Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 87

ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคดิ ทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการ

กาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ.2557-2562: กรณี

ศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โดย

นายธัชนนท์ ขาวดี

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2562
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคดิ ทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการ

กาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ.2557-2562: กรณี

ศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โดย

นายธัชนนท์ ขาวดี

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2562
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(1)

หัวข้อภาคนิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอ
เรชั่นในการกาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ.
2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ชื่อผู้เขียน นายธัชนนท์ ขาวดี
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์
วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
กรรมการสอบภาคนิพนธ์ อ.เพชร จารุไพบูลย์
ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ
การวิ จั ย เรื่ อง ”ปั จ จั ยที่ มีผ ลต่อวิธี คิดทางการเมืองของคนแต่ ล ะเจเนอเรชั่นในการ
กาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ. 2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ” มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ประกอบ
อาชีพเจ้ าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่น (2) ศึกษาวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 ผ่านปัจจัยที่มีผลต่อวิธี
คิดทางการเมืองที่ได้จากการศึกษา และ(3) ศึกษาความพอใจของคนผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในแต่ละเจเนอเรชั่นที่มีต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 โดยมีความหมายสาคัญเพื่อให้รับรู้ถึง
ปัจจัยต่างๆทาให้คนผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่นมีมุมมองและวิธีคิดทาง
การเมืองเป็นอย่างไร และทราบถึงความพอใจของคนผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอ
เรชั่นที่สะท้อนออกมาจากการทางานของคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 โดยการวิจัยในครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้รูปแบบวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth
Intervierw) ผู้ให้ข้อมูลสาคัญในการให้สัมภาษณ์เชิงลึกคือผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ได้ผ่าน
ประสบการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยที่มีอายุอยู่ในแต่ละช่วงยุคได้แก่ Silent
Generation, Baby Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z จานวน 5 คน
โดยอาศัยหลักฐานต่างๆด้วยกระบวนวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่
วารสาร หนังสือ วิทยานิพนธ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และบทสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ รวมถึง
ผ่านการวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดทฤษฎีการกล่อมเกลาทางการเมืองและทฤษฎีเกี่ยวกับเจเนอเรชั่น ใน
ประเด็นเรื่องวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
(2)

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยร่วมกันของคนทีป่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอ
เรชั่นที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมีทั้งหมด 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง ปัจจัย
ด้านสื่อ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการศึกษา จากศึกษาพบว่าคนที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่
ของรั ฐ ในแต่ ล ะเจเนอเรชั่ น มีวิ ธี คิด ทางการเมื อ งที่ อิ งอยู่ กั บสภาพแวดล้ อ มทางและสถานการณ์
การเมืองในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาผู้ ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใน Silent Generation,
Baby Boomer, Generation X, Generation Y พบว่าปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง ปัจจัย
ด้านสื่อ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วน
Generation Z พบว่ามีเพียงปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง และปัจจัยด้านสื่อที่มีผลต่อวิธีคิด
ทางการเมืองเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจยังไม่มาถึงเพราะคน Generation Z ที่ยังอยู่ในช่วงของวัย
เรียน นอกจากนี้ในปัจจัยด้านการศึกษาคนผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ Silent Generation,
Baby Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z ต่างมองร่วมกันว่าปัจจัยด้าน
การศึกษาไม่มีผลต่อการให้เกิดวิธีคิดทางการเมือง
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองทาให้ได้ผลสรุปว่าคนที่ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Silent Generation, Baby Boomer, Generation X, Generation Y และ
Generation Z ต่างมีปัจจัยหลักที่ทาให้คนสามารถพอใจรัฐบาลหรือไม่พอใจรัฐบาลไม่เหมือนกัน โดย
คน Generation Z จะมี ค วามพอใจกั บ รั ฐ บาลหากรั ฐ บาลบริ ห ารประเทศในลั ก ษณะที่ เ ป็ น
ประชาธิ ป ไตย ในทางตรงกั น ข้ า มหากรั ฐ บาลบริ ห ารประเทศในลั ก ษณะที่ เ ป็ น เผด็ จ การคน
Generation Z จะเกิดความไม่พอใจในรัฐบาล คน Generation Y จะมีความพอใจกับรัฐบาลหาก
รัฐบาลบริ หารประเทศในลักษณะที่เป็นประชาธิ ปไตยแต่ในทางตรงกันข้ามหากได้รัฐบาลบริหาร
ประเทศในลักษณะที่เป็นเผด็จ คน Generation Y จะเกิดความไม่พอใจในรัฐบาลแต่ถ้ารัฐบาลเผด็จ
การมาบริหารประเทศแล้วทาให้เศรษฐกิจดีคน Generation Y มองว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทาเพื่อไม่ให้
รู้สึกไม่พอใจไปมากกว่านี้ ส่วนคน Silent Generation, Baby Boomer และGeneration X จะมี
ความพอใจกับรัฐบาลหากรัฐบาลบริหารประเทศให้มีเศรษฐกิจที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากรัฐบาล
บริหารประเทศให้มีเศรษฐกิจที่แย่ลงคน Silent Generation, Baby Boomer และGeneration X
จะเกิดความไม่พอใจในรัฐบาล
จากการศึกษาทาให้เห็นว่ายิ่งเจเนอเรชั่นที่มีอายุน้อยลงมาจะมีความคิดที่ไม่ชอบเผด็จ
การอานาจนิ ยมมากขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งเจเนอเรชั่นหลั งๆที่มีอายุมากขึ้นจะให้ความส าคัญกับเรื่อง
เศรษฐกิจ โดยทุกเจเนอเรชั่นมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลในปัจจุบันหรือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชา เนื่องจาก Generation Z มีความคิดที่ไม่ชอบเผด็จการให้ความสาคัญกับประชาธิปไตย
Generation Y มีความคิดที่ไม่ชอบเผด็จการให้ความสาคัญกับประชาธิปไตยและคานึงถึงเรื่อง
เศรษฐกิจ และSilent Generation, Baby Boomer และGeneration X ให้ความสาคัญกับเรื่อง
เศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันหรือรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่สามารถตอบโจทย์
ต่อคนทุก Generation ในประเทศได้เพราะมีลักษณะเผด็จการและทาให้เศรษฐกิจในประเทศแย่ลง
(3)

คาสาคัญ : เจเนอเรชั่น, การกล่อมเกลาทางการเมือง, ข้าราชการ, เจ้าหน้าที่ของรัฐ, รัฐประหาร,


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4)

กิตติกรรมประกาศ
การท าภาคนิ พ นธ์ฉ บั บนี้ ส ามารถบรรลุ วัต ถุป ระสงค์ใ นการศึก ษาค้ น คว้ า และเสร็ จ
สมบูรณ์ขึ้นมาได้นั้น ผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์
ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ที่เป็นผู้แนะนาแนวทางในการทาภาคนิพนธ์ตั้งแต่วันแรกที่เข้าปรึกษาถึงหัวข้อใน
การทานิพนธ์ครั้งนี้ และกรุณารับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้วิจัย อีกทั้งอาจารย์ยังชี้แนะแนวทางที่
เหมาะสมต่อการทาวิจัย เพื่อให้ชิ้นงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการแนะแนวทางในการ
เขียนเนื้อหาและบทวิเคราะห์ตลอดจนการกาหนดกรอบเวลาในการเสนอความคืบหน้าของงาน และ
ยังได้สละเวลาอันมีค่าตรวจสอบความคืบหน้าของงานพร้อมให้คาแนะนาที่ทาให้งานฉบับนี้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง
การให้คาแนะนาและความใส่ใจของอาจารย์ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทาภาคนิพนธ์จนภาคนิพนธ์ฉบับนี้เสร็จ
สมบูรณ์ล้วนมีความสาคัญที่ทาให้ผู้วิจัยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้อย่างราบรื่น
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลสาคัญทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าทั้งจากการเรียน การทางานและ
การพักผ่อน มาให้สัมภาษณ์และเล่าถึงประสบการณ์ทางการเมืองที่เคยผ่าน รวมทั้งการแลกเปลี่ยน
ความคิดเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่มีผลต่อการทาวิจัยในครั้งนี้ และยังให้แหล่งข้อมูลสาคัญที่เป็น
ประโยชน์กับการทาภาคนิพนธ์ หากปราศจากบุคคลเหล่านี้ไปผู้วิจัยคงไม่สามารถทาการศึกษาครั้งนี้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสร็จสบบูรณ์
ผู้วิจัยขอขอบคุณกัลยาณมิตรของผู้วิจัยทุกท่านที่ได้ให้ความช่วยเหลือและเป็นกาลังใจ
ให้ผู้เขียนตลอดมา ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ วิทยาลัยสหวิทยาการโครงการศึกษาศิลปศาสตร์
บัณฑิตสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ทุกท่านที่เป็นกาลังใจและคอยให้ความช่วยเหลือ
ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาและจัดทาวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอขอบคุณ เพื่อนผู้ซึ่งคอยให้ความ
ช่วยเหลือและให้กาลังใจแก่ผู้วิจัยด้วยความเต็มใจยิ่งเสมอมา
สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ คุณพ่อศรชัย ขาวดี และคุณแม่สมสุข สุทธิสินทองที่ท่าน
ช่วยสนับสนุนในด้านการศึกษาแก่ผู้วิจัยมาตั้งแต่วัย เยาว์ ตลอดจนให้ความรัก ความเข้าใจ และเป็น
กาลังใจสาคัญที่ทาให้ภาคนิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลุล่วงลงได้ โดยหากภาคนิพนธ์ฉบับนี้มีประโยชน์และมี
คุณค่าทางการศึกษาแก่ผู้ที่ได้ศึกษาภาคนิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนขอยกความดีความชอบทั้งหมดแด่ ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี และกรรมการสอบภาคนิพนธ์ อ.เพชร จารุไพบูลย์ หากภาค
นิพนธ์ฉบับนี้มีความบกพร่องประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้

นายธัชนนท์ ขาวดี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2562
(5)

สารบัญ
หน้า

บทคัดย่อ (1)

กิตติกรรมประกาศ (4)

สารบัญตาราง (9)

สารบัญภาพ (10)

บทที่ 1 บทนา 1

1.1 ที่มาและความสาคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4
1.3 ขอบเขตของการวิจัย 4
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5

2.1 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการกล่อมเกลาทางการเมือง 5
2.1.1ความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมือง 5
2.1.2 ตัวแทนทางสังคมที่ทาให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมือง 6
2.1.3 วิธีการกล่อมเกลาทางการเมือง 7
2.2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเจเนอเรขั่น 9
2.2.1 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Silent Generation 9
2.2.2 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Baby Boomer 11
2.2.3 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation X 12
2.2.4 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation Y 13
2.2.5 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation Z 14
2.2.6 ช่วงเวลาและค่านิยมในบริบททางเศรษฐกิจการเมืองไทยที่หล่อหลอม 16
ให้คนในแต่ละ Generation มีลักษณะเฉพาะทีเ่ พิ่มเติมจากคานิยาม
Generation ในสากล
(6)

2.3 ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 18
2.3.1 ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 18
2.3.2 ประเภทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 18
2.3.3 ส่วนราชการ 19
2.3.4 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี 20

บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย 22

3.1 ขอบเขตการวิจัย 22
3.1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 22
3.1.2 วิธีการวิจัย 23
3.1.3 ขอบเขตด้านเวลา 23
3.1.4 ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 23
3.2 วิธีดาเนินการศึกษาวิจัย 25
3.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 25
3.2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล 25
3.2.3 การจัดกระทาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 26
3.2.4 การนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 26

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 27

4.1 บริบททางเศรษฐกิจการเมืองโดยรวมที่หล่อหลอมวิธีคิดจาก 27
เจเนอเรชั่นแรกสู่เจเนอเรชั่นล่าสุด
4.1.1 เศรษฐกิจไทยยุคศักดินาก่อนการปฏิวัติการปกครอง พ.ศ. 2475 27
(ช่วงปี พ.ศ. 1839-2475)
4.1.2 การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 28
และการพัฒนาทุนนิยมโดยรัฐ (ช่วงปี พ.ศ. 2475-2500)
4.1.3 เผด็จการทหารและการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจตามกรอบ 30
ความคิดของธนาคารโลก (ช่วงปี พ.ศ. 2501-2516)
4.1.4 นักธุรกิจและชนชั้นกลางมีบทบาทเพิ่มขึ้นและเหตุการณ์ 16 ตุลาคม 32
พ.ศ. 2519 (ช่วงปี พ.ศ. 2516-2523)
(7)

4.1.5 การเปิดเสรีครั้งใหญ่การเติบโตแบบเศรษฐกิจฟองสบู่และเหตุการณ์ 33
พฤษภาทมิฬ (ช่วงปี พ.ศ. 2524-2539)
4.1.6 วิกฤตเศรษฐกิจเศรษฐกิจฟองสบู่แตก วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง 36
เสื้อเหลือง-แดง และการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดย
คณะคสช. (ช่วงปี พ.ศ. 2540-2562)
4.2 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ผล 41
4.2.1 ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ 42
ในแต่ละเจเนอเรชั่น
4.2.1.1 ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง 43
ของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
4.2.1.2 ปัจจัยด้านสื่อที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง 45
ของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
4.2.1.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง 48
ของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
4.2.1.4 ปัจจัยด้านการศึกษาที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง 50
ของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
4.2.2 การกาหนดความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละ 51
เจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 ผ่านปัจจัยที่มีผลต่อ
วิธีคิดทางการเมือง
4.2.2.1 ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง 51
ของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
ต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562
4.2.2.2 ปัจจัยด้านสื่อที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ทปี่ ระกอบ 53
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง
พ.ศ. 2557-2562
4.2.2.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ 55
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง
พ.ศ. 2557-2562
4.2.2.4 ปัจจัยด้านการศึกษาที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ 56
(8)

อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ.
2557-2562

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย 57

5.1 สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล 57
5.2 การกล่อมเกลาทางการเมืองในคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพ 58
เจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
5.3 ความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อรัฐบาล 59
ในช่วง พ.ศ. 2557-2562 หรือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
5.4 กลไกและสิ่งที่เป็นตัวสะกดความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ 60
ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
5.5 สรุปวิธีคิดของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการกาหนดความพอใจต่อรัฐบาล 62

รายการอ้างอิง 68
(9)

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
2.1 ตารางแสดงข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์ 24
4.1 เจเนอเรชั่นในประเทศไทยและช่วงในแต่ละเจเนอเรชั่น 27
4.2 ตารางแสดงบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่คนแต่ละเจเนอเรชั่นได้ผ่าน 39
4.3 ตารางแสดงข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 41
4.4 ลาดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนในแต่ละเจเนอเรชั่น 42
4.5 ช่องทางสื่อหลักของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ 47
แต่ละเจเนอเรชั่นในช่องทางการรับข่าวสารการเมือง
5.1 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ 62
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Generation Z
5.2 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ 63
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Generation Y
5.3 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ 63
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Generation X
5.4 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ 64
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Baby Boomer
5.5 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ 65
เจ้าหน้าที่ของรัฐ Silent Generation
(10)

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
5.1 กลไกในการทาให้คนพอใจกับรัฐบาล 60
1

บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความสาคัญ

โลกของเรากว่า แต่ล ะประเทศจะวิวั ฒ นาการระบอบการเมือ งการปกครองจนเป็ น


ลักษณะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โลกของเราได้ผ่านยุคชนเผ่า ยุคนครรัฐ ยุคจักรวรรดิ ยุคระบบฟิวดัล จนใน
ปัจจุบันคือยุคที่เป็นรัฐสมัยใหม่คือรัฐที่มีรัฐบาลเป็นศูนย์กลางของรัฐที่มีอานาจในการปกครอง และมี
ระบบราชการที่ทาหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินที่อยู่บนหลักอานาจอธิปไตยอันเป็นอานาจสูงสุดใน
การปกครองรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั่วดินแดนของรัฐที่มีขอบเขตชัดเจนและแน่นอนรวมไปถึงครอบคลุม
ประชากรของรัฐซึ่งมีความเป็นหนึ่งเดียวและมีสานึกผูกพันกับรัฐ ดังนั้นระบอบการเมืองการปกครอง
ในบริบทของรัฐสมัยใหม่ของประเทศต่างๆในโลกต่างมีรูปแบบการเมืองและการปกครองเป็นของ
ตนเองในการปกครองประเทศ โดยระบอบการปกครองหลั ก ๆมี อ ยู่ ด้ ว ยกั น สองระบอบคื อ
ประชาธิปไตยและเผด็จการซึ่งทั้งสองระบอบนี้มีลักษณะที่ตรงข้ามกัน โดยประเทศต่างๆไม่ว่าจะมี
อุดมการณ์หรือลักษณะการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใดในแต่ละประเทศก็จะ
ถูกจัดประเภทระบอบการเมืองการปกครองตามที่แต่ละประเทศใช้ในรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยหรือ
เผด็จการ (ประคอง มาโต และ ปิยะ ตามพระหัตถ์, 2562, น. 173) โดยประชาธิปไตยเป็นระบอบ
การเมืองการปกครองที่อานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยอาศัยหลักการแบ่งแยกอานาจและหลัก
ความถูกต้องทางกฎหมาย ดังนั้นสิทธิเสรีภาพจะอยู่กับประชาชน ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการ
เลื อกตั้งของประชาชน ผู้ ป กครองเป็นเพียงตัว แทนที่ได้รับมอบอานาจให้ใช้อานาจอธิปไตยแทน
ประชาชนในการบริหารประเทศ โดยปัจจุบันประเทศต่างๆในโลกที่เป็นระบอบประชาธิปไตยได้ใช้
ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือประชาธิปไตยทางอ้อม คือระบอบที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจทางการปกครองด้วยตัวเองแต่ประชาชนเลือกตัวแทนให้ทาหน้าที่ตัดสินใจแทนตนโดย
การเลือกตั้ง (ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์, 2561, น. 8) โดยประชาธิปไตยแบบตัวแทนจะมีอยู่ด้วยกัน 3
รูปแบบคือระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิ บดีและระบบกึ่งประธานาธิบดี ส่วนเผด็จการเป็นระบอบ
การปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจต่างๆถูกจากัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือ
คณะบุคคลทาให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพโดยระบอบเผด็จการมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบคือระบอบ
เผด็จการทหาร ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์และระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ซึ่งแต่ละประเทศล้วนต้อง
มีระบอบการปกครองเป็นของตนเองในการบริหารและดูแลประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองซึ่งมี
ผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ
2

ประเทศไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้


ผ่านระบอบการเมืองการปกครองทั้งสองประเภททั้งที่เป็นการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
และการเมืองการปกครองระบอบเผด็จการ โดยจะเป็นการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ระบบรัฐสภาส่วนช่วงที่เป็นเผด็จการจะเป็นระบอบเผด็จการทหาร แต่ละการเมืองการปกครองไม่ว่า
จะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการจาเป็นต้องมีรัฐบาลหรือผู้ปกครองในการบริหารประเทศทาให้เกิด
โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตามวิธีการบริหารประเทศในแต่ละรัฐบาล ซึ่งในการ
บริหารประเทศของรัฐบาลก็จะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนตามโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคมตามที่รัฐบาลได้วางไว้ในการบริหารประเทศ เมื่อประเทศมีระบบการเมืองการปกครอง มี
รัฐบาลในการบริหารประเทศทาให้เกิดโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมซึ่งส่งผลต่อประชาชน
ที่อยู่ในประเทศ ทาให้การเมืองเป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยหลัง
การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยผ่านคณะรัฐมนตรีที่
ปกครองมาแล้วทั้งสิ้น 62 คณะรัฐมนตรีและผ่านการรัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ทาให้
ประเทศไทยจึงมีรัฐบาลในการบริหารประเทศในลักษณะที่สลับกันไปบางช่วงเป็นรัฐบาลที่มีลักษณะ
เป็ น ประชาธิป ไตยและบางช่ ว งเป็ นรัฐ บาลที่มี ลั กษณะเป็ นเผด็ จการแต่ในปัจจุบั นปี พ.ศ. 2562
ประเทศไทยแม้ป ระเทศไทยจะถือว่ าเป็น การปกครองระบอบประชาธิป ไตยแล้ ว เนื่ องจากมีการ
เลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 แต่ผู้นาของประเทศยังคงเป็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่ง
ปกครองด้วยลักษณะเผด็จการทหารเป็นรัฐบาลที่สืบเนื่องจากการได้มาซึ่งอานาจในการปกครองจาก
การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นผลทาให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลงนาไปสู่การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่
เอื้อต่อการใช้อานาจของคณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2560 ที่ได้เพิ่มอานาจต่อการสืบทอดอานาจของคณะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในการ
เลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 จนทาให้คณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังคงได้บริหาร
ประเทศอยู่ในปัจจุบัน
เจเนอเรชั่นของคนในสังคมไทยปัจจุบันประกอบด้วยกันทั้งหมด 5 เจเนอเรชั่นได้แก่ Silent
Generation, Baby Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z โดยแบ่งคนใน
แต่ละเจเนอเรชั่นตามยุคสมัยของคนในแต่ละยุคโดย Silent Generation คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ.
2468-2488 ตามด้วย Baby Boomer พ.ศ. 2489-2507, Generation X พ.ศ. 2508-2522,
Generation Y พ.ศ. 2523-2540 และGeneration Z คือคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 โดยประสบการณ์
ของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นที่ได้พบเจอในช่วงชีวิตจึงแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น บริบทภายในประเทศ
เช่นโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม การสื่อสาร เทคโนโลยี การทางาน และ
บริบทภายนอกประเทศ เช่น สภาวะสงคราม การค้าระหว่างประเทศเป็นต้น ประสบการณ์ในชีวิต
ดังกล่าวของคนแต่ละรุ่นจึงส่งผลและแสดงออกมาในรูปแบบของ พฤติกรรม สังคม การใช้ชีวิต ความ
เชื่อ ความคิด และทัศนคติที่แตกต่างกันไปตามคนในแต่ละรุ่น ดังนั้นประสบการณ์ทางการเมืองของ
3

คนในแต่ละเจเนอเรชั่นจึงไม่เท่ากันตามยุคสมัยในแต่ละเจเนอเรชั่นนั้นๆ แต่ในช่วง พ.ศ. 2557-2562


คนในทุกเจเนอเรชั่นต่างมีประสบการณ์ร่วมกันคือประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ยังมีการรัฐประหาร
และมีก ารปกครองโดยรั ฐ บาลที่มีลั กษณะเผด็จการทหารอยู่ แม้จะมี การเลื อกตั้ง ในรูปแบบของ
ประชาธิปไตยแล้วในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 จนได้นายกคนปัจจุบันคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชาแต่เป็นการได้มาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเนื่องจากวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีมาจากรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่มีลักษณะที่เอื้อต่อการสืบทอดอานาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชาในการบริ ห ารประเทศในช่ว งก่อนตั้ งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นผลทาให้ ในปี พ.ศ. 2562 พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชาแคนดิเดตนายกจากพรรคพลังประชารัฐยังคงได้ทาหน้าที่บริหารประเทศอยู่ ซึ่ง
ในขณะเดียวกันประเทศไทยกาลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อดูจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่เป็นอัตราที่บ่ง
บอกถึงจานวนเฉลี่ยของการคลอดบุตรต่อผู้หญิงหนึ่ง คน ในปี พ.ศ. 2506 ในช่วงปลายของ Baby
Boomer ถือว่าเป็นอัตราการเจริญพันธุ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ 6.16 หมายความว่าในผู้หญิง 1
คนจะมีการคลอดบุตรประมาณ 6.16 คน ในปี พ.ศ. 2507 ช่วงปลายของ Generation X มีอัตรา
การเจริญพันธุ์อยู่ที่ 3.59 ในปี พ.ศ. 2540 ช่วงปลายของ Generation Y มีอัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่
1.78 และในปัจจุบัน พ.ศ. 2562 มีอัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.48 (ปราโมทย์ ประสาทกุล , ปัทมา
ว่าพัฒนวงค์ และวรชัยทองไทย, 2562, น. 20) แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มลดลงตลอดตั้งแต่อัตราการ
เจริญพันธุ์สูงสุด โดย Silent Generation, Baby Boomer ถือว่าเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว ส่วน
Generation X ที่มีช่วงอายุ 40-54 ปีในอีกไม่กี่ปีจะเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุซึ่ง โดยรวมแล้วคนไทยยังไม่
ตระหนักถึงปัญหาของสังคมผู้สูงอายุและในอนาคตจะส่งผลถึงคน Generation Y และGeneration Z
ที่มีจานวนน้อยกว่าแต่ต้องดูแลคนในครอบครัวที่จานวนมากกว่า และขณะเดียวกันคน Generation
X และ Generation Y อยู่ในช่วงวัยทางานต้องการความมั่งคงในชีวิต ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
และปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ตอบสนองต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่วน Generation Z กาลังอยู่ในช่วง
วัยเรียนที่จะเข้าสู่วัยทางานก็ต้องการความมั่นคงในชีวิต ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมเพื่อ
อนาคตของคนรุ่นนี้ที่จะเข้าไปสู่วันทางาน
แต่ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562 จากการบริหารประเทศของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ยังคง
ใช้ลักษณะการบริหารประเทศที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญจากการมาบริหารตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร
พ.ศ. 2557 ก็คือลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ ทาให้ผู้วิจัยสนใจในมุมมองของคนในแต่ละเจเนอ
เรชั่นที่มีช่วงอายุ ช่วงวัยและประสบการณ์ที่ต่างกันแต่เมื่อมองผ่านเหตุการณ์ในปัจจุ บันที่คนในแต่ละ
เจเนอเรชั่นพบเจอเหมือนกันคือการบริหารรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งแต่ละเจเนอ
เรชั่นนั้นจะมีมุมมองต่อปัจจัยที่มีผลต่ออุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติทางการเมืองอย่างไร
และมีวิธีคิดทางการเมืองและสิ่งที่กาหนดความรู้สึกที่แสดงออกต่อรัฐบาลในปัจจุบันคือคณะรัฐบาล
ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่บริหารประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2562 อย่างไร
4

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.2.1 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐใน


แต่ละเจเนอเรชั่น
1.2.2 ศึกษาวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอ
เรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 ผ่านปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง
1.2.3 ศึกษาความพอใจของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นที่มีต่อ
คณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562

1.3 ขอบเขตของการวิจัย

1.3.1 ศึกษาเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่คนในแต่ละเจเนอเรชั่นได้ผ่าน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2468-2562
1.3.2 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคน 5 เจเนอเรชั่นในสังคมไทย ได้แก่
ได้แก่ Silent Generation, Baby Boomer, Generation X, Generation Y
และGeneration Z
1.3.3 ศึกษาความพอใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นในช่วงของคณะรัฐบาลในปี พ.ศ.
2557-2562

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.4.1 รับรู้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐใน


แต่ละเจเนอเรชั่น
1.4.2 รับรู้ถึงมุมมองของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นเกี่ยวกับ
รัฐบาลในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562
5

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


ในการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการ
กาหนดความพอใจของรั ฐบาลช่ว ง พ.ศ. 2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่ มผู้ ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ศึกษาได้นาแนวคิด และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ดังนี้
2.1 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกล่อมเกลาทางการเมือง
2.2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเจเนอเรขั่น
2.3 ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.1 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการกล่อมเกลาทางการเมือง
บุณฑริกา เจี่ยงเพ็ชร์ (2543, น.43 อ้างถึงใน Mcloud,O’keefe, 1972, p. 128 ) การ
กล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) เป็นส่ว นหนึ่งของการกล่ อมเกลาทางสังคม
(Socialization) เป็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) การรับเอาแนวคิดเรื่อง
การกล่อมเกลาทางการเมืองมาใช้ในงานวิจัยเริ่มในทศวรรษที่ 1960 จากงานวิจัยด้านการสื่อสาร ด้วย
เหตุผลที่ว่าการสื่อสารเป็นเสมือนพาหะที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ ส่วนทางด้านรัฐศาสตร์ ในกลุ่มสานัก
พฤติกรรมศาสตร์ ม องว่าการกล่ อมเกลาทางการเมืองถื อเป็นตัว แปรที่ส าคั ญที่มีผ ลต่อ การศึกษา
พฤติกรรมทางการเมืองและปรากฏการณ์ทางการเมือง (ลิขิต ธีรเวคิน, 2529, น. 1)
2.1.1 ความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมือง
คาว่า “การกล่อมเกลาทางการเมือง” ได้มีการใช้คานี้ในรูปแบบต่างๆแต่ยังคง
ความหมายเดี ย วกั บ ค าว่ า การกล่ อ มเกลาทางการเมื อ งอยู่ เช่ น ”การขั ด เกลาทางการเมื อ ง”
“กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง” “การเรียนรู้ทางการเมือง” ”สังคมกรณ์ทางการเมือง” และ”
สังคมปะกิตทางการเมือง” โดยคาดังกล่าวในรูปแบบต่างๆมีความหมายเดียวกับคาภาษาอังกฤษคาว่า
“Political Socialization” โดยมีผู้ให้ความหมายต่างๆดังนี้
Kenneth P. Langton (1969, p.4) การกล่อมเกลาทางการเมือง หมายถึง
กระบวนการที่สังคมได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยการกล่อม
เกลาทางการเมืองเป็นไปเพื่อรักษาบรรทัดฐานและสถาบันการเมืองดั้งเดิมแต่ในทางกลับกันเมื่อมีการ
ปลูกฝังค่านิยมทางการเมืองที่แตกต่างจากที่ผ่านมา หรือคนรุ่นต่อไปที่ถูกเลี้ยงดูมาพร้อมกับความ
คาดหวังทางการเมื องและสังคมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน กระบวนการขัดเกลาทางสามารถเป็น
เครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้กับคนรุ่นต่อไป
6

Chartchai Na Chiangmai (1978, p.5) การกล่อมเกลาทางการเมืองหมายถึง


การเรี ย นรู้ ท างการเมืองที่มีผ ลต่อ ทัศนคติแ ละพฤติก รรมทางการเมือ งรวมถึง การแสดงออกทาง
การเมือง โดยการกล่อมเกลาทางการเมืองมักถูกมองว่าเป็นตัวแปรที่สาคัญในการอธิบายพฤติกรรม
และการแสดงออกทางการเมืองของพลเมืองในประเทศ
Hyman (1956. p. 24) การกล่อมเกลาทางการเมืองหมายถึง การเรียนรู้แต่ละ
รูปแบบทางสังคมที่สอดคล้องกับตาแหน่งทางสังคมของเขาในฐานะสื่อกลางผ่ านหน่วยงานต่างๆของ
สังคม
นฤมล นิ่ ม นวล (2559, น. 10) การกล่ อ มเกลาทางการเมื อ งหมายถึ ง
กระบวนการปลูกฝังอุดมการณ์ แนวคิด คติ ความเชื่อเกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ทาให้คนกลุ่ม
หนึ่งสามารถสร้างภาวการณ์ครอบครองความคิด และเป็นที่ยอมรับของคนอีกกลุ่มอื่น ๆ ได้
ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ (2526 , น. 28) สังคมประกิตการเมืองหมายถึง การอบรม
ให้บุคคลมีความเชื่อและค่านิยมทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่งผ่านตัวแทนทางสังคมโดยคลอบคลุม
การเรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ปัญหาและบุคลิกภาพทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นไปโดย
ทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม โดยผ่านสองระดับ ในระดับชุมชน เป็นการเรียนรู้ที่คนรุ่นหนึ่งถ่ายทอด
มาตรฐานและความเชื่อทางการเมืองไปยังคนรุ่นต่อไปและระดับบุคคล เป็นกระบวนการที่บุคคลได้มา
ซึ่งทัศนะ ค่านิยม และทักษะทางการเมืองแล้วนามาสู่แนวคิดและทัศนะทางการเมืองของตนเอง
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และ อนุวัต กระสังข์ (2018, น. 14, อ้างถึงในRush, Michael
and Althoff, Philip, 1971, p. 16) การกล่อมเกลาทางการเมืองเป็นการที่บุคคลได้รู้ทางการเมือง
ตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์ผ่านระบบการเมืองและมีการรับรู้ (Perception) และปฏิกิริยา (Reaction) ต่อ
ปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยเกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมใน
สั ง คมที่บุ คคลนั้ น เป็ น สมาชิ กอยู่ น อกจากนี้ ยัง เกิ ดขึ้ นมาจากปฏิสั มพั นธ์ (Interrelation) ของ
บุคลิกภาพและประสบการณ์ของบุคคลด้วย
2.1.2 ตัวแทนทางสังคมที่ทาให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมือง
Henk Dekker (1991, p. 30-38) ได้กล่าวว่ากระบวนการกล่อมเกลาทาง
การเมืองต้องทาผ่านตัวแทนทางสังคม (agents) ซึ่งทาหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้อุดมการณ์ แนวคิด
ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมืองแก่ผู้ที่ได้ผ่านตัวแทนนั้นๆจนเกิดเป็นพฤติกรรมทางการเมืองในแต่
ละคน โดยตัวแทนทางสังคมที่ทาให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมืองได้แก่ ครอบครัว ระบบการศึกษา
สื่อมวลชน
ครอบครัว ถือว่าเป็นตัวแทนทางสั งคมที่ใกล้ ชิดมากกับเด็กมากที่สุ ดและเป็น
ตัวแทนทางสังคมแรกที่ทาให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมืองแต่เมื่อเด็กอายุมากขึ้นความสาคัญของ
ครอบครัวในฐานะตัวแทนทางสังคมก็จะลดน้อยลงไป โดยครอบครัวสามารถกล่อมเกลาทางการเมือง
ได้ 3 วิธีด้วยกัน วิธีแรกคือการถ่ายทอดทัศนคติทางการเมืองจากผู้ปกครองสู่เด็ก เป็นการถ่ายทอด
ความคิ ด ที่ ผู้ ป กครองคิ ด ว่ า มี คุ ณ ค่ า ต่ อ เด็ ก ซึ่ ง ทั ศ นะที่ ถ่ า ยทอดไปอาจเป็ น ทั ศ นะที่ ท าให้ เ ด็ ก เกิ ด
7

ความรู้สึกเคารพ จงรักภักดี หรือเกลียดชัง เช่นทัศนคติของผู้ปกครองที่แสดงความคิดเห็นแตกต่าง


จากการกระทาของรัฐบาลทาให้เด็กฟังแล้วซึมซับ วิธีที่สองทัศนะของผู้ปกครองที่มีต่อพรรคการเมือง
เป็นการพัฒนาทัศนคติทางการเมืองเบื้องต้นสาหรับเด็กในเรื่องอุดมการณ์พรรคการเมืองของพรรคใด
พรรคหนึ่งซึ่งเด็กจะมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเลียนแบบความคิดผู้ปกครองวิธีที่สามสภาพแวดล้อม
ของครอบครัว การที่เป็นครอบครัวมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันพื้นฐานสังคมและเศรษฐกิจ
เดียวกัน ได้อ่านหนังสือฉบับเดียวกัน ดูโทรทัศน์ร่วมกัน การพูดคุยถกเถียงและรับฟังในเรื่องเดียวกัน
ดังนั้นสมาชิกของทุกคนในครอบครัวจึงมีความคิดทางการเมืองค่านิยมและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน
เนื่องจากอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
การศึกษา เป็นการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านเนื้อหาของหลักสูตรของโรงเรียน
ผ่านความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการระหว่างนักเรียน, ครู และระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง โดยการ
สอนวิชาต่างๆเช่นประวัติศาสตร์พลเมืองสังคมศาสตร์ภาษาหนังสือตารา ฯลฯ ก็มีบทบาทสาคัญใน
การกล่อมเกลาทางการเมืองเช่นกัน ในขณะที่นักเรียนได้รับการศึกษาจะได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ
และค่านิยมทางการเมืองใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลกลายเป็นทัศนคติทางการเมืองของนักเรียน เช่น นักเรียน
ได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อการกระทาของรัฐบาลที่ มีต่อชีวิตของพวกเขานาไปสู่การแสดงออกเป็น
ทัศนะทางการเมือง
สื่อมวลชน ทุกวันนี้สื่อมีรูปแบบที่หลากหลายได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
อินเตอร์เน็ต ซึ่งสื่อเป็นแหล่งข้อมูลมากมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและสถานการณ์ทางการเมืองใน
ปัจจุบันและสื่อมวลชนไม่เป็ นเพียงตัวแทนทาหน้าที่กล่อมเกลาทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
เป็นเครื่องมือของสถาบันการเมืองในนาไปใช้เพื่อการกล่อมเกลาทางการเมืองด้วย
2.1.3 วิธีการกล่อมเกลาทางการเมือง
Dawson and Prewit (1977, p. 63-64) ได้อธิบายวิธีการกล่อมเกลาทาง
การเมืองไว้สองรูปแบบ คือการกล่อมเกลาทางการเมืองโดยตรงและการกล่อมเกลาทางการเมืองโดย
อ้อม
(1) การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยตรง คือการเรียนรู้ที่เกิดจากการสอนโดยตรง
หรือการปลูกฝัง หล่อหลอม (indoctrination) เป็นการกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดจากการตั้งใจ
สอนและมีการวางแผนการสอนที่แน่นอน เช่น การสอนเรื่องหน้าที่พลเมืองดีในโรงเรียน หรือการ
ออกไปเผยแพร่ ค วามรู้ เรื่ องรั ฐ ธรรมนูญ กับ การเลื อ กตั้ งระบบใหม่ ของอาสาสมัค รกั บการเรี ยนรู้
รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ซึง่ ดาเนินโดยคณะกรรมการการเลือกตัง้ เป็นต้น
(2) การเรียนรู้ทางการเมืองโดยอ้อม คือการกล่อมเกลาทางการเมืองแบบไม่ตั้งใจ
เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวไม่มีการวางแผนหรือการกาหนดหลักสูตรที่แน่นอนตายตัว และมี
ลักษณะไม่เป็นทางการบุคคลอาจจะได้รับความรู้เรื่องการเลือกตั้งระบบใหม่จากการพูดคุยกับเพื่อน
หรือบุคคลในครอบครัว จากการติดตามข่าวสารการเมืองทั่วไปจากสื่อมวลชน หรือจากการติดตาม
ข่าวสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
8

จุมพล หนิมพานิช (2531, น. 10) ได้อธิบายวิธีการกล่อมเกลาทางการเมืองไว้


สองรูปแบบเช่นเดียวกับ Dawson and Prewit คือ การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยตรงและการ
กล่อมเกลาทางการเมืองโดยอ้อม แต่มีความแตกต่างกันในเนื้อหาการอธิบาย
(1) การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยตรง (direct form of political learning)
การเลียนแบบ (imitation) ความสาคัญของการเรียนรู้เลียนรูปแบบทางสังคม
พิจ ารณาได้จ าการเรี ย นรู้ของเด็กในการพูด ในการเดิน ทักษะต่างๆ ที่เด็กได้มาไม่ว่าจะเป็นการ
ติดต่อสื่อสาร การเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่มาจากการเลียนแบบที่เขาได้เห็นและได้ยินมาทั้งสิ้น รวมถึง
ความศรัทธาในเด็กก็ได้มาจากการเลียนแบบบิดามารดา สาหรับการกล่อมเกลาทางการเมืองก็เช่นกัน
ที่เด็ กส่ ว นใหญ่เลี ย นแบบจากบิ ดามารดามายึดถื อเป็ นของตน เช่ น เด็กจะได้ รับความรู้ ค่ านิย ม
ทัศนคติ พฤติกรรม ทักษะตลอดจนความคาดหวังต่างๆ มาจากบุคคลใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ครู ซึ่งเป็น
การเลียนแบบทั้งในทางบวกและทางลบ
การเรียนรู้จากความคิดหวัง (anticipatory socialization) การเรียนรู้แบบนี้
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหวังว่าตัวเองอยากจะมีตาแหน่งหน้าที่การงานที่สูงส่งเขาจะต้องเริ่มต้นเรียนรู้แบบ
แผน คุณค่า และพฤติกรรมของบทบาทที่เขาจะไปดารงตาแหน่ง เช่น ผู้ที่สนใจอยากเป็นนักการเมือง
ก็ต้องเตรียมตัวเองในด้านต่างๆ เรียนรู้ถึงแบบแผนคุณค่า และพฤติกรรมของการเป็นนักการเมืองที่มี
ความรู้ ความสามารถ เป็นขั้นตอนการเรียนรู้ที่สูงกว่าการเลียนแบบ โดยเมื่อเด็กเกิดความนึกคิดว่า
อยากจะเป็นอะไรในอนาคตก็จะพยายามเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ในขั้นนี้เด็กจะเริ่มสนใจแนวคิด
หลักการและจุดมุ่งหมายของนักการเมือง บทบาทของพลเมืองดี และสนใจกิจการบ้านเมือง โดยหา
ความรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นๆ
การให้การศึกษาทางการเมือง (political education) เป็นวิธีการที่เกิดจาก
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดทัศนะหรือความโน้มเอียงทางการเมืองให้เกิดขึ้นกับบุคคล ซึ่งอาจจะดาเนิน
โดยสถาบันหรือองค์การต่อไปนี้ เช่น ครอบครัว โรงเรียน ตัวแทนของรัฐบาล กลุ่มและองค์การหรือ
สถาบันอื่นๆ โดยทั่วไปสังคมส่วนใหญ่มักจะมีวิธีการให้การศึกษาทางการเมืองในรูปแบบของการสอน
ปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรมทางการเมืองที่มีคุณค่าให้กับบุคคลโดยตรงจากครอบครัว โรงเรียน และ
องค์กรทางการปกครอง โดยเป็นการเรียนรู้จากผู้สอนมากกว่าการเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง
(2) การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยอ้อม (indirection form political learning)
การถ่ายทอดระหว่างบุคคล (interpersonal transference) วิธีการเรียนรู้
ทางการเมืองแบบนี้เกิดจากการถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ที่มาจากผู้ที่เด็กมีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดเช่น บิดา มารดา ครู เพื่อน เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เป็นแบบในการมองสภาวะทางการเมืองไม่ได้
เกิดจากความรู้ความเข้าใจหรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ โดยตรง แต่เป็นการโยงความคิด ความรู้สึกที่เด็ก
มีต่อบุคคลที่เขาสัมพันธ์ด้วยกับอานาจทางการเมืองหรือบุคคลในระบบการเมือง เช่น ถ้าครอบครัวมี
ลักษณะเผด็จการ คือการที่เด็กถูกครอบงาการตัดสินใจโดยเด็กไม่มีโอกาสตัดสินใจใดๆเลย จะทาให้
9

เด็กคิดว่าบทบาททางการเมืองของเขาควรมีลักษณะยอมรับอานาจที่มีเหนือกว่าเขาว่าการถ่ายทอด
แบบนี้เป็นการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคล โดยมีการเรียนรู้จากบ้านและโรงเรียนเป็นสาคัญ
การฝึ ก ปฏิ บั ติ (apprenticeship) การเรี ย นรู้ ท างการเมื อ งแบบนี้ มี ลั ก ษณะ
สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบแรกมาก โดยทั่วไปการเรียนรู้ทางการเมืองแบบนี้เกิดขึ้นใน
สถานการณ์หรือการกระทาที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองก็ได้ การเรียนรู้โดยเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่
เด็กสนใจ เช่น ครู พ่อ แม่ แต่เมื่อโตขึ้นอัตราการเลียนแบบจะลดลง การเรียนรู้ในขั้นนี้เป็นการเรียนรู้
ทัศนคติ ดังนั้นเด็กจะชอบพรรคการเมืองตามที่ผู้ใหญ่ของตนชอบ
การสร้ า งข้ อ สรุ ป ทั่ ว ไป (generalization) การเรี ย นรู้ ท างการเมื อ งแบบนี้ มี
ความหมายเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับสองแบบแรก ได้กล่าวไว้ว่า แบบแผน คุณค่า ความเชื่อพื้นฐาน
ของคนในสั งคมใดสั งคมหนึ่ งอาจจะไม่มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องของการเมืองโดยตรง แต่มักจะมี
บทบาทที่สาคัญในการสร้างวัฒนธรรมการเมือง ซึ่งการสร้างข้อสรุปทั่วไปถือว่าเป็นวิธีการกล่อมเกลา
ทางการเมืองโดยอ้อมอีกวิธีหนึ่ง ซึ่ งการเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้โดยเกิดมโนคติหรือแนวคิดรวบ
ยอดและมีวุฒิภาวะพอที่จะเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมทางการเมืองได้
ดังนั้นความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมืองที่ใช้ในงานวิจัยนี้หากพิจารณา
ในวงกว้างแล้ว จึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ของคนคนหนึ่ง เมื่อได้รับอุดมการณ์ แนวคิด
ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมืองจากตัวแทนต่างๆของสังคมและประสบการณ์ทางการเมืองที่ได้รับ
จึงเกิดเป็นอุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยมเป็นของตัวเองและแสดงออกมาเป็นทัศนคติทาง
การเมืองโดยสามารถเปลี่ย นแปลงได้ตลอดเวลาตาม อุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยม
ทางการเมืองจากตัวแทนต่างๆของสังคมและเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น

2.2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเจเนอเรชัน่
เจเนอเรชั่น คือการแบ่งคนออกเป็นกลุ่มย่อยโดยพิจารณาจากช่วงปีเกิดและเหตุก ารณ์
สาคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิต (Miracle, Christina, Elyssa, 2009, p. 4) โดยประสบการณ์ในแต่ละเจ
เนอเรชั่นจะไม่เหมือนกันเนื่องจากแต่ละเจเนอเรชั่นช่วงอายุห่างกันหลายปีทาให้เกิดค่านิยม นิสัยที่
แตกต่างกันในแต่ละรุ่นดังนั้น คนที่อยู่ในเจเนอเรชั่นเดียวกันจะมีลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน เช่น
ความเชื่อ ค่านิยม ลักษณะนิสัย เป็นต้นซึ่งในแต่ ละเจเนอเรชั่นจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน (Jiří
Bejtkovský, 2016, p. 26) โดยเจเนอเรชั่นที่อยู่ในกรอบศึกษาของผู้วิจัยได้แก่ Silent Generation,
Baby Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z
2.2.1 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Silent Generation
Anick Tolbize (2008, p. 2) Silent Generation สามารถเรียกได้หลายชื่อไม่
ว่าจะเป็น the traditional generation, the veterans, the matures และthe greatest
generation เป็นคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1922-1945 คนที่เกิดในรุ่นนี้จะได้รับอิทธิพลจากภาวะ
10

เศรษฐกิจตกต่าครั้งใหญ่และสงครามโลกครั้งที่สอง ลักษณะนิสัยของคนรุ่นนี้เป็นคนที่ทุ่มเทในการ
ทางานและมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการทางานเป็นทีมในขณะเดียวกันก็ไม่ชอบความเสี่ยง มีความซื่อสัตย์และ
ประหยัดมัธยัสถ์และเคารพผู้มีอานาจชอบโครงสร้างองค์กรแบบลาดับขั้น
Bridget & Ron (2014, p. 1) The Silent Generation กลุ่มคนเกิดขึ้นระหว่าง
ปี ค.ศ. 1929-1945 เป็นกลุ่มคนที่ถูกหล่อหลอมโดยสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจตกต่า “the
Great Depression” สงครามเกาหลี และระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่ น คนรุ่นนี้มักให้ความสาคัญกับการ
ทางานหนักและความทุ่มเทเสียสละเคารพในอานาจและกฎระเบียบของสถาบันต่างๆ มีทัศนคติเชิง
อนุรักษ์นิยมและยอมรับในผู้ที่มีอิทธิพล มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นทางการเคารพผู้มีประสบการณ์
มีลักษณะการแต่งกายแบบอนุรักษ์นิยม
Kevin R. Clark (2017, p. 380) The Veterans มีชื่อคนเรียกอีกอย่างว่า
traditionalists และ the silent generation เป็นกลุ่มคนที่เกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1946 และเป็นรุ่นที่
เก่าแก่ที่สุดคนรุ่น เกิดในช่วงเศรษฐกิจตกต่าครั้งใหญ่และหลายคนต่อสู้หรือเด็กอยู่ในช่วงสงครามโลก
ครั้งทีส่ อง ความยากลาบากของสงครามและเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อคุณค่าและความคิดเห็นของคน
รุ่นนี้อย่างลึกซึ้ง ทาให้คนในรุ่นนี้มีลักษณะรักชาติและมีใจรักในสังคม ด้วยสภาวะเศรษฐกิจตกต่าทา
ให้ มีความมุ่งมั่น และมีแนวโน้ มที่จ ะทางานหนักและชอบความมั่นคงและความสม่าเสมอ มีความ
ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยและการเสียสละ เคารพอานาจและขอบเขตคุณค่าระหว่างการทางานกับชีวิต
ครอบครั ว และมุ่งมั่ น เพื่อความมั่นคงทางการเงิน ให้ ความส าคัญกับการทางานเป็นทีม ภักดีต่ อ
นายจ้าง ไม่แน่ใจและมีแนวโน้มต่อต้านสิ่งใหม่ๆ
Wade Herley (2009, p. 1-3) The Veterans เป็นรุ่นที่คนเกิดระหว่างปี
1926-1944 เป็ น กลุ่ ม ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิ จ ตกต่ าครั้ ง ใหญ่ แ ละส่ ว นใหญ่ มี
ประสบการณ์โ ดยตรงกับสงครามโลกครั้งที่ส อง ค่านิยมหลั กของคนรุ่นนี้คือการเสี ยสละอุทิศตน
ทางานอย่างหนัก เคร่งครัดในกฎหมายและระเบียบ เคารพในผู้ ที่มีอานาจ ยึดหน้าที่เป็นอันดับหนึ่ง
คนรุ่นนี้มีนิสัยประหยัดเงินและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการใช้จ่ายใดๆ และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
และความขัดแย้ง เมื่อคนรุ่นนี้ไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดมักจะเงียบ คนรุ่นนี้ต้องการชีวิตที่ปลอดภัยและ
มั่นคง
กล่าวโดยสรุปสาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ Silent Generation หมายถึง กลุ่มคนที่เกิด
ในช่วง พ.ศ. 2468-2488 หรือ ค.ศ.1925-1945 เป็นเจเนอเรชั่นที่พบเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่าครั้ง
ใหญ่ (great depression) และสงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ
รักชาติ ประหยัดอดออม มีทัศนคติอนุรักษ์นิยม ยอมรับในผู้ที่มีอิทธิพล ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และ
ความขัดแย้ง ในด้านการทางานทุ่มเทและทางานอย่างหนัก เพื่อความมั่นคงในชีวิตและครอบครัว
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่าและความยากลาบากในช่วงสงคราม
11

2.2.2 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Baby Boomer


ปรีชญา แม้นมินทร์ และ นภวรรณ ตันติเวชกุล (2560, น. 104) เจเนอเรชั่นเบ
บี้บูมเมอร์ หมายถึง ผู้ที่เกิดในช่วง ค.ศ. 1946-1964 หรือ พ.ศ. 2489-2507 เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วง
ปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเป็นอิสระสูง ชอบการแสดงออกมองโลกในแง่ดี มีทัศนคติ
เกี่ยวกับสังคมในแบบของตนและปฏิเสธค่านิยมของคนรุ่นพ่อ แม่ คนเจเนอเรชั่นนี้อธิบายตนเองผ่าน
อาชีพการงาน ทางานเต็มที่โดยต้องการผลงานที่ชัดเจน ยอมรับผู้บังคับบัญชา และต้องการที่จะอยู่ใน
หน่วยงานเป็นเวลานาน
นายศตพล เกิดอยู่ (2558, น. 12-14) เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ หรือ Gen B เป็น
กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2507 เป็นช่วงหลังสงครามโลกที่สอง สาเหตุที่เรียกกลุ่มนี้ว่า”เบ
บี้บูมเมอร์”เพราะในช่วงสงครามมีอัตราการเกิดของประชากรน้อยลง เมื่อสงครามจบจึงเริ่มมีการ
ฟื้นฟูบ้านเมือง เศรษฐกิจ รวมทั้งพลเมืองที่สูญเสียไปกับสงครามทาให้มีการส่งเสริมเพิ่มประชากรของ
ประเทศ โดยลักษณะโดยรวมของเบบี้บูมเมอร์ คือมีความเป็นอนุรักษ์นิยมกึ่งสมัยใหม่เป็นคนที่อดทน
และทุ่มเทชีวิตให้กับงาน มีแนวคิดก่อร่างสร้างตัวจึงทุ่มเทให้กับการทางานและต่อตัวองค์กรเป็นหลัก
ไม่เปลี่ยนงานบ่อยจงรักภักดีสูง มีความเชื่อมั่นในตัวเอง รักครอบครัวเนื่องจากอยู่ในยุคที่ส่งเสริมการ
ขยายประชากรทาให้ มั กเติบ โตในครอบครัว ขนาดใหญ่ อยู่กับพ่อแม่พี่น้องจานวนมาก คนกลุ่ มนี้
ต้องการให้ตัวเองดูดีใช้ชีวิตเรียบง่าย
ปรีชญา แม้นมินทร์ (2558, น. 48) เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์เป็นผู้ที่เกิดในช่วง
ค.ศ. 1946-1964 หรือ พ.ศ. 2489-2507 เติบโตในช่วงวูดสต็อก ที่เริ่ มมีความเท่าเทียมกันของสตรี
คนเจเนอเรชั่นนี้มีความเป็นอิสระสูง ชอบแสดงออก มองโลกในแง่ดี มีทัศนคติเกี่ยวกับสังคมในแบบ
ของตน และปฏิเสธค่านิยมของคนรุ่นก่อน เป็นกลุ่มที่มีความเป็นเด็กกว่าอายุจริง ต้องการวัฒนธรรม
ของตัวเอง แฟชั่น และดนตรีในแบบของตัวเอง คนเจเนอเรชั่นนี้จะอธิบายตนเองผ่านอาชีพการงาน
และหลายคนเป็ น พวกเสพติ ด ในงาน ท างานอย่ า งเต็ ม ที่ ต้ อ งการผลงานที่ ชั ด เจน ยอมรั บ ใน
ผู้บังคับบัญชา และต้องการอยู่ในหน่วยงานเป็นเวลานาน
มนัสวี ศรีนนท์ (2561, น. 367) กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่าง ปี
พ.ศ. 2489-2507 ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผลผลิตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่แต่ละประเทศต้องการเรื่องผลิต
ประชากรเพื่อมาพัฒนาประเทศที่บอบช้า โดยเขาได้รับรู้ถึงความลาบากของพ่อแม่ ความแร้นแค้นทาง
เศรษฐกิจ ภาวะวุ่นวายต่างๆ ทาให้มีความอดทนสูง สู้งาน ชอบทางานและประสบความสาเร็จด้วย
ตัวเอง จากการที่มีประชากรจานวนมากเกิดในช่วงเดียวกัน ทาให้ มีการแข่งขันสูง นอกจากนี้คน
กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ยังยึดระบบชนชั้น ซึ่งหมายถึงการทางาน เนื่องด้วยสมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย
และแพร่หลายทาให้องค์ความรู้ตกอยู่กับชนชั้นนาหรือชนชั้นปกครอง ฉะนั้น เขาจึงเชื่อมั่ นและรับฟัง
คาสั่งจากผู้นาหรือหัวหน้างานที่มีองค์ความรู้มากกว่า ขณะเดียวกัน คนยุคนี้ใช้ชีวิตเรียบง่าย เป็นคน
เก็บออมมากกว่าใช้
12

กล่าวโดยสรุปสาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ Baby Boomer หมายถึง กลุ่มคนที่เกิด


ระหว่างปี พ.ศ.2489-2507 หรือ ค.ศ.1946-1964 เป็นเจเนอเรชั่นที่อยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
สองเริ่มมีการฟื้นฟูบ้านเมือง เศรษฐกิจ รวมทั้งพลเมืองที่สูญเสียไปกับสงครามทาให้มีการส่งเสริมเพิ่ม
ประชากรของประเทศ เริ่มมีความเท่าเทียมของสตรี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง รักครอบครัว ปฏิเสธ
ค่านิยมของคนรุ่นก่อน ใช้ชีวิตเรีย บง่าย ประหยัดอดออม ในด้านการงานมีความอดทนต่องานสู ง
ทุ่มเทให้กับการทางานและต่อตัวองค์กรเป็นหลักไม่เปลี่ยนงานบ่อยจงรักภักดีต่องานที่ตัวเองทาอยู่
ทางานเต็มที่โดยต้องการผลงานที่ชัดเจนเชื่อมั่นและรับฟังคาสั่ งจากผู้นาหรือหั ว หน้างานที่มีองค์
ความรู้มากกว่า
2.2.3 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation X
ชานนท์ ศิริธร และ วิฏราธร จิรประวัติ (2012, น. 114) เจเนอเรชั่นเอ็กซ์หรือเบ
บี้บัสท์เจเนอเรชั่น เป็นผู้ที่เกิดในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1964-1980 เป็นกลุ่มคนที่เกิดท่ามกลางสภาพ
เศรษฐกิจที่เริ่มมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทางาน ทั้งการพยายามหางาน
ทา ความขยันหมั่นเพียร การทางานอย่างหนักเพื่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของตนเองพร้อมที่จะ
เรียนรู้เรื่องใหม่ คนกลุ่มนี้ไม่ชอบการรอคอย ลักษณะนิสัยเป็นคนชอบรักอิสระ รักการเป็นเจ้าของ
กิจการ กล้าแสดงออกต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ หลงใหลในเทคโนโลยี รักสุขภาพ ให้สิ่งที่ดีที่สุดสาหรับ
ลูก หลงใหลตัวเองและสินค้า
ปรารถนา ผกาแก้ว (2561, น. 10) เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ หมายถึง กลุ่มคนที่เกิดอยู่
ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522 อาจเรียกอีกชื่อว่า “ยับปี้” (Yuppie) ที่ย่อมาจาก Young Urban
Professionals คนรุ่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต่อจากยุค Silent Generation , Baby Boomer
แม้ว่าโลกยุคนั้นจะไม่ทัน สมัยเท่ายุคนี้แต่ คนรุ่นนี้ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคนในช่วงที่โ ลกกาลังพัฒ นาและ
เริ่มต้นมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง คนยุคนี้จะถูกสอนจากกลุ่มคนรุ่น Silent Generation , Baby
Boomer ให้รู้ถึงการประหยัด การอดทน เน้นให้เรียนหนังสือเพื่ออนาคตเน้นให้ทางานกลุ่มราชการ
และรัฐวิสาหกิจมากกว่างานเอกชน หรือ บางคนหันมาเปิดกิจการของตัวเองจึงเป็นกลุ่มคนที่สร้าง
ครอบครัวเพื่อวางรากฐานให้คนรุ่นต่อๆไป
เดชาและคณะ (2014, น. 4-5) เจเนอเรชั่ น เอ็ ก ซ์ ห รื อ เจนเอ็ ก ซ์ เป็ น กลุ่ ม
ประชากรที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1964-1976 เป็นกลุ่มประชากรที่เติบโตมาด้วยการดูแลตัวเองเป็นส่วน
ใหญ่ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เป็นกลุ่มที่แสวงหาอานาจด้วยตัวเอง และเป็นกลุ่มที่ต้องการความ
เป็นอิสระและต้องการการยอมรับ มีอุปนิสัยชอบเสี่ยงทาอะไรใหม่ๆ มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
ได้ดี ชอบความเป็นอิสระ และมักท้าทายกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เป็นกลุ่มที่
ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจาก Analog ไปสู่ Digital สภาพแวดล้อมทางสังคม
และเศรษฐกิจมุ่งไปที่ปัจเจกบุคคลเนื่องจากมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมและเครื่องมืออานวยความ
สะดวกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการทางานมักมองว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสร้างสมดุลในการ
ทางานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (work life balance)
13

เมธิตา เปี่ยมสุธานนท์ (2557, น. 11) Generation X หรือ Extraordinary


Generation คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 เป็นคาที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่เกิดหลังจากเบ
บี้บูมเมอร์ ซึ่งมีรูปแบบการใช้ ชีวิตและพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างจากคนรุ่น ก่อนหน้าและคนรุ่นหลัง
อย่างชัดเจน เป็นกลุ่มที่โตมาในสภาพเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง ชอบความง่ายสะดวกและเร็วเร็ว ไม่
ชอบความเป็นทางการ มีแนวคิดและการทางานในลักษณะเรียนรู้ทุกอย่างเพียงลาพังไม่ชอบพึ่งพาใคร
มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติงเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ในด้านพฤติกรรมการบริโภค
ของคนหนุ่มสาวรุ่นนี้กล้าที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ชอบการทางานในลักษณะการใช้ความคิด
กล่าวโดยสรุปสาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ Generation X หมายถึง กลุ่มคนที่เกิด
ระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 หรือ ค.ศ. 1965-1979 เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจที่มีการ
แข่งขันสูง สิ่งต่างๆโลกกาลังพัฒนาและเริ่มต้นมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง มีความรักอิสระไม่ชอบ
การรอคอย มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่ชอบความเป็นทางการ ไม่พึ่งพาใคร หลงใหลในเทคโนโลยี
รักสุขภาพ ให้สิ่งที่ดีที่สุดสาหรับลูก ด้านการทางานมักมองว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจึงสร้างสมดุล
ในการทางานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (work life balance) เน้นทางานกลุ่มราชการและ
รัฐวิสาหกิจมากกว่างานเอกชน หรือเปิดกิจการของตัวเองมีความขยันหมั่นเพียร ทางานอย่างหนักเพื่อ
ความมั่นคงในหน้าที่การงานของตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ชอบการทางานในลักษณะการใช้
ความคิด
2.2.4 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation Y
พิชชาภรณ์ ศิริโสดา (2558, น. 31-34) เจเนอเรชั่นวาย เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง
ปี ค.ศ. 1981-2000 เป็ นกลุ่มคนที่เกิดขึ้นในช่วงของเศรษฐกิจ เฟื่องฟู ตลาดหุ้นเติบโต และมีการ
ลงทุน ใหญ่ๆมากมาย เป็น คนกลุ่ มแรกที่ได้เกิดมาอยู่ในสภาพแวดล้ อมของดิจิทัล และเทคโนโลยี
สารสนเทศ การกระจายข่าวสาร ค้นหาข้อมูล รวมถึงใช้ประโยชน์ในเรื่องการทางานและความบันเทิง
ในรูปแบบการนาเสนอของสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีลักษณะนิสัย ชอบมีสังคม ชอบแชร์ประสบการณ์
ตัวเองหรือเรื่องราวที่ตัวเองสนใจผ่านทางออนไลน์ ความรู้ที่ได้รับจากสื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อการ
ตัดสิ น ใจของคนกลุ่ มนี้ เป็ น กลุ่ มคนที่ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่ องตัว มีการตัดสิ นใจบนข้อมูล โดย
พิจารณาเปรียบเทียบหรือตรวจสอบและเป็นกลุ่มคนที่ช่างเลือกโดยมักจะเปรียบเทียบข้อมูลจนเลือก
สิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดแก่ตนเอง
ศุภสิริ สุขมนต์ (2558, น. 15-16) เจเนอเรชั่นวาย เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี
พ.ศ. 2522-2543 เกิดมาในช่วงที่พ่อแม่ต่างมีรายได้ในครอบครัวและยุคเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูมีพ่อแม่
คอยให้ความช่วยเหลือตลอดทั้งด้านการศึกษาและเรื่องต่างๆ มีลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความ
มั่นใจในตัวเองสูง กล้าแสดงออก ชอบทางลัด สะดวก รวดเร็ว และสนใจเทคโนโลยีให้ความสาคัญกับ
สิ่งใหม่ ใช้เวลาว่างกับอินเทอร์เน็ต สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ รักอิสระสูงต้องการทางาน
ทีมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและต้องมีเวลาให้กับตนเองและสิ่งที่สนใจ เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจาก
ต้องการงานตามอุดมคติที่ตนเองต้องการ
14

ณิชา ตั้งความดี (2555, น. 27) เจเนอเรชั่นวาย เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.


2520-2537 เป็นรุ่นลูกของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ เกิดในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ยุคที่
ผู้หญิงได้รับการยอมรับและได้มีโอกาสทางานนอกบ้านหรือรายได้ของครอบครัวมาจากทั้งพ่ อและแม่
รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องมือสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ลักษณะนิสัยของคนเจเนอเรชั่นวาย
เป็นคนที่มีความเป็น ตัวเองสูง รักอิสระ และการปกครองตนเอง มักจะห่วงภาพลักษณ์ของตนเอง
(Image-Driven) มีความสามารถทางานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ เร็ว เลื่อมใสใน
ศาสนา ไม่ค่อยอดทน ยอมรับความแตกต่างได้ดี ในด้านของเทคโนโลยีคนกลุ่มนี้จะมีความเชี่ยวชาญ
เนื่องจากโตมากับเทคโนโลยีและใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างคล่องแคล่วพร้อมกับการมีอินเตอร์เน็ต
คณาลักษณ์ จงปิยวรางค์ (2555, น. 11-16) Gen-Y ผู้ที่เกิดในช่วงระหว่างปี
พ.ศ. 2522-2537 เป็ น ยุ ค ที่ อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตของประชากรโดยรวมของโลกน้ อ ยลงท าให้
ครอบครัวเริ่มขนาดเล็ก ผู้คนให้ความสาคัญกับการมีลูกจานวนน้อยแต่เลี้ยงลูกให้ดี โดยเป็นยุคที่มี
อินเตอร์เน็ต (internet) การสื่อสารแบบทันที (instant messaging) และ โทรศัพท์มือถือ (mobile
phone) ทาให้มีมุมมองต่อโลกที่กว้างกว่าคนรุ่นก่อนและมีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์จาเป็นสาหรับ
การสื่ อสารธรรมดาที่ทุกคนจ าเป็ นต้องมี ลักษณะเฉพาะของคนรุ่นนี้เชื่อว่าโลกนี้มีทางเลือก เริ่ม
ยอมรับความหลากหลายทางเพศ มีความเป็นตัวของตนเอง นิยมใช้ชีวิตแบบตกขอบ นิยมเลือกซื้อ
สินค้าที่ทันสมัย มีความรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อแม่มากกว่าคนรุ่นก่อน ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างเชื้อ
ชาติของมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกเนื่องจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดน เป็นรุ่นที่เปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ
กล่าวโดยสรุปสาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ Generation Y หมายถึง กลุ่มคนที่เกิด
ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2539 หรือ ค.ศ. 1980-1996 เป็นเจเนอเรชั่นที่พบเจอกับความเปลี่ยนแปลง
มากมาย เช่น ยุคที่ผู้หญิงได้รับการยอมรับและได้มีโอกาสทางานนอกบ้านหรือรายได้ของครอบครัวมา
จากทั้ ง พ่ อ และแม่ รวมถึ ง มี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารและอิ น เตอร์ เ น็ ต อั ต ราการ
เจริญเติบโตของประชากรโดยรวมของโลกน้อยลงทาให้ครอบครัวเริ่มขนาดเล็ก ผู้คนให้ความสาคัญกับ
การมีลูกจานวนน้อยแต่เลี้ยงลูกให้ดี พ่อแม่ต่างมีรายได้ในครอบครัวและยุคเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู คน
Generation Y มีความเป็นตัวเองสูง เริ่มยอมรับความหลากหลายทางเพศ ห่วงภาพลักษณ์ของตนเอง
มีค วามมั่น ใจในตัว เองสู ง กล้ า แสดงออก ชอบทางลั ด สะดวก รวดเร็ ว และสนใจเทคโนโลยี ใ ห้
ความสาคัญกับสิ่งใหม่ ใช้เวลาว่างกับอินเทอร์เน็ต สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ มีความ
ยืดหยุ่นของเวลา ด้านการทางานเปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากต้องการงานตามอุดมคติที่ตนเองต้องการ
ต้องการทางานทีมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา
2.2.5 ช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของ Generation Z
บวรรัตน์ ธนาฤทธิวราภัค (2561, น. 7-8) เจเนอเรชั่นซี เป็นกลุ่มคนที่เกิดหลังปี
ค.ศ. 1995 โดยถูกเรียกว่าเป็นชนพื้นเมืองดิจิทัล (Digital Native) เนื่องจากเริ่มโตมาพร้อมกับการใช้
เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และให้ความสาคัญกับการสื่อสารในช่องทาง
ออนไลน์ อ ย่ า งมาก มี ลั ก ษณะนิ สั ย ที่ ค ล้ า ยกั บ คนเจเนอเรชั่ น วาย คื อ ซื่ อ สั ต ย์ ช่ า งคิ ด มี ค วาม
15

รั บ ผิ ด ชอบ และมุ่ ง มั่ น แต่ จ ะแตกต่ า งตรงที่ เ จเนอเรชั่ น ซี มี ค วามเป็ น ผู้ ป ระกอบการมากขึ้ น ให้
ความสาคัญกับการแสดงออกถึงตัวตนของตัวเอง เปิดรับความคิดและวัฒนธรรมและยอมรับความ
แตกต่างของบุคคล ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ ทั้งในเรื่องเชื้อชาติและ
เพศ ชอบอิสรเสรี มีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย ไม่ชอบการรอคอย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
นิยมหาความรู้ผ่านเทคโนโลยีที่มีอยู่
นิพนธ์และธาตรี (2558, น. 76-77) Generation Z หรือ Digital Natives, Net
Generation เป็นกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นกลุ่มคนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอล
เทคโนโลยีอย่ างอิน เทอร์เน็ตและเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์แพร่หลาย มีความเชี่ยวชาญใน
เทคโนโลยี มีความตระหนักถึงสถานการณ์โลกในปัจจุบันที่กาลังเผชิญกับการก่อการร้ายและภาวะโรค
ร้อนอย่างรุนแรง โดยคนรุ่นนี้จะมีการเชื่อมต่อกับโลกโดยตลอดเวลา (Always connected) ด้วยการ
สื่อสารผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ คนเจเนอเรชั่นนี้มักพึ่งพาเครื่องมือค้นหา (Search
engines) มีแนวโน้มชอบดูมากกว่าอ่าน ชอบปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์มากกว่าตัวบุคคล
ณัฐวดี ภาวนาวิวัฒน์ (2561, น. 26) เจเนอเรชั่นซี เป็นผู้ที่เกิดในช่วง ค.ศ. 2000
เป็นต้นไป โดยคนกลุ่มนี้เกิดในยุคดิจิตอลที่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ลักษณะที่แตกต่างจากเจเนอ
เรชั่นอื่นๆ คือ การเข้าสังคมผ่านอินเตอร์เน็ต และการบริโภคอย่างรวดเร็ว มีความรวดเร็วในการ
ติดต่อสื่อสาร เจเนอเรชั่นซีรับรู้เทคโนโลยีว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีลักษณะนิสัยที่ชอบกิจกรรมและ
เกมที่ให้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้ตระหนักถึงแนวคิดของการดิ้นรน พวกเขาปฏิบัติได้ฉลาดกว่าและ
ชอบที่จะเป็นผู้นา มองหาความท้าทายและแรงกระตุ้นใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
คมกริช นันทะโรจพงศ์ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์ (2561, น. 8-9) เจเนอเรชั่นซี หรือ
Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 กลุ่มที่เข้าสู่เจเนอเรชั่นซีเป็น กลุ่มทีกาลังศึกษาอยู่ใน
ระดับปริญญาตรีหรือมัธยมศึกษาตอนปลายถือเป็นเยาวชนของชาติในปัจจุบัน โดยคนกลุ่มนี้เติบโตมา
ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี และเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการดารงอยู่ของคนกลุ่ม
นี้เนื่องจากเข้าถึงเทคโนโลยีตั้งแต่อายุยังน้อย การยอมรับผู้อื่นเป็นต้นแบบในการดาเนินชีวิตค่อยๆถูก
ลดบทบาทลง คนกลุ่มนี้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทาอะไรได้หลายอย่างพร้ อมกัน ชอบตั้งคาถาม
สมาธิสั้น ใจร้อน ความอดทนต่า ไม่ชอบให้ใครมาสั่งสอน
กล่าวโดยสรุปสาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ Generation Z หมายถึง กลุ่มคนที่เกิดหลังปี
พ.ศ. 2540 หรื อ คนที่ เ กิ ด หลั ง ปี ค.ศ. 1997 เป็ น กลุ่ ม เจเนอเรชั่ น ที่ เ ติ บ โตมาในช่ ว งการพั ฒ นา
เทคโนโลยีมีที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลเทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เครือข่าย
สั งคมออนไลน์ แพร่ ห ลาย มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี มีความตระหนักถึงสถานการณ์โ ลกใน
ปัจจุบันที่กาลังเผชิญกับการก่อการร้ายและภาวะโรคร้อนอย่างรุนแรง เป็นกลุ่มทีกาลังศึกษาอยู่ใน
ระดับปริญญาตรีหรือมัธยมศึกษาตอนปลายถือเป็นเยาวชนของชาติในปัจจุบัน มีการเข้าสังคมผ่าน
อินเตอร์เน็ตและการบริโภคอย่างรวดเร็ว มีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร คน Generation Z มี
ความซื่อสัตย์ ช่างคิด มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น มีหัวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ มีความคิดริเริ่ม
16

สร้างสรรค์ ทาอะไรได้หลายอย่างพร้อมกัน ชอบตั้งคาถาม สมาธิสั้น ใจร้อน ความอดทนต่า ไม่ชอบให้


ใครมาสั่งสอน มองหาความท้าทาย และแรงกระตุ้นใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิทธิ
มนุษยชนมากกว่าคนรุ่นก่อนๆทั้งในเรื่องเชื้อชาติและเพศ ชอบอิสรเสรี มีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย ไม่
ชอบการรอคอย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นิยมหาความรู้ผ่านเทคโนโลยีที่มีอยู่
2.2.6 ช่วงเวลาและค่านิยมในบริบททางเศรษฐกิจการเมืองไทยที่หล่อหลอมให้คนใน
แต่ละ Generation มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมจากคานิยาม Generation ในสากล
จากการทบทวนแนวคิดนิยามเกี่ยวกับเจเนอเรชั่นในเรื่องของช่วงเวลา ค่านิยม
และลักษณะเฉพาะของคนไม่ว่าจะเป็น Silent Generation, Baby Boomer, Generation X,
Generation Y และGeneration Z ต่างแสดงให้เห็นว่าคนในแต่ละเจเนอเรชั่น ที่มีช่วงปีเกิดที่ต่างกัน
และผ่านเหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตไม่เหมือนกันทาให้เห็นว่ามีการหล่อหลอมให้คนในเจเนอ
เรชั่นนั้นๆมีค่านิยมและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันและคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันก็จะมีค่านิยมลักษณะ
นิสัยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจากคาอธิบายถึงแนวคิดและนิยามของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นดังกล่าวหากจะ
นามาใช้เพื่ออธิบายที่จะกล่าวถึงค่านิยมและลักษณะเฉพาะของแต่ละเจเนอเรชั่นในบริบทประเทศไทย
ถือว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งหมดที่จะกล่าวถึงค่านิยมและลักษณะเฉพาะของเจเนอเรชั่นในประเทศไทยได้
อย่างครบถ้วนเนื่องจากเป็นการให้ความหมายค่านิยมและลักษณะของแต่ละเจเนอเรชั่นที่ยังมีความ
เป็นสากลซึ่งยังไม่สอดคล้องกับบริบทในประเทศไทยทั้งหมด
จากการนิยามถึงช่วงเวลา ค่านิยมและลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละเจเนอเรชั่น
ข้า งต้ น จะมี กรอบที่ใ ช้ ใ นการนิ ย ามเจเนอเรชั่ น โดยการนาบริ บทภายนอกหรื อ สถานการณ์ โ ลก
ภายนอกที่แต่ละเจเนอเรชั่นมีประสบการณ์มาวิเคราะห์เป็นค่านิยมและลักษณะเฉพาะของเจเนอเรชั่น
ได้แก่ คนยุ ค Silent Generation จะมีประสบการณ์ กับภาวะเศรษฐกิจตกต่าครั้งใหญ่ (great
depression) และสงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) คนยุค Baby Boomer จะมีประสบการณ์
กับสภาวะประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คนยุค Generation X จะมีประสบการณ์กับโลกที่กาลัง
พัฒ นา Generation Y จะมีป ระสบการณ์กับ สถานการณ์โ ลกาภิวัต น์ Generation Z จะมี
ประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมของโลกที่กาลังแย่ลงและคุ้นชินกับเทคโนโลยีที่กาลั งพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
จากบริบทภายนอกหรือสถานการณ์โลกดังกล่าวจึงทาให้คนในแต่ละยุค มีค่านิยมและลักษณะเฉพาะ
เป็นของตัวเองแต่ก็เป็นคาอธิบายที่เป็นสากลสามารถใช้ได้แต่หากจะนามาอธิบายให้สอดคล้องกับ
บริบทของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นในประเทศไทยเพื่อให้การวิเคราะห์และเพิ่มความเข้าใจของผู้ที่มา
อ่านงานวิจัยชิ้นนี้มากขึ้นเกี่ยวกับค่านิยมและลักษณะเฉพาะของเจเนอเรชั่นต่างๆในประเทศไทย จึง
จาเป็นต้องนาบริบทภายในประเทศหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในประเทศไทย
มานิ ย ามค่านิย มและลั กษณะเฉพาะของคนในแต่ล ะเจเนอเรชั่นเพิ่ม เพื่อให้ เข้าใจถึงค่านิยมและ
ลักษณะเฉพาะของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในบริบทของคนไทยมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการชี้ให้เห็นถึง
ลักษณะเฉพาะของแต่ละเจเนอเรชั่นที่เพิ่มเติมที่เพิ่มขึ้นมาและจะเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในหัวข้อ
ที่ 4.1
17

Silent Generation เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 โดยบริบทใน


ประเทศหรื อ สถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ การเมื อ งและสั ง คมในประเทศไทยที่ ส าคั ญ คื อ การ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการสร้างชาติในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทาให้
คนรุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือความเป็นชาตินิยมและอนุรักษ์วั ฒนธรรมขนมธรรมเนียมแบบ
เก่า
Baby Boomer เป็นกลุ่ มคนที่เกิดในช่ว ง พ.ศ. 2489-2507 โดยบริบทใน
ประเทศหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในประเทศไทยที่สาคัญ คือ ประชาชนถูก
ด้วยระบอบอานาจนิยมเผด็จการทหาร, เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ทาให้คน
รุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือ มีความตื่นตัวทางการเมืองและมีความคิดอุดมการณ์ทางการเมือง
อย่างเข้มข้น
Generation X เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2508-2522 โดยบริบทในประเทศ
หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในประเทศไทยที่สาคัญคือ วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.
2522, เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และการขยายตัวของเศรษฐกิจก่อนวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่
แตกทาให้คนรุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือการให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจ
Generation Y เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523-2539 โดยบริบทในประเทศ
หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในประเทศไทยที่สาคัญคือ วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่
แตก พ.ศ. 2540 ทาให้คนรุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจเช่นเดียวกับ
Generation X แต่แตกต่างตรงที่ Generation Y เผชิญกับเศรษฐกิจในช่วงของขาลง ส่วนสาหรับ
Generation X ได้เผชิญกับเศรษฐกิจที่มีทั้งขาขึ้นก่อนที่ฟองสบู่แตกและขาลงในวิกฤตฟองสบู่แตกทา
ให้ Generation X ให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจในแง่ของภาพบรรยากาศเศรษฐกิจที่ขาขึ้นและเมื่อ
ตกต่าแล้วก็อยากที่จะเห็นภาพที่เติบโตอีก ส่วน Generation Y เป็นภาพของเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขา
ลงคือฟองสบู่แตกก็จะให้ความสาคัญถึงเศรษฐกิจในแง่ที่ไม่อยากจะเห็นให้ประเทศอยู่ในสภาวะซบเซา
ตกต่า
Generation Z เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วงหลังปี พ.ศ. 2540 โดยบริบทในประเทศ
หรื อ สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ การเมื องและสั งคมในประเทศไทยที่ ส าคั ญคื อ การเห็ น ประเทศ
ปกครองโดยทหาร ทาให้คนรุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือ มีความคิดที่ไม่ชอบรูปแบบการเมือง
การปกครองในลักษณะเผด็จการ
18

2.3 ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ในทุกๆประเทศที่เป็นรัฐสมัยใหม่จาเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอานาจและหน้าที่ใน
การปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม อันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนของรัฐ โดยการนานโยบาย
ของรัฐบาลที่มีการวางแผนมาแล้วนาไปสู่การปฏิบัติเพื่อประชาชนทุกภาคส่วนมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและความเจริญก้าวหน้าของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
2.3.1 ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เจ้าหน้ าที่ของรัฐตามความหมายของ พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.
2562 คือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงาน
ของรัฐ ซึ่ง “หน่วยงานของรัฐ” หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมี
ฐานะเป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ าย
บริหาร แต่ไม่หมายความรวมถึง หน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ
2.3.2 ประเภทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
(1) ข้าราชการพลเรือน ตามความหมายของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพล
เรือน พ.ศ. 2551 หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการ
โดยได้รั บ เงิน เดื อ นจากงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ า ยพลเรือ น โดยข้ า ราชการพลเรือ นมี 2
ประเภท ได้แก่
(1.1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับ
บรรจุแต่งตั้งตามความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของ
ราชการ
(1.2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการ โดย
ได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งในพระองค์ ตามที่พระมหากษัตริย์ตามกาหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) พนั ก งานราชการ ตามความหมายของระเบี ย บส านั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ า ด้ ว ย
พนั กงานราชการ พ.ศ. 2547 หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับ การจ้างตามสั ญญาจ้างโดยได้รั บ
ค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานองรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่ว น
ราชการนั้น ซึ่ง “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่าง
อื่นและมีฐานะเป็นกรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรมเว้นแต่ราชการ
ส่วนท่องถิ่น โดยพนักงานราชการมี 2 ประเภท ได้แก่
(2.1) พนักงานราชการทั่วไป เป็นพนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็น
งานประจาทั่วไปของส่วนราชการในด้านงานบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่ว ไป งานวิชาชีพเฉพาะ
19

หรื อ งานเชี่ ย วชาญเฉพาะ โดยพนั ก งานราชการซึ่ ง ปฏิ บั ติ ใ นลั ก ษณะเป็ น งานประจ าทั่ ว ไป
ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มงานบริการ
2. กลุ่มงานเทคนิค
3. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
4. กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
5. กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
(2.2) พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่
ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสาคัญและจาเป็น
เฉพาะเรื่องของส่วนราชการ หรือมีความจาเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว โดยพนักงานราชการ
ซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นงานประจาทั่วไป ได้แก่ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
(3) ลูกจ้างของส่วนราชการ เป็นบุคลากรภาครัฐประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการจ้างเพื่อ
เสริมสร้างการปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการทางานของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลักษณะ
การจ้างเป็นงานที่ต้องใช้ แรงงาน ฝีมือ ความชานาญงานพิเศษโดยใช้ประสบการณ์เป็นหลัก ลูกจ้าง
ของส่ ว นราชการประกอบด้ ว ย ลู ก จ้า งประจ าและลู ก จ้า งชั่ ว คราว (กลุ่ ม พัฒ นาระบบลู กจ้ า ง
กรมบัญชีกลาง, 2552, น. 1) โดยลูกจ้างประจาและลูกจ้างชั่วคราวตามความหมายของ ระเบียบว่า
ด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 “ลูกจ้างประจา” หมายความว่า ลูกจ้างราย
เดือน รายวัน และรายชั่วโมงที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจา โดยไม่มีกาหนดเวลา ตามอัตรา
และจานวนที่กาหนด และ“ลูกจ้างชั่วคราว” หมายความว่า ลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง
ที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราว และหรือมีกาหนดเวลาจ้าง แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการจ้างต้องไม่
เกินปีงบประมาณ
2.3.3 ส่วนราชการ
เจ้าหน้าที่ของรัฐจาเป็นต้องทางานในส่วนราชการที่ประกอบไปด้วย กระทรวง
ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มี
ฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการ
ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรมเว้นแต่ราชการส่วนท่องถิ่น
(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ปฏิบัติงานในกระทรวงและส่วนราชการไม่สังกัดสานัก
นายกรั ฐ มนตรี กระทรวง หรื อ ทบวง โดยแบ่ ง เป็ น ระดั บ กระทรวง 19 กระทวง (ส านั ก งาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2561, น. 1) ได้แก่
1. กระทรวงกลาโหม
2. กระทรวงการคลัง
3. กระทรวงการต่างประเทศ
4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
20

5. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7. กระทรวงคมนาคม
8. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
10. กระทรวงพลังงาน
11. กระทรวงพาณิชย์
12. กระทรวงมหาดไทย
13. กระทรวงยุติธรรม
14. กระทรวงแรงงาน
15. กระทรวงวัฒนธรรม
16. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
17. กระทรวงศึกษาธิการ
18. กระทรวงสาธารณสุข
19. กระทรวงอุตสาหกรรม
(2) พนักงานราชการ ปฏิบัติในกระทรวงและส่วนราชการ 19 กระทรวงเช่นเดียวกับ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ และสามารถปฏิบัติในส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับ ข้าราชการฝ่ายทหาร
ข้าราชการตารวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการธุรการอัยการ
(3) ลูกจ้างของส่วนราชการ ทั้งลูกจ้างประจาและลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติงานใน
กระทรวงและส่วนราชการเช่นเดียวกับพนักงานราชการ
2.3.4 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี
การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศ
ข้าราชการจึ งจ าเป็ น ต้องมีคุณสมบัติที่ดีให้เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดย
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2548, น. 19-29) ได้มีการนาค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ ที่
เจ้าหน้าที่ของรัฐควรยึดถือปฏิบัติในการทางาน ได้แก่
(1) กล้ายืนหยัดทาในสิ่งที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดมั่นในความถูกต้องและ
จรรยาวิชาชีพ แม้จะมีผู้ใดมาให้ทาสิ่งที่ไม่ได้ถูกต้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องคัดค้าน
และไม่สนับสนุนในการฉ้อโกงและการกระทาผิด อันนาไปสู่ผลเสียแก่ประชาชน
(2) ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีความตั้งใจในการปฏิบัติ
หน้าที่ไม่คดโกง หรือหลอกลวงเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน และมีความ
ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
21

(3) โปร่งใสตรวจสอบได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีการทางานที่ชัดเจน สามารถมีข้อมูล


ให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายรวมทั้งเปิดเผยวิธีการทางานให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ
เพื่อการทางานที่มีประสิทธิภาพ
(4) ไม่เลือกปฏิบั ติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกันไม่ดูถูก
เหยียดหยามเพศ ศาสนา และเชื้อชาติ รวมทั้งการทางานที่ปราศจากอคติ
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบไม่
ประมาท และคานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสาคัญ เพื่อประสิทธิภาพที่
ดีของงาน
22

บทที่ 3
ระเบียบวิธีการวิจัย
ภาคนิ พนธ์เรื่ อง ปัจ จัยที่มีผ ลต่ อวิธีคิดทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่น ในการ
กาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ. 2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยภาพรวมของการกาหนดระเบียบวิธีวิจัยหรือกระบวนวิธีวิจัย (Methodology) ที่
นามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กาหนดกรอบและขอบเขตของระเบียบวิธีวิจัย เป็นงานวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ศึกษาได้กาหนดกรอบและขอบเขตของระเบียบวิธีวิจัยหรือ
กระบวนวิธีวิจัยดังกล่าวมาใช้ในการดาเนินการศึกษา ประกอบด้วยขึ้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 ขอบเขตการวิจัย
3.1.1 ขอบเขตเนื้อหา
3.1.2 วิธีวิจัย
3.1.3 ขอบเขตด้านเวลา
3.1.4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.2 วิธีดาเนินการวิจัย
3.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.2.3 การจัดกระทาและการวิเคราะห์ข้อมูล
3.2.4 การนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
3.1. ขอบเขตการวิจัย
3.1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
ภาคนิพนธ์เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่นใน
การกาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ.2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้วิจัยได้กาหนดขอบเขตการวิจัยไว้ 3 ด้านดังนี้
(1) ศึกษากระบวนการการเรียนรู้ทางการเมืองของปัจเจกบุค คลที่จะนาไปสู่วิธีการ
คิดทางการเมืองของแต่ละปัจเจกบุคคล
23

(2) ศึกษาประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2468-2562 เพื่อนามา


ปรับใช้ในการวิเคราะห์เรื่อง Generation
(3) ศึกษาความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่น
ที่มีต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562
3.1.2 วิธีการวิจัย
การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บ
รวบรวมข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสาร (documentary research)
และการสั ม ภาษณ์ โ ดยใช้ รู ป แบบการสั ม ภาษณ์ แ บบเจาะลึ ก (In-depth Interviews)
(1) การวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) สาหรับการกาหนดระเบียบ
วิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (methodology) โดยการใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
(qualitative research) ด้วยกระบวนวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) โดยศึกษา
จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ทางผู้ศึกษาได้ทาการวิจัยเชิงเอกสารหลากหลาย
รูปแบบได้แก่ วารสาร หนังสือ วิ ทยานิพนธ์ รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ และสื่ อ
อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนามาทบทวนแนวความคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้อง พร้อมกับนา
แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมจากการวิจัยเชิงเอกสารมาวิเคราะห์ผลของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อให้มี
ความสมบูรณ์และครบถ้วนมีแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมรองรับ
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) สาหรับการกาหนดระเบียบวิธีการ
วิ จั ย หรื อ กระบวนวิ ธี ก ารวิ จั ย (methodology) โดยการใช้ ก ระบวนวิ ธี ก ารวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ
(qualitative research) การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้รูปแบบการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ในการเก็บ
ข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงของแต่ละสถานการณ์ โดยใช้คาถามที่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้าง
3.1.3 ขอบเขตด้านเวลา
การวิจัย ครั้ งนี้ ใช้ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลการ
สัมภาษณ์ทั้งสิ้น 1 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562
3.1.4 ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ
ผู้วิจัยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสาคัญแบบเจาะจง
โดยศึกษาผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่เป็นผู้ทางานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่น
โดยผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ส าคั ญ เป็ น บุ ค คลที่ ท างานในกลุ่ ม ผู้ ป ระกอบอาชี พ เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ ที่ เ กิ ด ในช่ ว ง
ระยะเวลาของเจเนอเรชั่นนั้นๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 เจเนอเรชั่น
ประชาชนที่อายุ 74-94 ปีซึ่งอยู่ในช่วง Silent Generation 1 คน
ประชาชนที่อายุ 55-73 ปีซึ่งอยู่ในช่วง Baby Boomer 1 คน
ประชาชนที่อายุ 40-54 ปีซง่ึ อยู่ในช่วง Generation X 1 คน
ประชาชนที่อายุ 24-39 ปีซง่ึ อยู่ในช่วง Generation Y 1 คน
ประชาชนที่อายุ 0- 22 ปีซง่ึ อยู่ในช่วง Generation Z 1 คน
24

รวมเป็นจานวนผู้ให้ข้อมูล สาคัญที่ทางานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของ
รัฐจานวนทั้งสิ้น 5 ท่านโดยแบ่งออกเป็นเจเนอเรชั่นละ 1 ท่าน โดยมีข้อมูลผู้ให้ข้อมูลสาคัญดังนี้

ตารางที่ 2.1 ตารางแสดงข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์

ผู้ให้ข้อมูล
Generation อายุ อาชีพ
สาคัญ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ นักเรียนมัธยมปลาย (บิดาประกอบอาชีพข้าราชการ)
Generation Z 17 ปี
ท่านที่ 1
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ข้า ราชการ สถาบั นพั ฒนาข้า ราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ า ย
Generation Y 33 ปี
ท่านที่ 2 วิชาการ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ข้าราชการ กานัน ดูแลตาบลบางม่วง อาเภอบางใหญ่ จังหวัด
Generation X 44 ปี
ท่านที่ 3 นนทบุรี
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ผู้เกษียณอายุราชการ หัวหน้าฝ่ายการคลังกรุงเทพมหานคร
Baby Boomer 61 ปี
ท่านที่ 4 โรงพยาบาลตากสิน
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ Silent ผู้เกษีย ณอายุร าชการ อาจารย์ผู้ เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ร ะดับ 8
77 ปี
ท่านที่ 5 Generation สานักการสังคีต

เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ ถื อ เป็ น หั ว ใจหลั ก ส าคั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นให้ ก ารบริ ห ารของ
ประเทศเป็นไปตามระบบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สาคัญของความเป็น
รัฐสมัยใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทางานในการบริหารประเทศของรัฐบาลเพื่ อบาบัดทุกข์
บารุงสุขของประชาชน อีกทั้งข้าราชการเป็นสายงานที่จาเป็นต้องใช้วิชาความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์
มากและยังมีการทางานที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาล ทาให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงเป็น
ผู้ให้ข้อมูลที่สาคัญที่จะนามาใช้เป็นกรณีศึกษางานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคน
แต่ละเจเนอเรชั่นในการกาหนดความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ.2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่ม
ผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจาเป็นต้องเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่ทางานใกล้ชิดกับรัฐบาล
เนื่ องจากการเป็ น เจ้ าหน้ าที่ของรั ฐ ทาให้ บุคคลเหล่ านี้จาเป็นต้องใกล้ ชิดและติดตามสถานการณ์
ทางการเมื อ ง สั ง คมและเศรษฐกิ จ อยู่ เ สมออี ก ทั้ ง การใช้ ค วามรู้ ด้ า นสั ง คมศาสตร์ ใ นการท างาน
เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้จาเป็นต้องใช้ผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่มีค วามรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์ทาง
การเมืองและเศรษฐกิจตามแต่ละช่วงยุคที่กาหนดไว้อีกทั้งต้องใช้ความเข้าใจสถานการณ์ทางการเมือง
และเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จากที่กล่าวมาข้างต้นทาให้การเจาะจงผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นกลุ่มผู้ที่
ทางานข้ าราชการหรื อเจ้ าหน้ าที่ข องรัฐ เป็ นกรณีศึก ษาในงานวิจัยชิ้น นี้ จึงเป็น ส่ ว นส าคั ญที่ทาให้
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ข้อมูลทางด้านประสบการณ์ทางการเมืองของผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่กว้างครอบคลุมในแต่
ละบริบทของการเมืองในแต่ละช่วงยุคที่ผู้ให้ข้อมูลสาคัญได้ผ่าน รวมไปถึงการวิเคราะห์และมุมมอง
25

ของผู้ให้ข้อมูล สาคัญที่ มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งจะครอบคลุมและครบถ้วนกว่า


บุคคลสายอาชีพอื่นเนื่องจากเป็นผู้ที่ ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ จาเป็นต้องมีความใกล้ชิดเรื่อง
เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งจะมีผลสาคัญในการนาไปสู่ผลการวิเคราะห์และข้อสรุปของงานวิจัยที่มี
มุมมองและข้อมูลครบถ้วนจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ
โดยเลือกศึกษาเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของ
รัฐโดยเริ่มจาก Generation Z ตามช่วงอายุยังอยู่ในวัยเรียนและกาลังศึกษามัธยมปลายเป็นกลุ่มเจนที่
ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ทางานกาลังศึกษาเล่าเรียน แต่การที่มีผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทางานข้าราชการจึงทาให้
ผู้วิจัยมองว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสาคัญที่จะเจาะจงผู้ให้สาคัญท่านนี้ใน Generation Z การที่มีผู้ปกครอง
ที่ใกล้ชิดกับรัฐและเกี่ยวข้องกับการเมือ งเป็นผลให้ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ Generation Z ซึมซับและตื่นตัว
ในด้านความรู้เกี่ยวกับการเมืองมากกว่าบุคคลอื่นใน Generation Z ที่มีสภาพแวดล้อมครอบครัวที่
ไม่ได้ทางานในสายที่เกี่ยวข้องกับรัฐ ส่วนบุคคลใน Generation Y, Generation X, Baby Boomer
และSilent Generation ต่างเป็นผู้ที่ทางานข้าราชการที่จาเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ใน
การบริหารประเทศอยู่เสมอทาให้สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์ทางการเมืองในยุคที่เป็น ประสบการณ์
ที่แต่ละคนได้ผ่าน ผู้วิจัยเลือกเจาะจงผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีความต่างของช่วงอายุและต่าง Generation
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สาคัญที่ตรงกับประเด็นวิจัยที่ต้องการศึกษาและจะสามารถนาไปสู่ข้อสรุปของการ
วิจัยที่สาคัญเกี่ยวกับมุมมองของผู้ที่ ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่น ในเรื่องของ
ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองและการกาหนดความพอใจที่มีต่อรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562:
กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ

3.2. วิธีดาเนินการศึกษาวิจัย

3.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
(1) แบบสั ม ภาษณ์ (Interview) สั ม ภาษณ์ ช นิ ด ไม่ มี โ ครงสร้ า ง (Unstructured
Interview) เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อคิดเห็น และประเด็นปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ
พื้นที่และสถานการณ์
3.2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บ ข้อ มูล แบ่ งเป็ น 2 ขั้ นตอน คือ ขั้นแรกเป็ นการรวบรวมเอกสารและ
งานวิ จั ย ที่เ กี่ย วข้ อง เพื่อสร้ างองค์ความรู้ เกี่ยวกับเรื่ องที่ ทาการวิจัย และน าแนวคิด ทฤษฎี และ
วรรณกรรมจากเอกสารและงานวิจัยมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการวิจัย ขั้นที่สองเป็นการเก็บ
ข้อมูลภาคสนาม (Field Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันตามวัตถุประสงค์
ของหัวข้อที่ทาการวิจัย โดยทาตามขั้นตอนดังนี้
(1) การสารวจเอกสาร และคาถามสัมภาษณ์วิจัยที่เกี่ยวข้อง
(2) การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
26

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล
3.2.3 การจัดกระทาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
(1) ใช้ ข้อ มูล จากการศึก ษาเอกสารและงานวิจั ยที่ เกี่ ยวข้อ งเป็น แนวทางในการ
จาแนกข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร การสารวจเบื้องต้น การสัมภาษณ์ ออกเป็นหมวดหมู่ โดยยึด
หลักเกณฑ์ตามความมุ่งหมายของการวิจัยเป็นหลัก
(2) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทั้งการตีค วามและการวิเคราะห์เนื้อหา
โดยการตีความจะนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาสร้างเป็นข้อสรุปแบบอุปนัยผ่านแนวคิด ทฤษฎี
และวรรณกรรมที่ได้ศึกษา ส่วนวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จะเป็นการนาแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรม
ที่ได้จากการศึกษาเอกสารมาวิเคราะห์เพื่อนาไปสู่ผลการวิเคราะห์แบบบรรยาย
3.2.4 การนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
นาเสนอผลการวิเคราะห์มูลตามวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปของการพรรณนา
วิเคราะห์ (Descriptive Analysis) จาแนกประเด็นเนื้อหาตามความมุ่งหมายและพื้นที่ของการวิจัย
27

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1. บริบททางเศรษฐกิจการเมืองโดยรวมที่หล่อหลอมวิธีคิดจากเจเนอเรชั่นแรกสู่เจเนอเรชั่น
ล่าสุด
ประเทศไทยแบ่ ง เจเนอเรชั่ น ออกมาหลั ก ๆได้ ทั้ ง หมด 5 เจเนอเรชั่ น ได้ แ ก่ Silent
Generation, Baby Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z โดยแบ่งเป็นช่วง
ระยะเวลาเกิดได้ดังนี้

ตารางที่ 4.1 เจเนอเรชั่นในประเทศไทยและช่วงเวลาในแต่ละเจเนอเรชั่น

Generation ช่วงเวลาเกิด (พ.ศ.) อายุเทียบปี พ.ศ. 2562


Silent Generation พ.ศ. 2468-2488 74-94 ปี
Baby Boomer พ.ศ. 2489-2507 55-73 ปี
Generation X พ.ศ. 2508-2522 40-54 ปี
Generation Y พ.ศ. 2523-2539 23-39 ปี
Generation Z คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 อายุต่ากว่า 23

โดยคนในแต่ละเจเนอเรชั่นต่างเกิดอยู่ในช่วงที่ต่างกันทาให้ประสบการณ์ทางเศรษฐกิจ
และการเมืองต่างแตกต่างกั นไปด้วยตามช่วงอายุของคนแต่ละเจเนอเรชั่นซึ่งมีผลต่อลักษณะเฉพาะ
ของแต่ละเจเนอเรชั่นที่แสดงออกมาจากการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านเหตุการณ์ต่างๆโดยผู้วิจัยได้
อธิบายบริบททางเศรษฐกิจการเมืองที่คนแต่ละเจเนอเรชั่นได้ผ่านดังนี้
4.1.1 เศรษฐกิจไทยยุคศักดินาก่อนการปฏิวัติการปกครอง พ.ศ. 2475 (ช่วงปี
พ.ศ. 1839-2475)
ในช่วงปลายของเศรษฐกิจไทยยุคศักดินามีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2475 ซึ่ง
เป็นระบบการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองหรือระบบการผลิตแบบยังชีพ ยังไม่ใช่ระบบการผลิตแบบเพื่อขาย
เป็นการใช้แรงงานคนโดยมีเครื่องทุ่นแรงอย่าง สัตว์ จอบ เสียม คันไถและอื่นๆ ในการทาเกษตรกรรม
และหัตถกรรมในหมู่บ้านและยังใช้ระบบกรรมสิทธิ์อยู่ (ฉัตรทิพย์ นาถสุกา, 2527, น. 362) จุดเปลี่ยน
สาคัญคือ แนวคิด Pax Britanica ช่วงที่อังกฤษเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมการที่สยามในช่วงของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทาสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2398 โดยเนื้อ
ในสนธิสัญญาเบาว์ริง คือการสร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยเข้าไปอยู่ในวงจรการแบ่งงานกันทาเพื่อการ
สะสมทุน (สุธี ประศาสน์เศรษฐ, 2556, น. 28) เป็นการเปิดประตูการค้าเสรีให้กับประเทศไทยเผชิญ
กับพ่อค้าและอานาจตะวันตกที่มาพร้อมกับเครื่องมือสมัยใหม่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากระบบการ
28

ผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองหรือระบบการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อ ตลาด (กัณฐิกา ศรีอุดม และ ชาญ


วิทย์ เกษตรศิริ, 2548, น. 17) การค้าผูกขาดของไทยโดยพระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี เป็น
จุดเริ่มต้นของระบบตลาดและกระบวนการสะสมทุนอัน เป็นลักษณะของระบบทุนนิยม โดยเปลี่ยน
ความสัมพัน ธ์ในการผลิ ตแบบนายบ่าวเป็นการผลิตที่เป็นนายจ้างกับลู กจ้าง (ฉัตรทิพย์ นาถสุกา,
2543, น. 74)
คนไทยในช่วงนี้หลังจากที่มีเลิกทาสทาให้คนไทยมีอิสระในการประกอบ
อาชีพแต่คนไทยส่วนใหญ่การยังคงทาอาชีพเกี่ยวกับกสิกรรมโดยมีการแปรรูปผลผลิตจากทุ่งนาและ
ป่าไม้ เช่น โรงสีข้าวและโรงเรื่อยไม้ เนื่องจากการศึกษาเริ่มก้าวหน้าทาให้ผู้หญิงได้รับโอกาสในการ
เข้าถึงการศึกษา คนไทยเริ่มได้รับการศึกษาจนมีคนไทยที่จบชั้นมัธยมและปริญญามากขึ้นจนงาน
ราชการเป็นอาชีพที่คนไทยเริ่มนิยมและต้องการทา แต่เนื้อหาด้านการศึกษายังคงไม่มีวิชาเกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองจะมีแต่คนไทยที่จบจากต่า งประเทศที่ ได้เรียนการเมืองและเศรษฐศาสตร์
(Batson, 2547, p. 109-110) คนที่มีความคิดหั ว ก้าวหน้าเกี่ยวกับการเมืองจึงเป็นคนที่ได้รับ
การศึกษาจากต่างประเทศ
4.1.2 การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และการ
พัฒนาทุนนิยมโดยรัฐ (ช่วงปี พ.ศ. 2475-2500)
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยกลุ่ม
คณะราษฎรซึ่ ง ประกอบด้ ว ยข้ า ราชการทหารบก ทหารเรื อ และข้ า ราชการพลเรื อ น เข้ า สู่ รั ฐ
ประชาชาติของไทยเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิร าชย์
เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการเสื่อมอานาจของจาก Pax Britanica มี
การจัดระบบราชการแบบใหม่ที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ เช่น มีการ
จัดการทางการคลังและงบประมาณที่แยกจากทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์รวมไปถึงการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคมนาคม การศึกษา และอื่นๆ (ธเนศ ศรีวิชัยลาพันธ์ , 2554, น. 25)
รัฐบาลคณะราษฎรได้บริหารประเทศมาโดยตลอดจนมาถึงช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็น
นายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 พร้อมกับบริบทของสงครามโลกที่เกิดขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2482-2488
โดยด้านการปกครอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในรูปแบบเผด็จการทหารมีการกวาดล้างนักการเมือง
ฝ่ายตรงข้ามและหนึ่งนโยบายด้านการปกครองที่สาคัญของรัฐบาลที่ส่งผลถึงปัจจุบันถึงได้แก่การ
ดาเนินนโยบายส่งเสริมลัทธิชาตินิยมโดยการปลูกฝังเยาวชนให้เกิดความรักชาติ ส่งเสริมให้รักษา
ขนบธรรมเนีย มประเพณีไทยอย่ างประเพณีวันสงกรานต์รวมไปถึงวันส าคั ญทางพุทธศาสนาและ
เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย (สิริรัตน์ ขันธพิน, 2520, น. 59) ด้านเศรษฐกิจในสมัยจอม
พล ป. พิบูลสงครามเป็นจุดเริ่มต้นของทุนนิยมโดยรัฐโดยการจัดตั้งสานักงานธนาคารชาติไทยในปี
พ.ศ. 2483 มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและบริษัทกึ่งราชการ รวมไปถึงการเข้าถือหุ้นบริษัทโดยสมาชิก
คณะราษฎรนาไปสู่การเข้าไปอุปถัมภ์บริษัทต่างๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ (รวิพรรณ สาลีพล, 2555,
น. 35-36) ในด้านนโยบายการต่างประเทศ จอมพล ป. พิบูลสงครามจากการที่ญี่ปุ่นใช้ดินแดนไทย
29

เพื่อเป็นฐานโจมตีอาณานิคมของอังกฤษในพม่าและมลายู -สิงคโปร์ ทาให้ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.


2485 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้
สิ้นสุดลง พ.ศ. 2488 จากการที่ฝ่ายญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ฝ่ายเสรีไทยเจรจายุติความเป็นศัตรูกับ
สัมพันธมิตรและได้นาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกลับมาภายใต้การบริหารของรัฐบาลพล
เรือน ในช่วง พ.ศ. 2488-2490 (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2554, น. 21) แต่ในขณะที่ยังเป็นประชาธิปไตย
กองทัพบกยังคงมีอานาจอยู่รู้สึกไม่พอใจที่ถูกลิดรอนอานาจทางการเมืองที่เฟื่องฟูในสมัยจอมพล ป.
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลพลเรือนให้การสนับสนุนเฉพาะทหารเรือ (ประทีป
สายเสน, 2531, น. 39-40) ผนวกกับเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท
มหิดลในช่วงของรัฐบาลปรีดี พนมยงค์ซึ่งถูกพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านโจมตีเรื่องที่ไม่
สามารถคลี่คลายกรณีเหตุการณ์สวรรคตให้ชัดเจนได้ทาให้นายปรีดีพนมยงค์ประกาศลาออก (จิรวัฒน์
รจนาวรรณ, 2547, น. 271-272) และให้ถวัลย์ ธารงนาวาสวัสดิ์ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จาก
เหตุพลดังกล่าวนาไปสู่เหตุการณ์รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นาโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ
หั ว หน้ า คณะรั ฐ ประหาร และจอมพล ป. พิ บูล สงครามได้ ก ลั บ มาด ารงต าแหน่ งอี ก ครั้ง ในฐานะ
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2491-2500 พร้อมกับบริบทหลังสงครามโลกที่ได้เกิดสงครามในรูปแบบใหม่มา
แทนที่คือสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเนื่องจากกลัวภัยคอมมิวนิสต์
จะเข้ามาครอบงาทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามทฤษฎีโดมิโน่ (สถาบันสยาม, 2518, น. 12-
13) รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามยังคงสานต่อการพัฒนาแบบทุนนิยมโดยรัฐแม้จะมีบริบทของ
สหรัฐอเมริกาเข้ามาแต่จอมพล ป. พิบูลสงครามไม่ค่อยยอมรับการผลักดันข้อเสนอในการปรังปรุงการ
บริหารและนโยบายทางเศรษฐกิจตามที่สหรัฐอเมริกา (ณัฐพล ใจจริง, 2552, น. 166) มีแต่ภาพของ
การปราบปรามการเมืองฝ่ายตรงข้ามแต่ลักษณะของการพัฒนาเศรษฐกิจยังดาเนินไปได้น้อย
เป็นช่วงของคนในยุค Silent Generation โดยหลังจากการขึ้นมา
ปกครองของคณะราษฎรคนไทยส่ ว นให ญ่ ยั ง คงด าเนิ น ชี วิ ต ตามเดิ ม แบบสมั ย ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนมาถึงการสร้างชาติในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้พยายามทาให้
คนไทยมีความคิดผูกติดกับวัฒนธรรมโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับ
การสร้างชาติ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ , 2540, น.
237-243) คนไทยจึ ง มีค วามคิด ยกย่องและเชื่อ ฟังผู้ นาประเทศคือจอมพล ป. พิบูล สงคราม ลด
บทบาทของภาพผู้ปกครองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คนไทยเริ่มมีการแต่งกายแบบตะวันตกอย่าง
การสวมรองเท้า เคารพสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติ เช่น เพลงชาติ เคารพภาษาไทยและเพลง
สรรเสริญพระบารมี นอกจากนี้ คนไทยเริ่มมีบทบาทในภาคเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นทุนนิยมโดยรัฐทาให้จากเมื่อก่อนที่คนไทยนิยมอาชีพเกี่ยวกับกสิกรรมเริ่ม
ปรั บ เปลี่ ย นให้ คนไทยสามารถประกอบอาชีพ ที่ห ลากหลายได้ม ากขึ้ นทั้ งกิ จการด้ านการค้า และ
อุตสาหกรรม นายทุนน้อย ข้าราชการ และพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยเกิดขึ้นมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทาให้คนรุ่น
30

Silent Generation มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือความเป็นชาตินิยมและอนุรักษ์วัฒนธรรมขนม


ธรรมเนียมแบบเก่า 1
4.1.3 เผด็ จ การทหารและการประกาศใช้ แ ผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ตามกรอบ
ความคิดของธนาคารโลก (ช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2516)
จุดเริ่มต้นของยุคเผด็จการทหารมาจากการรัฐประหารสองครั้งในวันที่
16 กันยายนพ.ศ. 2500 และ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และคณะทหาร เป็น
การยกเลิกรั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2475 และพ.ศ. 2495 ยกเลิ กพรรคการเมือง
ยกเลิกรัฐสภา และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง รวมทั้งกฎหมายควบคุมหนังสือพิมพ์ ห้าม
ชุมนุมทางการเมืองและดาเนินนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์และอันธพาล (ยุพา ปราชญากูล และ
ศักดิภัท เชาวน์ลักษณ์สกุล , 2561, น. 28) เป็นผู้ที่ริเริ่มอุดมการณ์ ชาติ -ศาสนา-พระมหากษัตริ ย์
พร้ อ มทั้ ง สร้ า งความร่ ว มมื อ กั บ สหรั ฐ อเมริ ก าในนโยบายด้ า นเศรษฐกิ จ ตามแนวคิ ด ใหม่ คื อ Pax
Americana ช่วงที่อเมริกาเป็นศูนย์กลางของระบบทุนนิยมที่จะมาแทนเศรษฐกิจรูปแบบทุนนิยมโดย
รั ฐ เนื่ องจากสหรั ฐ เชื่อว่าประเทศที่ยากจนและไม่พัฒ นาจะกลายเป็นคอมมิว นิส ต์จึงได้เข้ามาหา
ประเทศไทยในการปรั บ ปรุ งโครงสร้า งทางเศรษฐกิจ และให้ เงิน ช่ว ยเหลื อ เพื่อไม่ให้ ป ระเทศไทย
กลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามทฤษฎีโดมิโน่ (โสภณ ศิริงาม, 2559, น. 14) ทาให้ในสมัยรัฐบาลจอม
พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ปรับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทยตามแบบสหรัฐอเมริกาโดยการใช้นโยบาย
เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่เน้นการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ มี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกขึ้นในประเทศไทย และเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันมีก่อตั้ง
สานักงานคณะกรรการพัฒนาทางเศรษฐกิจแห่งชาติพร้อมกันนั้นได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, 2543, น. 12) มีการส่งเสริมให้ภาคเกษตรเพิ่มการผลิตขึ้น ในด้าน
ข้ า วโพด มั น ส าปะหลั ง เพื่ อ เข้ า สู่ ต ลาด พร้ อ มกั บ การเปลี่ ย นไปสู่ อุ ต สาหกรรมรั ฐ บาลส่ ง เสริ ม
อุตสาหกรรมให้แก่ผู้ลงทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่นงดภาษีการนาเข้าเครื่องจักร การกู้เงิน และให้
การผูกขาดในการลงทุนตามระยะเวลา มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยให้การผลิตสินค้าและ
บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ ถนน ท่าเรือ การสื่อสาร การศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่การ
ผลิตและการค้าขาย (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2561, น. 4-7) เกิดชนชั้นกระฎุมพีใหม่หรือชนชั้นกลาง ทาให้
มีการสร้างความเหลื่อมล้าในชนบทมากขึ้นเนื่องจากการพัฒนาส่วนมากกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพ ต่อมา
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เสียชีวิตด้วยปัญหาสุขภาพในขณะดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8
ธันวาคม พ.ศ. 2506 การบริหารรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้สิ้นสุดลง

1
ความเป็นชาตินิยมและอนุรักษ์วัฒนธรรมขนมธรรมเนียมแบบเก่า เนื่องจากคน Silent Generation เคยยึดติดกับวิธีชีวิตที่มีมา
ตั้งแต่สมบูรณาญาสิทธิราชย์พอเมื่อเข้าสู่การปฏิวัติการปกครอง พ.ศ. 2475 เนื่องด้วยผู้ปกครองต้องการสร้างโครงสร้างทาง
สังคมใหม่จนเกิดการกล่อมเกลาทางการเมืองให้คนเริ่มที่มาสนใจในคุณค่าความเป็นคนไทยและประเทศไทยเริ่มมีการยึดติดกับ
ขนมธรรมเนียนประเพณีและนาไปสู่การส่งต่อให้คนรุ่นหลัง
31

เข้าสู่รัฐบาลใหม่โดยจอมพล ถนอม กิตติขจรตั้งแต่ พ.ศ. 2506-2516


โดยจอมพลถนอมเน้นให้รัฐมนตรีทุกคนจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังคงดารงอยู่ในตาแหน่ง
รัฐมนตรีต่อไปเนื่องจากความสืบเนื่องของนโยบาย (ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, 2550, น. 394) และ
ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญสาเร็จในปี พ.ศ. 2511 นาไปสู่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 แต่พอถึงปี พ.ศ.
2514 มีก ารรั ฐ ประหารตัว เองเกิ ด ขึ้น โดยจอมพลถนอม กิต ติ ขจรเพื่ อน าการปกครองไปสู่ เผด็ จ
การทหารอีกครั้ง จากสภาพการเมืองและนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นรูปแบบเผด็จการ
อานาจนิ ย มและการด าเนิ น นโยบายต่ างประเทศที่พึ่ง พาต่า งชาติทาให้ เกิด ความไม่ส มดุล ในการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมและประชาชนขาดการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง (ชาญวิทย์ รักษ์กุลชน, 2556, น. 5) ทาให้เกิดการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเป็น
ประชาธิปไตยโดยขบวนการกลุ่มนิสิตนักศึกษา นาไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 จนนามาซึ่ง
การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ส่วนจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.
ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางหนีออกจากประเทศ
เป็นช่วงของคนในยุค Baby Boomer โดยคนไทยได้ถูกปลูกฝั่งให้ผูกพัน
กับ สถาบั นพระมหากษัตริ ย์ ในสมัยของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โ ดยผ่ านการพยายามฟื้นฟู
สถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชพิธีต่างๆ เช่น ส่งเสริมโครงการหลวง โครงการพระราชดาริต่างๆ
และข่าวพระราชสานักเป็นต้นซึ่งต่างกับช่วงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามที่พยายามลดบทบาทของ
สถาบั น พระมหากษัต ริ ย์ นอกจากนี้ ภ ายใต้ก ารปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรั ช ต์ ได้ ปกครอง
ประเทศไทยในลักษณะระบอบเผด็จการอานาจนิยมโดยกองทัพ ส่งผลให้คนไทยไม่สามารถมีส่วนร่วม
ทางการเมืองในลักษณะของประชาธิปไตย เช่น การประท้วง การชุมนุม หรือการแสดงความคิดที่เห็น
ต่างจากรัฐบาลเพราะถ้าหากแสดงความเห็นต่างจากรัฐบาลในขณะนั้นจะถือว่ามีความผิดรัฐบาล
สามารถใช้อานาจจับ กุมและปราบปรามได้ ด้ว ยกระแสของคอมมิว นิส ต์ทาให้ คนไทยช่วงนี้ได้ถูก
ครอบงาว่าการเป็นคอมมิวนิสต์หรือรับแนวคิดของคอมมิวนิสต์มาใช้คือสิ่งที่ผิดและไม่เหมาะสมในการ
ดารงชีวิตอยู่ในสมัยนั้นเพราะขัดต่อรัฐบาล ซึ่งคนไทยถูกการปกครองในลักษณะแบบนี้เป็นระยะเวลา
ที่นานจนถึง พ.ศ. 2516 นอกจากนี้คนไทยถูกดึงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจาก
รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า ประปา ท่าเรือ และถนนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่
1 ทาให้ผู้ที่ทากสิกรที่อยู่ห่ างไกลสามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันความ
เหลื่อมล้าของคนไทยมีมากยิ่งขึ้นด้วยเนื่องจากเศรษฐกิจตามแนวคิด Pax Americana ทาให้ประเทศ
ไทยเริ่มหันมาทาอุตสาหกรรมมากขึ้นและเป็นธุรกิจที่ผูกขาดรวมถึงการเข้ามาของการลงทุนในบริษัท
ข้ามชาติ ทาให้ เกษตรกรรายย่อย ประชาชนและกลุ่มคนต่างๆได้รับผลประโยชน์จากการพัฒ นา
เศรษฐกิจได้น้อยกว่านายทุน ช่วงนี้คนไทยส่วนใหญ่ล้วนได้รับการศึกษาประชาชนบางส่วนยังคงพบ
กับปัญหาการว่างงาน ซึ่งการที่ถูกปกครองด้วยระบอบอานาจนิยมเผด็จการจะส่งผลต่อความคิดและ
การตื่นตัวทางการเมืองของคนยุค Baby Boomer ในช่วงต่อไป
32

4.1.4 นักธุรกิจและชนชั้น กลางมีบทบาทเพิ่มขึ้น และเหตุการณ์ 16 ตุลาคม


พ.ศ. 2519 (ช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2523)
หลั ง เหตุ ก ารณ์ 14 ตุ ล าคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยได้ เ ข้ า ระบอบสู่
ประชาธิปไตยอีกครั้งมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งขึ้นให้ดูแลรัฐบาลคณะนั้น ทาให้มีร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ร่วมกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยถือว่า
เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากทาให้อยู่ท่ามกลางการตื่นตัว
ทางการเมืองของประชาชน ทั้งนักศึกษา ชาวนาและกรรมกร (ทินพันธุ์ นาคะตะ, 2555, น.30)
ในช่วงนี้ประชาธิปไตยไทยเข้มแข็งขึ้นนาไปสู่ความเข้มแข็งทางอุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆทั้งฝ่าย
ซ้ายและฝ่ายขวา พร้อมกับวิกฤตน้ามันโลกใน พ.ศ. 2516 และการถอนทหารเมริกนจากเวียดนาม
ในช่วงสงครามเย็น ทาให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในไทยอ่อนลง
จุดเปลี่ยนสาคัญต่อมาคือการรัฐประหารวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็น
เหตุการณ์กวาดล้างชุมนุมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กว่า 5,000 คนโดยตารวจตระเวน
ชายแดน หน่วยคอมมานโด สันติบาลตารวจท้องที่ ตารวจน้า ลูกเสือชาวบ้าน นวพล และกระทิงแดง
(ชาญวิทย์ เกษตรสิริ และ ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ , 2541) เนื่องจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์
ฝ่ายซ้ายฝ่ายขวาเริ่มจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจรพยายามกลับเข้ามาในประเทศไทยโดยบวชเป็น
สามเณรเพื่อเข้าวัดในกรุงเทพฯจากการไปลี้ภัยที่สิงคโปร์ (สุรชาติ บารุงสุข, 2560, น. 12) ผนวกกับ
การก้าวมาสู่อานาจเป็น ครั้งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์ที่แนวพรมแดนด้านตะวันออกทั้งหมดของไทย
ดังนั้นเมื่อขบวนการนักศึกษาเคลื่อนไหวจึงถูกมองว่าเป็นแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย
ทาให้เกิดการก่อตัวอย่างเข้มแข็งในอุดมการณ์ฝ่ายขวาของการเมืองไทย (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, 2526,
น.8) กลุ่มนักศึกษาได้ทาการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจรเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2519
แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มนักศึกษาได้ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าหมิ่นสถาบันกษัตริย์เนื่องจากก่อนหน้านี้กลุ่ม
นักศึกษาประท้วงแสดงการแขวนคอล้ อเลียนทางการเหมือนต่อมาภาพที่มีคนแขวนคอในการล้ อ
การเมืองได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Bangkok post และดาวสยามซึ่งคนที่ถูกแขวนคล้ายกับพระ
บร ม ว ง ศ า นุ ว ง ศ์ พ ร ะ อ งค์ ห นึ่ ง จ น น าไ ป สู่ ก า ร รั ฐ ป ร ะ ห า ร ก ว า ด ล้ า ง ก ลุ่ มนั ก ศึ ก ษ า ใ น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยการนาของพลเอกสงัด ชะลออยู่ (ชาญวิทย์ เกษตรสิริ, 2549, น. 9)
หลั ง จากเหตุก ารณ์กวาดล้ า งนัก ศึก ษาทาให้ เ ข้า สู่ รัฐ บาลพลเรื อนนาย
ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีการปลุกระบอบอานาจนิยมขึ้นมาใหม่ เดินหน้าปราบคนคิดต่างทางการเมือง
อย่างมากและทาสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผยมีนโยบายปฏิรูปประเทศ 3 ขั้นบันไดของ
ธานินทร์ กรัยวิเชียรที่จะนาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยใน 12 ปีแต่รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร
บริหารประเทศได้เพียงปีเดียว มีการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยพลเอกสงัด
ชะลออยู่ภายใต้มติของคณะปฏิวัติให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งอยู่ในช่วง
พ.ศ. 2520-2523 ด้ านเศรษฐกิจ โดยรวมในช่วง พ.ศ. 2516-2523 ประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจ
ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 และ4 ยังคงเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกซึ่ง
33

ส่วนใหญ่การผลิตมาจากการย้ายแหล่งผลิตของบรรษัทข้ามชาติตามแผนการแบ่งงานกันทาระหว่าง
ประเทศใต้แนวคิด Pax Americana และยังคงผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (สุธี ประศาสน์
เศรษฐ, 2556, น. 46) ชนชั้นกระฎุมพีหรือชนชั้นกลางมีการขยายตัวมากขึ้นพร้อมกับมีงบประมาณ
ด้านการทหารสูงขึ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แต่ยังคงเน้นอุตสาหกรรมพร้อมพัฒนาความ
ทันสมัยในเขตเมือง แต่ก็ยังมีปัญหาจนนาไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ. 2522 ประเทศไทยมีปัญหา
เงินเฟ้อ ปัญหาเงินตึงตัว ปัญหางักงันของเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ปัญ หาน้ามัน และ
ความไม่แน่นอนในการกาหนดนโยบาย ทาให้ผู้ประกอบการเน้นเก็งกาไรแทนที่การขยายธุรกิจและ
อุตสาหกรรม (ธรรมนูญ โสภารัตน์, 2525, น. 246)
เป็นช่วงต่อของคนในยุค Baby Boomer โดยคนไทยเริ่มมีความไม่พอใจ
สะสมมาอย่างต่อเนื่องจากการบริหารประเทศของรัฐบาลระบอบเผด็จการอานาจนิยมโดยกองทัพ
เนื่องจากการคอรัปชั่นในรัฐบาลและความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้าจนนาไปสู่ความ
เคลื่อนไหวของประชาชนจนเกิดการเปลี่ยนผ่านให้ประเทศไทยเข้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย
แบบรัฐสภา คนไทยจึงเริ่มมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองทาให้อุดมการณ์ทางการเมือง
ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาเติบโตมากยิ่งขึ้น จนมาถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เกิดรัฐประหารอีกครั้งทาให้
อุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายซ้ายของคนไทยมีบทบาทลดลง ในด้านเศรษฐกิจคนไทยส่วนใหญ่ยังพบ
เจอกับปัญหาการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรม ในขณะที่อุตสาหกรรมและธุรกิจผูกขาดขยายตัว
อย่างต่อเนื่อง ปัญหาเงินตึงและเสถียรภาพของราคา ซึ่งปัญหาที่จะนาไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2522
ทาให้คนไทยได้พบเจอกับเศรษฐกิจที่ซบเซา (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2523, น. 4-5) ทาให้คนรุ่น Baby
Boomer มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือมีความตื่นตัวทางการเมืองและมีความคิดอุดมการณ์ทาง
การเมืองอย่างเข้มข้น 2 โดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แม้
ช่วงหลังจากเหตุการณ์รัฐบาลจะปราบคนที่มีความคิดเห็นต่างอย่างเข้มงวด และนาพาไปสู่ยุคสายลม
แสงแดดที่คน Baby Boomer อีกด้านหนึ่งถูกทาให้ไม่สนใจการเมือง แต่จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ก็ยังคงทาให้นักศึกษาที่ผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวในยุค Baby
Boomer มี อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งที่ ยึ ด หลั ก ประชาธิ ป ไตยและมี ส่ ว นร่ ว มในภายภาคหน้ า ใน
เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆในอนาคตอย่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
4.1.5 การเปิด เสรี ค รั้ง ใหญ่การเติบโตแบบเศรษฐกิจ ฟองสบู่และเหตุการณ์
พฤษภาทมิฬ (ช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2539)
รัฐ บาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ไม่ส ามารถจัดการกับปัญหา
วิกฤตเศรษฐกิจได้นาไปสู่การขอลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี นาไปสู่การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี

2
ความตื่นตัวทางการเมืองและมีความคิดอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเข้มข้นของคน Baby Boomer มาจากการกล่อมเกลาทาง
การเมืองที่สะสมมาจากการอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการมาอย่างยาวนานจนนามาสู่การลุกฮือของ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 จนนาประเทศมาสู่ประชาธิปไตยและหลังจากนั้นลักษณะของประชาธิปไตยที่เบ่งบานเต็มที่ทาให้การกล่อมเกลาทาง
การเมืองของคนมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างซ้ายกับขวาซึ่งมีความเข้มข้นขึ้นมากด้วยลักษณะของประชาธิปไตย
34

คนใหม่ได้แก่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยตั้งแต่ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.


2523 ถึงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นระยะเวลาราว 8ปี 1เดือน เข้าสู่ช่วงของประชาธิปไตยครึ่ง
ใบที่มีการปรับโครงสร้างให้อานาจในลักษณะเผด็จการร่วมมือกับระบบราชการระหว่างทหารกับเทค
โนแครตเป็ นการดึงกลุ่ มที่ยอมรั บในอานาจเผด็จการเข้าสู่กระบวนการทางนโยบายและใช้ระบบ
ราชการเป็นเครื่องมือในการกาหนดนโยบายและขับเคลื่อนรัฐกลายเป็นระบบราชการไทยที่มีความ
เข้มแข็ง (อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ, 2558, น. 77) เหตุการณ์สาคัญด้านการเมืองในช่วงของพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์คือกบฏเมษาฮาวาย วันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2524 เกิดการพยายามปฏิวัติรัฐบาลพล
เอกเปรม ติณ สู ล านนท์ กลุ่ มนายทหารหนุ่ ม หรื อ ยัง เติ ร์ กโดยการน าของพลเอกสั ณ ห์ จิต รปฏิ ม า
เนื่องจากความไม่พอใจในการต่ออายุราชการของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในตาแหน่งผบ.ทบ และ
การบริหารราชการแต่การปฏิวัติครั้งนี้ได้ล้มเหลว (พรภิรมณ์ เชียงกูล. 2540. น. 29-30)
ด้านเศรษฐกิจที่สาคัญคือการที่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์พยายาม
ประนีประนอมระหว่างสหรัฐอเมริกาและสถาบันกษัตริย์เพื่อผลักดันสู่ Pax Americana 2 มีแนวคิด
ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมจากการผลิตเพื่อทดแทนการนาเข้า (ISI) เป็นการผลิตเพื่อ
เน้นการส่งออก (BOI) เป็นการเน้นให้ผลิตของที่ถูกที่สุดเพื่อส่งออก (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ม.ป.ป.. น.
1) เป็นการลดบทบาทของภาครัฐในด้านเศรษฐกิจและผลักดันการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดเสรีการค้า
และบริการให้กลุ่มทุนบรรษัทข้ามชาติเข้ามาทาธุรกิจได้ ในขณะเดียวกัน พร้อมกับในบริบทโลกจาก
เหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลทางการค้ากับญี่ปุ่นอย่างมากทาให้เกิดการประชุม G5 ของประเทศที่
แข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น ที่โรงแรมพลาซ่า
กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นการแทรกแซงเงินตราครั้งแรกของโลกโดยการ
ปรั บ ค่ าเงิน เยนของญี่ปุ่ น จาก 250 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ส หรัฐ เป็น 150 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ส หรั ฐ
ก่อให้เกิดปรากฏการณ์พล่าซ่า แอคคอร์ด (Extream Vision, 2559) ญี่ปุ่นจึงใช้วิธีการย้ายฐานการ
ผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทาให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวจากการลงทุนของต่างประเทศ
อย่างมาก (ฉัตรทิพย์ นาถสุกา, 2543, น. 112) กลุ่มชาวจีนและบรรษัทข้ามชาติเข้ามาบทบาท
ขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ทาให้ไทยติดกับทุนนิยมและการเงินมากขึ้น สิ้นสุดรัฐบาลของพลเอก
เปรมจากการยุบสภา
เข้าสู่ รัฐ บาลของพลเอกชาติช าย ชุณหวัณ ช่ว ง พ.ศ. 2531-2534 เป็น
นายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับการลงคะแนนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มา
จากการเลือกตั้งทั้งหมด นโยบายที่สาคัญคือเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าโดยมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ
และเชื่อมความสัมพันธ์กั บประเทศเพื่อนบ้านหลังสงครามเย็นได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชาโดยใช้
เศรษฐกิจเป็นตัวนาในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ชนาใจ หมื่นไธสง, 2562, น. 125) ปี
พ.ศ. 2532 แบงก์ชาติมีนโยบายให้เปิดเสรีทางการเงินเป็นฉบับแรก มีการขยายตัวของทุนการเงิน
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจส่งออก และชุมชนเมืองตามพื้นที่นอกกรุงเทพ แต่ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลพลเอกชาติชายมีพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวงจนมีฉายาว่า Buffet Cabinet ทาให้ประชาชน
35

และคนชั้นกลางไม่พอใจและเป็นรัฐบาลที่ขัดแย้งกับกองทัพ นาไปสู่การรัฐประหารของคณะรักษา
ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นาโดยพลเอกสุจินดา คราประยูรผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (อภิญญา รัตนมงคลมาศ และ วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์ , 2547, น.
112)
อานันท์ ปันยารชุนขึ้นดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อภายใต้มติของคณะ
รสช. ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 โดยพลเอกสุจินดา คราประยูรมักให้คามั่นสัญญาว่าคณะ รสช.
รัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นมาเพื่อแก้ไขรัฐบาลที่ทุจริตโกงบ้านกินเมืองและคณะ
รสช. จะไม่รับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเด็ดขาด และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ในการ
จัดการเลือกตั้งทั่วไป แต่สุดท้ายสภา รสช.ได้เสนอชื่อพลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นยก พลเอกสุจินดา
คราประยูรได้ตัดสินใจรับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยวลี ”เสียสัตย์เพื่อชาติ” (อาทิตย์ อุไรรัตน์, 2553,
น. 19-21) ทาให้เกิดความไม่พอใจและเกิดการชุมนุมของกลุ่มคนที่ประกอบไปด้วยเจ้าของกิจการ
ภาคเอกชน ชนชั้นกลาง ปัญญาชน และคนงานเนื่องจากพลเอกสุจินดา คราประยูรไม่รักษาคาพูดที่
จะไม่รับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยจุดมุ่งหมายของกลุ่มผู้ ชุมนุมคือการต่อต้านเผด็จการอานาจนิยม
และต้องการให้ พลเอกสุ จิน ดา คราประยูรออกจากตาแหน่งนายกรัฐ มนตรี จนเกิดเป็นเหตุการณ์
พฤษภาทมิฬวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (พรภิรมณ์ เชียงกูล, 2540, น. 28-29) เหตุการณ์จบลง
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรม
ศักดิ์ประธานองคมนตรีและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์องคมนตรีและรัฐบุรุ ษ นาพลเอกสุจินดา ครา
ประยูรนายกรัฐมนตรี และพลตรี จาลองศรีเมืองเข้าเฝ้าทูลละออกธุลีพระบาทในวันที่ 20 พฤษภาคม
พ.ศ. 2535 จากนั้นวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอกสุจินดา คราประยูรได้ ขอลาออกจากการ
เป็น นากยกรัฐ มนตรี หลั งจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ช่วง พ.ศ. 2535-2539 ได้มีผู้ ดารงตาแหน่ง
นายกรั ฐ มนตรี ดัง นี้ น ายมี ชัย ฤชุพั นธุ์ ตาแหน่ง รองนายกรั ฐ มนตรีรั กษาการในตาแหน่ง วันที่ 24
พฤษภาคม พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นายชวน หลีกภัยวันที่
23 กันยายน พ.ศ. 2535 นายบรรหาร ศิลปะอาชาวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 และพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยรวมของช่วงนี้เป็นการสถาปนาอานาจของสถาบันกษัตริย์ที่
ประสบความสาเร็จทั้งอุดมการณ์ทางสังคม การสะสมทุนทางเศรษฐกิจ และอานาจทางการเมืองรวม
ไปถึงเป็นภาพสะท้อนการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีมากขึ้นอย่างเป็นระบบจากการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจตามระบบทุนนิ ยมทาให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เติบโตขึ้นและเกิดการเก็งกาไรที่ดิน บ้าน
อาคารชุด เนื่องจากราคาของอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี
พ.ศ. 2540 (สานักงานวิชาการ และ สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560, น. 3)
เป็นช่วงของคนในยุค Generation X และ Y โดยคนไทยสามารถแสดง
ความคิดเห็นได้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนในช่วงของรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรที่ยังคงใช้อานาจในการลบ
ล้างคนเห็นต่างและมีความคิดฝ่ายซ้าย คนไทยรู้สึกปลอดภัยจากเหตุการณ์คอมมิวนิสต์และนักศึกษา
จากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้หลบหนีเข้าป่าร่วมไปกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
36

กลับออกมาจากป่าเนื่องด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้แปรพักตร์ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสู
ลานนท์ คนไทยไม่รู้สึกเห็นชอบกับลักษณะการปกครองในลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในช่วงนี้ ซึ่ง
แสดงออกมาให้ เ ห็ น อย่ า งเด่ น ชั ด ในเหตุ ก ารณ์ พ ฤษภาทมิ ฬ และมี ค วามรู้ สึ ก ผู ก พั น กั บ สถาบั น
พระมหากษั ต ริ ย์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น หลั ง จากเหตุ ก ารณ์ พ ฤษภาทมิ ฬ ผลกระทบจากการด าเนิ น การทาง
เศรษฐกิจตามแบบ Pax Americana 2 ของรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทาให้คน
ไทยมีความคิดที่อิงกับ ทุน นิ ยมมากยิ่งขึ้น คนไทยที่ทาอาชีพเกี่ยวกับกสิกรรมเริ่มเติบโตได้ช้ากว่า
ภาคอุตสาหกรรม คนไทยภาคกสิกรรมลาบากเนื่องจากปัจจัยการผลิตสูงและพื ชผลทางการเกษตร
ราคาต่าและประสบปัญหาไม่มีที่ดินทากินเพราะธุรกิจที่ดินเติบโตสูง ชาวนาผู้ที่ไม่ได้ เป็นเจ้าของที่ดิน
เมื่อมีนายทุนมาซื้อที่ดินที่ชาวนาทาอาชีพอยู่อยากจะเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ในการลงทุนธุรกิจของตัวเอง
จึงทาให้ชาวนาไม่มีที่ดินทากิน ในขณะเดียวกันคนไทยเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นจากการเป็น
ลูกจ้างเศรษฐกิจพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดในยุคนี้คนชนชั้ นกลางจึงมีมากยิ่งขึ้นและคนไทยเริ่ม
หันไปบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยเนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโต คนไทยในกรุงเทพฯเริ่มผูกติดกับชีวิตเงินเดือน
ด้วยเหตุนี้ทาให้คนรุ่น Generation X มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือการให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจ
จากการทีเ่ ผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2522 และต่อมา Generation X ได้อยู่กับเศรษฐกิจที่กาลัง
เจริญเติบโตไปได้ดีจนถึงก่อนวิกฤตฟองสบู่แตก ส่วน Generation Y ต้องพบกับช่วงของลงของ
เศรษฐกิจจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกจึงทาให้ Generation Y ให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจ3
เช่นกัน
4.1.6 วิกฤตเศรษฐกิจเศรษฐกิจฟองสบู่ แตก วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง
เสื้อเหลือง-แดง และการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะคสช. (ช่วงปี พ.ศ.
2540-2562)
ช่ ว งปลายของรั ฐ บาลพลเอกชวลิ ต ยงใจยุ ท ธได้ มี ก ารประกาศใช้
รั ฐ ธรรมนู ญ พ.ศ. 2540 เป็ น รั ฐ ธรรมนูญ ฉบั บ ที่ 16 เรี ยกกัน ว่า เป็น รัฐ ธรรมนู ญฉบับ ประชาชน
เนื่องจากมีความเป็นประชาธิปไตยมากและระหว่างร่างได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, 2560) และในปีเดียวกันกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประเทศ
ไทยได้ เ ผชิ ญ กั บ วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ ฟองสบู่ แ ตก พ.ศ. 2540 หรื อ วิ ก ฤตต้ มย ากุ้ ง ข้ อ มู ล จากตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวิกฤตต้มยากุ้งสาเหตุหลักมาจากการลงทุนเกินตัวของภาคเอกชนจนทาให้
สถาบันการเงินมีปัญหา การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูง และเงินทุนสารองระหว่างประเทศลดลงอย่าง
มาก ทาให้เกิดการเก็งกาไรค่าเงินบาทและมีเงินทุนต่างประเทศไหลออกอย่างต่อเนื่องค่าเงินบาทอ่อน

3
การให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจเป็นพิเศษเนื่องจากผลกระทบจากการดาเนินการทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ทุนนิยมโดยรัฐจนมาถึงการ
พัฒนาเศรษฐกิจตามแบบ Pax Americana 2 ทาให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมืองของคนที่เริ่มเห็นความเหลื่อมล้าที่ชัดมากขึ้น
เรื่อยๆจากระบบทุนนิยม จนเกิดเป็นความเปราะบางของคนทางเศรษฐกิจให้คนแต่ละคนมีสถานะทางชนชั้นที่สูง กลางและล่าง
ที่มีมากยิ่งขึ้นจึงทาให้คน Generation X และGeneration Y คานึงถึงเรื่องเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ที่คนเหล่านี้เผชิญ ซึ่งทาให้เกิด
การกล่อมเกลาจนมาเป็นลักษณะเฉพาะของคนเจเนอเรชั่นดังกล่าว
37

ตัวระดับต่าสุด 56.50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สหรัฐฯ จนธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถควบคุม


สถานการณ์ไว้ได้ จนรัฐบาลไทยต้องเข้าโครงการความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) (กิตติคุณ ผุสดี ทิพทัส , 2553, น. 1-2) เหตุการณ์ต้มยากุ้งทาให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธต้อง
ลาออกจากรั ฐ บาล เข้าสู่ รั ฐ บาลนายชวน หลี กภัยสมัยที่ 2 วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 9
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตรในสมัยที่1วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11
มีนาคม พ.ศ. 2548 ในสมัยที่สองวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ทาให้เกิดวลี 4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง
ได้ประกาศใช้นโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของชาติ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จาก
เหตุการณ์ต้มยากุ้งที่ทาให้คนไทยเกิดการว่างงานและไม่มีรายได้ เป็นการช่วยเหลือชนชั้นล่างในเมือง
และชนชั้นกลางใหม่ในชนบทโดยเนื้อหาหลักได้แก่ การพักชาระหนี้เกษตรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปีเพื่อ
แก้ปั ญหาหนี้ สิ น ให้ กับ เกษตรกร, การจัดตั้ งกองทุนหมู่บ้ านและชุมชนเมืองละแห่ ง เป็นแหล่ งเงิ น
หมุนเวีย นในชุมชนและโครงการหนึ่งตาบลหนึ่งผลิ ตภัณฑ์ , จัดตั้งธนาคารประชาชนเพื่อกระจาย
โอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อย, จัดตั้งธนาคารรัฐวิสาหกิจขนาดเล็กพัฒนา
ผู้ป ระกอบการรายเดิมและรายใหม่ , จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริห ารสินทรัพย์เ พื่อให้ห นี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ออกจากธนาคารพาณิชย์, พัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ
และสร้างรายได้ให้แก้ประเทศ, จัดตั้งสถานบาบัดผู้ติดยาเสพติดควบคู่กับการปราบปรามและป้องกัน
และสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศและประชาชนในการดูแล
รักษาสุขภาพโดยเสียค่าใช้จ่าย30บาทต่อครั้งสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะสุขและเท่า
เทียมกัน (เทศา ธรรมชน, 2554, น. 97-99) ก่อนที่จะมีการรัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน
พ.ศ. 2549 โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินเนื่องจากรัฐบาลพ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตรพยายามที่จะยึด
ครองกองทัพและกลุ่มนายทหารจากกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจาปี พ.ศ. 2549 ทาให้
บรรดานายทหารชั้นผู้ใหญ่บางส่วนไม่พอใจ รวมถึงมีการทุจริตคอรัปชั่นและการปราบปรามประชาชน
อย่างรุนแรงในเหตุการณ์กรือเซะที่เป็นปัญหาในสามจังหวัดชานแดนภาคใต้ทาให้ประชาชนเริ่มไม่
พอใจ ด้วยเหตุนี้ทาให้เกิดวาทกรรมระบอบทักษิณและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
(เกษียร เตชะพีระ, 2551, น. 7-9) ต่อมาก่อนเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2553
ประเทศไทยได้ผ่านรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549-29 มกราคม
พ.ศ. 2551 รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551-9 กันยายน พ.ศ. 2551 รัฐบาล
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551- 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นเมื่อกลุ่ม
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในวันที่ 10
เมษายน พ.ศ. 2553 ทาให้เกิดเหตุปะทะกันโดยฝ่ายรัฐบาลใช้แก๊สน้าตาและกระสุนยางเคลียร์พื้นที่ผู้
ชุมนุมทาให้มีผู้บาดเจ็บและเสี ยชีวิต จนเหตุการณ์ได้นาไปสู่การชุมนุมกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชา
38

ชีวะอีกครั้งที่ราชประสงค์ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ครั้งนี้รัฐบาลได้เริ่มใช้กระสุนจริงในการ


สลายผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต 94 รายหลังจากเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ทาให้พรรค
ประชาธิปัตย์ยุบสภาและให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ (ประพาพร สีหา, 2560, น. 150-151) ต่อมา
พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทาให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 สิงหาคม
พ.ศ. 2554-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในการบริหารรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีจุดเริ่มต้นในการ
เพิ่มความชอบธรรมในการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คือการที่รัฐบาลนางสาวยิ่ง
ลักษณ์ ชินวัตร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเพื่อให้พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามารถกลับเข้ามา
ในประเทศไทยได้โดยไม่มีความผิด จึงได้รับการต่อต้านจากกลุ่ม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการ
เปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข” (กปปส.) นาโดยนายสุเทพเทือกสุบรรณทาให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา
เพื่อให้เลือกตั้งใหม่แต่มีการต่อต้านจากกลุ่ม กปปส. ทาให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทาการสั่งให้การเลือกตั้ง
เป็นโมฆะ ประกอบกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ถูกศาลสั่งขาดคุณสมบัติเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายไม่
ชอบกระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ทาให้ รัฐมนตรีที่เหลือในขณะนั้นเลือกนาย
นิ วั ฒ น์ ธ ารง บุ ญ ทรงไพศาลเป็ น นายกรั ฐ มนตรี รั ก ษาการในช่ ว ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557-22
พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งในขณะนั้นกลุ่มผู้ชุมได้ปะทะกันมีการใช้ระเบิดปาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมฝั่งตรงข้าม
จนนาไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
(ยุพา ปราชญากูล และ ศักดิภัท เชาวน์ลักษณ์สกุ ล, 2561, น. 32) เป็นผลทาให้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจั กรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุ ดลงนาไปสู่การใช้รัฐ ธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่เพิ่มอานาจในลักษณะเผด็จการให้แก่ คสช. หรือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่
เป็นรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น และได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 เพื่อให้ประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งแต่กติกาการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้รัฐ ธรรมนูญแห่ ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้มีกลไกเพื่อให้ คสช. ได้สืบทอดอานาจในการบริหารประเทศต่อไป
จนนาไปสู่การเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 หลังจากการเลือกตั้งทาให้มีนายกรัฐมนตรีของ
ประเทศไทยคนปัจ จุบั นเป็ นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดดนายกรัฐมนตรี จากพรรคพลั ง
ประชารัฐโดยมติของสภา
เป็นยุคที่คน Generation X และ Y ต่างมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
จากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกแต่เศรษฐกิจก็ ฟื้นฟูได้ในช่วงของรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ส่วนคน
Generation Z ต่างเติบโตมาโดยพบกับสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆทั้งเหตุการณ์เสื้อเหลืองเสื้อ
แดงและการรัฐประหาร โดยช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ยังคงสามารถมีสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงออกทางการเมืองอยู่แต่พอคนไทยเข้าสู่ช่วงการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ภายใต้การนาของรัฐบาล
พลเอกประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชาคนไทยได้ถู กจ ากั ดสิ ท ธิเ สรี ภ าพในการแสดงออกทางการเมื องผ่ า น
มาตรการทางกฎหมายแม้มีการเลือกตั้งและเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2562 แต่
ในด้านการแสดงออกทางการเมืองของคนไทยถือว่ายังคงถูกจากัดอยู่ คนไทยมีการแบ่งอุดมการณ์ทาง
39

การเมืองเป็นสองฝ่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2549 คือคนไทยที่มีความคิดเป็นฝ่ายซ้ายส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นล่าง


ในพื้นที่ชนบทอันได้แก่คนเสื้อแดงหรือนปช. และคนที่มีความคิดฝ่ายขวาส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลาง
ในเมืองอันได้แก่คนเสื้อเหลืองหรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กปปส.) ซึ่งการปะทะกัน
ของคนในสองอุดมการณ์นี้เป็นหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมแก่คณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 แต่
ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 ความรุนแรงของการปะทะกันทางอุดมการณ์ดังกล่าวได้ลดลงและหันมาสนใจ
การเมืองในปัจจุบันมากขึ้ นด้วยเหตุนี้ทาให้คนรุ่น Generation Z มีลักษณะเฉพาะที่เพิ่มเติมคือมี
ความคิดที่ไม่ชอบรูปแบบการเมืองการปกครองในลักษณะเผด็จการ4 ส่วนทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจาก
การเข้ามาของระบบทุนนิย มในช่วงก่อนซึ่งยังมีผลต่อการดาเนินชีวิตของคนไทยจนมาถึงปัจจุบัน
วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วงของรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
แต่คนไทยยังคงมีชีวิตที่อิงกับระบบทุนนิยมอยู่และคนไทยส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้า
และความเปราะบางในด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของนายทุนที่มีลักษณะการทา
ธุรกิจที่ผูกขาดจนมาถึงปัจจุบัน ที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชาซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้แย่ลงและซบเซา ซึ่งลักษณะเศรษฐกิจที่มีความเหลี่ยมล้าและซบ
เซาดังกล่าวจะมีผลต่อคนในทุกเจเนอเรชั่นที่จะหั นมาตั้งคาถามกับการทางานของรัฐบาล และด้วย
ภาวะที่เศรษฐกิจกาลังเป็นแบบนี้ทาให้ Generation Z มีความรู้สึกที่ไม่ชอบรูปแบบการเมืองการ
ปกครองในลักษณะเผด็จการที่เพิ่มขึ้น

ตารางที่ 4.2 ตารางแสดงบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่คนแต่ละเจเนอเรชั่นได้ผ่าน

Silent
Baby Boomer Generation X
Generation Generation Y Generation Z
สถานการณ์ พ.ศ. 2468-
พ.ศ. 2489- พ.ศ. 2508-
พ.ศ. 2523-2540 พ.ศ. 2540 ขึน้ ไป
2507 2522
2488
ยุคศักดินา
ก่อน พ.ศ. 2475 
ปฏิวัติ พ.ศ.2475 
พ.ศ. 2481-2488 รัฐบาล
จอมพล ป. พิบูลสงคราม 
สงครามโลกครั้งที่ 2 
4
ความคิดที่ไม่ชอบรูปแบบการเมืองการปกครองในลักษณะเผด็จการของ Generation Z อันเป็ นผลมาจากการกล่อมเกลา
ทางการเมืองที่ได้ รับตังแต่
้ สามารถรับในวัยที่รับรู้เรื่องทางการเมืองได้ ซึง่ เป็ นช่วงที่รัฐบาลที่มีเผด็จการปกครองประเทศทาให้
เห็นถึงการใช้ อานาจในทางที่ผิดและการพัฒนาเทศในทิศทางที่แย่ลงของรัฐบาล คน Generation Z จึงซึมซับและเกิดการ
กล่อมเกลาจนมีคนคิดว่าเผด็จการเป็ นสิ่งที่ไม่ทาให้ เกิดผลดีทงั ้ ต่ อตัวเองและประเทศจนทาให้ เกิดความคิด ความเชื่อ และ
อุดมการณ์ทางการเมืองดังกล่าว
40

พ.ศ. 2482-2488
รัฐประหาร พ.ศ. 2490
(โดย พล.ท.ผิน ชุณหะ  
วัณ)
พ.ศ. 2491-2500 รัฐบาล
จอมพล ป. พิบูล สงคราม  
ครั้งที่ 2
รัฐประหาร พ.ศ.2500
(โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะ  
รัชต์)
พ.ศ. 2501-2506 รัฐบาล
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  
พ.ศ. 2506-2516 รัฐบาล
จอมพลถนอม กิตติขจร   
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม
พ.ศ.2516   
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม
พ.ศ.2519 รัฐประหาร   
โดยพลเอกสงัด ชะลออยู่
วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.
2522   
พ.ศ. 2523-2531 รัฐบาล
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์    
พ.ศ. 2531-2534 รัฐบาล
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ    
พ.ศ. 2534 รัฐประหาร
โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร    
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
17 พฤษภาคม พ.ศ.2535    
วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.
2540     
พ.ศ. 2544-2549 รัฐบาล
พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชิน     
วัตร
พ.ศ. 2549 รัฐประหาร
โดยพลเอกสนธิ บุญย     
รัตกลิน
พ.ศ. 2551-2554รัฐบาล     
41

นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ
วิกฤตการณ์เมืองไทย
พ.ศ. 2548-2553     
พ.ศ. 2554-2557 รัฐบาล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร     
พ.ศ. 2557 รัฐประหาร
โดย     
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
24 มีนาคม พ.ศ.2562
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่     
28
พ.ศ. 2557-2562 รัฐบาล
พลเอกประยุทธ์ จันทร์     
โอชา

4.2 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ผล

ผู้ทาวิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง
ในการกาหนดความพอใจของรัฐบาลในคนแต่ละเจเนอเรชั่นช่วง พ.ศ. 2557-2562: กรณีศึกษาบุคคล
ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยผู้วิจัยได้เลือกบุคคลที่ให้ข้อมูลสาคัญในการให้ สัมภาษณ์
เชิงลึกเป็นบุคคลทีม่ ีอายุอยู่ในช่วงแต่ละเจเนอเรชั่น ดังนี้

ตารางที่ 4.3 ตารางแสดงข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสาคัญ

ผู้ให้ข้อมูล
Generation อายุ อาชีพ
สาคัญ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ นักเรียนมัธยมปลาย (บิดาประกอบอาชีพข้าราชการ)
Generation Z 17 ปี
ท่านที่ 1
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ข้า ราชการ สถาบั นพั ฒนาข้า ราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ า ย
Generation Y 33 ปี
ท่านที่ 2 วิชาการ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ข้าราชการ กานัน ดูแลตาบลบางม่วง อาเภอบางใหญ่ จังหวัด
Generation X 44 ปี
ท่านที่ 3 นนทบุรี
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ผู้เกษียณอายุราชการ หัวหน้าฝ่ายการคลัง กรุงเทพมหานคร
Baby Boomer 61 ปี
ท่านที่ 4 โรงพยาบาลตากสิน
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ Silent 77 ปี ผู้เกษีย ณอายุร าชการ อาจารย์ผู้ เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ร ะดับ 8
42

ท่านที่ 5 Generation สานักการสังคีต

4.2.1 ปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอ


เรชั่น
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของ
คนในแต่ ล ะเจเนอเรชั่น โดยสามารถสรุป ได้ ปั จ จัย ต่ างๆทั้ง หมด 4 ปั จ จัย ได้แ ก่ ส ถานการณ์ ท าง
การเมือง สื่อ เศรษฐกิจ การศึกษา โดยจากมุมมองของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นได้เรียงลาดับปัจจัยที่
ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองในแต่ละเจเนอเรชั่นนั้นๆได้ผลลัพธ์ดังนี้

ตารางที่ 4.4 ลาดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนในแต่ละเจเนอเรชั่น

Silent Baby
ปัจจัยที่มีผลต่อวิธี Generation X Generation Y Generation Z
Generation Boomer
คิดทางการเมือง (40-54 ปี) (23-39 ปี) (ต่ากว่า 22 ปี)
(74-94 ปี) (55-73 ปี)
สถานการณ์ทาง
2 2 2 2 1
การเมือง
สื่อ 3 3 3 1 2
เศรษฐกิจ 1 1 1 3 3
การศึกษา 4 4 4 4 4

ปั จ จั ย ที่ส่ งผลต่อวิธีคิดทางการเมือ งอันดับที่ 1 โดยGeneration Z ให้


สถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่หนึ่ง Generation Y ให้สื่อ
เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่หนึ่งส่วน Generation X, Baby Boomer และ
Silent Generation ให้เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่หนึ่ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่ 2 โดย Generation Z ให้สื่อเป็น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่สอง Generation Y, Generation X, Baby Boomer
และSilent Generation ให้สถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่
สอง
ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลต่อ วิ ธี คิ ด ทางการเมื อ งอั น ดั บ ที่ 3 โดยGeneration Z และ
Generation Y ให้เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่สาม ส่วน Generation
X, Baby Boomer และSilent Generation ให้สื่อเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่
สาม
43

ปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่ 4 โดย Generation Z, Generation


Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ให้การศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธี คิด
ทางการเมืองอันดับที่สี่
4.2.1.1 ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของ
คนผู้ทปี่ ระกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า สถานการณ์ทาง
การเมืองปัจจุบันมีผลอย่างมากให้หันมาสนใจการเมือง โดยเริ่มสนใจตั้งแต่การบริหารประเทศของ
ประยุทธ์ จันทร์โอชาในช่วงก่อนการเลือกตั้งแต่ยังรู้เรื่องการเมืองน้อยอยู่รู้เพียงแค่ตอนนี้ทหารกาลัง
ปกครองประเทศอยู่และมีการล้อเลียนนายกให้เห็นทั่วไป แต่เห็นชัดมากขึ้นตอนช่วงเลือกตั้งที่ทาให้
มาสนใจการเมืองจริงๆและทาให้เห็นเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้ง ซึ่งทาให้
มองว่ารัฐบาลทหารแย่มากที่ยังอยากอยู่ต่อ ทาให้เริ่มสนใจการเมืองติดตามการเมืองมากยิ่งขึ้น และยิ่ง
ทาให้เห็นว่าประเทศแย่ลงทุกวันเห็นรัฐบาลโกงเห็นรัฐบาลใช้อานาจเผด็จการ ทาให้ในฐานะที่ยังไม่มี
สิทธิเลือกตั้งอยากจะมีอายุถึงเกณฑ์แล้วไปเลือกตั้ง คนรุ่นเก่าก็มีความเชื่ออีกแบบหนึ่งซึ่ง ในฐานะที่
เป็ น คนในรุ่ น ที่กาลั งจะโตขึ้น และใช้ชีวิตในประเทศนี้ต่ออยากจะให้ มีการเปลี่ ยนผ่ านไม่อยากให้
ประเทศนี้มันแย่ลงอีกแล้ว มองถึงการทางานของรัฐบาลที่มีการไม่โปร่งใสและกฎหมายที่พึ่งพาไม่ได้
ทาให้ คิ ดว่ า การปกครองที่ เป็ น เผด็ จการและทหารทาให้ ป ระเทศไทยแย่ ล งมากขึ้ นทุ ก วัน ถ้ าเป็ น
ประชาธิ ป ไตยประเทศต้ อ งดี ก ว่ า นี้ แ น่ น อน และมองว่ า สถานการณ์ ท างการเมื อ งกระตุ้ น ให้ ค น
Generation Z สนใจการเมืองได้ไวและรวดเร็ว
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า สถานการณ์ทาง
การเมืองมีผลให้เริ่มรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเมืองมากยิ่งขึ้น ช่วงของเหตุการณ์เสื้อเหลืองเสื้อ
แดงเป็นเวลาเดียวกับที่ผู้ให้ข้อมูลสาคัญกาลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วัยเรียนช่วงประถมและ
มัธยมที่ผ่านมาไม่เคยเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองทาให้เหตุการณ์เสื้อเหลืองเสื้อแดงมองว่าเป็นเรื่องปาหี่
ตื่นเต้นชวนกันไปดูชุมนุ มมองว่าเป็นแค่เรื่องของการปะทะของคนสองกลุ่ ม พอเหตุการณ์ผ่านไป
กลั บ มามองย้ อนทาให้ เข้าใจและรู้มากขึ้น ว่าเสื้ อเหลืองเสื้อแดงปะทะกันเพราะอะไรและมีผ ลกับ
ประเทศไทยอย่างไร ทาให้หลังจากนั้นจึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเราและสังคมรอบข้าง
สถานการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลารวมถึงความคิดเกี่ยวกับการเมืองก็ต้อง
เปลี่ยนแปลงด้วยซึ่งเป็นสิ่ งที่คิดและเชื่อ ณ สถานการณ์นั้นๆ จนมาถึงสถานการณ์ปัจจุบันมองว่า
บริบ ทการเมืองปัจ จุบั น ต่างจากเหตุการณ์เสื้อเหลืองเสื้อแดงแน่นอนทาให้ความคิดทางการเมือง
เปลี่ยน สถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้ทาให้มองเห็นว่าทหารไม่ควรจะมาเป็นผู้บริหารประเทศดูจาก
ผลงานที่รัฐบาลปัจจุบันทาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่มีประสิทธิภาพ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า สถานการณ์ทาง
การเมืองประเทศไทยเป็นวัฏจักร ปฏิวัติรัฐประหารเลือกตั้งวนเวียนไปเรื่อยๆอยู่ที่พรรคไหนจะเล็ง
จุดประสงค์ทาเพื่อประชาชนมากกว่ากัน สถานการณ์ทางการเมืองตอนมีรัฐประหารในช่วงแรกมี
44

ความรู้สึกยินดีที่มีทหารมาหยุดความขัดแย้งแต่ผ่านมาถึงปัจจุบันก็ไม่ใช่ ซึ่งคนเสื้อแดงเคยมองว่า
รัฐบาลทักษิณที่เค้าได้ผ่านมันทาให้กินดีอยู่ดีและเข้าถึงได้ พอมาถึงรัฐบาลปัจจุบันเค้าก็อยากที่จะกินดี
อยู่ดีแบบเมื่อรัฐบาลทักษิณคนไม่ได้ศรัทธามากมายแค่กินดีอยู่ดี แต่สถานการณ์การเมืองตอนนี้มันทา
ให้ ความกินดีอยู่ดีแย่ ล ง ส่ว นฝั่งเสื้ อเหลืองพอผ่ านมาถึงจุดนี้ก็มองว่าที่ผ่ านมาไม่มีประโยชน์ผ ลที่
คาดหวังไม่ได้ต้องการให้การบริหารประเทศเป็นแบบรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเหมือนในทุก
วันนี้ สถานการณ์ทางการเมืองเป็นเหมือนภาวะจายอมที่ทุกคนอย่างน้อยต้องได้ผ่านและรับรู้นามา
เป็นการความคิดเกี่ยวกับการเมืองของตัวเอง
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า สถานการณ์ทาง
การเมืองช่วยให้รู้จักการเมืองมากขึ้น สมัย 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งได้รับรู้และได้มีส่วนร่วมแม้ตอน
นั้นจะไม่เข้าใจการเมืองแต่สถานการณ์ทาให้เริ่มที่จะเข้าใจการเมือง พอถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มัน
ก็ดูเป็นการเปลี่ยนขั้วอุดมการณ์ไปเลยซึ่งเป็นคนที่คล้อยตามสื่อข่าวในสถานการณ์ตอนนั้นแต่พอมาถึง
ตอนนี้ก็เข้าใจว่าอะไรผิดหรือถูก คนเสื้อแดงเหมือนคนสมัยใหม่มีความคิดสังคมนิยม ส่วนคนเสื้ อ
เหลืองดูเป็นอนุรักษ์นิยม ซึ่งตอนมีรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พอใจกับทหารที่มา
หยุดดีกว่าคนไทยทะเลาะกันและฆ่ากันเอง แต่ทุกวันนี้ก็มองอีกอย่างหนึ่งเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น เห็นการ
กระทาของรัฐบาลพลเอก ประยุ ทธ์จันทร์โอชาก็คิดว่าไม่เหมาะสม แต่ในมุมมองคิดว่าใครมาเป็น
นายกรัฐมนตรีก็หาผลประโยชน์เข้าตัวเองส่วนคนดีๆก็จะถูกขัดแข้งขัดขา ดังนั้นสถานการณ์ทางการ
เมืองทาให้คนซึมซับความคิดเกี่ยวกับการเมืองและควรที่จะรู้จุดยืนทางอุดมการณ์ของตัวเองในเวลา
นั้นๆของเหตุการณ์ทางการเมือง
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า สถานการณ์ทาง
การเมืองทาให้คนคล้อยตามไปทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งได้ตามที่คนแต่ละคนจะเชื่ อทั้งตอน
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ก็ลุกฮือตามแต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมาๆทาให้คน
รู้ว่ายังไงประชาธิปไตยดีกว่าเผด็จการทหาร ประชาธิปไตยแค่มองก็เห็นว่าบรรยากาศทางการเมือง
ดีกว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกทางการเมืองได้มากกว่า อุดมการณ์เปลี่ยนไปได้ตามแต่ยุค
สมัยและสถานการณ์ทางการเมือง
สถานการณ์ทางการเมืองเป็นเหตุการณ์ที่คนแต่ละเจเนอเรชั่นจาเป็นต้อง
เผชิญไม่ว่าจะอยู่ในเจเนอเรชั่นไหนก็ตามแต่เนื่องจากคนในแต่ละเจเนอเรชั่นต่างได้รับประสบการณ์
ทางการเมืองจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่เท่ากันทาให้มุมมองความคิดและทัศนคติทางการเมือง
ของคนแต่ละเจเนอเรชั่นแตกต่างกันไปด้วย จากการสัมภาษณ์เชิงลึก Generation Z ให้สถานการณ์
ทางการเมืองเป็นอันดับที่ 1 เป็นผลมาจากที่คนรุ่น Generation Z ยังไม่ได้เข้าสู่ช่วงทางานทาให้
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจยังไม่มาหาคน Generation Z ซึ่งยังไม่พบด้านประสบการณ์การทางาน ทาให้ใน
เรื่องการเมืองคนรุ่น Generation Z จึงมองด้านอุดมการณ์เป็นหลักยังมีความเชื่อและศรัทธาที่อยาก
เห็นประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และคน Generation Z ในช่วงอายุที่เข้าวัยรุ่นสนใจ
การเมื อ งเจอกั บ ประสบการณ์ ท างการเมื อ งโดยตรงในช่ ว งพลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ ช า ที่ มี ก าร
45

รัฐประหารและยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีจากปัจจุบันโดยวิธีที่ เอื้อต่อการสืบทอดอานาจของตนเองทา
ให้คน Generation Z ได้ซึมซับและเห็นการกระทาของรัฐบาลที่ชัด เจนคิดวิเคราะห์แยกแยะทาง
การเมืองได้นาไปสู่การมีความโกรธต่อความเผด็จการสะสมอยู่ในใจเนื่องจากส่วนใหญ่ของเจเนอเรชั่น
นี้ ในปัจจุบันเกินครึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งแต่เห็นการกระทาของรัฐบาลตลอดเวลาซึ่งเป็นการมองประเทศ
แย่ลงทุกวันจากรัฐบาลทหารและตัวเองไม่สามารถทาอะไรได้ทาให้คนรุ่นนี้มีความไม่พอใจความโกรธ
สะสมอยู่ต่อรัฐบาลเผด็จการ ส่งผลให้ มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่หนักแน่นสถานการณ์ทางการเมือง
สาหรับคน Generation Z จึงเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว
ส่วน คน Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ให้สถานการณ์
ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่สอง เนื่องจากคนแต่ละเจนต่างก็ผ่าน
สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่เท่ากันในแต่ละเจเนอเรชั่ นแต่ด้วยช่วงอายุที่มากขึ้นแล้วและได้ผ่านวัย
ทางานทาให้ส ถานการณ์ทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยที่รองลงมาที่มีผลต่อวิธีคิดและอุดมการณ์ทาง
การเมือง คน Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation มองร่วมกัน
ว่าอุดมการณ์ทางการเมือง มุมมอง วิธีคิดทางการเมืองของคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตาม
สถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากผ่านสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันดังนั้นสถานการณ์ทางการเมือง
ก็ยังมีส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองแต่เนื่องจากผ่านประสบการณ์ทางการเมืองมามากทาให้มีปัจจัยอื่น
ที่ส่งผลกระทบต่อวิธีคิดทางการเมืองมีมากกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน
4.2.1.2 ปัจจัยด้านสื่อที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า ปัจจุบันรับข่าวสาร
การเมืองรวมไปถึงการหาข้อมูลทั่วไป Generation Z จะค้นหาทุกอย่างในอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์
และโซเชี่ยลมีเดีย เป็นหลัก เลือกที่จะหาและรับข้อมูลข่าวสารด้วยตัวเองทางอินเทอร์เน็ตล้วนๆ ถ้า
เป็นทางโทรทัศน์จะสนใจบางช่วงแค่ผู้ปกครองเปิดข่าวช่องนั้นๆอยู่ คิดว่าคนรุ่น Generation Z ที่
เป็นรุ่นเดียวกันต่างใช้สื่อออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดียเป็นหลักและในทุก วัน ในการเล่นโซเชี่ยลมีเดียได้
เห็นข่าว ประเด็น และคอนเมนต์เกี่ยวกับการเมืองให้เห็นทุกวัน และเห็นว่ามีส่วนสาคัญมากที่สื่อทา
ให้คนรุ่น Generation Z รู้เรื่องการเมืองและสนใจการเมืองมากยิ่งขึ้น ข่าวปลอมมีการระมัดระวังโดย
การอ่านคอมเมนต์และหาข้อมูลข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหากสนใจในข่าวการเมืองนั้นๆ คน Generation Z
เห็นข่าวการเมืองเกี่ยวกับรัฐบาลในสื่อโซเชี่ยลเป็นประจาทาให้เพิ่มความรู้สึกที่ไม่ชอบต่อรัฐบาลมาก
ยิ่งขึ้น ในหนึ่งวันใช้โซเชี่ยลมีเดียมากคิดว่ามีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองที่ทาให้รู้เรื่องการเมืองได้รวดเร็ว
มากยิ่งขึ้น
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า สื่อมีความสาคัญมาก
กับการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของคนรุ่น Generation Y โดยปัจจุบันรับสื่อทางออนไลน์เป็นหลัก
และจากการที่ Generation Y อยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากสื่อรูปแบบอนาลอกสู่สื่อใน
รูป แบบของดิจิตอลทาให้ส ามารถปรับตัว และเปลี่ ยนวิธีในการรับสารที่ทันกับยุคปัจจุบันก็คือสื่ อ
46

โซเชี่ยลและสื่อออนไลน์และการผ่านรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงสื่อดังกล่าวมันทาให้ Generation Y
มีความเร็วในการตัดสินใจเชื่อข่าวหรือสารที่ได้รับมาช้าลงจะมีการหยุดคิดชั่งใจในการกลั่นกรองข่าว
ก่อนที่จะเชื่อสารที่ได้รับมาจึงเป็นกรอบการกระบวนการคิดวิเคราะห์ข่าวทางการเมืองที่สาคัญสาหรับ
Generation Y จึงทาให้ถ้าเป็นการรับรู้เรื่องการเมืองที่มาจากสื่อออนไลน์เป็นหลังจะสนใจและเน้น
อ่านข่าวการเมืองที่มาจากเพจเฟซบุ๊คหรือเว็บไซต์ข่าวสาคัญๆ เช่น BBC หรือ Voice TVหรือสาร
การเมืองที่มาจากนักวิชาการ นอกจากนี้ปัจจุบันเนื่องจากว่าทางานกลับบ้านมาช่วงค่าทาให้มีโอกาส
รับข่าวสารจากทางโทรทัศน์ได้น้อยและยากที่จะเห็นสารเกี่ยวกับการเมืองที่มากมายจากทางโทรทัศน์
ช่องกระแสหลัก ฉะนั้นสื่อโซเชี่ยลและสื่อออนไลน์จึงช่วยได้มากในการทาให้ได้รับข้อมูลข่าวสารทาง
การเมืองเนื่องจากเป็นสื่อที่เข้าถึงได้เร็วและสามารถค้นหาต่อได้ในหลายๆประเด็นและรู้ทันเหตุการณ์
ทางการเมืองในปัจจุบันจึงทาให้สื่อถือว่ามีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมาก
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า คน Generation X
สมัยก่อนยังไม่มีสื่อโซเชี่ยลมีเดีย เหมือนปัจจุบันจะรับข่าวสารการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ตามข่าวหน้า
หนึ่งและโทรทัศน์ ซึ่งมองว่าเป็นการรับข่าวสารการเมืองที่เค้าเตรียมมาให้ทางสื่อเตรียมมาให้ พอได้
รับรู้มันเหมือนเป็นการทาให้ซึมซับอุดมการณ์ที่รัฐบาลต้องการให้เราเป็น แต่ปัจจุบันที่มีสื่อออนไลน์
โซเชี่ยลมีเดียในมุมมองที่ทาให้ได้รู้ข่าวการเมืองมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน สาหรับคนที่รุ่น Generation X
ที่รับสื่อออนไลน์และเล่นโซเชี่ยลมีเดีย ส่วนมาก จะมีแค่ส่งข่าวให้กันทางไลน์หรืออ่านข่าวทั่วไปที่มีให้
เจอในสื่อออนไลน์มากกว่าไม่ได้เข้าถึงโซเชี่ยลมีเดียที่มีประเด็นการเมืองโดยเฉพาะอย่างเฟซบุ๊ค ทวิต
เตอร์เหมือนรุ่นหลังๆ แต่การรับสื่อที่ยังเป็นโทรทัศน์ที่เป็นสื่อกระแสหลักทาให้เห็นแค่นายกปัจจุบัน
ทาดีอะไรบ้างแต่สื่อโทรทัศน์ช่องกระแสหลักไม่ได้เสนอมุมมองฝ่ายค้านมากเท่าไหร่
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า เรื่องสื่อออนไลน์
โซเชี่ยลมีเดียคนรุ่น Baby Boomer ไม่ค่อยเก่งไม่ชานาญใช้มือถือแค่ติดต่อสื่อสารหรือดูแค่สื่อให้
ความบันเทิง ถ้าเป็นการรับข่าวการเมืองหลักๆจะรับผ่านหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์แต่ก็มองว่า
การรับข่าวการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ วิ ทยุ และโทรทัศน์ก็เป็นการรับฟังข่าวการเมืองด้านเดียว คิด
วิเคราะห์เรื่องการเมืองตามแต่สิ่งที่สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ให้มา
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า การรับข่าวสาร
การเมืองหลักๆเลยรับจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ เทคโนโลยีไม่ได้ทันสมัยอย่างปัจจุบันที่มี
โทรศัพท์มือถือที่สามารถรับข่าวสารการเมืองได้มาก สื่อมีความสาคัญมากให้โน้มเอียงทางการเมือง
แต่รุ่ น Silent Generation ไม่ได้เล่ นโซเชี่ยลมีเดียเลยไม่ได้รั บข่าวสารทางการเมืองจาก
โทรศัพท์มือถือใช้แค่ติดต่อสื่อสาร สื่อสามารถเป็นตัวกระตุ้นทางการเมืองได้
47

ตารางที่ 4.5 ช่องทางสื่อหลั กของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ละเจเนอเรชั่น ในช่อง


ทางการรับข่าวสารการเมือง

Silent
Baby Boomer Generation X Generation Y Generation Z
สือ่ Generation
(55-73 ปี) (40-54 ปี) (23-39 ปี) (ต่ากว่า 22 ปี)
(74-94 ปี)
โทรทัศน์   
วิทยุ   
หนังสือพิมพ์   
อินเตอร์เน็ต  
โซเชี่ยลมีเดีย  

สื่ อ ถื อ เป็ น ปั จ จั ย ส าคั ญ ในการให้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารทางการเมื อ งให้ แ ก่


ประชาชนจากการสัมภาษณ์เชิงลึกสามารถแบ่งกลุ่มคนรับข่าวสารทางการเมืองได้สองกลุ่มโดยกลุ่ม
แรกคือกลุ่มที่ไม่ทันยุคที่มีอินเตอร์เน็ตได้แก่ Silent Generation, Baby Boomer, Generation X
กับกลุ่มที่ทันยุคที่มีอินเตอร์เน็ตได้แก่ Generation Y, Generation Z กัน โดยกลุ่มแรกรับข่าวสาร
ทางการเมืองจากโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อด้านเดียวข่าวสารทางการเมืองที่ได้รับจะ
เป็นการเผยแพร่ข่าวทางการเมืองตามสิ่งที่รัฐบาลจะนาเสนอ ในขณะที่กลุ่มเจเนอเรชั่นกลุ่มที่สองเป็น
ยุคที่มีอินเตอร์เน็ตทาให้มีความเป็นปัจเจกชนสูง อยู่กับตัวเองเมื่อสงสัยสิ่งใดสามารถค้นหาข้อมูลได้
จากทางอิน เตอร์ เน็ ต ทัน ที ป ระกอบกับการมี โ ซเชี่ยลมีเดี ยในฐานะที่เ ป็นสื่ อสั ง คมออนไลน์ใ ห้ ค น
สามารถปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กันได้ แต่มีลักษณะสาคัญที่ในเรื่องความแตกต่างในชนิดของสารในการรับ
สื่อออนไลน์หรือโซเชี่ยลมีเดียของ Generation Y, Generation Z โดย Generation Y จะเน้นรับ
สารจากสื่อออนไลน์ในลักษณะที่ถูกคิดหรือกลั่นกรองมาแล้ว ที่มาจากสานักข่าวที่เป็นทางการหรือ
นักวิชาการ Generation Z จะรับข่าวสารทางการเมืองจากโซเชี่ยลมีเดียที่ไม่ได้ถูกกลั่นกรองมากจาก
ช่องทางที่ไม่เป็นทางการที่มีการพูดคุยและชอบอ่านคอมเมนต์ที่มีการวิจารณ์ และถกเถียงประเด็น
ทางการเมื อ ง ดั ง นั้ น ความแตกต่ า งระหว่ า งการรั บ ข่ า วสารทางการเมื อ งในโทรทั ศ น์ วิ ท ยุ และ
หนั งสื อพิมพ์กับ การรับ ข่าวสารทางการเมืองในอินเตอร์เน็ตและโซเชี่ยลมีเดียส่ งผลต่อวิธีคิดทาง
การเมืองต่างกันในคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการรับข่าวสารทางการเมือง
Generation Y เป็นเจเนอเรชั่นที่มองว่าปัจจัยด้านสื่อมีผลต่อวิธีคิดทาง
การเมืองเป็ น อัน ดับ ที่ 1 เนื่ องจาก Generation Y เป็นเจเนอเรชั่นที่อยู่ในช่ว งเปลี่ ยนผ่ านที่ มี
อิ น เตอร์ เ น็ ต มาท าให้ คุ้ น เคยกั บ การรั บ ข่ า วทางการเมื อ งทั้ ง ในโทรทั ศ น์ วิ ท ยุ และหนั ง สื อ พิ ม พ์
อิน เตอร์ เ น็ ต โซเชี่ ย ลมี เ ดี ย แต่รั บ ข่ า วสารการเมื อ งทางอิ น เตอร์ เ น็ ต และโซเชี่ย ลมี เ ดี ย มากกว่ า
อินเทอร์เน็ตและโซเชี่ยลมีเดียทาให้ข่าวสารทางการเมืองแพร่กระจายได้ อย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง
48

คนเจเนอเรชั่นวายมีลักษณะเฉพาะตัวคือการวิเคราะห์ข่าวสารที่ตัวเองได้รับ และชอบรับข่าวสารจาก
สื่อที่มีการวิเคราะห์กลั่นกรองและเป็นทางการ ทาให้ข่าวสารการเมืองที่คน Generation Y ได้รับถูก
คิดวิเคราะห์และกลั่นกรองแล้ว และนาไปสู่การที่คิดว่า การกระทาของรัฐบาลหรือการกระทาของ
พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คน Generation Y เนื่องจากอยู่ในช่วงทางานแต่การมี
สื่อทาให้ได้รับข่าวสารทางการเมืองได้ง่ายกว่าโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ดั ง นั้ น การดู ข่ า วสาร
ทางการเมืองจากสื่อเป็นหลักและมีการคิ ดวิเคราะห์ข่าวสารทางการเมืองที่ตนเองได้รับจึงทาให้สื่อมี
ผลเป็นอันดับหนึ่งสาหรับคน Generation Y ส่วน Generation Z ถือว่าเป็นกลุ่มที่เติบโตมาในช่วง
การพัฒนาเทคโนโลยีมีที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยุคดิจิตอลอย่างอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เครือข่าย
สังคมออนไลน์ ดังนั้นการรับข่าวสารทางการเมืองของคน Generation Z คืออินเตอร์เน็ตและโซเชี่ยล
มีเดียเป็นหลัก Generation Z มีโทรโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนติดตัวตลอดเวลา ประกอบกับการยัง
อยู่ในช่วงของวัยเรียนไม่เข้าสู่ช่วงการทางานและปัจจุบันคนทาให้มีเวลาในการเล่นอินเตอร์ เน็ตและ
โซเชี่ยลมีเดียมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่นๆและชอบรับสารการเมืองจากสื่อที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ ด้วย
การที่ข่าวสารสามารถรับได้อย่างรวดเร็ว ทาให้ Generation Z ได้เห็นและได้รับข่าวสารการเมืองมาก
สื่อออนไลน์เป็นตัวเร่งที่ทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมืองของคนใน Generation Z เนื่องจากสถานการณ์
ทางการเมืองทาให้คน Generation Z มีความคิดต้องการประชาธิปไตยและอยากให้ประเทศพัฒนา
เพื่อตัวพวกเขาในอนาคต พอมาเจอสื่อที่ทาให้เห็นการกระทาของรัฐบาลในปัจจุบันยิ่งทาให้ วิธีคิดทาง
การเมืองหนักแน่นขึ้นไปในทางอุดมการณ์ที่ตัวเองยึดมั่นจึงทาให้ Generation Z มองว่าสื่อมีผลต่อวิธี
คิดทางการเมืองเป็นอันดับที่สอง ส่วน Silent Generation, Baby Boomer, Generation X เป็น
กลุ่มที่รับสื่อทางการเมืองทางโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นหลักทาให้รับข่าวสารทางการเมือง
เพียงด้านเดียวโดยเฉพาะช่องกระแสหลักที่มีการนาเสนอข่าวการเมืองที่น้อย ส่วนมากจะนาเสนอข่าว
การเมืองที่เป็นกระแสจริงๆ ส่วนสื่อกระแสนอกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองก็มีลักษณะทั้งเป็นสื่อ
การเมืองที่มีลักษณะประชาธิปไตยและลักษณะสื่อที่เอื้อต่อรัฐบาลเผด็จการ ทาให้ข่าวสารทางการ
เมืองที่ไ ด้รั บ ในแต่ล ะวัน น้ อยและได้เห็ นข้ อเท็ จจริงทางการเมือ งไม่ค่อยกว้างจึง ทาให้ Silent
Generation, Baby Boomer, Generation X มองว่าสื่อมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองเป็นอันดับที่ 3
4.2.1.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า ในอนาคตคน
Generation Z จะเป็นคนรุ่นต่อไปที่เข้าสู่การทางานทาให้มีความรู้สึกเป็นห่วงตัวเองว่าอนาคตจะเป็น
อย่างไรจากการเห็นข่าวคนตกงาน เศรษฐกิจที่ตกต่า มีธุรกิจที่เจ๊งทาให้คิดว่าพอถึงคราวที่จะไปหางาน
ทาแล้ ว รุ่ น นี้ จ ะหางานยากขนาดไหน มีผ ลบ้างที่จ ะทาให้ คิ ดถึง รัฐ บาลที่ จะต้องทาให้ บรรยากาศ
เศรษฐกิจที่ดี
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า เศรษฐกิจมีผลต่อวิธี
คิดทางการเมืองเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้ยินคาว่าเศรษฐกิจไม่ดีหรือซบเซาความคิดของคนจะเชื่อมโยงกับ
49

รัฐบาลว่าบริหารประเทศอย่างไรให้เศรษฐกิจไม่ดีหรือหากสถานการณ์เศรษฐกิจดีก็จะเชื่อมโยงกับ
รัฐบาลว่ารัฐบาลนี้บริหารประเทศให้คนมีชีวิตความเป็นอยู่รายได้ที่ดีขึ้นแน่นอนว่าบรรยากาศที่เป็น
ประชาธิปไตยจะทาให้การลงทุนเป็นไปได้ดีกว่า และประชาชนทุกๆส่วนจะได้รับความเป็นธรรมในแง่
ของเศรษฐกิจด้วยเพราะสามารถที่จะมีสิทธิมีเสียงในการเรียกร้องได้หากได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็น
ธรรม ในแง่ของเผด็จการสาหรับประเทศไทยที่ผ่านมาทาให้เห็นว่าก็ไม่ได้ทาให้เศรษฐกิจเป็นไปได้ดีที่
ประชาชนสามารถเข้าถึงของคาว่าเศรษฐกิจที่ดีได้
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า การบริหารเรื่อง
เศรษฐกิจของแต่ละรัฐบาล ซึ่งตัวเราไม่ได้ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายไหนแต่แค่มาบริหารแล้วทาเศรษฐกิจให้ดี
ถ้าเป็นรัฐบาลลักษณะเผด็จการแต่เศรษฐกิจกินดีอยู่ดีก็พอใจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจถือว่ามีผลเลยในการ
ทีค่ นจะพอใจกับรัฐบาลคนไหน อย่างทักษิณเค้าทาให้คนจนเข้าถึงได้มีโครงการต่างๆ 30บาทรักษาทุก
โรคคนจนเค้าเข้าถึงได้
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า ที่ผ่านมาไม่เจอคน
ที่มาบริหารประเทศเพื่อประชาชนอย่างจริงๆจังๆส่วนใหญ่สุดท้ายก็หาผลประโยชน์เข้าตัวเอง แต่
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลถ้าใครมาบริหารแล้วทาให้คนกินดีอยู่ดีได้คนก็จะนับถือและสนับสนุน ขอแค่
มาบริหารประเทศเพื่อประชาชนพอเศรษฐกิจไม่ดีแน่นอนว่าประชาชนก็ต้องไม่พอใจในการบริหาร
ของรัฐบาล
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า เศรษฐกิจมีผล
ต่อวิธีคิดทางการเมืองหากเป็นการปกครองแบบเผด็จการเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะไม่ดีประเทศอื่นๆ
ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยลงทุนยากถ้าเป็นประชาธิปไตยการลงทุนดูจะง่ายกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างน้อย
ดีกว่าเผด็จการ ภาวะเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศของรัฐบาลเพราะมีผลต่อการทามาหากิน
และปากท้องของประชาชน
เศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันของผู้คนไม่ว่าจะเป็นการทางานเพื่อ
หาเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว รวมไปถึงการผลิตสินค้าและบริหารเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
เศรษฐกิจ มีผลต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยคน Generation X, Baby Boomer และSilent
Generation ให้เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่หนึ่งเพราะเนื่องจากมี
ประสบการณ์การเมืองในประเทศมาเยอะคนรุ่นเหล่านี้ผ่านชีวิตการทางานมานานรวมถึงการเมืองไทย
ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการความหวังที่อยากให้ประเทศไทยพัฒนาของคนรุ่นเหล่านี้ไม่ได้จึงทาให้
Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ต่างมองว่านักการเมืองมาเพื่อแสวงหา
ผลประโยชน์เหมือนกันหมดจึงทาให้ปัจ จัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองเป็นอันดับหนึ่ง
แค่ขอให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศทาให้เศรษฐกิจสามารถดีขึ้นวิธีคิดทางการเมืองก็จะมีแนวโน้ม
พอใจกับรัฐบาลโดยไม่ได้ดูที่อุดมการณ์เป็นหลัก ในขณะที่ Generation Z และGeneration Y ให้
เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองอันดับที่สาม ด้วยเหตุผลที่ Generation Z ยังไม่ได้
เข้าสู่วัยทางานทาให้ยังไม่ได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวข้องเรื่องเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมือง
50

โดยส่วนใหญ่ Generation Z จะรับรู้เรื่องเศรษฐกิจจากสื่อ ส่วน Generation Y มองว่าปัจจัยอื่นๆที่


เข้ามาทั้งสถานการณ์ทางการเมืองและสื่อทาให้มีจุดยืนทางอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลักมากกว่า
เรื่องปั จจั ยเศรษฐกิจ แต่ถึงกระนั้ นเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยที่ส าคัญอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทาง
การเมือง การที่เศรษฐกิจดีหรือไม่ดีก็ถือว่าส่งผลต่อความคิดทางการเมืองของทั้ง Generation Z และ
Generation Y แต่ไม่เท่ากับปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมืองและสื่อที่มีผลต่ออุดมการณ์ทาง
การเมืองมากกว่า
4.2.1.4 ปัจจัยด้านการศึกษาที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า การศึกษาไทยแย่มาก
แน่นอนว่าไม่ได้เน้นในเรื่องการสอนเนื้อหาการเมืองไทยเลย และยังมีการแข่งขันสูงครูในโรงเรียนให้
ความรู้ไม่พอกับที่จาเป็นต้องสอบเข้าก็ต้องไปหาความรู้จากที่เรียนพิเศษแทน มองในเรื่องของการ
สอนความรู้ด้านการเมืองทุกวันนี้ไม่เห็นการสอนที่ทาให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้เองจนทัน
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันและในภายภาคหน้า จึงมองว่าการศึกษาตอนนี้แย่ทั้งระบบและ
การให้นักเรียนได้วิธีคิดทางการเมืองด้วย
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า ที่ผ่านมาในวัยเรียน
รู้สึกว่าการศึกษาในแง่ของการให้ความรู้ทางการเมือง การศึกษาไทยไม่ได้เน้นให้คิดวิเคราะห์และ
เข้าใจถึงการกระทาและผลลั พธ์ ในเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่ านมา แค่บรรจุเนื้อหาการเมืองใน
บทเรียนแต่ไม่เน้นที่จะสอนหรือให้นักเรียนได้ทาความเข้าใจถึงลาดับเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีใน
ประวัติศาสตร์ไทยแต่ไปเน้นในด้านของพุทธศาสนา หน้าที่พลเมือง และภูมิศาสตร์มากกว่าทาให้เมื่อ
อายุมากขึ้นมีวุฒิภาวะมากขึ้นพอเจอเหตุการณ์ทางการเมืองทาให้รู้สึกไม่ได้วิเคราะห์หรือมองเข้าไปถึง
จุดประสงค์ของเหตุการณ์นั้ นๆเลย จึงทาให้ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้เจอจริงๆถึงจะเข้าใจ
การเมืองมากขึ้นมากกว่าที่การศึกษาได้สอนเรื่องการเมืองการปกครองให้เป็นเหมือนความรู้ติดตัวใน
การเข้าใจแยกแยะเหตุการณ์ทางการเมืองที่พบเจอได้ในอนาคตดังนั้นประเทศไทยในด้านการศึกษาที่
จะทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมืองยังขาดในเรื่องของการปูพื้นฐานความรู้ในด้านการเมืองให้แก่นักเรียน
เพื่อที่จะสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะสถานการณ์ทางการเมืองได้
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า การศึกษามีความ
เหลื่อมล้าในเรื่องของโรงเรียนและคุณครูที่เป็นบุคคลกรที่สาคัญทางการศึกษามีคุณภาพไม่เท่ากัน ทา
ให้นักเรียนที่ผ่านการศึกษาคนละแบบมีคุณภาพไม่เท่ากันเช่นกันและจะส่งผลต่อการเข้าทางานที่มี
การคัดเลือกคนตามสถานศึกษาที่เรียนจบมา และด้านการศึกษาไม่ได้สอนเนื้อหาการเมืองให้นักเรียน
รู้และเข้าใจ เหมือนรัฐต้องการให้นักเรียนมีความรู้ทางการเมืองเยอะ เพราะถ้ารู้เยอะก็จะมีความคิด
อุดมการณ์เป็ น ของตัว เอง รั ฐ ก็จ ะควบคุมยากรั ฐ ต้องการให้ คนเป็นแบบนี้บริห ารประเทศได้ง่า ย
โดยรวมไม่ต้องการให้คนรู้เท่าทันทางการเมืองผ่านการศึกษาระบบการศึกษาไม่ได้สอนการเมืองเลย
51

ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า สมัยเรียนไม่มีเลย


เกี่ยวกับการศึกษาบทเรียนเกี่ยวกับการเมืองไทย เนื้อหาจะเป็นประวัติศาสตร์ประเทศไทยในอดีต
พระมหากษัตริย์ของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนที่รู้เรื่องการเมืองจากการศึกษาในสมัยก่อนพอ
เรี ย นจบสามั ญ จะต้ อ งเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ที่ ส อนเรื่ อ งการเมื อ งการปกครองอย่ า งเช่ น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนทั่วไปที่ผ่านการเรียนการสอนสามัญมองว่าไม่ได้ความรู้ทางการเมืองจาก
การศึกษา
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า ไม่ได้สอนเรื่อง
การเมืองเลยมีสอนเกี่ยวกับ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และหน้าที่พลเมืองประวัติศาสตร์ไทยรบกับ
พม่าทาให้มองว่าไม่ค่อยได้รับอุดมการณ์ทางการเมืองวิธีคิดทางการเมืองจากการศึกษา
การศึกษาเป็นสิ่งที่คนทุกเจเนอเรชั่นได้ผ่านการศึกษาเป็นสิ่งสาคั ญในการ
พัฒนาความรู้และการคิดวิเคราะห์ของคนแต่ในด้านของการศึกษาที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองทั้ง
Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ต่างให้
ปัจจัยทางการศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองเป็นอันดับที่ 4 เนื่องจากทุกเจเนอเรชั่นให้
ความเห็นตรงกันว่าการศึกษาไทยได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทยน้อยมากซึ่งไม่ส่งผลให้เกิดวิธีคิด
ทางการเมือง นอกจากคนส่วนน้อยที่ได้เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยในสายสังคมศาสตร์ถึงจะได้เรียน
เกี่ยวกับการเมืองและได้รับรู้เรื่องราวการเมืองไทยที่ สามารถทามาวิเคราะห์แล้วส่งผลเป็นวิธีคิดทาง
การเมืองได้จึงทาให้ปัจจัยด้านการศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองเป็นอันดับที่ 4 ของ
คนในทุกเจเนอเรชั่น แต่ในขณะเดียวกันถ้ามองในแง่ปัจจัยที่ไม่ทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมืองการศึกษา
จะอยู่ในดับหนึ่งของทุกเจเนอเรชั่นจากข้อมูลสัมภาษณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการศึกษามีผลที่ทาให้คน
ไม่มีวิธีคิดทางการเมืองเพราะไม่ได้เน้นสอนให้มีความรู้และรู้จักวิเคราะห์แยกแยะสถานการณ์ทาง
การเมืองต่างๆ
4.2.2 การกาหนดความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจ
เนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 ผ่านปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมือง
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญทาให้ได้ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อวิธี
คิดทางการเมืองจากมุมมองคนในแต่ละเจเนอเรชั่น เมื่อนาปัจจัยดังกล่าวที่คนในแต่ละเจเนเรชั่นมอง
ว่ามีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมามองผ่านรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ผลดังนี้
4.2.2.1 ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมืองที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของ
คนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจเนอเรชั่น ต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-
2562
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า เริ่มสนใจการเมือง
ในช่วงที่การปกครองของประเทศไทยเป็นรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพอดี จากสภาพที่
เห็นทั้งการเลือกตั้งและการบริหารประเทศทาให้มองว่า ไม่ชอบเผด็จการทหาร และการที่มีทหารมา
52

บริหารประเทศอยู่ไม่ทาให้ประเทศดีขึ้น หากได้ยินคาว่ารัฐประหารก็จะรู้สึกไม่พอใจเพราะเป็นคาที่
ทหารใช้ในการยึดอานาจ จากตอนนี้ที่เห็นรัฐบาลปัจจุบันไม่ใสสะอาดมีการโกงให้เห็นตลอด และการ
ใช้พวกพ้องตัวเองขึ้นมาบริหารประเทศด้วยมองว่าคนเหล่านี้ไม่เก่ งมากพอควรที่จะเอาคนที่มีความรู้
ความสามารถเข้ามาบริ ห ารประเทศไม่ใช่พวกพ้องตัว เอง ทาให้รู้สึ กว่าการเมืองไทยตอนนี้ทาให้
ประเทศไทยแย่ลง หลังเลือกตั้งยังเป็นประยุทธ์ที่ได้เป็นนายกต่อทาให้มีความรู้สึกเบื่อและไม่ชอบ ถ้า
เป็ น คนอื่น ที่ตั้งใจทาเพื่อประเทศจริงๆประเทศไทยคงดีขึ้น พัฒ นากว่านี้ และเป็น ประชาธิปไตย
มากกว่านี้
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า ตั้งแต่การรัฐประหาร
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จริงๆแล้วมองว่าไม่ชอบรัฐประหารรวมถึงการมาของทหารด้วยเพราะพอ
โตขึ้นรู้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทาให้รู้ว่ามันไม่เคยดีแต่แค่รู้สึกอยากให้สถานการณ์ความขัดแย้งในตอน
นั้นจบลงทุกอย่างจะได้ดาเนินต่อไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงตามประวัติศาสตร์เมื่อทหารได้ทารัฐประหาร
แล้วจะไม่ยอมปล่อยให้ประเทศมีการเลือกตั้งหรือดาเนินต่อไปได้ในวิถีประชาธิปไตยแม้ไม่พอใจแต่ก็
ต้องรอมีความรู้สึกว่าเมื่อไหร่จะกุมอานาจจบ จนผ่านมาถึงการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถือว่า
เต็มที่แล้วที่อย่างน้อยหนึ่งเสียงที่โหวตให้กับพรรคการเมืองที่เราเชื่อมั่นเพื่อให้ประเทศมันดีขึ้นกว่าเดิม
โดยที่ไม่ใช่ฝ่ายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาแต่ผลออกมาคือการได้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็น นายกรัฐ มนตรีต่อ ไม่ว่าจะเป็น ยังไงผลออกมาแล้วยินดีให้รัฐ บาลนี้ทางานแต่พอมาถึงปัจจุบัน
รัฐบาลนี้ก็ทาให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่เราเสียไปเช่นภาษี ประชาชนทุกคนกลับไม่ได้อะไรที่จับต้องได้จริงๆ
กลับมาจากรัฐบาลนี้ และจากการกระทาของรัฐบาลที่โจมตีพรรคฝ่ายตรงข้ามในแง่ลบไม่ได้ทาให้ คน
หัน ไปชอบรั ฐ บาลขึ้นเลยเพราะมันอยู่ที่ตัว ประสิ ทธิภ าพของรัฐ บาลซึ่งตัว ของนายกรัฐมนตรีและ
รัฐ บาลเองมีข่าวที่ให้คนทั้งประเทศขบขันตลอดในแง่ของการบริหารประเทศที่ไม่มีประสิทธิภ าพ
รวมถึงวิสัยทัศน์ของนายกที่แสดงออกมาในแต่ละครั้งกับสื่อมวลชนทาให้มองว่ารัฐบาลที่ผู้นาเคยเป็น
ทหารมาก่อนไม่เหมาะ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า ตอนแรกพอใจที่มา
ยุติความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง พอผ่านไปทาให้เริ่มเห็นว่าเสพติดอานาจควรจะปล่อย
ให้คนเล่นการเมืองกันไม่ควรแทรกแซง พอมีการสืบทอดอานาจทาให้ เห็นอะไรต่างๆ ทาให้ความคิด
ของเราต่อรัฐบาลปัจจุบันเปลี่ยนไปมองว่าทหารไม่ควรจะบริหารประเทศ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า แม้จะเชื่อว่า
นักการเมืองคนไหนมาต่างก็หาประโยชน์เข้าตัวเอง แต่เมื่อผ่านสถานการณ์ต่างๆตั้งแต่ พ.ศ. 2557-
2562 ในตอนแรกมองว่าดีเพราะไม่อย่างนั้นคนก็ฆ่ากันขัดแย้งกันระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง แต่
พอมาถึงตอนนี้ผู้นาของประเทศที่มีลักษณะประชาธิปไตยจริงๆดีกว่า
ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ส าคั ญ ท่ า นที่ 5 (Silent Generation) มองว่ า ค าว่ า
ประชาธิปไตยสาคัญ สถานการณ์การเมืองที่ผ่านมามีรัฐประหาร และปัจจุบันผู้นาก็ยังเป็นคนเดิมทา
ให้มองว่าประชาธิปไตยย่อมดีกว่าและอุดมการณ์คนเปลี่ยนกันได้ ซึ่งยิ่งเห็นสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
53

ตั้งแต่ พ.ศ.2557 จนถึงเลือกตั้งทาให้ความคิดของคนแน่นอนว่าต้องแยกแยะได้ว่าปัจจุบันตอนนี้มันไม่


ดีมาบริหารแล้วประเทศไม่ได้เดินหน้าพัฒนาขึ้น
การพอใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-
2562 ผ่านปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง Generation Z ถือว่าไม่พอใจในรัฐบาลพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชาเนื่องจากได้อานาจมาทางรัฐประหารแล้วปกครองประเทศด้วยลักษณะเผด็จ
การทหารตลอดจนถึงทุกวันนี้ไม่ได้แสดงให้คนรุ่นนี้เห็นว่ารัฐบาลที่มีลักษณะเผด็จการจะทาให้ประเทศ
ไทยพัฒนาได้ในทุกๆด้าน ซึ่ง Generation Z ได้มองถึงอนาคตของตัวเองหากยังมีรัฐบาลที่มีลักษณะ
เผด็จการทหารแบบรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอยู่จะทาให้ความก้าวหน้าและคุณภาพชีวิต
ของ Generation Z ลดลงรวมไปประเทศไทยจะยิ่งแย่ลงตามไปด้วย จากการกระทาต่างๆส่งผลให้คน
Generation Z ไม่พอใจรัฐบาลปัจจุบัน คน Generation Y มองว่าไม่พอใจในลักษณะความเป็นเผด็จ
การของรัฐบาลปัจจุบัน แต่ผลการเลือกตั้งออกมาแล้วยากที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยต้องการให้
รัฐบาลที่มีลักษณะเผด็จการทหารบริห ารประเทศให้พัฒนาแต่สิ่ งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันรัฐบาลเผด็จ
การทหารทาให้ประเทศไม่พัฒนาและผู้นาไม่มีวิ สัยทัศน์ในการบริหารประเทศส่งผลให้ไม่พอใจและไม่
ชอบรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา ส่วน Generation X, Baby Boomer และSilent
Generation พอใจในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในตอน พ.ศ.2557 ที่ทาการรัฐประหาร
เพราะช่วยให้เหตุการณ์ความขัดแย้งทางบ้านเมืองสงบแต่พอจนถึงปัจจุบันมองว่าไม่พอใจในรัฐบาล
พลเอกประยุ ทธ์ จั น ทร์ โ อชาเนื่ องจากเห็ น ได้ชัดว่า ต้องการสื บอานาจเป็นนายกรัฐ มนตรีต่อและ
สถานการณ์ทางการเมืองก็ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยผ่านการบริหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์
โอชา
4.2.2.2 ปัจจัยด้านสื่อที่มีผลต่อวิ ธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบอาชีพ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า เรื่องของการเมืองที่
เห็นในสื่อออนไลน์และสื่อโซเชี่ยลได้เพิ่มความรู้ให้เรามากยิ่งขึ้นและสื่อทาให้สามารถติดตามได้เร็วว่า
สถานการณ์ปัจจุบันกาลังเป็นยังไงในมุมมองทางการเมืองที่เห็นในสื่อทุกวันนี้จะเป็นข่าวที่รัฐบาลโจมตี
ฝ่ายตรงข้ามและข่าวที่เป็นด้านลบต่อรัฐบาล พอได้อ่านก็มีการคิดกลั่นกรองในเรื่องของข่าวปลอมแต่
ผลในข่าวที่ออกมาส่อให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ทางานได้ไม่ดีจริงๆนอกจากตัวของผู้นาที่แสดงวิสัยทัศน์ได้แย่
มากแล้วคนที่อยู่ฝั่งรัฐบาลคนอื่นๆก็ยิ่งทาให้มองว่ารัฐบาลนี้แย่ลงไปอีกเช่น ปารีณา ไกรคุปต์เป็นเรื่อง
ขบขันไม่เห็นถึงการทางานของฝ่ายรัฐบาลที่เป็นจริงเป็นจังและมีบุคคลที่ไม่ได้เก่งมีความสามารถซึ่งสิ่ง
เหล่านี้เห็นได้จากสื่อและไม่เห็นว่าจะมีอะไรให้พอใจรัฐบาลนี้ได้มากกว่าเดิม
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า ในฐานะที่เป็น
คนทางานแล้วเมื่อกลับมาบ้านพอเปิดสื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชี่ยลอย่างน้อยจะมีข่าวการเมืองที่ได้พบ
เจอหรือสนใจที่จะเข้าไปอ่านในทุกๆวันซึ่งทุกวันนี้แทบไม่เห็นถึงข่าวการเมืองที่รัฐบาลพยายามมุ่งมั่น
ในการพัฒนาประเทศเพื่อส่วนรวมหรือประชาชนทุกคนได้ประโยชน์จริงๆเลยเห็นแต่การโจมตีพรรค
54

ฝ่ายตรงข้ามกับเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง รวมไปถึงทาให้รู้สึกผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรมด้วยที่
ตัดสินอย่างไม่เป็นธรรมเข้าข้างผลประโยชน์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พอเห็นข่าวจาก
สื่อแล้ววิเคราะห์พิจารณาแล้วจริงๆทาให้เห็นว่า การมีรัฐบาลปัจจุบันที่มีลักษณะเผด็จการมาก่อน
รวมถึงผู้นาที่เป็นทหารไม่สามารถที่จะบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ซึ่งการอ่านข่าวผ่านสื่อ
แล้วเจอสิ่งเหล่านี้ทุกๆวันซึ่งมันเป็นเรื่องจริง ทาให้เริ่มตระหนักและไม่พอใจรัฐบาลนี้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า คนรุ่น Generation X
รับข่าวสารทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์เป็นหลักแต่ถ้าเป็นสื่อโซเชี่ยลมีเดียก็ยังเข้ายูทูปแต่จะดูข่าว
การเมืองก็ต่อเมื่อเลื่อนไปเจอในยูทูป ซึ่งข่าวที่ดูประจาที่ไม่ใช่โซเชี่ยลมีเดียก็ไม่ค่อยมีข่าวการเมืองแต่
สื่อกระแสหลักก็มีข่าวการเมืองให้เห็นบ้างทาให้รู้ว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลนี้มันไม่ดีทาให้เวลา
เห็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาผ่านสื่อที่ไปลงพื้นที่ต่างๆ มองก็รู้และเห็นว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์ให้แก่
ประชาชนจริงๆ
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า คนรุ่น Baby
Boomer รับข่าวสารทางการเมืองการโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นสื่อที่ฟังข้างเดียวซึ่ง
เดี๋ยวนี้เชื่อถือยาก มองว่ารัฐบาลก็จะให้เสพข่าวแต่มุมมองที่บวกต่อรัฐบาล และก็มีอิทธิพลกับคนรุ่น
Baby Boomer สูงถ้าหากรัฐบาลใช้สื่อโจมตีการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่พอมาถึงทุกวันนี้ปัจจัยต่างๆ
ด้านเศรษฐกิจทาให้เราเห็นว่ารัฐบาลตอนนี้บริหารแย่ และพอผ่านด้านสื่อเราก็จะมองว่ารัฐบาลไม่ดี
ตาม
ผู้ ให้ ข้อมูล ส าคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า สื่ อเป็นตั ว
สะท้อนที่ช่วยบอกว่ารัฐบาลนี้บริหารเป็นยังไง แม้รุ่น Silent Generation จะรับข่าวสารการเมือง
หลั ก แค่ โ ทรทั ศน์ วิ ท ยุ และหนั ง สื อ พิ ม พ์ แต่ ข่ า วที่ ฟั ง ก็ ต้อ งมี บ้ า งว่ า รัฐ บาลนี้ บ ริ ห ารยั ง ไง อย่ า ง
เศรษฐกิจไม่ดีสื่อก็มีบอกทาให้รู้ว่ารัฐบาลนี้บริหารเป็นยังไงถ้าบริหารได้ไม่ดีเราก็ไม่ชอบ
การพอใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-
2562 ผ่านปัจจัยด้านสื่อ Generation Z และGeneration Y มองว่าการมีสื่อยิ่งทาให้ความพอใจของ
รัฐบาลนี้ลดลงเนื่องจากสื่อเป็นตัวกระจายข่าวสารการเมืองต่างๆในการกระทาของรัฐบาลปัจจุบันและ
สื่อออนไลน์ทาให้ได้มองในมุมมองของฝ่ายค้านมากยิ่งขึ้นด้วย และเห็นว่าการโจมตีพรรคฝ่ายตรงข้าม
ของรัฐบาลเพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาแต่ได้ผลที่กลับกัน
เพราะคนสามารถวิเคราะห์และแยกแยะได้ซึ่งไม่ได้ทาให้ภาพของรัฐบาลดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาล
ปัจจุบันที่บริหารประเทศในลักษณะเผด็จการและเล่นการเมืองแบบไม่โปร่งใสทาให้สื่อกระจายข่าวให้
ประชาชนรับรู้และคิดได้ว่ารัฐบาลนี้บริหารประเทศไม่ดี ส่วนคน Generation X, Baby Boomer
และSilent Generation แม้จะไม่ได้รับข่าวสารการเมืองจากสื่อออนไลน์เป็นหลัก แต่อะไรที่เป็น
ประเด็ น กระแสทางการเมื อ งสื่ อ อย่ า งโทรทั ศ น์ วิ ทยุ และหนั ง สื อ พิ มพ์ ก็ น ามาเสนอ แต่ สิ่ ง ที่ ค น
Generation X, Baby Boomer และSilent Generation เห็นได้ชัดเกี่ยวกับรัฐบาลในช่วง พ.ศ.
2557-2562 ผ่านสื่อก็คือวิสัยทัศน์ของนายกและการตอบคาถามสื่อมวลชนรวมถึงข่าวด้านเศรษฐกิจ
55

ทาให้สื่อเผยแพร่ข่าวและคน Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ต่างก็มองว่า


ไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในตอนนี้
4.2.2.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 1 (Generation Z) มองว่า เศรษฐกิจตอนนี้ดูล้า
หลังถ้ารัฐบาลไม่พยายามพัฒนาให้คนในประเทศเข้าถึงการพัฒนาเศรษฐกิจจริงๆ ประเทศไทยคงต้อง
ตามประเทศอื่นๆหมด รัฐบาลนี้บริหารเศรษฐกิจได้ไม่ดีดูเหมือนแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ถูกจุดหรือตั้งใจ
ที่จะไม่แก้ปัญหา มีทุนใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆตามข่าวที่เห็น ยังคงมองว่าตัวเองจะกลายเป็นคนทางาน
ในวันข้างหน้าถ้ารัฐบาลชุดนี้ยังบริหารอยู่ชีวิตก็คงลาบากบริหารอะไรก็แย่ไม่ดีไปหมด
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 2 (Generation Y) มองว่า ตามที่บอกไปในเรื่อง
สถานการณ์ทางการเมืองถ้าเกิดเราเสียภาษีให้รัฐบาลแล้ว อย่างน้อยรัฐบาลก็ควรที่จะทาอะไรให้
พัฒนาขึ้นให้ประชาชนอยู่ดีกินดีหรือมาตรอะไรที่แบกรับความเปราะบางทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือรัฐบาลแทบจะไม่มองเห็นแรงงานเลยตามข่าวที่มีคนตกงานมากมาย ขนาดเราเป็น
คนทางานที่ถือว่ามั่นคงในระดับหนึ่งแต่บรรยากาศเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้มันทาให้เห็นว่าเศรษฐกิจดู
แย่จริงๆ
ผู้ให้ ข้อมูล สาคัญท่านที่ 3 (Generation X) มองว่า ไม่ค่อยได้ให้
ความสาคัญว่าใครจะมาหาผลประโยชน์มากแค่ไหนในการมาเป็นนายกถ้าหากทาให้เศรษฐกิจดีได้
ตอนนี้รัฐบาลเข้ามาไม่ได้ทาเพื่อประชาชนพอเห็นบรรยากาศเศรษฐกิจที่ไม่ดีและปัจจัยอื่นๆอีกยิ่งทา
ให้เราไม่ชอบกับรัฐบาลนี้
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 4 (Baby Boomer) มองว่า ไม่ว่าคนรุ่นไหนที่
ความรู้ทางการเมืองจะมีน้อยแต่ว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ง่าย เพราะมันส่งผลกระทบถึงปาก
ท้องของเขา อย่างน้อยประชาชนต้องการกินดีอยู่ดี ซึ่งรัฐบาลชุดนี้บริหารแล้วทาให้คนส่วนมากที่หา
เช้ากินค่าอดอยากมากขึ้น ซึ่งไม่เห็นนโยบายที่มาช่วยให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้อย่างแท้จริง
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญท่านที่ 5 (Silent Generation) มองว่า ตอนนี้เศรษฐกิจ
ซบเซา เศรษฐกิจเป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้เกิดการค้าขายการลงทุนเงินหมุนเวียนถ้าเศรษฐกิจดี แม้ตอนนี้
เกษียณแล้วแต่ก็ยังห่วงลูกหลายเมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ไม่ดีและสัมพันธ์กับประชาธิปไตย
เชื่อว่าถ้าเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นกว่านี้
การพอใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-
2562 ผ่านปัจจัยด้านเศรษฐกิจ โดย Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby
Boomer และSilent Generation ต่างให้ความเห็นว่าตั้งแต่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
มาบริหารประเทศในช่วง พ.ศ. 2557-2562 เศรษฐกิจของประเทศไทยแย่ลงเรื่อยโดยดูจากสื่อและ
สภาพแวดล้อม มีการเอื้อผลประโยชน์ให้ แก่นายทุนเศรษฐกิจซบเซา เห็นคนตกงานมากขึ้นซึ่งส่งผล
56

กระทบกับปากท้องของประชาชนจึงทาให้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทาให้คนไม่พอใจ
การบริหารรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
4.2.2.4 ปัจจัยด้านการศึกษาที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบ
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นต่อคณะรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562
ส าหรั บ ด้า นการศึก ษาคนในแต่ ล ะเจเนอเรชั่ น ทั้ ง Generation Z,
Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ต่างก็มองว่าการศึกษาที่
ได้รับมาตั้งแต่เด็กจนถึงมัธยมปลายหลักสูตรต่างไม่ได้เน้นสอนเนื้อหาการเมืองที่ทาให้คนในแต่ละเจ
เนอเรชั่นได้รู้เรื่องราวการเมืองต่างๆ ซึ่งการศึกษาจะสอนหน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์ และประวัติ
ของพระมหากษัตริ ย์ประเทศไทยมากกว่าการเมือง ทาให้ ปัจจัยด้านการศึกษาได้ส่งผลให้ คนไม่มี
ความรู้ด้านการเมืองในการวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแต่ละยุคสมัย
ยกเว้นคนที่เรียนระดับมหาวิทยาลัยต่อในสาขาสายสังคมถึงจะได้เรียนรู้การเมืองในแง่ของการเข้าใจ
การเมืองไทยและสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะได้ ดังนั้นการศึกษาในระดับมัธยมส่งผลต่อวิธีคิดทาง
การเมืองของคนให้ไม่รู้จักการเมือง ไม่ให้เรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์
ทางการเมืองต่างๆ ส่วนระดับมหาวิทยาลัยต้องเป็นคนที่เรียนสายสังคมถึงจะได้เรียนการเมืองและทา
ให้รู้จักแยกเยอะคิดวิเคราะห์เรื่องเกี่ยวกับการเมืองได้ แต่ถ้าเข้าเรียนสายอื่นที่ไม่ใช่สังคมสามารถสรุป
ได้ว่าการศึกษาของไทยไม่ได้ สอนความรู้ทางการเมืองเลยซึ่งส่งผลต่อวิธีคิดทางการเมืองก็คือ ไม่มี
ความรู้ทางการเมืองเท่าที่ควรที่ได้จากการศึกษา
57

บทที่ 5
สรุปผล
การวิจัยหัวข้อปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการกาหนด
ความพอใจของรัฐบาลช่วง พ.ศ. 2557-2562: กรณีศึกษาบุคคลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิด ทางการเมืองของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่
ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น และปัจจัยดังกล่าวส่งผลอย่างไรต่ อวิธีคิดทางการเมืองคนผู้ที่ประกอบ
อาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่นที่มีต่อรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 เพื่อหาว่าคนในแต่
ละเจเนอเรชั่นมีมุมมองและความคิดอย่างไรต่อการบริหารของรัฐบาลเพื่อหาข้อสรุปว่ารัฐบาลในช่วง
พ.ศ. 2557-2562 บริห ารได้เป็ นที่น่าพอใจหรือไม่อย่างไรส าหรับคนในแต่ละเจเนอเรชั่น ในการ
สรุปผลข้อมูลที่ได้จากการศึกษาผู้วิจัยได้ทาการสรุปโดยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้แก่ ข้อมูลที่ได้จาก
เอกสาร ตารา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็ นที่ศึกษา ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้
ข้อมูลสาคัญ
จากการศึกษาครั้ งนี้ ผู้วิจัยศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ได้แก่ทฤษฎีการ
กล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) แนวคิดเกี่ยวกับเจเนอเรชั่น (Theory of
generations) และลักษณะพื้นฐานของกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในประเด็นปัจจัยที่มีผล
ต่ อ วิ ธี คิ ด ทางการเมื อ งของคนแต่ ล ะเจเนอเรชั่ น ผู้ วิ จั ย ใช้ ก ารศึ ก ษาในรู ป แบบวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ
(Qualitative research) โดยใช้เทคนิคการศึกษาแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดย
ผู้วิจัยได้ทาการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ เป็นกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งสิ้น 5 คน
ประกอบด้วยคนทั้ง Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent
Generation อย่างละ 1 คน

5.1 สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล

ผลจากการศึ กษาคนผู้ ที่ ป ระกอบอาชีพ เจ้ า หน้ าที่ ข องรัฐ ใน Generation Z,


Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อวิธี
คิดทางการเมืองประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย หลักได้แก่ สถานการณ์ทางการเมือง, สื่อ, เศรษฐกิจและ
การศึกษา โดยปัจจัยที่มีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองแต่ละอย่างมีผลต่ อวิธีคิดทางการเมืองของคนผู้ที่
ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละเจเนอเรชั่นไม่เท่ากันสาหรับ Generation Z พบว่าสถานการณ์
ทางการเมืองมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมากที่สุดตามมาด้วยสื่อ เศรษฐกิจและการศึกษา Generation
Y พบว่าสื่อมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมากที่สุดตามมาด้วยสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและ
การศึกษา Generation X พบว่าเศรษฐกิจมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมากที่สุดตามมาด้วยสถานการณ์
ทางการเมือง สื่อและการศึกษา Baby Boomer พบว่าเศรษฐกิจมีผลต่อวิธีคิดทางการเมืองมากที่สุด
58

ตามมาด้วยสถานการณ์ทางการเมือง สื่อและการศึกษา Silent Generation พบว่าเศรษฐกิจมีผลต่อ


วิธีคิดทางการเมืองมากที่สุดตามมาด้วยสถานการณ์ทางการเมือง สื่อและการศึกษา เมื่อนาปัจจัยที่มี
ผลต่อวิธีคิดทางการเมืองทั้ง 4 ปัจจัยให้ผู้ให้ข้อมูลสาคัญในแต่ละเจเนอเรชั่นพิจารณาถึงความพอใจใน
บริ บ ทของรั ฐ บาลในช่ ว ง พ.ศ. 2557-2562 หรื อ คณะรั ฐ บาลพลเอกประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา ทั้ ง
Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation ต่าง
ให้ผลว่าไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 หรือคณะรัฐบาลพลเอก
ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชาเมื่ อ มองผ่ า นสถานการณ์ท างการเมื อ ง สื่ อ และเศรษฐกิจ แต่ส าหรับ ด้ า น
การศึกษาทั้ง Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent
Generation ให้ผลว่าด้านการศึกษาไม่มีผลต่อการวิธีคิดทางการเมืองในการกาหนดความพอใจใน
รัฐบาลช่วง พ.ศ. 2557-2562 หรือคณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องจากปัจจัยด้าน
สถานการณ์ทางการเมือง สื่อ และเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมือง ส่วนปัจจัยด้าน
การศึกษาจากการศึกษาไม่ทาให้เกิดวิธีคิดทางการเมือง

5.2 การกล่อมเกลาทางการเมืองในคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละเจเนอเรชั่น

โดยการกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการศึกษาคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่
ของรัฐ Generation Z, Generation Y, Generation X, Baby Boomer และSilent Generation
ทาให้ได้ผลสรุปว่า สถานการณ์ทางการเมือง สื่อ เศรษฐกิจและการศึกษาถือ เป็นตัวแทนทางสังคมที่
คนแต่ละเจเนอเรชั่นได้ผ่าน จนนาไปสู่อุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมือง โดย
กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองจาเป็นต้องเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กให้เด็กได้เรียนรู้
อุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมือง จากเด็กที่ได้รับอุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ
และค่านิยมทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นไปในทางประชาธิปไตยหรือทางเผด็จการ เมื่อจากเด็กไปสู่วัยที่
โตขึ้นจะมีการนาอุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมืองที่ เคยได้รับมาเป็นวิธีคิดทาง
การเมืองเป็นของตัวเองแต่สาหรับกรณีศึกษา Generation Z, Generation Y, Generation X,
Baby Boomer และSilent Generation ทาให้มองว่าการกล่อมเกลาทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ได้เริ่ม
จากตอนเด็กแต่เป็นตอนที่คนอยู่ในช่วงอายุที่เริ่มมีวุฒิภาวะเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะการศึกษาที่เป็น
หนึ่งในตัวแทนทางสังคมที่มีส่ วนช่ว ยในการขัดเกลาทางการเมืองให้ คนมีความรู้ด้านการเมือง ใน
บริบทการศึกษาประเทศไทยไม่ได้สอนเรื่องให้คนคิดวิเคราะห์เรื่องการเมืองรวมไปถึงการให้ความรู้
ทางการเมืองในด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึง ทาให้คน Generation Z, Generation Y,
Generation X, Baby Boomer และSilent Generation เริ่มรู้เรื่องเกี่ยวกับการเมืองผ่าน
สถานการณ์ทางการเมือง สื่อ และเศรษฐกิจเป็นหลัก นาไปสู่การกล่อมเกลาทางการเมืองและทาให้
คนกลายเป็ น คนที่มีอุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อ และค่านิยมทางการเมืองผ่ านสถานการณ์ทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และสื่อ
59

5.3 ความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562


หรือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

จากการศึกษาคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ Generation Z, Generation Y,


Generation X, Baby BoomerและSilent Generation ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความพอใจหรือไม่
พอใจในรัฐบาลคือสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยสถานการณ์ทางการเมืองมีความเป็น
ประชาธิปไตยและการบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นไปในลักษณะของประชาธิปไตยคนจะมีความ
พอใจต่อรัฐบาลแต่ในขณะเดียวกันถ้าสถานการณ์ทางการเมืองไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและการ
บริหารของประเทศเป็นไปในลักษณะของเผด็จการคนจะไม่มีพอใจในรัฐบาล สาหรับเรื่องเศรษฐกิจ ถ้า
เศรษฐกิจดีประชาชนทุกคนสามารถกินดีอยู่ดี มีรายได้เพียงพอ ไม่ว่างงานคนก็จะมีความพอใจต่อ
รัฐบาลแต่ในขณะเดียวกันถ้าเศรษฐกิจไม่ดีประชาชนตกงาน เป็นหนี้รายได้ไม่เพียงพอ ประชาชนไม่
สามารถลืมตาอ้าปากอยู่ดีกินดีได้ก็จะเริ่มมองภาพสะท้องถึงการบริหารประเทศของรัฐบาลและทาให้
คนไม่พอใจในรัฐบาล โดยสื่อเป็นตัวทาหน้าที่กระจายข่าวสารที่สนับสนุนความคิดในการเกิดความ
พอใจหรือไม่พอใจในรัฐบาล เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมืองที่มีลักษณะประชาธิปไตยหรือลักษณะที่
เป็นเผด็จการหรือสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นหรือแย่ลงสื่อจะเป็นปัจจัยที่ทาให้คนได้รับรู้ข่าวสารมาก
ยิ่งขึ้น เมื่อได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับการบริหารของรัฐบาลที่มีลักษณะประชาธิปไตยหรือเศรษฐกิจที่ดี
จะทาให้คนมีความพอใจต่อรัฐบาลในขณะเดียวกันหากได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารของรัฐบาลที่
มีลักษณะเผด็จการหรือเศรษฐกิจไม่ดีก็จะทาให้คนมีความไม่พอใจต่อรัฐบาล
จากการศึกษาคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ Generation Z, Generation Y,
Generation X, Baby BoomerและSilent Generation ได้ผลสรุปว่าคนในทุกเจเนอเรชั่นไม่พอใจ
ต่อรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2557-2562 หรือรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเนื่องจากสถานการณ์
ทางการเมืองไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและการบริหารของประเทศเป็นไปในลักษณะของเผด็จการ
รวมทั้งเศรษฐกิจที่ไม่ดีประชาชนตกงาน เป็นหนี้รายได้ไม่เพียงพอ ประชาชนไม่สามารถลืมตาอ้าปาก
อยู่ ดี กิ น ดี ไ ด้ แต่ มี จุ ด ที่ แ ตกต่ า งกั น ในเรื่ อ งวิ ธี คิ ด ทางการเมื อ งในการพอใจต่ อ รั ฐ บาลระหว่ า ง
Generation Z และGeneration Y กับ Generation X, Baby Boomer และSilent Generation
โดย Generation Z จะให้ความสาคัญกับสถานการณ์ทางการเมืองและอุดมการณ์มากกว่าเศรษฐกิจ
หากรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและการบริหารของประเทศเป็นไปในลักษณะของเผด็จ การ
แต่ บ ริ ห ารเศรษฐกิ จ ได้ ดี ป ระชาชนทุ ก คนสามารถกิ น ดี อ ยู่ ดี มี ร ายได้ เ พี ย งพอ ไม่ ว่ า งงาน คน
Generation Z ก็จะยังคงไม่มีความพอใจต่อรัฐบาลเพราะว่ายังเป็นมีลักษณะของเผด็จการอยู่ ส่วน
คน Generation Y มีความคล้ายคลึงกับเจเนอเรชั่น Z ที่จะให้ความสาคัญกับสถานการณ์ทางการ
เมืองและอุดมการณ์มากกว่าเศรษฐกิจหากรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและการบริหารของ
ประเทศเป็นไปในลักษณะของเผด็จการ คน Generation Y จะมีความรู้สึกไม่ชอบและไม่พอใจ แต่ถ้า
หากรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจได้ดีประชาชนทุกคนสามารถกินดีอยู่ดี มีรายได้เพียงพอ ไม่ว่างงานคน
60

Generation Y จะสามารถระงับความไม่พอใจไว้ได้แต่ไม่ได้รู้สึกชอบและพอใจรัฐบาล หากมีการ


เปลี่ยนแปลงมีการเลือกตั้งแม้รัฐบาลเผด็จการทาให้เศรษฐกิจดีคน Generation Y ก็จะไม่เลือกให้เป็น
รัฐบาลต่อ แต่สาหรับคน Generation X, Baby Boomer และSilent Generation จะให้
ความสาคัญกับเศรษฐกิจมากกว่าสถานการณ์ทางการเมืองและอุดมการณ์ หากรัฐบาลที่ไม่มีความเป็น
ประชาธิ ป ไตยและการบริ ห ารของประเทศเป็ นไปในลั ก ษณะของเผด็ จ แต่ บ ริห ารเศรษฐกิ จ ได้ ดี
ประชาชนทุกคนสามารถกินดีอยู่ดี มีรายได้เพียงพอ ไม่ว่างงาน คน Generation X, Baby Boomer
และSilent Generation จะมีความพอใจต่อรัฐบาลแม้ว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศในลักษณะของ
เผด็จการและมีแนวโน้มที่จะเลือกให้บริหารต่อหารมีการเลือกตั้ง

5.4 กลไกและสิ่งที่เป็นตัวสะกดความพอใจของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในแต่ละเจ


เนอเรชั่น

ภาพที่ 5.1 กลไกในการทาให้คนพอใจกับรัฐบาล

จากผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าในคนแต่ละเจเนอเรชั่น ต่างมีปัจจัยหลักเฉพาะของ
แต่ละเจเนอเรชั่นที่ทาหน้าที่เป็นเงื่อนไขหลักในการเป็นตัวสะกดความพอใจให้คนมีความพอใจต่อการ
ทางานรัฐบาล ถ้าหากรัฐบาลทาหน้าที่ในการบริหารประเทศเป็นไปในลักษณะที่ขัดต่อเงื่อนไขหลัก
เฉพาะในการเป็นตัวสะกดความพอใจของรัฐบาลจะทาให้เกิดการ “ลั่นไก” (pull a trigger) ทาให้คน
เกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาลที่ทาหน้าที่ในการบริหารประเทศอยู่ ณ ขณะนั้นเนื่องจากเงื่อนไขหลัก
61

เฉพาะในการเป็นตัวสะกดความพอใจหายไปทาให้คนลั่นไกเกิดความรู้สึกไม่พอใจในรัฐบาลเข้ามา
แทนที่
สาหรับเงื่อนไขหลักเฉพาะในการเป็นตัวสะกดความพอใจให้คนมีความพอใจต่อการ
ทางานรัฐบาลในแต่ละเจเนอเรชั่นมีปัจจัยหลักอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยหลักแรกคืออุดมการณ์
ทางการเมือง ปัจจัยหลักที่สองคือเศรษฐกิจ โดย Generation Z และGeneration Y ให้ปัจจัยด้าน
อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักในการสะกดความพอใจแต่ถ้ามองลึกเข้าไปแล้วมีความแตกต่าง
กันอยู่ระหว่างคน Generation Z และGeneration Y สาหรับ Generation X, Baby Boomer และ
Silent Generation ให้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักในการสะกดความพอใจ
Generation Z มองอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นปัจจัยหลักสาคัญในการพอใจใน
รัฐบาล หากรัฐบาลบริหารประเทศเป็นไปตามลักษณะของประชาธิปไตย ไกจะยังไม่ถูกลั่นและความ
พอใจของคน Generation Z จะยังถูกสะกดเอาไว้ให้ยังคงพอใจกับการทางานของรัฐบาลชุดนี้ แต่
เมื่อไหร่ก็ตามหากรัฐบาลมีการทางานที่เป็นไปตามลักษณะของเผด็จการจะทาให้ปัจจัยที่สะกดความ
พอใจของคน Generation Z หายไปทาให้เกิดการลั่นไกนาไปสู่การที่คนเริ่มไม่พอใจในรัฐบาลซึ่ง
อุดมการณ์ทางประชาธิปไตยปัจจัยหลักสาคัญในการพอใจรัฐบาล
Generation Y มองอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นปัจจัยหลักสาคัญในการพอใจใน
รัฐบาล หากรัฐบาลบริหารประเทศเป็นไปตามลักษณะของประชาธิปไตย ไกจะยังไม่ถูกลั่นและความ
พอใจของคน Generation Y จะยังถูกสะกดเอาไว้ให้ยังคงพอใจกับการทางานของรัฐบาลชุดนี้ หาก
เมื่อไหร่ก็ตามหากรัฐบาลมีการทางานที่เป็นไปตามลักษณะของเผด็จการจะทาให้ปัจจัยที่สะกดความ
พอใจของคน Generation Y หายไปทาให้เกิดการลั่นไกนาไปสู่การที่คนเริ่มไม่พอใจในรัฐบาลซึ่ง
อุดมการณ์ทางประชาธิปไตยปัจจัยหลักสาคัญในการพอใจรัฐบาล แต่มีสิ่งที่เพิ่มเติมและแตกต่างจาก
Generation Z คือ ก่อนการเลือกตั้ง Generation Y มีการลั่นไกและไม่พอใจกับพรรคที่มีลักษณะ
เป็นเผด็จการ แต่หากผลการเลือกตั้งออกมาแล้วพรรคที่มีลักษณะเป็นเผด็จการมีเสียงข้างมากจนทา
ให้ได้นายกรัฐมนตรีที่มีลักษณะเผด็จมาบริหารประเทศการลั่นไกอันนาไปสู่ความไม่พอใจรัฐบาลยังมี
อยู่ แต่ถ้ารัฐบาลเผด็จบริหารประเทศให้ดีขึ้นไกของคน Generation Y จะถูกระงับเพราะมีความคิดว่า
ผลการเลือกตั้งออกมาแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้วอย่างน้อยก็ขอให้บริหารให้ดี แต่เป็นแค่
การระงับความไม่พอใจไว้ไม่ให้ลั่นไก หากเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งใหม่แม้รัฐบาลนี้ จะเคยบริหาร
เศรษฐกิจให้ดีมาก่อนแต่ยังมีลักษณะเป็นเผด็จการการลั่นไกก็ยังคงทางานและไม่พอใจรัฐบาลหรือ
พรรคการเมืองที่มีลักษณะเผด็จการเหมือนเดิม
Generation X, Baby Boomer และSilent Generation มองเศรษฐกิจเป็นปัจจัย
หลักสาคัญในการพอใจในรัฐบาล หากรัฐบาลบริหารประเทศทาให้เศรษฐกิจดีและความอยู่กินดีมาถึง
มือประชาชนจริงๆ ไกจะยังไม่ถูกลั่นและความพอใจของคน Generation Z และGeneration Y จะ
ยังถูกสะกดเอาไว้ให้ยังคงพอใจกับการทางานของรัฐบาลชุดนี้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามหากรัฐบาลบริหาร
ประเทศทาให้เศรษฐกิจแย่จะทาให้ปัจจัยที่สะกดความพอใจของคน Generation X, Baby Boomer
62

และSilent Generation หายไปทาให้เกิดการลั่นไกนาไปสู่การที่คนเริ่มไม่พอใจในรัฐบาลเป็นปัจจัย


หลักสาคัญในการพอใจรัฐบาล นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่สาคัญสาหรับ Generation X, Baby Boomer
และSilent Generation หากเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยเงื่อนไขหลักในการเป็นตัวสะกดความพอใจ
ดาเนินไปได้ดี แม้ว่ารัฐบาลจะมีการปกครองในลักษณะเผด็จการ คน Generation X, Baby Boomer
และ Silent Generation ก็ยังคงพอใจกับรัฐบาลเนื่องจากปัจจั ยเงื่อนไขหลักในการเป็นตัวสะกด
ความพอใจยังอยู่ก็จะไม่ทาให้เกิดการลั่นไกให้คนไม่พอใจในรัฐบาล
ทาให้เห็นได้ว่าคนในแต่ละเจเนอเรชั่นไม่ว่าจะเป็น Silent Generation, Baby
Boomer, Generation X, Generation Y และGeneration Z ต่างมีปัจจัยที่คอยสะกดคนให้พอใจ
กับรัฐบาลอยู่หากรัฐบาลได้ล้าเส้นหรือบริหารประเทศไม่เป็นไปตามปัจจัยที่สะกดความพอใจของคน
เอาไว้จะทาให้คนเกิดการลั่นไก (pull a trigger) นาไปสู่ความไม่พอใจของคนที่มีต่อรัฐบาล

5.5 สรุปวิธีคิดของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการกาหนดความพอใจต่อรัฐบาล

จากที่ได้ศึกษาในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญในเรื่องของความพอใจต่อรัฐบาลในช่วง
พ.ศ. 2557-2562 หรือรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชาสามารถนามาสรุปเป็นแนวทางได้ทั้งหมด 4
รูปแบบในแต่ละเจเนอเรชั่น

ตารางที่ 5.1 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ


Generation Z

ลักษณะการบริหารของรัฐบาล
Generation ความพอใจ
ประชาธิปไตย เผด็จการ บริหารเศรษฐกิจดี บริหารเศรษฐกิจแย่
รัฐบาล
Generation Z   พอใจ
Generation Z   พอใจ
Generation Z   ไม่พอใจ
Generation Z   ไม่พอใจ

รูปแบบที่ 1 Generation Z มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศในลักษณะ


ประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 2 Generation Z มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศในลักษณะ
ประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจแย่
63

รูปแบบที่ 3 Generation Z มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 4 Generation Z มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจแย่

ตารางที่ 5.2 สรุ ป แนวทางความพอใจรั ฐ บาลของคนผู้ ที่ ป ระกอบอาชี พ เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ
Generation Y

ลักษณะการบริหารของรัฐบาล
Generation ความพอใจ
ประชาธิปไตย เผด็จการ บริหารเศรษฐกิจดี บริหารเศรษฐกิจแย่
รัฐบาล
Generation Y   พอใจรัฐบาล
Generation Y   พอใจแต่ไม่
โอเค
Generation Y   ไม่พอใจแต่
โอเค
Generation Y   ไม่พอใจ

รูปแบบที่ 1 Generation Y มีความพอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 2 Generation Y มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริ หารประเทศในลักษณะ
ประชาธิปไตยแต่ไม่โอเคกับการบริหารเศรษฐกิจแย่
รูปแบบที่ 3 Generation Y มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการแต่โอเคกับการบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 4 Generation Y มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจแย่

ตารางที่ 5.3 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ


Generation X

ลักษณะการบริหารของรัฐบาล
Generation ความพอใจ
ประชาธิปไตย เผด็จการ บริหารเศรษฐกิจดี บริหารเศรษฐกิจแย่
รัฐบาล
64

Generation x   พอใจ
Generation X   ไม่พอใจ
Generation X   พอใจ
Generation X   ไม่พอใจ

รูปแบบที่ 1 Generation X มีความพอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 2 Generation X มีความไม่พอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจแย่
รูปแบบที่ 3 Generation X มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศในลักษณะ
เผด็จการและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 4 Generation X มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจแย่

ตารางที่ 5.4 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ


Baby Boomer

ลักษณะการบริหารของรัฐบาล
Generation ความพอใจ
ประชาธิปไตย เผด็จการ บริหารเศรษฐกิจดี บริหารเศรษฐกิจแย่
รัฐบาล
Baby Boomer   พอใจ
Baby Boomer   ไม่พอใจ
Baby Boomer   พอใจ
Baby Boomer   ไม่พอใจ

รูปแบบที่ 1 Baby Boomer มีความพอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 2 Baby Boomer มีความไม่พอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจแย่
รูปแบบที่ 3 Baby Boomer มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศในลักษณะ
เผด็จการและบริหารเศรษฐกิจดี
65

รูปแบบที่ 4 Baby Boomer มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจแย่

ตารางที่ 5.5 สรุปแนวทางความพอใจรัฐบาลของคนผู้ที่ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่ของรัฐ


Silent Generation

ลักษณะการบริหารของรัฐบาล
Generation ความพอใจ
ประชาธิปไตย เผด็จการ บริหารเศรษฐกิจดี บริหารเศรษฐกิจแย่
รัฐบาล
Silent Generation   พอใจ
Silent Generation   ไม่พอใจ
Silent Generation   พอใจ
Silent Generation   ไม่พอใจ

รูปแบบที่ 1 Silent Generation มีความพอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน


ลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 2 Silent Generation มีความไม่พอใจกับรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศ
ในลักษณะประชาธิปไตยและบริหารเศรษฐกิจแย่
รูปแบบที่ 3 Silent Generation มีความพอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจดี
รูปแบบที่ 4 Silent Generation มีความไม่พอใจรัฐบาลเมื่อรัฐบาลบริหารประเทศใน
ลักษณะเผด็จการและบริหารเศรษฐกิจแย่

จากแนวทางวิธีคิดของคนแต่ละเจเนอเรชั่นในการกาหนดความพอใจต่อรัฐบาลสิ่งที่เห็น
ได้ชัดในคน Generation Z คือ หากมีลักษณะที่เป็นเผด็จการจะไม่ชอบและไม่พอใจรัฐบาลในทุกๆ
อย่าง ส่วนคน Generation Y สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ มีความไม่ชอบและไม่พอใจในลักษณะที่เป็นเผด็จการ
แต่หากได้รัฐบาลที่เป็นเผด็จการมาบริหารประเทศเนื่องจากไม่มีทางเลือกและแก้ไขอะไรไม่ได้อย่าง
น้อยขอให้รัฐบาลบริหารเศรษฐกิจให้ดีเพื่อให้มีความรู้สึกโอเคถึงจะไม่ชอบรัฐบาลเผด็จการก็ตาม แต่
ถ้าเป็นรัฐบาลที่มีลักษณะเผด็จการและยังบริหารเศรษฐกิจไม่ดีก็จะมีความรู้สึกไม่ชอบและไม่พอใจ ใน
ขณะเดียวกันหาก Generation Y อยู่ในรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแย่ จะพอใจกับ
รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยแต่ไม่โอเคกับเศรษฐกิจที่แย่ แต่จะไม่หันหลังกลับให้รัฐบาลเผด็จการ ส่ว น
Generation X, Baby Boomer และSilent Generation มีแนวทางวิธีคิดในรูปแบบเดียวกันคือ จะ
มี ค วามพอใจโดยขึ้ น อยู่ กั บ เศรษฐกิ จ โดยไม่ ไ ด้ ยึ ด มั่ น ในอุ ด มการณ์ ห ากรั ฐ บาลที่ มี ลั ก ษณะเป็ น
66

ประชาธิปไตยหรือเผด็จการบริหารเศรษฐกิจดีก็จะพอใจ แต่ถ้ารัฐบาลที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
หรือเผด็จการบริหารเศรษฐกิจแย่คนรุ่น Generation X, Baby Boomer และSilent Generation
ไม่พอใจ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายิ่ง Generation หลังจะมีแนวโน้มที่ไม่ชอบเผด็จการมากขึ้นเรื่อยๆ
โดย Generation Z มีความไม่ชอบเผด็จการมากที่สุดมีความยึดมั่นในอุดมการณ์ ประชาธิปไตยด้วย
การที่เติบโตมาในช่วงที่เห็นความขัดแย้งทางการเมืองและเห็นเผด็จการปกครองประเทศเป็นเวลานาน
ซึ่งไม่ทาให้ประเทศดีขึ้นและแก้ไขอะไรไม่ได้จึงมีความรู้สึกโกรธแค้นความเป็นเผด็จการและส่งผลให้มี
ความคิดที่ไม่ชอบเผด็จการ Generation Y มีความไม่ชอบเผด็จการมากและยึดมั่นในอุดมการณ์
ประชาธิ ป ไตยเช่ น กั น แต่ ด้ ว ยการที่ เ กิ ด มาในยุ ค ที่ เ กิ ด วิ ก ฤตฟองสบู่ แ ตกท าให้ มี ค วามค านึ ง ด้ า น
เศรษฐกิจอยู่พอสมควรจึงทาให้ยังพอโอเคกับรัฐบาลเผด็จการหากบริหารเศรษฐกิจได้ดีแต่ยังคงความ
ก็ไม่ชอบและไม่พอใจลักษณะที่เป็นเผด็จการอยู่ ส่วน Generation X ,Baby Boomer และSilent
Generation ซึ่งมีประสบการณ์ทางการเมืองมามากผ่านการบริหารของรัฐบาลหลายสมัยรวมถึงการ
รัฐประหารทาให้มองว่ารัฐบาลมีแต่แสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง ทาให้ไม่ยึดมั่นในอุดมการณ์และ
ต้องการแค่การบริหารของรัฐบาลไม่ว่าจะลักษณะแบบประชาธิปไตยหรือเผด็จการต้องทาให้เศรษฐกิจ
ดี
สุดท้ายประเทศไทยในอนาคตจะเข้าสู่ สังคมผู้สู งอายุ ซึ่งมองว่าทุกวันนี้ประชาชนใน
ประเทศไทยส่วนมากยังไม่ตื่นตัวและตระหนักในเรื่องนี้อาจด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจหรือขาด
การให้ความใส่ใจในเรื่องสังคมผู้สูงอายุของรัฐบาล ทาให้ภาครัฐและประชาชนในประเทศไทยยังขาด
การเตรียมตัวสาหรับปัญหาผู้สูงอายุทั้งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เมื่อดูจากอัตราการเจริญพันธุ์หรือ
จานวนเฉลี่ยของการคลอดบุตรต่อผู้หญิงหนึ่งคน โดยอัตราที่สูงที่สุดคือปี พ.ศ. 2506 คือ 6.16 จน
มาถึงทุกวันนี้เหลืออัตราการเจริญพันธุ์ แค่เพียง 1.48 ซึ่งในอนาคตอีก โดยการประมาณประชากรใน
แต่ละเจเนอเรชั่นเริ่มจาก Silent Generation พ.ศ. 2468-2488 ช่วงเจน 20 ปี มีจานวนประชากร
5,936,482 ราย Baby Boomer พ.ศ. 2489-2507 ช่วงเจน 18 ปี มีจานวนประชากร 12,884,954
ราย Generation X พ.ศ. 2508-2522 ช่วงเจน 14 ปี มีจานวนประชากร14,496,896 Generation
Y พ.ศ. 2524-2540 ช่วงเจน 16 ปี มีจานวนประชากร 14,112,202 คน (สานักงานสถิติแห่งชาติ,
2562) และGeneration Z ตัวเลขล่าสุด พ.ศ. 2540-2559 ช่วงเจน 19 ปี มีจานวนประชากร
8,433,463 คน (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2559, น. 29) ซึ่ง
หากระยะเวลาผ่านไป 30 ปีคน Silent Generation กับBaby Boomer หมดอายุขัยลงส่วน
Generation Xกับ Generation Y ขยับขึ้นมาสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่ง Generation Z และคนรุ่นต่อไปหาก
อัตราการเกิดยังลดลงเรื่อยๆอยู่จะมีผลทาให้คนรุ่นต่อไปต้องแบกรับ การดูแลอย่างมากหากภาครัฐ ใน
ลั ก ษณะเผด็ จ การที่ ไ ม่ ต้ อ งการให้ ป ระชาชนตั้ ง ค าถามหรื อ มี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งในระบอบ
ประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้มีส่วนช่วยและตระหนักพอถึงการเร่งแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุ หากมองเรื่องนี้
ในปั จ จุ บั น ที่ รั ฐ บาลเผด็ จ การแทบไม่ ต ระหนั ก ในปั ญ หาสั ง คมผู้ สู ง อายุ เ ลยจะท าให้ ค นในทุ ก
67

Generation มีปัญหาในภายภาคหน้าทั้งคนที่เป็นผู้สูงอายุและใกล้เป็นผู้สูงอายุ และคนที่จะต้องดูแล


ผู้สูงอายุซึ่งมีจานวนน้อยกว่า ซึ่งในประเด็นการเข้าใกล้สู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยนี้ผู้วิจัยขอทิ้ง
ท้ายไว้ให้ผู้ที่สนใจสามารถนาไปศึกษาหรือจุดประกายความคิดต่อยอดต่อไปได้
68

รายการอ้างอิง
หนังสือและบทความในหนังสือ

กลุ่มพัฒนาระบบลูกจ้าง กรมบัญชีกลาง. (2552). คู่มือการจ้างผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วเป็น


ลูกจ้าง ชั่วคราวของส่วนราชการ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ. ม.ป.ท.:ม.ป.พ..
จิรวัฒน์ รจนาวรรณ. (2547). ยอดนักการเมือง. กรุงเทพฯ: วรรณสาส์น.
จุมพล หนิมพานิช. (2531). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่ 1).
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉัตรทิพย์ นาถสุกา. (2527). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2527.
ฉัต รทิ พ ย์ นาถสุ กา. (2543). ประวั ติ ศาสตร์ เ ศรษฐกิ จไทย. กรุ ง เทพฯ: ส านัก พิ ม พ์ จุ ฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2544). ประวัติการเมืองไทย : 2475-2500 Political History of Thailand
1932-1957. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรสิริ . (2549). จาก 14 ถึง 6 ตุลาและทองปาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตารา
สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรสิริ และ ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2541). จาก 14 ถึง 6 ตุลา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ . (2540). จอมพล ป.
พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ รักษ์กุลชน. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของนักศึกษา
(กรณีศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516). ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
ทั ก ษ์ เฉลิ ม เตี ย รณ. (2526). การเมื อ งระบบพ่ อ ขุ น อุ ป ถั ม ภ์ แ บบเผด็ จ การ. กรุ ง เทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2555). การเมืองไทย: ระบบที่ไม่มีสูตรสาเร็จรูปในการแก้ไขปัญหา. กรุงเทพฯ:
ปัญญาชน.
เทศา ธรรมชน. (2554). ยุทธศาสตร์ทักษิณแนวทางแก้วิกฤตชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต
จากัด.
69

ธงชัย วงศ์ชัย สุ ว รรณ. (2526). ทั ศนคติทางการเมือ งของนัก ศึกษา : การศึกษาเชิงประจักษ์ ใน


ก ร ะ บ ว น ก า ร สั ง ค ม ป ร ะ กิ ต ก า ร เ มื อ ง . ก รุ ง เ ท พ ฯ : ส ถ า บั น ไ ท ย ค ดี ศึ ก ษ า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธเนศ ศรีวิชัยลาพันธ์. (2554). เศรษฐกิจไทย Thai Economy. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
ธรรมนูญ โสภารั ตน์ . (2523). สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย:วิเคราะห์ระบบโครงสร้าง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2561). การพัฒนาสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
พรภิรมณ์ เชีย งกูล . (2540). เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 : วิเคราะห์ ในมิติทางประวัติศาสตร์.
กรุงเทพฯ: วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์.
รังสรรค์ ธนะพรพัน ธุ์ . (2523). บทความสั มมนาทางวิช าการวิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทย 2522.
กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รวิพรรณ สาลีผล. (2555). ประวัติของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ 2475. กรุงเทพฯ: สานักวิชาเศรษฐศาสตร์
และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพฯ:
ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริรัตน์ ขันธพิน. (2520). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
จนถึ ง ปั จ จุ บั น . กรุ ง เทพฯ: ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย
รามคาแหง.
สุ ร ชาติ บ ารุ ง สุ ข . (2541). ทหารกั บ ประชาธิ ป ไตยไทย : จาก 14 ตุ ล า สู่ ปั จ จุ บั น และอนาคต.
กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตารา มหาวิทยาลัยเกริก.
สถาบันสยาม. (2518). อนาคตการเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, 24 มิถุนายน
2518 ณ งานชุมนุมนักเรียนไทยที่เมืองปัวติเอร์(ฝรั่งเศส). กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์.
อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสหรัฐอเมริกาต่อการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจไทย ทศวรรษ 1960 และ 1990. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา รัตนมงคลมาศ และ วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์. (2547). คนไทยกับการเมือง: ปีติฤาวิปโยค.
กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เพรส จากัด.
อาทิตย์ อุไรรัตน์. (2553). อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก้าวข้ามวิกฤตชาติ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์บ้านพระ
อาทิตย์.
Batson. (2547). อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม (พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์
และ ศศิธ ร รั ช นี ณ อยุ ธ ยา, แปล). กรุงเทพ: มูล นิธิ โ ครงการตาราสั งคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์.
70

บทความวารสาร

เกษียร เตชะพีระ. (2551). รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 กับการเมืองไทย. รัฐศาสตร์สาร,


29(3), 7-9.
กิตติคุณ ผุสดี ทิพทัส. (2553). วิกฤตเศรษฐกิจช่วง พ.ศ. 2540-2552: ทางเลือกและทางรอดของ
สถาปนิกไทย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , (1), 1-
12.
คมกริช นันทะโรจพงศ์ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และ
กระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นาในตนเอง ของวัยรุ่นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี: การวิจัยเพื่อสร้าง
ทฤษฎีฐานราก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 1-28.
ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์. (2561). ประชาธิปไตยกับการเมืองการปกครองไทย. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ ,
20(58), 1-15.
ชนาใจ หมื่นไธสง. (2562). นโยบายต่างประเทศและความเข้มแข็งของชุมชนที่ส่งผลให้เกิดการก่อตั้ง
สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย : กรณีศึกษาการก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ราชภัฏ ร้อยเอ็ด. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 6(1), 113-141.
ชานนท์ ศิริธร และ วิฏราธร จิรประวัติ. (2555). การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภค
เจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 5(2),
111-130.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์ และ ชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2014).
การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและ
ความคาดหวังต่อ คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ปริทัศน์, 36(141), 1-17.
นิพนธ์ ชาญอัมพร และ ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2558). รูปแบบการดาเนินชีวิตและความคิดเห็นต่อรายการ
โทรทัศน์ของเด็กเจเนอเรชั่นแซด. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 8(2), 73-92.
ประคอง มาโต และ ปิยะ ตามพระหัตถ์. (2562). รูปแบบการปกครองกับการเมืองการปกครองไทย.
วารสาร วิจัยวิชาการ, 2(1), 171-182.
ประพาพร สีหา. (2560). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 150-151.
ปรีชญา แม้นมินทร์ และ นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2560). ค่านิยมของผู้บริโภคไทย เจนเนอเรชั่นเบ
บี้บูมเมอร์ เอ็กซ์ และวายไทย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 10(2), 101-120.
มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 364-
373.
ยุพา ปราชญากูล และ ศักดิภัท เชาวน์ลักษณ์สกุล. (2561). รัฐประหารกับการเมืองไทย coups and
thai politics. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 1(3), 17-34.
71

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และ อนุวัต กระสังข์. (2018). การกล่อมเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทาง


การเมือง. วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 13-21.
สุธี ประศาสน์เศรษฐ. วิวั ฒนาการระบบเศรษฐกิจไทยในรอบ200ปี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง,
1(1), 23-49.
โสภณ ศิริ ง าม. (2559).ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ข องรัฐ ไทยในยุ ค ผ่ อ นคลายความตึ ง เครี ย ด THAILAND
NATIONAL STRATEGY IN THE DETENTE ERA. The National Defence College of
Thailand Journal, (58), 8-21.
อดินั นท์ พรหมพัน ธ์ใจ. (2558). รัฐราชการไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูล านนท์:ปัญหาระบอบ
ประชาธิปไตยครึ่งใบ (2523 - 2531). วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 45(2), 75-104.

รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ

กัณฐิกา ศรีอุดม และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2548). พระเจ้ากรุงสยาม กับ เซอร์จอห์น เบาว์ริง The
King of Siam : Sir John Bowring. เอกสารสรุปการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบรอบ 200 ปี
(พ.ศ. 2347 - 2547). กรุ ง เทพฯ: มู ล นิ ธิ โ ตโยต้ า ประเทศไทยกั บ มู ล นิ ธิ โ ครงการต ารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

วิทยานิพนธ์

คณาลักษณ์ จงปิยวรางค์. (2555). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ กลุ่มเจเนอ


เรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.
ณัฐพล ใจจริง. (2552). การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของ
สหรั ฐ อเมริ ก า(พ.ศ. 2491-2500) (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ). จุ ฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์, สาขาวิชารัฐศาสตร์.
ณัฐวดี ภาวนาวิวัฒน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและการใช้เครื่องจาหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
(Vending Machine) ของกลุ่มมิลเลนเนียลและเจเนอเรชั่นซีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์
ปริญญา มหาบั ณฑิต). มหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ,
สาขาวิชาการบริหารการตลาด.
ณิชา ตั้งความดี. (2555). ทัศนคติของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย(Generation Y)และเจเนอเรชั่นซี
(Generation Z) ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการทาการตลาดผ่ านดนตรี (Music
72

Marketing) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , คณะพาณิชย


ศาสตร์และการบัญชี, สาขาการบริหารการตลาด.
นฤมล นิ่มนวล. (2559). การเมืองในแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2551
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, สาขาการ
ปกครอง.
ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2550). บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ.2506-
2516 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , คณะอักษรศาสตร์ ,
สาขาวิชาประวัติศาสตร์.
บุณฑริ กา เจี่ ย งเพ็ช ร์ . (2543). พฤติกรรมการสื่ อสารทางการเมืองผ่ านสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่ อ
อิน เตอร์ เ น็ ต และทั ศ นคติ ท างการเมื อ งแบบประชาธิ ป ไตยที่ มี ต่ อ ความรู้ ทั ศ นคติ และ
กิ จ กรรมการมี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งที่ เ กี่ ย วกั บ การเลื อ กตั้ ง ระบบใหม่ ข องกลุ่ ม ผู้ ใ ช้
อิ น เตอร์ เ น็ ต ในกรุ ง เทพมหานคร (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
บวรรัตน์ ธนาฤทธิวราภัค. (2561). ปัจจัยความน่าดึงดูดของนายจ้างที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัคร
งานของ กลุ่ ม คนเจเนอเรชั่ น แซด ที่ ก าลั ง ศึ ก ษาอยู่ ใ นระดั บ ปริ ญ ญาตรี (วิ ท ยานิ พ นธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
ปัณฑา มานะกิจเจริญ. (2555). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนของเจเนอเรชั่นวาย
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , คณะวารสารศาสตร์และ
สื่อสารมวลชน, สาขาวิชา สื่อสารมวลชน.
ประที ป สายเสน. (2531). กบฏวั ง หลวงกั บ ปรี ดี พนมยงค์ (วิ ท ยานิพ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ).
มหาวิทยาลัย ศิล ปากร, คณะอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต , สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้.
ปรารถนา ผกาแก้ว. (2561). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่ม
เจนเนอ เรชั่นเอ็กซ์ และกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในกลุ่มบริษัทผลิต
ชิ้นส่วน อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
ปรีชญา แม้นมินทร์. (2558). ค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวายไทย
(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชา
นิเทศศาสตร์.
พิชชาภรณ์ ศิริโสดา. (2558). แรงจูงใจในการเปิดรับสาร และความน่าเชื่อถือของสารในเฟซบุ๊กกับ
การตั ด สิ น ใจเลื อ กบริ โ ภคของกลุ่ ม เจเนอเรชั่ น วาย (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาหาบั ณ ฑิ ต ).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการ
สื่อสารองค์กร.
73

พรภิรมณ์ เชียงกูล. (2540). รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523-2531) : วิเคราะห์ในมิติทาง


ประวัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , คณะ
สังคมศาสตร์.
เมธิตา เปี่ยมสุธานนท์. (2557). พฤติกรรมการฟังเพลงผ่านยูทูบของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และกลุ่มเจ
เนอเรชั่ น วาย (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ , คณะ
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน.
ศุภสิริ สุขมนต์. (2558). รูปแบบการดาเนินชีวิต ทัศนคติ และการเปิดรับชมโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต
ของกลุ่ม เจเนอเรชั่นวาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , คณะ
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.
ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มวัยเบ
บี้บูมเมอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , คณะวารสาร
ศาสตร์และสื่อสารมวลชน , สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.

สือ่ อิเล็กทรอนิกส์

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข . (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.


2559, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562. http://bps.moph.go.th/new bps/sites/default
/files/health_strategy2559.pdf
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ยุควิกฤตเศรษฐกิจไทย ช่วงขาลง...ฟองสบู่แตก ปี2540-
2543, สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562. https://www.set.or.th/th/about/overview
/files/30years/Chapter3_21.pdf
ปราโมทย์ ประสาทกุล , ปัทมา ว่าพัฒ นวงค์ และวรชัยทองไทย. (2562). ผลกระทบของการ
เปลี่ ย นแปลงทางประช ากรในประเทศไทย , สื บ ค้ น เมื่ อ 23 ธั น วาคม 2562.
https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/demographic%20thai.pdf
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (ม.ป.ป.). สู่ทางใหม่ของเศรษฐกิจไทย, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562.
http://www.rangsun.econ.tu.ac.th/data/05/05-02-07-สู่ ทางใหม่ของเศรษฐกิจไทย.
pdf
สมชาย ปรีช าศิล ปะกุล . (2560). 20 ปี รัฐธรรมนูญ 2540 : การปฏิรูปการเมืองไทยในอุ้งมือนัก
กฎหมายมหาชน, สื บ ค้ น เมื่ อ 10 พฤษจิ กายน 2562. https://www.the101.world
/20-year-constitution- 2540/
สานักงานวิชาการ สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). ถอดบทเรียนวิกฤติต้มยากุ้งผ่าน
เศรษฐกิ จ ประเทศไทยและภู มิ ภ าคอาเซี ย น, สื บ ค้ น เมื่ อ 10 พฤศจิ ก ายน 2562.
https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2560/aug2560-1.pdf
74

ส านั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ . (2553). ร่ ว มฉลองหนึ่ ง ร้ อ ยปี ส ามะโนประชากรประเทศไทยส ามะโน


ประชากรและเคหะ ปี พ.ศ. 2553 : นับคนในประเทศครั้งที่ 11, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม
2562. http://popcensus.nso.go.th/doc/8-thailand%20census.doc
Extream Vision. (2559). กรณี Plaza Accord กับวิกฤติญี่ปุ่นที่เกิดจากความหวังดีประสงค์ร้ายของ
สหรัฐอเมริกา, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562. http://extreme-vision.blogspot.com
/2016/07/plaza-accord.html

ราชกิจจานุเบกษา

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจาของส่วนราชการ พ.ศ. 2537.


ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547. (2547, 16 มกราคม). ราชกิจจา
นุเบกษา, 121(ตอนพิเศษ 5 ง), 1-2.
พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พุทธศักราช 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา,
136(ตอนที่ 50 ก), 1-2.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. (2551, 25 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา,
125(ตอนที่ 22 ก), 2-13.
ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526. (2526, 12 พฤษภาคม).
ราชกิจจานุเบกษา, 100(ตอนที่ 78), 1.

Books and Book Articles

Anick Tolbize. (2008). Generational differences in the workplace. Minneapolis:


University of Minnesota Press.
Bridget Hartnett and Ron Matan. (2014). Generational Differerences in Philanthropic
Giving.
Chartchai Na Chiangmai. (1978). Political Socialization and political participation : a
case study of the impact of a critical political event. Chiangmai : Dept. of
Political Science, Faculty of Sciences Chiangmai University.
Dawson and Prewit. (1965). Political Socializaion. Boston: Little Brown.
Henk Dekker. (1991). Politics and the European Younger Generation; Political
Socialization in Eastern, Central and Western Europe. Oldenburg: BIS.
Hyman, C. (1956). The Study of Politics. Champaign: University of Illinois Press.
Kenneth P. Langton. (1969). Political Socialization. New York: Oxford University Press.
75

Marcie Pitt-Catsouphes, Christina Matz-Costa, and Elyssa Besen. (2009). AGE &
GENERATIONS :Understanding Expreriences at the Workplace. Boston.

Articles in Journals

Kevin R Clark. (2017). Managing Multiple Generations in the Workplace. RADIOLOGIC


TECHNOLOGY, 88(4), 379-398.
Jiří Bejtkovský. (2016). The Current Generations: The Baby Boomer, X, Y and Z in the
Context of Human Capital Management of the 21st Century in Selected
Corporations in the Czech Republic. Littera Scripta, (9), 25-45.
Wade Herley. (2009). Motivating the Generation: Economic and Educational
Influences. Journal of Inquiry & Action in Education, 3(1), 1-14.

You might also like