Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

ผลของการใช้ N-acetylcysteine เพื่อผิวขาวกระจ่างใส

นางสาวเสาวลักษณ์ เกตุปาน, มหาวิทยาลัยนเรศวร


นายธนกฤต ปันตุมมา, มหาวิทยาลัยพายัพ
ฝึกปฏิบัติงาน: Community pharmacy
ผลัดที่ 1 วันที่ 20 มิถุนายน 2566 – 28 เมษายน 2566
N-acetylcysteine
N-acetylcysteine (NAC) เป็นยาทีใช้สำหรับละลายเสมหะ และต้านพิษที่ตับจากการใช้ยาพาราเซตา
มอลเกินขนาด ปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบยาแกรนูล และยาเม็ดฟู่ โดยในรูปแบบที่มักนำมาใช้เพื่อหวังผล
ให้ผิวขาวกระจ่างใส คือ รูปแบบยาเม็ดฟู่ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายเพียงขนาด 600 mg/เม็ด ในและมีราคาอยู่
ในช่วง 150-200 บาท ต่อ 1 หลอด (10 เม็ด) ทั้งนี้ยาทั้งสองรูปแบบเมื่อนำมาใช้งานจะต้องชงกับน้ำสะอาด
ก่อนรับประทาน
กระบวนการที่ทำให้ผิวคล้ำเสีย
มนุษย์นั้นในแต่ละเชื้อชาติ และพื้นทีน่ ั้นมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป โดยสิ่งที่ทำให้แต่ละคนนั้น มีสีผิวที่
แตกต่างกัน คือ เม็ดสีเมลานิน (Melanin) โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Eumelanin) และ ฟี
โอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีดำ/น้ำตาล และเหลือง/แดง ตามลำดับ เม็ดสีเมลานิน เหล่าจะถูก
สังเคราะห์ขึ้นบริเวณผิวหนัง (Melanogenesis) เมื่อมีแสงยูวี (UV) มากระตุ้น โดย UV จะกระตุ้นเซลล์เมลาโน
ไซต์ (Melanocytes) ทำให้เอนไซม์ไทโรสิเนส (Tyrosinase) ทำงานมากขึ้น ซึ่งเอนไซม์นี้จะมีหน้าที่ใ นการเร่ง
ปฏิกิริยาให้เปลี่ยน L-tyrosine เป็น L-DOPA และ L-DOPAquinone (DQ) ตามลำดับ ดังรูปที่ 1 ซึ่ง DQ นี้
เองจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินทั้ง 2 ชนิ ดต่อไป นอกจากนี้ การสัมผัส UV ก็จะไป
กระตุ้นเซลล์เคราติโนไซต์ ทำให้เกิดการหลั่งสารต่างๆออกมา เช่น α-melanocyte stimulating (α-MSH)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ ดสีเมลานินเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการสัมผัส UV และมลพิษต่างๆ ก็จะทำ
ให้เกิด DNA damage และ สารอนุมูลอิสระต่างๆ ได้แก่ Reactive nitrogen species (RNS) และ Reactive
oxygen species (ROS) ออกมาได้ (oxidative stress) ซึ่งจะทำให้ผิวหนังเกิดกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสี
เมลานินเพิ่มขึ้นได้
รูปที่ 1 กระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน (Melanogenesis)
กลไกที่ทำให้ผิวขาวกระจ่างใสของ N-acetylcysteine
เมื่อรับประทาน N-acetylcysteine (NAC) ตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แล้วเกิดปฏิกิริยาต่างๆ จน
เกิดเป็น L-cysteine และ Glutathione ออกมา ดังรูปที่ 2 ซึ่งเป็นสารที่คาดว่าสามารถทำให้ผิวขาวกระจ่างใส
ได้ โดยกลไกที่คาดว่าทำให้ผิวขาวกระจ่างใสได้มี 3 กลไก ดังนี้
1. ยับยั้งการทำงานเอนไซมไทโรสิเนส โดยเมื่อเอนไซม์นี้ทำงานลดลงก็จะให้กระบวนการสังเคราะห์เม็ดสี
เมลานินลดลง
2. เปลี่ยนการผลิตยูเมลานินเป็นฟีโอเมลานิน (เปลี่ยนเม็ดสีน้ำตาลให้เป็นเม็ดสีเหลือง) ดังรุปที่ 1
3. ดักจับอนุมูลอิสระที่เป็นส่วนที่เพิ่มการผลิตเม็ดสีเมลานิน

รูปที่ 2 กระบวนการสังเคราะห์ Cysteine และ Glutathione จาก N-acetylcysteine


การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ N-acetylcysteine เพื่อผิวขาวกระจ่างใส
จากการศึกษาผลของการรับประทาน N-Acetylcysteine (NAC) ที่ทำให้ผิวของของ นายแพทย์เนติวุธ คณากร
โดยได้ศึกษาถึงผลของการรับประทานNAcetylcysteine(NAC)ที่ทำให้ผิวขาวโดยศึกษาในกลุ่มของอาสาสมัคร
เพศหญิงจำนวน40คนโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน ที่รับประทาน N-Acetylcysteine (NAC) วันละ
1,800mgนาน4สัปดาห์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวน20คนที่รับประทานยาหลอกและได้มีการวัดค่าดัชนี
ที่บริเวณผิวหนังทั้งหมด6ตำแหน่งโดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยผลการศึกษาพบว่าหลังจาก 4
สัปดาห์ ค่าดัชนีเมลานินในกลุ่มทดลองที่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ นั้น ลดลงอย่างที่มีนัยสสำคัญทางสถิติที่ 4
ตำแหน่ง ได้แก่ ใบหน้าด้านซ้าย ใบหน้าด้านขวา ต้นแขนข้างซ้ายด้านใน และ ต้นแขนข้างขวาด้านใน
(p<0.001, p=0.007, 0.004 และ 0.011 ตามลำดับ) และ อีก 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ปลายแขนข้างซ้ายด้านนอก
และปลายแขนข้างขวาด้านนอกพบว่าค่าดัชนีเมลานินมีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อ
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก็ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม
ส่วนอาการข้างเคียงที่พบคืออาการคลื่นไส้ซึ่งพบเพียง1รายในช่วงสัปดาห์แรกของการทดลอง
สรุป ผลการทดลองของนายแพทย์ เนติวุธ คณาคร พบว่า การรับประทาน N-Acetylcysteine (NAC) วันละ
1,800มิลลิกรัมนานเป็นระยะเวลา4สัปดาห์ช่วยทำให้สีผิวขาวขึ้นได้ในบริเวณที่ถูกปกป้องการสัมผัสจากแสงแด
ดโดยบริเวณต้นแขนด้านในที่มักจะไม่ค่อยสัมผัสแสงแดดและบริเวณใบหน้าที่มักจะมีการทาครีม

การศึกษาความปลอดภัยของการใช้ N-acetylcysteine เพื่อผิวขาวกระจ่างใส


ความปลอดภัยในการใช้ N-acetylcysteine ในผู้ใหญ่ค่อนข้างมีความปลอดภัย และเกิดอาการข้างเคียงได้น้อย
อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ผื่นคัน, ปากแห้ง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย และไม่สามารถทนต่อกลิ่นของ
ยาได้ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นสามารถพบได้เพียง 2-12% เท่านั้น ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด
เกี่ยวกับการใช้ในขนาดสูง และ ในระยะยาว
การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ Glutathione เพื่อผิวขาวกระจ่างใส
จากการศึกษา Evaluating Oral Glutathione Plus Ascorbic Acid, Alpha-lipoic Acid, and Zinc
Aspartate as a Skin-lightening Agent: An Indonesian Multicenter, Randomized, Controlled Trial
โดย Irma Bernadette S Sitohang และ คณะ
ซึ่งเป็นการวิจัยแบบ randomized, double-blind, controlled clinical trial ทำการศึกษาในโรงพยาบาล
โรคผิวหนัง 3 แห่งใน ประเทศอินโดนีเชียโดยผู้เข้าร่วมได้รับการสุ่มให้รับ Glutathione หรือ ยาหลอก และ มี
การประเมินทุกๆ 4 สัปดาห์ และ ตลอดระยะเวลาการศึกษา 12 สับดาห์ การลดลงโดยรวมของ spot
ultraviolet, spot polarization, และ สีผิว ถูกประเมินและบันทึกโดยใช้ระบบ Janus Facial Analysis
System® (PIE Co., Ltd, Suwon-si, Gyeonggi-do, Korea). โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลอง
83 คน อายุระหว่าง 33-50 ปี เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า มีการลดลงของ spot ultraviolet ในผู้เข้าร่วมการ
ทดลองบางคนส่วน spot polarization, และ โทนสีผิว ในกลุ่มที่ได้ glutathione มีมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา
หลอก แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งกลุ่มที่ได้รับ glutathione เสริมและได้รับยาหลอก
และ พบผลข้างเคียงเล็กน้อยในช่วง 4 สับดาห์ที่ผ่านมา
สรุปผลการทดลอง
Glutathioneแบบรับประทานพบว่าสามารถทำให้ผิวขาวขึ้นเล็กน้อยในผู้เข้าร่วมการทดลองบางคนแต่ผลลัพธ์
ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่ในส่วนของผลข้างเคียงจำเป็นต้องได้รับการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพขอ
งผลิตภัณฑ์ในการใช้เพื่อหวังผลทำให้ผิวขาวขึ้น

จากงายวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพของยาเม็ดกลูต้าไธโอนชนิดรับประทานในการลดระดับสีผิว
พบว่า จากการศึกษาแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม และอำพรางทั้งสองฝ่าย โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฆ โดยศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี
จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่มเลือก กลุ่มละ 30 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมกลูตาไธโอนชนิด
รับประทานขนาด 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยติดตามอาสาสมัครเพื่อเปรียบเทียบ
ระดับค่าความเข้มเมลานินของสีผิวจากการวัดด้วยเครื่อง Mexameter@ (CK electronic, Germany) ทั้งหมด
6 ตำแหน่ง โดยวัดตอนเริ่มการศึกษา ที่ 2 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์หลังรับประทานพบว่า ค่าเฉลี่ย (mean ของ
ค่าความเข้มเมลานินของสีผิว เมื่อเปรียบเทียบเป็นร้อยละของความเปลี่ยนแปลงที่ระยะเวลา 2 และ 6 สัปดาห์
เทียบกับค่าเฉลี่ยความเข้มของสีผิวก่อนการศึกษา มีแนวโน้มลดลง ทั้งกลุ่มที่ได้รับประทานกลูตาไธโอนและ
ได้รับยาหลอก แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม (P<=0.05) โดยพบว่า บริเวณโหนกแก้มด้านขวา (p=
0.26, 0.85), โหนกแก้มด้านซ้าย (p=0.45, 0.89), ต้นแขนด้านขวา (p=0.37,0.35), ต้นแขนด้านซ้าย (p=0.39
, 0.91), แขนด้านขวา (p=0.64, 0.44) และแขนด้านซ้าย (p=0.69, 0.10)ตามลำดับ ผลข้างเคียงที่พบคือ อาการ
ของระบบทางเดินอาหาร และอาการเวียนศีรษะ โดยพบร้อยละ 33.3 ใน 2 สัปดาห์แรก และลดลงเหลือร้อยละ
18.5 เมื่อครบ 6 สัปดาห์ แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรับประทานกลูตาไธโอน

สรุป
การใช้ N-acetylcysteine (NAC) เพื่อหวังผลให้ผิวขาวกระจ่างใส ในปัจจุบันการศึกษายังมีความ
คลุมเครือ และยังมีการศึกษาไม่เพียงพอทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ขนาดสูงและระยะ
ยาว แต่อาการข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป ได้แก่ ผื่นคัน, ผื่นลมพิษ, คลื่นไส้, อาเจียน และท้องเสีย
รวมถึงการใช้งานจะต้องใช้เวลานาน ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง โดยหากอ้างอิงระยะเวลาและปริมาณการใช้ตาม
การศึกษาของนายแพทย์เนติวุธ คณากร อาจต้องใช้เงิน 1,350 – 1,800 บาท ทั้งนี้ก็ยังมีวิธีที่อื่นๆทีช่ ่วยให้ผิว
ขาวกระจ่างใสได้ โดยอาจมีความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ และความคุ้มค่ามากกว่า เช่น การใช้ครีมกันแดดิย่าง
สม่ำเสมอ, การหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด และการใช้ครีมบำรุงผิวต่างๆ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. N-ACETYL CYSTEINE (NAC): Overview, Uses, Side Effects, Precautions, Interactions,
Dosing and Reviews [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 27 เมษายน 2023]. Available at:
https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1018/n-acetyl-cysteine-nac
2. ขวัญกิจประณิธิ ฐ, แจ่มทวีกุล จ. การทดสอบความใช้ได้ของวิธีการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์สารช่วยทำ
ให้ผิวขาว 5 ชนิด ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.
63(2):324–47.
3. Serre, C., Busuttil, V. and Botto, J.-.-M. (2018), Intrinsic and extrinsic regulation of human
skin melanogenesis and pigmentation. Int J Cosmet Sci, 40: 328-347.
https://doi.org/10.1111/ics.12466.
4. Chen J, Liu Y, Zhao Z, Qiu J. Oxidative stress in the skin: Impact and related protection.
Intern J of Cosmetic Sci. 2021 Oct;43(5):495-509.
5. เนติวุธ คณาคร. (2561) การศึกษาผลของการรับประทาน เอ็น-อะเซติลซิสเตอีนที่ทำให้ผิวขาว .
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/กรุงเทพฯ.
6. Sitohang IBS, Anwar AI, Jusuf NK, Arimuko A, Norawati L, Veronica S. Evaluating Oral
Glutathione Plus Ascorbic Acid, Alpha-lipoic Acid, and Zinc Aspartate as a Skin-
lightening Agent: An Indonesian Multicenter, Randomized, Controlled Trial. J Clin
Aesthet Dermatol. 2021 Jul;14(7):E53-E58.
7. สันติ จตุราวิชานันท์, เทพ เฉลิมชัย, มนตรี อุดมเพทายกุล. การศึกษาประสิทธิภาพของยาเม็ดกลูตาไธ
โอนชนิดรับประทานในการลดระดับสีผิว. การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ครั้งที่ 5; 8 พฤษภาคม
2558; สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. หน้า H1-59.
8. Pedre B, Barayeu U, Ezeriņa D, Dick TP. The mechanism of action of N-acetylcysteine
(NAC): The emerging role of H2S and sulfane sulfur species. Pharmacology &
Therapeutics. 2021 Dec;228:107916.
9. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters Healthcare:
c1974-2009. DRUGDEX® System, Acetylcysteine; [cited 2023 April 3]. Available from:
https://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian/PFDefaultActionId/evi
dencexpert.DoIntegratedSearch?navitem=topHome&isToolPage=true#

You might also like