โครงงานมอด

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 37

เรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง

ภาพปก

ผู้จัดทำ
นายสราวุฒิ เทียมแสง ชั้น ม.5/3 เลขที่ 5
นายวราวุธ สุวรรณปา ชั้น ม.5/3 เลขที่ 6
นายปาราเมศ ยิ่งนอก ชั้น ม.5/3 เลขที่ 8
นางสาวอภิสรา ยงหวาน ชั้น ม.5/3 เลขที่ 10
นายณัฐชนน ธนะสูตร ชั้น ม.5/3 เลขที่ 14
นางสาวภัคจิรา มุ่งเรียบกลาง ชั้น ม.5/3 เลขที่ 16
นางสาวอินทิรา อภัยภักดี ชั้น ม.5/3 เลขที่ 20
นางสาวอภิณห์พร กุลอุปฮาด ชั้น ม.5/3 เลขที่ 27
นางสาวอรปรียา คงสมบัติ ชั้น ม.5/3 เลขที่ 28
นายเจษฎากร เหวขุนทด ชั้น ม.5/3 เลขที่ 30

ครูที่ปรึกษา นางสาวบุษกร สุภาผล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I32202


โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์” อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
เรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง

ผู้จัดทำ
นายสราวุฒิ เทียมแสง ชั้น ม.5/3 เลขที่ 5
นายวราวุธ สุวรรณปา ชั้น ม.5/3 เลขที่ 6
นายปาราเมศ ยิ่งนอก ชั้น ม.5/3 เลขที่ 8
นางสาวอภิสรา ยงหวาน ชั้น ม.5/3 เลขที่ 10
นายณัฐชนน ธนะสูตร ชั้น ม.5/3 เลขที่ 14
นางสาวภัคจิรา มุ่งเรียบกลาง ชั้น ม.5/3 เลขที่ 16
นางสาวอินทิรา อภัยภักดี ชั้น ม.5/3 เลขที่ 20
นางสาวอภิณห์พร กุลอุปฮาด ชั้น ม.5/3 เลขที่ 27
นางสาวอรปรียา คงสมบัติ ชั้น ม.5/3 เลขที่ 28
นายเจษฎากร เหวขุนทด ชั้น ม.5/3 เลขที่ 30

ครูที่ปรึกษา นางสาวบุษกร สุภาผล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I30202


โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์” อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ชื่อเรื่อง : กับดักมอดจากลูกปิงปอง
ผู้จัดทำ : นายสราวุฒิ เทียมแสง
นายวราวุธ สุวรรณปา
นายปาราเมศ ยิ่งนอก
นางสาวอภิสรา ยงหวาน
นายณัฐชนน ธนะสูตร
นางสาวภัคจิรา มุ่งเรียบกลาง
นางสาวอินทิรา อภัยภักดี
นางสาวอภิณห์พร กุลอุปฮาด
นางสาวอรปรียา คงสมบัติ
นายเจษฎากร เหวขุนทด
ที่ปรึกษา : นางสาวบุษกร สุภาผล
โรงเรียน : โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”
ปีการศึกษา : 2563

บทคัดย่อ

โครงงงานเรื่อง “กับดักมอดจากลูกปิงปอง” มีแนวคิดมาจากการที่ประเทศไทยมีการบริโภค


ข้าวสวยเป็นมื้ออาหารหลักในชีวิตประจำวันนับแต่อดีต และข้าวสวยก่อนปรุงสุกนั้นเป็นข้าวสารมาก่อน
ทำให้มีศัตรูทางธรรมชาติอย่างมอดข้าวสารตามมาด้วย ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง
มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและสร้างกับดั กมอดขึ้นจากลูกปิงปองซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามร้านค้า
ทั่วไป โดยมีขั้นตอนการศึกษาทดลองดังนี้
ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าโดยการใช้กับดักมอดจากลูกปิงปองในการทดลองใช้จริงกับมอด
ข้าวสารตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 จากนั้นนำข้อมูลที่ ได้มาเปรียบเทียบ
กันว่าลูกปิงปองสีอะไรจึงจะเหมาะกับการนำมาทำเป็นกับดักมอดมากที่สุด
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าลูกปิงปองสีดำและติดแลคซีนสีดำเหมาะกับการนำมาทำเป็นกับดัก
มอดมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า มอดข้าวสารเข้าไปในลูกปิงปองสีดำได้มากกว่าลูก
ปิงปองสีส้มดังที่กล่าวไปข้างต้น

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเรื่อง กับ ดักมอดจากลูกปิงปอง ในครั้งนี้ส ำเร็จลุล ่วงได้โดยความช่วยเหลือจาก


นางสาวบุ ษ กร สุ ภ าผล อาจารย์ ท ี ่ ป รึ ก ษาโครงงานที ่ ไ ด้ ใ ห้ ค ำเสนอแนะ แนวคิ ด ตลอดจนแก้ ไ ข
ข้อบกพร่องต่าง ๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเรื่องนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้ศึกษาจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หากโครงงานเรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัยเป็น
อย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วยและข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ

นายสราวุฒิ เทียมแสง
นายวราวุธ สุวรรณปา
นายปาราเมศ ยิ่งนอก
นางสาวอภิสรา ยงหวาน
นายณัฐชนน ธนะสูตร
นางสาวภัคจิรา มุ่งเรียบกลาง
นางสาวอินทิรา อภัยภักดี
นางสาวอภิณห์พร กุลอุปฮาด
นางสาวอรปรียา คงสมบัติ
นายเจษฎากร เหวขุนทด

สารบัญ

เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า 1
1.4 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า 1
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 2
2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับข้าว 2
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับมอด 7
2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับลูกปิงปอง 9
2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับแลคซีน 9
2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับสี 10
2.6 เอกสารอ้างอิง 11
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า 12
3.1 วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน 12
3.2 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 12
3.3 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง 12
3.4 ขั้นตอนการประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง 13
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 15
4.1 บันทึกผลและดำเนินงาน 15
4.2 ต้นทุนการผลิต 16
4.3 การจัดจำหน่าย 16

สารบัญ (ต่อ)

เรื่อง หน้า
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 17
5.1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 17
5.2 อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 17
5.3 ข้อเสนอแนะ 17
บรรณานุกรม 18
ภาคผนวก 19
ภาคผนวก ก 22
ภาคผนวก ข 23
ประวัติผู้จัดทำ 24

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
3.3 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง 12
3.4 ขั้นตอนการประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง 13
4.1 บันทึกผลและดำเนินงาน 15
4.2 ต้นทุนการผลิต 16
4.3 การจัดจำหน่าย 16

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
2.1 ข้าวสาร 3
2.2 ข้าวหอมมะลิ 105 3
2.3 ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา 3
2.4 ข้าวเหนียว กข. 6 4
2.5 ข้าวเหนียวเขาวง 4
2.6 ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 4
2.7 ข้าวเหนียวดำ 4
2.8 ข้าวเหลืองปะทิว 5
2.9 ข้าวเจ๊กเชยเสาให้ 5
2.10 ข้าวกล้อง 6
2.11 ข้าวไรซ์เบอร์รี 6
2.12 ข้าวมันปู 6
2.13 ข้าวสังข์หยดพัทลุง 6
2.14 มอดข้าวสาร 7
2.15 มอดบนข้าวสาร 9
2.16 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 1 10
2.17 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 2 10
2.18 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 3 11
2.19 กับดักมอดข้าวสารจากปล้องไม้ไผ่ 11
6.1 นำปากกาเมจิกสีดำมาขีดรอบลูกปิงปอง 19
6.2 เมื่อขีดเส้นเสร็จแล้วให้นำเลื่อยมาตัดตามรอยที่ขีดเอาไว้ 19
6.3 นำแลคซีนสีดำทีต่ ัดแล้วนำไปติดกับลูกปิงปองให้เรียบร้อย 20
6.4 หุ้มแลคซีนสีดำให้ติดกับลูกปิงปอง 20
6.5 นำไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้เจาะรูแลคซีน 21
6.6 จัดทำบอร์ดโครงงาน 21
6.7 สมาชิกในกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล 22
6.8 สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคัดกรองข้อมูล 22
6.9 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล 23
1
บทที่ 1
บทนำ

1. ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
เนื่องจากอดีตตลอดจนถึงปัจจุบันประชาชนชาวไทยนิยมรับประทาน “ข้าวสวย” เป็นมื้ออาหาร
หลักในแต่ละมื้อของชีวิตประจำวันจึงทำให้หลายครัวเรือนมีข้าวสารอยู่คู่ประจำทุกบ้าน แต่ในยุค
ปัจจุบันนั้นแตกต่างกับในอดีตอย่างมากในเรื่องเมนูอาหารที่มีความหลากหลายกว่ามาก บางเมนูมักจะ
ทำด้วยเส้นมากกว่าข้าวและบางเมนูเองก็มักมีแต่ผัก ผลไม้อย่างเช่น สลัด เป็นต้น และวิถีชีวิตของคน
ไทยในสมัยนี้ล้วนเต็มไปด้วยความเร่งรีบในแต่ละวันทำให้หลายครัวเรือนนิยมออกไปรับประทานอาหาร
นอกบ้านเสียมากกว่าทำอาหารรับประทานเอง
เนื่องจากข้าวสารที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้นมักจะมีศัตรูทางธรรมชาติหรือ “มอดข้าวสาร” มา
อาศัยอยู่เสมอเมื่อมีการซื้อมาไว้เป็นเวลานาน โดยอิงตามที่กล่าวไปในข้างต้นว่าในสมัยปัจจุบันคนไทย
หลายคนมักนิยมรับประทานอาหารประเภทเส้นมากกว่าข้าวสวย และนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน
มากกว่าทำรับประทานเองทำให้ข้าวสารที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิมถูกปล่อยปะละเลยจึงทำให้ศัตรูทาง
ธรรมชาติเข้าไปกัดกินข้าวสารได้
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อลดจำนวนมอดข้าวสารในถังข้าวสารลง
2.2 เพื่อป้องกันลักษณะภายนอกของข้าวสารให้เสียหายน้อยที่สุด
2.3 เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้าวสาร
3. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
มอดข้าวสารเข้าไปในลูกปิงปองสีดำได้มากกว่าลูกปิงปองสีส้ม
4. ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
4.1 ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลองครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึง วันที่ 30
ธันวาคม 2563
4.2 การทดลองครั้งนี้มุ่งทดลองไปที่ข้าวสารที่นำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวันเท่านั้น
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถลดจำนวนมอดข้าวสารได้จริง
2.สามารถคงลักษณะภายนอกของข้าวสารให้สมบูรณ์ได้มากที่สุด
3.สามารถลดจำนวนมอดได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นของข้าวสาร
2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า

ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องกับดักมอดจากลูกปิงปอง นี้ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจาก


เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับข้าว
2.1.1 ข้าวหอมมะลิ
2.1.2 ข้าวเหนียว
2.1.3 ข้าวขาว
2.1.4 ข้าวเพื่อสุขภาพ
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับมอด
2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับลูกปิงปอง
2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับแลคซีน
2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับสี
2.6 เอกสารอ้างอิง

2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับข้าว
ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa ข้าวเป็น
ธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553
ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด
ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพด
ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์
ทั่วโลกบริโภค
หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ใน
ภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบ
แม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าว
ถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป
ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อนข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้
ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุด ม
สมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50-100 เซนติเมตร และกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อย
ยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5-12 มิลลิเมตร และหนา 2-3 มิลลิเมตร
การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก
เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบ
ทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่ง
พื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญ
3
ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่ง
หรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการ
ของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ
และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธี
ทั้งหมดในการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่าง
ช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน

(ภาพที่ 2.1 ข้าวสาร)


พันธุ์ของข้าวในประเทศไทย
- ข้าวหอมมะลิ มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย พันธุ์ที่นิยมปลูกและบริโภค
กันอย่างแพร่หลาย
- ข้าวเหนียว พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ข้าวขาว
- ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวพวกนี้จะเป็นข้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการาขัดสี ข้าวที่ได้จึงยังคงคุณค่าของ
วิตามินและกากใยไว้สูง
2.1.1 ข้าวหอมมะลิ

(ภาพที่ 2.2 ข้าวหอมมะลิ 105) (ภาพที่ 2.3 ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา)


1. ข้าวหอมมะลิ 105
เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่อื่นได้ไม่ดีเท่ากับปลูกในไทย
และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีต้น
กำเนิดจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าว
4
พื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุงข้าว
กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก
2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา
เป็นข้าวพันธุ์ที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือที่ราบอันมีอาณาเขต
กว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันว่า “ทุ่ งกุลาร้องไห้” ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว
และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่น
หอมและนุ่ม
2.1.2 ข้าวเหนียว

(ภาพที่ 2.4 ช้าวเหนียว กข. 6) (ภาพที่ 2.5 ข้าวเหนียวเขาวง)

(ภาพที่ 2.6 ข้าวเหนียวเขี้ยวงู) (ภาพที่ 2.7 ข้าวเหนียวดำ)


3. ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6
ข้าวพันธุ์มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม
ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อ
นำไปหุงแล้วข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมีคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี เป็นข้าวเหนียวที่ให้
ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
5
4. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธ์ุ
เป็นข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโท และตำบล
หนองห้าง) และกิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคูและตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี
แคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อย ส่งผลให้ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์มีความนุ่มและหอม
มาก เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ และข้าวที่นึ่งแล้วเมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมง จน
ข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้
5. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู
เป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว และทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี เมื่อนำมาหุงให้สุกเม็ดข้าวที่ได้จะ
เหนียวนุ่ม เรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวในลักษณะเลื่อมเป็นมันและมีกลิ่นหอมน่ารั บประทาน ข้าวเหนียว
เขี้ยวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำข้าว
เหนียวมูน เป็นข้าวที่ปลูกในทางภาคเหนือ นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเชียงราย
6. ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ
เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเมล็ดค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมนำมาทำเป็นขนม
หวานมากกว่าข้าวอื่น ๆ และเป็นข้าวที่ชาวนายกย่องให้เป็นพญาข้าวเหนือข้าวพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งชาวนามี
ความเชื่อว่าข้าวก่ำจะปกป้องคุ้มครองข้าวพันธุ์อื่นที่อยู่ในท้องนาไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตใน
การเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล และยับยั้งการเจริญเติบโต
ของโรคมะเร็ง
2.1.3 ข้าวขาว

(ภาพที่ 2.8 ข้าวเหลืองปะทิว) (ภาพที่ 2.9 ข้าวเจ๊กเชยเสาให้)


7. ข้าวเหลืองประทิวชุมพร
เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในฤดูนาปี เก็บเกี่ยวในช่วง
เดือนธันวาคม มีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และปลูกในที่ที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี อีกทั้งยังทนต่อโรคของ
แมลงได้ด้วย ลักษณะเมล็ดมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว มีน้ำหนักเมล็ดที่ ดี เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวขึ้น
หม้อ จึงเป็นข้าวที่ชาวนาชุมพรมักนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ได้ผลผลิตที่ดี เหมาะกับพื้นที่และสภาพ
อากาศ
6
8.ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้
พันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่มาของชื่อมาจากชื่อผู้นำสายพันธุ์ข้าว
พันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ คือพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ “เจ๊กเชย” ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนาน
ตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อ
ราดแกง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
2.1.4 ข้าวเพื่อสุขภาพ

(ภาพที่ 2.10 ข้าวกล้อง) (ภาพที่ 2.11 ข้าวไรซ์เบอร์รี)

(ภาพที่ 2.12 ข้าวมันปู) (ภาพที่ 2.13 ข้าวสังข์หยดพัทลุง)


9. ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง หรือที่บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ
ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียก
ข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ดว้ ย
เสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3 - 7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้เส้นใยไปพร้อม ๆ กับ
สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสารพัดชนิด และเส้นใยในข้าวกล้องยังทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการ
กินข้าวขาวและไม่อยากกินจุบจิก
7
10. ข้าวไรซ์เบอร์รี
เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสม
ข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่ งเป็นสายพันธุ์แม่
ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีมว่ ง
เข้มคล้ายกับลูกเบอร์รีที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอม
มัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่ว งนี้
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
11. ข้าวมันปู
เป็นข้าวที่ชาวจีนเรียกว่า ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมืองเรียกว่า อั้งคั่ก มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าว
เป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง
ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณสองเท่า มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายสูงกว่า
ข้าวขัดสี เมื่อหุงสุกแล้วเนื้อข้าวจะเป็นสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะ ดูน่ารับประทาน ใช้
ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด ข้าวอบต่าง ๆ หรือเคี่ยวเป็นโจ๊ก
12. ข้าวสังข์หยดพัทลุง
ข้าวที่มีกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดง
ถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทาง
อาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรค
ความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับมอด

(ภาพที่ 2.13 มอดข้าวสาร)


มอดแป้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolium castaneum เป็นแมลงศัตรูทางการเกษตรที่สำคัญ โดย
ปนเปื้อนในโกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวสาร กาแฟ ข้าวโพด เผือก ถั่ว รวมถึงผลผลิตแปร
รูป เช่น แป้ง บิสกิต พาสต้า เป็นต้น โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยกินผลผลิตเป็นอาหารและเพิ่มจำนวน
มาก มีการสร้างสารเคมีประเภทควิโนน ที่มีกลิ่นเหม็น สร้างความเสียหายกับผลผลิตเป็นอย่างมาก มอด
แป้งมีการแพร่กระจายในโกดังเก็บผลผลิตของมนุษย์ทั่วโลก มูลค่าความเสียหายจากมอดแป้ง (และ
แมลงปีกแข็งชนิดอืน่ )เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
8
วงจรชีวิต
มอดแป้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ คือมีทั้งหมด 4 ระยะ คือ ระยะไข่ใช้เวลา 3-7
วัน ก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ระยะตัวอ่อน (หนอน) ใช้เวลา 21-40 วัน ลอกคราบ 7-8 ครั้ง ก่อนเข้าดักแด้
ระยะดักแด้ใช้เวลา 3-7 วัน รวมตั้งแต่ระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 26-40 วัน ระยะตัวเต็ม
วัยขนาด 2.3-4.4 มิลลิเมตร อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ตัวเต็มวัยตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 400-
600 ฟองตลอดอายุขัย
รูปร่างลักษณะ
ไข่รูปร่างรียาว สีขาว ตัวอ่อนเป็นหนอนสีน้ำตาลอ่อน หัวจะสีเข้มกว่าตัวนิดหน่อย รูปร่างยาว
เรียว มีกรามแข็งแรง มีขาจริง 3 คู่ ดักแด้จะเป็นสีขาวในตอนแรก สีจะค่อยๆ เข้มขึ้นเมื่อใกล้จะออก ตัว
เต็มวัยสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวแบนยาว หนวดเป็นแบบกระบอง
ลักษณะการทำลาย
มอดแป้งไม่สามารถเข้าทำลายเมล็ดพืชได้ด้วยตัวเอง มอดแป้งจะเข้าทำลายหลังจากที่แมลงตัว
อื่นลงทำลายแล้ว หรือไม่ก็เข้าทำลายเมล็ดที่แตกหักหรือมีรอยบิ่น มอดแป้งชอบกินแป้งและรำ ในสภาพ
ที่มีประชากรมอดแป้งหนาแน่นเกินไปมันจะกินกันเองและยังสามารถทำลายไข่ หนอนและดักแด้ของ
แมลงศัตรูตัวอื่นได้อีกได้ เช่น ผีเสื้อข้าวสาร มอดฟันเลื่อย เป็นต้น
สัตว์ทดลองเพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์
มอดแป้งมีความสำคัญในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์ โดยเป็นโมเดล
แมลงที่ส ำคัญรองจากแมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) ทั้งนี้เพราะมีรูปแบบการเจริ ญ ของ
เอ็มบริโอ ที่คล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆมากกว่าแมลงหวี่ ปี ค.ศ. 2008 ข้อมูลจีโนมของ
มอดแป้งตีพิมพ์ในวารสาร Nature สามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้ที่ฐานข้อมูล สามารถใช้เทคนิค RNAi
ศึกษาหน้าที่ของยีนชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสองเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ การศึกษาพันธุ
ศาสตร์โดยใช้แมลงชนิดนี้ทำได้ง่าย
การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของมอดแป้ง
การปรับตัวของวงศ์ยีนรีเซพเตอร์รับสารเคมี (รีเซพเตอร์รับกลิ่นและรีเซพเตอร์รับรส)
มอดแป้งมียีนที่สร้างรีเซพเตอร์รับกลิ่น(odorant receptor)340 ยีน และรีเซพเตอร์รับรส (gustatory
receptor) 340 ยีน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับแมลงกลุ่มแมลงหวี่ (ประมาณ 60 ยีน) หรือ
กลุ่มผีเสื้อ (40-70 ยีน) ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการปรับตัวเพื่อให้ใช้อาหารได้หลากหลาย และสามารถหา
แหล่งอาหารได้กว้าง ยีนรีเซพเตอร์รับกลิ่นมีการแสดงออกต่างกันในตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัย
มีจำนวนยีนแสดงออกมากกว่า และยีนที่แสดงออกในตัวอ่อนเกือบทั้งหมดแสดงออกในตัวเต็มวัยด้วย
อวัยวะเพื่อลดการเสียน้ำ
มอดแป้งมีอวัยวะที่ลดการสูญเสียน้ำจากทางเดินอาหาร ชื่อ cryptonephridial organ (ส่วน
ปลายของ malpighian tubules ที่เชื่อมกับส่วน hind gut ทำหน้าที่ดูดน้ำกลับ มอดแป้งจึงดำรงชีวิต
ในสภาพที่แห้งแล้งมากได้ โดยอาศัยน้ำจากอาหารที่กิน
9
การทนทานต่อยาฆ่าแมลง
มีรายงานการดื้อยาฆ่าแมลงหลายชนิดของมอดแป้ง ได้แก่ malathion, carbaryl, lindane,
phosphine และ pyrethrins อาจสัมพันธ์กับการที่มอดแป้งมียีนที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ
(detoxificaiton) คือวงศ์ยีน Cytochrome P450 (CYP) มากถึง 134 ยีน
2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับลูกปิงปอง
เนื่องจากโครงงานเรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง มีสมมติฐ านที่ส อดคล้องกับภูมิปั ญ ญา
ชาวบ้านในการกำจัดมอดข้าวสาร โดยผู้คนส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตมักจะแนะนำวิธีการกำจัดมอดไว้ว่า
ให้นำนำข้าวสารที่มีมอดออกมาเทใส่กะละมังแล้วนำไปตากแดดจะทำให้มอดเดินออกจากข้าวสารมาเอง
ตามข้างต้นที่กล่าวมาทำให้ทางผู้จัดทำสังเกตได้ว่ ามีมอดบางตัวขณะที่เดินขึ้นไปไต่ขอบของกะละมัง
บางตัวกลับร่วงลงมาอยู่บนข้าวสารเสียอย่างนั้น ทำให้ทางผู้จัดทำสังเกตลักษณะพื้นผิวของกะละมัง
อย่างละเอียดจึงทำให้คิดว่าลักษณะพื้นผิวที่มีความมันวาวแบบนี้มีภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์หลากหลาย
อย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่ภาชนะอื่ นๆที่ผู้จัดทำคิดได้มักจะมีขนาดที่ใหญ่เกินหรือมีราคาที่สูงเกินทำให้
ผู้จัดทำจึงอยากลองทำกับดักมอดจากลูกปิงปองขึ้น เพราะลูกปิงปองมีขนาดที่เล็กพอเหมาะพอดีกับการ
นำไปใส่ในถังข้าวสารหรือถุงข้าวสารและราคาต่ำกว่าภรรจุภัณฑ์อื่นๆ จึงเป็นที่มาของการคาดคะเนของ
โครงงานเรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง

(ภาพที่ 2.14 มอดบนข้าวสาร)


ทางคณะผู้จัดทำจึงนำวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านดังที่กล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับ
โครงงานเรื่องนี้ โดยสังเกตได้ว่าลักษณะพื้นผิวของกะละมังนั้นให้ความรู้สึกที่มันวาวซึ่งคล้ายคลึงกับ
ลักษณะพื้นผิวด้านในของลูกปิงปอง เมื่อมอดข้าวสารเดินเข้าไปในกับดักมอดแล้วจะไม่สามารถเดิน
ออกมาได้เพราะว่าขาของมอดข้าวสารนั้นมีลักษณะเป็นแง่งเล็กๆที่ปลายขาและมันวาวเหมือนกับลูก
ปิงปองทำให้มอดข้าวสารไม่สามารถยึดเกาะกับลักษณะพื้นผิวที่มีความมันวาวเหมือนกับเท้าของตนเอง
ได้จึงทำให้มอดข้าวสารลื่นไหลลงไปอยู่ที่ก้นของลูกปิงปองอีกครั้งและทำให้ ไม่สามารถเดินมาที่ปาก
ทางออกเหมือนตอนเข้ามาไม่ได้
2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับแลคซีน
ลักษณะพื้นผิวของแลคซีนด้านที่ไม่ใช่กาวมีความมันวาวที่คล้ายคลึงกับกะละมังและลูกปิงปอง
ทำให้มอดอาจพลาดเดินหลงเข้าไปภายในกับดักได้โดยง่าย และที่ยากสำหรับการหนีออกมาจากกับดัก
คงเพราะอีกด้านหนึ่งของแลคซีนเป็นกาวที่มีความเหนียวมาก เมื่อมอดพยายามที่จะเดินหนีก็จะถูก
10
ความเหนียวของแลคซีนรั้งไว้ทำให้ไม่สามารถเดินหลุดออกไปได้ราวกับว่ามอดเปรียบเสมือนหนูและ
แลคซีนเปรียบเหมือนกาวดักหนู
2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับสีดำ
สืบเนื่องจากเมื่อเวลาที่เรานำถุงข้าวสารไปใส่ในภาชนะที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป เราจะ
สังเกตเห็นได้ว่ามอดมักจะขึ้นภาชนะที่มีสีดำมากกว่าสีอื่นๆ
ทางผู้จัดทำได้ตั้งสมมติฐานขึ้นมา 3 ข้อในการทดลองครั้งที่ 1 ดังนี้
1.ลูกปิงปองสีดำ และแลคซีนสีดำ
2.ลูกปิงปองสีส้ม และแลคซีนสีดำ
3.ลูกปิงปองสีส้ม และแลคซีนสีขาว
โดยทำการนำลูกปิงปองทั้ง 3 สมมติฐานเข้าไปวางไว้ในถุงข้าวสารในระยะที่เท่ากันเป็นเวลา 3
วัน เมื่อครบ 3 วันแล้วทางผู้จัดทำจึงทำการนำลูกปิงปองทั้ง 3 ออกมาแกะแลคซีนออกแล้วพบว่ามีลูก
ปิงปองที่มีมอดเข้าไปมากที่สุดคือลูกปิงปองในสมมติฐานที่ 1
จากการทดลองครั้งที่ 1 ทำให้ผู้จัดทำคาดคะเนได้ว่ามอดข้าวสารอาจคิดว่าสีดำของลูกปิงปอง
และแลคซีนนั้นมีสีที่เหมือนกับตนเองอันซึ่งเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่เมื่อจะได้รับอั นตรายก็มักจะ
หลบหนีหรือซ่อนตัวในสถานที่ที่มีสีคล้ายคลึงกับตนเองเพื่อต้องการพลางตัวไม่ให้ถูกทำอันตรายได้ จาก
การคาดคะเนนั้นทำให้ผู้จัดทำคิดว่าที่มอดข้าวสารเข้าไปในลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 1 เยอะมากที่สุด
เพราะต้องการทำให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยจากภัยอันตรายที่กำลังจะมาถึงตนเอง

(ภาพที่ 2.15 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 1)

(ภาพที่ 2.16 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 2)


11

(ภาพที่ 2.17 ลูกปิงปองตามสมมติฐานที่ 3)


2.6 เอกสารอ้างอิง
ทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างกับดักมอดข้าวสารจากอินเทอร์เน็ต ทำ
ให้ผู้จัดทำได้เจอตัวอย่างกับดักมอดที่ประดิษฐ์จากวัสดุอื่นๆ หลายอย่างเช่น ซองกาแฟ ขวดพลาสติก
แก้วพลาสติกและปล้องไม้ไผ่ ผู้จัดทำเล็งเห็นว่าลักษณะพื้นผิวทั้งภายนอกและภายของป ล้องไม้ไผ่มี
ลักษณะที่ใกล้เคียงกับลูกปิงปองเป็นอย่างมาก จึงทำตัวอย่างดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการประดิษฐ์กับ
ดักมอดจากลูกปิงปองขึ้น
โดยกับดักมอดจากปล้องไม้ไผ่นั้นเป็นผลงานของนักเรียนโรงเรียนภูมิซรวลวิทยา จังหวัดศรีสะ
เกษ ซึ่งพวกเขาได้คิดโครงงานเรื่องนี้ขึ้นเพื่ อมีวัตถุประสงค์ในการกำจัดมอดข้าวสาร และไม่ให้ข้าว
เสียหาย พวกเขาได้ใช้ไม้ไผ่ที่เป็นวัสดุธรรมชาติและหาได้ง่ายให้ชุมชนของพวกเขา

(ภาพที่ 2.18 กับดักมอดข้าวสารจากปล้องไม้ไผ่)


12
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า

ในการจัดทำโครงงานเรื่องกับดักมอดจากลูกปิงปอง ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินโครงงาน
ตามขั้นตอนดังนี้
3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
2. เว็บไซส์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร www.facebook.com
3.2 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าเป็นประเภททดลอง มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอคุณครู
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน คือเรื่องมอดและกับดักมอดว่ามีเนื้อหามากน้อย
เพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซส์ต่างๆ และจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3. ศึกษาวิธีการประดิษฐ์กับดักมอด จากเว็บไซส์ต่างๆ ที่นำเสนอวิธีการทำ
4. จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนอคุณครู
5. ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน เรื่อง กับดักมอดจากลูกปิงปอง นำเสนอความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆ
ซึ่งคุณครูจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็
จะนำมาปรับปรุงและแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
6. จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน
7. นำเสนองาน
3.3 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง
(ตารางที่ 1 ตารางวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง)
ลำดับที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ รูปภาพประกอบ
1 ลูกปิงปอง

2 แลคซีนสีดำ

3 กรรไกร
13
ลำดับที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ รูปภาพประกอบ
4 เลื่อย

5 ปากกาเมจิกสีดำ

6 พู่กัน

7 สีโปสเตอร์สีดำ

8 ไม้ปลายแหลม

3.4 ขั้นตอนการประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง
(ตารางที่ 2 ตารางขั้นตอนการประดิษฐ์กับดักมอดจากลูกปิงปอง)
ลำดับที่ วิธีทำ รูปภาพประกอบ
1 นำปากกาเมจิกสีดำมาขีดรอบลูกปิงปองเพื่อ
เตรียมการตัดแบ่งลูกปิงปองออกเป็น 2 ท่อน

2 เมื่อขีดเส้นเสร็จแล้วให้นำเลื่อยมาตัดตามรอยที่ขีด
เอาไว้
14
ลำดับที่ วิธีทำ รูปภาพประกอบ
3 นำแลคซีนสีดำมาตัดให้มีพื้นที่หน้ากว้างใหญ่กว่าลูก
ปิงปองประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นให้นำไปติดกับ
ลูกปิงปองให้เรียบร้อย

4 จากนั้นให้นำไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้เจาะรูแลคซีน
แต่เว้นช่วงขอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มอดเดินออกได้
และห้ามเจาะให้เป็นรูกว้างมากมิเช่นนั้นมอดก็จะ
สามารถเดินออกมาได้เช่นกัน
5 นำสีโปสเตอร์สีดำมาทาลูกปิงปองบริเวณที่ไม่ถูกแลค
ซีนทับ รอสีให้แห้งก่อนนำไปใส่ในถังข้าวสาร

6 เมื่อนำมอดไปใส่ในถังข้าวสารแล้วมอดจะเดินเข้าไป
ภายในกับดัก ดังรูป
15
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การจัดทำโครงงานเรื่องกับดักมอดจากลูกปิงปอง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนมอดข้าวสารใน
ถังข้าวสารลง และเพื่อป้องกันลักษณะภายนอกของข้าวสารให้เสียหายน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงาน
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตประจำวันมากยิ่ง ขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อ
สร้างรายได้ให้กับผู้พบเห็นได้ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 บันทึกผลและดำเนินงาน
4.2 ต้นทุนการผลิต
4.3 การจัดจำหน่าย

4.1 บันทึกผลและดำเนินงาน
(ตารางที่ 3 บันทึกผลและการดำเนินงาน)
ลำดับที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค/แนวทางการแก้ไข
1 ขั้นวางแผน ปัญหา/อุปสรรค
1.ศึกษาและหาข้อมูล ข้อมูลบนเว็บไซต์เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ
2.นำเสนอหัวข้อโครงงาน ทราบมีน้อย
3.ส่งแบบร่างโครงงาน แนวทางการแก้ไข
สอบถามคุณครูและผู้ใหญ่เกี่ยวกับ
ข้อมูลเกีย่ วกับโครงงาน
2 ขั้นเตรียมการ ปัญหา/อุปสรรค
1.จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ เลือกใช้สีที่จะนำมาผลิตกับดักมอดได้
2.ทดลองการทำโครงงาน ยาก
แนวทางการแก้ไข
เลือกใช้สีที่สามารถทาบนลูกปิงปองได้
และสามารถหาซื้อได้ง่าย ราคา
ย่อมเยา
3 ขั้นดำเนินการ ปัญหา/อุปสรรค
1.เริ่มปฏิบัติและลงมือทำ รูปเล่มโครงงานยังมีจุดผิดพลาด
2.นำกับดักมอดไปทดลองใช้จริง เล็กน้อย
3.จัดทำรูปเล่มโครงงาน แนวทางการแก้ไข
แก้รูปเล่มโครงงานตามที่ได้รับ
คำแนะนำแล้วนำไปให้คุณครูตรวจอีก
ครั้ง
16
ลำดับที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค/แนวทางการแก้ไข
4. ขั้นประเมินผล ปัญหา/อุปสรรค
1.บันทึกผลและสรุปผล -
2.นำเสนอโครงงาน
4.2 ต้นทุนการผลิต
(ตารางที่ 4 ต้นทุนการผลิต)
ลำดับที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ จำนวน หน่วย ราคา(บาท)
กับดักมอด
1 ลูกปิงปอง 6 ลูก 20
2 แลคซีนสีดำ 1 ม้วน 25
3 ปากกาเมจิกสีดำ 1 ด้าม 20
4 พู่กัน 1 ด้าม 25
5 สีโปสเตอร์สีดำ 1 ขวด 15
6 ไม้ปลายแหลม 1 ถุง 24
7 กรรไกร 1 เล่ม -
8 เลื่อย 1 ปื้น -
รวม 129
4.3 การจัดจำหน่าย
(ตารางที่ 5 การจัดจำหน่าย)
จำนวนเงินที่ใช้ในการผลิต (บาท) ขายในราคา (บาท) เมื่อขายทั้งหมด 3 ครั้งจะได้กำไร (%)
129 60 /3 ลูก 22.77
17
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ สรุป อภิปรายผลและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้


5.1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
จากการดำเนิน โครงงานพบว่า จากการศึกษาและดำเนินงานเกี่ยวกับ “กับดักมอดจากลู ก
ปิงปอง” ผู้จัดทำได้สอดแทรกความรู้ ประโยชน์ใช้สอย เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จาก
โครงงานเรื่องนี้ไปใช้ได้ ซึ่งโครงงานของพวกเรานำเสนอออกมาในรูปแบบชิ้นงานเพื่อความสะดวกใน
การจับต้องหรือสามารถใช้ได้จริง สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.เพื่อลดจำนวนมอดข้าวสารในถังข้าวสารลง
2.เพื่อป้องกันลักษณะภายนอกของข้าวสารให้เสียหายน้อยที่สุด
3.เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้าวสาร
5.2 อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
จากการทดลองดังหัวข้อที่ 2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับสีดำ ทำให้ทางผู้จัดทำสามารถสรุปเกี่ยวกับ
สมมติฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ ได้ว่าจากการทดลองครั้งที่ 1 พบว่ามีมอดเข้าไปในลูกปิงปองสีดำและแลค
ซีนสีดำเยอะกว่าลูกอื่นๆ ทำให้ผู้จัดทำคาดคะเนว่ามอดข้าวสารอาจจะชอบสีที่ทึบแสงหรือสีอาจจะมีผล
ต่อการมองเห็นของมอด
5.3 ข้อเสนอแนะ
1. ควรใช้สีที่เคลือบด้านนอกของลูกปิงปองเป็นสีที่ติดทนนานกว่าสีโปสเตอร์และปลอดภัยต่อการ
บริโภค
18
บรรณานุกรม
จิ๋วหิวโซ. (2561). สายพันธุ์ของข้าว. เข้าถึงได้จาก :
https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20
มกราคม 2563).
บริษัท เอ็กซ์เปอร์ท เพสท์ ซิทเต็ม จำกัด. มอดแป้ง. เข้าถึงได้จาก :
https://www.expertpestsystem.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0
%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%
B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B0/%E0%B
9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%
95%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3
%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/%E0%B8%A1%
E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%87-red-
flour-beetle.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มกราคม 2563).
วิกิพีเดีย. (2560). ข้าว. เข้าถึงได้จาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มกราคม 2563).
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2559). กับดักมอดข้าวสาร. เข้าถึงได้จาก :
https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_2228 (วันที่สืบค้น
ข้อมูล : 20 มกราคม 2563).
Patamererk. (2556). มอดข้าวสาร. เข้าถึงได้จาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81
%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%87 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มกราคม 2563).
19
ภาคผนวก

(ภาพที่ 6.1 นำปากกาเมจิกสีดำมาขีดรอบลูกปิงปอง)

(ภาพที่ 6.2 เมื่อขีดเส้นเสร็จแล้วให้นำเลื่อยมาตัดตามรอยที่ขีดเอาไว้)


20

(ภาพที่ 6.3 นำแลคซีนสีดำที่ตัดแล้วนำไปติดกับลูกปิงปองให้เรียบร้อย)

(ภาพที่ 6.4 หุ้มแลคซีนสีดำให้ติดกับลูกปิงปอง ดังรูป)


21

(ภาพที่ 6.5 นำไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้เจาะรูแลคซีน)

(ภาพที่ 6.6 จัดทำบอร์ดโครงงาน)


22
ภาคผนวก ก
ภาพแสดงกิจกรรมการศึกษาค้นคว้า

(ภาพที่ 6.7 สมาชิกในกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล)

(ภาพที่ 6.8 สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคัดกรองข้อมูล)


23
ภาคผนวก ข
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

(ภาพที่ 6.9 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล)


24
ประวัติผู้จัดทำ
1. นายสราวุฒิ เทียมแสง
วันที่ 3 ตุลาคม 2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

2. นายวราวุธ สุวรรณปา
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

3. นายปาราเมศ ยิ่งนอก
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2547
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

4. นางสาวอภิสรา ยงหวาน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

5. นายณัฐชนน ธนะสูตร
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”
25
ประวัติผู้จัดทำ (ต่อ)
6. นางสาวภัคจิรา มุ่งเรียบกลาง
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนทานสัมฤทธิ์วิทยา
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

7. นางสาวอินทิรา อภัยภักดี
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2547
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”

8. นางสาวอภิณห์พร กุลอุปฮาด
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3

9. นางสาวอรปรียา คงสมบัติ
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2547
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3

10. นายเจษฎากร เหวขุนทด


วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2546
ประวัติการศึกษา
1.ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส
26
แบบประเมินการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ

คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ
(คะแนนเต็ม 40 คะแนน)
สมาชิกกลุ่ม
1............................................................. 2.............................................................
3............................................................. 4.............................................................
ระดับคะแนน
ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน
4 3 2 1
1. ความถูกต้องในการเขียนบทคัดย่อ มีความยาว 300 คำ
เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาว
2.
4,000 คำ
3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาชัดเจน สอดคล้องกับชื่อเรื่อง/หัวข้อศึกษา

4. สมมติฐานของการศึกษาเป็นการคาดคะเนคำตอบที่มีหลักการและ
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง
5.
ระยะเวลาที่ศึกษา ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
6. ระบุจำนวนของประชากรและกลุม่ ตัวอย่างพร้อมวิธีการสุ่มตัวอย่าง
7. อ้างอิงด้วยแหล่งของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
8. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ระบุประเภท และการสร้าง
9. อธิบายวิธีการ ช่วงเวลา และสถานที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
10. เลือกการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา
และวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
คะแนน

คะแนนรวม
5............................................................. 6.............................................................

ลงชื่อ.......................................ผูป้ ระเมิน

………/……………./……….
27
แบบประเมินการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เป็นรายกลุ่ม

คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
สมาชิกกลุม่
1............................................................. 2.............................................................
3............................................................. 4.............................................................
5............................................................. 6.............................................................

ระดับคุณภาพ
ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน
5 4 3 2 1
มีการนำผลการศึกษาค้นคว้าออกเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กท
1.
รอนิกส์ ได้หลายช่องทาง

มีการสนทนาและวิพากษ์ผลการศึกษาค้นคว้าผ่านสื่ออิเล็กท
2.
รอนิกส์

คะแนน

คะแนนรวม

ลงชื่อ.......................................ผู้ประเมิน

………/……………./……….
28
แบบประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา
เป็นรายบุคคล

คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา
จากสถานการณ์รอบตัวในปัจจุบันในสังคม/ประเทศและสังคมโลก

ชื่อ........................................ชั้น.....................เลขที่......................................

ระดับคุณภาพ
ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน
4 3 2 1
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่สนใจสามารถนำมาตั้งประเด็น
1.
คำถาม/ปัญหา และสมมติฐานได้

2. ขอบข่ายประเด็นคำถาม/ปัญหา

3. นำความรู/้ ทฤษฎี มารองรับการตัง้ สมมติฐาน

4. ความสอดคล้องของสมมติฐานกับประเด็นคำถาม/ปัญหา

5. กระบวนการคิด( รับรู้ สังเกต)

ระดับคุณภาพ
รวมคะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก = 4 ลงชื่อ.......................................ผูป้ ระเมิน

ดี =3 ………/……………./……….
พอใช้ = 2
ปรับปรุง = 1
เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ หมายเหตุ ครูอาจใช้วิธีมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มอื่นหรือให้
17 – 20 4 มีการประเมินโดยเพื่อน
แล้วแต่ความเหมาะสมก็ได้
13 – 16 3
9 – 12 2
1–8 1 การคิดคะแนน
สูตร = คะแนนที่ได้ X 5 = คะแนนจริง

20
29
แบบประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา
เป็นรายบุคคล

คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา
จากสถานการณ์รอบตัวในปัจจุบันในสังคม/ประเทศและสังคมโลก

ชื่อ........................................ชั้น.....................เลขที่......................................

ระดับคุณภาพ
ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน
4 3 2 1
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่สนใจสามารถนำมาตั้งประเด็น
1.
คำถาม/ปัญหา และสมมติฐานได้

2. ขอบข่ายประเด็นคำถาม/ปัญหา

3. นำความรู/้ ทฤษฎี มารองรับการตัง้ สมมติฐาน

4. ความสอดคล้องของสมมติฐานกับประเด็นคำถาม/ปัญหา

5. กระบวนการคิด( รับรู้ สังเกต)

ระดับคุณภาพ
รวมคะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก = 4 ลงชื่อ.......................................ผูป้ ระเมิน

ดี =3 ………/……………./……….
พอใช้ = 2
ปรับปรุง = 1
เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ หมายเหตุ ครูอาจใช้วิธีมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มอื่นหรือให้
17 – 20 4 มีการประเมินโดยเพื่อน
แล้วแต่ความเหมาะสมก็ได้
13 – 16 3
9 – 12 2
1–8 1 การคิดคะแนน
สูตร = คะแนนที่ได้ X 5 = คะแนนจริง
20

You might also like