Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 17

1

ประวัติผ้าบาติก

บาติก (อินโดนีเซีย: batik) หรือ บาเตะ (ชวา: ꦧꦛꦶꦏ꧀)


เป็ นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิ ดส่วนที่ไม่
ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่
ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิน
้ อาจจะผ่านขัน
้ ตอนการปิ ดเทียน
แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็ นสิบ ๆ ครัง้ ส่วนผ้าบาติกอย่างง่าย
อาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่
ต้องการ โดยประยุกต์ใช้กับการย้อมเสื้อผ้าทัง้ ชุดหรือหมายถึงผ้าที่
ใช้เทคนิควิธีนท
ี ้ ี่มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย การทำบาติกใช้วิธีการ
วาดจุดหรือเส้นเพื่อกันสีโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า จันติง (canting)
หรือใช้วิธีการพิมพ์ตัวกันสีที่ทำจากทองแดงที่เรียกว่า จัป ช่างฝี มือ
จะเลือกสีโดยจุ่มผ้าเข้ากับสีเดียว จากนัน
้ เอาขีผ
้ งึ ้ ออกด้วยน้ำเดือด
จากนัน
้ ทำซ้ำหากต้องการหลายสี

ประเพณีการทำบาติกพบได้ในหลายประเทศ แต่บาติกของ
อินโดนีเซียเป็ นที่ร้จ
ู ักมากที่สุดบาติกของอินโดนีเซียบนเกาะชวามี
ประวัติอันยาวนานที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม กับลวดลายอันหลาก
หลายที่ได้รับมาจากวัฒนธรรมอันหลากหลาย และได้รับการพัฒนา
โดยส่วนใหญ่ทงั ้ รูปแบบ เทคนิค และคุณภาพของฝี มือช่าง เดือน
ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกบรรจุบาติกของอินโดนีเซียเป็ นงานชิน

เอกของมรดกมุขปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
(Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of
Humanity)[5]
2

ลักษณะเด่นของผ้าบาติก

ความโดดเด่นของผ้าบาติกอยู่ที่สีและลวดลายอันคมชัดของ
ภาพที่สามารถบอกอะไรได้หลายอย่างทัง้ ถิ่นที่มา วัฒนธรรมความ
เป็ นอยู่ ธรรมชาติ เอกลักษณ์ของแหล่งผลิต หรือกระทั่งความรู้สึก
นึกคิดของคนในท้องถิ่นนัน
้ ๆ ซึ่งมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนอยู่หลาย
กระบวนการทัง้ พิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี

บาติกจึงมีลักษณะที่เป็ นได้ทงั ้ งานหัตถอุตสาหกรรมและงาน


ศิลปะ ที่เกิดขึน
้ จากการเขียนลวดลายตามที่ผู้ผลิตต้องการลงบนผืน
ผ้าด้วยดินสอแล้วใช้ปากกาเขียนเทียนจันติง้ (Tjanting) จุ่มน้ำ
เทียนเขียนไปตามลวดลายเพื่อให้น้ำเทียนนีเ้ ป็ นแนวป้ องกันน้ำสีไม่
ให้ซึมผ่านถึงกัน ซึ่งน้ำเทียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องซึมผ่านทะลุทงั ้
ด้านหน้าและด้านหลังของผืนผ้าบาติกโดยไม่ให้เกิดช่องว่างขึน
้ จาก
นัน
้ จึงทำให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพ้นท์สีหรือย้อมสีตามแต่กรณีสี
บนผืนผ้าจะต้องซึมผ่านทัง้ ด้านหน้าและด้านหลังซึ่งเป็ นเอกลักษณ์
3

ประจำตัวของผ้าบาติกทำให้ผู้สวมใส่ภาคภูมิใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ซ้อ

เป็ นชิน

บาติกในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกเป็ นอุตสาหกรรมกันมานาน


แล้ว มีการผลิตในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปั ตตานี
สงขลา นราธิวาส และในภาคกลาง เช่น กรุงเทพมหานคร นอกจาก
นีย
้ ังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีช่ อ
ื เสียง เช่น ภูเก็ต
เกาะสมุย เชียงใหม่ พัทยา เป็ นต้น แต่การแพร่หลายของผ้าบาติก
นัน
้ เริ่มเข้ามาทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก
4

มาเลเซีย ซึง่ มาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียอีกทอด


หนึ่ง

คนไทยรู้จักผ้าบาติกในลักษณะของ “ผ้าพันหรือผ้าปาเต๊ะ
พัน” โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คือ พันรอบตัว คำว่า “โสร่ง” ก็มาจาก
ภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน หมายถึง ผ้านุ่ง คนในท้องถิ่นภาคใต้
เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียก
ผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทยว่า “ผ้ายาวอ” หรือ “จาวอ”
(Java) ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อตามลักษณะของผ้าเป็ น
ภาษาพื้นเมืองชายแดนภาคใต้ 4 ชนิด คือ

1.จาวอตูเลส (Java Tulis) ใช้เรียกผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียน


เทียนด้วยจันติง้ ตลอดทัง้ ผืน

2.จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่) ใช้เรียกชื่อผ้าปาเต๊ะที่มีคณ


ุ ภาพ
ดีชน
ั ้ หนึ่ง เนื้อดีเบาบาง และผ้าผืนหนึ่ง ๆ สามารถม้วนได้เพียง 1
กำมือเท่านัน

3.จาวอบือเละ ซึ่งหมายความว่า ผ้าพันชวา ใช้เรียกผ้าบาติกที่มี


ความยาวตัง้ แต่ 3.5 - 4 หลา เป็ นลักษณะของผ้าที่ไม่เป็ นตะเข็บผ้า
ให้ติดกันเป็ นถุง แต่ใช้วิธีนุ่งแบบพันรอบตัว บางแห่งเรียกผ้าชนิดนี ้
ว่า ผ้าบาติกพัน (ผ้าพัน)
5

4.จาวอซือแย ผ้าชวาตราดอกจิก เป็ นผ้านุ่งที่มีคุณภาพดี มีตราด


อกจิกเป็ นเครื่องหมายการค้า และเป็ นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวไทย
ที่มีฐานะดี ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้จัก
การทำผ้าบาติก โดยได้รับเทคนิคมาจากมาเลเซียและได้ตงั ้ โรงงาน
ผลิตเป็ นอุตสาหกรรมในครัวเรือนอยู่ใต้ถุนบ้านหรือโรงงาน
อุตสาหกรรมขนาดกลาง ซึง่ มีคนงานระหว่าง 50 - 100 คน แบ่ง
หน้าที่การผลิตออกเป็ นแผนก ๆ ล้วนแต่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสเสีย
เป็ นส่วนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอสุไหงโก-ลก ผ้าบาติกในช่วงปี พ.ศ.
2510 - 2522 เป็ นช่วงที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด ในปั จจุบันบาติก
ลายเขียนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายมาก ทำให้สามารถผลิตผ้า
ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม และสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่าบาติก
พิมพ์ ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมผ้าบาติกในภาคใต้หันมาผลิตผ้าบา
ติกลายเขียน เกิดการแข่งขันในตลาดโดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบ
และเอกลักษณ์ของตนเอง จนผ้าบาติกบางชิน
้ กลายเป็ นจิตรกรรมที่
6

มีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก ผ้าที่นิยมทำกันมาก ได้แก่ ผ้าโสร่ง ผ้าชิน



และเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็ นต้น

นอกจากแบ่งประเภทของผ้าบาติกตามลักษณะของเทคนิคที่
ใช้แล้ว ยังสามารถ แบ่งเป็ นชนิดของรูปแบบของผ้า ซึ่งแบ่งย่อยจาก
เทคนิคดังที่กล่าวมาแล้ว โดยแบ่งตามชนิดของผ้าบาติกได้ดังน
7

1. บาติกธรรมดา (Batik Biasa) เป็ นบาติกลายพิมพ์ที่ผ่านการต้ม


เพียงครัง้ เดียว

2. บาติกลาซิม (Batik Lasem) เป็ นบาติกที่ผ่านกระบวนการต้ม


2 ครัง้ และผ่านการย้อมสี 2 ชัน
้ จะได้สีที่หลากหลายกว่าผ้าบาติก
ธรรมดา

3. บาติกเขียนสี (Batik Coteng warna) บาติกชนิดนีจ


้ ะไม่ผ่าน
กระบวนการย้อมสีทงั ้ 2 ครัง้ (ยกเว้นถ้าต้องการให้สีของผ้าดิบ พื้น
ผิวผ้าเป็ นสีต่าง ๆ ทัง้ นีจ
้ ะทำหลังจากที่แต้มหรือเขียนลวดลายเสร็จ
แล้ว) โดยใช้พู่กันแต้มสีลงบนลายดอกที่มีเทียนเป็ นแม่พิมพ์อยู่ จะ
ใช้สีแดงสำหรับลาย ส่วนที่เป็ นดอกและส่วนที่เป็ นใบก็จะใช้สีเทียน

4. บาติกโซโล (Batik Solo) บาติกโซโลมักจะถูกจำกัดด้วยความ


กว้างของผ้า เพราะเป็ นลักษณะบาติกยาวหรือบาติกพัน ซึ่งมี 3 สี
คือ ดำ เหลือง น้ำเงิน

5. บาติกชัน
้ เดียว (Batik Selapis) บาติกชนิดนีจ
้ ะมีลวดลายอิสระ
ส่วนหัวของผ้าจะเป็ นลายของพืช (ดอกไม้หรือต้นไม้) แต่จะมี
ลักษณะพิเศษ คือ จะมีสีขาวเป็ นสีหลัก ซึง่ ไม่รวมกับสีเดิมของเนื้อ
ผ้า
8

บาติกลาซิม บาติก

ธรรมดา

บาติกโซโล บาติกชัน
้ เดียว

เทคนิคการทำผ้าบาติกในประเทศไทย

1.บาติกลายเขียนย้อมสี เป็ นการทำผ้าบาติกที่ใช้


เทคนิคการเขียนเทียน เพื่อกัน
้ สีหรือปิ ดส่วนที่ไม่ ต้องการให้
ติดสี และเพื่อสร้างรูปแบบลวดลาย หลัง จากนัน
้ นำผ้าไปย้อม
สีบาติก ในการย้อมสามารถทำให้หลาก หลายสีได้ โดยเริ่มต้น
จากการย้อมสีอ่อนเมื่อแช่ผ้าที่ย้อมไว้ ตามกำหนดเวลาจะนำ
ผ้าไปซักเพื่อนำกากสีที่ย้อมออก และ หากต้องการให้ผ้าบา
ติกที่ย้อมมีหลายสี สามารถทำได้โดยนำ ผ้าที่ย้อมครัง้ แรกที่
ตากไว้จนแห้สนิทมาเขียนลวดลายเส้น เทียนปิ ดทับลงไปอีก
ครัง้ หนึ่ง เมื่อเขียนเทียนเสร็จ นำไปย้อม สีเป็ นครัง้ ที่ 2 และ
9

ใช้เทคนิคเดียวกันในการย้อมสีครัง้ ต่อไป จนได้สีตามต้องการ


บาติกลายเขียนในอินโดนีเซีย จะเรียกว่า Tulis Batik เป็ น
งานบาติกลายเขียนโดยใช้ ปากกาเขียนเทียน จันติง้
(Tjanting) และส่วนใหญ่จะเป็ นผู้หญิงที่ทำบาติกลาย เขียน
เนื่องจากเป็ นงานละเอียด ส่วนผู้ชายจะเป็ นผู้ทำบาติก พิมพ์
ด้วยบล็อกพิมพ์ซงึ่ เป็ นงานค่อนข้างหนัก

2. บาติกลายพิมพ์ย้อมสี เป็ นงานบาติกที่ต้องการผลิตเพื่อให้ได้


ผลผลิตจำนวนมาก ในระยะเวลาอันสัน
้ ลักษณะเทคนิคการทำงาน
คล้ายบาติกลายเขียนย้อมสีแต่จะใช้วิธีการพิมพ์เทียนให้เกิด
ลวดลายแทนการเขียนด้วยปากกาเขียนเทียนจันติง้ ลักษณะของแม่
10

พิมพ์ที่ใช้จะทำด้วยโลหะประเภททองแดง ทองเหลือง สังกะสี ไม้


ฉลุ หรืออาจจะทำมาจากเชือก แม่พิมพ์ หรือบล็อกพิมพ์ เรียกอีก
ชื่อหนึ่งว่า แคป(T jap) แม่พิมพ์ที่ทำจากโลหะเป็ นแม่พิมพ์คุณภาพ
ดี โดยเฉพาะทองแดง สามารถเก็บความร้อนและน้ำเทียนได้ดีที่สุด
และสามารถแสดงรายละเอียดได้มากกว่า หลังจากพิมพ์เทียน
เรียบร้อยแล้วจะนำผ้าไปย้อมสีตามต้องการ การย้อมจะใช้เทคนิค
เดียวกับบาติกลายเขียนย้อมสี คนไทยรู้จักผ้าบาติก

ชนิดนีใ้ นลักษณะของ ผ้าสโร่งปาเต๊ะ


11

3. บาติกพิมพ์เทียนระบายสี เป็ นบาติกที่ใช้ในการพิมพ์เทียนเพื่อ


สร้างลวดลายส่วนใหญ่พบในระบบ

อุตสาหกรรมหรือโรงงานที่ต้องการปริมาณการผลิตจำนวนมาก ๆ
เพื่อพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์แล้วทำการระบายสีเพื่อให้เกิดรูปแบบ
สีสันที่สวยงามหลากหลายสีกว่าการพิมพ์ย้อมสี
12

4. บาติกแบบระบายหรือบาติกลายเขียนระบายสี การทำบาติกแบบ
ระบายเป็ นการพัฒนาบาติกจาก งานอุตสาหกรรม โดยจะเปลี่ยน
จากการย้อมสีเป็ นการ ระบายด้วยพู่กัน โดยใช้เทคนิคการเขียน
เทียน แต่โดยทั่วไป นิยมการเขียนเทียนด้วยปากกาเขียนเทียน
13

(Tjanting) มากกว่าการเขียนเทียนเพื่อเป็ นการสร้างลวดลายและใช้เป็ น

ตัวกัน
้ สี หรือปิ ดสีเก็บสีในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก ลักษณะ
งานบาติกแบบระบายมักจะเป็ นงานที่มีเอกลักษณ์รูป แบบไม่ซ้ำ
ซ้อน
14

5. บาติกเทคนิคผสม เป็ นการทำบาติกที่มีเทคนิค มากว่า 1 เทคนิค


ซึ่งอาจเป็ นการระบายสีและย้อมสี หรือทัง้ พิมพ์และเขียนลายซึ่งจะ
ทำให้ได้ผลงานอีก รูปแบบหนึ่ง ความโดดเด่นของผ้าบาติกอยู่ที่สี
และลวดลายอันคม ชัดของภาพที่สามารถสะท้อนได้ถึง ถิ่นที่มา
วัฒนธรรมความ เป็ นอยู่ ธรรมชาติ เอกลักษณ์ของแหล่งผลิต ความ
รู้สึกนึกคิด ของคนในท้องถิ่นนัน
้ ๆ หรือจินตนาการสร้างสรรค์ของ
ช่างผู้ สร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้า ส่วนกรรมวิธีที่ซับซ้อนอยู่ที่
กระบวนการทัง้ พิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี งานผ้าบา ติ
แต่ละชิน
้ จึงมักมีลวดลายไม่ซ้ำกัน หรือเรียกได้ว่ามีพียง ชิน
้ เดียว
เท่านัน

15

ลักษณะและเอกลักษณ์ลงดลายที่มักเป็ นที่นิยม

ลวดลายเลขาคณิต ซึ่งประกอบไปด้วย เส้นตรงเส้นเฉียง


สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลม รูปดาว รูปเรขาคณิตตากมากรุก
เส้นทแยงมุม

ลวดลายที่ไม่ใช่เรขาคณิต โดยเฉพาะ ลายครุฑ จัดเป็ นลวดลายที่มี


คุณค่าและเป็ นสัญลักษณ์

แห่งความเชื่อของศาสนาฮินดู ลายเซเมน (semen) คือเมรุ (meru )หรือ

ลายรูปภูเขา

หรือภูเขาพระสุเมรุ ในภาษาไทย ซึ่งเป็ นดินแดนที่ประทับของ


พระเจ้าที่มีความเจริญงอกงาม

ลาย บูเคตัน เป็ นลายที่เป็ นเรื่องราวของดอกไม้ช่อดอกไม้ และเหล่า


ผีเสื้อที่เคลื่อนไหวไปมา ซึง่ เป็ นที่นิยมมาก
16

สีที่นิยมในการทำผ้าบาติก

มี 2 ประเภท คือ สีย้อม จากธรรมชาติ ซึ่งได้มา


จากพืชและสัตว์ และสีย้อมจากการใช้ สีสังเคราะห์ ในการทำผ้าบา
ติก มีดังนี ้

- สีเอซิด (acid dye) เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ละลายน้ำไว้ใช้


ย้อมเส้นใยโปรตีน ขนสัตว์ ไหม ป่ าน ปอ

- สีไดแร๊กซ์ (direct dye) นิยมใช้ย้อมเส้นใยเซลลูโลสเช่น ฝ้ ายลินิน


เป็ นสีที่ไม่ทันต่อการซักน้ำ ตกง่าย ราคาถูก

- สีรีแอกทีฟ (reactive dye) เป็ นสีละลายน้ำ เมื่ออยู่ในน้ำจะมี


คุณสมบัติเป็ นด่าง เหมาะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการทำผ้าบาติก
17

มากที่สุด มีสีสันสดใสสวยงาม และสามารถนำมาผสมให้มีสีที่หลาก


หลายได้ดี

- สีวัต (vat dye) เป็ นสีไม่ละลายน้ำ เมื่อต้องการย้อมต้องมีตัวทำ


ละลายด้วย สารรีดิวส์ และโซดาไฟ เป็ นสีที่มีความคงทนมากที่สุด

You might also like