Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

คูมือ การเขียนชื่อทางพฤกษศาสตรของตนไม

และการจัดทําปายชื่อตนไม

ชื่อของตนไม
ในโลกของเรานี้ มีพืชพรรณชนิดตางๆ ขึ้นอาศัยอยูเปนจํานวนมาก แตละชนิดมีชื่อเรียกที่แตกตางกัน มีทั้งชื่อที่เรียกกัน
ในระดับทองถิ่นแคบๆ เชน ในระดับ ตําบล อําเภอ จังหวัด หรือ ในระดับภาค ระดับประเทศ ซึ่งชื่อที่ใชเรียกกันเหลานี้ เปนชื่อ
สามัญ (common name) หรือชื่อพื้นเมือง (local name) ตัวอยาง เชน ไมเสม็ดขาว มีชื่อพื้นเมืองในภาคใต เรียกวา “เสม็ด” ภาค
กลางเรียกวา “เสม็ดขาว” ในขณะที่ทองถิ่นมาลายู เรียกวา “กือแล” ซึ่งทั้ง 3 ชื่อนี้ เปนพรรณไมชนิดเดียวกัน แตมีชื่อเรียกแตกตาง
กัน หรือ ในกรณีของไม “กันเกรา” ประชาชนในจังหวัดนราธิวาส เรียก “ไมตําเสา” ในขณะที่ประชาชนในจังหวัดสุรินทร ซึ่งอยูคนละ
ภาคกัน เรียก “ไมมันปลา หรือ ไมตาเตรา” ดังนั้น จึงจะเห็นไดวา ตนไมชนิดเดียวกัน ตางสถานที่กัน ระยะทางหางกันไมมากนัก ก็
มีชื่อเรียกตางกันแลว ยิ่งในระดับระหวางประเทศ ซึ่งมีภาษาเปนของตนเอง ตางก็เรียกชื่อแตกตางกัน ทําใหเกิดความสับสน ดังนั้น
นักวิทยาศาสตร และ ผูรู ทั้งหลาย ซึ่งไดรวมกันคิดแกไขปญหานี้ ดวยการบัญญัติชื่อเปนสากลขึ้น และกําหนดใหทุกคน เรียกชื่อ
ตนไม หรือสิ่งมีชีวิต ที่เปนสิ่งเดียวกันนี้ เรียกเปนชื่อเดียวกัน ชื่อที่เปนสากลนี้ เ รี ย กว า ชื่ อ ทางพฤกษศาสตร (botanical name)

หลักการเขียนชื่อทางพฤกษศาสตรของตนไม
ชื่อทางพฤกษศาสตร หรือ ชือ่ วิทยาศาสตร (scientific name) ประกอบดวย 3 ชื่อยอย อยูใ นชือ่ เดียวกัน
ตามลําดับ คือ ชื่อสกุล (generic name) ชื่อชนิด (specific epithet) และ ชื่อคนตั้ง (author) ยกตัวอยางเชน ไมเสม็ด
ขาว มีชื่อพฤกษศาสตร วา Melaleuca cajuputi Powell ซึ่งสามารถอธิบายไดวา ไมเสม็ดขาวนี้ อยูในสกุล
Melaleuca ชนิด cajuputi และตั้งชื่อโดย Mr. Powell เปนตน โดยชื่อทางพฤกษศาสตรนี้ ถูกกําหนดใหเขียน
แตกตางไปจากตัวอักษรอื่นๆ เชน คําแรกของชื่อทางพฤกษศาสตรของไมเสม็ดขาว คือ Melaleuca ตัวอักษรแรก
จะตองเขียนดวยตัวพิมพใหญเสมอ และ คํากลางของชื่อ คือ cqjuputi ตัวอักษรแรกจะตองเขียนขึ้นดวยตัวพิมพ
เล็กเสมอ สวนคําสุดทายของชื่อซึ่งเปนชื่อของคนตั้ง คือ Powell จะตองขึ้นตนดวยตัวพิมพใหญ นอกจากนี้ ชื่อ
แรก และ ชื่อกลาง คือ คําวา Melaleuca cajuputi จะตองเขียนดวยตัวอักษรตัวเอียง กลาวคือเขียนวา Melaleuca
cajuputi Powell หรือหากจะเขียนดวยตัวอักษรธรรมดา จะตองขีดเสนใต คือ เขียนวา Melaleuca cajeputi
Powell หรือยกตัวอยางในกรณีชื่อของตนหมากแดง อาจเขียนได 2 แบบ ดังนี้ Cyrtostachys renda Blume
หรือ Cyrtosachys renda Blume เปนตน
ตัวอยางหลักการเขียนชื่อทางพฤกษศาสตรที่ถูกตอง
แบบที่ 1 Melaleuca cajuputi Powell
(ตัวอักษรพิมพเอน)
แบบที่ 2 Melaleuca cajuputi Powell
(ตัวอักษรพิมพธรรมดาขีดเสนใต)
ชื่อสกุล ตัวอักษรตัวแรก ชื่อผูแตง ตัวอักษรตัวแรก
เขียนดวยตัวพิมพใหญเสมอ เขียนดวยตัวพิมพใหญเสมอ
ชื่อชนิด ตัวอักษรตัวแรก
เขียนดวยตัวพิมพเล็กเสมอ

การจัดทําปายชื่อตนไม
การจั ด ทํา ป า ยชื่ อ บอกรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ต น ไม เปนสิ่งที่มีความสําคัญมาก เพราะสามารถใชเปน
เครื่องมือถายทอดที่สําคัญใหผูพบเห็นไดรูจักชื่อพรรณไม รูจักประโยชนของตนไม ซึ่งกอนจัดเขียนปายชื่อที่
สมบูรณนั้น ควรใหนักพฤกษศาสตร หรือผูรู รวมตรวจสอบชื่อ และเนื้อหาที่จะเขียนกอน เพื่อใหไดซึ่งชื่อและ
เนื้อหาที่ถูกสมบูรณ นําไปจัดทําปายสื่อความหมาย และติดตั้งบอกรายละเอียดของตนไมตอไป

วัสดุที่ใชทําปายชื่อตนไม
ไม เปนวัสดุที่นิยมใชกันมากที่สุด เพราะหาไดงาย และ ราคาถูก โดยอาจใชเศษไมที่เหลือใช หรือปกไม
แตจะตองเลือกชนิดไมที่มีความแข็งแรง ทนทาน ใชงานไดนาน และทําการไสกบ ตกแตงใหเรียบรอย การใชไม
เปนวัสดุทําปายชื่อ ทําใหมีความกลมกลืนกับธรรมชาติไดดี
แผนพลาสติกอาครีลิก เปนวัสดุที่ใชทํา ปายชื่อที่ตองการความประณีต สวยงามเปนพิเศษ
สังกะสี ใชสําหรับทําการติดเบอรหมายเลขตนไม เพื่อใชเปนดรรชนีสําหรับการศึกษาพรรณไม ในคูมือ
หรือติดเบอรตน ไมสําหรับการวัดขอมูลการเจริญเติบโต
ฟวเจอรบอรด ใชสําหรับติดชื่อตนไมเปนการชั่วคราว ในลักษณะของงานเรงดวน
กระดานอัด ใชทําปายชื่อชั่วคราว

ขนาดของปายชื่อตนไม
ขนาดของปายชื่อตนไมอาจมีไดหลายขนาดตามความเหมาะสมของตนไมที่จะสื่อ และบริเวณที่จะติดตั้ง
แตอยางไรก็ตามปายที่ใชในการติดที่ลําตนของตนไม ไมควรใชปายที่มีขนาดใหญจนเกินไป เพราะจะทําใหบัง
ทัศนียภาพ ขนาดปายที่เหมาะสม มีความกวางประมาณ 10 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร แตถาเปนปายที่ใชสื่อ
สําหรับการปกลงดิน อาจจะปรับใหมีขนาดใหญเพิ่มขึ้นไดตามปริมาณเนื้อหาที่ตองการสื่อ
เนื้อหาในปายชื่อตนไม
ปายชื่อตนไมโดยทัว่ ไปควรมีเนื้อหาครอบคลุมดังนี้
- ชื่อสามัญหรือชื่อทองถิ่น เปนชื่อทั่วๆไป ที่ประชาชนในทองถิ่นใชเรียกตนไมกนั อาจมีหลายชื่อ โดย
การเขียนใหเขียนชื่อทองถิ่นภาคกลางเปนชื่อแรก และนิยมเขียนไวบรรทัดบนสุดของแผนปาย
- ชื่อพฤกษศาสตร เปนชื่อที่ใชเรียกกันอยางเปนทางการทั่วโลก ประกอบดวย ชื่อสกุล ชื่อชนิดและชื่อ
ของผูต้งั ชื่อ แตสําหรับในกรณีการเขียนปายชื่อที่ไมเปนทางการมากนัก อาจเขียนเฉพาะชื่อสกุล และชื่อชนิดของ
ตนไมก็ได
- ชื่อวงศ เปนชื่อกลุมของพืชชนิดนัน้ ๆ เชน กะบุย ตีนเปด ชวนชม อยูในวงศเดียวกัน คือ วงศไม
ตีนเปด (APOCYNACEAE) การเขียนชื่อวงศของพืชนิยมเขียนตัวพิมพใหญทุกตัวอักษร
- ประโยชนของตนไม เปนการอธิบาย
คุณ คาตนไม ที่มีตอมนุษยในดานตางๆ เชน คุณคาดานปจจัยสี่ ดานประวัติศาสตร รวมตลอดจนดาน
ศิลปวัฒนธรรม หรือสมุนไพรพื้นบาน
- แหลงกําเนิด ในกรณีเปนไมที่ปลูกขึ้นมาใหม ควรเขียนแหลงกําเนิดหรือที่มาของกลาไม ตนนั้นไว
ดวย ทั้งนี้เพื่อประโยชนในการอางอิง คนควา และศึกษาทางในอนาคต

กะบุย , เที๊ยะ
ชื่อพฤกษศาสตร Alstonia spathulata Bl.
ชื่อวงศ APOCYNACEAE
ประโยชน เนื้อไมใชแกะสลัก และทําทุน ลอย
มีน้ําหนักเบามาก ขุดลอมยายไป
ปลูกที่อื่นไดงา ย
 ิ โ ิ

สีของปายชื่อตนไม
เนื่องจากปายชื่อของตนไม ใชติดกับตนไมภายนอกอาคาร ดังนั้นไมควรจะใชสีที่มีความสดมากจนเกินไป
โดยสีพื้นนิยมใชสีที่เขม เชน สีน้ําตาล สวนสีของตัวหนังสือ ควรจะใชสีเหลืองหรือสีขาว เพราะทําให
ตัวหนังสือดูเดนชัดขึ้น สวนปายชื่อที่ทําดวยแผนอาครีลิก และฟวเจอรบอรด นิยมตัดสติกเกอรมาติดแทนการ
เขียน ซึ่งควรเปนสีขาว หรือ สีเหลือง เชนกัน
การติดตั้งปายชื่อตนไม
ในกรณีของไมยืนตนซึ่งมีขนาดใหญ ใหใชวิธีการติดตรงลําต นของตน ไม โดยใชเชือกรัดหรือใชสายลวด
ผามานสีน้ําตาลรัด ไมควรจะใชตะปูตอกติดในเนื้อไม ความสู ง ของการติ ด ตั้ ง ควรจะให อ ยู ใ นระดั บ สายตา ซึ่ง
สามารถมองเห็นไดชัดเจน และจะตองคอยทําการสํารวจเชือกที่รัดตนไมอยูเสมอ เพราะตนไมบางชนิดโตเร็ว ทํา
ใหสายรัดตึง อาจรัดตนไมใหคอดกิ่วจนเปนเหตุใหตนไมหักได สวนการปายชื่อสําหรับสื่อความหมาย ไมลมลุกหรือ
ไมพุมที่มีขนาดเล็ก ควรใชวิธีการติดตั้งโดยการใชปายแบบปกดิน ดวยการใชแผนปายมีลักษณะเอียง ปกทํามุม
ประมาณ 45 องศา กับพื้นดิน

ผูเขียนและรวบรวม นายธนิตย หนูยิ้ม


ศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
(งานปาไม) โทร. 073-631040
Tanitnuyim@hotmail.com

You might also like