Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

การแปรของภาษา

และการแปรของภาษากับความแตกต่างของผู้คนในสังคม
outline ของเนื้อหา
1. การแปรของภาษา
§ การแปรของเสียง
§ การแปรของศัพท์
§ การแปรของวลีและประโยค
2. การแปรของภาษากับความแตกต่างของผู้คนในสังคม
§ การแปรด้านเพศ
§ การแปรด้านอายุ
§ การแปรด้านการศึกษา
§ การแปรด้านอาชีพ
§ การแปรด้านชาติพันธุ์
§ การแปรด้านชนชั้นทางสังคม
§ การแปรด้านถิน่ อาศัย
3. สิ่งที่ได้จากการศึกษาการแปรของภาษา
1. การแปรของภาษา
การแปร (variation) คือ การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดความแตกต่างขึ้น หรือเกิดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติเดิม จาก
ปัจจัยต่าง ๆ ดังนั้น การแปรของภาษา (language variation) คือ การแปรของรูปภาษาตั้งแต่สองรูปขึ้นไป ซึ่งการแปร
ดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป หากความหมายเปลี่ยนแปลงไปจะถือว่าเปลี่ยนไปเป็นอีกรูปหนึ่ง
อีกทั้งการแปรของภาษานั้นอาจเกิดขึ้นโดยที่รู้ตัว หรือไม่ก็ได้ โดยการแปรของภาษาเกิดขึ้นได้ในด้าน เสียง
(phonological variation) ศัพท์ (lexical variation) วลีและประโยค (syntactic variation) และการแปรของภาษา
เขียน (orthographical variation)

1. การแปรของเสียง (phonological variation) คือ การที่เสียงในภาษามีลักษณะต่างไปจากมาตรฐาน


ตัวอย่างการแปรของเสียงในภาษาไทย
- เสียง /ɾ/ เกิดการแปรเป็นเสียง /l/ เช่น (1) “รัก” /ɾák/ แปรเป็น /lák/ (2) “รู”้ /ɾúː/ แปรเป็น /lúː/
- เสียงควบกลํ้า เกิดการแปรเป็น ไม่ออกเสียควบกลํ้า เช่น (1) “เกลียด” /klìat/ แปรเป็น /kìat/ (2) “ปรับ”
/pɾàp/ แปรเป็น /pàp/
ตัวอย่างการแปรของเสียงในภาษาอังกฤษ
- เสียง /aʊ/ เกิดการแปรเป็นเสียง /æʊ/ เช่น “house” /haʊs/ แปรเป็น /hæʊs/
- การออกเสียงสระ /ɑː/ และ /æ/ เช่น (1) “class” /klɑːs/ และ /klæs/ (2) “chance” /tʃɑːns/ และ
/tʃæns/
2. การแปรของศัพท์ (lexical variation) คือ การแปรของคําศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน พูดถึงสิ่งเดียวกัน แต่มี
รูปศัพท์ต่างกันตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป
ตัวอย่างการแปรของคําศัพท์ในภาษาไทย
- เนตร แปรกับ ตา
- บิดา แปรกับ พ่อ
- โทรทัศน์ แปรกับ ทีวี
- เธอ คุณ มึง
ตัวอย่างการแปรของคําศัพท์ในภาษาอังกฤษ
- lift แปรกับ elevator
- lorry แปรกับ truck
- biscuit แปรกับ cookie
- postman แปรกับ mailman
3. การแปรของวลีและประโยค (syntactic variation) คือ การแปรทางไวยากรณ์โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน
ตัวอย่างการแปรของวลีและประโยคในภาษาไทย
- สาว 3 คน แปรกับ 3 สาว
- บ้านฉัน แปรกับ บ้านของฉัน
- แม่ให้เงินน้อง แปรกับ แม่ให้เกินแก่น้อง
- แม่เอามีดหั่นเนื้อ แปรกับ แม่หั่นเนื้อด้วยมีด
ตัวอย่างการแปรของวลีและประโยคในภาษาอังกฤษ
- Wanna eat now? แปรกับ Do you want to eat now?
- She has got used to it. แปรกับ she has gotten used to it.
- Have you got a match? แปรกับ Do you have a match?

ข้อสรุปจากที่ได้จากการศึกษาการแปรของภาษา คือ ภาษาทุกภาษาบนโลกมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ไม่มีภาษาใดวิบัติ


2. การแปรของภาษากับความแตกต่างของผู้คนในสังคม
การแปรของภาษานั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากความบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการ หนึ่งในนัน้ คือ ปัจจัย
ทางด้านสังคม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ชาติพันธุ์ ชนชั้นทางสังคม และ ถิ่นอาศัย

การแปรด้านเพศ (gender)

การแปรด้านเพศในที่นี้ (gender) ถือเป็นตัวแปรสําคัญทีท่ ําให้สถานภาพของคนในสังคมต่างกัน ซึ่งเกี่ยวข้อง


กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ในการสื่อความหมายแต่ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นความหมายเดียวกัน แต่ผู้ชายก็จะใช้ภาษา
แบบหนึ่ง ในขณะที่ผู้หญิงก็ใช้ภาษาที่แตกต่างจากผู้ชายในอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากเพศชายและหญิงแล้ว เพศ
ทางเลือกก็มีผลต่อการแปรด้านเพศเช่นกัน

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านเพศในภาษาไทย
- ด้านคําเรียกตัวเอง
§ ผู้ชาย: ผม กระผม อั๊ว กู เรา
§ ผู้หญิง: ดิฉัน ฉัน หนู เดี๊ยน เค้า ฯลฯ
- ด้านคําลงท้าย
§ คะ ค่ะ ครับ ฮะ จ้ะ
- ด้านลีลาการใช้ภาษา
§ ผู้หญิงมักใช้การซํ้าคําแสดงอารมณ์ เช่น ดี๊ดี เกลีย้ ดเกลียด ฯลฯ ซึ่งถูกมองว่าเป็น “ภาษาผู้หญิง”
§ ผู้หญิงมีแนวโน้มออกเสียง /s/ ท้ายคํายืมในภาษาอังกฤษมากกว่าผู้ชาย
§ ผู้หญิงมีแนวโน้มใช้ “รูปภาษาที่มีศักดิ์ศรีมากกว่าผู้ชาย”

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านเพศในภาษาอังกฤษ

- ผูห้ ญิงใช้คําศัพท์บางคํา เช่น cute, adorable, charming, lovely, sweet, divine มากกว่าผู้ชาย
- ผูห้ ญิงผิวดําในเมืองดีทรอยด์ออกเสียง /ɹ/ หลังสระมากกว่าผู้ชาย
- สําหรับเสียง -ing ผู้หญิงจะออกเป็นเสียง /ɪŋ/ เช่น walking /’wɔːkɪŋ/ ในขณะที่ผู้ชายออกเสียงเป็น /ɪn/
เช่น walkin’ /’wɔːkɪn/

การแปรด้านอายุ (age)

การแปรด้านอายุนั้นจะแตกต่างกันไปตามลําดับอายุ เช่น ภาษาเด็ก ภาษาวัยรุ่น ภาษาผู้ใหญ่ ภาษาผู้สูงอายุ


ผู้ใหญ่มักบอกว่าภาษาที่ผู้ที่อ่อนกว่าใช้เป็นภาษาที่วิบัติ หรือถูกลดทอน แต่ผลของการศึกษาตัวแปรนีจ้ ะทําให้เราเห็น
ว่า พัฒนาการของภาษาตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มของภาษาในอนาคตเป็นอย่างไร นอกจากนี้ การแปรด้านอายุ
ยังส่งผลต่อการสื่อสารกันระหว่างวัยอีกด้วย
ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านอายุในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- ในด้านการออกเสียง ภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่ ตัวอย่างคํา “พ่อ แท้ ช้าง คน” คนอายุน้อยกว่ามีแนวโน้ม


ออกเสียง [pʰ tʰ tɕʰ kʰ] ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่าจะออกเสียงคําดังกล่าวเป็นเสียง [p t ɕ k]
- ในด้านคําศัพท์ ผู้ที่อายุต่างกันก็ใช้ศัพท์ต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่ใช้คําว่า “ขัดคอ” “เสียหน้า” ในขณะที่วัยรุ่น
ใช้คําว่า “เบรก” “หน้าแตก” เป็นต้น
- ในด้านความแตกต่างระหว่างวัย เช่น ผู้ใหญ่พูดกับเด็ก โดยใช้ศัพท์ “หมํ่า ฉี่ อึ” “doggie choo-choo”
- การใช้คําแทรก “like” เพื่อแทรกระหว่างประโยค เช่น I, like, didn’t what to do. หรือ He was like,
“we’ll I don’t know either”.

การแปรด้านการศึกษา (education)

นอกเหนือจากตัวแปรด้านเพศและอายุแล้ว ภาษายังเกิดการแปรด้านการศึกษาได้อีกเช่นกัน โดยเกิดจากการที่


ผู้คนมีพื้นหลังทางการศึกษาร่วมกัน ซึ่งการแปรดังกล่าวทําให้เกิดภาษา 2 ลักษณะ คือ รูปภาษาของผู้มีการศึกษาสูง จะ
ใช้คําทับศัพท์ และศัพท์เฉพาะจํานวนมาก และรูปภาษาของผู้ด้อยการศึกษา จะใช้ภาษาที่เป็นรูปทั่วไป หรือไร้ศักดิ์ศรี

ตัวอย่าง ผู้มีการศึกษาสูง: เรื่องนี้ผมคิดว่าควรจะมีมารตรการการลงโทษเพื่อให้แฟร์กับทุกคน


ผู้มีการศึกษาตํ่า: ก็คิดว่าน่าจะลงโทษให้เหมือน ๆ กันทุกคน

การแปรด้านอาชีพ (occupation)

ตัวแปรทางอาชีพนั้นมีความเกี่ยวข้องกับตัวแปรด้านการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการศึกษาเป็น
ตัวกําหนดอาชีพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏว่าไม่เป็นจริงทั้งหมด เนื่องจากผูค้ นบางกลุ่มไม่ได้ทํางานในสายอาชีพที่ตน
จบ หรือบางคนที่มีการศึกษาก็อาจจะประกอบอาชีพที่ผู้คนมองว่าไม่จําเป็นต้องมีการศึกษาก็สามารถทําได้

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านอาชีพ

- การออกเสียง [ɾ] และ [l] ในภาษาไทย สําหรับผู้ที่มีอาชีพเลขานุการ ครู ผูส้ ื่อข่าว มองว่าสองเสียงนี้
แตกต่างกันและควรให้ความสําคัญ
- การใช้คําศัพท์สําหรับคนทั่วไป และแพทย์
คนทั่วไป แพทย์
ตึกผู้ป่วยใน วอร์ด
ห้องผ่าตัด โออาร์
ห้องฉุกเฉิน อีอาร์
หูฟัง สะเต๊ต
การแปรด้านชาติพันธุ์ (ethnicity)

ชาติพันธุ์ คือ เอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ดังนั้นตัวแปรของภาษาด้านชาติพันธุ์ หมายถึงการใช้ภาษาของคนในกลุ่ม


สังคมหนึ่งที่แตกต่างจากอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น กลุ่มคนจีนหรือมุสลิมในประเทศไทย หรือกลุ่มคนอิตาเลียน สเปน กลุ่มคนผิว
ดําในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านชาติพันธุ์

- กลุ่มคนจีนในประเทศไทยออกเสียง [d n d] ในคํา “ดี มัน เกิด” เป็นเสียง [l ŋ k] คือ “ลี มัง เกิก”
ตามลําดับ
- การแปรด้านไวยากรณ์ของกลุ่มคนผิวดําในสหรัฐอเมริกา เช่น การใช้ be/have โดยไม่ผันรูป จะกลายเป็น
she be hollering at us for no reason. และ she never have a smile.

การแปรด้านชนชั้นทางสังคม (social class)

การแปรทางด้านชนชั้นและสังคมเกี่ยวข้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล โดยแบ่งเป็นชนชั้นสูง และไล่ลง


มาจนถึงชนชั้นล่าง แต่ในบางประเทศนั้นเกี่ยวข้องกับระบบวรรณะแทนอย่างเช่นในอินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ชนชั้น
ทางสังคมยังเกี่ยวข้องกับภาษาที่มีและไม่มีศักดิ์ศรีอีกด้วย เช่น ผู้ที่มีชนชั้นทางสังคมสูง ก็จะใช้รูปภาษาที่มีศักดิ์ศรี (รูป
ภาษาเป็นมาตรฐาน) ในขณะที่ผู้ที่มีชนชั้นล่างลงมาเป็นลําดับจะใช้ภาษาทีเ่ ป็นมาตรฐานน้อยลง หรือไม่มีศักดิ์ศรีเลย
(รูปภาษาไม่ได้รับการยอมรับ)

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านชนชั้นทางสังคม

- ชนชั้นล่างในกรุงลอนดอนจะออกเสียง [θ] เป็น [f] เช่น think /θɪŋ/ เป็น /fɪŋ/


- ประโยค (1) I done it yesterday. และ (2) I did it yesterday. ผู้ทไี่ ด้ยินก็สามารถบอกได้ทันทีวา่ ผู้พูด
(1) มาจากชั้นชั้นล่างกว่า (2) เนื่องจากใช้ภาษาไม่เป็นมาตรฐาน
- ในสังคมไทย ปัจจัยทางชนชั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งหมด แต่ยังเกี่ยวข้องกับฐานันดรด้วย ซึ่งจะ
เกี่ยวข้องกับระดับภาษาเป็นสําคัญ เช่น ตีน-เท้า

การแปรด้านถิ่นอาศัย (dialect)

การแปรด้านถิ่นอาศัย คือ การแปรในภาษาเดียวกันซึ่งแตกต่างจากปัจจัยด้านถิ่น โดยอาจแบ่งตามภูมิประเทศ


หรือตามการแบ่งพื้นที่ ซึ่งทําให้เกิด ภาษาถิ่น (dialect) ขึ้น เช่น ภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่น
อีสาน เป็นต้น การแปรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อตัวผู้พูด เนื่องจากจะทําให้ทราบได้ว่าผู้ที่พูดนั้นมาจากถิ่นไหน

ตัวอย่างการแปรของภาษาด้านถิ่นอาศัย

- ด้านวรรณยุกต์ระหว่างภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาอีสาน เช่น ม้า แปรกับ ม่า เป็นต้น


- ด้านวรรณศัพท์ระหว่างภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาอีสาน เช่น วิ่ง แปรกับ แล่น เป็นต้น
- ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษและแบบอเมริกามีการใช้ศัพท์ที่ต่างกัน เช่น lift-elevator และ postman-
mailman เป็นต้น

3. สิ่งที่ได้จากการศึกษาการแปรของภาษา
ไม่มีภาษาใดบนโลกทีว่ ิบัติ เพราะภาษาทุกภาษาบนโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง

คําถามถามอาจารย์

- หนูได้ดึง IPA transcript มาจาก oxford learners’ dictionary หนูไม่ทราบวิธีเขียนบรรณานุกรมค่ะ


เพราะเป็นพจนานุกรมออนไลน์ หนูสามารถเขียนเหมือนอ้างอิงเว็บปกติได้เลยไหมคะ
- ตัวอย่างในหัวข้อ การแปรภาษากับเพศจริง ๆ แล้วไม่ได้มีแค่เพศชายกับหญิง แต่มีเพศอื่น ๆ ด้วย แต่หนูมี
ความกังวลเรื่องความถูกต้องและทันสมัยของข้อมูล และความอ่อนไหวของเนื้อหา หนูสามารถข้ามในส่วน
ของเพศอื่น ๆ นอกเหนือจากชายหญิงได้ไหมคะ โดยให้เพศชายหญิงเป็นเพียงตัวอย่างในเบื้องต้นเท่านั้น
- การตั้งหัวข้อและความยาวของเนื้อหามากเกินไปไหมคะ และหนูต้องแทรกตัวอย่างเพิ่มอีกไหมคะ
บรรณานุกรม
Hope C. Dawson; and Michael Phelan. (2011). Language Files: An Introduction to Language and
Linguistics (12th ed.). The Ohio State University Press
Ralph W. Fasold, and Jeff Connor-Linton. (2013). An Introduction to Linguistics (6th ed.).
Cambridge University Press
Yule, G. (2020). The Study of Language (7th ed.). Cambridge University Press.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4 : วัฒนธรรมการใช้
ภาษาไทย. องค์การค้าของ สกสค.
ม.ล.จรัญวิไล จรูญโรจน์. (2558). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปราณี กุลละวณิชย์, ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย,์ สุดาพร ลักษณียนาวิน, และอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษา
ทัศนา (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2545). ภาษาในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

You might also like