piyanuncha,+ ($userGroup) ,+3 +6บทความ วัชรชัย+วิวัฒน์คุณากร

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ

Thai Research and Management Journal

ศาสนาผีในรัฐไทย
spiritism in Thai state

วัชรชัย วิวัฒน์คุณากร1
Watchalachai WiWatkunakorn1

บทคัดย่อ
ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคู่กับรัฐในทุกรัฐของโลก แตกต่างกันออกไปตามประวัติศาสตร์
ของแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศแต่ศาสนาที่อยู่กับรัฐไทยมาโดยตลอดนั้นคือศาสนาผีที่ดำรงอยู่
มาก่อนศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาประจำรัฐ ที่คนในรัฐไทยนับถือมากที่สุดแต่อาจจะน้อยกว่า
ศาสนาผีด้วยซ้ำ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาสภาพแวดล้อมและการพัฒนาการของศาสนา
ผีที่มีการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเองควบคู่กับรัฐมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐโบราณจนมาถึง
รัฐสมัยใหม่และรัฐในอนาคต การดำรงอยู่ของศาสนาผีจะสะท้อนให้ เห็นการครอบงำการ
ปกครองและมุมมองของประชาชนที่มีต่อรัฐ และการดำรงชีวิตประจำวันของคนในรัฐที่ยังคง
ผูกพันธ์ แนบแน่นกับความเชื่อโบราณอย่างศาสนาผีอย่างกลมกลืน ศาสนาผีมีการปรับตัวต่อ
ยุคสมัยและการปกครองของรัฐอยู่ตลอดเวลา อาจจะปรับตัวมากกว่าตัวรัฐเองเสียด้วยซ้ำ เพื่อ
การดำรงอยู่ในปัจจุบันและอนาคตอีกทั้งเป็นการหล่อเลี้ย งคนในสังคมให้ดำรงชีวิตอย่างมี
ความหวังในรัฐสมัยใหม่อย่างแยบยล

คำสำคัญ: ศาสนาผี,รัฐ
Abstract

1อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail: watchalachai.wiw@siam.edu

70 | ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม– สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

Religion is a companion to the state in every state of the world. varies


according to the history of each locality or country but the religion that has
always been with the Thai state is spiritism live before Buddhism This article
will highlight environmental problems and the development of spiritism
Changing itself along with the state all along from the ancient state to the
modern state and the future state spiritism will reflect the dominance. and
public view on the state and the daily life of the people in the state that are
still connected with spiritism has always adapted to the era and state
government for the present and future existence It also nurtures people in
society to live a life of hope in a smart modern state

Keyword: spiritism, state

บทความ

71 |ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาความเป็นรัฐของสยาม-ไทยนั้นพัฒนาควบคู่กับวิถีชีวิตของ
คนในสังคมและพัฒนาการทางศาสนา โดยรัฐไทยอาจจะเน้นไปที่ศาสนาพุทธที่คนส่วนใหญ่ใน
ประเทศไทยนับถือตามบัตรประจำตัวประชาชนที่เป็นเอกสารยืนยันตัวบุคคลในแง่ของการมี
สัญชาติไทย ว่าบุคคลที่มีสัญชาติไทยย่ (อุ๋ยเต็กเค่ง, พานิช, และ เหล่ามานะเจริญ, 2564) (อุ๋ย
เต็กเค่ง, พานิช, และ เหล่ามานะเจริญ, 2564)อมมีบัตรประจำตัวประชาชน จึงเห็นได้ชัดเจน
ว่ารากฐานของความเป็นรัฐจึงถูกพัฒนาควบคู่ไปกับความเชื่อและพิธีกรรมในรูปแบบของ
ศาสนาผี ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าผิดถูกหรือดีไม่ดี หากแต่ว่ารัฐไม่สามารถปฏิเสธ
การดำรงอยู่ของศาสนาผีได้
ศาสนาผีก่อกำเนิดขึ้นเมื่อใด ยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่สามารถค้นหาคำตอบที่แน่นอน
ได้ชัดเจน เพียงแต่ว่ามีการสันนิฐานว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกันกับความเชื่อว่าสังคมโดยรอบตัวเรา
มีวิญญาณ(บุคคลที่สิ้นชีวิตในทางกายภาพแต่ยังคงดำรงอยู่ในรูปแบบของพลังงาน)สิงสถิตอยู่
โดยวิญญาณเหล่านั้นมีอำนาจเหนือความเป็นจริงตามธรรมชาติและยังคงคอยช่วยเหลือ
สนับสนุนหรือแม้แต่ลงโทษกลั่นแกล้งคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ผีจึงเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณ-โทษกับคนในรัฐ
ไทย
ในอดีตผีในรูปแบบของเทพหรือเทวดา หมายถึงคนที่กระทำความดีตอนที่ยังมีชีวิต
และเมื่อตายลงก็แปรสภาพเป็นพลังงานในรูปแบบวิญญาณที่มีพลังสำหรับใช้ในด้านบวก จึง
เป็นกลไกที่ควบคุมสังคมและขับเคลื่อนสังคมด้วยบทบาทของการบังคับความรู้สึกนึกคิดให้คน
ไม่ทำผิดต่อตนเองและสังคมอีกทั้งยังมีการแสดงออกมาให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกใน
สังคมหรือแม้แต่ ผีบ้านผีเรือน ผีปู่ -ผีย่า ผีบรรพบุรุษที่คอยควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกใน
ครอบครัว ซึ่งเมื่อมีการทำผิดก็จะมีพิธีกรรมการขอขมาผีบรรพบุรุษ ซึ่งแตกต่างกันออกไปใน
แต่ละท้องถิ่น “เรื่องผี สังคมยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไป ผีในศาสนาดั้งเดิมก่อนรับศาสนา
พุทธและพราหมณ์ กับหลังรับศาสนาแล้ว พอพูดไปจะสับสนและปนเป แต่ถ้าค่อยๆ ทำความ
เข้าใจร่วมกัน เราจะไม่ปนกัน” (สุจิตต์ วงษ์เทศ) หรือแม้แต่การดำรงชีวิตประจำวันของคนใน
รัฐก็ผูกพันข้องเกี่ยวกับศาสนาผีตลอดเวลา อย่างคาดไม่ถึง เช่นชาวนามีการบูชาพระแม่โพสพ
ซึ่งเป็นเทพ(ผี)แห่งข้าว ชาวประมงที่ออกเรือก็มีการบูชาแม่ย่านางเรือ (ผีประจำเรือ) เพื่อให้

72 | ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม– สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

การออกเรือหาปลามาดำรงชีวิตไม่มีอุปสรรคและเพื่อร้องขออำนาจเหนือธรรมชาติจากแม่
ย่านางเรือในการคุ้มครองตนเองในเวลาออกเรือ แต่กลับมิใช่การให้เปล่ากล่าวคือการร้องขอ
อำนาจจากเทพ-เทวดา(ผี)นั้นต้องแลกมาด้วยสิ่งที่เรียกว่าเครื่องเซ่นไหว้หรือการแก้บนนั้นยิ่ง
สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยในรัฐไทยมีความผูกพันธ์กับผี มากเสียยิ่งกว่าความผูกระหว่างคนใน
สังคมด้วยกันเอง แสดงให้เห็นว่าศาสนาผีไม่จำเป็นต้องมีลายลักอักษรอย่างเช่นข้อบังคับการ
ปฎิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยภายในรัฐหรือเรียกอย่างง่ายว่า กฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญ
ศาสนาผีนั้นพัฒนาควบคู่กับรัฐในรูปแบบที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นที่รับรู้และรับทราบการดำรง
อยู่ของศาสนาผีจากคนในสังคมและคนในรัฐหรือแม้แต่กระทั้งผู้ปกครองของรัฐก็รับทราบและ
รับรู้การดำรงอยู่ของศาสนาผี รวมถึงใช้ศาสนาผีเป็นเครื่องมือในการปกครองและพัฒนารัฐใน
รูปแบบต่างๆอย่างมีนยั ยะสำคัญมาโดยตลอด
ในปัจจุบันรัฐโบราณพัฒนาผ่านช่วงเวลาและเหตุการณ์ต่างๆเข้าสู่การเป็นรัฐสมัย
ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในการพัฒนารัฐ
รวมถึงคนในรัฐ ศาสนาผีจึงไม่ใช่ความเชื่อหลักของสังคมอีกต่อไป อาจกล่าวได้กล่าวกลไกทาง
สังคมที่ควบคุมโดยศาสนาผีผันแปรกลายเป็นเพียงองค์ประกอบบางส่วนของสังคม แต่มิได้
หายไปอย่างถาวร เพราะในแต่ละท้องถิ่นความเชื่อเรื่องศาสนาผียังคงดำรงอยู่แบบเงียบๆ
ภายใต้สภาวะของรัฐสมัยใหม่แต่มิใช่ดำรงอยู่ในฐานะกลไกที่ควบคุมการดำเนินชีวิตของคนใน
รัฐดังเช่นอดีตอีกต่อไป หากทว่ากลับดำรงอยู่ในฐานะมิติทางวัฒนธรรมของรัฐและพัฒนาการ
ทางสังคมภายในรัฐ เนื่องจากศาสนาผีนั้นถูกซ่อนเร้นไว้ใต้หน้าฉากของความหวัง ความเชื่อ
ความศรัทธา ความงมงายและการคาดหวัง การคาดหวังในฐานะที่ศาสนาผีมีพลังอำนาจเหนือ
ธรรมชาติ เหนือกฎเกณฑ์ของสังคม การคาดหวังในการดลบันดาลให้คนที่ศรัทธา บูชา เซ่น
ไหว้ พบเจอกับสิ่งที่ตนเองพึงประสงค์ในการดำรงชีวิต(การขอพร)ภายใต้ข้อจำกัดของรัฐ
ความเชื่อถือในศาสนาผีที่ยังดำรงอยู่อย่างเงียบๆนั้นยิ่งตอกซ้ำและสะท้อนถึงความ
สิ้นหวังในระบบรัฐ ปกติ ที่ควบคุมการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ระบบทุนนิยมที่ตอกย้ำ
ความยากจนและความสิ้นหวังในการใช้ ชีวิต ดังในรัฐที่เอื้อประโยชน์ส่วนใหญ่แก่นายทุนที่มี
อำนาจเหนือรัฐหรือแม้แต่ความผิดหวังในศาสนาที่รัฐไทยชูเป็นหลักของรัฐอย่างศาสนาพุทธ

73 |ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

แต่จะผิดหวังอย่างไรคงสุดแท้แต่ความคาดหวังของแต่ละบุคคล ศาสนาผีจึงเป็นสิ่งสุดท้ายที่
คนในรัฐยึดถือและเชื่อใจว่ายังคงมีพลังอำนาจบางอย่างที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ อยู่เหนือการ
ควบคุมและอยู่เหนือความเป็นไปในสังคม คอยอยู่เคียงข้างพวกเขาอย่างห่างๆ และพร้อมจะ
ช่วยเหลือพวกเขาผ่านการดลบันดาลในสิ่งที่พวกเขาร้องขอ หนึ่งในนั้นคือผีบรรพบุรุษของ
สามัญชน เราจะได้ยินคำกล่าวทางผีและพุทธในรัฐไทยเสมอว่า ผีปู่ผีย่าดูแลปกป้องลูกหลาน
ซึ่งอาจเป็นการสมาทานถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับกลายเป็นผีให้อยู่ช่วยดูแล คุ้มครอง ปกปัก
รักษาลูกหลานในครอบครัวและสามารถพัฒนามาเป็นผีประจำถิ่นที่คนในท้องถิ่นนั้นนับถือว่า
เป็นผู้ดูแลคนในท้องถิ่น ศาสนาผีจึงมีพัฒนาการควบคู่กับรัฐมาโดยตลอดอย่างเงียบๆ
หากจะกล่าวถึงการดำรงชีวิตในรัฐสมัยใหม่สิ่งที่คนในรัฐคาดหวั งคงหนีไม่พ้นสิ่งที่
เรียกโดยกว้างๆว่า รัฐสวัสดิการ หรือการจัดการภาครัฐในทิศทางของการกระจายความเจริญ
ให้เป็นไปอย่างเท่าเทียมกับทุกคนในรัฐ แต่หากทว่าภาพสะท้อนการมีอยู่ของศาสนาผีกลับยิ่ง
ตอกย้ำความล้มเหลวของการจัดการรัฐสวัสดิการ เช่น เราจะเห็นภาพของศาสนาผีในฐานะ
ความชนบท มิใช่เมืองใหญ่ ทุ่งนา ป่าช้า ป่าลึก มากกว่าตึกสูงระฟ้า การที่รัฐจัดการการ
กระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น หรือประชาชนได้น้อยหรือล้มเหลวมากเพียงใดศาสนาผียิ่งคง
ความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น ดังจะเห็นในตัวอย่างที่พบเจอได้ง่ายที่สุดเมื่อคนขาดรายได้หรือ
ค่าแรงขั้นต่ำของรัฐไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต คนย่อมไปหันไปพึ่งผีในการดลบัลดาลขอโชค
ลาภบอกกล่าวการเสี่ยงโชค หวยเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงถึงพลังอำนาจของศาสนาผีที่ชัดเจน
ในสังคมมาโดยตลอดและสามารถแทรกซึมในสังคมได้อย่างแยบคายเช่น การขอหวยออนไลน์
จากขอเลขไลฟ์สดในอินเทอร์เน็ต เป็นการแสดงถึงการดำรงอยู่ของศาสนาผีอย่างชัดเจน
ภายใต้การพัฒนาของรัฐสมัยใหม่ เพราะรัฐไม่สามารถตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในรัฐได้
คนจึงจำเป็นต้องหันไปพึ่งผี ให้ช่วยบอกเลขหวย เพื่อสร้างทุนในการดำรงชีวิต หรือเมื่อถึง
หน้าแล้งในชนบท พื้นที่ห่างไกลหลายๆแห่งมีน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเกษตร เราจะเห็น
ปรากฎการณ์ที่เรียกว่าการทำพิธีขอฝนที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น เหล่าเกษตรกร
มักจะพึ่งพา วิงวอน เทพเทวดา ผีฟ้า เจ้าป่าจ้าเขา ในการวิงวอนขอน้ำ ในการทำเกษตร
มากกว่าการวิงวอนขอจากชลประทานของรัฐ หรือการไหว้แม่ย่านางรถ แม่ย่านางเรือ ซึ่งเป็น

74 | ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม– สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

ความเชื่อในศาสนาผีมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายจราจรจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะพวกเขาเชื่อ
ในพลังอำนาจของผีมากกว่าอำนาจของรัฐเสียด้วยซ้ำ

สรุป
การที่คนในรัฐไม่ได้รับการตอบสนองในความต้องการพื้นฐาน หรือความปลอดภัย
ในชีวิตจากรัฐและพร้อมหันไปพึงสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ภายใต้วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตอย่าง
ศาสนาผีนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่กลับเป็นเรื่องที่รัฐต้องนำไปทบทวนว่าเหตุใดปรากฎการณ์
หลายอย่างในรัฐสมัยใหม่ หรือในศตวรรษที่ 21 ศาสนาผียังคงโลดแล่นได้อย่างภาคภูมิภ ายใต้
บริบทของรัฐสมัยใหม่และโลกาภิวัฒน์อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะขยายอำนาจของศาสนาผีอย่าง
เงียบๆและแยบคายไปในวิถีชีวิตของคนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จริงอยู่ที่ศาสนาผี
อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคนในสังคมได้แต่กลับช่วยปลอบประโลมและหล่อเลี้ยง
ความหวังของคนในสั งคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะการดำรงอยู่และการขยายตัวของ
ศาสนาผีสะท้อนว่ารัฐนั้นผิดพลาด ล้มเหลวในการทำหน้าที่สร้างความเชื่อใจ ความมั่น่ใจและ
ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และการดำรงชีวิตประจำวันอย่างปกติสุขภายในรัฐ (นฤปิติ,
2560)จนคนในรัฐต้องหันไปพึ่งศาสนาผี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(ส.พลายน้อย, 2555)

75 |ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2564)


วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
Thai Research and Management Journal

เอกสารอ้างอิง
คมกฤช อุ๋ยเต็กเค่ง, วิจกั ขณ์ พานิช, และ ศิรพิ จน์ เหล่ามานะเจริญ. (2564). ผี-พราหมณ์-
พุทธ ในศาสนาไทย. (ศิรพิ จน์ เหล่ามานะเจริญ, บ.ก.) กรุงเทพมหานคร:
สานักพิมพ์นาตาแฮก.
ชยางกูร ธรรมอัน. (8 สิงหาคม 2564). เข้าถึงได้จาก www.prachatai.com:
https://prachatai.com/journal/2021/08/94372#_ftn7
เดชา รัตตโยธิน. (2523). วิวฒั นาการของสังคม. กรุงเทพมหานคร: ศตวรรษ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (15-28 พฤศจิกายน 2562). พุทธ-พราหมณ์-ผี หรือ ผี-พราหมณ์-พุทธ.
มติชนสุดสัปดาห์.
วิราวรรณ นฤปิ ติ. (2560). การเมืองเรือ่ งพระพุทธรูป. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มติชน.
ศรัณย์ ทองปาน. (1-4 มกราคม 2538). มิสเตอร์รสั ต์แมนกับเทวรูปพระอิศวร. เมืองโบราณ
, 89-96.
ศรีศกั ร วัลลิโภดม. (2527). การถือผีในเมืองไทย. กรุงเทพ: ศิลปวัฒนธรรม.
ส.พลายน้อย. (2555). เล่าเรือ่ งบางกอก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์คา.

76 | ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม– สิงหาคม 2564)

You might also like