Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 39

ENVIRONMENTAL MANAGEMENT

PRINCIPLES
Environmental Systems & Management Lecture # 2

Lecturer: Dr. Chanathip Pharino

Lecturer: Dr. Chanathip Pharino


Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th
มลพิษ แหล่งกำเนิด และ ดัชนีวัดคุณภาพ

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th
ประเภทของมลพิษ
แบ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ลักษณะของมลภาวะที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งมลพิษประเภทหลักๆได้ดังนี้

• มลพิษทางน้ำ เช่น เชื้อโรค สารอินทรีย์ โลหะหนัก


ของแข็ง สาหร่าย ความเป็นกรด เป็นต้น

• มลพิษในน้ำใต้ดิน เช่น สารพิษและโลหะหนัก เป็นต้น

• มลพิษทางอากาศ เช่น ปริมาณของฝุ่นละออง เสียง


ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัส
ออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 3
ประเภทของมลพิษ
• ขยะและของเสียอันตราย เช่น เศษอาหาร ถุงพลาสติก
ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

• การทำลายหน้าดินและชายฝั่ง การบุกรุกทำลายป่าไม้
และป่าชายเลน

• การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและปริมาณ
ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์ เช่น สัตว์ป่า สัตว์น้ำ
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 4
แหล่งกำเนิด
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
• Point Source Pollution
มลพิษที่ปล่อยออกสิ่งแวดล้อม ที่ทราบแหล่งกำเนิดชัดเจนและวัดปริมาณ
ความเข้มข้นของมลพิษได้โดยตรง เช่น ควันที่ออกจากท่อไอเสียหรือจากปล่อง
ระบายของโรงงาน น้ำเสียที่ออกมาจากท่อระบายน้ำ

• Nonpoint Source Pollution


มลพิษที่ไม่สามารถทราบแหล่งกำเนิดที่ชัดเจนได้และไม่สามารถวัดความ
เข้มข้นของมลพิษที่ออกจากแหล่งกำเนิดได้โดยตรง เช่น น้ำฝนหรือน้ำเสีย
ปนเปื้อนสารเคมีที่เกิดจากการทำเกษตรกรรมและถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ
สาธารณะโดยไม่ผ่านท่อระบายน้ำ เป็นต้น
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 5
สาเหตุของมลภาวะ
1. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

2. สาเหตุที่ไม่ได้มาจากการกระทำของมนุษย์
(เช่น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ)
การเกิดมลพิษส่วนใหญ่มาจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม
(เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การทิ้งขยะของเสียสู่สิ่งแวดล้อม เป็นต้น)
และจากการกระทำของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนานต่อเนื่อง
(เช่น ปัญหาสภาวะโลกร้อน เป็นต้น)
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 6
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ
• Assimilative Capacity
สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติมีความสามารถในการรับมลพิษ ในระดับที่
แตกต่างกัน ก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตราย

• Self Purification
ระบบสิ่งแวดล้อมเองก็มีความสามารถในการทำให้มลพิษบางประเภท
ย่อยสลายหรือมีความเข้มข้นลดลงได้ในระดับหนึ่ง

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 7
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)
• ความสามารถ Self Purification มีขีดจำกัด เมื่ออัตราการเกิดหรือสะสมของ
มลพิษอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า Assimilative Capacity มลพิษเหล่านั้นก็จะ
สะสมในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ อาจสูงจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายกับ
สิ่งมีชีวิตต่างๆที่อยู่ในระบบนิเวศน์ได้

• ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิต หรือ ผลกระทบต่อการใช้


ประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณและประเภทของ
สารพิษที่ได้รับ เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์ถึงขนาดของ
ผลกระทบต่อประชากรและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่จะได้รับผลกระทบ
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 8
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)

ตัวอย่างเหตุการณ์ของผลจากการระบายของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเกินความสามารถที่จะรองรับ

กรณีเรือบรรทุกน้ำตาลล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยาในปี 2550 ทำปลาเป็นจำนวนมากตาย


เกษตรผู้เลี้ยงปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยาได้รับความ
เดือดร้อน ค่าความเสียหายรวมประมาณ 20 ล้านบาท

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 9
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)

กรณีมลพิษทางเสียงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ สาเหตุมาจาก
จำนวนเที่ยวบินที่เข้ามาใช้สนามบินประมาณ 700 เที่ยว/วัน ซึ่งทำให้มีการร้องเรียนเป็น
จำนวนมาก รัฐบาลจึงได้มีมติให้มีการเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้งเพื่อลดจำนวน
เที่ยวบินและบรรเทาผลกระทบด้านมลพิษทางเสียงต่อชุมชน
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 10
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)
ตัวอย่างเหตุการณ์ของผลจากการระบายของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเกินความสามารถที่จะรองรับ

กรณีปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าในภาคเหนือซึ่งมีความรุนแรง
และส่งกระทบไปหลายจังหวัดในช่วงต้นปี 2562
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 11
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)

กรณีการลักลอบทิ้งสารเคมีและน้ำมันเครื่องใช้แล้วในป่าพระพุทธบาท สระบุรี ในเดือน


พฤศจิกายน 2562 ซึ่งหากนำมากำจัดอย่างถูกวิธีจะมีต้นทุนจะมีค่าใช้จ่าย
5,000 บาทต่อ 1000 ลิตร ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่ทำการขนย้ายกากสารเคมีไปกำจัดอย่าง
ถูกต้องแล้ว
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 12
ระดับความรุนแรงและอันตรายของมลพิษ(ต่อ)
ในกรณีปัญหาตะกั่วปนเปื้อนห้วยคลิตใี้ น
ปี 2542 ซึ่งเป็นพื้นที่ทีเคยการทำเหมือง
ตะกั่วทำให้เกิดการปนเปื้อนของตะกั่วใน
ปริมาณที่สูงสู่ลำน้ำธรรมชาติ ประชาชน
ในพื้นที่ได้รับผลกระทบโดย ตรงต่อ
สุขภาพ โดยปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษ
ได้เข้ามาบำบัดและฟื้นฟูแล้วเสร็จ 50%
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_2659729
จากแผนที่วางไว้
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/839116
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 13
ดัชนีวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การใช้ดัชนีต่างๆในการวัดคุณภาพของสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์ถึงลักษณะทาง
กายภาพ เคมี ชีวภาพและการเปื้อนของสารพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมิน
สถานการณ์ทั่วไป หรือ ความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเทียบจาก
เกณฑ์มาตรฐาน และ เพื่อหามาตรการในการดูแลป้องกัน ต่อผู้ที่อาจจะได้รับ
ผลกระทบ และหาผู้รับผิดชอบในการจัดการบำบัดและดูแลความเสียหายที่
เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 14
ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำ
ใช้ในการกำหนดค่ามาตรฐานของคุณภาพน้ำ กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การ
ใช้น้ำ เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม มีความเข้มงวดในการกำหนดค่าดัชนีมากที่สุด
เมื่อเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน มาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดิน มาตรฐาน
คุณภาพน้ำทะเล มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 15
ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำ
• ดัชนีคุณภาพน้ำประกอบด้วย
• ดัชนีทางกายภาพ (สี, กลิ่น, รส, ความขุ่น, ความเป็นกรด-ด่าง),
• ดัชนีทางเคมี (ปริมาณของแข็งทั้งหมด, บีโอดี, ซีโอดี, ปริมาณออกซิเจนละลายใน
น้ำ, ฟอสฟอรัส, ไนโตรเจน, คลอรีน, ไขมัน),
• ดัชนีทางชีววิทยา (จำนวนแบคทีเรีย โคลิฟอร์ม อีโคไล), โลหะหนักและสารพิษ
(เหล็ก, แมงกานีส, ทองแดง, สังกะสี, ปรอท, ตะกั่ว, แคดเมียม, โครเมียม เป็น
ต้น)

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 16
ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ
• เทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของ
สารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่
• ก๊าซโอโซน (O3)
• ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
• ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
• ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
• ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 17
ดัชนีชี้วัดคุณภาพดิน
• ใช้ในการกำหนดมาตรฐานสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย สำหรับทำเกษตรกรรม
หรืออื่นๆ
• เพื่อวัดปริมาณการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆในดิน และประเมินระดับความ
เสี่ยงต่อสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมเมื่อทำกิจกรรมบริเวณที่ดินนั้น โดยจะ
วัดจาก
• ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (เบนซีน, คาร์บอนเตตตระคลอไรด์ เป็นต้น)
• โลหะหนัก (ปรอท, แคดเมียม, ตะกั่ว เป็นต้น )
• สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (ดีดีที, อะทราซิน, ดิลดริน เป็นต้น)
• สารพิษอื่นๆ (พีซีบี, ไซยาไนด์, ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น)
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 18
ระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 19
การจัดการสิ่งแวดล้อม

• การจัดการสิ่งแวดล้อม มีความหมายมากกว่าการจัดการสิ่งที่อยูร่ อบๆตัว


เรา แท้ที่จริงแล้ว ควรหมายรวมถึง การจัดการปฏิสัมพันธ์ (interactions)
ของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตในระบบนิเวศน์
และ(หรือ)ในสังคม ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันซึ่งส่งผลกระทบต่อกันภายใน
สิ่งแวดล้อม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 20
การจัดการสิ่งแวดล้อม

• การจัดการสิ่งแวดล้อมต้องการความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทุกแขนงในสังคม
ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ กฎหมายและการเมือง เพื่อที่จะสามารถ
ตัดสินใจในการดำเนินจัดการด้านต่างๆที่ส่งผลกระทบถึงความสมดุลของ
หน้าที่และการใช้ประโยชน์ของสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นได้ (รวมถึง
ทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ) และให้เป็นไปได้อย่างเหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพ

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 21
22

แนวความคิดในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
• ในอดีตส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเอนไปในทางทีใ่ ช้ความต้องการของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
คือ การคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก ส่วนประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเกิดตามมาทีหลัง โดยรวมสภาวะแวดล้อมจะถูกปรับเปลี่ยนไป
ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้บรรลุตามจุดประสงค์การพัฒนาที่ได้กำหนดไว้

• ในปัจจุบันมีการคำนึงถึงประเด็นความสัมพันธ์ทุกๆด้านพร้อมกันอย่างรอบคอบและสมดุล
ตั้งแต่เริ่มต้นวางเป้าหมาย ทั้งด้านสังคมและชุมชน ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้าน
กฏหมายสิ่งแวดล้อม ด้านการเมือง และด้านธรุกิจ เพื่อให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นเป็นไปได้
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 22
ขั้นตอนและเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม
1. กำหนดเป้าหมาย หรือ ปัญหา

2. พิจารณาแนวทางวิธีแก้ปัญหา

3. ร่างแผนสำหรับปฏิบัติ

4. ดำเนินงานตามแผน

5. พัฒนาแนวทางสำหรับการจัดการอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูล
6. ประเมินผลและปรับปรุงการจัดการ ข้อมูล

7. การจัดการสิ่งแวดล้อมในอนาคต
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
23
www.eng.chula.ac.th
ขั้นตอนและเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
การจัดการสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ 3 ขั้นตอน คือ
1
การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา หรือ การระบุปัญหา
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและขอบเขตในการแก้ไข
2
การหาทางเลือกและวิธีในการแก้ปัญหา

3
การวางแผนปฏิบัติการที่จะลงมือแก้ปัญหาให้เกิดขึ้นได้จริง
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 24
ขั้นตอนและเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
• ในขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายนี้ควรเกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็น
จากสาธารณชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนมากการลงทุนหรือพัฒนามักจะมี
ทั้งฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์และฝ่ายที่สูญเสียประโยชน์
• ในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ต้องอาศัยความเข้าใจปัจจัยและลักษณะต่างๆ ทางด้าน
ระบบนิเวศน์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อสร้างความร่วมมือ
ในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม
ควรมีความต่อเนื่องและให้ความสำคัญตั้งแต่การดำเนินงาน ติดตามดูแล และ
ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่องระยะยาวในอนาคต
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 25
ขั้นตอนและเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

• โดยทั่วไปในขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 เป็นการกำหนดนโยบายและวางแผนใน


การปฏิบัติการจัดการ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและความคิดเห็นจากหลาย
ฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากประสบการณ์ที่ได้รับจาก
การดำเนินงานและการประเมินผลในขั้นที่ 4, 5 และ 6 สามารถที่จะใช้ข้อมูล
นี้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่
ชัดเจนและมีประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคต ในขั้นที่ 7

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 26
ขั้นตอนและเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

• เป้าหมายหลักสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม คือ การชี้ให้เห็น


ความสำคัญของประเด็นของความมีอยู่อย่างจำกัดและกำลังถูกทำลายให้
หมดไปหรือมีสภาพเสื่อมโทรมลง เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้เกิดการ
พัฒนาที่ยั่งยืน โดยต้องมีการสร้างและใช้องค์ความรู้ที่เพียงพอในการที่จะ
เตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำลายสภาพแวดล้อม และลดความเสี่ยง
และความเสียหาย รวมทั้งหาทางปรับตัวในการดำรงชีวิตใน
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ได้

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 27
แนวทางในการจัดการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อมอาจจะแบ่งออกเป็นได้หลายแขนงตามความรู้ความชำนาญของแต่ละสาขา
เช่น
•ด้านการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
•ด้านการคาดการณ์ผลกระทบและความเสี่ยง
•ด้านการค้นหา ควบคุม ตรวจวัด และเทคโนโลยีเพื่อบำบัดมลพิษที่เกิดขึ้น
•ด้านกฏหมายและนโยบายการวางแผน
•ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
•ด้านการจัดการใช้ทรัพยากร
•ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพ
•ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
•ด้านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และอื่นๆ

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 28
แนวทางในการจัดการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

มีหลักการพิจารณาที่สำคัญ คือ
• การใช้มนุษย์หรือระบบนิเวศน์เป็นศูนย์กลางในการจัดการ
• หรือ การมุ่งเน้นให้มีการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมไว้มากขนาดไหน
• หรือ การใช้เทคโนโลยีควบคู่ด้วยหรือไม่ และใช้อย่างไร
• โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างคร่าวๆ ได้ดังนี้

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 29
แนวทางในการจัดการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
• การพัฒนาแนวทางจัดการเพื่อใช้แก้ไขกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ โดย
กำหนดปัญหาและหาแนวทางการแก้ปัญหา
• การจัดการในรูปแบบระบบรวมทั้งระบบ เช่น ระบบนิเวศน์สำหรับป่าไม้ ชายฝั่ง
เกษตรกรรม
• การจัดการระดับภูมิภาค หรือ หลายๆ ส่วน (พื้นที่) พร้อมกัน เช่น ลุ่มน้ำ เกาะ ทะเล
• การจัดการตามชนิดและประเภทของสถานการณ์มลภาวะ เช่น การจัดการคุณภาพอากาศ
คุณภาพน้ำ สุขอนามัย การจัดการเมือง การอนุรักษ์ การจัดการการท่องเที่ยว
• การจัดการโดยใช้กลุ่มองค์กรอิสระในการเข้ามาปกป้องรักษาผลประโยชน์ให้กับส่วนรวม
• การจัดการสิ่งแวดล้อมในเชิงที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ
• การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้เหตุผลและนโยบายทางการเมือง เป็นต้น
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 30
แนวทางในการจัดการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

• แนวทางการจัดการต้องคำนึงถึงขอบเขตของงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ขั้นแรกคือ การเลือกขอบเขตและขนาดของหน่วยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ที่ครอบคลุมโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสิ่งแวดล้อมนั้นที่สามารถจะ
จัดการได้ โดยคำนึงถึงปัจจัยในการจัดการด้านสังคม เศรษฐกิจ
วัฒนธรรมและด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการ
ลุ่มน้ำ การจัดการสิ่งแวดล้อมของเมือง การจัดการระบบนิเวศน์ชายฝั่ง
การจัดการด้านเกษตรกรรม เป็นต้น
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 31
แนวทางการจัดการตามหลักความคิด
ที่ใช้ในการจัดการตั้งแต่เริ่มต้น

• การจัดการในลักษณะที่เน้นการป้องกันปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้นตั้งแต่สาเหตุ
• การจัดการในลักษณะที่เน้นการควบคุมและบรรเทาระดับความรุนแรงขอบเขตของ
ปัญหา
• การจัดการในลักษณะที่พิจารณาผลได้ผลเสียและเตรียมการสำหรับบรรเทา
ผลกระทบ

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 32
แนวทางการจัดการตามหลักความคิด
ที่ใช้ในการจัดการตั้งแต่เริ่มต้น (ต่อ)
• การสั่งการจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย การใช้กฏหมายบังคับ (Top-Down Approach)
• การมีส่วนร่วมหรือขอให้แสดงความคิดเห็น (Bottom-Up Approach)
• การจัดการแบบมีศูนย์กลาง (Centralized Approach)
• การจัดการแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Approach)
• การจัดการโดยใช้มาตรการทางการตลาด (Market-Based Approach)
• การจัดการแบบให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์ (Ecological Prioritization)
• การจัดการแบบให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม (Social Development)
• การมีใช้ความรับผิดชอบและจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวม (Corporate Social Responsibility)
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 33
มาตรการในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 34
มาตรการในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้ คือ

• การให้คำแนะนำ

• การใช้มาตรการทางการเงิน

• การใช้มาตรการทางกฎหมาย

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 35
การให้คำแนะนำ

• ข้อชี้แนะ โทรศัพท์สายด่วนรับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและให้ความรู้และ
คำแนะนำ
• การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เอกสาร เพิ่มความรู้ความเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม การ
ป้องกันและการแก้ไข
• การจัดโปรแกรมสำหรับสาธิต เช่น การเกษตรแบบปลอดสารพิษ
• การเน้นในระบบศึกษาในระดับต่างๆ เช่น ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย
ภาคธุรกิจ เป็นต้น

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 36
การใช้มาตรการทางการเงิน

• การเก็บภาษีการดำเนินธุรกิจ หรือ เก็บภาษีสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีน้ำมันเพื่อ


ควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
• การให้เงินทุนช่วยเหลือสนับสนุนสำหรับลงทุนหรือโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
• การมีมาตรเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาและปรับปรุงในการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดหรือเพื่อ
ติดตั้งระบบบำบัดมลพิษให้ทันสมัย
• การจัดโควต้าและเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
• การกำหนดให้ผู้ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องจ่ายค่าบำบัดตามปริมาณที่ปล่อย

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 37
การใช้มาตรการกฎหมาย

• การมีกฎหมายหรือข้อบังคับสำหรับดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
• การทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังดำเนินโครงการ
• การออกใบอนุญาตสำหรับปล่อยมลภาวะออกสู่ระบบสิ่งแวดล้อม และ
สำหรับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

Faculty of Engineering, Chulalongkorn University


www.eng.chula.ac.th 38
Thank you

Questions & Comments


Email: Chanathip.p@chula.ac.th
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
www.eng.chula.ac.th 39

You might also like