Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

เอกสารประกอบการนําเสนอกรณีศึกษาการปฏิบตั ิงานเภสัชกรรมชุมชน ครั้งที่ 1

ผลัดที่ 8 วันที่ 30 มกราคม – 10 มีนาคม 2566


จัดทำโดย นาย อรรณพ บุญยิ่ง รหัส 56211035
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Patient’s profile
6/2/2566 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุประมาณ 40 ปี
CC : มีอาการแสบคอ เป็นมา 1 วัน ส่องคอพบว่าคอมีจุดหนอง มีอาการไอ และน้ำมูกร่วมด้วย ยังไม่ได้ใช้ยารักษามาก่อน
PMH : 1 เดือนก่อนหน้า เคยมีอาการแบบเดียวกัน ไปคลินิกได้รับยา Roxithromycin 150 mg สำหรับ 5 วัน กิน 3 วัน
อาการดีขึ้น กินยาต่อจนครบ 5 วัน และได้รับ Nasotap (Brompheniramine maleate 4 mg + Phenylephrine
hydrochloride 10 mg) 1*1 HS
All : ไม่มีประวัติแพ้ยา
SH : บริเวณบ้านมีการเผาหญ้า ทุกครั้งที่ได้กลิ่นเผาไหม้อาการไอแย่ลง
FH : -
MED : -
การรักษาที่ได้รับ : Azithromycin 250 mg 2 tab at day 1 then 1 tab OD for 5 day
Cetirizine 10 mg 1*1 PC
Methopine (Dextromethorphan HBr 15 mg, Glyceryl Guaiacolate 100 mg,Terpin Hydrate
130 mg)1*3 PC
Problem 1
Recurrent pharyngitis
Subjective data
CC : มีอาการแสบคอ เป็นมา 1 วัน ส่องคอพบว่าคอมีจุดหนอง มีอาการไอ และน้ำมูกร่วมด้วย ยังไม่ได้ใช้ยารักษามาก่อน
PMH : 1 เดือนก่อนหน้า เคยมีอาการแบบเดียวกัน ไปคลินิกได้รับยา Roxithromycin 150 mg สำหรับ 5 วัน กิน 3 วัน
อาการดีขึ้น กินยาต่อจนครบ 5 วัน และได้รับ Nasotap (Brompheniramine maleate 4 mg + Phenylephrine
hydrochloride 10 mg) 1*1 HS
All : ไม่มีประวัติแพ้ยา
SH :
FH : -
MED : -
Objective data
-
การรักษาที่ได้รับ
Azithromycin 250 mg 2 tab at day 1 then 1 tab OD 5 for 5 day
Cetirizine 10 mg 1*1 PC
Methopine 1*3 PC
Assessment
การวินิจฉัยแยกโรค Recurrent pharyngitis หรือ โรคคออักเสบเฉียบพลันเกิดจากเยื่อบุภายในคออักเสบทําให้มีอาการเจ็บ
คอ ซึ่งอาการเจ็บคอ คือ ภาวะที่รสู้ ึกไม่สบายคอหรือระคายเคืองที่คอ สาเหตุของ pharyngitis สามารถแบ่ง ออกเป็น 2
ประเภทหลักๆ คือ
1. เกิดจากการติดเชื้อโดยส่วนมากเกิดจากไวรัส รองลงมาคือ แบคทีเรียในกลุ่ม Group A streptococcus (GAS) ที่มลี ักษณะ
ทรงกลมติดสีแกรมบวกที่มีการเรียงตัวเป็นสาย colony ของเชื้อบน blood agar จะให้ลักษณะ β-hemolysis ซึ่งพบได้ 5-
15% ในผู้ใหญ่ และ 20-30% ใน เด็ก ซึ่งนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม คือ ไข้รูมาติก
(rheumatic fever) หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (acute glomerulonephritis) ไซนัสอักเสบ หรือ โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ
(sinusitis) เนื้อเยื่ออักเสบบริเวณต่อมทอนซิลและคอหอย (tonsillopharyngeal cellulitis) และหูชนั้ กลาง อักเสบ (otitis
media) เป็นต้น
2.ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การสูบบุหรี่, บุหรีม่ ือสอง, โรคกรดไหลย้อน, สารก่อภูมิแพ้และอากาศที่เย็นชื้น1,2
สาเหตุของ Pharyngitis

สาเหตุของ Pharyngitis เปอร์เซ็นต์ที่พบ ตัวอย่างตามสาเหตุ

แบคทีเรียที่พบบ่อย 15 Group A streptococci


Group C streptococci
Group G streptococci
H.influenzae
S.pneumoniae
S.aureus
แบคทีเรียที่สาเหตุได้น้อย <5 C.pneumoniae
M.pneumoniae
C.diphtheriae
Fusobacterium necrophorum
N.gonorrheae
F.tularensis
สาเหตุ Acute pharyngitis เปอร์เซ็นต์ที่พบ ตัวอย่างตามสาเหตุ
ไวรัส 50 Rhinovirus
Adenovirus
Influenza A and B
Parainfluenza
Coxsackievirus
Coronavirus
Echovirus
Herpes simplex virus
ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 30 เช่น การสูบบุหรี่, การสูบบุหรีม่ ือสอง, โรคกรด
ไหล ย้อน , สารก่อภูมิแพ้และอากาศที่เย็นชื้น

การวินิจฉัย Group A streptococcus (GAS) กรณี acute pharyngitis จาก Group A streptococcus (GAS) มีความ
จําเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ เพราะการที่ใช้ต้านจุลชีพจะช่วยลดระยะเวลา, ความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น
ต้องทําการ วินิจฉัยโรคและแยกสาเหตุออกให้ได้โดยผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บคอต้องมีการสังเกตอาการที่รุนแรง (Dangerous
conditions) ที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อก่อโรคอื่น ๆ3-5 ต้องพิจารณาส่งต่อโรงพยาบาลทันทีคือ
1. Epiglottitis เป็นอาการอักเสบของกล่องเสียงโดยผู้ป่วยจะมาด้วยอาการเจ็บคอ, กลืนเจ็บ, มีไข้ (อุณหภูมิอย่างน้อย
37.5°C), เสียงพูดคล้ายอมวัตถุอยูใ่ นลำคอ (muffled voice), น้ำลายไหลยืด (drooling), และ เสียงแหบ (Hoarseness) อาจ
เกิดจากแบคทีเรีย (H. infuenzae, Streptococcus, Staphylococcus), ไวรัส หรือ เชื้อราบางชนิด. การรักษาต้องระวังการ
เกิด การอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างกะทันหัน6
2. Peritonsillar abscess เป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล มาด้วยอาการเจ็บคอ, มีไข้ (อุณหภูมิอย่างน้อย 37.5°C), มี
hot potato voice, เสียงพูดคล้ายอมวัตถุอยู่ในลำคอ (muffled voice) และปวดหู สามารถเกิดได้จากเชื้อ Streptococcus
pyogenes, และ Staphylococcus aureus7
3. Submandibular space infections (Ludwig's angina) เป็นการอักเสบติดเชื้อรุนแรงของ เนื้อเยื่อในโพรงใต้คางโดยมี
อาการไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลีย ใต้คางอักเสบติดเชื้อทั้ง 2 ข้าง บริเวณลำคอ ด้านหน้าอาจบวมแดง กดเจ็บ หากเป็นมากใต้
ลิ้นจะมีอาการปวดและอาจบวมมากจนลิ้นถูกดันขึ้นไปชิดกับ เพดานปากทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เกิดอาการหายใจ
ลําบาก หายใจเร็วและหอบเหนื่อย8
4. Retropharyngeal space infections เป็นการอักเสบในช่องว่างหลังคอหอย (retropharyngeal spaces) และ ช่องว่างที่
อยู่เนื้อเยื่อที่อยู่หน้าต่อกระดูกสันหลัง (prevertebral spaces) ปัจจัยเสีย่ งมาจาก nasopharyngitis otitis media
parotitis, tonsillitis peritonsillar abscess dental infection และถอนฟัน , ludwig’s angina, การใส่ upper airway
instrumentation, การกลืนติดกระดูกไก่ หรือก้างปลาที่คอ, กลืน สารระคายเคือง, vertebral fracture, การติดเชื้อที่แพร่มา
ทางกระเแสเลือดและมีโรคประจําตัวที่ทำให้ ภูมิคุ้มกันลดลง ซึ่งโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิดทั้ง aerobic และ
anaerobic โดยอาการจะมาด้วยอาการ เจ็บคอ, กลืนลําบาก, กลืนน้ำลายไม่ได้, muffed voice, ไข้และเจ็บคอ หรืออาจคอ
แข็ง, อ้าปากลําบาก9
5. Primary HIV จะเป็นลักษณะ mucocutaneous ulceration อาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลือง
โต และอาจเกิดผื่นตามลําตัว เมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการ Dangerous conditions ให้พิจารณาดังต่อไปนี้ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการไข้แต่
มี อาการไอและมีอาการเจ็บคอพิจารณาสาเหตุไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การสูบบุหรี่, การสูบบุหรี่มือสอง, โรค กรดไหล
ย้อน , สารก่อภูมิแพ้และอากาศทีเ่ ย็นชื้น10
พิจารณาว่าเกิดคออักเสบโดยใช้ Centor criteria ซึ่งใช้เฉพาะในผู้ใหญ่ หากคะแนน 0-1 คะแนนไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ
ขณะที่คะแนน 3-4 คะแนนควรเริม่ ใช้ยาต้านจุลชีพ กรณีคะแนนได้เท่ากับ 2 คะแนนพิจารณาว่าหากอายุน้อย กว่า 15 ปีควร
เริ่มใช้ยาต้านจุลชีพ
Centor criteria สำหรับโรคคออักเสบ

Centor criteria คะแนน


ต่อมทอนซิลบวม หรือ มีจุดหนอง 1
ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรหน้าบวมโต 1
มีไข้ (>38oC) 1
ไม่มีอาการไอ 1
หากมีอาการร่วมเหล่านีพ้ ิจารณา
ส่งผูป้ ่ วยไปโรงพยาบาล

-มีไข้

-กลืนเจ็บ

-เสียงแหบ, เสียงคล้ายอมวัตถุอยู่
เจ็บคอ
ในลาคอ

-นา้ ลายไหลยืด

-คางบวม
ผูป้ ่ วยไม่มีไข้แต่ไอ

ใช่ ไม่ใช่
สาเหตุไม่ได้เกิดจากการติดเชือ้ Centor criteria การใช้ ATB
เช่น การสูบบุหรี่, บุหรี่มือสอง, คะแนน 0-1 ไม่จาเป็ น
กรดไหลย้อน และ อากาศที่เย็น คะแนน 2 จาเป็ นเมื่ออายุนอ้ ยกว่า
ชืน้ 15 ปี
คะแนน 3-4 จาเป็ น

การรักษา Pharyngitis การรักษาโรคคออักเสบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


1. การรักษาการติดเชื้อโดยใช้ยาต้านจุลชีพ
2.การใช้ยารักษาตามอาการเป็นยาใช้เฉพาะที่ เช่น ลูกอมแก้เจ็บคอ,ยาพ่นคอ นอกจากนี้ยังมีการใช้ NSAIDs
corticosteroids และสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในกรณีไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อให้พิจารณารักษาตามอาการ
การกําจัดเชื้อ Group A streptococcus (GAS) การติดเชื้อ Group A streptococcus (GAS) โดยทั่วไปสามารถหายได้
เองใน 2-5 วัน ในกรณีผู้ป่วย ได้รบั ยาต้านจุลชีพอาการจะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น
tonsillopharyngeal cellulitis ระยะเวลาที่จะหายเองใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์ดังนั้นการที่ใช้ต้านจุลชีพจะช่วยลดระยะเวลา
, ความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาข้างต้น
โดยยาต้านจุลชีพสำหรับรักษา Group A streptococcus (GAS) สามารถเลือกใช้ penicillin, cephalosporins,
macrolides หรือ clindamycin ได้ขณะที่ sulfonamides, fluoroquinolones และ tetracyclines ไม่แนะนําให้ใช้เพราะ
อัตราการดื้อยาค่อนข้างสูงและอัตราการล้มเหลว สูงในการรักษาการติดเชื้อบริเวณคอหอย การดื้อยาต้านจุลชีพยัง ไม่พบ
หลักฐานว่าเชื้อเกิดการดื้อยากลุ่ม penicillin เนื่องจากเชือ้ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลง penicillin-binding proteins ทำให้
โอกาสดื้อค่อนข้างน้อย11
การเลือกยาต้านจุลชีพใน Group A streptococcus (GAS) Penicillin V ควรเป็นยาอันดับแรกเพราะมี
ประสิทธิภาพและปลอดภัย ราคาถูก โดยระยะเวลา ในการรักษาควรใช้ 10 วัน amoxicillin รสชาติทดี่ ีกว่า และดูดซึมดีกว่า
ในขณะที่ amoxicillin-clavulanate ไม่ควรใช้เป็นลำดับแรกแม้ว่ามีประสิทธิภาพดีกต็ าม แต่ควรใช้ในกรณี acute
recurrent tonsillitis12-13
ระยะเวลาในการใช้ยาต้านจุลชีพและขนาดยายาต้านจุลชีพ โดยทัว่ ไปต้องใช้เวลาถึง 10 วันถึงจะกําจัดเชื้อ
Group A streptococcus (GAS) และป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน จากเชื้อได้แม้ว่าอาการผู้ป่วยจะหายภายใน 2 วันก็ตาม โดย
พบว่าการหยุดยา penicillin หลังจากรักษาไป 3 วันผู้ป่วยจะกลับมาเป็นซ้ำมากกว่ากลุ่มที่ใช้ไป 7 วัน คือ 50% และ 34%
ตามลำดับ65,65 สำหรับ cefpodoxime หรือ cefdinir พบว่าการใช้ยาเพียง 5 วัน มีประสิทธิภาพในการรักษา GAS เทียบเท่า
กับการรักษาpenicillin จำนวน 10 วัน นอกจากนี้สามารถใช้ ceftriaxone แบบฉีด จำนวน 3 เข็ม ติดต่อกัน 3 วัน หรือ
สามารถให้เป็นวันเว้นวันขณะที่ cephalosporin ตัวอื่น ๆต้องรักษา 10 วัน การติดตาม อาการหลังใช้ยาต้านจุลชีพโดยทั่วไป
อาการผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 2-4 วันโดยพบว่าผูป้ ่วยสามารถกลับไปทำงาน ตามปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากอาการไข้
เริ่มลดลง ในส่วน amoxicillin-clavulanate ไม่ควรใช้เป็นลำดับแรกแม้ว่ามีประสิทธิภาพดีก็ตาม แต่ควรใช้ในกรณี acute
recurrent tonsillitis14
ขนาดยายาต้านจุลชีพที่ใช้กําจัดเชื้อ15-16

ขนาดยาในผู้ใหญ่
Penicillin V 500 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
Amoxicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน
Cephalexin 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน
กรณีผู้ป่วยที่แพ้ยา Penicillin
Azithromycin 500 มิลลิกรัม ในวันแรก ตามด้วย 250 mg ในวันที่ 2-5
Clarithromycin 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
Clindamycin 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน

ยาที่ใช้รักษาตามอาการ (Supportive Therapy)17-18 ส่วนมากจะเป็นยาใช้เฉพาะที่ (topical/local therapies)


นอกจากนี้ยังมีการใช้ NSAIDs และ Corticosteroids ร่วมด้วย และกรณีสารก่อภูมิแพ้และ อากาศที่เย็นชื้น ควรได้รับ
Antihistamine ร่วมด้วย
สาเหตุ : อาจเกิดจากเชื้อ H.influenzae, S.pneumoniae, C.pneumoniae, M.pneumoniae, C.diphtheriae, S.aureus,
M.Catarrhalis
ปัจจัยเสี่ยง : -
ความรุนแรง : Moderate จาก 3 ใน 4 อาการของ Centor criteria
ประเมินการรักษา :

Penicillin V Amoxicillin Amoxicillin Cephalexin Azithromycin Clarithromyci Clindamycin


+clavulanic n
acid
Indication Bacterial Pharyngitis
Efficacy22 Gram + Gram + Gram + Gram + Gram + Gram + Gram +
1.Streptococc 1.Streptococc 1.E.faecalis 1.S.aureus 1.S.epidermidi 1.S.epidermidi 1.S.aureus
us gr.A-G us gr.A-G 2.S.Aureus 2.S.epidermidis s s 2.S.epidermidi
2.S.pneumoni 2.S.pneumoni 3.s.epidermid 3.S.saprophytic Gram – Gram – s
ae ae is us 1.H.influenza 1.H.influenza 3.S.saprophyti
3.Peptostrept 3.L.monocyto 4.S.saprophyt 4.Streptococcu 2.M.catarrhali 2.M.catarrhali cus
ococcus genase icus s gr.A-G s s 4.Streptococc
Gram – 4.Peptostrept 5.Streptococ 5.S.pneumonia 3.Legionella 3.Legionella us gr.A-G
1.P.multicida ococcus cus gr.A-G e spp. spp. 5.S.pneumoni
Gram – 6.S.pneumon 6.V.streptococ 4.N.gonorrhoe 4.C.trachomat ae
1.P.multicida iae ci ae is 6.Peptostrept
7.L.monocyt 7.Peptostrepto 5.P.multicida 5.Chamydoph ococcus
ogenes coccus 6.T.pallidum ila spp.
8.Peptostrept 7.C.trachomat 6.M.pnemonia
ococcus is e
Gram – 8.Chamydoph
1.B.fragilis ila spp.
2.E.coli 9.M.pnemonia
3.K.pneumon e
iae
4.
H.influenza
5.M.catarrhal
is
6.P.multicida
Safety Allergic Convulsion Diarrhoea, Acute Myasthenia Hepatic Leucopenia,
reactions, (high doses), Haemolytic intravascular gravis, dysfunction, agranulocytosi
anaphylaxis. prolonged anaemia, haemolysis, Deafness, Dia Exacerbation, s, Diarrhoea,
GI prothrombin Nausea, prolonged rrhoea, Abdominal abdominal
disturbances, time, vomiting prothrombin vomiting, pain, pain, nausea,
glossitis, Headache, time, abdominal diarrhoea, vomiting
coagulation & dizziness Abdominal pain, nausea nausea,
blood pain, vomiting
disorder diarrhoea,
dyspepsia
Adherence Penicillin V Amoxicillin Amoxicillin Cephalexin Azithromycin Clarithromyci Clindamycin
500 มิลลิกรัม 500 มิลลิกรัม +clavulanic 500 มิลลิกรัม วัน 500 มิลลิกรัม n 250 มิลลิกรัม 300 มิลลิกรัม
วันละ 2-3 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง acid 875 ละ 2 ครั้ง เป็น ในวัน แรก ตาม วันละ 2 ครั้งเป็น วันละ 3 ครั้งเป็น
เป็นเวลา 10 วัน เป็นเวลา 10 วัน mg/125 mg เวลา 10 วัน ด้วย 250 mg เวลา 10 วัน เวลา 10 วัน
วันละ 2 ครั้ง ในวันที่ 2-5
เป็นเวลา 10
วัน

ผู้ป่วยได้คะแนนจาก Centor criteria 3 คะแนน จึงควรได้รับ Antibiotic ผู้ป่วยได้รับ Azithromycin 250 mg 2 tab at
day 1 then 1 tab 5 day ซึ่งครอบคลุมเชื้อที่สงสัย 4 ชนิด จึงเหมาะสมสำหรับ Bacterial pharyngitis ที่เกิดจากเชื้อ
S.epidermidis, H.influenza, M.catarrhalis, M.pnemoniae เนือ่ งจากผู้ป่วยเคยใช้ยาในกลุม่ Macrolide มาก่อนแล้ว
ตอบสนองต่อยาได้ดีการใช้ Azithromycin ในการรักษาจึงเหมาะสม สำหรับการรักษาตามอาการ ได้รบั Methopine 1*3 PC
ลดน้ำมูกเสมหะ ได้รับ Cetirizine 10 mg 1*1 PC เหมาะสมในการรักษาตามอาการ และเนื่องจากอาการนำของผู้ป่วยคือ
แสบคอจึงพิจารณาว่าผูป้ ่วยควรได้รับยาอม lozenge หรือ mouth spray ร่วมด้วย1-2,15-16
การใช้ยารักษาตามอาการ

Lozenge อาการไม่พึงประสงค์ ประสิทธิภาพใน การลด sore throat ตัวอย่างผลิตภัณฑ์


จาก Lozenge
Ambroxol การรับรสที่ลิ้น มีประสิทธิภาพใน การลด sore throat Strepsils Chesty
lozenges17-18 เปลี่ยนแปลง ที่เวลา 30 นาที Cough®
Benzocaine อาจมีอาการคลื่นไส้ มีประสิทธิภาพใน การลด sore throat Sigatricin®
lozenges21 อาเจียน ที่เวลา 2 ชั่วโมง
Amylmetacresol19 ไม่มรี ายงาน มีประสิทธิภาพใน การลด sore throat Strepsils®
ที่เวลา 5 นาที
Flurbiprofen20 Hypersensitivity มีประสิทธิภาพใน การลด sore throat Strepsils
ที่เวลา 3- 4 ชั่วโมง Maxpro®

Plan :
แผนการรักษา
Azithromycin 250 mg 2 tab at day 1 then 1 tab 5 day
Methopine TID
Cetirizine 10 mg OD
Ambroxol lozenges prn

เป้าหมายการรักษา ลดอาการแสบคอ ไอ และหายจากคออักเสบ


การติดตามประสิทธิภาพ หนองที่ช่องคอหายไป อาการไอและแสบคอหายไป
การติดตามความปลอดภัย Allergic reactions, anaphylaxis, GI disturbances
การให้คำแนะนำ แนะนำการใช้ยาอมลดอาการเจ็บคอร่วมด้วยเพื่อลดอาการเจ็บคอ และแนะนำให้หลีกเลีย่ งควันจากการเผา
ขยะบริเวณบ้าน อาจทำได้โดยการปิดหน้าต่างและประตูบ้านให้มิดชิด ใส่หน้ากากอนามัยหากต้องสัมผัสกับควันจากการเผา
ไหม้

การติดตามรักษาอาการ
วันที่ 11/02/2566 ผู้ป่วยอาการแสบคอลดลง แต่อาการไอยังคงมีอยู่แต่ลดลง ส่องคอไม่พบจุดหนองที่ลำคอแล้ว
Problem 2 Acute cough
Subjective data
CC : มีอาการไอ และน้ำมูกร่วมด้วย ยังไม่ได้ใช้ยารักษามาก่อน
PMH : 1 สัปดาห์ก่อนหน้าเริ่มมีอาการไอ
All : ไม่มีประวัติแพ้ยา
SH : บริเวณบ้านมีการเผาหญ้า ทุกครั้งที่ได้กลิ่นเผาไหม้อาการไอแย่ลง
FH : -
MED : -
Objective data
-
Assessment
การวินิจฉัยแยกโรค : อาการไอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามระยะเวลา ดังนี้

1.ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์

2.ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์

3.ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

สาเหตุของอาการไอเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (เช่น หวัด ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน


คออักเสบ กล่องเสียงอักเสบ) หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมในช่องหู จมูก
หลอดลม หรือการสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แก๊ส กลิ่นสเปรย์ ควันไฟ และมลพิษทางอากาศ เป็น
ต้น
ยาบรรเทาอาการไอ แม้ว่าการใช้ยาบรรเทาอาการไอจะเป็นการรักษาทีปลายเหตุ แต่บางครั้งก็มคี วามจําเป็น เนื่องจากอาการ
ไอ รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ยาบรรเทาอาการไอแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ .
1.ยาลดหรือระงับอาการไอ ยาอาจออกฤทธิ ทีจุดรับสัญญาณการไอส่วนปลาย หรือออกฤทธิ์ทรี่ ะบบประสาทส่วนกลางของ
สมองทีควบคุมอาการไอ ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยทีไอแห้งๆ ไม่มเี สมหะ.
2.ยาขับเสมหะ ถ้าเหตุของการไอเกิดจากเสมหะ การกระตุ้นให้ขับเสมหะออกไป จะช่วยให้อาการไอดีขึ้น โดยยาจะไปกระตุ้น
การทํางานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจในการกําจัดเสมหะ เพิ่มปริมาณสารคัดหลังในระบบ ทางเดินหายใจ ทําให้ปริมาณ
เสมหะมากขึ้น จึงไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น potassium guaiacol sulphonate, terpin
hydrate, ammonium chloride ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยทีไอแบบมีเสมหะ .
3.ยาละลายเสมหะช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทําให้รา่ งกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น เช่น ambroxol
hydrochloride, bromhexine, carbocysteine
สาเหตุ : คออักเสบ, การสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันไฟ และ มลพิษทางอากาศ
ปัจจัยเสี่ยง : ควันไฟจากการเผาไหม้
ความรุนแรง : moderate to severe เนื่องจากรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและมีตื่นนอนตอนกลางคืนมาไอ
ประเมินการรักษา :

Dextromethorphan24 Glyceryl guaiacolate25 Terpin26

Indication Acute cough


Efficacy depresses the cough increasing the effective hydration Terpin is reported to
centre in the medulla of the respiratory gland increase bronchial
oblongata secretion
Onset: 15-30 นาที
Duration: ประมาณ 3-6
ชั่วโมง
Safety Diarrhoea, gastrointestinal Hypouricaemia, Dizziness, Nausea, vomiting,
distress, stomach pain drowsiness abdominal pain.
Adherence 1*3 PC 1*3 PC 1*3 PC
Cost

เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการไอ ไม่มีเสมหะ มีน้ำมูกใสเล็กน้อย ยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์การไอในร้านยาที่มีคอื Dextromethorphan


15 mg แต่เนื่องจากผู้ป่วยไม่มเี สมหะ จึงคิดว่าการใช้ Dextromethorphan แบบไม่ผสมกับยาอื่นๆจะเหมาะสมมากกว่า
แผนการรักษา
A-Tussin (Dextromethorphan 15 mg TID
Cetirizine 10 mg OD
เป้าหมายการรักษา รักษาอาการไอ
การติดตามประสิทธิภาพ หายจากอาการไอ

การติดตามความปลอดภัย ระวังในกลุ่ม poor metabolisers of CYP2D6, Diarrhoea, gastrointestinal distress


การให้คำแนะนำ แนะนำสังเกตอาการไอว่ายังเกิดหลังจากหายจากคออักเสบอยู่หรือไม่ และหลีกเลีย่ งการสัมผัสควันไฟจาก
การเผาไหม้เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการไอแย่ลงได้ หากอาการไอยังไม่หายไปนานกว่า 2 เดือนแนะนำผู้ป่วยไปพบแพทย์
เพื่อทำการรักษา

การติดตามรักษาอาการ
วันที่ 11/02/2566 ยังคงมีอาการไออยู่แต่ลดลง ไม่มีน้ำมูก

เอกสารอ้างอิง :
1.Alcaide ML, Bisno AL. Pharyngitis and epiglottitis. Infect Dis Clin North Am 2007; 21:449.
2.Snow V, Mottur-Pilson C, Cooper RJ, et al. Principles of appropriate antibiotic use for acute pharyngitis in
adults. Ann Intern Med 2001; 134:506.
3.Gilbert GG, Pruitt BE. School health education in the ยูนติ ed States. Hygie 1984; 3:10.
4.Del Mar CB, Glasziou PP, Spinks AB. Antibiotics for sore throat. Cochrane Database Syst Rev
2006;:CD000023.
5.Shulman ST, Bisno AL, Clegg HW, et al. Clinical practice guideline for the diagnosis and management of
group A streptococcal pharyngitis: 2012 update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect
Dis 2012; 55:1279.
6.Glynn F, Fenton JE. Diagnosis and management of supraglottitis (epiglottitis). Curr Infect Dis Rep 2008;
10:200.
7.Ungkanont K, Yellon RF, Weissman JL, et al. Head and neck space infections in infants and children.
Otolaryngol Head Neck Surg 1995; 112:375.
8.Reynolds SC, Chow AW. Life- threatening infections of the peripharyngeal and deep fascial spaces of the
head and neck. Infect Dis Clin North Am 2007; 21:557
9.Reynolds SC, Chow AW. Life- threatening infections of the peripharyngeal and deep fascial spaces of the
head and neck. Infect Dis Clin North Am 2007; 21:557
10.Abdel- Haq N, Quezada M, Asmar BI. Retropharyngeal abscess in children: the rising incidence of
methicillin-resistant Staphylococcus aureus. Pediatr Infect Dis J. 2012 Jul. 31(7):696-9.
11.Casey JR, Pichichero ME. Meta-analysis of cephalosporins versus penicillin for treatment of group A
streptococcal tonsillopharyngitis in adults. Clin Infect Dis 2004; 38:1526.
12.Pichichero ME. A review of evidence supporting the American Academy of Pediatrics recommendation
for prescribing cephalosporin antibiotics for penicillin-allergic patients. Pediatrics 2005; 115:1048.
13.Randolph MF, Gerber MA, DeMeo KK, Wright L. Effect of antibiotic therapy on the clinical course of
streptococcal pharyngitis. J Pediatr 1985; 106:870
14.American Academy of Pediatrics. Group A Streptococcal Infections. In: Red Book: 2015 Report of the
Committee on Infectious Diseases, 30 th, Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS (Eds), American
Academy of Pediatrics, Elk Grove Village, IL 2015. p.732.
15.Shulman ST, Bisno AL, Clegg HW, et al. Clinical Practice Guideline for the Diagnosis and Management of
Group A Streptococcal Pharyngitis: 2012 Update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect
Dis 2012; 55:1279.
16.CHAMOVITZ R, CATANZARO FJ, STETSON CA, RAMMELKAMP CH Jr. Prevention of rheumatic fever by
treatment of previous streptococcal infections. I. Evaluation of benzathine penicillin G. N Engl J Med 1954;
251:466.
17.Schutz A, Gund HJ, Pschorn U, et al. Local anaesthetic properties of ambroxol hydrochloride lozenges
in view of sore throat. Clinical proof of concept. Arzneimittelforschung 2002; 52:194.
18.Fischer J, Pschorn U, Vix JM, et al. Efficacy and tolerability of ambroxol hydrochloride lozenges in sore
throat. Randomised, double-blind, placebo-controlled trials regarding the local anaesthetic properties.
Arzneimittelforschung 2002; 52:256.
19.Watson N, Nimmo WS, Christian J, et al. Relief of sore throat with the anti-inflammatory throat lozenge
flurbiprofen 8.75 mg: a randomised, double- blind, placebo- controlled study of efficacy and safety. Int J
Clin Pract 2000; 54:490.
20.Schachtel B, Aspley S, Shephard A, et al. Onset of action of a lozenge containing flurbiprofen 8.75 mg:
a randomized, double-blind, placebo-controlled trial with a new method for measuring onset of analgesic
activity. Pain 2014; 155:422.
21. Busch R, Graubaum HJ, Grünwald J, Schmidt M. Double-blind comparison of two types of benzocaine
lozenges for the treatment of acute pharyngitis. Arzneimittelforschung.2010; 60:245.
22. http://narst.dmsc.moph.go.th/
23.ข้อแนะนำการปฎิบัตสิ าธารณะสุขการรักษาผู้ป่วยไอเรื้อรังในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559
24. Dextromethorphan (2023). MIMS Online. Retrieved February 17, 2023,
https://www.mims.com/thailand/drug/info/dextromethorphan?mtype=generic

25. Glyceryl guaiacolate (2023). MIMS Online. Retrieved February 17, 2023,
https://www.mims.com/thailand/drug/info/guaifenesin?mtype=generic
26. Glyceryl guaiacolate (2023). MIMS Online. Retrieved February 17, 2023,
https://www.mims.com/thailand/drug/info/terpin%20hydrate?mtype=generic

You might also like