2442601100-Key Achievment Test

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 53

1

เฉลยแบบทดสอบตามผลการเรียนรู้เพื่อวัดผลสัมฤทธิ ์
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา มัธยมศึกษาปี ที่
6 เล่ม 1

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.
3 1 3 3 2 3 2 3 1 2
11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20.
2 2 4 4 2 2 2 2 4 4
21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30.
1 3 3 3 4 2 3 1 1 4
31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40.
1 2 2 4 4 4 2 1 4 4
41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50.
4 2 1 4 2 3 3 4 2 4
51. 52. 53. 54. 55. 56. 57. 58. 59. 60.
2 3 2 2 1 1 1 3 3 4
61. 62. 63. 64. 65. 66. 67. 68. 69. 70.
1 3 4 4 4 4 3 2 2 4
71. 72. 73. 74. 75. 76. 77. 78. 79. 80.
3 2 2 4 2 1 3 2 2 3
2

81. 82. 83. 84. 85. 86. 87. 88. 89. 90.
4 1 2 3 4 1 2 4 3 2
91. 92. 93. 94. 95. 96. 97. 98. 99. 100.
1 1 1 4 3 2 3 3 4 2
101. 102. 103. 104. 105. 106. 107. 108. 109. 110.
4 3 1 2 2 2 2 4 1 1
111. 112. 113. 114. 115. 116. 117. 118. 119. 120.
4 4 2 2 1 1 2 4 4 1
121. 122. 123. 124. 125. 126. 127. 128. 129. 130.
2 1 3 4 1 4 2 1 4 4
131. 132. 133. 134. 135. 136. 137. 138. 139. 140.
3 3 2 1 3 3 3 3 2 4
141. 142. 143. 144. 145. 146. 147. 148. 149. 150.
4 4 2 3 3 2 3 4 2 1
151. 152. 153. 154. 155. 156. 157. 158. 159. 160.
4 3 1 4 2 2 2 4 2 2
161. 162. 163. 164. 165. 166. 167. 168. 169. 170.
3 2 4 1 2 2 2 1 2 3
171. 172. 173. 174. 175.
3 1 3 2 2
3

เฉลยละเอียดทุกข้อ
1. ตอบข้อ 3
อธิบาย พารามีเซียม อะมีบา ยูกลีนา เป็ นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจึง
ไม่มีเซลล์ประสาท แต่ควบคุม การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ด้วยระบบนิวโรมอเตอร์ ส่วนฟองน้ำแก้วเป็ นสัตว์ชัน
้ ต่ำ
ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ การรับรู้และการตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าเกิดจากการทำงานของเซลล์แต่ละเซลล์ ไม่มีการ
ทำงานระหว่างเซลล์ จึงไม่มีเซลล์ประสาทและระบบประสาท
ควบคุมการทำงาน
2. ตอบข้อ 1
อธิบาย หมึกมีพัฒนาการของระบบประสาทมากที่สุด เพราะมี
ปมประสาท 3 คู่ ทำหน้าที่เป็ นศูนย์กลางของระบบประสาท
โดยปมประสาทบริเวณหัวมีขนาดใหญ่ และมีเส้นประสาท
เชื่อมอยู่กับปมประสาท แมงกะพรุนกับดอกไม้ทะเลไม่มี
ศูนย์กลางของระบบประสาท แต่มีการรับรู้และตอบ
สนองต่อสิง่ เร้าโดยร่างแหประสาท สำหรับหนอนตัวแบนมีปม
ประสาท ที่บริเวณหัวเท่านัน
้ เป็ นศูนย์กลางของระบบ
ประสาท เชื่อมต่อกับเส้นประสาท 2 เส้น ขนานไปตาม
ด้านข้างทอดยาวตลอดลำตัว
3. ตอบข้อ 3
4

อธิบาย การรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยระบบนิวโร
มอเตอร์พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ได้แก่ พารามีเซียม อะมีบา
และยูกลีนา
4. ตอบข้อ 3
อธิบาย ปมประสาทในหนอนตัวแบน ได้แก่ พลานาเรีย ทำ
หน้าที่เป็ นศูนย์กลางของระบบประสาท เช่นเดียวกับสมอง
ของสัตว์ชัน
้ สูง
5. ตอบข้อ 2
อธิบาย กุ้งกุลาดำมีการรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยมี
ปมประสาทเป็ นศูนย์กลางของ ระบบประสาท ไฮดรา
กับดอกไม้ทะเลรับรู้และตองสนองต่อสิง่ เร้าโดยการทำงาน
ของร่างแหประสาท เช่นเดียวกับลำไส้คน
6. ตอบข้อ 3
อธิบาย สัตว์จำพวกเอไคโนเดิร์ม เช่น ดาวทะเล ปลิงทะเล
พลับพลึงทะเล เม่นทะเล มีวงประสาท เป็ นศูนย์กลางของ
ระบบประสาทติดต่อกับร่างแหประสาททั่วลำตัว แต่ดอกไม้
ทะเลเป็ น สัตว์จำพวกซีเลนเทอราตา รับรู้และตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าโดยร่างแหประสาทเท่านัน

7. ตอบข้อ 2
อธิบาย ไฮดรามีการรับรู้และตอบสนองต่อสิง่ เร้าโดยร่างแห
ประสาท พลานาเรียมีปมประสาท ทำหน้าที่เป็ นสมอง
ติดต่อด้วยเส้นประสาทขนานตามยาวและตามขวางลำตัว
5

ส่วนกุ้ง มีปมประสาททำหน้าที่เป็ นสมองและเส้น


ประสาทด้านหน้า
6

8. ตอบข้อ 3
อธิบาย พารามีเซียมมีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยการ
ทำงานของเส้นใยประสาทประสานงาน (coordinating fiber)
9. ตอบข้อ 1
อธิบาย สัตว์ที่มีตำแหน่งเส้นประสาทด้านหลัง พบเฉพาะสัตว์ใน
ไฟลัมคอร์ดาตาเท่านัน
้ สัตว์ในไฟลัมอื่น ๆ มีเส้นประสาทอยู่
ด้านท้องในทางเดินอาหาร
10. ตอบข้อ 2
อธิบาย กุ้งมีเส้นประสาทอยู่ทางด้านท้องของลำตัว สำหรับไก่มี
เส้นประสาทใหญ่เป็ นเส้นเดี่ยว อยู่ทางด้านหลังของลำ
ตัว
11. ตอบข้อ 2
อธิบาย เมื่อสมองส่วนเซรีเบลลัมมีความผิดปกติ จะมีผลต่อการ
ควบคุมการทรงตัว กล่าวคือ ไม่สามารถควบคุมการ
ทรงตัวได้ มีอาการเหมือนบ้านหมุน แต่หากความสามารถใน
การพูดและการได้ยินเป็ นปกติ แสดงว่าสมองส่วนเซรีบรัมซึ่ง
เป็ นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย ควบคุม
การเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตา ศูนย์กลางการได้ยินทำงานผิด
ปกติ
12. ตอบข้อ 2
7

อธิบาย บริเวณ B เป็ นที่อยู่ของเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทรับ


ความรู้สึก โดยทำหน้าที่นำกระแสประสาทความรู้สึกจาก
หน่วยรับความรู้สึกเข้าสู่ไขสันหลัง
13. ตอบข้อ 4
อธิบาย ส่วน ง หมายถึง สมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา เป็ น
ศูนย์กลางควบคุมการเต้นของหัวใจและการสูดลมหายใจ ซึ่ง
เป็ นการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ
14. ตอบข้อ 4
อธิบาย การเต้นของหัวใจถูกควบคุมโดยระบบอัตโนวัติ ภายใต้
การทำงานของสมองส่วนเมดัลลา-ออบลองกาตา สำหรับ
ออลแฟกทอรีบัลบ์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น ขณะที่ออพ
ติกโลบ ทำหน้าที่ในการมองเห็น
15. ตอบข้อ 2
อธิบาย แอลกอฮอล์ในเลือดมีผลต่อการทำงานของเซรีเบลลัมซึง่
ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว
16. ตอบข้อ 2
อธิบาย ออพติกโลบเป็ นสมองส่วนกลางเจริญได้ดีในสัตว์จำพวก
ปลา
17. ตอบข้อ 2
อธิบาย สัตว์ที่มีการเคลื่อนที่ในลักษณะสามมิติได้ดี ได้แก่ นก
และปลา สมองส่วนเซรีเบลลัมจะเจริญกว่าสัตว์อ่ น
ื ๆ
เนื่องจากสมองส่วนนีเ้ ป็ นศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้าม
8

เนื้อลาย โดยประสานการเคลื่อนไหวให้ราบรื่น สละ


สลวย เที่ยงตรง ควบคุมการทรงตัว

18. ตอบข้อ 2
อธิบาย แอลกอฮอล์มีผลไปกดการทำงานของเซลล์สมอง หาก
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากขึน
้ ทำให้ศูนย์ควบคุมที่
สมองเสื่อมลง จากสมองส่วนหน้าจนกระทั่งสมองส่วนท้าย
ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
19. ตอบข้อ 4
อธิบาย สมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตาเป็ นศูนย์ควบคุมการ
ทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ คือ ควบคุมการทำงานของ
อวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การไหลเวียน
ของเลือด การหายใจ
20. ตอบข้อ 4
อธิบาย ไฮโพทาลามัสเป็ นสมองส่วนหน้าที่ประกอบด้วยนิวโรซีค
รีทอรีเซลล์เป็ นจำนวนมาก ซึ่งเป็ นเซลล์ที่สังเคราะห์ฮอร์โมน
ประสาทหลายชนิด
21. ตอบข้อ 1
อธิบาย การกระตุกเท้าออกทันทีขณะที่เท้าเหยียบเศษแก้ว จัด
เป็ นรีเฟล็กซ์แอกชัน ซึ่งไขสันหลังเป็ นศูนย์ควบคุม แต่ความ
รู้สึกเจ็บนัน
้ ไม่ใช่รีเฟล็กซ์แอกชัน แต่เกิดจากการสั่งการของ
สมอง ส่วนเซรีบรัม
9

22. ตอบข้อ 3
อธิบาย เมื่อร่างกายขาดน้ำหรือในเลือดมีน้ำน้อยลง แรงดันออส
โมซิสของน้ำเลือดจะสูงขึน
้ เมื่อเลือดที่มีแรงดันออสโมซิสสูง
ผ่านเข้าไปยังสมองส่วนไฮโพทาลามัส จะกระตุ้นให้เกิดความ
รู้สึกกระหายน้ำเพิ่มขึน
้ ตามความต้องการ
23. ตอบข้อ 3
อธิบาย หมายเลข 3 คือ เนื้อไขสันหลังสีขาว เป็ นบริเวณที่มี
เฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
24. ตอบข้อ 3
อธิบาย หมายเลข 4 คือ ช่องกลาง (central canal) ของ
ไขสันหลัง บรรจุน้ำเลีย
้ งสมองและไขสันหลัง
25. ตอบข้อ 4
อธิบาย หมายเลข 5 คือ เส้นประสาทไขสันหลังรากล่าง เป็ นที่
อยู่ของเซลล์ประสาทสั่งการ ทำหน้าที่นำกระแสประสาทไปยัง
หน่วยปฏิบัติงาน
26. ตอบข้อ 2
อธิบาย หมายเลข 2 คือ เนื้อไขสันหลังสีเทา เป็ นที่อยู่ของเซลล์
ประสาทประสานงานที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน
27. ตอบข้อ 3
อธิบาย หมายเลข 4 คือ ท่อยูสเตเชียน เป็ นท่อที่เชื่อมต่อ
ระหว่างหูส่วนกลางกับคอหอย โดยท่อยูส-เตเชียนทำหน้าที่
ปรับอากาศภายในหูส่วนกลางกับอากาศภายนอกให้เท่ากัน
10
11

28. ตอบข้อ 1
อธิบาย หมายเลข 3 คือ เยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็ นเยื่อบาง ๆ อยู่
ตรงรอยต่อระหว่างหูส่วนนอกกับ หูส่วนกลาง โดยยึดอยู่
กับกระดูกค้อนในตำแหน่งตรงกลางของเยื่อแก้วหู เมื่อคลื่น
เสียงผ่านจากหูมายังเยื่อแก้วหูสั่นสะเทือน เพื่อส่งคลื่นเสียง
เข้าไปยังหูส่วนกลาง เยื่อแก้วหูไม่ได้ ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับการทรงตัวแต่อย่างใด
29. ตอบข้อ 1
อธิบาย หมายเลข 2 คือ กระดูกหู 3 ชิน
้ ประกอบด้วยกระดูก
ค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ทำหน้าที่รับคลื่นเสียง
จากเยื่อแก้วหู และเพิ่มแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงเพื่อส่ง
เข้าสู่ หูส่วนใน
30. ตอบข้อ 4
อธิบาย เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนลเป็ นโครงสร้างที่ใช้ในการทรงตัว
อยู่ภายในหลอดเซมิเซอร์คิวลาร์-แคแนลมีของเหลวบรรจุอยู่
ซึ่งการไหลของของเหลวดังกล่าวนีม
้ ีผลต่อการทรงตัวของ
ร่างกาย
31. ตอบข้อ 1
อธิบาย คอเคลียเป็ นโครงสร้างภายในหูส่วนใน ทำหน้าที่เกี่ยว
กับการรับฟั งเสียง โดยมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็ นกระแส
ประสาทเพื่อส่งไปยังศูนย์ควบคุมการได้ยิน คือ สมองส่วนเซ
รีบรัม
12

32. ตอบข้อ 2
อธิบาย เมื่อเยื่อแก้วหูขาด ซึ่งอาจเกิดจากการแคะหูแล้วทำให้
เยื่อแก้วหูขาดจะทำให้เกิดอาการ หูหนวก
33. ตอบข้อ 2
อธิบาย การรับรสโดยตุ่มรับรสที่ลิน
้ และการรับกลิ่นของเซลล์
ประสาทรับกลิ่นในโพรงจมูก ทำให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับความ
รู้สึกอร่อยในการรับประทานอาหาร
34. ตอบข้อ 4
อธิบาย เมื่อท่อยูสเตเชียนอักเสบเกิดการอุดตัน การปรับความ
ดันอากาศภายนอกกับภายในหูผิดปกติจึงทำให้หูอ้ือ ส่วนการ
วิงเวียนศีรษะและเมารถเมื่อนั่งรถไปบนภูเขาสูงเกิดขึน

เนื่องจากการปรับเปลี่ยนการไหลของของเหลวในเซมิเซอร์คิว
ลาร์แคแนล ในการรับรสมีตุ่มรับรส ในตำแหน่งต่าง
ๆ ของลิน
้ สำหรับตุ่มรับรสขมอยู่บริเวณโคนลิน

35. ตอบข้อ 4
อธิบาย นัยน์ตาจัดเป็ น electromagnetic receptor ผิวหนัง
จัดเป็ น pain receptor และ thermoreceptor ส่วน
จมูกและลิน
้ จัดเป็ น chemoreceptor
36. ตอบข้อ 4
อธิบาย ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยระบบท่อน้ำ
13

37. ตอบข้อ 2
อธิบาย พลานาเรียเคลื่อนที่โดยการทำงานของกล้ามเนื้อวงและ
กล้ามเนื้อตามยาวแบบสภาวะ ตรงกันข้าม พารามีเซียม
เคลื่อนที่โดยซิเลีย ไฮดราเคลื่อนที่โดยการทำงานของเนื้อเยื่อ
ชัน
้ นอกทำให้ลำตัวยืดหดได้ ส่วนหนอนน้ำส้มสายชูเกิดจาก
การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อตามยาวของลำตัวเท่านัน

38. ตอบข้อ 1
อธิบาย ทริปพาโนโซมา เซลล์อสุจิ และยูกลีนาเคลื่อนที่โดยใช้
แฟลเจลลัม
39. ตอบข้อ 4
อธิบาย ไส้เดือนดินเคลื่อนที่โดยการหดและคลายตัวของกล้าม
เนื้อลำตัว ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว
ซึ่งทำงานแบบสภาวะตรงกันข้าม (antagonism) และมีเดือย
เล็ก ๆ ยื่นออกมาจากผนังลำตัวแต่ละปล้อง ช่วยจิกดินไว้ใน
ขณะเคลื่อนที่
40. ตอบข้อ 4
อธิบาย แมงกะพรุนเคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณ
ขอบกระดิ่งและเนื้อเยื่อบริเวณ ผนังลำตัว ทำให้มีการพ่น
น้ำออกมาทางด้านล่างจะเกิดแรงดันของน้ำดันลำตัว
แมงกะพรุน ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับ
น้ำที่พ่นออกมา หมึกมีการพ่นน้ำออกมาจากไซฟอนแล้วเกิด
แรงดันทำให้ลำตัวของหมึกเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม
14

ดาวทะเลเคลื่อนที่ โดยอาศัยระบบท่อน้ำ เมื่อมีการพ่นน้ำ


ออกมาจะเกิดแรงดันลำตัวของดาวทะเลให้เคลื่อนที่ ไปด้าน
หน้า ซึง่ มีการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกับหอยงวงช้าง
41. ตอบข้อ 4
อธิบาย ทิศทางการไหลของน้ำในระบบท่อน้ำ เริ่มจากน้ำไหล
เข้าทางมาดรีโพไรต์ผ่านเข้าท่อน้ำ วงแหวน เข้าสู่ท่อน้ำ
แนวรัศมีและแอมพูลลา จากนัน
้ น้ำจะไหลเข้าสู่ทิวบ์ฟีท
42. ตอบข้อ 2
อธิบาย พารามีเซียมเคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย ส่วนยูกลีนาและแคลมิ
โดโมแนสเคลื่อนที่โดยใช้แฟลเจลลัม
43. ตอบข้อ 1
อธิบาย ไส้เดือนดินเคลื่อนที่โดยอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ
วงและกล้ามเนื้อตามยาวในลักษณะสภาวะตรงกันข้าม และมี
เดือยเป็ นโครงสร้างเล็ก ๆ ช่วยในการจิกดินไว้ในขณะ
เคลื่อนที่ ขณะกล้ามเนื้อวงหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวคลาย
ตัว ปล้องลำตัวจะยืดยาวออกทำให้ลำตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
แต่หากกล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ทำให้
ปล้อง โป่ งออกดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนที่ไปข้าง
หน้า
15

44. ตอบข้อ 4
อธิบาย การเคลื่อนที่ของปลาเกิดจากการหดและคลายตัวของ
กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกสันหลัง ทัง้ 2 ข้าง และกล้าม
เนื้อยึดเกาะกับกระดูกครีบต่าง ๆ นอกจากนีม
้ ีครีบต่าง ๆ ช่วย
ในการเคลื่อนที่ ประกอบด้วยครีบคู่ คือ ครีบอกและครีบ
สะโพก ช่วยพยุงลำตัวของปลา การเคลื่อนที่ขึน
้ ลง
ในแนวดิ่ง ส่วนครีบเดี่ยว คือ ครีบหลังและครีบหาง ทำหน้าที่
ในการ พัดโบก และช่วยให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
โดยครีบต่าง ๆ จะช่วยในการทรงตัวของปลา ส่วนรูป
ร่างเพรียว ผิวเรียบลื่น และมีเมือกของปลานัน
้ ช่วยลดแรง
เสียดทานของน้ำ
45. ตอบข้อ 2
อธิบาย ปลาไหลไม่มีครีบช่วยพยุงลำตัว จึงต้องใช้กล้ามเนื้อลำ
ตัวช่วยในการเคลื่อนที่มากกว่า ปลาชนิดอื่น ๆ
46. ตอบข้อ 3
อธิบาย การเคลื่อนที่ในลักษณะรูปตัวเอสของปลาเกิดจากการ
หดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดติดกระดูกสันหลังทัง้ 2
ข้างสลับกัน โดยจะค่อย ๆ หดตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหาง
ทำให้ลำตัวปลามีลักษณะโค้งไปมาคล้ายรูปตัวเอส (S)
47. ตอบข้อ 3
อธิบาย กบเคลื่อนที่โดยอาศัยขาทัง้ 4 ข้าง และกล้ามเนื้อ
ควบคุมการเหยียดขาหรืองอขาที่ทำงาน ในลักษณะของ
16

สภาวะตรงกันข้าม โครงสร้างของขาหลังจะยาวและแข็งแรง
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ กล่าวคือ ช่วยในการก
ระโดดและเพิ่มระยะในการเคลื่อนที่
48. ตอบข้อ 4
อธิบาย ลำตัวของนกมีน้ำหนักเบา เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน
ของลำตัว เนื่องจากโครงกระดูก มีลักษณะเป็ นโพรง มี
ถุงลมติดอยู่กับปอดแทรกอยู่ในช่องว่างของลำตัวและในโพรง
กระดูก รวมทัง้ ไม่มีกระเพาะปั สสาวะ นอกจากนีถ
้ งุ ลมยังทำ
หน้าที่สำรองอากาศ เพราะการเคลื่อนที่ด้วยการบินของนก
ต้องการพลังงานสูงมาก จึงต้องได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
49. ตอบข้อ 2
อธิบาย การเคลื่อนที่ของอะมีบาโดยการสร้างเท้าเทียม
(pseudopodium) และการหดตัวของกล้ามเนื้อสัตว์ เกิดจาก
การเลื่อนตัวของโปรตีนแอกทินที่อยู่ในไมโครฟิ ลาเมนท์
เหมือนกัน
50. ตอบข้อ 4
อธิบาย พยาธิปากขอมีกล้ามเนื้อตามยาว ส่วนพลานาเรียและ
ไส้เดือนดินมีกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว การควบคุม
รูปร่างและการเคลื่อนไหวเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อดังกล่าว
บังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของช่องบรรจุของเหลวใน
ร่างกาย
51. ตอบข้อ 2
17

อธิบาย ฟิ ลาเมนท์หนาและบาง ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยโปรตีน


ชนิดแอกทินและไมโอซินซ้อนกัน เป็ นส่วนที่พบทัง้ ใน
กล้ามเนื้อโครงร่างหรือกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจ และ
กล้ามเนื้อเรียบ
52. ตอบข้อ 3
อธิบาย การเคลื่อนที่ในลักษณะรูปตัวเอส (S) ที่เกิดจากการก้าว
ขาที่ไม่พร้อมกัน พบในสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิง้ จก ตุก
๊ แก
กิง้ ก่า จระเข้ จิง้ เหลน
53. ตอบข้อ 2
อธิบาย กระดูกสะบ้าเป็ นส่วนของกระดูกขา
54. ตอบข้อ 2
อธิบาย ไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ
ไขกระดูกในกระดูกท่อนยาว ได้แก่ กระดูกต้นแขน กระดูก
ปลายแขน และกระดูกน่อง
55. ตอบข้อ 1
อธิบาย การเสื่อมหรือการสึกกร่อนของกระดูก หมอนรอง
กระดูก และข้อต่อ หรือปริมาณน้ำไขข้อลดลงทำให้เกิดการ
เสียดสีของกระดูกบริเวณข้อต่อ มีผลให้เกิดการอักเสบและ
เจ็บปวด ตามข้อต่อของกระดูก
56. ตอบข้อ 1
อธิบาย การรับประทานอาหารที่มีสารแคลเซียมออกซาเลตสูง
ทำให้เกิดการสะสมของสารดังกล่าวนีท
้ ี่บริเวณข้อต่อของ
18

กระดูกมีผลให้กระดูกอ่อนสลาย แล้วกลายเป็ นกระดูกแข็งขึน



มาแทน
57. ตอบข้อ 1
อธิบาย การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนเกิดขึน
้ ในกล้าม
เนื้อลาย
58. ตอบข้อ 3
อธิบาย หมายเลข 1 คือ กล้ามเนื้อไตรเซพจะหดตัวเมื่อเหยียด
แขน ส่วนหมายเลข 2 คือ กล้ามเนื้อ ไบเซพจะคลายตัวเมื่อ
เหยียดแขน
59. ตอบข้อ 3
อธิบาย ข้อต่อแบบสไลด์เป็ นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก ได้แก่
ข้อต่อกระดูกข้อมือและข้อต่อกระดูก ข้อเท้า
60. ตอบข้อ 4
อธิบาย เมื่องอแขนกล้ามเนื้อไตรเซพ (หมายเลข 1) จะคลายตัว
ส่วนกล้ามเนื้อไบเซพ (หมายเลข 2) จะหดตัว
61. ตอบข้อ 1
อธิบาย เมื่อโปรตีนแอกทินซึ่งเป็ นส่วนประกอบของเส้นใยกล้าม
เนื้อเลื่อนตัวเข้าหากันบริเวณ ตรงกลางของแต่ละซาร์โค
รเมียร์โดยอาศัยพลังงานจากสารพลังงานสูง ATP และมี
แคลเซียมเป็ นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน
เรียกว่า แอกโทไมโอซิน มีผลให้กล้ามเนื้อ ยึดกระดูกเกิด
การหดตัว
19
20

62. ตอบข้อ 3
อธิบาย หัวใจทำงานตลอดเวลา เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจึงต้องการ
พลังงานจำนวนมาก ดังนัน
้ ภายในเซลล์จึงมีไมโทคอนเดรีย
จำนวนมาก ผนังมดลูกและผนังกระเพาะปั สสาวะ เป็ นกล้าม
เนื้อเรียบมีนิวเคลียสเพียงอันเดียว การทำงานของกล้ามเนื้อ
เรียบอยู่ภายใต้การควบคุมของ ระบบประสาทอัตโนวัติ
ส่วนกล้ามเนื้อขาเป็ นกล้ามเนื้อลาย ที่รูปร่างเป็ นทรงกระบอก
ยาว แต่ละเซลล์มีนิวเคลียสหลายอัน
63. ตอบข้อ 4
อธิบาย กล้ามเนื้อแขนจัดเป็ นกล้ามเนื้อลาย การหดตัวของ
กล้ามเนื้อลายโปรตีนแอกทินหดตัว เข้าหากันบริเวณตรง
กลางของแต่ละซาร์โคเมียร์ โดยอาศัยพลังงานจากสาร
พลังงานสูง ATP และมีแคลเซียมเป็ นตัวเร่งปฏิกิริยา ขณะ
เหยียดแขนกล้ามเนื้อไตรเซพซึ่งเป็ นกล้ามเนื้อ เอ็ก
เทนเซอร์หดตัว
64. ตอบข้อ 4
อธิบาย ดาวทะเลมีโครงร่างแข็งที่ผิวนอก เนื่องจากมีสารหินปูน
ฝั งอยู่ที่ลำตัว แต่กล้ามเนื้อของ ดาวทะเลไม่ได้ยึดติดกับ
โครงร่างแข็ง การเคลื่อนที่ของดาวทะเลจึงไม่ได้อาศัยโครงร่าง
แข็ง แต่เกิดจากการทำงานของระบบท่อน้ำ
65. ตอบข้อ 4
21

อธิบาย เมื่อกล้ามเนื้อได้รับการกระตุ้นจากกระแสประสาท ที่มา


จากเส้นประสาทสมองหรือเส้นประสาทไขสันหลัง จะเกิดการ
หดตัว ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้อเพียงบางส่วนทำให้เกิด
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ แต่เมื่อไม่มีการกระตุ้นจากกระแส
ประสาท กล้ามเนื้อจะคลายตัวกลับสู่สภาพเดิม
66. ตอบข้อ 4
อธิบาย กระดูกไหปลาร้า กระดูกสะบัก กระดูกฝ่ าเท้า และ
กระดูกเชิงกรานจัดเป็ นกระดูกรยางค์ แต่กระดูกหน้าอก
เป็ นกระดูกแกน
67. ตอบข้อ 3
อธิบาย กบ กระต่าย และจิงโจ้ เป็ นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังสัน

และความสามารถในการงอโค้งของกระดูกสันหลังไม่ดี สัตว์
กลุ่มนีจ
้ ึงมีวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่โดยการก
ระโดดและเหยียดขาหลังออกไป เนื่องจากช่วงขาหลังยาว จึง
ทำให้การเคลื่อนที่เร็วขึน

68. ตอบข้อ 2
อธิบาย ข คือ น้ำไขข้อ ค คือ กระดูกอ่อน ช่วยลดการเสียดสี
ของกระดูกขณะเคลื่อนไหว นอกจากนี ้ น้ำไขข้อซึ่งเป็ น
ของเหลวที่อยู่ระหว่างกระดูกอ่อน ยังเป็ นแหล่งสารอาหาร
สำหรับกระดูกอ่อนอีกด้วย
22

69. ตอบข้อ 2
อธิบาย B คือ กล้ามเนื้อขา การยกขาเกิดจากกล้ามเนื้อขาหดตัว
C คือ กล้ามเนื้อที่ทำให้ ขาเหยียดตรง D คือ
กล้ามเนื้อที่ทำให้เข่างอได้ A คือ กล้ามเนื้อก้น
70. ตอบข้อ 4
อธิบาย กล้ามเนื้อหูรูดที่ม่านตาจัดเป็ นกล้ามเนื้อเรียบ รูปร่าง
ของเซลล์ส่วนหัวและส่วนท้ายแหลมคล้ายรูปกระสวย แต่ละ
เซลล์มีนิวเคลียสเดียว การทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ
ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนวัติ
71. ตอบข้อ 3
อธิบาย การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมักพบในสิ่งมีชีวิตชัน
้ ต่ำ
ส่วนใหญ่เป็ นการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสเพื่อเพิ่ม
จำนวนเซลล์ ซึ่งใช้เวลาและพลังงานน้อยกว่าการสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ และเป็ นวิธีการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตอย่าง
รวดเร็ว เนื่องจากแต่ละครัง้ ของการสืบพันธุ์ จะให้ลูก
คราวละมาก ๆ ลูกที่ได้มีลักษณะเหมือนพ่อหรือแม่ที่ให้กำเนิด
ทุกประการ โดยไม่มีการแปรผันทางพันธุกรรมจึงมีผลต่อการ
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ได้ไม่ดี
72. ตอบข้อ 2
อธิบาย เซนทริโอล คือ ไมโครทิวบูล ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การควบคุมการพัดโบกของหางอสุจิ ดังนัน
้ การใส่สารที่ทำลาย
เซนทริโอลจึงมีผลต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิ
23

73. ตอบข้อ 2
อธิบาย การแตกหน่อเป็ นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ พบใน
ยีสต์ ฟองน้ำ ไฮดรา และพืชชัน
้ สูง บางชนิด
74. ตอบข้อ 4
อธิบาย ขณะมีประจำเดือน การสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะ
ลดต่ำลง ทำให้ผนังมดลูกหลุดลอกออกมา จึงมีผลให้ผนัง
มดลูกบางลง และจำนวนหลอดเลือดลดลงด้วย
75. ตอบข้อ 2
อธิบาย ขณะเกิดการปฏิสนธิในคน อะโครโซม (acrosome) จะ
ปล่อยเอนไซม์มาย่อยชัน
้ ของเยื่อ ที่ห่อหุ้มไข่ และกระตุ้น
ไข่ให้มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสขัน
้ ที่ 2 ต่อจนได้เซลล์ไข่
(ovum) จากนัน
้ นิวเคลียสของอสุจิจึงจะรวมกับนิวเคลียสของ
เซลล์ไข่ได้ไซโกต
76. ตอบข้อ 1
อธิบาย เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์สืบพันธุ์เพศ
ผู้ เพราะมีปริมาณของไซโทพลาซึมมากกว่า
24

77. ตอบข้อ 3
อธิบาย ในสภาพแวดล้อมปกติอะมีบาจะสืบพันธุ์โดยการแบ่ง
ออกเป็ นสองส่วน แต่หากอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่
ไม่เหมาะสม อะมีบาจะสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เนื่องจากส
ปอร์ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้
ดี
78. ตอบข้อ 2
อธิบาย ต่อมสร้างน้ำเลีย
้ งอสุจิ (seminal vesicle) จะสร้างน้ำ
เลีย
้ งอสุจิที่มีปริมาณของของเหลว ในน้ำอสุจิมากที่สุด
79. ตอบข้อ 2
อธิบาย การปฏิสนธิภายนอกเกิดขึน
้ โดยเพศเมียจะวางไข่ จาก
นัน
้ เพศผู้จะปล่อยอสุจิไปผสมกับ เซลล์ไข่ การเคลื่อนที่ของ
อสุจิต้องอาศัยน้ำเป็ นตัวกลางในการเคลื่อนที่
80. ตอบข้อ 3
อธิบาย การปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่กบ
ั อสุจิเกิดขึน
้ ในท่อนำไข่
1
ตอนต้น ในตำแหน่งประมาณ 3 ของท่อนำไข่จากด้านที่
อยู่ใกล้กับรังไข่
81. ตอบข้อ 4
อธิบาย พาร์ทิโนเจเนซิส (parthenogenesis) คือ การเจริญไป
เป็ นตัวอ่อนจากเซลล์ไข่ที่ไม่ได้รับ การปฏิสนธิ ตัวใหม่ที่ได้
25

เป็ นเพศผู้ มีจำนวนโครโมโซมเป็ นแฮพลอยด์ (n) พาร์ทิโนเจ


เนซิส พบในผึง้ ต่อ แตน มด เพลีย
้ อ่อน เป็ นต้น
82. ตอบข้อ 1
อธิบาย ยูกลีนามีการแบ่งเซลล์ตามยาวของลำตัว ขณะที่พารามี
เซียมแบ่งเซลล์ตามแนวขวาง ของลำตัว
83. ตอบข้อ 2
อธิบาย การที่อัณฑะหลบเข้าไปอยู่ในช่องท้องทำให้อุณหภูมิ
ภายในอัณฑะสูงเกินไปไม่เหมาะ ต่อ การสร้างอสุจิ
84. ตอบข้อ 3
อธิบาย หลังจากที่ไข่ตกแล้ว กราเฟี ยนฟอลลิเคิลจะเปลี่ยนไป
เป็ นคอร์ปัสลูเทียม ดังนัน
้ การนับจำนวนคอร์ปัสลูเทียมจึง
ทำให้ทราบจำนวนไข่ที่ตกได้
85. ตอบข้อ 4
อธิบาย การสร้างสเปอร์มาโทไซต์จะเกิดขึน
้ เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
การหลั่งอสุจิแต่ละครัง้ มีจำนวนของเซลล์อสุจิจำนวนมาก แต่
มีอสุจิเพียงเซลล์เดียวเท่านัน
้ ที่จะเข้าไปปฏิสนธิได้ ในหญิงที่
หมดประจำเดือนยังมีโอโอไซต์เหลืออยู่ แต่ไม่มีการตกไข่
86. ตอบข้อ 1
อธิบาย การใส่ห่วงคุมกำเนิดไม่มีผลต่อการตกไข่และการสร้าง
ฮอร์โมนเพศ แต่จะป้ องกันการตัง้ ครรภ์โดยยับยัง้ การฝั งตัว
ของเอ็มบริโอที่ผนังมดลูก
87. ตอบข้อ 2
26

อธิบาย การตกไข่จะเกิดขึน
้ เมื่อเซลล์ไข่อยู่ในระยะเมทาเฟส II
ซึ่งเป็ นระยะหลังไมโอซิสขัน
้ ที่ 1 หากมีอสุจิมาผสม เซลล์จะ
แบ่งตัวต่อไปจนเสร็จสิน
้ ในระยะเทโลเฟส II จากนัน
้ นิวเคลียส
ของอสุจิจะเข้าไปรวมตัวกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ได้ไซโกต
แล้วเจริญพัฒนาไปเป็ นเอ็มบริโอ โดยเอ็มบริโอจะ
เคลื่อนไปฝั งตัวที่ผนังด้านในของมดลูกภายใน 7 วัน หรือ
ประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน
88. ตอบข้อ 4
อธิบาย ในการสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีอวัยวะที่ทำหน้าที่แตกต่าง
กัน คือ รังไข่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศ ท่อนำไข่
เป็ นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่กับอสุจิ และ
เป็ นเส้นทางการเคลื่อนที่ของไซโกตเพื่อไปฝั งตัวที่ผนังมดลูก
ด้านใน แต่หากมีความผิดปกติของช่องคลอดจะมีผลต่อการ
สืบพันธุ์น้อยที่สุด เพราะกระบวนการที่สำคัญของการสืบพันธุ์
ยังสามารถดำเนินได้เป็ นปกติ
89. ตอบข้อ 3
อธิบาย เด็กหลอดแก้ว (test tube baby) เป็ นการผสมเทียมใน
มนุษย์ ทำได้โดยการนำอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ภายนอกร่างกาย
จากนัน
้ จึงนำเอ็มบริโอที่ได้ใส่เข้าไปในมดลูก เพื่อให้เอ็มบริโอ
ฝั งตัวในมดลูกแล้วเจริญเติบโตต่อไปจนกระทั่งถึงกำหนด
คลอดตามปกติ
90. ตอบข้อ 2
27

อธิบาย เมื่อไข่ตกออกจากกราเฟี ยนฟอลลิเคิลแล้ว


กราเฟี ยนฟอลลิเคิลจะถูกเปลี่ยนไปเป็ น คอร์ปัสลู
เทียม ดังนัน
้ หากต้องการทราบว่าจำนวนไข่ตกที่แน่นอน
สามารถนับได้จากจำนวนของคอร์ปัสลูเทียม
91. ตอบข้อ 1
อธิบาย การแบ่งเซลล์ของเอ็มบริโอในระยะคลีเวจของคนเป็ น
แบบโฮโลบลาสติก แต่การแบ่งเซลล์ของเอ็มบริโอไก่เป็ นแบบ
เมโรบลาสติก เพราะไข่ไก่มีไข่แดงปริมาณมาก แต่ไข่คนมี
ปริมาณ ไข่แดงสะสมอยู่น้อย
92. ตอบข้อ 1
อธิบาย เอ็มบริโอหนูได้รับอาหารจากรกภายในตัวแม่ แต่
เอ็มบริโอไก่ได้รับอาหารจากไข่แดงที่อยู่ในถุงไข่แดง
93. ตอบข้อ 1
อธิบาย ระยะคลีเวจเป็ นระยะที่ไซโกตมีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่ม
จำนวนเซลล์โดยการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิส เซลล์ใหม่ที่
ได้แต่ละเซลล์มีขนาดเล็กลง มีผลให้อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อ
ปริมาตรเพิ่มขึน

28

94. ตอบข้อ 4
อธิบาย ผลที่เกิดจากการใช้ยาทาลิโดไมด์ช่วยอาการแพ้ท้องของ
หญิงมีครรภ์ ในช่วงของการตัง้ ครรภ์ 3 เดือนแรก แล้วมีผลให้
ลูกที่เกิดมามีแขนขาเจริญผิดปกติ มีความพิการของแขนขา
แสดงว่ายาทาลิโดไมด์มีผลต่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอใน
ระยะออร์แกโนเจเนซิสซึ่งเป็ นระยะ ของการสร้างอวัยวะ
95. ตอบข้อ 3
อธิบาย เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ว ไซโกตกบจะมีการแบ่งเซลล์
ตลอดทัง้ เซลล์ที่เรียกว่า โฮโลบลาสติก ทัง้ นีเ้ พราะไข่กบมีไข่
แดงสะสมปริมาณปานกลางเท่านัน
้ เซลล์ที่ได้จากระยะคลีเวจ
พบว่า จำนวนเซลล์เพิ่มขึน
้ และเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กลง
96. ตอบข้อ 2
อธิบาย สัตว์ที่มีเมทามอร์โฟซิส คือ คางคก กุ้ง ยุง แมลงหวี่
เขียด และอึ่งอ่าง
97. ตอบข้อ 3
อธิบาย จิง้ หรีดมีเมทามอร์โฟซิสแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
ทีละน้อย 3 ขัน
้ ตอน แต่ยุง ผีเสื้อ และแมลงวันมีเมทามอร์โฟ
ซิสแบบสมบูรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 4 ขัน
้ ตอน
98. ตอบข้อ 3
อธิบาย ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ตก 2 ใบ อาจได้ฝาแฝดที่เป็ นเพศ
เดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ แต่ลก
ั ษณะทางพันธุกรรมต่างกัน
99. ตอบข้อ 4
29

อธิบาย ฝาแฝดอิน-จันซึ่งเป็ นแฝดสยามที่มีลำตัวติดกัน แสดงว่า


เกิดจากไข่ 1 ใบ กับอสุจิ 1 ตัว แต่เนื่องจากไซโกตในระยะคลี
เวจตอนต้นแยกตัวออกจากกันไม่สมบูรณ์ จึงทำให้มีร่างกาย
ติดกัน
100. ตอบข้อ 2
อธิบาย แอลแลนทอยส์กับรกทำหน้าที่เหมือนกัน คือ ช่วยใน
การแลกเปลี่ยนแก๊สให้กบ
ั เอ็มบริโอ
101. ตอบข้อ 4
อธิบาย ไซโกตของกบแบ่งตัวแบบโฮโลบลาสโตซิส แต่ไซโกต
แบ่งเซลล์แบบเมโรบลาสโตซิส สำหรับถุงน้ำคร่ำทำหน้าที่ป้องกัน
การกระทบกระเทือน ช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวได้สะดวกและปรับ
อุณหภูมิ ให้กับทารกในครรภ์
102. ตอบข้อ 3
อธิบาย การเกิดเนื้อเยื่อของเอ็มบริโอเกิดในระยะแกสทรูเลชัน
103. ตอบข้อ 1
อธิบาย การแบ่งเซลล์ของไซโกตเป็ นการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ไม่มีขนาดใหญ่ขึน
้ เซลล์ใหม่ที่ได้ มีปริมาตรเล็กลง อัตราส่วน
ระหว่างพื้นที่ผิวกับปริมาตร และอัตราส่วนระหว่างนิวเคลียสกับ
ไซโทพลาซึมเพิ่มขึน

104. ตอบข้อ 2
30

อธิบาย กระบวนการที่เกิดขึน
้ ในระยะแรกของการเจริญเติบโต
ของเอ็มบริโอสัตว์ คือ การแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์
และเซลล์ที่ได้มีขนาดเล็กลง
105. ตอบข้อ 1
อธิบาย ฮอร์โมนออกซิโทซินถูกหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง
ของมารดา กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกเพื่อให้คลอดทารก
ออกมา
106. ตอบข้อ 2
อธิบาย อวัยวะสืบพันธุ์ คือ รังไข่และอัณฑะ ทำหน้าที่เป็ นต่อม
มีท่อ โดยสร้างเซลล์สบ
ื พันธุ์คือ เซลล์ไข่และอสุจิ ตาม
ลำดับ แต่ส่วนที่ทำหน้าที่เป็ นต่อมไร้ท่อจะผลิตฮอร์โมนเพศ
ส่วนตับอ่อนที่ทำหน้าที่เป็ นต่อมมีท่อจะผลิตเอนไซม์เพื่อใช้
ย่อยอาหารในลำไส้เล็ก ขณะเดียวกันมีกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่
เป็ นต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน
107. ตอบข้อ 2
อธิบาย โกรทฮอร์โมนที่มีมากในวัยเด็กทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิด
ปกติ เรียกว่า โรคยักษ์ (gigantism) ในทางตรงกันข้ามหากมี
น้อยทำให้ร่างกายมีลักษณะเตีย
้ แคระ (dwarfism) กรณีที่มี
มาก ในวัยผู้ใหญ่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เรียกว่า อะโคร
เมกาลี (acromagaly) สำหรับกลุ่มอาการเครทินิซึม เกิดจาก
วัยเด็กขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ส่วนโรคคุชชิงเกิดจากร่างกายมี
ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป
31

108. ตอบข้อ 4
อธิบาย ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิ นก
ระตุ้นการเจริญเติบโตและการหลั่งฮอร์โมนเพศของอัณฑะ
และการหลั่งฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิ น (ACTH) กระตุ้น
การทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก รวมทัง้ หลั่งไทรอยด์สติ
มิวเลติงฮอร์โมน (TSH) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานตาม
ปกติ
109. ตอบข้อ 1
อธิบาย อินซูลินจากเบตาเซลล์ของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
จะกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ตับและกล้ามเนื้อ เพิ่ม
อัตราการสลายกลูโคสเพื่อสร้างพลังงาน รวมทัง้ เปลี่ยนกลูโคส
เป็ น ไกลโคเจนสะสมไว้ กลูคากอนสร้างจากแอลฟา
เซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ
อินซูลินโดยกระตุ้นการสลายไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อ
ได้เป็ นกลูโคส เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดทำให้ระดับน้ำตาล
ในเลือดเพิ่มขึน
้ ส่วนอะดรีนาลินหรือเอพิเนฟรินจากต่อม
หมวกไตส่วนในทำหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียว
กับกลูคากอน
110. ตอบข้อ 1
อธิบาย ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (ADH) หรือวาโซเพรสซินมี
หน้าที่ควบคุมการดูดน้ำกลับของ ท่อหน่วยไต รวมทัง้
กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดแดง
32
33

111. ตอบข้อ 4
อธิบาย ผู้ที่มีอาการอะโครเมกาลี เกิดขึน
้ เนื่องจากร่างกายหลั่ง
ฮอร์โมนโซมาโตโทรฟิ น (STH) หรือโกรทฮอร์โมนจาก
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าออกมามากหลังจากร่างกายโตเต็มวัย
แล้ว STH จึงไม่มีผลต่อความสูงของร่างกาย แต่จะทำให้
กระดูกบริเวณใบหน้า เช่น กระดูกคาง ขากรรไกร กระดูก
แก้ม รวมทัง้ กระดูกตามแขนขา นิว้ มือ นิว้ เท้ามีความผิดปกติ
112. ตอบข้อ 4
อธิบาย แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (ADH) หรือวาโซเพรสซิน ทำ
หน้าที่ควบคุมการดูดน้ำกลับ ของท่อหน่วยไต ในคน
ปกติไตจะกรองน้ำผ่านได้ 180 ลิตร แต่น้ำส่วนหนึ่งจะถูกดูด
กลับ ที่ท่อหน่วยไต โดยมีน้ำที่กรองผ่านถูกขับออกมาใน
รูปปั สสาวะเพียงวันละประมาณ 1.8 ลิตรเท่านัน
้ จึงถือว่า
ร่างกายนายดำเป็ นปกติ แต่นายแดงขับปั สสาวะออกมา 5
ลิตร แสดงว่า มีการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไตน้อยมาก
ทัง้ นีเ้ นื่องจาก ADH ที่สร้างจากนิวโรซีครีทอรีเซลล์แล้วปล่อย
ออกมาทางต่อมใต้สมองส่วนหน้าน้อยเกินไป ท่อหน่วยไตจึง
ดูดน้ำกลับได้น้อย นายแดงจึงขับปั สสาวะออกมามากกว่า
คนปกติ
113. ตอบข้อ 2
อธิบาย ฮอร์โมนอะดรีนาลินหรือเอพิเนฟรินเป็ นฮอร์โมนจาก
ต่อมหมวกไตส่วนในหรืออะดรีนัล- เมดัลลา เป็ นฮอร์โมนที่
34

ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึน
้ ส่วนฮอร์โมนที่ทำให้ระดับ
แคลเซียมในเลือดสูงขึน
้ คือ พาราทอร์โมนที่สร้างจากต่อม
พาราไทรอยด์
114. ตอบข้อ 1
อธิบาย หลังจากมีประจำเดือนร่างกายจะมีการซ่อมแซมผนัง
มดลูกในช่วงวันที่ 5-14 ของรอบเดือน เรียกว่า proliferative
phase โดยฮอร์โมนอีสโทรเจนที่สร้างจากฟอลลิเคิลในรังไข่
115. ตอบข้อ 1
อธิบาย ปริมาณแสงมีผลต่อปริมาณการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน
กล่าวคือหากปริมาณแสงน้อย ฮอร์โมนเมลาโทนินจะหลั่งออก
มามาก ในทางตรงกันข้ามหากปริมาณแสงมาก ฮอร์โมน
เมลาโทนินจะหลั่งออกมาน้อย ฮอร์โมนเมลาโทนินทำหน้าที่
กระตุ้นการรวมกลุ่มของเมลานิน (melanin) ในเซลล์ผิวหนัง
ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีผลให้สีผิวจางลง
116. ตอบข้อ 1
อธิบาย ตับอ่อนเป็ นอวัยวะที่ประกอบด้วย ต่อมสร้างเอนไซม์
ต่าง ๆ ซึง่ ประกอบด้วย เอนไซม์ อะไมเลสสำหรับย่อย
แป้ ง เอนไซม์ลิเพสสำหรับย่อยลิพิด และเอนไซม์สำหรับย่อย
โปรตีน ได้แก่ เอนไซม์ทริปซิน ไคโมทริปซิน คาร์บอกซิเพ
ปทิเดส และกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟ- แลงเกอร์ฮานส์ ซึ่งมี
เบตาเซลล์สร้างฮอร์โมนอินซูลิน และแอลฟาเซลล์สร้าง
35

ฮอร์โมน กลูคากอน ฮอร์โมนทัง้ 2 ชนิด เป็ นฮอร์โมน


ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

117. ตอบข้อ 2
อธิบาย แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (ADH) สร้างจากนิวโรซีครีทอรี
เซลล์ในสมองส่วนไฮโพทาลามัส หลั่งที่ปลายแอกซอนที่
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดน้ำกลับ
ของ ท่อหน่วยไต ดังนัน
้ การผูกหลอดเลือดทุกหลอดที่
เชื่อมระหว่างไฮโพทาลามัสและต่อมใต้สมองจึงไม่มีผลต่อการ
ทำงานของ ADH หนูตัวที่ 1 จึงมีการขับปั สสาวะเป็ นปกติ
ส่วนหนูตัวที่ 2 ถูกทำลายนิวโรซีครีทอรีเซลล์ ทำให้ไม่มี ADH
ควบคุมการดูดน้ำกลับจึงมีผลให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ แต่การ
ฉีด ADH เข้าไปในหนูตัวที่ 3 การดูดน้ำกลับคืนมีมากขึน

ปั สสาวะ จึงน้อยและเข้มข้นกว่าเดิม
118. ตอบข้อ 4
อธิบาย ฮอร์โมนอินซูลินเป็ นฮอร์โมนประเภทโปรตีนสร้างจาก
เบตาเซลล์ในไอส์เลตออฟแลง- เกอร์ฮานส์ของตับอ่อน
อินซูลินที่สร้างขึน
้ ถูกลำเลียงออกนอกเซลล์เข้าสู่กระแสเลือด
เพื่อส่งไปยังอวัยวะเป้ าหมาย โปรตีนที่สร้างขึน
้ ภายในเซลล์
เพื่อส่งออกนอกเซลล์นัน
้ สร้างจากไรโบโซมที่เกาะอยู่กับเอนโด
พลาสมิกเรติคูลัม
36

119. ตอบข้อ 4
อธิบาย แอลกอฮอล์และปริมาณน้ำในเบียร์จะยับยัง้ การหลั่ง
แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน ซึ่งเป็ นฮอร์โมน ที่ควบคุมการดูด
น้ำกลับของท่อหน่วยไต ทำให้การดูดน้ำกลับลดลง น้ำจึงถูก
ขับออกมามาก มีการปั สสาวะบ่อยขึน

120. ตอบข้อ 1
อธิบาย การตัดอะดรีนัลคอร์เทกซ์หรือต่อมหมวกไตส่วนนอก
ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนที่มีหน้า
ที่ควบคุมการดูดโซเดียมเข้าสู่หลอดเลือด ในกรณีเช่นนี ้
ร่างกายจะสูญเสียโซเดียมจึงควรให้กินน้ำเกลือ ส่วนการตัด
ต่อมใต้สมองร่างกายจะขาดแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน ทำให้
ร่างกายสูญเสียน้ำจึงต้องดื่มน้ำมาก สำหรับการตัดต่อมพารา
ไทรอยด์ ทำให้ร่างกายขาดพาราทอร์โมน มีผลให้ร่างกายสูญ
เสียแคลเซียมในเลือดจึงต้องกินแคลเซียมชดเชย ในกรณีที่ตัด
เบตาเซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ของตับอ่อน ร่างกาย
จะขาดฮอร์โมนอินซูลิน มีผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึน

จึงไม่ควรกินน้ำตาลเพิ่มเข้าไป
121. ตอบข้อ 2
อธิบาย ฮอร์โมนเมลาโทนินในสัตว์ชัน
้ สูง ทำหน้าที่ยับยัง้ การ
เจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ให้เติบโตเร็วเกินไป แต่ใน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเมลาโทนินจะกระตุ้นเมลานินในเซลล์
เมลาโนไซต์ของผิวหนังให้รวมตัวกัน สีผิวจึงจางลง
37

122. ตอบข้อ 1
อธิบาย หนูที่ถูกตัดไทรอยด์จะตายก่อนหนูตัวอื่น เนื่องจากต่อม
ไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน ไทรอกซินซึ่งเป็ นฮอร์โมน
ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การขาดไทรอกซินทำ
ให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ในการผลิตพลังงานได้ หนู
จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
123. ตอบข้อ 3
อธิบาย ต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมน
บางชนิดมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ได้แก่
- ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิ นซึ่งประกอบด้วย ฟอลลิเคิลสติมิว
เลติงฮอร์โมน (FSH) และ ลูทิไนซิงฮอร์โมน (LH) ทำ
หน้าทีค
่ วบคุมการทำงานของอัณฑะและรังไข่
- ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิ น (ACTH) กระตุ้นการ
ทำงานของอะดรีนัลคอร์เทกซ์หรือต่อมหมวกไตส่วนนอก
- ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (TSH) ควบคุมการทำงานของ
ต่อมไทรอยด์
124. ตอบข้อ 4
อธิบาย ตับอ่อน ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต และต่อมไทรอยด์
เป็ นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนที่มีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
กล่าวคือ ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนกลูคากอนกระตุ้นการ
เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อให้เป็ นน้ำตาลกลูโคส
ต่อมใต้สมองสร้างโกรทฮอร์โมนช่วยเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม
38

ของคาร์โบไฮเดรตทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึน
้ ต่อมหมวกไต
ส่วนใน สร้างเอพิเนฟรินและนอร์เอพิเนฟรินช่วยเพิ่มระดับ
น้ำตาลในเลือด ส่วนต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซิ
นเพื่อควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกาย
125. ตอบข้อ 1
อธิบาย หากฮอร์โมน A จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หมายถึง
ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (FSH) ต่อม X คือ ฟอลลิเคิลใน
รังไข่ FSH จะกระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลและการสร้าง
ฮอร์โมนอีสโทรเจนโดยฟอลลิเคิลนั่นเอง ในกรณีฮอร์โมน A
หมายถึง ลูทิไนซิงฮอร์โมน (LH) ต่อม X คือ คอร์ปัสลูเทียม
LH จะกระตุ้นการตกไข่ละการเกิดคอร์ปัสลูเทียม รวมทัง้ การ
สร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนของคอร์ปัสลูเทียม ทัง้ อีสโทร
เจนและโพรเจสเทอโรนหากมีปริมาณมากจะมีผลยับยัง้ การ
หลัง่ ฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
126. ตอบข้อ 4
อธิบาย วิธีการตรวจสอบทัง้ 3 กรณี สามารถบ่งบอกการขาด
ไอโอดีนของร่างกายได้ กล่าวคือ การตรวจระดับไทรอยด์สติมิ
วเลติงฮอร์โมน (TSH) ในเลือดนัน
้ หากร่างกายขาดธาตุ
ไอโอดีนสำหรับนำไปใช้สร้างฮอร์โมนไทรอกซิน ร่างกายจะ
ขาดไทรอกซินด้วย ทำให้ต่อมใต้สมอง หลั่ง TSH ออกมาใน
กระแสเลือดมากเพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้
ทำงาน มากขึน
้ ส่วนการตรวจลักษณะของฟอลลิเคิลใน
39

ชิน
้ เนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์นัน
้ หากร่างกายได้รับไอโอดีนเพียง
พอเซลล์ในเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์จะมีขนาดใหญ่ แต่หาก
ร่างกายขาดไอโอดีนฟอลลิเคิลจะมีลักษณะเป็ นรูปลูกบาศก์
แบนและขนาดเล็กลง สำหรับการวัดอัตราการให้ออกซิเจน
พบว่า คนที่ขาดไอโอดีนอัตราการใช้ออกซิเจนจะต่ำลง
40

127.ตอบข้อ 2
อธิบาย เมื่อตัดก้านตากุ้งพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง
แต่เมื่อฉีดสารสกัดจากก้านตากุง้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด
เพิ่มขึน
้ สารดังกล่าวมีสมบัติเช่นเดียวกับกลูคากอนมีหน้าที่
เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งทำงานตรงกันข้ามกับอินซูลิน
128. ตอบข้อ 1
อธิบาย จากรูปต่อมไร้ท่อ ตำแหน่ง ก คือ ต่อมใต้สมองสร้าง
ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (FSH) ตำแหน่ง ข คือ ต่อม
ไทรอยด์สร้างแคลซิโทนิน ตำแหน่ง ค คือ ต่อมหมวกไตสร้าง
ฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟริน ตำแหน่ง ง คือ กลุ่มเซลล์ไอส์เลต
ออฟแลงเกอร์ฮานส์สร้างกลูคากอน
129. ตอบข้อ 4
อธิบาย การไม่เคยบริโภคเกลือไอโอดีนหรืออาหารทะเล ทำให้
ร่างกายขาดธาตุไอโอดีนซึ่งเป็ นองค์ประกอบสำคัญของ
ฮอร์โมนไทรอกซินที่สร้างโดยต่อมไทรอยด์ กรณีเช่นนีม
้ ีผลให้
ระดับของไทรอกซินในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากต่อมใต้
สมองส่วนหน้าหลั่งไทรอยด์- สติมิวเลติงฮอร์โมน (TSH)
มากระตุ้นต่อมไทรอยด์มากเกินไป ขณะที่ต่อมดังกล่าวนี ้
ไม่สามารถสร้างไทรอกซินออกไปยับยัง้ การหลั่ง TSH จาก
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าได้ ปริมาณ TSH ในเลือดมีสงู
มาก จึงทำให้ต่อมไทรอยด์โตมากผิดปกติ
130. ตอบข้อ 4
41

อธิบาย พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (PTH) หรือพาราทอร์โมน


(parathormone) สร้างจากต่อม พาราไทรอยด์ มีหน้า
ที่เพิ่มอัตราการดูดซึมแคลเซียมเข้าสูล
่ ำไส้เล็ก เพิ่มอัตราการ
สลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก และเพิ่มอัตราการดูด
กลับแคลเซียมของไต
131. ตอบข้อ 3
อธิบาย อะโครเมกาลี (acromegaly) เป็ นอาการที่ต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้าสร้างโซมาโตโทรฟิ น (STH) มากในวัยผู้ใหญ่ โรค
คอหอยพอกเป็ นพิษ (Grave’s disease) มีสาเหตุจากต่อมใต้
สมอง หลัง่ ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมน
ออกมามากเกินไป หรืออาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์
ส่วนโรคยักษ์ (gigantism) เกิดจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้าง
STH มากเกินไปในวัยเด็ก ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิด
ปกติ
132. ตอบข้อ 3
อธิบาย การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถเป็ นไป
ตามปกติโดยอยู่ภายใต้การประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง
ระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทจะควบคุม
การตอบสนองและสิน
้ สุดอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบต่อมไร้ท่อ
จะหลั่งฮอร์โมนเพื่อควบคุม การตอบสนองหรือการทำงาน
ของร่างกายอย่างช้า ๆ ใช้เวลานานกว่าและเกิดผลที่ต่อเนื่อง
เป็ นเวลานาน
42
43

133. ตอบข้อ 2
อธิบาย อาการกระดูกผุอันเนื่องมาจากขาดแคลเซียมนัน
้ น่าจะ
มีสาเหตุมาจากต่อมพาราไทรอยด์สร้างพาราทอร์โมนมากเกิน
ไป เพราะพาราทอร์โมนจะเพิ่มอัตราการสลายแคลเซียม
ในกระดูก หรืออาจเป็ นเพราะต่อมไทรอยด์ถูกทำลาย ทำให้
การสร้างแคลซิโทนินน้อยเกินไป การสะสมแคลเซียมใน
กระดูกจึงลดลง
134. ตอบข้อ 1
อธิบาย V คือ อินซูลินและกลูคากอน สร้างจากกลุ่มเซลล์ไอส์
เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน อินซูลินลดระดับน้ำตาลใน
เลือด แต่กลูคากอนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด III คือ
แคลซิโทนินจากต่อมไทรอยด์กระตุ้นการสะสมแคลเซียมใน
กระดูก ส่วนพาราทอร์โมน จากต่อมพาราไทรอยด์
กระตุ้นการสลายแคลเซียมในกระดูก
135. ตอบข้อ 3
อธิบาย การจิกที่จงอยปากแม่ของลูกนกนางนวลเพื่อขออาหาร
เป็ นพฤติกรรมของการสื่อสารด้วย การสัมผัส
136. ตอบข้อ 3
อธิบาย เมื่อแมลงมีการลอกคราบแล้วแมลงจะมีขนาดใหญ่ขึน

กล่าวคือ มีการเจริญเติบโตนั่นเอง ดังนัน
้ ฮอร์โมนที่ควบคุม
การลอกคราบของแมลงจึงเปรียบเสมือนโกรทฮอร์โมน
44

(growth hormone) ซึ่งเป็ นฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญ


เติบโตของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
137. ตอบข้อ 3
อธิบาย หญิงที่เริ่มแรกตัง้ ครรภ์ เซลล์ของรกจะสร้างฮิวแมนคอริ
โอนิกโกนาโดโทรฟิ น เพื่อกระตุ้น การเจริญของคอร์ปัสลู
เทียมในรังไข่และสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึน
้ ดังนัน

จึงทำให้พบฮอร์โมนนีป
้ นออกมามากกับปั สสาวะของหญิงเริ่ม
แรกมีครรภ์
138. ตอบข้อ 3
อธิบาย ฟี โรโมนเป็ นสารเคมีจำพวกกรดไขมันที่สร้างจากต่อมมี
ท่อ ลำเลียงโดยผ่านท่อของต่อม ที่สร้างฟี โรโมนนัน
้ ๆ
ขับออกนอกร่างกาย ฟี โรโมนจะไม่มีผลต่อสัตว์ที่สร้างขึน
้ แต่
จะมีผลต่อสัตว์อ่ น
ื ที่อยู่ในสปี ชีส์เดียวกัน
139. ตอบข้อ 2
อธิบาย การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในถูกควบคุมโดย
ระบบประสาทอัตโนวัติ พฤติกรรม ที่แสดงออกโดยสามารถ
ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากหนีไฟเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้นัน

เนื่องจากต่อมหมวกไตส่วนในหลั่งฮอร์โมนเอพิเนฟรินออกมา
มากกว่าปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึน
้ เมแทบอลิซึม
เพิ่มมากขึน
้ ร่างกายจึงมีพลังงานมากกว่าปกติ
45

140. ตอบข้อ 4
อธิบาย โรคเบาหวานที่ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร
จำพวกคาร์โบไฮเดรตนัน
้ เบตาเซลล์ ยังสามารถผลิต
ฮอร์โมนอินซูลินได้ แต่เซลล์เป้ าหมายไม่มีโปรตีนตัวรับ
ฮอร์โมนอินซูลิน จึงไม่สามารถทำงานได้ จึงมีผลให้ระดับ
น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึน

141. ตอบข้อ 4
อธิบาย พฤติกรรมดังกล่าวของปลาบึกเป็ นพฤติกรรมที่มี
แบบแผนที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เกิดขึน
้ กับปลาบึก
ทุกตัว ซึง่ ถือว่าเป็ นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดแบบรีเฟล็กซ์ต่อ
เนื่อง หรือเดิมเรียกว่า สัญชาตญาณ
142. ตอบข้อ 4
อธิบาย การสื่อสารทุกชนิดจัดเป็ นพฤติกรรมทางสังคม
143. ตอบข้อ 2
อธิบาย การหลั่งน้ำลายเป็ นรีเฟล็กซ์ถูกควบคุมโดยสมองส่วน
พอนส์ ไม่ใช่สมองส่วนเซรีบรัม
144. ตอบข้อ 3
อธิบาย พฤติกรรมของสุนัขเกิดขึน
้ เนื่องจากสุนัขมีพัฒนาการ
ของระบบประสาทดีจึงสามารถจดจำ สิ่งเร้าได้
145. ตอบข้อ 3
46

อธิบาย การส่งเสียงร้องคือการสื่อสารด้วยเสียง เป็ นพฤติกรรม


ทางสังคม เมื่อนกเพศผู้ได้ยินเสียง นกเพศผู้ด้วยกันจะส่ง
เสียงร้องตอบแล้วเข้าโจมตีแหล่งเสียงนัน
้ ๆ
146. ตอบข้อ 2
อธิบาย ผู้ขับรถจะเกิดการเรียนรู้แบบความเคยชินเลิกการตอบ
สนองต่อสัญญาณไฟแดง
147. ตอบข้อ 3
อธิบาย เมื่อสัตว์มีการเรียนรู้มากขึน
้ การแสดงพฤติกรรมที่เป็ น
สัญชาตญาณจะลดลง
148. ตอบข้อ 4
อธิบาย ไคนีซิสและแทกซิสเป็ นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ดัง
นัน
้ สิ่งมีชีวิตในสปี ชีส์เดียวกันจะมี แบบแผนการแสดง
พฤติกรรมเหมือนกัน และจะหยุดแสดงพฤติกรรมเมื่อไม่มีสิ่ง
เร้ากระตุ้น
149. ตอบข้อ 2
อธิบาย ความหิวเป็ นเหตุจูงใจในเด็กมีพฤติกรรมการดูดนม ส่วน
น้ำนมเป็ นตัวกระตุ้นปลดปล่อย
150. ตอบข้อ 1
อธิบาย มดแดงที่ตายจะปล่อยฟี โรโมนที่เรียกว่า death
pheromone ส่วนสุนัขเพศผู้วิ่งตามสุนัข เพศเมียที่เป็ นสัด
เกิดจากเพศเมียปล่อยฟี โรโมนออกมาดึงดูดสุนัขเพศผู้เพื่อให้
เกิดการ ผสมพันธุ์ แต่การบินเข้าหาแสงของแมลงเม่ากับ
47

การบินเข้าหากันของหิ่งห้อยเมื่อได้รับ แสงกะพริบเป็ น
พฤติกรรมแบบแทกซิสที่เรียกว่า phototaxis
48

151. ตอบข้อ 4
อธิบาย พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแตกต่างกัน สิง่ มีชีวิต
มีพัฒนาการของระบบประสาท หน่วยรับความรู้สึก และ
หน่วยปฏิบัติงานที่เจริญดีหรือมีประสิทธิภาพจะแสดง
พฤติกรรม ได้ซับซ้อนมากกว่า
152. ตอบข้อ 3
อธิบาย การตวัดลิน
้ จับแมลงกินเป็ นอาหารเป็ นสัญชาตญาณใน
การหาอาหาร ซึ่งกบทุกตัวมีพฤติกรรมดังกล่าวเหมือนกันหมด
153. ตอบข้อ 1
อธิบาย เมื่อกบถูกผึง้ ต่อยจนลิน
้ บวม กบเกิดการเรียนรู้ว่าแมลง
มีลักษณะเช่นเดียวกับผึง้ อาจทำอันตรายกบได้อีก พฤติกรรม
ดังกล่าวจึงเป็ นพฤติกรรมการเรียนรู้
154. ตอบข้อ 4
อธิบาย แมงมุมมีพัฒนาการของระบบประสาทต่ำสุด ขณะที่
วาฬมีระบบประสาทที่เจริญดี พฤติกรรมของวาฬจึงมีความ
ซับซ้อนมากที่สุด รองลงมาคือนก น้อยที่สุดคือแมงมุม
155. ตอบข้อ 2
อธิบาย พฤติกรรมของลูกไก่เป็ นสัญชาตญาณ ซึ่งเป็ นพฤติกรรม
ที่มีมาแต่กำเนิดเพื่อการหลบภัย ขณะที่แม่ไก่เกิดการเรียนรู้
แล้วว่านกกระจอกที่บินผ่านไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตจึงไม่
แสดง การตอบสนองซึง่ เป็ นพฤติกรรมความเคยชิน
156. ตอบข้อ 2
49

อธิบาย นกและแมวเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึน
้ แล้วไม่มีผลต่อ
การดำรงชีวิตจึงลดการแสดงพฤติกรรม
157. ตอบข้อ 2
อธิบาย การเต้นรำแบบวงกลมหรือแบบเลขแปดเป็ นการสื่อสาร
ของผึง้ สำรวจกับผึง้ ตัวอื่น ๆ ให้ทราบแหล่งอาหาร ส่วนผึง้ งาน
ทำหน้าที่หาอาหารป้ อนให้กับตัวอ่อนและผึง้ นางพญา
จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงถือว่าผึง้ เป็ นสัตว์สังคมที่มีการอยู่
ร่วมกัน
158. ตอบข้อ 4
อธิบาย นกกระจาบมีพฤติกรรมการป้ อนอาหารให้ลูก ซึง่ จัดเป็ น
พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
159. ตอบข้อ 2
อธิบาย การสื่อสารเป็ นพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งแสดงต่อสิ่งมี
ชีวิตหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในกลุ่มสัตว์ชนิด
เดียวกันหรือต่างชนิด ดังนัน
้ พฤติกรรมทางสังคมในที่นีค
้ ือ
การเต้นของแมลงวัน การเต้นของผึง้ การกะพริบแสงของ
หิ่งห้อย เพราะเป็ นการสื่อสารระหว่างสัตว์ด้วยกัน
50

160. ตอบข้อ 2
อธิบาย การบินเข้าหาเหยื่อของค้างคาวเป็ นการเคลื่อนที่เข้าหา
สิ่งเร้าอย่างมีทิศทาง ซึ่งเป็ นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดแบบ
แทกซิส แต่ผีเสื้อกลางคืนมีพัฒนาการอวัยวะรับเสียงให้เหมาะ
สม และสามารถหลีกหนีภัยอันตรายจากค้างคาวได้ จึง
จัดเป็ นวิวัฒนาการแบบวิวัฒนาการร่วมกัน
161. ตอบข้อ 3
อธิบาย พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝั งใจเป็ นพฤติกรรมที่เกิดจาก
การเรียนรู้โดยมีกรรมพันธุ์ เป็ นตัวกำหนด ทำให้สัตว์
ที่เป็ นลูกอ่อนได้รับการเลีย
้ งดูและการปกป้ องจากพ่อแม่ทำให้
มีชีวิตอยู่รอดได้ เมื่อโตเต็มวัยสามารถเลือกคูผ
่ สมพันธุ์เป็ น
สัตว์ในสปี ชีส์เดียวกัน
162. ตอบข้อ 2
อธิบาย พฤติกรรมที่แม่ไก่เรียกลูกไก่ไปกินแมลง และพฤติกรรม
ที่แมวส่งเสียงขู่ขณะสุนัขเดินเข้ามาใกล้เป็ นพฤติกรรมทาง
สังคมที่ส่ อ
ื สารด้วยเสียงเหมือนกัน
163. ตอบข้อ 4
อธิบาย พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝั งใจเป็ นพฤติกรรมการเรียนรู้
ของสัตว์ภายหลังเกิดใหม่ในช่วงเวลาสัน
้ ๆ เพื่อตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าที่สัตว์ได้รับเป็ นครัง้ แรกในชีวิต การแสดงออกของ
พฤติกรรมเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรม การ
เรียนรู้ ไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับรางวัล หรือการลงโทษ
51

164. ตอบข้อ 1
อธิบาย พฤติกรรมความเคยชินเป็ นพฤติกรรมของสัตว์ที่สามารถ
จดจำและแยกแยะสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ว่า สิ่งเร้าใดมีผลหรือ
ไม่มีผลต่อการอยู่รอดของชีวิต ซึ่งอาศัยการทำงานของสมอง
ส่วนเซรีบรัม เพราะเป็ นสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำ
การเรียนรู้
165. ตอบข้อ 2
อธิบาย พฤติกรรมดังกล่าวเป็ นพฤติกรรมรีเฟล็กซ์ต่อเนื่องที่มีมา
แต่กำเนิด และมีแบบแผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละชนิด
166. ตอบข้อ 2
อธิบาย การขนไข่ของมดดำขึน
้ ไปไว้ในที่สูงเมื่ออากาศร้อน
อบอ้าวก่อนฝนตกหนัก เป็ นพฤติกรรม ที่มีมาแต่กำเนิด
และเป็ นรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
167. ตอบข้อ 2
อธิบาย สิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทจะมีการตอบสนองแบบรีเฟล็
กซ์ เพราะเป็ นการตอบสนองต่อ สิง่ เร้าแบบอัตโนมัติของ
ระบบประสาท
168. ตอบข้อ 1
อธิบาย พฤติกรรมแบบแทกซิสเป็ นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด
เป็ นการตอบสนองต่อสิง่ เร้าที่เป็ นปั จจัยทางกายภาพอย่างมี
ทิศทาง พบในสัตว์ชัน
้ ต่ำ
52

169. ตอบข้อ 2
อธิบาย สัตว์ที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผลมากที่สุดคือ
มนุษย์ รองลงมาคือสัตว์จำพวก ไพรเมต ซึ่งมีวิวัฒนาการ
สูงกว่าสัตว์เลีย
้ งลูกด้วยน้ำนม
170. ตอบข้อ 3
อธิบาย การสื่อสารด้วยท่าทางการเต้นรำของผึง้ มี 2 แบบ การ
เต้นรำแบบวงกลมบอกให้ทราบว่าแหล่งอาหารอยู่ห่างจากรัง
ในระยะไม่เกิน 100 เมตร แต่การเต้นแบบเลขแปดแสดงว่า
แหล่งอาหารอยู่ห่างจากรังมากกว่า 100 เมตร
171. ตอบข้อ 3
อธิบาย มดที่ตายแล้วจะหลั่งฟี โรโมนที่เรียกว่า death
pheromone ให้มดตัวอื่น ๆ ทราบ เพื่อให้ ขนซากที่ตาย
แล้วกลับรัง
172. ตอบข้อ 1
อธิบาย การกะพริบตาเป็ นพฤติกรรมที่เกิดขึน
้ ในระยะเวลาอัน
สัน
้ เนื่องจากหน่วยปฏิบัติงาน มีการตอบสนองอย่าง
รวดเร็วโดยไม่ได้คิดล่วงหน้ามาก่อน จัดเป็ นพฤติกรรมแบบรี
เฟล็กซ์
173. ตอบข้อ 3
อธิบาย การเรียนรู้เป็ นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยประสบการณ์ แต่
ไคนีซิส แทกซิส และสัญชาตญาณ เป็ นพฤติกรรมที่มีมา
แต่กำเนิด
53

174. ตอบข้อ 2
อธิบาย การชักใยของแมงมุมจัดเป็ นพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อ
เนื่อง
175. ตอบข้อ 2
อธิบาย ลิงเป็ นสัตว์จำพวกไพรเมตที่มีสมองเจริญดีและมี
พฤติกรรมการใช้เหตุผลได้ดีรองจากมนุษย์

You might also like