Aed

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 44

คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
(เออีดี:AED) สำหรับประชาชน
พ.ศ. 2561

จัดทำโดย • ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย


• คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ. 2559

ค ณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 5
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 02-7180060-4 โทรสาร 02-7180065
https://thaicpr.org

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต.
คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน
พ.ศ. 2561.-- พิมพ์ครั้งที่ 1.-- กรุงเทพฯ : สมาคม, 2561.
40 หน้า.
1. ปฐมพยาบาล. I. ชื่อเรื่อง.
616.0252
ISBN 978-616-91386-8-6

ISBN : 978-616-91386-8-6
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561 จำนวน 200,000 เล่ม



จัดทำโดย : คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามคัดลอกหรือพิมพ์ซ้ำ หรือแจกจ่ายส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือนี้
ไม่ว่าจะในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทปบันทึก การถ่ายสำเนาเอกสาร หรืออื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
การถ่ายสำเนาเอกสารหรือการคัดลอกใหม่โดยนำไปใช้เป็นส่วนบุคคลจะมีความผิดตามกฎหมาย
ถ้าประสงค์พิมพ์แจกเป็นวิทยาทาน กรุณาติดต่อ คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต

พิมพ์ที่ : บจก.ปัญญมิตร การพิมพ์ โทร. 0-2873-2098, 08-1751-2341

คำนิยม
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องในโอกาสจัดทำคู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ.2561
กระทรวงสาธารณสุขขอน้อมนำพระราชประสงค์ พระราชดำริต่างๆ ของสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่
ประชาชน และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ด้วยโครงการจิตอาสา “เราทำความดีด้วยหัวใจ”
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจ
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำ “โครงการเพิ่มศักยภาพจิตอาสา และประชาชน
ทั่วไปในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ

บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องในโอกาส

วันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561” เพื่อเป็นการแสดงความ


จงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดทำ “คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่อง
ช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน” เพื่อการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การช่วย
ชีวิตขั้นพื้นฐานให้ประชาชนจิตอาสาและประชาชนทั่วไป เข้าใจวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่
ถูกต้อง จะได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในครอบครัวของตนเองหรือผู้อื่นในสังคมที่ประสบ
ภาวะวิกฤตหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน นับเป็นการกระทำที่สร้างคุณความดีอันยิ่งใหญ่ สร้างคุณ
ประโยชน์ให้ผู้อื่นได้รอดชีวิต เป็นผู้มอบโอกาสการได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอันเป็นที่รัก
อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือที่มีส่วนสำคัญยิ่งก่อนที่ทีมบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึงผู้ป่วย
สร้างการประสานเชื่อมโยงความช่วยเหลือต่อสังคมและส่วนรวมด้านการรักษาพยาบาล
ระหว่างจิตอาสา ประชาชนทั่วไปกับทีมบุคลากรทางการแพทย์
ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำ “คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ
(เออีดี:AED) สำหรับประชาชน” และเชื่อมั่นว่า คู่มือฉบับนี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน
การช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถฟื้นขึ้นมามีชีวิตเป็นปกติได้อย่างปลอดภัย

(ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร)


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
1
คำนิยม
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องในโอกาสจัดทำคู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ.2561
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชประสงค์
ที่จะสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวทาง

พระราชดำริต่างๆ ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชน และพัฒนาประเทศให้


เจริญก้าวหน้า พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดโครงการจิตอาสา
“เราทำความดีด้วยหัวใจ” เพื่อให้หน่วยราชการในพระองค์ร่วมกับหน่วยราชการต่างๆ
และประชาชนได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์และทำความดี กระทรวงสาธารณสุขในฐานะ
เป็นหน่วยงานราชการร่วมกับสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ได้จัดทำ “โครงการเพิ่มศักยภาพจิตอาสา และประชาชนทั่วไปในการช่วยชีวิต
ขั้นพื้นฐาน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนม
พรรษา 66 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561” เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดทำ “คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อก
ไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน” เพื่อการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้ประชาชนจิตอาสาและประชาชนทั่วไป เข้าใจวิธีการช่วยชีวิต
ขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง
ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำ “คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้า
หัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน” ที่เห็นความสำคัญในการช่วยชีวิตขั้น
พื้นฐาน เพื่อจัดการช่วยชีวิตในภาวะฉุกเฉิน ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ส่งผล
ให้ผู้ป่วยสามารถรอดชีวิตและลดความพิการได้ ผมเชื่อมั่นว่า คู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนจิตอาสา และประชาชนทั่วไป ในการช่วยชีวิต

ผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยเครื่องเออีดี เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของ


ประชาชนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน นอกโรงพยาบาลได้ บรรลุเป้าหมายที่จะให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดในการช่วยชีวิตผู้ป่วยตามเจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งไว้

2 (นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข)
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คำนิยม
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย
เนื่องในโอกาสจัดทำคู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED)
หนังสือคู่มือ “การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:
AED)” สำหรับประชาชนเล่มนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การนำ
สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นออกจากทางเดินหายใจ โดยมีการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติพร้อม
ภาพประกอบอย่างชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับประชาชนใช้ในการศึกษา
ความรู้ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีเนื้อหาเรื่องเครื่องเออีดีเป็นอุปกรณ์สำคัญ
ประการหนึ่งที่จะช่วยให้การช่วยชีวิตได้ผล และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตแก่ผู้บาดเจ็บ
สภากาชาดไทยเป็นองค์กรกุศลเพื่อมนุษยธรรม ดำเนินงานเพื่อประโยชน์สุข
ของประชาชนอันประกอบด้วยภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การบริการทางการแพทย์และ
สุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ การบริการโลหิต และการส่งเสริม
คุณภาพชีวิต ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญประการหนึ่ง คือ งานฝึกอบรมความรู้เรื่องการปฐม
พยาบาลแก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายที่ร้อยละ 5 ของประชากรของประเทศ ควรได้รับ
การฝึกอบรมความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิต เพื่อให้สามารถนำความรู้
ไปใช้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งในชีวิตประจำวันและในยามภัยพิบัติ
ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเกิดสูงขึ้น เป็นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและพิการลงได้
ในการนี้ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย ได้มีการพัฒนา
หลักสูตรการฝึกอบรมและคู่มือการปฐมพยาบาลสำหรับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
สภากาชาดไทยมีความยินดีที่คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์
โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำหนังสือคู่มือเล่มนี้ขึ้น เพื่อ
เผยแพร่แก่ประชาชน อันนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่หน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญให้ความ
ร่วมมือกันจัดทำสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ต่อประชาชนของประเทศ และหวังว่าหนังสือคู่มือ
“การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED)” สำหรับ
ประชาชนเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนที่จะได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ
ได้อย่างกว้างขวางต่อไป

(นายแผน วรรณเมธี)
เลขาธิการสภากาชาดไทย 3
คำนำ

ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา การเผยแพร่ความรู้ทางด้านการช่วยชีวิต (Cardio-
Pulmonary Resuscitation: CPR) ในประเทศไทย มีความก้าวหน้ามากขึ้น บุคลากร
ทางการแพทย์และประชาชนให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนางานด้าน
การช่วยชีวิต และการรักษาพยาบาลในภาวะวิกฤตของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ
และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทัดเทียมกันกับนานาประเทศ เป็นผลให้มีจำนวนผู้รอดชีวิต
จากภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น
สถาบันทางการแพทย์ต่างๆ ได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมการช่วยชีวิต ให้กับบุคลากรทาง
การแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทีมผู้สอนมีประสบการณ์ในการจัดฝึกอบรม มีการจัด
ทำคู่มือการฝึกอบรมฯ จัดทำคำบรรยาย การสาธิตและการฝึกปฏิบัติที่มีอุปกรณ์การสอน
ในการฝึ ก ทั ก ษะการช่ ว ยชี วิ ต อย่ า งเหมาะสมและเพี ย งพอ โดยมี จ ำนวนครู ผู้ ส อน
(Instructors) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ตลอดจนมีการประเมินทางด้านทักษะโดยการสอบ
ปฏิบัติ ที่ใช้เกณฑ์ในการประเมินความถูกต้อง และประสิทธิภาพในการช่วยชีวิต และ
การสอบข้อเขียน เพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ
จากการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีความต่อเนื่อง ทำให้บุคลากรทางการแพทย์
ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน เห็นความสำคัญของการฝึกอบรมฯ เพื่อให้การรักษา
พยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต มีประสิทธิภาพ และเป็นการประกาศความเป็นมาตรฐาน
ในการให้บริการทางสาธารณสุขของประเทศไทย ส่งผลให้ประชาชนมีความสนใจ และ
ขอเข้ารับการฝึกอบรมการช่วยชีวิต เป็นจำนวนมากขึ้น ในทุกภาคของประเทศไทย
หนังสือ คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:
AED) สำหรับประชาชน พ.ศ. 2559 เล่มนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกัน ของคณะ
กรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต (Thai Resuscitation Council: TRC) ในการเผยแพร่
ความรู้ ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติสำหรับ
ประชาชน มาปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อให้ประชาชนสามารถได้นำไปศึกษาด้วยตนเอง
และนอกจากนี้ยังเป็นคู่มือในการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้า
4
หัวใจอัตโนมัติ อีกด้วย กระผม ขอขอบคุณคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย หน่วยงาน
ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งภาคเอกชน ที่เห็นความสำคัญ ให้ความ
ร่วมมือ และสนับสนุนในการพัฒนางานการช่วยชีวิต ให้เข้าสู่มาตรฐานสากลและเพื่อ
ประโยชน์กับคนไทยทุกคน และชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางมาประเทศไทย
สำหรับ การใช้เครื่องช๊อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ เออีดี (AED: Automated
External Defibrillator) ในประเทศไทย พบว่า มีหน่วยงานหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ
และเอกชน ให้ความสนใจ และได้ติดตั้ง เครื่องเออีดี ไว้สำหรับประชาชนได้ใช้ในการ
ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ก่อนที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินจะมาถึง โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีผู้คน
จำนวนมากมารับบริการ อาทิในอาคารการท่าอากาศยาน สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานี
รถไฟ สถานีรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก
สนามกีฬา รวมทั้งมีการจัดทีมปฐมพยาบาลพร้อมอุปกรณ์การแพทย์และเออีดี ในการ
จัดการแข่งขันกีฬาหลายชนิด นอกจากนั้น สถานที่ราชการหลายแห่งรวมทั้ง สถาบัน
การศึกษาหลายแห่ง ได้มีการติดตั้งเออีดี ไว้ในจุดที่มีประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวน
มาก อย่างไรก็ตาม เออีดี เป็นเพียงอุปกรณ์การแพทย์ การช่วยชีวิตจะสำเร็จได้นั้น
อาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ประชาชนมีความรู้ สถาบันและองค์กรต่างๆ ให้การ
สนับสนุน ในการจัดการฝึกอบรมการช่วยชีวิต รวมทั้งมีการจัดการในการให้บริการทาง
การแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างเหมาะสม



(พล.ต.ต. น.พ.โสภณ กฤษณะรังสรรค์)
ที่ปรึกษาอาวุโส
คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต (Thai Resuscitation Council: TRC)
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สิงหาคม 2560

5
ขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่สำหรับประชาชนทั่วไป*

1. ตรวจดูความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ

2. ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง
ตะโกนขอความช่วยเหลือทันที
3. โทรเบอร์ฉุกเฉิน 1669 (สำหรับประเทศไทย)
และรีบนำ AED มา (ถ้ามีคนอื่นอยู่บริเวณนั้น ให้ผู้อื่นไปนำมา)
ให้ทำตามคำแนะนำทางโทรศัพท์

หายใจปกติ เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วย
4. ดูการหายใจ
รอทีมช่วยชีวิตมาถึง

หายใจผิดปกติ (หายใจเฮือก) หรือไม่หายใจ* * ถ้าไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้เริ่มกดหน้าอกทันที

* กดลึก (ประมาณ 5 ซม. ไม่เกิน 6 ซม.)


5. เริ่มกดหน้าอกทันที * กดเร็ว (100-120 ครั้ง/นาที)
บริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก * ขัดจังหวะการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด
* ปล่อยหน้าอกคืนตัวสุดก่อนกดครั้งถัดไป
หากเคยฝึกและยินดีช่วยหายใจ ให้ช่วยหายใจ

6. กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง

7. เมื่อ AED มาถึง ให้ใช้ AED

วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ว่าต้องช็อกไฟฟ้าหรือไม่
ให้ช็อกไฟฟ้า ไม่แนะนำให้ช็อกไฟฟ้า
2 นาที 2 นาที
ช็อกไฟฟ้า แล้วทำ CPR ให้ทำ CPR ต่อ
โดยเริ่มกดหน้าอกทันที โดยเริ่มกดหน้าอกทันที

ทำ CPR ต่อเนื่องจนกว่าทีมช่วยชีวิตมาถึง หรือเมื่อเห็นผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือหายใจปกติ

* อ้างอิงจาก สภาการช่วยชีวิตแห่งเอเชีย (Resuscitation Council of Asia)


6
ขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอน 1 ขั้นตอน 2
ประเมินผู้ป่วย ปลุกเรียก การขอความช่วยเหลือ
โดยใช้มือตบบริเวณไหล่ โทรเรียก 1669
หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

หน้า 13 หน้า 14

ขั้นตอน 3 การกดหน้าอก สลับการช่วยหายใจ


30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็ว หน้า 21
อย่างน้อย 100-120 ครั้ง/นาที

โดยเป่าลมเข้าปอดให้เห็น
หน้า 19 ผนังทรวงอกขยับขึ้น 2 ครั้ง

ประเมินซ้ำทุก 2 นาที หรือ 5 รอบ


ประเมินซ้ำทุก 2 นาที หรือ 5 รอบ

ขั้นตอน 4 ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติทันทีที่พร้อมใช้

1. เปิดเครื่อง 2. แปะแผ่น -----> วิเคราะห์ 3. ช็อกหัวใจ


7
สารบัญ


• บทนำ 9
• การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 13
• เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ 13
• เรียกหาความช่วยเหลือ 14
• จัดท่าให้พร้อมสำหรับการช่วยชีวิต 16
• หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก 17
• การกดหน้าอก 30 ครั้ง 19
• เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง 20
• ช่วยหายใจ 21
• กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง 23
• การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี : AED) 24
• การเอาสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นออกจากทางเดินหายใจ 32
• บรรณานุกรม 36

8
บทนำ


คนเรามีชีวิตอยู่ ได้เพราะหัวใจเต้นและมีการหายใจ
ปกติคนเรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยระบบสำคัญ 2 ระบบ คือระบบหายใจและ
ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจซึ่งมีปอด เป็นอวัยวะสำคัญ จะทำงานโดย
หายใจเอาอากาศที่มีออกซิเจนสูงประมาณ 21% จากอากาศภายนอกผ่าน
จมู ก และหลอดลมเข้ า ไปในปอด แล้ ว หายใจเอาอากาศที่ มี คาร์ บ อนได-
ออกไซด์จากในปอดผ่านหลอดลมและจมูกออกมาสู่ภายนอก
ระบบไหลเวียนโลหิตมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำงานโดยหัวใจจะ

สูบฉีดเลือดที่รับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น


สมอง ลำตัว แขนขา แล้วรับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากการ
ทำงานของเซลล์มาที่ปอด เพื่อให้ระบบหายใจพาออกไปทิ้งนอกร่างกาย

เกิดขึ้นกับใคร เมื่อไร และที่ ไหน


ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นกับใคร เมื่อเวลาใด และ
สถานที่แห่งไหนก็ได้ จากการศึกษาพบว่า เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาจ
เกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ที่สำคัญคือ สถานที่ อันเป็นจุดที่
เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มักจะเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลเป็นส่วนมาก
ประชาชนจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือมากที่สุด เนื่องจาก
เป็นทั้งผู้พบเห็น และเป็นบุคคลแรกที่ให้ความช่วยเหลือ ในหลายประเทศจึง
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ และมีโอกาสได้ทำการฝึกอบรมการช่วยชีวิต

ขั้นพื้นฐานร่วมกับการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี: AED) รวมทั้ง


9
มีการติดตั้ง AED ในสถานที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้พื้นที่
ดังกล่าว ซึ่งพบว่าสามารถทำให้อัตรารอดชีวิตมีเพิ่มมากขึ้นได้
เนื่องด้วย สมอง และ หัวใจ เป็นอวัยวะที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ที่
มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ความเข้าใจผลของการที่หัวใจหยุดเต้นลง
จึงมีความสำคัญต่อการฝึกปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อหัวใจหยุดเต้นลง จะไม่มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะใดๆ ในร่างกาย และ
เมื่อสมองขาดเลือดมาเลี้ยง จะหยุดทำงานในทันที ดังนั้นผู้ที่สมองขาดเลือด
จากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน จะหมดสติลงในระยะเวลาเพียง 10 วินาที
ซึ่งผู้ป่วยที่หมดสติลง ควรได้รับการช่วยเหลือในทันที หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ
หรือมิได้มีการกดหน้าอกเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ และที่สำคัญที่สุด
คือสมอง ในระยะเวลา 4 นาที เนื้อสมองจะเริ่มเสียหาย หากผู้ให้ความช่วยเหลือ
ทำการกดหน้ากดในทันทีที่พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ ไม่ตอบสนอง
สมองจะได้รับเลือด แม้ว่าจะไม่ช่วยเรื่องการหายใจ เพราะว่าในช่วง 6 นาทีแรก
ที่หัวใจหยุดเต้น ยังพอมี ออกซิเจนอยู่ในเลือด ดังนั้น การกดหน้าอกอย่าง
ถูกต้องเพียงอย่างเดียวก็มีประโยชน์ แต่ถ้าสามารถช่วยได้ทั้งการกดหน้าอก
และช่วยเป่าปากช่วยหายใจได้ จะเป็นการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ และ
สามารถช่วยได้นานพอ จนกระทั่งทีแ่ พทย์ฉุกเฉินจะมาถึง

สาเหตุที่ทำให้หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
ภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จมน้ำ สิ่งแปลกปลอม
อุดกั้นทางเดินลมหายใจ สูดดมควันเข้าไปมาก ได้รับยาเกินขนาด ไฟฟ้าช็อต
อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ บาดเจ็บ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ฟ้าผ่า
และสมองเสียการทำงานจนโคม่าจากสาเหตุต่างๆ
ภาวะหัวใจหยุดเต้น หมายถึงการไหลเวียนโลหิตหยุดลงอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งทราบได้จากการหมดสติไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีอาการไอ ไม่มีชีพจร

10
ไม่หายใจตามปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือจากภาวะ
หัวใจเต้นผิดปกติจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรืออาจเกิดขึ้นตามหลัง
ภาวะหยุดหายใจ

คนที่หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นไปแล้วยังมีโอกาสฟื้นได้
ใครก็ตามเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ถ้าหากมีใคร

สักคนรีบทำการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support - BLS) ตาม


หลักการที่ถูกต้องด้วยวิธีที่ได้บรรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ก็จะทำให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอด และมีเลือดไหลเวียนนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
เพียงพอที่จะทำให้สมองยังทำงานต่อไปได้โดยไม่เกิดภาวะสมองตาย คนผู้นั้น
จึงยังมีโอกาสที่จะกลับฟื้นขึ้นมามีชีวิตปกติได้ เนื่องจากวิธีการช่วยชีวิตขั้น
พื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไปนั้นแตกต่างจากวิธีการสำหรับบุคลากรทาง
การแพทย์และเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตในรายละเอียดบางประการ ในคู่มือเล่มนี้จะ
กล่าวถึงการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไปเท่านั้น

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นและภาวะหยุดหายใจขึ้นแล้ว ประชาชน

ผู้ให้การช่วยเหลือ สามารถใช้หลักการจำขั้นตอนที่สำคัญ 4 หลักการสั้นๆ


1. ประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยว่ามีสติหรือไม่ โดยการปลุก
เรียกและดูการเคลื่อนไหวที่หน้าอกว่าหายใจหรือไม่
2. ขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์ฉุกเฉิน ตามเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจ
อัตโนมัติ : เครื่องเออีดี (Automated External Defibrillator : AED)
3. ปฏิบัติตามขั้นตอน
• การช่วยกดหน้าอก
11
• การเปิดทางเดินลมหายใจให้โล่ง
• การช่วยหายใจ
4. การช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติโดยใช้เครื่องเออีดี
ทั้ง 4 หลักการที่สำคัญนี้ มีขั้นตอนย่อยๆ ที่สามารถทำให้การปฏิบัติ
การช่วยเหลือ มีประสิทธิภาพมากที่สุด

12
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

1
เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
ควรมองดูสภาพรอบตัว ผู้หมดสติว่าบริเวณนั้นปลอดภัยก่อน แล้วจึง
เข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ ทำการกระตุ้นโดยการตบแรงๆที่บริเวณไหล่ทั้งสอง
ข้างผู้หมดสติ พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณๆ…. เป็นอย่างไรบ้าง?”

รูปที่ 1 การตบแรงๆ ที่บริเวณไหล่ทั้งสองข้างผู้หมดสติ


13
หมายเหตุ
1. ในกรณีที่ผู้หมดสติถูกไฟฟ้าช็อต ให้ร้องขอความช่วยเหลือในการตัด
ไฟหรือปิดสวิตซ์ไฟฟ้าก่อนเข้าไปสัมผัสตัวผู้หมดสติ
2. ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะและคอ ให้พยายามขยับ
ตัวผู้หมดสติให้น้อยที่สุด เพราะการขยับตัวมากอาจจะทำให้ผู้หมดสติ
ที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังเป็นอัมพาตได้

2


เรียกหาความช่วยเหลือ
หากหมดสติ หรือหายใจเฮือก (เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ไม่ใช่
หายใจตามปกติ) ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นและขอให้
คนใดคนหนึ่งโทรศัพท์ หมายเลข 1669 ซึ่งสามารถเรียกรถพยาบาลได้ทุก
จังหวัด หรืออาจเรียกรถพยาบาลหรือทีมงานของโรงพยาบาลที่เคยใช้อยู่
ประจำก็ได้

รูปที่ 2 โทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือ หมายเลข 1669


14
หมายเหตุ
1. ผู้ที่ทำหน้าที่โทรศัพท์เรียกรถพยาบาลต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน
ดังนี้ เหตุเกิดที่ไหน (ชื่อบริษัท หมู่บ้าน ถนน ซอย ใกล้กับสถานที่
สำคัญใด) หมายเลขโทรศัพท์ที่กำลังใช้พูดอยู่ เกิดอะไรขึ้น (อุบัติเหตุ
รถยนต์ หัวใจวาย จมน้ำ) มีคนต้องการความช่วยเหลือกี่คน เช่น คน
จมน้ำ 3 คน หรือ คนถูกไฟฟ้าชอร์ต 2 คน สภาพของผู้หมดสติเป็น
อย่างไรบ้าง มีการให้ความช่วยเหลือ อะไรอยู่บ้าง มีเครื่องช็อกไฟฟ้า
หัวใจอัตโนมัติ (เครื่อง AED) อยู่หรือไม่ ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น
อย่าวางหูโทรศัพท์ ให้แจ้งเบอร์โทรกลับและทบทวนให้ถูกต้อง จึง
ค่อยวางหูโทรศัพท์ หรือถ้าใช้มือถือ ให้เปิดลำโพงเสียง แล้ววางไว้
ข้างตัวเพื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่
2. ถ้าผู้หมดสติเป็นผู้ใหญ่ ให้ โทรศัพท์เรียกความช่วยเหลือทันทีก่อน
ลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต (Phone first) เพราะผู้ใหญ่ที่หมดสติมักเกิด
จากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว (VF, ventricular fibrillation) ซึ่งมีโอกาส
รอดชีวิตมากที่สุดหากได้รับการช็อกไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวิตขั้นสูง
โดยเร็ว (ภายใน 3-5 นาที)
3. ถ้าผู้หมดสติเป็นเด็ก หากท่านอยู่ในเหตุการณ์เพียงคนเดียว ให้ลงมือ
ช่วยชีวิตก่อนแล้วค่อยไปโทรศัพท์ภายหลัง (CPR first) เพราะสาเหตุ
การหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดินลมหายใจถูกอุดกั้น ซึ่งแก้ได้
โดยการลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อน โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง และ
การช่วยหายใจ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที (5 รอบ) แล้วจึงละจากผู้ป่วย
ไปโทรศัพท์ ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นกรณีที่รู้แน่ชัดอยู่ก่อน
แล้วว่าเด็กผู้หมดสติเป็นโรคหัวใจหรือมีผู้ช่วยเหลือ มากว่า 1 คน
ควรรีบโทรศัพท์ก่อนเพราะผู้หมดสติจะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า หาก
ได้รับการช็อกไฟฟ้าโดยเร็ว
15
4. การติดต่อขอความช่วยเหลือ ควรมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ เช่น
เบอร์โรงพยาบาล เบอร์สถานีตำรวจ และเบอร์ที่จำเป็นไว้ข้างๆ โทรศัพท์
มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงควร
โทรขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อย หายใจ
ไม่ออก แขนขา อ่อนแรง ซึ่งท่านไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรในกรณี
ฉุกเฉินนั้น ควรขอความช่วยเหลือทันที

จัดท่าให้พร้อมสำหรับการช่วยชีวิต
จัดท่าให้ผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสอง
ข้างเหยียดอยู่ข้างลำตัว

รูปที่ 3 จัดท่าให้ผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง
หมายเหตุ
กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือสงสัยการบาดเจ็บที่คอและหลัง การจัดท่าต้อง
ระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และลำตัวตรึงเป็นแนวเดียวกัน
16
ไม่บิดคอไปมา มิฉะนั้นผู้หมดสติอาจกลายเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลัง
ที่หักอยู่แล้วจะไปกดทับไขสันหลัง

4


หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
4.1 กรณีผู้ใหญ่ ถ้าผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของ
ร่างกายให้ถือว่า หัวใจหยุดเต้น ไม่มีสัญญาณชีพ ต้องช่วยกดหน้าอกทันที
ให้หาตำแหน่งการวางมือที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อกดหน้าอก โดยใช้
ส้นมือข้างหนึ่งวางบนบริเวณครึ่งล่างกระดูกหน้าอก แล้วเอามืออีกข้างหนึ่ง
วางทาบหรือประสานไปบนมือแรก

รูปที่ 4 การวางมือเพื่อกดหน้าอก

17

รูปที่ 5 การเตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก
4.2 กรณีเด็ก (ยังไม่เป็นวัยรุ่น) วางส้นมือของมือหนึ่งไว้บนกระดูก
หน้าอก ตรงกลางครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ใช้มือเดียวหรือใช้สองมือ

ขึ้นอยู่กับรูปร่างเด็ก ตัวเล็กหรือตัวโต) ถ้าใช้สองมือให้เอาอีกมือหนึ่งไปวาง


ทาบหรือประสานกับมือแรก หรือใช้อีกมือหนึ่งดันหน้าผากเพื่อเปิดทางเดิน
ลมหายใจ

รูปที่ 6 การกดหน้าอกโดยใช้มือข้างเดียว
18
4.3 กรณีทารก (อายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี) กดหน้าอกด้วยนิ้วมือสองนิ้ว
ที่กึ่งกลางหน้าอกเด็ก ระดับใต้ราวนมเล็กน้อย โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง หรือ
ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดหน้าอก

รูปที่ 7 การกดหน้าอกในทารก

กดหน้าอก 30 ครั้ง
การกดหน้าอกเป็นการทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตคงอยู่ได้แม้หัวใจจะ
หยุดเต้น สามารถทำได้โดย กดหน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อ
กันไป 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกดอย่างน้อย 100-120 ครั้งต่อนาที โดย
นับ “หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และ
เก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ ....... สิบเก้า ยี่สิบ ยีบเอ็ด (ยี่สิบ
เอ็ด) ยีบสอง (ยี่สิบสอง) ยีบสาม ........ ยีบเก้า สามสิบ”
โดยให้ฝึกนับและจับเวลาจาก หนึ่งและสองและสาม...ไปจนถึงสามสิบ
จะใช้เวลาอยู่ ในช่วง 15-18 วินาที จึงจะได้ความเร็วในการกดอย่างน้อย

100-120 ครั้งต่อนาที (โดยที่ความเร็ว 100 ครั้ง ต่อ 1 นาที หรือ 60 วินาที,


10 ครั้ง ต่อ 6 วินาที, 30 ครั้ง ต่อ 18 วินาที)
19
เทคนิคในการกดหน้าอก
1. วางมือลงบนตำแหน่งที่ถูกต้อง ระวังอย่ากดลงบนกระดูกซี่โครง
เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหัก
2. แขนเหยียดตรงอย่างอแขน โน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ
โดยทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก
3. กรณีผู้ใหญ่ กดหน้าอกให้ยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้วหรือ 5 ซม.
ไม่เกิน 2.4 นิ้วหรือ 6 ซ.ม.
4. กรณีเด็ก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของ
ทรวงอก หรือประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.)
5. กรณีทารก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของ
ทรวงอก หรือประมาณ 1.5 นิ้ว ( 4 ซม.)
6. ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด เพื่อให้หน้าอกคืนตัว
กลับมาสู่ตำแหน่งปกติก่อนแล้วจึงทำการกดครั้งต่อไป อย่ากดทิ้ง
น้ำหนักไว้ เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ ห้ามคลายจน
มือหลุดจากหน้าอก เพราะจะทำให้ตำแหน่งของมือเปลี่ยนไป


เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดิน
หายใจ การเปิดทางเดินหายใจทำโดยวิธีดันหน้าผากและยกคาง (head tilt-
chin lift) โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผากลง นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือ
อีกข้างหนึ่งยกคางขึ้น ใช้นิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่างโดยไม่กดเนื้อ
อ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้น
20
รูปที่ 8 วิธีดันหน้าผากและยกคาง

7


ช่วยหายใจ
เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้ ให้เป่าลมเข้า
ปอด 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ใช้เวลา 1 วินาที และต้องเห็นผนังทรวงอกขยับขึ้น

วิธีช่วยหายใจแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและยกคาง
ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบจมูกผู้หมด
สติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าตามปกติแล้วครอบปากผู้ช่วยเหลือเข้า
กับปากของผู้ หมดสติ ตาชำเลืองมองหน้าอกผู้ ห มดสติ พร้ อ มกั บเป่ าลม
เข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติขยับขึ้น เป่านาน 1 วินาที แล้วถอนปากออก
ให้ลมหายใจของผู้หมดสติผ่านกลับออกมาทางปาก
21
รูปที่ 9 วิธีช่วยหายใจแบบปากต่อปาก

ถ้าเป่าลมเข้าปอดครั้งแรกแล้ว ทรวงอกไม่ขยับขึ้น (ลมไม่เข้าปอด)


ให้จัดท่าโดยทำการดันหน้าผาก ยกคางขึ้นใหม่ (พยายามเปิดทางเดินหายใจ
ให้โล่งที่สุด) ก่อนจะทำการเป่าลมเข้าปอดครั้งต่อไป
การช่วยชีวิตทารก มีประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากการช่วยชีวิตใน
ผู้ใหญ่บางประการ คือ ในกรณีที่ปากเด็กเล็กมาก การเป่าปากควรอ้าปากให้
ครอบทั้งปากและจมูกของทารก

รูปที่ 10 การเป่าปากควรควรอ้าปากครอบทั้งปากและจมูกของทารก

22
หมายเหตุ
การเป่าลมเข้าปอด ถ้าทำบ่อยเกินไป หรือใช้เวลานานเกินไป จะเป็น
ผลเสียต่อการไหลเวียนโลหิตและทำให้อัตราการรอดชีวิตลดลง
หลังการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง ให้เริ่มกดหน้าอกต่อเนื่อง 30 ครั้ง
ทันที สลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง (หยุดกดหน้าอกเพื่อช่วยหายใจ 2
ครั้ง ต้องไม่เกิน 10 วินาที) ให้ทำเช่นนี้ จนกระทั่ง
1. ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หายใจ หรือไอ
2. มีคนนำเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(เออีดี) มาถึง
3. มีบุคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อ

กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง


เมื่อผ่านขั้นตอนการช่วยเหลือมาตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 8 แล้ว ผู้หมดสติ
จะได้รับ การเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 30 ครั้ง (นับเป็น 1
รอบ) ให้ทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ไอ หรือหายใจ หรือ
เครื่องเออีดี มาถึง หรือมีบุคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อไป
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตมากกว่า 1 คน สลับหน้าที่ของผู้ที่กด
หน้าอกกับผู้ที่ช่วยหายใจ ทุก 2 นาที (5 รอบ)
หมายเหตุ
ถ้าผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้

ให้ทำการช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกอย่างเดียว

23
การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
(เออีดี : AED)


การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติหรือเครื่องเออีดี เป็นอีกขั้นตอน
ที่มีความสำคัญมากในห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต เครื่องเออีดี เป็นอุปกรณ์ที่
สามารถ “วิเคราะห์” คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ ถ้าเครื่อง
ตรวจพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการ
ช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกเราให้ช็อกไฟฟ้าหัวใจแก่ผู้ป่วย การช็อกไฟฟ้า
หัวใจให้กับผู้ป่วยเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จสูงมาก
จะทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นกลับมาสู่ภาวะปกติได้ และหัวใจจะ
สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ แต่ถ้าเครื่องเออีดีตรวจพบ
ว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ไม่ต้องรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ
เครื่องก็จะบอกว่าไม่ต้องช็อก และบอกให้ประเมินผู้ป่วย ซึ่งเราจะต้องประเมิน
และพิจารณาต่อเองว่าจะต้องทำการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการกดหน้าอก
ให้แก่ผู้ป่วยหรือไม่

ความสำคัญของเครื่อง (เออีดี : AED) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


การที่หัวใจบีบตัว หรือที่เรียกว่าหัวใจเต้น เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะ
ต่างๆ ในร่างกายได้นั้น เป็นเพราะมีเนื้อหัวใจชนิดพิเศษ ที่สามารถปล่อย
กระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ ซึ่งเราสามารถ
บันทึกเป็นรูปที่เรียกว่าคลื่นหัวใจหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังภาพ

24
ภาพที่แสดงภาวะหัวเต้นเป็นปกติ

ภาพที่แสดงภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation)

ภาพที่แสดงภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยสิ้นเชิง asystole
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน นั้น ก่อนที่หัวใจจะหยุดเต้น
อย่างสิ้นเชิง เราสามารถใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจ ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไป
ทำการช็อกหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดลงทันที่ เพื่อให้เนื้อหัวใจชนิดพิเศษปล่อย
กระแสไฟฟ้าที่ปกติไปกระตุ้นหัวใจให้กลับมาบีบตัวตามปกติอีกครั้งหนึ่ง
การใช้งานเครื่องเออีดี แม้จะมีเครื่องเออีดีหลายรุ่นจากหลายบริษัท
แต่หลักการใช้งานจะมีอยู่สี่ขั้นตอนเหมือนกันดังนี้
1. เปิดเครื่อง ในเครื่องเออีดีบางรุ่นท่านต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง ใน
ขณะที่เครื่องบางรุ่นจะทำงานทันทีที่เปิดฝาครอบออก เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะ
มีเสียงบอกให้รู้ว่าท่านต้องทำอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
25
รูปที่ 11 เครื่องเออีดี

2. ติดแผ่นนำไฟฟ้า โดยติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่นเข้ากับหน้าอก


ของผู้ป่วยให้เรียบร้อย (ในกรณีจำเป็นท่านสามารถใช้กรรไกรตัดเสื้อของผู้ป่วย
ออกก็ได้ กรรไกรนี้ จะมีเตรียมไว้ให้ในชุดช่วยชีวิต (กระเป๋าเออีดี) อยู่แล้ว)
ต้องให้แน่ ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ
แผ่นนำไฟฟ้าของเครื่องเออีดีต้องติดแนบสนิทกับหน้าอกจริงๆ ถ้าจำเป็น
ท่านสามารถใช้ผ้าขนหนูซึ่งจะมีเตรียมไว้ให้ในชุดช่วยชีวิต เช็ดหน้าอกของ

ผู้ป่วยให้แห้งเสียก่อน การติดแผ่นนำไฟฟ้าของเครื่องเออีดีนั้น เริ่มด้วยการ


ลอกแผ่นพลาสติกด้านหลังออก ตำแหน่งติดแผ่นนำไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้
(เครื่องบางรุ่นมีรูปแสดงที่ตัวแผ่นนำไฟฟ้า บางรุ่นก็มีรูปแสดงที่ตัวเครื่อง)
ต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว แผ่นหนึ่งติดไว้ที่
ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลำตัว
ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้า จากแผ่นนำไฟฟ้าต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย
26
รูปที่ 12 ติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่น

3. ให้เครื่องเออีดีวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูก
ตัวผู้ป่วยโดยเด็ดขาด ให้ท่านร้องเตือนดังๆว่า “เครื่องกำลังวิเคราะห์คลื่น
ไฟฟ้าหัวใจ ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย” เครื่องเออีดีส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่น
ไฟฟ้ า หั ว ใจทั น ที ที่ ติ ด แผ่ น นำไฟฟ้ า เสร็ จ เครื่ อ งบางรุ่ น ต้ อ งให้ ก ดปุ่ ม “
ANALYZE” ก่อน
4. ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย ถ้าเครื่องเออีดีพบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็น
ชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้เรากดปุ่ม
“SHOCK” และก่อนที่เราจะกดปุ่ม “SHOCK” ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัส
ถูกตัวของผู้ป่วย ร้องบอกดังๆ ว่า “ฉันถอย คุณถอย และทุกคนถอย” ให้
มองซ้ำอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้าย ก่อนกดปุ่ม “SHOCK”
เมื่อทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจแล้ว ให้เริ่มทำการช่วยชีวิต โดยการกด
หน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง ต่อเนื่องไปในทันที
27
รูปที่ 13 ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย

หากเครื่องบอกว่า “No shock is needed” หรือ “start CPR” ให้เริ่ม


ทำการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อทันที โดยไม่ต้องปิดเครื่องเออีดี

28
รูปที่ 14 ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานทันที

โดยทำการกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง จนกว่าเครื่อง


เออีดีจะสั่งวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง แล้วกลับไปทำข้อ 3, 4

29
สรุปขั้นตอนสำคัญ 4 ประการของการใช้เครื่องเออีดี
1. เปิดเครื่อง
2. ติดแผ่นนำไฟฟ้าที่หน้าอกของผู้ป่วย
3. ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยระหว่างเครื่องเออีดีกำลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้า
หัวใจ
4. ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย จากนั้นกดปุ่ม “SHOCK” ตามที่เครื่องเออีดี
บอก
สำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 วินาที โดยระหว่าง
ขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้กดหน้าอกตามปกติได้
หลั ง จากเครื่ อ งเออี ดี บอกว่ า ปลอดภั ย ที่ จ ะสั ม ผั ส ผู้ ป่ ว ยได้ แ ล้ ว ให้
ทำการกดหน้าอกต่อทันที หรือหากเครื่องเออีดีมีปัญหาในการทำงาน ให้
ทำการกดหน้าอกต่อไปก่อนจนกว่าเครื่องจะพร้อมใช้งาน

30
ตารางที่ 1 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ เด็ก และ ทารก สำหรับประชาชน
องค์ประกอบ ผู้ใหญ่ เด็ก ทารก
(อายุ 1 ปีถึงวัยรุ่น) (อายุ 1 เดือน - 1 ปี)
ความปลอดภัยของ สภาพแวดล้อมต้องปลอดภัยต่อผู้ช่วยเหลือและผู้ป่วย
สถานที่เกิดเหตุ
การรับรู้ถึงภาวะหัวใจ ปลุกผู้ป่วยดูความรู้สึกตัว เมื่อพบว่าหมดสติ ไม่หายใจ
หยุดเต้น หรือมีเพียงการหายใจเฮือก ไม่มีการตอบสนอง ภายใน 10 วินาที
ให้ขอความช่วยเหลือ
การขอความช่วยเหลือ อยู่คนเดียวและไม่มีโทรศัพท์ มีผู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่หมดสติ (Witness)
จากหน่วยช่วยชีวิตฉุกเฉิน มือถือ ให้ละทิ้งผู้ป่วย เพื่อ ปฏิบัติตามขั้นตอนสำหรับผู้ใหญ่ด้านซ้าย
EMS เรียกขอความช่วยเหลือจาก
หน่วย EMS และนำAED มา
ก่อนทำ CPR
แต่ถ้ามีบุคคลอื่นด้วย ให้เริ่ม ไม่มีคนเห็นว่าหมดสติไปตั้งแต่เมื่อใด (Unwitness)
ทำ CPR ทันที จนเมื่อ AED ทำการ CPR ก่อน 2 นาที แล้วค่อยละทิ้งผู้ป่วย
พร้อมใช้ ให้ทำการช็อคทันที ไปขอความช่วยเหลือและนำเครื่อง AED มาใช้ทันที
อัตราการกดหน้าอกต่อการ 30 : 2
ช่วยหายใจที่ปราศจาก
ท่อช่วยหายใจ
อัตราการกดหน้าอก กดหน้าอกต่อเนื่องด้วยอัตรา 100 - 120 ครั้งต่อนาที
ต่อการช่วยหายใจ ช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทุก 6 วินาที (10 ครั้ง/นาที)
เมื่อใส่ท่อช่วยหายใจ
อัตราการกดหน้าอก 100 - 120 ครั้งต่อนาที
ความลึกในการกด อย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซ.ม.) อย่างน้อยหนึ่งในสาม อย่างน้อยหนึ่งในสาม
ไม่ควรเกิน 2.4 นิ้ว ของเส้นผ่านศูนย์กลาง ของเส้นผ่านศูนย์กลาง
(6 ซ.ม.) จากด้านหน้าไปหลังของ จากด้านหน้าไปหลังของ
หน้าอกประมาณ 2 นิ้ว หน้าอกประมาณ 1.5 นิ้ว
(5 ซ.ม.) (4 ซ.ม.)
ตำแหน่งการวางมือ วางมือทั้งสองข้าง โดยให้ วางมือทั้งสองข้างที่กลาง กด 2 นิ้วลงตรงกลาง
ส้นมืออยู่ที่กลางหน้าอก ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก หน้าอก ให้ต่ำกว่าราวนม
บริเวณครึ่งล่างของกระดูก (หากเด็กตัวเล็กมากใช้เพียง เล็กน้อย
หน้าอก (ดูข้อ 4.1 หน้า 17) มือเดียว) (ดูข้อ 4.2 หน้า 18) (ดูข้อ 4.3 หน้า 19)
การขยายกลับหน้าอก ปล่อยให้หน้าอกขยายกลับสู่ตำแหน่งเดิมหลังจากการกดแต่ละครั้ง
ห้ามพักมือบนหน้าอกหลังการกดแต่ละครั้ง
การหยุดกดให้น้อยที่สุด อย่าหยุดกดหน้าอกนานกว่า 10 วินาที
คำย่อ : AED, automated external defibrillator; CPR, Cardiopulmonary resuscitation,
EMS, emergency medical service 31
การเอาสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้น
ออกจากทางเดินหายใจ


จะช่วยเหลือในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจชนิดรุนแรง
เท่านั้น โดยจะมีอาการดังนี้
• หายใจไม่ได้ หายใจลำบาก
• ไอไม่ได้
• พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้
• หน้าเริ่มซีด เขียว
• มักใช้มือกุมลำคอตัวเอง
ก่อนเริ่มทำการช่วยเหลือให้ถามผู้ป่วย เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยสำลักใช่
หรือไม่

วิธีที่ 1 การรัดกระตุกที่ท้องเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ กรณีผู้ป่วยยังไม่หมดสติ


ให้ผู้ทำการช่วยเหลือเข้าไปยืนข้างหลังผู้ป่วยที่กำลังยืนอยู่ มือข้างที่
ถนัด กำหมัดไว้ตรงหน้าท้องระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบรอบกำปั้น
หรือใช้วิธีประสานมือสองข้างเข้าด้วยกันโดยหันนิ้วโป้งเข้าหาตัวผู้ป่วย แล้ว
รัดกระตุกเข้าหาตัวผู้ทำการช่วยเหลืออย่างแรงหลายๆ ครั้งจนพูดออกมาได้
หรือจนกระทั่งเห็นสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาจากปาก

32
รูปที่ 15 การรัดกระตุกที่ท้องเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ กรณีผู้ป่วยยังไม่หมดสติ

33
วิธีที่ 2 การรัดกระตุกที่หน้าอก
เป็นเทคนิคเดียวกับการรัดกระตุกหรือกดกระแทกที่ท้องแต่เลื่อนขึ้นมา
ทำที่หน้าอกโดยวางหมัดไว้ที่กึ่งกลางกระดูกหน้าอกแทน ใช้ในคนอ้วนมากๆ
ที่ท้องมีขนาดใหญ่โอบไม่รอบ หรือใช้ในคนตั้งครรภ์

รูปที่ 16 การรัดกระตุกที่หน้าอก

วิธีที่ 3 การตบหลัง (back blow) ในเด็กทารก
การเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจในเด็กทารก ให้จับเด็ก
นอนคว่ำบนแขนผู้ช่วยเหลือให้ศีรษะต่ำ และตบหลังจนสิ่งแปลกปลอมหลุด
ออกจากปากหรือจนครบ 5 ครั้ง ถ้าไม่สำเร็จให้พลิกเด็กหงายหน้าขึ้น แล้ว
ใช้นิ้วสองนิ้วกดกระแทกบริเวณกึ่งกลางกระดูกหน้าอกจนสำเร็จหรือจนครบ
5 ครั้ง แล้วตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในปาก

34
รูปที่ 17 การตบหลังและกดกระแทกหน้าอก
ในทุกกรณี ไม่ควรล้วงปากหรือคอ หากมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม
และหากพบว่าหมดสติแล้ว ให้ทำการช่วยเหลือด้วยการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
(Basic Life Support) โดยกดหน้าอกและช่วยหายใจทันที

35
บรรณานุกรม


1. สันต์ ใจยอดศิลป์. คู่มือการช่วยชีวิตชั้นพื้นฐาน ฉบับเรียบเรียงครั้งที่
2: คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจ แห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ , บริ ษั ท พิ ม พ์ ส วย จำกั ด ,
กรุงเทพมหานคร, 2544
2. โสภณ กฤษณะรังสรรค์. คู่มือการช่วยชีวิตชั้นพื้นฐาน ฉบับเรียบเรียง
ครั้งที่ 4: คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, บริษัท พิมพ์สวย จำกัด,
กรุงเทพมหานคร, 2554
3. โสภณ กฤษณะรังสรรค์. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อก
ไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน ฉบับเรียบเรียง
ครั้งที่ 5: คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, บริษัท ปัญญมิตร การพิมพ์
จำกัด, กรุงเทพมหานคร, 2558
4. Robert W. Neumar, Michael Shuster, Clifton W. Callaway, Lana
M. Gent, Dianne L. Atkins, Farhan Bhanji, Steven C. Brooks,
Allan R. de Caen, Michael W. Donnino, Jose Maria E. errer,
Monica E. Kleinman, Steven L. Kronick, Eric J. Lavonas, Mark
S. Link, Mary E. ancini, Laurie J. Morrison, Robert E. O’Connor,
Ricardo A. Samson, Steven M. chexnayder, Eunice M.
Singletary, Elizabeth H. Sinz, Andrew H. Travers, Myra H.
36
Wyckoff, and Mary Fran Hazinski Part 1: Executive Summary:
2015 American Heart Association Guidelines Update for
Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular
Care Circulation. 2015;132:S315-S367
5. Monica E. Kleinman, Erin E. Brennan, Zachary D. Goldberger,
Robert A. Swor, Mark Terry, Bentley J. Bobrow, RaÜl J.
Gazmuri, Andrew H. Travers, and Thomas Rea Part 5: Adult
Basic Life Support and Cardiopulmonary Resuscitation Quality:
2015 American Heart Association Guidelines Update for
Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular
Care Circulation. 2015;132:S414-S435
6. Hazinski MF, Travers AH and Eustice SK, the AHA BLS Project
Team. Basic Life Support:Provider manual. American Heart
Association. 2016.

37
กิตติกรรมประกาศ


คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอขอบคุณ คณาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนในการจัดทำหนังสือ

“คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ” โดยเฉพาะในการ

จัดพิมพ์ ครั้งที่ 6 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนการพิมพ์เพื่อเผยแพร่ความรู้


ออกสู่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีความรู้
ในการช่วยชีวิต CPR เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจิตอาสา “เราทำความดีด้วยหัวใจ”
ขอขอบคุ ณ คุ ณ กานดา ตั น ตสิ ริ น ทร์ คุ ณ ทั ศ นชั ย พั น ธุ์ ม ณี คุ ณ คมกริ ช

ทาลุมพุก คุณอาภากร ฟักทอง ในการจัดทำรูปเล่ม ภาพประกอบ และการตรวจพิสูจน์


อักษร รวมทั้ง นพ.มรุต จิรเศรษสิริ ในความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข

และคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการร่วมกันเผยแพร่ความรู้การช่วยชีวิต CPR สู่ประชาชน


38
39
40
บรรณาธิการ :
1. พล.ต.ต.นพ.โสภณ กฤษณะรังสรรค์
2. อ.นพ.ปริญญา คุณาวุฒิ
3. อ.นพ.สรายุทธ วิบูลชุติกุล
4. ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์
5. พ.ต.อ.นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล
6. นางอมรรัตน์ ศุภมาศ
รายชื่อคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ปี 2558 - 2560
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
1. พล.ต.ต.นพ.โสภณ กฤษณะรังสรรค์ ที่ปรึกษา
2. ศ.พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์ ที่ปรึกษา
3. ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา ที่ปรึกษา
4. ผศ.นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา
5. อ.นพ.ปริญญา คุณาวุฒิ ประธาน
6. พ.ต.อ.นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล รองประธานฝ่ายบริหาร
7. ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ รองประธานฝ่ายกุมาร
8. อ.นพ.สรายุทธ วิบูลชุติกุล เลขานุการ
9. ผศ.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล ผู้ช่วยเลขานุการ
10. อ.พญ,พลิตา เหลืองชูเกียรติ เหรัญญิก
11. ผศ.พญ.รัชนี แซ่ลี้ นายทะเบียน
12. น.อ.หญิง พญ.จริยา สันตติอนันต์ ร.น. ปฏิคม
13. อ.พญ.นลินาสน์ ขุนคล้าย วิชาการ
14. อ.นพ.ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ ประชาสัมพันธ์
15. อ.นพ.ภูมิพร กตัญญูวงศ์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
16. รศ.พญ.อรลักษณ์ รอดอนันต์ กรรมการ
17. รศ.นพ.พลพันธ์ บุญมาก กรรมการ
18. ผศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส กรรมการ
19. อ.นพ.อุเทน ปานดี กรรมการ
20. อ.นพ.ฉัตรกนก ทุมวิภาต กรรมการ
Operator:a
คณะกรรมการมาตรฐานการช่
Content: วยชีวิต
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 5
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 0-2718-0060-4 โทรสาร 0-2871-0065
https://thaicpr.org

You might also like