1157 ศีลคุณค่าของความเป็นมนุษย์ PDF

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 62

www.kalyanamitra.

org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์
พระธรรมเทศนาของ พระเผด็จ ทตฺตชีโว

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐


พิมพ์ครั้งที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๑
พิมพ์ครังที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕
พิมพ์ครั้งที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๐

1รธ1\1 974-7308 -06 -1


ราคาจำหน่าย ๒๕ บาท

จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ประติพัทธ์
๕๓/ ๓๓ ซอยอุทัยรัตน์ ถนนประติพัทธ์ แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ © ๐๔๐๐ โทร. ๗๓๑-๘๙๑๘-๒๐
ชัดจำหน่ายโดย บริษัท บี.เอ็น.เค. บุ๊คส์ จำกัด
๘๖ ถนนสี่พระยา บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐
โทร. ๒๓๕-๐๓๔๐-๑
ธนาณัติสั่งจ่าย บ้านหนูแก้ว ปณ.จุฬา

สงวนลิขสิทธิโดย มูลนิธิธรรมกาย
รายได้สมทบทุนการศึกบาค้นคว้าธรรมะในพระพุทธศาสนา

www.kalyanamitra.org
ใดย... ฝายวิชาการ วัดพระธรรมกาย
ต .คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

www.kalyanamitra.org
ตำปา

บัณทิตทั้งทลายกล่าวว่า
“ศีล เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นปอเกิดแห่ง
คุณความดทงหลาย
&

และเป็นประธานแห่งธรรม
ทั้งปวง บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ้แล้ว จะเป็น
เหตุให้เว้นจากความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส
และเป็นท่าหทั้งลงมหาสมุทร คือนิพพาน’,
จุดหมายของชีวิต คือ นิพพาน ก่อเกิดขึ้นจากจุด
เริ่มต้น คือ ศีล
หนังสือ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เล่มนี้
ฝ่ายวิชาการ วัดพระธรรมกาย ได้เรียบเรียงขึ้นจาก
พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาส
วัดพระธรรมกาย และรวบรวมจากตำรับตำราต่างๆ ขึ้ง

www.kalyanamitra.org
ได้มีผู้เรียบเรียงไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้เนื้อหาของหนังสือ
ศีล คุผค่าของความเป็นมนุษย์ เล่มนื้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ด้วยหวังว่าสาธุชนผู้อ่านทั้งหลายจะได้รับความรู้ ความ
เช้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง สามารถใช้เป็นหลักพิจารณา
ในการรักษาศีล เพื่อเราจะได้รักษาศีลกันอย่างถูกต้อง
บริสุทธิ้ บริบูรณ์ ไม่พลาดพลั้งถึงกับทำศีลทะลุหรือศีล
ขาด และไม่ต้องระวังตัวเกินไปจนไม่กล้าทำอะไรแม้
แต่กิจวัตรประจำรัน หรือหลงเช้าใจผิดไปทำในสิงที่พระ
สัมมาล้มพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
ศีล จึงเป็นหลักสำหรับเราจะนำไปใช้พิจารณา
ปฏิบัติเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่า สมกับที่ได้เกิดมา
เป็นมนุษย์ ด้วยการเป็นผู้ที่มีความสุจริตกาย วาจา ใจ มี
ความอิ่มเอิบ เบิกบาน ร่าเริง แจ่มใส เป็นที่น่าคบหา
ของบุคคลทั่วไป และเป็นผู้ที่คุณความดีทั้งหลายหลั้งไหล
มาสู่ไม่ขาดสาย ทำให้สามารถสร้างสมบุญบารมีอื่นๆ
ได้โดยง่าย อันเป็นทางนำไปสู่มรรคผลนิพพาน สิงเป็น
จุดหมายปลายทางของทุกสิวิตในที่สุด

ฝายวิชาการ วัดพระธรรมกาย
๑๕ กันยายน ๒๕๔๐

www.kalyanamitra.org
ส]ธบัณ
ศีลคืออะไร ๙
ศีล ๕ ๑๑
ศีล ๔ คืออะไร ๑๒
ศีลของคน ๑๗
ใครบัญญัติศีล ๕ ๑๙
อย่างไรที่เรียกว่า “ ศีลขาด” ๑๙
องค์แห่งศีล ๕ ๑๙
โรคที่เกิดแก่ผู้ขาดศีล ๒๔
กรรมวิบากของผู้ละเมิดศีล ๕ ๒๖
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๒๙
ศีล ๘ ๓๔
ศีล ๔ คืออะไร ๓๖
ทำไมจึงต้องรักษาศีล ๘ ๓๖
องค์แห่งศีล ๘ ๓๙
อุโบสถศีลคืออะไร เหมือนหรือต่างกับศีล ๘ อย่างไร ๔๑
อุโบสถศีล ๓ ประเภท ๔๒
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๘ และอุโบสถศีล ๔๓

www.kalyanamitra.org
ศึล ทำให้บ้านเมืองพ้นจากความอดอยากยากแค้น ๔๔
กุรุธรรมชาดก ๔๔
คีลในสังคมปัจจุบัน ๔๓
คีลเป็นเครื่องมือในการพิจารณาคุณธรรม ๔๔
การรักษาศึลเพื่อซีวิต ๔๖

คำอาราธนาคีล ๔ ๔๘
คำอาราธนาศึล ๘ ๔๘
คำอาราธนาอุโบสถศึล ๔๙
บรรณานุกรม ๖๐
วิธ‘ฝืี กสมาธิเบื้องต้น ๖๑
แผนที่เดินทางไปวัตพระธรรมกาย ๖๔

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมบุษย'' ๙

ตาบคมที่ไร้โ]ก ลูกระเบิดที่ไม่มีสลักนิรภัย ย่อมเกิดโทษแก่


เจ้าของไต้ง่าย ฉันใด ความรู้และความสามารถ ถ้าไม่มีวินัยกำกับ
ย่อมจะมีโทษแก่ผู้เป็นเจ้าของไต้ฉันนั้น
วินัย หมายถึง ระเบียบข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติ
ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนเดียวกัน เพื่อจะได้
อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบ
วินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งกระทบกระทั่งซึงกัน
และกันจะเกิดขึ้น หาความสงบสุขมิได้ เพราะยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง
ด้งนั้น หมู่เหล่าใดที่ขาดระเบียบวินัย การงานที่ทำย่อมเกิดผลเสียหาย
โดยเหตุนี้ วินัยจึงเป็นสิงที่ใชัควบคุมให้คนเราใช้ความรู้ความ
สามารถไปในทางที่ถูกที่ควร

www.kalyanamitra.org
๑๐ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

วินัยแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ วินัยทางโลก และ วินัยทางธรรม


วินัยทางโลก ได้แก่ กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราช
กฤษฎีกา กฎข้อบังคับ ระเบียบ ธรรมเนียมประเพณี คำสั่ง ประกาศ
กติกา เป็นต้น
วินัยทางธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ วินัยสำหรับพระ
ภิกษุและสามเณรประเภทหนึ่ง กับวินัยสำหรับฆราวาสอีกประเภท
หนึ่ง วินัยสำหรับพระภิกษุ คือ ศึล ๒๒๗ ข้อ วินัยสำหรับสามเณร
คือ ศึล ๑๐ วินัยสำหรับฆราวาส ก็คือ ศึล ๕ นั่นเอง

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ด ®

(แล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
( ข้าพเจ้า?เอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไข้คนอื่นให้ฆ่า )

๒ . อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการสักทรัพย์ด้วยตนเอง และไข้คนอื่นให้สัก )

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกาม )

๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ )

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง


สะมาทิยามิ
( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการดื่มนํ้าเมา อันเป็นที่ตั้งแท่งความประมาท )

www.kalyanamitra.org
๑๒ ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ติาล

ศีล แปลว่า ปกติ เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้นของมนุษย์ ศีล ๕


เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้น ๕ ประการของฆราวาส
สิงต่างๆ ไม่ว่าจะมีชืวิตหรือไม่มี?เวิตก็ตาม จะต้องมีลักษณะ
ปกติของตัวเอง เข์น ปกติของม้าต้องยืน แม้ยามหลับก็ยืนหลับ ไมมี
1

การนอน ถ้าม้านอนก็เป็นการผิดปกติ แสดงว่าม้าป่วย หรือตายแล้ว


หรือในฤดูฝน ตามปกติจะต้องมีฝนตก แต่ถ้าฝนไม่ตก มีแต่ความ
แห้งแล้ง ย่อมแสดงว่าผิดปกติ ดังนี้ เป็นต้น

อะไรคือปกติของคน
ในทางธรรมได้แบ่งปกติของคนไว้ ๕ ลักษณะด้วยกัน คือ
๑. ปกติของคนจะมีอารมณ์ดี มีใจเมตตากรุณาต่อเพื่อน
มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย รักตัวเอง รักพ่อแม่ ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง
มีไมตรีจิตต่อเพื่อนมนุษย์ทั้วไป มีจิตสงสารผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผิดกับ
สัตว์ส่วนมาก ซึ่งมีนิสัยหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย โหดร้าย ดุดัน พร้อม

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมบุษย์ ๑๓

ที่จะเอาชืวิตผู้อื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น พฤติกรรมของสุนัข


ไม่ว่าคนหรือสัตว์แปลกหน้าผ่านเข้ามา มันถือว่าเป็นศัตรูที่มันพร้อม
จะทำร้าย หรือไก ตัวผู้ พอพบหน้ากันเป็นครั้งแรก มันก็พร้อมที่จะ
1

ประหัตประหารกัน
แต่ในบางครั้งกึมีคนที่ผิดปกติคน เพราะไปรับเอาปกติของ
สัตว์มาไว้ จึงเกิดการกระทำที่ทารุณโหดร้ายต่อกัน เพื่อปัองกัน
ความผิดปกติของคน และให้คนมีเมตตาปรานี สามัคคีต่อกัน เพื่อ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จึงเกิดคีลชัอ ๑ ขึ้นมาว่า ปาณาติปาตา
เวระมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง
และใชัคนอื่นให้ฆ่า พูดง่ายๆ ก็คือ รักจะเป็นคนแล้วอย่าฆ่า ถ้าใคร
ฆ่า แสดงว่ากลายเป็นสัตว์ในร่างคนไปแล้ว
๒.ปกติของคนจะมีความภาคภูมิใจว่า “ทำกินเอง” ไม่สัก
ขโมยใครกิน ไม่แย่งหรือเบียดเบียนฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็น
ของตน ผิดกับสัตว์ชอบลักขโมยเขากิน ชอบแย่งกันกิน ดังจะเห็น
จากการแย่งอาหารระหว่างพวกสุนัข เป็ด ไก่ เป็นต้น
แต่ในบางครั้งก็มีคนที่ผิดปกติ เพราะไปรับเอาปกติของ
สัตว์มาไว้ แทนที่จะทำมาหากินโดยบริสุทธิ้ กลับประกอบมิจฉาซีพ
ในรูปแบบต่างๆ เรามีความหวงแหนในทรัพย์สมบัติของเราฉันใด ผู้
อื่นย่อมหวงแหนในทรัพย์สมบัติของตนฉันนั้น
เพื่อป้องกันความผิดปกติชองคนไม่ให้แย่งกันกิน โกงกันกิน
ลักขโมยกันกิน คือ ไม่เบียดเบียนชิงกันและกัน เพื่ออยู่ร่วมกันโดย

www.kalyanamitra.org
๑๔ ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

สันติสุข และเพื่อมิให้มีการสร้างเวรต่อกันและกัน จึงเกิดศีลข้อที่ ๒


ขึ้นมาว่า อทินนาทานา เวระมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ลัก หรือพูดง่ายๆ ว่า
รักจะเป็นคนแล้วอย่าโกงใครทั้งสิ้น
ต. ปกติของคนจะต้องข่มความรู้สึกด้วยมโนธรรมเมื่อมี
ความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้น ปกติของคนแล้วจะไม่แย่งคู่ครองของใคร
พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น ผิดกับสัตว์ขึ้งไม่รู้จักหักห้ามใจให้
พอใจเฉพาะคู่ของตน ในฤดูสัตว์ผสมพันธุ จึงมีการต่อสู้แย่งชิงตัว
เมียกัน บางครั้งถึงกับต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่งก็มี
แต่ในบางคราวก็มีคนที่ผิดปกติ เพราะไปรับเอาปกติของ
สัตว์มาไร้ แทนที่จะพอใจเฉพาะคู่ครองของตน กลับประพฤติผิดทาง
เพศ ทำให้เกิดปัญหาเดือดร้อนวุ่นวาย บางรายถึงกับฆ่ากันตาย ดัง
ที่เป็นข่าวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์เสมอๆ เพื่อป้องกันความผิดปกติ
ของคน ไม่ให้ประพฤติผิดในเรื่องสัสาว เพื่อป้องกันความประพฤติ
เลวทรามแบบสัตว์ติรัจฉาน จึงเกิดศีลข้อที่ ๓ ขึ้นมาว่า กาเมสุมิจฉา-
จารา เวระมณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม หรือพูดง่ายๆ ว่า รักจะเป็นคนเต็มคน ก็อย่าทำผิดทางเพศ
( สัตว์บางตัวพอใจเฉพาะคู่ครองของมันจนตลอดซีวิต เข่น นกบาง
ชนิด สัตว์พวกนึ่แสดงว่าจิตใจของมันได้พัฒนาสูงมากแล้ว ใกล้จะ
กลับมาเกิดเป็นคนใหม่ในอีกไม่กี่ชาตินัก)
'

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมบุษย์ ด ๕

ปกติของคนจะพูดกันตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อกัน
๔.
ผิดกับปกติของสัตว์ชื่งไม่มีความจริงใจต่อใครนัก ชอบใช้เสียงรังแก
กัน ก่อความรำคาญให้แก่กัน หรือใช้เสียงหลอกกัน
แต่ก็มีคนบางคนที่ผิดปกติคน ชอบพูดโกหก หลอกลวง
ขาดความจริงใจต่อกัน
เพื่อบิองกันความผิดปกติของคน ไม่ให้พูดเท็จ เพราะเป็น
การทำลายคุณค่าของตนเอง และเพื่อให้คนเราชื่อสัตย์สุจริตต่อกัน
อยู่ร่วมกันด้วยความเช้าใจอันดี จึงเกิดศึลชัอที่ ๔ ขึ้นมาว่า มุสาวาทา
เวระมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด
บิดเบือนความจริงให้คนอื่นหลงชื่อ หรือพูดง่ายๆ ว่า รักจะเป็นคน
ต้องพูดกันตรงไปตรงมา
. ปกติของคนย่อมมีสติมั่นคง
๕' แล้วอาศัยสตินั้นเปลี่ยน
แปลงกำลังกาย หรือกำลังกล้ามเนื้อ ให้เป็นกำลังความดีได้ ผิดกับ
สัตว์ซื่งแม้จะมีกำลังกล้ามเนื้อมากกว่ามนุษย์หลายสิบหลายร้อยเท่า
แต่กำลังกล้ามเนื้อนั้น ก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นกำลังความดีได้ เพราะ
ขาดสติ สัตว์บางชนิดยิ่งมีกำลังมากเท่าใด ก็ยิ่งมีความป่าเถื่อนตาม
อารมณ์มากขึ้นเท่านั้น
สติเป็นของแปลก บทจะเหนียวก็เหนียวอย่างน่าอัศจรรย์ เช่น
คนที่อดอาหารทั้งวันสติก็ยังดี ทำงานทั้งคืนไม่ได้พักสติก็ยังดี นอน
ป่วยในโรงพยาบาลทั้งปีสติก็ยังดี แต่บทจะเปือย สติก็เข้อยอย่าง'ไม่
น่าเชื่อ เช่น คนดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด จะขาดสติ ยิ่งเสพสุรามาก
www.kalyanamitra.org
๑๖ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ยิ่งขาดสติมาก เมื่อขาดสดี กำลังความดีก็หย่อนลงไปมาก จึงใกล้


ความเป็นสัตว์เช้าไปมาก บางคนถึงกับลืมตัวทำร้ายผู้มีพระคุณได้
หรือทำความชั่วอย่างอื่นได้อีกมากมาย สร้างความปันป่วนให้เกิดขน
ในสังคม
เพื่อรักษาสติ รักษากำลังความดีไว้ จึงเกิดคีลชัอที่ ๕ ขึ้น
มาว่า สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี หมายถึง เจตนา
เครื่องงดเร้นจากการดื่มนํ้าเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หรือ
พูดง่ายๆ ว่า รักจะเป็นคนเต็มคน อย่าไปดื่มสุรายาเมาหรือติด
ยาเสพติดให้โทษ

จากคำถามที่ว่าศีล ๕ คืออะไร เราก็คงจะได้คำตอบแล้วว่า


ศีล ๕ คือ ปกติของมนุษย์ ขึ้งเป็นมาตรฐานขั้นตาสุด หรือเป็น
วินัยทางธรรมเบึ้องต้น ๕ ประการ ขึ้งจะควบคุมมนุษย์ให้อยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุขพอสมควร ถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งขาดศึลชัอใดข้อหนึ่ง
ก็จะแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติมนุษย์ เป็นพฤติกรรมที่เป็นปกติของ
สัตว์ ขึ้งทั้งนี้ ย่อมก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในหมู่คณะ ใน
สังคม ในประเทศ หรือแม้แต่ในโลกได้

***
25 25 25

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๑๗

(ขีลยฉ&ตบ

ได้กล่าวไว้แล้วว่า ศีล แปลว่า ปกติ คนที่มีศีลครบ ๕ ข้อ ก็คือ


คนปกติ หรือเรียกว่า มนุษย์ คนที่ถือศึลบกพร่อง ก็คือคนผิดปกติ
จะผิดปกติมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนคีลที่ตนรักษาไว้ได้

ศีล เป็นเครื่องวัดความเป็นคน
กล่าวได้ว่า คีลเป็นเสมือนเครื่องวัดความเป็นคนโดยพิจารณา ดังนี้
วันใดเรามีศีลครบ ๕ ข้อ แสดงว่าวันนั้นเรามีความเป็นคน
ครบ ๑๐๐
ล้ามีคืลเหลือ ๔ ข้อ ความเป็นคนก็เหลือ ๘๐0/ 0 ใกล้สัตว์เข้าไป ๒๐®/ 0
ล้ามีศึลเหลือ ๓ ข้อ ความเป็นคนก็เหลือ ๖๐®/ ว ใกล้สัตว์เข้าไป ๔๐0/0
ล้ามีศีลเหลือ ๒ ข้อ ความเป็นคนก็เหลือ ๔๐0/0 ใกล้สัตว์เข้าไป ๖๐®/ 0
ล้ามีศึลเหลือ ๑ ข้อ ความเป็นคนก็เหลือ ๒๐®/ 0 ใกล้สัตว์เข้าไป ๘๐0/0
ถ้าศีลทุกข้อขาดหมด ก็หมดความเป็นคน หมดความสงบ หมด
ความสุข แม้ยังมีซีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว เพราะความดีใดๆ ไม่อาจ
งอกเงยขึ้นมาได้อีก มีซีวิตอยู่ก็เพียงเพื่อจะทำความเดือดร้อน'ให้แก,
ตนเองและผู้อื่นเท่านั้น คนชนิดนี้ คือคนประมาทแท้ๆ
* * *
35 23 23

www.kalyanamitra.org
๑๘ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

1ต 5บัฒ[บัต(ิ แล ๕
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า โดยสามัญสำนึก คนเราโดย
ทั่วไปย่อมมีศึล ๕ ประจำใจเป็นปกติ จึงกล่าวได้ว่า คีล ๕ คือ
คุณสมบัติขั้นตํ่าสุดของมนุษย์ หรือ มนุษยธรรม เป็นความดีงาม
ขั้นพึ้นฐานที่แสดงความเป็นผู้มีใจประเสริฐ ดังนั้น ผู้ใดแม้จะมี
เรือนร่างเป็นคน แต่ถ้าขาดศึล ๕ ก็ไม่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะขาดความดี
หรือคุณสมน์ติของมนุษย์นั้นเอง
ศึล ๕ ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ไม' มีใครกล้าคัดค้านและโต้แย้งได้ว่าไม่
เหมาะสม หรือไม่ดีจริง ศาสดาผู'้บัญญัติศาสนาต่างๆ พากันยอมรับ
และไม่มีผู้ใดบังอาจบัญญัติให้สานุคีษย์ของตน ปฏิบัติตัวเป็นปรปักษ์
ต่อศึล ๕ ชัอนี้เลย ถ้ามนุษย์พากันฝ่า!]นหรือไม่ปฏิบัติตามคีล ๕
สังคมมนุษย์ก็จะไม่ต่างจากสังคมของสัตว์ หรืออาจจะเลวร้ายยิ่งกว่า
สังคมชองสัตว์ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ในที่สุด มนุษย์ก็จะต้องสูญพันธุ
ไปจากโลกนี้ เพราะการทำลายล้างผลาญกันเอง
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ศีล ๕ เกิดมาเป็นของคู่โลก เพื่อรักษา
ปกติของมนุษย์หรือมนุษยธรรมไว้ เป็นสิ่งที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล
พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นวินัยทางธรรม
เบึ้องต้นของมนุษย์ เป็นเครื่องจำแนกคนออกจากสัตว์ จึงทรงรับไว้
ในพระพุทธศาสนา
*& #

www.kalyanamitra.org
เ^ ^
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

กฝา0 ที่เ กกว่า


"61ลยา0? ”
มีคนจำนวนมากที่ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ้ ไม่ให้ด่างพร้อย
แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า การกระทำบางอย่างทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา
ได้ทำให้คีลที่ตนตั้งใจรักษาไว้ เกิดด่างพร้อยหรือขาดไปบ้างหรือไม่
ก็สามารถตัดสินได้ด้วยตนเอง ตามองค์ประกอบแห่งการกระทำผิด
ศึลของศึลแต่ละข้อ ซึงเราเรียกสั้นๆ ว่า องค์แห่งศีล หรือ องค์ศีล
ดงน

ก*.ไ(ว่แเจ่*า(ว่?เ ๕
๑. การฆ่าสัตว์ ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
(๑) สัตว์นั้นมีซีวิต
( ๒ ) รู้ว่าสัตว์นั้นมีชืวิต
( ๓ ) มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น
( ๔) พยายามฆ่าสัตว์นั้น
( ๔) สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

www.kalyanamitra.org
๒๐ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

การฆ่าที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือไข้


,
คนอื่นให้ฆ่าก็ตาม ยุยงให้สัตว์ต่างๆ ฆ่ากันก็ตาม เช่น จับไกมาตีกัน
จนตายไปข้างหนึ่ง ที่เรียกว่า ชนไก่ จับจิ้งหรีดมากัดกันจนตายไป
ข้างหนึ่ง เป็นต้น เช่นนึ่ศึลขาดทั้งนั้น
นอกจากการฆ่าโดยตรงดังกล่าวแล้ว การทำร้ายร่างกาย
หรือ ทรมานสัตว์ให้ได้,รับความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า
อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังนึ่
การทำร้ายร่างกาย เช่น ทำไห้บาดเจ็บ ทำให้เจ็บปวด
ทำให้เสียโฉม ทำให้ทุพพลภาพ
การทรมาน คือ การทำให้คนหรือสัตว์ได้รับความ
ลำบาก เช่น
(๑) ไข้งานเกินกำลัง
(๒) กักขัง เช่นขังนก ขังปลา ไว์ในที่แคบ
( ๓) ลงโทษโดยวิธีทรมาน เช่น เฆี่ยนตี ผูกรัด
(๔) ยั่วยุ เช่น ยั่วให้สุนัขกัดกัน
การฆ่าโดยตรงคืลชาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ศึลไม่ขาดแต่
ด่างพร้อย หรือบางทีก็เรียกว่า ศีลทะลุ

๖. การลักทรัพย์ มีองค์ ๔ คือ


(๑) ทรัพย์ ( หรือสิงของ) นั้นมีเจ้าของหวงแหน
(๒) รู้ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๒๑

( ๓ ) มีเจตนาคิดจะลักทรัพย์นั้น
( ๔) พยายามลักทรัพย์นั้น
( ๕) ได้ทรัพย์นั้นมาด้วยความพยายามนั้น
การลักทรัพย์แยกออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ
(๑) โจรกรรม มี ๑๔ อย่าง ได้แก่ ลักขโมย ฉกชิง ขู่
กรรโชก ปล้น ตู่ ฉ้อโกง หลอก ( กุเรื่องให้เจ้าทรัพย์
หลงเชื่อ) ลวง (ใช้เครื่องมือผิดมาตรฐานตบตาเขา )
ปลอม ตระบัด ( ยืมของแล้วไม่คืน) เบียดบัง สับเปลี่ยน
ซ่อน ยักยอก
(๒ ) อนุโลมโจรกรรม มี ๓ อย่าง ได้แก่ สมคบ ปอกลอก
รับสินบน
( ๓ ) ฉายาโจรกรรม มี ๒ อย่าง ได้แก่ ผลาญ หยิบ ฉวย
( ถือวิสาสะเอาของเขามา)
๓. การประพฤติผิดในกาม มีองค์ ๔ คือ
(๑) หญิงหรือชายเป็นคนที่ต้องห้าม
(๒ ) มีเจตนาจะเสพเมถุน
( ๓ ) ประกอบกิจในการเสพเมถุนธรรม
( ๔) การยังอวัยวะเพศให้จรดกัน
,
หญิงทีต้องห้าม มี ๓ จำพวก คือ
(๑) หญิงมีสามี
( ๒ ) หญิงที่อยู่ในความปกครองของบิดามารดา หรือญาติ

www.kalyanamitra.org
๒๒ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

( ๓ ) หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม


หญิงนักบวช
ชายที่ต้องห้าม มี ๒ จำพวก คือ
(๑) ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
(๒ ) ชายที่จารีตหวงห้าม เช่น นักบวช
๔. การพูดมุสา มีองค์ ๔ คือ
( ๑) พูดเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
(๒ ) มีเจตนาจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
( ๓ ) พยายามพูดให้ผิดจากความจริง
( ๔ ) คนฟ้งเข้าใจความหมายในคำพูดนั้น
การพูดมุสา มี ๗ อย่าง คือ การพูดปด การสาบาน ทำ
เล่ห์กระเท่ห์ พูดมายา พูดมีเลศนัย พูดเสริมความ พูดอำความ
( เรื่องจริงมีมาก แต่กลับพูดให้เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย )
การพูดอนุโลมมุสา มี ๒ อย่าง คือ
อนุโลมมุสา คือ เรื่องไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาจะให้
คนอื่นเชื่อถือ
ปฏิสสวะ คือ รับคำแล้วไม่ทำตามที่รับไว้
ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตัวเองจำได้ ถือว่าไม่
ผิดศึล มี ๔ อย่าง คือ
(๑) พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม
www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๒ต’

เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงเรา


อาจไม่นึกเคารพเลยก็ได้ อย่างนึ๋ไม่ถือว่าผิดศึล
(๒ ) การเล่านิยายหรือนิทานให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่อง
ขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
( ๓ ) การพูดด้วยสำคัญผิด
( ๔) การพูดพลั้ง
๔. การดื่มใ!าเมา มีองค์ ๕ คือ
(๑) นั้าที่ดื่มเป็นนั้าเมา
(๒ ) รู้ว่านั้านั้นเป็นนั้าเมา
( ๓) มีเจตนาดื่ม
(๔) พยายามดื่ม
(๔) นํ้าเมานั้นล่วงพ้นสำคอลงไป
จะเห็นได้ว่า ถ้าการกระทำมีองค์ประกอบครบองค์แห่งศีลใน
แต่ละข้อแล้ว ย่อมถือว่า ศีลของเราขาดแล้ว นับว่าเป็น บาป ที่เรา
ก่อขึ้น แต่ถ้ายังไม่ครบองค์ บาปก็ลดลงตามส่วน ตัวอย่าง เช่น องค์
แห่งศีลข้อที่ ๑ “การฆ่าสัตว์มีองค์ ๔” ถ้าเรามีองค์ประกอบเพียงองค์
ที่ ® ถึง ๓ คือมีจิตคิดจะฆ่าก็เริ่มมีบาปแล้วถ้าได้ลงมือฆ่าแต่ยัง
ไม่มีการตาย บาปก็น้อยกว่าการฆ่าที่มีการตายเกิดขึ้น และถ้าผู้ฆ่า
แสดงความปรีดาปราโมทย์ต่อการตายนั้น บาปย่อมเพิ่มขึ้นอีกเป็น
ทวีคูณ

www.kalyanamitra.org
๒๔ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

เ5ตที1่ กิต ! แาไ#มาตตีล

ทางการแพทย์ แบ่งโรคที่เกิดแก่สังขารออกเป็น ๒ ประเภท


คือ
๑. โรคจากความเสื่อมของสังขาร คือ โรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ทุกคนจะต้องประสบ ได้แก่ โรคชรา เมื่อชราแล้วก็จะทำให้หูตึง
ตาฟาง ฟันหัก ผมหงอก จะลุกก็ปวด จะนั่งก็เมื่อย ฯลฯ
๒. โรคจากการแส่หาด้วยความประมาท คือ
ขาดศีลข้อ ๕ ( ดื่มนํ้าเมา ) ทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ตับ
แข็ง บาดเจ็บอันเกิดจาการทะเลาะวิวาท ฯลฯ
ขาดศีลข้อ ๔ (พูดมุสา ) ทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม ผู้ที่โกหก
มากาในที่สุด แม้ตนเองจะพูดเรื่องจริงก็ยัง
สงสัยว่า เรื่องที่ตนพูดนั่นเป็นความจริงหรือ
โกหก ในที่สุด ก็เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ หรือ
ถึงกับเป็นโรคหลงก็มี

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๒๕

ขาดศีลข้อ ๓ ( ประพฤติผิดในกาม ) ทำให้เกิดกามโรค


โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ( เอดส์ )
ขาดศีลข้อ ๒ ( ลักทรัพย์ ) ทำให้เกิดโรคจิต เช่น โรค
หวาดผวา
ขาดศีลข้อ ๑ (ฆ่าสัตว์ ) ทำให้อายุสั้น เช่น บุคคลประเภท
เจ้าพ่อทั้งหลาย ฆ่าคนมามากในที่สุดตัวเอง
ก็ถูกฆ่าบ้างดังพุทธพจน์ที่ว่า‘‘ ผู้ฆ่าย่อมได้รับ
การฆ่าตอบ ผู้ทรมานย่อมได้รับการทรมานตอบ”
ถ้าเรารักษาศีล ๕ ได้ ก็เปรียบเสมือนว่า เรามีภูมิคุ้มกันโรค
สารพัดโรคไว้แล้ว

*# *

www.kalyanamitra.org
๒๘ ศีล คุณค่าของความเป็นมบุษย์

๔. ผู้ที่ละเมิดศีลข้อที่ ๔ (พูดมุสา ) ย่อมไต้รับกรรมวิบาก ๔


สถาน คือ
(๑) ย่อมเกิดในนรก
(๒) ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
(๓) ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย ( เกิดเป็นเปรต)
( ๔) ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชี่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
(๔) โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ
ความดีความชอบใด ๆ ที่ทำไว้ก็ถูกปล้นเป็นของผู้อื่น

๕. ผู้ที่ละเมิดศีลขัอที่ ๕ ( ดื่มนํ้าเมา) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๔


สถาน คือ
(๑) ย่อมเกิดในนรก
(๒ ) ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
( ๓ ) ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย ( เกิดเป็นเปรต)
(๔) ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ เป็นคนโง่เขลา ปัญญาอ่อน
(๔) โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า

* * *
85 85 85

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๒๙

.จา/7^41สึม00[1]5501 (ขีล ปี

อานิสงส์ คือ ผลดีที่เกิดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ผู้ที่รักษาศึล


ย่อมมีอานิสงส์มากมาย หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เป็นความสุขใจในการ
ดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ยิ่งกว่านี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผล
นิพพาน หรือแม้ยังไม่ได้นิพพานสมบัติ การรักษาศึลย่อมมีผลให้
เกิดอำนาจสะกัดกั้นปิดประตูอบายภูมิ ในขณะเดียวกัน ประตูสวรรค์
ก็พร้อมที่จะเปิดรับ เมื่อผู้รักษาคีลอำลาโลกแล้ว

๑. อานิสงส์ของการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีอานิสงส์โดยย่อ ๗
ประการ คือ
(๑) มีร่างกายสมส่วนไม่พิการ
(๒) เป็นคนแกล้วกล้า ประเปรียว ว่องไว มีกำลังมาก
( ๓ ) ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
(๔) เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย

www.kalyanamitra.org
๓๐ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษฺย์

( ๕) ศัตรูทำร้ายไม่ได้ไม่ถูกฆ่าตาย
(๖) มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
( ๗) ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน

๒. อานิสงส์ของการไม่ลักทรัพย์ มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ


คือ
(๑) ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
(๒ ) แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้[ดยง่าย
(๓) โภคทรัพย์ที่ได้แล้วย่อมยั่งยืนถาวร
( ๔) สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น
( ๕) ย่อมได้อริยทรัพย์
(๖) ย่อมไม่ได้ยินและไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี ”
( ๗) อยู่ที่ไหนย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน

๓. อานิสงส์ของการไม่ประพฤติผิดในกาม มีอานิสงส์โดยย่อ
๗ ประการ คือ
(๑) ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
(๒ ) เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
( ๓ ) มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
( ๔) ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
( ๕) เป็นผู้มีสง่า มีอำนาจมาก

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ต®

(๖) มีอินทรีย์ ๕ ( มีศรัทธา , วิริยะ, สติ , สมาธิ , ปัญญา )


บริบูรณ์
( ๗) มีความสุข ไม' ต้องทำงานหนัก
. อานิสงส์ของการไม่พูดมุสา มีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ

คือ
(๑) มีอินทรีย์ ๕ ( ศรัทธา,วิริยะ, สติ , สมาธิ,ปัญญา ) ผ่องใส
(๒ ) มีวาจาไพเราะ มึไรฟันสม่าเสมอเป็น'ระเบียบดี
( ๓) มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
( ๔) มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
(๔) มีวาจาศักดิ้สิทธิ้ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
'

(๖) พูดจาไม่ติดอ่าง ไม่เป็นใบ้


( ๗) มีริม!]ปากบางและแดงระเรื่อ

๕. อานิสงส์ของการไม่ดื่มนาเมา มีอานิสงส์โดยย่อ ๖
ประการ คือ
(๑) รู้กิจการในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ได้รวดเร็ว
(๒ ) มีสดีตั้งมั่นทุกเมื่อ
( ๓ ) มีความรู้มาก มีปัญญามาก
( ๔) ไม่บ้า ไม่ใบ้ไม่มัวเมาหลงใหล
( ๕) มีวาจาไพเราะ มีนํ้าคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
(๖) มีความชื่อสัตย์สุจริตทั่งกายวาจาใจ

www.kalyanamitra.org
๓๒ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

จากการที่เราได้ฟ้ง หลังจากที่พระภิกษุให้ศึลแก่ญาติโยมจบ
แล้วทุกครั้ง ท่านจะสรุปอานิสงส์ให้แก่ผู้ฟังเสมอ คือ

๑. สีเลนะสุคะติง ยันติ
“ติลทำให้ใปสู่สุคติ”
หมายความว่า คีล ย่อมทำให์ไปดี ( สุ = ดี, คติ = ที่ไป) คือ
มีอนาคตเจริญก้าวหน้ามีชื่อเสียง เป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ไว้
วางใจ จากคนทั่วไป ครั้นเมื่อสินชืวิตแล้ว ย่อมไปดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก
คือ ไปเกิดบนสวรรค์ หรือเป็นเทวดา นางฟ้า

๒. สีเลนะโภคะส้มปะทา
“ติลทำให้มีโภคทรัพย์”
หมายความว่า ศึล ย่อมทำให้ผู้รักษาได้โภคทรัพย์ประการ
หนึ่ง และใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่มอีกประการหนึ่ง

ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้อย่างไร เราจะสังเกตเห็นได้
ง่ายๆ จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ล้วนต้องการ
บุคลากรที่มีคุณธรรมทั้งสิน ดังนั้น ในการสมัครเช้าทำงานหรือการ
แต่งตั้งบุคลากรประจำตำแหน่งต่างๆ ผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ ย่อมจะได้รับ
การพิจารณาก่อน ในทางตรงข้าม คนทุศีล ย่อมไม่มีใครต้องการรับ
ไว้ทำงาน

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์’ ๓๓

บิดามารดาที่มีทรัพย์สมบัติ ย่อมปรารถนาจะยกมรดกให้
บุตรที่ประพฤติตัวดี มีศึลมีธรรม เพราะท่านมั่นใจว่า บุตรผู้นั้นจะ
สามารถรักษาทรัพย์ที่มอบให้ได้ และสามารถใช้ทรัพย์นั้นให้เกิด
ประโยชน์งอกเงยต่อไปได้

ศีลทำใหํใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่มคืออย่างไร ทรัพย์สินที่เราได้
มาด้วยความทุจริต ย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายใจทุกครั้งที่เราคิดถึง
หรือแลเห็น คนโบราณมักกล่าวว่า สิ่งชองที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม
เปรียบเสมือนมีผีสิง ทั้งนี้เพราะเจ้าของจะหวาดผวาทุกครั้งที่ได้เห็น
ทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยทุจริต

๓. สีเลนะนิพพุติง ยันติ
“ศีลทำใหไปนิพพาน”
คำว่า นิพพาน มีความหมายเป็น ๒ นัยยะ คือ
(๑) นิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความ
สบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบเย็นเป็นสุข
(๒ ) นิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้
ที่หมดกิเลสย่อมไตํใปนิพพานทั้งสิน
***
25 35

www.kalyanamitra.org
๓๔ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ติ3 ๘

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไข้คนอื่นให้ฆ่า )

๒ . อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการสักทรัพย์ด้วยตนเอง และไข้คนอื่นให้สัก )

(ๆ . อะพรัมมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ )

๔ . มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ )

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๓๕

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง


สะมาชิยามิ
( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการดื่มนํ้าเมา อันเป็นที่ตั้งแท่งความประมาท )
๖. วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้ว
จนอรุณขึ้นมาใหม่ )
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะหัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ-
ธาระณะนัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
( ช้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ
อันเป็นช้าศึกแก่กุศล ตลอดจนลูบไล้ทัดทรงประดับตกแต่ง
ร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา )

๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง


สะมาทิยามิ
( ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น
จากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในอัดด้วยนุ่นและสำลี )

www.kalyanamitra.org
^
๓๖ ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ฎิไล ๘ ตื00 5
ศีล ๘ คือ ข้อปฏิบัติสำหรับขิกตนหรือพัฒนาตนให้ยิ่งขึ้นไป
โดยจะรักษาในบางโอกาส หรือผู่ใดมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น
แม่ซีจะรักษาประจำ

01เมจึ001ฉงธั01±]ฟึ3 ๔
พระสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงปรารถนาจะขึ้ทางสะดวกในการ
ประพฤติธรรม เพื่อความหมดกิเลสเข้านิพพานแก่สาวกของพระองค์
จึงทรงให้รักษาศีล ๘ หรืออุโบสถศีล ในวันพระ ในระหว่างเข้า
พรรษาในโอกาสการอยู่ธุดงค์ หรือในโอกาสใดโอกาสหนึ่งที่กำหนด
ขึ้นตามความเหมาะสม
ถ้าจะถามว่า การรักษาศีล ๘ เป็นทางสะดวกสู่ความเป็นผู้หมด
กิเลสอย่างไร ก่อนอื่น ขอให้พิจารณาศีลข้อที่เพิ่มขึ้นจากศีล ๕ และ
ชัอที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียก่อน ดังนี้

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๓๗

ศีลข้อ ต ในศีล ๘ มีใจความว่า อะพรัมมะจริยา เวระมะณี


หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศีกต่อพรหมจรรย์
หรือพูดง่ายๆ ว่า อยู่เยี่ยงพรหม ไม่เกี่ยวข้องเรื่องเพศ เป็นการ
ยกใจให้สูงขึ้น และให้สงบเต็มที่ เพื่อจะได้มีโอกาสศึกษาปฏิบัติและ
พิจารณาธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้น
ศีล ๖ คือ วิกาละโภชะนา เวระมะณี หมายถึง เจตนา
เครื่องงดเว้นจากการบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยง
แล้วจนอรุณขึ้นมาใหม่
ในทัศนะทางพระพุทธศาสนา พิจารณาเห็นว่า อาหารมึ้อเข้า
ใชัประโยชน์ในการซ่อมแซมร่างกายที่สีกหรอ อาหารมึ้อกลางวันใช้
ประโยชน์ในการสร้างกำลังกายและการเจริญเติบโต ส่วนอาหารมึ๋อ
เย็นจะกลายเป็นเครื่องบำรุงกามไป โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้ทำงาน
หนัก ดังนั้นจึงควรงดอาหารมื้อเย็น
ศีลข้อ ๗ คือ นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะ
วิเลปะนะ ธาระณะ มัณ'ทะนะ ริ,กูสะนัฏฐานา เวระมะณี หมายถึง
เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการ
ละเล่นต่างๆ อันเป็นข้าศึกแก่กุศล ตลอดจนลูบไล้ ทัดและประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ซองหอม เครื่องย้อม เครื่องทา ล้ารักษา
ศีลข้อ ๗ ได้ ก็จะปัองกัน กามกำเริบ ไต่วิธีหนึ่ง

www.kalyanamitra.org
๓๘ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ศีลข้อ ๘ คือ อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี


หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายใน
ยัดด้วยนุ่นและสำลี การนอนที่นอนนุ่มๆ ทำให้นอนไม่อยากตื่น ใน
ที่สุดกามจะกำเริบอีกเหมือนกัน
การรักษาศึล ๘ จึงเป็นการระวังรักษาตนเอง ไม่ให้ต้อง
เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ ซึงถือว่า เป็นจริยธรรมที่อยู่เหนือกว่า
แนวทางการปฏิบัติโดยทั่วไปของมนุษย์ทั้งหลาย คือ มีความบริสุทธิ้
ผุดผ่องเยี่ยงพรหม ซึงอยู่ในภพภูมิที่ใกล้ความหมดกิเลส ใกล้
นิพพานแล้ว

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๓๙

X*.ไต่แห่!!กิIX ๘
องค์แห่งศีลข้อ ๑, ๒ , ๔, ๕ ในศึล ๘ นั้น เหมือนกับในศึล ๔
จึงขอกล่าวถึงเฉพาะองค์แห่งศึลข้อ ๓ และข้อ ๖ ถึงข้อ ๘
ศีลข้อ ๓ การกระทำที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ มีองค์ ๒ คือ
( ๑) มีจิตคิดจะเสพเมถุนธรรม
(๒ ) การยังอวัยวะเพศให้จรดกัน
ศีลข้อ ๖ การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีองค์ ๔ คือ
( ๑) บริโภคหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่
( ๒ ) ของซบเคี้ยวนั้นสงเคราะห์เข้าในอาหาร
( ๓ ) พยายามเคี้ยวกินของขบเคี้ยวนั้น
( ๔) ของนั้นล่วงพ้นลำคอลงไป
ศีลข้อ ๗ การฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่น
อันเป็นข้าศึกแก่กุศล ตลอดจนลูบไล้ ทัดทรง ประดับตกแต่ง
ร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา มีองค์ ๒ คือ
( ๑ ) ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีด้วยตนเอง
(๒ ) ดูหรือฟังการฟ้อนรำ การขับร้อง และการประโคมดนตรี
และการละเล่นต่างๆ ที่คนอื่นประกอบขึ้น

www.kalyanamitra.org
๔๐ ศึล คุณค่าของความเป็นมบุษย์

การลูบไล้ ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของ


หอม เครื่องย้อม เครื่องทา มีองค์ ๓ คือ
( ๑) เครื่องประดับมีดอกไม้และของหอม
(๒ ) ไม่เจ็บไข้ตามพระบรมพุทธานุญาต
( ๓ ) ลูบไล้ทัดทรงด้วยจิตคิดประดับให้สวยงาม
ศีลข้อ ๘ การนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและ
สำลี มีองค์ ๓ คือ
(๑) ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
(๒ ) รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
( ๓ ) นั่งหรือนอนเหนือที่นอนสูงใหญ่นั้น
จะเห็นว่า ผู้ที่จะรักษาคีล ๘ ได้สมบูรณ์นั้น จะต้องมีความ
อดทนสูงกว่าผู้ที่รักษาศีล ๕ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่รั- กษาศีล ๘ ได้
ย่อมสามารถยกใจให้สูงขึ้นเหนือมนุษย์ธรรมดาทั้วไป เพราะได้มี
โอกาสพิจารณาธรรมสูงขึ้น การรักษาศึล ๘ จึงเป็นการเดินไปบน
เสันทางสู่นิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ เราทั้งหลายล้วน
เป็นผู[้ ชดดีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีพระสัมมาล้มพุทธเจ้า
ผู้เลิศด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ
เป็นศาสดาขึ้ทางถูกทางตรงไว้ให้ จึงไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเปล่า
รีบรักษาคืลกันให้เคร่งครัดเถิด
* *
55 55

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๔ ©

อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น


เดียวกับคีล ๘ อุบาสกอุบาสิกาจะสมาทานรักษาเป็นประจำในวันพระ
คือขึ้นและแรม ๘ คา ๑๕ คา ( แรม ๑๔ คั๋าในเดือนขาด ) มีองค์สิกขาบท
องค์แห่งศีล เหมือนกัน ต่างกันแต่ คำอาราธนา คำสมาทาน และ
กาลเวลา ที่กำหนดเท่านั้น
อุโบสถ แปลว่า การเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจำคีล
การถืออุโบสถจะมีเวลากำหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกำหนด
เอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นเป็นการหมดเขตการสมาทาน หรือหมดเวลา
การรักษาอุโบสถศึล ส่วนศีล ๘ ไม่มีเวลากำหนด สามารถรักษาได้
ตลอดเวลา
การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า
เอกัชฌสมาทาน ดังนั้น การรักษาอุโบสถศีลจึงต้องรักษารวมกัน
ทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไป ก็คือว่าศีลขาดจากความเป็น
ผู้รักษาอุโบสถศีล

www.kalyanamitra.org
๔๒ ศึล คุณค่าของความเป็นมบุษย์

0เบิล[]ฟ3ึ 01 125300

อุโบสถศึล แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ


,
๑. ปกติอุโบสถ ได้ แก อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลา ๑ วัน กับ
1

๑ คืน โดยมากรักษากันในวันขึ้นหรือแรม ๘ คา ๑๕ คา หรือแรม


๑๔ คา ในเดือนคี่ พูดง่ายๆ ก็คือ รักษากันในวันพระนั่นเอง ปกติ
อุโบสถ จัดเป็น อุโบสถขั้นต้น
ไอ. ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลานาน
ถึง ๓ วัน ตัวอย่างเช่น วัน ๗ คี่า เป็นวันรับอุโบสถ วัน ๘ คี่าเป็น
วันรักษาอุโบสถ วัน ๙ คี่า เป็นวันส่งอุโบสถ รวมเป็น ๓ วัน คือวันรับ
วันรักษา และวันส่ง ปฏิชาครอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นกลาง
๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่มีกำหนดเวลาดังนี้
(๑ ) อย่างตา เริ่มตั้งแต่ แรม ๑ คี่า เดือน ๑๑ จนถึง แรม
๑๔ คา เดือน ๑๑ รวม ๑๔ วัน
( ๒) อย่างสูง เริ่มตั้งแต่ แรม ๑ คี่า เดือน ๘ จนถึงขึ้น ๑๕
คี่า เดือน ๑๒ รวม ๔ เดือน ปาฏิหาริยอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นสูง

***

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๔ต

^ง^แ//?เาเ:ทุก[โ ??^เท4กี/7?่ /!ฑฟ้เ?? ๘


เวามิ 4)
] {

การรักษาศึล ๘ หรือ อุโบสถศึล นอกจากจะมีอานิสงส์ใน


ทางส่วนตัวเช่นเดียวกับศึล ๕ แต่ในระดับสูงกว่าแล้ว ยังมีอานิสงส์
ในด้านสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก คือ
๑. เป็นการคุมกำเนิดโดยธรรมชาติ
๒. เป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ไม่มีการแช่งชันประดับ
ประดาร่างกายให้เปลืองเงินทองเกินความจำเป็น อันเป็นการโอ้อวด
ความฟ้งเฟ้อเช้าใส่กัน
ถ. เป็นการทำให้จิตใจสงบในเบื้องต้น แล้วเกิดความเมตตา
กรุณาแก่กัน
๔ .เมื่อ'ใจสงบ ย่อมสามารถเช้าถึงธรรมะชั้นสูงต่อไปโดยง่าย

#*25 *

www.kalyanamitra.org
๔๔ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

ตี3 ทำไ™ 71/7//!ว!?เ/ฬ้ 7อา0

ทั้งกรรมวิบากชองผู้ละเมิดศีล และอานิสงส์ของการรักษาศีลที่
กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล หมายความว่า ใครรักษาศีล
ได้ครบบริบูรณ์ ผู้นั้นย่อมได้อานิสงส์ดังกล่าว ส่วนผู้ที่ละเมิดศีล ก็
ย่อมได้รับกรรมวิบากดังกล่าวเช่นกัน เกิดผลเฉพาะตัวผู้ปฏิบัติ
แต่ล้าบุคคลหมู่คณะใด เมืองใด ประเทศใด พร้อมใจกัน
ระมัดระวังมิให้การรักษาศีลขาดตกบกพร่อง อานิสงส์ย่อมเกิดขึ้น
ครอบคลุมทั้งแผ่นดิน เมืองนั้น ประเทศนั้น จะมีแต่ความอุดม
สมบูรณ์ประชาชนอยู่ดึกินดีกันล้วนทั้วทุกคน
ในทำนองกลับกัน ล้าเมืองใด ประเทศใด มีผ'ู้นำทุศีล ซึงทั้งนี้
ย่อมหมายถึง ประชาชนชาวเมืองทั้งหลาย ก็มีแนวโน้มเป็นผู้ทุศีล
ด้วย บ้านเมืองนั้นก็จะประสบทุพภิกขภัย คือความอดอยากยากแค้น
ไปทั่วทุกหย่อมหญ้าด้วย ดังมีเรื่องปรากฏใน กุรุธรรมชาดก ซึ่ง
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่พระภิกษุในครั้งพุทธกาล มี
ใจความสังเขปดังจะกล่าวต่อไปนี้

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๔๕


^^รมเราตก
ชื

ในอดีตกาลก่อนสมัยพุทธกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ
ผู้ครองอินทปัตถ์มหานคร ซึงเป็นเมืองหลวงของแคว้นกุรุรุ้ฐ เสด็จ
สวรรคตแล้ว พระราขโอรสจึงได้เสวยราชสมบัติสืบแทน ทรงพระนาม
ว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ พระมหากษัตริย์องค์ใหม่นี้ ทรงดำรงมั่น
อยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงรักษากุรุธรรม คือ ศีล ๕ อันเป็น
ธรรมเนียมของชาวกุรุรัฐเสมอมา พระบรม.วงศานุวงศ์ตลอดจนชาว
เมืองทั้งหลาย ต่างก็ยึดมั่นในกุรุธรรมหรือศึล ๕ อย่างใม่มีด่างพร้อย
นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ยังได้สร้างโรงทานขึ้นในพระนครถึง ๖
แห่ง และทรงบริจาคทรัพย์สำหรับโรงทานทุกแห่งเป็นจำนวนมากทุก
วัน เช่นนี้ย่อมแสดงว่า สภาพเศรษฐกิจในนครนี้ดีมาก และประชาชน
ย่อมอยู่เย็นเป็นสุขทั้วหน้ากัน
ส่วนเมืองทันตบุรี ซึงมีพระเจ้ากาลิงคราชเป็นกษัตริย์ปกครอง
และอยู่ไม่ห่างจากแคว้นกุรุรัฐนัก ชาวเมืองอดอยากยากแค้น ถูกโรค
ต่างๆ รบกวนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพราะเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง
ประชาชนจึงพากันเข้าไปร้องทุกข์อยู่ที่ประตูพระราชวัง พระเจ้า
กาลิงคราชจึงตรัสถามบรรดาราษฎรว่า เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เช่นนี้ กษัตริย์โบราณทรงแก้ปัญหาอย่างไร ราษฎรทั้งหลายกราบทูล
ว่า กษัตริย์โบราณจะทรงบริจาคทาน และทรงถืออุโบสถศีลอยู่ใน

www.kalyanamitra.org
๔๖ ศึล คุณค่าของความเป็นมนุมฺย์

ปราสาทตลอด ๗ วัน ฝนจึงจะตก ราษฎรก็หว่านข้าว ดำกล้า ทำมา


หากินได้
พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปฏิบัติตามคำกราบทูลของราษฎร
แต่ฝนกียังไม่ตก พระองค์จึงปรึกษาหารือกับบรรดาอำมาตย์ทั้งหลาย
บรรดาอำมาตย์จึงกราบทูลว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะแห่งอินทปัตถ์
มหานคร มีพญาข้างเผือกอันเป็นมงคลสำหรับพระนครอยู่ ๑ เชือก
ล้าได้พญาข้างเผือกนั้นมาสู่ทันตบุรี ฝนก็จะตกบริบูรณ์
พระเจ้ากาลิงคราชได้ทรงสดับว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะนั้น
มีพระหฤทัยยินดีในทางบริจาคทานเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้หา
พราหมณ์ ๔ คน เดินทางไปทูลขอพญาข้างเผือกต่อพระเจ้าธนัญชัย -
โกรพยะ ตามคำกราบทูลของเหล่าอำมาตย์
พราหมณ์ทั้ง ๘ คน จึงได้เดินทางไปขอข้างเผือกจากพระเจ้า
ธนัญชัยโกรพยะ พระองค์ก็พระราชทานพญาข้างเผือกให้ด้วยความ
ยินดี พราหมณ์จึงนำไปถวายพระเจ้ากาลิงคราช แต่ฝนก็ยังไม่ตก
ตามความปรารถนา
พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปรึกษาหารือกับบรรดาอำมาตย์ เพื่อ
หาวิธีให้ฝนตกลงมาอีก หมู่อำมาตย์จึงกราบทูลว่า พระเจ้าธนัญชัย-
โกรพยะนั้นทรงรักษากุรุธรรม คือ ศึล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ฝนจึงตกลง
มาในประเทศของพระองค์ทุกๆ ๑๕ วัน ควรจะโปรดให้นำพญาช้าง
เผือกไปถวายคืน แล้วทูลขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทองมาถวาย

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๔๗

ให้พระองค์ปฏิบัติ ถ้าทรงทำเช่นนี้แล้ว ฝนจึงจะตกในอาณาจักรของ


พระองค์
พระเจ้ากาลิงคราชทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ก็ทรงเห็นชอบ จึง
โปรดให้พราหมณ์ทั้ง ๘ คน กับอำมาตย์เป็นราชทูตนำพญาช้าง
เผือกไปถวายคืนแก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ ณ กรุงอินทปัตถ้ และ
ถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งให้ทูลขอจารึกกุรุธรรมมาด้วย
พราหมณ์และอำมาตย์ทั้งหลายรับพระราชโองการแล้ว ก็กราบถวาย
บังคมลาไปปฏิบัติตามรับสั่ง
เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์แห่งกรุงกาลิงคราสถวายพญาช้าง
เผือกคืน และถวายเครื่องราชบรรณาการแล้ว จึงกราบทูลขอกุรุธรรม
จากพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ แต่พระองค์ไม่ทรงพระราชทานให้ ด้วย

ทรงไม่แน่พระทัยพระองค์เองว่า กุรุธรรมของพระองค์บริสุทธิ ผุดผ่อง
เพราะเคยทรงแผลงศรลูกหนึ่งตกลงไปในสระนั้า ทรงสงสัยว่า ลูกศร
นั้นอาจจะไปถูกปลาตัวใดตัวหนึ่งถึงแก่ความตาย จึงทรงแนะนำให้
หมู่พราหมณ์และอำมาตย์ไปทูลขอกุรุธรรมจากพระราชมารดาของ
พระองค์
แต่บรรดาราชทูตก็ยืนยันว่า พระองค์ไม่มีเจตนาจะฆ่าสัตว์ ศึล
คงไม่ขาด ขอให้พระองค์พระราชทานกุรุธรรมให้ด้วยเถิด พระเจ้า
ธนัญชัยโกรพยะจึงทรงอนุญาตให้ราชทูตจารึกกุรุธรรมลงในแผ่น
ทองดังนึ่

www.kalyanamitra.org
๔๘ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

๑. อย่าฆ่าสัตว์
๒. อย่าสักทรัพย์
๓. อย่าประพฤติผิดประเวณี
๔. อย่ากล่าวเท็จ
๔. อย่าดื่มนํ้าเมา
เมื่อราชทูตจารึกกุรุธรรมทั้ง ๕ ข้อแล้ว ก็ถวายบังคมลาไปเผิา
พระราชมารดาของพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์อีก พระนางก็ทรงสงสัยว่า
อุรุธรรมของพระนางจะไม่บริสุทธิ้ เพราะได้เคยให้ของแก่ลูกสะใภ้ทั้ง
สองคน แต่ของมีมูลค่าไม่เท่ากัน จึงไม่อยากใหักุรุธรรมแก่ราชทูต
พวกราชทูตก็ทูลถวายความเห็นว่าไม่เป็นไร แล้วทูลขอจารึกกุรุธรรม
ของพระนางลงในแผ่นทองคำชิงมี ๕ ข้อเหมือนกับพระเจ้ากรุง
อินทปัตถ์ จากนั้นจึงเข้าเผิาพระอัครมเหสี
พระอัครมเหสีก็ตรัสว่า พระนางเองยังทรงสงสัยว่า กุรุธรรม
ชองพระนางจะไม่บริสุทธี้ เพราะเคยเผลอจิตคิดไปว่า ถ้าพระเจ้ากรุง
อินทปืตถ์สวรรคตแล้ว พระนางได้ร่วมอภิเษกกับมหาอุปราชก็จะได้
ดำรงตำแหน่งอัครมเหสีอีก พวกราชทูตจึงกราบทูลว่า คีลของพระ
นางมิได้ด่างพร้อย แล้วทูลขอจดอุรุธรรมจากพระนาง
ครั้นแล้ว คณะราชทูตจึงกราบทูลขอจดอุรุธรรมจากมหา
อุปราช มหาอุปราชก็ตรัสว่าพระองค์ยังสงสัยว่าอุรุธรรมของพระองค์
จะไม่บริสุทธิ้ เพราะเคยทำให้ประชาชนเข้าใจผิด หลงรอคอยเข้าเผิา

www.kalyanamitra.org
ศึล คุ04ค่าของความเป็นมนุษย์ ๔๙

พระองค์เก้อ ส่วนพวกบริวารก็ต้องทนเปียกชุ่มนํ้าฝนรอคอยอยู่ที่
ประตูพระราชวังทั้งคืน แต่คณะราชทูตทูลว่าไม, เป็นไร แล้วทูลชอ
จารึกกุรุธรรมชองมหาอุปราชลงในแผ่นทองคำ ชื่งมี ๕ ข้อ เหมือนที่
จารึกไว้แล้ว
คณะราชทูตจารึกเสร็จแล้ว ก็ทูลลาไปหาปุโรหิตาจารย์ ปุโรหิต
กล่าวว่า ยังสงสัยว่าคีลของตนจะด่างพร้อย เพราะเคยมีจิตคีตอยาก
ได้รถคันงาม ที่กษัตริย์เมืองอื่นส่งมาถวายพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ แต่
ครั้นภายหลังพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์พระราชทานรถคันนั้นให้ ปุโรหิต
ก็ไม่ยอมรับ ราชทูตทั้งหลายเห็นว่า การคิดโลภเพียงเท่านี้ย่อมไม่ทำ
ให้เสียศึล แล้วขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทองคำเหมือนดังที่ผ่านมา
ต่อจากนั้น ราชทูตจึงพาก้นไปหาอำมาตย์ซึ่งทำหน้าที่รังวัด
ไร่นา อำมาตย์ผู้นั้นบอกว่า สงสัยว่าคีลชัอปาณาติบาตของตนจะขาด
ไป เพราะเคยไปวัดนาสุดเขตลงตรงรูปู แต่ไม' เห็นรอยปูปรากฏ จึง
คิดว่าไม่มีปูอยู่ในรู ครั้นปักไม้ลงไปในรู ก็ได้ยินเสียงปูร้อง ทำให้คิด
ว่าปูอาจจะตาย บรรดาราชทูตจึงแย้งว่า อำมาตย์ไม่มีเจตนาจะฆ่าปู
คีลของท่านจึงยังไม่ขาด และขอจดกุรุธรรมลงในแผ่นทองคำ
ต่อจากนั้น คณะราชทูตไดํใปหานายสารถี สารถีก็สงสัยว่า
ศึลของตนจะไม่บริสุทธิ้ เพราะไตํใชัแสัดีม้า พวกราชทูตจึงคัดค้าน
แล้วขอจดกุรุธรรมลงในแผ่นทองคำ

www.kalyanamitra.org
๕๐ ศึล คุณค่าของความเป็นมบุษย์

ครั้นแล้วคณะราชทูตไดใปหามหาเศรษฐี มหาเศรษฐีก็สงสัย
ว่าคีลอทินนาทานของตนอาจจะเสียไป เพราะยังไม่ทันไต้ถวายข้าว
สาลีเป็นค่านาให้หลวง ก็ใทัคนไข้ผูกรวงข้าวเล่น พวกราชทูตได้
คัดด้านว่าไม่เป็นไร แล้วขอจดกุรุธรรมเหมือนครั้งก่อนๆ
ต่อมา คณะราชทูตจึงไปหาอำมาตย์ผู้ทำหน้าที่ตวงข้าว
อำมาตย์ผู้นั้นกิคิดสงสัยว่าศึลของตนจะด่างพร้อย เพราะขณะที่ทำ
หน้าที่เป็นผู้ใส่ไม้สำหรับนับจำนวนข้าวเปลือก ในขณะที่คนไข้ขน
ข้าวเปลือก บังเอิญฝนตกลงมา ตนเองรีบหนีฝน เลยจำไม่ได้ว่าใส่
ไม้เข้าไปในกองใด พวกราชทูตจึงได้คัดด้าน และขอจารึกกุรุธรรม
ของอำมาตย์ไป
ลำดับต่อไป คณะราชทูตก็ไปหานายประตู นายประตูจึงเล่า
ความสงสัยในกุรุธรรมของตนว่า วันหนึ่งใกล้เวลาที่จะปิดประตู
พระนคร ตนได้ว่ากล่าวชายขัดสนผู้หนึ่งกับน้องสาวของชายผู้นั้น ซึ่ง
กลับเข้าเมืองในเวลาเย็นมาก ตนได้กล่าวตู่ด้วยเข้าใจผิดว่าหญิงเป็น
ภรรยาของชายผู้นั้น พวกราชทูตจึงคัดด้าน และขอจดกุรุธรรมของ
นายประตูเหมือนเช่นเคย
ลำดับต่อไป คณะราชทูตได้พากันไปหานางวัณณทาสี (หญิง
งามเมือง ) นางวัณณทาสีจึงกล่าวถึงความสงสัยในกุรุธรรมของนางว่า
ครั้งหนึ่งพระอินทร์เคยแปลงเพศเป็นชายหนุ่มมาหานาง ไต่ให้
ทรัพย์แก่นางไว้จำนวนหนึ่ง และสัญญาว่าจะมาหานางอีก แต่แล้ว
พระอินทร์ก็หายไปเป็นเวลาถึง ๓ ปี นางเผิาคอยโดยไม่ยอมรับสิงใด

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๕ ®

จากชายอื่นด้วยเกรงว่าคีลจะขาด ครั้นบัดนี้นางยากจนลงจึงไปหา
อำมาดยํให้ตัดสินนี้ขาดว่า ต่อไปนี้ไปนางจะสามารถรับทรัพย์จาก
ชายอื่นได้ ครั้นตกคั่าลงในวันเดียวกันก็มีชายคนหนึ่งมาหานาง
ทันใดนั้น พระอินทร์ก็แสดงพระองค์ให้ปรากฏ นางจึงมิได้ติดต่อ
และรับทรัพย์จากชายผู้นั้น พระอินทร์จึงกลายเพศให้เป็นพระอินทร์
ตามเติมแล้วเหาะไปบนอากาศ พลางกล่าวว่า เราเป็นผู้รักษาสัตย์
แล้วบันดาลให้ฝนแก้ว ตกลงเต็มบ้านของนาง ด้วยเหตุนี้ นาง
วัณณทาสีจึงสงสัยว่า ศึลของนางจะไม่บริสุทธิ้ พวกราชทูตคัดค้าน
ว่าไม่เป็นไร แล้วขอจดกุรุธรรม ซึงได้รายละเอียดเหมือนที่จดมา
จากทุกคน
เมื่อราชทูตจดกุรุธรรมของคนทั้ง ๑๐ แล้ว จึงนำไปถวาย
พระเจ้ากาสิงคราช กราบทูลเรื่องความสงสัยในศึล ๕ ของคน
เหล่านั้นให้ทรงทราบทุกประการ พระเจ้ากาสิงคราชก็ทรงโสมนัส
เป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงสมาทานศึล ๕ ประการให้บริสุทธิ้ผุดผ่อง
ต่อมาฝนก็ตกลงในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ทำให้พืชพันธุ
ธัญญาหารบริบูรณ์
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาชาดกจบแล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า
นางวัณณทาสีในคราวนั้น คือ นางอุบตวัณณเถรี
นายประตู คือ พระปุณณเถระ

www.kalyanamitra.org
๕๒ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

อำมาตย์วัดนา คือ พระอัจจยนะ


เศรษฐี คือ พระสารีบุตร
นายสารถี คือ พระอนุรุทธ
พราหมณ์ปุ [รหิต คือ พระมหากัสสปะ
พระอัครมเหสี คือ พระนางพิมพายโสธรา
พระราชมารดา คือ พระนางคืรีมหามายา
ส่วนพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ คือ เราตถาคต

จากชาดกนี้แสดงให้เห็นว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมมีความ
ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป คิดระแวงสงสัยว่าการทำผิดของตน
แม้เพียงเล็กน้อยก็จะเป็นบาป โดยเหตุที่ต่างคนต่างเกรงกลัวบาป
กันเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าทุกคนต่างจะต้องรักษาศึลใหับริสุทธี้ สร้างแต่
บุญกุศล ซึงก่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความสมบูรณ์ทั้วแผ่นดิน

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๕๓

กิา& 11เ32(ป้1]17จจุบับ
ลองหันมาพิจารณาสภาพสังคมทุกวันนี้ดู มีใครกล้ายืนยันไหม
ว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันละอายบาป เกรงกลัวบาป ข่าวการ
จี้ ปล้น ฆาตกรรม ฉ้อโกง ตัดไม้ทำลายป่า ข่มขืนกระทำข่าเรา
เรียกค่าไถ่ ตลอดจนการแตกแยกในระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ ฯลฯ
ที่ปรากฏเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไม่เว้นแต่ละวัน ย่อม
สะท้อนให้เห็นถึงความทุคีลของคนในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
การที่คนทุศึล ย่อมมีเหตุมาจากจิตใจที่ถูกห่อทุ้มด้วยกิเลส จึง
มีแต่ความขุ่นมัว เศร้าหมอง และสกปรก มีจิตใจเป็นมิจฉาทิฐิ คือ
เห็นผิดเป็นขอบ กล้าประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เลวร้าย ผิดกฎหมาย
และศึลธรรม หมดความละอายต่อบาป ขึ้งยังผลให้เกิดความสับสน
วุ่นวายในสังคมทุกระดับ ดังที่เห็นกันอยู่ทั่วไป และที่ลึกขึ้งลงไปกว่า
ความเดือดร้อนในกลุ่มชนก็คือ ความวิปริตของธรรมชาติ ดังเรา
จะสังเกตเห็นมลภาวะต่างๆ ฝนแล้ง อากาศร้อนอบอ้าวผิดปกติ เกิด
อุทกภัย วาตภัย ถ้าพิจารณาในแง่นี้ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า คน...เป็น
ผู้ควบคุมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล ถ้าคนยิ่งทุศึลมากขึ้น
เท่าใด ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะยิ่งวิปริตมากขึ้นเท่านั้น

www.kalyanamitra.org
๕๔ ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

การแก้ปัญหาของประเทศชาติเท่าที่ผ่านมา แม้จะเขียนไว้ใน
แผนพัฒนาประเทศว่า ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม แต่ในเชิงปฏิบัติ
แล้ว จะมุ่งเน้นก้นเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ได้แก้ปัญหาสังคมก้น
อย่างถูกต้องจริงจัง เพราะผู้บริหารโดยทั่วไปมีความเชื่อมั่นว่า ถ้า
เศรษฐกิจดีแล้ว สภาพต่างๆ ในสังคมจะดีตามมาเอง
แต่ความจริงหาได้เป็นเย่นนั้นไม่ ดังจะเห็นตัวอย่างจากการ
หักหลังชิงดีชิงเด่นจนเกิดการฆาตกรรมกันในวงการธุรกิจ ซึ่งล้วนมี
ผู้บงการที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับเศรษฐี การฉ้อโกงในวงราชการ
แต่ละแห่ง ส่วนใหญ่ล้วนเป็นการกระทำของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มี
เงินเดือนสูง มีอำนาจมาก ไมไย่ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนตา
ทั้งนี้ย่อมยีนยันว่า คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีแต่ชาดคุณธรรมนั้น
มีอยู่ทั่วไป
ดังนั้น การแก้ปัญหาของประเทศ ปัญหาสังคม ควรได้รับ
ความสำคัญเท่ากับปัญหาเศรษฐกิจ องค์ประกอบสำคัญของสังคม
คือ จริยธรรมของประชาชน ถ้าประชาชนทุกคนได้รับการปลูกฝัง
ให้มีสัมมาทิฐิ โดยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว แม้จะไม่สามารถ
ปฏิบัติตามธรรมะทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพียงแต่
รักษาคีล ๕ ได้อย่างบริบูรณ์จนเป็นธรรมเนียมประเพณีกันทั่วหน้า
กิเลสในจิตใจของชาวประชาก็จะเบาบางลงไปมาก และเมื่อนั้น
ความร่มเย็นและสันติสุขย่อมเกิดแก่สังคมของเราตลอดไป
*
& *23

www.kalyanamitra.org
ศึล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ &&

ปีบเต 50*ปีว์เบโ!]5
V&ฑธเ!&ตุณธธธบ
ในการพิจารณาความประพฤติหรือการกระทำต่าง ๆ ของคนนั้น
ถ้าจะยึดเอาแต่เพียง ถูก - ผิด เป็นมาตรฐานในการตัดสินย่อมไม่
-
เพียงพอ เพราะการใชัเกณท้ ถูก ผิด นั้น ถึอเอาพยานหลักฐานเป็น
สำคัญ แม้คนทำผิดจริง แต่ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ก็เอาผิด
ไม่ได้ ในทางตรงข้าม คนบริสุทธิ้ที่ถูกใส่ความ อาจต้องจำนนด้วย
หลักฐานและพยานเท็จที่ฝ่ายศัตรูสร้างขึ้น
ด้งนั้น ในการพิจารณาคุณธรรมของคน เราควรพิจารณาให้
ลึกลงไปถึงความ ดี- ชั่ว อย่าเอาแต่เพียง ถูก - ผิด เป็นมาตรฐาน
เกณท้สำคัญอย่างหนึ่งในการพิจารณาความดีของคนก็คือ ศีล ผู้ที่
รักษาได้สมบูรณ์ ย่อมแสดงว่าเขาเป็นคนดี มีคุณธรรม ส่วนผู้ละเมิด
ศีลมากเท่าใด ย่อมแสดงว่าความเป็นคนของเขาลดลงมากเท่านั้น

***
28 25

www.kalyanamitra.org
๕๖ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

กา*;*๓1±ไ(ปี31พี51ปี(ช
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
“ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นปอเกิดแห่งคุณความตีทั้ง
หลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ้แล้ว จะเป็นเหตุให้เว้นจาก
ความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส และเป็นห่าหยงลงมหาสมุทร
คือ นิพพาน”
ดั้งนั้น สาธุชนทุกท่าน ควรดั้งใจสมาทานรักษาศึลเป็นปกติ
เพื่อความสุข ความก้าวหน้าแท่งชืวิตของตนโดยทั้วกัน
ในชืวิตนี้ ถ้าท่านรักษาศึล ๕ ได้สมบูรณ์เป็นปกตินิสัยย่อมได้
ซื่อว่าเป็น มนุษย์ อย่างแท้จริง
คำว่า มนุษย์ มาจากคำว่า มน + อุษย
มน ะะ ใจ อุษย = เหมือนหรือสูง
มนุษย์ = ผู้ม'ใจพั
ี ฒนาจนสูงแล้ว
ส่วนผู้รักษาศึล ๘ หรืออุโบสถคีลได้สมบูรณ์ ย่อมได้ชื่อว่า เป็น
พรหม เพราะเป็นผู้ที่ยกจิตใจให้สูง สงบ เหมาะแก่การประพฤติ
ปฏิบัติธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไป

www.kalyanamitra.org
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๕๗

ท่านพอใจจะรักษาศึล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ชอเชิญพิจารณาเลือก


รักษาตามความปรารถนา และความสะดวก ตามสถานภาพของท่าน
แต่ถ้าท่านจะไม่เลือกทั้งสองอย่าง จะถือว่าทำอะไรได้ตามใจคือไทย
แท้ อยากจะฆ่าใครก็ฆ่า อยากจะขโมยของใครก็ขโมย อยากจะดื่ม
สุราหรือเสพยาเสพติดก็ทำ ท่านก็จะหนีไม่พ้นการไปรับเอาปกติของ
สัตว์มาประพฤติปฏิบัติเข้าจนได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น นอกจากผลกรรม
จะสนองแก่ท่านในโลกนี้แล้ว ท่านก็จะหนีไม่พันวิบากกรรมในโลก
หน้าอีกด้วย
อุดมการหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน
ตลอดเวลาแห่งการประกาศพระศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
มุ่งมั่นนี้ทางไท้สัตว์โลกทั้งหลายพันจากความทุกข์ในท้วงสังสารวัฏ
มุ่งสู่นีพพานทั้งสิน วิธีปฏิบัติเพื่อสู่จุดหมายปลายทางก็คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา ศีลเป็นเบื้องต้นของสมาธิและปัญญา ผู้ที่รักษาศีลไม่บริบูรณ์
ย่อมหมดโอกาสปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นประทีป
นำทางไปสู่ความหลุดพันได้
เมื่อได้ทราบถึงคุณค่าของศีลเช่นนี้แล้ว ยังจะลังเลชักข้าอยู่ไย
ลงมือรักษาศีลของท่านให้บริสุทธี๋เสียแต่วันนี้เถิด แล้วท่านจะพบว่า
ท่านเป็นผู้โชคดีมหาศาล ที่ได้เกิดมาในดินแดนที่พระพุทธศาสนายัง
รุ่งเรืองอยู่

www.kalyanamitra.org
๕๘ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

(กำ
*
;าา า1ร!/าฝ็?เ &

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ


ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
ทุติยัมปิ มะยัง ภัณเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักชะณัตถายะ ติสะระเณนะ
สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
( ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพังให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะห้ง
ยาจามะ เป็น ยาจามิ )

ด่าฮา5าธ//)สีส ๘

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ


ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภัณเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ

www.kalyanamitra.org
.^ .
ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ๕๙

ตำ าา า&เ ]าา/เ!3[าตํ3
มะยัง ภันเต ดิสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง
อุโปสะถัง ยาจามะ
(ว่า ๓ ครั้ง)
( ถ้าอาราธนาเพื่อตนคนเดียว ให้เปลี่ยน มะยัง เปีน อะห้ง และ
ยาจามะ เป็นยาจามิ )

* **
2 5 25

www.kalyanamitra.org
๖๐ ศีล คุณค่าของความเป็นมนุษย์

พ.อ.ปีน มทกั
จ จ นต์ : พุทธศาสตร์ ภาค ๒ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา ,
กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. ๒๕๐๗.
วิจิตร สมบัติบริบูรณ์ : เบญจคีล เบญจธรรม : ธนาคารกรุงเทพ จำกัด,
กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. ๒๕๑๗.
มูลนธธรรมกาย : มงคลอีวิต ฉบับธรรมทายาท เล่ม ๑ : โรงพิมพ์
0 ๐

นิวไวเต็ก, กรุงเทพมหานคร.
มูลนธธรรมกาย : ธุดงค์ต้อนรับปีใหม่
0 0

: รัดพระธรรมกาย ,
ปทุมธานี, พ. ศ. ๒๕๒๙.

www.kalyanamitra.org
วิธีฟิกสมาธิเบื้องต้น
ต่อไปนี้ ให้ทดลองฟิกซ้อมควบคุมใจ ๓) นังขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย
ตนเองให้อยู่ในความสงบด้วยการทำสมาธิใน มือชวาหับมือซ้าย นี้วชื่มอขวาจรดหัวแม่มือ
พุทธศาสนาตามแนววิชชาธรรมกาย ซ้าย หลับดาพอปีดสนิท แต่ไม่ถึงกับบีบ
กล้ามเนี้อดา ดั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
๑) กราบบูชาพระรัดนตรัย หน้าที่
บูชาพระ สมาทานศีลห้า (หรือศีลแปดดาม กำหนดเครื่องหมาย ดวงแกว
๔)
กำลังศรัทธา ) ดั้งใจรักษาให้มั่น ให้ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนเป็นดวง
กลมๆ ไม่มีตำหนิ สิขาวใสเย็นดาเย็นใจ โด
๒) สำรวมใจ ระลึกถึงบฌกศลที ่
จ *' จ
เท่ากับแล้วดาดำ นี้เรียกว่า บรืกรรมนิมิต
เคยทำมาดีแล้วตลอดชีวิต เพื่อยังความชุ่มชื่น
น้อมมาดั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ (ดูภาพ)
ให้แก่จิตใจ สิ่งใดล้ากระทำ ล้าเห็น ล้าได้ยิน
แล้วบริกรรมภาวนาในใจเป็นพุทธานุสติว่า
ล้าระลึกถึงแล้วก่อให้เกิดความไม่สบายใจ
สัมมาอะระหัง บริกรรมทั้งสองอย่างนี้ให้
ควรเว้นเสิย
ควบคู่กันไป
V จเ/
ภาพแสดงทีตังจีตทัง ๗ ฐาน
I

ฐานที่ ( ๑) ปากช่องจมูก { หญิงข้างซ้าย


ชายข้างขวา
๛เ ๓
ฐานที่ ( ๒) เพสาดา { หญิงข้างซ้าย
ชายข้างขวา
(5)


ฐานที่ (๓) จอมปวะสาท
ฐานที่ (๔) ช่องเพดาน
ฐานที่ (๔) ปากช่องลำคอ

ฐานที่ (๗) ศูนย์กลางกายที่ดั้งจิตกาวว IV;


๗V -

ฐานที่ (๖) ศูนย์กลางกายวะดับสะดึอ ๖ ๒ นวมอ

www.kalyanamitra.org
1I ขายข้างขวา ๏ —
หญิงข้างช้าย
ฐานที่ ( ๑) ปากช่องจมูก
-
ฐานที่ (๒) เพสาดา I หญิ
1

งข้างช้าย (5)—
1 ชายข้ างขวา

^
ฐานที่ ( ๓) จอมปวะสาท
ฐานที่ ( ช่องเพดาน
ฐานที่ (๔) ปากช่องสำคอ

ฐานที่ (๗) ศนย์กลางกายที่ดั้งจดถาวว


ฐานที่ (๖) ศนย์กลางกายวะดับสะดึยึ '
}๒ นิ ้ ว มึ อ

เมื่อนิมิดเป็นดวงแกัวใสเกิดขึ้นแล้ว เจียระไนแล้ว ใสสะอาดไม่มีรอยขีดรอยร้าว


ให้หยุดบริกรรมภาวนาเหลือแด่การกำหนด สว่างเย็นดาเย็นใจ ขนาดประมาณเท่าฟอง
สดีอยู่กลางดวงนิมิดอย่างเดียว ล้าดวงนิมิด ไข่แดงของไข่ไก่ หรืออย่างโดก็ขนาดเส้น
เกิดขึ้นที่อื่น เช่น ดรงหัวตาบาง ข้างหน้า ผ่าศูนย์กลางประมาณหนี่งคืบ เมื่อใจหยุด
บ้าง หน้าท้องบ้าง ให้น้อมเอานิมิดนั้น มา ถูกส่วนเข้าในที่สุดจะมีรัศมีสว่างรอบดวง
ดั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แด่อย่าใช้ สามารถเห็นจุดศูนย์กลางดวง ซงมขนาด
แรงบังคับ ทำใจให้หยุดเข้าไปดรงกลางดวง เล็กเท่าปลายเข็ม ดวงนิมิตนี้คือ ดวงธรรม
นิมิดเรื่อยไปไม่ถอยหลังกลับ ดวงนิมิตก็จะ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค ที่ชื่อเข่นนี้ เพราะ
สว่างสดใสยิ่งขึ้น จะนึกให้ใหญ่หรือเลิกกิได้ เป็นหนทางเบื้องด้นไปสู่มรรคผลและนิพพาน
ตามปรารถนา ฉะนั้น ต้องหมั่นประคองรักษาไว้ให้ดี จน
กว่าจะเห็นอยู่ตลอดเวลา ทั้งมั่ง นอน ยืน
เมื่อใจหยุดถูกส่วน นิมดทเกดขนจะ เดิน จึงจะนับได้ว่าได้ที่พึ่งอันประเสริฐ
เห็นได้ชัดเจน มีลักษณะเหมือนดวงแล้วที่

www.kalyanamitra.org
ข้อควรระวัง

® . อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใดๆ อาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่างเป็นบาท


ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้ เนื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อย
เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้าม เจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มิความจำเป็น
เนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว เพวาะกาวใช้กำลัง ต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประกาวใด
ตวงส่วนไหนของว่างกายก็ตาม จะทำให้จิต ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้วให้ตั้งใจ
เคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น ไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียวไม่ว่าจะอยู่อิริยาบถ
๒. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็น ไดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือ
กลาง ปวะคองสติมิให้เผลอจากบวิกรวม นั่งกิดี ห้ามย้ายฐานที่ตั้งจิตใจไปไว้ที่อื่นเป็น
ภาวนาและบวิกววมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิต อันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนาพร้อมกับ
เมื่อใดนั้นอย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็น นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กัน
เอง การบังเกิดของดวงนิมิตอุปมาเสมือน ตลอดไป
กาวขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ไม่อาจจะเร่ง ๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้อง
เวลาได้ น้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิต
๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลม ที่เกิดแล้วหายไปกิไม่ต้องตามหา ให้ภาวนา
หายใจเข้าออก เพราะการฟิกเจริญภาวนา ประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุด เมื่อจิต
ตามแนววิชชาธรรมกาย อาศัยการเพ่ง สงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก

www.kalyanamitra.org
#

การเดินทางไปวด
ทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางศาสนา มีรถบัสรอรับท่านจาก
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ( ด้านถนนพหลโยธิน) เวลา ๐๗.๓๐ - ๐๘.๐๐ น .
รถประจำทาง รถประจำทางหลายสายสุดทางที่รังสิต ( สาย ๒*:,
. .
๓๔, ๓๕, ปอ ๔, ปอ ©๐, ปอ 60, ปอ ๑๓) . .
รถส่วนตำ ใซัเวลาประมาณ ๔๕ นาที จากอนุสาวรีย์ซัยสมรภูมิ

มหาวิทยาสย
ธรรมคาสตรี
!2
ฉี
วัดบางยัน
6
วัดพระธรรมกาย

สะพาน สะพาน X) 0๐ ม.
คลอง ๑ คลอง ® 1
\
สะพาน
ป้อIIตำรวจ คลอง ห
ที่ว่าการอำเภอ
ะงุ่ ก.ม. 6:๐* สะพาน คลองหลวง
๔ คลองบางยัน
*
ก.ม. ต**

สะพานวังสด
! สะพานคลองบางหวาย
๔ ก.ม.

ไปธัญบุริ
คลองรุ้งสด

ทํศเหนํอ
-

X

1ร X '

1
4
0

*
.2
‘ะ
(

0 ท่าอากาศยาน
กๅงเทพ

จากกๅงเทพา ทางไปวัดพระธรรมกาย

www.kalyanamitra.org
จัดพระธรรมกาย
ต .คอองสาม อ.คลองมลวง จ.ปา]มธานี 0๒0๒0 โทร. ๕๒๔-0๒๕๗-๖๓
20 www.kalyanamitra.org

You might also like