอทานอลมีฤทธิ์ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.90 ppm
และเมื่อสกัดของ 95% เอทานอล มาแยกต่อด้วยเทคนิค Columm Chromatography สามารถแยกสารได้ทั้งหมด 9
fractions โดยพบว่า fractions ที่ 5 6 8 และ 9 มีค่า IC50 ดีที่สุดคือ 0.70 1.93 1.06 และ 0.78 ppm ตามลำดับ ซึ่งใน
ที่นี้ได้เลือกสารสกัดของ 95% เอทานอลไปผลิตเป็นครีมบำรุงผิว เมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานกั บ
อาสาสมัครพบว่า ครีมบำรุงผิวจากเปลือกเงาะไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณท้องแขนที่ทดสอบแต่
อย่างใด
24

ณรงค์ชัย ตั้งตรีจักร (2554) การทำโครงงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกักเก็บความชุ่ม


ชื ้ นของ Soluble fiber จากถั่วเขียว โดยโครงงานนี้ มี ชื่ อว่ า “การศึ กษาความสามารถในการเก็บความชุ ่มชื้นของ
Soluble Fiber จากถั่วเขียว” ซึ่งเป็นโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการนำถั่วเขียวมาสกัด Soluble fiber ทางผู้จัดทำจึงได้
ทำการศึกษา ค้นคว้าเพื่อเป็นแนวทางในการทำโครงงาน โดยได้รับความช่วยเหลือจากท่านอาจารย์ในหมวดวิทยาศาสตร์
สาขาชีววิทยาและสาขาเคมีในโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)หลายท่าน รวมถึงท่านอาจารย์หมวดภาษาอังกฤษที่
ช่วยแนะนำการแปลบทความจากต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง และโครงงานนี้จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้หากไม่ได้รับคำ
ชี้แนะจาก อาจารย์ชยุตม์ พรายน้ำ อาจารย์ธรรมธีร์ โพธิพีรนันท์ อาจารย์รัชชานนท์ เทพอาจ อาจารย์เพชรรัตน์ ศรี
วิลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาประจำโครงงาน โดยได้ให้คำปรึกษาและชี14 ้แนะเกี่ยวกั บโครงงาน จึงทำให้เค้าโครงโครงงานชิ้นนี้
สำเร็จได้ด้วยดี
ประพัฒศร สุขมั่น (2555) งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบการทดลองเพื่อชี้ปัจจัยที่เหมาะสมต่อคุณสมบัติดา้ น
ความหนืดของโลชั่นชนิดที่เลือกศึกษาด้วยการทดลองแบบ 23 แฟคทอเรียล ทดลองซ้ำ 16 ครั้ง พิจารณา 3 ปัจจัย คือ
ความเร็วรอบของใบปาด (A) ชนิดของเครื่อง Homogenizer (B) และความเร็วรอบของใบกวน (C) ผลการทดลองบ่งชี้ว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติด้านความหนืดของโลชั่นที่ระดับ a = 0.05 คือ ปัจจัย A และ B โดยระดับที่เหมาะสมของ
ปัจจัย B คือเครื่อง Homogenizer ชนิด SilverSon และมีสมการความสัมพันธ์คือ ค่าความหนืด (Y) = 23,420 + 155A
โดยค่ าของปั จจัย A ที่ เหมาะสมคือ 15 rpm ส่ งผลให้ ม ี ค่ าความหนื อเท่ ากั บ 25,745 cps ซึ ่ งมี ค่ าอยู ่ ในช่ วงของ
ข้อกำหนดและเมื่อทำการผลิตจริงด้วยค่าของปัจจัย A = 15 rpm และ B = SilverSon จำนวน 20 ถัง ทำการทดสอบ
สมมติฐานพบว่าค่าความหนืดที่ได้ของโลชั่นมีค่าไม่แตกต่างจากค่าที่ได้จากสมการด้วย และอยู่ภายใต้การควบคุมของ
แผนภูมิค่าเฉลี่ยและค่าพิสัย จึงสามารถสรุปได้ว่าผลการศึกษานี้สามารถบ่งชี้ปัจจัยที่ส่งผลและระดับที่เหมาะสมนำไปสู่
การกำหนดมาตรฐานการปรับตั้งค่าสำหรับการผลิตจริงต่อไป
ณพัฐอร บัวฉุน (2558) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิก
ทั้งหมดของสารสกัดหยาบชะเอมไทย โดยนำผลชะเอมไทยมาสกัดด้วยเอทานอลและนำสารสกัดหยาบผลชะเอมไทยที่มี
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โลชั่น ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบจากผลชะเอมไทยมีปริมาณฟี
นอลิกทั้งหมดเท่ากับ 55.20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรปริมาณแทนนินทั้งหมดเท่ากับ35.20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรและมีฤทธิ์
ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 12.02 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรในขณะที่ BHT และ BHA มีค่า IC50 เท่ากับ 12.86
และ 12.54 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับสารสกัดหยาบชะเอมไทยพบสารกลุ่มหลักสเตอรอยด์ -เทอร์ปีน ฟลาโว
นอยด์และอัคคาลอยด์ เมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โลชั่นที่ได้มีสีขาว ไม่มีกลิ่น ลักษณะทางกายภาพคงตัวที่ดไี ม่
ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวและได้รับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี และมีความเป็นกรด – ด่าง เท่ากับ 7.6
ศศมล ผาสุข (2554) สีเสียดเทศ (Acacia catechu (L.f.)Willd) เป็นพืชที่ขึ้นในท้องถิ่นของประเทศไทย จาก
การศึกษาพบว่าเปลือกสีเสียดเทศมีสารประกอบฟีนอลิกที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำ งานของเอนไซม์ไทโรสิเนสที่เป็นสาเหตุห
นี่งที่ทำ ให้เกิดกระฝ้าเป็นองค์ประกอบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.หาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบ
25

เปลื อกสี เสี ยดเทศ 2.ศึกษาประสิทธิภาพยับยั ้ งการทำ งานของเอนไซม์ ไทโรสิ เนสของสารสกั ดหยาบ 3.ศึ กษา
องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำ งานของเอนไซม์ไทโรสิเนสมากที่สุด 4.พัฒนาครีมทาผิว
จากสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำ งานของเอนไซม์ไทโรซิเนสมากที่สุดโดยนำ เปลือกสีเสียดเทศสดมาสกัดด้วยเอ
ทานอล นำ สารสกัดหยาบไปหาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเทียบกับสารมาตรฐานกรดแกลลิกและกรดแทนนิกและหา
ประสิทธิภาพยับยั้งการทำ งานของเอนไซม์ไทโรสิเนสด้วยวิธีโดพาโครม นำสารที่มีประสิทธิภาพไปแยกด้วยเทคนิคตรง
เลขผิ วบางและแบบคอลัมน์แล้วนำ ไปศึกษาองค์ ประกอบทางเคมีด ้ วยเครื ่ อง GC-MSและนำ สารสกั ดกลุ ่ มที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุดไปพัฒนาครีมทาผิวหน้า ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดกลุ่มที่ 5 จากเปลือกสีเสียดเทศมีองค์ประกอบ
ทางเคมี ป ระกอบด้ ว ยสาร 4-propyl phenol และสารประกอบเชิ ง ซ้ อ นของ Fe และ monocarbonyl-(1,3-
butadiene,4-dicarbonicacid, diethyl ester) N,N/-dipyridyl และมี ฤทธิ ์ ย ั บยั ้ งการทำ งานของเอนไซม์ ไทโรสิเน
สค่อนข้างดี มีค่า IC50 เท่ากับ 0.1850 mg/ml และครีมทาผิวหน้าที่พัฒนาขึ้นมีค่า pH เท่ากับ 8 สีขาวอมชมพูออ่ น
ไม่มีกลิ่น ลักษณะสัมผัสนุ่ม ทดสอบด้วยวิธี patch test ไม่เกิดการแพ้ เมื่อนำ ไปให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ทดลอง
ใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในคุณภาพของครีมร้15อยละ 87

ศิรดา อมรเดชาพล (2553) โครงการพิเศษนี้ได้เลือกพัฒนาสูตรตำรับครีมทาหน้าจากสารสกัดใบยอ เนื่องจากมี


ผลการวิจัยพบว่าในใบยอมีสารสำคัญกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีรายงานถึงฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็ น
ตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงสามารถทำให้สีผิวในบริเวณที่ทาจางลงได้ นอกจากนี้ยังมีส ารสำคัญอื่นๆ เช่น
กรดอัวโซลิก, กลุ่มแอนทราควิโนนส์, เทอร์ปีนอยด์ เป็นต้น ที่มีรายงานถึงฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระและเป็นประโยชน์
ต่อผิวพรรณ การพัฒนาสูตรตำรับเริ่มต้นจากการสกัดใบยอโดยวิธีหมักกับ 95% เอทานอล และควบคุมคุณภาพของสาร
สกัดโดยบันทึกค่า DER, วิธีสกัด, น้ำยาที่ใช้ในการสกัดและวิเคราะห์ปริมาณกรดอัวโซลิกที่ใช้เป็นสารเทียบในสารสกัดเอ
ทานอล ส่วนการควบคุมเชิงคุณภาพจะใช้วิธี TLC ของ extract fraction ในสารสกัดเอทานอล พบว่ามีสารกลุ่มฟลาโว
นอยด์ซึ่งเรืองแสงสีเหลือง ภายใต้แสงความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร จากนั้นคัดเลือกครีมเบส 2 สูตรจากทั้งหมด 10
สูตรด้วยวิธีทดสอบทางกายภาพและความคงตัว แล้วนำมาตั้งตำรับครีมสารสกัดใบยอ พบว่าตำรับที่มีความเข้มข้น 1%
มีความเหมาะสมที่สุด จากนั้นคัดเลือกตำรับที่ดีที่สุดเพียงตำรับเดียว เพื่อนำมาทดสอบความพึงพอใจในอาสาสมัคร
จำนวน 25 คนที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองแล้ว โดยให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดและครีมที่ไม่มีสารสกัดที่
ต้นแขนด้านในข้างละตำรับเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วประเมินทางประสาทสัมผั สด้วยวิ ธี 9-point Hedonic Scale
(double blind) และวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ Paired t-Test พบว่า อาสาสมัครมีความรู้สึกว่าครีมที่มีสารสกัดมี ความ
หนืด และทำให้ผิวบริเวณที่ทาแลดูขาวขึ้นมากกว่าครีมที่ไม่มีสารสกัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การประเมินนี้เป็น
เพียงการใช้ประสาทสัมผัสของอาสาสมัครเท่านั้น ทำให้ผลการประเมินอาจไม่แม่นยำ จึงควรมีเครื่องคิวโตมิเตอร์ ซึ่ง
เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวัดการลดลงของเมลานิน, ความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิว
26

สิริมา ชินสาร(2553) งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนากระบวนการสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์แบบบีบเย็นและศึกษา


หาความเป็นเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในอาหาร การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จากน้ำกะทิด้วยวิธีทางชีวภาพ โดย
ใช้เชื้อ Lactobacillus plantarum สามารถสกัดน้ำมันมะพร้าวได้ใกล้เคียงกับ การสกัดโดยใช้เครื่องบีบอัดแบบ
สกรูร่วมกับการใช้เอนไซม์ คือ 15-16%n แต่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประมาณ 3 เท่า ดังนั้นวิธีการสกัดน้ำมัน
มะพร้ าวด้ วยวิธี ท างชีวภาพ จึง เป็น วิธีท ี่เหมาะสมที ่ สุ ด โดยน้ ำมั น มะพร้ าวบริ สุ ท ธิ ์ ท ี ่ สกั ด ได้ มี คุ ณ ภาพและ
องค์ ประกอบของกรดไขมันใกล้เคียงกับน้ำมั นมะพร้ าวที ่ผลิ ตด้ วยวิ ธี ทางธรรมชาติ และมีคุ ณภาพตามเกณฑ์
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการศึกษาผลของปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิการเก็บรักษา วิธีการสกัด ชนิด
บรรจุภัณฑ์และเวลาการเก็บรักษา พบว่าปัจจัยร่วมระหว่างอุณหภูมิการเก็บรักษา วิธีการสกัด ชนิดของบรรจุภัณฑ์
และระยะเวลาการเก็บรักษามีอิทธิพลร่วมกันสำหรับค่าความหนืด ค่าเปอร์ออกไซด์ ค่าสี และการทดสอบทาง
ประสาทสัมผัสด้านสีและกลิ่น (p<0.05) เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 28 วัน น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ
มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพมากกว่าน้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีทางชีวภาพ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อาหารที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นส่วนประกอบ พบว่า สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวผสมสมุนไพรสำหรับ
ปรุงอาหาร สูตรที่เหมาะสมคือ น้ำมันมะพร้าวผสมกระเทีย ม 16% และน้ำมันมะพร้ าวผสมสาระแหน่ 20%
ผลิตภัณฑ์น้ำสกัดชนิดข้นจากการใช้น้ำมันมะพร้าว สูตรที่เหมาะสมคือ การเติมน้ำมันมะหร้าว 26 % ของส่วนผสม
ทั้งหมดผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตรสธรรมชาติโดยใช้น้ำมันมะพร้าวทดแทนนมพร่องมันเนยบางส่วน สูตรที่เหมาะสมคือ
การเติมน้ำมันมะพร้าว 20% ของปริมาณน้ำนม และผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปรี้ยวโดยใช้น้ำมันมะพร้าวทดแทนมัน หมู
สูตรที่เหมาะสมคือการเติมน้ำมันมะพร้าว 5 % ของส่วนผสมทั้งหมด ผลการทดสอบผู้บริโภคพบว่า ผู้บริโภคส่วน
ใหญ่ยอมรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้

บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการศึกษาค้นคว้า

1. วัสดุ
1.1 น้ำมันเมล็ดยางพารา
1.2 น้ำมันมะพร้าว
1.3 เชียร์บัตเตอร์
1.4 ปิโตเลียมเจลลี
1.5 ว่านหางจระเข้
1.6 น้ำมันหอมระเหย
1.7 น้ำ
27

1.8 เนยโกโก้
1.9 น้ำมันอัลมอย์ออย

2. อุปกรณ์
2.1 เครื่องกระเทาะเปลือก
2.2 บีกเกอร์
2.3 เครื่อง Rotary evaporator
2.4 เครื่องชั่งน้ำหนักทศนิยม 2 ตำแหน่ง
2.5 ตู้อบลมร้อน
2.6 เครื่องปิดผนึก
2.7 เครื่อง “viscometer”

3. วิธีการศึกษาค้นคว้า
3.1 การสกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราโดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
เมล็ดยางพาราที่ใช้ในการวิ จั ย ครั ้ ง นี ้ เป็ น พั น ธุ ์ RRIM 600 จากจั ง หวั ด ปั ต ตานี เมื ่ อ ได้ เ มล็ด
ยางพารามาแล้ว ล้างทำความสะอาด กระเทาะเปลือกออก แล้วนำเนื้อในเมล็ดยางพารามาทำการบด จากนั้นสกัด
ด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อครบเวลากรองเอาเฉพาะสารสกัดมากำจัดนำ
ออกด้วย Na2SO4 สารละลายที่ได้นำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง Rotary evaporator จากนั่นทำการชั่ง
น้ำหนักน้ำมันเมล็ดยางพาราที่ได้ เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสและทำการวิเคราะห์โลหะหนักเพื่อนำไปใช้ต่อไป

17

กะเทาะเปลือก อบแห้ง สกัด ได้น้ำมันเมล็ดยางพาราตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง


28

ได้น้ำมันเมล็ด ปั่นแยก
ยางพารา ส่ วน
ที่พร้อมใช้งาน
รูปที่ 3.1 กระบวนการสกัดการสกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราโดยใช้เฮกเซนเป็น
ตัวทำละลาย
3.2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือดังแสดงในตารางที่ 3.1 โดยเตรียมทั้งหมด
4 สูตร โดยใช้ความเข้มข้นของน้ำมันเมล็ดยางพาราที่ 0,20, 30, และ 40 กรัม จากนั้นประเมินคุณสมบัต ิของ
ผลิตภัณฑ์ทำครีมบำรุง ผิวมือของทั้ง 4 สูตร คือ ลักษณะเนื้อครีม ค่า pH สี และกลิ่น และเลือกสูตรที่ดีที่สุดเพื่อ
วางแผนทำผลิตภัณฑ์และการทดสอบดังแสดงในหัวข้อที่ 3.3 และ หัวข้อที่ 3.4 ต่อไป

ตารางที่ 3.1 ชนิดและปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมบำรุง


ผิวมือ
29

18

3.3 การทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์
เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้ที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิร้อนสลับเย็น (heating-cooling: 45 °C, 24 h-4 °C, 24
h) จานวน 6 รอบ จากนั้นทำการประเมินสมบัติทางกายภาพของตัวอย่างผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบกั บสมบัติ เริ่มต้น
เพื่อทดสอบว่าสมบัติทางกายภาพยังคงเดิมหรือไม่ ดังนี้ สี ประเมินโดยใช้เครื่อง “chromameter” กลิ่น ประเมิน
จากการดม ค่า pH ประเมินโดยใช้ pH meter และค่าความหนืด ประเมินโดยใช้เครื่อง “viscometer”
3.4 การทดสอบความระคายเคืองของผลิตภัณฑ์
ทำการทดสอบความปลอดภัยเบื้ องต้ น (safety test) ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ครี ม บำรุ งผิ ว มื อจากน้ ำ มั น เมล็ด
ยางพารา โดยวิธี single patch test บนผิวของอาสาสมัครจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 19-35 ปี ที่มีชนิดและสี
ผิ วหลากหลาย โดยใช้แผ่น แปะ Finn Chamber 8 มิ ลลิ เ มตร ปิ ด บริ เ วณท้ อ งแขนเป็ น เวลา 24 ชั ่ วโมง โดย
เปรียบเทียบระหว่างครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม จากนั้นแปลผลและบันทึก
ผลการทดลอง แปลผลการทดสอบโดยอ่านผลหลังจากลอกแผ่นทดสอบออก 30 นาที ภายใต้สภาวะเดียวกัน ถ้า
บริเวณที่ทดสอบไม่เกิดปฏิกิริยา ถือว่าสิ้นสุดการทดสอบและให้ซักถามอาสาสมัครอีกครั้งเพื่อยืนยันผล ถ้าพบว่ามี
ปฏิกิริยาเกิด ขึ้น ให้กลับมาอ่านผลอีก ครั้ ง จนกว่าผิ วหนัง จะคื น สู่ สภาพปกติ การให้คะแนนความระคายเคือ ง
ภายหลังการทดสอบผลิตภัณฑ์ ดังแสดงในตารางที่ 3.2 จากนั้นนำคะแนนที่ได้มาคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของดัชนี
ความระคายเคือง (Mean Irritation Index: M.I.I.) และแปลผลการระคายเคืองดังตารางที่ 3.3

ดัชนีความระคายเคือง = ผลรวมของค่าความระคายเคือง
จำนวนอาสาสมัคร
ตารางที่ 3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอาการที่เกิดและคะแนนความระคายเคือง
คำอ้างอิง อาการที่พบ คะแนนความ
ระคายเคือง
ไม่แสดงการระคายเคือง ไม่มรี อยแดงบวม 0
สงสัย มีรอยแดงบวมเล็กน้อย (ยากแก่การมองเห็น) 0.5
เล็กน้อย มีรอยแดง ไม่มีตมุ่ ใส 1
ชัดเจน มีรอยแดงบวมชัดเจน 2
30

ชัดเจนมาก มีรอยแดงบวมชัดเจนมาก (ทั่วบริเวณ) 3


มีนัยสำคัญ มีรอยแดงบวมชัดเจนมาก (ขยายออกนอก 4
บริเวณ)
ที่มา:เอกสารประกอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเรื่องการทดสอบความปลอดภัย

19

ตารางที่ 3.3 การแบ่งระดับการก่อความระคายเคืองของผลิตภัณฑ์จากค่า M.I.I.


M.I.I. ระดับการก่อความระคายเคือง
M.I.I. < 0.20 ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
0.20 < M.I.I. < 0.50 ก่อให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อย
0.50 < M.I.I. < 1 ก่อให้เกิดการระคายเคืองปานกลาง
M.I.I. > 1 ก่อให้เกิดการระคายเคือง
ที่มา:เอกสารประกอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเรื่องการทดสอบความปลอดภัย
3.5 ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ (ทดสอบความชุ่มชื้น)
ทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิก (clinical test) ของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ โดยวัดความชุ่มชื้นผิว
ของอาสาสมัครจานวน 20 คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน ด้วยเครื่องCorneometer® 825 ซึ่ง ทดสอบ
ในอาสาสมัครที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองแล้ว โดยทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างครีมพื้ นฐานกับ
ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม แบบ placebo-controlled, blind test โดยให้อาสาสมัครทา
ครีมที่แจกให้ทั้ง 2 ชนิด ปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียวลงบนท้องแขนที่ ทำเครื่องหมายไว้ 2 ตำแหน่ง ทำการวัดความ
ชุ่มชืนของผิวหนังด้วยเครื่อง Corneometer® 825 ในสัปดาห์ที่ 0 (ก่อนทาผลิตภัณฑ์), 2 และ 4
- ประเมินคุณภาพของครีมบำรุง ผิ วมือ จากน้ ำมันเมล็ ดยางพารา ทางประสาทสัมผัส ด้วยวิธี
Ranking Test
- การประเมินผลทางสถิติ นำข้อมูลเพื่อหาความแตกต่างทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรแปรวน
(Analysis of Variance :ANOVA ) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และเปรียบเทียบความแตกต่ างเฉลี่ย
โดยวิธี Dancan New Multiple Range Test (DMRT)

3.6 ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
31

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับเก็ บรวบรวมข้อมูล


เชิงปริมาณ แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยแบ่ง โครงสร้าง
ของแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ย วกับปัจจั ย ส่ วนบุ คคลของผู ้ ใช้ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ประกอบด้ วย เพศ อายุ ระดั บ
การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิลำเนาปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ
ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย
ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์2)
ด้านราคา 3) ด้านการจัดจำหน่าย และ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด แบบสอบถามมีลักษณะคำถามเป็นมาตรา
ส่วนประมาณ กำหนดเกณฑ์ในการให้คะแนน 5 ระดับ จากมากที่สุด (5 คะแนน) ถึงน้อยที่สุด(1 คะแนน)
20

สำหรับการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานใช้เกณฑ์ในการกำหนดช่วงความกว้างของ
ข้อมูลแต่ละระดับ (บุญชม ศรีสะอาด, 2553) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51 - 5.00 หมายถึง มีระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.51 - 4.50 หมายถึง มีระดับมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51 - 3.50 หมายถึง มีระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51 - 2.50 หมายถึง มีระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00 - 1.50 หมายถึง มีระดับน้อยที่สุด

4. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความเชื่อมั่น (Reliability) ดำเนินการโดยการนำแบบสอบถามที่


ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 30 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการ
หาสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค ผลการวิเคราะห์ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้
ผลิตภัณฑ์มีค่าสูงกว่า 0.71 ทุกด้าน แสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นในระดับสูง (เกียรติสุดา ศรีสุข, 2552)
5. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการชี้ แจงในข้อ
คำถาม กระบวนการดำเนินการ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดก่อนดำเนินการทุกครั้ง ซึ่งกระจายเก็บ
แบบสอบถามกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ โดยเก็บแบบสอบถามช่วงวันธรรมดา วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุด ตัง้ แต่เวลา
10.00 -16.00 น. และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยผู้วิจัยให้แบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบเอง
6. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานสถิติเพื่อการวิจัย ดังนี้
(1) ค่าร้อยละของข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ย
32

ต่อเดือน ภูมิลำเนา และพฤติกรรมผู้ใช้ผลิตภัณฑ์


(2) ค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่
1) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
2) ด้านราคา
3) ด้านความน่าสนใจ
4) ด้านการส่งเสริมการตลาดและบรรจุภัณฑ์
(3) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ โดยจำแนกตามอายุและ
รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
และทดสอบด้วยสถิติเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ (Pairwise Comparisons) โดยวิธีของ Scheffe

21
33

รูปที่ 3.2 กระบวนการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า

การศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราครั้งนี้ สามารถแสดง
ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้
4.1 ผลการศึกษาการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
เตรียมน้ำมันจำกเมล็ดยำงพำรำ สกัดด้วยเฮกเซนทีอ่ ุหภูมหิ อ้ ง24 ชัวโมง
่ ระเหยเอำตัวทำ
ละลำยออกจะได้น้ำมันเมล็ดยำงพำรำ 40-50 กรัม นำน้ ำมันเมล็ดยำงพำรำ ตรวจสอบควำมปลอดภัย
ปริมำณธำตุโลหะหนักผลกำรทดสอบ ตรวจไม่พบ คือ มีค่ำน้อยกว่ำค่ำ LOD ของวิธกี ำรวิเครำะห์ ผลแสดง
ดังรูปภำพข้ำงล่ำงต่อไปนี้
ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ธาตุโลหะหนัก
34

หมายเหตุ:ตรวจไม่พบ คือ มีคา่ น้อยกว่าค่า LOD


ค่า LOD (Limit of Detection) ของ Hg เท่ากับ 0.01 mg/kg วิธี Hydride ICP-AES
ค่า LOD (Limit of Detection) ของ As2O3 เท่ากับ 0.05 mg/kg วิธี Cold Vapor Hydride ICP-AES
ค่า LOD (Limit of Detection) ของ Pb เท่ากับ 0.04 mg/kg วิธี ICP-AES
ค่า LOD (Limit of Detection) ของ Cd เท่ากับ 0.03 mg/kg วิธี ICP-AES

4.2 ผลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลิ ตภั ณฑ์ ครีม บำรุ งผิว มือ ที่ มีน้ ำมั นเมล็ ดยางพาราที ่ ได้เป็น
ส่วนประกอบ ทำการเตรียมโดยใช้ความเข้มข้นของน้ำมันเมล็ดยางพาราที่ 0, 20, 30, และ 40 กรัม ตามสูตรดัง
แสดงในตารางที่ 3.1 จากนั้นประเมินผลความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันยางพาราที่เตรียมได้
โดยประเมินจากสี, กลิ่น, ค่า pH, ค่าความหนืด (viscosity) ซึ่งสมบัติต่างๆ ของสูตรแสดงในตารางที่ 4.1
0 20 30 40

รูปภาพที่ 4.1 แสดงลักษณะทางกายภาพ(เนื้อครีม)ของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา


เมื่อนำสูตรครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราทั
23 ้ง 4 สูตร ไปทดสอบความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยใช้
แบบประเมิ
ตารางที่ น4.2
ความพึ งพอใจด้วยประสาทสัมผัส ข(9-Point hedonic
ลักษณะทางกายภาพและเคมี องสูตรตำรั บผลิตภัscale)
ณฑ์ครีประเมิ
มบำรุงนผิจากผู
วมือที้เข้่มาีนรั้ำบมัการทดสอบ
นเมล็ดยางพารา
35

จำนวน 30 คน เป็นเพศชาย 4 คน หญิง 26 คน อายุระหว่าง 20-35 ปี ก่อนเข้ารับการทดสอบผู้ประเมิน จะได้รับ


การอธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ โดยเกณฑ์การให้คะแนนจะมีระดับคะแนนจาก 9 ถึง 1 (9 = ชอบ
มากที่สุดและ 1 = ไม่ชอบมากที่สุด) ซึ่งจะประเมินในด้าน สี กลิ่น ความข้นหนืด เนื้ อสัมผัส และความชอบโดยรวม
โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงในรูปของค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ดังแสดงในตารางที่ 4.2 และรูปที่ 4.1 ซึ่งพบว่า ลักษณะเนื้อสัมผัสของครีม สี ความหนืด มีค่าความ
พึงพอใจของทั้ง 4 สูตร ที่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในส่วนของกลิ่น พบว่า สูตรที่ 2 และ 3 มีค่าความพึงพอใจ
น้อยกว่าสูตรที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีกลิ่นของน้ำมันเมล็ดยางพาราค่อนข้างแรงผู้วิจัยจึงเลือกสูตรที่ 1
เพื่อทำผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือและทดสอบสมบัติต่างๆต่อไป
ตารางที่ 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสูตรครีมบำรุงผิวมือจากเมล็ดยางพารา
สูตร ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึ่งพอใจ
เนื้อสัมผัส สี กลิ่น ความหนืด ความชอบโดยรวม
ครีมพื้นฐาน 6.25 7.8 7.05 6.9 6.4
สูตรที่ 1 6.05 7.9 7.2 7.20 7.5
สูตรที่ 2 5.9 7.25 6.8 7.1 6.7
สูตรที่ 3 6.2 7.3 5.1 6.3 5.6
*เกณฑ์การให้คะแนนจะมีระดับคะแนนจาก 9 ถึง 1 (9 = ชอบมากที่สุดและ 1 = ไม่ชอบมากที่สุด)

4.3 ผลการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ ที่เลือกจากผลประเมินความพึงพอใจ คือ สูตรที่ 1 (ปริมาณ


น้ำมันเมล็ดยางพาราในสูตร คือ 20 กรัม ตามลำดับ) เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้ที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิร้อนสลับ
เย็น (heating-cooling: 45 °C, 24 h- 4 °C, 24 h) จำนวน 6 รอบ จากนั้นทำการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ
ของตัวอย่างผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบกับคุณสมบัติเริ่มต้น เพื่อทดสอบว่าคุณสมบัติทางกายภาพยังคงเดิมหรือไม่ ดังนี้
สี ประเมินโดยใช้เครื่อง “chromameter” กลิ่น ประเมินจากการดม ค่า pH ประเมินโดยใช้ pH meter และค่า
2436

ตารางที่ 4.4 ผลการศึกษาความคงตัวของสูตรผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพาราทีส่ ภาวะเร่ง


อุณหภูมิร้อนสลับเย็น จำนวน 6 รอบ

ความหนืด ประเมินโดยใช้เครื่อง “viscometer” ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 4.3 ซึ่งทั้งสองตำรับมีความคงตัวดี


คุณสมบัติต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
4.4 ผลการทดสอบการระคายเคืองของผลิตภัณ ฑ์ครีมบำรุงผิ วมือจากน้ำมันเมล็ด ยางพารา โดยวิธี
single patch test บนผิวของอาสาสมัครจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 19-35 ปี ที่มีชนิดและสีผิวหลากหลาย
โดยใช้แผ่นแปะ Finn Chamber 8 มิลลิเมตร ปิดบริเวณท้องแขนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยเปรียบเทียบระหว่าง
ครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม จากนั้นทำการแปลผลและบันทึกผลการทดลอง
แปลผลการทดลอบโดยอ่านผลหลังจากลอกแผ่นทดสอบออก 30 นาที ภายใต้สภาวะเดียวกัน ถ้าบริเวณที่ทดสอบ
ไม่เกิดปฏิกิริยา ถือว่าสิ้นสุดการทดสอบและให้ซักถามอาสาสมัครอีกครั้งเพื่อยืนยันผล ถ้าพบว่ามีปฏิกิริยาเกิ ดขึ้ น
ให้กลับมาอ่านผลอีกครั้งจนกว่าผิวหนังจะคืนสู่สภาพปกติ จากการทดสอบการระคายเคืองพบว่า ในอาสาสมัคร
100 คน ไม่มีผู้ที่แสดงอาการระคายเคืองต่อครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา จึงคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของดัชนีความระคาย
เคือง (Mean Irritation Index: M.I.I.) ได้เท่ากับ 0 แสดงว่าครีมน้ำมันเมล็ดยางพาราไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
37
25

4.5 ผลการทดสอบความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ โดยวัดความชุ่มชื้นผิวของอาสาสมั ครจำนวน


30 คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน ด้วยเครื่อง Corneometer® 825 ซึ่งทดสอบในอาสาสมัครที่ผา่ น
การทดสอบการระคายเคืองแล้ว โดยทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างครีมพื้ นฐานกับครีมที่มีส่วนผสม
ของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม แบบ placebo-controlled, blind test โดยให้อาสาสมัครทำครีมที่แจกให้ทั้ง
2 ชนิด ปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียวลงบนท้องแขนที่ทาเครื่องหมายไว้ 2 ตำแหน่ง ทำการวัดความชุ่ม ชื้น ของผิวหนัง
ด้วยเครื่อง Corneometer® 825 ในสัปดาห์ที่ 0 (ก่อนทาผลิตภัณฑ์), 2 และ 4 ผลการวัดความชุ่มชื้น (moisture
content) พบว่าบริเวณที่ทาครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม มีค่าความชุ่มชื่นเพิ่มขึน้ มากกว่าครีมพื้นฐานอย่างม
ตารางที่ 4.5 ผลการเปลี่ยนแปลงความชุ่มชืน้ ของผิวเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ครีมบำรุงผิวมือ
จากน้ำมันเมล็ดยางพารา เป็นเวลา 4 สัปดาห์

นัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึน้ 52.64% (p = 0.04) ดังแสดงในตารางที่ 4.4


4.6 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ข้ อ มูลความพึง พอใจเกี่ยวกับปัจจั ย ด้ านต่ างๆ ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ครี มบำรุ งมื อจากน้ ำมัน เมล็ด ยางพารา
ผู้ใช้งานทั่วไปจำนวน 30 คนประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่างๆ ของผลิตครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ ด
ยางพาราแสดงดังรูปภาพต่อไปนี้
38

26

ตารางที่ 4.6 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือ


จากน้ำมันเมล็ดยางพารา ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
N = 30 ระดับ
รายการประเมิน อันดับ
x̄ S.D. ความพึงพอใจ
1. กลิ่นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมัน
4.45 0.68 มาก 1
เมล็ดยางพารา
2. เนื้อครีมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจาก
4.20 0.70 มาก 2
น้ำมันเมล็ดยางพารา
3. ความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุง
4.15 0.37 มาก 3
มือจากและน้ำมันเมล็ดยางพารา
รวม 4.27 0.58 มาก
จากตารางที่ 4.5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดั บ
มาก ( =4.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ระดับความพึงพอใจอันดับสูงสุด คือ กลิ่นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุง ผิว
มือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ( = 4.45) รองลงมาคือ เนื้อ ครีมของผลิต ภั ณฑ์ครีม บำรุง ผิ วมือ จากน้ ำมัน เมล็ ด
ยางพารา ( = 4.20) และอันดับสามคือความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุง ผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา (
= 4.15)
39

5 x̄ S.D.
4.45
4.5 4.2 4.15
4

3.5

2.5

1.5

1 0.7
0.68
0.5 0.37

0
กลิ่น เนื ้อครีม ความชอบโดยรวม

ภาพที่ 4.3 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพอใจด้


27 านคุณภาพผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีม
บำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

ตารางที่ 4.7 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมัน


เมล็ดยางพารา
ด้านบรรจุภัณฑ์
N = 30 ระดับ
รายการประเมิน อันดับ
x̄ S.D. ความพึงพอใจ
1. การเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสม 4.40 0.81 มาก 1
2. ผลิตภัณฑ์ออกแบบได้ดึงดูดความสนใจ 3.50 0.76 มาก 2
3. ผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดและข้อมูลที่จำเป็น
3.00 0.71 มาก 3
ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน
รวม 3.63 0.76 มาก
จากตารางที่ 4.6 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในด้านบรรจุภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.73)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ระดับความพึงพอใจอันดับสูงสุด คือ การเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสม ( = 4.40)
40

รองลงมาคือผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดและข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่ อผู้บริโภค ( = 3.50)และ


อันดับสามคือ ผลิตภัณฑ์ออกแบบได้ดึงดูดความสนใจ ( = 3.00)
5
4.65
4.5
4.2
4

3.5 3.65

2.5

1.5

1
0.67
0.49 0.53
0.5

0
การเลือกใช้ วสั ดุ ความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ รายละเอียดผลิตภัณฑ์

x̄ S.D.

ภาพที่ 4.4 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


28 ระดับความพอใจด้านบรรจุภัณฑ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ตารางที่ 4.8 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจของผู้ ใช้งานต่อผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ครีม
บำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ด้านความน่าสนใจ และราคา
N = 30 ระดับ
รายการประเมิน อันดับ
x̄ S.D. ความพึงพอใจ
1. มีความสะดวกในการใช้งาน 4.65 0.49 มาก 1
2. ราคาเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว
3.65 0.67 มาก 3
มือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
3. ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าการให้ประโยชน์เชิง
4.20 0.53 มาก 2
คุณภาพ
รวม 4.17 0.56 มาก
41

จากตารางที่ 4.7 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในด้านความน่าสนใจและราคาภาพรวมอยู่ใน


ระดับมากที่สุด ( = 4.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความพึงพอใจอันดับสูงสุด คือ มีความสะดวกในการ
ใช้ ( = 4.20) รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์มีคุณค่า การให้ประโยชน์เชิงคุณภาพ(= 3.65) และอันดับ สามคือ ราคา
เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
5
4.65
4.5 4.2
4
3.65
3.5

2.5

1.5

1 0.67
0.49 0.53
0.5

0
มีความสะดวกในการใช้ งาน ราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มีคุณค่า

x̄ S.D.

ภาพที่ 4.5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพอใจด้านความน่าสนใจ และราคาของผู้ใช้


ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
5.1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
5.1.1 ผลการศึกษาการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา พบว่าน้ำมันเมล็ดยางพารา มีความปลอดภัย ไม่พบ
สารจำพวกโลหะหนัก ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) สารหนู (As2O3) และปรอท (Hg)
5.1.2 ผลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา พบว่า สูตร
ที่ 1 ได้รับคะแนนทางประสาทสัมผัส จากผู้ทดสอบใช้จำนวน 30 คน สูงที่สุดในด้านเนื้อสัมผัส,สี,กลิ่น ,ความหนืด
และความชอบโดยรวมเท่ากับ 6.05,7.9,7.2,7.20,7.5 ตามลำดับ
42

5.1.3 ผลการทดสอบความคงตัวของผลิ ต ภั ณ ฑ์ท ี่ เ ลือ กจากผลประเมิ นความพึง พอใจ คื อ สู ต รที ่ 1


(ปริมาณน้ำมันเมล็ดยางพาราในสูตร คือ 20 กรัม ตามลำดับ) เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้ที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิ
ร้อนสลับเย็น (heating-cooling: 45 °C, 24 h- 4 °C, 24 h) จำนวน 6 รอบ พบว่าทั้งสองตำรับมีความคงตัวดี
คุณสมบัติต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
5.1.4 ผลการทดสอบการระคายเคืองของผลิ ตภัณฑ์ครีมบำรุง ผิ วมือ จากน้ ำมัน เมล็ดยางพารา โดยวิธี
single patch test บนผิวของอาสาสมัครจานวน 100 คน พบว่า ในอาสาสมัคร 100 คน ไม่มีผู้ที่แสดงอาการ
ระคายเคืองต่อครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา
5.1.5 ผลการทดสอบความชุ่มชื่นของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือ โดยวัดความชุ่มชื้ นผิวของอาสาสมัคร
จำนวน 30 คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน ด้วยเครื่อง Corneometer® 825 พบว่าบริเวณที่ทาครีม
น้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม มีค่าความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นมากกว่าครีมพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความชุ่ม
ชื้นเพิ่มขึ้น 52.64% (p = 0.04)
5.1.6 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 75 และเพศชาย คิดร้อยละ 25 จำแนกตามอายุ
พบว่า ผู้ใช้งานมีอายุระหว่าง 15 - 18 ปี มากที่สุดคือร้อยละ 55 จำแนกตามอาชีพ พบว่า ผู้ใช้งานประกอบอาชีพ
นักเรียน/นักศึกษามากที่สุดคิดร้อยละ 100
5.2. อภิปรายผล
5.2.1 ผลการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา ผลิตภัณฑ์มีลักษณะใส่เข้มข้น ไม่มีกลิ่น น้ำมันเมล็ดยางพารามีความ
ปลอดภัย เนื่องจากผลการตรวจสอบธาตุโลหะหนักไม่พบ
5.2.2 ผลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ผู้ทดสอบใช้ที่ไม่
ผ่านการฝึกฝนให้การยอมรับสูงสุด คือ สูตรที่ 1 มีลักษณะเป็นสีขาวนวล ไม่มีกลิ่น และเนื้อครีมไม่มันและเหลว
เกินไปได้รับการยอมรับมากกว่าสูตรที่ 2 และ 3 เนื่องจากปริมาณของเมดเมเกอร์ ปิโตรเลียมเจลลี่, เชียร์บัตเตอร์,
ว่านหางจระเข้และน้ำมันเมล็ดยางพารา ทำให้เนื้อครีมมีเนื้อสัมผัสที่ดีสอดคล้องกับงานวิจัย (อชิรญา,2563) กล่า
ว่าปริมาณของว่านหางจระเข้และน้ำมันเมล็ดยางพารามี 30 ผลต่อ ลักษณะทางกายภาพและกลิ่ นของน้ำมัน เมล็ ด
ยางพารานอกจากนี้ สูตรที่ 2 และ 3 มีกลิ่นของน้ำมันเมล็ดยางพาราค่อนข้างแรง
5.2.3 ผลการทดสอบความคงตัวของผลิต ภัณฑ์ สู ตรมีความคงตัวดี สมบัติต่างๆ ไม่ เปลี่ยนแปลง หรือ
เปลี่ยนแปลงอย่างไม่ม ีนัย สำคัญ ผู้วิจัยจึง เลือกสู ตรครีมที่ 1 เป็นสูตรต้นแบบเนื่องจากมี ปริม าณน้ำมัน เมล็ ด
ยางพารามากกว่า เพื่อใช้ในการทดสอบการระคายเคืองและประสิทธิภาพของครีมต่อไป
5.2.4 ผลการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวของอาสาสมัครจานวน 100 คน อายุระหว่าง 19-35 ปี ที่มี
ชนิดและสีผิวหลากหลาย โดยใช้แผ่นแปะ Finn Chamber 8 มิลลิเมตร ปิดบริเวณท้องแขนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
โดยเปรียบเทียบระหว่างครีมพื้นฐานกับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม พบว่าไม่มีผู้ที่แสดง
43

อาการระคายเคืองต่อครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา แสดงให้เห็นว่าครีม น้ำมันเมล็ดยางพาราไม่ก่อให้เกิดการระคาย


เคือง เนื่องจากในเมล็ดยางพารามีกรดที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณและยังต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ
ช่วยรักษาความชุ่มชื้นแก่ผิวและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ผิวหนัง
5.2.5 ทดสอบประสิทธิภาพการให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวของครีมเมื่อทดสอบกับอาสาสมัคร พบว่าบริเวณที่ทา
ครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม มีค่าความชุ่มชื่นเพิ่มขึ้นมากกว่าครีมพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี
ความชุ่มชื่นเพิ่มขึน้ 52.64% (p = 0.04) สรุปได้ว่าครีมน้ำมันเมล็ดยางพารา 20 กรัม สามารถให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว
ได้เป็นอย่างดีและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ผู้ใช้
จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าน้ำมันเมล็ดยางพารามีคุณสมบัติที่ดีทั้งในเรื่องของการบำรุง ให้ความชุ่ม
ชื้นแก่ผิว ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันเมล็ดยางพารา ที่มี oleic acid และ
linoleic acid เป็นองค์ประกอบหลัก ทั้ งสองตัวมีคุณประโยชน์แก่ ผิ ว ทั้ งในด้านการเพิ่ม ความชุ ่มชื่ น ให้แก่ ผิว
ต่อต้านการอักเสบ
5.2.6 ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปต่อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ที่ผ่าน
การพัฒนา บรรจุลงในขวดพาชนะ ปิดสนิท ติดฉลากที่มีรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน แล้วนำไปศึกษาความ
พึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปจำนวน 30 คน พบว่าครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ผู้ตอบแบบสอบถามมี
ความพึงพอใจในด้านคุณภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
5.3.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา
5.3.2 ทำให้ก ลุ่ม ของข้าพเจ้าได้เรีย นรู ้ก รรมวิ ธี ในการทำผลิ ต ภั ณฑ์ ครี มบำรุง ผิ วมื อจากน้ำมัน เมล็ด
ยางพารา
5.3.3 ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดยางพาราที่มีคุณสมบัติในการบำรุงผิวมือและเพิ่มความชุ่ม
ชื้นให้แก่ผิว
5.3.4 ผลิตภัณฑ์เป็นส่วนผสมใหม่ที่ได้จากวัตถุดิบเหลือใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมยางพารา
5.3.5 ผลิตภัณฑ์สะดวกต่อการใช้งาน ในขั้นตอนเดียวและบำรุงผิวมือ
5.4 ข้อเสนอแนะ
5.4.1.ควรนำไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มแม่บ้าน ชุมชน และวิสาหกิจ ในท้องถิ่น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้
และเป็นการฝึกทักษะ เพิ่มความชำนาญให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการ
5.4.2.ควรมีพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของ
นักเรียน/นักศึกษาให้หันมาสนใจครีมบำรุงผิวมือจากสารสกัดธรรมชาติ

เอกสารอ้างอิง
44

[1]กนกกาญจน์ บุตตะโยธี 2562.การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักและผลไม้.


วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล 5(2): 10-18.
[2]กฤษฎา กิตติโกวิทธนา 2565 การสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา วารสารวิจัย
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6(5): 11-13.
[3]ณพัฐอร บัวฉุน 2558 การพัฒนาโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยและ
พิลังกาสา วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 4(2): 14-15.
[4]ณรงค์ชัย ตั้งตรีจักร 2564 การศึกษาความสามารถในการเก็บความชุ่มชื้น
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4(2): 16-21.
[5]นีรนุช ไชยรังสี 2561 การพัฒนาโลชั่นทาผิวที่มีน้ำมันงาขี้ม้อนและสารสกัดจากธรรมชาติ
เป็นองค์ประกอบ วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 8(2): 11-16.
[6] รัตนา อินทรานุปกรณ์. 2563. การตรวจสอบและการสกัดแยกสาระสำคัญจาก
สมุนไพร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7]นันทวัน บุณยะประภัศร. 2564. การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นของสารสกัดจากพืชใน
:ยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เล่มที่ 1, วันดี กฤษณพันธ์ (ผู้รวบรวม).
หน้า 116-129 ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
. [8]บุศยรัตน์ พันธ์เครือบุตร 2565 การสกัดโดยการกลัน่ ด้วยไอน้ำ
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5(2): 10-15.
[9] ประพัฒศร สุขมั่น 2565 การศึกษาและทดลองเนื้อสัมผัสของโลชั่น
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6(3): 19-23.
[10]พิมาเพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ 2564 กรดโอเลอิกและไลโนเลอิก
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 6(2): 11-15.
[11]พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ 2558 สารโพลีแซคคาไรด์
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 5(2): 10-19.
[12]เพ็ญศรี เพ็ญประไพร 2561 น้ำมันมะพร้าว วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3(2): 10-14.
[13]พงศธรณ์ รุจิรา 2560 การพัฒนาครีมบำรุงผิวจากน้ำมันปาล์มและว่านหางจระเข้
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5(2): 18-24.
[14]วีระศักดิ์ อนัมบุตร 2564 เมล็ดยางพารา วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 8(2): 11-16.
[15]ศศมล ผาสุก 2564 การศึกษาพีชที่มีฤทธิ์ต้านอนุมลู อิสระ
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 5(2):11-23.
45

[16]ศิรดา อมรเดชาพล 2553 การพัฒนาสูตรตำรับครีมทาหน้าจากสารสกัดยอ


วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 6(2): 10-26.
[17]อภิชญา สิงหรา 2557 ว่านหานจระเข้ วารสารวิจัยหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9(2): 10-15. 32

[18]รติยา คูเขตพิทักษ์ และ วัชรี คุณกิตติ. 2561. การเปรียบเทียบปริมาณสาร azadirachtin


และฤทธิ์การยับยั้งการกินของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาสามชนิดต่อหนอนใยผัก.
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล 8(2): 11-16.
[19]ศิริพรรณ ตันตาคม และธรรมศกัดิ์ ทองเกตุ. 2550. ประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่หนอน
กระทู้ ผักของน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส. วิทยาสารกำแพงแสน
5(1): 30-35.
[20] สุรพล วิเศษ และธารี วัฒนสมบัติ. 2561. ผลของสารสกัดจาก
ใบสาบเสือ (Chromolaenaodorata) และเหง้าข่า (Alpinia galangal Stuntz)
ต่อระดับเอนไซม์ทำลายพิษ ในหนอนใยผัก (Plutellaxylostella L.)
หน้า 55- 61.
[21]สุรพล วิเศษสรรค์และเรวดี ชูช่วย. 2562. ประสิทธิภาพ ของสารสกัดจากตะไคร้หอม
และสะเดา กับการ เปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ทำลายพิษในเห็บ สุนัข
หน้า 847-851.
[22]อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. 2562. ว่านหางจระเข้ตาหรับแพทย์ จีนฉบับปรับปรุง.
นานมีบุ๊คส์, กรุงเทพฯ.
[23]ปิยาภรณ์ สุภัคดำรงกุล. (2565). เจลล้างมือ, สารสกัดจากเปลือกผลไม้,
ความเข้มข้นต่ำสุดที่มี ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย,
ความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ในนการยับยั้งเชื้อ แบคทีเรีย
สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565
จาก http://scijournal.hcu.ac.th/ojs/index.php/scijournal
[24]ธัชญมณ บุษน้ำเพชร์,เบญจพร พูนศรีสวัสดิ์. (2561) .เจลล้างมือว่านหางจระเข้
สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563
จาก https://e-research.siam.edu/kb/aloe-vera-hand- cleansing-gel/
[25]ไพจิตร จันทรวงศ์. การใช้ประโยชน์และการตรวจสอบคุณภาพพืชน้ำมัน
52 ชนิด. สายงานเคมีพืชน้ำมันและสารธรรมชาติ กองเกษตรเคมี
46

กรมวิชาการเกษตร 2563.
[26] เฉลิมพร ณ พัทลุง; จินดา เจริญพรพาณิชย์. ไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพารา.
การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 19 ภูเก็ต 2548

ภาคผนวก
ก. แบบทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส แบบ 9-Point Hedonic Scale
ข. แบบสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
ค. กรรมวิธีการผลิตครีมบำรุงผิวมือจากน้ำมันเมล็ดยางพารา
ง. เอกสารการได้รับอนุสิทธิบัตร
จ. เอกสารรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ฉ ศักยภาพในการนําไปใช้ประโยชน์
ช. แผนการตลาด
ซ.การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลงาน
47

You might also like