บทที่ 3-1

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 37

บทที่ 3

การเป็ นพลเมืองกับการเรียนรู้และการดำรงตนในพหุวัฒนธรรมและความ
หลากหลายทางสังคม

หัวข้อ

- ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม
- ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ
- ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- ความหลากหลายทางศาสนา
- ความหลากหลายทางชนชาติ
- ความหลากหลายทางเพศ

เกริ่นนำ

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฯลฯ การ


เคลื่อนย้านถิ่นที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความหลากหลายเกิดขึน
้ ในสังคม ในบทนี ้
มีประเด็นของการปรับตัวของรัฐเพื่อให้ตอบรับต่อสภาวะของความหลาก
หลาย การเรียนรู้ถึงความเข้าใจในความหลากหลาย การยอมรับและการอยู่
ร่วมกันอย่างสันติ

ทัง้ นี ้ ในบทที่ 3 จะมีประเด็นที่สะท้อนให้เห็นต่อการปรับตัวเพื่อ


สนับสนุนในประเด็นของความแตกต่าง และการต่อต้านความต่างด้วยวิธีการ
ที่มีความรุนแรงตัง้ แต่ความรุนแรงระดับน้อยถึงมาก ประเด็นในบทที่ 3 ที่ตงั ้
คำถามไว้คือ วิธีการโดยรัฐ ที่มีเป้ าหมายเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มคนส่วนน้อยได้
รับสิทธิพิเศษ เพื่อขยายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ จะส่งผลให้เกิดความ
เหลื่อมล้ำไปยังคนอื่น ๆ หรือไม่ อย่างไร และจะมีวิธีการได้ที่สามารถแก้ไข
ปั ญหาได้อย่างถาวร (หากมี) ในบทนีม
้ ีประเด็นชวนให้ถกเถียงหาคำตอบ ซึ่ง
คำตอบของผู้อ่านอาจมีความแตกต่างกันออกไป ตามประสบการณ์ สภาวะ
แวดล้อมที่เคยประสบ

บทความท้ายบทที่ 3 เป็ นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของความ


หลากหลายที่เกิดขึน
้ และยังคงธำรงอยู่ในศตวรรษที่ 21 บทความเรื่อง “ปี
2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่?” เล่าเรื่องราวการเสียชีวิตของ
George Floyd และการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ
การตัง้ คำถามต่อเจ้าหน้าที่รัฐ บทความเรื่อง “โครงการ Host Family
สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจักร” อธิบายถึงโครงการที่
สนับสนุนการเรียนรู้ในวัฒนธรรมของพลเมืองสหราชอาณาจักร “Dignity
์ รีของคนสิงคโปร์” เป็ นบทความที่แสดงให้เห็นถึง
Kitchen ครัวสร้างศักดิศ
ธุรกิจที่รองรับต่อความสะดวกในการประกอบอาชีพของเพื่อนผู้พิการและ
กลุ่มเปราะบางในสิงคโปร์ บทความเรื่อง “Her เรารักกันแบบไม่มีตัวตนได้
ไหม” ชีใ้ ห้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของสังคม โดยโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยี
ดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทให้บุคคลจากหลากหลายพื้นที่ติดต่อกันได้สะดวกยิ่ง
ขึน
้ อย่างไรก็ตาม กรณีของบทความนี ้ จะชีใ้ ห้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบที่มา
ด้วยกันกับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี บทความเรื่อง “Mumbai
Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ” ตัง้ ข้อสังเกตต่อ
การประกอบอาชีพที่คัดเลือกผ่านถิ่นที่อยู่อาศัย “หัวเราะทัง้ น้ำตาไปกับวัน
จมูกแดง” เรื่องราวของการให้ความช่วยเหลือในระดับระหว่างประเทศ
บทความเรื่อง “เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดีในยุคดิจิทัล” และ “เดินทางไป
ดาวอังคารด้วยตั๋วเที่ยวเดียว” อธิบายในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการ
ทำความเข้าใจในพหุวัฒนธรรมผ่านการเดินทาง

ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม

พหุวัฒนธรรม เกิดมาจากคำ 2 คำ คือ “พหุ” และ “วัฒนธรรม” ตาม


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คำว่า “พหุ” หมายความว่า
“มาก” ส่วนคำว่า “วัฒนธรรม” หมายความว่า “สิ่งที่ทำความเจริญงอกงาม
ให้แก่หมูค
่ ณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย วิถีชีวิตของ
หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา” ตามพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตฯ ไม่ปรากฏของความหมายคำว่า พหุวัฒนธรรม แต่เมื่อรวม
ความหมายจากคำสองคำเข้าด้วยกัน พหุวัฒนธรรม คือ
สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะในลักษณะที่หลากหลาย หรือ
วัฒนธรรมอันหลากหลาย

อย่างไรก็ตาม คำว่า วัฒนธรรม หรือ Culture ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้มี


ความหมายเป็ นไปใน
เชิงบวกทัง้ หมด เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีวัฒนธรรมที่เรียกว่า Rape Culture
ซึ่งเป็ นคำที่เริ่มมีการถูกพูดถึงตัง้ แต่ช่วงปี ค.ศ. 1970 เป็ นต้นมา Rape
Culture คือ วัฒนธรรมที่มีความเชื่อว่าการใช้ความรุนแรง
ที่กระทำโดยผู้ชายต่อผู้หญิง ถือเป็ นความเป็ นจริงในชีวิตอย่างหนึ่ง และการ
ใช้ความรุนแรงนีเ้ ชื่อมโยง
กับเรื่องทางเพศ โดยถือว่าเป็ นสิทธิของผู้ชายที่จะมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง
(Phipps, Ringrose, Renold, & Jackson, 2018) ดังจะเห็นได้จากตัวอย่าง
ในความหมายของ Rape Culture การแปลคำว่าวัฒนธรรม
จึงหลีกเลี่ยงการแปลว่า “สิง่ ที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ” แต่เป็ น
“สิ่งที่นิยมประพฤติ-
ความเชื่อในหมู่คณะ” แทน ดังนัน
้ ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม คือ
“สิ่งที่นิยมประพฤติ-ความเชื่อในหมู่คณะในลักษณะที่หลากหลาย” หรือ
“วัฒนธรรมอันหลากหลาย”

ทำไมเราถึงต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องพหุวัฒนธรรม นั่นเป็ นเพราะว่า ใน


สังคมปั จจุบัน ได้ปรากฏ
ความหลากหลายมากขึน
้ เนื่องด้วยความสะดวกในการเข้าถึงการขนส่งทัง้
ทางบก ทางทะเล และ
ทางอากาศ การเข้าถึงการสื่อสารที่ปราศจากข้อจำกัด ส่งผลให้ผู้คนจากต่าง
ถิ่นสามารถเห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป ทัง้ นี ้ เรา
สามารถเห็นความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต
โดยการสังเกตผ่านทางอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และการประสบกับความ
หลากหลายด้วยตนเอง การศึกษาเรียนรู้เรื่องพหุวัฒนธรรม จะทำให้เรา
เรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง
อย่างปราศจากอคติ

ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ

ความยุติธรรมคืออะไร Michael J. Sandel ศาสตราจารย์แห่งมหา


วิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผูส
้ อนวิชาความยุติธรรม ได้ตงั ้ คำถามกับนักศึกษาฮาร์
วาร์ดเอาไว้ว่า
กรณีที่ 1 นักศึกษาไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็ นผู้บังคับรถราง แต่
ปรากฏว่าสัญญาณเบรกไม่สามารถทำงานได้ แต่ในโชคร้ายยังมี
ความโชคดีอยู่ นั่นคือ พวงมาลัยรถสามารถใช้งานได้ ถ้าหาก
นักศึกษาเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย รถจะต้องชนคนงานทัง้
5 คน ที่อยู่ตรงหน้า และคนงานเหล่านัน
้ จะต้องเสียชีวิตทัง้ หมด
แต่ถ้าหากนักศึกษาหมุนพวงมาลัยไปทางขวา คนทัง้ 5 คนนัน

จะรอดชีวิต แต่เมื่อหมุนพวงมาลัย
ไปทางขวา ยังคงมีคนงาน 1 คนที่อยู่บริเวณรางรถ และเขาจะ
ต้องเสียชีวิตแทนคนทัง้ 5 คนนัน
้ คำถามคือ คุณจะหมุนพวง
มาลัยไปทางขวา เพื่อให้คน 1 คนเสียชีวิต และคนทัง้ 5 คน
1
รอดชีวิตหรือไม่ (Sandel, 2009)

จากคำถามที่ Sandel ตัง้ ปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องเรียน


เลือกที่จะหมุนพวงมาลัย
ไปทางขวาด้วยจุดประสงค์ที่จะช่วยเหลือให้คนทัง้ 5 คน รอดชีวิต ถึงแม้ว่า
จะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตในกรณีนก
ี ้ ็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเปลี่ยน
แนวคำถามกลับพบว่านักศึกษาแทบทัง้ หมดในห้องเรียนกลับตัดสินใจไปใน
ทางตรงข้าม

กรณีที่ 2 สมมติว่าคุณเป็ นแพทย์ และมีคนไข้ในความดูแลถึง 5


รายที่ต้องการอวัยวะที่สำคัญ หากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยน
อวัยวะเหล่านี ้ คนไข้จะถึงแก่ความตายได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มี
คนมาบริจาคอวัยวะ โดยอวัยวะที่คนไข้ต้องการ ได้แก่ หัวใจ,
ปอด, ไต, ตับ และตับอ่อน และในขณะที่คนไข้ทงั ้ 5 กำลังนอน
รอความตายอยู่นน
ั ้ ในห้องคนไข้ห้องถัดไป เกิดมีชายคนหนึ่งที่
มีสุขภาพดีเยี่ยม เข้ามาตรวจสุขภาพทั่วไป

1
ไม่ได้เป็ นการถอดคำพูดแบบคำแต่คำแต่เป็ นการสรุปด้วยภาษาของผู้แปลเอง
ในระหว่างที่เขารอตรวจสุขภาพนัน
้ เขากำลังนอนหลับอยู่
คำถามคือ จะมีใครเลือกที่จะฆ่าผู้ชายคนนี ้ เพื่อรักษาชีวิตของ
2
คนไข้ที่เหลือทัง้ 5 คนบ้าง (Sandel, 2009)

ในโจทย์คำถามที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ ทัง้ กรณีที่ 1 และ 2 มี


จำนวนคนที่เท่ากัน คือ กลุ่ม A
มี 1 คน และกลุ่ม B มี 5 คน ถ้าหากเราไม่ลงมือทำอะไร คนทัง้ 5 จากกลุ่ม
B คนจะต้องเสียชีวิต แต่หากเราเลือกที่จะช่วยเหลือคนทัง้ 5 คน จะต้อง
ทำให้คน 1 คน จากกลุ่ม A เสียชีวิต ทำไมมนุษย์ถึงเลือกที่จะตัดสินใจไปใน
ทิศทางที่แตกต่างกัน

คำตอบคือ เรามีวิธีการใช้เหตุผลทางศีลธรรมที่แตกต่างกัน การใช้


เหตุผลทางศีลธรรม
แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ได้แก่ Consequentialist Moral Reasoning
(เหตุผลทางศีลธรรมเชิงผลลัพธ์) คือ เรานำพาศีลธรรมไปผูกเอาไว้กับผลที่
จะเกิดขึน
้ จากการกระทำ และ Categorical Moral Reasoning (เหตุผล
ทางศีลธรรมเชิงเด็ดขาด) คือ เราวางเส้นศีลธรรมไว้ที่หน้าที่และสิทธิ โดยไม่
ได้คำนึงถึงผลลัพธ์
ของการกระทำ (Sandel, 2009) โดยในกรณีที่ 1 เมื่อนักศึกษาส่วนใหญ่
เลือกที่จะเบี่ยงพวงมาลัย
ไปทางขวา เพื่อให้คนอีก 5 คนมีชีวิตรอด การกระทำเช่นนัน
้ ถือเป็ นการใช้
Consequentialist Moral Reasoning เพราะเน้นไปที่ผลลัพธ์ คือ ช่วย
ชีวิตคนได้ 5 คน ย่อมดีกว่า 1 ชีวิต ในขณะที่ใน กรณีที่ 2 นักศึกษาเกือบ

2
ไม่ได้เป็ นการถอดคำพูดแบบคำแต่คำแต่เป็ นการสรุปด้วยภาษาของผู้แปลเอง
ทัง้ หมดในห้องเลือกที่จะไม่ฆาตกรรมคนไข้สุขภาพดี เพื่อให้คนไข้อีก 5 คน
ได้มีชีวิตรอด
ในกรณีนน
ี ้ ักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้ Categorical Moral Reasoning คือ
ยึดถือในความถูกต้องของการทำหน้าที่ของการเป็ นแพทย์ ไม่ละเมิดสิทธิ
ของคนไข้ที่มีสุขภาพดี ถึงแม้ว่าผลลัพธ์จะเป็ นการเสียชีวิต
ของคน 5 คน ซึง่ มากกว่าผู้รอดชีวิต 1 คนก็ตาม

ความหมายของคำว่า “ยุติธรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ


คือ “ความชอบด้วยเหตุผล, ความชอบธรรม หรือ ความเที่ยงธรรม” จาก
กรณีตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า ความยุติธรรมนัน
้ เป็ นผลมาจากการ
ตัดสินใจของบุคคล โดยมีพ้น
ื ฐานมาจากเหตุผลทางศีลธรรม ซึ่งแต่ละบุคคล
จะมีวิธีการใช้เหตุผลทางศีลธรรมที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันกับกลุ่มคน
องค์กร และรัฐ ในบางกรณีจะเห็นว่ารัฐ
หรือองค์กรระหว่างรัฐมีการออกกฎหมายที่มีพ้น
ื ฐานมาจากเหตุผลทางศีล
ธรรมที่แตกต่างกัน เช่น
ในปี ค.ศ. 2011 European Commission (คณะกรรมาธิการยุโรป) ได้
ผ่านกฎหมายที่ให้สิทธิในการที่จะถูกลืม หรือ “Right to be Forgotten”
ภายใต้แนวคิดนี ้ บุคคลสามารถใช้สิทธิในการขอลบข้อมูล
ส่วนบุคคลของตัวเองจากระบบข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้ ที่มาของสิทธิในการที่
จะถูกลืมสามารถย้อนไปที่กฎหมาย “Le droit à l'oubli” หรือ “Right to
Oblivion” ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็ นกฎหมาย
ที่ให้สิทธิในการที่จะปฏิเสธในการพิมพ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคดีความที่เคย
เกิดขึน
้ ของนักโทษที่เคย
ถูกดำเนินคดีและหลุดพ้นจากการได้รับโทษ (Rosen, 2012: 88-89) สิทธิ
ในการที่จะถูกลืมมีการครอบคลุมทัง้ การขอลบข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงจาก
แหล่งข้อมูล เช่น เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลของเรา หรือ ขอให้ search
engine เช่น Google ให้ทำการลบข้อมูลของเรา ทัง้ นี ้ Google ไม่สามารถ
ที่จะลบข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์อ่ น
ื ๆ โดยตรงได้ แต่สงิ่ ที่ Google สามารถ
ทำได้คือ ลบผลการค้นหา ลบ links
ที่มีช่ อ
ื เราไม่ให้ไปปรากฏอยู่บน Google (European Union, 2018) ใน
ทางตรงกันข้าม ความยุติธรรม
ในรูปแบบของสหรัฐอเมริกา คือ การที่ประชาชนจะได้สิทธิตาม Bill of
Rights หรือ บัญญัติว่าด้วยสิทธิของพลเมือง ตามรัฐธรรมนูญ โดยในข้อที่ 1
ที่ปรากฏอยู่ใน Bill of Rights คือ “Freedom of Religion, Speech,
and Press” (National Center for Constitutional Studies, n.d.;
Rosen, 2012: 88) พลเมืองอเมริกันมีสิทธิในการที่จะนับถือศาสนา มี
เสรีภาพในการแสดงออกผ่านการพูด, คิด, เขียน และเปิ ดเสรีภาพในการ
แสดงออกของสื่อและเสรีภาพในการเข้าถึงสื่อ ดังนัน
้ ข้อมูลในรูปแบบ
เดียวกัน เช่น ประวัติของการต้องคดีของอาชญากร ถึงแม้ว่าจะได้รับโทษจน
คดีเป็ นที่สน
ิ ้ สุดแล้ว ก็ยังสามารถบรรจุข้อมูลรายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ได้

การไม่เลือกปฏิบัติ หมายความถึง การกระทำอย่างเสมอภาค ตาม


บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุไว้
อย่างชัดเจนในมาตราที่ 27 ว่า

“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิ
เท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็ นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่า
ด้วยความเหตุแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด, เชื้อชาติ, ภาษา, เพศ,
อายุ, ความพิการ, สภาพทางกายหรือสุขภาพ, สถานะของ
บุคคล, ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม, ความเชื่อทางศาสนา,
การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอ่ น
ื ใด จะกระทำ
มิได้...” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,
2561: 8)

พื้นฐานที่ทำให้บุคคลได้รับสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน ได้ถูก
ระบุไว้ตามกฎหมาย
ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากขึน
้ ในประเด็นของการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล
ได้แก่ เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ในการทำความสะอาดถนนสาธารณะ ย่อมจะ
ต้องทำความสะอาดถนนทุกพื้นที่ ไม่มีการเว้นการทำ
ความสะอาดบริเวณหน้าบ้านของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อมีผู้ขอเข้าแจ้ง
ความ เจ้าพนักงานสอบสวนจะต้องทำการรับเรื่องแจ้งความ ผ่านการทำการ
บันทึกไว้เป็ นหลักฐาน ไม่มีข้อยกเว้น ถึงแม้บค
ุ คลผู้นน
ั ้ จะเป็ น
คนต่างด้าวหรือนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวอย่างที่เกิดขึน
้ จริง ที่สง่ ผลให้ต้องตัง้ คำถามใน
ประเด็นของการไม่เลือกปฏิบัติ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีนโยบายที่เรียก
3
ว่า Affirmative Action ซึง่ เป็ นนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
นโยบายนีใ้ ห้สิทธิพิเศษแก่บค
ุ คลบางชาติพันธุ์ สิทธิพิเศษแก่บุคคลที่มีรายได้
ในระดับต่ำ และ สิทธิพิเศษในการจ้างงานแก่บุคคลที่มีลักษณะบางประการ
เช่น ถูกจ้างงานเพราะเป็ นเพศหญิง ถูกจ้างงานเพราะเป็ นเพศทางเลือก
คำถามคือนโยบาย Affirmative Action เป็ นนโยบายที่เลือกปฏิบัติหรือไม่

3
ผูเ้ ขียนแปลคำว่า Affirmative Action โดยอิงจากบทความที่เขียนโดย Coate & Loury (1993)
คำตอบคือ ใช่ เพราะนโยบายเจาะจงในการให้โอกาสแก่กลุ่มคนบาง
ประเภทแต่ไม่ใช่ทุกคนในประเทศ
จะได้รับสิทธินน
ั ้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึง Affirmative Action เรา
จะต้องนำเอาประเด็น
“ความเหลื่อมล้ำ” เข้ามาพิจารณาด้วย นั่นคือ โดยธรรมชาติแล้วบุคคลไม่ได้
เกิดมาด้วยต้นทุนชีวิต
ที่เสมอกัน บางคนเกิดมาจากครอบครัวที่มีฐานะ ย่อมจะส่งผลให้บค
ุ คลนัน

ได้รับการดูแลตามสมควร
ไม่ขาดแคลนสารอาหาร และสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตาม
ความสามารถของตนเองโดย
ไม่ขัดสนเงินทองในการชำระเป็ นค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ ในกรณีตรงกัน
ข้าม บุคคลที่ถือกำเนิดมา
โดยบุพการีอาจหย่าร้างกัน ทำให้ต้องเติบโตมาภายใต้การเลีย
้ งดูของพ่อหรือ
แม่ ที่อาจไม่สามารถสนับสนุนให้บุตรได้เรียนตามสมควร ไม่สามารถส่งเสีย
ให้ลูกได้เรียนพิเศษ อาหารการกินไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการ ทำให้สมองของบุตรไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็ น เมื่อ
บุตรมีความต้องการที่จะ
เข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะต้องการได้รับการศึกษาที่ดีและ
เชื่อว่าการมีวุฒิการศึกษาที่ดี
จะส่งผลให้สามารถหางานที่ดีและมีรายรับที่ดีได้ ถ้าเยาวชนที่มาจาก
ครอบครัวที่มีฐานะดี และเยาวชนทีม
่ าจากพื้นฐานครอบครัวทีย
่ ากจน ต้องมี
แข่งขันเพื่อให้ได้รบ
ั สิทธิในการเข้ามหาวิทยาลัยผ่านข้อสอบกลาง ทัง้ สองคน
นีม
้ ีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการนั่งทำข้อสอบ แต่ความเหลื่อมล้ำทางฐานะ
เศรษฐกิจส่งผลลบ
ต่อเยาวชนที่มาจากครอบครัวพื้นฐานยากจน ทำให้เขามีโอกาสน้อยกว่าที่จะ
สามารถได้สิทธิเข้าเรียน
ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ

การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล ในสถานการณ์บางอย่างจะช่วยลด
ระดับความเหลื่อมล้ำ
ไม่ว่าจะเป็ นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจหรือสังคม ซึ่งในระยะยาวจะส่งผล
ให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ด้อยโอกาสมากขึน
้ ถือเป็ นการขยาย
ความเท่าเทียมกันในสังคมได้ในระดับหนึ่ง เช่นนัน
้ แล้ว นโยบาย
Affirmative Action จึงถือเป็ นนโยบายเลือกปฏิบัติเชิงบวกสำหรับผู้ด้อย
โอกาส ทัง้ นี ้ “การเลือกปฏิบัติเชิงบวกต่อบุคคล” มีศพ
ั ท์ที่ใช้ทดแทนเรียกว่า
“Preference for a Person หรือ การให้สิทธิพิเศษ
ส่วนบุคคล” (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2558: 93-94)

สำหรับการตอบคำถามที่ว่า “ความยุติธรรม” มีจริงหรือไม่ ตัวอย่าง


จากการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย Ivy League ซึง่ เป็ น
มหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่และมีช่ อ
ื เสียง 8 แห่งในสหรัฐอเมริกา ได้แก่
Brown University, Columbia University, Cornell University,
Dartmouth College, Harvard University, University of
4
Pennsylvania, Princeton University และ Yale University พบว่า
มหาวิทยาลัยในเครือ Ivy League ส่วนมากเลือกที่จะลดมาตรฐานการรับ
นักศึกษาเข้าเรียนในกรณี

4
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.businessinsider.com/the-ivy-league-schools-ranked-
2013-9
ที่ผู้ปกครองเลือกที่จะบริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัย โดยอัตราเงินบริจาคจะ
อยู่ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับนักเรียนที่มีคะแนนในระดับที่ไม่ต่างจากคู่
แข่งรายอื่น ๆ และ 10 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่า (Unz,
2012 as cited in Fingleton, 2012) ทัง้ นี ้ มหาวิทยาลัยในเครือ Ivy
League
ถือเป็ นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีค่าเล่าเรียนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
มหาวิทยาลัยของรัฐ การลดมาตรฐานการรับนักศึกษาซึ่งเป็ นผลมาจากการ
บริจาคเงินไม่ถือเป็ น Affirmative Action เพราะไม่ได้สนับสนุน
ให้กลุ่มคนผู้ด้อยโอกาส ได้รับสิทธิให้เข้าเรียนใน Ivy League แต่เป็ นการ
กันพื้นที่ไว้ให้กลุ่มบุคคลที่มีสถานภาพทางการเงินในระดับบนได้เข้าศึกษา
ต่อ

จะเห็นได้จากตัวอย่างของการรับเข้านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน
ระดับบนของสหรัฐอเมริกาถึงความเหลื่อมล้ำทางฐานะทางเศรษฐกิจที่ส่งผล
ให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งมีสิทธิเหนือกว่าบุคคลอื่น ดังนัน
้ หน้าที่ประการหนึ่ง
ของรัฐ คือ การสร้างความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ถึงแม้จะเป็ นการลด
การ
เหลื่อมล้ำด้วยวิธีการเลือกปฏิบัติที่เน้นผลเชิงบวก (หรือการให้สิทธิพิเศษ)
ต่อผู้ด้อยโอกาส ในมุมมองของรัฐบาล การเลือกปฏิบัติในบางกรณี ถือ
เป็ นการให้ยุติธรรม

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

แบบการเรียนการสอนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมพหุวัฒนธรรมใน
ประเทศไทยในปั จจุบัน
มีการเรียนการสอนให้นักเรียนได้รู้จักกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น
ประเด็นการมีคนอาศัยอยู่ในประเทศไทยหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนีย
้ ัง
มีการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมย่อย คือ วัฒนธรรมของ
แต่ละภาคในประเทศไทย พบว่า เนื้อหาในหลักสูตรการเรียนการสอนใน
แบบเรียน
เมื่อเปรียบเทียบกับแบบเรียนปี พ.ศ. 2520 กับ พ.ศ. 2544 และ พ.ศ.
2551 มีความแตกต่างกันในการยอมรับถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ตัวอย่างเช่น แบบเรียนในปี พ.ศ. 2520 เขียนถึงคนจีนที่มาอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยว่าเป็ นชาวต่างชาติ ในขณะที่แบบเรียนในยุคหลังจาก พ.ศ.
2520 เปลี่ยนวิธีการเรียกจากคำว่าชาวต่างชาติ (คนจีน) ว่าเป็ น คนไทยเชื้อ
สายจีน (ฐิติมดี อาพัทธนานนท์, 2556: 120)

เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากสังคมรอบตัวของเรา ทัง้ นี ้ เมื่อมีการเคลื่อน


ย้ายของประชากรมากขึน
้ หรือเมื่อเราเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เราจะประสบ
พบเจอกับวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างกัน เมื่อเราเอา
คำว่าวัฒนธรรมไปเชื่อมกับคำอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมการทำงาน วัฒนธรรม
คน Gen Y เราจะยิ่งพบกับความหลากหลายมากขึน
้ ในประเด็นของ
วัฒนธรรมการทำงาน ประเทศญีป
่ ุน
่ มีวฒ
ั นธรรมการทำงานทีห
่ นัก พนักงาน
ต้องทำงานในจำนวนชั่วโมงที่ยาวนานในแต่ละสัปดาห์ และโดยเฉลี่ยแล้วคน
ญี่ปุ่นทำงานถึง 2,000 ชั่วโมงต่อปี จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเช่นนี ้
แทบจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมานานนับทศวรรษ (Ministry of Health,
Labour and Welfare 2015 as cited in Ono, 2018: 35) สำหรับ
วัฒนธรรมของคน Gen Y คือ วัฒนธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในการเป็ น
ตัวกลางการสื่อสาร การหาคำตอบ โดยเฉพาะมีการพึง่ พิงการค้นหาความรู้
จากอินเทอร์เน็ตมากกว่าจากความรู้ในรูปแบบเดิมที่หาได้จากองค์กร
(McMahan et al., 2009: 61; Li & Bernoff, 2008: 9 as cited in Lichy,
2012: 102)

วัฒนธรรมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปั จจัยภายในประเทศและ
ปั จจัยภายนอกประเทศ ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมของคนอเมริกันในระยะแรก
ได้รับอิทธิพลมาจากคนอังกฤษ นั่นเป็ นเพราะ
คนอังกฤษได้ย้ายถิ่นที่อยู่มายังสหรัฐอเมริกาและนำเอาวัฒนธรรมดัง้ เดิมของ
ตนเองเข้ามาด้วย
ในกาลต่อมา คนอเมริกันเริ่มมีการสร้างวัฒนธรรมของตนเองขึน
้ มา ทัง้
อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ และวัฒนธรรมแบบอเมริกันได้ส่งผ่านไปยัง
ประเทศต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า อาหารประเภท Junk Food
ของคนอเมริกันได้กลายมาเป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนใน
หลายชาติ

นอกจากการรับรู้ถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย เราควรจะเรียนรู้ถึงการ
ยอมรับในวัฒนธรรมของผู้อ่ น
ื ในกรณีที่วัฒนธรรมนัน
้ ไม่ขัดต่อหลักสิทธิ
มนุษยชน ในประเด็นเรื่องการยอมรับในวัฒนธรรมและ
การอยู่ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรมจะขอยกตัวอย่าง กรณีของชนเผ่า
Korowai (โคโรไว) ในจังหวัดปาปั ว
ประเทศอินโดนีเซีย ชนเผ่าโคโรไวดัง้ เดิม นิยมสร้างบ้านให้อยู่สูงจากผืนดิน
ไม่ใส่เสื้อผ้า หาอาหารจากภายในป่ า โดยอาหารหลักที่ทานได้แก่ หนอน
และต้นสาคู บ้านที่อยู่นน
ั ้ ก็ทำเองจากไม้ ชาวโคโรไวมีชีวิตความเป็ นอยู่ที่พอ
เพียง อย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลภายนอกได้ให้ความสนใจในวิถีชีวิตของชาวโค
โรไวมากขึน
้ มีนักข่าวจากต่างประเทศเข้ามาทำข่าวเกี่ยวกับชาวโคโรไว และ
ถึงขัน
้ จ้างชาวโคโรไวให้สร้างบ้านให้และแสร้งทำเป็ นว่าชาวโคโรไวอาศัยใน
บ้านหลังใหม่ที่สร้างขึน
้ โดยบ้านหลังใหม่มีขนาดสูงเกินปกติ
ที่ชาวโคโรไวอาศัยอยู่ สาเหตุที่ต้องสร้างบ้านให้สูงขนาดนัน
้ เพราะเมื่อถ่าย
ภาพมาจากทางอากาศ
ภาพบ้านและชาวโคโรไวจะดูเด่นขึน
้ มา ผลจากการเข้ามาของนักข่าวต่าง
ชาติ ทำให้ชาวโคโรไวมีวิถีชีวิต
ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับรัฐบาลอินโดนีเซียต้องการให้ชาวโคโรไวเป็ นคน
ศิวิไลซ์มากขึน
้ จึงสร้างบ้านสังกะสี และบ้านไม้ ให้ชาวโคโรไวอาศัยอยู่ บ้าน
เหล่านีอ
้ ยู่บนพื้นดินที่ห่างไกลออกมาจากป่ า ข้อดีคือ ชาวโคโรไว
มีที่อยู่เป็ นหลักแหล่งมากขึน
้ แต่ข้อเสียคือ รัฐบาลอินโดนีเซีย ปล่อยให้ชาว
โคโรไวอาศัยอยู่เช่นนัน

โดยไม่ได้มีมาตรการอื่นในการรองรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวโคโรไว
ทำให้ชาวโคโรไวที่อพยพออกมาอยู่บ้านบนพื้นดินประสบกับความยากจน
เพราะไม่มีอาชีพรองรับ ไม่มค
ี วามสามารถทำอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ และชาว
โคโรไววัยกลางคนขึน
้ ไป ไม่ได้รับการศึกษา ดังนัน
้ เมื่อใดก็ตามที่นักข่าวเข้า
มาทำข่าวเกี่ยวกับชาวโคโรไว ชาวโคโรไวจะแสร้งว่ายังคงใช้ชีวิตอยู่ในป่ า นำ
5
นักข่าวไปชมวิถีชีวิต และรับเงินเสมือนเป็ นค่าตัวนักแสดงจากนักข่าว

5
ที่มาจากรายการสารคดี My Year with the Tribe สามารถเข้าถึงสารคดีได้ที่
https://www.bbc.co.uk/programmes/p065jqfz
ในภาพรวมของวัฒนธรรม เราได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมมีความหลาก
หลาย แม้ภายในประเทศเดียวกันก็จะเห็นความหลากหลายของวัฒนธรรม
การเรียนรู้ที่จะยอมรับในวัฒนธรรมของกันและกัน
ถือเป็ นสิง่ ที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ การเข้าไปแทรกแซง
วัฒนธรรมและก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ดังตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาว
โคโรไวโดยบุคคลภายนอก ผลักดันให้ชาวโคโรไวกลายเป็ นคนชายขอบของ
อินโดนีเซียที่กลายมาเป็ นปั ญหาให้กับภาครัฐ วัฒนธรรม
มีการเปลี่ยนแปลงจากปั จจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ มีทงั ้
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
แบบค่อยเป็ นค่อยไปและแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

ความหลากหลายทางศาสนา

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 มาตรา 31 ระบุว่า “บุคคล


ย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์
ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตาม
หลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็ นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่
เป็ นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560, 2561: 9) จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ปรากฏว่ามี
ข้อความใดที่ระบุให้ศาสนาพุทธเป็ นศาสนา
ประจำชาติ ถือเป็ นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการให้ความสำคัญแก่ทุก
ศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน
ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้เน้นไปที่การให้ความสำคัญของศาสนาใดเป็ น
พิเศษ เว้นเสียแต่การระบุในมาตรา 7 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็ น
พุทธมามกะ และทรงเป็ นอัครศาสนูปถัมภก” (รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2561: 4) ในบทกาลอื่น ๆ ของ
รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับประชาชนไทยที่เหลือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงการ
น้อมนำเอาศาสนาพุทธมาเป็ นหลักแก่ชีวิต แต่ในเชิงปฏิบัติกลับปรากฏ
ว่าการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศไทยภายใต้หลักสูตรกระทรวง
ศึกษาธิการ กลับมีการ
ให้นักเรียนเรียนวิชาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็ นหลัก เช่น ในหลักสูตร
ประถมศึกษาปี ที่ 2 นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้เรียนรู้
ว่าศาสนาพุทธถือเป็ นเอกลักษณ์ของชาติ หลักสูตรครอบคลุม
ไปถึงการศึกษาศาสนิกชนตัวอย่าง แต่มีเพียงศาสนิกชนผู้นับถือศาสนาพุทธ
ที่นักเรียนจะได้ศึกษา เช่น พระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวร ฯลฯ (สำนัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, ม.ป.ป.: 7-8) ถึงแม้จะมีการสอดแทรกเนื้อหา
ของศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม และ ฮินดู แต่เป็ นการสอด
แทรกเนื้อหาในจำนวนที่น้อยมากอย่างเทียบกันไม่ติดเมื่อเปรียบเทียบกับ
ศาสนาพุทธ

ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการระบุไว้ชัดเจนภายใต้ Bill of Rights ใน


ประเด็นของสิทธิ
ส่วนบุคคลในการนับถือศาสนา ระบบการศึกษาของสหรัฐฯ ไม่มีการเรียน
การสอนศาสนาในโรงเรียนรัฐบาล ยกเว้นแต่กรณีการสอนในเชิง
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และข้อเท็จจริง (Franken, 2016) ดังนัน

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องศาสนาในเชิงลึกกว่าแง่มุมทางประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรม สามารถเข้าเรียนได้
ในโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนสอนศาสนาโดยตรง

ในขณะที่ประเทศไทยมีการเรียนการสอนที่เน้นไปที่พระพุทธศาสนา
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไม่มีการสอนศาสนาในโรงเรียนรัฐบาล รัฐบาลเบลเยียมเลือกที่จะรับรู้ถึงการ
มีอยู่ของศาสนาบางศาสนาและรัฐบาลให้การอุปถัมภ์แก่ศาสนา แต่มีเพียง 6
ศาสนาที่รัฐบาลสนับสนุนอย่างเป็ นทางการ ได้แก่ คาทอลิก โปรแตสแตนต์
ยูดาห์ แองกลิคัน อิสลาม คริสต์ออโธด็อกซ์ และสนับสนุนความเชื่อที่ไม่นับ
อยู่ในศาสนา คือ Non Confessional Freethinkers โดยการสนับสนุน
ของรัฐมาในรูปแบบเงินเดือนและบำนาญ และเมื่อศาสนาและความเชื่อ ได้
รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐอย่างเป็ นทางการ นักเรียนโรงเรียน
รัฐบาลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้เรื่องศาสนาด้วยตนเอง เช่น นาย Andrew
เลือกศึกษาเฉพาะศาสนาอิสลาม ผู้ทำการสอนศาสนาอิสลามให้แก่นาย
Andrew จะไม่ใช่ครูอาจารย์ของภาครัฐ แต่เป็ นผูส
้ อนศาสนาเป็ นผู้รับผิด
ชอบทัง้ ในการสอนและการวางแผนการสอน (Franken, 2016)

จะเห็นได้ว่าระบบการเรียนการสอนเรื่องศาสนาของแต่ละรัฐ เมื่อนำ
มาเปรียบเทียบดูพบว่า
มีความหลากหลาย ทัง้ นี ้ เราจะเห็นวิธีการคิดของรัฐที่แตกต่างกันในการนำ
พาเอาศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต สหรัฐอเมริกาถือว่ารัฐไม่ได้
มีหน้าที่ในการยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ในส่วนของประเทศไทย เน้นไปที่การให้
นักเรียนได้เรียนรู้ถึงพระพุทธศาสนาเป็ นหลัก และยอมรับการมีตัวตนของ
ศาสนาอื่น
แต่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในลักษณะที่แยกออกเป็ นตัวเลือกให้แก่นก
ั เรียน
กล่าวคือ เยาวชนภายใต้
การเรียนตามระบบกระทรวงศึกษาธิการไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด จะต้อง
เรียนตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ นั่นแปลว่าการเรียนรู้
เกี่ยวกับศาสนาอื่นในเชิงลึกจะเกิดขึน
้ ภายนอก
ชัน
้ เรียน ในส่วนของเบลเยียม นักเรียนสามารถเลือกเรียนศาสนาได้ แต่ถก

กำหนดไว้ที่ 6 ศาสนา
กับ 1 ความเชื่อเท่านัน

ผลจากการเรียนการสอนตามระบบของกระทรวงศึกษาธิการในแต่ละ
ประเทศ ส่งผลให้บค
ุ คล
มีการรับรู้ต่อศาสนาในลักษณะที่แตกต่างกัน เราจะเห็นได้ว่าหลังจาก
เหตุการณ์การก่อการร้าย 9/11
ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันมีความหวาดกลัวต่อคนมุสลิมมากขึน

และในบางกรณีเกิดสภาวะ
การเหมารวม ภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึน
้ ในประเทศไทย โดย
เฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชากรไทยส่วนหนึ่งเกิดความหวาด
กลัวต่อการอาศัยอยู่ใน
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำถามคือ เราควรตัดสินบุคคลจากข้อเท็จจริง
หรือ จากการเหมารวม
และทำไมถึงเป็ นเช่นนัน
้ และในทางปฏิบัติ หากเราตัดสินบุคคลจากศาสนา
ที่เขานับถือ เพราะเขา
มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเรา เมื่อมองกลับมาที่ตัวตนของเรา เราคิดเช่นไรที่
คนอื่นก็อาจตัดสินเราจากศาสนาที่เรานับถือ

ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็ นประเทศที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม


มากที่สุดในยุโรป
ประมาณ 4-5 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2004 ฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามเยาวชนที่
เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลสวม ฮิญาบ (Hijab) ในโรงเรียน (Hamdan, 2007)
6
ในเวลาต่อมากฎหมายได้ครอบคลุมถึงการห้ามสวมใส่ Burka (บูร์กา) ในที่
สาธารณะตัง้ แต่ปี ค.ศ. 2010 เป็ นต้นมาและผู้ที่ไม่ทำตามกฎหมายจะต้อง
ถูกปรับเป็ นจำนวนเงินสูงถึง 150 ยูโร (Leane, 2011: 1033)

ไม่เฉพาะแต่ในประเทศฝรั่งเศสเท่านัน
้ ที่มีการห้ามสวมใส่เสื้อผ้าที่
ปกปิ ดร่างกายแบบมิดชิด
7 8
ตามหลักศาสนา ประเทศบัลแกเรีย (2016), เบลเยียม (2011), เยอรมนี
9
(2017), แคนาดาเฉพาะ Quebec (2017) และออสเตรีย (2017) ต่างก็
ออกกฎหมายในการห้ามสวมใส่ Burka ในพื้นที่สาธารณะเช่นกัน โดย
เหตุผลที่ภาครัฐชีแ
้ จ้งว่าทำไมถึงต้องออกนโยบายห้ามการสวมใส่เสื้อผ้า
ลักษณะดังกล่าวนัน

มีความแตกต่างกันออกไป เช่น เหตุผลทางความปลอดภัย (บัลแกเรีย) การ
ดำรงอยู่ร่วมกันและการปกป้ องสิทธิและเสรีภาพ (เบลเยียม) ฯลฯ (Stack,
2017) การออกกฎหมายห้ามการแต่งกายซึ่งไปกระทบกับ

6
สามารถสะกดแทนด้วย Burqa
7
ห้ามเฉพาะสถานที่ราชการ โรงเรียน และองค์กรทางวัฒนธรรม
8
กรณีของประเทศเยอรมนี ห้ามสวมใส่ ณ ขณะเวลาขับรถเท่านัน

9
กรณีของแคนาดา ผู้ฝ่าฝื นข้อห้ามจะไม่ได้รับการบริการสาธารณะจากภาครัฐ
หลักความเชื่อของศาสนา ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ทัง้
ประเด็นการละเมิดสิทธิในด้านการละเมิดความเชื่อทางศาสนา ละเมิดสิทธิ
เสรีภาพอันพึงมีของบุคคลภายใต้สังคมประชาธิปไตย

ในปั จจุบัน ศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด คือ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ


31.2 ของประชากรโลก รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 24.1 อันดับที่
สาม ประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ร้อยละ 16 อันดับที่ 4 ศาสนา
ฮินดู ร้อยละ 15.1 อันดับที่ 5 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.9 อันดับที่ 6 คือ
ศาสนาพื้นบ้าน ซึง่ เป็ นศาสนาของท้องถิ่น ร้อยละ 5.7 อันดับที่ 7 ศาสนาอื่น
ๆ ร้อยละ 0.8 และ ศาสนายูดาห์ร้อยละ 0.2 ของประชากรโลก และใน
ปั จจุบันศาสนาที่มีอัตราการเติบโตของการเข้ามานับถือมากที่สุด คือ ศาสนา
อิสลาม (Hackett & McClendon, 2017)

การเรียนรู้ถึงความหลากหลายของศาสนา ทำให้เราเห็นว่าในโลกใบนี ้
ประกอบไปด้วยประชากร
ที่มีความหลากหลายทางศาสนา และอัตราการเติบโตของการนับถือศาสนา
มีความแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม เรายังได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่ภาครัฐจัดการกับประชากรที่นับถือ
ศาสนาต่าง ๆ ในรูปแบบ
ที่แตกต่างกันออกไปผ่านทางการจัดการศึกษาและกฎหมาย ซึ่งในปั จจุบันยัง
เป็ นที่ถกเถียงในประเด็น
ด้านสิทธิเสรีภาพ – ประชาธิปไตย – และความมั่นคงของรัฐ

ความหลากหลายทางชนชาติ
นิยามของคำว่า “ชนชาติ” หมายถึง “กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติหรือกลุ่ม
ชาติพันธุ์เดียวกัน
และมีวัฒนธรรมเป็ นแบบเดียวกัน อาจจะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน หรือ
แยกย้ายกันอยู่ในหลายประเทศก็ได้” (บทวิทยุรายการ รู้ รัก ภาษาไทย,
2550 อ้างถึงใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2550)
กรณีตัวอย่างเช่น ชนชาติยิวที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศยุโรป มีวัฒนธรรมเป็ น
ของตัวเองที่แตกต่างไปจาก
คนพื้นเมืองในประเทศ การเข้ามาในสหรัฐอเมริกาของชนชาติจีน ก่อให้เกิด
China Town ในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็ นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็ น
ชนชาติอันมีอัตลักษณ์เฉพาะบางอย่างที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ชนชาติไทย
เข้าไปอยู่ในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ก็ไปสร้างสถานที่ที่เรียกว่า
Thai Town
ซึ่งในปั จจุบันเป็ นแหล่งรวมร้านอาหารไทยและมีร้านขายของไทยอยู่ใน
บริเวณดังกล่าว

เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่าชนชาติแล้ว ประการถัดไป
เราจะได้เรียนรู้ถึงการยอมรับในความเป็ นรัฐในระดับสากล และความขัด
แย้งระดับสากลในประเด็นของรัฐกับชนชาติ องค์การสหประชาชาติได้
ยอมรับให้ South Sudan เข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของประเทศสมาชิกใน
องค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 2011 ถือเป็ นประเทศสมาชิกลำดับที่
193 ซึ่งเป็ นประเทศสมาชิกรายล่าสุด
ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations, n.d.) ถึงแม้ประเทศสมาชิก
องค์การสหประชาชาติจะมีมากถึง 193 ประเทศ แต่ยังมีประเทศบาง
ประเทศ ที่ไม่ได้ถูกบรรจุให้เข้าไปอยู่เป็ นส่วนหนึ่งของประเทศสมาชิก
องค์การสหประชาชาติ ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน เหตุผลเพราะว่า ไต้หวันไม่ได้
ดำรงสถานะเป็ นรัฐ แต่ถือเป็ นส่วนหนึ่งของประเทศจีน การไม่ได้เข้ามาเป็ น
สมาชิกขององค์การสหประชาชาติและการไม่ได้รับ
การยอมรับว่า ไต้หวันมีสถานะเป็ นรัฐ ถือเป็ นความขัดแย้งในระดับระหว่าง
ประเทศ คนไต้หวันไม่ถือว่าตนเองเป็ นคนจีน ไม่ได้ตกเป็ นเมืองขึน
้ ของจีน มี
วัฒนธรรมเป็ นของตนเอง และถือว่าตนเองเป็ นคนไต้หวัน แต่ในมุมมองของ
คนชนชาติจีนกลับมองว่า ไต้หวัน เป็ นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

กรณีของประเทศอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ ถือเป็ นความขัดแย้งที่


ส่งผลกระทบต่อชีวิตของ
คนปาเลสไตน์ เนื่องจากกลุ่มคนทัง้ สองชนชาติอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณ
เดียวกัน การประกาศก่อตัง้ รัฐอิสราเอลมีขน
ึ ้ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.
1948 และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Harry S. Truman
ได้ยอมรับรัฐใหม่นใี ้ นวันประกาศการมีตัวตนของอิสราเอล นอกจากนีย
้ ัง
สนับสนุนให้ส่งประชาชนชาวยิว
ที่กระจัดกระจายตัวอยู่ตามดินแดนต่าง ๆ ให้ไปรวมตัวกันอยู่ในพื้นที่บริเวณ
ที่ชาวปาเลสไตน์เดิมอาศัยอยู่ และสนับสนุนการสร้างรัฐของชนชาติยิว
(Office of the Historian, n.d.)

ชาวยิวได้อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ด้วยจุด
ประสงค์หลักคือการรวมชนชาติของตนไว้ในผืนแผ่นเดียวกัน ภายใต้หลัก
การรวมกรุงเยรูซาเล็มไว้ให้เป็ นเมืองหลวงของรัฐอิสราเอล
ชั่วนิรันดร์ (Dumper, 1992: 32) ปั ญหาคือ การเข้ามาของชาวยิวและการ
สร้างชาติอิสราเอลส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่เคยเป็ นดินแดนของชาว
ปาเลสไตน์ จากภาพจะเห็นได้ถึงการลดลงของพื้นที่และดินแดนปาเลสไตน์
เดิมถูกแบ่งออกไปให้มีการกระจัดกระจายกัน

วิธีการจัดการความขัดแย้งของชาติพันธุ์โดยรัฐ ตามนิยามของ สมศักดิ ์


สามัคคีธรรม (2559)
มีด้วยกัน 6 ประการ เรียงลำดับตามความรุนแรงของวิธีการจากมากไปน้อย
ได้แก่
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ถือเป็ นวิธก
ี ารที่รุนแรงทีส
่ ด
ุ ความ
หมายของ Genocide
ไม่เคยปรากฏมาก่อนจนกระทัง่ ปี ค.ศ. 1944 โดย Raphael
Lemkin โดยทีม
่ าของคำว่า Geno ในภาษากรีก หมายถึงเชื้อชาติ
หรือ เผ่า ส่วนคำว่า Cide มีทม
่ี าจากภาษาละติน หมายความถึง
การฆ่า ความหมายโดยรวมของ Genocide คือ อาชญากรรมความ
รุนแรง
ทีก
่ ระทำเพื่อเป้ าประสงค์ในการกำจัดกลุม
่ คน (เผ่าพันธุ์, เชื้อชาติ)
ให้หมดไป (United States Holocaust Memorial Museum,
n.d.) ทีผ
่ า่ นมาเราจะใช้คำว่า Genocide กับเหตุการณ์
ฆ่าล้างเผ่าพันธุช
์ าวยิว การฆ่าล้างชาว Tutsi ในประเทศรวันดา ฯลฯ
(Uvin, 1996)
2. การกวาดล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing) เป็ นวิธีการที่มีความ
รุนแรงรองลงมา ถึงแม้จะมีการฆาตกรรมกลุ่มคน แต่การฆ่าล้างให้
หมดไปไม่ใช้เป้ าประสงค์หลัก วิธีการนีม
้ ีจุดมุ่งหมายเพื่อการกวาด
ล้าง ไล่ต้อนให้กลุ่มคนที่รัฐไม่ต้องการออกจากรัฐไป การใช้ความ
รุนแรงถือเป็ นการสร้างความหวาดกลัวที่ส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยมี
ความหวาดระแวงในการใช้พ้น
ื ที่ของรัฐ ตัวอย่างวิธีการ Ethnic
Cleansing ที่กำลังเกิดขึน
้ ได้แก่ กรณีของชาวโรฮิงญาในประเทศ
เมียนมา (Aljazeera, March 6, 2018 [a])
3. การกลืนกลายทางวัฒนธรรม (Assimilation) คือ การที่รัฐบาลใช้
นโยบายเป็ นไปเพื่อให้
ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ ได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมหลักของ
ชาติ และกลายเป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมหลัก เช่น ในกรณีของ
ประเทศออสเตรเลีย รัฐสนับสนุนให้เยาวชน
ชาว Aborigine มาเข้าเรียนในโรงเรียนที่รัฐบาลจัดให้ ส่วนผู้ใหญ่
จะมีการสอนสร้าง
ให้สามารถมีความรู้เชิงวิชาชีพ (The Policy of Assimilation,
1961: 1-3)
4. การบูรณาการทางวัฒนธรรม (Integration) คือ การยอมรับว่า
วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยนัน
้ ดำรงอยู่ตามจริง รัฐไม่ได้พยายามจะบีบ
บังคับให้ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต้องปรับตัวตามชนชาติหมู่มาก
แต่ชนกลุ่มน้อยต้องยอมรับว่า วัฒนธรรมหลักที่ดำรงอยู่ในรัฐยังคง
เป็ นวัฒนธรรมของชนหมู่มาก ซึ่งชนกลุ่มน้อยจะยังมีข้อเสียเปรียบ
บางประการ เช่น ภาษาหลักของทางราชการ ยังคงเป็ นภาษาที่คน
ส่วนใหญ่ใช้ และการเรียนการสอนในโรงเรียนก็จะใช้ภาษาทาง
ราชการ ตัวอย่างที่เห็นได้จากการที่รัฐใช้วิธีการ Integration คือ
ประเทศมาเลเซีย ที่มีชนชาติจีน ชนชาติมาเลย์ ชนชาติอินเดีย
อาศัยอยู่ร่วมกัน รัฐบาลให้การยอมรับในการดำรงอยู่ของวัฒนธรรม
ตามชนชาติ แต่วัฒนธรรมหลักยังคงเป็ นวัฒนธรรมมาเลย์
5. การให้สถานะพิเศษแก่คนพื้นเมือง (Accommodation) คือ การที่
รัฐให้การยอมรับ
ในวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย สนับสนุนให้มีการดำรงไว้ซึ่ง
วัฒนธรรม และยังให้สิทธิพิเศษบางประการแก่ชนกลุ่มน้อย วิธีการ
Accommodation ปรากฏอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ให้สิทธิ
ชนกลุ่มน้อย เช่น บุคคลที่ไม่ใช่คนผิวขาว ในการรับได้รับพิจารณา
ให้เข้าทำงานเพื่อสนับสนุนความหลากหลายในสังคม
6. สหพันธรัฐทางชาติพันธุ์ (Ethno-federalism) รัฐยอมรับในการ
ดำรงวัฒนธรรมของ
ชนกลุ่มน้อย และรัฐได้กำหนดให้ชนกลุ่มน้อยมีดินแดนและเขต
พื้นที่การปกครองเป็ นของตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง ทัง้ นี ้
ตัวอย่างของรัฐที่มีการอนุญาตให้ชนกลุ่มน้อย
ได้มีพ้น
ื ที่การปกครองเป็ นของตนเองได้แก่ แคนาดา รัสเซีย
จะเห็นได้ว่าภายในรัฐ สามารถประกอบไปด้วยบุคคลจากหลากหลาย
ชนชาติ และรัฐมีวิธีการจัดการในประเด็นของการยอมรับความหลากหลายที่
แตกต่างกัน ตัง้ แต่การจัดการกับความหลากหลายด้วยวิธีการรุนแรง ไป
จนถึงการยอมรับในวัฒนธรรมและการมีตัวตนของชนกลุ่มน้อย

ความหลากหลายทางเพศ

จากการสำรวจของ The Australian Sex Survey ในปี ค.ศ. 2016


พบว่ามีวิธีการระบุถึง
ความเป็ นเพศของตนเองได้แตกต่างกันไปถึง 33 แบบ ได้แก่
เพศ คำอธิบาย

1. Woman - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศหญิงและระบุตนเองว่า


เป็ นเพศหญิง

2. Man - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศชายและระบุว่าตนเอง


เป็ นเพศชาย

3. Transgender - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศหญิง แต่นิยามตนเองว่า


Man ในขณะปั จจุบันเป็ นผู้ชาย (บุคคลอาจทำการ
ผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงเครื่องเพศ)

4. Transgender - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศชาย แต่นิยามตนเองว่า


Woman ในขณะปั จจุบันเป็ นผูห
้ ญิง (บุคคลอาจทำการ
ผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงเครื่องเพศ)

5. Trans Person - บุคคลที่ทงั ้ สภาวะทางอารมณ์และจิตใจบ่งบอก


ว่าตนเองเป็ นเพศตรงข้าม

6. Trans Man - บุคคลที่ถูกระบุว่าเป็ นเพศหญิงโดยกำเนิด แต่


ปั จจุบันระบุว่าตนเองเป็ นเพศชาย

7. Trans Woman - บุคคลที่ถูกระบุว่าเป็ นเพศชายโดยกำเนิด แต่


ปั จจุบันระบุว่าตนเองเป็ นเพศหญิง

8. Female to Male - Transgender Man

9. Male to Female - Transgender Woman


เพศ คำอธิบาย

10. Transsexual - บุคคลที่ทงั ้ สภาวะทางอารมณ์และจิตใจบ่งบอก


ว่าตนเองเป็ นเพศตรงข้าม Transsexual คือ
บุคคลที่ก้าวข้ามความเป็ นเพศเดิมของตนเอง
ไปสูเ่ พศตรงข้ามผ่านการกินฮอร์โมน, การแต่ง
กาย และการบำบัด

11. Cisgender - บุคคลที่นิยามเพศของตนเองตามเพศกำเนิด


ของตนเอง

12. Cis Female - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศหญิงและระบุตนเองว่า


เป็ นผูห
้ ญิง

13. Cis Male - บุคคลที่เกิดมาเป็ นเพศชายและระบุตนเองว่า


เป็ นผู้ชาย

14. Gender-Non - บุคคลที่ไม่ระบุว่าตนเองเป็ นเพศชายหรือเพศ


Conforming หญิง

15. Non Gender - บุคคลผูไ้ ม่ระบุเพศของตนเอง

16. Non-Binary - บุคคลที่ไม่อธิบายว่าตนเองเป็ นผู้ชายหรือผู้


หญิง แต่อาจอธิบายว่าตนเองอยู่ตรงไหนใน
แถบเพศ เช่น มีความเอนเอียงไปทางผู้ชาย
มากกว่าผู้หญิง แต่ไม่ใช่ผู้ชายทัง้ 100
เพศ คำอธิบาย

เปอร์เซ็นต์

17. Neutrois - เพศกลาง (ไม่นย


ิ ามว่าเป็ นเพศหญิง และ ไม่
นิยามว่าเป็ นเพศชาย)

18. Genderfluid - บุคคลผู้เลือกไม่ระบุเพศ ไม่ว่าจะเป็ นชายหรือ


หญิง

19. Genderqueer - บุคคลผู้เลือกไม่ระบุเพศ ไม่ว่าจะเป็ นชายหรือ


หญิง

20. Demigender - บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเป็ นเพศหนึ่ง ๆ


แต่ไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์ คำว่า Demi หมาย
ถึง ครึ่งหนึ่ง

21. Demiboy - บุคคลที่มีส่วนของความเป็ นชาย บุคคลนีจ


้ ะ
เกิดมาโดยถูกระบุว่าเป็ นเพศชายหรือเพศหญิง
ก็ได้

22. Demigirl - บุคคลที่มีส่วนของความเป็ นหญิง บุคคลนีจ


้ ะ
เกิดมาโดยถูกระบุว่าเป็ นเพศชายหรือเพศหญิง
ก็ได้

23. Agender - บุคคลผูไ้ ม่ระบุเพศ

24. Intergender - บุคคลผู้มค


ี วามเป็ นเพศระหว่างเพศชายและ
เพศ คำอธิบาย

หญิงผสมกันอยู่

25. Intersex - บุคคลที่ถือกำเนิดมาโดยมีเครื่องเพศทัง้ สอง


อย่างร่วมกัน

26. Pangender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็ นเพศมากกว่า 1 เพศ

27. Poligender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็ นเพศมากกว่า 1 เพศ

28. Omnigender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็ นเพศมากกว่า 1 เพศ

29. Bigender - บุคคลทีร่ ะบุวา่ เป็ นทัง้ เพศหญิงและเพศชาย บาง


คนมีบค
ุ ลิกลักษณะแสดงออกมาทัง้ สองเพศ

30. Androgyne - บุคคลผูไ้ ม่ระบุเพศ

31. Androgyny - บุคคลผู้มีส่วนผสมระหว่างบุคลิกที่แสดงออก


ถึงความเป็ นชายและความเป็ นหญิง

32. Third Gender - บุคคลผูไ้ ม่ระบุเพศว่าเป็ นชายหรือหญิง

33. Trigender - บุคคลผูส


้ ลับบุคลิกการแสดงออกไปมาระหว่าง
การเป็ นผู้ชาย ผูห
้ ญิง และเพศอื่น
ตารางที่ 4: ประเภทของเพศ

ที่มา: The Australian Sex Survey, 2016 as cited in Jager, 2016

ตามประวัติศาสตร์ มีการบันทึกถึงบุคคลที่รักและชอบพอบุคคลเพศ
เดียวกันตัง้ แต่ก่อน
สมัยคริสตกาล แม้กระทั่งในไบเบิลยังมีการพูดถึงบุคคลที่รักในเพศเดียวกัน
ในประเทศกรีซสมัยโบราณก่อนคริสตกาล มีบุคคลจำนวนมากรักชอบพอใน
เพศเดียวกัน ประเทศเคนยามีการใช้คำศัพท์ “Female Husbands” เพื่อ
ระบุถึงพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างออกไปจากเพศกำเนิด หรือศัพท์ของคน
อินเดียนแดง เรียกว่า “Two-Spirit” ซึ่งถือเป็ นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ใน
สังคมคนพื้นเมือง นอกจากนี ้
คนจากทวีปแอฟริกาตอนเหนือ และ คนเกาะจากอาณาบริเวณทะเลแปซิฟิค
ต่างยอมรับวิถีทางเพศ
ในลักษณะนีเ้ ช่นกัน หากแต่พลเมืองในยุโรปไม่สามารถยอมรับได้ (Morris,
n.d.)

เมื่อคนยุโรปอพยพเข้ามายังอเมริกา ได้มีการสร้างกฎหมายในการห้าม
การมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และหากพบผู้กระทำความผิด อาจถูกตัดสินให้
ถึงโทษประหารชีวิต หรือตัดอวัยวะเพื่อเป็ นการลงโทษ
โดยมีการลงโทษจริงในรัฐ New York และ Connecticut นอกจากนีแ
้ ล้ว
การร่วมเพศในลักษณะที่ไม่เป็ นธรรมชาติ เช่นทางทวารหนัก ถือว่าผิด
กฎหมาย โดยกฎหมายการห้ามการร่วมเพศในลักษณะนีย
้ ังคงอยู่
ไปจนถึงศตวรรษที่ 21 (Brooklyn Connections – Brooklyn Public
Library, n.d.: 2)

ในปั จจุบันวิธีการระบุอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลมีความหลากหลาย
คำถามคือ เมื่อสังคมรับรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ นั่นแปลว่า สังคมจะ
ยอมรับการมีความหลากหลายทางเพศมากขึน
้ หรือไม่
อันที่จริงแล้ว ในปี ค.ศ. 2017 ยังมีประเทศถึง 72 ประเทศที่ระบุว่าการเป็ น
เกย์นน
ั ้ ผิดกฎหมาย โดยใน
8 ประเทศ (หรือร้อยละ 11 ของประเทศที่ถือว่าการเป็ นเกย์ผิดกฎหมาย) ได้
ระบุโทษสูงสุดของการ
เป็ นเกย์คือ การประหารชีวิต โดยประเทศที่ยังมีการลงโทษประหารชีวิตเกย์
ได้แก่ อิหร่าน, ซูดาน, ซาอุดอ
ิ าระเบีย, เยเมน, บางพื้นทีข
่ องโซมาเลีย,
ไนจีเรียตอนเหนือ, ซีเรีย และอิรก
ั โดยในกรณีของอิหร่าน, ซูดาน,
ซาอุดิอาระเบีย, เยเมน, บางพื้นที่ของโซมาเลีย และไนจีเรียตอนเหนือ โทษ
ประหารชีวิต
กระทำภายใต้กฎหมายชะรีอะฮ์ (Sharia) ส่วนกรณีของซีเรียและอิรัก การ
ประหารชีวิตไม่ได้กระทำการโดยรัฐ แต่เป็ นผู้ยึดอำนาจอื่น เช่น Islamic
State ที่ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็ นรัฐบาล ในปั จจุบัน
มีประเทศกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ไม่ได้มีกฎหมายลงโทษในประเด็นเพศ
ทางเลือก (Duncan, 2017)

ระดับในการยอมรับการมีตัวตนของเพศทางเลือกในระดับรัฐ แบ่งออก
10
เป็ น 4 ระดับ ได้แก่
1. ยอมรับการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายของคู่สมรสเพศ
เดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วประเทศที่ยอมรับการสมรสจะอยู่ใน
ยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ
2. ยอมรับการอยู่ร่วมกันเป็ นคู่ชีวิต (Civil Union)
3. ไม่มีโทษในทางกฎหมายสำหรับเพศทางเลือก
4. การเป็ นบุคคลเพศทางเลือก ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ส่วน
ใหญ่กฎหมายนีจ
้ ะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา
ข้อแตกต่างระหว่างการสมรส และ Civil Union

10
อ้างอิงจาก Duncan, 2017
ในอังกฤษ คือ การทำพิธีสมรสของคู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถ
กระทำได้ในสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (Travis, 2011)

จะเห็นได้ว่าในปั จจุบัน ถึงแม้จะมีการเปิ ดกว้างมากขึน


้ ในการยอมรับ
เพศสภาพที่หลากหลาย
แต่สำหรับในหลายประเทศ สิทธิโดยรวมของเพศทางเลือกยังถูกจำกัด ไม่ได้
รับการยอมรับให้มีความเท่าเทียมกันกับผู้ที่มีเพศสภาพตรงกับเพศกำเนิด

มิตแ
ิ ห่งความเหลื่อมล้ำ ความหลากหลาย จากเรื่องสีผว
ิ ไปจนถึง
การสร้างอารยธรรมในอนาคต

ในปั จจุบันปฏิเสธมิได้ว่า แม้เราจะอยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม


หากแต่เรื่องราวของความ
อยุติธรรมและอคติในโครงสร้างทางสังคม ชนชาติ เพศ ศาสนา ยังคงมีอยู่
จริง ในบทความท้ายบทที่ 3 นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวของการปฏิบัติ
ตนระหว่างตำรวจกับผู้ต้องสงสัยด้วยความอยุติธรรม
ซึ่งเป็ นกรณีที่เกิดขึน
้ ในสหรัฐอเมริกา กรณีของการหลอกเหยื่อบนโลก
ออนไลน์ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Romance Scam ที่เกิดขึน
้ จากความ
สามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการใช้อินเทอร์เน็ต
เป็ นเครื่องมือในการหลอกลวงบุคคลอื่น นอกจากนี ้ ยังมีกรณีของการช่วย
เหลือในระดับระหว่างประเทศ หากแต่การช่วยเหลือ เกิดขึน
้ จากฐานความ
11
คิดที่มองว่า สถานภาพพื้นฐานไม่เท่าเทียมกัน

11
อ่านบทความเรื่อง ปี 2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่? / Her เรารักกันแบบไม่มีตัวตนได้
ไหม? / หัวเราะทัง้ น้ำตาไปกับวันจมูกแดง ในท้ายบทที่ 3
ทัง้ นี ้ ในมิติเชิงบวก ยังมีกลุ่มอาสาสมัคร/องค์กร ที่มีส่วนในการช่วย
เพิ่มความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความหลากหลายใน
ประเด็นต่าง ๆ เช่น โครงการ Host Family ที่ดำเนินกิจกรรมโดยอาสา
สมัคร ซึ่งมีเป้ าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม วิถี
ชีวิต และ
ความเป็ นอยู่ของชาวอังกฤษ, Dignity Kitchen สถานประกอบการที่เน้น
การให้บริการผ่านกลุ่มเปราะบางทัง้ ทางด้านร่างกายและจิตใจในประเทศ
สิงคโปร์, การท่องเที่ยวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านกระบวนการ
12
เป็ นสมาชิกแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Couchsurfing นอกเหนือไปจาก 3
กรณีดังกล่าว ยังมีประเด็น
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานผ่านกระบวนการคัดเลือกทางชาติพันธุ์ใน
13
อินเดีย

สำหรับในโลกอนาคต หากเรามีความต้องการที่จะนำมนุษย์เคลื่อนย้าย
ไปยังอาณาจักรแห่งใหม่นอกเหนือไปจากโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ ประเด็นที่
นอกเหนือไปจากความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์
ในการธำรงไว้ซึ่งการอยู่รอดของมนุษย์ เรายังจะต้องคำนึงถึงสภาวะทาง
สังคมอีกด้วย เราจะสร้างอาณาจักรแห่งใหม่ สร้างอารยธรรมใหม่อย่างไรให้
เกิดความเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำ
14
และปราศจากอคติดังเช่นที่เป็ นอยู่

12
อ่านบทความเรื่องโครงการ Host Family สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจักร / Dignity
Kitchen ครัวสร้างศักดิศ์ รีของคนสิงคโปร์/เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดใี นยุคดิจิทัล ในท้ายบทที่ 3
13
อ่านบทความเรื่อง Mumbai Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ ในท้ายบทที่
3
14
อ่านบทความเรื่องเดินทางไปดาวอังคารด้วยตั๋วเทีย
่ วเดียว ในท้ายบทที่ 3
สรุป

ในบทที่ 3 นี ้ นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่า พหุวัฒนธรรม


การเรียนการสอนมีการ
ตัง้ คำถามถึงคำแปลของคำว่าวัฒนธรรม ที่แต่เดิมหมายความถึงสิ่งที่ดีงาม
แต่ในความเป็ นจริง วัฒนธรรมบางประการ ถือเป็ นความเชื่อที่ลดคุณค่าสิทธิ
มนุษยชน เช่น Rape Culture ซึง่ เป็ นแนวความคิดของ
ชายเป็ นใหญ่และการใช้ความรุนแรงทางเพศ

ประเด็นของความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ ความหมายของคำ
ว่ายุติธรรมนัน
้ ถูกแบ่งไปตามกระบวนความคิดเชิงเหตุผลทางศีลธรรม
ระหว่าง consequentialist moral reasoning และ categorical moral
reasoning ทัง้ นี ้ เราได้เห็นถึงความแตกต่างในกระบวนความคิดที่ส่งผลให้
รัฐมีการนำเสนอนโยบายเพื่อเพิ่มพูนความเท่าเทียมกันที่ต่างกันออกไป และ
การไม่เลือกปฏิบัติ ในเชิงทฤษฎีเป็ นการส่งเสริมสนับสนุนความเท่าเทียมกัน
แต่การที่รัฐ เลือกปฏิบัติในบางกรณี เป็ นไปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึน

ในสังคม

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมในโลกใบนี ้ มีความหลาก


หลายอย่างยิ่ง ทัง้ ในเรื่องของการแต่งกาย ภาษา อาหาร เมื่อเราเรียนรู้ถึง
วัฒนธรรมของบุคคลจากภาคอื่นของประเทศไทย และวัฒนธรรมของต่าง
ชาติ เราควรเคารพในวัฒนธรรมของผู้อ่ น
ื และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อ่ น
ื ในการ
ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตน เว้นเสียแต่วัฒนธรรมนัน
้ ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้
อื่น

ความหลากหลายทางศาสนา ในแต่ละรัฐ มีความแตกต่างกันในการ


นับถือศาสนา ในปั จจุบัน
ยังมีบุคคลอีกเป็ นจำนวนมากที่นับถือศาสนาท้องถิ่น และบุคคลจำนวนมาก
อีกเช่นเดียวกันที่ไม่นับถือศาสนา เราพบว่า การเรียนการสอนเรื่องศาสนา
นัน
้ เป็ นนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงศาสนาหนึ่ง ๆ
หรือหลากหลายศาสนา ทัง้ นี ้ ในบางรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา เลือกที่จะใช้
นโยบายในการ
ไม่มีนโยบายทางการศึกษาที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางศาสนา
ข้อดีของการเรียนรู้ในศาสนา คือ การทำความเข้าใจในศาสนาของตนเอง ที่
สอนให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว สำหรับรัฐที่เปิ ดโอกาส
ให้เยาวชนศึกษาศาสนาอื่น ๆ จะทำให้เยาวชนได้เข้าใจในศาสนิกชนอื่น ๆ
ในปั จจุบัน รัฐในยุโรป
เริ่มมีการออกกฎหมายที่อาจไปละเมิดต่อเสรีภาพทางศาสนา และอาจขัดต่อ
หลักประชาธิปไตย
โดยเหตุผลทางความมั่นคงและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในอนาคต
ประเด็นของการเพิ่มข้อจำกัด
ทางศาสนามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึน
้ ในรัฐตะวันตก ซึ่งเราจะต้องมา
พิจารณาถึงผลกระทบทางสังคม
ที่จะเกิดขึน
้ หลังจากกฎหมายได้ผลิตออกมา

ความหลากหลายทางชนชาติ ชนชาติมีลักษณะร่วมกันบางอย่าง ไม่ว่า


จะอยู่ในประเทศต่างถิ่น เราจะสามารถคาดเดาได้ว่าบุคคลที่เราพบเจอนัน

เป็ นคนชนชาติใด จากลักษณะท่าทางและการกระทำ การมีชนชาติที่หลาก
หลาย ได้ส่งผลให้ในบางกรณีเกิดข้อพิพาท ความขัดแย้ง จนในที่สุดนำไปสู่
ความรุนแรง ทัง้ นี ้ การเรียนรู้ที่จะยอมรับความหลากหลายของชนชาติและ
การเคลื่อนย้ายของกลุ่มชนชาติไปยังประเทศต่าง ๆ จะทำให้เราลดอคติที่มี
ต่อชนชาติอ่ น

ความหลากหลายทางเพศ เราสามารถเห็นความหลากหลายทางเพศได้
จากสื่อและจากประสบการณ์การพบเจอผูค
้ นที่หลากหลาย ถึงแม้เราจะอยู่
ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศและการยอมรับ
ความเท่าเทียมกันทางเพศ ยังคงเป็ นประเด็นที่อ่อนไหว ทัง้ ยังมีกฎหมายที่
ออกกฎการห้าม
มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการเลือกเพศของพลเมือง

You might also like