Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 62

แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 1

แนวข้อสอบพื้นฐานวิชาชีพแพทย์แผนไทย ขั้น 1
แนวข้อสอบ พ.ร.บ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

1. พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วัน-เดือน-ปี


อะไร
ตอบ วันที่ ๑ ก.พ. พ.ศ ๒๕๕๖
2. พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ บังคับใช้ใน วัน-เดือน-ปี อะไร
ตอบ วันที่ ๒ ก.พ. พ.ศ. ๒๕๕๖
3. พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย
เดช ได้ทรงโปรดเกล้า ให้ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมขององค์กรใด
ตอบ รัฐสภา
4. “กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริม
และฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยา
แผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้ หรือตำราที่ได้
ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา” เป็นความหมายของคำใด ตาม พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผน
ไทย พ.ศ. ๒๕๕๖
ตอบ การแพทย์แผนไทย
5. คำว่า “วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” ตาม พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้หมายถึงอะไร
ตอบ การประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนไทยประยุกต์
6. “การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนำ การตรวจโรค การ
วินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การรักษาโรคการป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์
ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทยการผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์
ความรู้ด ้า นอื่น ตามที่ร ัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิ ธี
การแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา ตามตำราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่
สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง” คำว่า คณะกรรมการ ตามข้อความข้างต้น หมายถึงใคร
ตอบ คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย
7. ตามข้อความข้อ ๖ ทั้งหมด เป็นความหมายของคำใด
ตอบ การประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 2

8. “การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์
การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือ
อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย” เป็น
ความหมายของคำใด
ตอบ การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
9. “กรรมวิธ ีที่เ กี่ยวข้ องกับการแพทย์แ ผนไทย ที่สภาการแพทย์แ ผนไทยกำหนดหรื อรั บรอง” เป็น
ความหมายของอะไร
ตอบ กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
10 “การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึง
การผดุ ง ครรภ์ไ ทย เภสั ช กรรมไทย และการนวดไทย ทั ้ ง นี ้ ด้ ว ยกรรมวิ ธ ี การแพทย์ แ ผนไทย” เป็ น
ความหมายของคำใด
ตอบ เวชกรรมไทย
11. “การกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกัน
คุณภาพยา การปรุงยาและการจ่า ยยาตามใบสั่งยาของ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แ ผนไทยหรื อ ผู้
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการจัดจำหน่ายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ ด้วย
กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” เป็นความหมายของคำใด
ตอบ เภสัชกรรมไทย
12. “การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความ
ผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทำคลอด การดูแลการส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพมารดา
และทารกในระยะหลังคลอด ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” เป็นความหมายของคำใด
ตอบ ผดุงครรภ์ไทย
13. “ การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดย
ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนวดไทย ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” เป็นความหมายของคำ
ใด
ตอบ การนวดไทย
14. “การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดย
ใช้องค์ความรู้ซึ่งสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” เป็นความหมาย
ของคำใด
ตอบ การแพทย์พื้นบ้านไทย
15. “บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยจากสภา
การแพทย์แผนไทย” หมายถึงใคร
ตอบ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 3

16. “บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภา
การแพทย์แผนไทย” หมายถึงใคร
ตอบ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์
17. คำว่า “ใบอนุญาต” ตาม พระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ หมายถึงอะไร
ตอบ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย
18. ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษา
การตามพระราชบัญญัตินี้ หมายถึงบุคคลใด
ตอบ พนักงานเจ้าหน้าที่
19. ใครเป็นผู้ประกาศกำหนด ประเภทการแพทย์แผนไทย อื่นๆ โดยแนะนำของคณะกรรมการสภาแพทย์
แผนไทย
ตอบ รัฐมนตรี รักษาการณ์ตาม พ.ร.บ.
20. บุคคลใดที่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. “ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายระราชบัญญัติ
นี้ รวมทั้งออกระเบียบและประกาศใด ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
21. องค์กรใดที่มีหน้าที่ “รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์
แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์”
ตอบ สภาแพทย์แผนไทย
22. องค์กรใดที่มีหน้าที่ “ พิจารณาสำนวนการสอบสวน จากคณะอนุกรรมการสภาแพทย์แผนไทย กรณีผู้
ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ถูกกล่าวหา หรือกล่าวโทษ ว่าผิดจรรยาบรรณ”
ตอบ สภาแพทย์แผนไทย
23. องค์กรใดที่ทำหน้าที่ “รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของ
สถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
ตอบ สภาแพทย์แผนไทย
24. องค์กรใดที่ทำหน้าที่ “รับรองหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ ของ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมดังกล่าว”
ตอบ สภาแพทย์แผนไทย
25. องค์กรใดที่มีหน้าที่ “ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นใน
วิชาชีพการแพทย์แผนไทย”
ตอบ สภาแพทย์แผนไทย
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 4

26. สภาแพทย์แผนไทย จะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสภานายก


พิเศษอย่างไร
ตอบ อย่างน้อยปีละครั้ง
28. สภาแพทย์แผนไทย อาจมีรายได้จากที่ใด
ตอบ
(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๒) ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(๓) ผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพย์สินและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๘
(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการแพทย์แผนไทย
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
29. ใครเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ สภานายกพิเศษ”
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
30. สมาชิกสภาแพทย์แผนไทย ต้องมีอายุอย่างไร
ตอบ ไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
31. บุคคลซึ่งได้รับการอบรมจากผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้(ครู
มอบตัวศิษย์) เป็นผู้ให้การอบรมและต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผน
ไทย สามารถเป็นสมาชิกของสภาแพทย์ได้หรือไม่ จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ ไม่สามารถเป็นสมาชิกได้ เพราะ ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้ จะต้องมี
สถาบันหรือสถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองจากสภาแพทย์แผนไทยให้เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ด้วย
32. บุคคลซึ่งได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขา
การแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาจะสามารถเป็นสมาชิกของสภาแพทย์แผนไทยได้หรือไม่
อย่างไร จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ ไม่ได้ เพราะสถาบันการศึกษาที่ทำการถ่ายทอดความรู้จะต้องได้รับการรับรองสถาบันจากสภา
แพทย์แผนไทย ด้วย และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย
33. บุคคลที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย จะสามารถเป็นสมาชิกสภาแพทย์แผนไทย
ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ไม่ได้ เพราะจะต้องผ่านการรับรองความรู้ตามหลักเกณฑ์ของสภาแพทย์แผนไทยก่อน
34. กลุ่มบุคคลใดที่เป็นผู้พิจารณาว่าผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ว่าเป็นผู้ประพฤติเสียหายและอาจ
นำความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
ตอบ คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย
35. บุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิ พากษาถึงที่สุดและคณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทยพิจารณา
ว่าอาจนำความเสียมาสู่วิชาชีพแพทย์แผนไทย จะสามารถเป็นสมาชิกสภาแพทย์แผนไทย
ตอบ ไม่ได้
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 5

36. สมาชิกสภาแพทย์แผนไทยมีสิทธิ ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์


แผนไทยกับสภาแพทย์แผนไทย โดยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับใด
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย
37. กรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการ
ของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้เสนอทราบภายในกี่
วันเก้านับแต่วันได้รับเรื่อง
ตอบ ๙๐ วัน
38. สมาชิกสภาแพทย์แผนไทย จะสิ้นสมาชิกภาพลงเมื่อไร จงตอบมา ๓ ข้อ
ตอบ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๒)
39. บุคคลที่วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือผู้ที่เป็นโรคที่สภาแพทย์แผนไทยกำหนดไว้ใน
ข้อบังคับ จะไม่สามารถเป็นสมาชิกสภาแพทย์แผนไทย ได้นั้นจะได้รับการลงความเห็นจากผู้ประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม อย่างน้อยกี่คน ว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือใช้เวลาในการรักษานานเกินกว่า ๒ ปี
ตอบ ๓ คน
40. บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกสภาแพทย์แผนไทย ซึ่งวิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่สภา
แพทย์แผนไทยกำหนดไว้ในข้อบังคับ และยังไม่ถึงกับสิ้นสมาชิกภาพ คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย
จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตบุคคลนี้อย่างไร
ตอบ ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองปี
41 จงบอกคณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย โดยตำแหน่งให้ครบถ้วน
ตอบ ๑.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒. อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
๓. อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ๔.เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ๕.เลขาธิการคณะกรรมการ
อุดมศึกษา
42. กรรมการซึ่งเป็นคณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้า
ภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งละ
หนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสาขาละกี่คน
ตอบ ๓ คน
44. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทยแห่งละหนึ่งคน
เลือกกันเองให้เหลือกี่คน
ตอบ ๓ คน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 6

45. คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย ที่มาจากการเลือกตั้ง ที่กำลังจัดเลือกตั้งโดยสภาแพทย์แผนไทย ใน


ปัจจุบันมีจำนวนกี่คน
ตอบ 17 คน
46. นายกสภาแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาแพทย์แผนไทย คนที่หนึ่ง และคนที่สอง ได้รับการเลือกมาจาก
กรรมการส่วนใด
ตอบ กรรมการสภาแพทย์แผนไทยเลือกกรรมการจากกรรมการ ส่วนที่มาจากการเลือกตั้งเลือกตั้ง
47. การเลือกนายกสภาแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาแพทย์แผนไทย คนที่หนึ่ง และคนที่สอง จะต้องเลือก
ภายในกี่วัน นับจากวันเลือกตั้งกรรมการ
ตอบ ไม่เกิน ๓๐ วัน
48. ใครเป็นผู้มีอำนาจในการเลือก ตำแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก ของ
สภาแพทย์แผนไทย
ตอบ นายกสภาแพทย์แผนไทย
49. นายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งและอุปนายกสภาการแพทย์
แผนไทยคนที่สอง มีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ ๓ ปี ( วาระตามกรรมการส่วนที่เลือกตั้ง)
50. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือ กรรมการที่
เป็น หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์
แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และ กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิก
จะต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างไร
ตอบ (๑) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์
(๒) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
51. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือ กรรมการที่
เป็น หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์
แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และ กรรมการซึ่งได้รับ เลือกตั้งโดยสมาชิก
มีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ คราวละ ๓ ปี.
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 7

52. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือ กรรมการที่


เป็น หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์
แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และ กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิก
พ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ตอบ (๑) สิ้นสมาชิกภาพ สภาแพทย์แผนไทย
(๒) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ในการเป็นกรรมการสภาแพทย์แผนไทย
(๓) ลาออก
53. กรรมการซึ่งเป็นคณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้า
ภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จะ
สิ้นสุดสภาพเมื่อใด
ตอบ (๑) พ้นจากตำแหน่งคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
หรื อ หั ว หน้ า ภาควิ ช าที ่ ผ ลิ ต บั ณ ฑิ ต สาขาการแพทย์ แ ผนไทยหรื อ สาขาการแพทย์ แ ผนไทยประยุ ก ต์ ใ น
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษา
เอกชน
(๒) ลาออก
54. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือ กรรมการที่
เป็น หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์
แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม ถ้าตำแหน่งว่างลง คณะกรรมการสภา
แพทย์แผนไทย จะต้องดำเนินการให้ได้มาภายในกี่วัน
ตอบ 30 วัน
55. ในกรณีที่ กรรมการตามข้อ ๑๑ ว่างลงและเหลือเวลาในการดำรงตำแหน่ง ไม่เกินกี่วัน .ที่ทำให้
คณะกรรมการไม่ต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการดังกล่าว
ตอบ ไม่เกิน ๙๐ วัน
56. กรรมการที่เข้ามาแทนกรรมการ ตามข้อ ๑๑ จะมีวาระดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
57. กรรมการสภาแพทย์แผนไทย ส่วนที่เลือกตั้ง ถ้าว่างลงในจำนวนเท่าไร คณะกรรมการจึงต้องเลื่อน
สมาชิกที่เลือกตั้งมีคะแนนถัดไปเข้าแทน
………………………ไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของกรรมการส่วนทีเ่ ลือกตั้ง ………………..
58. ในกรณีใด ที่คณะกรรมการจะต้องจัดเลือกตั้งกรรมการใหม่แทนตำแหน่ง ที่ว่างลงภายใน ๙๐วัน
ตอบ กรณีที่กรรมการส่วนที่เลือกตั้งตำแหน่งว่างลง เกินจำนวน ๑ใน ๓ ของกรรมการส่วนที่เลือกตั้ง
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 8

59. กรรมการสภาแพทย์แผนไทย ส่วนที่เลือกตั้ง ถ้าว่างลง และมีวาระเหลือไม่ถึงเท่าไร คณะกรรมการจึง


ไม่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
ตอบ ๙๐ วัน
60. ใครมีอำนาจ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย คณะอนุกรรมการ การ
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณ คณะอนุกรรมการสอบสวน
และคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ และ
อำนาจหน้าที่ของสภาการแพทย์แผนไทย
ตอบ คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย
61. นายกสภาการแพทย์แผนไทย มีอำนาจหน้าที่
ตอบ (ก) บริหารและดำเนินกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หรือตามมติของคณะกรรมการ
(ข) เป็นผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทย ในกิจการต่าง ๆ
(ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ
62. ใครที่ทำหน้าที่เป็น ผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทย ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา
การแพทย์แผนไทยตามที่นายกสภาการแพทย์แผนไทยมอบหมายและเป็นผู้ทำการแทนนายกสภา
การแพทย์แผนไทย เมื่อนายกสภาการแพทย์แผนไทยไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ตอบ อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่ง
63. กรรมการสภาแพทย์แผนไทย ตำแหน่งใดที่มีหน้าที่ ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาการแพทย์แผน
ไทย ทุกระดับ ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไปของสภาการแพทย์แผนไทย รับผิดชอบในการ
ดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์
แผนไทยประยุกต์และทะเบียนอื่น ๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสภา
การแพทย์แผนไทยและ เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
ตอบ เลขาธิการสภาแพทย์แผนไทย
64. กรรมการตำแหน่งใดที่ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ
ตามที่เลขาธิการมอบหมาย และเป็นผู้ทำการแทนเลขาธิการเมื่อเลขาธิการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้
ตอบ รองเลขาธิการสภาแพทย์แผนไทย
65. การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมจะต้องมีจำนวนเท่าไร ของจำนวน กรรมการ
ทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม
ตอบ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 9

66. การประชุมกรรมการ ในการลงมติ มีหลักอย่างไร


ตอบ มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ในการลงคะแนนกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงถ้า
คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
67. พ.ร.บ วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้มี คณะอนุกรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทย และ
คณะอนุกรรมการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อย่างละคณะ วิธีการได้มาของคณะอนุกรรมการทั้งสองข้างต้น
ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนด
ตอบ ข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย
68. สภานายกพิเศษ สามารถจะเข้าฟังการประชุมและชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ
หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังสภาการแพทย์แผนไทยในเรื่องใด ๆ ได้หรือไม่เพราะอะไร
ตอบ ได้เพราะ พ.ร.บ วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๙.
69. มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องใดบ้างที่ ต้องได้รับความเห็นชอบ จากสภานายกพิเศษก่อน จึง
จะดำเนินการตามมตินั้นได้
ตอบ (๑) การออกข้อบังคับ
(๒) การกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย
(๓) การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๔ (๔)
(๔) การวินิจฉัยชี้ขาดให้พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม
(๔)หรือ (๕) (การวินิจฉัยชี้ขาดให้พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต)และการ เพิกถอนใบอนุญาต)
70. มติของคณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย ในเรื่องการออกข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย ถ้าสภานายก
พิเศษมิได้ยับยั้ง เป็นเวลากี่วัน หลังนายกสภาแพทย์แผนไทย เสนอให้พิจารณา จึงจะถือว่าสภานายก
พิเศษรับมติดังกล่าว
ตอบ ภายใน ๓๐ วัน
71. มติของคณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย ในเรื่อง การกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณ
ของสภาการแพทย์แผนไทย หรือ การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ หรือ การวินิจฉัยชี้ขาดให้พักใช้
ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต ถ้าสภานายกพิเศษมิได้ยับยั้ง เป็นเวลากี่วัน หลังนายกสภาแพทย์
แผนไทย เสนอให้พิจารณา จึงจะถือว่าสภานายกพิเศษรับมติดังกล่าว
ตอบ ภายใน ๑๕ วัน
72. กรณีสภานายกพิเศษ ยับยั้งมติใด ให้คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย พิจารณาใหม่ภายในกี่วัน นับ
จากวันที่ สภานายกพิเศษยับยั้งมติดังกล่าว
ตอบ ภายใน ๓๐ วัน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 10

73. กรณีสภานายกพิเศษ ยับยั้งมติใด ให้คณะกรรมการสภาแพทย์แผนไทย จะต้องมีจำนวนเสียงมติในที่


ประชุมเท่าไร จึงจะถือว่ามตินั้นผ่านการพิจารณาและสามารถดำเนินการตามมตินั้นได้
ตอบ ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในขณะนั้น
74. มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ กระทำการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยประยุกต์เว้นแต่กรณีดังนี้
ตอบ (๑) การกระทำต่อตนเอง
(๒) การช่ ว ยเหลื อ แก่ ผ ู ้ ป ่ ว ยตามหน้ า ที ่ ตามกฎหมาย ตามหลั ก มนุ ษ ยธรรมหรื อ ตาม
ธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุม
ของสถาบันการศึกษาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบัน
ทางการแพทย์ของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา หรือสถาบันทางการแพทย์อื่นที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง
ทั้งนี้ ภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดหรือผู้ให้การฝึกอบรมซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผน
ไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วน
ตำบลกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือ
สภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ
เวชกรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระทำการ
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของผู้
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่
รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ประยุ ก ต์ ข องที ่ ป รึ ก ษาหรื อ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญของทางราชการ ทั ้ ง นี ้ โดยหลั ก เกณฑ์ วิ ธ ี ก าร และเงื ่ อ นไขที่
คณะกรรมการกำหนด
(๗) หมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชนใน
ท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมานานไม่น้อยกว่าสิบปีเป็นที่
นิยมยกย่องจากชุมชน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอให้หน่วยงานที่
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นผู้รับรอง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 11

75. ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพ


การแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาจได้รับโทษ อย่างไร
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
76. ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาจได้รับโทษอย่างไร
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
77. ผู้ใด ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาจได้รับโทษอย่างไร
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
78. การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต ให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ ใช้ระเบียบอะไรกำหนด
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย
79. อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต ในการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผน
ไทยประยุกต์ ใช้ระเบียบอะไรกำหนด
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย
80. การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และ
หนังสือแสดงวุฒิอื่นใช้ระเบียบอะไรกำหนด
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย
81.การออกใบแทนในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ให้เป็นไประเบียบอะไรกำหนด
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์แผนไทย
82. ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องสมัครเป็นสมาชิกแห่งสภาการแพทย์แผนไทยและมีคุณสมบัติ
ตามกำหนดไว้ในอะไร
ตอบ ข้อบังคับสภาแพทย์สภาแพทย์แผนไทย
83. กรณีที่สมาชิกสภาแพทย์แผนไทย สิ้นสภาพ จะต้องคืนใบอนุญาตให้เลขาธิการสภาแพทย์แผนไทย
ภายในกี่วัน
ตอบ 15 วัน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 12

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ยา 2510

1. นายหวังรวย ทางลัด ผลิตยาแผนโบราณ โดยไม่ได้รบั อนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษอย่างใด


ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 3,000 บาท
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 4,000 บาท
ค. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ง. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2. ประเภทของใบอนุญาตสำหรับยาแผนโบราณมีอะไรบ้าง
ก. ใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ
ข. ใบอนุญาตขายยาแผนโบราณ
ค. ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักร
ง. ถูกทุกข้อ
3. นายรุ่ง ยาดี ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณแล้ว แต่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตมาขอรับ
คำแนะนำจากท่าน ท่านจะให้คำปรึกษาอย่างไร
ก. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการยาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
แจ้งการไม่ออกใบอนุญาต
ข. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่
ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต
ค. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับ
หนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต
ง. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วัน นับแต่
วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต
4. นายสุข ทนดี ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณซึ่งประจำอยู่ในร้านขายยาดีเภสัช เกิดเบื่อที่จะทำงานใน
ร้านนี้ต่อไป จะต้องทำประการใด
ก. ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้รับอนุญาตขายยาภายใน 3 วัน ก่อนวันที่พ้นหน้าที่
ข. ยื่นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตขายยาทราบไม่เกิน 7 วัน ก่อนวันที่พ้นหน้าที่
ค. ยื่นหนังสือแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 7 วัน ก่อนวันที่พ้นหน้าที่
ง. ยื่นหนังสือแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่พ้นหน้าที่
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 13

5. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ข้อใดผิด


ก. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ ณ ที่เปิดเผยในร้านขายยา
ข. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณย้ายสถานที่ผลิตยาเว้นแต่จะได้รับอนุญาต
ค. ถ้าใบอนุญาตขายยาแผนโบราณหาย ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบ
แทนใบอนุญาตภายใน 7 วัน
ง.ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณจะเลิกกิจการต้องแจ้งเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาต
6. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณปฏิบัติหน้าที่ในร้านขายยาซึ่งตนมิได้มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ ปฏิบัติการจะมี
ความผิดประการใด
ก. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท
ข. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงหนึ่งพันห้าร้อยบาท
ค. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงสองพันบาท
ง. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงสองพันห้าร้อยบาท
7. ข้อใดไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก. ระบุยาที่เป็นยาแผนโบราณ
ข. ระบุยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน
ค. ระบุอายุการใช้ของยาบางชนิด
ง. ระบุจำนวน สถานที่ผลิตยา ที่จะอนุญาตให้ตั้งในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
8. ผู้รับอนุญาตผลิตยา ผลิตยาโดยมิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา จะต้องระวางโทษเป็นประการใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9. บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ที่มีโทษปรับสถานเดียว กฎหมายให้ใครมีอำนาจ
เปรียบปรับ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ค. คณะกรรมการยา ง. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
10. การโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณยาว่าสามารถรักษา หรือป้องกันโรคให้หายขาดเป็นยาศักดิ์สิทธิ์ ต้อง
ระวางโทษอย่างใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 1 พันบาท
ข. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท
ค. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 14

11. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการยา
ก. ให้คำแนะนำในการอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ
ข. ให้คำแนะนำในการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ
ค. ให้คำแนะนำในการอนุญาตขายยาแผนโบราณ
ง. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตการผลิตยาแผนโบราณ
12. ห้างขายยาศาลาทองโอสถ ผลิตยาหอมศาลาทองโดยใส่ยาที่มีสารออกฤทธิน้อยกว่าร้อยละยี่สิบที่
กำหนดไว้ในตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามมาตรา 79 ยาที่ผลิตไว้ได้ถือว่าเป็น
ก. ยาปลอม
ข. ยาผิดมาตรฐาน
ค. ยาเสื่อมคุณภาพ
ง. ยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
13. ผู้ใดผลิตยาปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 (1) ต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 อย่าง
ใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
ข. ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท
ค. ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท
ง. ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
14. ในกรณีที่ใบอนุญาตขายยาแผนโบราณสูญหาย ท่านต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ต้องแจ้งผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการ
สูญหาย
ข. ต้องแจ้งผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึง
การสูญหาย
ค. ต้องแจ้งผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบ
ถึงการสูญหาย
ง. ต้องแจ้งผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึง
การสูญหาย
15. ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนโบราณ หากไม่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ต้องดำเนินการ
อย่างไร
ก. ต้องแจ้งเป็นวาจาให้ผู้รับอนุญาตทราบก่อนพ้นหน้าที่ 30 วัน
ข. ต้องแจ้งเป็นวาจาให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 30 วัน ก่อนพ้นหน้าที่
ค. ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่พ้นหน้าที่
ง. ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่พ้นหน้าที่
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 15

16. นายทองสุข ประสงค์จะเลิกกิจการร้านขายยาแผนโบราณ มาปรึกษาท่าน ท่านจะแนะนำนายทองสุข


อย่างไร
ก. ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันเลิกกิจการ
ข. ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันเลิกกิจการ
ค. ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันเลิกกิจการ
ง. ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเลิกกิจการ
17. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณที่ประจำอยู่ ณ สถานที่ผลิตยา หากไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดใน
พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 จะมีความผิดต้องรับโทษประการใด
ก. ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงสองพันบาท
ง. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นพันบาท
18. การโฆษณาขายยาแผนโบราณทางวิทยุกระจายเสียงโดยไม่ได้ รับอนุมัติข้อความเสียงจากผู้อนุญาตมี
ความผิดต้องรับโทษประการใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
19. ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 การโฆษณาเกี่ยวกับยาแผนโบราณ ข้อใดที่ไม่สามารถโฆษณาขายยาได้
ก. การโฆษณาที่ทำให้เข้าใจว่าทำให้แท้งลูก
ข. การโฆษณาที่แสดงสรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ
ค. การโฆษณาที่รับรองโดยผู้อื่น
ง. ทุกข้อที่กล่าวหาไม่สามารถโฆษณาขายยาได้
20. ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาได้ตาม พ.ร.บ. นี้
ก. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ค. เลขาธิการอาหารและยา
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
21. ใครเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการยา
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
ค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ง. ผูว้ ่าราชการจังหวัด
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 16

22. ในฉลากยาแผนโบราณไม่จำเป็นต้องแสดงข้อใด
ก. ปริมาณของยาที่บรรจุ ข. เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
ค. วันเดือนปีที่ยาหมดอายุ ง. เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
ตำรับยา
23. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ
ก. จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ
ข. จัดให้มีฉลากตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาผนึกไว้ที่ภาชนะ และหีบห่อบรรจุยาที่ผลิตขึ้น
ค. ทำบัญชียาที่ผลิตและขายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ง. ควบคุมการขายยาให้เป็นไปตามมาตรา 69
24. ผู้อนุญาตจะไม่ออกใบอนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณถ้าปรากฏว่าผู้ขออนุญาต
ก. เป็นเจ้าของกิจการและเป็นผู้มีทรัพย์สินหรือฐานะพอที่จะตั้งแต่และดำเนินกิจการได้
ข. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ค. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
ง. เป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
25. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณหากไม่มีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิด
ทำการต้องระวางโทษเพียงใด
ก. ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
ข. ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าพันบาท
ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับรายวันอีก
วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
ง. จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับรายวันอีกวัน
ละ ห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
26. ข้อใด ไม่ใช่ยาปลอมตามความหมายในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2510
ก. ยาหรือวัตถุที่ทำเทียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนว่าเป็นยาแท้
ข. ยาที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลาก
ค. ยาที่แสดงชื่อว่าเป็นยาอื่นหรือแสดงเดือนปีที่ยาสิ้นอายุซึ่งมิใช่ความจริง
ง. ยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิต หรือที่ตั้งสถานที่ผลิตยาซึ่งมิใช่ความจริง
27. ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนพระ
ราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ค. ประธานคณะกรรมการยา ง. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 17

28. นาย สมโภช โฆษณาขายยาโดยการโอ้อวดสรรพคุณ ยาว่า เป็นยาเทพประทานศั กดิ์สิทธิ์ รักษา


โรคมะเร็งได้หายขาด นายเก่งอาจจะมีความผิดต้องระวางโทษเพียงใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน ห้าพันบาท
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
ค. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
29. บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ที่มีโทษปรับสถานเดียว กฎหมายกำหนดให้ใครมี
อำนาจเปรียบเทียบปรับได้
ก. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข. คณะกรรมการยา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ง. ประธานคณะกรรมการยา
30. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ก. คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกิน 180 วัน
ข. กรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยื่นคำขอรับใบแทน
ใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบการสูญหาย
ค. กรณีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาสูญหาย ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับ
ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบการสูญหาย
ง. ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการผลิตยา จะขอรับใบอนุญาตผลิตยาใหม่ต้องรอจนกว่า
จะพ้น 2 ปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้หรือไม่ก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร
31. นายกล้า ผลิตยาแผนโบราณขายโดยมิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา จะมีความผิดประการใด
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
32. ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา
91ต้องระวางโทษเพียงใด
ก. ปรับไม่เกิน ห้าพันบาท
ข. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน ห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 18

33. นายเก่ง ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผลิตยาตามมาตรา 95 ได้ดำเนินการลักลอบผลิตยาขาย จะมีความผิด


ต้องรับโทษประการใด
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน ห้าพันบาท
ข. จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และปรับไม่เกิน ห้าพันบาท
34. ผู้ผลิตยาปลอมตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72 (1) ต้องระวางโทษเพียงใด
ก. จำคุกไม่เกิน สามปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ข. จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน ห้าหมื่นบาท
ค. จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
ง. จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
35. ผู้ขายยาปลอมตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72 (1) ต้องระวางโทษเพียงใด
ก. จำคุกไม่เกิน สามปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ข. จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน ห้าหมื่นบาท
ค. จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
ง. จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
36. การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ ไม่ต้องแจ้งความละเอียดในข้อใด
ก. ขนาดบรรจุ ข. วิเคราะห์มาตรฐานของตัวยา
ค. ฉลาก ง. เอกสารกำกับยา
37. ใบอนุญาตสำหรับยาแผนโบราณ มีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท
38. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยาปลอม
ก. ยาหรือวัตถุทำเทียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ข. ยาที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลาก
ค. ยาที่แสดงว่าเป็นยาตามตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งไม่ใช่ความจริง
ง. ยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งสถานที่ผลิตยาซึ่งไม่ใช่ความจริง
39. ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ต้องจัดให้มีฉลากยาด้วยยกเว้นข้อใด
ก. ชื่อยา ข. เลขทะเบียนตำรับยา
ค. วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา ง. วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 19

40. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพคือข้อใด


ก. ยาแผนโบราณ ข. ยาสมุนไพร
ค. สมุนไพร ง. ยาจาสมุนไพร
41. การโฆษณาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
ก. การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
ข. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
ค. การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
ง. การโฆษณาโดยผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
42. นายโชค ขายยาสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้ง ๆ อยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับ ข้อหา
ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะ
ก. ขายยาแผนโบราณที่เป็นอันตราย ข. นายโชค ไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ค. ขายยาตำรับอันตราย ง. ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
43. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้นผู้อนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุ
ใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับหนังสือผู้อนุญาตแจ้งการไม่
ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ก. 15 วัน ข. 20 วัน ค. 25 วัน ง. 30 วัน
44. ผู้ผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด
ก. จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท
ข. จำคุกตบอดชีวิต
ค. จำคุกห้าปีและปรับห้าหมื่นบาท
ง. จำคุกสามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
45. ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการขาย
ส่งจะมีโทษสถานใด
ก. ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
ข. ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท
ค. ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ง. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
46. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนโบราณต้องการจะ
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกินกี่วันนับแต่วันที่พ้นหน้าที่
ก. 3 วัน ข. 5 วัน ค. 7 วัน ง. 10 วัน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 20

47. ผู้รับอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็น


หนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกินกี่วัน นับแต่วันเลิกกิจการ และให้ถือว่าใบอนุญาตหมดอายุตั้งแต่วัน เลิก
กิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
ก. 10 วัน ข. 15 วัน ค. 7 วัน ง. 5 วัน
48. การที่สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันสามารถขายยาแผนโบราณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตขายยาแผน
โบราณ เพราะเหตุใด
ก. เพราะกฎหมายอนุ ญ าตให้ ผ ู ้ ม ี ห น้ า ที ่ ป ฏิ บ ั ต ิ ก ารในสถานที ่ ข ายยาแผนปั จ จุ บ ั น ซึ ่ ง เป็ น
ผู้ประกอบการวิชาชีพเภสัชกรรมขายยาแผนโบราณได้
ข. เพราะกฎหมายยกเว้นให้การขายยาแผนโบราณโดยผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันสามารถ
กระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ค. เพราะกฎหมายยกเว้นให้เพราะเป็นการขายยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น
ง. เพราะกฎหมายยกเว้นให้เพราะเป็นการขายยาที่ไม่มีอันตราย
49. ข้อใดจัดเป็น “ยาสมุนไพร” ตาม พ.ร.บ. ยา
ก. เถาโคคลานหั่นตากแห้งบรรจุถุง ระบุฉลากว่า ยาโคคลาน
ข. ฟ้าทะลายโจรบดผงใส่แคปซูล ระบุฉลากว่า ยาฟ้าทะลายโจร
ค. กำลังเจ็ดช้างสารดองเหล้า ระบุชื่อว่า ยาดองเหล้า กำลังเจ็ดช้างสาร
ง. ยาหอมเนาวโกศ
50. นายสมชาย เป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทำการแจกยาแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมการขายยา
ในงานนิทรรศการ เช่นนี้นายสมชาย สามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
ค. ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
ง. ได้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
51. ผู้ผลิต ขาย นำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตจะได้โทษ
อย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ข. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3,000 บาท
ค. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
ง. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 21

52. ข้อใดจัดเป็นยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ. ยา


ก. ยาที่มุ่งหมายสำหรับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
ข. ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
ค. ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกต้องแล้ว
ง. ยาสมุนไพรที่มุ่งหมายใช้บำบัดโรคสัตว์
53. ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาสเตียลอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ถือว่าเป็นการ
ผลิต
ก. ยาผิดมาตรฐาน ข. ยาปลอม
ค. ยาแผนปัจจุบัน ง. ยาอันตราย
54. นายสุดหล้า เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทยปรุงยาเพื่อขาย
ให้กับผู้ป่วยของตน กรณีใดสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผลิตยาตาม พ.ร.บ. ยา
ก. ปรุงสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเอง
ข. ปรุงยาตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ค. ปรุงยาตาหลักที่ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณใช้สืบต่อกันมา
ง. ปรุงยาตามตำราแบบไทย
55. พ่อหมอทองหล้า ไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเก็บตัวยาสมุนไพรหลายชนิด มาหั่นและสับเป็นชิ้ นๆ
ใส่ถุงรวมกันปิดฉลากว่า “ยาโลหิตสตรี” บำรุงร่างกาย ทำให้เลือดลมดี ประจำเดือนมาปกติแก้ มุตกิด
และนำไปขายในวัด พ่อหมอทองหล้ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาหรือไม่
ก. ไม่ผิด เพราะเป็นการขายยาสมุนไพร กฎหมายยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตผลิตยา
ข. ไม่ผิด เพราะเป็นการขายสมุนไพร ยังไม่ปรุงเป็นยา
ค. ผิด เพราะแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าเป็นยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
ง. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก
56. การประกอบเกี่ยวกับยาแผนโบราณต่อไปนี้ ข้อใดที่ต้องขออนุญาตตามความใน พ.ร.บ. ยา พ.ศ.
2510ฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
ก. การส่งออก ข. การนำเข้ายา
ค. การมียาไว้ในครอบครอง ง. ถูกทุกข้อ
57. ข้อใดไม่จัดเป็นยาแผนโบราณ ตามความหมายใน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ใน
ปัจจุบัน
ก. ยาเขียวหอม ข. ยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร
ค. ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดิน ง. ทั้งข้อ 1,2,3 ไม่ใช่ยาแผนโบราณ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 22

58. นายบุญยิ่ง ต้องการส่งเสริมการขายยาที่ตนผลิต จึงใช้วิธีให้ผู้ซื้อยาของตนแล้วส่งฉลากเขียนชื่อที่อยู่


เพื่อรับรางวัล ให้วินิจฉัยว่าการกระทำของนายบุญยิ่งเป็นความผิดกฎหมายยาหรือไม่อย่างไร
ก. ไม่เป็นความผิดเพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ข. เป็นความผิดในลักษณะโฆษณาขายยาโดยวิธีออกฉลากรางวัล
ค. เป็นความผิดในการโฆษณาขายยาโดยกลฉ้อฉล
ง. เป็นความผิดในการโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
59. ตามความใน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ได้ให้ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยา
ประเภทใดบ้างที่สามารถขายยาแผนโบราณได้
ก. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
ข. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
ค. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาบรรจุเสร็จ
ง. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ หรือผู้รับอนุญาตขายยา
บรรจุเสร็จ
60. ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญผู้รับอนุญาตแจ้งผู้อนุญาต เพื่อรับใบแท
ใบอนุญาต ภายในกี่วัน
ก. 5 วัน ข. 15 วัน ค. 20 วัน ง. 30 วัน
61. ถ้าผู้รับอนุญาตตาย และมีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติอาจเป็นผู้รับอนุญาตได้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.
2510 ต้องแสดงความจำนงต่อผู้อนุญาตภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 7 วัน ค. 30 วัน ง. 25 วัน
62. นาย ก จะทำยาสระผมโดยมีดอกอัญชันเป็นส่วนประกอบและแสดงสรรพคุณบนแลฉลากว่าได้สระ
ผมทำให้สวย กรณีเช่นนี้ยาสระผมดังกล่าวจะจัดเป็นยา ตามความใน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่ มี
ผลบังคับใช้ในปัจจุบันหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. เป็นยา เพราะยาสระผมแสดงสรรพคุณเป็นยา
ข. เป็นยา เพราะยาสระผมจัดเป็นยาแล้ว
ค. เป็นยา เพราะอัญชันเป็นตัวยาสมุนไพร
ง. ไม่เป็นยา เพราะเป็นยาสระผมเป็นเครื่องสำอางและไม่มีการแสดงสรรพคุณที่เป็นยา
63. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนโบราณต้องการ จะ
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่เกินกี่วัน นับแต่วันที่พ้นหน้าที่
ก. 3 วัน ข. 5 วัน ค. 7 วัน ง. 10 วัน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 23

64. นาย เชี่ยวชาญ เป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่ ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ต่อมาต้องการแก้ไข


รายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของฉลากยา กรณีนี้นายเชี่ยวชาญ จะต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตาม
กฎหมายยา
ก. สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นการแก้ไขส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
ข. ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเมื่อมีการแก้ไขแล้ว
ค. ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่
ง. ต้องขอแก้ไขทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะทำได้
65. ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
ก. โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข. โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
ค. โดยผ่านอินเตอร์เน็ท
ง. โดยแสดงภาพ และคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
66. สหกรณ์บ้านนาสาร ได้สนับสนุนให้สมาชิกทำยาฟ้าทะลายโจร โดยนำฟ้ าทะลายโจรมาตากแห้งแล้ว
จำหน่าย กรณีนี้ให้วินิจฉัยว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อนจึงจะขายได้
ข. ต้องขอใช้ฉลากยาก่อนจึงจะขายได้
ค. ต้องขอมีเลขทะเบียนยาก่อนจึงจะทำขายได้
ง. สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากยาสมุนไพร ได้รับยกเว้น
67. การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
ก. การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
ข. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
ค. การโฆษณายาแก้เบาหวาน โดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
ง. การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
68. นายโชคขายยาสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับ
ข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะ
ก. ขายยาแผนโบราณที่เป็นอันตราย
ข. นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ค. ขายยาตำรับอันตราย
ง. ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 24

69. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาต หรือผู้ขอ


ต่ออายุใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันได้รับหนังสือของผู้อนุญาต
แจ้งการไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ก. 15 วัน ข. 20 วัน ค. 25 วัน ง. 30 วัน
70. ผู้ใดผลิตปลอมต้องระวางโทษสถานใด
ก. จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น ถึงห้าหมื่นบาท
ข. จำคุกตลอดชีวิต
ค. จำคุกห้าปี และปรับห้าหมื่นบาท
ง. จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงห้าหมื่นบาท
71. ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือขายยาแผนโบราณ นอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการ
ขายส่ง จะมีโทษสถานใด
ก. ปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาท ถึงสามพันบาท
ข. ปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึงสามพันบาท
ค. ปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท
ง. ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
72. การที่สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันสามารถขายยาแผนโบราณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตการขายยาแผ
โบราณ เพราะเหตุใด
ก. เพราะกฎหมายอนุญาตให้ผู้ที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันซึ่งเป็นผู้ประกอบ
วิชาชีพเภสัชกรรมขายยาแผนโบราณได้
ข. เพราะกฎหมายยกเว้นให้การขายยาแผนโบราณโดยผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน สามารถ
กระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ค. เพราะกฎหมายยกเว้นให้เพราะเป็นการขายยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น
ง. เพราะกฎหมายยกเว้นให้เพราะเป็นยาที่ไม่มีอันตราย
73. นายสมชายเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ทำการแจกยาแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมการขายยา
ใน นิทรรศการ เช่นนี้นายสมชายสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
ค. ได้ เพราะเป็นการแจก ไม่ได้ขายยา
ง. ได้เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 25

74. ข้อใดจัดเป็นยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ. ยา


ก. ยาที่มุ่งหมายสำหรับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
ข. ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
ค. ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกต้องแล้ว
ง. ยาสมุนไพรที่มุ่งหมายใช้บำบัดโรคสัตว์
75. การกระทำต่อไปนี้ข้อใดเป็นการ “ขาย” ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มีผ ล
บังคับใช้ในปัจจุบัน
ก. การขายส่ง
ข. การแจกยาเพื่อการค้า
ค. การมีไว้เพื่อการขาย
ง. ทั้งข้อ 1 , ข้อ 2 และข้อ 3
76. นายวิ บ ู ล ย์ จ ะขายยาแผนโบราณ ที ่ จ ั ง หวั ด นนทบุ ร ี จึ ง ได้ ม ายื ่ น ขอใบอนุ ญ าตที ่ ส ำนั ก งาน
คณะกรรมการอาหารและยาเพื่อให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นผู้อนุญาต ให้
วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
ก. ถูกต้อง เพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้อนุญาตสำหรับการออก
ใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
ข. ถูกต้อง เพราะการอนุญาตสำหรับการขายยาผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการ หรือผู้ว่าราชการ
จังหวัดก็ได้
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจงหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขต
จังหวัดนั้น
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิก า ร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
77. นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ด้วยจะผลิตยาแผนโบราณสูตรซึ่งพบว่า ให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับ
พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่านายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
ข. ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะมีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
ค. ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
ง. ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 26

78. ในพระราชบัญญัตินี้ ยา หมายความว่าอย่างไร


ก. วัตถุที่รับรองไว้ในตำรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ
ข. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์
ค. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดสุขภาพของร่างกายมนุษย์
ง. ถูกทุกข้อ
79. ในพระราชบัญญัตินี้ ยาแผนโบราณหมายความว่าอย่างไร
ก. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
ข. ยาซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ
ค. ยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ
ง. มิมีข้อผิด
80. ยาสามัญประจำบ้าน หมายความว่าอย่างไร
ก. ยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ข. ยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ค. ถูกข้อ ก.
ง. ถูกทุกข้อ
81. ยาสมุนไพร หมายความว่าอย่างไร
ก. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ
ข. ยาที่ได้จากสัตว์ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ
ค. ยาที่ได้จากแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ
ง. ถูกทุกข้อ
82. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้กำหนดข้อห้ามยาแผนโบราณไว้อย่างไร
ก. ห้ามมิให้ผู้ใด ผลิตยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
ข. ห้ามมิให้ผู้ใด ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
ค. ห้ามมิให้ผู้ใด นำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต
ง. ถูกทุกข้อ
83. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ยกเว้นในการผลิต ขาย นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร
ซึ่งยาแผนโบราณไว้อย่างไร
ก. การผลิตยาแผนโบราณของทางราชการเพื่อป้องกัน หรือบำบัดโรค
ข. การปรุงยาโดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนไทยเพื่อขายให้กับคนไข้ตามที่รัฐมนตรีประกาศ
ค. การขายยาแผนโบราณบรรจุเสร็จในร้อนขายยาแผนปัจจุบัน หรือร้านบรรจุเสร็จ
ง. ถูกทุกข้อ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 27

84. ประเภทใบอนุญาตสำหรับยาแผนโบราณที่มิมีตามพระราชบัญญัตินี้ คือ


ก. ใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ
ข. ใบอนุญาตขายยาแผนโบราณ
ค. ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักร
ง. ใบอนุญาตจัดยาแผนโบราณ
85. ใบอนุญาตสำหรับยาแผนโบราณ มีอายุการใช้เท่าใด
ก. มีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ได้ใบอนุญาต
ข. มีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต
ค. มีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ถัดไปที่ออกใบอนุญาต
ง. ถูกทุกข้อ
86. ข้อใดเป็นอำนาจ และหน้าที่ที่ถูกต้องของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510
ก. เข้าไปในสถานที่ผลิตยาในระหว่างเวลาทำการ
ข. นำยาในปริมาณเท่าไรก็ได้ตามความต้องการ เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์
ค. ไม่จำเป็นต้องประกาศผลวิเคราะห์ยาให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่พบว่าเป็นยาไม่ปลอดภัย
ง. ไม่มีข้อใดถูก
87. ยาที่ผลิตขึ้นมีขนาด หรือความแรงของสารออกฤทธิ์ ขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบ จากเกณฑ์ต่ำสุด
เรียกยานี้ว่าอะไร
ก. ยาเสื่อมคุณภาพ ข. ยาผิดมาตรฐาน
ค. ยาปลอม ง. ยาที่ทะเบียนตำรับถูกยกเลิก
88. ยาที่แสดงว่าเป็นยาตามตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งมิใช่ความจริงหมายถึงยาอะไร
ก. ยาเสื่อมคุณภาพ ข. ยาผิดมาตรฐาน
ค. ยาปลอม ง. ยาที่ทะเบียนตำรับถูกยกเลิก
89. การต่อใบอนุญาตสำหรับยาแผนโบราณ จะกระทำมิได้เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุเท่าใด
ก. เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว 28 วัน ข. เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว 30 วัน
ค. เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว 31 วัน ง. เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว 1 เดือน
90. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์อย่างไร
ก. มีสิทธิอุทธรณ์ เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน
ข. มีสิทธิอุทธรณ์ เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วัน
ค. มีสิทธิอุทธรณ์ เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการยาภายใน 30 วัน
ง. มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย ภายใน 30 วัน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 28

91. ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ผู้รับอนุญาตยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในกี่วัน


ก. 7 วัน ข. 30 วัน ค. 15 วัน ง. 30 วัน
92. ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ผู้รับอนุญาตยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน
93. ในกรณีผู้มีหน้าที่ของผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ประจำสถานที่ขายยา
ก. ควบคุมการทำบัญชียาตาม พ.ร.บ. นี้
ข. ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากตาม พ.ร.บ. นี้
ค. ควบคุมการขายให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. นี้
ง. การอื่นที่กำหนดใดกฎกระทรวง
94. ข้อใดมิใช่หน้าที่ของผู้ประกอบ โรคศิลปะแผนโบราณ ประจำสถานที่ขายยา
ก. ควบคุมการทำบัญชียาตาม พ.ร.บ. นี้
ข. ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากตาม พ.ร.บ. นี้
ค. ควบคุมการขายให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. นี้
ง. การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
95. ในกรณีผู้ปฏิบัติการไม่อยู่หนึ่งวัน ณ สถานที่ขายยา ให้ท่านไปปฏิบัติการแทน ซึ่งท่านก็เป็นผู้ประกอบ
โรคศิลปะเหมือนกัน จะทำได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเหมือนกัน
ข. ไม่ได้ เพราะผิด พ.ร.บ. นี้
ค. ได้ เพราะเป็นการแทนชั่วคราว
ง. ไม่ได้ เพราะมีความรู้ไม่เหมือนกันในการปฏิบัติ
96. ห้ามมิให้ผู้ใด ผลิต ขาย นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรในข้อใด
ก. ยาปลอม ยาผิดมาตรฐาน ยาเสื่อมคุณภาพ
ข. ยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
ค. ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา
ง. ถูกทุกข้อ
97. ข้อใดไม่ใช่ยาผิดมาตรฐาน คือ
ก. ยาที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
ข. ยาที่ผลิตขึ้นโดยความบริสุทธิ์ หรือลักษณะที่ผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดในตำรับยา
ค. ยาที่ผลิตขึ้นตามตำรับยาที่รัฐมนตรีสั่งแก้ไข
ง. ยาที่แสดงชื่อยาอื่นซึ่งมิใช่ความจริง
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 29

98. ยาเสื่อมคุณภาพ คือ


ก. ยาที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลาก
ข. ยาที่แปรสภาพมีลักษณะเช่นเดียวกับยาปลอม
ค. ยาที่แปรสภาพมีลักษณะเช่นเดียวกับยาผิดมาตรฐาน
ง. ถูกทุกข้อ
99. การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาต้องแจ้งรายละเอียดอย่างไร
ก. ชื่อยา ชื่อและปริมาณของวัตถุอันเป็นส่วนประกอบ
ข. ขนาดบรรจุ วิธวี ิเคราะห์มาตรฐานของยา
ค. ฉลาก เอกสารกำกับยา รายการอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
ง. ถูกทุกข้อ
100. ในกรณียาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วแต่ไม่ได้ผลิต จะถูกยกเลิกในเวลาเท่าใด
ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 3 ปี ง. 4 ปี
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 30

แนวข้อสอบใบประกอบวิชขาชีพการแพทย์แผนไทย ขั้นตอนที่ 1
แนวข้อสอบ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541

1. ตามพระราชบัญญัตินี้ “สถานพยาบาล” หมายความว่า


ก. สถานที่หรือยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะ
ข. สถานที่ซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ค. สถานที่ซึ่งจัดไว้ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลผดุงครรภ์
ง. สถานที่ซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบวิชาชีพทันตกรรม
2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลใช้ได้จนถึงวันปีอะไร นับแต่วันออกใบอนุญาต และ ต้อง
ชำระค่าธรรมเนียมปีละเท่าใด
ก. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทิน ค่าธรรมเนียม 200 บาท
ข. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าธรรมเนียม 250 บาท
ค. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่ห้า ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ง. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สิบ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลใช้ได้จนถึงวันปีอะไร นับแต่วันอกใบอนุญาต และต้องชำระ ค่า
ต่ออายุใบอนุญาตเท่าใด
ก. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาต 200 บาท
ข. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาต 250 บาท
ค. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาตปีละ 200 บาท
ง. ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาตปีละ 250 บาท
4. ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติ ใน
กรณีใดบ้าง
ก. ในกรณีขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้
ข. ในกรณีถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบประกอบโรคศิลปะหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ค. ในกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ผู้อนุญาตเห็นว่าเป็นกรณีร้ายแรง
ง. ถูกทุกข้อ
5. ในกรณีผู้ร ับอนุญาตไม่แ สดงใบอนุญาต หรือรายละเอี ยด เช่น ชื่อสถานพยาบาลอัตราค่า รั ก ษา
ค่าบริการ สิทธิของผู้ป่วย ไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลของตน ต้องระวางโทษ อย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ข. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ง. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 31

6. ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยมิได้ใ ห้มีผู้ดำเนินการเป็น ผู้มีหน้า ที่ค วบคุมดูแ ล


รับผิดชอบในการดำเนินการสถานพยาบาล ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. ผู้ดำเนินการไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดสาขาชั้นหรือ
แผน หรือให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ต้องระวางโทษ
อย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. บุคคลซึ่งประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9. ลักษณะโครงสร้างสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย มีลักษณะโครงสร้างเฉพาะอย่างไร
ก. มีความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการในการประกอบวิชาชีพ
ข. มีความปลอดภัยต่อผู้รับบริการในการประกอบวิชาชีพ
ค. มีความสะดวกและความเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพ
ง. ถูกทุกข้อ
10. อาคารที่ใช้สอยของสถานพยาบาล หรือคลินิกการแพทย์แผนไทย ต้องมีลักษณะทั่วไปอย่างไร
ก. ตั้งอยู่ในทำแลที่สะดวก ข. ตั้งอยู่ในที่มีความปลอดภัย
ค. ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ง. ถูกทุกข้อ
11. สมุดจดทะเบียนสถานพยาบาล หมายความว่า
ก. สมุดแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
ข. สมุดแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
ค. สมุดที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
ง. ถูกทุกข้อ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 32

12. ในการเข้าไปตรวจสถานพยาบาลของพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงหลักฐานอะไร


ก. สมุดจดทะเบียนคนไข้ ข. สมุดจดเวลาผู้ปฏิบัติการ
ค. สมุดทะเบียนสถานพยาบาล ง. ถูกทุกข้อ
13. ผู้รับอนุญาตต้องแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลไว้ที่ไหนถึง
ถูกต้องตามกำหนดในกฎกระทรวง
ก. ต้องเก็บไว้กับสมุดจดทะเบียนสถานพยาบาล
ข. ปิดไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ชัดเจนบริเวณทางเข้าสถานพยาบาล
ค. ปิดไว้ที่โต๊ะทำงานผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
ง. ปิดไว้หลังใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
14. คลินิกการแพทย์แผนไทยต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพ อย่างไร
ก. ผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเวชกรรมไทย
ข. ผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทผดุงครรภ์ไทย
ค. ผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทการนวดไทย
ง. ถูกทุกข้อ
15. สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย มีเตียงรับผู้ป่วยไม่เกินเท่าใด ต้องมีผู้ประกอบโรคศิลปะกี่คน ข้อใด
ไม่ถูกต้อง
ก. ไม่เกิน 10 เตียง ผู้ประกอบวิชาชีพ 2 คน
ข. มีเตียงรับผู้ป่วย 11 ถึง 30 เตียง มีผู้ประกอบวิชาชีพ 4 คน
ค. มีเตียงรับผู้ป่วย 31 ถึง 60 เตียง มีผู้ประกอบวิชาชีพ 6 คน
ง. มีเตียงรับผู้ป่วย 61 ถึง 100 เตียง มีผู้ประกอบวิชาชีพ 8 คน
16. สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย ต้องจัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ อย่างไร
ก. เครื่องมือการตรวจวินิจฉัยตามสาขาการประกอบโรคศิลปะของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
ข. กรณีมีการอบสมุนไพร ต้องมีอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์
ค. กรณีที่มีการนวด จำนวนเตียงที่ใช้บริการนวดต้องเป็นสัดส่วน 2 เตียง ต่อผู้ประกอบศิลปะ
1 คน
ง. ถูกทุกข้อ
17. ผู้ประกอบโรคศิลปะเวชกรรมไทย มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอะไรบ้าง
ก. คลินิกการแพทย์แผนไทย
ข. สหคลินิกที่ให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ค. สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ง. ถูกทุกข้อ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 33

18. การจัดทำป้ายชื่อสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยต้องทำอย่างไร
ก. แผ่นป้ายมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 40 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 120 ซม.
ข. ตั ว อั ก ษรแสดงชื ่ อ สถานพยาบาลสู ง ไม่ น ้ อ ยกว่ า 10 ซม. ตั ว อั ก ษรแสดงประเภท เลขที่
ใบอนุญาตมีความสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม.
ค. สีของพื้นแผ่นป้ายสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน
ง. ถูกทุกข้อ
19. ผู้รับอนุญาตต้องแสดงป้ายชื่อสถานพยาบาล อย่างไร
ก. แสดงในบริเวณสถานพยาบาล โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก
ข. แสดงที่ตัวอาคารสถานพยาบาล โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก
ค. ถูกข้อ 1
ง. ถูกทุกข้อ
20. ผู ้ ร ั บ อนุ ญ าตสถานพยาบาลการแพทย์ แ ผนไทยต้ อ งแสดงรายละเอี ย ดผู้ ป ระกอบโรคศิ ล ปะใน
สถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตอย่างไร
ก. จัดทำป้ายแสดงชื่อ สกุล สาขาวิชาชีพ เลขที่ใบอนุญาต ตัวอักษรไทยสูง ไม่น้อยกว่า 1 ซม.
ข. ในกรณีเป็นคลินิก ให้แสดงรูปถ่ายไม่เกิน 1 ปี มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 8 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 13
ซม.
ค. สีของพื้นป้ายให้ใช้สีน้ำเงิน ตัวอักษรสีขาว
ง. ถูกทุกข้อ
21. ผู้รับอนุญาตแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยไว้อย่างไร
ก. ต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล
ข. โดยจัดทำแผ่นป้ายให้อ่านได้ชัดเจนด้วยอักษรไทย
ค. ขนาดความสูงของตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 1 ซม.
ง. ถูกทุกข้อ
22. ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับผู้ป่วยอย่างไร
ก. ชื่อ นามสกุล อายุผู้ป่วย ข. เลขที่ประจำตัวผู้ป่วย
ค. วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ ง. ถูกทุกข้อ
23. บัตรผู้ป่วยนอก ที่บันทึกรายละเอียดกับผู้ป่วยที่มารับบริการอย่างไร
ก. ชื่อสถานพยาบาล เลขที่บัตรประจำตัวผู้ป่วย วันเดือนปี ที่มารับบริการ
ข. ชื่อ นามสกุล เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน
ค. ประวัติการป่วย การวินิจฉัย การรักษา ลายมือผู้ประกอบวิชาชีพผู้ให้การรักษา
ง. ถูกทุกข้อ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 34

24. ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดทำรายงานประจำปีอย่างไร
ก. จัดทำรายงานให้เป็นไปตามปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายวันที่ 31 มี.ค. ของปีถัดไป
ข. สถานพยาบาลในกรุงเทพฯ ให้ยื่น ณ กองการประกอบโรคศิลปะ
ค. สถานพยาบาลต่างจังหวัด ให้ยื่น ณ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่
ง. ถูกทุกข้อ
25. ถ้าผู้ดำเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน 7 วัน ผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้
บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติ ม. 25 ดำเนินการแทนได้ไม่เกินกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 60 วัน ค. 90 วัน ง. 15 วัน
26. การกระทำในข้อใดที่ผู้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการเสมือนการขออนุญาตประกอบกิจการ
สถานพยาบาลใหม่
ก. เปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ข. เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
ค. เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่ ง. ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
27. ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษ
ประการใด
ก. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
28. เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิกแพทย์ สิ่งสำคัญที่ท่านควรจะต้องตรวจสอบในคลินิก
นั้นคืออะไร
ก. ป้ายชื่อคลินิกตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
ข. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
ค. วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือคุณวุฒิของแพทย์
ง. อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์
29. สมศรีมีความประสงค์จ ะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผู้อนุญาตไม่ยอมออก
ใบอนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
ก. อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข. อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาสุข
ค. อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี ง. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 35

30. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตรง
ตามข้อใด
ก. ฉบับละ 2,000 บาท ข. ฉบับละ 1,000 บาท
ค. ฉบับละ 500 บาท ง. ฉบับละ 200 บาท
31. กรณีใดที่โรงพยาบาลเอกชนสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงที่ขออนุญาตไว้ได้
ก. มีโรคระบาดรุนแรง ข. มีผู้ป่วยมารักษาจำนวนมาก
ค. กรณีมีอุบัติเหตุกับคนหมู่มาก ง. กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับ ไว้ผู้ป่วยอาจมีอันตราย
32. นายแพทย์ศรราม เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต้องเดินทางไต่าง
ประเทศเพื่อศึกษาดูงานเป็นเวลา 60 วัน นายแพทย์ศรรามจะต้องดำเนินการอย่างไรกับโรงพยาบาลที่ตน
เป็นผู้ดำเนินการอยู่
ก. ไม่ต้องทำอย่างไร เพราะไปต่างประเทศไม่เกิน 90 วัน
ข. ต้องมอบหมายให้ผู้รับอนุญาตเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนชั่วคราว
ค. แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ เพื่อให้คณะกรรมการสถานพยาบาลเข้ามาดูแลโรงพยาบาลนั้น
ง. ต้องมอบหมายให้ผู้อื่นที่มีคุณสมบัติครบมาดำเนินการแทนตน แล้วแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ
33. ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลมีอายุ
ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 3 ปี ง. 10 ปี
34. แพทย์หญิงพรทิพย์ เปิดคลินิกส่วนตัว ตนเองเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมาย และได้รับ
อนุญาตเป็นผู้ดำเนินการโรงพยาบาลเอกชน (รับผู้ป่วยค้างคืน) อีกหนึ่งแห่ง แพทย์หญิงพรทิพย์มีความ
ประสงค์จะขอเปิดคลินิกส่วนตัวอีก 1 แห่ง จะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ได้ เพราะจะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเกิน 2 แห่ง
ข. ไม่ได้ เพราะแพทย์หญิงพรทิพย์จะกลายเป็นผู้เปิดคลินิก 2 แห่ง
ค. ได้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยค้างคืนเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ง. ได้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยคางคืนไม่เกิน 2 แห่ง
35. วันที่ 27 สิงหาคม 2544 นายสุชาติ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิ จการสถานพยาบาล ใบอนุญาตนี้จะ
หมดอายุเมื่อใด
ก. 26 สิงหาคม 2545 ข. 31 ธันวาคม 2545
ค. 26 สิงหาคม 2553 ง. 31 ธันวาคม 2553
36. คณะกรรมการสถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ใดตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 3 ปี ง. ไม่กำหนดวาระ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 36

37. คำว่า ผู้อนุญาต ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หมายความว่า


ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
ค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ปลัดมอบหมาย
ง. อธิบดีกรมการแพทย์
38. ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจำนงเพื่อขอประกอบกิจการต่อ ต้องแสดงความจำนงต่อ
ผู้อนุญาตภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
ก. ภายใน 7 วัน ข. ภายใน 15 วัน
ค. ภายใน 30 วัน ง. ภายใน 45 วัน
39. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลมีอายุ
ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 10 ปี ง. ไม่มีอายุ
40. สถานพยาบาล หมายความว่า
ก. สถานที่จัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะโดยตรง
ข. สถานที่จัดไว้เพื่อช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วย ตามกฎหมาย
ค. สถานที่จัดไว้เพื่อรักษาผู้ป่วย ตามกฎหมาย
ง. สถานที่รวมถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายโดยกระทำเป็นปกติ
ธุระ
41. การต่อใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ต่อเมื่อใด
ก. ก่อนสิ้นปีปฏิทิน ของปีที่ 10 ข. หลังสิ้นปีปฏิทิน ของปีที่ 10
ค. ก่อนสิ้นปีปฏิทิน ของปีที่อนุญาต ง. หลังสิ้นปีปฏิทิน ของปีที่อนุญาต
42. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องไม่เป็นโรคใด ตามประกาศกระทรวง
สาธารณสุข ฉบับที่ 2/2541
ก. โรคพิษสุราเรื้อรัง ข. โรคติดยาเสพติดให้โทษ
ค. โรคจิต ง. กามโรค
43. ผู้ใดมีหน้าที่ดูแลมิให้มีการประกอบวิชาชีพผิดสาขา หรือชั้นในสถานพยาบาลแต่ละแห่ง
ก. ผู้รับอนุญาตให้จัดการสถานพยาบาล ข. คณะอนุกรรมการสถานพยาบาล
ค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ง. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
44. เมื่อผู้รับอนุญาตตายในทางกฎหมายสถานพยาบาลจะต้องเลิกกิจการหรือไม่
ก. ไม่ ถ้ามีผู้แสดงความจำนงเป็นผู้รับอนุญาตแทน
ข. ต้องเลิกกิจการทันที
ค. ไม่ต้องเลิกกิจการ ถ้ายังไม่สิ้นอายุใบอนุญาต
ง. ต้องเลิกกิจการ ถ้าไม่มีการประกอบกิจการ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 37

45. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตรงตาม


ข้อใด
ก. ฉบับละ 200 บาท ข. ฉบับละ 500 บาท
ค. ฉบับละ 100 บาท ง. ผิดหมดทุกข้อ (ฉบับละ1,000)
46. คำว่า ผู้อนุญาต ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หมายความว่า
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
ค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ที่ปลัดมอบหมาย
ง. อธิบดีกรมการแพทย์
47. ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
ก. เข้าไปในสถานพยาบาล ในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
ข. เข้าไปในสถานพยาบาลได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
ค. ทำการจับกุมผู้รับอนุญาตมาควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
ง. ริบบรรดาเอกสาร หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
48. ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษ
ประการใด
ก. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
49. ผู้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ก. แม่ชีจิตอายุ 70 ปี
ข. นางสาวใจอยู่ที่ประเทศอเมริกา
ค. นายจืดขับรดประมาทชนคนบาดเจ็บสาหัส ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หนึ่งปี
ง. นายจุกเสียการพนันฟุตบอลไปจนมีหนี้สินรุงรัง
50. กรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7 (2)
มีจำนวนกี่คน
ก. ไม่เกิน 3 คน ข. ไม่เกิน 4 คน
ค. ไม่เกิน 2 คน ง. ไม่เกิน 5 คน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 38

51. นายทรงเป็นกรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีใด


ก. ป่วยเป็นโรคหัวใจ รอการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาล
ข. ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในจำนวน 4 พันล้านบาท
ค. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือนในความผิดลหุโทษ
ง. พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
52. ในกรณีผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลแล้วขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น
กำหนดกี่ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 3 ปี ง. 4 ปี
53. ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้อง
ระวางโทษสถานใด
ก. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน เกิน
สองหมื่นบาท
ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
54. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตรง
ตามข้อใด
ก. ฉบับละ 2,000 บาท ข. ฉบับละ 1,000 บาท
ค. ฉบับละ 500 บาท ง. ฉบับละ 200 บาท
55. การกระทำในข้ อ ใดที ่ ผ ู ้ ร ั บ อนุ ญ าตจะต้ อ งดำเนิ น การเสมื อ นการขออนุ ญ าตประกอบกิ จ การ
สถานพยาบาลใหม่
ก. เปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ข. เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
ค. เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่ ง. ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
56. ผู้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ก. นายแก่อายุ 90 ปี
ข. นายอ่อนป่วยเป็นโรคความดันสูง
ค. นายพลาดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งปีในความผิดทำให้คนตายโดย
ประมาท
ง. นาย จ. ดื่มสุราเป็นอาจิณ จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
57. ผู้ที่มีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. คณะกรรมการ ง. อนุกรรมการ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 39

58. สมศรีมีความประสงค์จ ะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผู้อนุญาตไม่ยอมออก


ใบอนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
ก. อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ข. อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ค. อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี
ง. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
59. คณะกรรมการสถานพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ในข้อใด
ก. ออกกฎหมายกระทรวงหรือประกาศ
ข. ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
ค. ควบคุมหรือพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการสถานพยาบาล
ง. ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล
60. ผู้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามกรณีเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ก. นายเก่งอายุ 20 ปีบริบูรณ์
ข. นายกล้าทำร้ายร่างกายนายไก่จนได้รับบาดเจ็บ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือน
ค. นายกุ้งป่วยเป็นโรคอัมพาต
ง. นายก้างมีบ้านพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดร้านอาหารอยู่ที่เวียดนาม
61. ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลมิได้จัดให้มีผู้ดำเนินการ ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท จนกว่าจะ
จัดให้มีผู้ดำเนินการ
62. ถ้าผู้ดำเนินการพ้นจากหน้าที่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน 7 วัน ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้
อนุญาตทราบภายในกี่วัน
ก. 3 วัน ข. 7 วัน ค. 15 วัน ง. 30 วัน
63. ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาต มีสิทธิ์
อุทธรณ์ต่อใคร
ก. คณะกรรมการสถานพยาบาล
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ง. นายกรัฐมนตรี
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 40

64. ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาต หรือผู้ดำเนินการแล้วแต่


กรณีแจ้งต่อผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 30 วัน ง. 60 วัน
65. ถ้าผู้รับอนุญาตเรียกเก็บเงิน หรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล หรือค่าบริการอื่นเกิน
อัตราที่ได้แสดงไว้ หากฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินเท่าไหร่
ก. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ข. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ค. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ง. ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
66. ผู้ดำเนินการมีหน้าที่ควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจาก
สาขาชั้น หรือแผนที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ หรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ กระทำการใน
สถานพยาบาลหากฝ่าฝืนจะต้องรับโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
67. ถ้าผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภท หรือผิดลักษณะการ
ให้บริการที่ระบุไว้ในใบอนุญาต จะต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ข. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
68. หากผู้รับอนุญาต หรือผู้ดำเนินการ โฆษณาโอ้อวดเกินความเป็นจริง หรือใช้ข้อความอันเป็นเท็จ จะมี
โทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 20,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 40,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท
69. หากผู้ ร ับอนุญาตเปลี่ ยนแปลงการประกอบกิจ การของสถานพยาบาลแตกต่า งจากที่ร ะบุไ ว้ ใ น
ใบอนุญาต หรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่หรือดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หากฝ่าฝืนจะ
มีโทษปรับไม่เกินเท่าไหร่
ก. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท ข. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ง. ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 41

70. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตาม ม. 18 (4) ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็น


หนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกี่วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ก. ภายใน 3 วัน ข. ภายใน 7 วัน
ค. ภายใน 15 วัน ง. ภายใน 30 วัน
71. ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะ
ปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน
ค. 30 วัน ง. 60 วัน
72. ในคำถามข้อที่ 71. หากผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามและฝ่าฝืนต้องปรับไม่เกิน
ก. 1,000 บาท ข. 2,000 บาท
ค. 10,000 บาท ง. 20,000 บาท
73. ให้ผู้อนุญาตจัดหาพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาล และการประกอบกิจการของ
สถานพยาบาล ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. โดยสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าสถานพยาบาลตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้
ยา นั้นมีลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล หรือใกล้เคียงหากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนจะมี
โทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง.จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
74. ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
ก. เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
ข. เข้าไปในสถานพยาบาลได้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
ค. ทำการจับกุมผู้รับอนุญาตควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
ง. ริบบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องการกระทำผิด
75. ถ้าผู้รับอนุญาตตาย และมีบุคคลแสดงความจำนงเพื่อขอประกอบกิจการต่อต้องแสดงความจำนงต่อ
ผู้อนุญาตภายในกี่วัน นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
ก. ภายใน 7 วัน ข. ภายใน 15 วัน ค. ภายใน 30 วัน ง. ภายใน 45 วัน
76. กฎหมายที่ใช้บังคับกับสถานที่ที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะฉบับแรกคือ
ก. พระราชบัญญัติควบคุมสถานพยาบาล พ.ศ. 2484
ข. พระราชบัญญัติควบคุมสถานพยาบาล พ.ศ. 2485
ค. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2484
ง. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2466
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 42

77. ในกรณี ผู้รับอนุญาต หรือผู้ดำเนินการ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ หรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือ


บุคคลใดซึ่งอยู่ในสถานพยาบาล ไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท ข. ปรับไม่เกิน สองพันบาท
ค. ปรับไม่เกิน สามพันบาท ง. ปรับไม่เกิน สี่พันบาท
78. ผู้รับอนุญาตเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จากผู้อนุญาต ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน สองพันบาท ข. ปรับไม่เกิน สี่พันบาท
ค. ปรับไม่เกิน หกพันบาท ง. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
79. ในกรณีผู้ดำเนินการพ้นจากหน้าที่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน 7 วัน ผู้รับมอบหมายให้
ดำเนินการแทนไม่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการแทน ต้องระวาง
โทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท ข. ปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
ค. ปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท ง. ปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท
80. ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาต หรือผู้ดำเนินการไม่แจ้งผู้
อนุญาต และยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหายหรือถูกทำลายต้องระวางโทษ
อย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน ห้าพันบาท ข. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ค. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นห้าบาท ง. ปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
81. ในกรณีผู้ดำเนินการไม่ควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัยและมีลักษณะอัน
เหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท ข. ปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
ค. ปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท ง. ปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท
82. ในกรณีผู้รับอนุญาตไม่ให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่แสดงไว้ ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกินห้าพันบาท ข. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
ค. ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นห้าบาท ง. ปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
83. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการที่ออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคล
ใดบุคคลหนึ่งมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการ พิจารณา
ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 43

84. ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการ ซึ่งผู้อนุญาตมีคำสั่งให้สถานพยาบาลนั้น


อยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ตามที่เห็นสมควร ต้องระวางโทษ อย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 2 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
85. ผู้รับอนุญาต หรือผู้ดำเนินการโฆษณา หรือประกาศยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณา หรือประกาศด้วยประการ
ใดๆ ชื่อ ที่ต ั้ง หรือกิจ การสถานพยาบาล หรือคุณ วุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพ ใน
สถานพยาบาล เพื่อชักชวนให้มีผู้รับบริการ โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือโอ้อวดเกินความจริงหรือน่าจะ
ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับ การประกอบกิจการของสถานพยาบาล โดย ฝ่าฝืนคำสั่ง
เป็นหนังสือให้ผู้โฆษณา หรือประกาศระงับการกระทำดังกล่าว ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 2 เดือน หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
86. ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะสถานพยาบาล และประกอบกิจการสถานพยาบาลพบว่า
สถานพยาบาลตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลนั้นมีลักษณะก่อให้เกิด
อันตรายต่อผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาล โดยฝ่าฝืนคำสั่งผู้อนุญ าตให้
ผู้รับอนุญาตปรับปรุงให้เหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 2 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
87. เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ โดยฝ่าฝืนคำสั่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้าง
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถูกต้อง ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 44

88. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 บังคับใช้เมื่อไร


ก. วันที่ 18 พ.ค. 2541 ข. วันที่ 19 พ.ค. 2541
ค. วันที่ 24 มี.ค. 2541 ง. วันที่ 25 มี.ค. 2541
89. ก่อนที่จะประกาศใช้ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ยกเลิกพ.ร.บ. อะไร เมื่อใด
ก. พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2504
ข. พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2500
ค. พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2520
ง. พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
90. สถานพยาบาลในข้อใดที่ไม่ต้องอยู่ในข้อบังคับตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
ก. รพ. ราชวิถี ข. รพ.พญาไท ค. รพ. เดชา ง. รพ. สมิติเวช
91. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่ถูกต้อง
ก. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ข. ยกเว้นค่าธรรมเนียม
ค. ออกพระราชบัญญัติ ง. ออกกฎกระทรวง
92. ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสถานพยาบาล ที่มาโดยตำแหน่ง
ก. อธิบดีกรมสุขภาพจิต ข. อธิบดีกรมอนามัย
ค. อธิบดีกรมการแพทย์ ง. อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
93. คณะกรรมการสถานพยาบาลในปัจจุบันมีผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ โดยคำแนะนำ
ของสภาวิชาชีพจำนวนกี่คน
ก. 5 คน ข. 6 คน ค. 7 คน ง. 8 คน
94. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล สามารถเข้าไปเป็นกรรมการสถานพยาบาลโดยวิธีใด
ก. ประธานกรรมการสถานพยาบาลแต่งตั้ง ข. ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
ค. รัฐมนตรีแต่งตั้ง ง. นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
95. ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการสถานพยาบาลพ้นจากตำแหน่งแต่วาระที่เหลืออยู่อีก 60
วัน รัฐมนตรีจะใช้อำนาจอย่างไร
ก. รัฐมนตรีไม่แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิคนใหม่ให้เป็นกรรมการแทน
ข. รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายใน 30 วัน
ค. รัฐมนตรีต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายใน 60 วัน
ง. รัฐมนตรีต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายใน 7 วัน
96. การแบ่งประเภทของสถานพยาบาลออกเป็น 2 ประเภท เป็นการกำหนดโดยกฎหมายระดับใด
ก. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ค. กฎกระทรวงสาธารณสุข ง. พระราชบัญญัติ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 45

97. แผนงานการจัดตั้งสถานพยาบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของกฎหมายระดับใด


ก. ระเบียบกระทรวง ข. ประกาศกระทรวง
ค. กฎกระทรวง ง. พระราชบัญญัติ
98. ลักษณะสถานพยาบาล ใช้หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายระดับใด
ก. ระเบียบกระทรวง ข. ประกาศกระทรวง
ค. กฎกระทรวง ง. พระราชกฤษฎีกา
99. การชำระค่าธรรมเนียมประกอบกิจการสถานพยาบาลประจำปี หากไม่ชำระตามที่กฎหมายกำหนด
ก. 4 เดือน ข. 5 เดือน ค. 6 เดือน ง. 7 เดือน
100. สิทธิของผู้ป่วยที่แสดงในสถานพยาบาล เป็นอำนาจประกาศกำหนดโดยผู้ใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ค. กรรมการสถานพยาบาล ง. ผู้รับอนุญาตสถานพยาบาล
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 46

ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (อาจารย์สุรศักดิ์ สิงห์ชัย พิษณุโลก)


1. ระบบโครงกระดูก ( skeletal system) ของมนุษย์มีกี่ชิ้น
1. 602 ชิ้น
2. 206 ชิ้น
3. 260 ชิ้น
4. 260 ชิ้น
2. หน้าที่ของกระดูกที่สำคัญคือ
1. เป็นโครงของร่างกาย
2. ป้องกันอวัยวะสำคัญ เช่น กระโหลกศีรษะป้องกันสมองแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง โดยสร้างจาก
ไขกระดูก“Bone Marrow”
3. แหล่งสะสมแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลเซี่ยมฟอสเฟต
4. ถูกทุกข้อ
3. ข้อต่อไปนี้ผิด กระดูกแกนกลาง(Axial skeleton) คือ (ยกเว้น)
1. กระดูกแขน(Humerus)
2. กระดูกขา(Femur)
3. กระดูกซี่โครง(Ribs)
4. กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)
4. กระดูกระยางค์ (Appendicular skeleton) ประกอบไปด้วย..(ยกเว้น)
1. กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)
2. กระดูกต้นแขน (Humerus)
3. กระดูกต้นขาขา (Femur)
4. กระดูกซี่โครง (Ribs)
5. ข้อต่อไปนี้คือกระดูกแข็ง (compact bones)
1. กระดูกต้นขาขา (Femur)
2. กระดูกอ่อนไฮอะลีนหรือกระดูกอ่อนขาว (Hyaline cartilage)
3. กระดูกอ่อนใบหู และ ฝาปิดกล่องเสียง
4. กระดูกหมอนกระดูกสันหลัง และข้อต่อหัวหน่าว
6. การแบ่งตามลักษณะรูปร่างของกระดูก ดังนี้
1. กระดูกยาว (Long bones)
2. กระดูกสั้น (Short bones)
3. กระดูกแบน (Flat bones)
4. ถูกทุกข้อ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 47

7. กระดูกสันหลังช่วงอก(Thoracic Vertebrae) มี ทั้งหมดกี่ชิ้น


1. มี 5 ชิ้น
2. มี 12 ชิ้น
3. มี 7 ชิ้น
4. มี 4 - 5 ชิ้น
8. กระหม่อมด้านหน้า (Anterior fontanel)จะมีกระดูกหน้าผากและกระดูกด้านข้างศรีษะมาต่อกัน เป็น
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กระหม่อมนี้จะปิดตอนอายุ เท่าไร
1. อายุ 14 เดือน
2. อายุ 34 เดือน
3. อายุ 24 เดือน
4. อายุ 4 เดือน
9. ลักษณะการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ(Cervical Vertebrae) ดังนี้
1. พยักหน้าใช้กระดูกกะโหลกศรีษะและกระดูกคอระหว่างชิ้นที่ 1
2. เอียงคอไปด้านซ้ายและด้านขวาใช้กระดูกคอทั้ง 5 ชิ้น
3. ส่ายหน้าใช้กระดูกคอระหว่างชิ้นที่ 6 และ 2
4. หันหน้าไปทางซ้ายและทางขวาใช้กระดูกคอชิ้นที่ 4 ชิ้น
10. กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)ส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ
1. กระดูกสันหลังช่วงอก(Thoracic Vertebrae)
2. กระดูกสันหลังช่วงคอ (Cervical Vertebrae)
3. กระดูกสันหลังช่วงเอว(Lumbar Vertebrae)
4. กระดูกกระเบนเหน็บ(Sacrum)
11. ส่วนประกอบของกระดูก (Bone composition) คือดังนี้
1. คือ กระดูกทึบ (Compact bone or Dense bone)
2. กระดูกโปร่ง (Spongy bone or Cancellous bone)
3. กระดูกสั้น (Short bones)
4. ข้อ 1 และ ข้อ 2 ถูก
12. กระดูกหน้าอก(Sternum)มีกระดูกกี่ชิ้น
1. มีกระดูก 1 ชิ้น
2. มีกระดูก 2 ชิ้น
3. มีกระดูก 3 ชิ้น
4. มีกระดูก 4 ชิ้น
13. ข้อต่อไปนี้คือกระดูกสะบัก
1. Clavicle
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 48

2. Radius
3. Scapula
4. Ulna
14. กระดูกเชิงกรานคือข้อต่อไปนี้
1. Femur
2. Patella
3. Tibia
4. Ilium
15. การเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกได้ระนาบเดียว (แบบบานพับ) Hinge joint คือ..
1. ข้อศอก ข้อเข่า
2. ข้อมือ กระดกขึ้น - ลง เอียงซ้าย – ขวา
3. ข้อไหล่ ข้อสะโพก กางออก – หุบเข้า หมุนเข้าใน – หมุนออกนอก
4. ไม่ข้อถูก
16. กล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจสั่งการของจิตใจคือ....
1. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cadiac muscle)
2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)
3. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle)
4. ถูกทุกข้อ
17. คุณสมบัติของกล้ามเนื้อมีดังนี้ (ยกเว้น)
1. มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า คือ สามารถรับและตอบสนองต่อสิ่งเร้า
2. มีความสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้น หนา และแข็งได้
3. มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity)
4. เป็นโครงสร้างของร่างกาย
18. ส่วนประกอบของกล้ามเนื้อคือ
1. น้ำประมาณ 75 %
2. โปรตีนประมาณ 10 %
3. เกลือแร่ / ไกลโคเจน / และไขมัน ประมาณ 5 %
4. ถูกทุกข้อ

20. กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมด จะมีอยู่ประมาณ ….. มัด


1. มีทั้งหมด 972 มัด
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 49

2. มีทั้งหมด 927 มัด


3. มีทั้งหมด 782 มัด
4. มีทั้งหมด 792 มัด
21. กล้ามเนื้อในร่างกายที่อยู่ในอำนาจสั่งการของจิตใจในร่างกายมีกี่มัด
1. มีทั้งหมด 972 มัด
2. มีทั้งหมด 696 มัด
3. มีทั้งหมด 672 มัด
4. มีทั้งหมด 662 มัด
22. กล้ามเนื้อสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคือ
1. Sternocleidomastoid
2. Deltoid
3. Pectoralis major
4. Trapezius
23. กล้ามเนื้อหน้าท้อง(Rectus abdominis) มีแนวขวาง แบ่งเป็นร่องเล็กๆ มีกี่มัด
1. มีทั้งหมด 6 มัด
2. มีทั้งหมด 7 มัด
3. มีทั้งหมด 8 มัด
4. มีทั้งหมด 9 มัด
24. การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย แบ่งออกได้เป็น .....กี่แบบ
1. แบ่งออกเป็น 1 แบบ
2. แบ่งออกเป็น 2 แบบ
3. แบ่งออกเป็น 3 แบบ
4. แบ่งออกเป็น 4 แบบ
25. การหดตัวของกล้ามเนื้อลายแบบ Isotonic contraction คือ....
1. การเดิน การวิ่ง
2. การนอนยกน้ำหนัก
3. การโหนบาร์ดึงข้อ
4. ถูกทุกข้อ

26. ข้อต่อไปนี้ ทำหน้าที่เหยียดขา กางขา


1. Quadriceps femoris
2. Hamstrings
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 50

3. Gastrocnemius
4. Gluteus maximus
27. กล้ามเนื้อที่ทำหน้ที่กระดกปลายเท้าขึ้น – ลง คือ
1. Gastrocnemius
2. Gluteus maximus
3. Tibialis anterior
4. Hamstrings
28. ข้อต่อไปนี้ผิด (ยกเว้น)
1. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle)หรือกล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
2. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cadiac muscle) ควบคุมได้โดยจิตใจ
3. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)หรือกล้ามเนื้อที่สั่งการทำงานได้อำนาจจิตใจ
4. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle)หรือกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ
29. หน้าที่ของระบบไหลเวียนข้อใดถูก (ยกเว้น)
1. ขนส่งอาหารและออกซิเจน (O2) ให้ออกจากทุกเซลล์
2. ช่วยลำเรียงฮอร์โมนและเอ็นไซม์ ไปให้เซลล์ เพื่อช่วยในการเผาผลาญของเซลล์
3. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ (Temperature regulation)
4. ป้องกัน และทำลายเชื้อโรค ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibodies) ให้กับร่างกาย
30. เลือดประกอบด้วย
1. (Red blood cells)
2. White blood cells
3. Blood platelets
4. ถูกทุกข้อ
31. เม็ดเลือดแดง (Red blood cells) มีอายุกี่วัน......
1. มีอายุ 112 วัน
2. มีอายุ 102 วัน
3. มีอายุ 120 วัน
4. มีอายุ 212 วัน

32. เม็ดเลือดแดง (Red blood cells) ถูกสร้างจากที่ใด


1. ไขกระดูกสันหลัง
2. กระดูกกระเบนเหน็บ(Sacrum)
3. สมอง (Brain)
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 51

4. ไขกระดูก“Bone Marrow” เช่นบริเวณกระดูกสะโพก


33. เม็ดเลือดขาว (White blood cells) มีกี่ชนิด
1. มี 5 ชนิด
2. มี 3 ชนิด
3. มี 4 ชนิด
4. มี 2 ชนิด
34. เม็ดเลือดขาวชนิดที่จับเชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย คือ...
1. Lymphocyte
2. Neutrophil
3. Monocyte
4. Basophil
35. เม็ดเลือดขาวชนิดที่จับเฉพาะ antigen-antibody complex เท่านั้น ในรายที่มี พยาธิ์ (parasitic
infection) คือ...
1. Lymphocyte
2. Monocyte
3. Basophil
4. Eosiophil
36. หน้าที่ของเกร็ดเลือด (Blood platelets)ที่สำคัญคือ.....
1. มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดมีอุณหภูมิ คงที่
2. มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดสลายจากที่เป็นก้อน
3. มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน
4. มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดจับไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
37. เกร็ดเลือด (Blood platelets) ,มีอายุอยู่ได้กี่วัน.....
1. อายุ 3 - 5 วัน
2. อายุ 7 - 10 วัน
3. อายุ 7 - 8 วัน
4. อายุ 8 - 10 วัน

38. ค่าปกติในผู้ใหญ่ ชีพจร (Pulse) จะเต้นประมานกี่ครั้งต่อ 1 นาที


1. ประมาณ 50 - 80 ครั้ง
2. ประมาณ 60 - 90 ครั้ง
3. ประมาณ 75 - 90 ครั้ง
4. ประมาณ 70 - 80 ครั้ง
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 52

39. การจับชีพจร จะจับลงบนหลอดเลือดใด


1. หลอดเลือดแดง (Arteries)
2. หลอดเลือดดำ (Veins)
3. เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve)
4. เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve)
40. เลือดดำจะถูกดูดเข้าสู่หัวใจห้องใดเป็นลำดับแรก
1. หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
2. หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
3. หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
4.หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
41. หัวใจห้องใดที่ทำหน้าที่บีบตัวจ่ายเลือดแดงออกจากหัวใจ
1. หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
2. หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
3. หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
4. หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
42. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ประกอบไปด้วย
1. สมอง (Brain)
2. ไขสันหลัง (Spinal cord)
3. ก้านสมอง(Brain stem)
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 - 2
43. ข้อต่อไปนี้เป็นโครงสร้างของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system)
2. ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system)
3. ข้อ 1 กับ ข้อ 2 ถูก
4. (Peripheral nervous system)

44. ข้อต่อไปนี้ถูก ยกเว้น...


1. ส่วนหน้า(Frontal lobe) เกี่ยวข้องกับการทรงจำ ความนึกคิด สติปัญญา และการเคลื่อนไหวของ
ร่างกาย
2. ส่วนกลาง(Parietal lobe) เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความรู้สึกเช่น ร้อน , เย็น ,เจ็บปวด , สัมผัส และ
ตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
3. ส่วนข้าง(Temporal lobe) เกี่ยวข้องกับการได้ยิน การแปลความหมายที่ได้ยิน
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 53

4. ส่วนหลัง(Occipital lobe) เกี่ยวข้องกับการโศกเศร้า ดีใจ ภาวะอารมย์


45. ก้านสมอง(Brain stem) ทำหน้าที่ดังนี้ ยกเว้น...
1. ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ควบคุมการเต้นของหัวใจ
3. ควบคุมการหดและขยายตัวของหลอดเลือด
4. ควบคุมอุณหภูมิ
46. ความยาวของไขสันหลัง(Spinal cord) คือ
1. ยาวประมาณ 18 นิ้ว
2. ยาวประมาณ 19 นิ้ว
3. ยาวประมาณ 20 นิ้ว
4. ยาวประมาณ 21 นิ้ว
47. ข้อต่อไปนี้ผิด หน้าที่สำคัญของเส้นประสาททั้งขาขึ้น(Motor neuron) ยกเว้น...
1. รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่สมอง
2. รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่กล้ามเนื้อลาย
3. รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่หัวใจ
4. รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่ปอด
48. ข้อต่อไปนี้คือหน้าที่ของระบบประสาท
1. ตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น
2. ควบคุมการทำ งานของอวัยวะต่าง ๆ
3. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
4. ถูกเฉพาะข้อ 1.
49. ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) ประกอบไปด้วย
1. เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง คือประสาทสมอง (Ceanial nerve)
2. ไขสันหลัง (Spinal cord)
3.ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 - 3
50. สมองใหญ่(Cerebrum) แบ่งเป็น 2 ซีก ระบบการทำงานคือ...
1. ซีกซ้ายควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
2. ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา
3. ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
4. ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
51. สมองส่วนที่ควบคุมความทรงจำ ความรู้สึกนึกคิดคือ....
1. ส่วนกลาง(Parietal lobe)
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 54

2. ส่วนข้าง(Temporal lobe)
3. ส่วนหลัง(Occipital lobe)
4. ส่วนหน้า(Frontal lobe)
52. สมองส่วนที่ควบคุมความร้อน - เย็น เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ ได้แก่
1. ส่วนกลาง(Parietal lobe)
2. ส่วนหลัง(Occipital lobe)
3. ส่วนข้าง(Temporal lobe)
4. ส่วนหน้า(Frontal lobe)
53. ข้อต่อไปนี้คือ หน้าที่ของก้านสมอง(Brain stem)
1. ควบคุมความร้อน - เย็น เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
2. ควบคุมความทรงจำ ความรู้สึกนึกคิดคือ....
3. ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
4. เป็นศูนย์กลางควบคุมการหายใจ และการเต้นของหัวใจ
54. หน้าที่ของไขสันหลัง(Spinal cord)คือ
1. ควบคุมความร้อน - เย็น เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ ได้แก่
2. ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
3. เป็นทางเดินของเส้นประสาททั้งขาขึ้น(Motor neuron) และขาลง (Sensory neuron)
4. ควบคุมความร้อน - เย็น เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
55. ระบบย่อยอาหาร(The Digestive system) ประกอบไปด้วย.....
1. ปาก (Mouth) หลอดคอ (Pharyng)
2. หลอดคอ (Pharyng) ท่อทางเดินอาหาร(Esophagus)
3. กระเพาะอาหาร (Stomach)
4. ถูกทุกข้อ

56. ภาวะที่ร่างกายมีธัยร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin) ผลคือ


1. ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง
2. ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไขกล้ามเนื้อไม่มีแรง
3. ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ ข้อ 2
57. ระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system) มีผลต่อระบบต่างๆดังนี้
1. ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง
2. ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นช้าและต่ำ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 55

3. พาราซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง
4. ซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
58. ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic) มีผลดังนี้
1. ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้หลอดลมขยายตัว
2. ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้หลอดเลือดหดตัวเล็กน้อย
3. ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
59. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic) มีผลดังนี้
1. พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
2. พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้ม่านตาหดเล็ก
3. พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้หลอดเลือดขยายเล็กน้อย
4. ถูกทุกข้อ
60. ท่อทางเดินอาหาร(Esophagus) ส่วนปลายล่างสุดเชื่อมต่อกับอวัยวะใด
1. ลำไส้เล็ก
2. ลำไส้ใหญ่
3. กระเพาะอาหาร
4. ตับ
60. เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve)ระดับคอ (Cervical) มีกี่คู่
1. มี 5 คู่
2. มี 6 คู่
3. มี 7 คู่
4. มี 8 คู่

61. เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve)ระดับอก (Thoracic) มีกี่คู่


1. มี 10 คู่
2. มี 12 คู่
3. มี 14 คู่
4. มี 16 คู่
62. เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve)ระดับเอว (Lumbar) มีกี่คู่
1. มี 3. คู่
2. มี 4 คู่
3. มี 5 คู่
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 56

4. มี 6 คู่
63. หน้าที่ของเส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve) ข้อต่อไปนี้ถูกต้อง
1. เป็นทางเดินของสารอาหารทุกชนิด
2. เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ
3. เป็นทางเดินของกระแสเลือด
4. ทำหน้าที่เป็นทางผ่านConduction path way รับกระแสความรู้สึกไปสู่สมอง และส่ง
ความรู้สึกออกจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
64. หน้าที่ของเส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal neve) มีดังต่อไปนี้
1. เส้นประสาทช่วง L1-L4 เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน
2. เส้นประสาทช่วง C1-C5 เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณศรีษะ บางส่วนของไหล่และกระบังลม
3. เส้นประสาทช่วง C5-T1 เป็นร่างแหประสาทแขน เลี้ยงหัวไหล่ แขน และเท้า
4. เส้นประสาทช่วง T1-T12 เลี้ยงบริเวณหน้าอก หลัง ท้อง และศรีษะบางส่วน
65. หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหาร
1. เป็นที่เก็บอาหารไว้ ก่อนที่จะผ่านเข้าสู่ลำไส้ อาหารจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยกลวิธีต่างๆ จน
จนกลายสะภาพเป็นของเหลวเล็กน้อยเรียกว่า(Chyme)
2. เคลื่อนไหว (Gastric motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำย่อย และส่งอาหารที่อยู่ใน
สภาพของ (Chyme) ไปสู่ลำไส้เป็นระยะๆ ในอัตราความเร็วที่พอเหมาะ ทั้งนี้เพื่อให้ลำไส้มีโอกาส
ย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี
3. ขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (Gastric juice) ซึ่งเป็นน้ำใสๆ มีคุณสมบัติเป็นกรด ความความ
ถ่วงจำเพาะ 1.002 – 1.003
4. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

66. ลำไส้เล็ก (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนต้น(Duodnum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มี


ความมีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
1. มีความยาวทั้งสิ้น 8 นิ้ว
2. มีความยาวทั้งสิ้น 10 นิ้ว
3. มีความยาวทั้งสิ้น 12 นิ้ว
4. มีความยาวทั้งสิ้น 15 นิ้ว
67. ลำไส้เล็ก (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนกลาง(Jejunum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากต้น (Duodnum)
มีความมีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
1. มีความยาวทั้งสิ้น 12 ฟุต
2. มีความยาวทั้งสิ้น 10 นิ้ว
3. มีความยาวทั้งสิ้น 9 ฟุต
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 57

4. มีความยาวทั้งสิ้น 8 นิ้ว
68. ลำไส้เล็ก (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากส่วนกลาง
(Jejunum) มีความมีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
1. มีความยาวทั้งสิ้น 9 ฟุต
2. มีความยาวทั้งสิ้น 9 นิ้ว
3. มีความยาวทั้งสิ้น 9 นิ้ว
4. มีความยาวทั้งสิ้น 12 ฟุต
69. หน้าที่สำคัญของลำไส้เล็ก ข้อต่อไปนี้ ถูกต้อง (ยกเว้น)
1. หลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร (Digestive function)
2. การเคลื่อนไหว (Intestinal motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยต่างๆ
3. ถูกเฉพาะข้อ 1. กับข้อ 2.
4. ไม่มีข้อถูก
70. ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) มีความยาว ดังนี้
1. ความยาวทั้งหมด 5 ฟุต
2. ความยาวทั้งหมด 6 ฟุต
3. ความยาวทั้งหมด 8 ฟุต
4. ถูกเฉพาะข้อ 1.

71. Ascending colon ข้อต่อไปนี้ถูกต้อง


1. เป็นส่วนที่ทอดขึ้นมาทางขวาของช่องท้อง จนถึงใต้ตับ โค้งไปทางซ้าย ส่วนโค้งนี้ เรียกว่า Hepatic
flexure
2. เป็นส่วนที่ทอดต่อจาก Hepatic flexure ทอดขวางไปตามช่องท้อง ไปจนถึงด้านซ้ายของช่อง แล้ว
แล้วทอดโค้งไปใต้ส่วนของปลาย speen ส่วนโค้งนี้เรียกว่า Splenic flexure
3. เป็นส่วนที่ต่อจาก Splenic flexure ทอดลงมาข้างล่างทางซ้ายของช่องท้องจนถึง left iliac rigion
ตรงระดับ crest of ileum
4. ถูกเฉพาะข้อ 1.
72. Rectum คือส่วนที่ต่อมาจาก (Singmoid colon) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนตรง เป็นส่วนที่พองโตขยายตัว
ได้มากกว่าส่วนอื่นๆ เพื่อเก็บอุจจาระได้มากมีความยาวประมาณ ……….. นิ้ว
1. ความยาวทั้งหมด 5 ฟุต
2. ความยาวทั้งหมด 5 นิ้ว
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 58

3. ความยาวทั้งหมด 4 ฟุต
4. ความยาวทั้งหมด 6 ฟุต
73. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานประสานงาน
กันข้อต่อไปนี้ถูกต้อง
1. ระบบนี้จะทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการทำงานของระบบประสาท
2. การกระทำของต่อมไร้ท่อให้ผลช้าแต่ทำงานนานกว่าระบบประสาท
3. โดยอาศัยสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตขึ้นมาที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone)
4. ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
73. การกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก ข้อใด
1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland)
2. ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Gland)
3. ถูกเฉพาะข้อ 1.
4. ถูกเฉพาะข้อ 2.
75. ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Gland) มีหน้าที่ๆสำคัญคือ
1. ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือธัยร็อกซิน (Thyroxin)
2. กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น
3. กระตุ้นการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
4. กระตุ้นการขยายเต้านมสำหรับหญิงที่มีครรภ์

76. ถ้ามีธัยร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin) ผลที่เกิดขึ้นคือ


1. ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า
2. ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไข
3. เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา
4. ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
77. ถ้ามีธัยร็อกซินมากเกินไป (Hyperthyroxin) ผลที่เกิดขึ้นคือ
1.ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น
2. เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา
3. เกิดโรคคอพอกชนิดเป็นพิษ
4. ถูกเฉพาะข้อ 1. ข้อ 3.
78. ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ
1. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
2. เอสโตรเจน (Estrogen)
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 59

3. เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
4. ถูกเฉพาะ ข้อ 1. ข้อ 2.
79. ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1. ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
2. ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3. ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
4. ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
80. ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1. ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
2. มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขาสั้นผิดปกติ
3. ไม่มี Secondary sexual characteristic
4. ถูกเฉพาะ ข้อ 1. ข้อ 3.
82. ฮอร์โมนเพศหญิง คือข้อต่อไปนี้
1. เอสโตรเจน (Estrogen)
2. และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
3. เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
4. ถูกเฉพาะ ข้อ 1. ข้อ 2.

83. ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
1. มีลักษณะคล้ายชาย
2. มีความรู้สึกทางเพศเพิ่มขึ้น
3. มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
4. กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
84. หน้าที่สำคัญของ อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
1. ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ เซลเซียส ประมาณ 34
องศา
2. สร้างฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
3. ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
4. ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน Hormone กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น
85. ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
1. เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา
2. จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 60

3. ลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการ
หลั่งออกสู่ภายนอก
4. ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
86. โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ กี่ ปี
1. อายุ 12 - 13 ปี
2. อายุ 13 - 14 ปี
3. อายุ 14 - 15 ปี
4. อายุ 15 - 16 ปี
87. การหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิเฉลี่ย ประมาณ กี่ ตัว
1. ประมาณ 330 - 500 ล้านตัว
2. ประมาณ 360 - 500 ล้านตัว
3. ประมาณ 350 - 500 ล้านตัว
4. ประมาณ 340 - 500 ล้านตัว

88. สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 - 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่


ผิดปกติ
มากกว่าร้อยละ กี่ตัว
1. มากกว่าร้อยละ 28
2. มากกว่าร้อยละ 26
3. มากกว่าร้อยละ 25
4. มากกว่าร้อยละ 24
89. ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้
ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานเท่าใด
1. ได้นานประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
2. ได้นานประมาณ 25 - 48 ชั่วโมง
3. ได้นานประมาณ 26 - 48 ชั่วโมง
4. ได้นานประมาณ 27 - 48 ชั่วโมง
90. อสุจิ เป็นเซลสืบพันธุ์เพศชายที่ผลิตขึ้นมาจาก.......
1. อัณฑะ (Testis)
2. ต่อมลูกหมาก(prostate gland)
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 61

3. ต่อมคาวเปอร์(cowper gland)
4. อวัยวะเพศชาย(pennis)
91. ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1. รังไข่( ovary )
2. ท่อนำไข่( oviduct )
3. ช่องคลอด( vagina )
4. ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
92. การตกไข่ หมายถึง
1. การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่
2. การตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 2 ใบ
3. ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้น
4. ถูกเฉพาะ ข้อ 1. ข้อ 3.

93. โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ กี่ ปี ขึ้นไป


1. อายุ 11 ปี ขึ้นไป
2. อายุ 12 ปี ขึ้นไป
3. อายุ 13 ปี ขึ้นไป
4. อายุ 14 ปี ขึ้นไป
94. รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ กี่ วัน
1. ประมาณ 25 วัน
2. ประมาณ 26 วัน
3. ประมาณ 27 วัน
4. ประมาณ 28 วัน
95. โดยทั่วไปแล้ว ถ้าร่างกายของคนที่มีความสมบูรณ์เป็นปกติ ประจำเดือนจะหยุดเมื่ออายุกี่ปี
1. อายุประมาณ 40 - 45 ปี
2. อายุประมาณ 45 - 50 ปี
3. อายุประมาณ 50 - 55 ปี
4. อายุประมาณ 50 - 60 ปี
96. ลึงค์ ( penis ) มีหน้าที่สำคัญคือ...
1. เป็นอวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ
แ น ว ข้ อ ส อ บ อั พ เ ด ร ต ปี 2 5 6 3 ห น ้ า | 62

2. เพศ เป็นทางผ่านของสเปิร์มและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก
3. เป็นแหล่งผลิตน้ำกาม ( semen )
4. ถูกเฉพาะข้อ 1. และข้อ 2.
97. ต่อมคาวเปอร์ ( Cowper’s gland ) ทำหน้าที่ดังนี้
1. ทำหน้าที่ในการหลั่งสารเหลวใสและเหนียว เพื่อหล่อลื่นในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
2. ขับสเปิร์มและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก
3. ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งได้แก่น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี
4. ถูกเฉพาะข้อ 1.
98. ถุงอัณฑะ ( scrotum or scrotal sac ) ที่ยื่นออกมาจากช่องท้อง เนื่องจากอัณฑะที่อยู่ในช่องท้อง
เลื่อนลงมาถุงอัณฑะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้แก่อัณฑะ โดยอุณหภูมิของถุงอัณฑะจะต่ำกว่าอุณหภูมิ
ของร่างกายประมาณ
1. ประมาณ 33 องศาเซลเซียส
2. ประมาณ 34 องศาเซลเซียส
3. ประมาณ 35 องศาเซลเซียส
4. ประมาณ 36 องศาเซลเซียส
99. ข้อต่อไปนี้คือแฝดร่วมไข่ (identical twins) (ฝาเดียวกัน)
1. เกิดจากไข่ 1 ใบผสมกับอสุจิ 1 ตัว เป็นไซโกตแล้วไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน
2. มีเพศเดียวกัน รูปร่างลักษณะเหมือนกัน
3. อุปนิสัยสติปัญญาใกล้เคียงกัน และความสามารถต่างๆ จะใกล้เคียงกันมาก
4. ถูกทุกข้อ
100. แฝดต่างไข่ (fraternal twins)(คนละฝา)คือข้อต่อไปนี้
1. เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิมากกว่า 1 ตัว
2. เกิดไซโกตและเอมบริโอมากกว่า 1
3. อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้
4. ถูกทุกข้อ

You might also like