Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

สรุปเรื่อง ฮอร์โมนไทรอยด์

อ.สุวิทย์ คล่องทะเล
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

1. เซลล์ที่สำคัญในต่อมไทรอยด์
 Follicular cells เรียงตัวเพื่อสร้างเป็นหน่วยพื้นฐานคือ follicle ภายในมีคอลลอยด์ follicle ทำ
หน้าที่สร้าง thyroid hormone
 Parafollicular cells ทำหน้าที่สร้าง calcitonin มีหน้าที่ลดระดับ calcium ในเลือด
2. ขั้นตอนการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ มีลำดับดังนี้
 Iodide trapping หรือ Iodide uptake โดยใช้ NIS
 Oxidation of iodide ได้เป็น iodine โดยมี thyroperoxidase (TPO) เป็นตัวเร่ง
 Thyroglobulin (Tg) synthesis
 Organification of iodine หรือ iodination โดยมี TPO เป็นตัวเร่ง ได้เป็น MIT และ DIT
 Iodotyrosine coupling หรือ condensation โดยมี TPO เป็นตัวเร่ง

- MIT + DIT → T3
- DIT + DIT → T4
 Secretion หลั่ง T4 (90%), T3 (10%), rT3 (<1%) โดยส่วนใหญ่ (80%) T3 ในกระแสเลือดมา
จากการเปลี่ยน T4 เป็น T3 ส่วนที่เหลือ (20%) มาจากการหลั่งของต่อมไทรอยด์
3. การควบคุมการสร้าง thyroid hormone
 การควบคุมโดย Hypothalamic-Pituitary-Thyroid axis

- Hypothalamus หลั่ง TRH ไปกระตุ้น anterior pituitary gland ให้หลั่ง TSH


- TSH กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้เจริญมากขึ้นและสร้าง T3, T4
- T3, T4 ที่สูงขึ้นจะไปยับยั้งที่ hypothalamus และ pituitary gland ให้สร้าง TRH และ
TSH น้อยลง ตามลำดับ เรียกว่า negative feedback
 การควบคุมที่ต่อมไทรอยด์เอง

- Iodine มากขึ้น จะยับยั้งการสังเคราะห์ T3, T4 เรียกว่า Wolff-Chaikoff effect


- ในคนปกติ Wolff-Chaikoff effect จะหายไป (escape) (ใช้เวลา 10-14 วัน) แล้วจะ
กลับมาสร้างฮอร์โมนปริมาณเท่าเดิม
4. โปรตีนที่ทำหน้าที่นำพาฮอร์โมนไทรอยด์ (TBP) ในกระแสเลือด
 Thyroxine-binding globulin (TBG) จับกับ T3, T4 มากที่สุด แต่ความเข้มข้นในเลือดน้อยสุด

1
 Transthyretin (TTR) หรือ Thyroxine-binding prealbumin จับกับ thyroid hormone
รองลงมา
 Albumin จับกับ thyroid hormone แน่นน้อยที่สุด แต่มีความเข้มข้นในเลือดมากที่สุด
5. ระดับ TBG มีผลต่อการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
 TBG มากขึ้น

- ผลตรวจ total T4 (T4) และ total T3 (T3) สูงขึ้น แต่ free T4 (FT4) และ free T3 (FT3)
เท่าเดิม ผู้ป่วยมีการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ
- สาเหตุ เช่น ตั้งครรภ์, ได้รับ estrogen, รับประทานยาคุมกำเนิด (oral
contraceptive), chronic active hepatitis
 TBG น้อยลง

- ผลตรวจ total T4 (T4) และ total T3 (T3) ลดลง แต่ free T4 (FT4) และ free T3 (FT3)
เท่าเดิม ผู้ป่วยมีการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ
- สาเหตุ เช่น nephrotic syndrome, liver failure, ได้รับ androgen หรือ steroid
6. ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์
 Hyperthyroidism = ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินหรือฮอร์โมนไทรอยด์เกิน

- Overt หรือ Clinical hyperthyroidism มีอาการของ hypermetabolism ผลตรวจ


เป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 สูงขึ้น แต่ TSH ลดลง
- Subclinical hyperthyroidism ไม่มีอาการ แต่ผู้ป่วยเสี่ยงต่อ osteoporosis และ
atrial fibrillation ผลตรวจเป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 ปกติ แต่ TSH ลดลง
- อาการและอาการแสดง เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachycardia) มือสั่น ผิวหนังเรียบ มี
ความอุ่นและชื้น เหงื่อออกมาก (excessive sweating) รู้สึกร้อนง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยเฉพาะที่ต้นแขนและขา มีอาการทางประสาท (nervousness) หงุดหงิดง่าย อารมณ์
แปรปรวน (emotional lability) อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ น้ำหนักลด เป็นผลมาจาก
การสลายโปรตีนและไขมันมากขึ้น ท้องเสีย เนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น
 Hypothyroidism = ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

- Overt หรือ Clinical hypothyroidism มีอาการของ hypometabolism ผลตรวจเป็น


ดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 ลดลง แต่ TSH สูงขึ้น
- Subclinical hyperthyroidism ไม่มีอาการ แต่ผู้ป่วยเสี่ยงต่อ atherosclerosis และ
cardiovascular disease ผลตรวจเป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 ปกติ แต่ TSH สูงขึ้น
- อาการและอาการแสดง เช่น มีปัญหาในพัฒนาการของสมอง ทำให้เกิดปัญญาอ่อน
(mental retardation) ได้ มีอาการง่วงนอน เฉื่อยชา ผมร่วง น้ำหนักเพิ่ม รู้สึกหนาว
เย็น แม้อยู่ในพื้นที่อากาศอบอุ่น (cold intolerance) เจริญเติบโตช้า ไม่สมวัย ท้องผูก

2
(constipation) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) ผิวหนังเย็นหรือแห้ง (dry skin)
ถุงใต้ตาบวม (puffy eyes) ขนคิ้วร่วง ปวดกล้ามเนื้อ (myopathy) ความต้องการ
ออกซิเจนลดลง ทำให้การสร้าง erythropoietin ลดลง ปริมาณเม็ดเลือดแดงจึงลดลง
มักเกิดเป็น normocytic normochromic anemia
7. Hyperthyroidism แบ่งสาเหตุตามตำแหน่งความผิดปกติ ได้ดังนี้
 Primary hyperthyroidism ผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมาก ผลการตรวจเป็นดังนี้ T3,
T4, FT3, FT4 สูง TSH ต่ำ
 Secondary hyperthyroidism ผิดปกติที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้าง TSH มาก ผลการตรวจ
เป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 สูง TSH สูง
 Tertiary hyperthyroidism ผิดปกติที่ hypothalamus สร้าง TRH มาก ผลการตรวจเป็นดังนี้
T3, T4, FT3, FT4 สูง TSH สูง
8. Hypothyroidism แบ่งสาเหตุตามตำแหน่งความผิดปกติ ได้ดังนี้
 Primary hypothyroidism ผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อย ผลการตรวจเป็นดังนี้ T3,
T4, FT3, FT4 ต่ำ TSH สูง
 Secondary hypothyroidism ผิดปกติที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้าง TSH น้อย (anterior
pituitary dysfunction) ผลการตรวจเป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 ต่ำ TSH ต่ำ ตรวจแยกจาก
tertiary hypothyroidism โดย TRH test พบว่า เมื่อฉีด TRH ให้ผู้ป่วย ระดับ TSH จะไม่
สูงขึ้น (blunted response)
 Tertiary hyperthyroidism ผิดปกติที่ hypothalamus สร้าง TRH น้อย (hypothalamic
dysfunction) ผลการตรวจเป็นดังนี้ T3, T4, FT3, FT4 ต่ำ TSH ต่ำ ตรวจแยกจาก secondary
hypothyroidism โดย TRH test พบว่า เมื่อฉีด TRH ให้ผู้ป่วย ระดับ TSH จะสูงขึ้น (normal
response)
9. สาเหตุของ hyperthyroidism เช่น
 Graves’ disease เกิดจาก autoimmune disorder มี antibody ต่อ TSH receptor ไป
กระตุ้น TSH receptor ทำให้สร้าง T3, T4 ออกมามาก และยังมี anti-thyroperoxidase
antibodies และ anti-thyroglobulin antibodies ด้วย
 Toxic multinodular goiter (Plummer’s disease)
 Toxic adenoma
 การทำลายต่อมไทรอยด์จากการอักเสบ (thyroiditis) เช่น de Quervain's thyroiditis,
Subacute lymphocytic thyroiditis ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ที่เก็บสะสมไว้หลุดออกมา จะมี
hyperthyroidism แบบชั่วคราว

3
 ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง (hyperemesis gravidarum) จะมี hCG สูงมาก ไปกระตุ้น
TSH receptor ได้ ทำให้ผู้ป่วยมี T3, T4 สูงขึ้น, TSH ต่ำ
10. สาเหตุของ hypothyroidism เช่น
 Hashimoto’s thyroiditis เกิดจาก autoimmune disorder มี cytotoxic CD8+ T cells ไป
ทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ และมี anti-thyroperoxidase antibodies และ anti-thyroglobulin
antibodies นอกจากนี้ ยังมี anti-TSH receptor ด้วย
11. การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์แบบ in vivo
 Radioiodide uptake test (RAIU) วัดการ uptake เอาสารกัมมันตรังสี เช่น 123I เข้าไปในต่อม
ไทรอยด์ การ uptake เพิ่มขึ้น (>25% ที่ 24 ช.ม.) พบได้ใน Graves’ disease, Plummer’s
disease การ uptake ลดลง พบได้ใน hypothyroidism นอกจากจะใช้ไอโอดีนกัมมันตรังสีแล้ว
ยังสามารถใช้ Technetium-99m pertechnetate ได้
 TRH stimulation test หรือ TRH test ใช้แยก secondary hypothyroidism และ tertiary
hypothyroidism
12. การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์แบบ in vitro
 TSH ใช้ตรวจคัดกรอง (screening test) ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ เนื่องจากมีความไว
ต่อความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มากที่สุด
- ค่าสูงพบได้ใน primary hypothyroidism
- ค่าต่ำพบได้ใน primary hyperthyroidism
 Total T4 และ Total T3 มีวิธีอ้างอิง คือ ให้ isotope dilution tandem mass spectrometry

- ค่าสูงพบได้ใน hyperthyroidism
- ค่าต่ำพบได้ใน hypothyroidism
- ค่าอาจผิดปกติในกรณี TBG สูงขึ้น ทำให้ T3 หรือ T4 สูงขึ้น กรณี TBG ลดลง ทำให้ T3,
T4 ลดลง
 Free T3 และ FT4 มีความน่าเชื่อถือกว่า T4 และ T3 วิธีตรวจวัดได้แก่

- Equilibrium dialysis ใช้เวลานาน ไม่สะดวกในงานประจำวัน แต่เป็นวิธีมาตรฐาน


- Ultrafiltration คล้ายกับ Equilibrium dialysis แต่ใช้เวลาน้อยกว่า
- Free T4 index (FT4I) หาได้จาก Total T4 x (rT3U in patient/rT3U in pooled
normal serum)
- Immunoassay มีหลักการได้แก่
o Two step FT4 immunoassay
o One step FT4 immunoassay หรือ Analog immunoassay ได้รับ
ผลกระทบจากความผิดปกติของ TBG มากกว่า immunoassay วิธีอื่น

4
o Labelled Ab immunoassay
 Autoantibodies
- Anti-TPO autoantibodies (TPOA) พบได้ใน Hashimoto’s thyroiditis (chronic
autoimmune thyroiditis) (90-100%), Graves’ disease (50-80%)
- Anti-Tg autoantibodies (TGA) พบได้ใน Hashimoto’s thyroiditis (80-90%),
Graves’ disease (50-70%)
- Anti-TSH receptor autoantibodies (TRA) พบได้ใน Graves’ disease (80-95%),
Hashimoto’s thyroiditis (10-20%) แบ่งตามวิธีการตรวจได้เป็น
o Thyroid-stimulating antibodies (TSI) วัดโดย bioassay ดูการกระตุ้น TSH
receptor วัด cAMP หรือ T4 ที่เพิ่มขึ้น
o Thyrotropin-binding inhibitory immunoglobulin (TBII) วัดโดย
radioreceptor assay บอกไม่ได้ว่าเป็นชนิดกระตุ้นหรือยับยั้ง TSH receptor

ตารางสรุปผลการตรวจทางห้องปฏิบัตกิ ารในบางสภาวะ
Conditions T3 T4 FT3* FT4* TSH
Euthyroidism N N N N N
Primary hyperthyroidism H H H H L
Primary hypothyroidism L L L L H
Euthyroid hyperthyroxinemia H H N N N
Euthyroid hypothyroxinemia L L N N N
Pregnancy (กรณีไม่มี thyrotoxicosis) H H N N N
Hyperemesis gravidarum H H H H L
*ตรวจวัดด้วย Equilibrium dialysis หรือ Two-step immunoassay
หมายเหตุ N=Normal; H=High; L=Low

อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุตส่าห์ มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นบั แสน


จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน
(พระศรีสุนทรโวหาร)

You might also like