Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 26

216

3.3.3 ฮาวไต้ เทียน (ราวเทียน)


อาณาบริ เวณพื้นที่ ว่างภายในที่ใช้ประกอบศาสนกิ จแห่ งพุทธพิธีของลัทธิ ความเชื่ อ ศาสนาคาร
ต่างๆไม่วา่ จะเป็ นสิ ม วิหารหรื อหอแจก อันมีองค์พระพุทธรู ปเป็ นเสมือนประหนึ่ งตัวแทนของพระพุทธองค์ ตั้ง
ประดิษฐานเป็ นองค์ประธานในพิธีเพื่อประกอบศาสนกิจแห่ งพุทธพิธี บริ เวณรายรอบรัตนบรรลังค์ หรื อฐานชุกชี
มีงานพุทธหัตถศิลป์ ที่สาคัญอย่างหนึ่ งซึ่ งมีรูปแบบและคติความเชื่ อที่ซ่อนอยูอ่ ย่างน่าสนใจนัน่ คือ ราวเทียนหรื อ
เชิงเทียน ซึ่ งในกลุ่มวัฒนธรรมลาวชาวอีสานในอดีตเรี ยกอย่างภาษาถิ่นว่า ฮาวไต้ เทียน บ้างก็เรี ยกว่า สั ตตบริภัณฑ์
หรือสั ตตภัณฑ์ ก็เรี ยกโดยคานี้ มกั ใช้เรี ยกกันในบริ บททางวัฒนธรรมล้านนาของไทยและในอีสานบางพื้นที่โดย
ในมิติแห่ งประโยชน์ใช้สอยหมายถึง ของใช้งานช่ างในพุทธพิธีสาหรับใช้เป็ นที่วางหรื อปั กเทียนที่จุดบูชา อันมี
หน้าที่หลักคือเป็ นทั้งเครื่ องบูชาพระรัตนตรัยและให้แสงสว่างขณะประกอบพิธีต่างๆ ในศาสนาคาร

ภาพที่ 146 แสดงลักษณะฮาวไต้เทียนในวัฒนธรรมลาวล้านนาและลาวอีสาน (ซ้าย) เป็ นฮาวไต้เทียน


วัดมหาธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย (แน่งน้อย ปัญจพรรค์ และสมชาย ณ นครพนม, 2536 : 70)
(ขวา) สัตตภัณฑ์วดั พระธาตุลาปางหลวง จังหวัดลาปาง
217

ภ า พ ที่ 147 แ ส ด ง ฮ า ว ไ ต้ เ ที ย น ใ น
วัฒ นธรรมลาวชาวอี ส านและฮาวไต้
เทียนใน สปป.ลาว (บนซ้าย) ลายเส้น
ฮาวไต้เ ที ย นแบบทรงเครื่ อ งอย่ า งช่ า ง
หลวง วัดศิลาธิ คุณ อ.เมือง จ.หนองคาย
(บนขวา) ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง วัด
ในเมืองหลวงน้ าทา สปป.ลาว(ล่างขวา)
ฮาวไต้เ ที ย นแบบทรงเครื่ อ งอันงดงาม
ของ วั ด ศรี ธ าตุ อ .เมื อ ง จ.ย โ ส ธ ร
ลักษณะเดียวกันกับฮาวไต้เทียนวัดพระ
ธาตุส่วนตาลแห่งเมืองอุบลราชธานี
218

ภ า พ ที่ 148 ฮ า ว ไ ต้ เ ที ย น ใ น
วัฒนธรรมลาวชาวอีสานและสัตต
ภัณ ฑ์ ใ นวัฒ นธรรมล้า นนา (บน
ซ้าย) ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง
วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร (บน
ขวา) ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง
พื้ น บ้า นวัด พระธาตุ ศ รี มงคล อ.
วาริ ชภู มิ จ.สกลนคร (ล่ า งขวา)
สัตตภัณฑ์วดั พระธาตุลาปาง
219

ในบริ บทวัฒนธรรมภาคเหนือ ราวเทียน หรื อที่เรี ยกว่า สั ตตภัณฑ์ นิยมทาอยู่ 2 แบบคือ


แบบที่ (1) แบบลักษณะอย่ างขั้นบันได มีเชิ งเทียนตั้งแต่ 7-9 เชิ ง แบบนี้ นิยมทาแถวๆ จังหวัดแพร่ มีตวั อย่าง
อยู่ที่วดั หลวง ส่ วนที่จงั หวัดน่ านมีตวั อย่างอยู่ที่วดั ร้ องแง อาเภอปั ว ถื อได้ว่าเป็ นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่ งของ
กลุ่มลื้อหรื อไทลื้อซึ่ งถือเป็ นของหาดูได้ยาก เนื่องจากไม่มีการสื บสาน ส่ วนแบบที่ (2) มีลักษณะแบบสี หน้ า
(หน้ าบัน) รู ปทรงสามเหลี่ยมมีเชิ งเทียน 7 เชิ ง นิ ยมทาอยู่ในแถบจังหวัดเชี ยงราย เชี ยงใหม่ ลาพูน ลาปาง
แบบนี้ยงั เป็ นที่นิยมและสามารถพบเห็นได้ทวั่ ไป แต่รูปแบบอาจแตกต่างกันไปบ้างโดยเฉพาะลวดลายการ
แกะสลักและขนาดที่ค่อนข้างใหญ่โต

ฮาวไต้ เทียนในมิติความหมายทางภาษาและคติความเชื่อ
คาว่า ฮาว หมายถึง ราว และไต้ หมายถึงการจุดหรื อทาให้ มีแสงสว่ าง รวมความก็คือราวสาหรับวาง
เทียนที่บูชานั้นเอง ส่ วนในบริ บทความหมายของคาว่า สั ตต หมายถึง เจ็ด ส่ วนคาว่า ภัณฑ์ มาจากรากศัพท์เดิมซึ่ ง
โบราณเรี ยก บริภัณฑ์ ซึ่ งก็หมายถึง สิ่ งของ รวมๆกันก็เลยเรี ยกว่า สิ่ งของทั้งเจ็ด ในวัฒนธรรมงานช่างภาคเหนื อ
นิยมทาเชิงเทียนให้ปักเทียนได้ 7 เล่มจึงเป็ นที่มาของคาว่าสัตตภัณฑ์ โดยนัยยะความหมายเชิ งสั ญลักษณ์ ที่มาของ
7 เล่มเป็ นเรื่ องคติความเชื่อตีความได้วา่ หมายถึง ภูเขาทั้งเจ็ด ที่ต้ งั รายล้อมภูเขาพระสุ เมรุ ซ่ ึ งเป็ นสวรรค์ที่ประทับ
ของพระเจ้าและบรรดาเหล่าเทวดา ประกอบด้วย 1) ยุคนธร 2) อิสินธร 3) กรวิก 4) เนมันทร 5) สุ ทศั นะ 6) วินนั ต
กะ 7) อัศกันต์ โดยทั้งเจ็ดนี้เป็ นเสมือนตัวแทนของภูเขาเจ็ดลูก ที่เป็ นบริ วารของเขาพระสุ เมรุ ซึ่ งทั้งหมดนี้ เป็ นการ
ตีความตามลักษณะรู ปทรงสัณฐานที่ เห็ นทางรู ปธรรม ท่าตี ความในมิติที่เป็ นนามธรรมก็สามารถเชื่ อมโยงกับ
หลักธรรมคาสอนก็อธิ บายได้วา่ เป็ นโพธิปักขิยธรรมหรื อธรรมที่จะเข้ าสู่ ความเป็ นพุทธะหรื อความรู้ แจ้ ง ซึ่ งมีอยู่
7 ประการคือ 1) สติความระลึกได้ 2) ธรรมวิจยั การวิเคราะห์หลักธรรมคาสอน 3) วิริยะความเพียร 4) ปิ ติ ความ
พอใจอิ่มใจ 5) ปั สสิ ทธิ ทาใจได้ 6) สมาธิ ความมัน่ คงในจิต 7) อุเบกขา การวางเฉยหรื อปล่อยวาง (มาณพ มานะ
แซม, 2542 เล่ม 13 : 6758-6761) โดยทั้งหมด เป็ นการตีความทั้งจากลักษณะทางกายภาพและนัยยะแห่ งพุทธ
ปรัชญาความหมายที่แสดงออกผ่านงานช่างในบริ บทวัฒนธรรมลาวล้านนาของไทย

เอกลักษณ์ฮาวไต้ เทียนเมืองอุบล
จากข้อมูลที่ได้ทาการสารวจตามกรอบแนวคิดและขอบเขตการศึกษาสามารถจาแนก ฮาวไต้ เทียนใน
เมืองอุบล ออกตามกรอบแนวคิดแห่งฐานานุศกั ดิ์ทางสังคมสามารถแบ่งสายสกุลช่างซึ่ งแบ่งเป็ น 2 กลุ่มคือ 1) ช่าง
พื้นบ้านและ 2) ช่างพื้นเมือง โดยปรากฏฮาวไต้เทียนอยู่ 2 รู ปแบบคือ
(1) ฮาวไต้ เทียนทรงเครื่อง คือ กลุ่มที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามแสดงออกถึงความละเอียดประณี ต
และมีขนาดรู ปทรงที่ใหญ่ อีกทั้งลักษณะที่มีแบบแผนแห่งฉันทลักษณ์ในเชิงช่างอย่างช่างราชสานัก
220

(2) ฮาวไต้ เทียนแบบธรรมดา คื อกลุ่ มที่ มุ่งเน้นในด้านประโยชน์ใช้สอยมี การตกแต่งที่ เรี ยบง่ ายไม่
ซับซ้อนด้านรู ปแบบการตกแต่งอีกทั้งมีความสัมพันธ์ต่อคติความเชื่อท้องถิ่นผ่านรู ปสัญญะที่มีความหมาย
โดยในด้านวัสดุที่นามาทาส่ วนใหญ่ทาด้วยไม้เนื้ อแข็งเป็ นวัสดุหลักทั้งงานโครงสร้างและส่ วนตกแต่ง
โดยมีตวั ราวเหล็กเป็ นที่สาหรับวางเทียนกิ่ง ตกแต่งด้วยรู ปสัตว์สัญลักษณ์และลวดลายตามรสนิ ยมแห่ งสายสกุล
ช่าง โดยจาแนกเป็ นกลุ่มช่างพื้นบ้านและกลุ่มช่างพื้นเมือง ได้ดงั ต่อไปนี้

ภาพที่ 149 แสดงฮาวไต้เทียนแบบธรรมดาสกุลช่ างพื้นบ้าน วัดบ้านตาแย อ.เมือง ที่โดดเด่นด้วยการใช้


สัตว์สัญลักษณ์อย่างเต่าแบบสองหัว มาเป็ นส่ วนฐานรองรับโครงสร้างประโยชน์การใช้สอยซึ่ ง ตัวราวเชิ ง
เทียนยังแสดงถึ งรสนิ ยมความเชื่ อผ่านรู ปรอยงานช่ างอย่างน่ าสนใจ ถื อเป็ น ฮาวไต้เทียนแบบพื้นบ้านที่มี
เอกลักษณ์น่าสนใจแห่งหนึ่งของกลุ่มประชากรพุทธศิลป์ ราวเทียนที่สารวจในเมืองอุบล

ฮาวไต้ เทียนทรงเครื่ องสกุลช่ างพืน้ บ้ าน จากกลุ่มกรณี ศึกษาที่ได้สารวจพบว่างานช่างกลุ่มพื้นบ้าน


ไม่พบตัวอย่างการสร้าง ฮาวไต้ เทียนทรงเครื่ อง ตามกรอบแนวคิดการแบ่งสกุลช่าง มีเพียงกลุ่ม ฮาวไต้ เทียนแบบ
ธรรมดา เป็ นส่ วนใหญ่ อีกทั้งยังมีจานวนไม่มากนักบ้างก็ไม่อยูใ่ นสภาพสมบูรณ์เพียงพอที่จะให้ศึกษาได้
ฮาวไต้ เทียนแบบธรรมดาสกุลช่ างพืน้ บ้ าน ฮาวไต้เทียนกลุ่มนี้ พบอยูห่ ลายแห่ งแม้จะมีจานวนไม่มากนักแต่ก็พอ
หลงเหลือไว้ให้ศึกษาดังตัวอย่าง ฮาวไต้ เทียนแบบธรรมดา ของวัดบ้ านตาแย อ.เมือง ซึ่ งมีรูปลักษณะที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติความหมายที่ปรากฏอยูใ่ นรู ปสัญญะของสัตว์อย่างเต่ าอันหมายถึง การมีอายุยืนนานและให้
คุณแก่ผกู ้ ราบไหว้บูชาเพราะเชื่อว่าเต่าเป็ นสัตว์ที่มาจากสวรรค์ สามารถล่วงรู ้สิ่งที่เป็ นมงคลหรื ออันตรายได้ ดังนั้น
ในสมัยโบราณชาวจีนจึงนิยมนากระดองเต่ามาใช้ในการประกอบพิธีเสี่ ยงทายเรื่ องมงคลและอัปมงคล โดยชาวจี น
เรี ยกเต่าว่า กุย และยังถือเป็ นหนึ่งในสัตว์มงคลสี่ ชนิด (ศานติ ภักดีคา และ นวรัตน์ ภักดีคา, 2553 : 123) โดยการใช้
เต่าในโครงสร้ างส่ วนฐาน จะเห็นถึงความลงตัวในแง่โครงสร้างด้านประโยชน์ใช้สอยเรื่ องความแข็งแรงของตัว
221

ฮาวไต้เทียน ขณะเดียวกันก็สร้างนัยยะสาคัญทางความเชื่ อผ่านสัตว์สัญลักษณ์ในเชิ งช่าง ขณะที่ตวั ไม้โครงสร้างที่


รองรับราวเทียน จะทาเป็ นโครงแบบขาเดี ยวหรื อเป็ นอย่างรู ปไม้กางเขนอย่าง วัดบ้ านตากแดด อ.ตระการพืชผล
โดยส่ วนที่เป็ นราวเทียน จะทาด้วยเหล็กเส้นขนาดพอที่จะวางด้ามเทียน ได้ในจานวนหลายเล่มจึงเป็ นที่มาของชื่ อ
เรี ยกที่วา่ ราวเทียน นอกจากนี้ยงั มี เชิงเทียนแบบสาหรับที่ใช้วางเทียนที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเทียนกิ่ง (เทียนด้ามเล็ก)
โดยมีการทาที่รองน้ าตาเทียนอยูท่ ี่แป้ นด้านล่าง

ภาพที่ 150 เชิ งเทียน แบบสกุลช่างพื้นบ้าน


วัด หลวง อ.เมื อ ง(รู ปขวาบน) เป็ นที่ ใ ช้
ส าหรั บ วาง ด้า มเที ย นที่ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า
เทียนกิ่ งธรรมดาซึ่ งเน้นการตกแต่ง โดยเชิ ง
เที ยนชุ ดนี้ มุ่ง สนองตอบประโยชน์ ใช้สอย
มากกว่าสุ นทรี ยภาพความงาม โดยมีการทา
ที่รองรับน้ าตาเทียนที่แป้ นรองด้านล่างเพื่อ
ไม่ให้น้ าตาเทียนไหลตกลงสู่ พ้นื

ภาพที1่ 51 เชิงเทียนแบบพื้นบ้านที่นาวัสดุพ้นื ถิ่นที่อยูใ่ นวิถีชีวติ สังคมชาวนามาใช้เป็ นเครื่ องพิธีในการวาง


ธูปเทียนรู ปซ้ายและขวาล่างเป็ นราวเทียนจากเขาควายวัดพระธาตุศรี มงคล บ้านธาตุ อ.วาริ ชภูมิ จ.สกลนคร
222

ภาพที1่ 52 ฮาวไต้เทียน สกุลช่างพื้นบ้าน (บน) ภาพลายเส้น ฮาวไต้เทียน สกุลช่างพื้นบ้านแบบธรรมดา

วัดบ้านตากแดด อ.ตระการพืชผล (ล่างซ้าย) ฮาวไต้เทียนวัดอัมพวัน อ.เขื่องใน เป็ นรู ปแบบธรรมดาสกุล

ช่างพื้นบ้าน (ล่างซ้าย) รู ปฮาวไต้เทียน สกุลช่างพื้นบ้านแบบธรรมดา วัดบ้านตากแดด อ.ตระการพืชผล

ที่สามารถวางได้ท้ งั เทียนเล่มใหญ่ตามปลายด้ามทั้งสาม โดยราวเหล็กที่ยนื่ ก็เป็ นที่สาหรับวางเทียนกิ่งหรื อ

เทียนขนาดเล็ก
223

ภาพที่ 153 ลายเส้น ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง วัดพระธาตุสวนตาล บ้ านชี ทวน อ.เขื่องใน ที่รับอิทธิพลศิลปะสายราชสานัก


ลาวล้านช้าง ฮาวไต้เทียนแห่งนี้ถือได้วา่ มีความงดงามอย่างสายสกุลช่างหลวง ที่อยูใ่ นสภาพสมบูรณ์ที่สุดในเมืองอุบล
224

ฮาวไต้ เทียนทรงเครื่องสกุลช่ างพืน้ เมือง


เป็ นกลุ่มที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามแสดงออกถึงความละเอียดประณี ตและมีขนาดที่ใหญ่อีกทั้ง
ลักษณะที่มีแบบแผนแห่งฉันทลักษณ์ในเชิงช่างอย่างช่างราชสานัก โดยมีรูปทรงอย่างแผงไม้แกะสลักฉลุลวดลาย
ทาเป็ นแผงมีส่วน ฐานรองรั บเป็ นรู ปสั ตว์ สัญลักษณ์ อย่าง สิ งห์ ดังที่ปรากฏอยูท่ ี่ วัดพระธาตุสวนตาล ซึ่ งเป็ นฮาว
ไต้เทียนที่ทาด้วยแผงไม้กระดานฉลู ขนาดกว้าง 1.20 เมตร สู งประมาณ 1.80 เมตร ลักษณะทางศิลปะคือส่ วนฐาน
มีไม้จาหลักเป็ นรู ปสิ งห์ หมอบ โดยในทางพระพุทธศาสนามีคติความเชื่ อว่าสิ งห์เป็ นเจ้าแห่ งติรัจฉานเป็ นสัตว์มี
พลังอานาจจึงมักถูกนามาใช้เป็ นสัตว์สัญลักษณ์ในการปกป้ องเกื้ อหนุ นรักษาศาสนาคารและพุทธหัตถศิลป์ เป็ น
การ เพิ่มตบะเดชะกับสิ่ งที่สิงห์ รองรั บอยู่ ประดุจมีไกรสรราชสี ห์เป็ นพาหะนั้นเอง( ส.พลายน้อย, 2532: 134) โดย
รองรับตัวแผง อยูส่ องมุม ทาหน้าที่เหมือนฐานรากหรื อเสาตอหม้ออาคารทาให้ตวั แผงมัน่ คงทรงตัวอยูไ่ ด้

ภาพที่ 154 รู ปฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ องสายสกุลช่างพื้นเมือง (รู ปซ้าย) วัดพระธาตุสวนตาล อ.เขื่อง


ใน (รู ปขวา) วัดสุ ขาวาส อ.ตระการพืชผล เป็ นรู ปแบบงานช่างอย่างสายสกุลช่างราชสานักลาวล้านช้าง
แต่ไม่ทาลายปรุ แบบอย่างวัดพระธาตุส่วนตาล โดยแกะปรุ เป็ นบางส่ วน
225

โดยพื้นที่ที่ทาการศึกษาพบอยูท่ ี่วดั บ้านตาแย และวัดกุญชราราม โดยที่วดั สุ ขาวาส ได้สูญหายไปแล้วโดยส่ วนตัว


เรื อนทาเป็ นแผงแรฉลุลวดลายแบบลายขัดสานซึ่ งเลียนแบบเทคนิ คการสานอย่างงานหัตถกรรม ลักษณะเดียวกัน
กับที่พบอยู่ที่เรื อนผนังหอธรรมาสน์วดั บ้านโนนใหญ่ หรื อที่ วัดกุดซวย โดยมีตวั จบขอบมุมทั้งสองข้างนิ ยมใช้
ทวยแผงหรื อที่เรี ยกว่าปี กบ่าง โดยส่ วนกลางจะทาเป็ นช่องเปิ ดโล่งตกแต่งด้วยไม้จาหลักฉลุเป็ นฮังผึ้ง
ส่ วนยอดนิยมทาเป็ นทรงจอมแห โดยมีการตกแต่งอย่างยอดธาตุทรงบัวเหลี่ยมลดชั้นลดหลัน่ กัน โดยมี
การนา รู ปตัวเหราคายนาคโดยรู ป มกรหรื อที่นิยมเรี ยกว่า เหรา ที่มีความเชื่ อมโยงกับเทพเจ้าหลายองค์แต่ท้ งั หมด
เป็ นสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ าโดยถูกนาไปใช้เป็ นสัญลักษณ์ที่เป็ นพาหนะของเทพเจ้าที่เกี่ยวกับน้ าโดยรัชกาลที่6ทรง
อธิ บายว่า มกร คื อ เหรา ดัง่ ที่ ไ ด้ก ล่ า วถึ ง ไว้แล้วในเรื่ องฮางฮด โดยส่ วนเหรา หรื อ มกร เทินยอดธาตุ ปรากฏ
รู ปแบบเฉพาะ วัดพระธาตุสวนตาล แต่วดั อื่นๆล้วนชารุ ดเสี ยหาย ส่ วนวัดสุ ขาวาส ใช้รูปนาคเป็ นตัวจบของเส้น
ขอบโดยมีเหล็กเป็ นราวเทียนเจาะฝังอยู่ในส่ วนบ่าตัวเรื อนยื่นห่ าง จากตัวแฝงประมาณ 18 ซ.ม สาหรับวางเทียน
บูชา นอกเหนือจากรู ปแบบดังกล่าวในกลุ่มฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ องแบบทาเป็ นลักษณะอย่างแผงพนักแล้ว ยัง
ปรากฏฮาวไต้เทียนแบบที่ทาเลี ยนแบบอย่างฮางฮด โดยปรากฏอยู่ที่วดั ทุ่งขุนใหญ่และวัดทุ่งขุนน้อยที่มีลกั ษณะ
แบบอย่างฮางฮดที่ยอ่ ส่ วนโดยมีราวเหล็กสาหรับวางเทียน ตามแนวตัวรางที่เป็ นรู ปพญานาค
หากแต่ที่วดั ทุ่งขุนน้อยดูจะมีความละเอียดประณี ตกว่าวัดทุ่งขุนใหญ่ ทั้งนี้ ยงั พบที่วางเทียนที่มีขนาด
ใหญ่กว่าเทียนกิ่งหรื อที่เรี ยกว่า เชิ งเทียน โดยในกลุ่มช่างพื้นเมืองพบหลักฐานเพียงวัดหลวง ที่มีการตกแต่งอย่าง
งดงามด้วยรู ปรอยพญานาคเทินเชิงเทียนโดยมีไม้แบบคันทวยนาคเกี่ยวเทินค้ ายันตัวพญานาคที่วางด้ามเทียน โดย
ทั้งหมดถื อเป็ นกลุ่ มฮาวไต้เที ยนแบบทรงเครื่ องในสายสกุ ลช่ า งพื้ นเมื องแห่ ง เมื องอุ บลที่ มีเอกลัก ษณ์ ในเชิ งที่
สะท้อนรสนิยมที่ผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมราชสานักจากกลุ่มชนชั้นนาในสังคมเก่า

รู ป ฮาวไต้เ ที ย นแบบทรงเครื่ อ ง สายสกุ ล ช่ า ง


พื้ น เมื อ งแถบอี ส านกลาง (ภาพโดยสุ วิท ย์ จิ ร ะ
มณี ) ซึ่ งเป็ นรู ปแบบราวเทียนที่พบมากในแถบ
อีสานกลางบริ เวณจังหวัดร้ อยเอ็ด มหาสารคาม
โดยจะมี ก ารจัด วางองค์ป ระกอบลายหลัก อยู่ที่
บริ เวณส่ วนแผงด้านข้างซ้ายขวาและมีการใช้สัตว์
สัญลัก ษณ์ อย่า งสิ ง ห์ ม าเป็ นตัวรองรั บ ตัวเรื อ น
แผงทั้งหมดโดยมีช่องไฟตรงกลางแผง ส่ วนด้าน
บนสุ ดใช้นาคพันเกี่ ยวกันแบ่งพื้นที่ซ้ายขวาแบบ
สมดุ ล ย์โ ดยมี ส่ ว นหางของนาครวบจอมเป็ น
แนวแกนกลางยอดแหลม
226

ภาพที่ 155 ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ องสายสกุลช่างพื้นเมืองวัดศรี โพธิ์ ชยั


อ.นาแห้ ว จ.เลย โดดเด่ น ด้ ว ยการใช้ สี สั น แบบสายสกุ ล ช่ า งพื้ น บ้า นแต่ ใ ช้
องค์ประกอบทางฉันทลักษณ์ในเชิ งช่างซึ่ งเป็ นอิทธิ พลศิลปะอย่างช่างหลวงล้าน
ช้าง ซึ่ งมีลกั ษณะใกล้เคียงกับวัดพระธาตุส่วนตาล แห่ งเมืองอุบลทั้งการใช้สีและ
รู ป แบบต าแหน่ ง การจัด วางองค์ป ระกอบการตกแต่ ง ลวดลาย อี ก ทั้ง การใช้
รู ปสัญญะของสัตว์อย่างจระเข้ซ่ ึ งเป็ นสัญลักษณ์ของน้ าเช่ นเดียวกับพญานาค มา
เป็ นส่ วนรองรับเบื้องล่างตามคติของการเป็ นสัตว์บริ วารที่คอยเกื้อหนุน
227

กลุ่มฮาวไต้ เทียนแบบทรงเครื่องพืน้ เมือง

ฮาวไต้เที ยนแบบทรงเครื่ องสกุลช่ างพื้นเมื อง


(รู ป ซ้ า ย) วัด บ้า นต าแย อ.เมื อ ง (รู ป ขวา) วัด
กุ ญ ชรราม อ.ตระการพื ช ผล เป็ นกลุ่ ม ฮาวไต้
เที ย นที่ ท าลั ก ษณะเป็ นพนั ก แผงมี ก ารแกะ
ลวดลายฉลุ ตกแต่ ง ลวดลาดด้วยการลงรั ก ปิ ด
ทองประดับ กระจกสี และกระจกแว่นตาควาย
แต่ เ ป็ นที่ น่ า เสี ยดายที่ แต่ ล ะแห่ ง ที่ พ บล้ ว น
แล้วแต่อยู่ในสภาพที่ ชารุ ดทรุ ดโทรม ไม่อยู่ใน
สภาพสมบูรณ์อย่างในสมัยสร้าง
228

ภาพที่ 156 ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ องสกุลช่างพื้นเมืองวัดทุ่งขุนใหญ่ ที่สร้างเลียนแบบพุทธ


หัตถศิลป์ ฮางฮด ของสายสกุลช่างพื้นเมืองบ้านทุ่งขุนใหญ่ และทุ่งขุนน้อย โดยมีรูปทรงสัดส่ วน
แบบฮางฮดทั้งส่ วนฐานและส่ วนตัวราวเทียนรวมถึ งการใช้รูปสัตว์สัญญะที่ รองรั บในท่าเทิ น
หมอบที่ตอบสนองในเชิงโครงสร้างความแข็งแรงและคุณค่าแห่งมิติความหมายเชิงสัญญะ
229

ฮาวไต้ เ ที ย นแบบทรงเครื่ องสกุ ล ช่ า ง


พื้ น เมื อ ง ที่ ส ร้ า งเลี ย นแบบอย่า งฮางฮด
ของวัด ทุ่ ง ขุ น น้ อ ย อ.เมื อ ง โดยฮาวไต้
เทียนเป็ นเสมือนการย่อส่วนตัวฮางฮดโดย
มี ก ารเพิ่ มพนัก เป็ นคานยึด เป็ นการถาวร
ต่ า งจากฮางฮดที่ ส ามารถถอดประกอบ
เคลื่ อ นย้า ย ได้ท้ ัง ตัว ฮางริ น หรื อ ตัว ราง
และส่ วนที่ เป็ นขาขณะที่ ตวั ฮาวไต้เที ยน
ส่ ว นขาจะถู ก ยึ ด ไว้เ ป็ นการถาวรโดย
เคลื่อนย้ายได้เฉพาะตัวฮางที่ เป็ นรู ปอย่าง
พญานาค โดยมีราวเหล็กเป็ นส่ วนรับรอง
ตัวลาเที ยนแบบอย่างเดี ยวกับการใช้งาน
ของฮางฮดที่ มี ข นาดใหญ่ ถื อ เป็ นการ
ย่อส่วนฮางฮดมาสู่ฮาวไต้เทียน

ภาพที่ 157 ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง ชนิดเป็ นเชิงเทียนเดี่ ยว รู ปลายเส้นและรู ปถ่ายเป็ นของวัดหลวง ซึ่ง


ปั จจุบนั จัดแสดงอยูท่ ี่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลราชธานี เป็ นรู ปแบบสายสกุลช่างราชสานักลาวล้านช้าง
230

ภาพที่ 158 รายละเอียดส่ วนองค์ประกอบการประดับตกแต่ง

ส่ วนฐาน ส่ วนตัวเรือน

วัดทุ่งขุนน้อย วัดสุขาวาส

วัดทุ่งขุนใหญ่ วัดพระธาตุสวนตาล

วัดพระธาตุสวนตาล วัดกุญชรราม
231

วัดบ้านตาแย วัดหลวง

วัดหลวง วัดบ้านตาแย

ภาพที่ 159 องค์ประกอบทางโครงสร้างของส่ วนฐานฮาวไต้เทียนในแต่ละรู ปแบบ (รู ปซ้ายบน)


ส่ วนฐานราวเทียน วัดบ้านตาแย ถือเป็ นส่ วนฐานที่มีลกั ษณะพิเศษ โดยทาหน้าที่เป็ นเสมือนฐาน
รากทางโครงสร้างหลักของตัวราวเหล็กโดยมีนยั ยะทางความเชื่ อเรื่ องการใช้สัตว์สัญลักษณ์อย่าง
เต่ามาใช้สื่อความหมายในฐานะสัตว์บริ วาร ที่คอยค้ าคูณเกื้อหนุน (รู ปขวาบนและรู ปซ้ายล่าง) คัน
ทวยที่ รองรั บเชิ งเที ยน วัดหลวง ปั จจุ บนั จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่ งชาติ อุบลฯ (รู ปขวาล่ าง)
ส่ วนผนัง ตัว เรื อ นฮาวไต้เที ย นแกะสลัก ลวดลายเลี ย นแบบลายจัก สานโดยท าฉลุ ล ายด้วยไม้
แกะสลักของวัดบ้านตาแย แต่เป็ นที่น่าเสี ยดายที่ฮาวไต้เทียนนี้ไม่อยูใ่ นสภาพที่สมบูรณ์
232

ภาพที่ 160 ส่ วนองค์ ประกอบการประดับตกแต่ ง


ส่ วนยอด

วัดสุ ขาวาส วัดกุญชรราม


ราม

วัดพระธาตุสวนตาล
วัดบ้านตาแย
233

วัดพระธาตุสวนตาล วัดหลวงปั จจุบนั อยูท่ ี่พ.พ อุบลฯ

วัดพระธาตุสวน วัดทุ่งขุนใหญ่
ตาล

สรุ ป เอกลักษณ์ ฮาวไต้ เทียนเมืองอุบล


ฮาวไต้ เที ยน ถือเป็ นพุทธหัตถศิลป์ ที่เกิดจากวัฒนธรรมการแสดงออกถึงความเคารพต่อลัทธิ ความเชื่ อ
แห่ งพระพุทธศาสนา เป็ นของใช้งานช่ างที่ มีคุณค่าด้านสุ นทรี ยะและประโยชน์ใช้สอยโดยเฉพาะในยุคสมัยที่
เทคโนโลยีความก้าวหน้ายังมิได้พฒั นาเป็ นอย่างที่เห็นอย่างในทุกวันนี้ โดยเฉพาะระบบแสงสว่าง โดยวิถีสังคม
เก่าต้องอาศัยภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง และวัตถุดิบที่มีอยูใ่ นธรรมชาติของท้องถิ่น จึงก่อเกิดงาน
ช่างนฤมิตกรรมที่เกี่ ยวเนื่ องพุทธพิธี อย่างที่เรี ยกว่า ราวเทียน โดยในบริ บทวัฒนธรรมลาวชาวอีสาน โดยเฉพาะ
เมืองอุบล จากที่ได้ศึกษา สามารถจาแนกตามลักษณะทางกายภาพเป็ น 2 รู ปแบบคือ 1) ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง
และ2) ฮาวไต้เที ยนแบบธรรมดา โดยทั้ง 2 รู ปแบบล้วนมีลกั ษณะเฉพาะที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่ อจาแนกตาม
กรอบแนวคิ ดแห่ งฐานานุ ศกั ดิ์ ในเชิ งช่ าง แบบสกุลช่ างพื้นบ้านและแบบสกุลช่ างพื้นเมือง โดยในกลุ่มสกุลช่ าง
พื้นบ้านพบว่า ไม่ปรากฏหลักฐาน “ฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง” มีเพียงรู ปแบบฮาวไต้เทียนแบบธรรมดา โดยมี
ฮาวไต้เทียนแบบธรรมดาของวัดบ้านตาแย อาเภอเมือง เป็ นรู ป แบบที่มีความโดดเด่นมากโดยผสมผสานกับคติ
ความเชื่ อจากสัตว์สัญลักษณ์ แห่ งความเป็ นมงคล ในส่ วนของฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ องที่โดดเด่นที่สุดในเรื่ อง
ของความงดงามทางรู ปทรงและองค์ประกอบ ส่ วนประดับตกแต่ง ราวเทียนของวัดพระธาตุสวนตาล ถือได้ว่ามี
234

ความเหมาะสมที่สุด ด้วยสภาพที่สมบูรณ์ตลอดจนคุณค่าทางศิลปะแห่งเชิงช่าง ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใน


วัฒนธรรมงานช่างสายช่างหลวงแห่งราชอาณาจักรล้านช้างได้อย่างชัดเจน เมื่อเปรี ยบเทียบกับฮาวไต้เทียนของวัด
องค์ต้ือ ที่เวียงจันทน์จะเห็นถึงสายสัมพันธ์ในเชิงช่างของไทยอีสาน กับ สปป.ลาว

ภาพที่ 161 รู ปตัวอย่างฮาวไต้เทียนในวัฒนธรรมลาว (รู ปบนซ้าย) เป็ นรู ปแบบฮาวไต้เทียนแบบทรงเครื่ อง


สกุ ลช่ า งพื้ นบ้า นของวัดขอนแก่ นเหนื อ อ.เมือง จ.ร้ อยเอ็ด (รู ปบนขวา) เป็ นรู ปแบบฮาวไต้เที ย นแบบ
ทรงเครื่ องสกุลช่างหลวงเวียงจันทน์วดั องค์ต้ือ ใน สปป.ลาว (รู ปล่างซ้าย) ฮาวไต้เทียนในแถบอีสานกลาง
(รู ปล่างขวา) ฮาวไต้เทียน วัดศรี โพธิ์ ชยั อ.นาแห้ว เมืองเลย
235

ภาพที่ 162 ตัวอย่า งฮาวไต้เที ย นใน


บริ บ ทวัฒ นธรรมหลวงล้า นช้า งและ
อีสาน ( รู ปบนและล่างซ้าย) เป็ นฮาว
ไต้เทียนของวัดในแถบเมืองหลวงพระ
บาง (รู ป ล่ า งขวา) เป็ นของวัด โพธิ์ ชัย
เมืองเลย ในอีสานที่มีลกั ษณะแบบช่าง
หลวงในวัฒนธรรมลาวล้านช้าง ที่ควร
มีการศึกษาเพื่อให้เห็นลักษณะร่ วมและ
ลั ก ษณะเฉพาะในแต่ ล ะบริ บทของ
พื้ น ที่ ที่ แ ต ก ต่ า ง กั น แ ม้ จ ะ อ ยู่ ใ น
วัฒนธรรมลาวเหมือนกัน
236

ภาพที่ 163 ฮาวไต้เทียนสกุลช่ างพื้นเมือง วัดมหาธาตุ เมื องยโสธร ศิลปะงานช่ างที่ใช้ เทคนิ คการ
เขียนสี ควบคู่ไปกับการลงรักปิ ดทองในส่ วนประกอบตกแต่งอื่นๆ(ปั จจุบนั ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่
ภายในหอไตรกลางน้ า)ความโดดเด่นอยู่ที่ราวเหล็กที่ออกแบบสร้ างสรรค์ดดั โค้งขึ้ นรู ปอย่างลักษณะ
ของพญานาค สาหรับการใช้งานเพื่อเป็ นที่วางเทียนกิ่งด้ามเล็กๆในพุทธพิธีความเชื่อ
237

ภาพที่ 164 บรรยากาศภายในสิ มกับพุทธหัตถศิลป์ ฮาวไต้เทียนระหว่างของใหม่กบั ของเก่า ณ.วัดศรี โพธิ์ ชยั


อ.นาแห้ว เมืองเลย งานช่างที่โดดเด่นซึ่ งสัมพันธ์ไปกับวิถีสังคมวัฒนธรรม(ภาพโดย สานักพิมพ์สารคดี)
238

ภาพที่ 165 ฮาวไต้เทียนอีสานในบริ บทพื้นที่ทางวัฒนธรรมอื่น รู ปซ้ายบนและรู ปซ้ายล่าง เป็ นฮาวไต้เทียน


แบบเตี้ยวัดมหาธาตุ เมืองยโสธร โดยมีส่วนรองรับหรื อที่วางดอกไม้บูชาพร้ อมกับเป็ นที่ปักเทียนกิ่ งหรื อ
เทียนขนาดเล็กๆ และมีสัตว์สัญลักษณ์อย่างกระต่าย มาเป็ นส่ วนที่รองรับด้วยลักษณะท่าทางหมอบเทินราง
ราวเทียนไว้ดา้ นบนหลัง ส่ วนรู ปด้านขวาล่างเป็ นสิ งห์เทินฮาวไต้เทียนของวัดศรี ธาตุ แห่ งเมืองยโสธร และ
สุ ดท้ายด้านบนขวาเป็ น ฮาวไต้เทียน แบบทรงเครื่ องของวัดไตรภูมิ บ้านผือฮี จ.ร้อยเอ็ด ที่งดงามด้วยรู ป
ลายแกะสลักตัวเรื อนแผงทาเป็ นนาคขดตัวโดยด้านบนเป็ นแนวแผงแบบลักษณะช่อฟ้ าในวัฒนธรรมลาว
หลวงพระบาง ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงไปกับคติเรื่ องไตรภูมิหรื อจักรวาลคติที่มีเขาพระสุ เมรุ เป็ นศูนย์กลาง
239

ภาพที่ 166 ฮาวไต้เที ยนในวิถี สัง คมเก่ าอี สาน


(ภาพโดย อ.วิ โ รฒ ศรี สุ โ ร) กับ ราวเที ย น
สมัยใหม่ อย่างรู ปเรื อสุ พรรณหงส์ ทองเหลื อง
ศิลปะสาเร็ จรู ปนาเข้าจากร้านค้าสังฆภัณฑ์ที่มี
อยู่ในทุกมุ มเมือง ในยุคปรับเปลี่ ยนจากสังคม
ชาวนาสู่ วถิ ีสังคมเมืองที่รองรับระบบทุนนิยม

ทั้งนี้ เป็ นที่ น่าเสี ยดายที่ ยงั มี ฮาวไต้เที ยนแบบทรงเครื่ องหลายแห่ งที่พบจากการสารวจแต่ไม่อยู่ในสภาพ
สมบูรณ์ อย่างเช่ นวัดบ้านตาแย อาเภอเมือง และวัดกุญชราราม อาเภอตระการพืชผล รวมถึ งวัดสุ ขาวาส
อาเภอตระการพืช ผล ทั้ง หมดพบว่า มี รูป แบบฉันทลักษณ์ อย่างช่ างหลวง ด้วยทัก ษะฝี มื อ ความละเอี ย ด
ประณี ต ซึ่ งถื อได้ว่าเป็ นอัตลักษณ์ อนั บ่งชี้ ถึงสายสกุลช่ างที่มีฝีมืออย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยงั มีกลุ่มฮาวไต้
เทียนที่ทาเลี ยนแบบฮางฮด ดังที่ปรากฏอยู่ที่วดั ทุ่งขุนใหญ่ และวัดทุ่งขุนน้อย ซึ่ งเป็ นกลุ่มสกุลช่างเดียวกัน
ด้านคติความเชื่อยังคงรู ปสัตว์สัญลักษณ์อย่างจระเข้ ตัวเหรา สิ งห์ เต่า กระต่าย และพุทธศิลป์ อื่น ๆ
นอกเหนื อจากกลุ่มฮาวไต้เทียนแบบที่เป็ นลักษณะราวเทียนอันสามารถวางเทียนได้หลาย ๆ เล่ม ยังมี
กลุ่มที่เรี ยกว่า เชิ งเทียน อันหมายถึง ที่วาวเทียนเช่นเดียวกันกับฮาวไต้เทียน แต่แตกต่างอยูท่ ี่ความสามารถในการ
ใช้งานที่ เชิ งเทียนจะรองรับการใช้งานกลุ่มที่เป็ นลาเทียนที่มีขนาดใหญ่กว่า ลักษณะของการใช้งานเทียนกิ่ งที่มี
ขนาดเล็ก ซึ่ งมีจานวนไม่มากนัก โดยส่ วนหนึ่งได้ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยูท่ ี่พิพิธภัณฑ์สถานแห่ งชาติ จังหวัด
อุบลราชธานี ซึ่งวัดหลวงได้มอบให้ไว้
ประเด็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ งของการศึกษาครั้งนี้ คือ ฮาวไต้เทียน เป็ นสิ่ งที่เรี ยกได้วา่ ค้นหาได้ยากยิ่ง
จากการลงพื้นที่กว่า 80 วัดในเขตเมืองอุบลฯ พบฮาวไต้เทียนอยูเ่ พียง 9 วัดซึ่ ง ได้แก่ วัดหลวง (ปั จจุบนั จัดแสดงอยู่
ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลฯ) วัดบ้านตากแดด วัดบ้านตาแย วัดพระธาตุสวนตาล วัดสุ ขาวาส วัดกุญชรราม
240

ภาพที่ 167 ฮาวไต้เทียนสายสกุลช่างหลวง วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่ งเป็ นเมืองที่เกี่ยวข้องในทาง


ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมกับเมืองอุบลอย่างใกล้ชิด (เคยเป็ นส่ วนหนึ่ งของเมืองอุบล เช่นเดียวกับ
เมืองอานาจเจริ ญ) ที่ควรมีการศึกษาวิจยั ขยายพื้นที่และประเด็นไปสู่ งานช่างแขนงอื่น ๆ

วัดอัมพวัน วัดทุ่งขุนใหญ่ และวัดทุ่งขุนน้อย โดยทั้งหมด 90 % ไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จึงเป็ นสิ่ งที่ควรต้องมี


การซ่ อมแซมสงวนรักษาศิลปวัตถุโดยเฉพาะการป้ องกันการถูกโจรกรรมจากกลุ่มนักค้าศิลปวัตถุโบราณ อย่าง
กรณี ของฮาวไต้เทียนทรงเครื่ องอันงดงามยิ่งแห่ งเมืองอุบลของ วัดพระธาตุสวนตาล ควรจะมีการป้ องกันและ
ดูแลรักษา ให้มากกว่าที่เป็ นอยูอ่ ย่างในปั จจุบนั ที่สุ่มเสี่ ยงต่อการสู ญหายและการชารุ ดทรุ ดโทรม หรื อแม้แต่ภาค
ส่ วนการศึกษาควรมีการศึกษาวิจยั แบบเป็ นการเฉพาะเจาะลึกขยายฐานองค์ค วามรู้ ศิลปะท้องถิ่ นเหล่านี้ ในวง
กว้างออกไปทั้งในแง่การศึกษาเปรี ยบเทียบข้ามเส้นเขตแดนของความเป็ นรัฐชาติของไทยและลาวหรื อการศึกษา
เชิงอนุ รักษ์และพัฒนาที่จะทาให้เห็นความสัมพันธ์ในฐานะวัตถุ สิ่งของที่สัมพันธ์เชื่ อมโยงกับวิถีทอ้ งถิ่ นอีสาน
กับสปป.ลาวซึ่ งมีการถ่ายมาและเทไปตามบริ บทเงื่อนไขทางสังคมการเมืองและเรื่ องของวัฒนธรรม
241

ภาพที่168 ศิ ล ปะงานช่ า งในวัฒนธรรมไทยลาวล้า นนาและล้า นช้า ง ที่ แสดงความเป็ นเครื อ ญาติ ทาง
วัฒนธรรมผ่านงานช่างของใช้ในพุทธพิธีที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ที่คลี่คลายถ่ายเทกันไปมา อย่างภาพบนซ้าย
เป็ นฮาวไต้เทียนสกุลช่างยโสธร ส่ วนขวาบนและขวาล่างเป็ นฮาวไต้เทียนแบบช่างหลวงเวียงจันทน์ที่เก็บ
รักษาไว้ที่หอพิพิธภัณฑ์วดั สี สะเกด แขวงเวีย งจันทน์ และซ้ายล่างเป็ นราวเทียนและเชิ งเทียนในวัฒนธรรม
ไทยล้านนา ที่มีเอกลักษณ์เป็ นของตนเองแม้จะอยูใ่ นวัฒนธรรมลาวด้วยกัน

You might also like