Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30243 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง โครงสร้างของดอกและชนิดของผล เวลา 3 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นายนรินทร์ สุทธิประเสริฐ

1. ผลการเรียนรู้
สาระชีววิทยา
1. อธิบายวัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอก

2. สาระสำคัญ
ดอกโดยทั่วไปมีส่วนประกอบ 4 ชั้น คือ ชั้นกลีบเลี้ยง ชั้นกลีบดอก ชั้นเกสรเพศผู้ และชั้นเกสรเพศเมีย
อาจจำแนกประเภทของดอกได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบของดอก ตำแหน่งรังไข่ หรือจำนวนดอกที่อยู่บน
ก้านดอก ส่ว นประกอบของดอกที่เกี่ย วข้องกับการสืบพันธุ์โ ดยตรง คือชั้น เกสรเพศผู้และชั้นเกสรเพศเมีย
ซึ่งจำนวนรังไข่เกี่ยวข้องกับการเจริญเป็นผลชนิดต่าง ๆ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับจำนวนรังไข่และการเจริญเป็นผลชนิดต่าง ๆ (K)
2. นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของดอก โดยพิจารณาจากส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก (P)
3. นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์และเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ (A)

4. สาระการเรียนรู้
ส่วนประกอบของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์โดยตรงคือชั้นเกสรเพศผู้และชั้นเกสรเพศเมียซึ่งจำนวน
รังไข่เกี่ยวข้องกับการเจริญเป็นผลชนิดต่าง ๆ

5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. ใฝ่เรียนรู้
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการสื่อสาร
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

7. คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด
1. ความซื่อสัตย์
2. ความมีวินัย
3. ความรับผิดชอบ
4. ความพอเพียง
5. จิตสาธารณะ

8. จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา
1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการสื่อสารเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมนำสู่การเรียน (คาบที่ 1-2)
1) ขั้นสร้างความสนใจ (10 นาที)
1.1 ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยนำกิจกรรมมาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียน โดยครูเขีย น
คำถาม Prior Knowledge บนกระดาน แล้วให้นักเรียนตอบคำถามลงในกระดาษบันทึก และอภิปรายคำตอบที่ได้
ร่วมกับนักเรียน
1.2 ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์
ของพืชดอกโดยศึกษาจากดอกไม้ที่นักเรียนเตรียมมา เช่น ดอกพุทธรักษา ดาวเรือง ลีลาวดี เป็นต้น
1.3 ครูใช้คำถาม ถามกระตุ้นนักเรียนว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอกไม้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์
อย่างไร นักเรียนอาจร่วมกันตอบคำถามได้ว่า ดอกไม้แต่ละชนิดเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
2) ขั้นสำรวจและค้นหา (40 นาที)
2.1 ครูนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มาให้นักเรียนได้ศึกษา และใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมอภิปรายว่า
- ตัวอย่างดอกไม้ ที่นักเรียนเห็นมีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ดอกไม้ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ทำหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร
2.2 ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน
2.3 ครูให้นักเรียนศึกษารูปที่ 8.1 โครงสร้างดอก และรูปที่ 8.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศของปัตตาเวีย
เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (30 นาที)
3.1 นักเรียนควรสรุปได้ว่า ดอกไม้แต่ละชนิดมีรูปร่างและโครงสร้างที่แตกต่างกัน เช่น ขนาด สี กลิ่น
และจำนวนกลีบดอก แม้ว่าดอกแต่ละชนิดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันแต่ท ำหน้าที่เดียวกัน คือ ใช้ในการสืบพันธุ์
แบบอาศัยเพศเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์
3.2 ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าลักษณะของดอกไม้ที่แตกต่างกันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการทำให้เกิดความ
หลากหลายของดอกไม้ และพืชดอกจัดเป็นกลุ่มพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในอาณาจักรพืช
3.3 นอกจากนี้นักเรียนควรสรุปได้ว่าดอกที่มีส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วน คือกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้
และเกสรเพศเมีย เรียกว่า ดอกสมบูรณ์ (complete flower) ถ้าขาดส่วนประกอบใดไปจะเรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์
(incomplete flower)

กิจกรรมรวบยอด
4) ขั้นขยายความรู้ (20 นาที)
4.1 ครูให้นักเรียนพิจารณาต่อไปว่า ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ
(Perfect flower) แต่ ถ ้ า ในดอกนั ้ น ขาดเกสรเพศผู ้ หรื อ เกสรเพศเมี ย ไป จะเรี ย กว่ า ดอกไม่ ส มบู ร ณ์ เ พศ
(Imperfect flower)
4.2 ครูให้นักเรียนตอบคำถามในหนังสือเรียนโดยมีแนวคำตอบดังนี้
- ดอกสมบูรณ์เพศ จำเป็นต้องเป็นดอกสมบูรณ์ด้วยหรือไม่ อย่างไร
(ไม่จำเป็น ดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียวกันอาจจะขาดส่วนของกลีบเลี้ยงหรือกลีบ
ดอกได้)
4.3 โครงสร้างของดอกอาจจำแนกโดยใช้เกณฑ์อื่นได้อีก เช่น ตำแหน่งของรังไข่เมื่อเทียบกับตำแหน่ง
ของวงกลีบ การจัดเรียงตัวของดอกบนก้านดอก
กิจกรรมนำสู่การเรียน (คาบที่ 3)
1) ขั้นสร้างความสนใจ (5 นาที)
1.1 ครูทบทวนเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของดอกสมบูรณ์ และดอกสมบูรณ์เพศ
1.2 ครูใช้รูปภาพดอกชนิดต่าง ๆ และชี้ส่วนต่าง ๆ ของดอกเพื่อให้นักเรียนบอกโครงสร้างของดอก ครู
อาจยกตัวอย่างดอกสมบูรณ์ ดอกไม่สมบูรณ์ และเพิ่มเติมดอกไม้ลักษณะพิเศษ เช่น บางชนิดมีกลีบเลี้ยงคล้ายกลีบ
ดอกสีสันสวยงาม เช่น ดอนย่า บางชนิดมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน เกสรเพศผู้ ที่ใช้สืบพันธุ์มีเพียงอับเรณูยาว ๆ
เท่านั้นซึ่งพบได้ในดอกพุทธรักษา
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
2) ขั้นสำรวจและค้นหา (30 นาที)
2.1 ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 8.1 ในใบงานที่ 1 และ 2 เรื่อง โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
โดยมีขั้นตอนการทำกิจกรรม ดังนี้
1. ครูให้น ักเรียนบัน ทึกหัวข้อ กิจกรรมที่ 8.1 โครงสร้างของดอกและชนิดของผล พร้อมเขียนวิธี
การศึกษาลงในใบงานกิจกรรม
2. ให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยศึกษาตัวอย่างดอกไม้ และผลของพืชในแต่ละชนิด แล้วบันทึกผลการ
สังเกตลงตารางบันทึกผล ให้เวลาศึกษาส่วนประกอบต่าง ๆ ของตัวอย่างพืช
2.2 ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน พร้อมทั้งตอบคำถามท้ายกิจกรรม
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (10 นาที)
3.1 จากการศึกษาโครงสร้างและลักษณะของดอกและผลจากตัวอย่างที่ได้น ำมาในกิจกรรม สรุป ผล
การศึกษากิจกรรมลงตารางบันทึกผล
3.2 ครูให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม โดยมีแนวคำตอบดังนี้
- จำนวนเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกแต่ละชนิดมีจำนวนเท่ากันหรือแตกต่างกัน อย่างไร
(มีทั้งเท่ากัน และแตกต่างกัน เช่น มะละกอและทานตะวันมีเกสรเพศผู้ 5 อัน แตกต่างจำกกล้วยไม้สกุลหวายมี
เกสรเพศผู้ 1 อัน หรือหางนกยูงไทยและพริกมีเกสรเพศเมีย 1 อัน แตกต่างจากจำปีมีเกสรเพศเมียจำนวนมาก
เป็นต้น)
กิจกรรมรวบยอด
4) ขั้นขยายความรู้ (5 นาที)
4.1 ครูและนักเรียนร่วมกัน อภิปรายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปว่า โครงสร้างและส่ว นประกอบของดอกมี
ความสัมพันธ์กับหน้าที่ของดอก คือใช้ในการสืบพันธุ์ ดอกแต่ละชนิดถึงจะแตกต่างกันแต่จะมีโครงสร้างที่เหมาะสม
เพื่อทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์
4.2 ครูและนักเรีย นร่ว มกัน อภิปรายชนิดของผล โดยใช้ผ ลจากการทำกิจกรรม ประกอบรูปภาพ
ดอกและผลเดี่ยว ดอกและผลกลุ่ม ช่อดอกและผลรวม ประกอบการอภิปราย ครูยกตัวอย่างเพิ่มว่า ผลของมะม่วง
แตงโม ทุเรีย น กล้ว ย มังคุด ละมุด มะนาว ส้มโอ ฟักทอง และแตงกวา เป็นผลเดี่ยว ผลนมแมว สายหยุด
สตรอเบอร์รี น้อยหน่า เป็นผลกลุ่ม ส่วนผลรวม ได้แก่ สับปะรด สาเก ยอ ขนุน เป็นต้น
4.3 นักเรียนสารมารถสรุปความคิดสำคัญเป็นแผนผังความคิด และควรสรุปได้ดังนี้
10. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา สสวท. ม.5 เล่ม 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การสืบพันธุ์ของพืชดอก
2. สมุดบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้สรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้
3. ใบงานที่ 1 โครงสร้างของดอก
4. ใบงานที่ 2 ชนิดของผล
5. สไลด์ Power Point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
6. ตัวอย่างดอกและผลของพืชที่ใช้ในการศึกษา

11. การประเมินการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) ประเมินจาก
1. การทดสอบความรู้
2. องค์ความรู้ที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของดอกและชนิดของผล
ด้านทักษะกระบวนการ (P) ประเมินจาก
1. ทักษะการสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
ด้านจิตวิทยาศาสตร์ (A) ประเมินจาก
1. การมีจิตวิทยาศาสตร์และเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์
2. ความมุ่งมั่นอดทนจากพฤติกรรมในการเรียนรู้ และอภิปรายร่วมกัน

12. แบบประเมินตามสภาพจริง (Rubrics)


สิ่งที่ต้องการวัดผล วิธีวัด เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การวัดผล การประเมินผล

1. นักเรียนอธิบาย - ตรวจบันทึก - แบบประเมิน นักเรียนสามารถสรุป


เกี่ยวกับจำนวนรังไข่ ประสบการณ์ สมุดบันทึก ความคิดสำคัญ และ
และการเจริญเป็นผล เรื่อง โครงสร้าง ประสบการณ์ ร่วมกันอภิปราย
ชนิดต่าง ๆ (K) ของดอกและ
เรื่อง โครงสร้าง เกี่ยวกับโครงสร้างของ
ชนิดของผล
ของดอกและ ดอกและชนิดของ
ชนิดของผล ผลได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป
ผ่านเกณฑ์
2. นักเรียนสามารถ - ตรวจบันทึก - แบบประเมิน นักเรียนสามารถ
จำแนกประเภทของ ประสบการณ์ สมุดบันทึก จำแนกประเภทของ
ดอก โดยพิจารณา - การทำ ประสบการณ์ ดอก โดยพิจารณาจาก
จากส่วนประกอบที่ กิจกรรม 8.1
- แบบประเมินใบ ส่วนประกอบที่เป็น
เป็นโครงสร้างหลัก
งานที่ 1 และ 2 โครงสร้างหลักได้
(P)
เรื่อง โครงสร้าง
สิ่งที่ต้องการวัดผล วิธีวัด เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การวัดผล การประเมินผล

ของดอกและ ร้อยละ 80 ขึ้นไป


ชนิดของผล ผ่านเกณฑ์

3. นักเรียนมีจิตวิทยา - ประเมินจาก - แบบประเมิน นักเรียนมีจิตวิทยา-


ศาสตร์และเชื่อมั่นต่อ การอภิปราย จิตวิทยาศาสตร์ ศาสตร์และเชื่อมั่นต่อ
หลักฐานเชิงประจักษ์ ร่วมกัน การมี และเชื่อมั่นต่อ หลักฐานเชิงประจักษ์
(A) จิตวิทยาศาสตร์ หลักฐานเชิง ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป
และเชื่อมั่นต่อ ประจักษ์ ผ่านเกณฑ์
หลักฐานเชิง -แบบประเมิน
ประจักษ์ พฤติกรรม
บันทึกหลังสอน

1. ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
2. ปัญหาและอุปสรรค
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .............
..............................................................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................ครูผู้สอน
(นายนรินทร์ สุทธิประเสริฐ)
วันที่......... เดือน ............................... พ.ศ. …………..

You might also like