Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

บทที่ 1

บทนํา

ทิศทางการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
( พ.ศ. 2550 –2554 ) กําหนดขึ้นบนพื้นฐานการเสริ มสร้างทุนของประเทศ ทั้งทุนทางสังคม
ทุนเศรษฐกิจและทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง โดยยึด“ คนเป็ น
ศูนย์ กลางการพัฒนา ” และอัญเชิ ญ “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” มาเป็ นแนวทางปฏิบตั ิ เพือ่ มุ่งสู่
“ สั งคมอยู่เย็นเป็ นสุ ขร่ วมกัน ” ดังนั้นยุทธศาสตร์ การพัฒนาคนซึ่งสังคมไทยได้ให้ความสําคัญใน
ลําดับสู งกับการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่ สังคมภูมิปัญญาและการเรี ยนรู ้ เนื่องจาก “ คน ”
นับเป็ นทั้งเป้ าหมายสุ ดท้ายที่จะได้รับผลประโยชน์ และผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนา ในขณะ
เดียวกันก็เป็ นผูข้ บั เคลื่อนการพัฒนาเพื่อไปสู่ เป้ าประสงค์ที่ตอ้ งการ จึงจําเป็ นต้องพัฒนาคุณภาพคน
ในทุกมิติ อย่างสมดุลทั้งจิตใจ ร่ างกาย ความรู ้ ทักษะและความสามารถ เพื่อให้เพียบพร้อมทั้งด้าน
“ คุณธรรม” และ “ ความรู้ ” ซึ่ งจะนําไปสู่ การคิดวิเคราะห์อย่าง “ มีเหตุผล ” รอบคอบและระมัด
ระวังด้วยจิตสํานึกในศีลธรรมและ “ คุณธรรม ” ทําให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถ
ตัดสิ นใจโดยใช้หลัก “ ความพอประมาณ” ในการดําเนิ นชีวติ อย่างมีจริ ยธรรม ซื่ อสัตย์สุจริ ต
อดทนขยันหมัน่ เพียร อันจะเป็ น “ ภูมิคุ้มกันในตัวทีด่ ี ” ให้คนพร้อมเผชิ ญต่อการเปลี่ยนแปลงที่
จะเกิดขึ้น ดํารงชีวิตอย่างมีศกั ดิ์ศรี และมีความมัน่ คงทางเศรษฐกิจและสังคม(แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 , 2551) จากข้อความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าความรู ้ เป็ นทุนทาง
สังคมและเป็ นเครื่ องมือที่สาํ คัญยิง่ ที่จะนํามาใช้ในการพัฒนาคน องค์กรหรื อหน่วยงาน ชุมชน
ท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ ในมิติต่าง ๆ

กลุ่มคําทีเ่ กีย่ วข้ องสั มพันธ์ กบั ความรู้

เมื่อพิจารณาคําว่า “ ความรู้ ” พบว่ามีกลุ่มคําที่เกี่ ยวข้องสัมพันธ์กบั ความรู ้อยู่หลายคํา


ด้วยกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิ ดความเข้าใจที่ ชัดเจนยิ่งขึ้ น จึ งควรเข้า ใจถึ งคําที่ เกี่ ย วข้องสัมพันธ์ก ัน
ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู ้ และภูมิปัญญา
ข้ อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริ งต่าง ๆ ที่ใช้ในชี วิตประจําวัน อาจเป็ นข้อมูลที่เกิดจาก
การปฏิบตั ิการ หรื อการสังเกตการณ์ การกระทํา หรื อลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ คน สัตว์ สิ่ งของ
มีลกั ษณะเป็ นข้อมูลดิบที่ยงั ไม่ผา่ นการกลัน่ กรองหรื อประมวลผลไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้
ทันที มักปรากฏในรู ปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รู ปภาพ เป็ นต้น
2

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผา่ นการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ และ


ถูกจัดให้อยูใ่ นรู ปแบบที่มีความหมายและมีคุณค่าสําหรับผูใ้ ช้ อาจจัดเก็บในฐานข้อมูลหรื อในรู ป
ของสื่ อต่าง ๆ เป็ นสารสนเทศสําหรับผูร้ ับ เพื่อให้ผูร้ ับนําไปใช้ประโยชน์ในการปฏิ บตั ิงานและ
การตัดสิ นใจ
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง มวลของประสบการณ์ที่เกิดจากกระบวนการเรี ยนรู ้
การปฏิบตั ิงาน มีการนําประสบการณ์ วิจารณญาณ ความคิด ค่านิยม และปั ญญาของมนุษย์มา
วิเคราะห์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทํางาน การตัดสิ นใจ และการแก้ปัญหา
ความสัมพันธ์ของข้อมูล สารสนเทศ และความรู ้ สามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดงั รู ปที่
1.1

รู ปที่ 1.1 แสดงความสั มพันธ์ ของข้ อมูล สารสนเทศ และความรู้


ทีม่ า (สุ ทธิศักดิ์ อินทวดี, 2548, หน้ า 38)

จากรู ปที่ 1.1 แสดงความสั ม พันธ์ ข องข้อมู ล สารสนเทศ และความรู ้ กล่า วคื อ ใน
ขั้นตอนแรกจะทําการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานก่อน แล้วนําประมวลผลตามชนิ ดของข้อมูล
จากนั้นนํามาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตอ้ งการจะได้ผลลัพธ์เป็ นสารสนเทศเพื่อไปใช้ประโยชน์
จากหลาย ๆ ข้อมู ลและสารสนเทศสามารถนํามาพิจารณาหรื อวิจยั โดยอาศัยประสบการณ์ หรื อ
ความรอบรู ้นาํ มาสังเคราะห์ออกมาเป็ นองค์ความรู ้
3

ความแตกต่ างของข้ อมูล สารสนเทศ และความรู้

จากคํานิยาม ข้อมูล สารสนเทศ และความรู ้ ทําให้รู้ถึงความแตกต่าง และความสัมพันธ์


เกี่ยวเนื่องเป็ นฐานของกันและกัน ดังรู ปที่ 1.2

รูปที่ 1.2 ความแตกต่ างของข้ อมูล สารสนเทศ และความรู้


ทีม่ า (บดินทร์ วิจารณ์, 2547, หน้ า 115)

ความแตกต่างของข้อมูล สารสนเทศ และความรู ้ สามารถสรุ ปได้ดงั นี้

ข้ อมูลดิบ สารสนเทศ องค์ ความรู้


• จัดการง่าย • ข้อมูลที่มีจุดประสงค์ • ความรู ้ทรงคุณค่าหลาย
• ง่ายต่อการหาและจัดเก็บ และการนําไปใช้ ประการ ไม่ได้ถูกจัดเก็บ
• ถ่ายทอดง่าย • มีการตีความหมายที่ตรงกัน ไว้อย่างเป็ นระบบ
• พกพาสะดวก • สามารถจัดเก็บในรู ปแบบ • มักเป็ นความรู ้ที่ติดตัว
โครงสร้าง บุคคลผูร้ ู ้
• เข้าใจง่ายมีคุณค่า • ยากต่อการถ่ายทอด
• ง่ายต่อการนําไปใช้ • ไม่มีรูปแบบที่ชดั เจน
• เกิดจากประสบการณ์หรื อ
มันสมอง

ตารางที่ 1.1 สรุ ปความแตกต่ างของข้ อมูล สารสนเทศ และความรู้


ทีม่ า (สุ ทธิศักดิ์ อินทวจี, 2548, หน้ า 37)
4

นิยามของความรู้

ความรู ้ เป็ นคําที่มีความหมายกว้างและเป็ นนามธรรม ได้มีผูใ้ ห้นิยามความรู ้ไว้แตกต่าง


กันออกไป ดังนั้นนิยามของความรู ้ที่รวบรวมไว้ มีดงั นี้คือ
เทอร์ แบน(Turban) และคนอื่น ๆ . (2001) อธิ บายไว้วา่ ความรู ้ประกอบด้วยข้อมูล หรื อ
สารสนเทศที่ได้รับการจัดระบบและประมวลผลเพื่อนําไปสู่ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และสั่ง
สมการเรี ยนรู ้ และความเชี่ยวชาญ ซึ่ งสามารถนําไปใช้สาํ หรับการแก้ปัญหาหรื อการดําเนินงานได้
เพิร์ลสัน (Pearlson) (2001) ได้ให้ความหมายของความรู ้ไว้วา่ ความรู ้ คือ สารสนเทศที่
มีคุณค่ามากที่สุด เป็ นส่ วนผสมของสารสนเทศที่มีสาระ ค่านิยม ประสบการณ์ และกฎเกณฑ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 ) ได้อธิ บายความหมายของความรู ้
ไว้ว่ า เป็ นสิ่ ง ที่ ส่ั ง สมมาจากการศึ ก ษาเล่ า เรี ยน การค้น คว้า หรื อประสบการณ์ รวมทั้ง
ความสามารถเชิ ง ทัก ษะและการปฏิ บ ัติ หรื อ ความเข้า ใจ หรื อสารสนเทศที่ ไ ด้ รั บ มาจาก
ประสบการณ์ หรื อสิ่ งที่ได้รับจากการได้ยนิ การฟัง การคิด การปฏิบตั ิ
บูรชัย ศิริมหาสาคร (2549 ) อธิ บายว่า ความรู ้ คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิ ด
เปรี ยบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู ้อื่น ๆ จนเกิดเป็ นความเข้าใจ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในเรื่ อง
ใดเรื่ องหนึ่งได้
จริ นทร์ อาสาทรงธรรม (2548 ) อธิ บายความหมายของความรู ้ไว้วา่ เป็ นส่ วนที่บุคคลรับ
ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ผ่านกระบวนการคิด เปรี ยบเทียบ และเชื่ อมโยงกับความรู ้อื่น ๆ จน
เกิดเป็ นความเข้าใจและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้
จีราภรณ์ สุ ธมั มสภา (2548 ) อธิ บายความหมายของความรู ้ไว้วา่ คือ ความรู ้ของมนุ ษย์ที่
เกิ ดจากการศึ กษาและเข้าใจสารสนเทศที่ ตอ้ งการ ทําให้รู้แจ้งในเรื่ องที่ สนใจ ที่ ตอ้ งการ และ
สามารถดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้
ทิ พวรรณ หล่ อสุ วรรณรั ตน์ (2548) ได้สรุ ปความหมายของความรู ้ ไว้ว่า ความรู ้ คื อ
สารสนเทศที่มีคุณค่า ซึ่ งมีการนําประสบการณ์ วิจารณญาณ ความคิด ค่านิ ยม และปั ญญาของ
มนุษย์มาวิเคราะห์ เพื่อนําไปใช้ในการสนับสนุนการทํางานหรื อใช้ในการแก้ปัญหา
พรธิ ด า วิ เ ชี ย รปั ญ ญา (2547) ได้อ ธิ บ ายความหมายของความรู ้ ไ ว้ว่ า ความรู ้ เ ป็ น
กระบวนการของการขัดเกลา เลื อกใช้ และบูรณาการ การใช้สารสนเทศจนเกิดเป็ นความรู ้ ใหม่
(new knowledge) ความรู ้ใหม่เกิดจากการผสมผสานความรู ้และประสบการณ์เดิมผนวกกับความรู ้
ใหม่ที่ได้รับ ความรู ้ดงั กล่าวเป็ นความรู ้ที่อยูภ่ ายในตัวบุคคล เป็ นความรู ้ที่ไม่ปรากฏชัดแจ้ง (tacit
knowledge) หากความรู ้ เหล่านั้นได้ถูกถ่ายทอดออกมาในรู ปของการเขียนเป็ นลายลักษณ์อกั ษร
ความรู ้น้ นั จะกลายเป็ นความรู ้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (explicit knowledge)
5

วิจารณ์ พานิช (2546) ได้อธิ บายความหมายของความรู ้ไว้วา่ ความรู ้ คือ สารสนเทศที่


ถู ก เปลี่ ย นเป็ นความรู ้ โดยคน ผ่า นกระบวนการต่า ง ๆ เช่ น การเปรี ย บเที ย บ การตรวจสอบ
ผลกระทบ การเชื่ อมโยงกับความรู ้ อื่น เป็ นต้น ความรู ้ เกิดขึ้นโดยกระบวนการภายในคนหรื อ
กระบวนการสัมพันธ์ระหว่างคน
จากคํานิ ยามหรื อความหมายของความรู ้ดงั กล่าวข้างต้น สามารถสรุ ปได้วา่ ความรู ้ เป็ น
สิ่ งที่สั่งสมจากการเรี ยนรู ้ การค้นคว้า ประสบการณ์ที่ผา่ นกระบวนการคิด เปรี ยบเทียบ เชื่ อมโยง
ความรู ้อื่น ๆ และผสมผสานกับความรู ้และประสบการณ์เดิมจนเกิดเป็ นความเข้าใจ สามารถนําไป
ประยุกต์ใช้ในการทํางาน หรื อใช้ในการแก้ปัญหาได้

นิยามของความรู้ ในรู ปของปิ รามิด

ฮิเดโอะ ยามาซากิ (Hideo Yamazaki) นักวิชาการชาวญี่ปุ่นได้อธิ บายนิ ยามของความรู ้ใน


รู ปแบบของปิ รามิ ด อาจมีชื่อเรี ยกที่ แตกต่างกันออกไป อาทิ เช่ น ปิ รามิดความรู ้ ระดับชั้นของ
ความรู ้ หรื อโครงสร้างของความรู ้ เป็ นต้น

รู ปที่ 1.3 ปิ รามิดแสดงลําดับขั้นหรื อโครงสร้ างของความรู้


ทีม่ า (บุญดี บุญญากิจ และคณะ, 2547, หน้ า 14)

จากรู ปที่ 1.3 แสดงลําดับขั้นหรื อโครงสร้ างของความรู ้ ด้วยการแปลงข้อมูล(Data)ซึ่ ง


เป็ นข้อ มู ล ดิ บ ที่ ย ัง ไม่ ผ่ า นการประมวลผลให้ เ ป็ นสารสนเทศ(Information)ซึ่ งข้อ มู ล ที่ ผ่ า น
กระบวนการเรี ยบเรี ยง ตีความ วิเคราะห์ และให้ความหมาย เช่น การคํานวณเพื่อหาค่าทางสถิ ติ
เป็ นต้น ส่ วนความรู ้(Knowledge) เกิดจากกระบวนการที่บุคคลรับรู ้ขอ้ มูลข่าวสารสารสนเทศผ่าน
6

กระบวนการคิดและเปรี ยบเที ยบ เชื่ อมโยงกับความรู ้ อื่น ๆ จนเกิดเป็ นความเข้าใจและนําไปใช้


และความรู ้ เป็ นสิ่ งที่ ฝ่ังอยู่ในตัวบุคคลจนเกิ ดเป็ นปั ญญา(Wisdom) คื อองค์ความรู ้ที่ถึงพร้ อมด้วย
การปฏิ บ ตั ิ หรื อความรู ้ ที่ ส ามารถปฏิ บ ตั ิ ไ ด้จริ ง ประสบการณ์ ที่ นาํ มาประยุก ต์ใ ช้ เกิ ดความคิ ด
สร้างสรรค์หรื อนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรื อพัฒนาระบบงาน ดังตัวอย่างในรู ปที่ 1.4

รูปที่ 1.4 แสดงตัวอย่ างการแปลงข้ อมูลเป็ นภูมิปัญญา


ทีม่ า (บูรชั ย ศิริมหาสาคร, 2549, หน้ า 50)

จากรู ปที่ 1.4 แสดงตัว อย่า งจากข้อ มู ล เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ นในช่ ว งเทศกาล
สงกรานต์ แปลงเป็ นสารสนเทศและความรู ้ องค์ความรู ้ทาํ ให้เกิดภูมิปัญญาหรื อปั ญญาปฏิบตั ิเพื่อ
แก้ปัญหาอุบตั ิเหตุดา้ นการจราจร เกิดเป็ นนวัตกรรมที่เรี ยกว่า “มาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร” ดังตาราง
ที่ 1.2
มอเตอร์ไซต์ หมวกกันน็อก เมาไม่ขบั
3ม มีอุปกรณ์ส่วน
ควบครบถ้วน
สวมใส่ทุกครั้ง
รัดคางให้แน่น
ห้ามมีแอลกอฮอล์
เกิน 50 มก.%

2ข คาดเข็มขัดนิรมัย
ทุกครั้งเมื่อขับรถ
พกพา
ใบขับขี่ไปด้วย

1ร ห้ามใช้ความเร็ วเกินกฎหมายกําหนด
ช่วงรณรงค์ ห้ามเกิน 90 กม./ชม.

ตารางที่ 1.2 มาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร


ที่มา (บูรชั ย ศิริมหาสาคร, 2549, หน้ า 50)
7

เดฟ สโนว์เวน (Dave Snowden) มีแนวคิดที่แตกต่างไปจากปิ รามิดแห่งความรู ้ของไฮดิโอ


ยามาวากิ(Hideo Yamazaki )โดยให้เหตุผลว่า ความรู ้เป็ นสิ่ งที่ซบั ซ้อน ไม่สามารถจัดเป็ นระบบที่
แน่นอนได้ หรื อไม่สามารถกล่าวได้วา่ พัฒนาการของข้อมูลจะนําไปสู่ การเป็ นสารสนเทศ ความรู ้
และภูมิปัญญาตามลําดับเสมอ สารสนเทศแม้จะผ่านกระบวนการวิเคราะห์ มีบริ บท รายละเอียดที่
ครบถ้วน แต่ถา้ ไม่ใช้สารสนเทศในเรื่ องที่เป็ นประโยชน์ ไม่สามารถนํามาใช้งานได้ ก็ไม่เรี ยกว่า
เป็ นความรู ้สาํ หรับเรา ดังนั้นการจัดการความรู ้ตอ้ งอาศัยศิลปะ หรื อธรรมชาติมากกว่าหลักการ
ทางวิทยาศาสตร์ ดังรู ปที่ 1.5

รูปที่ 1.5 ลําดับขั้นตอนของความรู้ จากมุมมองของ Dave Snowden


ทีม่ า (บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ, 2547, 19)

ความสํ าคัญของความรู้

โลกในยุคปั จจุบนั แข่งขันกันด้วยการสร้ างนวัตกรรม(innovation) เป็ นปั จจัยหลักสําหรับ


นํามาใช้ในการขับเคลื่อนความอยูด่ ีกินดีและความสุ ขของคนในสังคมและแข่งขัน หรื อรวมมือกับ
สังคมอื่น ประเทศอื่น ไม่ใช่แข่งขันด้วยการสั่งสมปั จจัย เช่ น ทรัพยากรธรรมชาติ ทุ น หรื อ
แรงงาน เป็ นปั จจัยหลักเหมือนสมัยก่อน แต่หากเป็ นการสร้างนวัตกรรมที่ตอ้ งอาศัยความรู ้ และ
ใช้ความรู ้เป็ นปั จจัยหลักในการดําเนินการ
อิคูจิโร โนนากะ (Ikujiro Nonaka) ได้กล่าวถึงความสําคัญของความรู ้วา่ เป็ นความ
ได้เปรี ยบทางการแข่งขันที่ยงั่ ยืนที่สุด โดยเฉพาะโลกยุคปั จจุบนั ซึ่งถือว่าเป็ นยุคสังคมฐานความรู ้
(Knowledge Society)และยุคเศรษฐกิจฐานความรู ้ (Knowledge – Based Economy Society)
8

ที่อาศัยการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู ้เป็ นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทาํ ให้เกิดการเจริ ญเติบโต


และมีความมัน่ คงทางเศรษฐกิจและสังคม การที่องค์กร ชุมชนท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติ จะอยู่
รอดในยุคสังคมฐานความรู ้ หรื อยุคเศรษฐกิจฐานความรู ้ได้น้ นั จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
ต้องสร้างความได้เปรี ยบโดยอาศัยสิ นทรัพย์ที่จบั ต้องไม่ได้ เช่น ความรู ้ ทักษะ และประสบการณ์
มากกว่าการใช้ทรัพย์สินที่จบั ต้องได้ เช่น ทุน ที่ดิน แรงงาน และเครื่ องจักร เป็ นต้น ดังนั้นจะ
เห็นได้วา่ ความรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ที่มีค่าที่สุด ที่มีลกั ษณะโดดเด่นกว่าสิ นทรัพย์อื่น ๆ คือ เป็ น
สิ นทรัพย์ที่ไม่มีขีด จํากัด ยิง่ ใช้ยงิ่ เพิม่ ยิง่ ใช้มากเท่าไรก็ยง่ิ มีคุณค่าเพิม่ มากขึ้นเท่านั้น หากองค์กร
ชุมชน ท้องถิ่น หรื อสังคมใด มีความรู ้มากเท่าไร ก็ยง่ิ สามารถเรี ยนรู ้ในสิ่ งใหม่ ๆ ได้มากขึ้นและ
สามารถนําความรู ้ไปใช้ในการพัฒนาการดําเนินงานและแก้ปัญหา หรื อนําความรู ้ไปใช้ประโยชน์
ได้มากขึ้น จึงกลาย เป็ นวงจรที่เพิ่มพูนในตัวเองอย่างไม่สิ้นสุ ด ที่เรี ยกว่า “วงจรแห่งการเรี ยนรู ้”
(บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. 2547 )
สรุ ปได้วา่ ปั จจุบนั เป็ นยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู ้ ทุกสังคมจะต้องมีความสามารถใน
การนํา ความรู ้ ม าสร้ า งสรรค์สิ่ ง ใหม่ ๆ หรื อ ที่ เ รี ย กว่า นวัต กรรม สํ า หรั บ ใช้เ ป็ นพลัง ในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม ความรู ้ หรื อนวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นจะก่อประโยชน์ต่อสังคม ชุ มชน
ท้องถิ่ นส่ วนต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างทัว่ ถึง และขับเคลื่ อนทั้งเศรษฐกิ จเพื่อการ
แข่งขัน และเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมดุล

ประเภทของความรู้

การแบ่งประเภทของความรู ้ สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กบั แนวคิดที่ใช้ในการ


จําแนกประเภทของความรู ้ แต่แนวคิดที่ได้รับความนิ ยมมากที่สุด คือ “รู ปแบบที่มองเห็ น” ซึ่ ง
สามารถจําแนกความรู ้ออกเป็ น 2 ประเภท (Nonaka. 1994, วิจารณ์ พานิ ช. 2546, พรธิ ดา
วิเชียรปั ญญา. 2547, บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. 2547) ดังนี้คือ
1. ความรู้ โดยนัย (Tacit Knowledge) มีชื่อเรี ยกที่หลากหลาย อาทิเช่น ความรู ้ไม่ชดั แจ้ง
ความรู ้ ในตัวคน ความรู ้ซ่อนเร้ น ความรู ้ ฝังลึก เป็ นต้น ความรู ้ ประเภทนี้จดั เป็ นความรู ้ที่ไม่เป็ น
ทางการ หากแต่เป็ นความรู ้ที่อยูใ่ นตัวของแต่ละบุคคล แฝงอยูใ่ นความคิด ความเชื่อ และค่านิ ยม
ของบุ คคล ซึ่ งเกิ ดจากประสบการณ์ การสังเกต การเรี ย นรู ้ พรสวรรค์ต่า ง ๆ และภู มิ ปัญญา
เฉพาะบุ คคลที่ สั่งสมมานาน เป็ นความรู ้ ที่ มีคุณค่า สู ง เช่ น ทักษะ ความเชี่ ย วชาญในเรื่ องต่าง ๆ
ทักษะในการทําอาหาร ทักษะการทอผ้า เป็ นต้น ความรู ้ประเภทนี้ทาํ ให้เป็ นทางการและถ่ายทอด
สื่ อสารในรู ป ของตัวเลข สู ตร หรื อลายลักษณ์ อกั ษรได้ยาก แต่ส ามารถถ่ ายทอดและแบ่ งปั น
ความรู ้ได้โดยการสังเกตและเลี ยนแบบ ซึ่ งใช้เวลาและต้นทุนสู งในการถ่ายทอดความรู ้ ความรู ้
ประเภทนี้ก่อให้เกิดความได้เปรี ยบในการแข่งขัน
9

2. ความรู้ ที่ชัดแจ้ ง (Explicit Knowledge) มีชื่อเรี ยกที่หลากหลายเช่นเดียวกัน อาทิ


ความรู ้ เด่ นชัด ความรู ้ เปิ ดเผย ความรู ้ ที่ชดั เจน เป็ นต้น ความรู ้ประเภทนี้ เป็ นความรู ้ เชิ งทฤษฎี
หรื อความรู ้ ที่เป็ นเหตุและผลที่สามารถเขียนบรรยาย ถอดความ หรื ออธิ บายออกมาเป็ นตัวอักษร
หรื อสามารถถ่ายทอดอย่างเป็ นทางการในรู ปแบบต่าง ๆ เช่ น สิ่ งพิมพ์ เอกสาร เว็บไซต์ และ
อินทราเน็ต ความรู ้ประเภทนี้เป็ นความรู ้ที่แสดงออกมาโดยใช้ระบบสัญลักษณ์ จึงสามารถสื่ อสาร
และเผยแพร่ ได้อย่างสะดวก
แท็ปป์ (Tapp) (1999 อ้างถึ งใน พรธิ ดา วิเชียรปั ญญา. 2547 ) ได้ให้หลักการจําแนก
ความรู ้ตามการเน้นที่แตกต่างกันใน 4 ลักษณะ ดังนี้คือ
1. จํ า แนกความรู้ ตามแหล่ ง ที่ม า (Location) แบ่ ง เป็ นความรู ้ ภ ายใน กับ ภายนอก
(internal vs. external knowledge)
2. จําแนกความรู้ ตามเวลา (Time) แบ่งเป็ นความรู ้ในปั จจุบนั กับความรู ้ ในอนาคต
(actual vs. future knowledge)
3. จําแนกความรู้ ตามรู ปแบบ (Form) แบ่งเป็ นความรู ้ ที่ปรากฏชัดแจ้ง กับความรู ้
โดยนัย (explicit vs. tacit knowledge)
4. จําแนกความรู้ ตามเจ้ าของ (Owner) เป็ นความรู ้เฉพาะตัวบุคคล กับความรู ้สาธารณะ
(private vs. common knowledge)
ไลน์ เอสวินสัน (Leif Edvinsson) ได้แบ่งความรู ้ออกเป็ น 3 ประเภท (O’Dell, Jackson
and Essaides. 1998 ) ดังนี้
1. ความรู้ เฉพาะบุคคล (Individual Knowledge) เป็ นความรู ้ที่มีอยูใ่ นตัวบุคคลแต่ละ
คน หรื อเป็ นความรู ้ที่อยูใ่ นตัวพนักงาน
2. ความรู้ ขององค์ กร (Organizational Knowledge) เป็ นความรู ้ ที่ได้จากการ
แลกเปลี่ ยนเรี ยนรู ้ระหว่างบุคคลหรื อพนักงานที่อยูใ่ นกลุ่มหรื อฝ่ ายงานต่าง ๆ ขององค์กร ทําให้
เกิ ดเป็ นความรู ้ โดยรวมของกลุ่มหรื อองค์กร สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการทํางานของกลุ่ม
หรื อขององค์กรโดยรวมได้มากขึ้น
3. ความรู้ ที่เป็ นระบบ (Structural Knowledge) ความรู ้ที่เป็ นระบบ เป็ นความรู ้ที่เกิด
จากการสร้างหรื อต่อยอดขององค์ความรู ้ ผ่านกระบวนการ คู่มือ จรรยาบรรณต่าง ๆ ในองค์กร
ความรู ้ ท้ ัง 3 ประเภทดั ง กล่ า วข้า งต้น สามารถเป็ นได้ ท้ ัง ความรู ้ โ ดยนั ย (Tacit
Knowledge) และหรื อความรู ้ชดั แจ้ง (Explicit Knowledge)
10

ประพนธ์ ผาสุ ขยืด (2548 ) ได้แบ่งความรู ้ออกเป็ น 3 ประเภท ดังนี้


1. ความรู้ ที่เห็นได้ เด่ นชั ด (Explicit Knowledge ) อาจอยูใ่ นรู ปของเอกสาร หนังสื อ
ตํารา คู่มือปฏิ บตั ิงาน หรื อในไฟล์คอมพิวเตอร์ เป็ นความรู ้ ในรู ปแบบที่สามารถแสดงได้อย่าง
ชัดเจน
2. ความรู้ ที่ฝังลึก (Implicit Knowledge ) ดึงออกมาค่อนข้างยาก อธิ บายค่อนข้าง
ลําบาก กว่าจะอธิ บายได้ตอ้ งใช้เวลาในการเรี ยบเรี ยงออกมาเป็ นความรู ้ที่ชดั แจ้ง
3. ความรู้ ทซี่ ่ อนเร้ น (Tacit Knowledge ) ซึ่ งหมายถึง มีอะไรอื่น ๆ มากมายที่เรารู ้แต่
เราไม่รู้ตวั ว่าเรารู ้ ดังคํากล่าวของโพลานี่ ที่กล่าวไว้ว่า “มนุ ษย์เรามักจะรู ้ มากกว่าที่เจ้าตัวจะบอก
ออกมาได้”
หากเปรี ยบความรู ้ท้ งั 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้นกับรู ปภูเขานํ้าแข็ง ดังรู ป1.6

Explicit Knowledge

Implicit Knowledge

Tacit Knowledge

รู ปที่ 1.6 ความรู ้ 3 ประเภท


ที่มา (ประพนธ์ ผาสุ ขยืด, 2548, หน้า 2)

จากรู ปที่ 1.6 ส่ วนที่อยู่บนยอดภูเขานํ้าแข็งที่เห็นได้ชดั เจน คือ ความรู ้ ที่เห็ นได้ชดั เจน
(Explicit Knowledge) ถัดลงมาบริ เวณปริ่ ม ๆ ผิวนํ้า มองเห็นไม่ชดั เจนนัก ก็คือ ส่ วนที่เป็ น
ความรู ้ฝั่งลึกที่อธิ บายค่อนข้างยาก (Implicit Knowledge) ส่ วนความรู ้ประเภทสุ ดท้ายที่อยูล่ ึกมาก
จนแม้แต่เจ้าตัวเองก็ยงั ไม่รู้วา่ ตนเองรู ้ก็คือ ความรู ้ซ่อนเร้น(Tacit Knowledge ) ซึ่ งอยูล่ ึกลงไปใต้น้ าํ
11

วิจารณ์ พานิ ช ( 2546 ) ได้กล่าวถึ งประเภทของความรู ้ ว่าความรู ้ มีหลายประเภท ซึ่ ง


อย่างน้อยความรู ้น่าจะแบ่งออกเป็ น 3 ประเภท ได้แก่
1. ความรู้ เปิ ดเผย (explicit knowledge ) เป็ นความรู ้ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ง่าย อาจ
ค้นหาได้ในหนังสื อ ห้องสมุด หรื อ อินเทอร์ เน็ต เป็ นต้น
2. ความรู้ แฝง ( embedded knowledge ) เป็ นความรู ้แฝง อยูใ่ นกระบวนการทํางาน หรื อ
ขั้นตอนการทํางาน แฝงอยูใ่ นวัฒนธรรมองค์กรหรื ออยูใ่ นแบบแผน ธรรมเนี ยมปฏิ บตั ิ กฎเกณฑ์
กติกา และข้อตกลงต่าง ๆ ของการททํางานร่ วมกันในกลุ่มหรื อองค์กร
3. ความรู้ ฝังลึก ( tacit knowledge ) เป็ นความรู ้ที่มีอยูใ่ นตัวคน เป็ นความรู ้ที่ฝังอยูใ่ น
ความคิ ด ความเชื่ อ ค่ า นิ ย ม ประสบการณ์ สั่ ง สมของบุ ค คล เป็ นความรู ้ ที่ มี พ ลัง สู ง สุ ด ใช้
ประโยชน์ได้มาก แต่นาํ มาใช้ยากที่สุด จะต้องทําให้เกิดการแลกเปลี่ ยนหรื อปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ผูค้ นถึงจะทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู ้ฝังลึกแล้วนําไปสู่ การใช้ประโยชน์
นอกจากนั้นยังมีการจําแนกประเภทของความรู ้ตามแนวคิดของ David Snowden โดยให้
แนวคิ ดว่า ความรู ้ มีต้ งั แต่ประเภทที่เป็ นนามธรรมยากต่อการบริ หารจัดการ จนกระทัง่ ถึงที่เป็ น
รู ปธรรมหรื อลายลักษณ์ อกั ษรชัดเจน สามารถจัดการได้ง่าย และได้จาํ แนกประเภทของความรู ้
ออกเป็ น 5 กลุ่ ม เรี ยกว่า “ASHEN” (วิจารณ์ พานิ ช. 2547 , บุ ญดี บุ ญญากิ จ และคนอื่ น ๆ.
2547 ) ซึ่ งมาจากคําว่า
 Artifacts : เป็ นความรู ้ที่อยูใ่ นรู ปของเอกสาร ลายลักษณ์อกั ษร เช่น หนังสื อตํารา
รู ปภาพ วิซีดี เป็ นต้น
 Skills : เป็ นทักษะในการปฏิบตั ิงานหรื อกระทํากิจกรรมต่าง ๆ จําเป็ นต้องมีเพื่อให้
สามารถทํางานได้หรื อประสบความสําเร็ จ
 Heuristics : เป็ นกฎแห่งสามัญสํานึ กหรื อเหตุผลพื้น ๆ ทัว่ ๆ ไป เช่น ลูกต้องเคารพ
พ่อแม่ นํ้าเป็ นของเหลว ไฟร้อน เป็ นต้น
 Experience : เป็ นประสบการณ์จากการได้ผา่ นงานหรื อกิจกรรมนั้นมาก่อน ซึ่ งยากใน
การถ่ายทอดหรื อแลกเปลี่ยนเรี ยนรู ้ เนื่องจากเป็ นเรื่ องเฉพาะตน
 Natural Talent : พรสวรรค์ หรื อสิ่ งที่ธรรมชาติให้มา อันเป็ นความสามารถพิเศษ
เฉพาะตัวที่มีมาแต่กาํ เนิ ด ซึ่ งยากที่จะบริ หารจัดการได้ เป็ นความรู ้ฝังลึกหรื อซ่อนเร้นและยากใน
การถ่ายทอดมากที่สุด
การจําแนกประเภทของความรู ้ตามแนวคิดของ David Snowden แสดงได้ดงั รู ปที่ 1.7
12

รูปที่ 1.7 มุมมองของ Dave Snowden เกีย่ วกับความรู้


ทีม่ า (บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. 2547, หน้ า 19)

จากการแบ่งประเภทความรู ้ ดงั กล่าวข้างต้น สรุ ปได้วา่ สามารถแบ่งประเภทความรู ้ ได้


หลายลักษณะ ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั แนวคิดที่นาํ มาใช้เป็ นเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น การแบ่งประเภทความรู ้
ตามรู ปแบบหรื อการมองเห็น ซึ่ งสามารถแบ่งออกเป็ น ความรู ้โดยนัย กับความรู ้ชดั แจ้ง ถ้าแบ่ง
ตามแหล่งที่มาของความรู ้ ได้แก่ ความรู ้ภายในกับความรู ้ภายนอกองค์กรหรื อชุ มชนท้องถิ่น หาก
แบ่งความรู ้ตามลักษณะความเป็ นเจ้าของ ได้แก่ ความรู ้ของบุคคล ความรู ้ขององค์กร และความรู ้
ของชุมชนท้องถิ่น เป็ นต้น

ระดับของความรู้

เพื่อให้เข้าใจเกี่ ยวกับ “ความรู ้” ให้ลึกซึ้ งมากยิ่งขึ้น จึงควรทําความเข้าใจเกี่ ยวกับระดับ


ของความรู ้ ซึ่ ง แบ่ ง ออกเป็ น 4 ระดับ (วิจารณ์ พานิ ช . 2547, พรธิ ดา วิเชี ย รปั ญญา. 2547)
ดังนี้คือ
ระดับที่ 1: รู้ ว่ารู้ อะไร (Know – what ) เป็ นความรู ้เชิงทฤษฎีหรื อข้อเท็จจริ ง หรื อเป็ น
ความรู ้ ในเชิ ง การรั บ รู ้ รู ้ ว่าอะไร เป็ นอะไร เปรี ยบเสมื อนความรู ้ ของผูท้ ี่ พ่ ึง จะจบปริ ญญา ที่ มี
ความรู ้ เฉพาะความรู ้ ที่จาํ มาจากความรู ้ ชดั แจ้ง เมื่อนําความรู ้ เหล่านี้ ไปใช้งานก็จะได้ผลบ้าง ไม่
ได้ผลบ้าง ผูป้ ฏิบตั ิจะปฏิบตั ิงานตามข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่ งต้องใช้เวลาในการรวบรวมความรู ้และการ
ตัดสิ นใจในงานที่ปฏิบตั ิ
ระดับที่ 2: รู้ วธิ ีการ (Know – how ) เป็ นความรู ้ที่มีท้ งั ทฤษฎีและเชิงบริ บทหรื อเป็ นความรู ้
ที่เชื่อมโยงกับโลกของความเป็ นจริ ง เปรี ยบเสมือนความรู ้ของผูท้ ี่จบปริ ญญา และมีประสบการณ์
การทํางานระยะหนึ่ง เป็ นความสามารถในการนําความรู ้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบตั ิ รู ้จกั ปรับให้
เข้ากับสภาพแวดล้อมหรื อบริ บท หรื อมีความสามารถในการนําความรู ้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบตั ิ
13

มีเทคนิคและวิธีการทํางานที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบตั ิ มักพบในคนที่ทาํ งานมาหลาย ๆ ปี จนเกิด


ความรู ้ฝังลึกที่เป็ นทักษะหรื อประสบการณ์มากขึ้น
ระดับที่ 3: รู้ เหตุผล (Know – why) เป็ นความรู ้ในระดับที่อธิ บายเหตุผลได้ อันอยูภ่ ายใต้
เหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าทําไมความรู ้น้ นั ๆ จึงใช้ได้ผลในบริ บทหนึ่ ง แต่ใช้ไม่ได้ผล
ในอี ก บริ บ ทหนึ่ ง หรื อเป็ นความเข้า ใจอย่า งลึ ก ซึ้ งเชิ ง เหตุ ผ ลที่ ส ลับ ซับ ซ้อ น และสามารถนํา
ประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรี ยนรู ้กบั ผูอ้ ื่น เป็ นผูท้ ี่ทาํ งาน และมีประสบการณ์จนเกิดเป็ นความรู ้
ฝั่งลึก สามารถถอดความรู ้ฝ่ังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนเรี ยนรู ้กบั ผูอ้ ื่นหรื อถ่ายทอดให้กบั ผูอ้ ื่นได้
พร้อมทั้งรับเอาความรู ้จากผูอ้ ื่นไปปรับใช้ในบริ บทของตนเองได้
ระดับที่ 4: ใส่ ใจกับเหตุผล (Care – why) เป็ นความรู ้ในระดับคุ ณค่า ความเชื่ อ เป็ น
ความรู ้ ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง ซึ่ งเป็ นแรงขับมาจากภายในจิตใจให้ตอ้ งกระทํา
สิ่ งนั้น ๆ เมื่อเผชิ ญกับสถานการณ์ หรื อเป็ นความรู ้ในลักษณะสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่
มีความรู ้ในระดับนี้จะเป็ นผูท้ ี่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู ้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู ้ที่ตน
ได้รับมาสร้ างเป็ นองค์ความรู ้ ใหม่ข้ ึนมาได้ เช่น สร้ างตัวแบบ หรื อทฤษฏี ใหม่หรื อนวัตกรรม
ขึ้นมาในการทํางานได้
จากการแบ่ง ระดับ ความรู ้ ดัง กล่ า วข้า งต้น สามารถสรุ ป ได้ว่า หากองค์ก รหรื อชุ ม ชน
ท้องถิ่นใดมีบุคลากรที่มีระดับความรู ้ในระดับที่ 3 และ 4 เป็ นจํานวนมาก หรื ออย่างน้อยมีความ
รู ้อยูใ่ นระดับ 2 ขึ้นไป องค์กรหรื อชุ มชนท้องถิ่นนั้น ๆ จะประสบความสําเร็ จ เพราะความรู ้ใน
ระดับดังกล่าวเป็ นความรู ้ฝังลึกในตัวบุคคลเป็ นความรู ้ ที่มีความสําคัญ ที่นาํ เอาออกมาแลกเปลี่ยน
และใช้เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรหรื อชุมชนท้องถิ่นได้

สามเหลีย่ มความรู้

ความรู ้ เ ป็ นสิ นทรั พ ย์ เป็ นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิ จ และสั ง คม แม้ว่า ความรู ้ จ ะมี


ความสําคัญอย่างไร เห็นได้จากคํากล่าวที่พบอยูด่ าษดื่นในปั จจุบนั ยังมีผกู ้ ล่าวว่าความรู ้ไม่สําคัญ
เท่าการเรี ยนรู ้ ทั้งนี้เพราะความรู ้ลา้ สมัยได้ และอาจใช้ไม่ได้ผลในบางสถานการณ์ แต่การเรี ยนรู ้
จะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนความรู ้ให้ทนั สมัยอยูเ่ สมอ รวมทั้งสามารถปรับความรู ้ให้เหมาะสม
ต่อบริ บทหรื อสถานการณ์ได้ดว้ ย
ความรู ้และการเรี ยนรู ้ สามารถมองได้หลายเหลี่ยมมุมหรื อหลายมิติ แต่ในที่น้ ีจะเสนอการ
มองความรู ้และการเรี ยนรู ้เป็ นสามมุม เรี ยกว่า สามเหลี่ยมความรู ้ (วิจารณ์ พานิ ช. 2547 ) ดังรู ป
ที่ 1.8
14

รูปที่ 1.8 สามเหลี่ยมความรู้


ทีม่ า (วิจารณ์ พานิช, 2547, หน้ า 9)

จากรู ปที่ 1.8 การจัดการความรู ้ การวิจยั และนวัตกรรม ต่างก็เป็ นกิจกรรมที่เกี่ ยวข้อง


กับความรู ้และการเรี ยนรู ้ แต่เป็ นความเกี่ยวข้องในต่างบริ บท ต่างวัตถุประสงค์ ต่างจุดเน้น และ
ต่างวิธีการ คือ
 การวิจัย เป็ นการสร้างความรู ้อย่างมีระบบระเบียบ พิสูจน์ซ้ าํ ได้ มีความน่าเชื่ อถือ
เชิ งวิชาการ ความรู ้ ที่ค ้นพบเน้นความเป็ นสากล การวิจยั จึง เป็ นความรู ้ ใ นโลกวิชาการ สร้ า ง
ความรู ้ที่ชดั แจ้งจับต้องได้ (Explicit Knowledge)
 นวัตกรรม (Innovation) เป็ นกระบวนการนําเอาความรู ้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
เชิงธุ รกิจ หรื อคุณค่าในรู ปแบบอื่น ๆ เป็ นกระบวนการต่อยอดไปจากผลการวิจยั ไปสู่ มูลค่าและ
คุณค่าเพิ่ม
 การจัดการความรู้ เป็ นกระบวนการที่ มี ก ารใช้ แ ละการสร้ า งความรู ้ อ ยู่ด้ว ยกัน
ความรู ้ ที่ใช้มีท้ งั เฟ้ นหามาจากภายนอกกลุ่มหรื อองค์กร และมีการแลกเปลี่ยนเรี ยนรู ้และสร้างขึ้น
ใช้ภายในองค์กรผ่านกระบวนการทํางานร่ วมกัน การจัดการความรู ้จึงเน้นความรู ้ที่แนบแน่นอยูก่ บั
งาน เป็ นความรู ้ที่ใช้ผลิตผลงาน หมุนเป็ นความรู ้ที่ยกระดับขึ้นจากการทํางานและสมาชิ กร่ วมกัน
จัดการ ความรู ้เกิดการเรี ยนรู ้เพิ่มขึ้นจากการทํางาน
15

การบริหารความรู้

การบริ หารความรู ้ คือ การยกระดับความรู ้ ขององค์กร ชุ มชนท้องถิ่น และสังคม เพื่อ


สร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปั ญญา การบริ หารความรู ้ เป็ นความสามารถหรื อกระบวนการ
ภายในองค์กร ชุ มชนท้องถิ่น และสังคมที่จะเพิ่มหรื อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย
อาศัยความรู ้ การบริ หารความรู ้ ประกอบด้วยขั้นตอนที่ สําคัญ 2 ประการ คื อ การสร้ างหรื อ
พัฒนาความรู ้ (Knowledge Generation) และการถ่ายทอดความรู ้ (Knowledge Transfer)
1. การสร้ างหรื อพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation) วิธีการในการสร้างและพัฒนา
ความรู ้ (รวิชุดา บรรจงมณี . 2548, ขันธฤทธิ์ ปฐมเล็ก. 2547) สามารถดําเนิ นได้ดงั ต่อไปนี้
1.1 การศึกษา การสั่ งสอน ซึ่งไม่ได้จาํ กัดเฉพาะในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่จะ
รวมถึงการฝึ กอบรมต่าง ๆ รวมทั้งการอ่านและการค้นคว้า หรื อการทํากิจกรรมที่สนใจด้วย
1.2 การพบปะพู ด คุ ย แลกเปลี่ ย นความคิ ด โดยการนํา บุ ค คลที่ มี ค วามรู ้ แ ละ
ประสบการณ์ ห ลากหลายมาทํา งานรวมกัน ทั้ง แบบที่ เ ป็ นทางการและไม่ เ ป็ นทางการ การ
แลกเปลี่ยนความคิดทําให้เรารู ้รอบ มีความรู ้กว้างขึ้น มีมุมมองใหม่ ๆ ไม่ยดึ กับรู ปแบบเดิม ๆ
1.3 การเลี ย นแบบ หรื อ การนํา ความรู ้ ข องบุ ค คลอื่ น มาใช้ การเลี ย นแบบไม่
จําเป็ นต้องดู จากตัวอย่างที่ประสบผลสําเร็ จเท่านั้น แต่สามารถเรี ยนรู ้ได้จากการผิดพลาดได้ เพื่อ
หลีกเลี่ยงเหตุการณ์น้ นั ๆ
1.4 การลองผิดลองถูก หลายครั้งที่มกั จะได้ความรู ้จากการทํางานที่ไม่คาดคิด โดย
ได้ลงมื อทํางานไปแล้ว ได้แก้ปัญหาจนค้นพบวิธีการหรื อแนวทางที่ ถู กต้อง เหมาะสมในการ
ดําเนินงานนั้น ๆ
1.5 การประยุกต์ ใช้ การสร้ างหรื อพัฒนาความรู ้ มิ ได้หมายถึ งเฉพาะการคิ ดค้น
พัฒนาความรู ้ใหม่ ๆ มาใช้เท่านั้น แต่ยงั หมายถึงการนําความรู ้ที่องค์กรหรื อบุคคลอื่น ๆ คิดค้นขึ้น
หรื อ ความรู ้ ที่ เ ผยแพร่ ใ นวงวิ ช าการ นํา มาปรั บ หรื อ ประยุก ต์ใ ช้เ พื่ อ ให้ เ กิ ด การพัฒ นาในการ
ดําเนินงานขององค์กร ชุมชนท้องถิ่น และสังคมของตน
1.6 การทดลองและวิจัย เป็ นกระบวนการแสวงหาความรู ้ และข้อเท็จจริ ง ตาม
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่ งต้องมีวตั ถุประสงค์ของการวิจยั ที่แน่นอน ประกอบด้วยวิธีการขั้นตอน
ต่าง ๆ คือ การวิเคราะห์ปัญหา การตั้งสมมติ ฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ขอ้ มู ล
และการสรุ ปผล
1.7 การคิดเอง ความรู ้แบบนี้จะเกิดจากการสั่งสมของความรู ้และประสบการณ์ที่มี
มากมาย สามารถคิดพิจารณาทําให้เกิดความรู ้ข้ ึนมาได้
16

2. การถ่ ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) นอกจากการพัฒนาให้เกิดความรู ้ใหม่


ๆ ขึ้นแล้ว การถ่ ายทอดความรู ้ ให้แก่บุคคลอื่ น ๆ หน่ วยงานอื่น ๆ ภายในองค์กร หรื อชุ มชน
ท้องถิ่น ก็เป็ นส่ วนสําคัญเช่นกัน หากองค์กร ชุ มชนท้องถิ่นหรื อสังคมใดขาดการถ่ายทอดความรู ้
ที่ดี ความรู ้ที่บุคคล องค์กร หรื อชุ มชนท้องถิ่ นมีอยูอ่ าจจะไม่เกิดประโยชน์แก่องค์กรหรื อชุ มชน
ท้องถิ่นเลย การถ่ายทอดความรู ้ที่มีประสิ ทธิ ภาพที่สุด คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู ้และความ
คิดเห็น ดังนั้นองค์กรหรื อชุมชนท้องถิ่นควรสร้างบรรยากาศและเปิ ดโอกาสให้บุคลากรในองค์กร
หรื อประชาชนในชุ มชนท้องถิ่ นได้พบปะพูดคุยกัน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ ยนความรู ้ ระหว่างกัน
นอกจากนี้การสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู ้อาจใช้แนวทางดังนี้ คือ
2.1 การสร้ า งระบบในการค้ น หาความรู้ เป็ นการสร้ า งเครื่ องมื อ ในการบ่ ง ชี้ ว่า
แหล่งความรู ้ ที่สําคัญขององค์กรอยู่ที่ใด เพื่อให้ผูท้ ี่ ตอ้ งการความรู ้ สามารถทราบว่าความรู ้ท่ีตน
ต้องการนั้นมีแหล่งความรู ้อยูท่ ี่ใดบ้าง โดยอาจอยูใ่ นรู ปของฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิ กส์ หรื อรายชื่ อ
บุคลากรที่มีความรู ้เรื่ องนั้น ๆ อยูก่ ็ได้ การถ่ายทอดความรู ้โดยการสร้างระบบในการค้นหาความรู ้
เน้นเฉพาะความรู ้เปิ ดเผยหรื อความรู ้ชดั แจ้งที่จบั ต้องได้ (Explicit Knowledge) เท่านั้น
2.2 การสร้ า งเครื อ ข่ า ยการถ่ า ยทอดความรู้ เป็ นการจัด กิ จกรรมเพื่ อ มุ่ ง เน้น ให้
พนักงานในองค์กรหรื อประชาชนในชุ มชนท้องถิ่น ได้มีโอกาสพบปะพูดคุ ยกันเพื่อแลกเปลี่ ยน
ความรู ้ ระหว่างกัน ทําให้เกิ ดการถ่ ายทอดความรู ้ ชนิ ดที่เป็ นความรู ้ ฝังลึ กหรื อซ่ อนเร้ น จับต้อง
ไม่ได้ (Tacit Knowledge) ได้ดียง่ิ ขึ้น
2.3 การจั ดตั้งหน่ วยงานเพื่ อทําหน้ าที่สนับสนุ นและให้ บริ การถ่ ายทอดความรู้ มี
การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทําหน้าที่สนับสนุนและให้บริ การในการถ่ายทอดความรู ้โดยตรง ทําหน้าที่
คอยช่ วยเหลื อ กระตุน้ และสนับสนุ นให้เกิ ดการพัฒนาความรู ้ ใหม่ ๆ และถ่ ายทอดความรู ้ น้ ัน
ให้กบั หน่วยงานอื่น ๆ ขององค์กร หรื อให้กบั องค์กรท้องถิ่นอื่น ๆ ภายในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้
สามารถนําความรู ้น้ นั ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรหรื อชุมชนท้องถิ่นโดยส่ วนรวม
ในการถ่ายทอดความรู ้ น้ นั จะต้องเกิดจากความไว้วางใจ ความใจกว้าง การยอมรับกัน
ระหว่างตัวผูถ้ ่ายทอดและผูร้ ับการถ่ายทอด มีการใช้เทคโนโลยีที่ทนั สมัย และควรส่ งเสริ มให้มี
บรรยากาศ สิ่ งแวดล้อม วัฒนธรรม และกลไกต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อสร้ างแรงจูงใจให้เกิดการ
ถ่ายทอดความรู ้
17

สรุ ป

โลกปั จจุบนั เป็ นยุคสังคมฐานความรู ้ (Knowledge Society) และยุคเศรษฐกิจฐาน ความรู ้


(Knowledge-Economy Society) ทุกสังคมจะต้องมีความสามารถในการนําความรู ้มาสร้างสรรค์สิ่ง
ใหม่ ๆ ที่เรี ยกว่านวัตกรรม สําหรับใช้เป็ นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม ความรู ้และ
นวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นจะก่อประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีความแตกต่าง
หลากหลายอย่างทัว่ ถึง และขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจเพือ่ การแข่งขันและเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมดุล
ดังนั้นยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปั จจุบนั ให้
ความ สําคัญกับการพัฒนา”คน”ในทุกมิติเพื่อให้มีความพร้อมทั้งด้าน”คุณธรรม”และ”ความรู ้”
เพื่อให้คนพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะความรู ้คือสิ่ งที่สั่งสมจากการ
เรี ยนรู ้ ค้นคว้า ประสบการณ์ ที่ผา่ นกระบวนการคิด เปรี ยบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู ้อื่น ๆ และ
ผสมผสานกับความรู ้และประสบการณ์เดิม จนเกิดเป็ นความเข้าใจ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ใน
การทํางานหรื อแก้ปัญหาได้ อันเป็ นการสร้างประโยชน์จากต้นทุนทางปั ญญา เพื่อการพัฒนาขีด
ความสามารถของบุคคล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น และสังคม ในการแข่งขันโดยอาศัยความรู ้เป็ น
ปั จจัยหลักในการดําเนินงาน

You might also like