พระเจ้าคือความรัก Deus Caritas Est May 2009

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 32

“พระเจ้าคือความรัก” พระสมณสาสน์ฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16

สารบัญ หน้ า

อารัมภบท ........................................................................................................................................................... 1
ภาค 1 – เอกภาพของความรั กในการสร้ างและในประวัติศาสตร์ แห่ งการไถ่ ก้ ู .................................................... 2
ปัญหาเรื่ องภาษา.................................................................................................................................... 2
“Eros” และ “Agape” ต่างกันแต่เป็ นหนึ่ งเดียวกัน ................................................................................. 2

ความใหม่แห่งความเชื่อในพระคัมภีร์ ................................................................................................... 7
พระเยซูคริ สตเจ้า – องค์ความรักอวตารของพระเจ้า ............................................................................. 9
รักพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์ ............................................................................................................ 11
ภาค 2 - การปฏิบัติความรักของพระศาสนจักรในฐานะทีเ่ ป็ น “ชุ มชนแห่ งความรัก” ...................................... 13
กิจเมตตาธรรมของพระศาสนจักรในฐานะที่เป็ นการแสดงออกซึ่ งความรักแห่งพระตรี เอกภาพ........ 13
เมตตากิจในฐานะที่เป็ นความรับผิดชอบของพระศาสนจักร .............................................................. 14
ความยุติธรรมและเมตตาธรรม ............................................................................................................ 17
โครงสร้างหลากหลายของงานเมตตาธรรมในบริ บทสังคมปัจจุบนั .................................................... 20
ความแตกต่างในกิจเมตตาธรรมของพระศาสนจักร ............................................................................ 22
ผูท้ ี่มีหน้าที่รับผิดชอบต่องานเมตตาธรรมของพระศาสนจักร ............................................................. 24
สรุ ป .................................................................................................................................................................. 27
เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................................................... 30
“พระเจ้ าคือความรั ก”

พระสมณสาสน์ ฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16


อารัมภบท
1. ้ ี่ ด ารงอยู่ในความรั กก็ดารงอยู่ในพระเจ้า และ พระเจ้าก็ด ารงอยู่ในผูน้ ้ ัน ” (1 ยน
“พระเจ้าคื อ ความรั ก ผูท

4:16) คากล่าวจากจดหมายฉบับที่หนึ่ งของนักบุญยอห์นนี้ แสดงให้เห็ นอย่างชัดเจนถึงแก่นแท้ของความเชื่ อคริ สต

ชน: เป็ นภาพลัก ษณ์ ของพระเจ้า ซึ่ งสื บ เนื่ อ งต่ อ ไปถึ งภาพลัก ษณ์ แ ละเป้ าหมายสุ ด ท้ายของมนุ ษ ย์ ในประโยค
เดียวกันนี้ นักบุญยอห์นยังกล่าวสรุ ปถึงชีวิตคริ สตชนด้วยว่า:“เราได้เข้ามารู ้จกั และเชื่อในความรักของพระเจ้าที่ทรง
มีต่อเรา”
เราเชื่อในความรักของพระเจ้า : คากล่าวประโยคนี้ คริ สตชนสามารถแสดงออกถึงการตัดสิ นใจที่สาคัญใน
ชี วิต การที่เราเป็ นคริ สตชนไม่ใช่ เพราะผลแห่ งการเลื อกหรื อเพราะความคิดเลอเลิศอะไรของเราเอง แต่เป็ นการ
เผชิญกับเหตุการณ์หรื อบุคคลซึ่ งเปิ ดมิติใหม่และแนวทางที่แน่ นอนใหม่แห่ งชีวิตให้แก่เรา พระวรสารของนักบุญ
ยอห์ นอธิ บ ายเหตุ การณ์ ณ์ ดังกล่ าวด้วยคาพูดที่ ว่า “พระเจ้าทรงรั กโลกถึ งกับ ประทานพระบุ ตรแต่ องค์เดี ยวของ
พระองค์ เพื่อคนที่เชื่อในพระองค์ สมควรที่จะ...มีชีวิตนิ รันดร์ ” (3:16) ในการยอมรั บแก่นแท้แห่ งความรัก ความ
เชื่ อ คริ ส ตชนยึด ถื อแก่ นความเชื่ อ ของชน ชาติ อิ ส ราเอล ในขณะเดี ยวกันก็ให้ความหมายที่ ลุ่มลึ ก และกว้างขึ้ น
ชาวยิวที่มีใจศรัทธาจะสวดทุกวันด้วยพระวาจาจากหนังสื อ เฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) ซึ่ งไขแสดงหัวใจใน
การมีชีวิตของพวกเขา: “จงฟั งเถิด ชนชาติอิสราเอลเอ๋ ย พระเจ้าของเรามีพระเจ้าเดียว เจ้าจงรักพระเจ้าของเจ้าด้วย
สิ้ นสุ ดจิตใจ สิ้ นสุ ดวิญญาณและสิ้ นสุ ดกาลังของเจ้า” (6:4-5) พระเยซูทรงรวมบัญญัติที่ให้รักพระเจ้าและรักเพื่อน
มนุษย์เป็ นหนึ่งเดียวกันดังที่ปรากฏในหนังสื อ เลวีนิติ (Leviticus) : “ท่านจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (19:18;
เที ยบ มก 12:29-31) เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงรั กเราก่อน (เทียบ ยน 4:10) รั กจึ งไม่เป็ นเพียงแค่ “คาสั่ง” แต่ เป็ นการ
ตอบสนองต่อความรักที่พระเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ชิดกับเรา
ในโลกของเราที่พระนามของพระเจ้าบางครั้งถูกนาเอาไปเชื่อมโยงเข้ากับการแก้แค้น ความเกลียดชัง และ
การใช้ความรุ นแรง สาสน์น้ ี ถือว่าเหมาะแก่กาลเวลาและมีความสาคัญยิง่ ด้วยเหตุน้ ี ในสมณสาสน์ฉบับแรกเราจึ ง
อยากกล่าวถึงความรักที่พระเจ้าประทานอย่างท่วมท้นมายังเรา และเราจะต้องแบ่งปั นความรักนี้ กบั ผูอ้ ื่นด้วย นี้ คือ
เรื่ องใหญ่ใจความที่สมณสาสน์สองภาคฉบับนี้ กล่าวถึง และเอกสารทั้งสองภาคนี้ มีความเกี่ยวโยงกันอย่างลึกซึ้ งด้วย
ภาคแรกของสมณสาสน์ค่อนข้างจะเจาะจง เพราะในวาระเริ่ มต้นสมณสมัยของเรา เราต้องการชี้ ให้เห็นความจริ ง
สาคัญอย่างชัดเจน เกี่ยวกับความรักที่พระเจ้าประทานให้มนุ ษย์อย่างเร้นลับและแบบให้เปล่า อีกทั้งการเชื่อมโยง
ภายในระหว่างความรักนั้นกับความรักของมนุ ษย์ ภาคสองของสมณสาสน์จะเป็ นรู ปธรรมมากกว่า เพราะมีการพูด
ถึงการปฏิบตั ิของพระศาสนจักร ในเรื่ องพระบัญญัติของความรั กที่มีต่อเพื่อนมนุ ษย์ ประเด็นนี้ ค่อนข้างซับซ้อน
และมี ขอ้ โต้เถี ยงกันมาก ซึ่ งหากจะพู ด กันให้ ยืด เยื้อ แล้ว ก็คงจะเลยกรอบสมณสาสน์ ฉบับ นี้ เราต้อ งการเน้น
ปั จจัยพื้นฐานเพียงบางประเด็นเท่านั้น เพื่อเป็ นการเรี ยกร้องให้โลกฟื้ นฟูพลังและปณิ ธานขึ้นใหม่ที่จะตอบสนองต่อ
ความรักของพระเจ้า

1
ภาค 1
เอกภาพของความรักในการสร้ างและในประวัติศาสตร์ แห่ งการไถ่ ก้ ู

ปัญหาเรื่องภาษา
2. ความรั กของพระเจ้าที่ มีต่อเรามนุ ษย์เป็ นสิ่ งจาเป็ นขั้นพื้ นฐานสาหรั บชี วิตเรา ซึ่ งความรั กนี้ ก่อให้เกิ ดมี
คาถามสาคัญว่า พระเจ้าเป็ นใครและเราเป็ นใคร เมื่อพูดกันถึงประเด็นนี้ เกิดมีปัญหาเรื่ องภาษาขึ้นมาทันที ทุกวันนี้
คาว่า “รัก” กลายเป็ นคาที่มกั จะใช้กนั บ่อยที่สุด และใช้กนั อย่างผิดๆมากที่สุดเช่นกัน เพราะเป็ นคาที่เราตีความไม่
เหมื อนกัน แม้ว่าสมณสาสน์ ฉบับ นี้ จะพูดถึ งความรั ก ตามความเข้าใจและการปฏิ บ ัติ ที่ มีอ ยู่ในพระคัมภี ร์และ
ขนบธรรมเนี ยมปฏิ บตั ิ ของพระศาสนจักรเป็ นหลัก เราก็ไม่ สามารถที่จะตัดความหมายของคาๆ นี้ ออกไป จาก
ความหมายที่วฒั นธรรมต่างๆ ใช้กนั อยูท่ ุกวันนี้ได้
ก่อนอื่น เราต้องคานึ งถึงความหมายต่างๆ ของคาว่า “รัก” เราพูดถึงความรั กต่อประเทศชาติ ความรักต่อ
อาชี พ ความรั กระหว่างเพื่อน ความรั กต่องาน ความรั กระหว่างบิดามารดากับบุตร ความรั กระหว่างสมาชิ กใน
ครอบครัว ความรักต่อเพื่อนบ้าน และความรักของพระเจ้า ท่ามกลางความหมายที่หลากหลายเหล่านี้ มีความรักอยู่
อย่างหนึ่ งที่ มีความโดดเด่ นเป็ นพิเศษ นั่นคือ ความรั กระหว่างชายและหญิ ง ซึ่ งกายและวิญญาณรวมเป็ นหนึ่ ง
เดี ยวกันจนไม่สามารแยกออกจากกัน และมนุ ษย์สองคนนี้ ดูเหมื อนมีแรงผลักดันจนห้ามใจไม่ ได้ที่จะมีความสุ ข
ร่ วมกัน ความรักนี้ ดูเหมือนจะเป็ นบทสรุ ปความรัก ทาให้ความรักแบบอื่นๆ ที่เมื่อนามาเปรี ยบแทบกันแล้ว ดูจะ
จืดจางและด้อยลงไป ดังนั้นเราจาเป็ นต้องถามว่า ความรักในรู ปแบบต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ โดยพื้นฐานแล้ว
เป็ นความรักอันเดียวกันหรื อเปล่า เพื่อว่าความรั กที่มีการแสดงออกในรู ปแบบต่างๆ นั้น ในที่สุดแล้ว ก็คือความ
จริ งสิ่ งเดียวกัน หรื อว่าเราเพียงแต่ใช้คาคาเดียวกันเพื่อหมายถึงความจริ งมากมายที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้ นเชิง?

“Eros” และ “Agape” ต่ างกันแต่ เป็ นหนึ่งเดียวกัน


3. ความรักระหว่างชายหญิงซึ่ งอาจไม่ได้มีการวางแผนหรื อตั้งใจมาก่อน แต่ถูกบังคับให้เกิดขึ้นกับมนุ ษย์น้ นั
ชาวกรี กโบราณเรี ยกว่า eros ขอให้เราตั้งข้อสังเกตไว้แต่เบื้องแรกว่า พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมฉบับภาษากรี ก
ที่ใช้คา eros เพียงสองครั้งเท่านั้น ส่ วนพันธสัญญาใหม่น้ นั ไม่มีการใช้คาว่า “รัก” แบบนี้ เลย สาหรั บภาษากรี กที่ใช้
กันอยู่ 3 คา ซึ่ งได้แก่ eros (ความรักแบบชาย-หญิง), philia (ความรักแบบมิตรภาพ) และ agape (ความรักบริ สุทธิ์ต่อ
เพื่อนมนุ ษย์) ผูน้ ิ พนธ์พนั ธสัญญาใหม่นิยมใช้คาสุ ดท้าย ซึ่ งมีปรากฏให้เห็ นไม่สู้บ่อยนักในภาษากรี ก ส่ วนคาว่า
philia ที่ มี ค วามหมายถึ ง ความรั ก ระหว่ างเพื่ อ นฝูงนั้น มี ก ารใช้โ ดยการเพิ่ ม ความหมายให้ มี ค วามลึ ก ซึ้ งยิ่ง ขึ้ น ใน

พระวรสารนักบุญยอห์น เพื่อเป็ นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซู กบั สานุ ศิษย์ของพระองค์ ที่พยายาม


เลี่ยงใช้คา eros พร้อมกับความหมายในมิติใหม่ของคา agape บ่งให้เห็ นชัดเจนถึงความหมายใหม่ในความเข้าใจ
ของคริ สตชนที่เกี่ยวกับคาว่า “รัก” สาหรับผูท้ ี่ไม่เห็นด้วยกับความหมายใหม่ของคาว่า “รัก” ในมุมมองของคริ สตชน
ต่างพากันโจมตีว่า มันก่อให้เกิ ดผลในเชิ งลบมากกว่า ตามความเห็ นของนักปรั ชญาชาวเยอรมันที่ ชื่อ Friedrich
Nietzsche วิพากษ์ว่าคริ สตศาสนาเอายาพิษไปใส่ ความหมายของคา eros ซึ่ งในตัวของมันเองไม่ได้เลวร้ ายอะไร

แต่ไปผลักให้มนั กลายเป็ นเรื่ องต่าช้าจนกลายเป็ นเรื่ องของกิเลส เขาสนับสนุ นความเข้าใจที่มีอยู่อย่างกว้างขวาง


1

ด้วยการกล่าวว่า พระศาสนจักรซึ่ งมีท้ งั ออกบัญญัติและห้ามโน่ นห้ามนี่ มิได้เปลี่ยนไปเป็ นศัตรู กบั สิ่ งที่มีคุณค่ามาก

2
ที่สุดในชีวิตดอกหรื อ? ทาไมพระศาสนจักรจึงออกมาเป่ านกหวีดห้าม ในเมื่อความชื่นชมยินดีอนั เป็ นพระพรของ
พระผูส้ ร้างนั้น มอบความสุ ข ซึ่ งในตัวมันเองเป็ นการลิ้มรสล่วงหน้าถึงความสุ ขที่จะมาจากพระเจ้า?

4. แต่คาวิพากษ์น้ ีตรงประเด็นแล้วหรื อ? คริ สตศาสนาทาลาย eros จริ งหรื อ? ขอให้เราลองมาพิจารณากันถึง


โลกยุคก่อนที่คริ สตศาสนาจะเกิดขึ้น พวกกรี กก็เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมอื่นๆ มีความเห็นว่า eros คือสิ่ งมอมเมา
ชนิดหนึ่ง เป็ นเหตุผลอันทรงพลังจาก “ความบ้าคลัง่ ของเทพเจ้า” ที่ดึงดูดมนุ ษย์ให้หลุดพ้นจากขอบเขตจากัด และ
ในขณะที่กาลังถูกพลังของเทพครอบงานั้น ก็ยกฐานะมนุ ษย์ให้สามารถมีประสบการณ์กบั ความสุ ขสู งส่ งและสู งสุ ด
ได้ อานาจทั้งหลายทั้งปวงทั้งในสวรรค์และแผ่นดิน ล้วนเป็ นเรื่ องรอง “Omnia vincit amor”–ความรักชนะทุกอย่าง
ดังที่เวอร์ ยลิ กล่าวไว้ใน Bucolics และยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า “et nos cedamus amori” - ขอให้เราจงได้จานนต่อ
ความรั ก ในเรื่ องของศาสนา ทัศนคติน้ ี จะพบได้ในพิธีกรรมที่ ตอ้ งการมีบุตร ซึ่ งส่ วนหนึ่ งเป็ นการล่วงประเวณี
2

“ศักดิ์ สิ ทธิ์ ” ซึ่ งแพร่ หลายในวิหารหลายแห่ ง จึ งมีการเฉลิมฉลอง eros ในฐานะที่ มน ั คืออานาจของเทพ ในฐานะที่
เป็ นสิ่ งสัมพันธ์กบั เทพเจ้า
พระคัมภีร์เก่าต่อต้านศาสนาในรู ปแบบนี้อย่างจริ งจัง มันเป็ กลลวงร้ายกาจมากต่อความเชื่อที่นบั ถือพระเจ้า
แต่องค์เดียว ถึงกับโจมตีว่ามันเป็ นศาสนาที่บิดเบือนและมัวเมาในกิเลศตัณหา แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ eros ในตัวของมัน
เอง มีแต่ประกาศสงครามกับรู ปแบบที่บิดเบือนและทาลายล้างของมัน เพราะว่าการทา eros เป็ นพระเท็จเทียมนั้น
ทาลายศักดิ์ศรี ของมันและทาให้ความเป็ นมนุ ษย์ของคนไร้ค่า ที่จริ งแล้ว โสเภณี ในวิหารที่ยอมถูกมอมเมาว่าเกี่ยว
โยงกับเทพนั้น ไม่ได้รับการปฏิบตั ิเยีย่ งมนุ ษย์หรื อเยีย่ งบุคคล แต่ถูกใช้ให้เป็ นเครื่ องมือในการปลุกเร้า “ความบ้า
ของเทพเจ้า” โสเภณี พวกนั้นไม่ใช่เป็ นเทพเจ้า เป็ นเพียงมนุษย์ที่ถูกหลอกและถูกเอารัดเอาเปรี ยบ ดังนั้น eros ที่ถูก
มอมเมาอย่างไร้ระเบียบและไร้การควบคุม มิได้นาพามนุ ษย์ให้เข้าไปในความ “บรมสุ ข” ที่นาไปสู่ พระเจ้า แต่เป็ น
การทาให้มนุษย์ทาผิดและตกต่าลง จึงเป็ นสิ่ งแน่ชดั ว่า eros จาเป็ นต้องมีกฎระเบียบ และมีการชาระให้สะอาด หาก
ไม่ตอ้ งการที่จะให้มนั เป็ นแค่ความสุ ขชัว่ แล่น แต่เป็ นการลิ้มรสบางอย่างแห่ งความสุ ขสุ ดยอดในการมีชีวิตของเรา
ลิ้มรสกับบุญลาภที่ความเป็ นมนุษย์ของเราไฝ่ หา
5. มีสองมิติดว้ ยกันที่ เผยออกมาให้เราเห็ นจากการพิจารณาคา eros ทั้งในอดี ตและปั จจุ บนั กาล มิ ติแรก มี
ความเกี่ยวโยงกันบางอย่างระหว่างความรั กและพระเจ้า ความรั กให้สัญญาว่าจะไม่มีวนั สิ้ นสุ ด มีความเป็ นนิ จนิ
รันดร์ เป็ นความจริ งที่ยงิ่ ใหญ่กว่า และเป็ นสิ่ งที่อยูเ่ หนือโดยสิ้ นเชิงจากการมีชีวิตอยูแ่ บบประจาวันของเรา แต่เราก็
ได้เห็ นแล้วว่า วิธีที่จะได้มาซึ่ งเป้ าหมายนี้ ไม่ได้อยูท่ ี่การปล่อยตัวเองไปตามสัญชาตญาณ มีการเรี ยกร้ องให้มีการ
ชาระล้างและเติบโตขึ้นในวุฒิภาวะ และสิ่ งดังกล่าวจาต้องผ่านหนทางแห่ งการปฏิเสธตน มันไม่ได้เป็ นการปฏิเสธ
หรื อ “วางยาพิษ” ให้แก่ eros เลย มันเป็ นการรักษาและฟื้ นฟูมนั ให้สู่ ความสง่างามที่แท้จริ งของมันต่างหาก
ที่เป็ นเช่นนี้ ได้ก็เพราะความจริ งมีอยูว่ ่า มนุ ษย์ประกอบด้วยร่ างกายและวิญญาณ มนุ ษย์เป็ นตัวตนเองเมื่อ
กายและวิญญาณของเขาเป็ นหนึ่งเดียวกันอย่างใกล้ชิด การท้าทายไปในทางเสื่ อมของ eros กล่าวได้ว่าพ่ายแพ้อย่าง
สิ้ นเชิ ง หากมนุ ษย์สามารถเป็ นหนึ่ งเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ระหว่างกายและวิญญาณ หากมนุ ษย์ต้ งั หน้าตั้งตารั ง
แต่จะแสวงหาความบริ สุทธิ์ ฝ่ ายวิญญาณ แล้วปล่อยปะละเลยกายไว้ตามลาพัง ค่าที่ มนั มี ธรรมชาติ ของสัตว์ ทั้ง
วิญญาณและกายของผูน้ ้ นั จะสู ญเสี ยศักดิ์ศรี ไปทั้งสองฝ่ าย ในทางตรงกันข้าม หากเขาปฺฏิเสธเรื่ องของจิตวิญญาณ
แล้วสาละวนเอาแต่เรื่ องวัตถุ ถือว่าเขามี แต่กายอย่างเดี ยว เขาก็จะสู ญเสี ยความยิ่งใหญ่ ของตนเองไปด้วยเช่ นกัน

3
Gassendi อาจารย์ท่านหนึ่ งที่ชอบกินชอบดื่มมักจะทักทาย Descartes นักปรัชญาที่มีชื่อเสี ยงด้วยอารมณ์ขนั ว่า “โอ้
วิญญาณ!” แล้ว Descartes ก็จะตอบว่า “โอ้ เนื้ อหนังมังสา!” แต่กไ็ ม่ใช่จิตวิญญาณหรื อกายแต่เพียงลาพังที่รัก เป็ น
3

คนที่ รัก เป็ นบุ คคลที่ รัก เป็ นสัตว์ที่ ประกอบด้วยกายและวิญญาณที่ รัก มี แต่ เมื่ อสองมิ ติน้ ี รวมเป็ นหนึ่ งเดี ยวกัน
เท่ านั้น ที่มนุ ษย์จะสามารถบรรลุ ถึงสภาพแห่ งความเป็ นมนุ ษย์ได้อย่างสมบูรณ์ มี แต่ วิธีน้ ี วิธีเดี ยวที่ เป็ นความรั ก
Eros สามารถเติบโตมีวุฒิภาวะและบรรลุถึงความงามสง่าที่แท้จริ งได้

ทุ ก วัน นี้ ศาสนาคาทอลิ ก ในยุค อดี ต มัก โดนต าหนิ ว่ า เป็ นปฏิ ปั ก ษ์ต่ อ ร่ า งกาย และก็ เป็ นความจริ ง ว่ า
แนวโน้มไปในทานองนี้ ยงั คงหลงเหลืออยู่ แต่วิธียกย่องกายในยุคร่ วมสมัยนี้ ก็เป็ นสิ่ งหลอกลวงด้วยเช่นกัน Eros
ถูกจัดให้เป็ นเพียง “เรื่ องเพศ” แต่เพียงอย่างเดี ยว เพศกลายเป็ นเสมื อนสิ นค้าหรื อเครื่ องอานวยความสะดวก เป็ น
เพียง “สิ่ ง” หนึ่ งที่ซ้ื อขายได้ หรื อมิฉะนั้นมนุ ษย์ก็กลายเป็ นสิ่ งที่ซ้ื อขายได้เช่ นกัน การทาเช่ นนี้ เท่ากับถือว่าร่ างกาย
และการมัว่ สุ มในเรื่ องเพศของเขา เป็ นเพียงส่ วนหนึ่งของด้านวัตถุของตัวเขา ที่จะใช้หรื อทาอย่างไรก็ได้ตามใจ เขา
จะไม่มองว่าร่ างกายของเขาเป็ นสนามประลองเสรี ภาพของตน เห็นเป็ นแต่เพียงวัตถุที่พยายามทาให้มนั เกิดมีความ
สนุ ก และไม่เกิ ดอันตรายตามแต่ ใจตนเองจะชอบ ณ จุ ดนี้ เรากาลังพูดกันถึงด้านต่าของร่ างกายมนุ ษย์ ซึ่ งมักไม่
ประสานกลมกลืนเข้าไปในกระบวนการเสรี ภาพที่เรามีอยูเ่ ลย และไม่ได้เป็ นการแสดงออกซึ่ งความเป็ นมนุ ษย์ของ
เราทั้ง ครบ มัน เป็ นแค่ ล ดขั้น ลงไปอยู่ในบริ บ ทของมิ ติ ชี ว วิ ท ยาล้ว นๆ การเทิ ด ทู น ร่ างกายอาจเปลี่ ยนไปและ
กลายเป็ นความจงเกลียดจงชังกายตนเองได้อย่างรวดเร็ ว ในอี กมุ มมองหนึ่ ง ความเชื่ อแบบคริ สตชนถื อเสมอว่า
มนุ ษย์เป็ นหนึ่ งเดียวในสองมิติ เป็ นความจริ งที่จิตและวัตถุรวมเป็ นสิ่ งเดี ยวกัน และในความเป็ นหนึ่ งเดียวกันของ
สองสิ่ งนี้ ทาให้แต่ละสิ่ งมีสถานภาพสู งส่ งขึ้น eros ที่ถ่องแท้มุ่งสู่ ที่สูงแห่ ง “บรมสุ ข” อันนาไปสู่ พระเจ้า นาพาเรา
ไปสู่ ที่สูงเหนื อตัวเราเอง และเพราะเหตุน้ ี เอง มันจึ งเรี ยกร้องให้เราเดิ นในหนทางที่จะทาให้เราขยับสู งขึ้น ให้รู้จกั
ปฏิเสธตัวเอง ให้รู้จกั ชาระตัวเองให้สะอาด และให้มีการบาบัดรักษา

6. หากจะพูดกันแบบรู ปธรรม หนทางที่ จะทาให้เราสู งขึ้นและการชาระล้างให้บริ สุทธิ์ นั้น หมายความถึ ง


อะไรบ้าง? จะต้องมีประสบการณ์ กบั ความรั กอย่างไร เพื่อที่ จะจะได้บรรลุถึงคามัน่ สัญญาในมิติแห่ งความเป็ น
มนุ ษย์และมิติแห่ งพระเจ้า? ประการแรกเราอาจพบเบาะแสในบทเพลงหนังสื อพระธรรมเก่า อันเป็ นที่ทราบกันดี
ในหมู่ฤๅษีชีไพร ตามที่มีการอธิบายกันทัว่ ไปในสมัยนี้ บทกลอนที่มีบนั ทึกไว้ในหนังสื อนี้ น้ นั ส่ วนใหญ่แล้วจะเป็ น
เพลงรักๆ ใคร่ ๆ ซึ่ งคงจะแต่งไว้สาหรับพิธีแต่งงานของชาวยิว โดยมุ่งที่จะยกย่องความรักของคู่บ่าวสาว ในกรอบ
ของบทเพลงเหล่านี้ ขอให้ต้ งั ข้อสังเกตดี ๆ ว่า มีการใช้ศพั ท์ภาษาฮีบรู อยู่สองคาที่มีความหมายแตกต่างกันซึ่ งใช้
แสดงถึง “ความรั ก” คาแรกคือ dodim เป็ นคาพหู พจน์อนั หมายถึงความรั กที่ยงั ไม่มีความมัน่ คง ยังไม่ตายตัว และ
ยังมีการค้นหากันอยู่ ต่อมามีคา ahaba มาแทน ซึ่ งพระธรรมเก่าฉบับภาษากรี กแปลในความหมายที่ใกล้เคียงกับคา
agape ดัง ที่ เราเห็ น แล้ว ว่ าเป็ นการแปลแบบที่ มี ค วามหมายเดี ยวกัน กับ ความหมายในพระคัม ภี ร์ ข องค าว่า “รั ก ”

ตรงกันข้ามกับความรักที่ยงั ไม่ตายตัวหรื อที่ยงั มีการค้นหากันอยู่ คานี้ แสดงถึงประสบการณ์ของความรัก ที่รวมถึง


การค้นพบอีกฝ่ ายหนึ่ งที่แท้จริ ง เป็ นการขับเคลื่อนออกไปจากการเห็ นแก่ตวั ซึ่ งเป็ นลักษณะเด่นในตอนแรก ความ
รักตอนนี้กลายเป็ นความห่ วงใยและการดูแลเอาใจใส่ อีกฝ่ ายหนึ่ง ไม่ได้เป็ นการแสวงหาตนเองอีกต่อไป เป็ นการจม
อยู่ในความมึ น เมาแห่ งความสุ ข ความรั ก นี้ มุ่ ง แสวงหาแต่ ความดี ข องผูท้ ี่ เขารั ก กลายเป็ นการปฏิ เสธตนเอง
เตรี ยมพร้อม และแม้กระทัง่ เต็มใจสาหรับการเสี ยสละและการบูชา

4
ส่ วนหนึ่ งแห่ งการเจริ ญเติบโตสู่ ความสู งส่ งขึ้นและการชาระจิตภายในให้สะอาดนี่ เองที่เป็ นความหมายที่
ถูกต้อง และการที่ จะบรรลุ สิ่ งนี้ ได้ก็ด้วยสองสิ่ งด้วยกัน นั้นคือ ความเป็ นส่ วนตัวจาเพาะ (บุ คคลนี้ เท่ านั้น) และ
“ความยัง่ ยื น ถาวร ” ความรั ก จะต้อ งครอบคลุ ม ทุ ก มิ ติ ร วมถึ ง มิ ติ แ ห่ ง กาลเวลาด้ว ย จะเป็ นอย่า งอื่ น ไปไม่ ไ ด้

เนื่ องจากว่า สัญญาแห่ งรักนั้นมุ่งไปที่เป้ าหมายที่มีลกั ษณะแห่ งความหมายที่จากัดนี้ นัน่ คือ ความรักมุ่งสู่ ความเป็ น
นิรันดร์ ความรักเป็ น “บรมสุ ข” แท้จริ ง ไม่ใช่ในความหมายชัว่ แล่นแห่ งความมัวเมา แต่เป็ นการเดินทางต่อเนื่ องที่
ต้องพยายามออกไปจากความเป็ น “อัตตา” แล้วเข้าสู่ ความเป็ นอิสระโดยอาศัยการมอบตนเองแก่ผอู ้ ื่น ซึ่ งจะทาให้เกิด
มีการค้นพบตนเองอันยังจะเป็ นผลให้ได้พบพระเจ้าด้วย “ผูใ้ ดที่พยายามรั กษาชี วิตของตนไว้ ก็จะสู ญเสี ยชี วิตนั้น
และผูใ้ ดที่ เสี ยชี วิตของตน ก็จะรั ก ษาชี วิต นั้นไว้” (ลก 17:33) และพระเยซู ก็ได้กล่ าวในท านองนี้ ไว้มากมายใน
พระวรสาร (เทียบ มธ 10:39; 16:25; มก 8:35; ลก 9:24; ยน 12:25) ในคากล่าวต่างๆ เหล่านั้น พระเยซูเจ้าทรงแสดง
ให้เราเห็นถึงหนทางของพระองค์ซ่ ึ งจะนาพาเราไปสู่ การกลับเป็ นขึ้นมาโดยอาศัยไม้กางเขน เป็ นหนทางแห่ งเมล็ด
พันธุ์ขา้ วที่ตกลงไปยังพื้นดินแล้วตายไป จึงเกิดผลมากมาย อาศัยการเริ่ มจากความล้ าลึกแห่ งการบูชาของพระองค์
และความรักที่บรรลุถึงความสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงแสดงออกด้วยคากล่าวเหล่านั้นถึงแก่นแท้แห่ งความรักและ
แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ดว้ ย

7. โดยอาศัยเหตุผลภายในตัวมันเอง คากล่าวที่มีเชิงปรัชญาเบื้องต้นชวนให้คิดเกี่ยวกับความรักเหล่านี้ นาเรา


เข้า สู่ ธ รณี ป ระตู ค วามเชื่ อ แห่ ง พระคัม ภี ร์ เราเริ่ ม ด้ว ยการถามว่ า ความหมายของค าว่ า “รั ก ” นั้ น ถึ ง แม้จ ะมี
ความหมายที่แตกต่างกัน หรื อแม้กระทัง่ ขัดแย้งกัน นาเราไปสู่ ความเป็ นเอกภาพที่ล้ าลึก หรื อว่าต้องแยกออกจาก
กัน ให้ เป็ นคนละเรื่ อง ที่ ส าคัญ ยิ่ ง คื อ เราสงสั ย ว่ า ความหมายของความรั ก ที่ พ ระคัม ภี ร์ แ ละความเชื่ อ ตาม
ขนบธรรมเนี ยมประเพณี ของพระศาสนจักรนั้นมีความเชื่ อมโยงกันกับประสบการณ์ความรักทัว่ ๆ ไปของมนุ ษย์
หรื อไม่ หรื อว่ามันขัดแย้งกับประสบการณ์ ดังกล่ าว ประเด็นนี้ ทาให้เราต้องหันกลับไปพิจารณากันถึ งคาที่ เป็ น
พื้นฐานอยู่สองคา คือ eros ใความหมายที่ เป็ นเรื่ องของความรั กทางโลก และคา agape อันหมายถึงความรักที่มี
พื้นฐานและหล่อหลอมขึ้นโดยอาศัยความเชื่ อ ความหมายทั้งสองบ่อยครั้ งดูเหมือนกับอยูค่ นละข้างดุจความรั กที่
“สู งส่ ง” และ “ต้อยต่า” นอกนั้นยังมีคาจากัดความอื่ นๆอีก เช่ นความรั กที่ เอาแต่ได้กบ ั ความรักที่มอบให้ผอู ้ ื่น (amor
concupiscentiae – amor benevolentiae) ซึ่ งบางครั้ งมีการเพิ่มความรั กขึ้นมาอีกชนิ ดหนึ่ ง คือความรั กที่แสวงหาแต่

ผลประโยชน์แห่ งตน
ในแวดวงวิวาทะของปรัช ญาและเทววิทยา ความแตกต่างของความหมายสองคานี้ ถึงกับมีการเสนอให้ต้ งั
ทฤษฎีให้ชดั เจนว่ามันอยูก่ นั คนละซี ก ความรั กแบบ agape คือความรั กแบบคริ สตชนที่ทาให้ชีวิตสู งส่ งขึ้น ส่ วน
ความรักแบบ eros นั้นเป็ นความรั กที่ เห็ นแก่ ต ัว ซึ่ งเป็ นความรั กของคนที่ ไม่ ใช่ คริ สตชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
วัฒนธรรมของชาวกรี ก หากจะยึดถื อเอาทฤษฎีสุดขั้วของความรั กทั้งสองแบบกันอย่างจริ งจังแล้ว แก่นแท้ของ
คริ สต์ศาสนาคงจะต้องแยกออกจากความสัมพันธ์ข้ นั พื้นฐานที่มีความสาคัญมากที่ สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุ ษย์
ออกไป คงจะกลายเป็ นเรื่ อ งของโลกที่ อ ยู่ก ัน คนละซี ก อาจเป็ นสิ่ งน่ าพิ ศ วง แต่ ห ลุ ด ออกไปอย่างสิ้ น เชิ ง จาก
องค์ประกอบที่สานทอไว้อย่างสวยงามในชีวิตมนุ ษย์ แต่ eros และ agape ไม่อาจที่จะแยกออกจากกันโดยสิ้ นเชิ ง
อย่างเด็ดขาด ยิง่ ความรักทั้งสองรู ปแบบในมุมมองที่แตกต่างกันนั้นจะหันเข้าหาเป็ นหนึ่ งเดียวกันในความจริ งแห่ ง
ความรั กมากเท่าใด ธรรมชาติที่แท้จริ งของความรั กโดยทัว่ ไปก็ยิ่งจะประสบความบริ บูรณ์ เพิ่มขึ้นเท่านั้น ถึงแม้

5
eros จะดูเป็ นเรื่ องเห็นแก่ตวั ในขั้นแรก และค่อยสู งส่ งขึ้น ซึ่ งเป็ นความน่าพิศวงสาหรับความสุ ขอันยิง่ ใหญ่ที่สัญญา
ให้ไว้ สู งส่ งขึ้นเพราะมีการโน้มน้าวเข้าหากัน มีการห่ วงใยตนเองน้อยลง มีการมอบตนเองและต้องการที่จะ “อยู่ที่
นัน่ ” เพื่อผูอ้ ื่น ดังนั้นปั จจัยของ agape จึงเข้าไปอยูใ่ นความรักชนิ ดนี้ มิฉะนั้นแล้ว eros จะไร้สาระและแม้กระทัง่
สู ญเสี ยธรรมชาติของมันไป ในอีกมุมมองหนึ่ ง มนุ ษย์ไม่สามารถที่จะมีชีวิตโดยอาศัยความรักที่เป็ นเพียงความรัก
แบบต้อยต่าหรื อแบบสู งส่ งอย่างหนึ่ งอย่างใดได้แต่เพียงอย่างเดี ยว เขาไม่สามารถที่จะให้ฝ่ายเดี ยว เขาต้องได้รับ
ด้วยผูใ้ ดที่ อยากให้ความรั กจะต้องได้รับความรั กเป็ นของขวัญด้วย ดังที่ พระคริ สตเจ้าบอกเราว่า คนๆ หนึ่ งอาจ
กลายเป็ นต้นตอแห่ งธารน้ าชีวติ ได้ (เทียบ ยน 7: 37-38) แต่เพื่อที่จะเป็ นลาธารนั้นได้ ผูน้ ้ นั ต้องดื่มจากต้นตอแห่ งลา
ธารอยูเ่ ป็ นนิ จ ต้นตอนั้นคือพระคริ สตเจ้า ซึ่ งความรักแห่ งพระเจ้าไหลออกมาจากดวงใจที่ถูกทิ่มแทงของพระองค์
(เทียบ ยน 19:34)
ในเรื่ องราวบันไดของยาโคบ ปิ ตาจารย์แห่ งพระศาสนจักรมองเห็ นการเชื่ อมโยงระหว่างความรั กที่สูงขึ้น
และต่าลง ระหว่าง eros ที่แสวงหาพระเจ้า และ agape ซึ่ งถ่ายทอดพระพรที่ตนได้รับไปให้ผอู ้ ื่นโดยมีสัญลักษณ์ใน
รู ปแบบต่างๆ ว่า แยกออกจากกันไม่ได้ ในข้อความพระคัมภีร์เราอ่านพบว่ายาโคบนอนหลับโดยใช้กอ้ นหิ นเป็ น
หมอน ในความฝันท่านเห็นบันไดทอดสู งขึ้นไปยังสวรรค์ซ่ ึ งมีเทวทูตของพระเจ้าไต่ข้ ึนไต่ลงตามบันไดนั้น (เทียบ
ปฐก 28:12; ยน 1:51) การอธิ บายความหมายที่สาคัญมากของความฝันนี้ มีในสมณลิขิต Pastoral Rule ของสมเด็จ
พระสันตะปาปาเกรโกรี ผยู ้ งิ่ ใหญ่ ท่านบอกเราว่านายชุมพาบาลที่ดีตอ้ งมีรากฐานอยูบ่ นชีวิตที่มีจิตสมาธิ อาศัยวิธีน้ ี
เท่านั้นที่เขาจะสามารถรับความต้องการของผูอ้ ื่นมาใส่ ตนและทาให้ความต้องการเหล่านั้นเป็ นความต้องการของ
ตนเอง “per pietatis viscera in se infirmitatem caeterorum transferat” ในประเด็ นนี้ นัก บุ ญ เกรโกรี เมื่ อ กล่ าวถึ ง
4

นักบุญเปาโลผูท้ ี่มีความรู ้ลึกซึ้ งเกี่ยวกับรหัสธรรมของพระเจ้า ดังนั้นเมื่อท่านเหิ รต่าลงมาอีกครั้ง ท่านก็สามารถที่จะ


เป็ นทุกสิ่ งสาหรับทุกคน (เทียบ 2 คร 12:2-4; 1 คร 9-22) ท่านยังได้ช้ ีให้เห็นถึงตัวอย่างของโมเสสผูท้ ี่ได้ไปประทับ
อยู่กบั พระเจ้าครั้ งแล้วครั้ งเล่ าสนทนากับ พระองค์ เพื่ อเมื่ อถึ งตอนที่ ท่ านกลับออกมา ท่ านจะได้สามารถรั บ ใช้
ประชากรของท่ านทุกคน ภายในเต๊นท์ที่พกั ท่านใช้ชีวิตในจิตภาวนาสมาธิ เมื่ออยู่นอกที่ พกั ท่ านก็อุทิศตนอย่าง
เต็มที่ในการช่วยเหลือผูท้ ี่กาลังรับทุกข์ “intus in comtemplationem rapitur, foris infirmantium negotiis urgetur” 5

8. เราได้เกริ่ นไปบ้างแล้ว ถึงแม้จะเป็ นคาตอบทัว่ ๆ ไปเกี่ยวกับปั ญหาสองประการที่พดู กันไปแล้วในตอนต้น


โดยพื้นฐานแล้ว “ความรั ก” เป็ นความจริ งหนึ่ งเดี ยว แต่ มีมิติต่างกันหลายมิติ ในวาระที่ ต่างกัน มิ ติหนึ่ งมิติใดอาจ
แสดงออกมาให้เห็ นชัด แจ้งกว่ามิ ติอื่น แต่ หากมิ ติท้ งั สองถูกตัดขาดออกจากกันแล้วไซร้ ผลของมันจะพังทลาย
หรื ออย่างน้อยที่สุดก็จะกลายเป็ นรู ปแบบของความรักที่น่าทุเรศที่สุด และเราก็ได้เห็ นกันโดยสังเขปแล้วว่า ความ
เชื่อในพระคัมภีร์ไม่ได้ต้ งั ให้ความรักในสองมิติน้ ี ควบขนานกัน หรื อให้มีความขัดแย้งต่อปรากฏการณ์แห่ งความรัก
ของมนุ ษย์ต้ งั แต่ แรกเริ่ มเดิ มที แต่ เป็ นการยอมรั บมนุ ษย์ท้ งั ครบ พระคัมภีร์มีบทบาทในการค้นหาความรั กของ
มนุ ษ ย์ เพื่ อ ที่ จ ะชาระความรั ก นั้น ให้ บ ริ สุ ท ธิ์ และเผยให้ เห็ น มิ ติ ใหม่ ความใหม่ แ ห่ งความเชื่ อ ในพระคัมภี ร์ น้ ี
ชี้ให้เห็นประเด็นสาคัญใหญ่ๆของสองประเด็นนี้ ซึ่ งควรได้รับการเน้นให้ชดั เจน กล่าวคือภาพลักษณ์ของพระเจ้า
และภาพลักษณ์ของมนุษย์

6
ความใหม่ แห่ งความเชื่อในพระคัมภีร์
9. ประการแรก พระคัมภี ร์เผยให้เราได้เห็ น ภาพลักษณ์ ใหม่ ของพระเจ้า ในวัฒนธรรมต่ างๆ รอบตัวเรา
ภาพลักษณ์ของพระเจ้าและพระเล็กพระน้อยต่างๆ ไม่มีความชัดเจนเลย และมีความขัดแย้งกันในตัวด้วยซ้ าไป แต่
ว่าสิ่ งที่ปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่ อยๆ เป็ นลาดับในเรื่ องของความเชื่อที่ปรากฏอยูใ่ นพระคัมภีร์ บทสวดพื้นฐานของชาว
อิสราเอล Shema ยิง่ วันยิง่ ชัดเจนขึ้น “ชนชาติอิสราเอลเอ๋ ย จงฟังไว้ให้ดี พระผูเ้ ป็ นเจ้า พระเจ้าของเราเป็ นพระเจ้าแต่
องค์เดียว” (ฉธบ 6:4) มีพระเจ้าแต่พระองค์เดียว ผูท้ รงสร้างสวรรค์และแผ่นดิน ผูท้ รงเป็ นพระเจ้าของมนุษย์ทุกคน
มีความจริ งสาคัญอยู่สองประการในคาอ้างนี้ : พระอื่ นๆ ทุ กท่ านไม่ ใช่ พระเจ้า และจักรวาลที่ เราอาศัยอยู่น้ ี มี ตน้
กาเนิ ดมาจากพระเจ้าและถูกสร้างโดยพระองค์ แน่ นอนว่า ความรู ้เรื่ องการสร้างโลกนี้ มีอยู่ในตาราอื่นด้วย แต่ ณ
ที่น้ ี เท่ านั้น มีความชัดเจนที่ สุดว่าผูส้ ร้ างไม่ได้เป็ นพระองค์ใดองค์หนึ่ งท่ามกลางพระเจ้าหลากหลาย แต่ทรงเป็ น
พระเจ้าเที่ยงแท้แต่พระองค์เดียว ผูท้ รงเป็ นต้นกาเนิ ดของทุกสิ่ งทุกอย่างที่เป็ นตัวตน โลกทั้งปวงเกิดเป็ นตัวตนได้
อาศัยอานาจของพระวจนาตถ์ที่สร้างสรรค์ของพระองค์ ผลที่ตามมาคือ สิ่ งสร้างของพระองค์เป็ นที่โปรดปรานของ
พระองค์ เพราะเกิดมาจากพระประสงค์ของพระองค์เองและก็ถูกสร้ างขึ้นด้วยพระองค์เองอีกเช่นกัน จากนี้ ปัจจัย
สาคัญประการที่ สองก็เกิ ดตามมา นั่นคือพระเจ้าทรงรั กมนุ ษ ย์ อานาจเทพที่ อาริ สโตเติ้ลนักปรั ชญาชาวกรี กผูม้ ี
ชื่อเสี ยงโด่งดังที่สุด พยายามที่จะแสวงหาและทาความเข้าใจโดยอาศัยการไตร่ ตรองนั้น แท้จริ งแล้วสิ่ งสร้างทั้งมวล
ก็คือ เป็ นผลแห่ งพระประสงค์และความรักของพระเจ้า เป็ นผลของความรักของพระนี้ เองที่ทรงขับเคลื่อนโลกไป 6

ในตัวสิ่ งสร้ างนี้ น้ นั ไม่ขาดสิ่ งใดเลยและไม่รู้จกั รั กด้วย เป็ นเพียงแค่สิ่งที่ช้ ี บ่งถึงความรั ก พระเจ้าองค์เดี ยวที่ ชาว
อิสราเอลเชื่อนั้นพวกเขาจะรักด้วยความรักส่ วนตัว นอกจากนั้น ความรักของพระเจ้ายังเป็ นความรักแบบเลือกสรร
ท่ามกลางประเทศชาติต่างๆ พระองค์ทรงเลือกสรรอิสราเอลและทรงรักพวกเขา แต่การที่พระองค์ทรงกระทาเช่นนี้
ก็เพื่อที่จะบาบัดรักษามวลมนุษยชาติท้ งั ปวง พระเจ้าทรงรักและความรักของพระองค์อาจเรี ยกได้ว่า eros แต่ก็เป็ น
agape อย่างสิ้ นเชิง 7

บรรดาประกาศกโดยเฉพาะอย่างยิ่งโฮเชอาและเอเสเคียล ได้บ รรยายถึ งความหลงใหลของพระเจ้าต่ อ


ประชากรของพระองค์ โดยกล้าใช้ภาพลักษณ์ที่ออกไปทางเพศค่อนข้างมาก ความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับชนชาติ
อิสราเอลถูกบรรยายด้วยการเปรี ยบเทียบถึงการหมั้นและการแต่งงาน การนับถือพระเท็จเทียมจึงกลายเป็ นการผิด
ลูกผิดเมียและการล่วงประเวณี ณ จุดนี้เรามีสิ่งอ้างอิงพิเศษดังที่เราได้พบมาแล้ว นั้นคือ พิธีบูชาขอให้บงั เกิดลูกและ
การหลงผิดในเรื่ องของ eros แต่กม็ ีคาอธิ บายถึงความสัมพันธ์ในเรื่ องของความซื่ อสัตย์ระหว่างชนชาติอิสราเอลกับ
พระเจ้าด้วย ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับชนชาติอิสราเอลนั้น จุ ดสู งสุ ดอยูท่ ี่ พระเจ้าทรงมอบ
บัญญัติ Torah (กฎหมายหรื อหนังสื อ 5 เล่ มแรกของพระคัมภีร์พนั ธสั ญญาเดิ ม...ผูแ้ ปล)ให้ เป็ นการเปิ ดตาชาว
อิ สราเอลให้เห็ นถึ งธรรมชาติ แท้จริ งของมนุ ษย์ และชี้ นาพวกเขาให้เห็ นหนทางที่ จะนาไปสู่ ความเป็ นมนุ ษ ย์ที่
แท้จริ ง ซึ่ งตั้งอยู่บ นความจริ งว่า โดยอาศัยการด าเนิ นชี วิ ต ที่ สั ตย์ซื่ อ ต่ อ พระเจ้าเที่ ยงแท้แ ต่ ผูเ้ ดี ยว มนุ ษ ย์จ ะมี
ประสบการณ์ ที่ตนเองได้รับความรักจากพระเจ้า จะได้พบความชื่ นชมยินดี ในความจริ งและความชอบธรรม พบ
ความยินดีในพระเจ้าผูท้ ี่ได้ทรงกลายเป็ นความสุ ขที่แท้จริ งของเขา “ข้าพเจ้าจะมีใครเล่าในสวรรค์นอกจากพระองค์?
และไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ ที่ขา้ พเจ้าต้องการอีกแล้วนอกจากพระองค์ ... สาหรับข้าพเจ้าแล้ว เป็ นการดีที่ได้อยูใ่ กล้พระ
เจ้า” (สดด 73[72]: 25, 28)

7
10. เราเห็นแล้วว่า eros ของพระเจ้าต่อมนุ ษย์น้ นั เป็ น agape ด้วยอย่างสิ้ นเชิ ง นี่ ไม่ใช่เป็ นเพราะถูกมอบแบบ
ให้เปล่า ไม่มีบุญคุณเก่าอะไรกันเลยเท่านั้น แต่เป็ นเพราะว่าเป็ นความรักที่ทรงให้อภัย โฮเชอาได้แสดงให้เราเห็นว่า
มิติ agape แห่ งความรั กของพระเจ้าต่ อมนุ ษย์น้ ัน อยู่เกิ นเลยมิ ติแห่ งการให้เปล่ าเสี ยอี ก อิสราเอลได้ทาผิด “ล่วง
ประเวณี ” และได้ทาผิดต่อพันธสัญญา พระเจ้าควรที่จะพิพากษาและลงโทษ ตรงจุดนี้ เองที่พระเจ้าทรงเผยให้เรา
เห็นว่าพระองค์ทรงเป็ นพระเจ้า ไม่ใช่เป็ นมนุ ษย์ “เราจะทอดทิ้งเจ้าได้อย่างไร โอ้ เอฟราอิม! เราจะมอบตัวเจ้าแก่
ศัตรู ได้อย่างไร โอ้ อิ สราเอล! ดวงใจของเรารู ้ สึ กหดหู่ ความเห็ นอกเห็ นใจของเราทวีความร้ อนรนและมี ความ
อ่อนโยนมากขึ้น เราจะไม่ใช้พระพิโรธของเรา เราจะไม่ทาลายเอฟราอิมอีก เพราะเราคือพระเจ้าไม่ใช่มนุ ษย์ เรา
คือพระเจ้าผูศ้ กั ดิ์สิทธิ์ ท่ามกลางพวกเจ้า” (ฮชย 11:8-9) ความรักแบบหลงใหลของพระเจ้าต่อประชากรของพระองค์
และต่ อ มนุ ษ ยชาติ เป็ นความรั กที่ คอยให้อ ภัย ในเวลาเดี ยวกัน มันเป็ นความรั กยิ่งใหญ่ ชนิ ด ที่ ว่า พระองค์ท รง
ขัดแย้งกับพระองค์เอง นัน่ คือความรักของพระองค์ขดั แย้งกับความยุติธรรมของพระองค์ ณ จุดนี้ คริ สตชนพอที่จะ
เห็ นลางๆ ได้บา้ งเกี่ยวกับรหัสธรรมแห่ งไม้กางเขน ความรั กของพระเจ้าต่อมนุ ษย์น้ นั ยิง่ ใหญ่ จนกระทัง่ พระองค์
เสด็จมารับสภาพมนุ ษย์ พระองค์ทรงยืนหยัดมัน่ คงจนกระทัง่ สิ้ นพระชนม์ และทรงผนวกความยุติธรรมและความ
รักเข้ารวมกันด้วยประการฉะนี้
มิติแห่ งปรั ชญาที่ควรตั้งข้อสังเกตในวิสัยทัศน์ของพระคัมภีร์จากมุมมองของประวัติศาสตร์ ศาสนาต่างๆ
ตั้งอยู่บนความจริ งว่า ในด้านหนึ่ ง เราพบตนเองว่า เรากาลังอยู่ต่อหน้าภาพลักษณ์ ของพระเจ้าในเชิ งที่ อยู่เหนื อ
ธรรมชาติ พระเจ้าผูท้ รงเป็ นต้นก าเนิ ดสู งสุ ดแห่ งทุ ก สิ่ งทุ ก อย่าง แต่ เป็ นบ่ อ เกิ ด สากลแห่ งการสร้ างนี้ – Logos
(พระวจนาตถ์), ต้นเหตุเหนื อธรรมชาติ – ในขณะเดี ยวกัน ก็เป็ นผูท ้ ี่ทรงรักด้วยเสน่หาทั้งปวงแห่ งความรักที่แท้จริ ง
Eros จึ ง ได้รั บ เกี ย รติ แ ละศัก ดิ์ ศรี สู ง สุ ด และขณะเดี ย วกัน ก็ ไ ด้รั บ การช าระให้ บ ริ สุ ท ธิ์ จนกลายเป็ นอัน หนึ่ งอัน

เดี ยวกันกับ agape เราจึ งเห็ นว่ามีการยอมรั บ “เพลงซาโลมอน” ในหนังสื อพระคัมภีร์ ซึ่ งมีการอธิ บายถึงความคิด
เพลงรักเหล่านี้ในความหมายลึกๆ แล้วว่า เป็ นการบรรยายถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับมนุษย์และความสัมพันธ์
ของมนุ ษย์กบั พระเจ้า ดังนั้น “บทเพลงซาโลมอน” ในวรรณคดี ของคริ สตชนและของชาวยิว จึ งเป็ นบ่อเกิ ดแห่ ง
ความรู้ และประสบการณ์ อนั ล้ าลึ ก เป็ นการแสดงออกซึ่ งแก่ นแห่ งความเชื่ อที่ มาจากพระคัมภีร์ กล่ าวคือ มนุ ษ ย์
สามารถเข้าไปอยูใ่ นสายสัมพันธ์กบั พระเจ้าได้ พระเจ้าผูท้ รงเป็ นความปรารถนาสุ ดท้ายของเขา แต่การรวมอยูใ่ น
สายสัมพันธ์น้ ี ไม่ได้เป็ นเพียงแค่เอามาเจื อปนกัน หรื อเป็ นการจมลงในมหาสมุทรแห่ งพระเจ้าเท่านั้น แต่คือความ
หนึ่ งเดี ยวที่ สร้ างความรั ก ความสั มพันธ์ที่ พ ระเจ้าและมนุ ษ ย์มารวมเป็ นหนึ่ งเดี ยวกันอย่างสมบูรณ์ แท้จริ ง ดังที่
นักบุญเปาโลกล่าวว่า “คนที่ผกู พันกับพระเจ้าก็เป็ นจิตใจอันเดียวกันกับพระองค์” (1 คร 6:17)

11. ความแปลกใหม่ ประการแรกของความเชื่ อในพระคัมภี ร์อยู่ที่ ภาพลักษณ์ ของพระเจ้า ความแปลกใหม่


ประการที่สองก็เกี่ยวโยงกับความใหม่ประการแรก นัน่ คือ ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในมนุ ษย์ ในคาบอกเล่าเรื่ องการ
สร้าง พระคัมภีร์พูดถึงความเหงาของอาดัมบุรุษคนแรก และพระเจ้าก็ได้ทรงตัดสิ นพระทัยมอบผูช้ ่ วยให้เขา ใน
บรรดาสรรพสัตว์ต่างๆ ไม่มีสัตว์ชนิ ดใดเลยที่สามารถเป็ นผูช้ ่วยที่มนุ ษย์ตอ้ งการ ถึงแม้ว่าเขาจะเป็ นผูต้ ้ งั ชื่อสัตว์ป่า
และนกทุกชนิ ด และทาให้สัตว์เหล่านั้นเป็ นส่ วนหนึ่ งของชีวิตเขา ดังนั้นพระเจ้าจึงได้สร้างสตรี จากซี่ โครงกระดูก
ชาย บัดนี้ อาดัมมีผชู ้ ่วยซึ่งเขาต้องการ “ในที่สุดนี่คือกระดูกแห่ งกระดูกของเรา และเนื้ อแห่ งเนื้อของเรา” (ปฐก 2:24)
ตรงนี้มีความสาคัญอยูส่ องประการด้วยกัน ประการแรก eros เป็ นอะไรที่ฝังรากลึกอยูใ่ นธรรมชาติมนุษย์เอง อาดัม

8
เป็ นผูแ้ สวงหา ผูซ้ ่ ึง “ทอดทิ้งบิดามารดา” เพื่อที่จะไปอยูก่ บั สตรี มีแต่การอยูร่ ่ วมกันเท่านั้น ทั้งสองคนจึงจะมีความ
เป็ นมนุษย์ที่สมบูรณ์และกลายเป็ น “คนเดียวกัน” มุมมองที่สอง ก็มีความสาคัญไม่แพ้กนั จากมุมมองของการสร้าง
eros ชักนาให้ชายแต่ งงาน ให้มีสายสัมพันธ์ซ่ ึ งมี ลก ั ษณะจาเพาะและเจาะจง ดังนี้ และโดยวิธีเท่านั้นที่ความรักจะ
บรรลุถึงเป้ าหมายสู งสุ ดของมัน ที่สอดคล้องกันกับภาพลักษณ์ของพระเจ้าพระองค์เดียว นั่นก็คือการแต่งงานที่มี
ผัวเดี ยวเมี ยเดี ยว การแต่ งงานที่ มีพ้ื นฐานอยู่บ นความรั กเดี ยวและมี ความจาเพาะเจาะจง กลายเป็ นรู ป แบบแห่ ง
ความสั มพัน ธ์ร ะหว่ างพระเจ้ากับ ประชากรของพระองค์แ ละในทางกลับ กัน ด้วย วิ ธี รัก ของพระเจ้ากลายเป็ น
มาตรฐานแห่ ง ความรั ก ของมนุ ษ ย์ การคาบโยงที่ ใกล้ชิ ด ระหว่ า ง eros และการแต่ ง งานในพระคัม ภี ร์ ห าที่
เปรี ยบเทียบไม่ได้เลยในวรรณกรรมนอกเหนือไปจากพระคัมภีร์

พระเยซูคริ สตเจ้ า – องค์ ความรั กอวตารของพระเจ้ า


12. ถึ งแม้ว่าส่ วนใหญ่ เราจะพูดกันถึ งแต่ พ ระคัมภีร์ภาคพันธสั ญญาเดิ มจนถึ งขณะนี้ ก็ตาม แต่ การเอื้ ออย่าง
ลึกซึ้ งระหว่างพระธรรมคัมภีร์ท้ งั สองภาค ที่เราถือว่าเป็ นความเชื่อของคริ สตชนนั้นมีความชัดเจนมาก สิ่ งใหม่ใน
พันธสัญญาใหม่ อยู่ในแนวความคิดใหม่ ในองค์พระคริ สตเจ้าเอง ซึ่ งทรงประทานพระกาย และพระโลหิ ตของ
พระองค์ให้กลับกลายเป็ นความจริ งดังที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในพันธสัญญาเดิม ความแปลกใหม่ของพระคัมภีร์
ไม่ได้อยูแ่ ต่เพียงความคิดแบบนามธรรมเท่านั้น แต่อยูใ่ นการกระทาที่ไม่อาจเดาได้ และในบางกรณี กไ็ ม่เคยปรากฏ
มาก่ อนด้วย พันธกิ จของพระเจ้าบัดนี้ ได้ถือกาเนิ ดมาในรู ป แบบใหม่ คือพระเจ้าเอง โดยอาศัยพระเยซู เจ้า ทรง
ออกไปติ ด ตาม “แกะหลงฝูง ” ซึ่ งได้แ ก่ ม นุ ษ ย์ที่ ห ายไปและก าลัง รั บ ทุ ก ข์ท รมาน เมื่ อ พระเยซู ต รั ส เป็ นนิ ท าน
เปรี ยบเทียบเรื่ องนายชุมพาบาลที่ไปตามแกะหลงฝูง ตรัสถึงหญิงหาเหรี ยญที่หายไป ถึงบิดาที่ออกไปต้อนรับและ
โอบกอดลูกล้างผลาญของตน ตัวอย่างเหล่านี้ ไม่ใช่เป็ นเพียงคากล่าวเล่นเท่านั้น มันเป็ นการอธิบายถึงความเป็ นและ
กิจกรรมของพระองค์เอง การสิ้ นพระชนม์ของพระองค์บนไม้กางเขนคือสุ ดยอดแห่ งการที่พระเจ้าทรงทาตนเป็ นอริ
ต่อพระองค์เอง ด้วยการที่พระองค์ทรงมอบตนเองเพื่อยกมนุ ษย์ให้สูงขึ้นเพื่อช่วยมนุ ษย์ให้ได้รอด ความรักชนิ ดนี้
เป็ นความรักที่สมบูรณ์แบบที่สุด อาศัยการเพ่งพิศสี ขา้ งที่ถูกแทงของพระคริ สตเจ้า (เทียบ ยน 4:8) เราสามารถที่จะ
เข้าใจจุ ดเริ่ มของสมณสาสน์ฉบับนี้ “พระเจ้าคือความรัก” (1 ยน 4, 8) ณ ที่น้ นั นั่นเองที่เราสามารถพิศเพ่งถึงความ
จริ งนี้ จากที่น้ นั นัน่ เองที่คาจากัดความของคาว่ารักต้องเริ่ มต้น ในการพิศเพ่งนี้ คริ สตชนจะได้พบกับหนทางซึ่ งชีวิต
และความรักของเขาจะต้องเดินไปตามครรลองนี้

13. พระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์เองเป็ นบูชาถวายที่จะประทับอยูอ่ ย่างถาวรด้วยการตั้งศีลมหาสนิทในการเลี้ยง


อาหารค่ามื้อสุ ดท้าย พระองค์ทรงทราบล่วงหน้าถึงการสิ้ นพระชนม์และการเสด็จกลับฟื้ นคืนชีพของพระองค์ดว้ ย
การมอบพระกายและพระโลหิ ตของพระองค์เองให้สานุ ศิษย์เป็ นดุจมานนาใหม่ในรู ปของปั งและเหล้าองุ่น (เทียบ
ยน 6:31-33) โลกเก่ามี ความเข้าใจแบบเลือนลางว่าอาหารที่ แท้จริ งของมนุ ษย์ – สิ่ งที่หล่อเลี้ยงเขาในฐานะที่เป็ น
มนุ ษ ย์ – ที่สุ ดแล้วคือ Logos พระปรี ชาญาณนิ รันดร์ Logos เดี ยวกันที่ บ ัดนี้ ได้กลายเป็ นอาหารส าหรั บ เรา – อัน
ได้แก่ความรักนัน่ เอง ศีลมหาสนิ ทนาเราเข้าไปสู่ การบูชาตนเองของพระเยซูเจ้า การรับ Logos ที่เสด็จมารับสภาพ
มนุ ษย์ ต้องไม่เป็ นไปอย่างสม่าเสมอเพราะความเคยชิ น เนื่ องจากเราเข้าไปสู่ พลังแห่ งการบูชาของพระองค์อย่าง
แท้จริ งด้วย การอนุมานถึงการแต่งงานระหว่างพระเจ้ากับชนชาติอิสราเอลเกิดเป็ นจริ งขึ้นมา ในกระบวนการที่เรา
นึ กไม่ออกจริ งๆ ในอดี ต มันหมายถึงการตั้งตนอยูใ่ นการประทับของพระเจ้า แต่ในขณะนี้ มนั ได้กลายเป็ นหนึ่ ง
9
เดียวกันกับพระเจ้า โดยอาศัยการมีส่วนร่ วมในการบูชาตนเองของพระเยซูเจ้า ด้วยการมีส่วนร่ วมในพระกายและ
พระโลหิ ตของพระองค์ “รหัสธรรมล้ าลึก” แห่ งศีลมหาสนิ ทอันมีพ้ืนฐานจากการที่พระเจ้าทรงลดพระเกียรติของ
พระองค์เองมาประทับอยู่กบั เรานั้น เกิ ดขึ้นในหลายระดับ และทรงยกเราสู่ ความสู งส่ งกว่าสิ่ งใดๆ ที่ มนุ ษย์อาจ
นามามอบให้ได้

14. ถึงตรงนี้ เราจาต้องหันไปพิจารณากันอีกแง่หนึ่ ง นัน่ คือ “รหัสธรรมล้ าลึก” แห่ งศีลมหาสนิ ทนั้น มีลกั ษณะ
ของการเป็ นสังคม เนื่ องจากอาศัยความสัมพันธ์ทางศีลศักดิ์สิทธิ์ ข้าพเจ้ากลายเป็ นคนเดียวกันกับพระคริ สตเจ้า เฉก
เช่นคนอื่นที่ไปรับศีลมหาสนิ ททุกคน ดังที่นกั บุญเปาโลกล่าวไว้ว่า “เพราะมีปังก้อนเดียว เราซึ่ งมีหลายคนล้วนเป็ น
กายเดี ยวกัน เพราะเราทุกคนรับประทานปั งก้อนเดี ยวกัน” (1 คร 10:17) การเป็ นหนึ่ งเดี ยวกันกับพระคริ สตเจ้าคือ
การเป็ นหนึ่ งเดี ยวกันกับทุกคนที่พระคริ สตเจ้าทรงมอบพระองค์ให้แก่เขาเหล่านั้นด้วย ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยึด
เอาพระคริ สตเจ้าไว้เป็ นกรรมสิ ทธิ์ เพียงลาพัง ข้าพเจ้าจะเป็ นของของพระองค์ได้ก็ต่อเมื่อข้าพเจ้าเป็ นหนึ่ งเดียวกัน
กับทุกคน ที่ได้กลายหรื อจะกลายเป็ นของพระองค์ ศีลมหาสนิ ทผลักดันให้ขา้ พเจ้าออกไปจากตนเองให้เข้าไปหา
พระองค์ และไปสู่ ความเป็ นหนึ่ งเดี ยวกันกับพี่น้อง คริ สตชนทุกคน เรากลายเป็ น “กายเดียวกัน” ผนึ กอย่างเหนี ยว
แน่ นในการมี ชีวิตเดี ยวกัน ดังนั้นเราจึ งพอที่ จะเข้าใจได้ว่า agape เป็ นศัพ ท์ที่ ใช้กบั ศี ล มหาสนิ ท ได้ด้วย ณ ที่ น้ ี
agape ของพระเจ้ามาประทับ อยู่กบ ั เราด้วยกาย เพื่อทางานต่ อไปในตัวเราและโดยอาศัยเรา เพื่อเราจะสามารถมี
ความเข้าใจได้อย่างถูกต้องถึงคาสอนของพระเยซู เจ้าในเรื่ องความรัก เราต้องตระหนักอยูเ่ สมอถึงพื้นฐานที่มีพระ
คริ สตเจ้าและศีลศักดิ์ สิ ทธิ์ การที่พระองค์ทรงทาให้ธรรมบัญญัติและประกาศกสมัยก่อน ข้ามไปสู่ บญ ั ญัติที่สั่งให้
รักพระเจ้าและเพื่อนมนุ ษย์ อีกทั้งการที่พระองค์ทรงกาชับให้เจริ ญชี วิตในความเชื่ อเป็ นศูนย์กลางนั้น ไม่ใช่ เป็ น
เรื่ องของจริ ยธรรมเท่านั้น กล่าวคือเป็ นอะไรที่เกิดขึ้นต่างหากหรื อเพียงอยูเ่ คียงข้างไปกับความเชื่อในพระคริ สตเจ้า
และดาเนิ นชีวิตในศีลศักดิ์สิทธิ์ อย่างแท้จริ ง ความเชื่อ การนมัสการ และ ethos ล้วนสานทอเข้าเป็ นผ้าผืนเดียวกัน
ซึ่ งก่อตัวขึ้นในการที่ ได้สัมผัสกับ agape ของพระเจ้า “การนมัสการ” ในตัวมันเอง, การสนิ ทสัมพันธ์ในศี ลมหา
สนิ ท รวมความจริ งทั้งสองอย่างไว้ในตัว คือการถูกรักและรักผูอ้ ื่นเป็ นการตอบแทน ศีลมหาสนิ ทที่ไม่ก่อให้เกิดมี
การปฏิ บตั ิ ความรั กที่ เป็ นรู ปธรรมต่ อไป ย่อมบกพร่ องในตัวของมันเอง เราจะมี การอธิ บายประเด็นนี้ กนั ต่ อไป
“บัญญัติ” แห่ งความรักนี้ เป็ นไปได้ เพราะเป็ นอะไรที่มากไปกว่าข้อบังคับ รักเป็ น “บัญญัติ” เพราะรั กถูกมอบให้เรา

ก่อน

15. กฎนี้ เป็ นจุ ดเริ่ มต้นที่ จะทาให้เราเข้าใจนิ ทานเปรี ยบเทียบยิ่งใหญ่ ของพระเยซู เจ้า เรื่ องเศรษฐี (เที ยบ ลก
16:19-31) ที่ขอร้ องจากสถานที่ตนได้รับการทรมาน ให้ไปบอกกับบรรดาพี่นอ ้ งของเขาว่า อะไรมันเกิดขึ้นกับเขา
ที่ไม่ได้ให้ความสนใจต่ อคนยากคนจน พระเยซู เจ้าใช้เสี ยงเรี ยกร้ องนี้ เป็ นเครื่ องเตือนใจเราให้หันกลับเข้าไปใน
หนทางที่ถูกต้อง นิทานเรื่ องชาวซามาริ ตนั ผูใ้ จดี (เทียบลก 10:25-37) ให้บทสอนใจที่สาคัญสองประการ ก่อนสมัย
พระเยซู คาว่า “เพื่อนบ้าน” หมายถึงเพื่อนร่ วมชาติและชาวต่างชาติที่มาตั้งรกรากอยูใ่ นประเทศอิสราเอล หรื อพูดอีก
อย่างก็คือ หมายถึงชุมชนที่มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดแห่ งประเทศใดประเทศหนึ่ งหรื อชุมชนใดชุมชนหนึ่ ง บัดนี้
เขตแดนนี้ ถูกรื้ อออกไปแล้ว ไม่ว่าใครก็ตามที่ตอ้ งการข้าพเจ้า และที่ขา้ พเจ้าช่วยได้ลว้ นเป็ นเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า
ทั้งสิ้ น ความคิดของคา “เพื่อนบ้าน” กลายเป็ นสากล แต่ก็ยงคงไว้ซ่ ึ งความเป็ นรู ปธรรม ถึงแม้ว่าความรักนี้ จะขยาย
ออกไปถึงมนุ ษย์ทุกคน ความหมายของมันก็ไม่ได้เลื่อนลอย ขาดความเป็ นรู ปธรรม และไม่เรี ยกร้องให้ตอ้ งมีการ
10
แสดงความรักก็หาไม่ กลับเรี ยกร้ องให้ขา้ พเจ้าต้องทากิจกรรมที่เป็ นรู ปธรรมเดี๋ ยวนี้ พระศาสนจักรมีหน้าที่ตอ้ ง
อธิ บายความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านที่อยูใ่ กล้และไกลอย่างสม่าเสมอให้สมาชิกของตนทราบเกี่ยวกับการดาเนิ น
ชีวิตประจาวันของพวกเขา ที่สุด เราควรพูดถึงนิ ทานเปรี ยบเทียบเรื่ องวันพิพากษาสุ ดท้าย (เทียบ มธ 25:31-46) ซึ่ ง
ความรั กจะเป็ นมาตรฐานในการตัดสิ นเกี่ ยวกับ คุ ณ ค่าชี วิต ว่าดี หรื อ ชั่ว พระเยซู เจ้าทรงท าให้พ ระองค์เป็ นพวก
เดียวกันกับคนยากจน กับคนที่หิวโหย คนกระหาย คนแปลกหน้า คนไร้เครื่ องนุ่ งห่ ม คนป่ วย และคนที่ถูกจาจอง
ั ิ กบั พี่ น้องต่ าต้อยที่ สุดของเราเช่ นไร ท่ านก็ปฏิ บตั ิ ต่อตัวเราเอง” (มธ 25:40) ความรั กต่ อพระเจ้าและ
“ท่ านปฏิ บ ต

ความรักต่อเพื่อนมนุษย์กลายเป็ นสิ่ งเดียวกัน เราพบพระเยซูเจ้าในพี่นอ้ งที่ต่าต้อยที่สุด และในพระเยซูเจ้าเราก็ได้พบ


กับพระเจ้า

รั กพระเจ้ าและรั กเพือ่ นมนุษย์


16 เมื่อได้พิจารณากันถึงธรรมชาติของความรักและความหมายของมันในมุมความเชื่อของพระคัมภีร์กนั แล้ว
ยังเหลืออีกสองประเด็นด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ของตัวเราเอง: เราสามารถที่จะรั กพระเจ้าทั้งๆที่ไม่ได้เห็ น
พระองค์หรื อ? และรักสามารถถูกบังคับด้วยหรื อ? มีคาถามที่ออกจะขัดแย้งถึงสองคาถามด้วยกันเกี่ยวกับบัญญัติที่
สั่งให้รักสองฝ่ ายนี้ ไม่เคยมีใครเห็นพระเจ้า ดังนั้นเราจะรักพระองค์ได้อย่างไร? ยิง่ กว่านั้นความรักบังคับกันไม่ได้
เป็ นความรู ้สึกลึกๆ ที่อาจเกิดขึ้นหรื อไม่อาจเกิดขึ้น และเราไม่สามารถที่จะทาใจให้รักได้ พระคัมภีร์ดูเหมือนจะ
ตอกย้าข้อแย้งข้อแรกเมื่ออ้างว่า “หากมีผใู ้ ดกล่าวว่า 'ข้าพเจ้ารักพระเจ้า' แต่จงเกลียดจงชังพี่นอ้ งของตน ผูน้ ้ นั ก็เป็ น
คนโกหก เพราะผูท้ ี่ไม่รักพี่น้องผูท้ ี่เขามองเห็ นได้ ก็จะไม่สามารถรั กพระเจ้าผูท้ ี่เขามองไม่เห็ น” (1 ยน 4:10) แต่
ข้อความนี้ กไ็ ม่ได้ตดั บทออกไปว่า การรักพระเจ้าเป็ นไปไม่ได้ ตรงกันข้าม ข้อความตอนนี้ ยกมาจากจดหมายของ
นักบุญยอห์นฉบับที่หนึ่ งซึ่ งแสดงว่า ความรักดังกล่าวเรี ยกร้องให้ตอ้ งมีอย่างเปิ ดเผยต่างหาก ความสัมพันธ์ที่ไม่
อาจแตกแยกระหว่างความรั กของพระเจ้ากับ ความรั กต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ถู ก นามาเน้นต่ างหาก ความรั กแบบหนึ่ ง
เชื่อมโยงกับความรักอีกแบบอย่างใกล้ชิดชนิดว่า การพูดว่าเรารักพระเจ้ากลายเป็ นการโกหก หากเราไม่สนใจเพื่อน
บ้านหรื อเกลียดชังเขา คาพูดของนักบุญยอห์นควรได้รับการแปลให้มีความหมายว่า การรักเพื่อนบ้านคือหนทางที่
นาไปสู่ การพบกับพระเจ้า และการปิ ดหูปิดตาต่อเพื่อนบ้านก็เป็ นเป็ นการทาให้เราตาบอดต่อพระเจ้าด้วย

17. เป็ นความจริ ง ไม่มีผใู ้ ดเคยเห็นพระอย่างที่พระองค์ทรงเป็ น แต่กใ็ ช่วา่ เราจะมองไม่เห็นพระเจ้าเอาเสี ยเลยก็


หาไม่ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีทางเข้าหาพระองค์ได้เลย จดหมายของนักบุญยอห์นที่อา้ งข้างบน (เทียบ (ยน 4:10) บอก
ว่า พระเจ้ารักเราก่อนและความรักของพระเจ้านี้ ก็ปรากฏอยูท่ ่ามกลางเรา เราเห็นพระองค์ได้ในรู ปแบบที่พระองค์
“ทรงส่ งพระบุตรแต่องค์เดี ยวของพระองค์ลงมาในโลกนี้ เพื่อเราจะได้มีชีวิตโดยอาศัยพระองค์” (1 ยน 4:9) พระเจ้า

ทรงทาให้พระองค์เป็ นที่ประจักษ์แก่สายตาเรา ในองค์พระเยซู เราสามารถที่จะเห็นพระบิดา (เทียบ ยน 14:9) เป็ น


ความจริ งที่เราเห็นพระเจ้าได้ในหลายวิธีดว้ ยกัน เกี่ยวกับเรื่ องราวความรักที่มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ พระเจ้าเสด็จมา
หาเรา พระองค์ทรงหาวิธีที่จะเอาชนะใจเรา ในการเลี้ยงอาหารมื้อค่า ในการที่หัวใจของพระองค์ถูกแทงด้วยปลาย
หอกบนไม้กางเขน ในการที่พระองค์ทรงประจักษ์มาหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับคืนชี พ และในการกระทาต่างๆ
อาศัยบรรดาอัครสาวก พระองค์ทรงชี้นาพระศาสนจักรใหม่ของพระองค์ให้เดินไปตามเส้นทาง และพระเจ้าก็มิได้
หายหน้าไปไหนเลยตลอดช่วงเวลาต่างๆ ของประวัติศาสตร์ พระองค์ทรงพบเราในรู ปแบบใหม่ๆ เสมอ ในบรรดา
มนุ ษ ย์ชายหญิ ง ผูซ้ ่ ึ งด าเนิ นชี วิต สะท้อ นให้เห็ นถึ งการประทับ อยู่ของพระองค์บนโลกนี้ ในศี ล ศักดิ์ สิ ท ธิ์ ต่ างๆ
11
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในศีลมหาสนิท เรามีประสบการณ์ความรักของพระเจ้าในจารี ตพิธีกรรม ในการสวดภาวนา และ
ในชุมชนผูม้ ีความเชื่ อของพระศาสนจักร เรารับรู ้ถึงการประทับอยูข่ องพระองค์ตลอดจนสานึ กถึงการประทับอยู่
ของพระองค์ในชีวิตประจาวันของพวกเรา พระองค์ทรงรักเราก่อน และพระองค์กย็ งั ทรงรักเราต่อไป เราสามารถที่
จะตอบสนองด้วยรักเช่นเดียวกัน พระเจ้าไม่ได้ทรงเรี ยกร้องอะไรจากเราในสิ่ งที่เราไม่สามารถทาได้ พระองค์ทรง
รักเรา พระองค์ทรงให้เราเห็ นและมีประสบการณ์ ถึงความรั กของพระองค์ และเนื่ องจากพระองค์ได้ทรง “รักเรา
ก่อน” รักจึงสามารถที่จะเจริ ญงอกงามขึ้นเพื่อเป็ นการตอบสนองรักในตัวเราได้
การสัมผัสกับความรักที่ค่อยๆ เจริ ญเติบโตทีละขั้นทีละตอนนี้ เป็ นการเผยให้เห็นชัดเจนว่า ความรักไม่ได้
เป็ นแค่ความรู ้ สึก ความรู ้ สึกนั้นผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความรู ้ สึกอาจเป็ นประกายจุ ดแรกที่ น่าพิศวง แต่ มนั ไม่ ใช่
ความรักที่สมบูรณ์ ก่อนหน้านี้ เราได้พดู ถึงกระบวนการชาระล้างให้บริ สุทธิ์และวุฒิภาวะที่ให้ eros กลายเป็ นความ
รักในความหมายที่สมบูรณ์แบบ มันคือคุณสมบัติของความรักที่มีวุฒิภาวะซึ่ งเรี ยกร้องให้มนุ ษย์นาเอาศักยภาพทุก
อย่างของตนออกมาใช้ อาจกล่าวได้ว่า มันครอบคลุมทุกอณู ของมนุ ษย์ให้ตอ้ งมีบทบาท การได้สัมผัสกับสิ่ งที่เรา
เห็ นได้ที่บ่งบอกถึงความรั กของพระเจ้า สามารถปลุกความรู ้ สึกชื่นชมยินดี ภายในตัวเราด้วยสานึ กที่ว่า เรากาลัง
ได้รับความรักจากพระเจ้า แต่การสัมผัสความรั กของพระเจ้านี้ หมายถึงอาเภอใจและสติ ปัญญาของเราด้วย การ
ยอมรับพระเจ้าผูท้ รงชีวิตคือหนทางหนึ่งสู่ ความรัก และการ “ยอมรับ” จากอาเภอใจของเราต่อพระประสงค์พระองค์
จะเป็ นตัวเชื่อมสติปัญญา อาเภอใจ และความรู ้สึกต่างๆ ของเราในการน้อมรับความรักของพระเจ้า แต่กระบวนการ
นี้เปิ ดทางเลือกกว้างเสมอ รักไม่มีวนั “จบสิ้ น” และสมบูรณ์ ชัว่ ชีวิตมันมีแต่เปลี่ยนไปและมีวุฒิภาวะมากขึ้น รวมถึง
มีความซื่ อสัตย์ต่อตัวของมันเอง Idem velle atque idem nolle - การต้องการอยู่แต่สิ่ งเดี ยวและปฏิ เสธอยู่แต่สิ่ ง
9

เดียว - เป็ นที่ ยอมรั บกันดี ในบริ บทแห่ งความรั กที่ แท้จริ งที่ เชื่ อกันมาแต่โบราณกาล ความรั กในสองมิติน้ ี มีความ
คล้ายกัน และนาไปสู่ ชุมชนที่มีความปรารถนาและความคิดเดียวกัน เรื่ องราวความรั กของพระเจ้ากับมนุ ษย์ต้ งั อยู่
บนพื้นฐานความจริ งที่ ว่า ความเป็ นหนึ่ งเดี ยวกันในความปรารถนานี้ จะเพิ่มทวีความเข้มข้นขึ้นประสานกันกับ
ความคิดและความรู ้สึก จนทาให้ความปรารถนาของเราและของพระเจ้าโน้มน้าวเข้าหากันเรื่ อยๆ ความปรารถนา
หรื อพระประสงค์ของพระเจ้าจึงมิใช่ของแปลกประหลาดอะไรสาหรับข้าพเจ้า มันเป็ นอะไรที่บงั คับมาจากภายนอก
ด้วยบทบัญญัติหรื อคาสั่ง แต่บดั นี้ มนั ได้กลายเป็ นความต้องการของข้าพเจ้าเอง โดยมีพ้ืนฐานมาจากความตระหนัก
ว่า แท้ที่จริ งแล้วพระเจ้าทรงประทับและปรารถนาดี ต่อข้าพเจ้ามากยิ่งกว่าข้าพเจ้ามีต่อตัวข้าพเจ้าเอง ดังนั้นการ
10

มอบตนเองแด่ พระเจ้าจะเพิ่มความรั กให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และพระเจ้าจะกลายเป็ นความชื่ นชมยินดี ของเรา


(เทียบ สดด 73 [72]:23-28)

18. ดังนั้นความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์จึงเป็ นสิ่ งที่เป็ นไปได้ในรู ปแบบที่พระคัมภีร์และพระเยซู ได้ทรงประกาศไว้


โดยมีพ้ืนฐานในความจริ งว่า ในพระเจ้าและพร้อมกันกับพระเจ้า ข้าพเจ้ารักแม้คนที่ขา้ พเจ้าไม่ชอบหรื อไม่เคยรู ้จกั
สิ่ งนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้มีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้า อันเป็ นการสัมผัสที่ก่อให้เกิดความปรารถนา
เดียวกันที่มีผลต่อความรู ้สึกด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมองคนอื่นไม่ใช่ดว้ ยสายตาหรื อความรู ้สึกของข้าพเจ้าเอง แต่ใน
มุมมองของพระเยซูคริ สตเจ้า มิตรของพระองค์คือมิตรของข้าพเจ้า เมื่อมองข้ามสิ่ งปรากฏภายนอก ข้าพเจ้าก็เห็น
ในตัวผูอ้ ื่นซึ่ งความปรารถนาภายในที่อยากแสดงออกถึงความรักและความห่ วงใย ข้าพเจ้าสามารถที่จะมอบสิ่ งนี้
ให้แก่พวกเขาไม่ ใช่ เพียงผ่านองค์กรที่ ต้ งั ขึ้นเพื่อจุ ดประสงค์น้ ี เท่ านั้น ด้วยการยอมรั บซึ่ งบางที ก็เกิดมาจากความ

12
จาเป็ นที่ถูกการเมืองบังคับ อาศัยการเห็ นด้วยสายตาของพระคริ สตเจ้า ข้าพเจ้าสามารถมอบอะไรๆ ให้มากไปยิ่ง
กว่าความต้องการที่ปรากฏออกให้เห็นภายนอกเสี ยอีก ข้าพเจ้าสามารถที่จะให้ความรักที่พวกเขาอยากได้ ณ ที่น้ ีเรา
จะเห็ นการคาบเกี่ยวกันระหว่างความรักของพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์ ซึ่ งจดหมายฉบับแรกของนักบุญ
ยอห์นกล่าวถึงซ้ าแล้วซ้ าอีก หากข้าพเจ้าไม่ได้มีการสัมผัสใดเลยกับพระเจ้าในชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะมองคน
อื่นเป็ นอะไรไปไม่ได้นอกจากเป็ นคนอื่น ซึ่ งจะไม่สามารถทาให้ขา้ พเจ้ามองเห็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าในตัวเขาได้
เลย แต่หากในชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่เคยสนใจผูอ้ ื่นเลย เพราะต้องการที่จะเป็ นคน “ศรัทธา” และ “ปฏิบตั ิหน้าที่
ทางศาสนา ” อยู่อ ย่างเดี ยว หากเป็ นเช่ นนั้น แล้วความสั มพัน ธ์ ของข้าพเจ้ากับ พระเจ้าก็จ ะแห้ งแล้งสิ้ น ดี มันคง
กลายเป็ นแค่ “ก็ดีอยู”่ แต่ไม่มีความรักเลย มีแต่ความพร้อมเสมอที่จะเข้าไปสัมผัสกับพี่นอ้ งเพื่อแสดงความรักต่อเขา
เท่านั้น ที่จะทาให้ขา้ พเจ้ามีความสัมพันธ์กบั พระเจ้าได้ อาศัยการรับใช้เพื่อนมนุ ษย์เท่านั้นที่ดวงตาของข้าพเจ้าจะ
เปิ ดออกเห็นสิ่ งที่พระเจ้าได้ทรงปฏิบตั ิต่อข้าพเจ้า และเห็ นว่าพระองค์ได้ทรงรักข้าพเจ้าสักปานใด บรรดานักบุญ
ต่างๆ เช่น บุญราศีเทเรซาแห่ งกัลกัตตา ล้วนพยายามในการรื้ อฟื้ นขีดความสามารถที่จะรั กเพื่อนมนุ ษย์ โดยอาศัย
การสัมผัสกับพระคริ สตเจ้าในศีลมหาสนิ ท และการสัมผัสนี้ เองที่ทาให้พวกเขาได้มาซึ่ งความลึกล้ าและความร้อน
รนในการรับใช้ผอู ้ ื่น ความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์จึงเป็ นสิ่ งที่จะแยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสอง
รวมเป็ นบัญญัติเดียวกัน แต่ท้ งั สองบัญญัติต่างก็ได้รับการถ่ายทอดชีวิตมากจากความรักของพระเป็ นเจ้าผูท้ รงรักเรา
ก่อน จึงไม่เป็ นปั ญหาอีกต่อไปในประเด็นของ “บัญญัติ” ที่บงั คับมาจากภายนอกและเรี ยกร้องสิ่ งที่เป็ นไปไม่ได้ แต่
เป็ นเรื่ องของประสบการณ์ในความรักที่เกิดขึ้นภายในอย่างอิสระเสรี เป็ นความรักที่โดยธรรมชาติของตัวมันเองแล้ว
จะต้องมีการแบ่งปั นให้แก่ผอู ้ ื่นด้วย รักเจริ ญงอกงามขึ้นโดยอาศัยความรัก รักเป็ นเรื่ องของ “พระเจ้า” เพราะมันมา
จากพระเจ้าและเชื่อมโยงเราให้เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกันกับพระเจ้า ซึ่ งอาศัยกระบวนการที่ทาให้เราเป็ นหนึ่งเดียวกับ
พระเจ้านี้ มันทาให้เราเลยข้ามการแตกแยก และทาให้เราเป็ นหนึ่ งเดียวกันจนกระทัง่ ในที่สุดแล้วพระเจ้าคือ “ทุกสิ่ ง
ในทุกคน” (1 คร 15:28)

ภาค 2
การปฏิบัติความรั กของพระศาสนจักร
ในฐานะที่เป็ น “ชุ มชนแห่ งความรัก”

กิจเมตตาธรรมของพระศาสนจักรในฐานะที่เป็ นการแสดงออกซึ่งความรั กแห่ งพระตรี เอกภาพ


19. นั ก บุ ญ เอากุ ส ตี โ นบัน ทึ ก ไว้ว่ า “หากท่ านเห็ น กิ จ เมตตาธรรม ท่ า นก็ เห็ น พระตรี เอกภาพ ” ในการ
11

ไตร่ ต รองข้างต้น เรามุ่ งประเด็ น หลัก ไปที่ พ ระเจ้าผูท้ ี่ ถู ก อาวุ ธ ทิ่ มแทง (เที ยบ ยน 19:37; อสค 12:10) ทราบถึ ง
แผนการของพระบิดา ผูท้ รงเพราะความรัก (เทียบ ยน 3:16) ได้ทรงส่ งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์มาบังเกิด
ในโลกเพื่อไถ่กูม้ นุ ษย์ อาศัยการสิ้ นพระชนม์บนไม้กางเขน ดังที่นักบุ ญยอห์นบอกเราว่า พระเยซู เจ้าทรง “มอบ
วิญญาณของพระองค์” (ยน 19:30) โดยหวังที่จะได้รับพระพรของพระจิตเจ้าที่พระองค์จะทรงก่อให้เกิดขึ้นหลังการ
กลับฟื้ นคืนชีพของพระองค์ (เทียบ ยน 20:22) ทั้งนี้ เพื่อให้สาเร็ จไปซึ่ งคาสัญญาแห่ ง “ลาธารแห่ งน้ าทรงชีวิต” ที่จะ
หลัง่ ไหลออกมาจากดวงใจของผูท้ ี่มีความเชื่อโดยอาศัยพระพรของพระจิตเจ้า (เทียบ ยน 7:38-39) อันที่จริ ง พระจิต

13
เจ้าคือพลังอานาจภายใน ที่ผนึ กดวงใจของพวกเขาให้เป็ นหนึ่ งเดียวกันกับดวงหทัยของพระคริ สตเจ้า แล้วผลักดัน
ให้พวกเขารักผูอ้ ื่นดังที่พระคริ สตเจ้าได้ทรงรักพวกเขา เมื่อพระองค์ทรงก้มลงล้างเท้าอัครสาวก (เทียบ ยน 13:1-13)
โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อพระองค์ทรงมอบชีวิตของพระองค์เองเพื่อเรา (เทียบ ยน 13:1, 15:13)
พระจิตเจ้ายังทรงเป็ นพลังที่เปลี่ยนดวงใจของชุ มชนคริ สตชนอีกด้วย เพื่อที่ชุมชนนั้นจะได้เป็ นประจักษ์
พยานต่อโลกในความรักของพระบิดา ผูท้ รงมีพระประสงค์ที่จะทาให้มนุ ษยชาติเป็ นครอบครัวเดียวกันในพระบุตร
ของพระองค์ กิจเมตตาธรรมทั้งปวงของพระศาสนจักรเป็ นการแสดงออกถึงความรักที่แสวงหาความดีส่วนรวมของ
มนุษย์ เป็ นการแสวงหาการประกาศพระวรสารของพระองค์โดยอาศัยพระวจนาถและศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็ นการกระทา
สุ ดยอดแห่ งวีรกรรมในวิธีที่ได้กระทาตลอดช่วงเวลาแห่ งประวัติศาสตร์ เป็ นการแสวงหาหนทางในการส่ งเสริ ม
มนุ ษย์ในบริ บทต่างๆ ของชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ของมนุ ษย์ เพราะฉะนั้น ความรักคือการรับใช้ที่พระศาสนจักร
ปฏิบตั ิไป เพื่อคอยดูแลเอาใจใส่ ความทุกข์ยากและความต้องการต่างๆ รวมถึงความต้องการฝ่ ายวัตถุดว้ ย และนี่ คือ
มุมมอง นี่คือ การรับใช้ดว้ ยความรัก ที่เราอยากจะเน้นในภาค 2 ของสมณสาส์น

เมตตากิจในฐานะที่เป็ นความรั บผิดชอบของพระศาสนจักร


20. ความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์อนั มีพ้ืนฐานมาจากความรักของพระเจ้านั้นก่อนใดหมด เป็ นความรับผิดชอบของ
สมาชิ กหรื อสัตบุ รุษแต่ละคน และมันก็เป็ นความรั บผิดชอบของชุ มชนพระศาสนจักรทั้งปวงในแต่ละระดับด้วย
จากชุมชนท้องถิ่น ชุมชนพระศาสนจักรใดพระศาสนจักรหนึ่ ง ตลอดไปจนถึงพระศาสนจักรสากล ในฐานะที่เป็ น
ชุมชน พระศาสนจักรจะต้องปฏิบตั ิความรัก ความรักจึงต้องมีการบริ หารจัดการ หากต้องการที่จะให้มีการบริ การ
ชุมชนอย่างเป็ นระเบียบ การตระหนักถึงความรับผิดชอบนี้เป็ นปั จจัยสาคัญยิง่ ที่มีอยูใ่ นพระศาสนจักรตั้งแต่แรกเริ่ ม
“บรรดาผูท ้ ี่มีความเชื่อก็อยูพ่ ร้อมกัน ณ ที่แห่ งเดี ยว และทรัพย์สิ่งของเขาเหล่านั้นก็นามารวมกันเป็ นของกลาง เขา
ได้ข ายที่ ดิ น และทรั พ ย์สิ่ ง ของมาแบ่ งให้ แ ก่ คนทั้งปวงตามที่ ทุ ก คนต้อ งการ ” (กจ 2:44-5) ในข้อ ความดังกล่ า ว
นักบุญลูกาได้ให้คาจากัดความแบบหนึ่งของพระศาสนจักร ซึ่ งปั จจัยโครงสร้างรวมถึงความสัตย์ซื่อต่อ “คาสั่งสอน
ของอัครสาวก” “ความเป็ นหนึ่ งเดียวกัน” (koinonia) “การหักปั ง” และ “การสวดภาวนา” (เทียบ กจ 2:42) ปั จจัยของ
ความเป็ นหนึ่ งเดียวกัน (koinonia) ในตอนแรกไม่มีการกาหนดขึ้นมา แต่ปรากฏอยูอ่ ย่างชัดเจนในคากล่าวที่นาอ้าง
มาข้างต้น ซึ่ งมีพ้ืนฐานในความจริ งที่ว่า ผูท้ ี่มีความเชื่ อถือว่า ทุกสิ่ งเป็ นของกลาง และในระหว่างพวกเขานั้นไม่มี
ความแตกต่างกันอีกต่อไประหว่างคนมีและคนจน (เทียบ กจ 4:32-37) ต่อมาเมื่อพระศาสนจักรแผ่ขยายเติบโตขึ้น
รู ปแบบดั้งเดิ มที่ ถือเอาวัตถุ เป็ นของกลางนั้นไม่อาจที่ จะดารงอยู่ต่อไปได้ แต่ความหมาย ใจความสาคัญยังคงอยู่
กล่าวคือ ภายในชุมชนของผูท้ ี่มีความเชื่อ จะต้องไม่มีที่ว่างสาหรับความยากจน จะต้องไม่มีการปฏิเสธสิ่ งจาเป็ นเพื่อ
การยังชีพที่สง่างามแก่ผใู ้ ดที่มีความต้องการ

21. ในหนังสื อกิจการอัครสาวก มีกล่าวถึงการตัดสิ นใจในการหาหลักการของพระศาสนจักรลงสู่ ภาคปฏิบตั ิ


ด้วยการแต่งตั้ง 7 คนให้ทาหน้าที่น้ ี ซึ่ งเป็ นจุดเริ่ มต้นหน้าที่ของสังฆานุ กร (เทียบ กจ 6:5-6) ในพระศาสนจักรสมัย
เริ่ มแรกเกิดมีปัญหาความไม่เท่าเทียมกันขึ้นในการแจกจ่ ายสิ่ งของ ให้กบั บรรดาแม่ม่ายที่พูดภาษาฮี บรู และภาษา
กรี ก อัครสาวกซึ่ งทาหน้าที่ส่วนใหญ่ในเรื่ องของการสวดภาวนา (ศีลมหาสนิ ทและพิธีกรรม) และพันธกิจแห่ งการ
ประกาศพระวาจา รู ้ สึกมี ภาระหนักเกินไปในการที่ตอ้ งคอยเลี้ยงดูคนยากไร้ดว้ ย พวกเขาจึงขอสงวนตัวเองไว้ทา
หน้าที่หลัก แล้วแต่งตั้ง 7 คนให้ทาหน้าที่อื่น ซึ่ งก็มีความจาเป็ นเช่นกันในพระศาสนจักร คนทั้งเจ็ดนั้นไม่ใช่จะทา
14
หน้าที่ ไปแบบเครื่ องจักรเท่านั้น พวกเขาจะต้องเป็ นคน “ที่เปี่ ยมด้วยพระจิ ตเจ้าและความเฉลียวฉลาด ” (เทียบ กจ.
6:1-6) พูดอีกอย่างหนึ่ งคือ งานรับใช้สังคมที่พวกเขามีหน้าที่ตอ ้ งทานั้นต้องเป็ นรู ปธรรมชัดเจน แต่ในขณะเดียวกัน
ต้องเป็ นการรั บใช้ที่มีมิติจิตวิญญาณอยู่ดว้ ย สานักงานนี้ จะต้องมีมิติจิตวิญญาณอยู่อย่างแท้จริ ง เพราะจะต้องทา
หน้าที่สาคัญยิง่ ของพระศาสนจักร นัน่ คือ ความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์ที่มีการบริ หารจัดการอย่างเป็ นระเบียบ อาศัยการ
จัด ตั้งกลุ่ ม “diaconia” 7 คนนี้ พันธกิ จเมตตาธรรมที่ ท ากัน เป็ นหมู่ คณะและมี ระเบี ยบได้ก ลายเป็ นส่ วนหนึ่ งใน
โครงสร้างพื้นฐานของพระศาสนจักร

22. พอหลายปี ผ่านไป พระศาสนจักรมี การขยายสนามเมตตาธรรมเพิ่ มขึ้นใหม่ พันธกิ จเมตตาธรรมจึ งถูก


สถาปนาขึ้นในฐานะเป็ นกิจกรรมที่มีความสาคัญยิ่ง ควบคู่กนั ไปกับการโปรดศีลศักดิ์ สิ ทธิ์ และการประกาศพระ
วาจา มีการให้ความช่ วยเหลือแก่เด็กกาพร้ า แม่ ม่าย ผูต้ อ้ งขัง คนเจ็บป่ วย ตลอดจนผูท้ ี่ตอ้ งการความช่ วยเหลื อ
ด้านต่างๆ สิ่ งเหล่านี้เป็ นเหมือนดังศีลศักดิ์สิทธิ์และการประกาศพระวรสาร พระศาสนจักรไม่อาจมองข้ามกิจเมตตา
เช่ นเดียวกับที่ไม่อาจละเลยต่อศีลศักดิ์ สิ ทธิ์ และพระวาจา ขอนาเอาตัวอย่างมาแสดงให้เห็ นพอเป็ นสังเขป ยุสติน
มรณสักขี (ค.ศ. 155) เมื่อพูดถึงการเฉลิมฉลองวันอาทิตย์ของคริ สตชน ท่านมักพูดถึงกิจเมตตาธรรมเสมอ ซึ่ งต้อง
นามาเชื่อมโยงกับศีลมหาสนิ ท ผูท้ ี่ร่วมในพิธีจะถวายตามฐานะของตน และแต่ละคนจะถวายอะไรนั้นก็สุดแท้แต่
ใจตน จากนั้น ท่ านสั งฆราชก็จ ะเอาของถวายเหล่ านั้น ไปช่ วยเด็ ก ก าพร้ า หญิ งม่ าย คนป่ วย และผูอ้ ื่ น ที่ มีความ
ต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ ง เช่นคนที่ถูกจองจาและคนต่างชาติ แตร์ ตูลเลียนนักเขียนคริ สตชนผูย้ งิ่ ใหญ่ (หลัง ค.ศ.
12

220) เล่าว่าพวกคนต่างศาสนาได้รับการประทับใจจากคริ สตชนอย่างไร เนื่ องจากคริ สตชนมีความห่ วงใยต่อความ

ต้องการทุกชนิดของผูอ้ ื่น และเมื่ออิกญาซี อุสแห่ งเมืองอันติโอ๊ค (ค.ศ. 117) บรรยายพระศาสนจักรแห่ งโรมว่าเป็ น


13

“เลิศในความรั ก (agape)” เราอาจเปรี ยบเทียบจากคาจากัดความนี้ ได้ว่า เขาตั้งใจที่จะแสดงออกถึงกิจเมตตาที่เป็ น


14

รู ปธรรมของพระศาสนจักร

23. อาจเป็ นประโยชน์ที่จะหวนกลับไปมองโครงสร้ างแรกๆของพระศาสนจักร ที่มีการเชื่อมโยงกันกับงาน


เมตตาธรรม ช่วงกลางศตวรรษที่ 4 เราเห็นการพัฒนาในประเทศอียปิ ต์ในรู ปแบบของ “diaconia” ซึ่ งเป็ นสถาบัน
ในอารามนักพรต ทาหน้าทุกอย่างที่ เกี่ยวกับงานบรรเทาสาธารณะ ซึ่ งอาจกล่าวได้ว่า เป็ นการให้บริ การความรั ก
ต่อมาพอถึงศตวรรษที่ 6 สถาบันนี้ ได้มีการพัฒนาต่อไปอีกเป็ นรู ปองค์กร ที่มีการจดทะเบียนเรี ยบร้อยตามกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ บ ้านเมื องต้องมอบข้าวจานวนหนึ่ งเพื่ อ นาไปแจกจ่ ายแก่ ราษฎรที่ ยากจน ในอี ยิปต์ไม่ เพี ยงแต่ อ าราม
นัก พรตเท่ านั้น แต่ ทุ ก สั งฆมณฑลล้ว นมี ส านัก “diaconia” ของตนเองทั้งสิ้ น สถาบันนี้ ขยายออกไปทั่ว ทั้ง ทิ ศ
ตะวันออกและตะวันตก พระสันตะปาปาเกรโกรี (ค.ศ. 604)) มีการกล่าวถึง diaconia แห่ งเมืองเนเปิ้ ล ส่ วนที่โรม
นั้นมีเอกสารบรรทึกเกี่ยวกับ diaconia นี้ ในศตวรรษที่ 7 และ 8 แต่งานเมตตาธรรมต่อคนยากจนและคนที่ได้รับ
ทุกข์ เป็ นงานสาคัญส่ วนหนึ่ งโดยธรรมชาติของพระศาสนจักรโรมมาตั้งแต่แรก ซึ่ งมีหลักการในการดาเนิ นชีวิต
ของคริ ส ตชน ดังที่ มีบ ัน ทึ ก ในกิ จ การอัครสาวก มี ห ลัก ฐานชัด เจน เช่ น กรณี ของอนุ ส งฆ์ล อเรนซ์ (ค.ศ. 258)
นักบุญอัมโบรซี โอ (ค.ศ. 397) ทราบดีเกี่ยวกับการเป็ นมรณสักขีของลอเรนซ์ บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยให้เราเห็น
ภาพแท้จริ งของมรณสักขี ลอเรนซ์ได้เป็ นอย่างดี ในฐานะเป็ นผูร้ ับผิดชอบดูแลเอาใจใส่ คนจนที่โรม หลังจากที่พระ
สันตะปาปาถูกจับพร้ มอกับเพื่อนอนุ สงฆ์อื่นๆ ลอเรนซ์ ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ ระยะหนึ่ งในการรวบรวม
ทรั พ ย์สินของพระศาสนจักรไปมอบแก่ จักรพรรดิ ท่ านมรณสักขีแจกจ่ ายเงิ นทองข้าวของที่ มีอยู่ท้ งั หมดแก่ คน
15
ยากจน จากนั้น ท่านก็นาเอาคนยากจนเองในฐานะที่พวกเขาเป็ นสมบัติของพระศาสนจักรไปมอบให้แก่จกั รพรรดิ
15
ไม่ ว่าประวัติศาสตร์ จะน่ าเชื่ อถื อได้มากน้อยแค่ไหน มรณสัก ขีลอเรนซ์ ยงั คงเป็ นความทรงจาที่ ดีอยู่เสมอใน
พระศาสนจักร ในฐานะที่เป็ นสัญลักษณ์แห่ งงานเมตตาธรรมของพระศาสนจักร

24. ตัวอย่างของจักรพรรดิ จูเลียโน (ค.ศ. 363) ผูล้ ะทิ้งความเชื่อพอจะเป็ นตัวอย่างแสดงให้เห็ นได้ว่า พระศา
สนจักรสมัยแรกๆ เล็งเห็นถึงความสาคัญของงานเมตตาธรรมที่จดั เป็ นองค์กรพร้อมทั้งมีการบริ หารจัดการที่ดีน้ นั มี
ความสาคัญอย่างไร ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ จูเลียโนอยูใ่ นเหตุการณ์ขณะที่บิดาพร้อมสมาชิกทุกคนในครอบครัวของเขา
ถูกฆ่าทั้งหมด ไม่ทราบผิดหรื อถูกที่เขาโยนความโหดร้ายนั้นไปที่จกั รพรรดิคอนแสตนซี อุส ซึ่ งในสายตาของคน
ทัว่ ไปถือว่าเป็ นคริ สตชนคนดีมีธรรมะ เมื่อได้ข้ ึนเป็ นจักรพรรดิ จูเลียโนตัดสิ นใจที่จะฟื้ นฟูการนับถือเทพเจ้าต่างๆ
ซึ่ งเป็ นศาสนาเก่ าของโรม พร้ อมทั้งทาการปฏิ รูป โดยหวังที่ จะให้ศาสนาใหม่ น้ ี เป็ นพลังแห่ งอาณาจัก รของตน
เกี่ยวกับประเด็นนี้ เขาได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากศาสนาคริ สต์ เขาสถาปนาฐานันดรสงฆ์เพื่อส่ งเสริ มความ
รักต่อเทพเจ้าและต่อเพื่อนมนุ ษย์ ในจดหมายฉบับหนึ่ ง เขาเขียนไว้ว่า จุดเดียวที่ศาสนาคริ สต์ประทับใจเขามาก
16

ที่สุดคืองานเมตตาธรรมของพระศาสนจักร เขาจึงถือว่าเป็ นสิ่ งจาเป็ นสาหรับลัทธิ ใหม่ของเขาที่จะต้องดาเนิ นไป


ตามระบบงานเมตตาธรรมของพระศาสนจักร นั่นคือ ต้องตั้งสถาบันเพื่องานเมตตาธรรมของตนเองขึ้นมา ตาม
ความคิดของเขา นี่ คือต้นเหตุ ที่ทาให้ชาว “กาลิ เลี ยน” มี ชื่อเสี ยงโด่ งดัง ต้องเอาแบบบ้างและต้องทาให้ดีกว่าเดิ ม
ด้วยกระบวนการนี้ เท่ากับจักรพรรดิได้ยนื ยันว่า งานเมตตาธรรมเป็ นลักษณะเด่นที่สุดของชุมชนคริ สตชน ซึ่ งได้แก่
พระศาสนจักรนัน่ เอง

25. จนกระทัง่ บัดนี้ มีความจริ งอยูส่ องประการด้วยกันที่ได้มาจากการไตร่ ตรองของเรา:


ก) ธรรมชาติล้ าลึกที่สุดของพระศาสนจักรแสดงออกมาในความรั บผิดชอบ 3 ประการด้วยกัน การประกาศ
พระวาจาของพระเจ้า ( kerygma-martyria) การเฉลิ มฉลองศี ลศักดิ์ สิ ท ธิ์ ( leitourgia) และการประกอบกิ จ
เมตตาธรรม (diakonia) หน้าที่ท้ งั สามอย่างนี้ เอื้อกันและกันและไม่อาจแยกจากกันได้ สาหรับพระศาสน
จักร งานเมตตาไม่ใช่งานสวัสดิการที่อาจปล่อยให้คนอื่นทาก็ได้ แต่งานนี้ เป็ นส่ วนหนึ่งแห่ งธรรมชาติของ
พระศาสนจักร เป็ นการแสดงออกที่ขาดเสี ยมิได้ซ่ ึ งการเป็ นพระศาสนจักรของตนเอง 17

ข) พระศาสนจักรคือครอบครัวของพระเจ้าในโลกนี้ ภายในครอบครั วนี้ ไม่ควรมีผใู ้ ดเดื อดร้ อนสิ่ งจาเป็ นใน


ชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน ความรัก หรื อ agape นี้ แผ่คลุมเลยเขตปกครองของพระศาสนจักร นิ ทานเรื่ อง
ชาว ซามาริ ตนั ผูใ้ จดียงั คงเป็ นมาตรฐานที่บงั คับให้มีความรักสากลต่อผูท้ ี่เดือดร้อนที่เราบังเอิญไปพบ
(เทียบ ลก 10:31) ไม่ว่าคนนั้นจะเป็ นใคร โดยไม่เฉไปจากบัญญัติแห่ งความรักสากล พระศาสนจักรยังมี
ความรับผิดชอบพิเศษภายในครอบครัวของพระศาสนจักรเอง นัน่ คือ ต้องไม่มีสมาชิกคนใดตกทุกข์ได้ยาก
จากความเดือดร้อนในสิ่ งจาเป็ นสาหรับชีวิต คาสอนในจดหมายถึงชาวกาลาเทียเน้นว่า “เหตุฉะนั้นเมื่อเรามี
โอกาส ให้เราทาดีต่อคนทั้งปวง และเฉพาะอย่างยิง่ ต่อครอบครัวที่มีความเชื่อ” (กท 6:10)

16
ความยุติธรรมและเมตตาธรรม
26. นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็ นต้นมา ได้มีการหยิบยกข้อกังขาขึ้นมาเกี่ยวกับกิจเมตตาธรรมของพระ ศาสน
จักร ซึ่ งต่อมามีการตอกย้ าอย่างเข้มข้นจากลัทธิ ของมาร์ กซ์โดยอ้างว่า คนจนไม่ตอ้ งการความเมตตาแต่ตอ้ งการ
ความยุติธรรมต่ างหาก งานเมตตาธรรมอย่างเช่ นการท าบุ ญให้ท าน ผลของมันก็คือเป็ นวิธีหนึ่ งที่ ท าให้คนรวย
สานึกถึงหน้าที่ให้ตอ้ งแสวงหาความยุติธรรม และอีกด้านหนึ่งก็เป็ นการผ่อนคลายมโนธรรมของตน เนื่องเพราะมัว
แต่ รักษาสถานภาพของตนแล้วไปละเมิ ดสิ ท ธิ ของคนจน แทนที่ จะมอบความช่ วยเหลื อผ่านทางงานต่ างๆ ของ
องค์กรมนุ ษยธรรมเพื่อที่จะรั กษาสถานภาพเดิ มของตน เราจาต้องสร้างระบบสังคมที่เป็ นธรรม ซึ่ งทาให้ทุกคน
ได้รับส่ วนแบ่งของตนจากสมบัติโลกโดยที่ไม่ตอ้ งไปพึ่งทานจากผูใ้ ด เราต้องรับว่ามีความจริ งอยูบ่ า้ งเหมือนกันใน
ข้อโต้แย้งของฝ่ ายตรงข้าม แต่ก็มีความเข้าใจผิดพลาดอยูม่ ากเช่นกัน เป็ นความจริ งว่าการดารงไว้ซ่ ึ งความยุติธรรม
ต้องเป็ นมาตรการพื้นฐานของรั ฐ และเป้ าหมายของระเบี ยบสังคมชอบธรรมต้องเป็ นหลักประกันให้ทุกคนตาม
หลักการของความเอื้ออาทร คือทุกคนควรมีส่วนในสมบัติของชุ มชน ประเด็นนี้ ถูกนามาตอกย้าเสมอโดยคาสอน
ของพระศาสนจักรที่เกี่ยวกับสังคมและเป็ นหน้าที่ของรัฐ ตามประวัติศาสตร์ ประเด็นที่เกี่ยวกับระเบียบสังคมชอบ
ธรรมในโลก เกิ ดมีมิติใหม่ พร้ อมกับการปรั บเปลี่ยนของสังคม ที่กลายเป็ นสังคมอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19
อุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายนั้น เป็ นเหตุให้โครงสร้างสังคมเก่าล่มสลาย ขณะเดียวกันชนชั้นกรรมาชีพ
กิ น เงิ น เดื อ นที่ เพิ่ ม ขึ้ น อย่า งรวดเร็ ว ก่ อ ให้ เกิ ด มี ก ารแปรเปลี่ ยนชนิ ด ถอนรากถอนโคนในกระบวนการสั งคม
ความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมกับแรงงานบัดนี้ได้กลายเป็ นประเด็นสะกิดใจทุกคน เป็ นประเด็นที่ไม่เคยมีใครเข้าใจ
มาก่อน ทุนและวิธีผลิตคือแหล่งของอานาจที่มีอยูใ่ นกามือของคนเพียงไม่กี่คนนั้น นาไปสู่ การกดขี่สิทธิของชนชั้น
กรรมาชีพจนเป็ นเหตุให้ชนชั้นกรรมาชีพต้องก่อการปฏิวตั ิ

27. ต้องยอมรับว่าผูน้ าของพระศาสนจักรเชื่องช้าในการรับรู ้ว่า จาเป็ นต้องใช้กระบวนการใหม่ในการจรรโลง


โครงสร้ างของสังคมเพื่อให้เกิดความเป็ นธรรม มีผรู ้ ิ เริ่ มบุกเบิกเกี่ยวกับประเด็นนี้ อยูเ่ หมือนกัน เช่นพระสังฆราช
Ketteler แห่ ง Mainz (ค.ศ. 1877) พร้ อมกับ งานที่ เป็ นรู ป ธรรมได้ถูก น ามาทดลองปฏิ บ ต ั ิ กนั มากมายโดยกลุ่ มชน
สมาคม สมาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ โดยคณะนักบวชที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ 19 โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อทา
สงครามกับความยากจน โรคภัยไข้เจ็บ และส่ งเสริ มการศึกษาให้ดีข้ ึน ในปี 1891 พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ได้
ออกสมณสาสน์ Rerum Novarum ต่ อมาในปี 1931 ปี โอที่ 11 ได้ออกสมณสาสน์ Quadragesimo Anno ปี 1961
บุญราศีพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 ออกสมณสาสน์ Mater et Magistra ต่อมาพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ออกสมณ
สาสน์อีกฉบับหนึ่ งชื่ อ Populorum Progressio (1967) และสมณลิขิต Octogesima Adveniens (1971) ที่กล่าวอย่าง
หนักแน่ นในเรื่ องของปั ญหาสังคม ซึ่ งในขณะนั้นเป็ นปั ญหารุ นแรงมากในแถบประเทศละตินอเมริ กา ส่ วนพระ
สั น ตะปาปายอห์ น ปอล ที่ 2 นั้ นออกสมณสาสน์ ติ ด ต่ อ กัน ถึ ง 3 ฉบับ ว่ า ด้ว ยเรื่ อ งของสั ง คม ได้แ ก่ Laborem
Exercens (1981) Sollicitudo Rei Socialis (1987) และ Centesimus Annus (1991) ค าสอนด้ า นสั ง คมคาทอลิ ก

ค่อยๆ มีการพัฒนาขึ้นเรื่ อยๆ ด้วยเหตุที่ตอ้ งเผชิญกับปั ญหาและสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่ งในขณะนี้ ได้มีการรวบรวมคา


สอนด้านสังคมของพระศาสนจักรไว้เป็ นเล่ม จัดพิมพ์โดยสมณสภาเพื่อความยุติธรรมและสันติในปี 2004 ลัทธิ
มาร์ กซ์คิดว่าการปฏิวตั ิเท่านั้นที่จะเป็ นหนทางแก้ปัญหาสังคม พวกเขาอ้างว่า การปฏิวตั ิและการรวมประชากรมา
ช่วยกันผลิตจะทาให้สิ่งต่างๆ ดี ข้ ึนได้อย่างทันตาเห็ น ภาพลวงตานี้ ได้อนั ตรธานไปหมดสิ้ นแล้ว ในสภาพการณ์

17
สลับซับซ้อนของทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เป็ นเพราะการเจริ ญเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจยุคโลกาภิ
วัตน์ คาสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคือคู่มือแนะนาขั้นพื้นฐานที่มีประสิ ทธิ ภาพมาก กระทัง่ เหนื อเขตแดน
ปกครองของพระศาสนจักรด้วยซ้ า โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนา คาแนะนาดังกล่าวจะต้องนามาใช้ใน
บริ บทแห่ งการเสวนากับทุกท่าน ที่มีความกังวลอย่างจริ งจังต่อมนุษยชาติและต่อโลกที่เราอาศัยอยู่

28. เพื่อที่ จะจากัดความได้อย่างถูกต้องถึ งความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมและพันธกิ จเมตตาธรรม เรา


จาต้องพิจารณากันถึงหลักสาคัญสองประการด้วยกัน
ก) การจัดระเบียบชอบธรรมของสังคมและของรัฐ เป็ นความรับผิดชอบหลักของการเมือง นักบุญเอากุสตีโน
ครั้งหนึ่ งกล่าวไว้ว่า รัฐใดที่ไม่มีการปกครองตามหลักความยุติธรรม รัฐนั้นก็จะเป็ นแค่คนที่เป็ นหัวขโมย
กลุ่ มหนึ่ ง “Remota itaque iustitia quid sunt regna nisi magna latrocinia?” พื้ น ฐานส าคัญ ของศาสนา
18

คาทอลิ กคือ อะไรเป็ นของซี ซ าร์ และอะไรเป็ นของพระเจ้า (เที ยบ มธ 22:21) หรื อ พูด อี ก แบบว่ า การ
แบ่งแยกให้ชดั เจนระหว่างพระศาสนจักรกับรัฐ หรื ออย่างที่สังคายนาวาติกนั ที่ 2 กล่าวว่า เป็ นอธิ ปไตย
ของฝ่ ายโลก รั ฐต้องไม่มาบีบบังคับศาสนา แต่จะต้องมีหลักประกันเสรี ภาพในการนับถือศาสนา และ
19

ความกลมเกลียวสมานฉันท์ระหว่าง ศาสนิ กชนของศาสนาต่างๆ ในส่ วนของพระศาสนจักร พระศาสน


จักรในฐานะที่เป็ นการแสดงออกทางสังคมถึงความเชื่ อแห่ งคริ สตชน จึ งมีเสรี ภาพและมี โครงสร้ างบน
พื้นฐานแห่ งความเชื่ อในฐานะที่เป็ นชุมชนซึ่ งรัฐต้องให้การยอมรับ สองซี กโลกนี้ แตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่ทาบเกี่ยวกันเสมอ

ความยุติธรรมต้องเป็ นทั้งเป้ าหมายและมาตรฐานภายในของการเมืองทุกอย่าง การเมืองเป็ นอะไรที่มากไป


กว่ากลไกที่คอยจัดระเบียบสาหรั บชี วิตสังคม ต้นกาเนิ ดและเป้ าหมายของมันต้องตั้งอยู่ในความยุติธรรม ซึ่ งโดย
ธรรมชาติของตัวมันเองคืออยูใ่ นคุณธรรมจริ ยธรรมนัน่ เอง สิ่ งที่รัฐมิอาจหลีกเลี่ยงคือการเผชิญกับคาถามที่ว่าจะทา
ให้เกิดความยุติธรรม ณ ที่น้ ี และบัดนี้ ได้อย่างไร แต่ประเด็นนี้ ช้ ียอ้ นกลับไปหาคาถามที่เป็ นแก่นแก้วลึกลงไปอีก:
อะไรคือความยุติธรรม? ปั ญหาอยูท่ ี่การมีเหตุมีผล แต่หากจะให้มีการใช้เหตุผลอย่างถูกต้องแล้ว เหตุผลต้องผ่าน
การชาระล้างให้บริ สุทธิ์ อยูเ่ สมอ เพราะว่าไม่มีวนั ที่มนั จะเป็ นอิสระโดยสิ้ นเชิงจากอันตรายที่เกิดจากความบอดมืด
บางอย่างในเชิงของจริ ยธรรมไม่ว่าจะเป็ นด้วยอานาจหรื อผลประโยชน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
การเมืองและความเชื่อจะบรรจบพบกัน ณ จุดนี้ ธรรมชาติพิเศษของความเชื่อคือ การที่ได้พบกับพระเจ้า
ผูท้ รงชีวิต เป็ นการพบที่เปิ ดประตูสู่ มิติใหม่ที่ขา้ มบริ บทแห่ งเหตุผล แต่ก็ยงั เป็ นพลังที่คอยชาระล้างให้เหตุผลเอง
ด้วย จากมุมมองของพระเจ้า ความเชื่ อทาให้เหตุผลเป็ นอิสระจากจุ ดบอดมืดของมัน จึ งช่ วยทาให้เหตุ ผลมีความ
สมบูรณ์ยงิ่ ขึ้นได้ดว้ ย ความเชื่อทาให้เหตุผลทางานได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพมากกว่าและทาให้สามารถมองเห็นสิ่ ง
ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น และนี่ คือจุดที่คาสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรมีบทบาท มันไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะ
ทาให้อานาจของพระศาสนจักรอยูเ่ หนื ออานาจรัฐ ยิง่ ไปกว่านั้น มันไม่ได้เป็ นความพยายามที่จะบังคับผูท้ ี่ไม่มีความ
เชื่อให้ตอ้ งเชื่อด้วยการคิดและใช้วิธีคิดของเราที่มีความเชื่อ จุดประสงค์ของมันเป็ นเพียงช่วยชาระเหตุผลให้สะอาด
หมดจด และเพื่อให้ได้ทราบและบรรลุถึงว่าอะไรคือความยุติธรรมเท่านั้นเอง
คาสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรดาเนิ นไปตามหลักของเหตุผลและกฎธรรมชาติ กล่าวคือ บนพื้นฐาน
ของสิ่ งที่สอดคล้องกันกับธรรมชาติของมนุ ษย์ทุกคน คาสอนนี้ ตระหนักดีว่า ไม่ใช่ความรับผิดชอบของพระศาสน
18
จักรที่ จะทาให้คาสอนนี้ อยู่เหนื อชี วิตการเมื อง ตรงกันข้าม พระศาสนจักรต้องการที่ จะสร้ างมโนธรรมในชี วิต
การเมืองและช่วยกระตุน้ ให้มองลึกๆ ถึงหลักการที่แท้จริ งของความยุติธรรม พร้ อมกับความตั้งใจจริ งที่จะปฏิบตั ิ
ตาม ถึงแม้ว่าการทาเช่นนี้ จะไปขัดผลประโยชน์ของใครบางคนก็ตาม การทาให้เกิดมีบา้ นเมืองและระเบียบสังคม
ชอบธรรม ซึ่ งทุกคนได้รับสิ่ งที่เป็ นสิ ทธิ ของเขา เป็ นหัวใจแห่ งปฏิบตั ิการที่มนุ ษย์ทุกยุคทุกสมัยจะต้องพยายามทา
ให้เกิดขึ้นร่ าไป ในฐานะที่สิ่งนี้ เป็ นพันธกิจการเมือง จึงไม่อาจเป็ นความรับผิดชอบของพระศาสนจักรได้ ถึงอย่าง
นั้นก็ตามที เนื่ องจากเป็ นความรับผิดชอบของมนุ ษย์ที่สาคัญที่สุด พระศาสนจักรโดยหน้าที่ อาศัยการชาระเหตุผล
ให้ ส ะอาดและอาศัยคาแนะน าด้านจริ ยธรรม จ าต้อ งมี ส่ วนในการสร้ างความเข้าใจพื้ นฐานที่ ถู ก ต้องของความ
ยุติธรรมซึ่งควรที่จะได้มาโดยอาศัยการเมือง
พระศาสนจักรไม่สามารถและต้องไม่ลงไปในสนามรบทางการเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่ งสังคมที่ยตุ ิธรรมที่สุด
เท่าที่จะยุติธรรมได้ พระศาสนจักรไม่สามารถและต้องไม่ไปมีบทบาทแทนรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน พระศาสนจักรก็
ไม่สามารถและต้องไม่ยืนดูอยูข่ า้ งทางในการต่อสู ้เพื่อความยุติธรรม พระศาสนจักรต้องเล่นบทบาทของตน โดย
อาศัยการโต้ดว้ ยเหตุ ผล ต้องปลุกพลังจิ ตให้เกิ ดขึ้น หากปราศจากสิ่ งนี้ แล้ว ความยุติธรรมซึ่ งเรี ยกร้ องให้มีการ
เสี ยสละเสมอนั้น จะไม่มีทางเอาชนะหรื อสาเร็ จได้เลย สังคมยุติธรรมต้องเป็ นความสาเร็ จของการเมือง ไม่ใช่ของ
พระศาสนจักร แต่การส่ งเสริ มความยุติธรรมโดยอาศัยความพยายามที่ช่วยให้เกิดความมีจิตใจกว้างที่ตอ้ งสอดคล้อง
กับความดีทวั่ ไปนั้น เป็ นสิ่ งที่พระศาสนจักรให้ความห่ วงใยเป็ นอย่างยิง่

ข) ความรัก - Caritas - เป็ นสิ่ งจาเป็ นเสมอ แม้ในสังคมที่มีความยุติธรรมมากที่สุด ไม่มีการจัดระเบียบของรัฐ


ใด ที่ยตุ ิธรรมจนถึงกับตัดความจาเป็ นการให้บริ การความรักออกไปได้ ใครที่ตอ้ งการตัดความรักออกไป
เท่ ากับเป็ นการกาจัดมนุ ษย์ออกไปด้วย จะมี ความทุ กข์ทรมานอยู่เสมอที่ เรี ยกร้ องขอความบรรเทาและ
ความช่วยเหลือ จะมีความโดดเดี่ยวอ้างว้างอยูไ่ ม่ขาดสาย จะมีสถานการณ์ที่ตอ้ งการสิ่ งจาเป็ นทางวัตถุ ซึ่ ง
ความช่วยเหลือในรู ปแบบของความรักต่อเพื่อนบ้านที่เป็ นรู ปธรรมจะขาดเสี ยมิได้ รัฐใดที่พยายามจัดหา
20

ให้ทุกอย่าง รวบรัดทุกอย่างไว้ทาเองหมด ในที่สุดแล้ว จะเป็ นเพียงระบบที่ไม่สามารถให้หลักประกันสิ่ ง


นั้น เองที่ คนก าลังทนทุ ก ข์–ทุ ก คนมี ทุ ก ข์ มี ความต้อ งการ นั่น คื อ ความรั ก ความห่ ว งใยส่ ว นตัว เราไม่
ต้องการรัฐที่จดั ระเบียบและควบคุมทุกสิ่ งทุกอย่าง แต่ตอ้ งการรัฐที่ใช้หลักเอื้ออาทร ยอมรับด้วยใจกว้าง
และให้การสนับสนุ นความคิดริ เริ่ มที่ เกิดจากพลังสังคมต่ างๆ จากนั้นก็รวมพลังเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน
โดยให้ความเอาใจใส่ เป็ นพิเศษแก่คนยากจน พระศาสนจักรคือพลังหนึ่งแห่ งพลังทรงชีวิตเหล่านั้น พระศา
สนจักรมี ชีวิตด้วยความรั ก ที่ พระจิ ตแห่ งพระคริ สตเจ้าทรงจุ ดประกายขึ้น ความรั กนี้ ไม่ ได้เพี ยงแต่ให้
ความช่ ว ยเหลื อ คนในด้า นวัต ถุ เท่ า นั้ น แต่ มี ก ารดู แ ลเอาใจใส่ จิ ต วิ ญ ญาณของเขาด้ว ย ซึ่ งเป็ นสิ่ ง ที่ มี
ความสาคัญมากไปกว่าความช่วยเหลือด้านวัตถุเสี ยอีก สุ ดท้าย คาวิพากษ์ที่ว่าโครงสร้างสังคมที่ยตุ ิธรรม
จะทาให้งานเมตตาธรรมกลายเป็ นสิ่ งฟุ่ มเฟื อยไม่มีความจาเป็ นนั้น แท้จริ งแล้วเป็ นการใส่ หน้ากากมนุ ษย์
ให้เหลื อเป็ นเพียงวัตถุ เป็ นความคิดผิดๆ ที่คิดว่ามนุ ษย์ “สามารถมีชีวิตโดยอาศัยปั งอย่างเดี ยว” (มธ 4:4;
เทียบ ฉธบ 8:3) เป็ นความเชื่อที่ดูถูกมนุ ษย์และในที่สุด ไม่ได้ให้ความสาคัญอะไรเลยต่อทุกสิ่ งที่เป็ นของ
มนุษย์โดยจาเพาะ

19
29. บัดนี้ เราสามารถแยกแยะได้ชดั เจนขึ้น ในชี วิตของพระศาสนจักร ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ในการจัด
ระเบี ยบยุติธรรมของรั ฐ และสังคมในมิ ติหนึ่ ง และการจัดตั้งองค์กรเมตตาธรรมอีกมิติหนึ่ ง เราเห็ นแล้วว่า การ
สร้างโครงสร้างชอบธรรมไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของพระศาสนจักร แต่เป็ นเรื่ องของโลกการเมือง เป็ นเรื่ องของการ
ใช้เหตุผลที่ถูกต้อง ณ จุดนี้ พระศาสนจักรมีหน้าที่ทางอ้อม คือได้รับการเรี ยกร้องให้มีส่วนชาระเหตุผลให้บริ สุทธิ์
และปลุ กพลังธรรมเหล่ านั้นให้ตื่นขึ้นมา หากปราศจากซึ่ งพลังธรรมดังกล่ าวโครงสร้ างที่ ชอบธรรมจะไม่ มีวนั
เกิดขึ้นได้ หรื อหากเกิดขึ้นก็ไม่มีประสิ ทธิภาพในระยะยาว
ในอีกมุมมองหนึ่ ง หน้าที่โดยตรงในการจัดระเบียบสังคมที่ชอบธรรมนั้น เป็ นหน้าที่จาเพาะของฆราวาส
ในฐานะที่ เป็ นพลเมื องของรั ฐ เขาถูกเรี ยกร้ องให้ตอ้ งมี ส่วนในชี วิตส่ วนรวมในฐานะที่ เป็ นบุ คคล ดังนั้นเขาจะ
ทอดทิ้ งไม่ ได้เลยต่ อการมี ส่วนร่ วม “ในสนามต่ างๆ ไม่ ว่าจะเป็ นเศรษฐกิ จ สังคม กฎหมาย การปกครอง และ
วัฒนธรรม ซึ่ งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ลว้ นมีจุดประสงค์ที่จะส่ งเสริ มความดีส่วนรวมทั้งสิ้ น” ดังนั้นพันธกิจของ
21

ฆราวาสจึงต้องช่วยกันดูแลชีวิตสังคมให้ดาเนิ นไปโดยราบรื่ น มีการเคารพอานาจที่ชอบธรรมและให้ความร่ วมมือ


กับราษฎรอื่นๆ ตามความสันทัดแห่ งตน ตลอดจนทาหน้าที่ในส่ วนที่ตนรับผิดชอบให้สมบูรณ์ แม้ว่างานเมตตา 22

ธรรมของพระศาสนจักรจะนาไปปะปนกับกิจกรรมของรัฐไม่ได้ แต่ก็ยงั คงเป็ นความจริ งว่า ความรักต้องเป็ นแรง


บันดาลใจชีวิตทั้งชีวิตของฆราวาสเช่นเดียวกันกับกิจกรรมทางการเมือง ซึ่ งความรักนี้ ถูกหล่อหลอมให้เป็ น “ความ
รักต่อสังคม” 23

องค์กรมนุ ษยธรรมต่างๆ ของพระศาสนจักรในแง่ หนึ่ งเป็ นงานที่พระศาสนจักรรั บรอง “opus proprium”


ซึ่ งพระศาสนจักรไม่ได้ให้ความร่ วมมือแบบทวิภาคี แต่ทาหน้าที่ไปด้วยการรับผิดชอบโดยตรงเอง พระศาสนจักร
จะไม่มีวนั ได้รับการยกเว้นให้ไม่ตอ้ งปฏิบตั ิเมตตากิจในฐานะที่พระศาสนจักรเป็ นองค์กรของผูท้ ี่มีความเชื่ อ และ
ในอีกแง่ หนึ่ ง จะไม่มีสภาพการณ์ ใดที่เมตตากิ จของคริ สตชนแต่ ละคนเป็ นสิ่ งไม่ จาเป็ น เพราะนอกเหนื อไปจาก
ความยุติธรรมแล้ว มนุษย์มีความต้องการและจะมีความต้องการความรักเสมอ

โครงสร้ างหลากหลายของงานเมตตาธรรมในบริ บทสังคมปัจจุบัน


30. ก่อนที่จะกล่าวถึงกิจกรรมของพระศาสนจักรในการรับใช้มนุ ษย์ เราขอพูดถึงสภาพการณ์ทวั่ ไปในการดิ้น
รนต่อสู ้ เพื่อความยุติธรรมและความรักในโลกทุกวันนี้เสี ยก่อน
ก) ทุ ก วัน นี้ ความทัน สมัยของสื่ อ ท าให้ โลกของเราเล็ก ลง ความห่ างไกลระหว่างวัฒ นธรรมและผูค้ นถู ก
ย่อส่ วนลงไปอย่างเหลือเชื่อ “การรู ้เทียบทันกัน” นี้ บางครั้งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความตึงเครี ยดขึ้น
ได้เหมือนกัน แต่การที่เราสามารถทราบได้เกือบทันทีเกี่ยวกับความต้องการของผูอ้ ื่นนั้น ก็ทา้ ทายเราให้
ต้องรับรู ้และแบ่งปั นช่วยเหลือความทุกข์ยากเหล่านั้นด้วยเช่นกัน ถึงแม้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจะมี
ความก้าวหน้ามาก ในแต่ละวันเราจะเห็นความทุกข์ยากเป็ นอันมากในโลกเกี่ยวกับความยากจนในรู ปแบบ
ต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็ นเรื่ องความยากจนด้านวัตถุ หรื อด้านจิ ตใจ ยุคนี้ เรี ยกร้ องให้เราพร้ อมอยู่เสมอที่ จะให้
ความช่วยเหลือเพื่อนมนุ ษย์ที่กาลังเผชิญกับความทุกข์ยาก สังคายนาวาติกนั ที่ 2 ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่ องนี้ ไว้
ชัดเจนมากว่า “บัดนี้ เนื่ องจากเรามีสื่อที่รวดเร็ ว ระยะทางระหว่างมนุ ษย์เกือบไม่ตอ้ งพูดถึงกัน งานเมตตา
ธรรมจึงควรครอบคลุมมนุษย์ทุกคนและความต้องการทุกอย่างของพวกเขา” 24

20
ในอีกมุมมองหนึ่ ง ตรงจุดนี้ เราเห็นการท้าทายใหม่ที่มีผลเชิงบวกของกระบวนการโลกาภิวตั น์ กล่าวคือ
เราสามารถที่จะใช้หนทางมากมายในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่บรรดาพี่นอ้ งของเราที่เดือดร้อน เป็ น
ต้นระบบสมัยใหม่ในการแจกอาหาร เครื่ องนุ่ งห่ ม ที่อยูอ่ าศัย และการดูแลเอาใจใส่ อื่นๆ อีกมากมาย ความห่ วงใย
ต่อเพื่อนมนุ ษย์อยู่เหนื อเครื อข่ายชุ มชนระดับชาติ ซึ่ งยิ่งวันยิง่ จะต้องขยายขอบข่ายไปสู่ มนุ ษย์ท้ งั โลก สังคายนา
วาติกนั ที่ 2 ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างถูกต้องว่า “ท่ามกลางเครื่ องหมายต่างๆ แห่ งกาลเวลาในยุคนี้ สิ่ งที่ควรได้รับความ
สนใจเป็ นพิ เศษคื อ ความรู ้ สึ ก แห่ งการเอื้ อ อาทรระหว่ างมนุ ษ ย์ที่ ก าลัง เพิ่ มมากขึ้ น ” หน่ ว ยงานภาครั ฐ และ
25

ภาคเอกชนต่างพยายามช่วยกันผลักดันสนับสนุ นสิ่ งนี้ ภาครัฐส่ วนใหญ่จะเป็ นการให้ความช่วยเหลือทางอ้อมหรื อ


การยกเว้นภาษี ส่ วนภาคเอกชนนั้นช่ วยกันระดมทรั พยากรต่ างๆ ที่ มีอยู่ ความเอื้ ออาทรจากสังคมพลเรื อนนั้น
มากกว่าส่ วนที่มาจากปั จเจกชนมาก

ข) สภาพการณ์ น้ ี ก่ อ ก าเนิ ด และการพัฒ นาเจริ ญ เติ บ โตของความร่ วมมื อ ในรู ป แบบต่ างๆ ระหว่างรั ฐและ
หน่ วยงานต่างๆ ของพระศาสนจักร ซึ่ งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดผลดีท้ งั สิ้ น หน่ วยงานต่างๆ ของพระศาสน
จัก รที่ ป ฏิ บ ัติ ง านด้ว ยความโปร่ ง ใสและสั ต ย์ซื่ อ ต่ อ การเป็ นประจัก ษ์พ ยานของความรั ก สามารถเป็ น
บทเรี ยนให้แก่องค์กรพลเรื อนต่างๆ ได้ดว้ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การส่ งเสริ มให้มีการประสานงานกัน ซึ่ ง
ยังผลให้เกิดประสิ ทธิ ภาพในงานกุศล มีการตั้งองค์กรมากมายที่มีจุดประสงค์ประกอบกิจเมตตาธรรม
26

และองค์กรเหล่านี้ ลว้ นมีปณิ ธานที่จะช่วยกันแก้ปัญหาสังคมและปั ญหาการเมืองที่มีอยูม่ ากมายในทุกวันนี้


และที่ ตอ้ งเอ่ยเป็ นพิเศษก็คือ ในยุคนี้ เราเห็ นการเติบโตและการแพร่ หลายของอาสาสมัคร ที่รับผิดชอบ
ให้บริ การในรู ปแบบต่างๆ มากมาย เราต้องขอขอบคุณและแสดงความชื่นชมต่อพวกเขาเหล่านั้นไว้ ณ
27

ที่น้ ี ที่มีส่วนร่ วมไม่ว่าจะเป็ นกิจกรรมชนิ ดใด สาหรั บคนหนุ่ มสาว การมี ส่วนร่ วมแบบกว้างขวางนี้ คือ
สถานที่ อบรมส าหรั บ ชี วิ ต ที่ ส อนพวกเขาถึ งการเอื้ อ อาทรและความพร้ อ มในการช่ วยเหลื อ ผูอ้ ื่ น ไม่
เพี ยงแต่ ช่วยในด้านวัต ถุ เท่ านั้น แต่ ด้วยชี วิต ของพวกเขาเอง วัฒ นธรรมแห่ งความตายที่ แสดงออกมา
ดัง เช่ น ในการใช้ยาเสพติ ด จะได้รั บ การต่ อ ต้า นด้ว ยความรั ก ที่ ไ ม่ เห็ น แก่ ต ัว ซึ่ งแสดงออกมาในรู ป
วัฒนธรรมแห่ งชีวิตด้วยการพร้อมที่จะ “สละชีวิต” (เทียบ ลก 17:33) เพื่อผูอ้ ื่น

ในพระศาสนจักรคาทอลิ ก เฉกเช่ นในพระศาสนจักรอื่ นๆ และในชุ มชนแห่ งพระศาสนจักร มี รูปแบบ


เมตตาธรรมเกิดขึ้นมาใหม่ ในขณะที่เมตตากิจอื่นๆ ที่เป็ นรู ปแบบเก่า ได้มีการปรับให้มีชีวิตและพลังใหม่ ในการ
ปรับที่เป็ นรู ปแบบใหม่น้ ี เป็ นไปได้ที่จะเชื่อมโยงการประกาศพระวรสารกับงานเมตตาธรรมเข้าไว้ดว้ ยกัน ณ จุดนี้
เราใคร่ ยืนยันคาสอนของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์ น ปอล ที่ 2 ที่ มีอยูใ่ นสมณสาสน์ Sollicitudo Rei Socialis 28

เมื่อพระองค์ทรงบอกถึงความพร้อมของพระศาสนจักรคาทอลิก ที่จะร่ วมมือกับหน่ วยงานกุศลของศาสนจักรและ


ชุมชนต่างๆ เพราะว่าพวกเราต่างมีปณิ ธานพื้นฐานเดียวกันที่จะบรรลุถึงเป้ าหมายเดียวกัน นัน่ คือ “มนุ ษยธรรมที่
แท้จริ ง” ที่ยอมรับว่า มนุ ษย์ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า และเราต้องการที่จะช่วยมนุษย์ให้ดาเนินชีวิตที่
สอดคล้อ งกัน กับ ศัก ดิ์ ศรี น้ ี สมณสาสน์ Ut Unum Sint ของพระองค์เน้ น ว่ า การจะสร้ า งโลกให้ น่ า อยู่ข้ ึ น นั้ น
เรี ยกร้ อ งคริ ส ตชนให้ ร่ว มใจเป็ นหนึ่ ง เดี ยวกัน ในการสร้ าง “ความเคารพต่ อ สิ ท ธิ แ ละความต้อ งการของทุ ก คน
โดยเฉพาะอย่างยิง่ คนจน คนที่ต่าต้อย และคนที่ไม่มีทางปกป้ องตนเอง” เราขอแสดงความพอใจไว้ ณ ที่น้ ีว่า การ
29

ขอร้องนี้ได้รับการสนองตอบด้วยความริ เริ่ มมากมายทัว่ โลก


21
ความแตกต่ างในกิจเมตตาธรรมของพระศาสนจักร
31. องค์กรหลากหลายที่เกิดขึ้นมากมายและดาเนิ นการที่จะตอบสนองความต้องการต่างๆ ของมนุ ษย์น้ นั หาก
จะพู ด กัน ให้ ลึ ก ๆ แล้ว ล้ว นเนื่ อ งมาจากบัญ ญัติ ให้ รั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ที่ พ ระผูส้ ร้ างจารึ ก ไว้ในธรรมชาติ ม นุ ษ ย์
นอกนั้น ก็ยงั เป็ นผลของพระศาสนจัก รที่ ป รากฏมี ต ัว ตนอยู่ในโลกนี้ ด้ว ย เพราะว่า พระศาสนจัก รมี ก ารรื้ อ ฟื้ น
กิจกรรมนี้ บ่อยๆ สื บเนื่ องจากบัญญัติน้ นั ซึ่ งบัญญัติน้ ี ถูกบิดเบือนและเจื อจางไปเป็ นอันมากในช่ วงแห่ งกาลเวลา
การปฏิรูปของศาสนาเท็จเทียมที่นาโดยจักรพรรดิจูเลี่ยนเป็ นเพียงตัวอย่างแรกๆ แห่ งผลร้ ายนี้ ณ ที่น้ ี เราจะเห็ นว่า
พลังแห่ งคริ สตศาสนาได้แผ่กว้างเลยเขตแบ่งความเชื่ อคริ สตชน ด้วยเหตุน้ ี จึ งเป็ นสิ่ งสาคัญมากที่กิจเมตตาธรรม
ของพระศาสนจักรจะต้องรักษาไว้ ซึ่ งความสง่างามและจะต้องไม่ปล่อยให้มนั กลายเป็ นเพียงงานสังคมสงเคราะห์
รู ปแบบหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น อะไรเล่าที่เป็ นปั จจัยสาคัญแห่ งกิจเมตตาของคริ สตชนและของพระศาสนจักร?

ก) หากจะเอาแบบนิ ทานเรื่ องชาวซามาริ ตนั ผูใ้ จดี เมตตากิจของคริ สตชน ก่อนอื่นเป็ นการตอบสนองทันทีต่อ
ความต้องการในเหตุ การณ์ พิเศษต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็ นการให้ขา้ วให้น้ าแก่ผทู ้ ี่ กาลังหิ วโหย ให้เสื้ อผ้าแก่ผูท้ ี่
เปลือยเปล่า เอาใจใส่ ดูแลรักษาคนป่ วย เยีย่ มเยียนผูท้ ี่ถูกจองจา ฯลฯ องค์กรเมตตากิจของพระศาสนจักร
เริ่ มจาก Caritas (ระดับสังฆมณฑล ระดับชาติ และระดับสากล) ควรที่จะทาทุกอย่างเท่าที่จะสามารถทาได้
ในการจัดหาทรั พยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุ คลากรอันจาเป็ นสาหรั บงานนี้ ปั จเจกชนที่ ทาหน้าที่ ดูแลผู ้
เดือดร้อน ต้องมีความรอบรู ้เชี่ยวชาญและมีความเป็ นมืออาชีพ ต้องได้รับการอบรมเป็ นอย่างดีในสิ่ งที่ตอ้ ง
ทาและจะทาอย่างไร และที่สาคัญ ต้องมีความตั้งใจที่จะทางานต่อไปอย่างต่อเนื่ อง แต่ถึงแม้ความเป็ นมือ
อาชี พจะเป็ นคุณสมบัติประการแรกและเป็ นเรื่ องพื้นฐาน ในตัวมันเองนั้นยังไม่เป็ นการเพียงพอ เรากาลัง
พูดกันถึ งคน คนมี ความต้องการอะไรที่ มากไปกว่าการเอาใจใส่ ดูแลด้านเทคนิ ค เขาต้องการความเป็ น
มนุ ษย์ เขาต้องการความห่ วงใยที่ออกมาจากใจ ผูท้ ี่ทางานในองค์กรมนุ ษยธรรมของพระศาสนจักรต้องมี
ความแตกต่างในมิติที่ว่า พวกเขาไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการในชัว่ ครู่ น้ นั เท่านั้น แต่พวกเขามอบ
ตนเองแก่ผอู ้ ื่นด้วยความห่ วงใยอย่างจริ งใจ จนทาให้พวกเขาสัมผัสได้กบั ความร่ ารวยแห่ งความเป็ นมนุ ษย์
ผลที่ ต ามมาก็คื อ นอกเหนื อ ไปจากการฝึ กฝนให้ มี ความเป็ นมื อ อาชี พ แล้ว ผูท้ างานสงเคราะห์ เหล่ า นี้
จาเป็ นต้องได้รับ “การอบรมจิ ตใจ” ด้วย พวกเขาต้องได้รับการอบรมให้ได้สัมผัสกับพระเจ้าในองค์พระ
คริ สตเจ้า ผูท้ ี่จะทรงเป็ นผูป้ ลุกความรักของเขาให้ตื่นขึ้นและทรงเปิ ดดวงใจพวกเขาสู่ ผอู ้ ื่น ผลที่ตามมาคือ
ความรั กต่อเพื่อนมนุ ษย์จะไม่เป็ นบัญญัติที่นามาบังคับพวกเขาอีกต่อไป แต่กลายเป็ นผลพวงที่ได้มาจาก
ความเชื่อของพวกเขา ความเชื่อที่อยูเ่ ฉยไม่ได้เนื่องเพราะความรัก (เทียบ กท 5:6)
ข) เมตตากิจของคริ สตชนต้องเป็ นอิสระไม่ข้ ึนกับพรรคการเมืองหรื ออุดมการณ์อื่น มันไม่ใช่ เครื่ องมือที่จะ
นามาเปลี่ยนโลกโดยอาศัยอุดมการณ์ และก็ไม่ใช่ มีไว้รับใช้กุศโลบายฝ่ ายโลก แต่เป็ นวิธีที่จะทาให้ความ
รักที่มนุ ษย์ตอ้ งการเกิดขึ้น ณ ที่น้ ีและบัดนี้ มนุษย์ยคุ สมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากศตวรรษที่ 19 เป็ นต้น
มา ถูกครอบงาโดยปรัชญาต่างๆ ในเรื่ องของการพัฒนา ที่รุนแรงที่สุดคือลัทธิ มาร์ กซ์ มาร์ กซ์เสนอทฤษฎี
ความยากจนว่า ในสภาพการณ์ของอานาจที่ไม่เป็ นธรรม ใครก็ตามที่ทางานเมตตากิจคือผูท้ ี่รับใช้ระบบที่
ไม่ชอบธรรมนั่นเอง เพราะเป็ นการทาให้เห็ นว่าความไม่ยุติธรรมนั้นพอทนได้ การกระทาเช่ นนี้ เป็ นการ
ชะลอศักยภาพในการปฏิวตั ิ ซึ่ งเท่ากับเป็ นการสกัดกั้นการต่อสู ้เพื่อโลกที่ดีกว่าเดิ ม เมื่อคิดกันเช่นนี้ แล้ว

22
กิจเมตตาจึงถูกปฏิเสธและถูกโจมตีว่าเป็ นวิธีธารงไว้ซ่ ึ งสถานภาพเดิม (status quo) สิ่ งที่อา้ งมานี้ แท้จริ ง
แล้วไม่ใช่ปรัชญามนุ ษย์ มนุ ษย์ปัจจุบนั ถูกทาให้เป็ นเครื่ องบูชาแก่พระเท็จเทียมแห่ งอนาคต อนาคตที่หา
ความเป็ นจริ งไม่ได้ การปฏิเสธที่จะปฏิบตั ิในสิ่ งที่มนุ ษย์ควรปฏิบตั ิ ณ ที่น้ ี และเดี๋ยวนี้ ไม่มีมนุ ษย์คนไหน
ทาให้โลกดีข้ ึนกว่าเดิมได้ เราทาให้โลกดีข้ ึนได้ก็โดยอาศัยการทาดีดว้ ยตัวของเราเอง ณ บัดนี้ ด้วยสานึ ก
ในหน้าที่ และในทุกครั้งที่เรามีโอกาส และทาโดยเป็ นอิสระจากกลยุทธใดๆ ที่มีสิ่งอื่นแอบแฝง เราต้อง
ปฏิบตั ิโครงการของคริ สตชน โครงการของชาวซามาริ ตนั ผูใ้ จดี โครงการของพระเยซู ซึ่ งล้วนแล้วแต่เป็ น
เหมือน “ดวงใจที่ เห็ น” ดวงใจนี้ จะเห็ นว่าที่ ไหนต้องการความรั ก และก็ปฏิบตั ิ ไปตามนั้น อันที่จริ ง เมื่ อ
พระศาสนจักรกระทาเมตตากิจในฐานะที่เป็ นผลงานของชุมชน ทุกคนต้องพร้อมที่จะร่ วมมือกันในการ
วางแผน และประสานกับองค์กรอื่นๆ ที่ทางานประเภทเดียวกัน

ค) ยิ่งไปกว่านั้น ความรั กต้องไม่ นาไปใช้เป็ นเครื่ องมื อสาหรั บสิ่ งที่ สมัยนี้ เรี ยกว่า “เปลี่ ยนศาสนา” รั กเป็ น
อิสระ จะต้องไม่ใช้ความรักเป็ นวิธีการที่จะได้มาซึ่ งเป้ าประสงค์อื่น แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า เมตตากิจ
30

ต้องไม่มีพระเจ้าหรื อพระคริ สตเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความรักนั้นเกี่ยวข้องกับมนุ ษย์ท้ งั ครบ บ่อยครั้ง


สาเหตุล้ าลึกที่สุดของความทุกข์ทรมานคือการขาดพระเจ้า ผูท้ ี่ทางานเมตตากิจในพระศาสนจักรจะต้องไม่
บังคับผูอ้ ื่นให้มารับความเชื่อของพระศาสนจักร พวกเขาต้องตระหนักว่า ความรักที่บริ สุทธิ์ และมีใจกว้าง
คือ ประจักษ์พ ยานที่ ดีที่ สุดต่ อพระเจ้าที่ เราเชื่ อ และเพราะพระองค์เราจึ งถู กผลักดันให้ตอ้ งมี ความรั ก
คริ สตชนย่อมทราบดีว่าเมื่อใดที่ควรจะพูดถึงพระเจ้า และเมื่อใดควรเงียบดี กว่าแล้วปล่อยให้ความรั กพูด
เอง เขาทราบว่า พระเจ้าคือความรัก (เทียบ 1 ยน 4:8) และจะสัมผัสกับการประทับอยู่ของพระได้ ณ เวลา
นั้นเอง เมื่อสิ่ งที่เราทาแต่สิ่งเดียวคือรัก เขาทราบดีว่า การไม่สนใจในความรักคือการไม่สนใจพระเจ้าและ
เพื่อนมนุษย์ เป็ นความพยายามที่จะทาอะไรโดยไม่มีพระเจ้า ดังนั้น การปกป้ องพระนามพระเจ้าและมนุษย์
ที่ดีที่สุดอยูท่ ี่ความรัก เป็ นหน้าที่ของหน่ วยงานเมตตาธรรมต่างๆ ของพระศาสนจักร ที่จะต้องสร้างความ
ตระหนักแก่บรรดาสมาชิกในเรื่ องนี้ ให้มาก เพื่อที่พวกเขาจะได้ปฏิบตั ิภารกิจ ทั้งในการพูด ในความเงียบ
และในตัวอย่าง พวกเขาจะได้เป็ นประจักษ์พยานที่มีความน่าเชื่อถือต่อพระคริ สตเจ้า

23
ผู้ที่มีหน้ าที่รับผิดชอบต่ องานเมตตาธรรมของพระศาสนจักร
32. ในที่สุด เราต้องหันกลับไปให้ความสนใจกันอีกครั้งหนี่งต่อผูท้ ี่ทาหน้าที่ปฏิบตั ิงานเมตตาธรรมของพระศา
สนจักร เราได้ไตร่ ตรองไปแล้ว่า ผูป้ ฏิบตั ิงานเมตตาธรรมต่างๆ ของพระศาสนจักร แท้จริ งก็คือ พระศาสนจักรเอง
ในทุกระดับนั้น ไม่ว่าจะเป็ นระดับวัด ระดับพระศาสนจักรแห่ งใดแห่ งหนึ่ ง หรื อแม้แต่ระดับพระศาสนจักรสากล
ด้วยเหตุน้ ี จึงเป็ นการเหมาะสมที่สุดที่สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ทรงสถาปนาสมณสภา Cor Unum ขึ้นให้
เป็ นหน่ วยงานของสันตะสานัก รั บผิดชอบในการปฐมนิ เทศและประสานงานกับหน่ วยงานต่ างๆ ผูท้ างานด้าน
เมตตาธรรม ที่ได้รับการสนับสนุ นจากพระศาสนจักรคาทอลิก เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างส่ วนกลางของสัน
ตะสานัก พระสังฆราชในฐานะที่ เป็ นผูส้ ื บตาแหน่ งจากอัครสาวก มีความรั บผิดชอบเบื้ องต้นในการปฏิ บตั ิ ตาม
โครงการต่ างๆ ของพระศาสนจักรท้องถิ่นดังที่มีกล่าวไว้ในหนังสื อกิ จการของอัครสาวก (เที ยบ กจ 2:42-44) ณ
วัน นี้ เฉกเช่ น กับ ในอดี ต พระศาสนจัก รในฐานะที่ เป็ นครอบครั ว ของพระเจ้า ต้อ งเป็ นสถานที่ ที่ คอยให้ ความ
ช่วยเหลือและได้รับความช่วยเหลือ และในขณะเดี ยวกันยังเป็ นสถานที่ที่ผคู ้ นพร้ อมที่จะรับใช้ ผูท้ ี่อยูน่ อกกรอบ
พระศาสนจักรที่ตอ้ งการความช่ วยเหลือ ในพิธีบวชพระสังฆราชก่อนการอภิเษก ผูส้ มัครต้องตอบหลายคาถามที่
เป็ นประเด็นสาคัญๆ ในหน้าที่ รวมถึงอธิ บายถึงหน้าที่ ต่างๆ แห่ งพันธกิจในอนาคตด้วย พระสังฆราชให้สัญญา
อย่างเปิ ดเผยว่า ในพระนามของพระคริ สตเจ้า ท่านจะให้การต้อนรับและมีใจเมตตาต่อคนยากคนจนและต่อทุกคนที่
ต้องการความบรรเทาและความช่ วยเหลื อ กฎหมายพระ ศาสนจักรในบทที่ เกี่ยวกับพันธกิจของพระสังฆราช
31

ไม่ ได้มี ก ารพู ด ถึ ง ความรั ก ไว้เป็ นบทต่ า งหากในภารกิ จ ของพระสั ง ฆราช แต่ ก ล่ า วด้ว ยค าพู ด ทั่ว ไปถึ ง ความ
รับผิดชอบของพระสังฆราชให้ประสานงานต่างๆ ของการแพร่ ธรรม โดยคานึ งถึงลักษณะจาเพาะของแต่ละงาน 32

แต่เมื่อไม่นานมานี้ คู่มือพันธกิจในการอภิบาลของพระสังฆราชได้มีการกล่าวไว้อย่างเจาะจงและชัดเจน เกี่ยวกับ


หน้าที่ ในเรื่ องของความรั กว่า เป็ นความรั บ ผิดชอบของพระศาสนจักรทั้งมวลและของพระสั งฆราชแต่ ละองค์
ในสังฆมณฑลของตน อีกทั้งได้มีการเน้นว่า การปฏิบตั ิความรักเป็ นงานของพระ ศาสนจักรโดยตรง เช่นเดียวกับ
33

พันธกิจแห่ งการประกาศพระวาจาและการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ มันเป็ นส่ วนที่มีความสาคัญส่ วนหนึ่ งในพันธกิจของ


พระศาสนจักรมาตั้งแต่แรกเริ่ มเดิมที 34

33. เกี่ยวกับบุ คลากรที่ จะทาหน้าที่ ปฏิ บตั ิเมตตากิ จของพระศาสนจักรในระดับที่ เป็ นรู ปธรรมนั้น ได้มีการ
กล่าวกันไปแล้วถึงประเด็นสาคัญของมัน กล่าวคือ พวกเขาจะต้องไม่ได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์ต่างๆ ที่มุ่ง
ไปในการพัฒนาโลกให้ดีข้ ึนเท่านั้น หากแต่จะต้องถูกนาโดยความเชื่อซึ่ งทางานโดยอาศัยความรัก (เทียบ กท 5:6)
ความสานึ กที่ว่า ในพระคริ สตเจ้า พระเจ้าได้ทรงมอบตนเองเพื่อเรา แม้กระทัง่ สิ้ นพระชนม์บนไม้กางเขน ต้องเป็ น
แรงบันดาลใจให้เรามี ชีวิตไม่ ใช่ เพื่อตัวเราเอง แต่ เพื่อพระองค์และพร้ อมกันกับพระองค์เพื่อผูอ้ ื่ น ใครที่ รักพระ
คริ สตเจ้าก็รักพระศาสนจักรด้วย พร้อมทั้งปรารถนาที่จะให้พระศาสนจักรเป็ นภาพลักษณ์และเครื่ องมือแห่ งความ
รักที่ไหลหลัง่ มาจากพระคริ สตเจ้า บุคลากรของหน่ วยงานคาทอลิกเมตตาธรรมทุกหน่วย จึงต้องทางานกับพระศา
สนจักรและกับพระสังฆราช เพื่อความรักของพระเจ้าจะได้สามารถแผ่กระจายไปทัว่ โลก โดยอาศัยการมีส่วนร่ วม
ในการปฏิบตั ิความรักของพระศาสนจักร พวกเขาปรารถนาที่จะเป็ นประจักษ์พยานของพระเจ้าและของพระคริ สต
เจ้า และด้วยเหตุน้ ี พวกเขาก็ปรารถนาที่จะทาดีแก่ทุกคนโดยอิสระเสรี ไม่ตอ้ งมีใครมาบังคับ

24
34. การเปิ ดใจกว้างภายในต่อมิติน้ ี ของพระศาสนจักร มีแต่จะช่ วยผูท้ ี่ทางานด้านเมตตาธรรมให้ทางานอย่าง
กลมเกลียวสมานฉันท์กบั องค์กรต่างๆ ในการรับใช้ความต้องการที่มาในรู ปแบบต่างๆ แต่ในแง่หนึ่ งต้องให้ความ
เคารพสิ่ งที่ เป็ นลักษณะจาเพาะเกี่ ยวกับ การรั บ ใช้ ซึ่ งพระคริ ส ตเจ้าทรงเรี ยกร้ องจากสานุ ศิษ ย์ของพระองค์ ใน
ข้อความเกี่ ยวกับ ความรั ก (เที ยบ 1 คร 13) นักบุ ญเปาโลสอนเราว่า เป็ นอะไรที่ มากไปกว่ากิ จกรรมล้วนๆ “หาก
ข้าพเจ้ามอบทุ กสิ่ งที่ ขา้ พเจ้ามี ให้แก่ผูอ้ ื่น ถ้าข้าพเจ้ายอมให้เอากายของข้าฯ ไปเผาไฟ แต่ถา้ ข้าพเจ้าไม่มีความรั ก
ข้าพเจ้าก็ไม่ได้อะไรเลย” (วรรค 3) ข้อความตอนนี้ ตอ้ งเป็ นแม่บทแห่ งการรับใช้ทุกชนิ ดของพระศาสนจักร สรุ ป
การไตร่ ตรองทุกอย่างเกี่ยวกับความรักที่เราได้ให้ไว้ตลอดสมณสาสน์ฉบับนี้ งานทุกอย่างจะขาดความสมบูรณ์เสมอ
นอกจากว่าเป็ นการแสดงออกอย่างเห็นได้ชดั เจนว่า เป็ นความรักต่อเพื่อนมนุ ษย์ เป็ นความรักที่ได้รับการหล่อเลี้ยง
จากการที่ได้สัมผัสกับพระคริ สตเจ้า การนาเอาตัวเองไปมีส่วนร่ วมอย่างลึกซึ้ งต่อความต้องการและความทุกข์ของ
ผูอ้ ื่น กลายเป็ นการแบ่งปั นชี วิตตัวเองแก่พวกเขา หากของขวัญของข้าพเจ้ามิได้บ่งว่า มาจากความสุ ภาพถ่อมตน
แล้ว ข้าพเจ้าต้องมอบให้ผอู ้ ื่นมิใช่แต่เพียงบางสิ่ งที่เป็ นของข้าพเจ้าเท่านั้น แต่มอบตัวข้าพเจ้าเองพร้อมกับของขวัญ
นั้นด้วย

35. การรับใช้ผอู ้ ื่นอย่างถูกต้องนี้ จะนาเราไปสู่ ความสุ ภาพด้วย ผูท้ ี่รับใช้จะต้องไม่คิดว่าตนเหนื อกว่าคนที่ตน


รับใช้ ถึงแม้ว่าสถานภาพของผูน้ ้ นั จะน่ าสมเพชเพียงใดก็ตามในขณะนั้น พระคริ สตเจ้าทรงเสด็จมารับตาแหน่งที่ต่า
ต้อยที่สุด
ในโลก นั่นคือ ไม้กางเขน และอาศัยความสุ ภาพนี่ เอง ที่ พระองค์ทรงไถ่กูเ้ ราและเสด็จมาช่ วยเราอยู่เสมอ ผูท้ ี่ มี
ความสามารถช่ วยเหลื อผูอ้ ื่ นได้จะทราบดี ว่า ในการช่ วยผูอ้ ื่นนั้นพวกเขาเองจะได้รับความช่ วยเหลือด้วย การที่
สามารถช่วยเหลือผูอ้ ื่นได้น้ นั ไม่ใช่เป็ นเพราะกุศลบุญหรื อความสาเร็ จอะไรในตัวของมันเองเลย หน้าที่น้ ี เป็ นพระ
หรรษทาน ยิง่ เราจะให้ผอู ้ ื่นมากเท่าใด เรายิง่ จะเข้าใจและสามารถที่จะชื่นชมพระวาจาของพระคริ สตเจ้าที่กล่าวว่า
“เราเป็ นผูร้ ั บใช้ที่ไร้ ค่า” (ลก 17:10) เราตระหนักดี ว่า เราไม่ได้กระทากิ จเมตตาเพราะความเหนื อกว่าผูอ้ ื่ นหรื อมี
ความเก่งกาจส่ วนตัว แต่เป็ นเพราะว่าพระเจ้าได้ทรงโปรดให้เราสามารถทาเช่นนั้น จะมีบางครั้งที่ภาระและความ
ต้องการเมื่อเทียบกับความจากัดของเราเอง อาจทาให้เราเกิดท้อแท้ได้ แต่ในบัดดลนั้นนัน่ เองเราจะได้รับบทเรี ยน
ว่า ในที่สุดแล้ว เราเป็ นเพียง
เครื่ องมือในพระหัตถ์ของพระเจ้า การเรี ยนรู ้น้ ี จะช่ วยเราให้หลุดพ้นจากความคิดว่า เราแต่ลาพังที่ตอ้ งรับผิดชอบ
เป็ นการส่ วนตัวในการสร้างโลกให้น่าอยูข่ ้ ึน เราจะพยายามทาทุกสิ่ งที่เราสามารถด้วยใจสุ ภาพ และในความสุ ภาพ
เช่นกัน ที่เราจะมอบทุกสิ่ งทุกอย่างไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ พระเจ้าทรงเป็ นผูป้ กครองโลก ไม่ใช่เรา เรามอบ
การรั บใช้แด่ พระองค์เท่าที่กาลังของเราจะสามารถทาได้ และตราบเท่าที่พระองค์จะประทานพละกาลังให้ แต่ว่า
การทาทุกสิ่ งที่เราสามารถด้วยพละกาลังทุกอย่างที่เรามี เป็ นภารกิจที่ทาให้ผรู ้ ับใช้ที่ดีของพระเยซูคริ สตเจ้าจะต้อง
สาละวนอยูเ่ สมอ” (2 คร 5:14)

36. เมื่อเราพิจารณากันถึงความต้องการต่ างๆ มากมายมหาศาลของผูอ้ ื่น ในแง่ หนึ่ งเราอาจถูกกดดันให้เกิ ด


อุดมการณ์ ต้ งั เป้ าหมาย ที่ จะทางานเกี่ ยวกับประเด็นการปกครองโลกของพระเจ้า ซึ่ งคงยากที่ จะทาได้ กล่าวคือ
แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปทุกเปราะ หรื อเราอาจถูกประจญให้ยอมแพ้ เพราะดูเหมือนว่าเรา ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาใด
ได้เลย ในเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ที่มีชีวิตกับพระคริ สตเจ้าเป็ นเรื่ องจาเป็ น หากเราอยากที่จะเดินไปในหนทางที่
25
ถูกต้อ ง โดยไม่ ตกเป็ นเหยื่อแห่ งความเห่ อเหิ มในการประณามเพื่อ นมนุ ษย์ด้วยกัน ซึ่ งเป็ นสิ่ งที่ นอกจากจะไม่
สร้างสรรค์แล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลในทางลบด้วย หรื อมิฉะนั้น ก็อาจทาให้เราอยากยกธงขาว ซึ่ งเท่ากับเป็ นการปิ ด
กั้นตัวเราไม่ให้รับการชักนาจากความรักในการรับใช้ผอู ้ ื่น การสวดภาวนาในฐานะที่เป็ นเพียงเครื่ องมือที่จะต้องเติม
เต็มพลังใหม่ จากพระคริ สตเจ้านั้น เป็ นสิ่ งที่ มีความจาเป็ นอย่างยิ่ง ซึ่ งจะต้องรี บจัดการโดยทันที ผูท้ ี่ สวดภาวนา
ไม่ได้ ก็สูญเสี ยเวลาไปเปล่าๆ ถึงแม้ว่าสถานการณ์บางอย่างอาจรุ นแรงและเรี ยกร้องให้ตอ้ งรี บทางานโดยมิรอช้า
ความศรัทธามิได้เป็ นอุปสรรคต่อการดิ้นรนต่อสู ้เพื่อขจัดความยากจนของเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะถึงขั้นรุ นแรงเพียงใดก็
ตาม อาศัยตัวอย่างของบุญราศีเทเรซาแห่ งกัลกัตตา ความจริ งปรากฏให้เห็นชัดเจนว่า เวลาที่อุทิศแด่พระในการสวด
ภาวนานั้น ไม่ได้ทาให้เราหันเหไปจากการรับใช้เพื่อนบ้านอย่างทุ่มเทและอย่างมีประสิ ทธิภาพเท่านั้น แต่ยงั เป็ นต้น
กาเนิ ดแห่ งการรับใช้ที่ไม่รู้จกั เหน็ดเหนื่ อยด้วย ในจดหมายเทศกาลมหาพรตปี 1996 บุญราศีเทเรซาเขียนถึงเพื่อน
ร่ วมงานของเธอว่า “เราต้องการความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ งกับพระเจ้าในชีวิตประจาวันของเรา เราจะได้รับสิ่ งนี้ ได้
อย่างไร? อาศัยการสวดภาวนา”

37. ถึงเวลาแล้วที่จะต้องประกาศยืนยันถึงความสาคัญของการสวดภาวนา ในขณะที่ ตอ้ งเผชิ ญอยูก่ บั กิจการ


งานและความโน้มน้าวไปทางกระแสโลกของบรรดาคริ สตชนจานวนมาก ที่ปฏิบตั ิพนั ธกิจเกี่ยวกับงานเมตตาธรรม
เป็ นสิ่ งชัดเจนว่า คริ สตชนที่สวดภาวนาจะไม่อวดอ้างว่า ตนสามารถเปลี่ยนแผนการของพระเจ้าได้หรื อแก้ไขสิ่ งที่
ตนเห็นล่วงหน้าได้ ตรงกันข้าม เขาจะหันไปสัมผัสกับพระบิดาของพระเยซูคริ สตเจ้า วิงวอนพระองค์ให้เสด็จมา
ประทับอยูพ่ ร้อมกับความบรรเทาของพระจิตเจ้าสาหรับเขาและต่อการงานของเขา การมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับ
พระเจ้าและการปล่อยวางทุกสิ่ งไว้ในพระประสงค์ของพระองค์ สามารถช่ วยมนุ ษย์มิให้ตกต่าลง และช่วยเขาให้
รอดพ้นจากการกลายเป็ นเหยือ่ คาสอนแห่ งความบ้าคลัง่ และการก่อการร้ายได้ ทัศนคติทางศาสนาที่ถูกต้องจะช่วย
มนุ ษย์ไม่ให้ไปพิพากษาพระเจ้า ไม่ให้กล่าวหาพระองค์ที่ปล่อยให้มีความยากจน และที่พระองค์ไม่มีความเห็ นอก
เห็นใจต่อสิ่ งสร้างของพระองค์ เมื่อคนเราหาเรื่ องกับพระเจ้าเพื่อปกป้ องมนุ ษย์ เขาจะหันหน้าไปหาใครเมื่อกิจการ
ของมนุษย์เกิดความล้มเหลว?

38. แน่ นอนว่า มหาบุรุษโยบอาจบ่นกับพระเจ้าได้ถึงความทุกข์ทรมานมากมายในโลกที่แสนสาหัส และดู


เหมือนจะหาเหตุผลมาอธิ บายไม่ได้ ในความเจ็บปวดทรมานท่านร้องออกมาว่า “โอ้ ข้าฯ รู ้ว่าข้าฯ จะพบพระองค์ได้
ที่ไหน ข้าฯ รู ้ว่าข้าฯ อาจได้ไปยังพระบัลลังก์ของพระองค์... ข้าจะเรี ยนรู ้ว่าพระองค์จะทรงตอบข้าฯ ว่าอย่างไร จะ
เข้าใจว่าพระองค์จะทรงมีพระดารัสกับข้าฯ ว่าอย่างไร ในความยิง่ ใหญ่แห่ งพลานุ ภาพของพระองค์ พระองค์จะทรง
พอพระทัยในตัวข้าฯ ไหม?... เหตุฉะนี้ ข้าฯ จึงรู ้ สึกตระหนก เมื่อต้องอยูต่ ่อหน้าพระพักตร์ ของพระองค์ เมื่อข้าฯ
ไตร่ ตรองดูแล้ว ข้าฯ รู ้สึกยาเกรงพระองค์ พระเจ้าได้ทรงทาให้หัวใจของข้าฯ อ่อนเปลี้ย พระผูท้ รงฤทธานุ ภาพทา
ให้ขา้ ฯ ตกใจกลัว” (23:3, 5-6, 15-16) บ่อยครั้งเราไม่อาจเข้าใจว่าเหตุใดพระเจ้าจึงไม่ยอมเข้ามาแก้ไข แต่พระองค์
ก็ไม่ทรงห้ามเราไม่ให้ร้องออกมา เช่นพระเยซูที่ร้องบนไม้กางเขนว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า เหตุใดพระองค์จึง
ทรงทอดทิ้งข้าพเจ้า?” (มธ 27:46) เราควรตั้งคาถามนี้ ในการสนทนากับพระองค์ ด้วยการสวดภาวนาต่อหน้าพระ
พักตร์ พระองค์ว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระผูศ้ กั ดิ์สิทธิ์ และองค์แห่ งความจริ ง ความทุกข์ทรมานนี้ จะนานอีกสักแค่ไหน?”
(วว 6:10) เป็ นนัก บุ ญ เอากุ สตี โนเองที่ ให้คาตอบแก่ เราในเรื่ องของความทุ กข์ท รมานว่า “หากท่ านเข้าใจพระองค์

พระองค์ก็ไม่ใช่พระเจ้า” - Si comprehendis, non est Deus” การประท้วงของเราไม่ได้ต้ งั ใจที่จะท้าทายพระเจ้า


35

26
หรื อหมายความว่า ในพระเจ้านั้น เกิดมีความผิดพลาด ความอ่อนแอ หรื อการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ก็หาไม่ สาหรับ
ผูท้ ี่มีความเชื่อ เป็ นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าพระเจ้าสิ้ นแล้วซึ่ งพลานุภาพ หรื อคิดว่า “บางทีพระองค์ทรงนอนหลับ” (เทียบ
1 พกษ 18:27) ทว่า การร้ องของเรา เฉกเช่ นพระเยซู บนไม้กางเขน คือวิธีที่ดีที่สุดและลึกล้ าสุ ดในการยืนยันความ

เชื่ อของเราในพลานุ ภาพอันยิ่งใหญ่ หาที่ สุดมิ ได้ของพระองค์ แม้ในความพิศวงและยากที่ จะเข้าใจโลกรอบตัว


คริ สตชนก็ยงั มีความเชื่อใน “ความดีและความรักเมตตาของ
พระเจ้า” (ทต 3:4) ถึงแม้จะจมดิ่งอยูใ่ นความยุง่ เหยิงซับซ้อนของประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกันกับผูอ้ ื่น คริ สตชนยังมี
ความมัน่ ใจเหนี ยวแน่ นว่า พระเจ้าคือพระบิดาของเราและทรงรักเรา ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจว่าทาไมพระองค์ถึงเงียบ
เฉยอยูก่ ต็ าม

39. ความเชื่ อ ความไว้ใจ และความรั กต้องดาเนิ นไปพร้ อมกัน เราปฏิบตั ิความไว้ใจโดยอาศัยฤทธิ์ กุศลแห่ ง
ความเพียรทน ซึ่ งจะก่อให้เกิดผลดีเสมอ แม้ท่ามกลางสิ่ งที่ดูเหมือนจะล้มเหลว และอาศัยฤทธิ์ กุศลแห่ งความสุ ภาพ
ถ่อมตน ซึ่ งยอมรับรหัสธรรมเร้นลับของพระเจ้าและวางใจในพระองค์ แม้ยามที่อยูใ่ นความมืดมิด ความเชื่อสอน
เราว่า พระเจ้าทรงมอบพระบุ ตรของพระองค์เพราะเห็ นแก่เรา และทรงมอบความแน่ นอนว่าเราจะได้รับชัยชนะ
พระเจ้าคือความรัก! ซึ่ งจะเปลี่ยนความอดทนและความสงสัยของเราให้กลายเป็ นความหวังว่า พระเจ้าทรงถือโลก
ไว้ในอุง้ พระหัตถ์ของพระองค์ และอย่างที่ตอนท้ายของหนังสื อวิวรณ์บนั ทึกไว้ว่า ถึงแม้จะมีความมืดมนรอบทิศ
สุ ดท้ายแล้วพระองค์จะทรงมีชยั ในพระสิ ริรุ่งโรจน์ ความเชื่ อที่มองเห็ นความรักของพระเจ้าที่ทรงเผยออกในดวง
หทัยของพระเยซูที่ถูกทิ่มแทงบนไม้กางเขนนั้นจะทาให้เกิดความรัก ความรักคือแสงสว่าง และในที่สุด แสงสว่าง
เดี ยวนี้ ที่ คอยส่ งความสว่างมายังโลกที่ กาลังมื ดมัวลง และที่ คอยให้ความกล้าหาญอันจาเป็ นแก่ เรา ที่ ท าให้เรา
สามารถดาเนิ นชี วิตต่ อไปและทางานต่ อไป ความรั กนั้นเกิดขึ้นได้ และเราสามารถปฏิ บตั ิ มนั ได้ เพราะว่าเราถูก
สร้างขึ้นมาตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า นี่คือคาเชื้อเชิญที่เราปรารถนามอบให้ทุกคนในสมณสาส์นฉบับนี้ ขอให้ทุก
คนแสวงหาประสบการณ์ความรักกับพระเจ้า และอาศัยวิธีน้ ีขอให้นาความสว่างของพระเจ้าเข้ามาสู่ โลกของเราด้วย

สรุ ป

40. สุ ดท้าย ขอให้เรามาพิจารณาบรรดานักบุญร่ วมกัน นักบุญที่เป็ นแบบฉบับในการปฏิบตั ิเมตตากิจ ความคิด


แรกของเราแล่นไปที่ นักบุ ญมาร์ ติน แห่ งตูร์ (ค.ศ. 397) ท่ านเป็ นทหาร เป็ นฤๅษี แล้วเป็ นพระสังฆราช ท่านเป็ น
ประดุ จอนุ สรณ์ ที่แสดงให้เห็ นถึงคุณค่าอันจะหาใดมาทดแทนไม่ ได้ ในการเป็ นประจักษ์พยานส่ วนตัวเรื่ องของ
ความรัก ณ ประตูเมืองเอเมียน มาร์ ตินได้มอบเสื้ อคลุมครึ่ งตัวของท่านแก่คนจน คืนนั้นเองพระเยซูได้ทรงประจักษ์
มาหาท่านในความฝั นโดยสวมเสื้ อคลุมครึ่ งตัวนั้น เท่ากับเป็ นการยืนยันความจริ งอมตะของพระวรสารที่กล่าวว่า
“เราเปลือยเปล่า ท่านก็ได้มอบเครื่ องนุ่ งห่ มแก่เรา ... ท่านทาสิ่ งใดต่อพี่นอ
้ งผูต้ ่าต้อยที่สุดของเรา ท่านก็ทาต่อเราเอง”
(มธ 25:36, 40) 36
ในประวัติ ศ าสตร์ พ ระศาสนจัก ร มี ป ระจั ก ษ์ พ ยานถึ ง ความรั ก มากมายที่ เราอาจอ้า งอิ ง ได้
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในบรรดาอารามนักพรตต่างๆ ตั้งแต่สมัยแรกๆ เริ่ มจากนักบุญแอนโทนี (ค.ศ. 356) นักพรตตาม
อารามต่างๆ ดังกล่าวได้แสดงเมตตากิจแห่ งความรักต่อเพื่อนบ้านไว้มากมาย ในการสัมผัส “ตัวต่อตัว” กับพระเจ้าผู ้

27
ทรงเป็ นองค์แห่ งความรัก นักพรตได้สัมผัสกับแรงบันดาลใจที่บงั คับให้พวกเขาเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตของตน ให้คอย
รั บใช้เพื่อนบ้านนอกเหนื อไปจากรั บใช้พระเจ้า นี่ อธิ บายได้เป็ นอย่างดี ถึงการเน้นเป็ นพิเศษเกี่ ยวกับการให้การ
ต้อนรั บ ให้ที่พกั พิง และการเอาใจใส่ ดูแลผูท้ ี่เจ็บไข้ได้ป่วยที่ อยู่รอบๆ อาราม นอกนั้นยังเป็ นการอธิ บายได้เป็ น
อย่างดีถึงความคิดริ เริ่ มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับสวัสดิการของมนุ ษย์ และการอบรมแบบคริ สตชนที่มุ่งประเด็น
ไปที่คนจนเป็ นอันดับแรก ผูซ้ ่ ึ งเป็ นกลุ่มเป้ าหมายแรกของการดูแลเริ่ มต้นโดยอารามนักพรตและคณะนักบวช ที่ถือ
ความยากจนต่ างๆ และต่ อ มาโดยสถาบันนักบวชชายหญิ งต่ างๆ ตลอดเวลาแห่ งประวัติศาสตร์ พ ระ ศาสนจัก ร
บรรดานักบุญเหล่านั้นได้แก่ ฟรั งซิ สแห่ งอัสซี ซี อิกญาซี โอแห่ งโลโยลา ยอห์นแห่ งพระเจ้า คามิลโล เดอ เลลลิส
วินเซ็น เดอ ปอล หลุยส์ เดอ มารี ยคั ยิวเซปเป ก๊อตโตเลงโก ยอห์น บอสโก ลุยอียี โอรี โอเน เทเรซาแห่ งกัลกัตตา
ฯลฯ ท่านเหล่านี้ เป็ นเพียงบางตัวอย่างที่เป็ นประจักษ์พยาน และเป็ นแบบฉบับในรู ปของงานสังคมสงเคราะห์ที่ผมู ้ ี
น้ าใจดีควรนาไปเป็ นแบบอย่าง

41. ผูท้ ี่โดดเด่นที่สุดในบรรดานักบุญทั้งหลายได้แก่แม่พระ มารดาของพระคริ สตเจ้าและผูท้ รงเป็ นกระจกเงา


แห่ งความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งปวง ในพระวรสารของนักบุญลูกา เราทราบว่าพระนางทรงปฏิบตั ิกิจแห่ งความรักต่อญาติเอ
ลีซาเบ็ธ ซึ่ งแม่ พระทรงไปอยูค่ อยรั บใช้ “ประมาณ 3 เดื อน” (1:56) ในช่ วงก่อนใกล้คลอด พระนางทรงกล่าวใน
โอกาสนั้นว่า “วิญญาณของข้าพเจ้าสรรเสริ ญพระเป็ นเจ้า” - “Magnificat anima mea Dominum” (ลก 1:46) ในคา
กล่าวดังกล่าว พระนางทรงเผยให้เห็นถึงโครงการทั้งชีวิตของแม่พระ ไม่ได้ต้ งั เอาตนเองเป็ นศูนย์กลาง แต่ปล่อยที่
ไว้ให้พระเจ้าซึ่ งพระแม่เจ้าทรงสัมผัสอยูเ่ สมอด้วยการสวดภาวนาและการรับใช้เพื่อนบ้าน – เมื่อนั้นเท่านั้น ที่ความ
ดี จะคืบคลานเข้ามาสู่ โลก ความยิง่ ใหญ่ ของแม่พระอยู่ในความจริ งที่ว่า แม่พระต้องการที่จะสรรเสริ ญและถวาย
เกียรติแด่ พระเจ้า มิใช่ตนเอง แม่พระเป็ นผูต้ ่าต้อย ความปรารถนาแต่ประการเดียวของแม่พระคือการเป็ นข้ารับใช้
ของพระคริ สตจ้า (เที ยบ ลก 1:38, 48) แม่พระทราบดี ว่า แม่พระจะมีส่วนร่ วมในการไถ่กูโ้ ลก แทนที่มวั แต่จะทา
ตามโครงการของตน แม่พระทรงมอบตัวแม่พระเองโดยสิ้ นเชิงไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า สุ ดแล้วแต่พระองค์จะ
ทรงจัดการ แม่พระเป็ นผูท้ ี่มีความเชื่อในคาสัญญาของพระเจ้าและรอคอยความรอดของชนชาติอิสราเอล เทวทูตจึง
ได้มาหาแม่พระและเรี ยกร้องให้แม่พระรับใช้คาสัญญาเหล่านั้น แม่พระเป็ นสตรี ที่มีความเชื่อ เอลิซาเบ็ธกล่าวกับ
แม่พระว่า “เป็ นบุญลาภแก่เธอที่เชื่อ” (เทียบ ลก 1:45) บทสดุดีมกั ญีฟีกัต Magnificat อาจกล่าวได้ว่าเป็ นรู ปแบบแห่ ง
ดวงวิญญาณของแม่พระ – สานทอมาจากด้ายแห่ งพระคัมภีร์ลว้ นๆ ด้ายที่เอามาจากพระวจนะของพระเจ้า ณ จุดนี้
เราจะเห็ นได้ว่า แม่พระเป็ นอันหนึ่ งอันเดี ยวกันกับพระวาจาของพระเจ้าเพียงใด พระวาจาของพระเจ้ากลายเป็ น
พระวาจาของแม่พระ แม่พระทรงชานาญคล่องแคล่วมากกับพระวาจานี้ แม่พระทรงกล่าวและคิดพร้อมกันกับพระ
วาจาของพระเจ้า พระวาจาของพระเจ้ากลายเป็ นคากล่าวของแม่พระ และวาจาของแม่พระมาจากพระวจนะของ
พระเจ้า ณ ที่น้ ีเราเห็นแล้วว่า ความคิดของแม่พระถูกปรับให้ตรงกับความคิดของพระเจ้าอย่างไร ความปรารถนา
ของแม่พระตรงกับความปรารถนาของพระเจ้าอย่างไร เพราะแม่พระหยัง่ รากลึกอย่างแท้จริ งในพระวจนะของพระ
เจ้า แม่พระจึงสามารถเป็ นมารดาของพระวจนะที่ทรงมาบังเกิดเป็ นมนุษย์ สุ ดท้าย แม่พระคือสตรี ผทู ้ ี่มีความรัก จะ
เป็ นอย่างอื่นไปได้อย่างไร? ในฐานะผูท้ ี่มีความเชื่อ คิดด้วยความคิดของพระเจ้า และปรารถนาด้วยความปรารถนา
ของพระเจ้า แม่พระจะเป็ นอื่นไปไม่ได้นอกจากจะเป็ นสตรี ที่เปี่ ยมด้วยความรัก เราสัมผัสสิ่ งนี้ ได้จากพฤติกรรมที่
สงบเงี ยบของพระนาง ดังที่ มีคาบอกเล่ าไว้ในพระวรสารตอนที่ แม่ พ ระยังอยู่ในเยาว์ว ยั เราสั มผัส ได้ในความ

28
ละเอียดสุ ขมุ ตอนที่แม่พระทรงมองเห็ นความต้องการของคู่บ่าวสาวที่เมืองคานาซึ่ งแม่พระนาไปบอกพระเยซูเจ้า
เราเห็นความสุ ภาพของแม่พระตอนที่แม่พระถอยไปอยูห่ ลังฉากในช่วงชีวิตสาธารณะของพระเยซูเจ้า โดยแม่พระ
ทราบดี ว่า พระบุตรของแม่พระจะต้องสร้างครอบครัวใหม่ อีกทั้งทราบดี ว่า เวลาของแม่พระจะมาอีกครั้ งพร้อม
กันกับไม้กางเขน ซึ่งเป็ นเวลาที่แท้จริ งของพระเยซูเจ้า (เทียบ ยน 2:4; 13:1) ตอนที่อคั รสาวกพากันหลบหนี ไป แม่
พระจะทรงประทับอยู่ ณ แทบเท้าไม้กางเขน (เทียบ ยน 19:25-27) และต่อมาในช่วงที่พระจิตเจ้าทรงเสด็จลงมา ก็
เป็ นพวกเขาที่หอ้ มล้อมแม่พระในขณะที่เฝ้ ารอการเสด็จมาของพระจิตเจ้า (เทียบ กจ 1:14)

42. ชีวิตของบรรดานักบุญมิได้จากัดอยูใ่ นประวัติตอนที่พวกท่านมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เท่านั้น แต่ยงั รวมถึงการ


อยูแ่ ละร่ วมทางานในพระเจ้าหลังความตายด้วย มีสิ่งหนึ่ งที่ชดั เจนในบรรดานักบุญ กล่าวคือ ผูท้ ี่เข้าใกล้พระเจ้าจะ
ไม่เหิ นห่ างไปจากมนุ ษย์ แต่จะอยูใ่ กล้ชิดกับพวกเขา เราพบความจริ งนี้ ได้อย่างชัดเจนไม่ใช่ที่ไหนเลยนอกจากใน
แม่พระ พระดารัสของพระคริ สตเจ้าจากบนไม้กางเขนต่อยอห์นและต่อสาวกทุกคน “นี่ แน่ะ แม่ของเจ้า” (ยน 19:27)
ถูกรื้ อฟื้ นให้สมบูรณ์ข้ ึนมาใหม่ในทุกยุคทุกสมัย แม่พระได้กลายเป็ นแม่ของผูท้ ี่มีความเชื่อทุกคน มนุ ษย์ชายหญิง
ทุกเวลาและทุกแห่ งหนต่างหันหน้าไปพึ่งความเมตตาเยีย่ งมารดา ความบริ สุทธิ์ พรหมจรรย์และพระหรรษทานของ
แม่พระในความต้องการและความปรารถนาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็ นในความสุ ขหรื อความทุกข์ ยามโดดเดี่ยวเดียวดาย
หรื อในความเพียรพยายามทุกอย่าง พวกเขาได้รับพระพรแห่ งคุณความดีและความรักอันไม่มีวนั เปลี่ยนแปลง ที่แม่
พระทรงโปรยออกมาจากส่ วนลึกแห่ งดวงหทัยของพระนาง ประจักษ์พยานแห่ งความกตัญญูที่มนุ ษย์ทุกทวีปทุก
วัฒ นธรรมมอบให้ พ ระนางนั้น เป็ นการบ่ ง บอกถึ งการยอมรั บ ในความรั ก บริ สุ ท ธิ์ นั้น ซึ่ งมิ ใช่ เป็ นความรั ก ที่
แสวงหาตนเอง แต่เป็ นความรักที่ทรงเมตตาปราณี แบบให้เปล่า ในเวลาเดียวกัน ความศรัทธาของสัตบุรุษแสดงให้
เห็นถึงความชัดเจนว่า ความรักดังกล่าวเกิดขึ้นได้ คือผลแห่ งความเป็ นหนึ่งเดียวกันอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่ งโดย
อาศัยความใกล้ชิดนี้ วิญญาณของเราจึงเต็มเปี่ ยมไปด้วยพระองค์ เป็ นสภาพที่สามารถทาให้คนที่ได้ดื่มจากน้ าพุ
แห่ งความรั กของพระเจ้ากลายเป็ นน้ าพุ ซึ่ งจากน้ าพุน้ ี “ลาธารแห่ งน้ าทรงชี วิตไหลออกไป” (ยน 7:38) ข้าแต่พระ
มารดาพรหมจารี โปรดแสดงให้ เราเห็ น ว่ า รั ก คื อ อะไร มี ต ้น ก าเนิ ด มาจากไหน และจะได้รั บ พลัง ใหม่ อ ย่า ง
สม่าเสมอได้อย่างไร เราขอมอบพระศาสนจักร และพันธกิจของพระศาสนจักรไว้ในการรับใช้ความรักด้วยเทอญ
สันตะมารี อา มารดาพระเจ้า แม่พระได้ทรงมอบแสงสว่างแท้จริ งอันได้แก่พระเยซู พระบุตรของแม่พระ
และพระบุ ตรของพระเจ้าให้แก่ โลก แม่ พระทรงมอบตนเองทั้งหมดแก่ การเรี ยกร้ องของพระเจ้า แม่ พระจึ งได้
กลายเป็ นบ่อน้ าพุแห่ งความดีที่หลัง่ ไหลมาจากพระองค์ โปรดทรงแสดงพระเยซูแก่เรา โปรดทรงนาพวกเราให้เข้า
ไปหาพระองค์ โปรดสอนเราให้รู้จกั และรั กพระองค์ เพื่อพวกเราจะได้สามารถเป็ นความรักได้อย่างแท้จริ ง และ
เป็ นต้นกาเนิดแห่ งน้ าทรงชีวิตท่ามกลางโลกที่หิวกระหายด้วยเทอญ

ให้ ไว้ ณ กรุ งโรม พระมหาวิหารนักบุญเปโตร


วันที่ 25 ธันวาคม สมโภชพระคริ สตสมภพ ปี 2005 อันเป็ นปี ที่ หนึ่งแห่ งสมณสมัยของเรา

29
เอกสารอ้ างอิง

1 . Cf. Jenseits von Gut und Bose, IV, 168.


2. X, 69
3. Cf. R. Descartes, (Euvres, ed. V. Cousin, vol. 12, Paris 1824, pp. 95ff.
4. II, 5: SCh 381, 196.
5. Ibid., 198.
6. Cf. Metaphysics, XII, 7.
7. Cf. Ps.-Dionysius the Areopagite, who in his treatise The Divine Names, IV, 12-14: PG 3, 709-713 calls
God both eros and agape.
8. Plato, Symposium, XIV-XV, 189c-192d.
9. Sallust, De coniuratione Catilinae, XX, 4.
10. Cf. Saint Augustine, Confessions, III, 6, 11:CCL 27, 32.
11. De Triniotate, VIII, 8, 12: CCL 50, 287.
12. Cf. I Apologia, 67: PG 6, 429.
13. Cf. Apologeticum, 39, 7: PL 1, 468.
14. Ep. ad Rom., inscr: PG 5, 80l.
15. Cf. St. Ambrose, De offiis ministrorum, II, 28, 140: PL 16, 141.
16. Cf. Ep. 83: J. Bidez, L'Empereur Julien, (Euvres completes, Paris 1960, v. I, 2, p. 145.
17. Cf. Congregation for Bishops, Directory for the Pastoral Ministry of Bishops Apostolorum Successores
(22 February 2004), 194, Vatican City 2004, p. 213.
18. De Civitate Dei, IV, 4: CCL 47, 102.
19. Cf. Pastoral Constitution on the Church in the Modern World Gaudium et Spes, 36.
20. Cf. Congregation for Bishops, Directory for the Pastoral Ministry of Bishops Apostolorum Successiores
(22 February 2004), 197, Vatican City 2004, p. 217.
21. John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Christifideles Laici (30 December 1988), 42: AAS 81
(1989), 472.
22. Cf. Congregation for the Doctrine of the Faith, Doctrinal Note on Some Questions Regarding the
Participation of Catholics in Political Life (24 November 2002), 1: L'Osservatore Romano, English
Edition, 22 January 2004, p. 5.
23. Ibid., 14.
24. Decree on the Apostolate of the Laity Apostolicam Actuositatem, 8.
25. Ibid., 14.
26. Cf. Congregation for Bishops, Directory for the Pastoral Ministry of Bishops Apostolorum successors (22
February 2004), 195, Vatican City 2004, pp. 214-216.
27. Cf. John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Christifideles Laici (30 December 1988), 41, AAS
81 (1989), 470-472.
28. Cf. No. 32: AAS 80 (1988) 556.
29. No. 43: AAS 87 (1995), 946.
30. Cf. Congregation for Bishops, Directory for the Pastoral Ministry of Bishops Apostolorum successors (22
February 2004), 196, Vatican City 2004, p. 216.
31. Cf. Pontificale Romanum, De ordinatione episcope, 43.
32. Cf. can. 394; Code of Canons of the Eastern Churches, can. 203.
33. Cf. Nos. 193-198: pp. 212-219.
34. Ibid., 194: pp. 213-214.
35. Sermo 52, 16: PL 38, 360.
36. Cf. Sulpicius Severus, Vita Sancti Martini, 3, 1-3: SCh 133, 256-258.

30

You might also like