Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |1

การดำรงชีวิตของพืช
สารอินทรีย์ในพืช
คือสารที่พืชสร้างขึ้นผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆภายในเซลล์ของพืช
สารอินทรีย์ที่อยู่ภายในเซลล์บางชนิดทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ เช่น เซลลูโลสที่สะสมอยู่ที่ผนังเซลล์ หรือบาง
ชนิดทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์

คาร์ไฮเดรต

ผ่านปฏิกิริยาต่างๆ โปรตีน

ลิพิด

ภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสงกับการสะสมสารอินทรีย์ในส่วนต่างๆของพืช
สาระน่ารู้ นักเรียนทราบไหมว่าสารอินทรีย์คืออะไร??
สารอินทรีย์ คือสารที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติหรือเกิดจาก
การสังเคราะห์ สารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในธรรมชาติ จะเรียกว่า สารชีวโมเลกุล ยกตัวอย่างเช่น สารในตระกูลคาร์โบไฮเดรต
ไขมัน โปรตีน วิตามิน และกรดนิวคลิอิก
สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง ไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง
สารอินทรีย์กลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น โปรตีน สารอินทรีย์กลุ่มนี้มีไม่เกี่ยวข้องกับการ
ลิพิด กรดนิวคลีอิก กรดอะมิโน วิตามิน เจริญเติบโตโดยตรง แต่สำคัญต่อการ
คลอโรฟิลล์ ฮอร์โมนพืช ซึ่งสารเหล่านี้มี ดำรงชีวิตของพืช เช่นน้ำยางมะละกอ
ผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น การ ป้องกันแมลงและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคใน
ขยายขนาดของเซลล์ การแบ่งเซลล์ การ มะละกอ หรือ สารคาแฟอีนในกาแฟยับยั้ง
สังเคราะห์แสงเป็นต้น การเจริญของจุลินทรีย์เป็นต้น หรือน้ำ
ยางพาราช่วยปิดแผลต้นยาง
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |2

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ย่อมต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ของพืช ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางชนิดเจริญได้ดีในที่แจ้ง บางชนิดเจริญได้ดีในที่เค็ม
ดังนั้นการปลูกพืชแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของ
พืชแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอก คือปัจจัยที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น แสง น้ำ อากาศ
อุณหภูมิ ดิน ธาตุอาหาร แก๊สออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะยับยั้ง หรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
แสงสว่างหรือแสงแดด พืชต้องการแสงแดดมาใช้ในการสร้างอาหาร ถ้าขาดแสงแดด พืชจะแคระแกรน
ใบจะมีสีเหลืองหรือขาวซีดและตายในที่สุด พืชแต่ละชนิดต้องการแสงไม่เท่ากันพืชบางชนิดต้องการแสงแดดจัด แต่พืช
บางชนิดก็ต้องการแสงรำไร

จากกราฟ หากความเข้มของแสงมาก
ส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะ
เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอัตราการ
สังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง
เท่านั้น และจะไม่เพิ่มขึ้นอีก แม้ความเข้ม
แสงจะเพิ่มขึ้ก็ตาม

กราฟแสดงผลของความเข้มแสงต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
อุณหภูมิ มีส่วนช่วยในการงอกและเจริญเติบโตของพืช จะเห็นได้ว่าพืชบางชนิดชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาว
เย็น แต่พืชบางชนิดก็ชอบขึ้นในที่มีอากาศร้อน การนำพืชมาปลูกจึงควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป
ตามฤดูกาล ในแต่ละท้องถิ่นด้วย
อุณหภูมิมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆที่เกี่ยวข้องใน
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นถ้าอุณหภูมิเหมาะสม การสังเคราะห์แสงก็จะเกิดได้มากขึ้นด้วย

จากกราฟ อุณหภูมิที่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของยางพาราสูงสุดคือ ช่วงอุณหภูมิ


……………………..ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าช่วงนี้จะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลง
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |3

สาเหตุที่เมื่ออุณหูมิสูงขึ้นระดับหนึ่งแล้วการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง เพราะ
- เมื่ออุณหูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเหมาะสมมาก ๆ ทำให้เยื่อหุ้มออร์แกเนลสูญ เสียสมบัติการเป็นเยื่อเลือก
ผ่าน (เยื่อหุ้มออร์แกเนลเป็นที่อยู่ของโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง)ทำให้การสังเคราะห์แสง
ลดลง
- เมื่ออุณหภูมิ สูง ทำให้เอนไซม์เสียสภาพการทำงานไป
คาร์บอนไดออกไซด์ พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย เมื่อ CO2 มากขึ้นอัตราการสังเคราะห์แสงก็มากขึ้น
ด้วย แต่อย่างไรก็ตามอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะมากถึงจุดๆหนึ่งเท่านั้น และจะไม่เพิ่มขึ้นอีกแม้ความเข้มข้นของ
CO2 จะเพิ่มขึ้นดังกราฟ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิกับความเข้มข้นของ CO2

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชมาก น้ำช่วยละลายแร่ธาตุอาหารในดิน เพื่อให้รากดูดอาหาร


ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้นได้ และยังช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น พืชสดชื่นและการทำงานของกระบวนการต่างๆ ในพืช
เป็นไปอย่างปกติ

ถ้าพืชขาดน้ำ อัตราการสังเคราะห์แสงจะ............................เนื่องจาก…………………………….....
………………………………………………………………………………………………………………………………….

ธาตุอาหารพื ช เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญ เติบโตของพืช ประกอบด้ วย 17 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน,


ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน , เหล็ก, แมงกานีส,
สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม, คลอรีน และนิเกิล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. macronutrient elements คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก และขาดไม่ได้ เช่น
N P K เป็นกลุ่มธาตุอาหารหลัก (primary nutrient elements)
Ca Mg S เป็นกลุ่มธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements)
2. micronutrient elements คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย เช่น Fe Cu Zn Mn Mo Cl B
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |4

ตารางแสดงบทบาทของธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญของพืช

ธาตุ หน้าที่ของธาตุอาหหาร อาการของพืชเมื่อพืชขาดหรือได้รับมากเกินไป


ไนโตรเจน

ฟอสฟอรัส

โพแทสเซียม

แคลเซียม

แมกนีเซียม

กำมะถัน

เหล็ก

ทองแดง

สังกะสี

แมงกานีส
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |5

ตัวเลขข้างกระสอบปุ๋ยที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็น
ตัวเลขในระบบสากล ในความหมายนั้นบอกว่า
ในกระสอบปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม มีธาตุ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่ต้นไม้
นําไปใช้ประโยชน์ในสัดส่วนเท่าไหร่

– 13 ตัวแรก คือ ปริมาณ N (ไนโตรเจน) ช่วยเร่งการเจริญเติบโต สร้างใบ เพิ่มความเขียว


– 13 ตัวถัดมา คือ ปริมาณ P (ฟอสฟอรัส) ช่วยเร่งการแตกใบและการผสมเกสร เพิ่มความแข็งแรงให้ลำต้น
– 21 ตัวสุดท้าย คือ ปริมาณ K (โพแทสเซียม) ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มขนาด น้ำหนัก และรสชาติ ความหวาน13, 13
และ 21 กิโลกรัม รวมแล้วมีเนื้อธาตุอยู่ 47 กิโลกรัม ส่วนอีก 53 กิโลกรัม นั้น เรียก ว่า “สารตัวเติม” หรือ “ฟิล
เลอร์” ซึ่งผู้ผลิตนิยมใช้ดินเหนียว หรือเม็ดทราย ผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสะดวกในการคํานวณอัตราการ
ใส่ปุ๋ยต่อหน่วยพื้นที่

แก๊สออกซิเจน เป็นแก๊สที่พืชนำมาใช้ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับนำไปใช้
ในการเจริญ เติบโต หากได้รับแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้อัตราการหายใจระดับเซลล์ลดลงและส่งผลต่อการ
เจริญเติบโตของพืช พืชได้รับออกซิเจนผ่านทางรากและได้รับจากกระบบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างความเสียหายหรือทำอันตรายต่อพืชที่ มนุษย์ปลูก เช่น จุลินทรีย์สาเหตุ
โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่งศัตรูพืชเหล่านี้สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร ทำให้ผลผลิตพืชอาหารของ
โลกลดลง สำหรับประเทศไทยมีรายงานว่าศัตรูพืชชนิดต่างๆ ทำให้ผลผลิตพืชแต่ละปีลดลงประมาณร้อยละ 10-30
เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการลดการใช้สารเคมีในทางการเกษตร นักวิจัยพยายามที่จะหาวิธีการควบคุมศัตรูพืชโดย
ใช้ สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ เป็ น ศั ต รู ธ รรมชาติ ข องศั ต รู พื ช เหล่ า นั้ น เป็ น การควบคุ ม พื ช โดยชี ว วิ ธี ( biological control หรื อ
biocontrol) โดยอาศัยการเลียนแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่น การควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้นมีการ
เลียนแบบการล่าเหยื่อ (predation) (+, -) และภาวะปรสิต เช่น กรณีของตัวห้ำ ตัวเบียน
ตัวห้ำ (predator) คือสัตว์หรือแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นผู้ล่า จะกัดกินศัตรูพืชหรือเหยื่อ (prey) เป็นอาหาร โดยมัก
มีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อหรือมีอวัยวะพิเศษใช้ในการจับเหยื่อ ตัวห้ำ 1 ตัวสามารถกินเหยื่อได้วันละหลายตัว หลายชนิด
และหลายระยะการเจริญเติบโต ดังภาพที่ 3
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |6

ตัวเบียน (parasite) คือสัตว์หรือแมลงขนาดเล็กที่ดำรงชีวิตอยู่บนตัวหรือในตัวแมลงอาศัย (host) ชนิดอื่นที่


มีขนาดใหญ่กว่า โดยกินอาหาร อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ ทำให้แมลงอาศัยตายในที่สุด การเข้าทำลายมักเจาะจง โดย
เฉพาะตัวเบียนเพศเมียเท่านั้นที่จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในแมลงอาศัย ดังภาพที่ 4

ปัจจัยภายใน คือเป็นปัจจัยที่สร้างจากพืชแล้วมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเอง ซึ่งสารที่พืชสร้างแล้วมีผล


ต่อการเจริญของพืช เรียกว่า ฮอร์โมนพืช
ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone) คือสารอินทรีย์ที่พื ชสร้างขึ้น เองตามธรรมชาติในบริเวณอวัยวะหรือ
เนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืชในปริมาณน้อยมาก แล้วมีการเคลื่อนย้ายสารดังกล่าวไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย เพื่อส่ง
สัญญาณในการเริ่มกระบวนการสร้าง ควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของพืช ทั้งด้านการเจริญเติบโตการงอกของ
เมล็ด การออกดอกออกผล และการผลัดใบ รวมไปถึงการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืชนั้นๆ อีก
ด้วย
เห็นได้ว่าพืชสร้างฮอร์โมนขึ้นน้อยมาก ดังนั้นการสกัดสารฮอร์โมนออกมาจากต้นพืช จึงเป็นเรื่องยากและไม่
คุ้มค่า จึงได้มีการวิจัยค้นคว้าและสังเคราะห์สารต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนตามธรรมชาติขึ้นมา เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ แ ทน ดั ง นั้ น จึ งมี ก ารบั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ขึ้ น ใหม่ คื อ สารควบคุ ม การเจริ ญ เติ บ โตของพื ช (Plant growth
regulators) ซึ่งหมายถึงฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
ทางสรีรวิทยาของพืชได้

สรุป ความแตกต่างระหว่างฮอร์โมนพืช VS สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช


ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |7

สมบัติของสารควบคุมการเติบโตของพืช (The Properties of Plant Growth Regulator)

1. เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติ หรือเป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ
2. ปริมาณที่ใช้น้อยมากเพื่อควบคุมการเติบโตและพัฒนาของพืช
3. ปริมาณความเข้มข้นที่ใช้อาจจะเป็นแบบกระตุ้นหรือแบบยับยั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อและช่วงอายุ
ของพืช
4. ไม่ใช่ธาตุอาหารของพืช
5. เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยมีแฟคเตอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมภายนอก
และกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์

ฮอร์โมนพืช มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ

ภาพแสดงตำแหน่งที่สร้างฮอร์โมนพืชชนิดต่างๆ
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |8

1. auxin

การศึกษาเกี่ยวกับออกซิน
Charles Darwin ได้ทำการศึกษาส่วนปลายยอดอ่อน (coleoptile) ของต้นอ่อนของหญ้า (grass seedlings)
พบว่าส่วน coleoptile จะโค้งเข้าหาแสงเสมอ เมื่อเขาตัดส่วนปลายยอดอ่อนทิ้งพบว่าต้นหญ้าจะเจริญตั้งตรง เมื่อเขา
เอากระดาษทึบแสงมาหุ้มส่วนปลายยอดไว้พบว่าลำต้นเจริญตั้งตรง เมื่อเอากระดาษใสมาหุ้มส่วนปลายยอดไว้พบว่าลำ
ต้นเจริญโค้งเข้าหาแสง หรือนำกระดาษทึบแสงหุ้มส่วนต้นอ่อนตรงโคนพบว่าลำต้นโค้งเข้าหาแสงเช่นเดียวกัน

Darwin สรุปว่า ส่วนปลายยอดจะตอบสนองต่อแสงโดยโค้งงอเข้าหาแสง โดยส่วนที่อยู่ถัดปลายสุดของยอดจะเกิด


การเติบโตตอบสนองต่อแสง โดยมีสัญญาณส่งผ่านจากปลายสุดของยอดลงมาตรงส่วนที่เกิดการเติบโตของยอด ซึ่ง
สัญญาณนี้เขาเรียกว่า growth factors of plants ซึ่งเป็นการพบฮอร์โมนพืชครั้งแรก

หลังจากนั้น Peter Boysen-Jensen นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ค ทำการทดลองโดยตัดปลายยอดออกแล้ว


นำเอาแผ่นวุ้นมาวางคั่นไว้ระหว่างปลายยอดและส่วนยอดที่เหลือพบว่าต้นอ่อนของหญ้าเจริญโค้งเข้าหาแสง (แผ่นวุ้น
ยอมให้สารเคมีแพร่ผ่านได้) เมื่อเขาเอาแผ่นแร่ไมก้ามาวางแทนที่แผ่นวุ้นพบว่าต้นอ่อนของหญ้าเจริญตั้งตรงไม่โค้งเข้า
หาแสง (แผ่นแร่ไมก้า mineral mica สารเคมีแพร่ผ่านไม่ได้) เขาสรุปว่าสัญญาณที่ปลายสุดของยอดส่งลงมาแล้วทำให้
ส่วนยอดเจริญโค้งเข้าหาแสงนั้นเป็นสารเคมีที่เคลื่อนที่ได้ ดังแผนภาพด้านล่าง

ภาพแสดงการทดลองของ Charles Darwin และ Peter Boysen-Jensen

เพิ่มเติม จากรูปภาพด้านบน ถ้าให้แสงทางด้านขวา


หญ้าต้นที่ 1 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร…………………………………………………………………………………………….
หญ้าต้นที่ 3 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร……………………………………………………………….……………………………
หญ้าต้นที่ 5 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร……………………………………………………………………………………….……
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช |9

ต่อมา Peter Boysen-Jensen ทำการศึกษาต่อพบว่าปลายสุดของยอดอ่อนจะสร้างและปล่อย สารออกมาใน


ปริมาณที่เท่ากันไม่ว่าจะมีแสงหรือไม่มีแสงก็ตาม แต่เมื่อมีแสง สารนี้จะแพร่หนีจากด้านที่โดนแสงไปอยู่ด้านที่ไม่โดน
แสง และสารนี้ไปกระตุน้ ให้เซลล์เติบโต ส่วนด้านที่โดนแสงการเติบโตของเซลล์ลดลงเนื่องจากปริมาณของสารนี้ใน
ปริมาณน้อย และได้ตั้งชื่อสารเคมีตัวนี้ว่า auxin มาจากภาษากรีก Greek auxin ซึ่งแปลว่า “การเพิ่มขึ้น “to
increase” หมายถึงการเติบโต

ภาพแสดงการบทบาทของแสงที่มีผลต่อการลำเลียงออกซิน

สรุป ออกซินสร้างมากบริเวณ....................................... ทิศทางการลำเลียง................................


มีผลทำให้เซลล์...........................................................................................

บทบาทของออกซิน auxin

การตอบสนองระดับเซลล์

1. ออกซินทำให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ (Cell enlargement) เช่น ทำให้เกิดการขยายตัวของใบ ทำ


ให้ผลเจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกำจัดแหล่งของออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล
จะทำให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต

ภาพแสดงผลของออกซินต่อขนาดผลของสตอเบอร์รี่

2. ออกซินทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบางกรณี เช่น กระตุ้นให้เกิดท่อน้ำ (xylem) และท่ออาหาร


(Pholem)
3. ออกซินกระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชำพืช เช่น การใช้ IBA ในการเร่งรากของกิ่งชำ
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 10

ภาพแสดงผลของออกซินต่อขนาดผลของสตอเบอร์รี่

4. ออกซินกระตุ้นให้เกิดแคลลัส (Callus) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์
แคลลัส คือ เซลล์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และยังไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะชนิดต่างๆ
ภาพแสดงแคลลัส (Callus) ของพืช
การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น
1. การโค้งเข้าหาแสงของพืช (Phototropism)
2. การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต (Apical Dominance)

ภาพแสดงการเกิด (Apical Dominance)


3. ช่วยชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล
4. ควบคุมการเจริญเติบโตของผล เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ บวบ เมื่อพ่นด้วยออกซินในปริมาณที่พอเหมาะ
จะทำให้รังไข่เจริญเป็นผลได้โดยไม่มีการปฏิสนธิ (Parthenocarpic fruit)
5. ออกซินสามารถทำให้สัดส่วนของดอกตัวเมีย และตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมียมาก
ขึ้น
6. ออกซินบางชนิดใช้เป็นยาปราบวัชพืชได้ เช่น 2-4, D
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 11

2. cytokinin

ในพืชไซโทไคนินสร้างมากที่เนื้อเยื่อเจริญปลายราก และสามารถสร้างได้ที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ใบอ่อน


แคมเบียม และเมล็ดที่กำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังพบในสาหร่าย ไดอะตอม และแบคทีเรียด้วย

ผลของไซโทไคนินที่มีต่อพืช

1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างสัณฐานในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยต้องใช้ร่วมกับ
ออกซิน

2. ชะลอการเสื่อมตามอายุของใบ (Delay leaf senescence)


• ใบอ่อนสามารถสร้างไซโทไคนินได้เอง และจะสร้างได้น้อยลงเมื่อ
ใบแก่ขึ้น จนกระทั่งใบมีการเสื่อมตามอายุ แต่ถ้ามีการฉีดพ่นไซ
โทไคนินให้กับใบแก่ ก็จะสามารถชะลอการเสื่อมตามอายุของใบ
ได้
3. ส่งเสริมการเจริญของตาข้าง
• ลดปรากฏการณ์ปลายยอดยับยั้งการเจริญของตาข้าง (Apical
dominance)ได้
4. ทำให้มีการขยายขนาดของเซลล์ในใบและใบเลี้ยง
• กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกในความมืดใบเลี้ยงจะเหลือง
และเล็ก แต่ถ้าหากตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโทไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่
ขยายได้ โดยที่ออกซินและจิบเบอเรลลินก็สามารถทำให้เกิดผล
เช่นกันได้ แต่กลไกมีความแตกต่างกัน
5. ทำให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้น
• เมล็ดที่งอกในความมืดจะสร้างต้นกล้าพิเศษ (etiolated seedling) คลอโรพลาสต์จะพัฒนาเป็น etioplasts
ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่มีเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
• ถ้าใบของต้นกล้าที่เติบโตในที่มืดได้รับไซโทไคนินจากภายนอก (ในสภาพมืด) ใบนั้นสามารถสร้างคลอโรพ
ลาสต์ได้
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 12

3. gibberellins

ผลของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช

1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้นในพืชแคระ

2. กระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ

3. ผลองุ่นใหญ่ขึ้นจากการที่ก้านช่อดอกยืดตัว

4.กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัว
• โดยจิบเบอเรลลินจะมีบทบาทในการกระตุ้นให้เอ็มบริโอเริ่ม
เจริญและพัฒนา ตลอดจนกระตุ้นการเคลื่อนย้ายอาหารสะสม
จากเอนโดสเปิร์มมายังเอ็มบริโอ
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 13

5. กระตุ้นการออกดอกและการกำหนดเพศของดอก
• พืชบางชนิดต้องการใช้ความเย็นกระตุ้นให้ออกดอก (Vernalization) เช่น กะหล่ำปลี แต่สามารถให้จิบเบอ
เรลลินแทนการได้รับความเย็นได้
• ในพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น แตงกวา กัญชา และผักโขมฝรั่ง เมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน จะส่งเสริมให้พืชเหล่านี้พัฒนา
ดอกเพศผู้ และสารยับยั้งกระบวนการสร้างจิบเบอเรลลินส่งเสริมการพัฒนาดอกเพศเมีย
6. ควบคุมการเปลี่ยนแปลงระหว่างระยะเยาว์วัย (Juvenile) กับระยะเจริญเต็มที่ (Mature)
• จิบเบอเรลลินมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระหว่างระยะเยาว์วัยกับระยะเจริญเต็มที่ ของพืชหลายชนิด เช่น
ต้นสน โดยชักนำให้พืชเหล่านี้เปลี่ยนจากระยะเยาว์วัยเข้าสู่ระยะเจริญเต็มที่ได้
7. กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของรังไข่ไปเป็นผลโดยไม่ต้องปฏิสนธิ
• เป็นการกระตุ้นให้เกิดผลลม (Parthenocarpic fruit) ในพืชบางชนิด เช่น องุ่น

4. ethylene

โครงสร้างของเอธิลีน
มีสูตรโมเลกุลเป็น C2H4 มีสถานะเป็นแก๊ส เบากว่าอากาศในสภาพแวดล้อมทั่วไป เป็นแก๊สที่ติดไฟและถูก
ออกซิไดซ์ง่าย

แหล่งที่สร้างเอธิลีน
• เอธิลีนเป็นฮอร์โมนที่สร้างได้จากทุกส่วนของพืช โดยเฉพาะที่ใบและดอกที่แก่กำลังจะร่วง หรือผลที่กำลังสุก
• นอกจากนี้การเกิดบาดแผลและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น น้ำท่วม แห้งแล้ง อากาศหนาวเย็น จะชักนำ
ให้พืชสร้างเอธิลีนได้เช่นกัน

ผลของเอทีลีนที่มีต่อพืช
1. กระตุ้นให้ผลไม้บางชนิดสุกเร็วขึ้น
• ผลไม้บางชนิดเมื่อได้รับเอธิลีนจะมีอัตราการหายใจเพิ่มมากขึ้นก่อนการสุก เรียกว่า “Climacteric fruit”
เช่น มะเขือเทศ กล้วย ละมุด น้อยหน่า แอปเปิ้ล มะม่วง มะละกอ อะโวคาโด
• แต่ผลไม้หลายชนิดที่ไม่ตอบสนองต่อเอธิลีน ถึงแม้จะให้เอธิลีนกับผลที่แก่ แต่ก็ไม่สามารถเร่งให้ผลไม้นั้นสุกได้
เร็วขึ้น เรียกผลไม้เหล่านี้ว่า “Nonclimacteric fruit” เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม องุ่น เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ สตรอเบอ
รี เชอรี่ แตงกวา
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 14

2. เร่งให้ส่วนต่างๆ ของพืชเกิดการหลุดร่วง
• ใบ กิ่ง ก้าน ดอก ผล
• การเปลี่ยนแปลงทางด้านชีวเคมีและสัณฐานวิทยาของเนื้อเยื่อชัน้ ก่อการร่วง (Abscission layer) หรือ
บริเวณการร่วง (Abscission zone) ซึง่ เซลล์ในเนื้อเยื่อจะแยกออกจากกันจนกระทั่งส่วนต่างๆ ของพืช
สามารถหลุดร่วงออกมาได้

Abscission layer

3. ชักนำให้พืชในวงศ์สับปะรดออกดอก
• เกษตรกรจะใช้เอธิลีนในการฉีดพ่นเพื่อให้สับปะรดออกดอกพร้อมกันเพื่อช่วยในการจัดการการเก็บเกี่ยวได้
4. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา
• โดยเอธิลีนจะกระตุ้นให้น้ำยางเกิดการจับตัวกันเป็นก้อนแข็งช้าลง ทำให้น้ำยางยังคงไหลได้นานขึ้น และให้
ปริมาณน้ำยางในแต่ละครั้งของการกรีดมากขึ้น เกษตรกรจึงสามารถลดความถี่ของการกรีดยางลงได้

5. abscisic Acid
แหล่งที่สร้าง abscisic acid
• ABA สร้างได้ในใบแก่ ผลแก่ เอ็มบริโอ โดยการสังเคราะห์เกิดในคลอโรพลาสต์ ดังนั้น ใบ ลำต้น และผลไม้สี
เขียวจึงสังเคราะห์ ABA ได้ เมื่อเกิดการสังเคราะห์ ABA แล้วจะเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ส่วนอื่นๆ และไประงับ
การเจริญที่บริเวณนั้น
• เป็นสารเคมีที่เป็นสัญญาณให้พืชเข้าสู่ การเสื่อมตามอายุ (Senescence)
• สร้างมากเมื่อพืชอยู่ในภาวะเครียด เช่น การขาดน้ำ ขาดอาหาร น้ำท่วม จะกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ ABA
เพิ่มขึ้น
ผลของ abscisic acid ที่มีต่อพืช

1. กระตุ้นการพักตัวของเมล็ด ในเมล็ดที่กำลังพัฒนาจะมีการสร้าง ABA ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการสร้างโปรตีนที่ทำให้


เอ็มบริโอสามารถทนทานต่อการขาดน้ำได้ และเข้าสู่ระยะพักตัวของเมล็ดต่อไป
2. กระตุ้นให้เกิดการพักตัวของตา ซึ่งจะเกิดกับพืชเขตอบอุ่น พบว่าเมื่อให้ ABA กับตาที่กำลังเจริญเติบโต จะทำให้
ตาชะงักการเจริญเติบโตและเข้าสู่การพักตัวตามปกติ
3. ลดการคายน้ำโดยกระตุ้นให้ปากใบปิด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิต่ำ ดิน
เค็ม และการขาดน้ำ โดยการทำให้พืชเกิดการปิดปากใบเพื่อลดการคายน้ำ
4. เร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของใบ โดยการกระตุ้นให้เกิดการแก่ และหลุดร่วงของใบได้
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 15

การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม

การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายวิธี แต่การตอบสนองที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือ การเคลื่อนไหว


(movement) รูปแบการตอบสนองของพืชสามารถสรุปได้ดังแผนภาพด้านล่าง

การเคลื่อนไหวของพืช แบ่งเป็น 2 แบบ คือ


1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต (Growth movement)
2. การเคลื่อนไหวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor movement)

การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต (Growth movement)

เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้พืชเกิดการแบ่งเซลล์ เพิ่มจำนวนเซลล์ และขยายขนาดของ


เซลล์ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่ที่จำเพาะต่อไป เกิดจากสิ่งเร้า 2 แบบคือ
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 16

1. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก (Stimulus movement)

1.1 แบบมีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า 1.2 แบบมีทิศทางที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า


(Tropic movement) (Nastic movement)
1. Phototropism (แสง) การตอบสนองแบบนี้จะมีทิศทางคงที่
ปลายยอดเจริญเข้าหาแสง คือ การเคลื่อนขึ้นหรือลงเท่านั้น ไม่ขึ้นกับ
ปลายรากเจริญหนีแสง ทิศทางของสิ่งเร้า เช่น การหุบบานของ
2. Gravitropism (แรงโน้มถ่วง) ดอกไม้
ปลายรากเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วง
ปลายยอดเจริญหนีแรงโน้มถ่วง
3. Chemotropism (สารเคมี)
การงอกของหลอดเรณูไปยังรังไข่ของพืช
โดยมีสารเคมีที่รังไข่สร้างเป็นสิ่งเร้า
4. Hydrotropism (น้ำ)
การบานของดอกไม้ epinasty
รากของพืชจะงอกไปสู่ที่มีความชื้นเสมอ
การหุบของดอกไม้ hyponasty
5. Thigmotropism (การสัมผัส)
เป็นการตอบสนองของพืชบางชนิดต่อการ
สัมผัส เช่น การเจริญของมือเกาะ
(tendril)

2. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายใน (Autonomic movement)

สิ่งเร้าภายในจำพวกฮอร์โมนโดยเฉพาะออกซิน ทำให้การเจริญของลำต้นทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ได้แก่


• Nutation movement เคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะส่วนยอด ส่วนมากพบในพืชตระกูลถั่ว
• Spiral movement เป็นการเคลื่อนไหวที่ปลายยอดค่อยๆ บิดเป็นเกลียวขึ้นไป เช่น เถาวัลย์
อัญชัน มะลิวัลย์
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 17

การเคลื่อนไหวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor movement)

1. Contact movement
• ไมยราบ บริเวณโคนก้านใบและโคนก้านใบย่อยจะมีกลุ่มเซลล์ เรียกว่า พัลไวนัส (pulvinus)
เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และผนังเซลล์บาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น

2. Sleep movement
• เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงของพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบก้ามปู ใบ
มะขาม ใบไมยราบ ใบถั่ว ใบแค ใบกระถิน ใบผักกระเฉด เป็นต้น

3. Guard cell movement การเปิด-ปิดของปากใบขึ้นอยูก่ ับความเต่งของเซลล์คุม (guardcell)


ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 18

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย √ หน้าข้อความที่ถูกต้อง และใส่เครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง


…………..1.การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่สามารถนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีเพื่อใช้ใน
การดำรงชีวิตของพืช
…………..2.พืชต้องการน้ำ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเกิดขึ้น
ในคลอโรพลาสต์
...............3.พืชลำเลียงน้ำและธาตุอาหารผ่านโฟลเอ็ม เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ รวมทั้งกระบวนการสังเคราะห์ด้วย
แสง จากนั้นจะลำเลียงน้ำตาลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงผ่านไซเล็มเพื่อไปใช้ที่ส่วนต่างๆของพืช
……………4.น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นบางส่วนจะนำไปสังเคราะห์เป็นสารอินทรีย์หลายชนิด เช่น คาร์บอนไฮเดรต โปรตีน
ไขมัน
……………5.พืชต้องการและแสงในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยัต้องการธาตุอาหารชนิดต่างๆในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
เพื่อให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
2. จงเขียนสมการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

3. สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง และสารอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดย
มีความสำคัญต่อพืชอย่างไร และตัวอย่างของสารอินทรีย์ในแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………..
4. การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดนโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้ดิน นักเรียนคิดว่าการปลูกพืชด้วยวิธีนี้ต้องมีการควบคุม
ปัจจัยภายนอกใดบ้างเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
5. จงระบุชนิดของฮอร์โมนให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่มีต่อพืชต่อไปนี้
• Hormone พืชกลุ่มใดที่ช่วยในการเจริญเติบโต………………………………………………………………………………………
• Hormone พืชกลุ่มใดที่เร่งการเสื่อมของพืช เป็นฮอร์โมนแห่งความแก่ชรา……………………………………………….
• Hormone พืชกลุ่มใดนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ…………………………………………………..……………….
• Hormone พืชกลุ่มใดชะลอการหลุดร่วงของใบ……………………………………………………………………..……………..
• Hormone พืชกลุ่มใดกระตุ้นการหลุดร่วงของใบ…………………………………………………………………..………………
• Hormone พืชกลุ่มใดกระตุ้นการงอกของเมล็ดพักตัว………………………………………………………………..………….
• Hormone พืชกลุ่มใดยับยั้งการงอกของเมล็ดพักตัว………………………………………………………………………………
ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช | 19

6. สารควบคุมการเจริญของพืชคืออะไร และมีความสำคัญต่อพืชอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………..
7. การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในทางการเกษตร มีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งผลต่อพืชอย่างไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
8. ยกตัวอย่างการตอบสนองที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า และการตอบสนองที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้ามาอย่างละ 3
ตัวอย่าง และอธิบายความสำคัญที่มีต่อพืช
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………..
9.ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารอินทรีย์ที่พืชบางชนิดสร้างขึ้นในด้านเภสัชกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………..
10. ถ้าต้องการปลูกพืชกินใบ เช่น ใบโหระพา กระเพราให้ได้ใบจำนวนมากและสมบูรณ์ควรให้ปุ๋ยที่เน้นธาตุอาหารใด
เป็นหลัก
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
.

You might also like