E Learning 41215 03

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 36

สธ ส

หน่วยที่ 3


ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์
ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม

ชื่อ ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์


วุฒิ น.บ., นบ.ท.
ต�ำแหน่ง ข้าราชการบ�ำนาญ
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 3
สธ ส
3-2 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

.
หน่วยที่ 3 ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์
สธ สธ
มส . มส
ตอนที่
3.1 ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสัตว์
3.2 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และของตกหล่น
หรือทิ้งขว้างจากโรงเรือน
3.3 ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะหรือทรัพย์อันตราย

แนวคิด
1. ความรับผิดเพือ่ ความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์เป็นความรับผิดทีไ่ ม่ตอ้ งมีการกระท�ำโดยจงใจ
หรือประมาทเลินเล่อ
2. ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เจ้าของหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสัตว์
ธ.

ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย
3. ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ช�ำรุดบกพร่อง
หรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ ผูค้ รองโรงเรือนหรือสิง่ ปลูกสร้างนัน้ ๆ จ�ำต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน
4. บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนหรือ
เพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร
.ม
5. ผคู้ รอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครือ่ งจักรกลจะต้องรับผิดเพือ่ ความเสีย
หายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น ผู้ครอบครองทรัพย์อันตรายก็จะต้องรับผิดในความเสียหาย
อันเกิดจากทรัพย์นั้นด้วย

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ได้
2. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ได้
3. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
และของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือนได้
4. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะและทรัพย์อันตรายได้
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-3

กิจกรรมระหว่างเรียน


1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 3
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 3.1-3.3
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
4. ฟังซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)

.
5. ฟังรายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
สธ สธ
6. ชมรายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์

มส . มส
7. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
8. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 3

สื่อการสอน

1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
ธ.

6. การสอนเสริม (ถ้ามี)
7. การสอนเสริมผ่านดาวเทียม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
.ม
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 3 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
สธ ส
3-4 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตอนที่ 3.1


ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสัตว์
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
3.1.1 ความเสียหายอันเกิดจากสัตว์

มส . มส
3.1.2 บุคคลที่ต้องรับผิดและข้อยกเว้นความรับผิด
3.1.3 การใช้สิทธิไล่เบี้ย

แนวคิด
1. บุคคลที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสัตว์ คือ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยง

รักษาไว้แทนเจ้าของ เนื่องจากบกพร่องในการดูแล
2. บคุ คลผูต้ อ้ งรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดจากสัตว์ หากพิสจู น์ได้วา่ ได้ใช้ความระมัดระวัง
สมควรแก่การเลีย้ งการรักษาตามชนิดและวิสยั ของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอืน่ หรือ
พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายย่อมจะเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงเท่านั้น
ก็พ้นความรับผิด
ธ.

3. บุคคลที่ต้องรับผิดจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่เร้าหรือยั่วสัตว์โดยละเมิดหรือเอาแก่
เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์ก็ได้

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 3.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
.ม
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดในความเสียหายได้
2. อธิบายและวินิจฉัยบุคคลที่ต้องรับผิดและข้อยกเว้นความรับผิดได้
3. อธิบายและวินิจฉัยการใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-5

ความน�ำ


ความรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์เป็นความรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดจากทรัพย์
หรือวัตถุสงิ่ ของเหมือนกัน เพราะสัตว์กเ็ ป็นทรัพย์วตั ถุสงิ่ ของอย่างหนึง่ แต่สตั ว์ยอ่ มแตกต่างกับทรัพย์วตั ถุ

.
สิ่งของอื่นก็เพราะเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจเคลื่อนไหวได้
สธ สธ
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์นั้น คือ เจ้าของหรือผู้รับ

มส . มส
เลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ เนื่องจากการขาดความระมัดระวังในการควบคุมดูแลสัตว์นั้น หากสัตว์ที่ก่อ
ให้เกิดความเสียหายเป็นสัตว์ปา่ หรือสัตว์ทมี่ ไิ ด้มผี ใู้ ดเป็นเจ้าของแม้กอ่ ให้เกิดความเสียหายอย่างใดๆ ก็ไม่
อาจฟ้องร้องให้รับผิดได้

เรื่องที่ 3.1.1
ความเสียหายอันเกิดจากสัตว์
ธ.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์


เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้อง
เสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวัง
อันสมควรแก่การเลี้ยงรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่า
ความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
.ม
อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่เร้าหรือ
ยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์น้ัน ๆ ก็ได้”
ทีเ่ รียกว่า “สัตว์” ไม่จำ� กัดว่าเป็นสัตว์เลีย้ ง สัตว์บา้ น สัตว์ปา่ สัตว์ดรุ า้ ย สัตว์ใหญ่เล็ก สัตว์เลือ้ ย
คลาน สัตว์ปีกก็อยู่ในความหมายที่ว่าเป็นสัตว์ทั้งสิ้น แต่ต้องเป็นสัตว์มีชีวิต มิฉะนั้นก็ก่อความเสียหายไม่
ได้ และต้องเป็นสัตว์มีเจ้าของซึ่งอาจเลี้ยงเองหรือมีผู้รับเลี้ยงรับรักษาแทนเจ้าของ สัตว์ที่ตายแล้วส่งกลิ่น
เหม็นไปทัว่ ก่อความเดือดร้อนให้แก่บคุ คลทัว่ ไป ไม่ใช่กรณีทจี่ ะบังคับกันตามมาตรา 433 ถ้าหากมีผนู้ ำ� มา
ทิ้งขว้างไว้ อาจปรับได้ด้วยมาตรา 420 เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระท�ำของตนเอง
มาตรา 433 ใช้ค�ำว่า “ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์” (damage caused by an animal) จะ
เห็นได้ว่าต้องมีการกระท�ำของสัตว์ (act of animal)1 สัตว์ที่เคลื่อนไหวในอิริยาบถ โดยสัญชาตญาณ
1
Mazeaud. Traité Théorique et Pratique de la Responsabilité civile Délictuelle et Contractuelle, t.2,6
éme, éd. 1975. p.174.
สธ ส
3-6 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ของมันไม่ใช่การกระท�ำของสัตว์ เช่น สัตว์หาว สัตว์บิดตัวไปมาในเวลาหลับ ท�ำนองเดียวกับความ


เคลือ่ นไหวในอิรยิ าบถของมนุษย์ โดยไม่รสู้ ำ� นึกในความเคลือ่ นไหวของตนย่อมไม่ถอื ว่าเป็นการกระท�ำเช่น
เดียวกันดังที่ได้ศึกษามาแล้ว
ถ้าสัตว์มสี ว่ นในการก่อความเสียหายแล้ว ก็อยูใ่ นความหมายทีว่ า่ ความเสียหายเกิดขึน้ เพราะสัตว์
ได้ทั้งสิ้น แม้สัตว์จะไม่เคลื่อนไหวอิริยาบถอย่างใด2 เพียงแต่สัตว์เป็นพาหะแห่งโรคติดต่อหรือก่อความ

.
ร�ำคาญให้เพื่อนบ้านก็เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์3
อย่างไรก็ดี ต้องมีส่วนทีเ่ ป็นการกระท�ำของสัตว์ (rôle actif) ที่ทำ� ให้เกิดความเสียหาย สัตว์ที่ไม่
สธ สธ
เคลื่อนไหว (animal immobile) ย่อมไม่มีส่วนที่เป็นการกระท�ำของสัตว์ (rôle passif) คนเดินถนนหรือ

มส . มส
ขับยานพาหนะไปชนเข้า เกิดความเสียหาย ไม่ใช่กรณีทเี่ ป็นความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์4 การทีส่ ตั ว์
ท�ำร้ายคนหรือท�ำให้รถเสียหาย ย่อมเป็นการกระท�ำของสัตว์ เป็นความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์ ความ
เสียหายอาจเกิดจากการกระท�ำหลายอย่าง เช่น กัด เตะ ขวิด ชน เป็นต้น5 การที่สัตว์เห่าหอนท�ำให้นอน
ไม่หลับ หรือขู่คำ� รามท�ำให้เกิดความตื่นตกใจกลัว หรือสลัดตัวหมัดตัวเห็บใส่บุคคลอื่นหรือบุกรุกเข้ามาใน
บริเวณบ้าน แม้จะไม่ทำ� ให้ทรัพย์สนิ อืน่ ใดเสียหาย ย่อมเป็นความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ สัตว์อาจก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือต่อสัตว์ด้วยกันเองก็ได้

กิจกรรม 3.1.1
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ ต้องมีการกระท�ำของสัตว์หรือไม่
ธ.

แนวตอบกิจกรรม 3.1.1
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ ต้องมีการกระท�ำของสัตว์ที่ท�ำให้เกิดความเสียหาย สัตว์ท่ีไม่
เคลือ่ นไหวย่อมไม่มสี ว่ นทีเ่ ป็นการกระท�ำของสัตว์ คนเดินถนนหรือขับยานพาหนะไปชนเข้า เกิดความเสีย
หาย ไม่ใช่กรณีทเี่ ป็นความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์ แต่การทีส่ ตั ว์ทำ� ร้ายคนหรือท�ำให้รถเสียหาย ย่อม
เป็นการกระท�ำของสัตว์ เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์
.ม
ความเสียหายอาจเกิดจากการกระท�ำหลายอย่าง เช่น กัด เตะ ขวิด ชน เป็นต้น การที่สัตว์เห่า
หอนท�ำให้นอนไม่หลับ หรือขูค่ ำ� รามท�ำให้เกิดความตืน่ ตกใจกลัว หรือสลัดตัวหมัดตัวเห็บใส่บคุ คลอืน่ หรือ
บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน แม้จะไม่ท�ำให้ทรัพย์สินอื่นใดเสียหาย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะ
สัตว์เช่นเดียวกัน

2
จิตติ ติงศภัทิย์. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ว่าด้วยมูลแห่งหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2523. หน้า 272.
3
Mazeaud, Op. cit, p. 176.
4
Mazeaud, Ibid. p. 175.
5
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนัก
พิมพ์นิติบรรณาการ. 2538. หน้า 118.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-7

เรื่องที่ 3.1.2


บุคคลที่ต้องรับผิดและข้อยกเว้นความรับผิด

บุคคลที่ต้องรับผิด

. ตามมาตรา 433 จะเห็นได้ในตัวว่าสัตว์ทกี่ อ่ ความเสียหายนัน้ ต้องเป็นสัตว์ทมี่ เี จ้าของ ไม่ได้หมาย


สธ สธ
ถึงสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ เช่น ก. เห็นสุนัขตัวหนึ่งเดินเพ่นพ่านอยู่กลางถนนสาธารณะด้วยความหิวโซ คิดว่า

มส . มส
เป็นสุนขั ทีม่ เี จ้าของ ความจริงไม่มเี จ้าของ ก. เกิดความสงสาร จึงเรียกมาทีบ่ า้ น ให้ขา้ วให้นำ�้ เพือ่ ให้สนุ ขั
มีกำ� ลังวังชาอันเป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรา 1318 พอมีกำ� ลังขึ้น สุนัขเกิดไปกัดสุนัขของ ข. เพื่อนบ้าน
เข้า ดังนี้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 433 เพราะเป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ ก. ไม่ต้องรับผิด แต่ถ้า ก. ยุสุนัขตัว
ที่นำ� มาให้ข้าวน�ำ้ นี้ให้กัดสุนัขของ ข. กรณีย่อมต้องด้วยมาตรา 420 เพราะ ก. กระท�ำละเมิดโดยใช้สุนัข
เป็นเครื่องมือ แม้เป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของก็ตาม สัตว์ที่เคยมีเจ้าของ ถ้าเจ้าของเลิกครอบครองด้วยเจตนา

สละกรรมสิทธิย์ อ่ มกลายเป็นสัตว์ทไี่ ม่มเี จ้าของ (มาตรา 1319) สัตว์ทมี่ เี จ้าของแต่หลงทางหรือเตลิดหนีไป
ไม่ใช่สตั ว์ทไี่ ม่มเี จ้าของ ส่วนสัตว์ปา่ (wild animal) ทีม่ เี จ้าของหรือไม่มเี จ้าของขอให้ดมู าตรา 1320-1322
เนื่องจากมาตรา 433 มิใช่สัตว์ที่บุคคลใช้สัตว์เป็นเครื่องมือกระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 แต่เป็น
ความรับผิดเนื่องมาจากความบกพร่องในการควบคุมดูแลสัตว์ มาตรา 433 จึงได้บัญญัติบุคคลที่ต้องรับ
ผิดไว้แต่เพียง 2 ประเภท คือ เจ้าของและบุคคลผูร้ บั เลีย้ งรับรักษาไว้แทนเจ้าของ บุคคลนอกจากนีไ้ ม่ตอ้ ง
ธ.

รับผิด เช่น คนใช้ ผู้ช่วยเลี้ยง ผู้มาดูแลสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้ามีเจ้าของและผู้รับเลี้ยงไว้แทนเจ้าของ


ก็มีปัญหาต่อไปอีกว่าใครต้องรับผิดซึ่งแยกพิจารณา ดังนี้
1. เจ้าของสัตว์ หมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในสัตว์นั้น ซึ่งย่อมหมายถึงผู้มีกรรมสิทธิ์รวมด้วย ความ
ตอนท้ายของมาตรา 433 วรรคหนึ่งแสดงให้เห็นว่า เจ้าของสัตว์จะต้องเป็นผู้เลี้ยงรักษาสัตว์ด้วย6 แต่ไม่
จ�ำเป็นที่เจ้าของสัตว์จะต้องครอบครองหรือยึดถือสัตว์อยู่ในมือจึงจะต้องรับผิด7 เจ้าของสัตว์อาจไม่เป็นผู้
.ม
เลี้ยงรักษาก็ได้ เช่น เจ้าของสัตว์ให้ผู้อื่นยืมหรือฝากผู้อื่นไว้ เป็นต้น เมื่อมีผู้ยืมผู้รับฝากก็ย่อมอยู่ในการ
เลี้ยงรักษาของบุคคลดังกล่าว เมื่อเป็นดังนี้ เจ้าของสัตว์ก็ไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาเลี้ยงดูสัตว์นั้น เป็นหน้าที่
ของผู้ยืมหรือรับฝากจะต้องดูแลรักษา แต่มิได้หมายความว่าในกรณีที่ไม่มีผู้รับเลี้ยงรักษาไว้แทนเจ้าของ
สัตว์ แต่สตั ว์หลงทางหรือเตลิดหลุดไป จะถือว่าเจ้าของสัตว์มไิ ด้ดแู ลรักษาสัตว์กห็ าไม่8 ยังคงต้องถือว่าอยู่
ในการเลี้ยงรักษาของสัตว์อยู่นั่นเอง
2. บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ค�ำว่า “รับเลีย้ งรับรักษา” ย่อมมีความหมายอยูใ่ นตัว
ด้วยว่า รับมาแล้วก็ยงั ไม่ตอ้ งเลีย้ งดูสตั ว์กไ็ ด้ แต่เป็นการรับไว้เพือ่ จะเลีย้ งสัตว์ (to keep) เท่านัน้ ไม่จำ� เป็น
ต้องถึงเวลาเลี้ยงดูให้อาหารกันจริงๆ เมื่อรับสัตว์มาแล้ว ยังไม่ถึงเวลาให้อาหาร สัตว์ไปก่อความเสียหาย
6
เรื่องเดียวกัน. หน้า 120.
7
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน.
หน้า 273.
8
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 121.
สธ ส
3-8 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ก็ยังต้องรับผิด9 และไม่หมายถึงการช่วยเลี้ยงช่วยรักษา เพราะในการเลี้ยงรักษาอาจมีผู้ช่วยเหลือโดย


เฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ ม้า ช้าง เสือ เป็นต้น เช่น ก. ยืมสุนัขมาจาก ข. คอยดูแลให้ ค. คนใช้
ให้อาหารสุนัขที่อยู่ในกรง ก. เป็นผู้รับเลี้ยงรักษา ส่วน ค. เป็นผู้ช่วยในการเลี้ยงรักษา สุนัขพลัดไปจาก
กรงไปกัด ง. ดังนี้ ก. ต้องรับผิดต่อ ง. ไม่ใช่ ค. ต้องรับผิด
ส่วนที่ว่า “แทนเจ้าของสัตว์” นั้น มิใช่หมายความว่าผู้รับเลี้ยงรับรักษาเป็นตัวแทนของเจ้าของ

.
เท่านัน้ เพราะมาตรา 433 มิใช่บทบัญญัตใิ นเรือ่ งตัวแทนหรือนิตกิ รรมสัญญา แต่เป็นบทบัญญัตใิ นลักษณะ
ละเมิด จะเห็นได้ว่ากรณีเช่นที่รับฝากหรือรับจ�ำน�ำสัตว์ไว้ ก็ย่อมถือว่าเป็นการรับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน
สธ สธ
เจ้าของสัตว์เหมือนกัน ค�ำว่า “แทนเจ้าของสัตว์” ในที่นี้จึงมีความหมายอย่างธรรมดาแต่เพียงว่า เจ้าของ

มส . มส
มิได้เลีย้ งดูสตั ว์เองเท่านัน้ แต่มบี คุ คลอืน่ เลีย้ งรักษาไว้ให้ซงึ่ สักวันหนึง่ อาจส่งสัตว์นนั้ คืนแก่เจ้าของเป็นการ
แน่นอนก็ได้10 ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ลัก ยักยอก ฉ้อโกงสัตว์มา หรือได้สัตว์มาโดยการกระท�ำผิดทางอาญาอื่นใด
ก็ต้องรับผิดในเมื่อสัตว์นั้นก่อความเสียหายต่อบุคคลอื่นในระหว่างที่อยู่ในการเลี้ยงรักษาของตน11 บุคคล
เหล่านี้ เมื่อเจ้าของสัตว์เรียกสัตว์คืนภายหลัง ก็ต้องส่งคืนให้เจ้าของ นักศึกษาจึงต้องท�ำความเข้าใจให้ดี
ว่า แม้จะไม่ใช่เรื่องท�ำแทนเจ้าของโดยมีสัญญาผูกพันกันอยู่ อย่างเช่นการได้สัตว์มาโดยการกระท�ำผิด

ต่างๆ นัน้ ไม่ใช่ผกู้ ระท�ำผิดเลีย้ งสัตว์ไว้แทนเจ้าของสัตว์กจ็ ริง ในความหมายของกฎหมายก็ตอ้ งถือว่าแทน
เจ้าของสัตว์เหมือนกัน ไม่ใช่เรือ่ งทีจ่ ะไปคิดกันอย่างบุคคลธรรมดาบางคนว่าลักของเขามาแล้วจะถือว่าแทน
เจ้าของสัตว์ได้อย่างไร คิดดูเหตุผลธรรมดา เช่น ยืมสัตว์ของเขามาผสมพันธุ์ เสร็จแล้วก็ตอ้ งส่งคืนเจ้าของ
ตามสัญญายืม เหตุใดลักขโมยของเขามาจึงจะไม่ต้องส่งคืนเล่า เพราะคนร้ายไม่มีเหตุที่จะได้รับความ
ธ.

คุ้มครองยึดถือไว้ได้ตามกฎหมาย
ที่ว่าเป็นการรับเลี้ยงรับรักษา ไม่ใช่ว่าเพียงให้ข้าวให้น�้ำสัตว์ แต่การฉีดยาให้สัตว์ก็เป็นการเลี้ยง
รักษาแล้ว อย่างกรณีผู้ช่วยในการเลี้ยงรักษาดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ยึดถือสัตว์อยู่ในมืออาจไม่ใช่ผู้รับเลี้ยง
รักษาสัตว์ก็ได้ เช่น ก. พา ข. มาเยี่ยม ค. ที่บ้าน ค. พา ข. ไปดูแลนกแก้วที่เชื่องของ ค. ในกรง และ
ก. ขอจับนก นกบินจากมือ ก. จิก และกัด ข. บาดเจ็บ ดังนี้ ไม่ใช่เรื่อง ก. เป็นผู้รับเลี้ยงรักษา ค. เจ้าของ
นกผู้เดียวต้องรับผิดต่อ ข. หากจะถือว่าเป็นความยินยอมของ ข. ให้นกท�ำร้ายหรือ ค. ได้เลี้ยงตามชนิด
.ม
และวิสยั ของสัตว์หรือมีพฤติการณ์อย่างอืน่ ที่ ค. ไม่ตอ้ งรับผิดตามมาตรา 433 วรรคหนึง่ ก็เป็นอีกปัญหาหนึง่
กล่าวได้วา่ ทีจ่ ะถือว่าเป็นการเลีย้ งรักษานัน้ ผูร้ บั เลีย้ งรักษาต้องเป็นผูม้ โี อกาสบังคับสัตว์ตามความ
จริงอันเนื่องมาจากหน้าที่ดูแล สั่งการ ควบคุมและใช้สัตว์12 เมื่อมีความบกพร่องในการควบคุมดูแล สัตว์
ไปก่อความเสียหายแก่บคุ คลอืน่ กฎหมายจึงได้บญ ั ญัตใิ ห้จำ� ต้องรับผิด และจะเห็นได้วา่ บุคคลผูร้ บั เลีย้ งรับ
รักษาสัตว์ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นผู้ครอบครองสัตว์นั้น เหตุนี้แม้เป็นผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ โดยสัตว์อยู่ในความ
ครอบครองของเจ้าของ ความรับผิดก็ต้องตกอยู่แก่ผู้รับเลี้ยงรักษา ไม่ใช่ตกอยู่แก่เจ้าของสัตว์13 เช่น บ้าน
9
เรื่องเดียวกัน.
10
เรื่องเดียวกัน. หน้า 122.
11
Mazeaud. Op. cit. p. 125.
12
Ibid. p. 151.
13
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 273.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-9

ของ ก. อยู่ใกล้ร้านสัตวแพทย์ ก. วานให้ ข. น�ำสุนัขของ ก. ไปฉีดยากันบ้า สุนัขเกิดไปกัด ค. ดังนี้ ก.


เป็นเจ้าของสัตว์ แต่ ข. เป็นผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ ข. ผู้เดียวต้องรับผิดต่อ ค. แต่ถ้า ก. ใช้ให้ ข. ไปตาม
สัตวแพทย์ที่บ้านเพื่อฉีดยากันบ้า ข. มีหน้าที่เพียงช่วยจับสุนัขให้แพทย์ฉีดยา สุนัขเกิดกัดแพทย์หรือ ข.
หรือบุคคลอื่น ก. เจ้าของสัตว์ก็ต้องรับผิด เพราะ ก. เจ้าของเป็นผู้บังคับ ควบคุมดูแลสุนัขในขณะนั้น
จึงเป็นผู้เลี้ยงรักษาสุนัขด้วย

. ในการที่จะพิเคราะห์ดูว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ไว้แทนเจ้าของนั้นย่อมต้องดูข้อเท็จจริงเป็น
เรือ่ งๆ ไป เพราะการทีจ่ ะถือว่ามีหน้าทีบ่ งั คับ ควบคุมดูแลสัตว์หรือไม่นนั้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เช่น ตาม
สธ สธ
ตัวอย่างข้างต้น ก. ไม่อยู่บ้าน ไปต่างจังหวัด มอบให้ ข. คนใช้ดูแลบ้าน ตลอดจนทรัพย์สินและสุนัขด้วย

มส . มส
ดังนี้ ข. เป็นผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ ไม่ใช่ ก. เจ้าของสุนัข ที่ว่ามานี้ หากจะพิจารณาในทางตัวบทกฎหมาย
ก็เพียงเป็นส่วนประกอบ ไม่ใช่กรณีที่จะถือว่าคู่สัญญามีหน้าที่ควบคุมดูแลสุนัขเสมอไป ซึ่งเป็นปัญหา
ข้อเท็จจริง เช่น ก. เช่าสุนขั มาจาก ข. เพือ่ ใช้ผสมพันธุ์ ก. ย่อมมีสทิ ธิใช้สนุ ขั ตามวัตถุประสงค์ในการทีเ่ ช่า
มา หาก ก. ให้ ค. ยืมสุนัขต่อไปอีก ค. เป็นผู้บังคับควบคุมดูแลสุนัขในขณะนั้น ค. ก็เป็นผู้รับเลี้ยงรักษา
สุนัขไม่ใช่ ก.

3. ถ้ามีทั้งเจ้าของและผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ใครเป็นผู้รับผิด มาตรา 433 บัญญัตวิ า่
เจ้าของทรัพย์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งถ้าหากเราจะดูแต่
เพียงตามถ้อยค�ำในตัวบท ก็จะคิดกันง่ายๆ ว่า กฎหมายใช้ค�ำว่า “หรือ” จึงหมายความว่าบุคคลใดบุคคล
หนึ่งในสองคนนี้ต้องรับผิดก็ได้ ซึ่งหาเป็นการถูกต้องไม่ บางคนอาจคิดว่ากฎหมายบัญญัติถึงเจ้าของสัตว์
เป็นคนแรก จึงต้องให้เจ้าของสัตว์รับผิดก่อน ถ้าเจ้าของสัตว์ไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงจะให้ผู้รับเลี้ยงรับ
ธ.

รักษารับผิด ซึง่ ก็ไม่เป็นการถูกต้องอีกเหมือนกัน ทีค่ ดิ กันดังนีก้ เ็ พราะยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์แห่งความรับผิด


เพียงแต่ดูตามถ้อยค�ำตามตัวบทเท่านั้น
เบือ้ งแรกเราต้องเข้าใจกันก่อนว่าเมือ่ สัตว์กอ่ ความเสียหายขึน้ แล้ว ผูท้ จี่ ะต้องรับผิดคงมีแต่ผเู้ ดียว
เท่านั้น คือ เจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงรักษาไว้แทนเจ้าของ มิใช่ว่าต้องรับผิดด้วยกันหรือร่วมกันรับผิด14
เราต้องคิดกันก่อนว่า เหตุใดกฎหมายจึงบัญญัตใิ ห้ผรู้ บั เลีย้ งรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องรับผิด ได้
กล่าวมาแล้วว่าความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์เนื่องมาจากความบกพร่องในการควบคุม
.ม
ดูแล จึงต้องมีผู้ควบคุมดูแลอันได้แก่เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ เมื่อเจ้าของมิได้เป็น
ผู้ควบคุมดูแล มิได้เป็นผู้เลี้ยงรักษาเองแล้ว ก็ต้องมีผู้ควบคุมดูแลเลี้ยงรักษาแทนเป็นสิ่งแน่นอน ฉะนั้น
จึงมิได้หมายความว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผูร้ บั เลีย้ งรับรักษาไว้แทนเจ้าของสัตว์คนหนึง่ คนใดเป็นผูร้ บั ผิด
โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว จึงหมายความว่าผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของอาจไม่มีก็ได้ แต่ถ้าหากมีผู้รับ
เลี้ยงรับรักษาก็ต้องรับผิด ถ้าไม่มีเจ้าของสัตว์ก็ต้องรับผิด ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 437 ทั้งผู้ครอบ
ครองและผูค้ วบคุมดูแลยานพาหนะอาจต้องรับผิดด้วยกันทัง้ สองคน กรณีหาเหมือนกับความรับผิดในความ
เสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ตามมาตรา 433 นี้ ซึ่งใช้ค�ำว่า “หรือ” เหมือนกันไม่ ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าของที่
เลีย้ งรักษาสัตว์หรือบุคคลผูร้ บั เลีย้ งรักษาไว้แทนเจ้าของจะมีขนึ้ ขณะเดียวกันไม่ได้15 หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง
14
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 124.
15
เรื่องเดียวกัน. หน้า 124-125.
สธ ส
3-10 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ถ้ามีบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสัตว์แล้ว เจ้าของก็มิใช่ผู้เลี้ยงรักษาสัตว์อยู่ในตัว ซึ่งนักศึกษา


จะได้เห็นชัดขึ้นอีกเมื่อศึกษาถึงความรับผิดตามมาตรา 437
เมื่อกฎหมายบัญญัติให้บุคคลผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ต้องรับผิดไว้เป็นเบื้องแรก ก็หมายความว่าจะ
ไปเรียกร้องไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนคืนจากเจ้าของสัตว์ไม่ได้ แม้ผู้รับเลี้ยงรักษาไม่สามารถช�ำระค่า
สินไหมทดแทนเพือ่ ความเสียหายได้ ผูเ้ สียหายก็ไม่มสี ทิ ธิเรียกร้องเอาจากเจ้าของสัตว์ได้ หรือจะเรียกเอา

.
จากบุคคลทั้งสองก็ไม่ได้ หรือแม้จะเลือกฟ้องเอาจากคนใดคนหนึ่งก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน16 ในกรณีที่สัตว์อยู่
ในความควบคุมดูแลของผู้รับเลี้ยงรักษาและได้ก่อความเสียหายแก่เจ้าของสัตว์นั้นเอง ผู้รับเลี้ยงรับรักษา
สธ สธ
ก็ต้องรับผิดต่อเจ้าของโดยหลักตามมาตรา 433 นั่นเอง17

มส . มส
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2510 มาตรา 433 บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับรักษารับผิด
แสดงว่าให้คนใดคนหนึ่งต้องรับผิด มิใช่ให้ร่วมกันรับผิด เนื่องจากความผิดในกรณีนี้เกิดเพราะการไม่ได้
ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษา ดังนั้น ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจึงต้องรับผิด
เพราะตนมีความผิดในการเลี้ยงและรักษา เว้นแต่จะพิสูจน์แก้ตัวได้

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2510 ถ้าหากไม่มผี รู้ บั เลีย้ งรับรักษาเจ้าของก็ตอ้ งรับผิดเพราะหน้าที่
เลี้ยงและรักษาย่อมเป็นของเจ้าของ อนึ่ง ในกรณีที่มีผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ เจ้าของอาจจะต้อง
ร่วมรับผิดด้วยในฐานะนายจ้างตามมาตรา 425 หรือตัวการตามมาตรา 427 ซึง่ เป็นความรับผิดนอกเหนือ
จากมาตรา 433
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2523 สุนัขของจ�ำเลยหลบหนีออกไปขณะที่จ�ำเลยเปิดประตูบ้าน
ธ.

สุนขั จึงออกไปกัดโจทก์ได้ แสดงว่าจ�ำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลีย้ งดูสนุ ขั จ�ำเลยจึงต้อง


ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ รวมทั้งทดแทนความตกใจและทุกข์ทรมานด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2542 จ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของช้างพลายนวล จ�ำเลยที่ 4
และที่ 5 เป็นบุตรจ�ำเลยที่ 3 และเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลไว้แทนเจ้าของ จ�ำเลยที่ 4 และที่ 5
น�ำช้างพลายนวลเข้ามาแห่ในงานขบวนแห่นาคกับช้างอืน่ ๆ ซึง่ มีชา้ งของโจทก์รวมอยูด่ ว้ ย ช้างพลายนวล
.ม
ชนช้างของโจทก์ได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการที่จ�ำเลยที่
5 น�ำช้างมาร่วมในขบวนแห่นาคเพราะอยู่คนละหมู่บ้านกัน แสดงให้เห็นว่า จ�ำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้รับ
เลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลโดยเด็ดขาด โดยจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รับประโยชน์และเกี่ยวข้องด้วย
ความรับผิดย่อมตกแก่จำ� เลยที่ 4 และที่ 5 ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433
จ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2559 ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 111 บัญญัติ
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ จูง ไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มี

16
จี๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2518.
หน้า 208.
17
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 126.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-11

ผู้ควบคุมเพียงพอ เมื่อจ�ำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสุนัขจึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องดูแลควบคุมมิให้สัตว์


กีดขวางการจราจร การที่สุนัขของจ�ำเลยทั้งสองวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะ
กระชัน้ ชิด ย่อมเป็นผลโดยตรงทีท่ ำ� ให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ลม้ เมือ่ ไม่ปรากฏจากทางน�ำสืบของจ�ำเลย
ทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร ดังนั้น
เหตุละเมิดจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจ�ำเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการ

.
ควบคุมดูแลสุนขั เมือ่ มีความเสียหายเกิดขึน้ เพราะสัตว์ จ�ำเลยทัง้ สองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 433 วรรคหนึ่ง
สธ สธ
มส . มส
ข้อยกเว้นความรับผิด
พึงสังเกตว่าตามตัวบทมาตรา 433 วรรคหนึ่ง ตอนแรก เมื่อเป็นเจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงรับ
รักษาแล้ว ก็ตอ้ งรับผิดโดยไม่คำ� นึงว่ากรณีจะเป็นอย่างไร เพราะเป็นความรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้
เพราะสัตว์ไม่ตอ้ งค�ำนึงว่าบุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การเลีย้ งการรักษาตามชนิด
และวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความ

ระมัดระวังถึงเพียงนั้นดังนี้หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นในวรรคหนึ่งตอนหลังอันบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้อง
พิสจู น์เพือ่ ให้ตนพ้นจากความรับผิด ถ้าไม่พสิ จู น์หรือพิสจู น์ให้รบั ฟังไม่ได้กไ็ ม่พน้ จากความรับผิด แต่บางที
มักมีอยู่เสมอที่ทางปฏิบัติก็ดี ค�ำพิพากษาของศาลก็ดี มักกล่าวปะปนกันไป เช่นกล่าวว่ามิได้ใช้ความ
ระมัดระวังในการดูแลสัตว์จึงก่อความเสียหาย ดังนี้เป็นต้น จึงขอให้นักศึกษาท�ำความเข้าใจแยกให้ดีว่า
ธ.

อย่างไรเป็นหลักเกณฑ์ อย่างไรเป็นข้อยกเว้น
แต่ตามมาตรา 433 อันเป็นความรับผิดของบุคคลในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์อนั เนือ่ งมา
จากความบกพร่องในการควบคุมดูแล กฎหมายได้บญ ั ญัตใิ ห้มขี อ้ ยกเว้นเช่นเดียวกับกฎหมายต่างประเทศ
เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น จีน กฎหมายบางประเทศไม่มีข้อยกเว้น เช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งย่อมแล้วแต่
นโยบายในการบัญญัติกฎหมายของแต่ละประเทศซึ่งไม่เหมือนกัน
ตามกฎหมายไทย ข้อยกเว้นตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 433 คือ บุคคลทีต่ อ้ งรับผิดพิสจู น์ได้วา่ ตน
.ม
ได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือพฤติการณ์อย่างอื่น
หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น ข้อยกเว้น
ดังกล่าวมานี้ เจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของมีหน้าที่พิสูจน์ดังกล่าวมาแล้ว พึงเข้าใจว่า
ข้อยกเว้นมีเพียง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะมีข้อยกเว้นอย่างอื่นๆ อีก กรณีอื่นไม่เป็น
ข้อยกเว้น เช่น ไม่มีเงินซื้ออาหารให้สัตว์กิน สัตว์จึงเที่ยวลักขโมยของเขากิน หรือสัตว์หลุดเพริดหนีไป
แล้วไปก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น เหล่านี้ไม่เป็นข้อยกเว้นให้พ้นจากความรับผิด
ทีว่ า่ ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลีย้ งการรักษาตามชนิดและวิสยั ของสัตว์ เป็นต้นว่าเลีย้ ง
สุนขั ดุกต็ อ้ งขังไว้ในกรง สุนขั บางชนิดอาจปล่อยไว้ในบริเวณบ้านได้เพราะไม่ทำ� อันตรายให้แก่คน เลีย้ งลิง
ก็ต้องขังไว้ในกรงหรือผูกโซ่ยึดเอาไว้ เลี้ยงเสือ แรด หมี ก็ต้องขังไว้ในกรง เลี้ยงโค กระบือ ก็อาจปล่อย
ให้กนิ หญ้าอยูต่ ามทุง่ ได้ในบางเวลา บางโอกาส แต่ถา้ เป็นโค กระบือดุ อาจต้องผูกเชือกไว้กบั ทีย่ ดึ หรือขัง
ไว้ในคอกมิให้ไปท�ำอันตรายแก่บุคคลอื่น
สธ ส
3-12 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2474 ได้ความว่ากระบือจ�ำเลยดุ จ�ำเลยผูกกระบือไว้ กระบือดิน้ เชือก
ขาด ไล่ขวิดบุตรจ�ำเลย จ�ำเลยเอาไม้ตีกระบือวิ่งหนีไป จ�ำเลยมิได้ติดตามจับมาให้ปลอดภัย กระบือจึงเข้า
สวนโจทก์และขวิดโจทก์บาดเจ็บ ดังนี้วินิจฉัยว่าจ�ำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันควรแก่วิสัยของสัตว์
ซึ่งจ�ำเลยทราบแล้วว่าดุ จ�ำเลยต้องรับผิด

. ส่วนที่ว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีพฤติการณ์อย่างอื่นนั้น ไม่เกี่ยวกับความยินยอมของผู้เสียหาย
หรือเหตุการณ์ทเี่ กิดจากเหตุสดุ วิสยั เช่น หยอกล้อเล่นกับสุนขั ลูบศีรษะเล่นหรือเอามือใส่ปากมันเล่น เป็น
สธ สธ
ที่เห็นได้ว่าได้ยินยอมให้สุนัขกัดท�ำร้ายได้ หรือฟ้าผ่ากรงหมีแตก ท�ำให้หมีออกมาเพ่นพ่านท�ำร้ายคน

มส . มส
ภายนอก เป็นต้น พฤติการณ์อย่างอื่นคงได้แก่ จะท�ำร้ายสัตว์ สัตว์จึงได้ท�ำร้ายเอา18 เป็นต้น
ส่วนทีว่ า่ ไม่ตอ้ งรับผิดเพราะความเสียหายย่อมจะต้องเกิดมีขนึ้ ทัง้ ทีไ่ ด้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียง
นัน้ เช่น ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2474 ข้างต้น จ�ำเลยน�ำสืบได้วา่ การผูกกระบือไว้เช่นนัน้ เป็นการ
ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่ปกติวิสัยของกระบือเช่นนั้นแล้ว แต่เกิดเหตุบังเอิญให้กระบือตื่นตกใจ จึง
ขาดหลุดไป แม้จะติดตามจับได้ในทันทีทนั ใด ก็ไม่สามารถจับกระบือทีต่ นื่ หลุดไปเช่นนัน้ ได้ทนั ท่วงที โจทก์

คงต้องรับบาดเจ็บอยู่นั่นเอง จ�ำเลยไม่ต้องรับผิด หรือผูกโซ่ลิงไว้กับหลักอย่างแน่นหนา ฟ้าคะนองลิงตื่น
ตกใจกลัว จึงดิ้นหลุดจากโซ่ไปได้ ไปรื้อกระเบื้องหลังคาบ้านผู้อื่นเสียหาย ดังนี้ แม้จะตามจับลิงไปทันทีก็
ไม่สามารถจับได้ ลิงคงรื้อหลังคาบ้านอยู่นั่นเองก็ไม่ต้องรับผิด
เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้ นักศึกษาจะต้องเข้าใจว่าเมื่อเจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน
เจ้าของได้พสิ จู น์ได้ความว่าได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลีย้ งการรักษาตามชนิดและวิสยั ของสัตว์
ธ.

หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ความว่าความเสียหายย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความ
ระมัดระวังถึงเพียงนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย บาปเคราะห์คงต้องตกอยู่แก่
ผู้เสียหายนั้นเอง บุคคลธรรมดาอาจคิดว่าสัตว์ก่อความเสียหายแล้ว จะไม่ต้องรับผิดได้อย่างไร ถ้าไม่อาจ
เอาค่าเสียหายได้จากเจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาแทนเจ้าของได้แล้ว จะเอาจากใครกันอีก จะมีความ
เป็นธรรมแล้วหรือ ดังนี้เป็นเรื่องนอกขอบเขตความรับผิดตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
.ม
อุทาหรณ์
เกี่ยวกับการไม่ใช้ความระมัดระวังอันควร
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2492 ช้างของจ�ำเลยตกมันเต็มที่ ถ้าได้ยนิ เสียงคนเป็นอาละวาดทันที
ช้างจ�ำเลยเพ่นพ่านในหมู่บ้านกว่า 20 วัน จ�ำเลยเฝ้าดูแต่ในเวลากลางวันห่างๆ เพราะเข้าใกล้ไม่ได้ ส่วน
เวลากลางคืนหาได้เฝ้าดูไม่ ปรากฏว่าช้างของจ�ำเลยท�ำร้ายนางพร้อมถึงตาย จ�ำเลยจึงใช้วธิ ยี งิ ขาช้าง และ
จับได้ จะว่าจ�ำเลยได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงตามชนิดและวิสัยของสัตว์ไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2523 สุนัขหลบหนีออกไปได้ขณะจ�ำเลยเปิดประตู สุนัขจึงออกไป
กัดโจทก์ได้ แสดงว่าจ�ำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลีย้ งดูสนุ ขั จ�ำเลยต้องชดใช้คา่ เสียหาย
ให้โจทก์รวมทั้งค่าทดแทนความตกใจและทุกข์ทรมานด้วย
18
เรื่องเดียวกัน. หน้า 128.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-13

ข้อสังเกต


ตามตัวบทมาตรา 433 มิได้หมายความว่า บุคคลใช้สัตว์เป็นเครื่องมือกระท�ำละเมิดอันจะบังคับ
กันได้ตามมาตรา 420 อยูแ่ ล้ว แต่เป็นเรือ่ งทีส่ ตั ว์กอ่ ความเสียหายขึน้ กฎหมายบัญญัตใิ ห้เจ้าของหรือผูร้ บั
เลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องรับผิดโดยที่ผู้ต้องรับผิดไม่ต้องกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ19
บุคคลอาจใช้สัตว์เป็นเครื่องมือ (instrumentality) ก่อการละเมิดได้ ไม่จ�ำกัดว่าสัตว์ที่ใช้นั้นจะ

.
เป็นสัตว์ที่มีเจ้าของหรือไม่ ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 433 ซึ่งต้องเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของ เช่น ก. ยุสุนัข
ของตนให้กัด ข. หรืออาจเป็นเรื่องที่บุคคลใช้สัตว์ของผู้อื่นกระท�ำละเมิด เช่น ค. ยุสุนัขของ ก. ให้กัด ข.
สธ สธ
หรือ ค. สอนให้ลิงของตนหรือของ ง. ลักขโมยมะพร้าวของ จ. เป็นต้น20 สอนให้นกแก้วนกขุนทอง

มส . มส
ด่าหมิ่นประมาทย่อมไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่สอนนั้นหมิ่นประมาทด้วยตนเอง21 ดังนี้เป็นต้น
กรณีทบี่ คุ คลใช้สตั ว์เป็นเครือ่ งมือก่อการละเมิด จะเห็นได้จากบทบัญญัตใิ น ปอ. ได้แก่ การปล่อย
ปละละเลยให้สัตว์เที่ยวไปโดยล�ำพัง (ป.อ. มาตรา 377) จนสัตว์ไปท�ำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ หรือ
ปล่อยปละละเลยสัตว์ที่ตนควบคุมให้เข้าไปในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินเพาะพันธุ์ไว้ หรือมี
พืชพันธุห์ รือผลิตผลอยู่ (ป.อ. มาตรา 395) ได้กอ่ ความเสียหายให้แก่ทรัพย์สนิ ของบุคคลอืน่ ดังกล่าว การ

ขู่เข็ญบังคับให้สัตว์ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น เช่น ให้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น ให้ลักขโมยสิ่งของ
ของผู้อื่น ก็เท่ากับบุคคลที่บังคับเป็นผู้กระท�ำการด้วยตนเองโดยใช้สัตว์เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ความรับผิดใน
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์อันจะบังคับกันได้ตามมาตรา 433 นี้ ต้องคงบังคับกันตามมาตรา 420
อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในการกระท�ำของตนเอง
ธ.

กิจกรรม 3.1.2
ก. ยืมสุนัขตัวผู้ของ ข. มาผสมพันธุ์กับสุนัขของ ก. ที่บ้าน ต่อมา ก. มีธุระไปต่างจังหวัด จึงเอา
สุนัขตัวที่ยืมมานั้นไปฝาก ค. ไว้ ระหว่างนั้นสุนัขแอบหนี ค. ไปขโมยของของแม่ค้าที่ตลาดสด ดังนี้ ท่าน
เห็นว่า ก. ข. และ ค. ผู้ใดต้องรับผิดต่อแม่ค้า
.ม
แนวตอบกิจกรรม 3.1.2
แม้สุนัขจะเป็นของ ข. แต่ก็อยู่ในการเลี้ยงรักษาของ ค. ผู้รับฝาก ค. จึงต้องรับผิดต่อแม่ค้า
ข. เจ้าของสุนัขและ ก. ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด

19
Prosser. Handbook of the Law of Torts (2nd). 1955, p. 111.
20
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 116-117.
21
J.A. Jolowiez, & T.E. LLis Lewis. Winfield on Tort (7th ed.). 1963, p. 474.
สธ ส
3-14 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 3.1.3


การใช้สิทธิไล่เบี้ย

. ถ้าบุคคลมาเร้าหรือยั่วสัตว์โดยละเมิดหรือสัตว์มาเร้าหรือยั่วสัตว์เป็นเหตุให้สัตว์ก่อความเสียหาย
ตามมาตรา 433 วรรคหนึง่ บุคคลทีต่ อ้ งรับผิดจะใช้สทิ ธิไล่เบีย้ เอาแก่บคุ คลทีเ่ ร้าหรือยัว่ หรือเอาจากเจ้าของ
สธ สธ
สัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้ (มาตรา 433 วรรคสอง)

มส . มส
ก่อนอื่นเราต้องไม่ลืมว่าบทบัญญัติมาตรา 433 เป็นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะ
สัตว์ ฉะนั้น บทบัญญัติในวรรคสอง ซึ่งเป็นความที่ต่อเนื่องมาจากวรรคหนึ่งนั้น ก็ต้องอยู่ในขอบเขตของ
เรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องบุคคลกระท�ำละเมิดโดยใช้สัตว์เป็นเครื่องมือ ซึ่งบุคคลต้องรับผิดใน
การกระท�ำของตนเอง เช่น ก. ยุสุนัขของ ข. ให้กัด ค. ดังนี้ เป็นเรื่อง ก. กระท�ำละเมิดโดยใช้สุนัขเป็น
เครื่องมือ ก. ต้องรับผิดในการกระท�ำของตนเองตามมาตรา 420 โดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ค.

โดยตรง ไม่ใช่ให้ ข. รับผิดชดใช้ไปก่อนแล้ว ข. จึงจะมาไล่เบี้ยเรียกร้องเอาจาก ก. ดังนี้ หาถูกต้องไม่
มักจะมีผเู้ ข้าใจผิดเสมอว่าตามวรรคสอง เป็นเรือ่ งใช้สตั ว์เป็นเครือ่ งมือกระท�ำละเมิด ซึง่ ความจริง
เมื่อใช้สัตว์เป็นเครื่องมือกระท�ำละเมิด ย่อมต้องปรับด้วยมาตรา 420 อยู่แล้ว ไม่ใช่ด้วยมาตรา 433 วรรค
สอง ทั้งนี้มีเหตุเพราะว่าตามมาตรา 433 ใช้ค�ำว่า “โดยละเมิด” เอาไว้ด้วย จึงท�ำให้หลงเข้าใจผิดไป
ดังกล่าว ส่วนความหมายของค�ำว่า “โดยละเมิด” จะได้กล่าวท�ำความเข้าใจกันในภายหลัง
ธ.

ที่ว่า “ใช้สิทธิไล่เบี้ย” หมายความว่า ผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 433 วรรคหนึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหม


ทดแทนให้ผู้ต้องเสียหายไปก่อน แล้วจึงจะมาไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์โดยละเมิด หรือเอาจาก
เจ้าของสัตว์อนื่ อันมาเร้าหรือยัว่ สัตว์นนั้ ๆ ไม่ใช่กรณีเช่นตามตัวอย่างข้างต้นซึง่ ไม่ใช่กรณีทจี่ ะไล่เบีย้ กันได้
ตามวรรคสองนี้ บุคคลหรือสัตว์อนื่ ทีม่ าเร้าหรือยัว่ สัตว์นนั้ อาจไม่มกี ไ็ ด้ กล่าวคือ สัตว์กอ่ ความเสีย
หายโดยไม่มีบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นเร้าหรือยั่ว แต่ถ้าหากมีแล้ว กฎหมายบัญญัติให้ใช้สิทธิไล่เบี้ยกันได้22
.ม
ถ้าไม่มกี ย็ อ่ มไม่อาจไล่เบีย้ เอาจากใครได้ เป็นเรือ่ งธรรมดา บุคคลทีต่ อ้ งรับผิดก็ยอ่ มต้องรับผิดไปโดยล�ำพัง
ตามมาตรา 433 วรรคหนึ่ง
ตามวรรคสอง ของมาตรา 433 ที่บัญญัติว่า “บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้น”
จึงหมายความว่า ต้องมีบคุ คลตามวรรคหนึง่ รับผิดเสียก่อนดังทีไ่ ด้ศกึ ษากันมาแล้ว ถ้าไม่รบั ผิด ก็ไม่มกี รณี
ทีจ่ ะต้องพิจารณาใช้สทิ ธิไล่เบีย้ กันได้ตามวรรคสอง กล่าวคือ ถ้าบุคคลผูต้ อ้ งรับผิดตามวรรคหนึง่ พิสจู น์ได้
ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ ตามข้อยกเว้นที่
บัญญัติไว้แล้ว บุคคลดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย เมื่อไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน จึงไม่ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยไปในตัว

22
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 129.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-15

อย่างไรเป็นการเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น เช่น ท�ำร้ายสัตว์ เอาวัตถุสิ่งของขว้างปาสัตว์ ล้อเลียนจนสัตว์


เกิดโทสะ เป็นต้น23 แต่การทีส่ นุ ขั ของ ก. ที่ ก. ผูกไว้ เห็น ข. เข้าก็เห่ากรรโชก ค. เห็นดังนัน้ คิดจะแกล้ง
ให้สุนัขกัด ข. จึงแก้โซ่ที่ผูกไว้ สุนัขจึงวิ่งไปกัด ข. ดังนี้ มิใช่การที่ ค. เร้าหรือยั่วสุนัขของ ก. แต่เป็นการ
ที่ ค. กระท�ำละเมิดต่อ ข. โดยใช้สุนัขของ ก. เป็นเครื่องมือ ค. ต้องรับผิดในการกระท�ำของตนเองตาม
มาตรา 420

. การเร้าหรือยัว่ สัตว์นนั้ อาจกระท�ำโดยบุคคลอืน่ ก็ได้ดงั ทีบ่ ญ


ั ญัตไิ ว้ในวรรคสองนัน้ และเป็นเหตุให้
สัตว์ทถี่ กู เร้าหรือยัว่ นัน้ ไปท�ำความเสียหายแก่บคุ คลอืน่ อีกทีหนึง่ ไม่ใช่ผทู้ เี่ ร้าหรือยัว่ นัน้ ถ้าเป็นการกระท�ำ
สธ สธ
ต่อผู้ที่เร้าหรือยั่วแล้วก็มิใช่เรื่องที่จะพิเคราะห์กันตามมาตรา 433 วรรคสอง ย่อมปรับได้ตามพฤติการณ์

มส . มส
อย่างอืน่ ตามวรรคหนึง่ ทัง้ ให้เจ้าของสัตว์หรือผูร้ บั เลีย้ งรักษาไว้แทนเจ้าของไม่ตอ้ งรับผิดอยูแ่ ล้ว24 ตัวอย่าง
การเร้าหรือยัว่ เช่น ก. เอาไม้ขว้างลิงของ ข. ด้วยความคึกคะนองลิงตืน่ ตกใจหนีขนึ้ ไปบนหลังคาบ้านของ
ค. ท�ำให้หลังคาบ้านเสียหาย ซึ่ง ก. ก็มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระท�ำต่อ ค. เพียงแต่กระท�ำไปด้วย
ความคึกคะนองเท่านั้น หรือสุนัขของ ก. เห่าเย้าแหย่เอาเท้าหยอกลิงของ ข. เล่น ลิงจึงวิ่งหนีเข้าไปใน
สวนไม้ดอกของ ค. เสียหาย ดังนี้ ข. ในฐานะเจ้าของลิงต้องรับผิดต่อ ค. เจ้าของบ้านหรือสวนไม้ดอก แต่

มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ก. ผู้ใช้ไม้ขว้างลิงเล่นหรือในฐานะที่เป็นเจ้าของสุนัขที่เห่าเย้าแหย่ลิงของ ข. เล่นนั้น
ตัวบทมาตรา 433 วรรคสอง ใช้ค�ำว่า “โดยละเมิด” (wrongfully) ด้วย ผู้ที่ไม่เข้าใจหลักเรื่อง
ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์อันเป็นความรับผิดที่ไม่ต้องมีการกระท�ำโดยจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อ มักเข้าใจผิดกันไปว่าเป็นการใช้สตั ว์เป็นเครือ่ งมือกระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 ซึง่ บุคคล
ผู้กระท�ำก็ย่อมต้องรับผิดตามมาตรา 420 อันเป็นความรับผิดในการกระท�ำของตนเองดังกล่าวมาแล้วแต่
ธ.

ตอนแรก ไม่ใช่ความรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะสัตว์ดงั ทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 433 นี้ มาตรา 433
วรรคสอง มีค�ำว่า “ละเมิด” อยู่ด้วย แต่ก็หาใช่เป็นการกระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 ไม่เลย ผู้ที่เร้าหรือ
ยั่วสัตว์มิได้กระท�ำต่อผู้ต้องเสียหายโดยละเมิดตามมาตรา 420 แต่เป็นเรื่องเร้าหรือยั่วสัตว์ ไปก่อความ
เสียหายแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ค�ำว่า “ละเมิด” ตามมาตรา 433 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติจากวรรคหนึ่ง
เกี่ยวกับความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์หาได้มีความหมายตรงกับค�ำว่า “ละเมิด” ตาม
มาตรา 420 แต่ประการใดไม่ มีความหมายแต่เพียงว่าผูท้ เี่ ร้าหรือยัว่ สัตว์นนั้ ได้กระท�ำไปโดยไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะ
.ม
ท�ำเท่านั้น25 แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นต้องมีเจตนาเร้าหรือยั่ว เช่น ตามตัวอย่างที่ ก. เอาไม้
ขว้างลิงด้วยความคึกคะนอง จะเห็นได้วา่ ก. ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำเช่นนัน้ แม้กฎหมายจะใช้คำ� ว่าเร้า (excited)
หรือยั่ว (provoked) ซึ่งในความหมายของศัพท์ภาษาไทยอาจมีความหมายไปในทางไม่ดี แต่ในทาง
กฎหมาย ผูท้ เี่ ร้าหรือยัว่ สัตว์อาจมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำได้กไ็ ด้ เช่นตามตัวอย่างดังกล่าว ถ้าหากลิงจะเข้ามายือ้ แย่ง
สิ่งของที่ ก. ถืออยู่ ก. จึงเอาไม้ขว้างลิงอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ลิงตื่นตกใจ หนีขึ้นไป
บนหลังคาบ้านของ ค. ท�ำให้หลังคาแตกหรือหลุดตกลงมา แม้จะถือว่า ก. ได้เร้าหรือยัว่ ลิง แต่ ก. ก็มสี ทิ ธิ
ที่จะท�ำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 433 วรรคสอง

23
เรื่องเดียวกัน. หน้า 129-130.
24
เรื่องเดียวกัน.
25
เรื่องเดียวกัน. หน้า 130.
สธ ส
3-16 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เมื่อกล่าวถึงความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ต้องเสียหายจะเห็นได้ว่า ผู้ต้องรับผิดตาม


มาตรา 433 วรรคหนึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหาย ถ้ามีกรณีตามวรรคสอง ผู้ต้องรับ
ผิดซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายไปแล้ว ก็ย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์โดย
ละเมิดอีกทีหนึ่ง ถ้ายังไม่ชดใช้ไป ก็ยังใช้สิทธิไล่เบี้ยไม่ได้ ส่วนผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์โดยละเมิดต้องรับผิดต่อ
ผู้ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่งซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ต้องเสียหายไปแล้ว ไม่ใช่รับผิดต่อผู้เสียหาย

.
แต่ถา้ ผูเ้ ร้าหรือยัว่ สัตว์ได้กระท�ำไปโดยมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำดังกล่าวแล้ว ผูต้ อ้ งรับผิดตามวรรคหนึง่ ก็จะใช้สทิ ธิไล่
เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่เร้าหรือยั่วดังกล่าวไม่ได้อยู่ในตัว
สธ สธ
มส . มส
กิจกรรม 3.1.3
ตามมาตรา 433 วรรคสอง ที่ว่า “ใช้สิทธิไล่เบี้ย” นั้น ท่านเข้าใจว่าอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 3.1.3

ตามมาตรา 433 วรรคสอง หมายความว่า ผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 433 วรรคหนึ่ง ต้องชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปก่อน แล้วจึงจะมาไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์โดยละเมิดหรือเอาจาก
เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ
ธ.
.ม
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-17

ตอนที่ 3.2


ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือ
สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือน

.
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป
สธ สธ
หัวเรื่อง

มส . มส
3.2.1 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ ก่อสร้างไว้
ช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ
3.2.2 ความรับผิดในความเสียหายเพราะของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือนไปในที่
อันมิควร

แนวคิด
1. ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ ก่อสร้างไว้ชำ� รุด
บกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอเป็นเรือ่ งทีบ่ คุ คลทีต่ อ้ งรับผิดมีความบกพร่องในการ
ดูแล มิได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กฎหมายจึงได้จ�ำกัดตัวบุคคลที่ต้องรับ
ผิดเอาไว้ คือ ผู้ครอง แต่มีข้อยกเว้นความรับผิดว่าถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตาม
ธ.

สมควรเพือ่ ปัดป้องมิให้เกิดความเสียหายแล้ว ผูเ้ ป็นเจ้าของจ�ำต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน


2. ผคู้ รองหรือเจ้าของจะใช้สทิ ธิไล่เบีย้ เอาแก่ผอู้ นื่ ทีต่ อ้ งรับผิดในการก่อให้เกิดความเสียหาย
ก็ได้
3. บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจาก
โรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในอันที่มิควร
.ม
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 3.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินจิ ฉัยความรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดจากโรงเรือน หรือสิง่ ปลูกสร้างอย่าง
อื่นก่อสร้างไว้ช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอได้
2. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดในความเสียหายเพราะของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจาก
โรงเรือนได้
3. อธิบายความแตกต่างระหว่างความรับผิดของบุคคลในการกระท�ำของตนเองโดยใช้
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นเครื่องมือกระท�ำละเมิดกับความผิดของบุคคลในความ
เสียหายที่เกิดขึ้นจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้
4. วินิจฉัยปัญหาความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
และของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือนได้
สธ ส
3-18 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 3.2.1


ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง
อย่างอื่นก่อสร้างไว้ช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ

.
สธ สธ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่

มส . มส
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ช�ำรุดบกพร่องก็ดี หรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่าน
ผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวัง
ตามสมควร เพื่อปัดป้องมิให้เกิดความเสียหายเช่นนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจ�ำต้องใช้ค่าสินไหม
ทดแทน
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือ
ค�้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย

ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดในการก่อให้เกิดเสียหาย
นั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้”
ตามมาตรา 434 เป็นเรื่องความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่าง
อื่นก่อสร้างไว้ช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ เป็นเรื่องที่บุคคลที่ต้องรับผิดมีความบกพร่องใน
การดูแล บุคคลที่ต้องรับผิดมิได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งถ้าเป็นการกระท�ำโดยจงใจหรือ
ธ.

ประมาทเลินเล่อก็ยอ่ มเป็นความผิดของบุคคลในการกระท�ำของตนเองอันย่อมบังคับกันได้ตามมาตรา 420


อยูแ่ ล้ว เพราะบุคคลอาจใช้โรงเรือนหรือสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ เป็นเครือ่ งมือก่อการละเมิดได้ตามมาตรา 420
ไม่ว่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นจะช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอหรือไม่ก็ตาม เช่น ใช้
ระเบิดท�ำลายรือ้ ตึกทีช่ ำ� รุดโดยประมาทเลินเล่อพังทลายลงถูกบุคคลอืน่ เสียหาย ย่อมเป็นการกระท�ำละเมิด
บังคับกันได้ตามมาตรา 420 อยูแ่ ล้ว26 หรือ ก. เป็นเจ้าของบ้านทีเ่ ก่าแก่ชำ� รุดทรุดโทรมหน้าต่างหลุดห้อย
.ม
จะหล่นลงข้างล่างอยู่แล้ว ก. เห็น ข. เดินทางข้างบ้าน นึกจะแกล้ง ข. เล่น จึงใช้มือผลักบานหน้าต่างที่
ห้อยอยู่นั้นหลุดไปถูกศีรษะ ข. ข้างล่าง ดังนี้ เป็นการกระท�ำโดยจงใจ ก. ต้องรับผิดต่อ ข. ตามมาตรา
420 ไม่ใช่ตามมาตรา 434
ค�ำว่า “โรงเรือน” (building) ต้องเข้าใจอย่างความหมายของกฎหมาย จึงไม่หมายถึงแต่เพียง
บ้านเรือนทีป่ ลูกสร้างด้วยไม้เท่านัน้ แต่มคี วามหมายถึงสิง่ ปลูกสร้างบนดินหรือใต้ดนิ ได้แก่ บ้าน ตึก เรือน
ไม้อยู่อาศัย ที่ท�ำการของรัฐบาลหรือธุรกิจของเอกชน ตึกที่ตั้งโรงเรียน โรงแรม ต่างก็เป็นโรงเรือนทั้งสิ้น
รวมทัง้ ส่วนประกอบของโรงเรือนด้วย เช่น หลังคา ประตู หน้าต่าง ระเบียง บันได ลิฟต์ทใี่ ช้ขนึ้ ลง27 ความ
จริงโรงเรือนก็เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง ส่วนค�ำว่า “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น” หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอย่าง
อืน่ ทีม่ ใิ ช่โรงเรือนทีก่ ล่าวมาแล้ว ได้แก่ สิง่ ปลูกสร้างทีต่ ดิ กับทีด่ นิ เช่น รัว้ บ้าน ก�ำแพง บ่อน�ำ้ ทางระบายน�ำ้
26
เรื่องเดียวกัน.หน้า 136.
27
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 276.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-19

คลอง ถนน สะพาน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนีก้ ไ็ ด้แก่สงิ่ ปลูกสร้างทีไ่ ม่ตดิ กับทีด่ นิ ด้วย เพราะกฎหมายมิได้


จ�ำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ จึงหมายถึงสังหาริมทรัพย์ด้วย แต่จำ� กัดเฉพาะสิ่งที่บุคคลท�ำขึ้น มีลักษณะ
ติดอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้เป็นครั้งคราว ก็เป็นสิ่งปลูกสร้างตามนัยอันเดียวกับโรงเรือนอยู่ในความหมาย
ของสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ เช่น กระท่อม ร้านเล็กๆ แผงลอย นัง่ ร้านทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ด้ ส่วนสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เองตาม
ธรรมชาติแม้มนุษย์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็ไม่ใช่โรงเรือน เช่น ถ�ำ้ แต่ถ้ามนุษย์ก่อสร้างขึ้น เช่น ถ�ำ้ จ�ำลอง

.
ภูเขาจ�ำลอง ก็ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างได้
ตามตัวบทเพียงแต่มคี วามเสียหายเกิดขึน้ เพราะเหตุทโี่ รงเรือน หรือสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ ก่อสร้าง
สธ สธ
ไว้ช�ำรุดบกพร่อง หรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายกับความช�ำรุด

มส . มส
บกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอนั้นเท่านั้นก็ต้องรับผิดแล้ว28 มูลความรับผิดตามมาตรานี้ คือ ความ
ช�ำรุดบกพร่องในการก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างตึกที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชา หรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ เช่น
ปลูกสร้างบ้านไม้ไว้ 70-80 ปีแล้ว จนบ้านเอียงไปข้างหนึ่ง ไม่จัดการบ�ำรุงรักษาจนชิ้นส่วนของบ้านหลุด
ไปถูกบุคคลอื่นเข้า หรือรั้วบ้านช�ำรุดทรุดโทรมลง ไม่จัดการซ่อมแซม ถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ย่อมปรับได้ด้วยมาตรานี้

โดยเหตุทคี่ วามรับผิดตามมาตรา 434 เป็นความรับผิดทีไ่ ม่ตอ้ งมีการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาท
เลินเล่อ กฎหมายจึงได้กำ� หนดตัวบุคคลที่ต้องรับผิดไว้ 2 ประเภท คือ ผู้ครองและเจ้าของ ที่ว่า “ผู้ครอง”
หมายถึง ผูม้ สี ทิ ธิครอบครองตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1367 ได้แก่ บุคคลทีไ่ ด้ยดึ ถือโดยมีเจตนา
ยึดถือเพือ่ ตน ผูบ้ กุ รุกเข้ามาครอบครองอันเป็นละเมิดย่อมเป็นผูม้ สี ทิ ธิครอบครอง29 ผูค้ รองอาจเป็นเจ้าของ
ธ.

ด้วยก็ได้ ส่วน “เจ้าของ” คือ ผู้ทรงสิทธิในกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน


ตามตัวบทมิได้หมายความว่า ผู้ครองกับเจ้าของต้องรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่
ผู้ต้องเสียหาย ความรับผิดตกอยู่แก่ผู้ครองก่อนเป็นเบื้องแรก ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
เพื่อปัดป้องมิให้เกิดความเสียหาย ก็ไม่ต้องรับผิด ผู้เป็นเจ้าของจึงจะต้องรับผิดและเจ้าของจะต้องรับผิด
โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง30 จะอ้างเหตุไม่ต้องรับผิด เช่น ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
หรือไม่มีเวลาดูแลต้องไปธุระต่างจังหวัดบ่อยก็ไม่ได้ทั้งสิ้น มีข้อสังเกตว่า ถ้าเจ้าของเป็นผู้ครอบครองเอง
.ม
ก็ยอ่ มไม่มที างพ้นจากความรับผิดตามมาตรานีไ้ ด้ บุคคลนอกจากทีก่ ฎหมายบัญญัตดิ งั กล่าวแล้วไม่มหี น้าที่
ต้องรับผิด เช่น แขกที่มาเยี่ยมเยียนผู้ครองหรือผู้ที่เข้ามาท�ำงานหรือเด็กๆ ที่เข้ามาเล่นในบริเวณบ้าน
เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2497 อาคารจ�ำเลยเอนปะทะอาคารของโจทก์เสียหาย จ�ำเลยต้องรับผิด
เหตุทผี่ เู้ ช่าอาคารไม่ยอมออกจากอาคาร จึงซ่อมแซมไม่ได้ ไม่เป็นข้อแก้ตวั ให้จำ� เลยพ้นจากความรับผิด
ตามฎีกาฉบับนี้ไม่มีประเด็นว่าผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อปัดป้อง
มิให้เกิดความเสียหาย
28
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 135-136.
29
เรื่องเดียวกัน. หน้า 137.
30
เรื่องเดียวกัน. หน้า 138.
สธ ส
3-20 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2513 สะพานข้ามห้วยอยู่ในความดูแลของเทศบาล (หมายความว่า


เทศบาลเป็นผูค้ รอบครองสะพาน) ราวสะพานช�ำรุดโหว่เป็นช่องอยู่ โจทก์ตกลงไปได้รบั อันตราย เทศบาล
ต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2516 ป้ายโฆษณาติดตั้งบนดาดฟ้าตึก ผู้เช่าสถานที่ติดตั้งป้ายเป็น
ผูค้ รองป้าย ผูร้ บั จ้างติดตัง้ และดูแลป้ายไม่ใช่ผคู้ รองร่วมด้วย ป้ายถูกพายุทมี่ ไี ด้ตามธรรมดาพัดพังลงท�ำให้

.
โจทก์เสียหาย ผู้เช่าสถานที่ซึ่งเป็นผู้ครองป้ายต้องรับผิด
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520 จ�ำเลยเป็นเจ้าของอาคาร 3 ชั้น จ�ำเลยให้เช่าอาคาร แต่ยังใช้
อาคารอยู่ด้วย จ�ำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคาร ผนังหลังคาอาคารพัง เพราะก่อสร้างไม่ดีหรือบ�ำรุงรักษาไม่

มส . มส
เพียงพอพังโดนผนังหรืออาคารตึกของโจทก์และของในตึกเสียหาย จ�ำเลยต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540 จ�ำเลยเป็นเจ้าของโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟ ซึ่งมี
การออกแบบโครงสร้างผิดพลาดและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาทีจ่ ะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้ เมือ่
มีพายุฝนเป็นธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ ท�ำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้ม
ลงทับคลังสินค้า ซึ่งมีสต็อกสินค้าของบริษัท ล. จ�ำเลยต้องรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 434 วรรคหนึ่ง

ตามมาตรา 434 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดความ
เสียหายแล้ว ผู้เป็นเจ้าของก็ต้องรับผิด ถ้าผู้ครองมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ก็ยังคงต้องรับผิดอยู่
ผูเ้ ป็นเจ้าของยังไม่ตอ้ งรับผิด กรณีทใี่ ช้ความระมัดระวัง เช่น ก. เช่าบ้านของ ข. อยูอ่ าศัย ฝ้าเพดานช�ำรุด
จะตกลงมาจึงเอาเชือกผูกไว้ก่อนแล้วบอกให้ ข. จัดการซ่อมแซมตามสัญญาภายในเวลาอันสมควร แต่ ข.
ธ.

ก็ไม่จัดการซ่อม ดังนี้ถือว่า ก. ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดความเสียหาย ค. มา


เยีย่ ม ก. บังเอิญไม้ฝา้ เพดานหลุดจากเชือกหล่นตกลงมาถูกศีรษะ ค. ดังนี้ ข. ต้องรับผิดต่อ ค. ก. ไม่ตอ้ ง
รับผิด
บทบัญญัติมาตรา 434 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกต้นไม้หรือกอไผ่
หรือในการค�้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย เป็นหน้าที่ของผู้ครองหรือเจ้าของจะต้องรับผิดโดยนัยเช่นเดียวกับ
ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ควรจะตัดโค่นต้นไม้รากเน่าลงเสียก่อนที่ต้นไม้จะโค่นลงทับที่ของเพื่อนบ้านเสียหาย
.ม
เป็นต้น31
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2505 โจทก์จำ� เลยต่างเป็นผูเ้ ช่าทีด่ นิ ของวัดปลูกเรือนอาศัยอยู่ จ�ำเลย
ได้ปล่อยปละละเลยให้ตน้ มะม่วงทีข่ น้ึ อยูใ่ นทีด่ นิ ทีจ่ ำ� เลยเช่าแผ่กงิ่ ก้านสาขาเข้ามาคลุมหลังคาเรือนของโจทก์
เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 434
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 ต้นสนข้างถนนที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนั้นมีสภาพผุกลวง
แม้มฝี นตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสัน้ ๆ มีฟา้ คะนองในวันเกิดเหตุ และความเร็วของลมก็เป็นความเร็ว
ปกติ ยังท�ำให้ตน้ สนล้มทับรถยนต์ของผูเ้ สียหาย ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่าไม่ใช่เหตุสดุ วิสยั แต่เป็นความบกพร่อง
ของเทศบาลที่ไม่ยอมโค่นหรือค�ำ้ จุนต้นสนเพื่อป้องกันความเสียหายแก่ผู้อื่น เทศบาลจึงต้องรับผิด

31
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 278.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-21

กรณีมีผู้อื่นต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดความเสียหาย


การทีโ่ รงเรือนหรือสิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ ช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอก่อความเสียหาย
ขึ้นนั้นอาจเกิดจากการกระท�ำของผู้อื่นอีกก็ได้ แม้กระนั้นผู้ครองหรือเจ้าของแล้วแต่กรณี ก็ยังต้องรับผิด
อยู่ตามมาตรา 434 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี
ที่วา่ “ถ้ายังมีผ้อู ื่นอีกทีต่ ้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหาย” ตามมาตรา 434 วรรคสาม อาจ

.
มีผู้เข้าใจผิดไปว่าผู้อื่นนั้นกระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 ซึ่งเป็นปัญหาท�ำนองเดียวกับมาตรา 433 วรรค
สธ สธ
สอง ดังที่ได้ศึกษากันมาแล้ว ถ้าเป็นเรื่องที่บุคคลอื่นใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นเป็นเครื่องมือ
ก่อการละเมิดก็ย่อมเป็นความรับผิดของบุคคลในการกระท�ำของตนเอง ย่อมบังคับกันได้ตามมาตรา 420

มส . มส
อยูแ่ ล้วเช่นเดียวกัน ไม่มที างทีจ่ ะบังคับกันได้ตามมาตรา 434 นีไ้ ด้ เราต้องไม่ลมื ว่าความรับผิดตามมาตรา
434 เป็นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น บุคคลที่ต้องรับผิดได้
กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ฉะนัน้ บทบัญญัตใิ นวรรคสามซึง่ เป็นความทีต่ อ่ เนือ่ งมาจากวรรคหนึง่
และวรรคสองนัน้ ก็ตอ้ งอยูใ่ นขอบเขตของเรือ่ งดังกล่าวเช่นเดียวกัน กล่าวคือ บุคคลอืน่ ทีต่ อ้ งรับผิดในการ
ก่อให้เกิดความเสียหายตามวรรคสามนี้ ก็ต้องไม่ได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อตามมาตรา 420

ด้วยเช่นเดียวกับผู้ครองหรือเจ้าของ มีแต่การกระท�ำซึ่งมิได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ตัวอย่างตามมาตรา 434 วรรคสาม เช่น ก. เป็นเจ้าของและผู้ครองบ้านหลังหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเก่า
แก่ชำ� รุดทรุดโทรมอยู่ ข. มาเยีย่ ม ก. ทีบ่ า้ น ได้เปิดหน้าต่างออกไปรับอากาศบริสทุ ธิบ์ งั เอิญบานหน้าต่าง
หลุดตกลงไปถูกศีรษะ ค. ข้างล่าง แม้ ข. จะมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อได้เปิดอย่างระมัดระวังเพราะ
ธ.

เห็นว่าเป็นบ้านทีเ่ ก่าแก่ชำ� รุดทรุดโทรมก็ตาม ดังนี้ ก. ต้องรับผิดต่อ ค. ตามวรรคหนึง่ แม้ ก. จะมิได้เป็น


ผู้เปิดหน้าต่าง
หรือแม้ ก. จะเป็นเจ้าของและผู้ครองต้นมะม่วงในบริเวณบ้านด้วยก็ตามแต่ต้นมะม่วงมีกิ่งที่ผุ ง.
ขึ้นต้นมะม่วงโดย ก. อนุญาต บังเอิญเท้าพลาดไปเหยียบกิ่งที่ผุเข้าโดยไม่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ
กิ่งหักตกลงไปถูก จ. ข้างล่างบาดเจ็บ ดังนี้ ก. ก็ต้องรับผิดต่อ จ. ตามวรรคสองประกอบด้วยวรรคหนึ่ง
แต่ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้า ข. ก็ดี ง. ก็ดี จงใจหรือประมาทเลินเล่อท�ำให้บานหน้าต่างหรือกิ่งไม้
.ม
ที่ผุหักตกลงไปถูก ค. หรือ จ. แล้วแต่กรณี เป็นเรื่องที่ ข. หรือ ง. กระท�ำละเมิดต่อ ค. หรือ จ. โดยตรง
ตามมาตรา 420 ไม่ใช่กรณีที่ ก. จะต้องรับผิดตามมาตรา 434 นี้แต่ประการใด
กรณีตามวรรคสาม เมือ่ บุคคลทีต่ อ้ งรับผิดได้ใช้คา่ สินไหมทดแทนให้แก่ผตู้ อ้ งเสียหายไปแล้ว อาจ
ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ต้องรับผิดในการก่อความเสียหายนั้นได้ ผู้อื่นนั้นต้องรับผิดต่อผู้ครองหรือเจ้าของ
ไม่ใช่รับผิดต่อผู้เสียหาย ถ้าผู้ครองหรือเจ้าของยังไม่ได้ใช้ไป ก็ยังใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้อื่นไม่ได้ ท�ำนอง
เดียวกับที่ศึกษามาแล้วเกี่ยวกับมาตรา 433 วรรคสาม32

32
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 139.
สธ ส
3-22 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

การเรียกให้จัดการตามที่จ�ำเป็นเพื่อบ�ำบัดปัดป้องภยันตราย


ป.พ.พ. มาตรา 435 บัญญัตวิ า่ “ผู้ใดจะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูก
สร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จ�ำเป็นเพื่อบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายนั้น
เสียได้”
มาตรานี้เป็นวิธีการพิเศษที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่จะประสบความเสียหายจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

.
อย่างอื่นของผู้อื่นที่จะเรียกให้จัดการตามที่จ�ำเป็นเพื่อบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียก่อนที่จะเกิดความ
เสียหายนั้น แม้จะเป็นภยันตรายชนิดที่เกิดขึ้นตามมาตรา 434 หรือชนิดอื่นนอกจากนั้นก็ได้33 ไม่จำ� เป็น
สธ สธ
ต้องช�ำรุดบกพร่องหรือบ�ำรุงรักษาไม่เพียงพอ เพราะได้บัญญัติยกขึ้นเป็นอีกมาตราหนึ่งต่างหาก34 การ

มส . มส
เรียกร้องตามมาตรานีก้ ค็ อื ให้จดั การซ่อมแซมหรือสร้างใหม่35 หรือจัดการมิให้พงั หรือทลายลงมาได้รวมทัง้
การใช้สิทธิเรียกร้องคือฟ้องคดีต่อศาลด้วย36 บุคคลที่อาจเรียกร้องได้ต้องเป็นบุคคลที่จะได้รับความเสีย
หาย เช่น ระเบียงบ้านของ ก. เก่าแก่อยู่ริมซอยก�ำลังจะพังลงมา ข. เดินไปมาในซอยนั้นทุกวันเพราะมี
บ้านอยู่ในซอยเดียวกันนั้น ข. ชอบที่จะเรียกร้องให้ ก. ซ่อมแซมหรือจัดท�ำใหม่เพื่อมิให้พังลงมา

กิจกรรม 3.2.1
ก. พักอาศัยอยู่กับ ข. ที่บ้านของ ข. ซึ่งเป็นบ้านเก่าแก่ทรุดโทรมที่ ข. ครอบครอง ก. เห็นฝา
บ้านแผ่นหนึ่งก�ำลังจะหลุดตกลงมาอยู่แล้วและเห็น ค. เดินผ่านมา คิดจะแกล้ง ค. เล่น จึงใช้ไม้เคาะฝา
ธ.

บ้านตกลงไปถูก ค. บาดเจ็บ ดังนี้ ก. หรือ ข. ต้องรับผิดต่อ ค. หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 3.2.1
แม้ ก. จะเป็นผู้อาศัยอยู่กินกับ ข. ก. ก็ต้องรับผิดต่อ ค. เพราะได้กระท�ำละเมิดต่อ ค. โดยจงใจ
ใช้ฝาบ้านเป็นเครือ่ งมือก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 420 ส่วน ข. แม้จะเป็นเจ้าของและผูค้ รอบครอง
บ้านก็ไม่ต้องรับผิดต่อ ค. ตามมาตรา 434
.ม

33
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ (เล่ม 1, แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2505)
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสาส์น. 2478. หน้า 652.
34
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 141.
35
Rossel. Mannel de Droit Federal des Obligations, t.1, 1920, p. 114.
36
Ibid.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-23

เรื่องที่ 3.2.2


ความรับผิดในความเสียหายเพราะของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจาก
โรงเรือนไปในที่อันมิควร

.
สธ สธ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 บัญญัตวิ า่ “บุคคลผูอ้ ยูใ่ นโรงเรือนต้องรับผิดชอบ

มส . มส
ในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนัน้ หรือเพราะทิง้ ขว้างของไปตกในทีอ่ นั มิควร”
ความรับผิดตามมาตรานี้เป็นความรับผิดของบุคคลที่ไม่ได้เกิดจากการกระท�ำโดยจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่ออีกมาตราหนึ่ง ถ้าผู้ใดท�ำให้ของตกหล่นหรือทิ้งขว้างไปให้เสียหายแก่บุคคลอื่นโดยจงใจ
หรือประมาทเลินเล่อ ย่อมต้องรับผิดฐานละเมิดตามมาตรา 42037 เช่น ก. ยืนอยู่บนชั้นบนของบ้านของ
ตนเองเห็น ข. เดินมา ต้องการจะแกล้ง ข. เล่น จึงเอาสิ่งของขว้างลงไปถูก ข. หรือบ้าน ค. อยู่ริมถนน
ค. ก�ำลังปลูกต้นไม้ในกระถางที่ระเบียงบ้านโดยประมาทเลินเล่อท�ำให้กระถางหล่นลงไปถูก ง. ข้างล่าง

ดังนี้ เป็นเรื่องที่ ก. หรือ ค. กระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 โดยใช้สิ่งของหรือกระถางต้นไม้เป็นเครื่องมือ
ต้องรับผิดตามบทมาตราดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับความรับผิดตามมาตรา 436 นี้แต่ประการใด
ค�ำว่า “โรงเรือน” ขอให้ดูค�ำอธิบายเกี่ยวกับมาตรา 434 ตามมาตรานี้หมายถึง สิ่งปลูกสร้าง
ที่ใช้เป็นที่อยู่ของบุคคล อาจเป็นโรงเรือนที่บุคคลอยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจอย่างใดก็ได้38 ตามตัวบท
ธ.

จ�ำกัดเฉพาะโรงเรือน ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและต้นไม้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 434 ถ้าสิ่งของ


ตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นเช่น สะพาน เป็นต้น กรณีไม่ต้องด้วยมาตรานี้
มูลความรับผิดตามมาตรานี้ เกิดจากของตกหล่นจากโรงเรือนหรือทิ้งขว้างไปตกในที่อันมิควร
ซึง่ ต้องหมายความว่าทิง้ ขว้างไปจากโรงเรือนเช่นเดียวกัน39 ไม่ใช่ทงิ้ ขว้างไปจากทีอ่ นื่ แล้วไปตกในบริเวณ
โรงเรือนทีว่ า่ “ของ” นัน้ ไม่จำ� กัดว่าเป็นของชนิดใด แต่คงไม่ใช่ชนิ้ ส่วนของโรงเรือนทีช่ ำ� รุดบกพร่องตกหล่น
ลงไป40 เพราะถ้าเป็นส่วนประกอบของโรงเรือน ย่อมบังคับกันได้ตามมาตรา 434 ดังที่ศึกษากันมาแล้ว
.ม
แต่ถ้ากระเบื้องมุงหลังคาเปิดออกเพราะแรงลม ไม่เกี่ยวกับโรงเรือนช�ำรุดบกพร่อง แล้วตกหล่นลงไป
ย่อมบังคับกันได้ตามมาตรา 436 นี้
ค�ำว่า “ตกหล่น” หมายถึง อาการที่เคลื่อนจากที่สูงลงสู่พื้นล่างโดยธรรมชาติ ไม่จ�ำกัดความรับ
ผิดว่าของจะต้องตกลง ณ ที่ใด อาการที่เคลื่อนจากที่ตกหรือหล่นลง ก็ไม่จ�ำกัดว่ามีบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น
มากระท�ำซึง่ ความจริงย่อมจะไม่ตกลงไปเอง นอกจากจะมีเหตุภายนอกมาท�ำให้สงิ่ นัน้ เคลือ่ นจากทีต่ งั้ เดิม
ลงสูเ่ บือ้ งล่าง ถ้าเกิดความเสียหายเพราะอาการตกหล่นจากโรงเรือนแล้ว ก็แสดงให้เห็นความไม่สมควรใน
การทีข่ องนัน้ ได้อยูใ่ นโรงเรือน ณ ทีท่ อี่ าจตกลงมาท�ำให้เกิดความเสียหายขึน้ ได้ ส่วนค�ำว่า “ทิง้ หรือขว้าง”
37
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 141.
38
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 281.
39
เรื่องเดียวกัน.
40
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 142.
สธ ส
3-24 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

(thrown) หมายถึง การที่บุคคลตั้งใจกระท�ำให้ของเคลื่อนจากที่ตั้งไปตก ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่ที่ของจะตก


จากที่ตั้งเดิมลงสู่เบื้องล่างตามธรรมชาติ41 ไม่เกี่ยวกับการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ42 อันเป็น
หลักเกณฑ์แห่งความรับผิดตามมาตรา 420 การทิ้งขว้างไปโดยการกระท�ำของบุคคลนั้นอาจทิ้งขว้างไป
ณ ที่ใดก็ได้ ความรับผิดอยู่ที่ทิ้งขว้างจากโรงเรือนไปตกในที่อันมิควร ถ้าได้ตั้งใจทิ้งขว้างแล้ว แม้จะไม่
ตัง้ ใจให้ตกในทีอ่ นั มิควร แต่ของไปตกในทีอ่ นั มิควร ก็ตอ้ งรับผิดอยูน่ นั่ เอง43 ทีว่ า่ ทิง้ ขว้างตามมาตรา 436

.
เห็นได้ในตัวว่าเป็นการกระท�ำของบุคคลที่ตั้งใจกระท�ำดังกล่าว ไม่ใช่การกระท�ำของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง
หมี เป็นต้น44 ซึ่งอาจทิ้งขว้างได้เช่นเดียวกับคน และย่อมบังคับกันได้ตามมาตรา 433 ดังที่ได้ศึกษากัน
สธ สธ
มาแล้ว

มส . มส
ส�ำหรับบุคคลที่ต้องรับผิดนั้น กฎหมายใช้คำ� ว่า “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน” แต่ก็ไม่ได้หมายความ
ว่าบุคคลใดๆ ทีเ่ ข้าไปอยูใ่ นโรงเรือนนัน้ ก็ตอ้ งรับผิดเสมอ ไม่หมายถึงเจ้าของหรือผูค้ รอบครองโรงเรือน แต่
เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงเรือนนั้นก็อาจเป็นผู้อยู่ในโรงเรือนได้ “ผู้อยู่ในโรงเรือน” หมายถึง ผู้ที่อยู่ใน
ฐานะทีจ่ ะรับผิดชอบในพฤติการณ์ของโรงเรือน คือ ภยันตรายทีข่ องตกหรือของทิง้ ขว้างไปตกในทีอ่ นั มิควร
จึงต้องเข้าใจว่าหมายถึงผู้เป็นหัวหน้าควบคุมโรงเรือน เช่น หัวหน้าครอบครัว เป็นต้น45 ผู้ที่รับฝาก

โรงเรือนให้ดูแล ไม่หมายเพียงผู้อยู่ด้วย ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนจึงไม่ใช่ผู้อยู่ในโรงเรือน46 ส่วน “ที่อันมิควร”
ได้แก่ ถนน ทางเดิน หรือบ้านเรือน สนามหญ้า เป็นต้น อันเป็นที่ที่อันมิควรที่จะทิ้งขว้างลงไป
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2518 จ�ำเลยสร้างแฟลตให้คนเช่า ซึ่งอาจทิ้งของและน�้ำลงบนที่ดิน
ของโจทก์ถัดไป แม้จ�ำเลยจะครอบครองและอยู่ในแฟลต แต่ได้มีผู้เช่าแยกเป็นส่วนสัดซึ่งเป็นผู้ท�ำละเมิด
ธ.

จ�ำเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 436 ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อท�ำละเมิดต่อโจทก์


ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้จะเห็นได้ว่า จ�ำเลยมิได้เป็นผู้ท�ำละเมิด แต่ผู้เช่าแฟลตแยกเป็น
ส่วนสัดได้เป็นผู้ท�ำละเมิดตามมาตรา 420 เสียแล้ว ปัญหาที่ว่าจ�ำเลยจะต้องรับผิดตามมาตรา 436 หรือ
ไม่ก็ย่อมหมดไป47
บทบัญญัติมาตรา 436 เป็นบทบัญญัติส�ำหรับผู้ต้องรับผิดในความเสียหายเพราะมีของตกหล่น
.ม
หรือทิ้งขว้างไปจากโรงเรือน ไม่จ�ำกัดว่าจะมีตัวอยู่ที่ท�ำให้ของตกหล่นหรือทิ้งขว้างของปรากฏหรือไม่ 48
บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนก็ต้องรับผิดทั้งสิ้น แม้จะเป็นการกระท�ำของบุคคลอื่นก็ตาม เช่น ก. มาเยี่ยม ข. ซึ่ง
เป็นเจ้าของบ้าน ข. พา ก. ขึ้นไปดูกล้วยไม้ที่แขวนอยู่ตามราวที่เฉลียงบ้าน โดยไม่จงใจหรือประมาท
เลินเล่อ มือของ ก. เผลอไปถูกกระเช้ากล้วยไม้ที่แขวนอยู่ตกหล่นไปถูก ค. ที่เดินอยู่ข้างล่าง ก. ไม่ต้อง
41
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 281.
42
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 143.
43
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 282.
44
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 143.
45
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 282.
46
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 143.
47
เรื่องเดียวกัน. หน้า 142.
48
เรื่องเดียวกัน. หน้า 144.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-25

รับผิดต่อ ค. เพราะมิได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่ ข. ต้องรับผิดต่อ ค. ในฐานะที่เป็นผู้อยู่


ในโรงเรือนตามมาตรา 436 ซึ่งผู้ที่ได้ศึกษาอาจจะเห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะ ข. มิใช่เป็นผู้กระท�ำ เหตุใด
จะต้องให้ ข. ต้องรับผิดด้วยเล่า อย่างไรก็ดี ถ้า ก. โดยจงใจประมาทเลินเล่อท�ำให้ตกหล่นลงไป ก. ต้อง
รับผิดต่อ ค. ข. ไม่ต้องรับผิดต่อ ค. ไม่ใช่กรณีที่จะพิจารณากันตามมาตรา 436 นี้แต่ประการใด
พึงสังเกตว่าตามมาตรา 436 นี้ ถ้ามีการกระท�ำของบุคคลอื่นไม่ใช่ของบุคคลที่อยู่ในโรงเรือนแล้ว

.
บทบัญญัติมาตรา 436 มิได้ให้สิทธิแก่บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลอื่นที่กระท�ำท�ำนองเดียว
กับมาตรา 433 วรรคสอง หรือ 434 วรรคสาม แต่ประการใด บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดไปแต่
สธ สธ
ตามล�ำพัง ซึ่งบางท่านมีความเห็นว่าน่าจะอ้างข้อแก้ตัวตามบทมาตราอื่นได้ เช่น ความจ�ำเป็นหรือ

มส . มส
เหตุสุดวิสัย เป็นต้น49 ส�ำหรับเหตุสุดวิสัยนี้ ในทางกฎหมายเป็นเหตุผลที่ถูกต้องแน่ เพราะเหตุสุดวิสัย
ท�ำให้บุคคลไม่ต้องรับผิดช�ำระหนี้ เช่น เกิดลมพายุอย่างแรง ไม่ใช่ลมพัดเบาๆ อย่างธรรมดาเป็นปกติ
ท�ำให้กระถางต้นไม้ตกหล่นไปถูกบุคคลที่อยู่ข้างล่าง บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนก็ย่อมไม่ต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสาย
ไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รบั อันตรายแก่กาย เป็นธงทีต่ ดิ อยูท่ อี่ าคารซึง่ จ�ำเลยที่ 1 ครอบครอง

จ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคาร
ดังกล่าว

กิจกรรม 3.2.2
ธ.

บ้านของ ส. อยู่ริมซอยแห่งหนึ่ง ซึ่ง ส. และครอบครัวอยู่ในบ้านหลังนั้น วันหนึ่ง อ. มาเยี่ยม ส.


ที่บ้าน ขณะที่พูดกันอยู่โดยไม่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ อ. ทิ้งก้นบุหรี่ลงไปในซอยซึ่งขณะนั้น บ. เดิน
ผ่านมาพอดี บุหรี่ถูกเสื้อของ บ. มีรอยไหม้ ดังนี้ ส. หรือ อ. ต้องรับผิดต่อ บ. หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 3.2.2
.ม
อ. ไม่ได้กระท�ำต่อ บ. โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิดต่อ บ. ตามมาตรา 420 แต่
การที่ อ. ทิ้งก้นบุหรี่ไปที่ที่อาจมีคนเดินมานั้น เป็นการทิ้งไปในที่อันมิควร ส. เป็นผู้อยู่ในบ้านนั้น แม้จะ
ไม่เป็นผู้กระท�ำ แต่ก็ต้องรับผิดต่อ บ. ตามมาตรา 436

49
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 283.
สธ ส
3-26 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตอนที่ 3.3


ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะหรือทรัพย์
อันตราย

.
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 3.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป
สธ สธ
หัวเรื่อง

มส . มส
3.3.1 ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล
3.3.2 ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์อันตราย

แนวคิด

1. ความรับผิดเพือ่ ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครือ่ งจักรกลเป็น
เรื่องที่บุคคลที่ต้องรับผิดเพราะความบกพร่องในการดูแล มิได้กระท�ำโดยจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อ บุคคลที่ต้องรับผิด คือ ผู้ครอบครองหรือควบคุม
2. บุคคลที่ครอบครองทรัพย์อันตรายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์อันตราย
แม้มิได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ธ.

3. มีข้อยกเว้นความรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือของผู้ต้อง
เสียหาย

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 3.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลัง
.ม
เครื่องจักรกลได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์อันตรายได้
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-27

เรื่องที่ 3.3.1


ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลัง
เครื่องจักรกล

.
สธ สธ
มาตรา 437 บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดิน

มส . มส
ด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะ
พิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิด
อันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย”
ความรับผิดตามมาตรา 437 นี้ ผู้รับผิดไม่จ�ำเป็นต้องมีการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดตามมาตรานี้มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล หมายถึง ยานพาหนะทุกชนิดที่เคลื่อนที่ได้ด้วย
ก�ำลังเครื่องจักร เช่น รถยนต์ เรือยนต์ รถจักรยานยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้า เรือพลังงานปรมาณู หากยาน
พาหนะนั้นเคลื่อนที่ด้วยก�ำลังคนหรือสัตว์ หรือพลังธรรมชาติ ย่อมไม่ใช่ยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลัง
เครื่องจักรกลตามความหมายของมาตรา 437 นี้ เช่น รถจักรยาน รถม้า เกวียน เรือใบ
ธ.

2. ความเสียหายต้องเกิดขึ้นขณะยานพาหนะนั้นเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล ทีว่ า่ ความเสียหาย


เกิดแต่ยานพาหนะนัน้ หมายถึง ความเสียหายทีเ่ กิดแต่ยานพาหนะทีเ่ ดินอยู่ ไม่วา่ จะเกิดแก่ตวั บุคคลหรือ
สิง่ ของ ตามนัยทีก่ ฎหมายบัญญัตวิ า่ เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครือ่ งจักรกล มิใช่เกิดจากยานพาหนะ
ทีห่ ยุดอยูก่ บั ที่ แม้เครือ่ งยนต์จะติดอยู่ แล้วผลักหรือใช้พาหนะอืน่ หรือวัตถุอนื่ ดันพาหนะนัน้ ไปโดนเข้าเอง
ที่ว่ามานี้รวมถึงรถที่พ่วงอยู่กับยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลด้วย
มักเข้าใจกันว่าเมื่อความเสียหายเกิดจากยานพาหนะนั้น เป็นเรื่องยานพาหนะชนหรือทับผู้เสีย
.ม
หายหรือสิ่งของซึ่งไม่จำ� เป็นเสมอไป เช่น ขณะที่รถก�ำลังวิ่งอยู่ กระจกส่องในรถเกิดหลุดหรือสิ่งของต่างๆ
ตกหล่นจากยานพาหนะ ไม่วา่ จะหล่นในรถหรือนอกรถหรือแตกเสียหาย เนือ่ งจากแรงสะเทือนหรือขณะที่
รถวิ่งอยู่ แม้ผู้ขับจะใช้ความระมัดระวังในการขับขี่สักเพียงใด หรือไม้เลื่อนหลุดตกจากรถบรรทุกซุงหรือ
เสาหลุดตกจากรถพ่วง เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือรถพุ่งชนเสาไฟฟ้าหรือร้านค้าข้างถนนก็เป็น
ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะเหมือนกัน ที่ว่ามานี้มักเป็นเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ผู้ขับจะใช้ความ
ระมัดระวัง ก็ต้องรับผิดตามมาตรา 437 นี้ แต่ถ้ายานพาหนะเคลื่อนที่ไปด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลและยัง
เคลื่อนที่อยู่ แม้เครื่องจักรกลจะเสียหรือหยุดท�ำงานก็ยังถือว่ายานพาหนะนั้นเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล
เช่นกัน เช่น รถยนต์กำ� ลังแล่น เครือ่ งยนต์เกิดดับแต่รถยนต์ยงั คงแล่นต่อไปอีกระยะหนึง่ ถ้าความเสียหาย
เกิดขึน้ ในระหว่างนัน้ ย่อมถือว่าความเสียหายเกิดขึน้ จากยานพาหนะทีเ่ ดินด้วยก�ำลังเครือ่ งจักรกลเช่นกัน
พึงสังเกตว่าความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกล
กฎหมายมิได้บัญญัติว่ายานพาหนะนั้นจะต้องช�ำรุด ฉะนั้น ไม่ว่าจะช�ำรุดบกพร่องหรือไม่ ก็ยังคงต้องรับ
สธ ส
3-28 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ผิด เพราะยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครือ่ งจักรกลก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผอู้ นื่ ได้ทงั้ สิน้ หรือมีโอกาส


ที่จะก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นได้ยิ่งกว่าทรัพย์ที่ช�ำรุดบกพร่อง ข้อที่อ้างกันบ่อยๆ เช่น เบรกแตก
เป็นต้น ที่จริงเป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถจะต้องควรตรวจตราให้ถี่ถ้วนก่อนใช้รถ
3. บุคคลผู้ต้องรับผิด บุคคลผูต้ อ้ งรับผิดส�ำหรับยานพาหนะ ได้แก่ ผูค้ รอบครองหรือควบคุมดูแล
ยานพาหนะ ส�ำหรับทรัพย์อันตราย ได้แก่ ผู้ครอบครอง บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่ต้องรับผิด เช่น เจ้าของ

.
นอกจากเจ้าของนัน้ เป็นผูค้ รอบครองหรือควบคุมดูแลด้วย (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2523) ผูท้ นี่ งั่ ไป
ในยานพาหนะด้วยหรือผู้ที่ให้ความรู้ ค�ำแนะน�ำในการตรวจซ่อมเครื่องกล เมื่อเกิดความเสียหายจากยาน
สธ สธ
พาหนะหรือเครื่องจักรกลก็ไม่ต้องรับผิด50

มส . มส
ค�ำว่า “ผู้ครอบครอง” (วรรคหนึ่ง) หรือ “ผู้มีไว้ในครอบครอง” (วรรคสอง) มีความหมายอย่าง
เดียวกัน หมายถึง ผูม้ สี ทิ ธิครอบครองตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 1367 ได้แก่ บุคคลทีไ่ ด้ยดึ ถือโดยมีเจตนา
ยึดถือเพื่อตน คนร้ายที่ลักขโมยยานพาหนะหรือทรัพย์อันตรายมาก็มีสิทธิครอบครอง เพราะคนร้ายได้
ยึดถือโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนแล้ว แม้จะเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่น คนร้ายจึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับ
บุคคลทั่วไป51 เพียงแต่จะใช้ยันเจ้าของที่แท้จริงซึ่งอาจติดตามเอาทรัพย์คืนเมื่อใดก็ได้ (มาตรา 1336) ไม่

ได้เท่านั้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2497 วินิจฉัยว่าพลต�ำรวจลอบไขกุญแจเอารถยนต์ของกรมต�ำรวจ
ไปขับขี่จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น พลต�ำรวจเป็นผู้ครอบครอง กรมต�ำรวจแม้เป็นเจ้าของแต่ไม่ได้ครอบ
ธ.

ครอง จึงไม่ต้องรับผิด
เมือ่ เป็นผูค้ รอบครองแล้ว แม้ผคู้ รอบครองจะมัวท�ำธุระอย่างอืน่ ในยานพาหนะหรือดืม่ สุราเมามาย
หรือนอนหลับไป (เพราะมีผคู้ วบคุมอยู)่ ก็ยงั ต้องรับผิดตามมาตรานี้ ท�ำนองเดียวกันผูค้ รอบครองบ้าน แม้
นอนหลับอยูใ่ นบ้านก็ยงั ถือว่าเป็นผูค้ รอบครอง ไม่ใช่กลายเป็นผูไ้ ม่ครอบครองไปในขณะทีน่ อนหลับ ทัง้ นี้
เพราะความรับผิดตามมาตรา 437 ไม่ต้องมีการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อดังที่ได้ศึกษามาแล้ว
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2522 วินิจฉัยว่าเจ้าของรถเมาสุรานอนหลับอยู่ในรถยนต์ เพื่อนของเจ้าของ
.ม
รถขับรถไปธุระของเพือ่ น รถชนผูอ้ นื่ เจ้าของรถไม่ใช่ผคู้ รอบครองรถหรือควบคุมรถตามมาตรา 437 ดังนี้
ที่ว่าไม่ใช่ผู้ครอบครองนั้นไม่ถูกต้อง (แต่ที่ว่าไม่ใช่ผู้ควบคุมรถคงถูกต้อง) เมื่อตนซึ่งเป็นเจ้าของรถถึงกับ
นั่งไปในรถด้วย ก็ย่อมเป็นผู้ครอบครองเพราะได้ยึดถือโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนแล้ว โดยเหตุผล เมื่อตน
เป็นผู้ครอบครองก็ไม่ควรนอนหลับไปในรถ เพราะขณะวิ่งรถเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนไหวอันอาจก่อให้เกิด
อันตรายแก่ผู้อื่นได้โดยง่ายมาก เป็นเรื่องที่ตนจะต้องคอยดูแลระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่มานอนหลับ
ถึงกับปล่อยให้รถไปก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12725/2555 ความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เป็นความรับผิดของ
ตนเองทีเ่ กิดจากการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ส่วนความรับผิดตามมาตรา 437 วรรคหนึง่ เป็น
ความรับผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลในความเสียหาย
50
เรื่องเดียวกัน. หน้า 148.
51
เรื่องเดียวกัน.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-29

อันเกิดแต่ยานพาหนะนัน้ เว้นแต่จะพิสจู น์ได้วา่ ความเสียหายนัน้ เกิดแต่เหตุสดุ วิสยั เช่นนี้ ความรับผิดตาม


มาตรา 420 มิใช่เป็นความรับผิดอันเกิดจากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ส่วนความรับผิดตามมาตรา 437
วรรคหนึง่ เป็นความรับผิดอันเกิดจากข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยไม่ตอ้ งพิจารณาว่า ผูค้ รอบครองหรือ
ควบคุมดูแลยานพาหนะนั้นได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ความรับผิดตามมาตราทั้งสอง
ดังกล่าวจึงอาศัยหลักเกณฑ์ต่างกันไป

. โจทก์บรรยายฟ้องว่า จ�ำเลยที่ 1 มอบหมายให้ ถ. ลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับควบคุมรถยนต์


ลากจูง และรถกึง่ พ่วงของจ�ำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าทีส่ นามบินภูเก็ต แล้ว ถ. ขับควบคุมรถด้วยความประมาท
สธ สธ
เลินเล่อ โดยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายก�ำหนด ประกอบกับ ถ. มิได้พักผ่อนให้เพียง

มส . มส
พอ เกิดอาการง่วงหรือหลับใน ท�ำให้ไม่สามารถควบคุมและห้ามล้อรถได้ เป็นเหตุให้รถพลิกคว�่ำลงข้าง
ถนน ท�ำให้เครือ่ งรีดแผ่นเหล็กหลังคาและอุปกรณ์เสียหาย แม้คำ� ฟ้องของโจทก์จะอ้างว่า ถ. เป็นผูค้ วบคุม
รถลากจูงและรถกึ่งพ่วง แต่ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า ควบคุมด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความ
ระมัดระวัง ค�ำบรรยายฟ้องเช่นนี้จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักของ
ข้อหาว่า ถ. กระท�ำละเมิดตามมาตรา 420 ให้จ�ำเลยที่ 1 รับผิดตามมาตรา 420 ประกอบมาตรา 425 หา

ได้บรรยายฟ้องหรือตั้งประเด็นว่า ถ. เป็นผู้ควบคุมรถลากจูงและรถกึ่งพ่วงในขณะเกิดเหตุเป็นเหตุให้รถ
ดังกล่าวพลิกคว�่ำลงข้างทางท�ำให้เครื่องรีดแผ่นเหล็กและอุปกรณ์ที่อยู่บนรถนั้นเสียหายจึงต้องรับผิดชอบ
เพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น อันเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ ถ. ต้องรับผิดตามมาตรา 437
วรรคหนึง่ และจ�ำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้างอีกประการหนึง่ ไม่ เมือ่ ศาลชัน้ ต้นวินจิ ฉัยว่า ถ. ลูกจ้าง
ธ.

ของจ�ำเลยที่ 1 มิได้ขบั รถลากจูงและรถกึง่ พ่วงด้วยความประมาทเลินเล่อตามทีโ่ จทก์ฟอ้ ง โจทก์กลับอุทธรณ์


โต้แย้งค�ำวินจิ ฉัยของศาลชัน้ ต้นว่า ถ. เป็นผูค้ วบคุมรถลากจูงและรถกึง่ พ่วงซึง่ เป็นยานพาหนะอันเดินด้วย
ก�ำลังเครื่องจักรกล จะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 437
จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 225 วรรคหนึง่ ทีศ่ าลอุทธรณ์รบั วินจิ ฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
อุทาหรณ์
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2522 จ�ำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ชนกัน จ�ำเลยไม่ใช่นายจ้างของคน
ขับรถ ไม่ได้ความว่าจ�ำเลยครอบครองรถยนต์ จ�ำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2522 เจ้าของเมาสุราแล้วนอนหลับอยู่ในรถยนต์ มีเพื่อนมาขับไป
ธุระแล้วชนผู้อื่น เจ้าของไม่ใช่ผู้ครอบครองตามมาตรา 437
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2399/2523 จ�ำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิร์ ถยนต์คนั เกิดเหตุ แต่ปรากฏจาก
ค�ำฟ้องของโจทก์วา่ ในขณะเกิดเหตุหญิงไม่ทราบชือ่ เป็นผูข้ บั ขีร่ ถยนต์คนั เกิดเหตุ หญิงไม่ทราบชือ่ จึงเป็น
ผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุ จ�ำเลยไม่ได้ครอบครอง จ�ำเลยไม่ต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5679/2545 ผู้ครอบครองตามมาตรา 437 หมายถึง ผู้ใช้ยานพาหนะนั้น
ในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหายหรือเป็นผู้ครอบครองยานพาหนะนั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ
ดังนัน้ เมือ่ ผูท้ มี่ ชี อื่ เป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์มไิ ด้เป็นผูข้ บั หรือโดยสารไปในรถยนต์ดว้ ย ก็ถอื ไม่ได้วา่
เจ้าของรถยนต์ดังกล่าวเป็นผูค้ รอบครองหรือควบคุมยานพาหนะคันเกิดเหตุ จึงไม่ตอ้ งรับผิดต่อผู้เสียหาย
สธ ส
3-30 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ส่วนผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะนั้นไม่ใช่ผู้ครอบครอง ผู้ควบคุมอาจเป็นเพียงผู้ยึดถือยานพาหนะ


เท่านั้นก็ได้ ถ้าอยู่ในฐานะที่สามารถควบคุมบังคับก�ำลังเครื่องจักรกลของยานพาหนะก็อยู่ในความหมาย
ของมาตรานี52 ้ เช่น คนขับรถ เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2524 วินิจฉัยว่าพนักงานน�ำร่องเรือเดินสมุทรย่อมเป็นผู้ควบคุม

.
ถ้ามีทั้งผู้ครอบครองและควบคุมก็ต้องรับผิดด้วยกันทั้งสองคน ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่ง แม้กฎหมายจะใช้
ค�ำว่า “หรือ” ท�ำให้เห็นไปว่าเพียงคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดก็ตาม เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้ครอบครองและ
สธ สธ
ผูค้ วบคุมอาจมีได้ทงั้ สองคนในขณะเดียวกันต่างกับบุคคลผูต้ อ้ งรับผิดตามมาตรา 433 และ 434 โดยเฉพาะ

มส . มส
มาตรา 433 นั้น ซึ่งใช้ค�ำว่า “หรือ” เหมือนกับมาตรา 437 วรรคหนึ่ง ตามมาตรา 433 นั้น ถ้ามีผู้รับเลี้ยง
รับรักษาไว้แทนเจ้าของสัตว์ ผูร้ บั เลีย้ งรับรักษาก็ตอ้ งรับผิด เจ้าของสัตว์ไม่ตอ้ งรับผิดดังทีศ่ กึ ษากันมาแล้ว
ที่เห็นกันอยู่โดยปกติ คือ เจ้าของรถนั่งรถไปด้วยแล้วให้ลูกจ้างเป็นผู้ขับ ดังนี้ เจ้าของรถเป็น
ผู้ครอบครอง ลูกจ้างเป็นผู้ควบคุม อย่างไรก็ดี ผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมอาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน
กล่าวคือ ผู้ควบคุมอาจเป็นผู้ครอบครองด้วย หรือผู้ครอบครองอาจเป็นผู้ควบคุมด้วย แต่เราต้องไม่ลืมว่า

ผู้ที่ขอโดยสารหรือนั่งไปด้วยไม่ใช่ผู้ครอบครองหรือควบคุม จึงไม่มีทางรับผิดตามมาตรา 437 นี้
มีข้อสังเกต หากเป็นกรณีความเสียหายเกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลตั้งแต่
สองฝ่ายขึ้นไปย่อมไม่อยู่ในระดับของมาตรา 437 นี้
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2490 (ประชุมใหญ่) ยานพาหนะที่เดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลด้วย
ธ.

กัน โดนกันเสียหายไม่ตกอยูใ่ นบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 ในกรณีนหี้ น้าทีน่ ำ� สืบตกอยูใ่ นหลักธรรมดา
คือฝ่ายใดกล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งท�ำละเมิดฝ่ายที่กล่าวหาต้องน�ำสืบก่อน
โดยเหตุทคี่ วามรับผิดตามมาตรา 437 เป็นความรับผิดทีไ่ ม่ตอ้ งมีการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาท
เลินเล่อ กฎหมายจึงได้บัญญัติข้อยกเว้นให้พ้นจากความรับผิดซึ่งมี 2 กรณี คือ ผู้ต้องรับผิดพิสูจน์ได้ว่า
ความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหาย เหตุอื่นๆ ไม่ท�ำให้พ้นจาก
ความรับผิด เช่น จะอ้างว่าขับรถถนนขรุขระ หรือเวลาพลบค�ำ่ แล้วฝนตก ถนนลืน่ ท�ำให้ขบั รถล�ำบาก ดังนี้
.ม
ไม่เป็นข้อแก้ตัว
อย่างไรเป็น “เหตุสดุ วิสยั ” ขอให้ดมู าตรา 8 การขับรถด้วยความเร็วสูงไม่ใช่เหตุสดุ วิสยั (ค�ำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 2668/2524) ไม่ระวังตรวจดูห้ามล้อตามควร ห้ามล้อแตกไม่เป็นเหตุสุดวิสัย (ค�ำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 2331/2520) คลืน่ จากเรือล�ำอืน่ ในแม่นำ�้ ท�ำให้เรือล่มเป็นเหตุทปี่ อ้ งกันได้ ถ้าใช้ความระมัดระวัง
ตามสมควร ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2520) นอตคันส่งพวงมาลัยหลุด รถจึงคว�่ำ
เป็นหน้าที่ของผู้ควบคุมรถจะต้องตรวจตราดูแลให้เรียบร้อย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่
634/2501) เปลวไฟจากรถจักรปลิวไปไหม้บา้ นเรือนราษฎรเสียหาย แม้จะเป็นเพราะลมแรงผิดปกติไปบ้าง
ไม่เป็นข้อแก้ตัว (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300-1314/2499)

52
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 206.
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-31

อุทาหรณ์


กรณีเหตุสุดวิสัย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2508 รถยนต์บรรทุกซุงยื่นออกมาข้างรถและเปิดไฟสูง รถที่สวนมา
เห็นได้ต่อเมื่อเข้าใกล้จนหลบไม่ทัน รถที่สวนมาอ้างได้ว่าชนซุงที่บรรทุกมาเพราะเหตุสุดวิสัยอันเกิดจาก
บุคคลภายนอก

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2522 รถของโจทก์ขบั อยูใ่ นทาง มีรถคันหนึง่ ขับเรียงกันมากินทางเข้า


มาในทางรถของจ�ำเลยที่แล่นสวนมา จ�ำเลยหลบไปทางขวาเพราะไม่เห็นแสงไฟรถของโจทก์ที่ถูกรถคัน
สธ สธ
หน้าบัง จึงชนรถโจทก์เป็นเหตุสุดวิสัย

มส . มส
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510 ผู้ขับรถต�ำรวจเปิดสัญญาณไฟกระพริบและไซเรนมีหน้าที่ระวัง
ตามพฤติการณ์ เด็กวิง่ ออกจากท้ายรถทีส่ วนมาโดยกระชัน้ ชิดหยุดไม่ทนั จึงหักหลบไปชนอีกคนหนึง่ ตาย
เป็นเหตุสุดวิสัย

กิจกรรม 3.3.1
ขณะที่ ก. ขับรถไปตามถนนขรุขระอย่างช้าๆ โดยมี ข. นัง่ ไปข้างๆ รถสัน่ สะเทือน กระจกส�ำหรับ
ดูด้านหลังรถหลุดตกลงมาถูกศีรษะ ข. บาดเจ็บ ก. ต้องรับผิดหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 3.3.1
ธ.

ก. ต้องรับผิดต่อ ข. ตามมาตรา 437 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาท


เลินเล่อก็ตาม เป็นความรับผิดในฐานะเป็นผู้ควบคุมและครอบครองยานพาหนะ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้พ้น
ความรับผิดได้ 2 กรณี คือ ก. ผู้ต้องรับผิดพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะ
ความผิดของผู้ต้องเสียหาย
.ม
เรื่องที่ 3.3.2
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์อันตราย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง บัญญัติว่า “ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้


ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความ
มุ่งหมายที่จะใช้ หรืออาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย”
สธ ส
3-32 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ข้อความในวรรคนี้ บัญญัติให้ผู้ครอบครองทรัพย์อันตรายต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิด


จากทรัพย์สินนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์แก้ตัวได้เช่นเดียวกับกรณีตามวรรคหนึ่ง
ทรัพย์อันตรายตามมาตรา 437 นี้แยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ทรัพย์อันตรายโดยสภาพ เช่น ดินปืน ลูกระเบิด แก๊ส กระแสไฟฟ้า น�้ำกรด น�้ำมันเบนซิน
2. ทรัพย์อันตรายโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ เช่น พลุ ปืน

. 3. ทรัพย์อันตรายโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า


ผูร้ บั ผิด คือ ผูค้ รอบครองทรัพย์อนั ตราย ซึง่ หมายถึง ผูย้ ดึ ถือหรือครอบครองทรัพย์อนั ตรายนัน้ เอง
สธ สธ
ส่วนผู้ครอบครองทรัพย์อันตรายนั้น ขอให้ดูฎีกาดังต่อไปนี้

มส . มส
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2513 สายไฟฟ้าต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านผูใ้ ช้ไฟฟ้าอยูใ่ นทีด่ นิ
ของผู้ใช้ไฟฟ้าตามทางเดินที่ไม่ใช่ทางสาธารณะ สายไฟฟ้านี้ไม่อยู่ในความครอบครองของการไฟฟ้า ไม่
ต้องรับผิดต่อผูท้ มี่ าถูกสายไฟฟ้าถูกไฟดูดตายตามมาตรา 437 วรรคสอง (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517
ตัดสินตาม) แต่ถือว่าอยู่ในความครอบครองของผู้ครอบครองบ้าน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2518 การรับน�้ำมันเบนซินขนถ่ายลงถังในเรือก็เป็นการครอบครอง
น�ำ้ มันแล้ว (ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2516)
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523 จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากัน เป็นเจ้าของบ้านที่เกิด
เหตุ ซึง่ จ�ำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้านแล้วไม่ดแู ลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยูใ่ น
ธ.

สภาพเรียบร้อย เป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรัว้ ผูต้ ายยืนปัสสาวะริมรัว้ จึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่


ความตาย ดังนี้ จ�ำเลยเป็นผูค้ รอบครองทรัพย์ซงึ่ เป็นของเกิดอันตราย ต้องรับผิดเพือ่ ความเสียหายอันเกิด
แต่กระแสไฟฟ้านัน้ ส่วนจ�ำเลยที่ 3 เป็นเพียงผูด้ แู ลบ้านเท่านัน้ แม้จะเป็นผูว้ า่ จ้างให้ชา่ งไฟฟ้ามาเดินสาย
ไฟดังกล่าว ก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด
ข้อยกเว้นความรับผิด
เมือ่ ความเสียหายเกิดจากทรัพย์อนั ตราย ผูค้ รอบครองจะต้องรับผิดต่อผูเ้ สียหาย เว้นแต่จะพิสจู น์
.ม
ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายเอง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2513 (ประชุมใหญ่) ช. เดินไปตามทางเดิน มีเสาไฟฟ้าต้นหนึ่งล้ม
อยู่ ช. เดินไปถูกสายไฟฟ้าทีห่ ย่อนเพราะเสาล้มนีเ้ ข้าจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย เมือ่ สายไฟฟ้า
นัน้ เป็นสายไฟฟ้าในช่วงทีต่ อ่ จากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ จ. ผูข้ อใช้ไฟและอยูใ่ นเขตทีด่ นิ ของ จ. และ
ทางเดินที่ ข. เดินไปนั้นก็มิใช่ทางสาธารณะ เป็นแต่ทางเดินในที่ดินที่เจ้าของมิได้หวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใด
ใช้เดินทาง ดังนี้ย่อมถือไม่ได้ว่า สายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์สินอันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ใน
ความครอบครองของการไฟฟ้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง การไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อการที่
ช. ถูกกระแสไฟฟ้าดูดตาย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2516 ลูกจ้างของจ�ำเลยน�ำเรือไปบรรทุกน�้ำมันเบนซินจากคลังน�ำ้ มัน
ตามที่จ�ำเลยใช้ เมื่อถ่ายน�้ำมันเสร็จลูกจ้างของจ�ำเลยแก้เชือกผูกเรือ และติดเครื่องยนต์เพื่อจะน�ำเรือออก
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-33

จากท่าจึงเกิดไฟไหม้น�้ำมันในเรือ เรือลอยไปปะทะกับทรัพย์สินของโจทก์ไฟไหม้ ทรัพย์สินของโจทก์เสีย


หาย เช่นนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นจากน�้ำมันเบนซินซึ่งเป็นทรัพย์อันเกิดอันตรายได้โดยสภาพและอยู่ใน
ความครอบครองของจ�ำเลย จ�ำเลยต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายเกิด
แต่เหตุสดุ วิสยั หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์เอง เมือ่ จ�ำเลยน�ำพิสจู น์ได้วา่ การเสียหายเกิดแต่เหตุสดุ วิสยั
หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์เอง เมื่อจ�ำเลยน�ำสืบได้ความแต่เพียงว่า ลูกจ้างของจ�ำเลยแก้เชือกผูก

.
เรือและติดเครื่องยนต์เรือได้ 5-10 นาที ก็เกิดการระเบิดและไฟไหม้ จ�ำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2517 เมื่อโรงเรือนของจ�ำเลยใช้เครื่องจักรเดินด้วยไฟฟ้าและไฟไหม้
สธ สธ
เพราะไฟฟ้าเดินลัดวงจร ไฟฟ้าเป็นทรัพย์อนั เป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จ�ำเลยผูม้ ไี ว้ในครอบครอง

มส . มส
จะต้องรับผิดเพือ่ การเสียหายอันเกิดจากไฟฟ้านัน้ เว้นแต่จะพิสจู น์ได้วา่ การเสียหายเกิดแต่เหตุสดุ วิสยั หรือ
เกิดจากความผิดของผู้เสียหายเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 จ�ำเลยน�ำสืบแต่เพียงว่าการตั้งโรงงานและ
การติดตัง้ ไฟฟ้าในโรงงาน จ�ำเลยได้ปฏิบตั ติ ามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมีเจ้าหน้าทีม่ าตรวจ
เสมอเท่านั้น แต่ไฟไหม้ขึ้นอย่างไรจ�ำเลยไม่ทราบ จ�ำเลยมิได้น�ำสืบว่าการที่ไฟฟ้าเดินลัดวงจรเกิดแต่
เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ จ�ำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517 กรมไปรษณียโ์ ทรเลขจ�ำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสาย
โทรเลขให้อยูใ่ นสภาพมัน่ คงปลอดภัย สายโทรเลขขาดพาดกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค จ�ำเลย
ที่ 1 ปลายสายโทรเลขทอดตกที่พื้นดิน กระบือของโจทก์เดินมาถูกสายโทรเลข ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่
ความตาย จ�ำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิด จะอ้างข้อตกลงระหว่างจ�ำเลยที่ 1 และจ�ำเลยที่ 2 ในเรื่องการขึงสาย
ธ.

ไฟฟ้าผ่านสายโทรเลขให้หลุดพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
แม้ยางหุ้มสายไฟฟ้าผุเปื่อยไม่มีการแก้ไขเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้ แต่ตรงจุดที่สาย
โทรเลขพาดกับสายไฟฟ้านั้นอยู่ในช่วงที่สายไฟฟ้าต่อจากหม้อวัดไฟฟ้าเข้าไปยังบ้านของเอกชนผู้ขอใช้
ไฟฟ้า จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพอยู่ในความครอบครอง
ของจ�ำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง จ�ำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2518 ผู้ครอบครองดูแลสถานที่เก็บรถยนต์ย่อมรวมถึงสายไฟฟ้าใน
.ม
บริเวณสถานที่นั้น ซึ่งต่อมาจากบ้านพักไปยังกริ่งส�ำหรับบ้านพักด้วย เด็กปืนรั้วเก็บดอกรักถูกสายไฟฟ้า
เปลือยตกลงมาทับสายไฟฟ้าตาย ไม่มีร่องรอยที่เด็กในวัยนั้นจะคาดคิดว่าจะมีสายไฟฟ้าเปลือยพาดอยู่
ไม่เป็นความผิดของเด็ก ผู้ครอบครองสายไฟฟ้าต้องรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2523 จ�ำเลยเป็นผู้จ�ำหน่ายและครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งพาดสาย
ไปตามถนน มีหน้าที่จะต้องระมัดระวังมิให้สายไฟฟ้าช�ำรุดบกพร่องอันจะเกิดอันตรายแก่ประชาชน เมื่อ
จ�ำเลยละเลยไม่ตรวจตราดูแลแก้ไขให้สายไฟฟ้าอยู่ในสภาพดีอยู่ตลอดเวลาจนเกิดมีการตายเพราะถูก
กระแสไฟฟ้า จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จ�ำเลยจึงต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523 จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากัน เป็นเจ้าของบ้านที่เกิด
เหตุซึ่งจ�ำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้านแล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ใน
สภาพเรียบร้อย เป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรัว้ ผูต้ ายไปยืนปัสสาวะริมรัว้ จึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่
ความตาย ดังนี้ จ�ำเลยเป็นผูค้ รอบครองทรัพย์ซงึ่ เป็นของอันตรายได้โดยสภาพต้องรับผิดเพือ่ ความเสียหาย
สธ ส
3-34 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อันเกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจ�ำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ช่างไฟฟ้ามาเดิน


สายไฟดังกล่าว ก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้นจึงไม่ต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2524 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจ�ำเลยผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเพื่อ
การเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าที่จำ� เลยจัดให้มีขึ้นเพื่อจ�ำหน่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
จ�ำเลยน�ำสืบว่า ผู้ตายคงขึ้นไปนั่งบนผนังกันตกที่ดาดฟ้าแล้วเสียหลัก มือจึงไปถูกสายไฟฟ้าเข้า ดังนี้

.
ไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเหตุเกิดเพราะความผิดของผู้ตายเองดังจ�ำเลยอ้าง
การเดินสายไฟฟ้าแรงสูงซึง่ เป็นสายเปลือยผ่านอาคารทีเ่ กิดเหตุในลักษณะทีไ่ ม่ถกู ต้อง หากจ�ำเลย
สธ สธ
จัดการเปลีย่ นแปลงแก้ไขสายไฟฟ้าดังกล่าวให้ถกู ต้องตามวิธกี ารทีก่ ำ� หนดไว้กอ็ าจป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

มส . มส
จากสายไฟฟ้านั้นได้ จึงอยู่ในวิสัยของจ�ำเลยที่จะป้องกันได้ อันตรายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าเกิด
แต่เหตุสุดวิสัย
ความรับผิดตามมาตรา 437 เป็นความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดตามมาตรา 420 ความรับผิด
ตามมาตรา 420 เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระท�ำละเมิดของตนเองอันจะต้องมีจงใจหรือประมาท
เลินเล่อ ซึ่งอาจใช้วัตถุสิ่งของตลอดจนยานพาหนะและทรัพย์อันตรายนั้นเองเป็นเครื่องมือในการกระท�ำ

ก็ได้ ส่วนความรับผิดตามมาตรา 437 ผูต้ อ้ งรับผิดจะต้องไม่มกี ารกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือ
แม้จะมีการกระท�ำ ก็ต้องไม่มีจงใจหรือประมาทเลินเล่อดังกล่าวมาแล้วเป็นข้อที่แตกต่างกันอยู่ นอกจากนี้
ยังมีข้อแตกต่างกันอย่างอื่นๆ อีก ซึ่งตามมาตรา 420 ไม่จ�ำกัดว่าผู้กระท�ำละเมิดต้องเป็นผู้ครอบครอง
หรือควบคุมดูแล จะเป็นบุคคลใดก็ได้ ส่วนตามมาตรา 437 วรรคหนึ่งต้องเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุม
ดูแล ตามวรรคสอง ต้องมีผู้ครอบครอง ตามมาตรา 420 ไม่มีข้อยกเว้นให้พ้นจากความรับผิด เพราะจะมี
ธ.

ดังนัน้ ไม่ได้อยูใ่ นตัว เนือ่ งจากมีการกระท�ำของบุคคลโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเสียแล้ว ส่วนตามมาตรา


437 มีข้อยกเว้นให้พ้นจากความรับผิด
บุคคลอาจกระท�ำละเมิดโดยใช้ยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลหรือทรัพย์อันตรายเป็น
เครื่องมือในการกระท�ำได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งเป็นความรับผิดที่จะ
ปรับได้ตามมาตรา 420 ไม่ใช่ 437 กรณีที่เกิดอยู่บ่อยๆ คือ ขับรถชนคนโดยประมาทเลินเล่อ หรือขับรถ
ชนรถผู้อื่นโดยประมาทเลินเล่อหรือโดยประมาทเลินเล่อขับรถด้วยความเร็วเป็นเหตุท�ำให้รถคว�่ำมีคนตาย
.ม
หรือบาดเจ็บ เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2518 รถจิบ๊ ทีจ่ ำ� เลยขับแล่นสวนทางกับรถยนต์คนั ที่ อ. ขับซึง่ มีโจทก์
นั่งมาข้างหน้าด้วย ฝากระโปรงครอบหน้ารถหลุดไปปะทะกระจกหน้ารถคันที่โจทก์นั่งแตกทะลุไปถูกหน้า
โจทก์บาดเจ็บสาหัส เพราะสปริงขอเกาะฝากระโปรงอ่อนและเบ้าที่รองรับโคนขอรั้งสึกท�ำให้เบ้าหลวม
เนื่องจากใช้มานาน จึงเกิดความเสื่อมสภาพ จ�ำเลยขับรถ 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นราดยางที่ไม่
เรียบและมีลมพัดแรง จึงเกิดความสั่นสะเทือนอย่างแรงท�ำให้ขอรั้งหลุดออก ลมเข้าไปในฝากระโปรงหน้า
รถ เมือ่ ถูกลมพัดแรงๆ จึงหลุดออก เป็นหน้าทีข่ องจ�ำเลยต้องระมัดระวังตรวจตราให้อยูใ่ นสภาพดีเสียก่อน
น�ำไปใช้ ไม่ใช่เหตุสดุ วิสยั เพราะไม่ใช่กระโปรงหน้ารถอยูใ่ นสภาพแข็งแรงเรียบร้อยตามสภาพแล้วเกิดภัย
นอกอ�ำนาจซึ่งไม่อาจรู้และป้องกันได้
สธ ส
ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ 3-35

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2518 ผู้ครอบครองดูแลสถานที่เก็บรถยนต์ย่อมรวมถึงสายไฟฟ้าใน


บริเวณสถานที่นั้นซึ่งต่อออกมาจากบ้านพักไปยังกริ่งส�ำหรับบ้านพักด้วย เด็กปีนรั้วเก็บดอกรักถูกสาย
ไฟฟ้าเปลือยตกลงมาทับสายไฟฟ้าตาย ไม่มรี อ่ งรอยทีเ่ ด็กในวัยนัน้ จะคาดคิดว่ามีสายไฟฟ้าเปลือยพาดอยู่
ไม่เป็นความผิดของเด็ก ผู้ครอบครองสายไฟฟ้าต้องรับผิดตามมาตรา 437
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2522 กระแสไฟฟ้าทีก่ ารไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ�ำหน่ายเป็นของทีเ่ กิดอันตราย

.
ได้โดยสภาพ เสาไฟฟ้าหักเพราะไฟไหม้หญ้าซึ่งไม่ได้ถางและเคยไหม้เสาหักมาแล้ว เป็นเหตุที่ใช้ความ
ระมัดระวังป้องกันได้ ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2523 ผู้ที่น�ำยานพาหนะอันเดินด้วยก�ำลังเครื่องจักรกลมาใช้ในทาง

มส . มส
มีหน้าทีต่ อ้ งตรวรจสอบรักษาเปลีย่ นแก้ให้เครือ่ งจักรกลอยูใ่ นสภาพทีม่ นั่ คงแข็งแรงใช้การได้โดยปลอดภัย
เสมอ จ�ำเลยไม่มพี ยานแสดงว่าเหตุทเี่ รียกว่าเบรคแตกไม่มใี ครจะอาจป้องกันได้ แม้จะได้จดั การระมัดระวัง
ตามสมควรแล้ว จึงอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2524 จ�ำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงเมื่อเฉี่ยวชนท้ายรถคันหนึ่ง
แล้วก็ไม่สามารถหยุดได้ทันท่วงทีก่อนที่จะแล่นไปชนท้ายรถโจทก์ซึ่งอยู่ห่างจุดที่รถเฉี่ยวชนประมาณ 25

เมตร กรณีเป็นเรือ่ งทีอ่ าจป้องกันได้ ถ้าจ�ำเลยไม่ขบั รถเร็วจนเกินไป ไม่เป็นเหตุสดุ วิสยั ตามมาตรา 8 จ�ำเลย
จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 437
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2524 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจ�ำเลยผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเพื่อ
การเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าทีจ่ ำ� เลยจัดให้มขี นึ้ เพือ่ จ�ำหน่ายตามมาตรา 437 วรรคสอง จ�ำเลยน�ำสืบ
ธ.

ว่า ผู้ตายคงขึ้นไปนั่งบนผนังกันตกที่ดาดฟ้าแล้วเสียหลัก มือจึงไปถูกสายไฟฟ้าเข้า ดังนี้ ไม่เพียงพอที่จะ


พิสูจน์ให้เห็นว่าเหตุเกิดเพราะความผิดของผู้ตายเองดังจ�ำเลยอ้าง
การเดินสายไฟฟ้าแรงสูงซึง่ เป็นสายเปลือยผ่านอาคารทีเ่ กิดเหตุในลักษณะทีไ่ ม่ถกู ต้อง หากจ�ำเลย
จัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสายไฟฟ้าดังกล่าวให้ถูกต้องตามวิธีการที่ก�ำหนดไว้ ก็อาจป้องกันไม่ให้เกิด
อันตรายจากสายไฟฟ้านัน้ ได้ จึงอยูใ่ นวิสยั ของจ�ำเลยทีจ่ ะป้องกันได้ อันตรายทีเ่ กิดขึน้ แก่ผตู้ ายจึงถือไม่ได้
ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัย
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2537 สายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่และหม้อแปลงไฟฟ้าเป็น
ทรัพย์อนั เป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จ�ำเลยมีทรัพย์ดงั กล่าวไว้ในครอบครอง จึงต้องรับผิดเพือ่ ความ
เสียหายที่เกิดจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะ
ความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามมาตรา 437 แม้จ�ำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อท�ำให้เกิดเพลิงไหม้
จ�ำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเกิดจากสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าของจ�ำเลยเช่นนั้น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6766/2539 สารตัวเติมออกซิเจนซึ่งมีคุณสมบัติสลายตัวให้ออกซิเจนออก
มาหรือท�ำปฏิกิริยากับความร้อน สารอินทรีย์ หรือผสมกันก็จะเกิดการลุกไหม้ขึ้น ถือว่าเป็นทรัพย์อันเกิด
อันตรายได้โดยสภาพ เมื่อจ�ำเลยเป็นผู้มีไว้ในครอบครอง จ�ำเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิด
แต่ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้น และการที่จำ� เลยมีไว้ในครอบครองซึ่งทรัพย์ดังกล่าวไว้
ในคลังสินค้าอันตรายของจ�ำเลย จ�ำเลยจึงมีหน้าทีต่ อ้ งตรวจสอบแก้ไขอุณหภูมขิ องอากาศภายในคลังสินค้า
อันตรายทีเ่ ก็บรักษาทรัพย์นนั้ ให้อยูใ่ นภาวะทีเ่ หมาะสมกับอุณหภูมขิ องอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามฤดูกาล
สธ ส
3-36 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อยูเ่ สมอ ทัง้ ไม่ได้ความว่าการเก็บรักษาสินค้าอันตรายของจ�ำเลยตามวิธกี ารขององค์การทางทะเลระหว่าง


ประเทศทีจ่ ำ� เลยเป็นสมาชิกเหมาะสมกับสภาวะอากาศของประเทศทีม่ อี ากาศร้อนเช่นประเทศไทยหรือไม่
ทัง้ จ�ำเลยไม่มพี ยานหลักฐานมาสืบแสดงว่าจ�ำเลยมีวธิ กี ารจัดเก็บรักษาสินค้าอันตรายในฤดูรอ้ น ซึง่ อุณหภูมิ
ของอากาศภายในคลังสินค้าอันตรายนัน้ สูงกว่าฤดูกาลอืน่ แตกต่างกับฤดูกาลอืน่ อย่างไร และถ้าเกิดความ
ร้อนภายในคลังสินค้าอันตรายขึน้ แล้ว ไม่มใี ครอาจจะแก้ไขหรือป้องกันได้แม้จะจัดการระมัดระวังตามสมควร

.
แล้วก็ตาม ทีจ่ ำ� เลยอ้างว่าอุณหภูมขิ องอากาศภายในคลังสินค้าอันตรายสูงขึน้ เป็นเหตุสดุ วิสยั จึงฟังไม่ขนึ้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546 การไฟฟ้านครหลวงจ�ำเลยที่ 2 มีวตั ถุประสงค์ในการจ�ำหน่าย
สธ สธ
พลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จ�ำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 2 เมื่อกระแสไฟฟ้าที่จำ� เลยที่ 2 จัดให้มี

มส . มส
ขึ้นเพื่อจ�ำหน่ายให้แก่ประชาชนเกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ท�ำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย
จ�ำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสีย
หายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของ
โจทก์ผตู้ อ้ งเสียหายตามมาตรา 437 วรรคสอง แม้จำ� เลยที่ 2 น�ำสืบว่าได้ดแู ลและบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า
อย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จ�ำเลยที่

2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจ�ำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจ�ำเลย
ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือท�ำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
ควรสังเกตว่า ถ้าบุคคลภายนอกใช้ยานพาหนะหรือทรัพย์อนั ตรายนัน้ เป็นเครือ่ งมือกระท�ำละเมิด
ตามมาตรา 420 แล้ว เช่น แดงเอารถที่ดำ� ควบคุมดูแลขับชนขาวบาดเจ็บ หรือ ก. คว้าเอาระเบิดขวดที่
ธ.

อยู่ในความครอบครองของ ข. ขว้างปา ค. บาดเจ็บก็เป็นเรื่องที่แดงจะต้องรับผิดต่อขาว หรือ ก. จะต้อง


รับผิดต่อ ค. แล้วแต่กรณี ไม่ใช่เรือ่ งทีผ่ คู้ รอบครองหรือควบคุมดูแลจะรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ตาม
มาตรา 437 แต่ประการใด

กิจกรรม 3.3.2
.ม
ก. พาลูกไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ได้ขึ้นบันไดเลื่อน เพื่อขึ้นไปชั้นบนของห้าง ปรากฏ
ว่าแขนลูกของ ก. ติดเข้าไปในบันไดเลื่อน เจ้าของห้างสรรพสินค้าต้องรับผิดชอบหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 3.3.2
กฎหมาย ตามมาตรา 437 วรรคสอง สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของห้างสรรพสินค้าต้องรับผิด

You might also like