Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

7

ภาษีศุลกากร
ประวัติกรมศุลกากร

1.1 ความหมาย
ภาษีศุลกากรหรืออากรศุลกากร เป็นภาษีทางอ้อมจัดเก็บจากฐานการบริโภค โดยเรียกเก็บ
จากสิ่งของที่นำเข้าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บคือกรมศุลกากร
โดยจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ภาษีศุลกากร จึงเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสิ่งของที่นำเข้าเรียกว่า “อากรขาเข้า” และจัดเก็บ
จากสิ่งของที่ส่งออกเรียกว่า “อากรขาออก”

1.2 วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร
1. เพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ ภาษีศุลกากรเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของ
รัฐบาล นอกจากภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิต รัฐบาลจะนำรายได้นี้ไปใช้เพื่อการพัฒนา
ประเทศ
2. เพื่ อ คุ้ ม กั น อุ ต สาหกรรมภายในประเทศ ภาษี ศุ ล กากรจั ด เก็ บ จากสิ น ค้ า ที่ น ำเข้ า เป็ น
ส่วนใหญ่ที่เรียกว่าอากรขาเข้า ฉะนั้นสินค้านำเข้าจึงมีราคาแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
จึงเป็นการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ให้สินค้านำเข้ามาตีตลาดได้
3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ภาษีศุลกากรจะส่งเสริมการส่งออกโดยยกเว้น
ภาษีอากรขาออกหรืออาจจัดเก็บในอัตราที่ต่ำ เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศให้
ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศให้ได้มาก
4. เพื่อเป็นการส่งเสริมหรือจำกัดการบริโภค หากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยรัฐบาลจะจัดเก็บอากร
ขาเข้าในอัตราค่อนข้างสูงเพื่อให้ประชาชนบริโภคน้อยลง เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์
กระเป๋าถือ น้ำหอม นาฬิกา เสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ แต่ถ้าเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า เครื่องจักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์การศึกษาและกีฬา การเกษตรกรรม
เป็นต้น รัฐบาลจะจัดเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่ต่ำ
8

1.3 ประวัติกรมศุลกากรอย่างย่อ
การจัดเก็บผลประโยชน์จากการค้าเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน ในลักษณะที่เป็นภาษีศุลกากร
แต่ โ บราณของไทยนั้ น ไม่ มี ห ลั ก ฐานแน่ ชั ด คงปรากฏพอเป็ น แนวศึ ก ษาได้ ว่ า ในสมั ย สุ โขทั ย มี
คำสำหรับเรียกภาษีซึ่งเก็บจากการนำสัตว์ สิ่งของมาจำหน่ายว่า “จกอบหรือจังกอบ” ต่อมาในสมัย
อยุธยามีหลักฐานว่าการเก็บจกอบหรือจังกอบใช้รวมทั้งการค้าภายในและต่างประเทศ โดยพิจารณา
จากสถานที่จัดเก็บจกอบซึ่งเรียกว่า “ขนอน” และในสมัยอยุธยานี้เองที่การค้ากับต่างประเทศเจริญ
ก้าวหน้าขึ้นมาก ได้เกิดหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง เรียกว่า “พระคลังสินค้า” ทำการค้าแทนรัฐ
กับพ่อค้านานาชาติโดยระบบที่เรียกว่าการค้าผูกขาด
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการเก็บภาษีซึ่งเรียกเก็บจากการค้ากับต่างประเทศ
คือ จังกอบเรือสินค้าและจังกอบสินค้าซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษีศุลกากร สันนิษฐานว่าเจ้าหน้าที่จัดเก็บ
น่าจะได้แก่นายขนอน อยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาพระคลังซึ่งว่าการกรมท่า และในส่วนของ
การเก็บภาษีศุลกากรตามหัวเมืองก็อยู่ในหน้าที่ของเจ้าเมือง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนวิธีการจัด
เก็บภาษีอากรให้มีการประมูลผูกขาดกับทางราชการไปจัดเก็บภาษีที่เรียกกันว่า “ระบบเจ้าภาษี
นายอากร” พระคลังสินค้าทำหน้าทีเ่ ป็นเจ้าจำนวนภาษี เรียกว่า “กรมเจ้าจำนวน” ขึน้ อยูก่ บั พระคลัง
มหาสมบัติ รับผิดชอบจัดการเรื่องภาษีอากรในระบบการผูกขาดการเก็บภาษี เช่นนี้มีผลกระทบ
ต่อสินค้าขาเข้าและขาออก เพราะเป็นการเก็บซ้ำจึงกำหนดให้เก็บภาษีขาเข้าแต่เฉพาะภาษีปากเรือ
และยกเลิกภาษีขาออกเพราะได้เรียกเก็บจากภาษีผูกขาดแล้ว และในส่วนของการค้ากับต่างชาติ
ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของพระคลังสินค้าอยู่เช่นเดิม
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้เกิดข้อเปลี่ยนแปลงทางการค้ากับ
ต่างประเทศครั้งสำคัญ กล่าวคือผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษได้ส่ง เฮนรี่ เบอร์นี เข้ามาเจริญ
พระราชไมตรี และเจรจาขอเปลี่ยนแปลงสัญญาทางการค้าโดยขอให้มีการจัดเก็บภาษีตามขนาดของ
ปากเรือเพียงครั้งเดียว
จนกระทัง่ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั อังกฤษก็ได้สง่ เซอร์จอห์น เบาริง่
เป็นอัครราชทูตเข้ามาทำสนธิสัญญาทางการค้าเมื่อพุทธศักราช 2398 อีกครั้ง ข้อความในสนธิ
สัญญาเบาริ่ง ที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรก็คือ การให้ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือ เปลี่ยนมา
เป็นเก็บภาษีสินค้าขาเข้าโดยเรียกเก็บในอัตรา 100 ชัก 3 ซึ่งเรียกกันว่า “ภาษีขาเข้าร้อยชักสาม”
และตามข้อตกลงนี้มีผลกระทบกับการตกลงทำสัญญาทางการค้ากับชาติอื่นๆ ต่อมา เพราะต่างก็
ร้องขอที่จะให้ใช้วิธีการเดียวกับที่ทำสัญญากับอังกฤษทั้งสิ้น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้รัฐต้องขาด
รายได้จากภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนมาก
9

ด้วยข้อจำกัดเรื่องการเก็บภาษีขาเข้าขาออก และข้อกำหนดให้ยกเลิกการค้าผูกขาดโดย
พระคลังสินค้า อันเป็นผลมาจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นต้นมา เมื่อรวมกับปัญหาระบบการเก็บ
ระบบเดิม ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี
อากรใหม่โดยทรงจัดตั้ง “หอรัษฎากรพิพัฒน์” ขึ้น และโปรดให้ตราพระราชบัญญัติหอรัษฎากร
พิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) พระราชบัญญัติสำหรับพระคลังมหาสมบัติ จ.ศ. 1237 (พ.ศ.
2418) เพือ่ รวบรวมเงินรายได้ และวางระเบียบการรับส่งและการเบิกจ่ายเงินทีเ่ คยกระจายอยูใ่ นความ
รับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ให้มารวมอยู่ที่เดียวกัน
หอรัษฎากรพิพัฒน์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา
กรมพระบำราบปรปักษ์อธิบดี ทรงมีอำนาจสิทธิขาดในการจัดเก็บภาษีอากร และเป็นผู้ควบคุม
การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ซึ่งอาจจะถือได้ว่า
งานศุลกากรซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีสินค้าขาเข้าขาออกเป็นรายได้ของรัฐ ซึ่งหอรัษฎากรพิพัฒน์
จะต้องควบคุมจัดการและดูแล กำเนิดของหอรัษฎากรพิพัฒน์จึงนับเป็นการก่อตั้งกรมศุลกากรด้วย
แต่หลักฐานการเรียกชือ่ หน่วยงานศุลกากรในช่วงนีเ้ ป็นต้นไปยังไม่ชดั เจน มีคำเรียกว่า “กรมศุลกสถาน”
ก็มี “กรมศุลกากร” ก็มี และเรียกผู้บังคับบัญชาการว่า “ผู้บัญชาการภาษีขาเข้าขาออก” บ้าง
“อธิบดีผู้บัญชาการกรมศุลกากร” บ้าง “ผู้บัญชาการกรมศุลกสถาน” บ้าง ดังนี้ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ก็มีหลักฐานว่าท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (ชุมพร บุนนาค) เป็นผู้บัญญัติคิดคำว่า
“ศุลกากร” ขึน้ ให้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Customs” และกรมศุลกากรจะขึน้ อยูใ่ นกระทรวงใด
พระยาอนุมานราชธน ผู้เพียรพยายามสอบค้นเพื่อเขียนตำนานศุลกากรก็สอบค้นไม่ได้ ทราบแต่
เพียงว่าใน จ.ศ.1248 (พ.ศ.2429) กระทรวงเกษตราธิการได้บังคับบัญชาโรงภาษีสินค้าขาเข้าขาออก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตราพระราชบัญญัติยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติขึ้นเป็นกระทรวงเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 109
(พ.ศ.2433) นั้น ได้มีข้อกำหนดหน้าที่ของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่จ่ายและรักษาเงิน
แผ่นดินรวมทั้งราชพัสดุทั้งปวงตลอดจนรักษาพระราชทรัพย์ของแผ่นดินทั้งหมด เก็บและรับผิดชอบ
เงินภาษีอากรและเงินขึ้นต่อแผ่นดินตลอดพระราชอาณาจักร แบ่งหน่วยงานออกเป็น 13 กรม โดยมี
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานหนึ่งในแผนกกรมเจ้าจำนวนเก็บเงินภาษีอากร มีหน้าที่เก็บเงินภาษีอากร
ขาเข้าขาออก ซึ่งเก็บจากผู้บรรทุกสินค้าออกไปต่างประเทศและที่บรรทุกเข้ามาขายในประเทศ และ
ทีท่ ำการกรมศุลกากรในช่วงนีไ้ ด้ยา้ ยจากทีท่ ำการเดิมทีเ่ รียกกันว่า “โรงภาษี” ปากคลองผดุงกรุงเกษม
มายังที่ทำการกรมศุลกากรในที่ของพระยาอาทรบุรีรักษ์ ซึ่งตกเป็นของหลวงเรียกว่า “ทีท่ ำการภาษี
ร้อยชักสามและที่บัญชาการภาษีขาเข้าขาออก” ต่อมาได้สร้างอาคารที่ทำการใหม่ในที่เดิมเรียก
“ศุลกสถาน” นายช่างชาวอิตาเลียนชื่อ มิสเตอร์กราสสี เป็นผู้ออกแบบรับเหมาก่อสร้างอาคาร
ศุลกสถานแห่งใหม่นี้
10

ในปี พ.ศ.2435 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการภายในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกครั้ง


ซึ่งได้กำหนดให้กรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรโดยตรง 3 กรม คือ กรมสรรพภาษี กรมสรรพากร
และกรมศุ ล กากร โดยกรมศุ ล กากรมี ห น้ า ที่ เ ก็ บ ภาษี ข าเข้ า และขาออกจากที่ เ คยแยกเก็ บ ตาม
หน่วยงานต่างๆ มารวมไว้ในที่เดียวกัน และยังได้มีการให้เก็บภาษีข้าวขาออกมารวมอยู่ในกรม
ศุ ล กากรในปี นี้ พร้ อ มกั บ มี ก ารตราข้ อ บั ง คั บ สำหรั บ การศุ ล กากร พ.ศ.2435 เพื่ อ กำหนดแบบ
ธรรมเนียมในการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าและขาออก
ในช่วงระยะเวลานับแต่นี้ถือว่าเป็นประวัติความก้าวหน้าด้านศุลกากรที่สำคัญ อันเป็นผล
มาจากการปรับปรุงราชการในกรมศุลกากร นับแต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช แต่ยังดำรงพระอิสริยยศหม่อมเจ้ามาทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรม
ศุลกากร ตั้งแต่ พ.ศ.2436 อาจวัดได้จากเงินภาษีที่สามารถเก็บได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2436-2460
นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 10 เท่า
ถึงแม้กรมศุลกากรจะสามารถเก็บเงินภาษีเป็นเงินรายได้แผ่นดินมากขึ้นดังกล่าวแล้วก็ตาม
แต่เมื่อเทียบกับรายได้และรายจ่ายทั้งหมดเพื่อนำไปพัฒนาประเทศแล้วก็ยังนับว่าไม่เพียงพอ ทั้งนี้
ยังมีสาเหตุมาจากระบบภาษีอากรซึง่ ได้แก่ ภาษีศลุ กากร ทีย่ งั คงต้องปฏิบตั ติ ามข้อผูกพันในสนธิสญั ญา
ไม่เสมอภาคตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา ทำให้รายได้จากการเก็บภาษีศุลกากรมีไม่มากเท่าที่ควร
นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา จึงได้มีความพยายามที่จะแก้ไข
สนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคมาโดยลำดับ และเหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก็คือ
ได้เกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2457-2461 เมือ่ สงครามโลกสิน้ สุดลง มีการตัง้ สันนิบาตชาติ
ขึ้น ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกและถือโอกาสร้องขอให้มีการยกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ไทย
ในเรื่องอัตราภาษีศุลกากรร้อยชักสามและเรื่องอื่นๆ ได้เป็นผลสำเร็จ ในครั้งนั้นรัฐบาลไทยได้ร่าง
กฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากรขึ้นฉบับหนึ่ง ส่งไปหารือกับรัฐบาลนานาประเทศที่มีสนธิสัญญา
ทางพระราชไมตรี ท ำไว้ กั บ ประเทศไทย เพื่ อ ขอความเห็ น ชอบ และในที่ สุ ด สามารถตราเป็ น
พระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ได้สำเร็จเป็นฉบับแรก
การเติบโตของด้านศุลกากรซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและของโลกนั้น
เมื่อถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้เริ่มมีการวางแผนที่จะต้องสร้างสถานที่ทำการแห่งใหม่ให้
เหมาะสมกับการทำงาน แต่ยังมิได้ทันดำเนินการก็เกิดสงครามโลกเสียก่อน และมารื้อฟื้นโครงการ
ใหม่ เมื่อปลาย พ.ศ.2492 ตามโครงการบูรณะการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในสมัยที่หม่อมเจ้า
วิมวาทิตย์ ระพีพัฒน์ เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ตึกที่ทำการกรมศุลกากรซึ่งทำการก่อสร้างในบริเวณ
ท่าเรือกรุงเทพฯ อยูใ่ นบริเวณตำบลคลองเตย มีทรวดทรงสถาปัตยกรรมแบบไทย มีนายสนิท ฉิมโฉม
เป็นสถาปนิก ได้ทำการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ตึกที่ทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2493 และ
ยังคงใช้เป็นสถานที่ทำการของศุลกากรจนถึงปัจจุบัน
11

1.4 ศุลกากรยุคใหม่

ในปัจจุบันกรมศุลกากรพัฒนาบทบาทและหน้าที่จากเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของ
ที่นำเข้ามาในและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร มาเป็นการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาส่งเสริมด้านการค้า
ระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการปกป้องสังคม กรมศุลกากรจึงมีการ
พั ฒ นาองค์กรอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการพัฒนาระบบงาน การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อ
ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพิธีการศุลกากรให้เรียบง่าย สะดวก รวดเร็ว ด้วยการ
นำระบบ e-Customs มาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพของ
ข้าราชการให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของยุคสมัย ได้มีการปรับปรุงการดำเนินงาน
ในด้านต่างๆ อาทิ การแก้ไขกฎหมายศุลกากรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
การปรับปรุงระบบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีด้านการควบคุมทางศุลกากรมาใช้อย่าง
เต็มรูปแบบ เช่น การนำระบบติดตามทางศุลกากร (Tracking System) ภายใต้เทคโนโลยี e-Lock
เพื่อช่วยให้การดำเนินงานควบคุมและตรวจสอบสินค้าผ่านแดนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้
งานร่วมกับการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วยเครื่อง X-Ray ประกอบกับการนำเทคโนโลยี
RFID และ GPS ซึ่งทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อปกป้องสังคมจากสินค้าที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
นอกจากนี้ กรมศุลกากรและหน่วยงานภาครัฐได้ร่วมกันดำเนินการโครงการ Nation Single
Window (NSW) ซึ่งในการเชื่อมโยงอิเล็กกทรอนิกส์แบบไร้เอกสารเกี่ยวกับสินค้านำเข้า-ส่งออก
ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาระบบการ
เชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการของประเทศ เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจากการติดต่อเพียงจุดเดียว
ลดขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการปรับปรุงและลดขั้นตอนการดำเนิน
งานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในลักษณะของบริการทางอิเล็กทรอนิกส์
อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เพื่อให้เอกสารต่างๆ เช่น ใบอนุญาตการนำเข้า ใบอนุญาต
การส่งออก และใบรับรองต่างๆ ที่ออก โดยหน่วยงานหนึ่งสามารถที่จะจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์
อย่างอัตโนมัติไปให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้อย่างครบวงจร ทำให้ภาพ
รวมของการประกอบการค้ามีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

You might also like