Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม

THAI INDUSTRIAL STANDARD


มอก. 2528 เลม 1 2553

หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
PRESTRESSED CONCRETE SLEEPERS
PART 1 : DEFINITION OF TERMS RELATING TO PRESTRESSED CONCRETE SLEEPERS

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ICS 91.100.23 ISBN 978–616–231–092–8
มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ

มอก. 2528 เลม 1 2553

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท 0 2202 3300

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เลม 128 ตอนพิเศษ 18 ง


วันที่ 14 กุมภาพันธ พุทธศักราช 2554
คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 906
มาตรฐานหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับใชกบั รางรถไฟ
ประธานกรรมการ
รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ ผูท รงคุณวุฒจิ ากคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รองประธานกรรมการ
ผศ.สรรค สยามิภักดิ์ ผูท รงคุณวุฒจิ ากสถาบันเทคโนโลยีแหงเอเซีย
กรรมการ
ผศ.ชัยศักดิ์ พิสิษฐไพบูลย ผูท รงคุณวุฒจิ ากคณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
นายบันลือไชย ชัยบัณฑิตย ผูท รงคุณวุฒจิ ากการรถไฟแหงประเทศไทย
นายกําพล บุญชม
นายนิติ สัจจวิโส ผูทรงคุณวุฒิจากบริษัท ระบบขนสงมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
นายเยี่ยมชาย ฉัตรแกว ผูท รงคุณวุฒจิ ากการรถไฟฟาขนสงมวลชนแหงประเทศไทย
นายกลอม สวามิภักดิ์ ผูทรงคุณวุฒจิ ากบริษทั ไทยพีคอ นและอุตสาหกรรม จํากัด
นายยิ่งยศ เหลืองพิพัฒนสร
นายจตุพร ชูตาภา ผูทรงคุณวุฒิจากบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวลอปเมนต จํากัด (มหาชน)
นายประสิทธิ์ สูงสวาง ผูทรงคุณวุฒิจากบริษัท คอนกรีตสลีปเปอร แมนูแฟคเจอริ่ง (2000) จํากัด
กรรมการและเลขานุ การ
นางสาวนฤมล ถิรายน ผูท รงคุณวุฒจิ ากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม
มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ นี้ ประกาศใชครั้งแรกเปนมาตรฐาน
ผลิตภัณฑอุตสาหกรรม หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับทางรถไฟ : ขนาดทาง 1 เมตร มาตรฐานเลขที่ มอก.1737-
2542 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เลม 117 ตอนพิเศษ 23 ง วันที่ 15 มีนาคม พุทธศักราช
2543
เนื่องจากหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับทางรถไฟ : ขนาดทาง 1 เมตร เปนผลิตภัณฑที่มีผูใชเฉพาะการรถไฟ
แหงประเทศไทยรายเดียว จึงเห็นควรยกเลิกมาตรฐานดังกลาวตามเหตุผลที่อางในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3104 (พ.ศ.2545) เรื่องยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับทางรถไฟ
: ขนาดทาง 1 เมตร ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เลม 119 ตอนพิเศษ 130 ง วันที่ 17 ตุลาคม
พุทธศักราช 2545
ปจจุบนั มีหนวยงานผูใ ชเพิม่ ขึน้ ไดแก การรถไฟฟาขนสงมวลชนแหงประเทศไทย (รถไฟฟา MRT) และบริษทั ระบบ
ขนสงมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) (รถไฟฟา BTS) แตดวยเปนผลิตภัณฑซึ่งตองการขอกําหนดรายละเอียด
ทีเ่ ปนลักษณะเฉพาะตามความตองการของหนวยงานผูใ ช จึงเห็นควรใหการกําหนดเกณฑของคุณลักษณะทีต่ อ งการ
เปนไปตามความตองการของผูใช และขอตกลงในการซื้อขาย เพื่อใหคุณภาพและสมรรถนะที่ตองการสามารถ
เปรียบเทียบกันไดโดยอาศัยการทดสอบที่ประกาศกําหนดขึ้นนี้ใหเปนมาตรฐานกลาง เพื่อใหเกิดความสะดวก
ในการใชอา งอิง และเปรียบเทียบคุณสมบัตกิ ันได
มาตรฐานนี้ แยกออกเปน 3 เลม คือ
เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 2 : วิธีชักตวอยางหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 3 : วิธีทดสอบหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
มาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรมนีก้ ําหนดขึน้ โดยใชเอกสารตอไปนีเ้ ปนแนวทาง
AS 1085.14–2003 Railway track material Part 14 : Prestressed concrete sleepers
เอกสารการรถไฟแหงประเทศไทย การทดสอบหมอนคอนกรีตอัดแรงแบบติดตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง
ครบชุด

คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมไดพจิ ารณามาตรฐานนีแ้ ลว เห็นสมควรเสนอรัฐมนตรีประกาศตาม


มาตรา 15 แหงพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

(3)
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 4281 ( พ.ศ. 2553 )
ออกตามความในพระราชบัญญัตมิ าตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แหงพระราชบัญญัตมิ าตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม พ.ศ. 2511


รัฐมนตรีวา การกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม หมอนคอนกรีต
อัดแรงสําหรับรางรถไฟ เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ มาตรฐานเลขที่
มอก.2528 เลม 1–2553 ไว ดังมีรายการละเอียดตอทายประกาศนี้
ทัง้ นี้ ใหมผี ลตัง้ แตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป

ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553


ชัยวุฒิ บรรณวัฒน
รัฐมนตรีวา การกระทรวงอุตสาหกรรม

(5)
มอก. 2528 เลม 1-2553

มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
หมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
เลม 1 : บทนิยามเกี่ยวกับหมอนคอนกรีตอัดแรงสําหรับรางรถไฟ
ความหมายของคําทีใ่ ชในมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมนี้ มีดงั ตอไปนี้
1. หมอนคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete sleeper) หมายถึง แทงคอนกรีตอัดแรงแทงเดีย่ ว (mono block)
ทําดวยกรรมวิธีการดึงลวดอัดแรงกอน (pre–tensioning) เพื่อใชรองรางรถไฟ ควบคุมขนาดทาง และถาย
น้าํ หนักบรรทุก (load) จากรางรถไฟสูห นิ โรยทาง (ballast) ซึง่ ตอไปในมาตรฐานนีจ้ ะเรียกวา “หมอนคอนกรีต”
2. ขนาดทาง (track gauge) หมายถึง ระยะหางภายในของขอบรางทีร่ ะยะต่ํากวาระดับสันราง 14 มิลลิเมตร
3. ระยะหางระหวางราง (distance between rail centers at the head of the rail) หมายถึง ระยะหางระหวาง
ศูนยกลางหัวรางวัดทีส่ นั ราง
4. น้ําหนักบรรทุกกดเพลา (axle load) หมายถึง น้ําหนักบรรทุกในแนวดิ่ งที่เกิดจากมวลของรถไฟ และ
มวลบรรทุกที่กระทําลงบนราง 1 เพลา
5. ระยะเรียงหมอนคอนกรีต (sleeper spacing) หมายถึง ระยะหางระหวางศูนยกลางของหมอนคอนกรีตที่วาง
เรียงกันตามความยาวของรางรถไฟ
6. พื้นทีร่ องรับราง (rail seat) หมายถึง พื้นที่เรียบบนหมอนคอนกรีต สวนที่รองรับฐานราง
7. แผนรองราง (rail pad) หมายถึง แผนวัสดุรองระหวางรางกับหมอนคอนกรีต
8. วัสดุฝงยึ ด (insert) หมายถึง ชิ้นสวนที่ ฝงหรือหลอติดกับหมอนคอนกรีต เพื่ อติดตั้ งหรือยึดเครื่องยึด
เหนีย่ วราง
9. เครื่องยึดเหนี่ยวราง (fastener) หมายถึง ชุดอุปกรณสําหรับยึดเหนี่ยวรางกับหมอนคอนกรีต
10. หินโรยทาง (ballast) หมายถึง หินที่ใสไวใตและรอบๆ หมอนคอนกรีต
11. คอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete) หมายถึง คอนกรีตทีท่ ําใหเกิดความเคนภายในประสิทธิผล (effective
internal stress) ทีห่ นาตัด โดยกรรมวิธีการดึงลวดอัดแรงกอนทีจ่ ะใหโครงสรางรับแรง

-1-

You might also like