Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

คู่มืออบรม

(ฉบับสำหรับผูป้ กครอง)
ศูนย์ อบรมแบร์ โทนี
1 เมษายน 2566

(บ้ านเณรสติกมาติน ภูเก็ต)


คานา

ศูนย์อบรมแบร์โทนี(บ้านเณรสติกมาติน) ได้จัดท าคู่มือการให้การอบรมฉบับย่อนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้


ผู้ปกครองทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับกฏระเบียบต่าง ๆ ที่ ผู้รับการอบรมและผู้ปกครองควรรู้ ตลอดจนธรรม
เนียมปฏิบัติที่ดีงามของบ้านอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตในบ้านอบรม และการให้การอบรมดูแล
เพื่อนาไปสู่เป้าหมายของการฝึกฝนตนเองในการที่จะเตรียมตัวเป็นสามเณรที่ดีและมีคุณภาพ ดังนั้นเมื่อผู้รับ
การอบรม หรือผู้ปกครองได้รับคู่มือการให้การอบรมเล่มนี้แล้ว กรุณาศึกษาทาความเข้าใจอย่างดี เพื่อนาสู่การ
ปฏิบัติต่อไป
อาศัยคาเสนอวิงวอนของนักบุญกัสปาร์แบร์โทนี ผู้สถาปนาคณะสติกมาติน ได้โปรดประทานพระพร
ให้ ผู้รับ การอบอรมทุ ก คนที่ อ ยู่ในบ้านอบรมแห่ง นี้มี ความมานะพากเพียรในการฝึก ฝนตนเองจนประสบ
ความสาเร็จ

ผู้จัดทา
คู่มือการให้การอบรม ศูนย์อบรมแบร์โทนี
บ้านเณรสติกมาติน
1. อัตลักษณ์ นโยบาย และพันธกิจของบ้านอบรม
อัตลักษณ์ (Identity)
บ้านอบรมเป็นสถานที่ให้การอบรมผู้ที่เตรียมตัวเป็นสามเณร ฝึกฝนผู้ที่ประสงค์จะแสวงหาและค้นพบ
กระแส เรียกการเป็นพระสงฆ์และนักบวชของตนเอง
นโยบาย (Policy)
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตในความเป็นบุคคลทั้งครบ พัฒนาด้านความเชื่อคริสตชน การศึกษาเล่าเรียน
สุขอนามัย คุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เหมาะสมที่จะเป็นพระสงฆ์ นักบวชใน
อนาคต
2. บ้านอบรมมีระเบียบวินัยและข้อบังคับที่ผู้รับการอบรมจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากผู้รับการ
อบรมคนใดไม่สามารถปรับตัวและฝึกฝนปฏิบัติตามระเบียบวินัยและข้อบังคับของบ้านเณรได้ จะต้อง
ออกจากบ้านอบรม
3. การออกจากบ้านอบรมจะมีผลให้ต้องออกจากโรงเรียนดาวรุ่งวิทยาด้วย เนื่องจากโรงเรียนฯ ได้ให้
สิทธิพิเศษเฉพาะสาหรับผู้เข้ารับการอบรมในการศึกษาในโรงเรียน
4. เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกับบ้านอบรมในทุกวิถีทางในการอบรม
สั่งสอนดูแล อีกทั้งไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้รับการอบรมละเมิดกฎข้อบังคับและระเบียบวินัยของ
บ้านอบรม
พันธกิจ (Mission)
ให้การอบรมอย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ ใกล้ชิดและทาด้วยความรัก ส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านต่างๆ
ตามระดับชั้นของการให้การอบรม

2. ระดับขั้นของการให้การอบรม ศูนย์อบรมแบร์โทนี ภูเก็ต


2.1 ระดับผู้สนใจ (Aspirancy)
คานิยาม คือผู้สมัครที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปีและกาลังเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่โรงเรียน
ดาวรุ่งวิทยา
เป้าหมาย (Goals)
- เพื่อให้เขาเจริญก้าวหน้าในความเป็นบุคคลทั้งครบเหมาะสมกับช่วงวัย
- รู้ตัวว่าอยู่บ้านอบรมเพื่อเป็นนักบวชเป็นอันดับแรก
- ปลูกฝังค่านิยมของชีวิตนักบวช โดยเฉพาะจิตตารมณ์ของคณะสติกมาติน
- ส่งเสริมให้ผู้สมัครได้เข้าใจถึงกระแสเรียกและสามารถไตร่ตรองถึงการเรียกของพวกเขา
- สามารถเปิดเผยตนเองกับอธิการและผู้ดูแล
- สามารถพัฒนาพรสวรรค์ให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์ในอนาคต
- สานึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของบ้านอบรม และพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของบ้านอบรม
2.2 มิติต่าง ๆ ของการให้การอบรม
ด้านความเป็นมนุษย์ (Physical)
วัตถุประสงค์(Objectives)
- มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ด้านร่างกาย, จิตใจ และอารมณ์
- สามารถดาเนินชีวิตตามตารางเวลาและพัฒนาความเป็นผู้นา
- สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งกับเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามอย่างเหมาะสม
วิธีการ (Means)
- ออกกาลังกายสม่าเสมอ
- บริหารจัดการเวลากิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสม (เช่น เวลากิน , เวลา นอน, เวลาออกกาลังกาย
และ เวลาพักผ่อน เป็นต้น)
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงความสามารถของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของความเป็น
ผู้นา (จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันเดือนละครั้งหรือเทอมละครั้ง)
- จัดให้มีการอบรมด้านสุขอนามัย

ด้านชีวิตฝ่ายจิต (Spirituality)
วัตถุประสงค์(Objectives)
- เพื่อความก้าวหน้าในการเป็นคริสตชน
- ปลูกฝังให้เริ่มมีความตระหนักรู้ ถึงชีวิตนักบวชในรูปแบบของคณะสติกมาติน
วิธีการ (Means)
- จัดให้มีตารางสาหรับประกอบพิธีศีลศักดิ์สท ิ ธิ์ และการภาวนาในรูปแบบต่างๆ (เช่น เฝ้าศีลมหาสนิท
เดินรูป 14 ภาค, นพวาร, สวดสายประคา เป็นต้น)
- จัดให้มีการแก้บาปอย่างสม่าเสมอ
- จัดให้มีตารางสาหรับการเรียนคาสอน
- มีการเข้าเงียบประจาเดือน / ปี

ด้านการอภิบาลรับใช้ (Apostolic)
วัตถุประสงค์(Objectives) :
- เพื่อการเติบโตด้านความรัก การเสียสละตัวเอง และรับใช้ผู้อื่น
วิธีการ (Means) :
- จัดให้มีหน้าที่รบั ผิดชอบงานทาความสะอาดบ้านและทางานภายนอกในแต่ละสัปดาห์
- จัดหน้าที่รับผิดชอบด้านพิธีกรรมและดนตรีศักดิ์สิทธิ์
- มีโอกาสออกไปร่วมพิธีและงานฉลองต่าง ๆ
- จัดให้มีการออกร้องเพลงอวยพรสัตบุรุษในช่วงเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซูเจ้า
ด้านการศึกษา (Acadamic)
วัตถุประสงค์(Objectives) :
- เพื่อพัฒนาการด้านการเรียนและทักษะความสามารถต่างๆ ในตัวผู้สมัครแต่ละคน
- รักษาระดับการเรียนให้เกรดอยูท่ ี่ 2.00 เป็นอย่างต่าในแต่ละปีการศึกษาและจบชั้น ม.3 ต้องได้
เกรดเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 2.50
วิธีการ (Means) :
- เข้าเรียนที่โรงเรียนดาวรุ่งวิทยาอย่างสม่าเสมอไม่ขาดเรียนโดยไม่มีเหตุจาเป็น

ด้านการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ(Community Life)
วัตถุประสงค์(Objectives) :
- ส่งเสริมให้ผู้สมัครแต่ละคนมีจิตตารมณ์ของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
- สามารถทางานร่วมกันกับผู้อื่น
วิธีการ (Means) :
- ทางานร่วมกันตามหน้าทีท่ ี่ได้รับมอบหมาย
- จัดให้มีการสังสรรค์และกิจกรรมสันทนาการร่วมกันอย่างสม่าเสมอจัดให้มีการทบทวนชีวิต
(Review of Life) ของแต่ละชั้นเป็นประจาทุกเดือน
- เปิดโอกาสให้มีการฉลองวันเกิดของบรรดาผูส้ มัคร, ฉลองวันสาคัญต่างๆของคณะ รวมถึง จัดให้มี
การแข่งขันกีฬาภายใน (Sports day)

3. ตารางเวลาของบ้านศูนย์อบรมแบร์โทนี

วันจันทร์ – วันศุกร์

ตื่นนอน 6.00 น.
ภาวนาเช้า+มิสซา 6.30 น.
อาหารเช้า 7.00 น.
ไปเรียน 7.30 น.
อาหารว่าง 15.45 น.
ทางาน / เรียนพิเศษ 16.00 น.
เล่นกีฬา 17.00 น.
อาบน้า 18.10 น.
ภาวนาเย็น 18.45 น.
อาหารเย็น / พักผ่อน 19.00 น.
ทาการบ้าน - ทบทวนบทเรียน 20.15 น.
สวดค่า + ถือความเงียบ 21.15 น.
เข้านอน ปิดไฟ 21.45 น.

*** หากการบ้านเยอะให้ทาหลังอาหารเย็น หลังสวดค่าเตรียมตัวขึ้นนอนทันที ไม่อนุญาตให้


อยู่ทางานต่อ
วันเสาร์ – อาทิตย์ / วันหยุด

ตื่นนอน 6.30 น.
ภาวนาเช้า+มิสซา 7.00 น.
อาหารเช้า 7.30 น.
ทาความสะอาดภายใน 8.00 น.
เข้าห้องเรียน 1 09.00 น.
พัก 10.00 น.
เข้าห้องเรียน 2 10.30 น.
สวดเที่ยง 11.45 น.
อาหารเที่ยง 12.00 น.
ทางาน / เรียนพิเศษ 15.30 น.
เล่นกีฬา 17.00 น.
อาบน้า 18.10 น.
ภาวนาเย็น 18.45 น.
อาหารเย็น / พักผ่อน 19.00 น.
สวดค่า + พักผ่อน ดูทีวี 20.15 น.
เข้านอน ปิดไฟ 22.30 น.

 อบรม วันศุกร์ต้นเดือน
หลังสวดค่ามีการอบรม หรืออาจจะเลื่อนไปอบรมในเช้าวันเสาร์ชั่วโมงเรียนที่ 2 แทนเรียนคาสอน
 เรียนคาสอน
ทุกวันเสาร์ ชั่วโมงเรียนที่ 2
 ซ้อมเพลง
ทุกวันศุกร์

 ดู T.V. วันเรียน
หลังอาหารเย็น ถึง 20.00 น.
วันศุกร์ หลังสวดค่า หรือหลัง อบรม ถึง 22:30 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์, วันหยุด หลังอาหารเที่ยง ถึง 15:30 น. และหลังสวดค่า/ซ้อมเพลง
ถึง 22:30 น.
วันอาทิตย์, วันหยุด หลังอาหารเที่ยง ถึง 15:30 น.
นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวนี้ห้ามดูT.V. โดยเด็ดขาด นอกจากจะได้รับอนุญาต
งดดู T.V. 2 อาทิตย์ก่อนสอบ กลางภาคและปลายภาคเพื่อใช้เวลาในการเตรียมสอบ
 การใช้ Computer
ช่วงเย็นเวลาเข้าห้องเรียนวันอังคาร - พฤหัส เพื่อทางานและทาการบ้านเท่านั้น
เสาร์ – อาทิตย์ ช่วงเช้าห้องเรียน1 สาหรับทางาน ทาการบ้านเท่านั้น
เสาร์ – อาทิตย์ 13:30 น. – 14:45 น. ใช้ได้ทั่วไป

 การใช้โทรศัพท์
วันเสาร์, วันอาทิตย์ หลังอาหารเที่ยงถึง 14.45 น.(ควรโทรหาผู้ปกครองเป็นระยะ) หากมีธุระ
จาเป็นรีบด่วนที่ตอ้ งใช้โทรศัพท์ ให้ขออนุญาตใช้นอกเหนือจากเวลากาหนดได้ เมื่อเสร็จธุระแล้วให้
คืนทันที หากตรวจพบว่ามีโทรศัพท์จะถือว่าทาผิดกฎบ้านเณร

 การซักผ้า
วันพุธ ช่วงเวลาทางาน
บ่ายวันเสาร์ และ วันอาทิตย์
หลังสวดค่าของวันเรียนไม่ใช่เวลาซักผ้าเพราะฉะนั้นวางแผนการใช้เสื้อผ้าให้รอบคอบ
**ทุกคนต้องซักเสื้อผ้าของตนเอง และตากที่ราวตากผ้าเท่านั้น
บ้านอบรมไม่สนับสนุนให้รุ่นพี่ใช้รุ่นน้องซักผ้า **

 เบิกเงิน - เบิกของ
หลังสวดค่า วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี / ส่งใบเสร็จ วันพุธ และ วันศุกร์ หลังสวดค่า

*** บัญชีใครติดลบมากกว่า 1,000 บาท จะไม่มีสิทธิ์เบิกเงิน ต้องแจ้งผู้ปกครองให้ทราบเพื่อฝากเงิน


เข้าบัญชีเงินเบิก
*** จะไม่มีการเบิกนอกเวลาโดยไม่จาเป็นเพราะฉะนั้นวางแผนการเบิกให้ดี

 การออกไปซื้อของใช้ส่วนตัว / และการเยี่ยมเณรของผู้ปกครอง
วันเสาร์ที่ 2 ของเดือน หลังอาหารเที่ยงและกลับเข้าบ้านเณรก่อน 16.30 น.

 เข้าเงียบประจาเดือน
ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน โดยจะเริ่มเย็นวันศุก ร์หลังสวดเย็น ถึงเที่ยงของวันเสาร์ ดังนั้นวันศุก ร์
ดังกล่าวจะไม่มีการใช้โทรศัพท์ และไม่มีดู T.V. เว้นแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าเงียบ และตลอดเวลาการเข้า
เงียบให้รักษาความเงียบอย่างเคร่งครัด ในช่วงเช้าวันเสาร์ไม่อนุญาตให้ทากิจกรรมอื่นๆ เช่น ซักผ้าหรือทา
การบ้าน
4. เครือ่ งใช้ส่วนตัวที่จาเป็นสาหรับสามเณร

1. เสื้อ-กางเกงนักเรียน (ของโรงเรียน) 2 ชุด


2. ชุดลูกเสือ (เฉพาะชั้น ม.1 – ม.3) 1 ชุด
3. ชุดพละโรงเรียน 1 ชุด
4. เสื้อบาติก โรงเรียน 1 ตัว
5. เข็มขัดนักเรียน (ใช้ของโรงเรียนเท่านั้น / ซื้อตอนเปิดเทอม) 1 เส้น
6. ถุงเท้านักเรียนสีขาว (ใช้ของโรงเรียน) 4 คู่
7. ถุงเท้าลูกเสือ (เฉพาะชั้น ม.1 – ม.3) 1 คู่
8. ถุงเท้าสีดาสาหรับใส่กบั ชุดเณร 2 คู่
9. รองเท้านักเรียนสีดา 1 คู่
10. รองเท้าลูกเสือ (เฉพาะชั้น ม.1 – ม.3) 1 คู่
11. รองเท้าแตะ 1 คู่
12. กางเกงใน 6 ตัว
13. ผ้าเช็ดตัวขนาดกลาง 2 ผืน
14. กางเกงขายาวสีดาทรงสุภาพสาหรับใส่กบั ชุดเณร (ห้ามขาเดฟห้ามรัดรูป) 2 ตัว
15. กางเกงขายาว หรือกางเกงยืน 2 ตัว
16. กางเกงบ๊อกเซอร์ (มีก็ได้ไม่มีก็ได้) 4 ตัว
17. กางเกงขาสั้นสาหรับใส่เล่นกีฬาและใส่นอน 4 ตัว
18. เสื้อคอกลมสาหรับใส่เล่นกีฬา 4 ตัว
19. เสื้อคอปก สาหรับใส่เข้าวัด 4 ตัว
20. เสื้อกล้าม เสื้อลาลอง 4 ตัว
21. รองเท้าเล่นกีฬา หรือ รองเท้าสตั๊ดสาหรับเล่นฟุตบอล 1 คู่
22. เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม่บรรทัด
คัดเตอร์ กรรไกร ทีเ่ ย็บกระดาษ ฯลฯ
23. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ ได้แก่ แป้ง ผ้าเช็ดหน้า ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ยาสระผม ยาขัดรองเท้า
แปรงขัดรองเท้า ฯลฯ

หมายเหตุ :
- ให้ผู้ปกครองตรวจรายการเครื่องใช้-อุปกรณ์ และจัดเตรียมให้พร้อมตามรายการก่อนส่ง
บุตรหลานเข้าบ้านอบรม สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของที่มีราคาแพง เพราะบ้าน
อบรม เน้นฝึกให้เรื่องถือความพอเพียง และเพื่อป้องกันการสูญหาย
- ไม่ อ นุญ าตให้น าเครื่อ งใช้ไฟฟ้าทุ ก ชนิดเข้ า มาใช้ ในบ้านอบรม (เครื่องใช้ไฟฟ้าในที่ นี้
หมายถึง เครื่องใช้ทุกชนิดที่ต้องเสียบปลั๊กไปบ้าน ยกเว้น นาฬิกาสมาร์ทวอทช์ (Smart
Watch) อนุญาตอย่างเดียวเท่านั้น
- ไม่อนุญาตให้ใช้มือถือที่มีราคาแพง และต้องฝากไว้ที่อธิการเท่านั้น ห้ามเก็บไว้กับตัวเอง
เด็ดขาด หากถูกจับได้ว่าแอบมีมือถือใช้จะถูกยึดและไม่คืน + ถูกทาโทษ + ลงบันทึกข้อ
ละเมิดกฏบ้านอบรม
- ไม่อนุญาตให้นากล้องถ่ายรูป กล้องถ่าย VDO. กีต้าร์ และของมีค่าอื่นๆมาใช้
- ไม่อนุญาตให้ใส่แหวนทุกชนิด สร้อยคอทองคา นาฬิกาที่มีราคามากกว่า 500 บาท หรือ
ถ้าเป็นนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) ไม่ควรเกิน 1200 บาท

5. รายการค่าใช้จ่ายของศูนย์อบรมแบร์โทนี

ค่าใช่จ่ายส่วนที่ผู้ปกครองรับผิดชอบ
รายการ ค่าใช้จ่าย (บาท)
1 ค่าเทอม 7,000
ตามความเหมาะสมของ
2 ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ผู้ปกครอง

ทางบ้านอบรมจะไม่เก็บค่าบารุงบ้าน แต่ขอให้ผู้ปกครองจ่ายค่าเทอมด้วยตนเอง ทางบ้านอบรมขอให้


ผู้ปกครองช่วยภาคเรียนละ 7,000.00 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน)

5.1 ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ผู้ปกครองฝากเงินไว้ที่คุณพ่ออธิการ โดยสามเณรจะมีสมุดบัญชีเบิกเงิน และทางบ้านอบรมจะแจ้งให้
ท่านผู้ปกครองทราบเป็นระยะ โดยเฉพาะช่วงเวลาปิดภาคเรียน โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณปีละ 5,000-
10,000 บาท ทั้งขึ้นอยู่การใช้จ่ายของสามเณรเอง ซึ่งมีรายการดังนี้
- ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าสมุดหนังสือ ค่าทาโครงงานต่าง
- ค่าเครื่องใช้ส่วนตัว
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าเดินทางกลับเยี่ยมบ้าน
- ฯลฯ
หากบัญชีติดลบเกิน 1,000.00 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ทางบ้านเณรจะแจ้งไปยังเด็กและผู้ปกครอง
เณรจะเบิกเงินไม่ได้จนกว่าผู้ปกครองจะส่งเงินมา

5.2 วิธีชาระเงิน :
1. ชาระทั้งหมดในวันที่นาบุตรหลานมาส่งตอนเปิดภาคเรียน
2. โดยการโอนเข้าบัญชีทที่ างบ้านเณรจะแจ้งให้ทราบ โดยชาระทั้งหมดในคราวเดียวกัน หรือ แบ่ง
ชาระเป็นงวด สามารถแบ่งเป็น 3 - 4 งวด งวดละ 2,000 บ. โดยตกลงกับคุณพ่ออธิการตัง้ แต่เปิด
เทอมว่าจะชาระอย่างไร
หมายเหตุ :
- หากผู้ป กครองท่ านใดมี ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ จ ะให้ลูก ได้มี โ อกาสเข้าค้นหา
กระแสเรียกในบ้านอบรมและตัวของนักเรียนเองที่มีความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเข้า
บ้านอบรมเพื่อฝึกฝนตนเองเป็นสามเณร แต่ติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าว สามารถที่จะ
ปรึกษากับ คุณพ่ออธิการบ้านอบรม ซึ่งทางบ้านอบรมจะให้ความช่วยเหลือโดยพิจารณา
จากความตั้งใจและจริงใจของผู้ปกครองรวมถึงความประพฤติของนักเรียนในบ้านเณร
5.3 การติดต่อระหว่างผู้ปกครองกับทางโรงเรียน
- หากผู้ปกครองต้อ งการติดต่อ กับ ทางโรงเรียน ผู้ป กครองต้องแจ้งให้กั บทางบ้านอบรมทราบก่ อน
ทุกครั้งที่จะติดต่อกับทางโรงเรียนไม่ว่าด้วยเรื่องใดหรือเหตุผลใดๆ
- หากทางโรงเรียนได้ติดต่อไปยังผู้ปกครองเพราะได้ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ ผู้ปกครองต้องแจ้งให้ทางบ้าน
อบรมทราบทันที เพื่อทางบ้านอบรมจะได้เป็นผู้พิจารณาในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับสามเณรที่อยู่ในความ
ดูแลของบ้านอบรม
*** ทั้ งนี้เพราะอธิการบ้านเณรคือผู้ป กครองที่ รับผิดชอบโดยตรง ตามหนัง สือยินยอมทั้ง กับ ทาง
โรงเรียนและทางบ้านเณรตั้งแต่เริ่มแรกเข้าบ้านเณร ผู้ ป กครองจะติ ด ต่ อ กั บ ทางโรงเรี ย นเพื่ อ ขอ
เอกสารต่างๆได้ ในกรณีที่ทางบ้านอบรมได้ยื่นใบแสดงความจานงลาออกจากโรงเรียนแล้วเท่านั้น

5.4 การส่งจดหมายหรือพัสดุ
- จดหมายทุกฉบับและพัสดุทุกชิ้นที่ผู้ปกครองส่งถึง บุตรหลานของท่าน หรือบุตรหลานของท่านส่งถึง
ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่น ต้องส่งผ่านที่อยู่ของบ้านอบรมเท่านั้น ห้ามส่งผ่านที่อยู่ของโรงเรียนหรือที่
อยู่ของบุคคลอื่นอย่างเด็ดขาด หากทางบ้านอบรมตรวจพบว่าผู้ปกครองหรือบุตรหลานได้ส่งจดหมาย
หรือพัสดุผ่านทางโรงเรียนหรือที่อยู่อื่น บ้านอบรมจะบันทึกความผิดทันที เพราะการกระทาดังกล่าว
เป็นการกระทาที่แสดงถึงความไม่ซื่อสัตย์ต่อบ้านอบรม และมีนัยแอบแฝง
- การส่งพัสดุของใช้เบ็ดเตล็ดและของใช้ส่วนตัวจากผู้ปกครองนั้น ขอให้สงวนไว้ ผู้รับการอบรมจะต้อง
รับผิดชอบด้วยตนเอง ตามตารางเวลาที่บ้านอบรมได้กาหนดให้เท่านั้น
- จดหมายทุกฉบับและพัสดุทุกชิ้น ที่ส่งจากสามเณรถึงผู้ปกครอง จะต้องถูกเปิดอ่าน และตรวจสอบ
ทุกครั้ง ทุกฉบับ ทุกชิ้น ทั้ งนี้เพื่ อป้องกันผลกระทบที่อาจจะมี ต่อ การอบรม และความมั่นคงของ
กระแสเรียก รวมถึงสถานภาพของการฝึกอบรมเพื่อเป็นสามเณร

5.5 การเดินทาง
- เมื่ อ ถึ ง ก าหนดการกลั บ เข้ า บ้ า นอบรม ผู้ ป กครองต้ อ งมาส่ ง บุ ต รหลานของท่ า นพร้ อ มกั น ที่
บ้านสติกมาติน สามพราน ทางคณะจะรับผิดชอบเรื่องการเดินทางไปบ้านอบรมที่ภูเก็ต
5.6 การกลับเยี่ยมครอบครัวของสามเณร
- การกลับเยี่ยมครอบครัวในช่วงเวลาที่กาหนดในแต่ละภาคเรียน คือ
- ปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ช่วงเดือนตุลาคม
- ปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม
- ปิดเรียนภาคฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายน (เฉพาะสามเณรที่ต้องมาเรียนภาคฤดูร้อน)
- (การปิดกลางภาคเรียนช่วงเดือนสิงหาคม บางปีอาจจะได้กลับบ้านหรือไม่ได้กลับบ้านทาง
บ้านอบรมจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)
5.7 กรณีสามเณรเจ็บป่วย รักษาพยาบาล
- กรณีสามเณรเจ็บป่วยหรือ ได้รับ บาดเจ็บเล็กน้อย ทางบ้านเณรจะมีผู้รับผิดชอบดูแลปฐมพยาบาล
ถ้าสามเณรเจ็บป่วยมาก ผู้ดูแลจะเป็นผู้พาสามเณรไปพบแพทย์ กรณีที่จาเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่
โรงพยาบาล ทางบ้านเณรจะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจัดคนมาเฝ้าที่โรงพยาบาลหรือรับสามเณรไป
รักษาตัวที่โรงพยาบาลใกล้บ้านตามที่เห็นสมควร หรือหากไม่สะดวกทางบ้านเณรจะจัดพี่เณรหรือ
เจ้าหน้าที่ ไปเฝ้า ค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้จ่าย ถ้าสามเณรได้รับอุบัติเหตุ
สามารถเบิกค่ารักษาในส่วนที่เป็นค่าประกันอุบัติเหตุจากบริษัทประกันภัยได้บางส่วน

6. การควบคุม ดูแลการกระทาความผิด
การปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยและคุณธรรมจริยธรรมในบ้านเณรเป็นสิ่งที่จาเป็น สามเณรต้องมีความ
ตั้งใจที่จะถือปฏิบัติตามระเบียบวินัยของบ้านเณรอย่างเคร่งครัด สามเณรที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย จะถูก
พิจารณาลงโทษตามระดับความรุนแรงของการกระทาความผิดไว้ดังกรณีต่อไปนี้
6.1 การกระทาความผิดที่ไม่ร้ายแรง

- เมื่อผู้ดูแลรับทราบหรือพบเห็นกระทาความผิด โดยทั่วไปจะว่ากล่าวตักเตือนดัวยวาจา
- เมือ่ ว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้งแล้ว ไม่พยายามปรับปรุงแก้ไขตนให้ดีขึ้น จะมีการบันทึกพฤติกรรมไว้
เป็นลายลัก ษณ์อั ก ษรพร้อมทั้ ง ให้ล งลายมื อชื่อในแบบบันทึ ก ความผิดนั้น คนใดถูก บันทึ ก 3 ครั้ง
ให้ออกหนังสือเตือนด้านพฤติกรรม โดยมีผู้ปกครองลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
- ถ้าใครที่ถูกบันทึกความบกพร่องทางพฤติกรรมแล้ว ยังไม่แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นอีก
จะถูกพิจารณาให้ออกเมื่อสิ้นปีการศึกษา

6.2 การกระทาความผิดที่ร้ายแรง

- เมื่อมีการทาความผิดที่ร้ายแรง คณะผู้ให้การอบรมจะสอบสวนข้อเท็จจริง และบันทึกพฤติกรรมไว้


เป็นหลักฐาน ให้ลงลายมือในเอกสารทัณฑ์บนพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ปกครองได้รับทราบและให้บาเพ็ญ
สาธารณประโยชน์
- หากกระทาความผิดร้ายแรงซ้าอีกเป็นครั้งที่ 2 จะถูกพิจารณาให้ออกจากบ้านอบรมโดยทันที
- การกระท าความผิดชนิดร้ายแรงในบางกรณีเ มื่ อสอบสวนแล้วคณะผู้ให้ก ารอบรมมี ความเห็นว่า
พฤติกรรมดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพพจน์และชื่อเสียงของบ้านอบรม ต่อบรรยากาศในบ้านอบรม
และต่อกระแสเรียกและความปลอดภัยของคนอื่น คนที่กระทาความผิดนั้นจะถูกพิจารณา ให้ออกจาก
บ้านอบรมในทันที
6.3 สิ่งที่ผู้ปกครองและสามเณรควรรับทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
1. การยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด และการพนันทุกรูปแบบ
2. การครอบครองอาวุธที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งครอบครองสื่อลามกต่างๆ
3. การลักขโมย และตั้งใจทาลายสมบัติของบ้านอบรม
4. การหนีออกจากบ้านอบรมด้วยความตั้งใจและวางแผนล่วงหน้า
5. การเก็บซ่อนเงิน ไม่ว่าวิธีใดหรือรูปแบบใด
6. การทาความเสื่อมเสียให้กับภาพพจน์ของโรงเรียน
7. เรียนอ่อนมาก ไม่มีการพัฒนาในด้านการเรียน (แต่ละเทอม ไม่ต่ากว่า 2.0 และจบม. 3 ไม่ต่ากว่า 2.50)
8. ติดต่อกับเพศตรงข้ามเกินความเหมาะสม
9. ขาดความศรัทธาพื้นฐานของคริสตชนขณะเมื่ออยู่บ้านเณรและบ้านของตนเอง
10. ก่อความไม่เรียบร้อยขณะเมื่อยู่บ้านอบรม

7. กรณีสิ้นสถานภาพผู้รับการอบรม
- ทางบ้านอบรมพิจารณาให้ออก
- เป็นข้อตกลงของทางโรงเรียนกับทางบ้านอบรมว่าหากออกจากบ้านอบรมก็ต้องลาออกจากโรงเรียน
และในทางกลับกันหากทาผิดข้อบังคับของโรงเรียนและต้องถูกเชิญออกจากโรงเรียน ก็ต้องออกจาก
บ้านอบรมด้วยเช่นกัน
- ทางบ้านอบรมจะเป็นผู้ยื่นความประสงค์ขอลาออกให้กับทางโรงเรียน และหลังจากนั้นผู้ปกครองเป็น
ผู้ดาเนินการเรื่องเอกสาร
- ทางบ้านอบรมจะไม่เป็นธุระหรือจัดการหาที่เรียนใหม่ให้ พ่อ-แม่ผู้ปกครองของนักเรียนต้องจัดการเอง
ทั้งเรื่องติดต่อขอเอกสารต่างๆจากโรงเรียนและหาที่เรียนใหม่
- เมื่อมีการพูดคุย และสรุปกับพ่อแม่ผู้ปกครองว่าต้องออกจากบ้านอบรมเมื่อสิ้นปีการศึกษา ทางบ้าน
อบรม จะพานักเรียนไปถ่ายรูปและส่งใบแจ้งความประสงค์ลาออกจากโรงเรียนในทันที โดยไม่ต้องรอ
จนถึงสิ้นปีการศึกษา
- ทุกคนที่ออกจากบ้านอบรมต้องเคลียร์บัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวของตนเอง ค่าเทอม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ให้เรียบร้อย และในวันที่ย้ายออกทุกคนต้องคืนเครื่องแบบให้กับทางบ้านอบรม
- ในบางกรณีที่ต้องออกจากบ้านอบรมด้วยความผิดร้ายแรง เช่น ลักขโมย ยาเสพติด ทาร้ายร่างกาย
ทางบ้านอบรมขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้ผู้รับการอบรมดังกล่าวกลับมายังบ้านอบรมอีก จนกว่าจะผ่านพ้นไป
แล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันที่ได้ย้ายออกจากบ้านอบรม

You might also like