Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 47

1

แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัส ค 22101 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 2

คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเลื่อนขนาน
ก. ข.

ค. ง.

2. หาพิกัดของจุด A ( 4 , -2 ) ที่เกิดจากการเลื่อนขนานเดียวกับการส่งจุด B ( -1 , 5 ) ไปยังจุด B(5,1)


ก. ( 2 , -2 ) ข. ( 0 , -8 )
ค. ( 8 , 4 ) ง. ( 10 , -6 )

3. กำหนดให้  ABC เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน ABC ข้อใดเป็นเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน


ABC
ก.

ข.

ค.

ง.
2

4. ถ้ารูปหนึ่งเกิดจากการแปลงอีกรูปหนึ่ง โดยที่จุด P แปลงไปเป็นจุด Y จุด Q แปลงไปเป็นจุด X และจุด R


แปลงไปเป็นจุด Z ดังรูป

การแปลงดังกล่าวเป็นการแปลงข้อใด
ก. การสะท้อน ข. การเลื่อนขนาน
ค. การหมุน ง. การสะท้อนและการหมุน

5. ถ้ารูปต้นแบบคือ แล้วภาพที่เกิดจากการสะท้อนโดยมีแกน X เป็นเส้นสะท้อน คือข้อใด

ก. ข.

ค. ง.

6. กำหนด AB โดยมีแกน X เป็นเส้นสะท้อน จุด A มีพิกัดเป็น (-3,4) และจุด B มีพิกัดเป็น (4,-2) จงหา
พิกัดของจุด A และ B
ก. A ( 3 , 4 ) B ( -4 , -2 ) ข. A ( 3 , -4 ) B ( -4 , 2 )
ค. A ( -3 , -4 ) B ( 4 , 2 ) ง. A ( -3 , 4 ) B ( -4 , 2 )

7. ข้อใดคือ จุด S และ T ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน ST โดยมี L เป็นเส้นสะท้อน

ก. S ( 1 , 2 ) , T  ( 5 , 1 )
ข. S ( 0 , 2 ) , T  ( -4 , 1 )
ค. S ( 0 , 1 ) , T  ( -4 , 2 )
ง. S ( 2 , 3 ) , T  ( 6 , 2 )
3

8. รูปสามเหลี่ยม ABC จุด A มีพิกัดเป็น ( 3 , 0 ) จุด B มีพิกัดเป็น ( 5 , 1 ) และจุด C มีพิกัดเป็น ( 2 , 3 )


จงหาพิกัดของจุด C บนภาพจากการหมุนรูปสามเหลี่ยม ABC โดยหมุนรอบจุดกำเนิดด้วยมุม 180 องศา
ก. ( -2 , -3 ) ข. ( 2 , -3 )
ค. ( 2 , 3 ) ง. ( -2 , 3 )

9. ข้อใดเป็นการหมุน ABC โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา และมีจุด P เป็นจุดหมุนเป็นมุม 90 องศา


ก. ข.

ค. ง.

10. รูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นภาพที่ได้จากการหมุน รูปสี่เหลี่ยม ABCD รอบจุดกำเนิด O หมุนทวนเข็ม


นาฬิกา ด้วยมุมที่มีขนาด 90 องศา ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

ก. A (6,-2)

ข. B (-4,1)

ค. C (-4,-2)

ง. D (-2,-3)

***********************************************
4

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ตอนที่ 1
การเลื่อนขนาน ( Translation )
5

แบบฝึกทักษะ
ตอนที่ 1 การเลื่อนขนาน

สาระสำคัญ
การเลื่อนขนาน ( Translation ) คือ การเปลี่ยนที่จุดทุดจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปในทิศทาง
เดียวกันเป็นระยะทางเท่า ๆ กัน
สมบัติของการเลื่อนขนาน
1. รูปที่ได้จากการเลื่อนขนานจะเท่ากันทุกประการกับรูปต้นแบบ
2. จุดแต่ละจุดที่สมนัยกันกับรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานกับรูปต้นแบบจะมีระยะห่างเท่ากัน
3. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของรูปต้นแบบ

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้
ตัวชี้วัด เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิต
จริง

จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและสมบัติของการเลื่อนขนานบนระนาบ
2. หาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบ
3. หาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานเมื่อกำหนดรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน
4. บอกพิกัดของจุดบนภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานรูปต้นแบบที่กำ หนดให้
5. บอกได้ว่ารูปคู่ใดเป็นรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน เมื่อกำหนดรูปเรขาคณิตที่เท่ากัน
ทุกประการให้
6. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเลื่อนขนานในการแก้ปัญหา
6

กิจกรรมทักษะที่ 1
เรื่อง การเลื่อนขนาน
วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัส ค 22101 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 2

การเลื่อนขนาน (Translation)

การ เลื่อนขนานต้องมีรูปต้นแบบ ทิศทางและระยะทางที่ต้องการเลื่อนรูป การ เลื่อนขนานเป็นการ


แปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปที่ได้จากการเลื่อนรูปต้น แบบไปในทางทิศทางใดทิศทางหนึ่งด้วยระยะทางที่
กำหนด จุดแต่ละจุดบนรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานระยะห่างจากจุดที่สมนัยกันบนรูปต้น แบบเป็นระยะทาง
เท่ากัน การเลื่อนในลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สไลด์ (slide)” ดังตัวย่าง
การเลื่อนขนานบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดไปบนระนาบตามแนว
เส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางที่เท่ากันตามที่กำหนดในการบอกทิศทางและระยะทางของการ
เลื่อนขนาน จะใช้เวกเตอร์เป็นตัวกำหนด เช่นเวกเตอร์ OP เขียนแทนด้วย ซึ่ง จะมีทิศทางจากจุดเริ่มต้น O ไป
ยังจุดสิ้นสุด P และมีขนาดเท่ากับความยาวของ ดังรูป

จากรูป จะได้ว่า
AA ' , BB' , CC' และ PP' จะขนานกับ OP และ AA ' = BB' = CC' = PP' = OP
การกำหนดเวกเตอร์ของการเลื่อนขนานอาจให้จุดเริ่มต้นอยู่บนรูปต้นแบบหรืออยู่นอกรูปต้นแบบได้จาก
ตัวอย่างข้างต้น สรุปการเลื่อนขนานได้ดังนี้
1. รูปต้นแบบกับภาพที่เกิดจากการเลื่อนขนานเท่ากันทุกประการ
2. ระยะห่างระหว่างจุดที่สมนัยกันของรูปต้นแบบกับภาพที่เกิดจากการเลื่อนขนานหรือขนาดของ
การเลื่อนขนานเท่ากัน
3. ส่วนของเส้นตรงที่สมนัยกันของรูปต้นแบบกับภาพที่เกิดจากการเลื่อนขนานจะเท่ากันหรือขนานกัน
4. การเลื่อนขนานจะต้องมีทิศทาง
7

ตัวอย่าง จงหาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน ABCD ด้วย CC'

ในการหาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน ABCD ให้หาจุด A’ , B’ และ D’ ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการ


เลื่อนขนานของจุด A, B และ D ตามลำดับ สามารถทำได้ดังนี้

1. ลาก AA ' = BB' = DD ' ให้มีขนาดและทิศทางเช่นเดียวกับ CC'


2. ลาก A 'B' , A 'D' , D'C' และ C'B' จะได้ A B C D เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน ABCD
ด้วย CC'
ในกรณีที่เวกเตอร์ของการเลื่อนขนานที่กำหนดให้ขนานกับแกน X หรือแกน Y การเลื่อนขนานรูป
ต้นแบบก็จะกระทำได้ง่าย แต่ถ้าเวกเตอร์ที่กำหนดให้นั้น ไม่ขนานกับแกน X และแกน Y แล้ว เราอาจใช้วิธีดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้ช่วยในการหาภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน

ตัวอย่าง ให้นักเรียนพิจารณาการเลื่อนขนานจุด Q ด้าน OP ต่อไปนี้

วิธีที่ 1 เลื่อนจุด Q ไปทางขวาตามแกน X 2 หน่วย และเลื่อนขึ้นไปตามแกน Y 4 หน่วย จะได้


ตำแหน่ง Q ? ดังรูป
8

วิธีที่ 2 เลื่อนจุด Q ขึ้นไปตามแกน Y 4 หน่วย แล้วเลื่อนไปทางขวาตามแกน X 2 หน่วย จะได้


ตำแหน่ง Q ดังรูป

ตัวอย่าง กำหนด  ABC มีจุด A (3,0) จุด B (5,4) และจุด C (-1,6) เป็นจุดยอดมุม จงเลื่อน  ABC
ด้วย MN ที่กำหนดให้ และหาพิกัดของจุดยอดมุม  ABC ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน  ABC

จากภาพเมื่อพิจารณาทิศทางและระยะทางการเลื่อนขนานด้วย MN จะได้ว่าจะต้องเลื่อนขนานจุด
A , B และ C แต่ละจุดไปทางขวาตามแนวแกน X 4 หน่วย และเลื่อนขึ้นตามแนวแกน Y 3 หน่วย
9

ดังนั้น
- จากจุด A ( 3 , 0 ) เลื่อนจุด A ไปทางขวาตามแนวแกน X 4 หน่วย และเลื่อนขึ้นตาม
แนวแกน Y 3 หน่วย จะได้จุด A ? เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด A และมีพิกัดเป็น ( 7 , 3 )
- จากจุด B ( 5 , 4 ) เลื่อนจุด B ไปทางขวาตามแนวแกน X 4 หน่วย และเลื่อนขึ้นตาม
แนวแกน Y 3 หน่วย จะได้จุด B ? เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด B และมีพิกัดเป็น ( 9 , 7 )
- จากจุด C ( -1 , 6 ) เลื่อนจุด C ไปทางขวาตามแนวแกน X 4 หน่วย และเลื่อนขึ้นตาม
แนวแกน Y 3 หน่วย จะได้จุด C ? เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานจุด C และมีพิกัดเป็น ( 3 , 9 )
นั่นคือ  ABC เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน  ABC ด้วย มีจุดยอดมุมเป็น A ( 7 , 3 )
,B(9,7),C(3,9)

ตัวอย่าง กำหนด PQRS เป็นภาพที่ได้จากการเลื่อนขนาน PQRS


(1) จงหาพิกัดของจุดยอดมุม PQRS
(2) จงหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน PQRS
10

ในการหาเวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน PQRS อาจใช้ PP' หรือ QQ ' หรือ RR' หรือ SS'
เวกเตอร์ใดเวกเตอร์หนึ่งที่รู้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

1) จากรูป หาพิกัดของจุด P , Q , R และ S ได้เป็น P ( -3 , -2) , Q ( 1 , -1 ) , R ( 1 , 3 ) และ


S(3,0)
2) จากรูป หาพิกัดของจุด P ได้เป็น ( 3 , 2 ) และจากข้อ 1) พิกัดของจุด Q ? คือ ( 1 , -1 )
ดังนั้น เวกเตอร์ของการเลื่อนขนาน  ABC คือ QQ ' ที่มีจุดเริ่มต้นเป็น Q ( 7 , 3 ) และจุดสิ้นสุด
เป็น Q ? ( 1 , -1 ) เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเลื่อนขนานมาช่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การหา
พื้นที่โดยประมาณของรูปต่าง ๆ

ตัวอย่าง จงหาพื้นที่โดยประมาณของรูปที่กำหนดให้ เมื่อ PQ ขนานกับ ST และยาวเท่ากับ

จะเห็นว่า ถ้าเราเลื่อนขนาน  QRS ลงมาเป็นระยะ 6 หน่วย แล้ว  QRS จะทับ  UTP ได้สนิท
และได้รูปสี่เหลี่ยม PQST ดังรูป
11

เลื่อนขนาน  QRS ด้วย PQ จะได้ PQST


จากรูป PQST มีความกว้าง 4 หน่วย และความยาว 6 หน่วย
ดังนั้น พื้นที่ของ PQST = 4 x 6 ตารางหน่วย
= 24 ตารางหน่วย
นั่นคือ พื้นที่โดยประมาณของรูปที่กำหนดให้ ประมาณ 24 ตารางหน่วย
12

คำชี้แจง จงแสดงรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน แต่ละข้อต่อไปนี้

1.  ABC มีจุดยอด A ( -2 , -3 ) , B ( 4 , 1 ) และ C ( -1 , 2 ) จงเขียน  ABC และรูปสามเหลี่ยม


ที่เกิดจากการเลื่อนขนานไปทางซ้าย 2 หน่วย และขึ้นบน 3 หน่วย
จุด A ( -2 , -3 ) เลื่อนไปทางซ้าย 2 หน่วย และขึ้นบน 3 หน่วย จะได้จุด A' (…… , ….. )
จุด B ( 4 , 1 ) เลื่อนไปทางซ้าย 2 หน่วย และขึ้นบน 3 หน่วย จะได้จุด B' (…… , ….. )
จุด C ( -1 , 2 ) เลื่อนไปทางซ้าย 2 หน่วย และขึ้นบน 3 หน่วย จะได้จุด C' (…… , ….. )
13

2. สี่เหลี่ยมจัตุรัส PQRS มีจุดยอด P( 0 , 3 ) , Q( 2 , 1 ) , R( 4 , 3 ) และ S( 2 , 5 ) จงเขียนรูป


สี่เหลี่ยมจัตุรัส PQRS และรูปสี่เหลี่ยม PQRS ที่เลื่อนขนานด้วย ( -3 , -5 )
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................... ......
............................................................................................................................ ....................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
14

3. รูปห้าเหลี่ยม ABCDE มีจุดยอด A( -3 , -4 ) , B( 2 , -4 ) , C( 3 , 0 ) , D( 0 , 3 ) และ E( -5 , -2 )


จงเขียนรูปห้าเหลี่ยม ABCDE และรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ซึ่งเกิดจากการเลื่อนขนาน ถ้าคิดพิกัด
ของ D คือ ( 4 , 5 )
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
15

4. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า KLMN มีจุดยอด K( -3 , -2 ) , L( 1 , -2 ) , M( 1 , 4 ) จงเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า


KLMN และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า K L M N  ที่เลื่อนขนานด้วย ( 5 , -2 )
4.1) บอกค่าพิกัดของจุดยอด N
4.2) ถ้าต้องการให้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า K L M N  อยู่ในตำแหน่งเดิม จะต้องเลื่อนขนานด้วยคู่อันดับใด
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................... ......
............................................................................................................................ ....................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................... ......
............................................................................................................................ ....................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................. ..............
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
16
17

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ตอนที่ 2
การสะท้อน ( Reflection )
18

แบบฝึกทักษะ
ตอนที่ 2 เรื่อง การสะท้อน

สาระสำคัญ
การสะท้อน ( Reflection ) คือ การแปลงที่จุดทุดจุดของรูปต้นและเคลื่อนที่ข้ามเส้นตรงเส้นหนึ่ง
ซึ่งเสมือนกระจก หรือเรียกว่าเส้นสะท้อน หรือ เส้นสมมาตร โดยที่เส้นสะท้อนนี้จะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วน
ของเส้นตรงระหว่างจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อนที่สมนัยกัน
สมบัติของการสะท้อน
1. รูปที่เกิดจากการสะท้อนจะเท่ากันทุกประการกับรูปต้นแบบ
2. รูปที่เกิดจากการสะท้อนกับรูปต้นแบบจะห่างจากเส้นสะท้อนเท่ากัน
3. จุดบนเส้นสะท้อนเป็นจุดคงที่ ไม่มีการสะท้อน

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูป
เรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้
ตัวชี้วัด เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหา
ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและสมบัติของการสะท้อนบนระนาบ
2. หาภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบ
3. หาเส้นสะท้อนของการสะท้อนเมื่อกำ หนดรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อน
4. บอกพิกัดของจุดบนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบที่กำ หนดให้
5. บอกได้ว่ารูปคู่ใดแสดงการสะท้อน เมื่อกำ หนดรูปเรขาคณิตที่เท่ากันทุกประการให้
6. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการสะท้อนในการแก้ปัญหา
19

กิจกรรมทักษะที่ 2
เรื่อง การสะท้อน
วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัส ค 22101 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 2

การสะท้อน (Reflection)

การสะท้อนเป็นการแปลงที่มีการจับคู่กันระหว่างจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุด แต่ละจุดบนรูป
สะท้อน โดยที่รูปที่เกิดจากการสะท้อนมีขนาดและรูปร่างเช่นเดิม หรือกล่าวว่ารูปที่เกิดจากการสะท้อนเท่ากัน
ทุกประการกับรูปเดิม
เส้น สะท้อนจะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดแต่ละจุด บนรูปต้นแบบกับ
จุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อนที่สมนัยกัน นั่นคือระยะระหว่างจุดต้นแบบและเส้นสะท้อนเท่ากับระยะระหว่างจุด
สะท้อนและ เส้นสะท้อน
การสะท้อนบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีเส้นตรง m ที่ตรึงเส้นหนึ่งเป็นเส้นสะท้อนโดย
แต่ละจุด P บนระนาบจะมีจุด P’ เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุด P โดยที่
1. ถ้าจุด P ไม่อยู่บนเส้นตรง m แล้วเส้นตรง m จะแบ่งครึ่ง และตั้งฉากกับ
2. ถ้าจุด P อยู่บนเส้นตรง m แล้วจุด P และจุด P’ เป็นจุดเดียวกัน

ตัวอย่าง การสะท้อนที่มีเส้นตรง m เป็นเส้นสะท้อน


กรณีที่ 1 ทุกจุดบนรูปต้นแบบไม่อยู่บนเส้นตรง m

กรณีที่ 2 มีบางจุดบนรูปต้นแบบอยู่บนเส้นตรง m
20

สมบัติของการสะท้อน มีดังนี้
1. รูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนเท่ากันทุกประการ
2. ส่วนของเส้นตรงบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนของส่วนของเส้นตรงนั้น ไม่จำเป็นต้อง
ขนานกันทุกคู่
3. ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดที่สมนัยกันบนภาพทีได้จากการสะท้อนจะ
ขนานกันและไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน

ตัวอย่าง

กำหนด  ABC เป็นรูปต้นแบบ และ mn เป็นเส้นสะท้อน จงหาภาพที่ได้จากการสะท้อน


ของ  ABC
วิธีทำ จะต้องหาจุด A , B และ C ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุด A, B และ C ตามลำดับด้วยเส้น
สะท้อน mn ดังนี้

1. ลาก AP , BQ และ CR ตั้งฉากกับ mn ที่จุด P, Q และ R ตามลำดับ


2. หาจุด A , B และ C บน AP , BQ และ CR ตามลำดับ โดยให้ AP = PA , BQ = QB และ
CR = RC
3. ลาก A B , B C และ C A
จะได้  A B C เป็นภาพสะท้อนที่ได้จาก  ABC ด้วยเส้นสะท้อน MN
21

ตัวอย่าง กำหนดรูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปต้นแบบ และ A’ B’ C’ D’ เป็นภาพที่ได้จากการ สะท้อนจงหา


เส้นสะท้อน

วิธีทำ
1. ลาก AA ' ซึ่งเป็นจุดที่สมนัยกัน
2. สร้าง mn ให้แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ AA '
จะได้ mn เป็นเส้นสะท้อน

หมายเหตุ การลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดที่สมนัยกัน อาจลากส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง


จุดที่สมนัยกับคู่อื่น ๆ ก็จะได้เส้นสะท้อนเดียวกับเส้นตรงดังภาพต่อไปนี้

จะเห็นว่า ลาก mn ผ่านจุดกึ่งกลางของ AA ' , CC' และ DD ' ก็จะได้ mn เป็นเส้นสะท้อน


22

ตัวอย่าง กำหนด ABCD และให้แกน Y เป็นเส้นสะท้อน จงหา


(1) พิกัดของจุด A B C และ D ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุด A, B C และ D
(2) A’ B’ C’ D’ ซึ่งเป็นภาพสะท้อน ABCD

จากรูปจุด D อยู่บนแกน Y ที่เป็นเส้นสะท้อน จะได้จุด D เป็นจุดเดียวกันกับจุด D’


ส่วนจุด จุด A , B และ C จะมีจุด A’ B’ และ C’ เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน ซึ่งจุดแต่ละคู่สมนัยกัน
จะมีพิกัดที่หนึ่ง
เป็นจำนวนตรงข้ามกัน เพราะอยู่คนละข้างของแกน Y เป็นระยะที่เท่ากัน และจะมีพิกัดที่สองเป็น
จำนวนเดียวกัน
เพราะอยู่ห่างจากแกน X เป็นระยะที่เท่ากัน สามารถแสดงได้ดังนี้
23

1. หาพิกัดของจุด A’ B’ C’ และ D’ ดังนี้


(1) จากรูป จุด D มีพิกัดเป็น ( 0 , 3 ) เนื่องจากจุด D และจุด D’ เป็นจุดเดียวกัน
ดังนั้นจุด D จึงมีพิกัดเป็น ( 0 , 3 )
(2) จากรูป
จุด A มีพิกัดเป็น ( 2 , 1 ) จะได้จุด A’ มีพิกัดเป็น ( -2 , 1 )
จุด B มีพิกัดเป็น ( 5 , 1 ) จะได้จุด B’ มีพิกัดเป็น ( -5 , 1 )
และจุด C มีพิกัดเป็น ( 6 , 5 ) จะได้จุด C’ มีพิกัดเป็น ( -6 , 5 )
2. ลาก C'D' , D' A ' , C'B' และ B' A ' จะได้ A’B’C’D’ ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนด้วยเส้น
สะท้อนแกน Y กรณีที่กำหนดเส้นสะท้อเป็นเส้นตรงที่ไม่ใช่แกน X หรือแกน Y อาจหาพิกัดของ
จุดที่เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุดที่กำหนดให้โดยพิจารณาดัง นี้

กรณีที่ 1 ถ้าเส้นสะท้อนขนานกับแกน X หรือขนานกับแกน Y ให้นับช่องตารางหาระยะระหว่างจุดที่


กำหนดให้กับเส้นสะท้อน ซึ่งภาพของจุดนั้น จะอยู่ห่างจากเส้นสะท้อนเป็นระยะที่เท่ากันกับระยะที่นับได้ เมื่อ
ได้ภาพของจุดนั้นแล้วจึงหาพิกัด

ตัวอย่าง กำหนดจุด A ( 3 , 3 ) และจุด B ( -2 , -1 ) มีเส้นตรง 1 เป็นเส้นสะท้อนที่ขนานกับแกน X


และอยู่ห่างจากแกน X ขึ้นไป 2 หน่วย ดังรูป

1.) จากรูป จุด A ( 3 , 3 ) อยู่เหนือเส้นสะท้อน 1 เป็นระยะ 1 หน่วย จะได้จุด A ซึ่งเป็นภาพที่ได้จาก


การสะท้อน จุด A อยู่ใต้เส้นสะท้อน 1 เป็นระยะ 1 หน่วยเช่นกัน และหาพิกัดของจุด A ได้เป็น ( 3 , 1 )
2.) จากรูป จุด B ( -2 , -1 ) อยู่ใต้เส้นสะท้อน 1 เป็นระยะ 3 หน่วย จะได้จุด B ซึ่งเป็นภาพที่ได้จาก
การสะท้อน จุด B อยู่เหนือเส้นสะท้อน 1 เป็นระยะ 3 หน่วยเช่นกัน และหาพิกัดของจุด B ได้เป็น ( -2 , 5 )
24

กรณีที่ 2 ถ้าเส้นสะท้อนไม่ขนานกับแกน X หรือไม่ขนานกับแกน Y แต่เป็นเส้นในแนวทแยงให้


ลากเส้นตรงผ่านจุดที่กำหนดให้และตั้งฉากกับเส้นสะท้อน ภาพของจุดที่กำหนดให้จะอยู่บนเส้นตั้งฉากที่สร้าง
ขึ้น และอยู่ห่างจากเส้นสะท้อนเป็นระยะเท่ากันกับจุดที่กำหนดให้อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน เมื่อได้ภาพของจุด
นั้นแล้วจึงหาพิกัด ตัวอย่าง กำหนดจุด A ( 4 , -2 ) , B ( -3 , 0 ) และ C ( 1 , 3 ) มีเส้นตรง 1 ซึ่งผ่านจุด
( 5 , 2 ) และ ( -1 , -4 ) ดังรูป

จากรูป หาพิกัดจุด A , B และ C ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนของจุด A , B และ C ตามลำดับดังนี้

1. ลากเส้นตรง m ผ่านจุด A และให้ตั้งฉากกับเส้นสะท้อน 1


2. หาจุด A บนเส้นตรง m1 ที่ทำให้จุด A และ A’ อยู่ห่างจากเส้นตรง l เท่ากัน
3. จากรูปจะได้ A’ เป็น ( 1 , 1 )
4. ในทำนองเดียวกัน เมื่อลากเส้นตรง m2 ผ่านจุด B และให้ตั้งฉากกับเส้นสะท้อน l แล้วหาจุด B’
จะได้พิกัดของจุด B’ เป็น ( 3 , -6 )
5. ในทำนองเดียวกัน เมื่อลากเส้นตรง m3 ผ่านจุด C และให้ตั้งฉากกับเส้นสะท้อน l แล้วหาจุด C’
จะได้พิกัดของจุด C เป็น ( 6 , -2 )
25

ตัวอย่าง กำหนด  ABC มีพิกัด A ( 1 , 3 ) , B ( 2 , 1 ) และ C ( 4 , 5 ) และ C ( 4 , 5 ) และให้เส้นตรง


l เป็นเส้นสะท้อนที่ขนานกับแกน X อยู่ใต้แกน X ระยะห่าง 2 หน่วย จงหา
1) พิกัดของจุด A’ , B’ และ C’ ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนของจุด A , B และ C
2)  A’B’C’ ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน  ABC

จะต้องหาจุด A’ , B’ และ C’ โดยใช้การนับช่องตารางหาระยะที่จุด A’ , B’ และ C’ อยู่ห่างจากเส้น


สะท้อนเท่ากับระยะที่จุด A , B และ C ดังนี้

1) หาพิกัดของจุด A’ , B’ และ C’ ดังนี้


(1) นับจุด A, B และ C อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l เป็นระยะกี่หน่วย
จุด A อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 5 หน่วย
จุด B อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 3 หน่วย
จุด C อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 7 หน่วย
26

(2) หาจุด A’ , B’ และ C’ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ได้จากการสะท้อน จุด A , B และ C โดยที่


จุด A อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 5 หน่วย จะได้พิกัดของจุด A’ ( 1 , -7 )
จุด B อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 3 หน่วย จะได้พิกัดของจุด B’ ( 2 , -5 )
จุด C อยู่ห่างจากเส้นสะท้อน l = 7 หน่วย จะได้พิกัดของจุด C’ ( 4 , -9 )
2) ลาก A 'B' , A ' C' และ B' C' จะได้  A’B’C’ ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อน  ABC
ด้วยเส้นสะท้อน l

คำชี้แจง จงแสดงรูปที่ได้จากการสะท้อนจากรูปต้นแบบในแต่ละข้อต่อไปนี้

จงสะท้อนรูปต่อไปนี้ข้ามเส้นตรง / ให้ถูกต้อง

1. . 2. .

3. . 4. .

5. . 6. .
27

แบบฝึกทักษะที่ 3
เรื่อง การสะท้อน
วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัส ค 22101 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 2

การสะท้อนข้ามแกน
1.) จงบอกชื่อเส้นสมมาตรของรูปแต่ละคู่ต่อไปนี้
1.1) 1.3)

เส้นสมมาตร คือ ………………………. เส้นสมมาตร คือ ……………………….


1.2) 1.4)

เส้นสมมาตร คือ ………………………. เส้นสมมาตร คือ ……………………….


2.) จงเขียนรูปที่เกิดจากการสะท้อนรูปต้นแบบที่กำหนดให้ต่อไปนี้
2.1) 2.2)
28

2.3) 2.5)

2.4) 2.6)
29

3.) จงสะท้อนรูปสามเหลี่ยม ABC ข้ามแกน Y เมื่อจุดยอดคือ A(0 , 4) , B(-5 , 2) และ C(0 , -3)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………...........…
30

4.) จงสะท้อนรูปสี่เหลี่ยมคางหมู PQRS ข้ามแกน X เมื่อขุดยอดคือ P(-4 , 3) , Q(-1 , 3) , R(0 , 0) และ


S(-4 , 0)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
31

5.) รูปสามเหลี่ยม DEF มีจุดยอด D(0 , 3) , E(-2 , 0) , F(0 , -5) จงใช้การสะท้อนเขียนรูปสามเหลี่ยม


อีกรูปที่ทำให้เกิดรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว DEFG
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………...........…………………
32

6.) จงสะท้อนรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ข้ามแกน X และแกน Y เมื่อจุดยอดคือ


A ( -5 , -5) , B ( -1 , -5 ) , C ( -1 , -3 ) , D ( -4 , -1 ) และ E ( -5 , -2 )

*****************************************************
33

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ตอนที่ 3
การหมุน ( Rotation )
34

แบบฝึกทักษะ
ตแนที่ 3 เรื่อง การหมุน

สาระสำคัญ
การหมุน ( Rotation ) คือ การแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุดตรึง
ที่อยู่กับที่ ซึ่งเรียกว่า จุดศูนย์กลางของการหมุน ( Center of Rotation ) หรือ จุดหมุน
สมบัติของการหมุน
1. รูปที่ได้จากการหมุนจะเท่ากันทุกประการกับรูปต้นแบบ
2. จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปด้วยมุมขนาดเดียวกันรอบจุดหมุนซึ่งเป็นจุดคงที่

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูป
เรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้
ตัวชี้วัด เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหา
ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและสมบัติของการหมุนบนระนาบ
2. หาภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบ
3. หาจุดหมุน ขนาดของมุมที่เกิดจากการหมุน ทิศทางการหมุนเมื่อกำ หนดรูปต้นแบบ และภาพที่ได้
จากการหมุน
4. บอกพิกัดของจุดบนภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบที่กำ หนดให้
5. บอกได้ว่ารูปคู่ใดเป็นรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุน เมื่อกำ หนดรูปเรขาคณิตที่เท่ากันทุก
ประการให้
6. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการหมุนในการแก้ปัญหา
35

กิจกรรมทักษะที่ 4
เรื่อง การหมุน
วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 รหัส ค 22101 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 2

การหมุน ( Rotation )

การหมุน ( Rotation ) คือ การแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุดตรึง


ที่อยู่กับที่ ซึ่งเรียกว่า จุดศูนย์กลางของการหมุน ( Center of Rotation ) หรือ จุดหมุน
การหมุนบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีจุด O ที่ตรึงจุดหนึ่งเป็นจุดหมุนแต่ละจุด P บน
ระนาบมี P' เป็นภาพที่ได้จากการหมุนจุด P รอบจุด O ตามทิศทางที่กำหนดด้วยมุมที่มีขนาด K โดยที่
1. ถ้าจุด P ไม่ใช่จุด O แล้ว OP = OP' และขนาดของ มุม POP เท่ากับ k
2. ถ้าจุด P เป็นจุดเดียวกันกับจุด O แล้ว P เป็นจุดหมุน

ตัวอย่าง การหมุนที่มีจุด O เป็นจุดหมุน

กรณีที่ 1 จุดหมุน O อยู่บนรูปต้นแบบ

กรณีที่ 2 จุดหมุน O ไม่อยู่บนรูปต้นแบบ


36

สมบัติของการหมุนมีดังนี้
1. รูปต้นแบบกับภาพที่ได้จากการหมุนเท่ากันทุกประการ
2. ส่วนของเส้นตรงบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนส่วนของเส้นตรงนั้นไม่จำเป็นต้องขนาน
กันทุกคู่
3. จุดบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนแต่ละคู่จะอยู่บนวงกลมที่มีจุดหมุนเป็นจุดศูนย์กลาง
เดียวกัน แต่วงกลมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีรัศมียาวเท่ากัน

ตัวอย่าง กำหนด  ABC เป็นรูปต้นแบบ จุด O เป็นจุดหมุน จงหา A'B'C' ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการหมุน


 ABC ทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมที่มีขนาด k

สร้างมุม AOA , มุม BOB และ มุม COC ทวนเข็มนาฬิกาให้มีขนาดเท่ากับ k และให้ OA = OA ,


OB = OB , OC = OC ดังนี้

1. ลากเส้นตรง OA
2. สร้างมุม AOP ให้มีขนาดเท่ากับ k
3 . ให้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OA เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OP ที่จุด A’
4. ลากเส้นตรง OB
5. สร้างมุม BOQ ให้มีขนาดเท่ากับ k
6 . ให้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OB เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OQ ที่จุด B’
7. ลากเส้นตรง OC
37

8. สร้างมุม COR ให้มีขนาดเท่ากับ k


9 . ให้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OR เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OR ที่จุด C’
10. ลากเส้นตรง A’B’ , B’C’ และ C’A’ จะได้  A'B'C' เป็นภาพที่ได้จากการหมุน  ABC ทวน
เข็มนาฬิการอบจุด O ด้วยมุมที่มีขนาด k

นอกจากนี้เราสามารถหาจุดหมุน ทิศทางการหมุน และขนาดของมุมที่ใช้ในการหมุนในกรณีที่มีรูป


ต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุน กำหนด  A'B'C' เป็นภาพที่ได้จากการหมุน  ABC จงหาจุดหมุน ทิศ
ทางการหมุน และขนาดของมุมที่ใช้ในการหมุน

เราอาจใช้การสร้างหาจุดหมุนได้ โดยสร้างเส้นตรงสองเส้นให้แต่ละเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วน
ของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบและบนภาพที่ได้จากการหมุนจุดตัดของเส้นตรงทั้งสอง
คือ จุดหมุน ดังรูป

จากรูปข้างต้นมีการสร้างดังนี้
1. ลากเส้นตรง AA
2. สร้างเส้นตรง PQ แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับเส้นตรง AA
3. ลากเส้นตรง CC
4. สร้างเส้นตรง XY แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับเส้นตรง CC
5. ให้เส้นตรง PQ ตัดกับเส้นตรง XY ที่จุด R จะได้จุด R เป็นจุดหมุน
6. ลากเส้นตรง RC และเส้นตรง RC จะได้ขนาดของมุม CRC เป็นขนาดของมุมที่ใช้ในการหมุน
นั่นคือ  ABC หมุนรอบจุด R ทวนเข็มนาฬิกาด้วยขนาดของมุมเท่ากับ
38

ตัวอย่าง กำหนด  A'B'C' เป็นภาพที่ได้จากการหมุน  ABC ที่กำหนดให้รอบจุดกำเนิด O ทวนเข็มนาฬิกา


ด้วยมุมขนาด 180 องศา จงหา
1) พิกัดจุด A' , B' และ C' ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการหมุนจุด A , B และ C ตามลำดับ
2)  A'B'C' ซึ่งเป็นภาพที่ได้จากการหมุน

จะเห็นว่าโจทย์กำหนดให้ O เป็นจุดหมุน และหมุน  ABC ทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมขนาด 180 องศา


เราสามารถหา จุด A , B และ C ได้โดยการลากเส้นตรงผ่านจุดยอดมุม  ABC กับจุดหมุน O เพื่อทำให้เกิด
มุมตรงที่มีขนาด 180 องศา ดังนี้
39

1) หาพิกัดของจุด A' , B' และ C' ดังนี้


1. ลากเส้นตรง OA , OB และ OC
2. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OA เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OA ที่จุด A’ จะได้ A’ ( -3 , -3 )
3. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OB เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OB ที่จุด B’ จะได้ B’ ( -5 , -3 )
4. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OC เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OC ที่จุด C’ จะได้ C’ ( -5 , -6 )
นั่นคือ จุด A' , B' และ C' มีพิกัดเป็น ( -3 , -3 ) , ( -5 , -3 ) และ ( -5 , -6 ) ตามลำดับ
2) ลากเส้นตรง A’B’ , B’C’ และ C’A’ จะได้  A'B'C' เป็นภาษาที่ได้จากการหมุน  ABC
รอบจุดกำเนิด O ทวนเข็มนาฬิกาด้วยมุมขนาด 180 องศา
นักเรียนพิจารณาการหาพื้นที่ของรูปต่อไปนี้
จากรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6 x 6 ตารางหน่วย มี O เป็นจุดศูนย์กลาง รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก EOF มี CE = 8
หน่วยและ OF = 6 หน่วย จงหาพื้นที่ของส่วนที่แรเงา

ในการแก้ปัญหานี้เราสามารถทำได้โดยใช้ความรู้เรื่องการหมุน โดยจะหมุนบางชิ้นส่วนของรูป
สามเหลี่ยมในส่วนที่ไม่ได้แรเงาดังนี้

ให้เส้นตรง OF ตัดเส้นตรง DC ที่จุด G ลากเส้นตรงจากจุด O มาตั้งฉากกับด้าน AD ที่จุด H


หมุนรูปสี่เหลี่ยม HOGD ตามเข็มนาฬิกาทำมุม 90 องศา จะพบว่า พื้นที่ส่วนที่แรเงา คือ พื้นที่ของรูป
สามเหลี่ยม EOF ลบพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมีด้านยาว 3 หน่วย ดังนั้นพื้นที่แรเงาคือ 24 – 9 = 15 ตาราง
หน่วย
40

ตัวอย่าง กำหนด O เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม OA ยาว 4 เซนติเมตร จงหาพื้นที่โดยประมาณของส่วนที่แร


เงาในรูป

จากรูปที่กำหนดให้ คาดคะเนว่า เป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งมีรัศมียาว 2 เซนติเมตร


เพื่อพิจารณาการหมุนรูปที่แรเงารอบจุด O คาดคะเนได้ว่ารูปนี้ทับส่วนที่ไม่แรเงาได้พอดี
แสดงว่าส่วนที่แรเงามีพื้นที่โดยประมาณเป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่วงกลมที่กำหนดให้ ดังนั้น
พื้นทีข่ องรูปวงกลมเท่ากับ r2 รัศมีของวงกลมเท่ากับ 4 เซนติเมตร
พื้นที่ของรูปวงกลมประมาณ 3.14 x 22 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ของส่วนที่แรเงาประมาณ = 0.5 x 3.14 x 2 x 2 ตารางเซนติเมตร
= 25.14 ตารางเซนติเมตร
41

คำชี้แจง จงแสดงภาพที่ได้จากการหมุนในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. ให้นักเรียนเขียนรูปที่เกิดจากการหมุน
1.1) ส่วนของเส้นตรง AB รอบจุด O ทวนเข็มนาฬิกาเป็นมุม 90 

1.2)  ABC รอบจุด O เป็นมุม 45


42

1.3)  PQRS รอบจุด O ตามเข็มนาฬิกาเป็นมุม 120 

1.4) จุด (-5 , 5) รอบจุด (-3 , 2) เป็นมุม 180 


43

2. รูปสามเหลี่ยม ABC มีจุดยอด A ( -5 , -4 ) , B ( -3 , 0 ) และ C ( 0 , -2 ) จงเขียนรูปสามเหลี่ยม ABC


และหมุนทวนเข็มนาฬิกาไป 90  รอบจุดกำเนิด แล้วเขียนรูปสามเหลี่ยม ABC
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............……………………………………………………………………………………………
44

3. รูปสามเหลี่ยมจัตุรัส PQRS มีจุดยอด P(0 , 3) , Q(-3 , 0) , R(0 , -3) และ S(3 , 0) จงเขียนรูป
สามเหลี่ยมจัตุรัส PQRS และหมุนไป 180  รอบจุดกำเนิด แล้วเขียนรูปสามเหลี่ยมจัตุรัส
PQRS
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………….........................................................................................................................…………
45

4. จงเขียนรูปหกเหลี่ยม ABCDEF ซึ่งมีจุดยอด A ( 1 , 1 ) , B ( 4 , 1 ) , C ( 4 , 2 ) , D ( 2 , 2 ) ,


E ( 2 , 5 ) และ F ( 1 , 5 )
4.1) หมุนรูปหกเหลี่ยม ABCDEF ไป 90  รอบจุดกำเนิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา และเขียนรูปหกเหลี่ยม
ABCDEF
4.2) หมุนรูปหกเหลี่ยม ABCDEF ไป 180  รอบจุดกำเนิด และเขียนรูปหกเหลี่ยม
ABCDEF
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
46

5. จากรูป  PQR หมุนรอบจุด O ทวนเข็มนาฬิกา ครั้งละ 30   PQR จะหมุน ............................ ครั้ง


จึงจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม
ดังนั้น อันดับของสมมาตรการหมุน เท่ากับ ....................................................................................

You might also like