Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

คำบรรยายครั้งที่ 1 โดย อ.

ปณตพร ชโลธร
สําหรับการบรรยายในครั้งที่หนึ่งนี้ถือเป็นครั้งแรกของวิชาภาษาอังกฤษสําหรับ นักกฎหมายหรือ English for
Lawyers ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาที่ให้เกียรติเชิญอาจารย์มาบรรยาย
ในหัวข้อนี้ ในส่วนของ อาจารย์ผู้สอนวิชานี้จะมี ๔ ท่าน แต่ละท่านรับผิดชอบเนื้อหากฎหมายที่แตกต่างกัน ไปตาม
ความถนัด เราตั้งใจแบ่งขอบเขตของวิชานี้ต าม “ประเภทของกฎหมาย” ทั้ง นี้ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่
หลากหลายและทําให้เนื้อหาของวิชานี้ชัดเจน ไม่สับสน ง่ายต่อการทบทวน
ขอบเขตของกฎหมายที่อาจารย์แต่ละท่านบรรยายจะไม่ทับซ้อนกัน โดยแบ่งกัน สอนท่านละ ๔ ครั้ง แต่ต้อง
เข้าใจว่าการบรรยายให้ความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ หรือ grammar อาจมีซ้ํากันบ้าง เพราะอาจารย์ทั้ง ๔ ท่าน
ต้องสอนเรื่องการแปลและ การอ่านเอาเรื่องด้วย จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงหลักไวยากรณ์ในเกือบทุก ๆ คาบที่มี
การบรรยาย ก็ให้คิดเสียว่าเป็นการทบทวนความรู้ แต่ในส่วนของไวยากรณ์จะไม่นํามา ออกเป็นข้อสอบ ขอให้อย่า
กังวล ในส่วนของอาจารย์รับผิดชอบบรรยายภาษาอังกฤษ สําหรับนักกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน ต้องเรียน
ในเบื้องต้นว่าวิชานี้เป็นวิชาภาษา อังกฤษ ไม่ใช่วิชากฎหมาย ดังนั้นอาจารย์จะเน้นไปที่ภาษามากกว่าเนื้อหากฎหมาย
เพราะแค่เท่าที่นักศึกษาต้องเรียนก็มีเนื้อหากฎหมายมากอยู่แล้ว วิชานี้จะไม่ไปเพิ่ม ภาระของนักศึกษาที่จะต้องไป
ศึกษากฎหมายอีกแน่นอน หลายท่านพอได้ยินชื่อกฎหมาย มหาชนอาจจะมีความกังวล จึงขอเน้นย้ํ าไว้เลยว่าท่านไม่
ต้องไปหาตํารากฎหมาย รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายมหาชนมาอ่านเพิ่ม เราไม่ได้ทดสอบกันที่จุดนั้นในวิชานี้ ขอแค่ ให้
ท่านตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายในคาบก็เพียงพอแล้ว อาจารย์ ผกก
สําหรับเนื้อหาของวิชานี้ อาจารย์ขอแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ คําศัพท์ (Vocabularies) โครงสร้างประโยคไวยากรณ์
(Structure/Grammar) และการอ่านบทความสั้น ๆ (Reading Comprehension) ซึ่งทั้งสามสวนนจะมีผลต่อการทํา
ข้อสอบ เพราะข้อสอบจะทดสอบ ๓ ส่วนคือส่วนที่ ๑ ให้แปลคําศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็น ภาษาไทย ส่วนที่ ๒ ให้
แปลประโยคภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และส่วนที่ ๓ การอ่าน จับใจความแล้วตอบคําถาม ข้อสอบส่วนที่ ๑ และ
ส่วนที่ ๒ ให้นักศึกษาเขียนตอบเป็นภาษาไทย ส่วนข้อสอบส่วนที่ ๓ จะเป็นข้อสอบแบบมีตัวเลือก ข้อสอบส่วนที่ ๑
และ ส่วนที่ ๒ จะมาจากเนื้อหาทั้งสี่ส่วน แต่ข้อสอบส่วนที่ ๓ จะมาจากวิชากฎหมายเพียงวิชาเดียวเท่านั้นแล้วแต่ว่า
วิชาใดได้รับเลือก
ในการเตรียมตัวศึกษาวิชาภาษาอังกฤษสําหรับนักกฎหมายโดย ฯ เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมี "พจนานุกรม”
ปัจจุบันในท้องตลาดมีหลายสํานักพิมพ์ อาจจะแนะนําเป็นแนวทางกว้าง ๆ ในการเลือกใช้พจนานุกรม โดยจะขอ
แบ่งเป็น ๑. พจนานุกรมทั่วไป (English Dictionary) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นอังกฤษ - อังกฤษ กับอังกฤษ-ไทย กับ ๒.
พจนานุกรมภาษาอังกฤษสําหรับนักกฎหมาย (Legal English Dictionary)
๑. พจนานุ ก รมทั่ ว ไป (English Dictionary) ส่ ว นใหญ่ ต อนนี ้ เป็น online หรื อ application กั น เกือบ
หมดแล้วเพราะสะดวกกว่า แบบ online ก็จะมีทั้งแบบ ไม่คิดเงิน (free dictionary) แบบไม่คิดเงิน เว้นแต่จะเข้าถึง
บริ ก ารเสริ ม (free with paid subscription) และแบบคิ ด เงิ น (paid-only dictionary) : สํ า นั ก พิ ม พ์ ส ํ า หรั บ
พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ ได้แก่ Oxford, Cambridge Dictionary.com, Merriam-
Webster, Collins English ส่วนอังกฤษ-ไทย, ไทย-อัง กฤษ ที่อาจารย์เห็นว่าพอใช้ได้คือ Longdo และ Google
Dictionary ส่วนถ้าใครยังสะดวก เป็นเล่มอยู่ก็จะเป็นของสํานักพิมพ์เดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น
๒. พจนานุกรมภาษาอังกฤษสําหรับนั กกฎหมาย (Legal English Dictionary) ที่เป็น online ส่วนใหญ่ยัง
ต้องเสียเงิน ส่วนตัวไม่เคยใช้ อาจารย์จะใช้วิธีค้นหาใน google เอา แล้วอาจพิมพ์คําว่า legal ต่อท้าย เท่าที่เห็นที่
พิมพ์ขายตอนนี้มีของหลายท่าน เช่น พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ธง วิทัยวัฒน์ ธนะชัย
ผดุง ธิติ , ถาวร โพธิ์ทอง และ ดวงเด่น นาคสีหราช อาจารย์ไม่สามารถบอก ได้ว่าเล่มไหนดีที่สุด เพราะการ
แปลภาษาภาษาอังกฤษกฎหมายเป็นศาสตร์และศลบท ไม่ง่าย และความหมายอาจเปลี่ยนไปตามบริบทต่าง ๆ
รวมทั้งตามเวลาและวัฒนธรรมที่แวดล้อมภาษานั้น ๆ แต่ไม่ว่าจะเล่มใดก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี คําแนะนําเบื้องต้นคงมี
แค่ว่า อย่ายึดติดและควรค้นจากหลาย ๆ เล่ม อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วยเพื่อความถูกต้องแม่นยํา หนังสืออื่น ๆ ที่
อยากแนะนําสําหรับผู้ที่อยากศึกษาเพิ่มเติมคือประมวลกฎหมาย ไทย-อังกฤษ ซึ่งอาจมีราคาแพงถ้าจะซื้อเก็บไว้ แต่มี
ที่ห้องสมุดต่าง ๆ และหนังสือ คําอธิบายวิชาภาษาอังกฤษสําหรับนักกฎหมาย
ในทั้ง ๔ คาบของการสอน อาจารย์จะทบทวนพื้นฐานไวยากรณ์ที่นักศึกษาทุกท่านต้องเคยศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษามาก่อน แต่เชื่อว่าหลายท่านอาจจะลืมไปแล้ว พื้นฐานไวยากรณ์นี้มีความสําคัญตรงที่จะทําให้นักศึกษา
สามารถอ่านประโยคและ จับใจความได้ ต่างจากการท่องศัพท์ซึ่งอาศัยเพียงการท่องจําโดยที่ไม่ต้องเข้าใจโครงสร้าง
ประโยคแต่อย่างใด ในทุกภาษาคําศัพท์แต่ละคําจะถูกผูกร้อยเรียงกันด้วยหลักไวยากรณ์ ไม่ใช่เอาคําศัพท์มาเรียง ๆ
ต่อกัน นอกจากนี้ คําแต่ละคํายังทําหน้าที่แตกต่างกันออกไป นักศึกษาจะเอาแต่ท่องจําความหมายอย่างเดียวไม่ได้
แต่ต้องเข้าใจ “หน้าที่” ของ แต่ละคําในประโยคด้วยว่าคํานี้ทําหน้าที่อะไร นักศึกษาถึงจะอ่านประโยคนั้น ๆ รู้เรื่อง
และเข้าใจความหมายที่แท้จริงว่าผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่ออะไร โดยไม่ต้องนั่งเทียนเดา ความหมายเอาโดยอาศัย
แต่ความสามารถในการจําคําแปลอย่างเดียว ดังนั้นวันนี้ ไวยากรณ์เรื่องแรกที่ทบทวนให้ก่อนเข้าเนื้อหาจริงคือเรื่อง
Part of Speech หรือหน้าที่ของคํา
คําในภาษาอังกฤษทําหน้าที่ต่างกัน แบ่งได้เป็น ๘ หน้าที่ ดังนี้
๑. คํานามหรือ Nouns (N) ได้แก่ บุคลล สถานที่ ความคิดหรือสิ่งของ
๒. กริยาหรือ Verbs (V) เป็นคําที่บ่งถึงการกระทําในประโยค ทุกประโยคย่อม ต้องมีกริยา มิเช่นนัน้ ย่อม
เป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์หรือเป็นเพียงวลี
๓. สรรพนามหรือ Pronouns (Pron.) คําสรรพนามเป็นคําที่ใช้แทนคํานาม เพราะในภาษาอังกฤษไม่ชอบพูด
ซ้ำ ถ้าเคยกล่าวถึงคํานามคําใดไปแล้ว ในประโยค หลัง ๆ จะไม่ใช้คํานามคํานั้นอีก ถือว่าไม่สละสลวยคําสรรพนาม
ในภาษาอังกฤษ เช่น “He,” “she,” “it,” “who,” “whom,” “that,” “which,” “we,” “they” “us” ซึ่งอาจแทน ซึง่
อาจแทนได้ทั้งประธานและกรรมในประโยค
๔. คุณศัพท์หรือ Adjectives (Adj.) ใช้บอกคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของคํานาม
๕. วิเศษหรือ Adverbs (Adv.) ใช้ขยายคํากริยาหรือคําคุณศัพท์ คุณศัพท์มาลงท้ายด้วย “ly" แต่ไม่เสมอไป
๖. บุพบทหรือ Prepositions (Prep.) ใช้เพื่อบ่งตําแหน่ง สถานที่ หรือทิศทาง เช่น “with,” “to,” “under,”
“over,” “by” and “for” are all prepositions,
๗. สันธานหรือ Conjunctions (Conj.) ใช้เชื่อมคําหรือประโยค Conjunct are connecting words เช่น
“and”, “however”, “therefore”, “yet”, “still”
๘. คําอุทานหรือ Interjections (Interj.) ใช้เพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น Oops, Geez, Yikes มักตามด้วย
เครื่องหมายอัศเจรีย์
ขอให้ลองฝึกว่าเข้าใจหน้าทีข่ องคําหรือไม่จากตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
Thailand is a beautiful country.
Thailand ทําหน้าที่เป็น noun ในแสงแดนผสมาคมองว่า ม. 2.
is เป็น verb (ในทางไวยากรณ์ จะเถียงกันว่า verb to be เช่น is, am, are เป็นคํากริยาหรือไม่ เพราะ
ไม่ได้บ่งการกระทํา บางคนเรียกว่าเป็นส่วนเติมเต็ม สิง่ ใด ที่อยู่หลัง verb to be เป็นส่วนขยายคํานามข้างหน้า แต่
ในชั้นนี้เพื่อความเข้าใจง่าย ขอเรียกว่าเป็นคํากริยาไปก่อน)
beautiful เป็น adjective
country เป็น noun
The sleepy bear hibernated all winter.
sleepy ทําหน้าที่เป็น adjective แปลว่าทีง่ ่วงนอน ที่เพลีย
bear เป็น noun แปลว่าหมี
hibernated เป็น verb จริง ๆ แล้วอาจารย์ชอบให้นักศึกษาหาคํากริย า ของแต่ละประโยคให้เจอก่อน
เพราะคํากริยาเป็นตัวที่ทําให้ประโยคสมบูรณ์ ไม่เป็น ประโยคขาด ๆ หรือที่เรียกกันว่า Broken Sentence คําว่า
hibernate นีหลายท่านอาจ จะไม่เคยได้ยินเพราะเป็นศัพท์ยาก อาจไม่รู้ว่ามันทําหน้าที่อะไรในประโยคและไม่ทราบ
ความหมาย แต่จะให้เคล็ดลับไปว่า คําใดที่ลงท้ายด้วย “ed” ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า - เป็นคํากริยา เพราะคํากริยา
เป็นคําเดียวในประโยคที่เปลี่ยนรูปไปมาตามกาลเวลาหรือ tense โดยรูปกริยาในอดีตกาลมักจะเติม “ed” ดังนั้นใน
ประโยคนี้ก็พอเดาได้ว่า hiberrnate เป็นกริยาของประโยค โดยมีหมีที่ง่วงนอนเป็นประธาน หมีที่ง่วงนอนจะทำ อะไร
ตลอดฤดูหนาว เราก็จะพอเดาได้ว่าน่าจะไม่ได้ทําอะไรมาก อยู่แต่ในถ้ำแน่ ๆ ซึ่งถูกต้องเพราะ hibernate แปลว่าจํา
ศีล
all ในที่นี้เป็น adjective ขยาย winter
winter เป็น noun
Sara ran very quickly to school.
Sara ทําหน้าที่ noun ซาร่าเป็นชื่อผู้หญิงในภาษาอังกฤษ
ran เป็น verb ที่เป็นรูปอดีตกาลของ run แปลว่าวิ่ง หรือรีบ ในประโยค ที่ไม่ซับซ้อน คําไหนที่อยู่ใกล้
ประธาน เดาไว้ก่อนว่าเป็นคํากริยา และคํา กริยานี้อาจอยู่ใน รูปกาลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน หรืออดีต คําว่า ran เป็น
หนึ่งในคําในรูปอดีตกาลที่ไม่ได้ใช้ วิธีการเติม “ed” แต่เปลี่ยนคําไปเลยจาก run เป็น ran ส่วนนี้คงต้องอาศัยการ
ท่องจําเอาว่ารูปอดีตของกริยาแต่ละตัวคืออะไร
very quickly นี้ ให้อ่านด้วยกัน อย่างที่เรียนไปตอนต้นว่า คําวิเศษมักลงท้าย ด้วย “ly” ดังนั้น quickly จึง
เป็นคําวิเศษ ขยายกริยาวิ่ง แปลว่าวิ่งอย่างรวดเร็ว คําวิเศษนี้ก็ถูกขยายได้ด้วยคําวิเศษเหมือนกัน very จึงเป็นคํา
วิเศษชนิดที่ไม่ได้ลงท้าย ด้วย “ly” ซึ่งคําวิเศษประเภทนี้มีน้อย ส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย “ly” เกือบทั้งสิ้น very แปลว่า
มาก อ่านรวมกันจึงแปลได้ว่า วิ่งไปเร็วมาก หรือรีบไปเร็วมาก ไม่ใช่เร็วแบบธรรมดา
to เป็น preposition แปลว่าไปยัง
school เป็น noun แปลว่าโรงเรียน ข้อสังเกตคือคําไหนอยู่หลังบุพบท คํานั้น เป็นคํานามเสมอ
Tom doesn't have enough experience. Therefore, we will not hire him.
Tom ทําหน้าที่เป็น noun
doesn't have เป็น verb ในรูปปฏิเสธ แปลว่าไม่มี ที่ได้เรียนไปแล้วว่า คําที่อยู่ติดประธานมักเป็นกริยา
เพราะภาษาอังกฤษใช้รูปแบบการเรียงประโยคคือ ประธานตามด้วยกริยา แล้วตามด้วยกรรม
(subject+verb+object) เหมือนภาษาไทย แต่ในบางภาษา เอากรรมไปไว้หน้ากริยา เช่นภาษาฝรัง่ เศส ดังนัน้ จึงได้
ให้ข้อสังเกตไปว่าคําที่อยู่ติดประธานมักเป็นกริยา
enough เป็น adjective แปลว่าที่เพียงพอ
experience เป็น noun แปลว่าประสบการณ์ แม้เราจะไม่รู้ความหมายคําว่า experience ก็อย่าเพิ่งถอดใจ
อาจใช้วิธีอ่านประโยคถัดไปเพื่อมาเดาความหมายของคําศัพท์ที่เราไม่ทราบ เรารู้แล้วว่าประโยคแรกแปลได้คร่าว ๆ
ว่า ทอมไม่มี “บางอย่าง” เพียงพอ
ประโยคที่สอง
Therefore เป็น conjunction ทําหน้าที่เชื่อมประโยค ถามว่าจะทราบได้ อย่างไร หากเราไม่รู้ความหมาย
วิธีคือในกรณีที่เห็นประโยคสองประโยคขึ้นไป มักจะมีคําเชื่อมประโยคเสมอ คนเขียนที่ใช้ภาษาดี ๆ จะไม่นําประโยค
หลาย ๆ ประโยคมาวาง ต่อ ๆ กันโดยไม่มีคําเชื่อมเพราะจะอ่านไม่รู้เรื่อง และในภาษาอังกฤษยิ่งมีข้อสังเกตง่าย
เพราะทุกครั้งที่จบประโยคเก่าและจะขึ้นประโยคใหม่ ประโยคนั้นจะจบด้วยจุด full stop เสมอ ต่างจากภาษาไทยที่
ติดกันเป็นพืด ดังนั้นเมื่อเราเห็น therefore ขึ้นต้นประโยค ที่สอง ทั้งยังตามด้วยเครื่องหมาย comma ขอให้คิดไว้
เลยว่าเป็นคําสันธานเชื่อมประโยคแน่นอน therefore นี้แปลว่าดังนั้น
we เป็น pronoun
will not hire ทั้งส่วนนี้เป็น verb ในรูปอนาคตกาล hire เป็นกริยาแปลว่าจ้างงาน
him เป็น pronoun หรือสรรพนามที่หมายถึง Tom นัน่ เอง ในภาษาอังกฤษจะไม่ใช้คําว่า Tom ซ้ํา แต่ถ้ามี
การพูดถึงอีกจะใช้สรรพนามแทน Tom คือผู้ชายจึงแทน ด้วย him โดยคำว่า him ทําหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
มาถึงตรงนี้ น่าจะพอเดาได้ว่า experience แปลว่าประสบการณ์ เพราะทอม ไม่มีสิ่งนี้ พวกเราจึงไม่จ้างเขา
ทํางาน
| spilled the coffee everywhere. Oops!
| ทําหน้าที่เป็น pronoun แทนตัวผู้พูด
spilled เป็น verb (สังเกตเหมือนเดิมว่าเติม “ed”) ส่วนความหมายนั้น ถ้าไม่ทราบ ให้ลองเดาดูหลังจาก
อ่านจบประโยค
coffee เป็น noun
everywhere เป็น adverb แปลว่าทุกที่ หรือที่กระจายไปทั่ว
Oops ตามด้วยเครื่องหมายอัศเจรีย์ แสดงว่าเป็น interjections หรือ คําอุทาน
มาถึงตรงนี้นา่ จะพอเดาความหมายของกริยา spill ได้ spill แปลว่าทําหก
We all love to study English.
We ทําหน้าที่เป็น pronoun แทนตัวผูพ้ ูดที่มีหลายคน แปลว่าพวกเรา
all ตรงนี้ใส่มาพิเศษเพื่อเน้นพวกเราที่อยู่ขา้ งหน้า เป็นภาษาพูดทํานองว่า “พวกเราทั้งหมดทุกคน” ซึ่งโดย
ปกติแล้ว all จะเป็น adjective วางไว้หน้าคํานาม
love เป็น verb (สังเกตเหมือนเดิมว่าอยู่ใกล้ประธาน)
love to do something มักใช้ในรูปนี้แปลว่าชอบหรือรักที่จะทําอะไร คําที่ตามหลัง to เป็น verb เสมอ
study จึงเป็น verb
English เป็น noun แปลว่าภาษาอังกฤษ
The new coffee shop is at Icon Siam
new ทําหน้าที่เป็น adjective
coffee เป็น noun
shop เป็น noun คํานามสองคําขยายกันเองได้ coffee shop แปลว่า ร้านกาแฟ
is เป็น verb (โปรดย้อนกลับไปดูคําอธิบายเพิ่มเติมข้างต้นสําหรับ verb to be)
at เป็น preposition ตามด้วยสถานที่เล็ก ๆ เช่นห้างสรรพสินค้า โรงเรียน บ้าน ถ้าเป็นสถานที่ที่ใหญ่กว่า
นั้น เช่นจังหวัด หรือประเทศ จะใช้ in
We use interjections sparingly to express our emotions. Yes!
We ทําหน้าที่เป็น pronoun แทนตัวผูพ้ ูดที่มีหลายคน แปลว่าพวกเรา
use เป็น verb (สังเกตเหมือนเดิมว่าอยู่ใกล้ประธาน)
interjections เป็น noun แปลว่าคําอุทาน
sparingly นี้ อย่างที่เรียนไปตอนต้นว่า คําวิเศษมักลงท้ายด้วย “ly” ดังนั้น คํานี้จึงเป็นคําวิเศษ ขยายกริยา
ใช้ คํานี้ค่อนข้างยาก แปลว่าอย่างประหยัด อย่างระมัดระวัง แปลคร่าว ๆ คือไม่ได้ใช้อย่างฟุ่มเฟือย
to เป็น preposition ในที่นี้ แปลว่าเพื่อที่จะ to ต้องตามด้วยคํากริยาเสมอ express จึงเป็น verb แปลว่า
แสดงออก
emotions เป็น noun แปลว่าอารมณ์
Yes เป็นคําอุทาน แสดงความเห็นด้วย

เวลานักศึกษาอ่านพจนานุกรม จะมีการวงเล็บ part of speech หลัง คําศัพท์เสมอ แม้กระทั่งพจนานุกรม


อัง กฤษ - ไทย หรือพจนานุกรมฉบับ application สําหรับวิธีการอ่านพจนานุกรม คํา ๆ หนึ่ง อาจมีได้หลาย
ความหมาย ความหมายที่ใช้ บ่อยที่สุดจะอยู่ในความหมายแรก (first definition) และความหมายที่มีความสําคัญ
รองลงมาจะถูกเรียงในลําดับถัดไป หลังความหมายจะมีต ัวอย่างประโยคที่ใช้คําศัพท์ นั้น (sample sentence)
นอกจากนี้ในพจนานุกรมจะมีการบอกจํานวนพยางค์ (sylables) โดยใช้เครื่องหมาย - คัน บางเล่มจะบอกวิธีการออก
เสียงแบบทั่วไป (pronunciation) และวิธีการออกเสียงแบบ phonics บางเล่มจะบอกรูปพหูพ จน์ (plurals) ของ
คําศัพท์ รากศัพท์ (roots and origins) และรูปขันกว่า -ขั้นสุดของคํา คุณศัพท์ เช่น happier ที่มีความสุขกว่ า ,
happiest ที่มีความสุขที่สุด ขอให้เข้าใจ เพียงว่าทุกอย่างที่ถูกเขียนไว้ในพจนานุกรมมีจุดประสงค์ทั้งหมด
คําศัพท์ประจําคาบนี้ขอเริ่มต้นที่ ๕ คําง่าย ๆ ก่อน ได้แก่
๑. Public (adj.) ความหมายแรกทําหน้าที่เป็นคําคุณศัพท์ ต้องมีคํานามตามหลังเสมอ คําว่า public
สามารถใช้สื่อความหมายได้หลายอย่างมาก และเมื่อนําไปรวมกับคํานามคําอื่นแล้วจะก่อให้เกิดศัพท์หรือคําที ่มี
ความหมายเฉพาะขึ้นมาได้ ดังนี้
- ที่เป็นของสาธารณะหรือประชาชน เช่น public funds แปลว่าเงินหรือกองทุนสาธารณะ
- ที่เกี่ยวกับสาธารณะหรือประชาชน เช่น public law แปลว่ากฎหมายมหาชน
- ที่กระทบสาธารณะหรือประชาชน เช่น public order แปลว่าความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ที่ทําเพื่อสาธารณะหรือประชาชน เช่น public prosecution แปลว่าการ ดําเนินคดีหรือการฟ้องคดีโดยรัฐ
และ public official แปลว่าเจ้าหน้าที่รัฐ
- ที่เปิดให้สาธารณะหรือประชาชน เช่น public meeting แปลว่าการประชุม ที่บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้ เรา
- ที่ใช้เงินของสาธารณะหรือประชาชน เช่น public road แปลว่าถนน สาธารณะ และ public library
แปลว่าห้องสมุดสาธารณะ
- ที่เป็นสิ่งที่รู้กันทั่วไป เช่น public fact แปลว่าข้อเท็จจริงทีร่ ู้กันทั่วไป อันนี้เป็นความหมายท้าย ๆ ของ
public ไม่ค่อยมีคนใช้
จะเห็นได้ว่าการแปลศัพท์กฎหมายยากกว่าศัพท์ทั่วไปตรงที่ต้องมีการแปลไทยเป็นไทยอีกที และหลายคํา
แปลตรงตัวไม่ได้ ต้องเอามาแปลงเป็นศัพท์กฎหมายอีก เช่น public order ถ้าแปลตรงตัวจะแปลว่าความสงบ
เรียบร้อยหรือระเบียบที่เกี่ยวกับสาธารณะ แต่พูดอย่างนี้ก็ไม่เป็นศัพท์กฎหมาย ศัพท์กฎหมายที่ถูกก็คือ “ความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน” ถ้าแปลเช่นนี้ นักกฎหมายจะเข้าใจทันที
ถ้าจะมีการให้แปลคําว่า public ในข้อสอบ อาจารย์จะให้คํานามมาด้วยเสมอ เพราะไม่สามารถแปลคําว่า
public คําเดียวลอย ๆ ได้
นอกจากนี้ public ยังทําหน้าทีเ่ ป็น noun แปลว่ากลุ่มคน หรือสาธารณชน โดยมี the นําหน้าเสมอใช้ว่า
the public
Idiom ที่มีคําว่า public ที่เจอบ่อยคือ in public แปลว่า ในที่สาธารณะ ส่วนคําที่มีความหมายตรงข้ามกับ
public (antonym) คือ
๒. Regime (N)
แปลว่าระบอบหรือรูปแบบของการปกครอง
Cambridge Dictionary ให้นิยามไว้ว่า a system or method of government ส่วน Webster ให้นิยาม
ไว้ว่า a government, especially an authoritarian (ที่ใช้อาํ นาจเผด็จการ) one
ระบอบในที่นี้หมายถึงระบอบการเมือง (Political Regime) ซึ่งแตกต่างจาก “ระบบการเมือง (Political
System)” ตรงที่ระบบพูดถึงขอบเขตของ “การเมือง” ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องของการเมือง เรื่องใดเป็นเรื่องกฎหมายหรือ
สังคม เป็นต้น ตัวอย่างของคําว่า regime หรือระบอบ เช่นนักปรัชญา Plato เคยแบ่งประเภทของระอบการปกครอง
ออกเป็น ๕ ระบอบ ได้แก่ Aristocracy (การปกครองโดยชนชั้นสูง), Timocracy (การ ปกครองโดยคนที่มีทรัพ ย์
สมบัติมาก), Oligarchy (คณาธิปไตย), Democracy (ประชาธิปไตย), และ Tyranny (การปกครองโดยทรราชหรือ
การปกครองที่กดขี่ข่มเหงประชาชน) ศัพท์ ๕ คํานี้ไม่ต้องท่อง เพราะนํามายกตัวอย่างประกอบคําว่าระบอบเท่านั้น
จะเห็นว่า หนึ่งในระบอบก็คือประชาธิปไตย
๓. Government (N)
- รัฐบาล
- องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่ปกครองหรือใช้อํานาจออกกฎในประเทศ รัฐ หน่วย หรือชุมชนใดชุมชนหนึง่
(คณะปกครอง)
- การปกครองที่ใดที่หนึ่ง เป็นคํานามของ to govern (V) แปลว่าปกครอง
คําที่ลงท้ายด้วย “ment” หรือ “tion” ส่วนใหญ่มักเป็นคํานาม
๔. Sovereignty (N)
อํานาจอธิปไตย ซึง่ หมายถึงอํานาจสูงสุดหรืออํานาจเต็มที่เป็นของตนเอง ไม่ถูกแทรกแซงหรือควบคุมจาก
ภายนอก
อํานาจอธิปไตย คืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศแบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย โดยมีสถาบันที่ใช้อํานาจ
อธิปไตยทั้ง ๓ แทนประชาชน (ประชาธิปไตย)
อํานาจอธิปไตย หมายถึง อํานาจที่แสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ไม่ขึ้น ต่อใคร หรือต้องเชือ่ ฟังคําสัง
คําบัญชาของผู้ใดที่เหนือตนโดยปราศจากความยินยอม ของตน (มานิตย์ จุมปา, (๒๕๔๓) “รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐” (ความรูเ้ บื้องต้น), กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิติธรรม, หน้า ๑๖.)
๕. Sovereign (N)
- ผู้ที่มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง หรือที่เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย (มักหมายถึงกษัตริย์)
- ผู้ปกครอง
Sovereign (Adj.) อย่าลืมว่าถ้าเป็น adjective ต้องตามด้วยคํานามเสมอ เพราะคําคุณศัพท์ทําหน้าที่ขยาย
คํานาม sovereign มีหลายความหมาย เรียงตาม ความหมายที่เจอบ่อยจากมากไปน้อย ดังนี้
- ที่เป็นของผู้ที่มีอํานาจสูงสุด sovereign power, sovereign authority
- ที่มีอํานาจสูงสุดหรือที่เป็นอิสระ Sovereign nation
- ที่มีความสําคัญมากหรือที่ปฏิเสธไม่ได้ sovereign right
ตัวอย่างประโยค
Sovereign power is said to lie with the people in some countries, and with a ruler in others.
อํานาจสูงสุดได้รับการกล่าวขานว่าอยู่กับประชาชนในบางประเทศ และอยู่กับ ผู้ปกครองในประเทศอื่น ๆ
Sovereignty belongs to the people.
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
National governments are losing their sovereignty by the force of globalization, immigration
and information revolution.
รัฐบาลแห่งชาติกำลังสูญเสียอํานาจอธิปไตยเนื่องมาจากพลังของโลกาภิวัฒน์ การอพยพย้ายถิ่นและการ
ปฏิวัติด้านข้อมูลข่าวสาร
National (Adj.) ขยายคํานาม government แปลว่าแห่งชาติ ประจําชาติ ประจําถิ่น
Are losing เป็นคํากริยาในรูป present continuous tense คือกาลที่บ่ง เหตุการณ์ที่กําลังเกิด (to be+
V.ing) verb แท้คือ to lose แปลว่าสูญเสีย ทําหาย
By the force of แปลว่า โดยพลังของ หรือเนื่องมาจาก
Information revolution เป็นตัวอย่างของคํานามที่ขยายคํานามด้วยกัน เหมือนกับ คําว่า coffee shop
(ร้านกาแฟ) ข้างต้น

You might also like