Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 13

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

TOOLS
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ CRPAO
นางสาววชิรญาณ์ มานะ School
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ ตาแหน่ง ทาเลที่ตั้งการ
กระจาย ขอบเขต ความหนาแน่นของข้อมูล และปรากฏการณ์ต่างๆ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จาแนกตามหน้าที่
หลักของการใช้งานได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้

แผนที่ คือ อุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก หรือสิ่ง


ที่ปรากฏบน พื้นโลก ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดย
ย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ
องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิ
ประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้าฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดย
มีองค์ประกอบที่สาคัญ ดังนี้
1 ชื่อแผนที่ เป็นสิ่งที่มีความจาเป็นสาหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง
เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคาอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่
ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น
2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้น
มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตาแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดง ตาแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อ
บอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตาแหน่งต่าง ๆ
3 .ทิศทาง มีความสาคัญต่อการค้นหาตาแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและ
ตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็น
เครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับ
เข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้ ในแผนที่
จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กาหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้าน
บานของแผนที่คือทิศเหนือ
4. สั ญ ลั ก ษณ์ เป็ น เครื่ อ งหมายที่ ใ ช้ แ ทนสิ่ ง ต่ า ง ๆ ในภู มิ ป ระเทศจริ ง เพื่ อ ช่ ว ยให้ ผู้ ใ ช้ ส ามารถอ่ า และแปล
ความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคาอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
5. มาตราส่วน เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ มาตราส่วน
ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใด
มาตราส่วนแผนที่” มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคาพูด
และมาตราส่วนแบบกราฟิกมาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศการเขียนมาตราส่วน เขียนได้หลายวิธี เช่น
1 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000 การคานวณระยะทางบนแผนที่คานวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ =
ระยะ บนแผนที่ระยะในภูมิประเทศ

6. เส้นโครงแผนที่ เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกาหนดตาแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็น


มาตรฐานไว้ใช้อ้างอิง ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย

6.1 เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0


องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องสา เส้นขนานที่สาคัญประกอบด้วย
1) เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
2) เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
3) เส้นทรอปิกอฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิดาใต้
4) เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
5) เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้

6.2 เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มี


ค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตาบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้าน
ละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่
หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากลเส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม ( Prime Meridian )
คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตาบล กรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิง
ในการนับเส้นเม ริเดียนอื่น ๆ ต่อไปเส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้น
องศาตะวันตก 180 เส้นความสาคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตาแหน่งที่ตั้ งต่างๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกัน
เส้นขนาน ( เส้นละติจูด ) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก
>> แสดงเส้นศูนย์สูตร เส้นขนาน เส้นเมริเดียน และเส้นเมริเดียนเริ่มแรก <<
7. พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่บอกตาแหน่งของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและ
เส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด(เส้นเม
ริเดียน)ดังนั้น ละติจูดจึงเป้พิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นขนาน ส่วนลองจิจูดก็เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนส้นเมริเดียน ซึ่งทั้งละติจูด
และลองจิจูดมีค่าของมุ ม เป็ นองศา โดย 1 องศา มีค่าเท่ากับ 60 ลิปดา และ 1 ลิปดา มีค่าเท่ากับ 60 ฟิลิปดาพิ กั ด
ภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตาแหน่งที่ตั้งของจุดตาแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่ง
ประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนาน ตัดกันเป็น “จุด”
1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง
90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง
2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออก
และทิศตะวันตก จนถึง 180 องศาปัจจุบันการบ่งบอกจุดตาแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและ
ถูกต้องโดยใช้จีพีเอเครื่องมือกาหนดตาแหน่งบนพื้นผิว โลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือ
ชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวกและให้ข้อมูลตาแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นา
เครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่างๆได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วย
รถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์ เครื่องจะรัสัญญาณจากดาวเที่ยมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้
ทราบ

ชนิดของแผนที่
แผนที่สามารถจาแนกตามลักษณะการใช้ได้ 7 ชนิด ย่อยๆ ดังนี้

1. แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงความสูงต่าของพื้นผิวโลก
ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก
ต่างๆ เช่น ภูเขา ทะเล แม่น้า ที่ราบสูง เกาะ ทะเลสาบ และยัง
รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น ถนน ทางรถไฟ สนามบิน
ท่าเรือ เมือง เป็นต้น
2. แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่แสดงลักษณะการเมืองและการปกครองของรัฐหรือประเทศ เช่น แผนที่แสดงการแบ่งเขต
จังหวัดของประเทศไทย เป็นต้น

3. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่จัดทาขึ้นเพื่อ
วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะหรือข้อมูลที่
ต้องการศึกษา เช่น แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่
ธรณีวิทยา เป็นต้น
4. แผนที่เศรษฐกิจ คือ แผนที่ใช้แสดงลักษณะ
การกระจายหรือการหนาแน่นของประชากร
เส้นทางการค้า เช่น เขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

5. แผนที่ประวัติศาสตร์ คือ แผนที่แสดงอาณาจักรสมัยต่างๆ


ชาติพันธุ์ ความเป็นมา และการอพยพของประวัติศาสตร์
6. แผนที่เล่ม คือ แผนที่ที่รวบรวมแผนที่ไว้หลายๆ ฉบับมาไว้ในเล่มเดียว ซึ่งอาจมีแผนภูมิสถิติและตารางที่เกี่ยวข้องกับ
แผนที่เล่มนั้นประกอบด้วยก็ได้ แผนที่เล่มอาจประกอบด้วยแผนที่หลายชนิดอยู่ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนที่แสดงลักษณะ
ภูมิประเทศ แผนที่รัฐกิจ แผนที่ภูมิอากาศ

7. แผนทีภ่ าพถ่าย คือ แผนที่ที่เกิดจากการถ่ายภาพทางอากาศ ไม่ว่าจะมาจากเครื่องบินหรือถ่ายจากดาวเทียม


ประโยชน์ของแผนที่
แผนที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ บนพื้นผิวโลก แผน
ที่จึงเป็นอุปกรณ์สาคัญในการดาเนินชีวิตประจาวันและ
กิจการต่างๆ ตลอดจนการศึกษาหาความรู้มาตั้งแต่สมัย
โบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่ งเกี่ยวข้องกับชีวิ ตมนุษย์เรามา
โดยตลอด แผนที่จึงมีประโยชน์ดังนี้
1. ใช้ ศึ ก ษาข้ อ มู ล ทางภู มิ ศ าสตร์ของพื้ นที่ ต่ า ง ๆ ได้ รู้
ข้อมูลที่ถูกต้อง ประหยัดเวลาและ ค่าใช้ จ่าย ไม่ต้องไป
ยังสถานที่จริง
2. ใช้เป็นเครื่องมือวางแผนและพัฒนาพื้นที่ ข้อมูลจาก
แผนที่ช่วยในการวางแผนและพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น
พัฒนาการเกษตร การขุดคลองชลประทาน และการตัด
ถนนสายใหม่ เป็นต้น
3. ใช้ประโยชน์ในการดาเนินชีวิตประจาวัน เช่น ใช้แผนที่เส้นทางการจราจรเพือ่ การเดินทางและท่องเที่ยวเป็นต้น

ลูกโลก
ลู ก โลกเป็ น หุ่ น จ าลองของโลกที่ มี รู ป ร่ า งลั ก ษณะสั ณ ฐานเป็ น ทรงกลม แสดง
ตาแหน่งและการกระจายของพื้นที่ประเทศ ทวีป ทะเล และมหาสมุทรต่าง ๆ
ประโยชน์จากลูกโลก
1. ศึกษาข้อมูลของประเทศ ทวีป ทะเล และมหาสมุทร เพื่อให้ทราบถึงที่ตั้ง
ขนาดและ รูปร่าง และอาณาเขตติดต่อ
2. ศึกษาเส้นเมอริเดียน โดยเฉพาะเส้นเมอริเดียนแรก 0 องศา และเส้นเม
อริเดียน 180 องศา ที่เรียกว่า เส้นเปลี่ยนเวลา
3. ศึกษาเส้นขนาน (หรือเส้นขนานละติจูด) โดยเฉพาะในตาแหน่งของเส้น
ศูนย์สูตร 0 องศา
4. ศึ ก ษาทิ ศ ทางการหมุ น ของโลก โลกหมุ น จากทิ ศ ตะวั น ตกไปทางทิ ศ
ตะวั น ออก เมื่ อ น า ลู ก โลกมาหมุ น ในทิ ศ ดั ง กล่ า ว จะท าให้ เ ข้ า ใจเรื่ อ ง
ปรากฏการณ์รับแสงอาทิตย์แรก ซึ่งจะเกิดทางด้านตะวันออกของประเทศ
ไทยเสมอ
5. ศึกษาเรื่องการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โดยนาลูกโลกมาหมุนตามวง
โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ซึ่งแต่ละพื้นที่ของโลกจะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่
เท่ากัน ทาให้ เข้าใจเรื่องการเกิดฤดูกาล
เข็มทิศ
เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลด้านทิศทาง มีหลักการทางานโดย
อาศัยแรงดึงดูด ระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลกกับแม่เหล็กของเข็มทิศเข็ม
แม่เหล็กจะชี้อยู่ในแนวเหนือ – ใต้ ตลอดเวลา หน้าปัดของเข็มทิศคล้าย
กับหน้าปัดนาฬิกา ซึ่งจะมีการแบ่งขนาดของมุม โดยเริ่มนับทิศเหนือเป็น
หลัก มีค่าเท่ากับ 0 องศา เวียนตามเข็มนาฬิกา ไปทางทิศตะวันออก
เท่ากับ 90 องศา จากทิศเหนือไปทิศใต้เท่ากับ 180 องศา จากทิศเหนือ
ไปทิศตะวันตกเท่ากับ 270 องศา และเมื่อเวียนมาบรรจบที่ทิศเหนือ จะ
มีค่าเท่ากับ 360 องศา หรือ เทียบกับหนึ่งวงกลมนั้นเอง
ประโยชน์ของเข็มทิศ ช่วยในการเดินทาง เช่น การเดินทางทางทะเล เครื่องบิน การเดินเท้า การเดินป่า ไปยังตาแหน่ง
ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องใช้เข็มทิศประกอบกับแผนที่ และจะต้องหาทิศเหนือเพื่อจะได้รู้ทิ ศและค่าของมุมที่เบี่ยงเบนไปจากทิศ
เหนือ

ภาพถ่ายทางอากาศ
ภาพถ่ายทางอากาศ คือ ภาพของภูมิประเทศ ที่ปรากฏอยู่บน
ผิวโลกซึ่งได้จากการถ่ายภาพ จากที่สูงในอากาศเหนือพื้นโลก
โดยใช้เครื่องบิน หรือบอลลูนที่มีการติดกล้องถ่ายภาพแล้วบิน
เหนือบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพ เมือ่ กล้องถ่ายภาพบันทึกภาพ
นั้นไว้แล้วจึงนามาเรียงต่อกันก็จะเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่จริงบนผิวโลก
ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศ
สารวจพื้นที่เพื่อทาประโยชน์ด้านต่าง ๆ อาทิเช่น สารวจแหล่ง
โบราณคดี แหล่งท่องเที่ยว ทาโฉนดที่ดิน ก่อสร้าง วางผังเมือง
จัดทาแผนที่ ให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น ศึกษาสภาพพื้นผิวโลก เพื่อ
พัฒนาแหล่งทรัพยากร
ภาพถ่ายดาวเทียม

ดาวเทียมมีอุปกรณ์ที่บันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ระบบกล้องหลายช่วง
คลื่นจึงแตกต่างจากกล้องถ่ายรูปธรรมดา โดยบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลข ของ
ค่าการสะท้อนช่วงคลื่นแสง เนื่องจากวัตถุแต่ละอย่างจะให้ค่าการสะท้อน
ของแสงอาทิตย์ เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เราจึงสามารถจาแนกวัตถุ ต่าง ๆ
ได้โดยพิจารณาจากลักษณะของสิ่งที่ปรากฏบนภาพ เช่น สี รูปร่าง รูปแบบ
ซึ่งข้อมูลที่ บันทึกสามารถส่งกลับมายังสถานีรับบนโลกได้ทันที

ประโยชน์ของภาพถ่ายดาวเทียม
1. ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบและได้มีการ
ดาเนินงานในพื้นที่แล้ว เช่นพื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดไม้จาเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่าง
ต่อเนื่อง คือการเข้าไปสังเกตการณ์การตรวจวัดหรือตรวจสอบ หากแต่ ละพื้นที่นั้นมีขนาดใหญ่การติดตาม
ตรวจสอบก็จะทาได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงต้องนาภาพถ่ายดาวเทียมเข้ามาใช้
2. ด้านการทาแผนที่ ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนามาทาแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ดิน เป็น
ต้น สาหรับในประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมค่อนข้างจากัด
3. ด้านอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนามาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วงเวลาตลอด 24
ชั่วโมง ทาให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยาและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น

การรับรู้ระยะไกล
การรับรู้ระยะไกลหรือ รีโมทเซนซิง ประกอบด้วยคา 2
คา คือ รีโมท หมายถึง ระยะไกล และ เซนซิง หมายถึง
การสัมผัส หรือ การรับรู้ เมื่อนามารวมกันจึงหมายถึง
การรับสัญญาณภาพ ข้อมูล หรือตัวเลข จากวัตถุหรือ
พื้นที่เป้าหมายบนพื้นผิวเปลือกโลก โดยไม่ต้องสัมผัส
กับวัตถุหรือพื้นที่นั้น ๆ แต่จะใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูล
ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมทาหน้าที่แทน โดยอาศัยการะ
บวนการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจาก 2 แหล่งกาเนิด คือ
คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า จากดวงอาทิ ต ย์ และ คลื่ น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่สร้างจากดาวเทียม
ประโยชน์ของรีโมทเซนซิง
1. การพยากรณ์อากาศ วิเคราะห์ปริมาณการกระจายของฝนในแต่ละวัน คานวณหาอัตราความเร็ว ทิศทาง และ
ความรุนแรงของพายุที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า หรือ พยากรณ์ความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้นได้
2. ด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านน้า อากาศ เสียง ขยะ และ
สารพิษ
3. สารวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน นามาใช้สนับสนุนติดตามและประเมินแนวโน้มการใช้ที่ดิน ประเภทต่าง ๆ ประเมิน
บริเวณพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกพืชต่าง ๆ
4. สารวจด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา จัดทาแผนที่ภูมิประเทศ ประเมินหา แหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิง
ธรรมชาติ แหล่งน้าบาดาล การสร้างเขื่อน
5. การเตือนภัยจากธรรมชาติ ติดตามพื้นที่ไฟป่าและความเสียหายจากไฟป่า
รูปแบบการนาเสนอข้อมูลภูมิศาสตร์

1. แบบบรรยาย นาเสนอข้อมูลที่มีเนื้อหาสาระการบรรยายความ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนนัก


2. แผนภูมิ นาเสนอข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยจัดระบบข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายต่อการรับรู้ โดยแสดงเป็น
ตารางหรือ เส้น และรูปวงกลม
3. แผนผัง นาเสนอข้อมูลในแบบของรูปภาพที่มองจากมุมสูง เพื่อต้องการให้เห็นภาพรวมของ บริเวณใดบริเวณ
หนึ่ง แผนผังจะเหมาะกับการจาลองพื้นที่เล็ก ๆ ที่มีรายละเอียดน้อยกว่าแผนที่
4. กราฟ นาเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ เหมาะกับการเปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขหลาย ๆ ชุด เพื่อให้ เห็นความแตกต่าง
และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้น

You might also like