400215 กฎหมายซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

รายวิชา 400215 กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

ข้อ 1.
นายดินไปตกลงซื้อตู้ไม้สักทองโบราณจากร้านนายน้้าในราคา 1 แสนบาท และมีข้อตกลงกันว่า นายน้้าเป็น
ผู้มีหน้าที่ส่งมอบตู้ใบนี้ให้แก่นายดินที่บ้านนายดิน นายดินตรวจสอบตู้จนเป็นที่พอใจแล้ว ในวันส่งมอบตู้ที่บ้าน นาย
ดินเห็นรอยขูดขีดขนาดใหญ่ซึ่งเกิดเหตุจากการขนส่งโดยชัดเจน แต่ก็รับมอบตู้ใบนี้ไว้ ต่อมานายดินรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
ที่ตู้ราคาเป็นแสน แต่ขนส่งไม่ระมัดระวังท้าให้มีรอย ท้าให้เสื่อมราคา นายดินจะฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุด
บกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายนั้นช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือ เสื่อม
ความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด ความที่
กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความช้ารุดบกพร่องมีอยู่
มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้า ผู้ ซื้ อ ได้ รู้ อ ยู่ แล้ ว แต่ ในเวลาซื้อ ขายว่า มี ค วามช้ า รุ ด บกพร่ อ งหรื อ ควรจะได้ รู้เ ช่ น นั้ นหากได้ใ ช้ ค วาม
ระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความช้ารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้
อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด
วินิจฉัย
การที่นายดินซื้อตู้ไม้สักทองโบราณจากร้านนายน้้า และปรากฏว่าตู้ดังกล่าวมีรอยขูดขีดนั้น ย่อมถือว่าตู้ไม้สัก
ทองโบราณที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความช้ารุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคา ซึ่งโดยหลัก นายน้้าผู้ขายจะต้องรับผิดต่อ
นายดินผู้ซื้อ ตามมาตรา 472
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันส่งมอบตู้ที่บ้านของนายดินนั้น นายดินเห็นรอยขูดขีดขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจาก
การขนส่งโดยชัดเจน แต่ก็ยังรับมอบตู้ใบนี้ไว้ จึงเป็นกรณีที่ความช้ารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่ง
มอบ แต่ผู้ซื้อรับเอาทรัพย์นั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จึงเข้าข้อยกเว้น นายน้้าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความช้ารุดบกพร่อง
ตามมาตรา 473(2) ดังนั้น นายดินจึงไม่สามารถฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้
สรุป
นายดินจะฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

ข้อ 2.
นายจันทร์บอกขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้นายอังคารในราคา 1 ล้านบาท นายอังคารตอบตกลงซื้อ
และได้ช้าระราคา 1 ล้านบาท ให้นายจันทร์ และทั้งคู่ได้ตกลงกันให้นายจันทร์ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารในวันที่
1 เดือนหน้า ในคืนนั้น นายพุธได้ติดต่อขอซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายจันทร์ในราคา 2 ล้านบาท นายจันทร์ขอให้นายพุธไป
พบที่ส้านักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนสิทธินิติกรรม ทั้งคู่มาที่ส้านักงานที่ดินและ ท้าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ใน
ราคา 2 ล้านบาท และยื่นค้าขอจดทะเบียนสิทธินิติกรรมซื้อขาย นายอัง คารทราบข่าวและมายื่นค้าคัดค้านต่อเจ้า
พนักงานที่ดิน ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินอย่ารับจดทะเบียน เพราะตนได้ซื้อไว้อยู่ก่อน นายพุธไม่อยากมีปัญหาและขอให้
นายจันทร์ไปเจรจาตกลงกับนายอังคารก่อน นายจันทร์กับนายพุธจึงยื่นค้าขอถอนค้าขอจดทะเบียนจากเจ้าพนักงาน
ที่ดิน ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก นายจันทร์จึงเปลี่ยนใจไม่ขายที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารและ
นายพุธ
ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า นายอังคารกับนายพุธจะเรียกร้องที่ดินแปลงนี้จากนายจันทร์ได้หรือไม่ เพราะ
เหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 455 เมื่อกล่าวต่อไปเบื้องหน้าถึง เวลาซื้อขาย ท่านหมายความว่าเวลาซึ่ง ท้าสัญ ญา ซื้อขายส้าเร็จ
บริบูรณ์
มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสัง หาริมทรั พย์ ถ้ามิไ ด้ท้าเป็นหนัง สือ และจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
วินิจฉัย
การที่ นายอั งคารกั บนายพุธจะเรี ยกร้ องที่ดิ นแปลงดังกล่ าวที่ได้ท้ าสัญญาซื้อขายจากนายจันทร์ ได้ หรื อไม่ นั้ น
จะต้องพิจารณาก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่นายอังคารกับนายพุธได้ท้าไว้กับนายจันทร์นั้นเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด
1 สัญญาซื้อขายระหว่างนายจันทร์กับนายอังคาร
การที่นายจันทร์และนายอังคารได้ตกลงท้าสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์กันนั้น ทั้งสองได้ตกลงท้า
สัญญาซื้อขายกันเพียงครั้งเดียวและเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีข้อตกลงกันว่าจะไปกระท้าตามแบบพิธีใดๆในภาย
หน้า ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างนายจันทร์กับนายอัง คารจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อคู่กรณีมิได้ท้า
เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 456 วรรคแรก
ดังนั้นนายอังคารจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินจากนายจันทร์ตามสัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะ
2 สัญญาซื้อขายระหว่างนายจันทร์กับนายพุธ
การที่นายจันทร์และนายพุธได้ตกลงท้าสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อทั้งสองได้มีเจตนาที่
จะท้าสัญญาซื้อขายกันให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยในครั้งเดียวจึงถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเช่นเดียวกัน และเมื่อ
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์กับนายพุธได้ท้าเป็นหนังสือ แต่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ได้
รับจดทะเบียน เนื่องจากทั้งสองได้ยื่นค้าขอถอนค้าขอจดทะเบียนจากเจ้าพนักงานที่ดิน ดังนั้นสัญ ญาซื้อขายที่ดิน
ระหว่างนายจันทร์กับนายพุธย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะมิได้ ท้าให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้ก้าหนดไว้ตามมาตรา
456 วรรคแรก ดังนั้นนายพุธจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินจากนายจันทร์ตามสัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน
สรุป
นายอังคารกับนายพุธจะเรียกร้องที่ดินแปลงดังกล่าวจากนายจันทร์ไม่ได้

ข้อ 3.
นายมกราตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายกุมภาในราคา 1 ล้านบาท แต่นายกุมภาไม่มีเงินสดเป็นก้อน ทั้งคู่
จึงตกลงกันว่านายมกราจะส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายกุมภา นายกุมภาช้าระเงินก้อนแรก 5 แสนบาท ส่วนที่เหลือให้
ผ่อนได้เดือนละหนึ่งแสนบาท เมื่อผ่อนครบเป็นเงิน 1 ล้านบาท นายมกราก็จะไปโอนทางทะเบียนให้ เมื่อนายกุมภา
ช้าระครบ นายมกราไม่ยอมไปโอนทะเบียนให้ เพราะมีคนมาเสนอซื้อในราคา 2 ล้านบาท นายกุมภาจะฟ้องให้นาย
มกราไปโอนทะเบียนบ้านและที่ดินให้แก่ตนตามสัญญาได้หรือไม่ และสัญญาที่นายมกราและนายกุมภาตกลงกันนั้นเป็น
สัญญาประเภทใด จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 455 เมื่อกล่าวต่อไปเบื้องหน้าถึงเวลาซื้อขาย ท่านหมายความว่าเวลาซึ่ง ท้าสัญญา ซื้อขายส้าเร็จ
บริบูรณ์
มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือค้ามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไ ว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิไ ด้มีหลักฐานเป็น
หนัง สืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่ อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นส้าคัญ หรือได้ว างประจ้าไว้ หรือได้ช้าระหนี้บางส่ว น
แล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
วินิจฉัย
การที่นายมกราตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายกุมภาในราคา 1 ล้านบาท โดยทั้งคู่ตกลงกันว่านายมกราจะ
ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายกุมภา และนายกุมภาช้าระเงินก้อนแรก 5 แสนบาท ส่วนที่เหลือตกลงให้ผ่อนได้เดือน
ละ 1 แสนบาท เมื่อผ่อนครบ 1 ล้านบาท นายมกราก็จะไปโอนทางทะเบียนให้ กรณีเช่นนี้ถือว่าสัญ ญาซื้อขาย
บ้านและที่ดินระหว่างนายมกราและนายกุมภาเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาที่คู่กรณียัง
มิไ ด้มี เจตนาที่ จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ สินให้แก่ กันในขณะที่ท้า สัญ ญาซื้อ ขาย แต่มี ข้อตกลงกันว่ าจะมีการโอน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระท้าตามแบบที่กฎหมายได้ก้าหนดไว้ในภายหน้า คือเมื่อได้ไปท้าเป็นหนังสือ
สัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั่นเอง
สัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายมกราและนายกุมภานั้น แม้จะมิได้ท้าเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐาน
เป็นหนัง สื อลงลายมื อชื่อ นายมกราซึ่งเป็นฝ่า ยที่จ ะต้อ งรับผิ ดก็ต าม สัญ ญาจะซื้อ ขายดั ง กล่ าวก็ มีผลสมบูร ณ์ตาม
กฎหมาย และเมื่ อ ข้ อ เท็ จ จริ ง ปรากฏว่ า สั ญ ญาจะซื้ อ ขายดั ง กล่ า วมี ห ลั ก ฐานในการฟ้ อ งร้ อ งบั ง คั บ คดี กั น ตาม
มาตรา 456 วรรคสอง คือได้มีการช้าระหนี้บางส่วนโดยนายมกราได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายกุมภา และนาย
กุม ภาได้ ช้า ระเงิ นให้แ ก่น ายมกราจนครบแล้ว ดัง นั้น เมื่อ นายมกราผิ ดสั ญ ญาไม่ย อมไปโอนทะเบีย นให้แ ก่น าย
กุมภา นายกุมภาจึงสามารถฟ้องให้นายมกราไปโอนทะเบียนและที่ดินให้แก่ตนได้
สรุป
สัญญาที่นายมกราและนายกุมภาตกลงกันนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และนายกุมภาสามารถฟ้องบังคับให้
นายมกราไปโอนทะเบียนบ้านและที่ดินให้แก่ตนตามสัญญาได้

ข้อ 4.
นายมีนาตกลงซื้อชุดรับแขกท้าจากไม้สักทองราคา 2 แสนบาท จากนายเมษา และมีข้อสัญญาตกลงกันว่า
เป็นหน้าที่ของนายเมษาที่จะต้องส่งมอบชุดรับแขกให้นายมีนาถึงบ้าน เมื่อถึงก้าหนดวันส่งมอบคนงาน ขนของมาส่ง
ถึง บ้าน นายมีนาตรวจสอบสินค้าก่อนรับมอบก็พบว่าโต๊ะ กลางมีรอยขูดขีดขนาดใหญ่เกิดจากการ ขนย้ายจึง ไม่
ยอมรับมอบ แต่นายเมษาโทรมาแจ้งให้นายมีนารับไว้ก่อนวันหลังจะเอาโต๊ะตัวใหม่ไร้ความช้ารุดบกพร่องมาเปลี่ยนให้
นายมีนาก็เลยจ้าต้องรับไว้ ต่อมาถึงก้าหนดนายเมษาก็อิดออดโยกโย้ อ้างว่านายมีนา ยอมรับมอบโดยไม่อิดเอื้อน
แล้ว นายมีนาจะฟ้องให้นายเมษารับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายนั้นช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือ เสื่อม
ความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความช้ารุดบกพร่องมีอยู่
มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้า ผู้ ซื้ อ ได้ รู้ อ ยู่ แล้ ว แต่ ในเวลาซื้อ ขายว่า มี ค วามช้ า รุ ด บกพร่ อ งหรื อ ควรจะได้ รู้เ ช่ น นั้ นหากได้ใ ช้ ค วาม
ระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความช้ารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้
อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด
วินิจฉัย
การที่นายมีนาซื้อชุดรับแขกท้าจากไม้สักทองจากนายเมษา และเมื่อมีการส่งมอบชุดรับแขกปรากฏว่าโต๊ะ
กลางมีรอยขูดขีดขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการขนย้าย ย่อมถือว่าชุดรับแขกที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความช้ารุดบกพร่อง
เป็นเหตุให้เสื่อมราคา ดังนี้นายเมษาผู้ขายย่อมต้องรับผิดในความช้ารุดบกพร่องนั้นต่อนายมีนา ผู้ซื้อ ตามมาตรา 472
ในวันส่งมอบชุดรับแขกดังกล่าวที่บ้านของนายมีนา นายมีนาได้ตรวจสอบชุดรับแขกก่อนรับมอบและได้พบถึง
ความช้ารุดบกพร่องดังกล่าวจึงไม่ยอมรับมอบ แต่นายเมษาโทรมาแจ้งให้นายมีนารับไว้ก่อน วันหลังจะเอาโต๊ะตัวใหม่
ไร้ความช้ารุดบกพร่องมาเปลี่ยนให้ นายมีนาจึงจ้าต้องรับไว้นั้น กรณีดังกล่าวไม่ถือว่านายมีนาผู้ซื้อได้รับเอาทรัพย์สิน
นั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งไว้ ตามนัยของมาตรา 473(2) อันจะท้าให้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความช้ารุดบกพร่อง
นั้นแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ผู้ซื้อได้รับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมีการอิดเอื้อนหรือโต้แย้งไว้แล้ว ดังนั้นนายเมษาผู้ขายจึง
ยังคงต้องรับผิดในความช้ารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น ตามมาตรา 472 จะอ้างมาตรา 473 (2) ว่านาย
มีนาได้ยอมรับมอบทรัพย์สินนั้นโดยมิได้อิดเอื้อนท้าให้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดนั้นไม่ได้
สรุป
นายมีนาสามารถฟ้องให้นายเมษารับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้

ข้อ 5.
นายจันทร์ขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้นายอังคารในราคา 5 ล้านบาท นายอังคารตอบตกลงซื้อโดยมี
ข้อตกลงกันว่า นายจันทร์จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารในวันที่ 1 เดือนหน้า นายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดิน
แปลงนี้ให้นายอังคารพร้อมกับรับช้าระราคา และทั้งคู่ได้ท้าสัญญากันไว้เป็นหนังสือ ถึงวันนัดโอน นายจันทร์ก็หาได้ไป
จดทะเบียนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคาร นายอังคารอยู่ในที่ ดินแปลงนี้มาได้ 12 ปี ที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้น
มาก นายจันทร์อยากได้ที่ดินคืนและมาขอให้นายอังคารคืนที่ดินแปลงนี้ นายอังคารไม่ยอมคืน นายจันทร์ยื่นฟ้องนาย
อังคาร ให้ศาลบังคับขับไล่นายอังคารให้ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ นายอังคารได้รับส้าเนาฟ้องแล้วมาถามท่านว่า นาย
อัง คารจะมี ท างต่ อ สู้ ค ดี ใ ห้ ช นะนายจั น ทร์ ไ ด้ ห รื อ ไม่ และจะมี ท างแก้ อ ย่ า งไร ดั ง นี้ ท่ า นจะให้ ค้ า ตอบนายอั ง คาร
อย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีก้าหนดสิบ
ปี
มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิไ ด้ท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือค้ามั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไ ว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิไ ด้มีหลักฐานเป็น
หนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นส้าคัญ หรือได้วางประจ้าไว้ หรือได้ช้าระหนี้บางส่วนแล้ว จะ
ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
วินิจฉัย
กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ท้าสัญญาขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้กับนายอังคาร โดยตกลงกัน
ว่านายจันทร์จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้นายอัง คารในวันที่ 1 เดือนหน้านั้น สัญ ญาซื้อขายที่ดินดัง กล่าวถือว่าเป็น
สัญญาจะซื้อจะขาย เพราะเป็นการซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพ ย์และคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่ จะโอนกรรมสิทธิ์ใน
ที่ดินให้แก่กันในขณะท้าสัญญาซื้อขาย แต่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า และเมื่อสัญญาจะซื้อ
จะขายที่ดินดังกล่าวได้ท้าเป็นหนังสือ จึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 456 วรรคสอง
และจากข้อ เท็จจริง การที่นายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารครอบครอง และนายอังคารได้อยู่ใน
ที่ดินแปลงนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น จะถือว่านายอังคารเจตนาจะยึดถือที่ดินเพื่อตนไม่ไ ด้ แต่ต้องถือว่าเป็นการ
ยึดถือแทนนายจันทร์ และแม้นายอังคารจะอยู่ในที่ดินมาได้ 12 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ตาม
มาตรา 1382) ดังนั้น เมื่อนายจันทร์ผิดนัดไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญา และได้ยื่นฟ้องขับไล่นายอังคารให้
ออกจากที่ดิน นายอังคารก็ชอบที่จะต่อสู้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และขอให้ศาลบัง คับนายจันทร์ไปจดทะเบียนโอน
ที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารฐานผิด สัญญาจะซื้อจะขายได้
แต่อย่างไรก็ตาม นายอังคารจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจันทร์ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวภายใน อายุความ 10 ปี นับ
แต่วันที่นายจันทร์ผิดสัญญาตามมาตรา 193/30 หากนายอังคารเรียกร้องเมื่อพ้นก้าหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของนาย
อังคารย่อมขาดอายุความ ซึ่งจะท้าให้นายอังคารแพ้คดีและถูกขับไล่ออกไปจากที่ดินแปลงนี้
สรุป
ข้าพเจ้าจะให้ค้าตอบนายอังคารดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 6.
อาทิ ต ย์ ก้ า ลั ง สร้ า งโรงแรมที่ จั ง หวั ด แห่ ง หนึ่ ง จึ ง ตกลงซื้ อ ผ้ า ปู ที่ น อนและปลอกหมอนเป็ น ชุ ด ขาวทั้ ง
ชุด จ้านวน 100 ชุด จากโรงงานของเสาร์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดราคา 120,000 บาท และอาทิตย์ได้ให้เสาร์ส่งไป
ที่โรงแรมของอาทิตย์ เสาร์จึงได้จัดส่งของให้อาทิตย์ทางรถไฟ แต่เมื่อเสาร์ส่งไปให้อาทิตย์ ปรากฏว่าปลอกหมอนและผ้า
ปูที่นอนที่ส่งมาไม่ครบชุด ขาดไป 20 ชุด และมีสีอื่นปะปนมา 10 ชุด บางผืนมีรอยด่างสกปรกบนผืนผ้าอีก 10 ผืน ถ้า
อาทิตย์มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้ค้าแนะน้ากับอาทิตย์อย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 465 ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น
(1) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ท่านว่าผู้ซื้อจะปัดเสียไม่รับเอาเลยก็ได้ แต่ถ้าผู้ซื้อรับ
เอาทรัพย์สินนั้นไว้ ผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน
(2) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ไ ด้สัญ ญาไว้ ท่านว่าผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แต่เพียงตาม
สัญญาและนอกกว่านั้นปัด เสียก็ได้ หรือจะปัดเสียทั้งหมดไม่รับเอาไว้เลยก็ได้ ถ้าผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินอันเขาส่งมอบ
เช่นนั้นไว้ทั้งหมด ผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน
(3) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ไ ด้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นอัน มิได้รวมอยู่ในข้อสัญ ญา
ไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินไว้แต่ตามสัญญา และนอกกว่านั้นปัดเสียก็ได้ หรือจะปัดเสียทั้งหมดก็ได้
มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความ
เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความช้ารุดบกพร่องมีอยู่
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ถ้าอาทิตย์มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้ค้าแนะน้ากับอาทิตย์ ดังนี้ คือ
จาก ข้อเท็จจริง การที่เสาร์ได้จัดส่งของให้อาทิตย์ และปรากฏว่าของที่ส่งมาคือปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนไม่
ครบชุด ขาดไป 20 ชุด และมีสีอื่นปะปนมาอีก 10 ชุดนั้น ถือเป็นกรณีที่เสาร์ผู้ขายส่ง มอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตาม
สัญ ญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นการส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ ไ ด้สัญญาไว้ อีกทั้ง ยัง เป็นการส่งมอบทรัพย์สินตามที่ไ ด้
สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่าง อื่นอันมิได้รวมอยู่ในสัญญาซื้อขาย ดังนั้นอาทิตย์ผู้ซื้อจึงสามารถบอกปฏิเสธไม่รับมอบ
ปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ทั้งหมดได้ หรือจะรับมอบเท่าที่เสาร์ส่งมอบถูกต้องตามสัญญาก็ได้ แต่อาทิตย์ต้องใช้ราคา
ในส่วนที่ตนรับมอบมาให้แก่เสาร์ และคืนในส่วนที่ไม่ตรงตามสัญญาให้แก่เสาร์ไปตามมาตรา 465(1) และ (3) อย่างไรก็
ตามอาทิตย์ก็ยังสามารถเรียกให้เสาร์ส่งมอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ให้ครบตามสัญญา และเรียกค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายจากเสาร์ เนื่องจากการที่เสาร์ส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายได้อีกด้วย
ส่วน กรณีที่ปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนที่เสาร์ส่งมานั้น บางผืนมีรอยด่างสกปรกบนผืนผ้าอีก 10 ผืนนั้น ถือ
เป็นกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันมีความช้ารุดบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่ง จะใช้เป็น
ปกติหรือประโยชน์ ที่มุ่งหมายโดยสัญญา ดังนั้นหากอาทิตย์รับมอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนในส่วนที่เสาร์ส่งมอบ
ถูก ต้อ งตาม สั ญญาไว้ อาทิต ย์ผู้ ซื้ อย่ อมสามารถเรีย กร้อ งให้เ สาร์ ผู้ข ายรั บผิ ดใช้ค่ า สิน ไหมทดแทน ความเสี ยหาย
เนื่องมาจากความช้ารุดบกพร่องนั้นได้ตามมาตรา 472
สรุป
ถ้าอาทิตย์มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้ค้าแนะน้ากับอาทิตย์ดังที่ได้อธิบายข้างต้น

ข้อ 7.
นายไก่ น้ า แหวนพลอยล้ อ มเพชรมู ล ค่ า 2 ล้ า นบาทไปขายฝากนายไข่ ใ นราคา 5 แสนบาท ไถ่ คื น ภายใน
ก้ า หนด 1 ปี ในราคา 5 แสนบาทบวกประโยชน์ 15% หลั ง จากรั บ ซื้ อ ฝากนายไข่ น้ า แหวนไปขายให้ น ายเป็ ด ใน
ราคา 1 ล้านบาท เมื่อนายเป็ดซื้อไปแล้ววันรุ่งขึ้นจึงทราบว่าแหวนซึ่งตนซื้อมานั้นเป็นแหวน ซึ่งนายไก่น้ามาขายฝาก
นายไข่ไว้ในราคาเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น เวลาผ่านไป 10 เดือนนายไก่มาขอไถ่แหวนคืนจากนายเป็ด นายเป็ดปฏิเสธ
โดยอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่รับไถ่เพราะไม่ใช่คนรับซื้อฝาก และเสนอว่าอยากไถ่คืนก็ได้ในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท ค้า
ปฏิเสธและค้าเสนอของนายเป็ดรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญ ญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยัง ผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า
ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
มาตรา 498 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะพึงใช้ได้เฉพาะบุคคลเหล่านี้ คือ (2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอน
สิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ใน เวลาโอน ว่าทรัพย์สินตกอยู่
ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน
มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้ก้าหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก
ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่ก้าหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อ
ปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี
วินิจฉัย
กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่น้าแหวนพลอยล้อมเพชรไปขายฝากไว้กับนายไข่นั้น กรรมสิทธิ์ในแหวน
ดังกล่าวย่อมตกไปยังนายไข่เพียงแต่นายไก่อาจจะไถ่แหวนคืนได้เท่านั้น (ตามมาตรา 491) ดังนั้น นายไข่ผู้รับซื้อฝากจึง
สามารถน้าแหวนไปขายให้นายเป็ดได้
และตามข้อ เท็จจริง การที่นายเป็ดเป็นผู้รับโอนแหวนดัง กล่าวมาจากนายไข่ผู้รับซื้อฝาก นายเป็ดย่อมมีหน้าที่รับไถ่
แหวนดังกล่าวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายแหวน นายเป็ดไม่รู้ว่าแหวนซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ตก
อยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน ดังนั้น เมื่อนายไก่มาขอไถ่แหวนคืนจากนายเป็ด นายเป็ดย่อมสามารถปฏิเสธไม่รับไถ่ได้โดย
อ้ า งว่ า ตนไม่ รู้ ใ นเวลาซื้ อ ขายว่ า แหวนที่ ซื้ อ มานั้ น ตกอยู่ ใ นบั ง คั บ แห่ ง สิ ท ธิ ไ ถ่ คื น ตามสั ญ ญาขายฝาก ตาม
มาตรา 498(2) ดังนั้น การที่นายเป็ดปฏิเสธโดยอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่รับไถ่เพราะไม่ใช่คนรับซื้อฝาก ค้าปฏิเสธของนาย
เป็ดดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
ส่วนค้าเสนอของนายเป็ด ที่ว่า ถ้านายไก่อยากได้แหวนคืนก็ต้องไถ่คืนในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท รับฟังได้
หรือไม่ เห็นว่า เมื่อนายเป็ดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแหวนดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมมีสิทธิใดๆในทรัพย์ของตน การที่นายเป็ด
เสนอให้นายไก่ไถ่คืนในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาทนั้น ถือเป็นการเสนอขายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ มิใช่กรณีของการไถ่
คืนตามสัญญาขายฝาก ผู้ขายจึงสามารถเสนอราคาขายเป็นจ้านวนเท่าใดก็ได้ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องก้าหนดราคาหรือ
สินไถ่ในราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผล ประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา499 แต่อย่างใด ดังนั้น ค้าเสนอ
ของนายเป็ดดังกล่าวจึงรับฟังได้
สรุป
ค้าปฏิเสธของนายเป็ดรับฟังไม่ได้ ส่วนค้าเสนอของนายเป็ดรับฟังได้

ข้อ 8.
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างนายหนุ่มและนางสวยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “นายหนุ่มผู้ให้เช่าขอให้สัญญาว่าหาก
นางสวยผู้เช่ามีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงนี้เมื่อใด นายหนุ่มจะขายให้ในราคา 1,000,000 บาท และเมื่อนางสวย
ยอมซื้อนายหนุ่มจะขายที่ดินให้ผู้อื่นไม่ได้จะต้องขายให้นางสวย และจะโอนกรรมสิทธิ์กันทันที” เมื่อนายหนุ่มผู้ให้เช่าได้
ส่งจดหมายบอกกล่าวให้นางสวยทราบแล้วว่า ถ้าประสงค์จะซื้อที่ดินให้แจ้งให้นายหนุ่มทราบภายใน 15 วัน นางสวยผู้
เช่าได้รับหนังสือแล้วจึง ตอบกลับมาในวันที่ 16 ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าการที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะขายที่ดินให้นางสวย
รับฟัง ได้หรือไม่ เพียงใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 454 “การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้ค้ามั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขาย ต่อเมื่ออีกฝ่าย
หนึ่งได้บอกกล่าวความจ้านงว่าจะท้าการซื้อขายนั้นให้ส้าเร็จตลอดไปและค้าบอกกล่าวเช่นนั้นได้ ไปถึงบุคคลผู้ให้ค้ามั่น
แล้วถ้าในค้ามั่นมิได้ก้าหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้ค้ามั่นจะ ก้าหนดเวลาพอสมควร
และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลาก้าหนดนั้นก็ได้ ว่าจะท้าการซื้อขายให้ส้าเร็จ
ตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในก้าหนดเวลานั้นไซร้ ค้ามั่นซึ่งได้ให้ ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สัญญาเช่าที่ดินระหว่างนายหนุ่ มและนางสวยมีข้อความตอนหนึ่งว่า “นายหนุ่มผู้ให้
เช่าขอให้สัญญาว่า หากนางสวยผู้เช่ามีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงนี้เมื่อใด นายหนุ่มจะขายให้ ในราคา 1,000,000
บาท” นั้น ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นค้ามั่นในการซื้อขาย เพราะเป็นความผูกพันก่อนเกิด สัญญาซื้อขายที่นายหนุ่มผู้ให้
ค้ามั่นผูกพันตนแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าจะขายที่ดินให้แก่นางสวยผู้รับการแสดงเจตนา ตามค้ามั่นที่นายหนุ่มให้ไว้ ซึ่งโดย
หลักแล้ว ถ้านางสวยได้ตอบรับและค้ามั่นได้มาถึงนายหนุ่มแล้วย่อมเกิดเป็นสัญญาซื้อขายขึ้นตามมาตรา 454 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายหนุ่มได้บอกกล่าวให้นางสวยทราบแล้วว่า ถ้าประสงค์จะซื้อที่ดิน ให้แจ้งให้นายหนุ่มทราบ
ภายใน 15 วัน แต่นางสวยผู้เช่าได้รับหนังสือแล้วได้ตอบกลับมาในวันที่ 16 ซึ่ง ล่วงเลยเวลาที่นายหนุ่มได้ก้าหนดขึ้น
ย่อมท้าให้ค้ามั่นที่นายหนุ่มได้ให้ไว้ดังกล่าวนั้นเป็นอันไร้ผลตามมาตรา 454 วรรคสอง ดังนั้น การที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะ
ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางสวยจึงสามารถรับฟังได้
สรุป
การที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะขายที่ดินให้แก่นางสวยรับฟังได้

ข้อ 9.
นายหนึ่งนักสะสมรถยนต์มินิคาร์น้ารถยนต์ออกขายทอดตลาด จ้านวน 10 คัน นายสามประมูลซื้อไป 1 คัน
นายสองประมูลซื้อไป 1 คัน ภายหลังจากการส่งมอบช้าระราคา ปรากฏว่ารถยนต์ ซึ่งนายสองซื้อไปสตาร์ทให้รถยนต์
เครื่องติดล้าบากมาก ติด ๆ ดับ ๆ ส่วนคันที่นายสามซื้อไปต่อมามี นายด้าน้าพยานหลักฐานพร้อมมูลมาแสดงท้าให้นาย
สามเชื่ อ ว่า เป็น รถยนต์ข องนายด้ า ซึ่ง ถู กขโมย มาจึ ง ยอมคืน รถยนต์ใ ห้ แก่ น ายด้ าไป นายสองจะฟ้อ งให้ น ายหนึ่ ง
รับผิดชอบในความช้ารุดบกพร่อง และนายสามจะฟ้องนายหนึ่งให้ รับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ถ้าฟ้องได้จะต้องฟ้องภายในก้าหนดระยะเวลา เท่าใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่ง ขายนั้นช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่ง อย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือ
เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความช้ารุดบกพร่องมีอยู่”
มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”
มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สิน โดยปกติสุข เพราะ
บุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขาย
จะต้องรับผิดในผลอันนั้น”
มาตรา 481 “ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความ กับบุคคลภายนอก
หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ เมื่อพ้นก้าหนดสามเดือน
นับแต่วันค้าพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอก
เรียกร้องนั้น”
วินิจฉัย
ความรับผิดในความช้ารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขาย
ช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องเกิดขึ้นก่อนที่
กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ
อย่า งไรก็ ดีผู้ ข ายก็ ไม่ จ้า ต้องรับ ผิด ในความช้า รุด บกพร่อ งนั้ น หากเข้า ข้อ ยกเว้น ตามมาตรา 473 เช่น ถ้ า
ทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น
ส่วนการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามา
ขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์ สินโดยปกติสุขได้ ซึ่งตามมาตรา 475 ก้าหนดให้ผู้ขาย ต้องรับผิดเพราะเหตุการ
รอนสิทธินั้น แต่ถ้าหากผู้ซื้อได้ยอมตามที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือกว่านั้นเรียกร้องแล้ว ผู้ซื้อจะต้องฟ้องคดีในข้อ
รับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้นภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องคดีได้
ตามมาตรา 481
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้
กรณีนายสอง การที่นายสองได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายหนึ่ง มา 1 คัน และเมื่อสตาร์ท
รถยนต์เครื่องติดล้าบากมาก คือ ติด ๆ ดับ ๆ นั้น ถือว่ามีความช้ารุดบกพร่องเกิดขึ้ นกับทรัพย์สิน ที่นายสองซื้อมาอัน
เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ โดยหลักแล้ว นายหนึ่งผู้ขายจะต้องรับผิด
ในความช้ารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 472
แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้นายหนึ่งจะต้องรับผิดต่อนายสองเพื่อความช้ารุดบกพร่องนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่
นายสองซื้อมานั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายหนึ่งผู้ขายไม่ต้อง รับผิดในความช้ารุด
บกพร่องตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น นายสองจะฟ้องนายหนึ่งให้รับผิดในความช้ารุดบกพร่อง ที่เกิดขึ้นไม่ได้
กรณีนายสาม การที่นายสามได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายหนึ่งมา 1 คัน แต่ต่อมานายด้าได้
น้าพยานหลักฐานพร้อมมูลมาแสดง ท้าให้นายสามเชื่อว่าเป็นรถยนต์ของนายด้าซึ่งถูกขโมยมา จึงยอมคืนรถยนต์ให้แก่
นายด้าไปนั้นถือว่าเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ใน เวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิ
ท้าให้ผู้ซื้อคือนายสามไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อ ถูกรอนสิทธิตามมาตรา 475 ซึ่ง
ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ ดังนั้นนายสามจึงสามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดที่ตน ถูกรอนสิทธิได้ แต่นายสามจะต้องฟ้อง
ภายในก้าหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายด้าไป ตามมาตรา 481
สรุป
(1) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้
(2) นายสามสามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในกรณีที่นายสามถูกรอนสิทธิได้ แต่จะต้องฟ้องภายในก้าหนด 3
เดือน นับแต่วันที่ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายด้าไป

ข้อ 10.
นายไก่น้าช้างแม่และช้างลูกไปท้าเป็นหนัง สือจดทะเบียนขายฝากช้างแม่ในราคา 5 แสนบาท ไถ่คืนภายใน
ก้าหนด 1 ปี ในราคา 4 แสนบาท ส่วนช้างลูกท้าสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายไข่ ผู้รับซื้อฝากไว้เป็นส้าคัญใน
ราคา 3 แสนบาท ไถ่คืนภายใน 1 ปี ไถ่คืนในราคา 5 แสนบาท เมื่อเวลาผ่านไปใกล้ครบ 1 ปี นายไก่ไปขอใช้สิทธิในการ
ไถ่ช้างแม่ลูกคืน โดยน้าเงิน 4 แสนบาท ส้าหรับช้างแม่ และ 3 แสน 4 หมื่น 5 พันบาทถ้วน ไปไถ่ส้าหรับช้างลูก แต่นาย
ไข่ผู้รับซื้อฝาก ปฏิเสธโดยอ้างว่า
1) ช้างแม่และช้างลูก ท้าสัญญาขายฝากไว้ 1 ปี ยังไม่ถึงก้าหนดไถ่
2) สินไถ่ช้างแม่ไม่ควรรับซื้อไว้ 5 แสน ก็ต้องไถ่คืน 5 แสน ช้างลูกรับซื้อฝากไว้ 3 แสน ก้าหนดไถ่คืน 5 แสน ก็
ต้องเป็นไปตามนั้น
3) สัญญารับซื้อฝากช้างลูกท้าไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ
ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสัง หาริมทรั พย์ ถ้ามิ ไ ด้ท้าเป็นหนัง สือและจดทะเบี ยนต่อ พนักงาน
เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”
มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า
ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”
มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ก้าหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ก้าหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย”
มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้ก้าหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก
ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่ก้าหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกิน อัตราร้อยละสิบห้า
ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”
วินิจฉัย
สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์ นั้นคืนได้ เมื่อ
เป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องน้าบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์
และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ท้าเป็นหนังสือ
และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง
กรณีตามอุทาหรณ์ ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่รับฟังได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้
1) การที่นายไก่น้าช้างแม่ซึ่ง เป็นสัตว์พาหนะไปท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากไว้ กับนายไข่ และน้า
ช้างลูกไปท้าสัญญาเป็นหนังสือขายฝากไว้กับนายไข่นั้น สัญญาขายฝากช้างแม่และช้างลูกย่อม มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา
491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง
และเมื่อตามสัญญาขายฝากได้ก้าหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินก้าหนดเวลาตามที่ กฎหมายได้ก้าหนดไว้
(มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปใกล้ครบ 1 ปี การที่นายไก่ ไปขอใช้สิทธิในการไถ่ช้าง
แม่และช้างลูกคืนนั้น นายไก่ย่อมสามารถท้าได้ เพราะเป็นสิทธิของนายไก่ผู้ขายฝากแต่เพียง ฝ่ายเดียวที่จะเลือ กไถ่
เมื่อใดก็ได้ภายในก้าหนด 1 ปี ตามมาตรา 491 และ 494 ดัง นั้น การที่นายไข่ผู้รับซื้อฝาก ปฏิเสธโดยอ้างว่ายัง ไม่ถึง
ก้าหนดไถ่นั้น ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่จึงรับฟังไม่ได้
2) การที่นายไก่น้าช้างแม่ขายฝากไว้กับนายไข่ในราคา 5 แสนบาท และไถ่คืนในราคา 4 แสนบาทนั้น แม้สินไถ่
ที่ก้าหนดไว้จะต่้ากว่าราคาขายฝากก็สามารถตกลงกันได้ และเมื่อตกลงกันไว้อย่างไรก็ต้อง เป็นไปตามนั้น ดังนั้น นายไก่
จึงสามารถไถ่ช้างแม่ได้ในราคา 4 แสนบาท การที่นายไข่ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องไถ่คืน ในราคา 5 แสนบาท นั้น ค้าปฏิเสธ
และข้ออ้างของนายไข่กรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้
ส่วนช้างลูกเมื่อขายฝากไว้ในราคา 3 แสนบาท และไถ่คืนในราคา 5 แสนบาทนั้น สินไถ่ ที่ก้าหนดไว้สูง กว่า
ราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นายไก่จึงสามารถไถ่ช้างลูกได้ในราคา 3 แสนบาท บวกประโยชน์ตอบ
แทนร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 499 กล่าวคือ นายไก่สามารถไถ่คืนช้างลูกได้ในราคา 3 แสน 4 หมื่น 5 พันบาท
ดังนั้นการที่นายไข่ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องไถ่คืน 5 แสนบาทนั้น ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ กรณีนี้จึงรับฟังไม่ไ ด้
เช่นเดียวกัน
3) การที่นายไข่อ้างว่าสัญญารับซื้อฝากช้างลูกท้าไม่ถูกต้องคือไม่ได้ท้าเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะนั้นรับฟังไม่ได้ เพราะช้างลูกไม่ใช่สัตว์พาหนะ คือไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ดังนั้น การขาย
ฝากช้างลูกที่ท้าเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
สรุป
1) ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่ายังไม่ถึงก้าหนดไถ่รับฟังไม่ได้
2) ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่าช้างแม่และช้างถูกต้องไถ่คืนในราคา 5 แสนบาท รับฟังไม่ได้
3) ค้าปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่าสัญญารับซื้อฝากช้างลูกท้าไม่ถูกต้องเป็นโมฆะรับฟังไม่ได้

ข้อ 11.
นายไก่เป็นเจ้าของช้างแม่ลูก ตกลงขายให้นายไข่ ช้างแม่ 5 แสนบาท ช้างลูก 2 แสนบาท แต่นายไข่ไม่มี
เงิ น สด จ้ า นวน 7 แสนบาท ขอช้ า ระค่ า ลู ก ช้ า ง 2 แสนบาทก่ อ น ส่ ว นแม่ ช้ า งตกลงกั น ว่ า ให้ น ายไข่ ผ่ อ น
ช้าระ 5 เดือน เดือนละ 1 แสนบาท ช้าระครบเมื่อใดนายไก่ก็จะโอนทะเบียนช้างแม่ให้นายไข่ โดยนายไก่ส่งมอบ
ช้างแม่ลูกให้นายไข่แล้ว เมื่อนายไข่ช้าระครบ 5 แสนบาท นายไก่ไม่ยอมโอนแม่ช้างให้แก่นายไข่
(1) สัญญาซื้อขายช้างแม่ลูกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด
(2) กรรมสิทธิ์ในช้างแม่ลูกเป็นของใคร
(3) นายไข่จะฟ้องให้นายไก่โอนทะเบียนช้างแม่ลูกให้แก่ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่
บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือค้ามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไ ว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิไ ด้มีหลักฐานเป็น
หนัง สืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่ อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นส้าคัญ หรือได้ว างประจ้าไว้ หรือได้ช้าระหนี้บางส่ว น
แล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ท้าสัญญาซื้อขายกัน
วินิจฉัย
ตามกฎหมาย การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้น
ไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะนั้น จะต้องท้าเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตก
เป็นโมฆะ ตามมาตรา 456 วรรคแรก แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิด
พิเศษ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือลง
ลายมื อ ชื่ อ ฝ่ า ยที่ ต้ อ งรั บ ผิ ด หรื อ วางมั ด จ้ า หรื อ ช้ า ระหนี้ บ างส่ ว นแล้ ว ก็ ส ามารถฟ้ อ งร้ อ งบั ง คั บ คดี กั น ได้ ตาม
มาตรา 456 วรรคสอง
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
(1) สัญญาซื้อขายลูกช้างระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และมีผลสมบูรณ์ตาม
กฎหมาย เพราะเป็ นการซื้อ ขายสั งหาริม ทรั พย์ ธรรมดา (ลู กช้ างเป็ นสั ง หาริม ทรั พย์ ธรรมดา) จึง ไม่ ต้อ งท้ าเป็ น
หนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด (มาตรา 453)
ส่วนกรณีสัญญาซื้อขายแม่ช้างนั้น การที่นายไก่ตกลงขายแม่ช้างซึ่ง เป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ (สัตว์พาหนะ) ให้
นายไข่ในราคา 5 แสนบาท โดยตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนช้าระเป็นเวลา 5 เดือน เดือนละ 1 แสนบาท และเมื่อ
ช้าระเงินครบนายไก่จะไปโอนทะเบียนแม่ช้างให้นั้น ถือเป็นกรณีที่คู่สัญญาไม่มีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในแม่ช้างโอนไป
ในขณะท้าสัญญาซื้อขาย แต่มีเจตนาจะไปท้าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใน
ภายหลัง ดังนั้น สัญญาซื้อขายแม่ช้างระหว่างนายไก่และนายไข่จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ตามมาตรา 456 วรรค
สอง
(2) เมื่ อ สั ญ ญาซื้ อ ขายแม่ ช้ า งเป็ น สั ญ ญาจะซื้ อ จะขาย กรรมสิ ท ธิ์ ใ นแม่ ช้ า งจึ ง ยั ง ไม่ โ อนไปยั ง ผู้
ซื้ อ ดั ง นั้ น กรรมสิ ท ธิ์ ใ นแม่ ช้ า งจึ ง ยั ง คงเป็ น ของนายไก่ ส่ ว นสั ญ ญาซื้ อ ขายลู ก ช้ า งนั้ น เป็ น สั ญ ญาซื้ อ ขายเสร็ จ
เด็ดขาด และได้ท้าถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในลูกช้างจึงโอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้วตั้งแต่ขณะท้าสัญญาซื้อ
ขายกัน (มาตรา 453 และมาตรา 458) นายไข่ผู้ซื้อจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลูกช้าง
(3) ส่ ว นประเด็ น ที่ ว่ า นายไข่ จ ะฟ้ อ งให้ น ายไก่ โ อนทะเบี ย นแม่ ช้ า งให้ แ ก่ ต นได้ ห รื อ ไม่ นั้ น เมื่ อ ปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่านายไข่ได้ช้าระเงินให้นายไก่ครบ 5 แสนบาท อีกทั้งนายไก่ก็ได้ส่งมอบแม่ช้างให้แก่นายไข่แล้วจึงถือว่า
สัญญาจะซื้อจะขายแม่ช้างระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือ ได้มีการช้าระหนี้กัน
บางส่วนแล้ว ดังนั้น เมื่อนายไก่ผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนแม่ช้างให้นายไข่ นายไข่จึงสามารถฟ้องร้องให้นาย
ไก่ไปจดทะเบียนโอนแม่ช้างให้ตนได้ ตามมาตรา 456 วรรคสอง
สรุป
(1) สัญญาซื้อขายลูกช้างเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ส่วนสัญญาซื้อขายแม่ช้าง เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
(2) กรรมสิทธิ์ในแม่ช้างเป็นของนายไก่ ส่วนกรรมสิทธิ์ในลูกช้างเป็นของนายไข่
(3) นายไข่สามารถฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนแม่ช้างให้แก่ตนได้

ข้อ 12.
นายดินไปตกลงซื้อตู้ไม้สักทองโบราณจากร้านนายน้้าในราคา 1 แสนบาท และมีข้อตกลงกันว่า นายน้้าเป็น
ผู้มีหน้าที่ส่งมอบตู้ใบนี้ให้แก่นายดินที่บ้านนายดิน นายดินตรวจสอบตู้จนเป็นที่พอใจแล้ว ในวันส่งมอบตู้ที่บ้าน นาย
ดินเห็นรอยขูดขีดขนาดใหญ่ซึ่งเกิดเหตุจากการขนส่งโดยชัดเจน แต่ก็รับมอบตู้ใบนี้ไว้ ต่อมานายดินรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
ที่ตู้ราคาเป็นแสน แต่ขนส่งไม่ระมัดระวัง ท้าให้มีรอย ท้าให้เสื่อมราคา นายดินจะฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุด
บกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายนั้นช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อม
ความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่ง หมายโดยสัญ ญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความช้ารุดบกพร่องมีอยู่
มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้า ผู้ ซื้ อ ได้ รู้ อ ยู่ แล้ ว แต่ ในเวลาซื้อ ขายว่า มี ค วามช้ า รุ ด บกพร่ อ งหรื อ ควรจะได้ รู้เ ช่ น นั้ นหากได้ใ ช้ ค วาม
ระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความช้ารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้
อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด
วินิจฉัย
ความรับผิดในความช้ารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่
ขายช้ารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องเกิดขึ้น
ก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ
อย่างไรก็ดี ผู้ขายก็ไม่จ้าต้องรับผิดในความช้ารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าความช้ารุด
บกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ แต่ผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน เป็นต้น
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดินซื้อตู้ไม้สักทองโบราณจากร้านนายน้้า และปรากฏว่าตู้ดังกล่าวมีรอยขูดขีด
นั้น ย่อมถือว่าตู้ไม้สักทองโบราณที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความช้ารุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคา ซึ่งโดยหลัก นาย
น้้าผู้ขายจะต้องรับผิดต่อนายดินผู้ซื้อ ตามมาตรา 472
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันส่งมอบตู้ที่บ้านของนายดินนั้น นายดินเห็นรอยขูดขีดขนาด
ใหญ่ซึ่งเกิดจากการขนส่งโดยชัดเจน แต่ก็ยังรับมอบตู้ใบนี้ไว้ จึงเป็นกรณีที่ความช้ารุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์
แล้วในเวลาส่งมอบ แต่ผู้ซื้อรับเอาทรัพย์นั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จึงเข้าข้อยกเว้น นายน้้าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความ
ช้ารุดบกพร่องตามมาตรา 473(2) ดังนั้น นายดินจึงไม่สามารถฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้
สรุป
นายดินจะฟ้องนายน้้าให้รับผิดในความช้ารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

ข้อ 13.
นายลมน้าบ้านและที่ดินไปท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากนายไฟไว้ในราคา 1 ล้านบาท ก้าหนดไถ่คืน
ภายใน 1 ปี ในราคาเดิมบวกประโยชน์อีก 15 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังจากท้าสัญญากันแล้ว นายไฟเข้ามาอยู่ในบ้านหลัง
ดังกล่าวเห็นห้องหนึ่งของบ้านส่วนที่ต่อเติมออกไป นายลมเจ้าของเดิมเขียนข้อความต่างๆอย่างหลงใหล คลั่งไคล้ใน
กลุ่มเสื้อสีที่ตนรังเกียจ จึงรื้อบ้านส่วนนี้และน้าไปเผาไฟทิ้ง เมื่อเวลาผ่านไป 10 เดือน นายลมมาไถ่บ้านคืน เจอสภาพ
บ้านและห้องสุดรักสุดหวงถูกท้าลายไป นายลมมีสิทธิจะฟ้องให้นายไฟรับผิดชอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า
ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูก
ท้าลายหรือท้าให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
วินิจฉัย
การขายฝากนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ เพียงแต่มีข้อตกลงกันว่า ผู้ขาย
ฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ (มาตรา 491) ดังนั้น ผู้ซื้อจึงมีสิทธิใช้สอยและกระท้าการใดๆ ในทรัพย์สินนั้นก็ไ ด้ใน
ฐานะเจ้าของทรัพย์สิน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อก็มีหน้าที่จะต้องสงวนรักษาทรัพย์สินนั้นอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวน
รัก ษาและใช้ ท รัพ ย์ สิ น ของตนด้ว ย เพราะเมื่ อผู้ มี สิ ท ธิ ไ ถ่ ม าขอไถ่ คื น ตามมาตรา 501 ได้ ก้ า หนดหน้ าที่ ผู้ ซื้ อ ไว้
ว่า ทรัพย์สินที่ผู้มีสิทธิไถ่ใช้สิทธิไถ่คืนนั้น ผู้ซื้อต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่หากปรากฏว่าทรัพย์สินนั้น
ถูกท้าลาย หรือท้าให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ไถ่ด้วย
กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่น ายลมน้ าบ้า นและที่ ดินไปขายฝากนายไฟไว้ในราคา 1 ล้านบาท มีก้ าหนดไถ่
ภายใน 1 ปี ในราคาเดิมบวกประโยชน์อีก 15 เปอร์เซ็นนั้น เมื่อท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึง
เป็นสัญ ญาขายฝากที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก) นายไฟผู้ซื้อจึงมีสิทธิใช้สอย
ทรัพย์สินและมีหน้าที่สงวนรักษาทรัพย์สินนั้นอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวนรักษาและใช้ทรัพย์สินของตน
ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายไฟได้รื้อบ้านส่วนหนึ่งและน้าไปเผาไฟทิ้ง จึงถือเป็นกรณีที่นายไฟผู้ซื้อมิได้ใช้สอย
และสงวนรักษาทรัพย์สินที่ซื้อฝากอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงรักษาและใช้ทรัพย์สินของตน และท้าให้ทรัพย์สินนั้นถูก
ท้าลายหรือท้าให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของนายไฟผู้ซื้อเอง ดังนั้น เมื่อนายลมมาไถ่บ้านคืน เจอสภาพบ้านและ
ห้ อ งสุ ด รั ก สุ ด หวงถู ก ท้ า ลายไป นายลมจึ ง มี สิ ท ธิ ฟ้ อ งให้ น ายไฟรั บ ผิ ด ใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทนแก่ ต นได้ ต าม
มาตรา 501 เพราะถือว่า นายไฟส่งคืนบ้านและที่ดินซึ่งบ้านถูกท้าลายหรือท้าให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของนาย
ไฟผู้ซื้อ
สรุป
นายลมมีสิทธิฟ้องให้นายไฟรับผิดชอบได้

You might also like