Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

รชฏ สุวรรณกูฏ

เล่มที่ 3
ความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าทีข่ องตน

บทนา

ความวิริยะ อุตสาหะ ในงานหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการอานวยการ ควบคุมกากับ


ติดตามงานทั้งในรูปแบบการประชุม และติดตามในพื้นที่อย่างสม่าเสมอ และมีความตั้งใจที่จะ
ทางานในหน้าที่ให้ได้รับความสาเร็จด้วยการ บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคไม่เคยแสดงออกถึงความย่อท้อ มี
ความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นอย่างจริงใจ
การทางานใดๆ ไม่ว่าจะเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรหรือวิริยะแล้ว
ยากที่จะให้สาเร็จเรียบร้อยทันเวลาได้ การฝึกฝนความเพียร ถึงหากแรกๆ จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย
ลาบาก แต่พอได้เพียรจนเป็นนิสัยแล้ว ก็จะกลับเป็นพลังอย่างสาคัญที่คอยกระตุ้นเตือนให้ทางาน
อย่างจริงจัง ด้วยใจร่าเริง และเมื่อใดพลังของความเพียรนี้เกิดขึ้น เมื่อนั้นการงานทั้งหลายก็
สาเร็จได้โดยง่าย และรวดเร็ว

นิยามความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าที่ของตน

1. ความอดทน วิริยะอุตสาหะ
ความอดทนและวิระยะอุตสาหะเป็นคาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือมีความหมายใน
แนวทางเดียวกัน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
พระบรมราโชวาทของประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานไว้
ใน 108 มงคลพระบรมราโชวาท (องอาจ จิระอร, 2556) ว่า วิริยะอุตสาหะทาให้เป็นคนขยัน อดทน
และทาสิ่งที่ถูกต้อง
"...ความอุตสาหะ หรือความกล้า เป็นคาที่สาคัญ ต้องกล้าเผชิญตัวเอง เมื่อกล้า
เผชิญตัวเอง กล้าที่จะลบล้างความเกียจคล้านในตัว หันมาพยายามอุตสาหะก็ได้เป็นวิริยะอุตสาหะ
วิริยะในทางที่กล้าที่จะค้านตัวเองในความคิดพิเรนทร์ ก็เป็นคนที่มีเหตุผล เป็นคนที่ละอคติต่างๆ
หมายความว่า เป็นคนที่คิดดี ที่ฉลาด วิริยะในทางที่ไม่ยอมแม้แต่ความเจ็บปวด ความกลัวจะมา
คุกคาม ก็ทาสิ่งที่ถูกต้อง..."
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯ ยังได้พระราชทานพระ
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

บรมราโชวาทเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พุทธศักราช 2489 เกี่ยวกับ วิริยะและความอดทน ดังนี้


(DDproperty, 2559)
“วิริยะนี้เป็นสิ่งที่สาคัญมาก เมื่อเริ่มต้นแล้วต้องมีวิริยะ หมายความว่าต้องเพียร
ต้องมีความขยัน วิริยะนี้ก็คู่กับขันติ คือมีความอดทน บางทีเวลาเราทางานอะไรก็ตาม ทั้งในทางโลก
ทางธรรม เราทางานแล้วเหนื่อย เมื่อเหนื่อยก็ต้องมีความอดทนในความเหนื่อยนั้น ก็ต้องมีความเพียร
ที่จะปฏิบัติต่อไป”
สาหรับราชบัณฑิตยสถาน (2556) ระบุว่า“วิริยะ” กับ “อุตสาหะ” มาประกอบเข้าคู่กัน
เป็น 1 คา ก็เขียนว่า วิริยอุตสาหะ หมายถึง ความเพียรพยายาม เช่น แม้เขาจะประสบอุปสรรค
มากมายในการทางานแต่ก็มีวิริยอุตสาหะฝ่าฟันจนผ่านพ้นมาได้
คาว่า วิริยะ เป็นคานาม มีความหมายว่า ความเพียร ความบากบั่น เช่น ผู้มีวิริยะย่อม
ไปสู่ความสาเร็จ อย่างไรก็ตาม คาว่า “วิริยะ” ยังมีความหมายว่า “ความกล้า” ด้วย และคาว่า
อุตสาหะ เมื่อเป็นคานาม มีความหมายว่า ความบากบั่น ความพยายาม ความขยัน ความอดทน เมื่อ
เป็นคากริยา มีความหมายว่า บากบั่น พยายาม ขยัน อดทน ซึ่งคาว่า อุตสาหะ ใช้ว่า อุตส่าห์ ก็มี เช่น
แม้เขาจะมีสติปัญญาปานกลาง แต่ก็มีอุตสาหะเล่าเรียนจนจบปริญญาตรี แม่อุตส่าห์ทางานด้วยความ
เหนื่อยยากเพื่อให้ลูก ๆ สุขสบาย
เรื่องวิริยอุตสาหะหรือความเพียรพยายามมีปรากฏอยู่ในสานวนไทยว่า “ฝนทั่งให้เป็น
เข็ม” ซึ่งมีความหมายว่า “เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสาเร็จผล”
Money hub (2561) ได้กล่าวถึงข้อคิดดี ๆ ผู้ที่ประสบความสาเร็จแห่งยุค เช่น
ตัน ภาสกรนที สตีฟ จ็อบ มหาตมะ คานธี อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ วอลต์ ดีสนีย์ โทมัส เอดิสัน เป็นต้น
โดยได้ยึดสูตรสาเร็จตามแนวทางพุทธศาสนา นั่นคือ การใช้สติปัญญาในการทางานและการแก้ปัญหา
ต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดปรัชญามากมายให้เรียนรู้และปฏิบัติอย่างเห็นผลชัดแจ้ง หลักธรรมะสาคัญที่หยิบ
ยกมาใช้ในการทางานที่อาจเรียกได้ว่าหนทางแห่งความสาเร็จนั้น คือ อิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ
จิตตะ และวิมังสา ซึ่งนามาปรับใช้ในชีวิตประจาวันอย่างได้ผล ผู้ประกอบอาชีพตลอดจนนักเรียน
ศึกษาควรอาศัยเป็นแนวทางในการเรียน การทางานนาไปสู่ประสบความสาเร็จ โดยเฉพาะ คาว่า
วิริยะ คือ ความตั้งใจมั่น ความเพียรพยายามมุ่งมั่นเรียนรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญ ควบคู่กับความอดทน
ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ตาแหน่งที่สูงขึน้ ไปอยูไ่ ม่ไกล
เกินเอื้อม ยิ่งขยันเท่าไรก็ได้ผลตอบแทนมากเท่านั้น
นอกจากนั้นสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2559) ได้กาหนดเกณฑ์การ
ประเมิน โครงการ สพฐ.ดีเด่น ครั้งที่ 11 ประจาปี พ.ศ. 2559 มีประเด็นการประเมินการครองตน มี
ตัวบ่งชี้คือ การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ มีเกณฑ์คุณภาพระดับ 3 คือ ประพฤติ
ปฏิบัติตนด้วยความมุ่งมั่น มีความวิริยะอุตสาหะ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่น ปฏิบัติงาน
ในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อ ปัญหาอุปสรรคจนได้รับความสาเร็จ
เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานและบุคคลทัว่ ไป
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

โดยสรุปครูที่มีความอดทน วิริยะอุตสาหะต้องมีลักษณะความมุ่งมั่นตั้งใจทาหน้าที่ของ
ตนโดยเฉพาะหน้าที่การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเต็มกาลังความรู้ความสามารถ และหน้าที่อื่น
ที่ได้รับมอบหมายไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคจนได้รับความสาเร็จเป็นแบบอย่างที่ดขี องศิษย์
หน่วยงานและสังคมทั่วไป
2. ความเสียสละในหน้าที่ของตน
ความเสียสละในหน้าที่ของตนในที่นี้หมายถึงการเสียสละเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพ
ครู โดยพระเทพคุณาภรณ์ (2553) ได้กล่าวไว้ว่า ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่
ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้าใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่
ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะ
นิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว สาหรับปริญญา สุทธิชน
(2560) ได้ระบุคุณลักษณะของผู้ที่มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม ได้แก่ 1) มีจิตใจโอบอ้อม
อารี 2) มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น 3) มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อบุคคลรอบข้าง 4) มีความจริงใจที่จะ
ให้ความช่วยเหลือผู้อนื่ และ 5) มีน้าใจ ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ในส่วนของเว็ปไซต์
CityVariety (2560) ได้ระบุว่าอาชีพที่เสียสละมากที่สดุ คืออาชีพครู เหตุผลเพราะครูเป็นหัวใจสาคัญ
ของการศึกษา แต่กลับเป็นอาชีพท้าย ๆ ที่นักเรียนเลือกที่จะเรียนจะมีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ตั้งใจจริง
และเห็นคุณค่าของความเป็นครู ดังนั้น ครูที่ดีจึงต้องเสียสละ มุ่งที่ความสาเร็จของเด็กเป็นหลัก ต้อง
เตรียมการเรียน การสอน เตรียมทาความเข้าใจเนื้อหาเพิ่มเติมใหม่ ๆ เรื่อย ๆ นอกจากสอนแล้ว ครู
บางคนยังต้องช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีปญั หาต่าง ๆ นานา อย่างปัญหาทางบ้าน ปัญหาความรัก ฯลฯ
ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่เด็กคิดหาทางออกไม่ได้ บางครั้งยังไม่สามารถปรึกษาคนที่บ้านได้ ครูที่เด็กไว้ใจ
จึงเป็นคนที่เด็กจะอาศัยตรงนี้ได้ นอกจากนี้ ครูบางท่านยังต้องทาหน้าที่ด้านการบริหารอีก ต้อง
ทางานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมนอกจากการเรียนการสอนอีก เช่นต้องพานักเรียนไปทา
กิจกรรมนอกสถานที่ ทาวารสารโรงเรียน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่จะไม่ได้รับค่าตอบแทนแล้วยังต้องเสียเวลา
หรือยังเสียเงินอีก ส่วนรายได้ก็น้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ๆ ไม่ว่าจะได้สอนที่โรงเรียนหรือ
มหาวิทยาลัยก็ตาม จึงเป็นที่มาของครูอาจารย์ที่จะต้องหันไปกู้หนี้ยืมสิน
สาหรับ นิอิสเฮาะ นิเงาะ (2557) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านเจาะกือแย อ.สายบุรี
จ.ปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 3 ซึ่งได้รับการยกย่องในโครงการ “ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์
และจิตวิญญาณครู” ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวว่า “อุดมการณ์ของ
ครู คือ ครูต้องอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูต้อง
เสียสละด้วยความเต็มใจ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ก็จะทางานอยู่ที่
โรงเรียนเดิม และอยากจะทาให้โรงเรียนมีความปลอดภัย อยากให้คุณครูทั่วประเทศ มีความตั้งใจใน
การปฏิบัติหน้าที่เพื่อเยาวชนอย่างจริงจัง ฝากรัฐบาลช่วยดูแลครูให้ครูได้ทาหน้าที่การเป็นครู คือทา
การสอนหนังสือจริงๆ”
เบญจา ไชยภักดี (2559) ได้ระบุถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงความเสียสละของครู
ประกอบด้วย 1) การให้ความร่วมมือในกิจกรรมส่วนรวมของโรงเรียน 2) การให้นักเรียนยืมของใช้
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

ส่วนตัวที่มีความจาเป็น 3) การช่วยสอนแทนเมื่อมีครูขาดสอน 4) เป็นผู้ที่ช่วยเหลือกิจกรรมของ


ชุมชน 5) ช่วยสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน 6) ช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุน
ทรัพย์ในบางโอกาสที่จาเป็น 7) ใช้เงินส่วนตัวเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนกรณี
ที่โรงเรียนขาดแคลน 8) ให้คาแนะนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แก่เพื่อนครู 9) ช่วยเหลือเป็น
เครือข่ายความรู้ให้กับสถานศึกษาอื่น 10) ให้คาปรึกษาและช่วยเหลือกับนักเรียนในยามที่มีปัญหา
11) เมื่อผู้ปกครองนักเรียนขอความช่วยเหลือได้ให้การช่วยเหลือตามกาลังความสามารถ 12)
สนับสนุนความสามารถพิเศษของนักเรียน 13) ทุ่มเททางานทั้งในและนอกเวลาราชการอย่าง
สม่าเสมอ 14) ให้กาลังใจในการปฏิบัติงานแก่เพื่อนครู และ 15) ยินดีทางานตามที่มอบหมายของ
โรงเรียนนอกเหนือหน้าที่การสอน
สรุปได้ว่าการเสียสละในหน้าที่ของครู คือ การทาหน้าที่ในวิชาชีพครูเพื่อนักเรียนและ
ส่วนรวมเป็นผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อบุคคล
รอบข้าง มีความจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น มีน้าใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทุ่มเท
กาลังความรู้ ความสามารถเพื่อการปฏิบัติการสอน ตลอดจนหน้าที่อื่นในสถานศึกษาที่ได้รับ
มอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

กรณีตัวอย่างแม่พิมพ์ของชาติที่แสดงถึงความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าที่


ของตน
กรณีตัวอย่างที่ 1
ครูฮิม หรือ "อิบรอฮิม บาสอสิดิก" ครูผู้ช่วยโรงเรียนคุรุชนพัฒนา ต.เปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา
ครูผู้เสียสละในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และเป็นเหยื่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

ภาพที่ 3.1 ครูอิบรอฮิม บาสอสิดิก ครูผู้ช่วยโรงเรียนคุรุชนพัฒนา


ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/

ครูฮิม หรือ "อิบรอฮิม บาสอสิดิก" ครูผู้ช่วยโรงเรียนคุรุชนพัฒนา ต.เปาะเส้ง อ.เมือง จ.ยะลา


เปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่ถูกคนร้ายประกบยิงเมื่อ 7 ปีก่อน ขณะลงมาขับรถจักรยานยนต์เพื่อจะเดินทาง
กลับบ้าน หลังเสร็จสิ้นพิธีละหมาดที่มัสยิดโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง
จ.ยะลา ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นกระสุนเข้าแก้มซ้ายทะลุท้ายทอย 1 นัด กะโหลกด้านขวา 1 นัด ฝ่ามือ
ซ้ายทาให้นิ้วนางหลุดหายไป 1 นิ้ว และนิ้วก้อย นิ้วกลาง นิ้วชี้ ใช้การไม่ได้ ส่วนต้นลิ้นมีความรู้สึกชา
ทาให้ทุกวันนี้พูดเสียงไม่ชัด และรู้สึกเสียใจมากที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับผูท้ ี่เป็นครู ทาหน้าที่ให้ความรู้
แก่นักเรียน สอนให้เป็นคนดี แต่กลับถูกปองร้าย
เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "ครู" กลายเป็นเป้าหมายในการก่อเหตุ
ส่วนหนึ่ง เพราะเป็นเป้านิ่งง่ายต่อการปฏิบัติการ และทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อ
ความรู้สึกกับผู้คนในวงกว้าง และยังสะท้อนความรู้สึกต่อการปฏิบตั ิการให้ออกสู่โลกภายนอกให้มาก
ที่สุด
ผู้อานวยการโรงเรียนคุรุชนพัฒนา กล่าวว่า "ครู" นอกจากทาหน้าที่สอนให้ความรู้และมี
อาชีพที่มั่นคงในอนาคตแล้ว "ครู" ยังทาหน้าที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสาต่อสังคมและ
รอบข้าง ดังนั้นครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องใช้ความอดทนและหนักแน่น นอกจากการทา
หน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้แล้ว ยังต้องทาหน้าที่สร้างสันติสุขในพื้นที่ ทั้งการออกไปเยี่ยมเยือน
ผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตลอดจนการรับรู้วิถีชีวิตของ
สถาบันครอบครัวของนักเรียนอีกด้วย
จากข้อมูลของสานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 12 กระทรวงศึกษาธิการ
รับผิดชอบพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในพื้นที่นับจาก
ปี 2547 เป็นต้นมา มีข้าราชการครูและบุคลากรเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงไปแล้ว 180 ราย
บาดเจ็บ 162 ราย โดยมีครูในสังกัดเขตพื้นที่ยะลาเขต 1 มีครูและบุคลากรเสียชีวิต 16 ราย บาดเจ็บ
ทุพลภาพ 26 ราย
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

ภาพที่ 3.2 จานวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตั้ งแต่ปี 2547


ที่มา : สานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 12 กระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้เนื่องในวันครูแห่งชาติ จึงขอชื่นชมครูทุกคน โดยเฉพาะครู ในพื้นที่จังหวัดชายแดน


ภาคใต้แล้ว นับเป็นบุคคลากรที่ทรงคุณค่า แห่งการเชิดชูเกียรติ และยกย่อง ให้เป็น "แม่พิมพ์แห่ง
ชายแดนใต้"

กรณีตัวอย่างที่ 2
อาจจะพบได้ไม่บ่อยนักที่ใครคนสักคนจะยอมทิ้งความสุขสบายในเมือง เข้าไปอยู่ในพื้นที่
ห่างไกลความเจริญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนวิชาความรู้ให้กับ อนาคตของชาติ แต่อย่างน้อย
"สามารถ สุทะ" ก็คือคน ๆ หนึ่งที่คิดเช่นนั้น และตัดสินใจเข้าไปสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนเล็ก ๆ แห่ง
หนึ่งบนกระท่อมไม้ไผ่กลางแม่น้าปิง โดยหวังที่จะขยายโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ
การเดินทางไปสอนนักเรียนของครูสามารถแต่ละครั้งนั้น ถือเป็นเรื่องลาบากไม่ใช่เล่น เพราะ
ทุกวันจันทร์ ครูสามารถจะต้องตื่นและออกเดินทางจากบ้านในตัวจังหวัดลาพูน ตั้งแต่ตี 5 ขับรถเป็น
เวลาเกือบ 5 ชั่วโมง ไปยังหน่วยพิทักษ์ปา่ แก่งก้อ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง รวม ๆ ระยะทางไม่ต่ากว่า
100 กิโลเมตร โดยระหว่างทางครูจะแวะซื้อกับข้าวไว้เป็นเสบียงเลี้ยงเด็ก ๆ ด้วย

ภาพที่ 3.3 ครูสามารถ สุทะ


ที่มา : https://pantip.com/topic/

เมื่อถึงปลายทางสุดท้ายทีส่ ามารถขับรถเข้าไปถึงแล้ว ครูสามารถจะลงจากรถแล้วถ่อเรือผ่าน


สายน้าปิง และฝ่าดงผักตบชวาจานวนมหาศาลที่เป็นอุปสรรคขวางทาง เพื่อไปยังจุดหมายสุดท้าย ณ
"โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ห้องเรียนสาขาเรือนแพ" กระทั่งเวลาประมาณเที่ยงตรง เรือของครูสามารถ
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

จะมาหยุดอยู่กลางโรงเรียนเรือนแพ โดยมีลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ 5 คน ยืนรอครูที่ใช้เวลาเดินทางร่วม 7


ชั่วโมงอย่างใจจดใจจ่อ

ภาพที่ 3.4 ครูสามารถ สุทะ ครูโรงเรียนเรือนแพ


ที่มา : https://pantip.com/topic/

"ตอนที่มาเห็นที่นี่ครั้งแรก สภาพภายในยังรกรุงรัง ไม่เหมือนห้องเรียน เป็นโรงเรียนร้าง


หยากไย่ ใบไม้เต็มไปหมด ตอนที่มาเห็นครั้งแรกก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอยู่ สอนที่นี่ดีไหม ยังไขว้เขวอยู่
เพราะที่เคยอยู่ก็สบาย แต่มาที่นี่ต้องเริ่มใหม่หมดทุกอย่าง แล้วมีเราแค่คนเดียว แต่สุดท้ายเราก็คิดว่า
เราเริ่มเบื่อความสบายแล้ว ก็เลยตัดสินใจอยู่กับสังคมใหม่นี้" ครูสามารถ เล่าถึงสาเหตุที่ตัดสินใจมา
เป็นครูที่นี่
ด้วยความที่การเดินทางมายังโรงเรียนแห่งนี้ค่อนข้างลาบากมาก ทาให้ทั้งครูและนักเรียน
ต้องมาใช้ชีวิตกินนอนอยู่ด้วยกันในโรงเรียนแห่งนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ราวกับเป็นโรงเรียนประจา ซึ่งครู
สามารถก็ได้ปลูกฝังเรื่องความมีวินัยให้เด็ก ๆ รู้จักแบ่งหน้าที่ช่วยกันทางานได้เป็นอย่างดี และเมื่อ
เด็ก ๆ แต่ละรุ่นเรียนจบไป ก็ยังถ่ายทอดความมีวินัยนี้ให้กับน้องรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
สาหรับการเรียนการสอนของที่นี่ เด็ก ๆ จะได้ทากิจกรรมหลายอย่าง ๆ ที่ครูสามารถ
ประยุกต์เข้ามาสอน เพื่อฝึกทักษะชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิชาการเกษตร การทาความสะอาดบ้านเรือน
การว่ายน้า ที่สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันและช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต แต่ถึงกระนั้น เด็ก ๆ
ก็จาเป็นต้องเรียนวิชาความรู้พื้นฐาน อย่างเช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ฯลฯ เพื่อให้มีความรู้เท่าทัน
โลกภายนอกด้วยเช่นกัน
เห็นอย่างนี้แล้ว อาจจะบอกได้ว่า ครูสามารถ ไม่ใช่เป็นเพียง "ครู" ที่ต้องรับบทบาทสอน
เด็ก ๆ ทุกชั้นเรียน ทุกรายวิชาแต่เพียงเท่านั้น เพราะเขายังต้องเป็น "ภารโรง" ที่คอยดูแลทาความ
สะอาด และในตอนกลางคืน ก็ยังต้องสวมบทเป็น "ผู้ปกครอง" ที่คอยเคี่ยวเข็ญให้เด็ก ๆ รู้จักทบทวน
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

บทเรียนในแต่ละวันอย่างแข็งขันอีกด้วย
"ที่นี่มีครูแค่คนเดียว และเป็นโรงเรียนพักนอนด้วย เราเลยต้องดูแลนักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะ
ผู้ปกครองไว้ใจเราให้เด็กมาเรียน จากที่เคยคิดว่าเป็นงาน เป็นหน้าที่ ก็เปลี่ยนมาเป็นชีวิตประจาวัน
ของเราไปซะ มันก็เลยเหมือนกับว่าเราอยู่กับชีวิตประจาวัน เราไม่ได้อยู่กับงาน" ครูสามารถ บอก
หลายคนอาจแปลกใจว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ครูสามารถทาเช่นนี้ เขาจึงเล่าว่า ในอดีต
เขาเคยขาดโอกาสเหมือนเด็กที่นี่ แต่ก็ได้หันหน้าไปพึ่งพระพุทธศาสนา จนได้เรียนต่อ เขาจึงอยาก
สานต่อให้เด็กได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ แม้ว่าพื้นที่จะจากัด และเด็ก ๆ ที่นี่ก็ต้องได้รับโอกาสมากกว่านี้
หากเขายังอยู่ที่นี่
และอีกหนึ่งโอกาสที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้รับก็คือ การเดินทางมาทัศนศึกษายังสวนสัตว์เชียงใหม่
ซึ่งเป็นการเปิดโลกกว้างให้เด็ก ๆ ได้ออกมาเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียนพร้อม ๆ กับเที่ยวไปใน
ตัว และครูสามารถก็ไม่ลืมที่จะให้เด็ก ๆ จดบันทึก เพื่อจดจาสิ่งที่ได้พบเห็นไปด้วย
แน่นอนว่าการพาเด็กออกมาเที่ยวต่างที่เช่นนี้ ทาให้ครูสามารถต้องรับผิดชอบสูงมาก แต่ครูก็
บอกว่าประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อได้ นอกจากต้องให้เด็ก ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง แม้แต่
เรื่องเล็ก ๆ อย่างการกดตู้โทรศัพท์ หากเด็ก ๆ ไม่เคยได้ทดลองใช้ ก็จะไม่รู้เลยว่า ต้องยกหูโทรศัพท์
ก่อน แล้วค่อยกดเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งหากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการพบเห็นและทดลองด้วยตัวเอง จะทา
ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เวลาที่ออกมาโลกภายนอก ดังนั้นแม้เขาจะกลัวเรื่องความรับผิดชอบ
หรือกลัวว่าเด็กจะได้รับอันตราย แต่ก็ถือว่าคุ้มที่จะได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กบั เด็ก ๆ
ขณะเดียวกัน ไม่ใช่เด็ก ๆ เท่านั้นที่จะได้เปิดโลกทัศน์ แม้แต่ครูสามารถเองก็ต้องสั่งสม
ประสบการณ์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น ทุก ๆ วันเสาร์ ที่โรงเรียนหยุด เขาจะเดินทางไปเรียนหนังสือหา
ความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนาประสบการณ์ที่เพิ่มเข้ามาไปป้อนให้ลูกศิษย์ตวั น้อยได้เรียนรู้ต่อไป
"ผมมองตัวเองว่า ผมทางานที่นี่ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นมืออาชีพ แต่ผมเต็มที่ในสิ่งทีผ่ มทา
มุ่งมั่นเพื่อเด็ก มุ่งมั่นที่จะเปิดโอกาสให้เด็กมากกว่าที่อยากจะเป็นครูมืออาชีพ" ครูสามารถ ยืนยัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่ง ก็ถึงวันปิดภาคเรียนที่เด็ก ๆ จะได้กลับไปช่วย
อยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน ครูสามารถก็ได้สอนให้เด็ก ๆ นาทักษะความรู้ที่ได้ปฏิบัติในโรงเรียนเรือนแพแห่งนี้
ไปช่วยเหลือพ่อแม่ทางานบ้าน พร้อมกับย้าเตือนให้ทุกคนเชื่อฟังคาสอนของพ่อแม่
เมื่อครูสามารถสั่งสอนเสร็จสิ้น เขาก็ได้ส่งเด็ก ๆ ขึ้นเรือของผู้ปกครองที่มารับกลับบ้าน แล้ ว
หันกลับไปล็อกประตูโรงเรียน ก่อนจะนั่งเรือมุ่งหน้ากลับบ้านของเขาเช่นกัน และอีกไม่นาน เขาก็จะ
กลับมาทาหน้าที่พ่อพิมพ์ของชาติผู้เติมเต็มโอกาสให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป เมื่อวันเปิดภาค
เรียนใหม่มาถึง
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

 กิจกรรม
ใบงานที่ 3.1
ความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าที่ของตน

ให้ผู้เข้าอบรมอธิบายประเด็นต่อไปนี้
1. ความหมายของ ความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าที่ของตน เป็นอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. จงระบุว่าพฤติกรรมใดของครูที่แสดงถึงความอดทน วิริยะอุตสาหะ เสียสละในหน้าที่ของตน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
3. จงยกกรณีตัวอย่างที่ปรากฏพบเห็นในชีวิตจริงของท่านเกี่ยวกับครูผู้มี ความอดทน วิริยะ
อุตสาหะ เสียสละในหน้าที่ของตน มา 2 กรณี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

 แบบทดสอบประจาเล่มที่ 3
คาชี้แจง ให้เลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สดุ เพียงคาตอบเดียว โดยทาเครื่องหมาย กากบาท (X) ลงใน
กระดาษคาตอบที่แจกให้
1. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับความอดทน วิริยะอุตสาหะ ?
ก. มุ่งมั่นทางานอย่างเต็มความสามารถ
ข. อาสาช่วยเหลืองานเพื่อนครูในโรงเรียน
ค. นั่งเช็ค Facebook และ Line ตนเองเรื่องอื่นไว้ทีหลัง
ง. สอนเสริมนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อนหลังจากเลิกเรียน
2. ข้อใดเป็นความหมายของวิริยะอุตสาหะที่ตรงกันมากที่สดุ ?
ก. ความเพียรพยายามทาหน้าที่ตนจนสาเร็จ
ข. มาอยู่เวรยามตามหน้าที่ด้วยความเรียบร้อย
ค. ยืนเฝ้ารับเด็กนักเรียนตอนเช้าทุกวัน
ง. สอนหนังสือตามตารางสอน
3. ข้อใดที่เป็นสานวนแสดงถึงความวิริยะอุตสาหะ ?
ก. เข็นครกขึ้นภูเขา
ข. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ค. งมเข็มในมหาสมุทร
ง. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
4. ตัวบ่งชี้การประเมินการครองตน ตามโครงการ สพฐ.ดีเด่น ตรงกับข้อใด ?
ก. ตั้งใจทาหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
ข. การทาตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
ค. ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความมุ่งมั่น มีความวิริยะอุตสาหะ
ง. ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนที่จัดขึ้น
5. ลักษณะใดที่แสดงถึงความอดทน วิริยะอุตสาหะของครู ?
ก. การเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนในระยะทางที่ไกล
ข. การไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการเป็นครู
ค. การทางานตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น
ง. การรับใช้ผู้บริหารอย่างเต็มที่
6. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของผู้ที่มีใจเอื้อเฟื้อเผือ่ แผ่และเสียสละต่อสังคม ?
ก. มีจิตใจโอบอ้อมอารี
ข. มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
ค. มีความจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
ง. มีความรู้สึกเฉย ๆ เมื่อเห็นเพื่อนครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

7. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความเสียสละของครู เด่นชัดที่สุด ?
ก. ให้ยืมของใช้หรือเงินส่วนตัวพร้อมคิดดอกเบีย้
ข. ให้คาปรึกษาและช่วยเหลือกับนักเรียนในยามที่มีปญั หา
ค. สอนติวในวันเสาร์-อาทิตย์ พร้อมเก็บค่าสอน
ง. เข้าร่วมงานกับโรงเรียนในยามที่มีหนังสือคาสั่งเท่านั้น
8. ครูในข้อใดที่มีความเสียสละในหน้าที่ตนเด่นชัดที่สุด ?
ก. ครูปราณีไปโรงเรียนสายแต่เลิกงานค่า
ข. ครูสังเวียนปิดเทอมแล้วเปิดเทอมค่อยมาทาหน้าที่สอนใหม่
ค. ครูนุชนภาใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนสอนพิเศษเพื่อหารายได้พิเศษ
ง. ครูบรรจงช่วยสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน
9. เหตุผลในข้อใดที่ถือว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่เสียสละมากที่สุด ?
ก. เพราะบทบาทหน้าที่มากมายในการทาให้คนเป็นคนดี เก่ง มีความสุข
ข. เพราะเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนไม่คุ้มกับการทางาน
ค. เพราะเป็นอาชีพที่แข่งขันสูง
ง. เพราะเป็นอาชีพที่คนต้องไหว้และให้ความเคารพ
10. เหตุผลใดที่ครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องอดทน วิริยะอุตสาหะและเสียสละในหน้าที่
ของครูเด่นชัดที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ?
ก. เพราะสร้างความเป็นธรรมในสังคม
ข. เพราะถ่ายทอดความรู้และสร้างสันติสุขในพื้นที่
ค. เพราะสร้างให้คนเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง
ง. เพราะต้องอยู่ให้ได้ไม่สามารถย้ายไปที่อื่นได้ซึ่งเป็นคนในพื้นที่อยู่แล้ว
ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ

อ้างอิง
นิอิสเฮาะ นิเงาะ. (2557). มุ่งมั่น-เสียสละ-ทาความดี ตามรอยเกียรติยศครูดีผู้มีอุดมการณ์ -
จิตวิญญาณ "จูหลิง ปงกันมูล" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (14 มกราคม 2557). 7.
เบญจา ไชยภักดี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางจิตวิทยาของครูกับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ปริญญา สุทธิชน. (2560). ความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.
จาก https://prezi.com/ejfquoav1voz/presentation/.
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต). (2553). ความเสียสละ. กรุงเทพมหานคร: สานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์การประเมิน โครงการ สพฐ.ดีเด่น
ครั้งที่ 11 ประจาปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สานักงาน.
องอาจ จิระอร. (2556). 108 มงคลพระบรมราโชวาท เพื่อความสุขและความสาเร็จของชีวิตแบบ
ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
CityVariety. (2560). อาชีพที่เสียสละที่สุด. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.จาก
http://www.cityvariety.com/contents.
DDproperty. (2559). หนึ่งตัวอย่างของความอุตสาหะ พ่อหลวงผู้มีวิริยะและความอดทน. ค้นเมื่อ
2 กุมภาพันธ์ 2561. จาก https://www.ddproperty.com/
Money hub. (2561). ข้อคิดดี ๆ ผู้ที่ประสบความสาเร็จแห่งยุค . ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.จาก
https://moneyhub.in.th/article/success-person/

You might also like